เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 71656 พระมหาเถระเจ้าอุทุมพร พระวิบากของพระองค์ในปัจจุบันกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:14

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:15

ในกระทู้ที่แล้ว “สถูปและอัฐิสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จริงหรือ ?” ความเห็นของท่านผู้นี้ผมอยากตอบเต็มกำลัง แต่พิจารณาแล้วว่าผมคงตอบสั้นไม่ได้ คงไม่เข้าใจ หากยาวก็คงสับสนไปหมด เพราะเนื้อเรื่องมันดำเนินมาอย่างพัลวันพัลเก จับต้นชนปลายไม่ถูก จึงเป็นเหตุให้ต้องเปิดกระทู้นี้

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมถ์เป็นสมาคมวิชาชีพ ก่อตั้งมาแปดสิบปีแล้ว ตั้งแต่สี่สิบห้าปีที่แล้วมา บทบาทเด่นของสมาคมประการหนึ่ง คืองานอนุรักษ์  โดยผ่านกรรมาธิการศิลปสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นที่ระดมสมองของบุคคลากรทรงคุณค่าของชาติในด้านนี้ ทั้งจากภาคราชการและเอกชน  มีผลงานที่เป็นรูปธรรมมากมาย งานที่คณะทำงานของสมาคมเข้าไปอาสาเฉพาะงานนี้  เห็นชื่อบุคคลากรแล้วก็นอนใจได้
สถาปนิกเราเข้าใจครับ งานของเราถ้าเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะทาง เช่นวิศวกรสาขาต่างๆ  นักสิ่งแวดล้อม  แพทย์ ฯลฯ หรือนักโบราณคดี เราต้องเชิญเข้ามาร่วมงานด้วยเสมอ  พวกนี้มีศัพท์เฉพาะของฝรั่งเรียกว่า associate  แต่นักโบราณคดีอาวุโสผู้ร่วมทีมงานอยู่ด้วยนั้น  กรมศิลปากรไม่ยักเห็น

ส่วนภาพที่นำมาซึ่งคำถามของคุณพีรศรีนั้น  สถาปนิกได้ออกแบบร่างไว้หลายแบบ เผื่อให้คณะกรรมาธิการทวิภาคีของสองรัฐบาลเป็นผู้เลือก ยอดสถูปทรงไทยก็เป็นแนวคิดหนึ่งในสองสามแบบที่เตรียมไว้  แต่ก็ไม่ได้เสนอ  

สำหรับหลักการคร่าวๆของการบูรณะโบราณสถานก็คือ หนึ่ง จะใช้ preservation หรือสงวนรักษาสิ่งที่พบไว้ในลักษณะเดิมทุกประการ หรือจะใช้ สอง  conservation หรืออนุรักษ์โดยให้ความเคารพต่อส่วนสำคัญของโบราณที่ปรากฏอยู่  แล้วปฏิสังขรณ์ส่วนที่พังสูญหายมลายทรากไปแล้ว ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่  ซึ่งสุดท้าย รัฐบาลพม่าเป็นผู้ตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียวในการเลือกการอนุรักษ์ (ซึ่งตรงกับแนวคิดของคณะทำงาน)

วิธีการอนุรักษ์ก็คือ ทำการบันทึกทั้งภาพถ่ายและภาพเขียน ก่อนจะรื้ออิฐโบราณออกมาคัดเกรด เลือกไว้ที่จะนำกลับไปก่อใหม่โดยกรรมวิธีเดิม แต่อาจเปลี่ยนปูนก่อเป็นสมัยใหม่เพื่อความทนทานในอนาคต  ส่วนใดของโบราณสถานเคยมีปูนฉาบผิวอยู่ ก็ซ่อมเข้าไปใหม่ตามสภาพเดิม ในส่วนที่ไม่มีหลักฐานเดิมเหลืออยู่เลย ก็ต้องใช้วิธีการสันนิษฐาน โดยนำโบราณสถานชนิดเดียวกัน ในยุคเดียวกันมาเปรียบเทียบ แล้วกำหนดแบบ ก่อสร้างเสร็จแล้วให้คนยุคหลังรู้ชัดๆว่าส่วนใดเป็นการก่อสร้างสมัยไหน  แต่ตรงนี้ผู้รู้จริงระบุไม่ได้หรอกครับว่า ส่วนที่บูรณะขึ้นมาใหม่นั้นจะผิดหรือถูกต้องตรงกันกับของจริงๆในอดีต  จะมีก็แต่นักวิจารณ์เท่านั้นที่จะแสดงภูมิรู้  (ขอโทษนะครับ ประโยคหลังนี้ไม่ได้ว่าคุณพีรศรี)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:18

พระสถูปองค์ใหญ่ ซึ่งแต่แรกคาดหวังว่าจะพบพระอัฐิ จึงจินตนาแบบเตรียมไว้เป็นทรงไทย แต่เมื่อพบว่าเป็นพระพุทธเจดีย์ จึงเปลี่ยนความคิด สร้างจริงๆเป็นทรงพม่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:19

สถูปทรงโกศ ซึ่งมีร่องรอยให้เห็นมากที่สุด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:22

พระสถูปที่พบบาตรบรรจุพระอัฐิ มียอดเป็นทรงไทย เป็นการเคารพสิ่งที่คนพม่า "เชื่อว่า" ตามหลักฐานแวดล้อมของเขา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:24

สถูปทรงพม่า ซึ่งยังไม่มีการสำรวจภายใน ซึ่งทีมงานไทย-พม่าเชื่อว่าต้องเป็นของบุคคลที่สำคัญรองลงมาจากท่านเจ้าอาวาสองค์แรก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:28

อิฐก่อรูปหม้อแบบบูรณคตะ(หม้อใส่ดอกไม้บูชาพระตามวัฒนธรรมอินเดียโบราณ) ซึ่งมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์มาก จะทำการ preservation ไว้ในสภาะเดิม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 08:33

แบบจริงๆที่ใช้ในการก่อสร้างเหล่านี้  สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญชาวพม่าที่หลวงพ่อษิตากูเชิญมา เป็นผู้ตัดสินใจ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามกำหนดของทางการพม่าผู้อนุญาต ซึ่งถือเป็นเงื่อนไข  ใครก็ตาม ไม่สามารถจะกระทำตามอำเภอใจได้

เอกสารตัวจริงออกให้เป็นภาษาพม่า คณะทำงานต้องจ้างผู้แปลที่ทางราชการรับรอง แปลออกมาเป็นภาษาไทยตามที่เห็น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 11:36

ของขวัญจากแฟนเพจในเฟซบุคของผม เมื่อเห็นภาพพระสถูปทรงโกศ

อาวุธ เทพนิมิตร ทางปักษ์ใต้เขาเรียกบัว เพื่อเก็บอัฐิพระราชาและเจ้านายชั้นสูง เช่นบัววัดแจ้ง ที่นครศรีธรรมราช เขาจะใช้รูปทรงแบบนี้ครับ

ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน ขอบคุณมากนะครับที่ชี้เป้าให้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 12:24

จบภาค ๓

ขึ้น

ภาค ๔
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 12:26

เวลาที่ผ่านไป ๑ ปี เพื่อให้การเมืองของพม่านิ่งนั้น เป็นที่เข้าใจได้ของทีมงานไทย  ดังนั้นสิ่งที่พึงกระทำก็คือ ทำใจ แล้วรอเวลา

ถามว่า มาถึงขั้นนี้แล้ว มันคุ้ม หรือไม่คุ้มที่เข้าไป “เปลืองตัว” ทำงานนี้

คำตอบของวิจิตร  ชินาลัย ผู้อำนวยการโครงการตอบด้วยความมั่นใจว่า “Once in a life time – คุ้ม  ลองคิดดูว่าถ้าสมาคมไม่เข้าไป ป่านนี้หลักฐานต่างๆของพระเจ้าอุทุมพรคงถูกปาดไปรวมกับกองขยะที่เขาขนไปทิ้ง  คนไทยจะไม่มีวันรู้ว่าหลังจากที่ทรงตกเป็นเชลยศึก ต้องไปอยู่เมืองพม่านั้น ทรงมีชีวิตอย่างไร ชาวไทยทั้งหลายที่ไปอยู่ที่นั่นต้องไปตกระกำลำบากเป็นข้าทาษพม่าหรือเปล่า

การค้นพบหลักฐานที่สำคัญ คือบาตรประดับกระจกเป็นสีมรกต ซึ่งนักโบราณคดีของพม่าเห็นแล้วต้องตะลึง เพราะเป็นเครื่องราชูปโภคที่กษัตริย์พม่าทรงใช้เอง หรือพระราชทานให้ผู้ใดเป็นพิเศษเท่านั้น  แต่ก็จะต้องเป็นบุคคลที่มีฐานันดรศักดิ์ระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเช่นกัน  แล้วเป็นเหตุให้นักประวัติศาสตร์ของเขาช่วยกันค้นคว้าต่อ จนทำให้คนไทยพลอยทราบไปด้วยว่า พระองค์ได้รับการถวายพระเกียรติยศในฐานะพระราชาไปตลอดการเดินทางสู่เมืองอังวะ ซึ่งทรงประทับอยู่ถึง ๒๙ ปี ในเมืองพม่า เป็นขวัญกำลังใจของคนไทยพลัดถิ่นที่สิ้นหวังในการจะหาทางกลับบ้านกลับเมือง  เพราะเกรงว่าจะเป็นการหนีเสือปะจระเข้เข้ามาตายเปล่า  จึงทำใจยอมรับสภาพและกลายเป็นคนพม่ากลมกลืนไปกับเขา

แต่ที่ยิ่งกว่านั้น พระจริยาวัตรในสมณะเพศของพระองค์ได้เป็นที่เคารพสักการะของคนพม่า นับตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินไปจนถึงชาวบ้านชาวเมือง สูงสุดกระทั่งได้รับความเชื่อถือว่าทรงเป็นพระอรหันต์  ทรงได้รับการเอาพระทัยใส่อย่างดีจากกษัตริย์พม่าทุกพระองค์ จนถึงรัชสมัยพระเจ้าปะดุง เมื่อทรงทิ้งเมืองอังวะไปสร้างราชธานีใหม่ที่อมระปุระ  ได้ทรงสร้างวัดโยเดียให้ประทับจำพรรษา บนพื้นที่ที่เป็นเสมือนพระราชอุทยาน แล้วอาราธนาพระมหาเถระอุดุมบะระให้เสด็จตามไปด้วย จนกระทั่งเสด็จสรรคต และได้รับพระราชทานเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่  โดยมีหลักฐานบันทึกว่าที่เนินลินซิน

จะมีคนไทยสักที่คนที่รู้เรื่องนี้   ส่วนใหญ่ก็คาดเดาว่าพระชะตากรรมของพระองค์คงจะคล้ายๆกับเจ้าอนุเวียงจันทน์  และเชลยศึกชาวลาวที่ถูกกว่าต้อนมากรุงรัตนโกสินทร์  การได้รู้ความจริงเช่นนี้เป็นสิ่งที่ล้ำค่าต่อความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติไทยและพม่าอย่างยิ่ง  ในการที่ต้องอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
ถ้าไม่มีเรื่องการขอขุดค้นพระสถูปเกิดขึ้น  ความรู้ด้านประวัติศาสตร์เช่นนี้คงไม่มีใครสนใจจะขุดขึ้นมาพูด

สำหรับงานที่เป็นรูปธรรมที่ได้กระทำไป  เราก็ได้อนุสรณ์สถานของพระเจ้าอุทุมพร  หรือ Mahathera King Udumbara Memorial Ground ที่ไม่มีใครจะรื้อทำลายลงไปได้อีกต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 12:28

ถามว่าคณะทำงานใช้เงินไปแล้วเท่าไหร่

ก็ประมาณยี่สิบล้านบาท  งานที่ล่าช้าทำให้งบของเราบานปลายไปบ้าง แต่ดีว่าผมประหยัดมากนะ ไปกันทีไรก็นอนโรงแรมคืนละห้าร้อยบาท ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง  มีบัญชีรายจ่าย งบดุลส่งให้สมาคมตลอด ทั้งๆที่เงินทุนสำหรับโครงการนี้ไม่ได้มาจากสมาคมโดยตรงนะ  แต่มีผู้บริจาคมาเข้าบัญชีของสมาคม ซึ่งยังเหลืออีกประมาณสิบล้าน  พอเพียงกับปริมาณงานที่เหลือ ซึ่งเราต้องกลับไปทำให้เสร็จ

หากถูกขัดขวางไม่ให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  เราก็ยังมีหน้าที่จะต้องนำพระอัฐิกลับไปฝังไว้ในที่เดิมที่ขุดออกมา  แล้วต่อยอดสถูปทั้งหลายให้เสร็จตามแบบที่เคยได้รับอนุญาต และทำระบบป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำ กับรั้วที่ถาวร ตลอดจนห้องน้ำห้องท่าสำหรับผู้มาเยี่ยมชมสักการะ  

แต่งานพวกนี้ก็ใช้เงินไม่มากแล้ว อีกห้าหกล้านก็คงจบ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 12:31

แล้วต่อไปจะบริหารอย่างไรไม่ให้เป็นที่หากินของบรรดาเหลือบ

เราเคยปรึกษากันในเรื่องนี้กับหลวงพ่อษิตากูและทีมงานชาวพม่า มีแนวคิดพ้องกันว่าจะจัดตั้งมูลนิธิขึ้นมารับมอบ ซึ่งหลวงพ่อก็ได้จัดตั้งเป็นสมาคมวัฒนธรรมมหาเถระอุดุมบาราขึ้นมาแล้ว หากยกระดับขึ้นเป็นมูลนิธิ เช่นเดียวกับมูลนิธิสุสานทหารสัมพันธมิตรในย่างกุ้ง ซึ่งมีระเบียบการบริหารที่ดี  มีผู้ไว้วางใจส่งเงินมาบริจาคจากทั่วโลก ให้ดูสถานที่จนเป็นระเบียบสวยงาม

แต่เรื่องนี้พวกเราคงไปช่วยเขาจัดตั้งในตอนแรกเท่านั้นนะ   หลังจากเป็นไปตรงกับทิศทางแล้วก็คงต้องปล่อยให้คนพม่าดูแลกันไปเอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 12:36

แล้วคาดว่ารัฐบาลพม่าจะยอมให้เราเข้าไปดำเนินการต่อเมื่อไหร่

เริ่มมีสัญญาณมาแล้วจากคนของรัฐบาลพม่าที่ไปพบกับคนของเราในที่ประชุมนานาชาติ  เขาบอกว่าเราสามารถไปยื่นขอทำงานต่อได้แล้ว โดยให้ไปขอตรงกับรัฐบาลกลางที่เมืองเนปิดอว์  ซึ่งฝ่ายเราก็ประชุมหารือกันไปเมื่อต้นเดือนที่แล้ว ว่าใครจะมีความคิดเห็นเช่นไร

คือตั้งแต่โครงการถูกระงับ พื้นที่ก็เริ่มรก นานไปนานไปเกิดมีคนเอาขยะไปทิ้งในบริเวณที่ทางราชการไปปราบพื้นที่ไว้  ชาวเมืองก็เริ่มโวยบ้าง ตอนนั้นปาดทิ้งสุสานปู่ย่าตายายของเขาไป โดยอ้างว่าจะพัฒนาพื้นที่ให้เจริญตา  แต่กลับปล่อยให้เป็นที่ทิ้งขยะตามเดิม จะทำอนุสรณ์สถานก็ไประงับไว้อีก 

หลวงพ่อษิตากูก็ไม่ได้ทอดทิ้ง ท่านพยายามทวงถามตลอดเวลา เป็นเรื่องที่กดดันพวกผู้บริหารมากทั้งระดับเทศบาลเมืองอมระปุระ และรัฐมัณฑะเลย์  แต่เขาต้องการให้เรื่องผ่านรัฐบาลกลาง ให้ทางโน้นสั่งลงมา เพราะการระงับโครงการครั้งนั้นก็เป็นนโยบายจากเบื้องสูงที่ต้องการให้ลดข้อขัดแย้งกับชาวมุสลิมที่นอกเรื่องโรฮินยา  ซึ่งตอนนี้เรื่องโรฮินยารัฐบาลพม่าก็ควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 08 พ.ย. 17, 17:37

สำหรับเหตุการณ์ประจำวันในช่วงสุดท้ายมีดังนี้

๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ นายอองโกลิน ตัวแทนของหลวงพ่อษิตะกู ได้ยื่นขอประดิษฐานพระธาตุและปรับปรุงพระสถูปต่อ เพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา และอนุรักษ์โบราณสถานที่ทรุดโทรมใกล้พังทลาย  ต่อทางการเขตมัณฑะเลย์

๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ผู้ว่าการเขตมัณฑะเลย์ ได้ส่งหนังสือไปยังสำนักงานบริหารเมืองอมรปุระ  ให้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ประเด็นดังกล่าว

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐   สำนักงานบริหารเมืองอมรปุระเปิดประชุม ผู้ปกครองท้องถิ่น และหมู่บ้าน ที่ประชุมสรุปว่า ให้ผู้อำนวยการเมืองถามความคิดเห็นจากมหาเถระสมาคม ส่วนผู้อยู่อาศัยในเมืองไม่มีการคัดค้าน

๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ผู้อำนวยการเมืองอมรปุระทำหนังสือถึง มหาเถระสมาคมของพม่า ขอทราบความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว

๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐   มหาเถระสมาคมเขตเมืองของอมระปุระ ได้ตอบหนังสือกลับว่า มหาเถระสมาคมไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องนี้ จึงแจ้งความเห็นว่าผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการต่อได้ตามกฏหมายและหลักเกณฑ์

๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐   สำนักบริหารเมืองอมรปุระ ทำหนังสือถึงสำนักบริหารเขตมัณฑะเลย์ทราบว่า การดำเนินการปรับปรุงพระสถูป และอนุรักษ์โบราณสถาน ที่ลินซินกง เพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา ทำได้โดยปฏิบัติตามกฎหมาย มหาเถระสมาคมเมืองและผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองไม่มีการคัดค้าน

๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๐   สำนักงานบริหารเขตมัณฑะเลย์จัดประชุมระหว่างผู้บริหารเขตมัณฑะเลย์ และเมืองอมระปุระทุกตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งราษฎรอาวุโส ผู้แทนชุมชน โดยอนุญาตให้นายอองโกลิน ตัวแทนของหลวงพ่อษิตะกูเข้าร่วมด้วย โดยประธานที่ประชุมแจ้งว่า ประชาชนในท้องถิ่นและมหาเถระสมาคมไม่คัดค้านเรื่องดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แต่ประธานเองมีความเห็นว่า ควรต้องมีการพบปะพูดคุยและขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนา รัฐบาลสาธารณรัฐเมียนมาร์กับฝ่ายไทย  ในเรื่องการดำเนินการปรับปรุงเจดีย์และการบำรุงรักษาอาคารโบราณสถาน ซึ่งจะมีการบริจาคจากกองทุนของไทย

๕ กันยายน  ๒๕๖๐   นายอองโกลิน ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนา หากคณะนำโดยเอกอัครราชทูตอาเซียน ฯพณฯ ประดาป พิบูลสงคราม (Thai Representative for ASEAN connectivity Coordinating Committee Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary of Thailand) จะขอเข้าพบ 

๑๑  กันยายน  ๒๕๖๐  รองเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนาทำหนังสือตอบนายอองโกลินมาว่าสามารถทำได้

๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ คณะทำงานฝ่ายไทยนัดปรึกษาหารือ

ตุลาคม ๒๕๖๐ เดือนแห่งความอาลัย  คนไทยไม่มีกะจิตกะใจจะทำงาน

พฤศจิกายน  ๒๕๖๐ มีเหตุให้ผมจำต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด เพื่อนำมาเขียนลงเรือนไทย  หวังจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเผื่อบางท่านที่พลัดหลงเข้ามาอ่านจะได้เมตตา ปรับอคติที่เคยมีกับคณะทำงานของสมาคมสถาปนิกสยามที่อุทิศตนไปทำงานโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ด้วยจิตอาสาและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

อนาคตอันใกล้นี้  หากไม่มีใครไปสร้างพระวิบากถวายพระองค์อีก  ไม่ช้าไม่นาน คนไทยจะได้เห็นอนุสรณ์สถานพระมหาเถระเจ้าอุทุมพร ในแผ่นดินพม่า  และจะได้ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นที่เคารพสักการะของคนพม่าเพียงไร  บางที ความแค้นเคืองเกลียดชังของคนไทยที่มีต่อคนพม่าในอดีตจะจางลง  ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ของคนรุ่นหลังทั้งสองชนชาติในภายภาคหน้า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง