เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: werachaisubhong ที่ 16 ส.ค. 12, 09:06



กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 16 ส.ค. 12, 09:06
ผมได้รูปช้างศึกมารูปหนึ่ง ไม่ทราบว่าอยู่ในสมัยไหนครับ ผมอยากทราบว่าการแต่งช้างศึกในแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกันอย่างไรครับ


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ส.ค. 12, 09:43
ภาพช้างที่เห็นนี้จัดเป็นชุดช้างศึกประเภท "ช้างเขน" ซึ่งผูกเครื่องสัปคับ เขน ปืนนกขายางหรือปืนใหญ่หลังช้าง

ภาพนี้ถ่ายไว้แล้วลงหนังสือภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ อันเป็นช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ การทำหนังสือต้องรวมภาพต่าง ๆ มาลงไว้ใหม่และเก่าปะปนกัน ดังนั้นภาพช้างศึกนี้ก็ถือว่าถ่ายไว้เก่าพอสมควร ซึ่งคาดว่าเป็นงานอะไรสักอย่างหนึ่ง จึงได้มีการจัดกระบวนช้างศึกออกมา สวมชุดศึกออกมาเดินโชว์อยู่ริมถนนมหาไชย หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ส.ค. 12, 09:59
จิตรกรรมลายรดน้ำ ภาพช้างเอราวัณและอินทรชิต ศิลปะวังหน้า

หลังช้างนอกจากทรงตัวดีแล้ว ยังสามารถยิงธนูได้อีก


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ส.ค. 12, 10:02
จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 16 ส.ค. 12, 11:07
ภาพถ่ายช้างศึกที่ออกรบจริงๆในสมัยสงครามปราบฮ่อ ต้นรัชกาลที่๕ ดูเหมือนคล้ายรถถังนะครับ เพียงแต่ทำหน้าที่ลำเลียงปืนใหญ่


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ส.ค. 12, 13:33
การจัดกระบวนทัพของไทย ในคราวปราบฮ่อครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. ๑๘๗๐) ที่เมืองหนองคาย

สังเกตว่าจัดกระบวนทหารม้าเป็นกองหน้า ทหารราบเป็นกองกลาง และกระบวนช้างเป็นกองหลัง





กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:37
ผมได้รูปช้างศึกมารูปหนึ่ง ไม่ทราบว่าอยู่ในสมัยไหนครับ ผมอยากทราบว่าการแต่งช้างศึกในแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกันอย่างไรครับ

รูปต้นฉบับมาจากช่างถ่ายรูปชาวอิตาลี กาลิเลโอ คินี ซึ่งถ้าจำไม่ผิดถ่ายสมัย ร.๕ ครับ


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:39
ภาพถ่ายช้างศึกที่ออกรบจริงๆในสมัยสงครามปราบฮ่อ ต้นรัชกาลที่๕ ดูเหมือนคล้ายรถถังนะครับ เพียงแต่ทำหน้าที่ลำเลียงปืนใหญ่

ลำเลียงปืนแกตลิง(gathring gun)ด้วยครับ ในรูปคือช้างเชือกขวาสุด


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:42
การจัดกระบวนทัพของไทย ในคราวปราบฮ่อครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. ๑๘๗๐) ที่เมืองหนองคาย

สังเกตว่าจัดกระบวนทหารม้าเป็นกองหน้า ทหารราบเป็นกองกลาง และกระบวนช้างเป็นกองหลัง


ภาพนี้ ถ้าจำไม่ผิด ไม่ใช่คราวปราบฮ่อนะครับ แต่เป็นจำลองการจัดกระบวนทัพตามแบบโบราณ ซึ่งจะอยู่ในคราวงานยุทธกีฬา พ.ศ. ๒๔๖๕ ครับ

จำลองการจัดทัพคราวศึกเมืองตะนาวศรี พ.ศ. ๒๓๓๖  ในรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีครับ


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:49
ส่วนที่ จขกท ถามว่าแต่งต่างกันอย่างไร ถ้าโดยปกติช้างศึกในกระบวนทัพจะมีลักษณะตามการใช้งานดังนี้


- ช้างดั้ง เป็นช้างที่นั่งละคอ มีหมอนั่งคอ ควาญนั่งท้าย ควาญกลางหลังนั่งถือหอ เดินอยู่กลางแนวริ้วข้างหน้า

- ช้างกัน มัลักษณะอย่างเดียวกับช้างดั้ง เดินอยู่ริ้วข้างหลัง
- ช้างแทรก คล้าย ๒ ชนิดแรกแต่ไม่มีควาญหลังช้าง
ทำหน้าที่ตรวจตราริ้วนอกทั้ง 2 ข้าง เป็นสารวัตรช้าง

- ช้างแซง เหมือนช้างแทรก เดินเป็นริ้วเรียงกันทั้ง ๒ ข้างตลอด
แนว

- ช้างล้อมวัง เป็นช้างผูกสัปคัปโถง มีหน้าที่ล้อมพระคชาธาร

- ช้างค้ำและช้างค่าย "ช้างต้นเชือกค่ายปลายเชือกค้ำ.มี ๑๐ เชือก

- ช้างพังคา เป็นช้างผูกเชือกมั่น สำหรับเจ้าพระยาเสนาบดีและเจ้าประเทศราช เป็นคู่เคียงข้างละ ๔ เชือก

- ช้างพระไชย เป็นช้างผูกจำลอง หลังคากัลยา สำหรับ
ประดิษฐานพระพุทธรูป นำหน้าพระคชาธาร

- พระคชาธาร เป็นช้างผูกเครื่องมั้นมีที่หมาย ซึ่งเรียกว่าพระคชาธาร มีเศวตฉัตรคันดาร ๗ ชั้น เป็นที่ประทับครกษัตริย์รอนแรม

- พระที่นั่งกระโจมทอง เป็นช้างผูกสัปคับ กูบรูปเรือนวิมาน เป็นพระที่นั่งรอง คราประทับแรม

- ช้างโคตรแล่น เป็นช้างซับมัน เดินอยู่ท้ายขบวน เว้นช่วงเสียงสังข์แต กันมิให้อาละวาด


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:53
นี่ภาพจากกระบวนเพชรพวง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/A3172324-140.jpg)


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:55
(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/S4020331.jpg)

ภาพสมัยไปปราบฮ่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ท่านทำขึ้นมาใหม่


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 13:55
(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/Back1.jpg)

อีกรูปสมัยไปปราบฮ่อเหมือนกันครับ


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 14:00
ปฏิมากรรมนี้ น่าจะเก่าสุดเท่าที่หาได้

(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/IMG_1715-1.jpg)

ถ้าจำไม่ผิดยุคสุโขทัยนะครับ


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 14:05
แถมภาพ

(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/cannon.jpg)


ในรูปที่ จขกท ยกมาน่าจะเป็นปืนกำแพงมากกว่านะครับ ไม่น่าจะใช่ปืนขานกยาง

ข้อมูลบรรยายใต้ภาพของ คุณศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ทายาทของ คุณหมอสำราญ วังศพ่าห์ ผู้เชี่ยวชาญอันดับต้น ๆ ด้านปืนใหญ่โบราณของไทยครับ

ปืนขานกยางจะเป็นรูปบนครับ  จริง ๆ ก็ปรับมาเป็นประเภท "หามแล่น" ได้เหมือนกันดังรูปข้างล่างนี้

(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/hamlan1.jpg)


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 14:12
ส่วนรูปนี้ไม่แน่ใจว่างานไหนเหมือนกันครับ

(http://i117.photobucket.com/albums/o58/LordSri/30364949.jpg)


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 16 ส.ค. 12, 15:27
การจัดกระบวนทัพของไทย ในคราวปราบฮ่อครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. ๑๘๗๐) ที่เมืองหนองคาย

สังเกตว่าจัดกระบวนทหารม้าเป็นกองหน้า ทหารราบเป็นกองกลาง และกระบวนช้างเป็นกองหลัง


ภาพนี้ ถ้าจำไม่ผิด ไม่ใช่คราวปราบฮ่อนะครับ แต่เป็นจำลองการจัดกระบวนทัพตามแบบโบราณ ซึ่งจะอยู่ในคราวงานยุทธกีฬา พ.ศ. ๒๔๖๕ ครับ

จำลองการจัดทัพคราวศึกเมืองตะนาวศรี พ.ศ. ๒๓๓๖  ในรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีครับ


ได้ความว่า เป็นการจัดทัพจำลองไปตีเมืองทวาย พ.ศ. ๒๓๓๖  ในรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีครับ

ในรูปเป็นทัพจำลองของ เจ้าพระยามหาเสนา(ปลี) ซึ่งขี่ช้างอยู่

ส่วนนายทหารสมมติที่ขี่ม้าได้แก่ ตำแหน่ง พระยาสีหราชเดโชไชย, พระยาเทพอรชุน, พระยาศรีสรราช, พระยามหาโยธา(สมมติ : กองมอญ) , พระยาวิเศษสงคราม(สมมติ: ฝรั่งแม่นปืน) , พระยาราชบังสัน(สมมติ : แขกจาม) ,พระยาราชบุรี, พระยาเพชรบุรี ,พระยากาญจนบุรี

ทั้งหมดนี้ สมมติ หมดนะครับ


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 16 ส.ค. 12, 16:33
ส่วนที่ จขกท ถามว่าแต่งต่างกันอย่างไร ถ้าโดยปกติช้างศึกในกระบวนทัพจะมีลักษณะตามการใช้งานดังนี้


- ช้างดั้ง เป็นช้างที่นั่งละคอ มีหมอนั่งคอ ควาญนั่งท้าย ควาญกลางหลังนั่งถือหอ เดินอยู่กลางแนวริ้วข้างหน้า

- ช้างกัน มัลักษณะอย่างเดียวกับช้างดั้ง เดินอยู่ริ้วข้างหลัง
- ช้างแทรก คล้าย ๒ ชนิดแรกแต่ไม่มีควาญหลังช้าง
ทำหน้าที่ตรวจตราริ้วนอกทั้ง 2 ข้าง เป็นสารวัตรช้าง

- ช้างแซง เหมือนช้างแทรก เดินเป็นริ้วเรียงกันทั้ง ๒ ข้างตลอด
แนว

- ช้างล้อมวัง เป็นช้างผูกสัปคัปโถง มีหน้าที่ล้อมพระคชาธาร

- ช้างค้ำและช้างค่าย "ช้างต้นเชือกค่ายปลายเชือกค้ำ.มี ๑๐ เชือก

- ช้างพังคา เป็นช้างผูกเชือกมั่น สำหรับเจ้าพระยาเสนาบดีและเจ้าประเทศราช เป็นคู่เคียงข้างละ ๔ เชือก

- ช้างพระไชย เป็นช้างผูกจำลอง หลังคากัลยา สำหรับ
ประดิษฐานพระพุทธรูป นำหน้าพระคชาธาร

- พระคชาธาร เป็นช้างผูกเครื่องมั้นมีที่หมาย ซึ่งเรียกว่าพระคชาธาร มีเศวตฉัตรคันดาร ๗ ชั้น เป็นที่ประทับครกษัตริย์รอนแรม

- พระที่นั่งกระโจมทอง เป็นช้างผูกสัปคับ กูบรูปเรือนวิมาน เป็นพระที่นั่งรอง คราประทับแรม

- ช้างโคตรแล่น เป็นช้างซับมัน เดินอยู่ท้ายขบวน เว้นช่วงเสียงสังข์แต กันมิให้อาละวาด

ผมคิดว่า กองทัพที่ใช้ช้างในการออกศึกแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 100 เชือก แน่ครับ
การแบ่งหน้าที่ของกองทัพช้าง ตามลักษณะของช้าง

กองทัพช้างเป็นทัพประจัญบาน
ใช้เข้าทำลายป้อมค่ายแลทหารข้าศึก โดยตัวช้างเองจะเป็นผู้เข้าทำการรบด้วย และช้างที่เป็นช้างศึกจะได้รับการฝึกพิเศษให้รู้จักป้องกันตนเองและจู่โจมกองกำลังฝ่ายตรงข้าม ด้วยอวัยวะต่างและพละกำลังของตัวช้างเอง
ช้างจะแบ่งออกเป็น สามประเภทได้แก่
๑.ช้างพลาย เป็นช้างตัวผู้ มีงายาว รูปร่างสูงใหญ่ แล พละกำลังสูง เหมาะจะเป็นช้างประจัญบาน (รบตามแบบ)
๒.ช้างพัง เป็น ช้างตัวเมีย งาสั้นหรือไม่มีงา เหมาะจะเป็นช้างเทียม ช้างลาก หรือใช้งานทั่วไปในกองทัพ ที่สำคัญจะต้องมีช้างพังร่วมกองทัพเสมอ เพราะเมื่อออกศึกเป็นเวลานาน ช้างพลายจะตกมันถ้าไม่มีช้างพังเป็นที่ระบายจะเกิดอันตรายขึ้นในกองทัพได้
๓.ช้างสีดอ เป็น ช้างตัวผู้ ที่มีงาสั้นคล้ายตัวเมีย แต่ฉลาดกว่าช้างพลายหลายเท่า เหมาะจะเป็น ช้างศึกเฉพาะทาง (รบพิเศษ) เช่น ช้างแซง ช้างดั้ง หรือ ช้างล่อ รวมทั้งช้างที่เป็นฐานยิงปืนหลังช้าง เป็นต้น เพราะความฉลาดจึงสามารถฝึกให้หมอบ คลาน เบี่ยงตัวหลบหลีก อาวุธได้อย่างแคล่วคล่อง กว่าช้างพลาย
ที่มา...http://pimpatchara.com/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%99/


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 16 ส.ค. 12, 16:35
การจัดกระบวนทัพช้าง ในสมัย สมเด็จพระนเรศวร
สมเด็จพระนเรศวร ทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) มีเจ้าหน้าที่ประจำช้างต้นดังนี้
ควาญช้าง คือ นายมหานุภาพ  ทำหน้าที่บังคับและช่วยเหลือช้างข้าศึกเข้ามาทำร้าย
กลางช้าง คือ เจ้ารามราฆพ ถือแพนหางนกยูง สองมือคอยให้สัญญาณแก่ทหารและคอยส่งอาวุธ และมีจตุลังบาททำหน้าที่คอยพิทักษ์พระคชาธาร
คนนอกถือหอก คนในถือดาบ คัดเลือกจากขุนนางในกรมพระตำรวจหลวง๔นาย
จตุลังคบาทพิทักษ์พระคชาธาร คนนอกถือหอกคนในถือดาบ  ที่ได้ทำการคัดเลือกจากขุนนางในกรมพระตำรวจหลวง ๔ นายคือ
๑   พระมหามนตรี ประจำ เท้าหน้าขวา
๒   พระมหาเทพ ประจำ เท้าหน้าซ้าย
๓   หลวงอินทรเทพ ประจำ เท้าหลังขวา
๔   หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ เท้าหลังซ้าย
-   หมายเหตุ ตำแหน่งพระที่ประจำเท้าหน้า มีผู้ใต้บังคับบัญชาเป็น ตำแหน่งหลวงที่ประจำเท้าหลัง คือ พระมหามนตรีมีลูกน้อง คือ หลวง อินทรเทพ แล พระมหาเทพมีลูกน้อง คือ
หลวงพิเรนทรเทพ
ทัพช้างหลวงมีดังนี้
๑.   พระยาสีหราชเดโชชัย ขี่พลายโจมไตรภพ เป็นกองหน้า คุมพล ๑๐,๐๐๐
๒.   พระยาพิชัยรณฤทธิ์ ขี่พลายจบไตรจักร เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๓.   พระยาพิชิตนรงค์ ขี่พลายจู่โจมทัพเป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐๐
๔.   พระยาเทพอรชุน ขี่พลายจับโจมยุทธ เป็นเกียกาย คุมพล ๑๐,๐๐๐
๕.   พระยาพิชัยสงคราม ขี่พลายฝ่าผลแมน เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๖.   พระรามกำแหง ขี่พลายแสนพลผ่าย เป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐
หน้าพระคชาธารออกไปปลายเชือก
๑.   ขุนจู่โจมนรงค์ ขี่พลายกุญชรไชย คุมพล เขนทอง ๕๐๐
๒.   ขุนทรงเดช ขี่พลายไกรสรเดช คุมพล เขนทอง ๕๐๐
๓.   พระราชมนู ขี่พลายหัสดินทร์พิชัย คุมพล ปี่กลองชนะซ้ายขวา
๔.   หลวงพิเดชสงคราม ขี่พลายบุญยิ่ง คุมพลดาบโล่และดั้ง ๕๐๐
๕.  หลวงรามพิชัย ขี่พลายมิ่งมงกุฎ คุมพล ดาบโล่และดั้ง ๕๐๐
๖.   พระราชวังสัน (ชาวเปอร์เซียร์) ขี่พลายแก้วมาเมือง คุม อาสา มัวร์ (แขกเปอร์เซียร์) ๕๐๐
๗.   พระเสนาภิมุข (ชาวญี่ปุ่น) ขี่พลายเฟื่องภพไตร คุม อาสาญี่ปุ่น ๕๐๐
๘.   ทหารทลวงฟันคู่พระทัย  ๓๖ นาย
ดาบเขน                        ๓๖ นาย
ดาบโล่                          ๓๖ นาย
ดาบสองมือ                   ๓๖ นาย
หน้าพระคชาธาร ประกอบด้วย หัวหมื่นทนายพระตำรวจดาบสะพายแล่งมีกำลังพล ๕๐๐นาย
ปีกทัพหลวง ประกอบด้วย
๑.   เจ้าพระยามหาเสนา ขี่พลายมารประลัย เป็นปีกขวา คุมพล ๑๕,๐๐๐
๒.   เจ้าพระยาจักรกรี ขี่พลายไฟภัทกัลป เป็นปีกซ้าย คุมพล ๑๕,๐๐๐
๓.   เจ้าพระยาพระคลัง ขี่พลายจักรหิมา เป็นยกกระบัตร คุมพล ๑๐,๐๐๐
๔.   พระราชสงคราม ขี่พลายสังหารคชสิงห์ เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๕.   พระรามรณภพ ขี่พลายมณีจักรพรรดิ เป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐
๖.    พระยาท้ายน้ำ ขี่พลายสวัดิพิชัยเป็นกองหลัง คุมพล ๑๐,๐๐๐
๗.   หลวงหฤทัย ขี่พลายทรงภูบาล เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๘.   หลวงราชภัคดี ขี่พลายภูธร เป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐


กระทู้: ช้างศึกของไทย
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 17 ส.ค. 12, 15:45

ผมคิดว่า กองทัพที่ใช้ช้างในการออกศึกแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 100 เชือก แน่ครับ
การแบ่งหน้าที่ของกองทัพช้าง ตามลักษณะของช้าง

กองทัพช้างเป็นทัพประจัญบาน
ใช้เข้าทำลายป้อมค่ายแลทหารข้าศึก โดยตัวช้างเองจะเป็นผู้เข้าทำการรบด้วย และช้างที่เป็นช้างศึกจะได้รับการฝึกพิเศษให้รู้จักป้องกันตนเองและจู่โจมกองกำลังฝ่ายตรงข้าม ด้วยอวัยวะต่างและพละกำลังของตัวช้างเอง
ช้างจะแบ่งออกเป็น สามประเภทได้แก่
๑.ช้างพลาย เป็นช้างตัวผู้ มีงายาว รูปร่างสูงใหญ่ แล พละกำลังสูง เหมาะจะเป็นช้างประจัญบาน (รบตามแบบ)
๒.ช้างพัง เป็น ช้างตัวเมีย งาสั้นหรือไม่มีงา เหมาะจะเป็นช้างเทียม ช้างลาก หรือใช้งานทั่วไปในกองทัพ ที่สำคัญจะต้องมีช้างพังร่วมกองทัพเสมอ เพราะเมื่อออกศึกเป็นเวลานาน ช้างพลายจะตกมันถ้าไม่มีช้างพังเป็นที่ระบายจะเกิดอันตรายขึ้นในกองทัพได้
๓.ช้างสีดอ เป็น ช้างตัวผู้ ที่มีงาสั้นคล้ายตัวเมีย แต่ฉลาดกว่าช้างพลายหลายเท่า เหมาะจะเป็น ช้างศึกเฉพาะทาง (รบพิเศษ) เช่น ช้างแซง ช้างดั้ง หรือ ช้างล่อ รวมทั้งช้างที่เป็นฐานยิงปืนหลังช้าง เป็นต้น เพราะความฉลาดจึงสามารถฝึกให้หมอบ คลาน เบี่ยงตัวหลบหลีก อาวุธได้อย่างแคล่วคล่อง กว่าช้างพลาย
ที่มา...http://pimpatchara.com/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%99/

น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ เพราะแค่ขบวนเสด็จทางสถลมารค กระบวนช้าง ตามตำราแต่เดิม ถ้าเสด็จฯทรงช้าง กรมช้างเกณฑ์ ช้างพลาย ๗  ช้างพัง ๖๕ รวม ๗๒ ช้าง เข้าไปแล้วล่ะครับ

ซึ่งจะมีตัวอย่างการผูกเครื่องช้าง เช่น

พระที่นั่งทรงโถง ผูกเครื่องลูกพลู เครื่องดาวทองคำ ชาวพระแสงเชิญพระแสงใส่ในเบาะ พระแสงปืนสั้นองค์ ๑
พระแสงพร้าองค์ ๑ กระบี่ม้าผูกข้างเบาะองค์ ๑ รวม ๓ องค์ ท้ายช้างควาญ ๑

พระที่นั่งหลังคาทอง สี่ตำรวจเชิญมาผูก ชาวพระแสงเชิญพระแสงมาผูก ปืนสั้นคู่ ๑ หอกสั้นด้ามเหล็กปิดทองคู่ ๑
นายท้ายช้าง คอ ๑ ท้าย ๑ รวม ๒ คนช้าง ๑

ฯลฯ เป็นต้น ครับ

ถ้าอ่านในพงศาวดารพม่า ตัวเลขก็จะยิ่งมากขึ้นไปกว่านี้อีกครับ