เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงไก่ ที่ 22 ธ.ค. 11, 08:03



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 22 ธ.ค. 11, 08:03
แม่บอกว่าความจริงแม่เป็นพระญาติเสด็จเหมือนกัน พ่อของแม่หรือตาของพลอยเป็นหลานของเจ้าจอมมารดาของเสด็จ
แต่แม่บอกแต่เท่านี้แล้วบอกพลอยว่า "อย่าพูดไป เราเป็นข้าท่าน ไปนับญาติกับเจ้ากับนายไม่ดี เดี๋ยวเหาจะขึ้นหัว"

ช้อยกล่าวกับพลอยที่บ้านคลองบางหลวง ในคืนที่ตัดสินใจออกจากบ้านท่านเจ้าคุณ (พระยาพิพิธฯ) เข้าเฝ้าเสด็จที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง

.......


"หีบอะไรคะคุณ? ตั้ง ๒๐-๓๐ ชั่ง"
"ก็หีบหมากคุณสายหยุด ญาติข้างผัวของหล่อนน่ะซี แม่แช่ม" คุณสายตอบ
"ไหน" แม่ถามอย่างสนใจ "สายหยุดเศรษฐีที่เคยอยู่ตำหนักเจ้าคุณฯ น่ะหรือ?"
"นั่นแหละ" คุณสายตอบ "จะมีสายหยุดไหนเสียอีกล่ะ ถือว่าเป็นลูกผู้ดี พ่อเป็นเจ้าพระยา ปู่ย่าตาทวดเป็นเจ้าคุณราชินิกูล มีเงินจนไม่รู้จะทำอะไรหมด ... "

แม่สายคุยกับแม่ช้อยที่ตำหนักเสด็จ


คุณสาย เป็นข้าหลวงต้นตำหนักของเสด็จ  (ซึ่งเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4 หมายความว่าเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

อ้างความเห็นของอาจารย์เทาชมพูในกระทู้เก่า    "เรียนถามคุณ เทาชมพู เรื่อง แถวเต๊ง และ ชาววัง !!" 


คงจะมีหลายๆ ท่านได้ค้นคว้าไว้แล้ว แต่ผมหาไม่พบ ขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ใหม่ละกัน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 22 ธ.ค. 11, 09:10
แม่บอกว่าความจริงแม่เป็นพระญาติเสด็จเหมือนกัน พ่อของแม่หรือตาของพลอยเป็นหลานของเจ้าจอมมารดาของเสด็จ
แต่แม่บอกแต่เท่านี้แล้วบอกพลอยว่า "อย่าพูดไป เราเป็นข้าท่าน ไปนับญาติกับเจ้ากับนายไม่ดี เดี๋ยวเหาจะขึ้นหัว"

ช้อยกล่าวกับพลอยที่บ้านคลองบางหลวง ในคืนที่ตัดสินใจออกจากบ้านท่านเจ้าคุณ (พระยาพิพิธฯ) เข้าเฝ้าเสด็จที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง

.......


"หีบอะไรคะคุณ? ตั้ง ๒๐-๓๐ ชั่ง"
"ก็หีบหมากคุณสายหยุด ญาติข้างผัวของหล่อนน่ะซี แม่แช่ม" คุณสายตอบ
"ไหน" แม่ถามอย่างสนใจ "สายหยุดเศรษฐีที่เคยอยู่ตำหนักเจ้าคุณฯ น่ะหรือ?"
"นั่นแหละ" คุณสายตอบ "จะมีสายหยุดไหนเสียอีกล่ะ ถือว่าเป็นลูกผู้ดี พ่อเป็นเจ้าพระยา ปู่ย่าตาทวดเป็นเจ้าคุณราชินิกูล มีเงินจนไม่รู้จะทำอะไรหมด ... "

แม่สายคุยกับแม่ช้อยที่ตำหนักเสด็จ


คุณสาย เป็นข้าหลวงต้นตำหนักของเสด็จ  (ซึ่งเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4 หมายความว่าเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

อ้างความเห็นของอาจารย์เทาชมพูในกระทู้เก่า    "เรียนถามคุณ เทาชมพู เรื่อง แถวเต๊ง และ ชาววัง !!" 


ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้เข้าใจและมีความรู้อะไรมากนักกับ    "บ้านบน บ้านล่าง ของก๊กบ้านข้างโน้น" และ "สายราชินิกูล"


คงจะมีหลายๆ ท่านได้ค้นคว้าไว้แล้ว แต่ผมหาไม่พบ ขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ใหม่ละกัน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 22 ธ.ค. 11, 09:36
ลองดูใน แม่พลอย ใน "สี่แผ่นดิน" มาจากสกุลใด ที่ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3383.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3383.0) นะคะ  ;D


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 09:50

คุณสายหยุดไม่ได้เป็นญาติโกโหติกากับแช่ม


        พ่อของแช่มเป็นหลานของเจ้าจอมมารดา

เป็นญาตินี่กว้างขวางมาก    คิดได้แต่เพียงว่า  ปู่หรือย่าของแช่มน่าจะเป็นพี่น้องของเจ้าจอมมารดา

และอาจจะเป็นพี่น้องต่างมารดาด้วยซ้ำไป  เพราะดูเจียมตัวมาก  อยู่ฉะเชิงเทราซึ่งเศรษฐกิจดีมีนามีสวน

สกุลหญิงผู้ดีของเวียงจันท์มีอยู่ในตัวจังหวัดเพราะโดนกวาดต้อนมาสมัยสงครามเจ้าอนุวงศ์  ท่านเหล่านี้นุ่งผ้าลาย  มีฝีมือด้านทำกับข้าว
และขยันขันแข็งประดุจชาวสวนที่ดีทั่วไป(ชีวิตชาวสวนนี่ลำบากมาก   ท่านที่เล็งๆไว้จะปลูกฝังลูกหลาน  อย่าเดินหน้าเลย)

อ้าว...ออกอ่าวไทยไปแล้ว

ครอบครัวที่ถวายบุตรีเข้ามา  ก็จะเป็นบุตรีจากเอกภรรยา  แล้วน้องสาวก็ตามมาทีละคนสองคน  และน้องสาวต่างมารดา


ขุนนางแปดริ้วมีพระยาคนไหนบ้างนะ   ขอไปดูก่อนค่ะ



สกุลทั้งสิ้นในฉะเชิงเทรามีผู้เก็บรายละเอียดไว้แล้ว  คือสมาชิกท่านหนึ่งในเรือนไทยนี้ที่กวาดเก็บสกุลขุนนางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นานแล้วไม่ได้แวะมา     งานหนังสือก็ไม่เจอเลย   


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 14:50


ข้อมูลเรื่องแม่แช่มมีน้อยมากค่ะคุณลุงไก่      ถือว่าล้อมวงคุยกันก็แล้วกันนะคะ   ขอเชิญเพื่อนๆทุกคนด้วย     


        ทราบตามที่พ่อของช้อยกล่าวว่าหน้าตาดีถึงลือ  ตอนนั้นยังเป็นข้าหลวงอยู่ที่ตำหนักเสด็จ

แช่มสวย  ช่างพูดช่างคุย     มีเพื่อนเยอะ   แล้วก็ไปอยู่กับเจ้าคุณพ่อในฐานะภรรยา  มีเรือนห้าห้องฝากระดานซึ่งนับว่า

ใหญ่โต   ตอนที่ไปนั้นคุณเชยเพิ่งจะเกิด  เพราะพ่อเพิ่มเกิดมาอ่อนกว่าคุณเชย ๑ ปี

       คุณหญิงเอื้อมกลับไปอยู่อัมพวาบ้านเดิมก่อนพลอยเกิด


       หวานอ่อนกว่าพลอย ๒ ปี    แสดงว่าเจ้าคุณพิพิธท่านมีภรรยาน้อยติดๆกัน  โดยไม่ได้เกรงใจแช่มเลย  ไม่เหมือนที่เขียนไว้ในเพลงยาว
(อ่านแล้วจินตนาการเอง)

       แช่มไม่ใช่ภรรยาเอกเพราะไม่ได้คุมการเงินการคลังและทรัพย์สินของบ้าน


       บ้านที่คลองบางหลวงต้อง "ตั๋ง"  พอใช้  กำแพงเป็นอิฐเสริมรั้วเหล็ก   ซึ่งสามัญคนจะไปมีได้ที่ไหน   ดีไม่มีจะเป็นรั้วที่ทำในอังกฤษสมัยเจ้าคุณปู้อีกที

ต่อมาก็คงทรุดโทรมลงตามลำดับด้วยเหตุต่างๆกัน

       เรื่องเจ้าคุณพิพิธและบ้านเคยคุยกันมาแล้ว   ขอข้ามไปที่แช่มนะคะ



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 15:03


        แช่มไปค้าขายที่แปดริ้ว   ซื้อแพที่พวกพ้องขายให้ถูก ๆ ไว้สินค้าแบบร้านชำ  แล้วขายต่ออีกที   

ผักปลาก็ซื้อไว้  แสดงว่าเป็นค้าแบบเงินทุนไม่มาก

แช่มเป็นชาววังและเมียเจ้าคุณจะตรวจแพเป็นเชียวหรือว่าจวนจะต้องเปลี่ยนไม้เปลี่ยนจาก  เสียเงินเพิ่มอีก       

ชาวบ้านที่ทำนาทำสวนอยู่ในน้ำกร่อยนั้นเขาว่ากันว่ากันว่า  "ไม่จืด"

        พ่อฉิมมีเรือหลายลำ

        แช่มอายุอย่างมากไม่เกิน  ๓๒ - ๓๓  เพราะพ่อเพิ่มอายุ ๑๒ เท่านั้น     ถ้าแช่มสูงวัยกว่านี้พระยาพิพิธคงไม่มอง


       แช่มคงทำงานหนักไม่เป็น  เช่นขึ้นต้นมะพร้าว  ปอกและขูดมะพร้าว   ดีนะที่ไม่ต้องเผาถ่านด้วย

 


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 15:19
        ฉิมมีน้องสาวมาอาศัยอยู่ด้วยที่แพเพื่อกันคนนินทา    เมื่อแช่ม "ตกร่องปล่องชิ้น" กับฉิมแล้ว

น้องของฉิมซึ่งเป็นญาติของแช่มก็ทำตัวเป็นเจ้าของบ้านให้แช่มต้องปรนนิบัติเหนื่อยแรง  โทรม

เรื่องปรนนิบัตินี้ก็คงเป็นเรื่องของกินคาวหวาน   กินแถวไปตลอดจนน้ำอบน้ำปรุงผ้าผ่อนท่อนสไบ

แป้งเม็ด  แป้งน้ำ น้ำมันตานี   สีผึ้ง


        แช่มเป็นชาววัง   การแต่งตัวและสนทนาก็จัดว่าเด่นในแถวนั้น  สวยก็สวย  กิริยามารยาทก็เป็นผู้ดี

งานฝีมือก็ไม่น้อยหน้าใคร    สาวชาวสวนก็ต้องเทียบไม่ได้อยู่แล้ว เพราะมิได้ฝึกปรือหรือรู้เห็นมา  

แพขายของก็ขยายงานออกไปจนแช่มต้องหาบ่าวมาช่วยอีกคน   คงจะเหนื่อยทีเดียว


       โรคภัยสุขภาพนั้นมิได้เลือกบุคคล        กรรมก็มาถึงแช่มในวันหนึ่งอย่างไม่คาดฝัน

เพราะอายุยังน้อยเกินไปที่จากไปทั้งๆมีห่วง    


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 15:34


       นึกขอบพระคุณที่สี่แผ่นดินมิได้เเล่าว่าแช่มขายฟืนด้วย  เพราะมีตำราอยู่เล่มหนึ่ง

แสดงความรุ่มรวยของไม้ในเมืองไทยเป็นนักหนา   ถ้าจะต้องลอกมา  ก็ได้อีกสามสี่กระทู้แน่ ๆ


       อาหารการกินของคนแพในแปดริ้วนั้น  คงมีปลาและหอยเป็นหลัก   จะมามีปลากุเลาเค็ม

ทอดหอมฉุย   เกาเหลา   แกงปลาน้ำมันแดง(แกงโบราณก่อนตำราท่านผู้หญิงเปลี่ยนใช้น้ำมันเป็นหลักค่ะ)

ฮื่อแซ  ลูกชิ้น   แฮ่กึ๊นกระไรได้      คนแพต้องเขียมค่ะ

       คนหนุ่มคนสาวกินอาหารน้อยลงไปหน่อย   หนังสือพิมพ์บอกว่าความจำดี  สมองแจ่มใส

       แม่แช่มตอนเจ็บคงเป็นห่วงพลอยที่สุด      พลอยอยู่ในที่ปลอดภัยแล้วและก้าวเข้าสู่ความเป็นอมตะ

       แช่มต่างหากต่อสู้อยู่ในป่ามนุษย์ที่โหดร้าย


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 15:58


        เขียนมาเอื่อยๆ   มีอ้างอิงพราว  แต่เว้นเสียเพราะถือว่าคุยกันตามคุณลุงไก่ชวนไว้

ขออภัยถ้าคิดไม่ตรงกับท่านอื่น       คิดแล้วอยากกินปลากุเราเค็มทอด  บีบมะนาว หอมแดงห้่น

พริกมูลหนูไม่ต้อง  คลุกข้าว    กับจานอื่นไม่ต้องก็ได้ค่ะ     

        ของหวานก็มะม่วงสุก  เละหน่อยก็ได้ค่ะ  ลูกสวย ๆ ส่งมาขายในเมืองหลวง


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ธ.ค. 11, 16:21
เรียนคุณวันดี ในเมื่อแม่แช่มไปอยู่แปดริ้ว คงต้องค้าขายอยู่แถวอำเภอเมืองเป็นแน่ แต่แปดริ้วก็หลายอำเภอที่สามารถตั้งตัวทำมาหากินได้อย่างสบาย แค่คัดมะม่วงคอนมาขาย ทำมะม่วงกวน ก็คงเลี้ยงตัวได้ แต่นิสัยชาววังติดตัวไปย่อมมีฝีมือไม่น้อยเช่นกัน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ธ.ค. 11, 16:35
เรียนคุณวันดี ในเมื่อแม่แช่มไปอยู่แปดริ้ว คงต้องค้าขายอยู่แถวอำเภอเมืองเป็นแน่
แต่แปดริ้วก็หลายอำเภอที่สามารถตั้งตัวทำมาหากินได้อย่างสบาย
แค่คัดมะม่วงคอนมาขาย ทำมะม่วงกวน ก็คงเลี้ยงตัวได้ แต่นิสัยชาววังติดตัวไปย่อมมีฝีมือไม่น้อยเช่นกัน

เอ๊ะ  ออกขุน  สมัยนั้นมีอำเภอเมืองฉะเชิงเทราแล้วรึ 
มะม่วงสมัยก่อนไม่ได้ออกตลอดทั้งปีเหมือนสมัยนี้
แม่แช่มน่าจะปลูกพืชพันธุ์อย่างอื่นด้วยกระมัง ไม่เช่นนั้นคงไม่พอกิน
เอ  สมัยรัชกาลที่ ๕ แถวแขวงเมืองฉะเชิงเทราเขาเก็บอากรสวน
เฉพาะต้นมะม่วงต้นละเท่าไร  ถ้าปลูกเป็นสวน 
คงเสียอากรยกสวนเป็นชั่งกระมัง

ส่วนฝีมือชาววังนั้น  ออกขุนอย่างคิดว่า แช่มจะไปทำสินค้าโอทอปขายจริงน่ะรึ
ชาววังฝีมือประณีตทำอะไรสวยงาม  แต่ดูไม่ถูกจริตคนบ้านนอกบ้านนานัก
ผมว่า  แม่แช่มเป็นชาววังออกไปอยู่แปดริ้วคงไม่ได้ทำการค้าดอก
ถ้าทำสวนล่ะไม่แน่   แต่คงทำงานหนักไม่ได้มาก  เดี๋ยวไม่สะบายยยย ;D


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ธ.ค. 11, 16:48
"ของที่แม่เอามาคราวนี้ ดูมากมายนักหนา นับของที่ใส่ชะลอมก็สิบกว่าชะลอม มีลูกไม้กล้วยอ้อยจากบ้านนอกบ้าง ซึ่งแม่บอกว่าเอามาฝากเพื่อนฝูง ไข่ทั้งจืดทั้งเค็มและปลาแห้งปลากรอบ ซึ่งแม่บอกว่าจะเอามาถวายเสด็จ ได้คัดเลือกเอามาล้วนอย่างดีจริงๆทั้งนั้น ทำให้คุณสายต้องสัพยอกขึ้นว่า"

"แล้วแม่ก็หยิบชะลอมเล็กๆ น่าเอ็นดูเป็นที่สุดขึ้นมาหลายชะลอม ของในชะลอมนั้นเมื่อพลอยเห็น ก็เกือบจะลิงโลดด้วยความดีใจ ชะลอมหนึ่งมีปลากรอบตัวเล็กๆเท่านิ้วก้อย เข้าไม้ตับไว้อย่างกับของจริงๆ อีกชะลอมหนึ่งมีมะขามป้อมลูกเล็กๆได้ขนาด อีกชะลอมหนึ่งใส่ไข่เต่าเปลือกขาวสะอาด ส่วนอีกชะลอมหนึ่งนั่นใส่ไข่เค็มทำด้วยไข่นกกระจาบ พอกขี้เถ้าสีดำลูกเล็กๆ ไม่เกินปลายหัวแม่มือ แต่สิ่งสุดท้ายที่แม่ล้วงจากชะลอม ก็คือทุเรียนกวนพวงหนึ่ง ห่อกาบหมากเรียบร้อยเป็นห่อเล็กๆ แต่ละห่อน่าเอ็นดูเพียงจะขาดใจ"

""ถ้าค้าขายไปได้อย่างนี้\" เสียงแม่พูด \"ฉันก็เห็นพอจะตั้งตัว ลืมตาอ้าปากกับเขาได้"


"ก็รับซื้อของพวกผักปลาจากชาวบ้าน\" แม่ตอบ \"ฉันซื้อแพเขาไว้ พวกพ้องเขาขายให้ถูกๆ รับซื้อจากเรือก็เอาขึ้นแพไว้ บางทีก็มีเรือจากกรุงเทพฯเขาไปรับซื้อ แต่พ่อฉิมเขาบอกว่ากำไรไม่งาม เขามีเรือหลายลำ เขาว่าให้เอาใส่เรือมาส่งกรุงเทพฯ แล้วซื้อของกรุงเทพฯ พวกผ้าผ่อนถ้วยโถโอชาม กลับไปขายได้อัฐมากกว่า ฉันมาคราวนี้ก็เอาของใส่เรือมาด้วย นึกว่าจะซื้อของกลับไปเหมือนกัน\"


เห็นไหมคุณหลวงเล็ก แม่แช่มเธอ "อึด" จะตายไป ชะรอยความแบบนี้เธอคงทำตัวแบบยี่ปั๋ว หรือ ซาปั๋ว ก็ไม่ว่ากัน ของที่เอามาฝากพลอยก็ประดิษฐ์ประดอยทำให้แม่พลอยอย่างสุดฝีมือ  :P :P



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 17:00

        ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทราตั้งที่อำเภอเมืองค่ะ  แบ่งอำเภอ ๗  กิ่งอำเภอ ๑  ตำบล  ๙๑(ข้อมูล ๒๔๘๕)

       
       แปดริ้วน้ำดีค่ะ  ขุนบาลขุดคลองต่อถึงกัน     ปลาและหอยมากับเรือประมง  ขายในราคาถูก(สมัยนู้นนะ)  ปู กุ้งมาจากเมืองชล

คนที่ทำนา ทำสวนมะพร้าว  สวนมะม่วงเป็นจีนนอกค่ะ    สมาคมอั้งยี่ก็ใหญ่โต   โดนเล่นสงกรานต์เสียน้ำแดงไปทั้งแม่น้ำ

แปดริ้วเลี้ยงสัตว์หมูไก่   เก็บภาษีการพนันได้มาก


       แม่แช่มมีแพนะคะ      จะให้ไปเลี้ยงหมูได้ยังไง



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 17:06


        เท่าที่จำได้  แปดริ้วมีปลาใหญ่  มีมะพร้าว  มีข้าวที่ทำนาได้สองครั้ง   

มะม่วงอร่อยที่เรียกว่า ส้มลิ้มมาจากพิจิตรค่ะ

มะม่วงแปดริ้วสมัยโน้นมีมะม่วงแรดเป็นหลักและมะม่วงสุกที่ไม่ดีเลิศแต่ก็จัดว่าใช้ได้ค่ะ

ทำบุญบวชพระกันใหญ่โต     เพราะรายได้ดี


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 17:17


       มาตราฐานทางสังคมของแช่มคงสูงในสายตาของชาวแปดริ้ว  เพราะเธอนุ่งผ้าลาย

ผ้าพื้นนั้นชาวบ้านนุ่งค่ะ       


       ฉิมนั้นดีดลูกคิดแล้วแน่นอน    เป็นหนุ่มทั้งแท่งจะให้กินแตงน้ำกะทิหรือคะ


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ธ.ค. 11, 19:19


        เท่าที่จำได้  แปดริ้วมีปลาใหญ่  มีมะพร้าว  มีข้าวที่ทำนาได้สองครั้ง   

มะม่วงอร่อยที่เรียกว่า ส้มลิ้มมาจากพิจิตรค่ะ

มะม่วงแปดริ้วสมัยโน้นมีมะม่วงแรดเป็นหลักและมะม่วงสุกที่ไม่ดีเลิศแต่ก็จัดว่าใช้ได้ค่ะ

ทำบุญบวชพระกันใหญ่โต     เพราะรายได้ดี

มะม่วงแถวบางคล้า หวานล้ำยิ่ง มีอกร่อง น้ำดอกไม้ ทองดำ (หวานล้ำคันคอ) แรด หนังกลางวัน สามฤดู


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ธ.ค. 11, 19:57
เรียนคุณวันดี ในเมื่อแม่แช่มไปอยู่แปดริ้ว คงต้องค้าขายอยู่แถวอำเภอเมืองเป็นแน่
แต่แปดริ้วก็หลายอำเภอที่สามารถตั้งตัวทำมาหากินได้อย่างสบาย
แค่คัดมะม่วงคอนมาขาย ทำมะม่วงกวน ก็คงเลี้ยงตัวได้ แต่นิสัยชาววังติดตัวไปย่อมมีฝีมือไม่น้อยเช่นกัน

เอ๊ะ  ออกขุน  สมัยนั้นมีอำเภอเมืองฉะเชิงเทราแล้วรึ 
มะม่วงสมัยก่อนไม่ได้ออกตลอดทั้งปีเหมือนสมัยนี้
แม่แช่มน่าจะปลูกพืชพันธุ์อย่างอื่นด้วยกระมัง ไม่เช่นนั้นคงไม่พอกิน
เอ  สมัยรัชกาลที่ ๕ แถวแขวงเมืองฉะเชิงเทราเขาเก็บอากรสวน
เฉพาะต้นมะม่วงต้นละเท่าไร  ถ้าปลูกเป็นสวน 
คงเสียอากรยกสวนเป็นชั่งกระมัง

ส่วนฝีมือชาววังนั้น  ออกขุนอย่างคิดว่า แช่มจะไปทำสินค้าโอทอปขายจริงน่ะรึ
ชาววังฝีมือประณีตทำอะไรสวยงาม  แต่ดูไม่ถูกจริตคนบ้านนอกบ้านนานัก
ผมว่า  แม่แช่มเป็นชาววังออกไปอยู่แปดริ้วคงไม่ได้ทำการค้าดอก
ถ้าทำสวนล่ะไม่แน่   แต่คงทำงานหนักไม่ได้มาก  เดี๋ยวไม่สะบายยยย ;D
ลองถามแม่พิศดูนะคุณหลวง
http://www.youtube.com/watch?v=Bz_a5M3x_7k&feature=related


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ธ.ค. 11, 20:09
ท่าทางพ่อฉิม จะมีเชื้อสายจีน เพราะนุ่งกางเกงแบบจีน

http://www.youtube.com/watch?v=f7nHn2iJvEk&feature=related


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ธ.ค. 11, 20:24
พ่อฉิมและแม่ปลั่ง มีญาติที่อยุธยา
http://www.youtube.com/watch?v=4o20jnQO-Gw&feature=related


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 22 ธ.ค. 11, 20:36
 :o กระทู้นี้มีแต่ชาวแปดริ้ว (บวกอีกหนึ่งชาวนครชัยศรี) เสวนาพาทีกัน

เรามันคนเมืองประทุม แอบฟังอยู่ใกล้ๆ ดีกว่า  ;)


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ธ.ค. 11, 20:45

ว้า.......ปลั่งมาจากไหนล่ะ    ยึดหนังสือเป็นหลักเถิด

แล้วคนออกเสียงได้หรือ   ปลั่ง  ปั่ง  ปั่ง   แปกจิงจ้า


เชี่ยนหมากทองเหลืองผู้ดีที่ไหนใช้    อย่างน้อยๆก็เงินจ้ะ

มะม่วงอกร่องจากแปดริ้วสมัยหลังยังลูกเล็กและมีเสี้ยนอยู่นะคะ

แถวบ้านเก็บแล้วบ่มในโอ่งมังกร    ใส่ใบตองแห้งด้วย

แช่มกวนมะม่วงไม่ไหวหรอกค่ะ    หนักแรง


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 23 ธ.ค. 11, 08:57
ลุงไก่ยังเดินท่อมๆ เลาะกำแพงวังอยู่เลย คุณวันดีพาไปเที่ยวเมืองฉะเชิงเทราแล้ว

สมัยวัยยังเด็ก ประมาณ พ.ศ. 2510 ถูกผู้ใหญ่พาไปบางคล้าด้วยทางเรือ บอกเส้นทางไม่ได้ จำได้เพียงว่าออกจากบ้านแต่เช้า ไปถึงบางคล้าตอนเย็น

นั่งเรืิอหางยาวไป น่าจะลงเรือที่ท่าเตียน (ไม่ใช่ท่าช้างและท่าปากคลองตลาด) เรือแล่นเข้าคลองบ้าง ออกแม่น้ำบ้าง ทั้งวัน

ที่จำได้แน่นอนอย่างหนึ่งคือ เรือแล่นไปทางปากลัดพระประแดง

มีแต่เรือกสวนข้างทาง ลมเย็น มีละอองน้ำจากคลื่นเรือกระเซ็นเข้ามาให้เปียกเป็นระยะ

จะเป็นเส้นทางเดียวกับแม่ช้อยเดินทางไปฉะเชิงเทรากระมัง?


อะไรๆ ก็รับทราบเกือบหมดแล้ว เลยต้องคว้าเครื่องคิดเลขมาคิดอายุตัวละครแต่ละท่านแทน





กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 23 ธ.ค. 11, 09:28
แพที่แม่ช้อยไปซื้อเอาไว้ คงจะมีลักษณะตามภาพ

คำอธิบายและภาพจาก www.openbase.in.th

เรือนแพที่ใช้ค้าขายในแม่น้ำบางปะกง ซึ่งส่วนหลังใช้เป็นที่พักอาศัย

ลักษณะโดยทั่วไปของเรือนแพมักจะทำเป็นรูปแบบเรือนทรงไทยที่มองได้เห็นชัดเจน ก็คือส่วนหลังคาซึ่งประกอบไปด้วย ปั้นลมเป็นยอดแหลมขึ้นไป
มีเหงาปั้นลมประกอบที่ชายคา เรือนแพนี้มีขนาดและสัดส่วนเล็กกว่าเรือนทั่วไป ตัวเรือนทั่วไปเป็นเรือนฝากระดาน ด้านหน้าของเรือนแพเปิดโล่งตลอด
ใช้เป็นที่เก็บสินค้าและบริการแก่ลูกค้า เรือนแพลักษณะเช่นนี้ ด้านหน้าของฝาจะทำเป็นแบบบานเฟี้ยมที่พับเก็บได้หรือไม่ก็เป็นฝาหน้าถัง
การวางพื้นเรือนอยู่บนโครงสร้างพื้นรองรับด้วยลูกบวบก็เพื่อป้องกันไม่ให้ น้ำกระเซ็นขึ้นมาจากร่องพื้นเรือนได้โดยง่าย เมื่อยามมีคลื่น
ตัวเรือนกับฝา ตรงตีนฝาโดยทำพื้นเป็นชานยื่นออกไป ตัวแพต้องมีห่วงและโซ่คล้องยึด อยู่กับหลักแพลำไม้ไผ่หรือต้นตาลที่ปักไว้เพื่อช่วยเรือนแพไม่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ
เรือนแพที่ลอยติดอยู่กับตลิ่งจะทำสะพานไม่ทอดเพื่อสัญจรไปมาระหว่างแพกับ ฝั่ง ขนาดของเรือนแพ หากจะมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นก็จะทำเป็นแบบ 2 หลังแฝด
ส่วนหลังคาก็จะเป็นแบบหลังคาแฝดเช่นกัน






กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ธ.ค. 11, 09:29
"ของที่แม่เอามาคราวนี้ ดูมากมายนักหนา นับของที่ใส่ชะลอมก็สิบกว่าชะลอม
มีลูกไม้กล้วยอ้อยจากบ้านนอกบ้าง ซึ่งแม่บอกว่าเอามาฝากเพื่อนฝูง
ไข่ทั้งจืดทั้งเค็มและปลาแห้งปลากรอบ ซึ่งแม่บอกว่าจะเอามาถวายเสด็จ
ได้คัดเลือกเอามาล้วนอย่างดีจริงๆทั้งนั้น ทำให้คุณสายต้องสัพยอกขึ้นว่า"

"แล้วแม่ก็หยิบชะลอมเล็กๆ น่าเอ็นดูเป็นที่สุดขึ้นมาหลายชะลอม
ของในชะลอมนั้นเมื่อพลอยเห็น ก็เกือบจะลิงโลดด้วยความดีใจ
ชะลอมหนึ่งมีปลากรอบตัวเล็กๆเท่านิ้วก้อย เข้าไม้ตับไว้อย่างกับของจริงๆ
อีกชะลอมหนึ่งมีมะขามป้อมลูกเล็กๆได้ขนาด อีกชะลอมหนึ่งใส่ไข่เต่าเปลือกขาวสะอาด
ส่วนอีกชะลอมหนึ่งนั่นใส่ไข่เค็มทำด้วยไข่นกกระจาบ พอกขี้เถ้าสีดำลูกเล็กๆ
ไม่เกินปลายหัวแม่มือ แต่สิ่งสุดท้ายที่แม่ล้วงจากชะลอม
ก็คือทุเรียนกวนพวงหนึ่ง ห่อกาบหมากเรียบร้อยเป็นห่อเล็กๆ แต่ละห่อน่าเอ็นดูเพียงจะขาดใจ"

""ถ้าค้าขายไปได้อย่างนี้" เสียงแม่พูด "ฉันก็เห็นพอจะตั้งตัว ลืมตาอ้าปากกับเขาได้"


"ก็รับซื้อของพวกผักปลาจากชาวบ้าน" แม่ตอบ "ฉันซื้อแพเขาไว้
พวกพ้องเขาขายให้ถูกๆ รับซื้อจากเรือก็เอาขึ้นแพไว้ บางทีก็มีเรือจากกรุงเทพฯเขาไปรับซื้อ
แต่พ่อฉิมเขาบอกว่ากำไรไม่งาม เขามีเรือหลายลำ เขาว่าให้เอาใส่เรือมาส่งกรุงเทพฯ
แล้วซื้อของกรุงเทพฯ พวกผ้าผ่อนถ้วยโถโอชาม กลับไปขายได้อัฐมากกว่า
ฉันมาคราวนี้ก็เอาของใส่เรือมาด้วย นึกว่าจะซื้อของกลับไปเหมือนกัน"


เห็นไหมคุณหลวงเล็ก แม่แช่มเธอ "อึด" จะตายไป ชะรอยความแบบนี้เธอคงทำตัวแบบยี่ปั๋ว
หรือ ซาปั๋ว ก็ไม่ว่ากัน ของที่เอามาฝากพลอยก็ประดิษฐ์ประดอยทำให้แม่พลอยอย่างสุดฝีมือ  :P :P


อ้อ  อย่างที่ออกขุนยกตัวอย่างในสี่แผ่นดินมาให้ดูนี้ เป็นเครื่องยืนยันว่า
แม่แช่ม "อึด" กระนั้นรึ  "อึด" ตามที่ออกขุนเข้าใจหมายความว่าอย่างไร
แม่แช่มเที่ยวออกเดินตระเวนหาซื้อของเหล่านั้นมาด้วยตัวเอง? มาใส่ชะลอมที่สานเอง?
หาบคอนใส่เรือแล่นมายังกรุงเทพฯ เอง?   ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็แสดงว่า  แม่แช่มนี่ไปตกยากกับพ่อฉิมแท้ๆ

คนทำการค้าหัวเมืองโดยมากเป็นชาวจีน  ซึ่งมีหัวด้านการค้าดีมาก
ในท้องถิ่นมีของอะไรมากก็ซื้อเอาลงเรือมาขายที่เมืองหลวง
แล้วซื้อของจากเมืองหลวงกลับไปขายที่ภูมิลำเนาของตน
ใช่ว่าจะมีแต่คนจีนที่ทำ  คนไทยมีฐานะดีตามหัวเมืองก็ทำเหมือนกัน
ถ้าใครเคยอ่านนิราศจันทบุรี-กรุงเทพฯ ของ หลวงบุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ)
กล่าวถึงการค้าขายระหว่างหัวเมืองกับกรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่ ๕
ก็จะได้ภาพเทียบเคียงกับสี่แผ่นดินในกรณีแม่แช่มได้

คนที่เป็นพ่อค้าคนกลาง  อย่างน้อยก็ต้องมีลูกจ้างหรือแรงงานไว้ใช้สอยขนของ
เดินเรือ  หรือออกไปซื้อของตามบ้านคนในท้องถิ่น  อย่างแม่แช่มนี้
ไม่เห็นจะต้องลงแรงเองเลย  เป็นคุณผู้หญิงชี้นิ้วสั่งอย่างเดียวก็ได้
จะเอาอะไรขอให้บอกเดี๋ยวก็ได้  จะเอาให้งามอย่างไรก็ได้  
เพราะบ่าวไพร่ที่เรือนคงมีไม่น้อย   ยิ่งบ้านพ่อค้าอย่างนี้ เลี้ยงคนเป็นสิบเป็นร้อยได้สบาย
ส่วนเรื่องความประณีตประดิดประดอยนั้น  ไม่ใช่ว่าคนบ้านนอก
จะทำไม่เป็นเสียเมื่อไร   ถึงเวลาสำคัญๆ ต้องการความสวยความงามความประณีต
ชาวสวนชาวนาชาวไร่บ้านนอกเขาก็ทำกันได้เหมือนกัน  ถึงจะไม่เคยเข้าวังเลยก็ตาม

จากข้อความที่ยกมานั้น  ยังไม่ยืนยันความ "อึด" อะไร
นอกจากยืนยันความเป็น "คุณผู้หญิง" ของพ่อค้าหัวเมืองมากกว่า

ส่วนเรื่องมะม่วงและมะม่วงกวนนั้น  เป็นของตามฤดู
ถึงมีดกอย่างไร ก็กวนได้แค่ระยะหนึ่ง  ไม่ถึงทั้งปีแน่นอน
แต่ถ้าจะเก็บส้มลิ้มที่กวนไว้ทยอยเอาออกมาขายได้ทั้งปีนั้นไม่เถียง
(ไม่ว่าจะเก็บมะม่วงบ้านตัวเองกวนเอง รวมกับซื้อมะม่วงบ้านอื่นมากวน
หรือรับซื้อมะม่วงกวนจากชาวบ้าน  ซึ่งเป็นไปได้ทั้งนั้น)
แต่ดูบุคลิกแม่แช่มแล้ว  น่าจะกวนมะม่วงเองไม่ไหว
น่าจะเป็นผู้กำกับหน้าเตาหน้ากระทะ  และการบรรจุหีบห่อ


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ธ.ค. 11, 09:59

        ผู้กำกับการกวนมะม่วงนั้น  ต้องกวนเป็น  คือรู้จักการใช้ไฟ  การแต่งรสให้กลมกล่อม  ความพอดีเมื่อของกวนได้ที่

บ่าวไพร่ก็มีอยู่เพียงสองคน     จะไว้ใจเสียทีเดียวคงไม่ได้    คงอาศัยแค่หุงข้าวและทำปลาบ้างเท่านั้น

ความเป็นชาววังที่เป็นตัวเป็นตนของแม่แช่ม   คือกิริยามารยาทการต้อนรับลูกค้าที่มาแวะซื้อขาย

การทำอาหารให้สามีกิน    เป็นเส้นทางหนึ่งที่จะยึดจิตใจสามีได้คืออาหารมิใช่รึคะ

แม่แช่มน่าจะมีความสุขกายสบายใจพอสมควรทีเดียว    เพราะมีเงินทองในการประกอบอาชีพ    ถึงจะไม่มากแต่ก็ยังเป็น

ที่เกรงใจของสามี             เย็นลงก็อาบน้ำที่ข้างแพแล้วมาร่วมสำรับ  ไม่ต้องกินของจากโรงครัวเหงาอยู่กับลูก

เปรี้ยวหวานมันเค็มประการใดก็สั่งได้  ทำเองบ้างได้นี่นา



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ธ.ค. 11, 10:05


        ท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์ เมื่อสั่งสอนกิริยามารยาทดรุณี  ยังเน้นให้แม่หนูหลังจากทำอาหารกลางวันให้บิดามารดา

ต้องอาบน้ำให้สะอาด  ก่อนจะร่วมสำรับหรือรับใช้ท่านผู้ใหญ่

        แม่แช่มเป็น trophy wife สำหรับหนุ่มลูกจีนแปดริ้วผู้กำลังสร้างตัวแน่นอน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ธ.ค. 11, 10:14
เรือนแพแบบขายของครับลุงไก่


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ธ.ค. 11, 10:31

จากข้อความที่ยกมานั้น  ยังไม่ยืนยันความ "อึด" อะไร
นอกจากยืนยันความเป็น "คุณผู้หญิง" ของพ่อค้าหัวเมืองมากกว่า


ความอึดของแม่แช่มนั้น สุมอยู่ในอุรา ดังกองฟอนเร่าร้อนเรื่อยมา ด้วยตัวแต่งเข้าบ้านพระยาพิพิธ เป็นเมียรอง แถมยังถูกใส่ไคล้ว่าคบชู้ซึ่งการสบประมาทที่ร้ายเหลือสำหรับความเป็นผู้ดีของแม่แช่ม เมื่อแม่แช่มใจอ่อนยอมอยู่กินฉันผัวเมียกับนายฉิมก็ต้องไปเป็นรองข้ารับใช้น้องสาวนายฉิมไปอีก เรื่องซื้อของการค้าก็ต้องหาแหล่งต้นทุนต่ำหรือยกเหมาแผงจักได้ค้าขายมีกำไร

ปลาแห้งที่ท่าเตียนก็มีขายมากมาย ซื้อใส่ชะลอมเข้าวังใครจะไปรู้  :P

มะม่วงกวนที่ดีต้องเนื้อใสดังกระจกแก้ว ไร้มลทินจุดด่างดำ คุณหลวงเล็กชอบทานไหม ติดฟันดีนักแล


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ธ.ค. 11, 11:15
ลุงไก่ยังเดินท่อมๆ เลาะกำแพงวังอยู่เลย คุณวันดีพาไปเที่ยวเมืองฉะเชิงเทราแล้ว

สมัยวัยยังเด็ก ประมาณ พ.ศ. 2510 ถูกผู้ใหญ่พาไปบางคล้าด้วยทางเรือ บอกเส้นทางไม่ได้ จำได้เพียงว่าออกจากบ้านแต่เช้า ไปถึงบางคล้าตอนเย็น

นั่งเรืิอหางยาวไป น่าจะลงเรือที่ท่าเตียน (ไม่ใช่ท่าช้างและท่าปากคลองตลาด) เรือแล่นเข้าคลองบ้าง ออกแม่น้ำบ้าง ทั้งวัน



ผู้ใหญ่ท่านเล่าว่าในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เลิกไปแล้วสักระยะ ผู้คนชาวแปดริ้วได้ยินเรื่องการแจกพระของขวัญที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ต่างจ้างเรือล่องมาที่วัด ใช้เวลาสามวันกว่าจะถึง

เส้นทางการเดินเรือมีได้ ๒ ทางครับลุงไก่

๑. จากแม่น้ำเจ้าพระยา - คลองสำโรง - แม่น้ำบางปะกง - แปดริ้ว

๒. จากคลองพระโขนง - บางขนาก - ท่าถั่ว - แปดริ้ว

แต่รู้สึกว่าการเดินเรือในลำดับที่ ๒ จะนิยมกว่า เพราะเส้นทางครงดีเข้าถึงกรุงเทพได้ง่าย


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ธ.ค. 11, 12:01

ความอึดของแม่แช่มนั้น สุมอยู่ในอุรา ดังกองฟอนเร่าร้อนเรื่อยมา
ด้วยตัวแต่งเข้าบ้านพระยาพิพิธ เป็นเมียรอง แถมยังถูกใส่ไคล้ว่าคบชู้
ซึ่งการสบประมาทที่ร้ายเหลือสำหรับความเป็นผู้ดีของแม่แช่ม
เมื่อแม่แช่มใจอ่อนยอมอยู่กินฉันผัวเมียกับนายฉิมก็ต้องไปเป็นรองข้ารับใช้น้องสาวนายฉิมไปอีก
เรื่องซื้อของการค้าก็ต้องหาแหล่งต้นทุนต่ำหรือยกเหมาแผงจักได้ค้าขายมีกำไร

ปลาแห้งที่ท่าเตียนก็มีขายมากมาย ซื้อใส่ชะลอมเข้าวังใครจะไปรู้  :P

มะม่วงกวนที่ดีต้องเนื้อใสดังกระจกแก้ว ไร้มลทินจุดด่างดำ คุณหลวงเล็กชอบทานไหม ติดฟันดีนักแล


"ด้วยตัวแต่งเข้าบ้านพระยาพิพิธ เป็นเมียรอง"  แม่แช่มได้รับการตบแต่งเป็นเมียรองเจ้าคุณพิพิธกระนั้นรึ

ความอีดที่ออกขุนว่ามา  พอจะอนุมานได้ไหมว่า สักกี่ปีกี่เดือน
การไปเป็นน้อยเขา  ก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าฐานะและสิทธิไม่ได้เท่าบ้านใหญ่
บ้านท่านเจ้าคุณก็คนอยู่กันมาก  การถูกจับจ้องจับผิด การกระทบกระทั่งก็มีเป็นธรรมดา
ต่อให้เป็นคนจากสกุลผู้ดีกี่สาแหรกก็ตาม  ก็หนีความเป็นจริงในโลกอย่างนี้ไม่พ้น
ความอึดอย่างนี้  ไม่ถือว่าเป็นคุณสมบัติอันอัศจรรย์อันใด  
เพราะใครที่อยู่ในฐานะอย่างแม่แช่ม  ก็ต้องเป็นอย่างนี้

ส่วนเมื่อแม่แช่มไปเป็นเมียพ่อฉิมต้องไปรับใช้น้องสาวนั้น
ก็ไม่ใช่เรื่องผิดประหลาดอันใดในประเพณี ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือไทย
ภรรยาต้องดูแลครอบครัวและญาติร่วมเรือนของสามีเป็นปกติ
แต่กรณีแม่แช่มอาจจะสบายหน่อยตรงที่ได้สามีเป็นพ่อค้ามีฐานะ
(อย่างน้อยก็ดีกว่าชาวบ้านหัวเมืองทั่วไป)  อาจจะไม่ต้องทำงานหนักมาก
ส่วนเรื่องการค้าขายนั้น  แม่แช่มคงเป็นแต่เข้าไปช่วยพ่อฉิมบ้าง
คงไม่ถึงกับลงทุนลงแรงเอง  สามีเขาก็มีจะปล่อยให้เมียทำเลี้ยงกระนั้นรึ

ส่วน "ปลาแห้งที่ท่าเตียนก็มีขายมากมาย ซื้อใส่ชะลอมเข้าวังใครจะไปรู้"
อันนี้ก็อยู่ที่นิสัยของแม่แช่มว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตแค่ไหน
แต่ก็ไม่ควรลืมว่า  ตลาดท่าเตียนนั้นผู้คนพลุกพล่าน ชาวบ้านร้านตลาด
และบรรดาชาววังเดินซื้อหาสินค้ากันให้เกลื่อนกล่น  แถมอยู่ใกล้วัง
ถ้าแม่แช่มจะซื้อปลาแห้งยัดใส่ชะลอมเข้าวังก็คงไม่มีใครว่า  
ถึงจะไม่ได้หอบหิ้วมาเองแต่แปดริ้ว  อย่างน้อยคนรับก็ยังยินดีว่า
อ้อ  นี่แม่แช่มยังมีน้ำใจซื้อของมาให้นะ  แต่ความจริงก็คือความจริง
ถ้าแม่แช่มยังมีเชื้อผู้ดีอยู่บ้าง  คงไม่ทำให้คนที่นับถือกันเสียใจด้วยวิธีอย่างนี้

มะม่วงกวนน่ะ กินมาเยอะ   นั่งดูเขากวนก็เคย   ช่วยเขากวนก็เคย  
แม้จะกวนไม่เก่ง ไม่ชำนาญถึงขนาดรู้การใช้ไฟ  การปรุงรส
อย่างน้อยก็รู้จากปากของผู้ใหญ่ว่า  สมัยก่อนน่ะ  เขากวนมะม่วงกินเป็นทุกบ้านแหละ
เหมือนตำข้าวเม่า  ทำลอดช่อง  กวนกระยาสารท นั่นแหละ
สมัยก่อนไม่มีใครเอามาขายกันหรอกตามบ้านนอกนี่  ทำกินอันเองทั้งนั้น
คนทำก็เรียนรู้เอาเองบ้าง  ลักจำเขามาบ้าง  ฝึกทำเองจนเป็น
บ้านใครมีงานก็ไปช่วยกันทำครัว  เขาก็ทำเป็นกันหมด  แต่จะอร่อยหรือเปล่าอีกเรื่อง


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ธ.ค. 11, 12:24
มะม่วงกวนน่ะ กินมาเยอะ   นั่งดูเขากวนก็เคย   ช่วยเขากวนก็เคย  
แม้จะกวนไม่เก่ง ไม่ชำนาญถึงขนาดรู้การใช้ไฟ  การปรุงรส
อย่างน้อยก็รู้จากปากของผู้ใหญ่ว่า  สมัยก่อนน่ะ  เขากวนมะม่วงกินเป็นทุกบ้านแหละ

ดูท่าทางแล้วคุณหลวงคงจะ กวน เก่งมากทีเดียว ส่วนหนุ่มสยามเองก็เคยผ่านการกวนมะม่วง ซึ่งทรมานมากหลาย ถึงคราวมะม่วงน้ำดอกไม้ที่บ้านออกมามากมาย จำรวมมากวนให้น้ำงวด กระเด็นเดือดปุด ๆ โดนหลังมือเนื้อสุก สะดุ้งโหยง แต่คุ้มค่าเมื่อนำมาแผ่แผ่นบางใส สะอาดอีกด้วย  ;D

ในตำราแม่แช่มค่อนพ่อฉิมว่า "ค่อนข้างเค็ม" คงรู้จักเขียม ใช้เงินฟุ้งเฟ้อ นิสัยพ่อค้ากำไรนิดหน่อยก็เอา


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ธ.ค. 11, 13:01

        แช่มมีเรือนแพซื้อมาจากคนแถวนั้น(ด้วยคำแนะนำของฉิมผู้ฟาดค่านายหน้าไปแล้วแน่นอน)

รับซื้อสินค้าขายบ้างแถวนั้นและส่งเข้ากรุงเทพ  และกำลังจะซื้อผ้าผ่อนท่อนสไบจากกรุงเทพไปขายที่แพ

แช่มมีรายได้เป็นของตนเอง       ฉิมมีเรือหลายลำ  ซึ่งคงคิดราคาแช่มไม่แพงเกินไป

คนที่มีเรือขนส่งสินค้าได้นั้น  น่าจะเป็นนักเลงพอตัว    แข่มตายลงนางพิศก็เข้าวังมาหาพลอยประกาศตนเป็นมรดก

เงินทุน  เรือนแพ  สินค้า   ฉิมยึดอย่างสงบ

        ผ้าสมัยนั้นมีราคา  คนวิ่งราวผ้ากัน    การจำนำผ้าที่เพื่อนนำมาฝากก็เป็นคดีถึงโรงศาล    เช่าเรือนแถวเก็บผ้าแล้วมีคนมางัด

หรือคัดกุญแจ    คนเช่าแจ้งจับผุ้ให้เช่าเลย



มีปัญหาถามคุณหลวงเล็กที่นับถือและครั่นคร้าม

       มีเรื่องที่คิดไม่ตลอดรอดฝั่ง  คือ ครอบครัวของหญิง  บันทึกว่า  หญิงได้สมรสกับชาย  มีบุตร ๒ คน   แต่บุตรมิได้รับมรดก

แล้วจะนับว่าสมรสได้หรือคะ    เพราะเพื่อนข้าราชการ  ผู้บังคับบัญชาก็ไม่เคยทราบหรือมีบันทึกว่า   ฝ่ายชายมีครอบครัวที่ สอง

อยู่ด้วยกันที่ไหนก็ไม่มีใครทราบ  มิได้อยู่ในบ้านใหญ่        แล้วดูราวกับว่าเมียที่ตกแต่งออกหน้าเข้าเฝ้าถวายของ  ไม่ทราบว่าสามี

มี ครอบครัวที่สอง       การเรียกร้องมรดกก็ไม่มีเพราะบุตรยังเด็ก    มารดาคงไม่มีที่พึ่ง   คิดมาคิดไป  หาที่พึ่งยังไม่ได้  เพราะสามีไม่ใช่คนไทย

เมียตกแต่งก็ออกจากประเทศไทยไปแล้ว


กฎหมายมรดกของไทยจะแบ่งให้เมียหลวง ๓ ส่วนครึ่ง   เมียอีกคน ๓ ส่วนกระนั้นหรือ   ไม่ใช่สร้อยฟ้า ศรีมาลานะคะ

สมรสนี่ต้องมีงานแต่งหรือคะ  เช่นผูกขอมือ  หรือไปสู่ขอหญิงมาจากผู้ปกครอง    ภาษาเก่าว่าสุนัขไม่ได้กินกากมะพร้าว(ไม่มีงานกินเลี้ยง)

ขออภัยที่ชักใบเรือออกนอกเส้นทางเล็กน้อย


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 23 ธ.ค. 11, 13:17
ท่านอาจารย์ฯ เขียนไว้ว่า "ของที่แม่เอามาคราวนี้ดูมากมายหนักหนา นับของที่ใส่ชะลอมก็สิบกว่าชะลอม มีลูกไม้กล้วยอ้อยจากบ้านนอกบ้างซึ่งแม่บอกว่าเอามาฝากเพื่อนฝูง ไข่ทั้งจืดทั้งเค็มและปลาแห้งปลากรอบ ซึ่งแม่บอกว่าจะเอามาถวายเสด็จ ได้คัดเลือกเอามาแล้วอย่างดีจริงๆ ทั้งนั้น ..."

ก็น่าจะเป็นไปได้ว่าของที่จะถวายเสด็จนั้น แม่แช่มซื้อหาเอาจากตลาดท่าเตียนหรือจากปากคลองตลาด

ไข่ทั้งจืดทั้งเค็ม ก็คงจะเป็นไข่เป็ด ไม่ใช่ไข่ไก่เป็นแน่

อีกประโยคหนึ่งคือของฝากที่แม่แช่มนำมาฝากให้พลอย " ... อีกชะลอมหนึ่งใส่ไข่เต่าเปลือกขาวสะอาด ... แต่สิ่งสุดท้ายที่แม่ล้วงจากชะลอมก็คือทุเรียนกวนพวงหนึ่ง ห่อกาบหมากเรียบร้อยเป็นห่อเล็กๆ แต่ละห่อน่าเอ็นดูเพียงจะขาดใจ"

คุณสายซึ่งนั่งดูของที่แม่นำมาฝากพลอยถึงกับอดใจไว้ไม่ได้ ต้องอุทานออกมาว่า "ต๊าย ช่างทำน่าเอ็นดูจริงๆ แม่แช่มนี่แกไม่ทิ้งนิสัยชาววัง ไม่ว่าจะไปไหนก็ช่างคิดช่างทำอยู่เสมอ"

เป็นอันว่าทุเรียนกวนห่อกาบหมากนี่ แม่แช่มทำเอง ส่วนจะกวนทุเรียนเองหรือเปล่า และทุเรียนที่ฉะเชิงเทราน่าจะมาจากไหน เมืองนนท์ เมืองชล เมืองระยอง เมืองจันทร์ ?

ไข่เต่าถ้าจะมีที่ฉะเชิงเทรา ก็เป็นไข่ของเต่าน้ำจืด

เรื่องที่คนไทยทำมาค้าขายไม่เป็น สู้คนจีนไม่ได้นั้น คงต้องคิดใหม่ว่าคนไทยก็ค้าขายเป็นมาแต่ครั้งโบราณ แต่คนจีนที่ค้าขายเก่งกว่าก็น่าจะเป็นเพราะการหาทุนประกอบการค้าทำได้ง่ายกว่าคนไทย (อ้างถึงบันทึกประวัติของคุณเทียม โชควัฒนา ที่ได้เคยอ่านครับ)



เรื่องมะม่วงกวน กวนมะม่วง ก็คงให้ผู้ชำนาญการได้เสวนากันต่อไปครับ  ผมถนัดทานอย่างเดียว



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ธ.ค. 11, 14:02
สินค้าพื้นเมืองฉะเชิงเทรา ไม่มีทุเรียนปรากฎมาก่อน ดังนั้นคงมาจากแหล่งอื่น อาจจะซื้อติดไม้ติดมือระหว่างเดินทางหรือถึงพระนครก็เป็นได้

ของขึ้นชื่อที่ฉะเชิงเทรามีหลายอย่าง
๑. อ้อย นำมาหีบเป็นน้ำตาลอย่างดี ขึ้นชื่อลือชา ควรนำมาฝากเสด็จได้
๒. สัปปะรด มีปลูกมากขึ้นชื่อลือชา ปลูกกันเป็นพัน ๆ ไร่ คาดว่าเมื่อแม่พลอยโตเป็นสาวแล้ว คงได้ข่าวการตั้งโรงงานผลิตสัปปะรดกระป๋องเป็นแน่แท้
๓. มะพร้าว ปลูกกันมากมาย  เก็บภาษีกันไม่หวาดไม่ไหว
๔. ต้นจาก ใบจาก ลูกจาก ของอร่อยมากมาย น้ำส้มสายชูต้นจาก ของแปลกสำหรับพระนคร ควรติดชะลอมมาด้วย (หากคุณหลวงเล็กจะตรวจเดินสวน ก็เสียอากรยกสวนไปเลย ราคา ๑ เฟื้อง)
๕. ยาสูบ, ถั่ว, งา มีบ้าง
๖. ผลหมาก มีให้เลือกมากมาย ปลูกกันดาษดื่นที่ฉะเชิงเทรา


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 24 ธ.ค. 11, 23:21
ถ้าเป็นสาแหรกคุณเปรมคงเข้ามาร่วมสนทนาด้วย แต่นี้สิ้นปัญญา ขอนั่งอ่านเงียบๆอย่างสนใจดีกว่า

ทั้งนี้ ไปเจอเอกสารฉบับหนึ่ง ว่าด้วยเมืองจีนบันทึกถึงการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นั่งอ่านด้วยความตื่นเต้น และแกมยากลำบาก เพราะว่าเป็นภาษาโบราณ

นอกเรื่องไปนิด แต่ก็ยังอยู่ในเค้าของสี่แผ่นดิน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 25 ธ.ค. 11, 05:45

สวัสดีค่ะคุณฮั่นบิง   ที่ระลึกถึง     ดีใจที่เห็นแวะมา

เมืองไทยตอนนี้อากาศสลับหนาวในตอนเช้าตรู่    ลมแรงไม้ร่วงกระจายไปทั่วทิศ

ต้นไม้ต้องการน้ำมากเพราะอากาศแห้ง

สหายที่ชอบอ่านหนังสือมาคุยกัน  แสดงจินตนาการการของตนเอง   น่าอภิรมย์ยิ่งนัก

มีคนกระฟัดกระเฟียดอยู่บ้างว่าคุยกันแต่เรื่องมะม่วง

อ้าว...ของชอบนี่นา

นักสะสมหนังสือและเจ้าของสำนักพิมพ์เล็กๆคนหนึ่ง  อ่านหนังสือเก่าสมัยสุภาพบุรุษให้เราฟัง

ว่าพระเอกนึกถึงนางเอกในสวนมะม่วงที่กำลังออกผลงามบนต้น  ซึ่งนางเอกจะเลือกไปกวน

มีเสียงประท้วงจากพรรคพวกทันทีว่านักประพันธ์หลงทาง   มะม่วงที่นำมากวนนั้นจะเป็นมะม่วงที่เหลือจากการคัดส่งขาย

และเป็นมะม่วงที่ร่วงหล่น   ปอกแล้วก็ต้องตัดบางส่วนทิ้ง    มะม่วงทั่วไปที่สุกนั้นเมื่อกวนจะรสหวานมาก     

นักอ่านไม่มีเบาะแสมากนักเเรื่องแม่แช่ม     เมื่อตั้งวงแล้วก็ไม่ค่อยจะยอมเลิก

ปีใหม่ไปแล้วก็นัดกันว่าจะไปหาหมี่กรอบชาวบ้านกินกัน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ธ.ค. 11, 11:55
ลุงไก่ยังเดินท่อมๆ เลาะกำแพงวังอยู่เลย คุณวันดีพาไปเที่ยวเมืองฉะเชิงเทราแล้ว

.....

จะเป็นเส้นทางเดียวกับแม่ช้อยเดินทางไปฉะเชิงเทรากระมัง?

อะไรๆ ก็รับทราบเกือบหมดแล้ว เลยต้องคว้าเครื่องคิดเลขมาคิดอายุตัวละครแต่ละท่านแทน





ขออภัยด้วยครับที่ แม่แช่ม  กลายเป็น แม่ช้อย  คงจะเบลอ ...

จำได้ว่าสมัยก่อน มะม่วงกวน จะวาง แผ่ บน กระด้ง สานด้วย ตอก แล้วนำไปตากแดดจัดๆ สักแดดหนึ่ง
สมัยนี้คงจะหากระด้งสานได้ยาก เทคโนโลยีทางวัสดุที่เปลี่ยนไปด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน






กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ธ.ค. 11, 12:24
จริงเรื่องกวนมะม่วงนี้ของถนัดเพราะว่าที่บ้านมีต้นมะม่วงน้ำดอกไม้อยู่ สมัยเด็กๆ หน้ามะม่วงทีก็เป็นธุระของคนทั้งบ้านในการปอกมะม่วง กวนมะม่วง และตากมะม่วงกวน

นี้ไม่นับนั่งห่อและบรรจุขาย และขี่จักรยานไปส่งอีก

ตอนนั้นเด็กอยู่มาก กวนหน้าเตาเราทำไม่ค่อยไหว (จำได้เลยว่าไม่ชอบ เพราะมันร้อนมาก) ได้แค่เดินตามคุณยายและพี่เลี้ยง และคนในบ้านคนอื่นๆตอนไปตากมะม่วง

หน้าที่มีอย่างเดียวคือกลับมะม่วง

คิดไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้ชอบมะม่วงกวนที่แห้งเป็นแผ่น แต่ชอบตอนที่เหลวๆ กินอร่อยดี

เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนนอกเหนือไปจากการทำขนมไทย ที่ต้องใช้แรงงานมหาศาลในการกวน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ธ.ค. 11, 12:54

คิดไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้ชอบมะม่วงกวนที่แห้งเป็นแผ่น แต่ชอบตอนที่เหลวๆ กินอร่อยดี


คุญหาญเคยทานแยมมะม่วงไหมครับ เมื่อกวนมะม่วงได้ที่แล้ว ไม่ต้องตากแห้ง แบ่งมาหน่อยใส่ขวดโหลแก้ว แช่เย็นให้จับตัวนิด นำมาทาขนมปังทาแยมมะม่วงน้ำดอกไม้ได้อร่อยมาก


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 25 ธ.ค. 11, 13:24
        มะม่วงแผ่นสีคล้ำแผ่นโต  เอามาม้วน  สูบต่างบุหรี่ตะพานโพ

มะม่วงแผ่นสีส้มใสแผ่นกลาง    ทำมาจับจีบ   ทำถ้วยเล็กๆ   กว่าจะได้ที่  ก็กินที่ไม่สวยไปมากต่อมาก

ส้มลิ้มแผ่นจิ๋ว  ก็นำมาตั้งแถวซ้อนกันทำป็นตั้งพลูมี ๘ ใบ  กินทีละตั้ง

ไม่ชอบชัทนี่  ดูจะหวาน  เห็นแต่แขกอินเดียกิน

ผู้ใหญ่ที่บ้านหยอดมะม่วงกวนลงบนใบไม้ที่กินได้ใบกลาาง ๆ    วางตากแดดไว้ที่ขอบสะพานบ้านใหญ่ไปบ้านเล็ก

เดินผ่านกี่ครั้งก็เลือกชิม  และเก็บไปฝากสหาย   วันเสาร์ก็ฝากสหายบ้านไกล      วันอาทิตย์ก็ฝากสหายที่ไปซื้อต้นไม้ซื้อหนังสือ

วันจันทร์ก็ฝากมืตรที่ที่ทำงาน      กลับมารายงานว่าให้ใครบ้าง   ผู้ใดกินแล้วชมว่าอย่างไรบ้าง



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ธ.ค. 11, 14:03
จริงเรื่องกวนมะม่วงนี้ของถนัดเพราะว่าที่บ้านมีต้นมะม่วงน้ำดอกไม้อยู่ สมัยเด็กๆ หน้ามะม่วงทีก็เป็นธุระของคนทั้งบ้านในการปอกมะม่วง กวนมะม่วง และตากมะม่วงกวน

นี้ไม่นับนั่งห่อและบรรจุขาย และขี่จักรยานไปส่งอีก

ตอนนั้นเด็กอยู่มาก กวนหน้าเตาเราทำไม่ค่อยไหว (จำได้เลยว่าไม่ชอบ เพราะมันร้อนมาก) ได้แค่เดินตามคุณยายและพี่เลี้ยง และคนในบ้านคนอื่นๆตอนไปตากมะม่วง

หน้าที่มีอย่างเดียวคือกลับมะม่วง

คิดไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้ชอบมะม่วงกวนที่แห้งเป็นแผ่น แต่ชอบตอนที่เหลวๆ กินอร่อยดี

เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนนอกเหนือไปจากการทำขนมไทย ที่ต้องใช้แรงงานมหาศาลในการกวน


หลักฐานจากภาพ .. เชื่อครับ



กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 ธ.ค. 11, 14:47
เชื่อหรือไม่ ไม่เคยกินเลย เพราะทุกครั้งที่จะกินจะถูกดุว่า กินอะไรแปลกๆ รอให้แห้งก่อน

อีกข้อหนึ่งที่ทุกวันนี้ยังจำได้คือ การไปเก็บผึ้งออกจากมะม่วงกวน ค่อยๆเก็บ เวลามันติด ภายหลัมีตาข่ายเล็กๆคลุมค่อยสบายขึ้นหน่อย

ตอนนี้ยายก็จากไปแล้ว ต้นมะม่วงก็ล้มไปแล้ว คนในบ้านลดจำนวนลงไปตามภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป เหลือแต่คนในครอบครัวจริงๆ คนในบ้านที่เคยมาอาศัยร่วมกันเป็น ๑๐ ก็แยกย้ายไปตามแรงบุญแรงกรรมของแต่ละคน

นึกถึงสมัยก่อนโน้น เวลาสงกรานต์ ทำลาบ ก้อย ครั้งละกะละมังโตๆ สองสามกะละมัง หน้ามะม่วงทำมะมวงกวนที่ละ ๕ - ๖ กะทะใบบัวโตๆ มะม่วงจากสวนกองท่วมหัว คนในบ้านสาละวนช่วยกันทำงาน ขายบ้าง แบ่งบ้าง คิดๆไปชีวิตวัยเด็กคล้ายๆกับหนังสือเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กนิดๆ อาจเป็นเพราะอยู่ในจังหวัดชัยภูมิก็ได้ ชีวิตเลยก้าวไปช้ากว่าในกรุงเทพมหานคร

หลุดจากเรื่องแม่พลอย แม่แช่มไปไกล ขออภัย


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 27 ธ.ค. 11, 11:16
ทันทีที่มีเวลาก้าวขึ้นเรือนไทย ก็ตามกระทู้นี้ทันทีค่ะ

แม่แช่มดูจะค้าขายรุ่งเืรืองรวดเร็ว โดยอาศัยฝีมือชาววัง และ การสนับสนุนของคนรัก จึงได้เปรียบ

ผิดกับแม่ช้อยที่กลับบอกว่า ฝีมือชาววังแำละทำของขายก็ต้องดีเลิศ เป็นผลให้แม่ช้อยค้าขายไม่รุ่งเรืองเท่า

อาจะเป็นได้ทีี่่แม่ช้อยริค้าขายเอาเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นได้

ในสายตาคนตะวันตก ได้กล่าวถึงยุคสมัยที่แม่แช่มค้าขายไว้ดังนี้

The last decade of King Chulalongkorn’s long reign was as nearly utopian as our world has seen. There was no poverty as in other lands; no one could freeze or starve because the monasteries afforded free shelter in their salas. There was reward for intelligent endeavor. The humblest born could earn a title of nobility. The aged were honored and cared for. Children were taught to honor priest, teacher, and parent in that order. Their heritage from ancient times was a gracious dignity and charm inherent in free people. They were a peace within and without their borders. They were friendly to the stranger and tolerant of foreigners’ outlandish ways, Whether Hindu, Muslim, Chinese or European.
(page 54  “Siam Was Our Home” A narrative memoir of  Ednar Bruner Bulkley’s years in Thailand in the early 1900’s.)
ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์ซึ่งทรงครองสิริราชสมบัติมาเป็นเวลายาวนานนี้ สยามเปรียบเสมือนเมืองในฝัน(Utopia) ที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ไม่มีความยากจนในแผ่นดินแห่งนี้เหมือนดังเช่นที่แผ่นดินอื่น ไม่มีผู้ใดต้องหนาวตายหรืออดอาหารจนตาย เพราะตามวัดจะมีศาลา ไว้ใช้เป็นที่พักพิงแก่คนยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีรางวัลให้แก่ผู้ที่พยายามศึกษาหาความรู้ แม้ผู้ที่มีฐานะต่ำต้อยที่สุดก็มีโอกาสที่จะได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ คนชราได้รับความเคารพและดูแลเอาใจใส่ เด็กๆ ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เคารพพระภิกษุ ครูบาอาจารย์ และพ่อแม่ตามลำดับ มรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณกาลนับเป็นเกียรติภูมิและเป็นเสน่ห์ที่สืบทอดอยู่ในสายเลือดของคนที่เป็นไท พวกเขาอยู่กันอย่างสงบสุข เป็นมิตรกับคนต่างถิ่น และยอมรับวิถีชีวิตที่แตกต่างของชนชาตอื่นๆไม่ว่าจะเป็นฮินดู มุสลิม จีน หรือ ยุโรป (หน้า 80 “สยามคือบ้านของเรา” โดยเอ็ดน่า บรูเน่อร์ บัลค์ลีย์ แปลโดย “เด็กวัฒฯ รุ่น 100”)
Although Bangkok at the turn of the century was a Shangri-La of peace and plenty, with the splendors of court life in its very midst, royalty going in and out unprotected and unselfconscious, it was also totally devoid of the sordid and distressing poverty common in most of the other great cities of the world.
(page 75 “Siam Was Our Home” A narrative memoir of  Ednar Bruner Bulkley’s years in Thailand in the early 1900’s.)
กรุงเทพฯในช่วงต้นศตวรรษนี้ (คริสต์ศตวรรษที่ 20) เป็นแดนสวรรค์แห่งความสงบสุขและความอุดมสมบูรณ์ โดยมีชีวิตอันหรูหราของราชสำนักเป็นจุดศูนย์กลาง เหล่าพระราชวงศ์สามารถเสด็จไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องมีทหารคุ้มกันและไม่ต้องแสดงพระองค์ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่ปราศจากความยากจนข้นแค้นชนิดที่ทำให้ผู้คนหยาบคายไร้ศีลธรรมจรรยาหรือเห็นแก่ตัว ซึ่งมักจะพบเห็นอยู่เสมอในมหานครอื่น ๆ ทั้งหลายในโลกนี้ แต่กระนั้น สภาพความเป็นอยู่ในภมิอากาศเขตร้อนก็ยังคงเป็นสิ่งที่โหดร้ายเหลือแสนสำหรับชาวตะวันตกอยู่ดี
(หน้า 115 “สยามคือบ้านของเรา” โดยเอ็ดน่า บรูเน่อร์ บัลค์ลีย์ แปลโดย “เด็กวัฒฯ รุ่น 100


สนใจที่คุณฮั่นปิง กล่าวไว้ว่า
อ้างถึง
ทั้งนี้ ไปเจอเอกสารฉบับหนึ่ง ว่าด้วยเมืองจีนบันทึกถึงการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นั่งอ่านด้วยความตื่นเต้น และแกมยากลำบาก เพราะว่าเป็นภาษาโบราณ

นอกเรื่องไปนิด แต่ก็ยังอยู่ในเค้าของสี่แผ่นดิน

มีโอกาสแปลมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ พ่อฉิมก็เป็นคนเชื้อสายจีนมิใช่หรือ


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 27 ธ.ค. 11, 11:30
ขออนุญาตคุยเรืองมะม่วงกวนต่อสักหน่อยนะคะ

ไม่ใช่นักกวนมะม่วงหรอกค่ะ เป็นนักกินมากกว่า

มะม่วงกวนโบราณ(ชาววัง) ทำด้วยมะม่วงพันธุ์อะไรเป็นส่วนใหญ่คะ และ

มีการผสมมะม่วงอื่น ๆ ลงไปเช่นในปัจจุบันนี้หรือไม่คะ

ดิฉันชอบที่กวนแยกแต่ละพันธุ์ต่างหากกัน ใครรู้บ้างว่าจะหาซื้อได้ที่ไหน


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: บัวรัศมี สีทอง ที่ 27 ธ.ค. 11, 12:56
ไม่เกี่ยวกับสาแหรกใดๆ ทั้งสิ้น  อยากบอกว่า มะม่วงกวนที่อร่อยนั้น ต้องแยกตามพันธุ์มะม่วงค่ะ

มะม่วงที่นำมากวนแล้ว สีสวย หวานอมเปรี้ยวนิดๆ คือมะม่วงกล้วย (ชัยภูมิมีเยอะ) แต่ไม่รู้ว่า

จังหวัดอื่นเรียกว่าอะไร  สมัยอยู่ชัยภูมิก็ได้กวนเป็นอาชีพ  ทั้งกวนทั้งตากแดด  ทั้งกินและก็ขาย

คนซื้อต้องมาจองจึงได้ของเพราะคนกวนเป็นหญิงชรา ใจเย็น ๆ ประดิษฐ์ประดอยคัดเลือกมะม่วง

ตามสายพันธุ์ ต้องสุกได้ที แมลงวี่แมลงวันไม่มีทางได้แอ้ม  กวนด้วยกะทะทองเหลืองเตาถ่าน

กวนไม่ขาดสาย เดือดปุ่ดๆ กระเด็นกระดอนตลอดเวลา ใช้กระดงสานใบใหญ่ปกป้องร่างกาย

ถ้ากวนเป็นมะม่วงแผ่นก็สบายหน่อย พอมะม่วงเริ่มเหนียวสีเหลืองสดใสก็ตักขึ้นทาทาบใบตอง

เกลี่ยให้เป็นแผ่นบางนำไปตากแดด สองแดดก็ได้ที ส่วนเมะม่วงกวน ช่วงกวนให้แห้งคนหนุ่มคนสาวก็กวนกันได้

ต้องกวนจนเหนียวทั้งเหนื่อยและหนัก กวนไวกวนเร็ว กวนช้าติดกะทะเหม็นกลิ่นไหม้  ไม่ชำนาญการ กวนเหนียวลำบาก

ต้องเรียกคุณยายมากำกับบท  มองชัดมองเป๊ะ สั่งยกขึ้นมา ลูกหลาน ฮาเฮ มะม่วงกวนยายเนียง


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ธ.ค. 11, 13:18
คิคิ...มะม่วงกวนมาแรง  ;D ;D


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 27 ธ.ค. 11, 13:26
คิคิ...มะม่วงกวนมาแรง  ;D ;D

คิคิ...แรงจนแม่แช่มพ่อฉิมพายเรือตามไม่ทัน  :D


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 ธ.ค. 11, 20:48
คุณบัวรัศมี นี้เขาชำนาญจริงอะไรจริง แม้งานจะยุ่งท่วมหัว ว่าความกี่คดี เตรียมสอนหนังสือกี่มหาวิทยาลัย

ทำวิจัยอยู่กี่เรื่อง ไม่สน อยากทำขนมลุกขึ้นมาทำได้เสมอ แม้จะไม่มีคนสนับสนุน

วันดีคืนดีนั่งกวนกล้วยกวนกินเอง ลูกไม่อยากกินก็ยังนั่งทำแล้วไปเคาะตามบ้านข้างๆแจกกล้วยกวนป้าบัว

ดีนะนั้นแค่กล้วย มะม่วงกวนยิ่งแล้วใหญ่ อย่าให้ได้กล่าว


กระทู้: สาแหรกของแม่พลอย
เริ่มกระทู้โดย: บัวรัศมี สีทอง ที่ 27 ธ.ค. 11, 23:23
ผ่านมะม่วงกวน ส่งต่อถึงกล้วย  อยุธยาเมืองน้ำ  มีกล้วยหลากหลาย  หวีหนึ่งสิบบาท

ซื้อมายกเครือ  ทั้งแจกทั้งแถม  คิดไวทำเร็ว กวนเองก็ได้ ขาดแต่กะทะ  ของกวนทองเหลือง

ต้องไปว่าความ ที่เมืองปราจีน  ต่อรถเร็วจี๋   ตรงรี่โรงเกลือ  หาซื้อกะทะ  ทองเหลืองเล็กใหญ่  ไหนๆ มาแล้ว

ไม่ยอมเสียเที่ยว  ซื้อหาให้ครบ   หวีเล็กหวีใหญ่    กวนได้ดั่งใจ   ว่าแล้วแม่ช้อย  ตัวจริงเสียงจริง   

ลงมือปอกกล้วย  กะทิคั้นสด  น้ำตาลทรายแดง  แป๊ะแซเติมแต่ง  เตาแก้สนะแหละ  กะทะทองเหลือง

ไม้พายฉึกฉัก  กลิ่นหอมสามบ้าน ปาดเหงื่อไหลย้อย  ข้าน้อยกวนเอง  ฮั่นปิงหัวรอ  แม่ช้อยนางรำ

แจกแหลกแจกทั่ว  กล้วยกวนทนายความ :-[