เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:15



กระทู้: เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลต่อฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:15
จากเรื่องของฐานที่ข้าพเจ้าเคยตั้งกระทู้ถาม ผลคือมีผู้เข้ามาตอบมากมายเป็นที่ชื่นใจแก่เจ้าของกระทู้เป็นที่ยิ่ง แต่ข้าพเจ้ายังติดใจสงสัยอยู่เช่นเคยว่าฐานสิงห์ในไทย คืออะไร เพราะข้าพเจ้าเองยังงงๆอยู่ ด้วยไม่ทราบว่าคำว่าฐานสิงห์หมายรวมถึงส่วนบัวคว่ำบัวหงาย อะไรต่ออะไรที่อยู่เหนือฐานสิงห์ขึ้นไปด้วย หรือนับเพียงแค่บริเวณที่เป็นขาของฐาน ที่ดูคล้ายๆขาสิงโต หากได้ความแล้วว่าฐานสิงห์ในหลักสถาปัตยกรรมไทยคืออะไรแล้ว การพิจารณาที่มาของฐานสิงห์จะง่ายขึ้น ว่าได้รับอิทธิพลจากฐานอาคาร หรือฐานเครื่องเรือน
เรื่องฐานสิงห์นี้ในจีนสำหรับงานสถาปัตยกรรมมีมานานเท่าไรข้าพเจ้าไม่ทราบเหมือนกัน เพราะยังไม่ได้ไปแอบอ่านหนังสือที่ร้านต่อจนหมดบท  ไว้ไปแอบอ่านรอบสองแล้วจะรีบกลับมาเล่า (เยี่ยม...แอบเลวได้อีก)
แต่ที่แน่ๆ เครื่องเรือนจีนที่มีลักษณะหน้าตาคล้ายฐานสิงห์เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. ๑๓๖๘ – ๑๖๔๔) กล่าวคือ ตั่งที่มีลักษณะใหญ่ๆยาวๆ ท้องเครื่องเรือนโค้งๆคดๆ ขาหดๆสั้นๆ แบบฐานสิงห์เริ่มมีในยุคดังกล่าวเป็นครั้งแรก เรียกว่า "คังจี" (炕几: Kang ji) นึกไม่ออกให้นึกถึงตั่งไทยธรรมดาๆทั่วไป ไม่มีอะไรแตกต่าง (ภาพที่ ๑)


กระทู้: เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลต่อฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:33
ข้าพเจ้ากดผิดไป ผลคือออกมาสองกระทู้ วานท่านผู้ดูแลลบกระทู้นี้ให้ด้วยครับ