เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 08 ก.พ. 15, 21:07



กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 08 ก.พ. 15, 21:07
                สวัสดีครับ ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อน ผมเด็กน้อยมาใหม่ขอคารวะ อาจารย์ทุกๆท่านในนี้เลยนะครับ พอดีผมเกิดไอเดียจะไล่เรียง เครื่องแบบทหารบก ตั้งแต่อดีต มาถึงปัจจุบัน ตอนแรกกะว่าจะเขียนแค่ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา แต่ไหนก็ได้ค้นแล้วเลยจะเริ่มเขียนตั้งแต่แรกเลย ก็ผมใช้อ้างอิงลำดับการเปลี่ยนแปลงจาก ราชกิจจานุเบกษานะครับ ซึ่งรูปถ่ายที่ผมจะนำมาประกอบ ก็ขออนุญาตใช้จากหลายๆ กระทู้ที่นี่นะครับ
                ผมจะค่อยๆนำที่ผมเขียนมาลงในกระทู้เพื่อที่จะได้ช่วยกันถกเถียงแล้วก็อยากให้อาจารย์หลายๆท่าน เช่นท่าน V_MEE ได้กรุณาคอมเม้นหรือบอกเล่าในส่วนที่ผมขาดหรืออาจะค้นคว้ารวบรวมข้อมูลผิดพลาดครับ โดยผมจะเน้นที่ชุดเครื่องแบบของทหารทั่วไปนะครับ ขอยังไม่ก้าวล่วงไปในส่วนของเครื่องแบบของทหารรักษาพระองค์และเครื่องแบบสโมสรเพราะจะเยอะมาก ครับ
                เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขจากที่เคยได้ตราไว้ ในรศ. ๑๑๖ ครับ แต่ตัว ร.ศ.๑๑๖ ผมไม่สามารถค้นในอินเตอร์เน็ตออกมาได้เลยเริ่มต้นจากจุดนี้คได้ครับพระราชกำหนดนี้ยังไม่ได้แบ่งว่ามีเครื่องแบบกี่แบบอะไรบ้าง ผมจะขอไล่เรียงเฉพาะเครื่องแบบนายทหารสัญญาบัตรนะครับ
นายทหารสัญญาบัตร (ในพรก.บัญญัติว่า ชั้นนายพันนายร้อยนายดาบ) 
   มีหมวก ๓ ประเภท   
๑. หมวกเฮลเม็ตสีขาวมียอดมีตราอาร์มแผ่นดิน(เข้าใจว่าเป็น หมวกยอด-ผู้เขียน)
๒.หมวกแก๊บทรงหม้อตาลสีเทามีกระบังหน้าหนังดำ มีปลอกสีขาวหรือสีเทา(เป็นหมวกสีขาวหรือสีเทา-ผู้เขียน) หน้าหมวกเป็นตราประทุมอุณาโลม (ตราขนาดเล็กเป็นโครงคล้ายดอกบัวตูมด้านในมีอุณาโลม)
๓.หมวกกันแดดสีขาว (เข้าใจว่าเป็นหมวกคล้ายหมวกกะโล่)มีตราประทุมอุณาโลมสายรัดคางสีเหลือง
   มีเสื้อ ๓ ประเภท
๑.เสื้อทูนิกสีเทาคอพับถ้าเป็นชั้นนายพัน มีแถบทองกว้าง ๑ ซม. ทาบคลางคอเสื้อ มีกระเป๋าหลัง กระเป๋าข้าง มีเส้นลวดขั้นริมอกและปากกระเป๋า และข้อมือ
      ๒. เสื้อสีเทารูปราชปะแตนท์คอพับหรือเสื้อทรงกระสอบคอพับ
      ๓. เสื้อสีขาวรูปราชปะแตนท์
   มีอินทธรนู ๒ แบบ ด้วยกันครับคือ
๑. พลรบ เป็นอินทรธนูประดับยาวตามแนวบ่ากว้าง ๕ ซม. ด้านคอเป็นสามเหลี่ยม (อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นสามเหลี่ยม แหลมๆนะครับ เป็นสามเหลี่ยม เหมือน อินทรธนูของตำรวจในปัจจุบันครับ)   บ่ามีสีพื้นตามสังกัด
๒. ผู้ช่วยพลรบ เป็นแผ่นผ้ายาว ๑๒ ซม. หัวท้ายเป็นสามเหลี่ยมหุ้มผ้าตามสังกัด ติดตามขวางบ่า (เข้าใจว่าติดคล้ายกับชุดเต็มยศของทหารสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน)
ภาพที่ผมแนบมาก็ได้จากกระทู้อาจารย์ทุกท่านในนี้ละครับ ซึ่งใต้ภาพเขียน เขียนว่าปี ๒๔๔๙ ซึ่งผมคิดว่า เครื่องแบบไม่น่าจะต่างจากใน พรก. ฉบับ รศ.๑๒๗ นี้มากนัก เพราะในบทนำของพรก. ในให้เหตุผลในการตราว่า เพื่อเป็นการลดทอนชุดลงเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายครับ

ในข้อสังเกตของผมคือ พรก.ฉบับนี้ ไม่ได้กล่าวถึงหรือบัญญัติ ในเรื่องของเครื่องหมายยศ เครื่องหมายเหล่าสังกัด การคาดกระบี่ เข็มขัดสายโยง ประคต และ มีเฉพาะเครื่องแต่งกายนายทหารชั้นนายพัน ไม่มีรายละเอียดของเครื่องแบบนายทหารชั้นนายพลครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.พ. 15, 22:15
สวัสดีค่ะ
หัวข้อน่าสนใจมาก   
รอคุณ V_Mee และท่านอื่นๆมาร่วมวงด้วยค่ะ    ดิฉันเองก็อยากรู้เรื่องเครื่องแบบทหารบกในอดีตเหมือนกัน
ไม่รู้รายนี้สังกัดหน่วยไหน


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 15, 07:31
ถ้าจะไม่กล่าวถึงเครื่องแบบทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ก็เหมือนกล่าวในระยะกลางน้ำแล้วละสิครับ และถ้าจะกล่าวถึงเครื่องแบบทหารก็ต้องเริ่มต้นจากโรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายสิบ เห็นจะดีกว่าครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 09 ก.พ. 15, 09:08
ขอบคุณ อาจารย์เทาชมพู ที่ได้กรุณามาร่วมวงสนทนาครับ พ.ต.ประจักษ์ นี่เห็นว่าทหารม้านะครับ ฮ่าฮ่า

ขออนุญาตมาต่อ ที่การเปลี่ยนแปลงครั้งต่อมานะครับ คือ             หลังจาก พรก.เครื่องแต่งตัวทหารบก ศก.๑๒๗ เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นับว่าเป็นรัชสมัยที่มี พระราชกำหนดในเรื่องเครื่องแต่งกายออกมาค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็น เสือป่า ทหารเรือ ทหารบก หรือแม้แต่ข้าราชการพลเรือนก็ตาม จึงได้ทรงตรา พระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารบก พ.ศ.๒๔๕๗ ขึ้น ในพรก. ฉบับนี้ มีข้อแตกต่าง ในรายละเอียด ไม่มากนักแต่มีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามา และเปลี่ยนคำเรียกใหม่
              หมวก ยังคงมีหมวกหม้อตาลเช่นเดิมแต่เปลี่ยนกระบังจากสีดำเป็นสีเทา สายรัดคางสีเทา
   เสื้อ    มีการใช้คำเรียกว่า เสื้อแบบราชการสีขาวและเทา(เข้าใจว่าเป็นเสื้อราชปะแตนท์-ผู้เขียน) และเสื้อทูนิกคอพับสีเทา
   กระดานบ่าหรืออินทรธนูยังรูปทรงและ มีขลิบริม และแถบทองคาดกลางตามชั้นยศเหมือนเดิม(นายดาบ ขลิบทองขวางบ่า  ,นายร้อยขลิบทองริมบ่ากว้าง ๑ ซม. ชั้นนายพันเหมือนชั้นนายร้อย เพิ่มขลิบทองขนาดครึ่งเซนติเมตร พาดตามยาวของบ่า)
   มีการกล่าวถึงรัดปะคต หรือรัดคตสีแดง
   และในพรก.นี้ มีการระบุเรื่องกางเกงของนายทหาร อันประกอบไปด้วย กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน และกางเกงขายาวสีน้ำเงินแก่มีแถบสีตามเหล่าขนาด๕ซม.

                       และใน พรก. ฉบับนี้ ยังมีชื่อและเครื่องแต่งกายของกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ เป็นครั้งแรกครับ และมีการกล่าวถึงเครื่องแต่งตัวของนายทหารชั้นจอมพลและนายพลให้มีเครื่องแต่งกายเหมือน ชั้นนายดาบนายร้อยนายพัน แต่ให้เพิ่มชุด๑ชุด คือ มีหมวกเฮลเมทเพิ่มยอดหมวกมีพู่ขนห่านขาว เสื้อทูนิคสีขาวแผงคอและข้อมือสีดำปักลายช่อชัยพฤกษ์ (น่าจะมีมาก่อน พรก.นี้แล้ว แต่ไม่ได้ตราบัญญัติไว้ในฉบับก่อน เห็นได้จากรูปถ่ายหลายรูป และพระรูปในรัชสมัยของราชกาลที่ ๕ ก็ยังพอมีเป็นจุดสังเกตุได้)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16780;image)
นอกจากนั้นแล้วได้มีการตรารายละเอียดในเรื่องของส่วนประกอบเครื่องแบบลงไปด้วยครับ ที่ก็เหมือนกับที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ นั่นแหละ แต่คราวนี้มี รายละเอียดกำหนดไว้ใน พรก.ด้วย คือ
   นายสิบ        มีบั้งติดแขนเสื้อซ้ายเหนือศอก
   สิบตรี   ๑ บั้ง   สิบโท ๒ บั้ง สิบเอก ๓ บั้ง และ จ่านายสิบ ๔ บั้ง (พอจะอนุมานได้ว่าในสมัยนั้นยศชั้นจ่า๓ขั้นแบบปัจจุบันยังไม่ใช้ มีแค่ จ่านายสิบแล้วไปเป็นนายดาบเลย เหมือนกับยศตำรวจในทุกวันนี้)
   ชั้นนายร้อย ชั้นนายพัน และชั้นนายพล ใช้รูปจักรเหมือนกัน ไล่ตามลำดับ ตรีโทเอกคือ ๑ดวง ๒ดวงและ ๓ดวงครับ ส่วนชั้นจอมพลเป็นรูป คธาไขว้กระบี่ มีพระมหามงกุฏติดอยู่บนกระดานบ่าด้วย
ลำดับต่อมาเป็นเครื่องหมายสังกัด ให้ติดหมายเลขกลางบัวกนก เป็นเลขลำดับกรมกอง กองพล กองทัพ ที่สังกัด และรูปพระมหามงกุฏสีเงินสำหรับคนที่ประจำในกระทรวงกลาโหม  โดยติดกึ่งกลางกระดานบ่า (ตามพรก.บัญญัติว่าแผ่นทับบ่า-ผู้เขียน )
(https://pantonghor.files.wordpress.com/2015/02/img_0833-e1423448645681.jpg)
ภาพตัวอย่าง เครื่องหมายสังกัดกรมกองกลางบัวกนก จกา พิพิธภัณฑ์กองทัพบก ที่บก.ทบ.ราชดำเนินครับ ถ่ายเก็บไว้ตอนไปดูงาน
                             พรก.ฉบับปี  ๒๔๕๗ นี้ยังได้กำหนดรายละเอียดในเรื่องของเครื่องสนาม สายยงยศ เครื่องหมายราชองครักษ์ และการคาดกระบี่ สายกระบี่และพู่กระบี่ อีกด้วย โดยกำหนดให้ นายทหารและนายดาบใช้สายกระบี่หนังสีเหลืองหรือผ้าถักสีเทา พู่ไหมทอง ส่วนชั้นจอมพล และนายพล และนายทหารในกรมกองทหารรักษาพระองค์ให้มีสายกระบี่มีแถบไหมทอง เพื่อใช้กับกางเกงแถบ (ลวดลายเหมือนกับสายกระบี่ ทบ.ในปัจจุบัน)




กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 09 ก.พ. 15, 09:21
ถ้าจะไม่กล่าวถึงเครื่องแบบทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ก็เหมือนกล่าวในระยะกลางน้ำแล้วละสิครับ และถ้าจะกล่าวถึงเครื่องแบบทหารก็ต้องเริ่มต้นจากโรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายสิบ เห็นจะดีกว่าครับ
ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำครับ
สาเหตุที่มุ่งเน้นไปที่ เครื่องแบบปกติเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากครับ เพราะเมื่อเข้าสู่ระยะนี้แล้วกองทัพเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแล้วมีระเบียบแบบแผนมากขึ้นแล้ว ใน กฏกระทรวงแต่ละฉบับก็จะกล่าวถึงเครื่องแบบตั้งแต่พลทหาร นักเรียนนายร้อย นายทหาร นายพล ครับ ซึ่งก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต่างจากยุคก่อนหน้านี้ ซึ่งผมคิดว่ายังไม่มีใครได้รวบรวมไว้มากนักไม่ว่าจะการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดใหม่ของเครื่องหมายสังกัดต่างๆครับ เนื่องจากของ นักเรียนนายร้อย นี่ได้เคยมีผู้รวบรวมไว้ในหนังสืออนุสรณ์๑๐๐ปีโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 09 ก.พ. 15, 09:41
(http://www.crma.ac.th/library/mu%20pic/from9.jpg)
เครื่องแบบนักเรียนนายร้อย ยุคปี ๒๔๕๑ ครับ จะเห็นว่าเป็นเครื่องแบบที่เป็นสีเทาสอดคล้องกับเครื่องแบบทหารบกในช่วงยุคนั้นแล้ว


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:14
ผมมีรูปที่เคยโหลดมาสะสมไว้ ไม่ทราบรายละเอียด แต่ขออนุญาตท่านเจ้าของลายน้ำนำมาลงไว้ในกระทู้นี้ เผื่อจะมีผู้รู้มาบรรยายภาพได้


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:14


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:15


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:16


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:17


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:18


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:19


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:21


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:22


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:23


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:24
๑๐


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:25
๑๑


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:26
๑๒


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:41
สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ผู้สนใจในเรื่องนี้ไม่น่าจะพลาดไปศึกษาหาชม คือวัดราชบพิธฯอันมีทวารบาลในเครื่องแบบทหารสมัยต้นรัชกาลที่๕ ลงสีตามจริง


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.พ. 15, 16:43
เสียดาย ในเน็ทยังไม่มีใครรวบรวมไว้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว หาได้เพียงสองภาพที่นำมานี้


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 09 ก.พ. 15, 18:04
ขอรายนี้ด้วยนะคะอาจารย์จากสี่แผ่นดินเดอะมิวสิคัลที่พาลูกไปชมปีที่แล้ว


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 18:50
เพิ่งเห็นกระทู้นี้ครับ  ขอร่วมวงไพบูลย์ด้วยคนครับ

เครื่องแบบทหารบกเริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ที่กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ก่อนครับ  แล้วจึงมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย  แล้วจึงขยายไปใช้ยังกรมกองทหารต่างๆ
มาว่ากันถึงเครื่องแบบหลักๆ ของกองทัพบกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนเลยครับ
หมวก - มีหมวก ๓ แบบ
แบบที่ ๑ นายพันนายร้อยเป็นหมวกเฮลเม็ตทรงสูงแบบอังกฤษ เหมือนหมวกทหารตำรวจอังกฤษ  แต่เปลี่ยนเป็นสีขาว  มียอดหมวกเครื่องทองรูปแบบแตกต่างกันตามสังกัด  กรมทหารราบที่ ๑ ยอดหมวกเป็นปทุมทรงสูง  เหล่าปืนใหญ่เป็นลูกกรมคล้ายลูกปืนใหญ่  เหล่าอื่นเป็นยอดปทุมแบบเตี้ย  ตราหน้าหมวกเป็นโลหะสีทองรูปลักษณะต่างกันไปตามเหล่า เช่น กรมทหารราบที่ ๑ ตราหน้าหมวกเป็นตราราชวัลลภ  กรมทหารปืนใหญ่เป็นตราอาร์มแผ่นดินเหนือรูปปืนใหญ่  กรมทหารอื่นๆ เป็นตราแผ่นดินบ้าง  ตรากรมยุทธนาธิการ (คล้ายตราอาร์มแผ่นดิน) บ้าง  มีสายรัดคางคาดเป็นโลหะสีทอง  เวลาที่ไม่รัดคางใช้คาดทับบนตัวหมวก  ชั้นนายพลเหมือนนายพันนายร้อย  แต่เพิ่มพู่ขนนกขาวที่ยอดหมวกในเวลาแต่งเต็มยศครึ่งยศ
แบบที่ ๒ หมวกแก็ปทรงหม้อตาลสีเทา (แบบทหารอังกฤษ)  กระบังหน้าสายรัดคางหนังดำ  ติดตราปทุมอุณาโลม (รูปอุณาโลมในกรอบรูปปทุม) ที่หน้าหมวก
แบบที่ ๓ หมวกกันแดดเป็นหมวกเฮลเม็ตสีเทา  ไม่มัมียอดไม่มีตรา ไม่สายรัดคาง

เสื้อ  นายทหารชั้นนายพันนายร้อย เป็นเสื้อทูนิคคอพับ (เหมือนเสื้อราชปะแตนแต่มีตะเช็บรอยต่อเสื้อรอบเอว) สีเทา  ติดดุมทองเกลี้ยงที่อกเสื้อ ๗ ดุม  นายทหารชั้นนายพันนายร้อยคอพับเสื้อเป็นสีหมายเหล่า คือ ราบ - สีแดง  ม้า - ฟ้าหม่น  ปืนใหญ่ - เหลือง  พาหนะ - เลือดหมู  พราน - เขียว  สื่อสาร - เม็ดมะปราง  ช่าง - ดำ ฯลฯ  นายทหารชั้นนายพันมีแถบทองกว้าง ๑ เซนติเมตรพากที่กึ่งกลางตามทางยาวของปกคอเสื้อ  ชั้นนายพลปักดิ้นทองที่รอบคอปกเสื้อ  นายทหารสังกัดกรมรักษาพระองค์เพิ่มขดลวดไหมทองถักรอบปกคอเสื้อ  เหล่าราบรักษาพระองค์เปลี่ยนสีหมายเหล่าเป็นสีน้ำเงินแก่           
ชั้นนายสิบพลทหาร  เสื้อทรงกระสอบ (ปัจจุบันเรียกเสื้อโปโล) แขนยาวสีเทา  มีอินทรธนูแถบผ้าสีตามเหล่าติดตามยาวบ่
ที่ปกคอเสื้อนายทหารพลรบประจำการ  ติดตราพระเกี้ยวเงิน  ผู้ช่วยพลรบติดดอกจันเงิน  นายทหารนอกประจำการไม่ติดเครื่องหมาย

อินทรธนูนายพันนายร้อยพลรบติดตามยาวบ่า  พื้นสีตามเหล่าติดแถบทองกว้าง ๑ เซนติเมตรที่ริมขอบ (เว้นด้านปลายบ่า)  ชั้นนายพันเพิ่มแถบทองเล็กพาดกลางตามทางยาวอีก ๑ แถบ  กึ่งกลางอินทรธนูตืดเลขหมายกรมกองที่สังกัด  มีเครื่องหมายยศเป็นจักรเงินติดที่ปลายอินทรธนู คือ ยศชั้นตรีติด ๑ จักร  ยศชั้นโทคิด ๒ จักรเรียงกันที่ปลายบ่า  ยศชั้นเอกเหมือนชั้นโท  แต่เพิ่มจักรหมายยศอีก ๑ จักรที่ต้นอินทรธนูด้านติดกับคอเสื้อ  นายทหารผู้ช่วยพลรบติดอินทรธนูรูปสี่เหลี่ยมตัดมุมชวางปลายบ่า  สีพื้นและแถบทองหมายชั้นยศเหมือนนายพันนายร้อย  นายทหารชั้นนายพลอินทรธนูเป็นแผ่นทองถักเต็มทั้งแผ่น  ติดเครื่องหมายสังกัดและเครื่องหมายยศเหมือนนายพันนายร้อย  นายทหารที่เป็นราชองครักษ์ติดอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ จ.ป.ร.พระเกี้ยวยอดที่กึ่งกลางอินทรธนูทั้งสองข้าง

เครื่องหมายยศจ่านายสิบและนายสิบเป็นบั้งติดที่เหนือข้อศอกซ้าย  นายสิบตรี ๑ บั้ง  นายสิบโท ๒ บั้ง  นายสิบเอก ๓ บั้ง  จ่านายสิบ ๔ บั้ง

กางเกงสักหลาดหรือผ้าเสิร์ดสีน่ำเงินแก่  ติดแถบสีหมายตามเหล่า  ชั้นนายพันนายร้อยแถบกว้าง ๓ เซนติเมตร  นายสิบพลทหารแถบกว้าง ๑ เซนติเมตร  นายทหารชั้นนายพลติดแถบสีบานเย็นกว้าง ๕ เซนติเมตร

นายทหารสงมรองเท้าสูง (บูท) หรือหุ้มข้อหนังดำมีผ้าพันแข้ง  นายสิบพลทหารพันแข้งสวมหรือไม่สวมรองเท้า

ทหารรักษาพระองค์มีคันชีพ (สายสะพายซองกระสุน) แถบทองหรือแถบหนังตมชั้นยศสะพายเฉียงบ่าซ้าย

นายทหารมีเข็มขัดหนังเหลืองตาดที่เอวและมีสายหนังสะพายซองกระบี่เฉียงบ่าขวา  นายทหารบกกระบี่ฝักเงินผูกพู่กระบี่ไหมทองสำหรับนายทหารชั้นนายร้อยขึ้นไป  และผูกพู่ไหมเหลืองสำหรับจ่านายสิบ   

ที่บรรยายมานี้เป็นเพียงสังเขป  ถ้าจะให้สมบูรณ์ต้องบรรยายกันเป็นเล่มโตเลยละครับ




กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 18:59
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเป็นนายร้อยโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ครั้งประทับทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  ทรงเครื่องเต็มยศเทา  ฉลองพระองค์ทูนิคสีเทา  พระสนับเพลาสีน้ำเงินแก่แบบขี่ม้า


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:01
ภาพนี้เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนี พันปีหลวง  ทรงเครื่องปกติขาว


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:04
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งทรงรับราชการทหารในกรมยุทธนาธิการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙
(จากซ้าย)  ๑. นายพลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จเรทัพบก และราชองครักษ์พิเศษ  ๒. นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ  ผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ  ๓. นายพันตรี พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ผู้ช่วยกรมกลาง  กรมยุทธนาธิการ  ๔. นายพลโท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ และราชองครักษ์พิเศษ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 15, 19:05
ขอส่งภาพทหารหน้าโรงเรียนนายร้อยทหารบก


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:10
กางเกงในภาพข้างนเรียกว่า กางเกงขาสั้น (ภาษาอังกฤษเรียกกางเกงรูเซีย) เป็นกางเกงไม่มีทรง  ขากางเกงตรงเป็นกระบอก  รัดใต้เข่า  สวมทอปบู๊ทถึงใต้เข่า  หรือพันแข้ง


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:11
นนายพลเอก พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ทรงเครื่องปกติขาวนายพลเอก ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการตอนปลายรัชกาลที่ ๕


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 15, 19:14
เอาชุดใหญ่ไปชม  ;D จากหนังสือการปฏิรูปการทหารไทย


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:16
นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ (จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:19
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศ จอมพล จอมทัพบกสยาม


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 ก.พ. 15, 19:23
นายพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด  วีระไวทยะ) นายแพทย์ใหญ่ทหารบก 
โปรดสังเกตเครื่องหมายประจำการรูปดอกจันเงินที่คอเสื้อ  หมายเป็นนายทหารผู้ช่วยพลรบประจำการ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.พ. 15, 19:30
รอคุณ V_Mee มาร่วมวง  ดีใจที่มาเร็วมากค่ะ

คุณหมอเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ?


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 09 ก.พ. 15, 20:34
ขอขอบพระคุณทั้งท่าน NAVARAT และท่าน V_mee ครับที่ได้กรุณาเพิ่มเติมข้อมูลและรูปภาพเป็นอันมาก
รูปภาพโดยส่วนใหญ่ที่มีลายน้ำ เป็นทหารในสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์เกือบทั้งนั้น สังเกตได้จาก ที่บั้งเหนือบั้งจะมีตราประจำหน่วย คือ ตราราชวัลลภ อยู่เหนือบั้ง
ซึ่งตราประจำหน่วยเหนือบั้งแบบนี้สำหรับจ่านายสิบ และนายสิบ มีเฉพาะหน่วยทหารรักษาพระองค์เท่านั้น ถ้าทหารสังกัดกรมกองทั่วไปจะไม่มีครับ

ที่สงสัยอีกอย่างคือ รูปภาพท่านนายแพทย์ทหารบก ทำไมถึงไม่เป็นอินทรธนูแบบขวางบ่าล่ะครับ อาจารย์


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 06:26
ตอบคำถาม "รูปภาพท่านนายแพทย์ทหารบก ทำไมถึงไม่เป็นอินทรธนูแบบขวางบ่าล่ะครับ"

เพราะแพทย์ทหารนั้นออกทำการในสนามเหมือนพลรบ  แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพลรบครับ
ผู้ช่วยพลรบที่ติดอินทรธนูขวางบ่าจะเป็นพวกที่ไม่ได้ออกทำการในสนาม เช่น เหล่าพระธรรมนูญ  ปลัดบัญชี ฯลฯ

ภาพข้างล่างเป็นภาพนายทหารในสังกัดกรมบัญชาการกรมยุทธนาธิการ  ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีทั้งที่ติดอินทรธนูตรงตามยาวบ่า  แลขวางบ่า

(แถวหน้าจากซ้าย)  ๑. นายพลตรี หม่อมชาติเดชอุดม (ม.ร.ว.สท้าน  สนิทวงศ์ - นายพลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์)  เสนาธิการทหารบก  ๒. นายพลโท พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช (จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ และราชองครักษ์พิเศษ  ๓. นายพลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) จเรทัพบก และราชองครักษ์พิเศษ  ๔. นายพลตรี พระยาสีหราชเดโชไชย (ม.ร.ว.อรุณ  ฉัตรกุล - จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) รองผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ  ๕. นายพลตรี พระยาวรเดชศักดาวุธ (แย้ม  ณ นคร - นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) ปลัดทัพบก  ๖. นายพันเอก พระประสิทธิ์ราชศักดิ์ (สาย  ธรรมานนท์ - นายพลตรี พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ) ผู้ช่วยจเรทัพบก
(แถวที่สองจากซ้าย)  ๑. นายพันโท พระสุรเดชรณชิต (อุ่ม  อินทรโยธิน - นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) ผู้บังคับการกองโรงเรียนทหารบก  ๒. นายพันเอก พระสุนทรพิมล (คืบ) ยกรบัตรทัพบก 
(แถวบนจากซ้าย) ๑.นายพันเอก พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด  ศิริสัมพันธ์) เจ้ากรมยุทธโยธา  ๒. นายพันตรี พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้ช่วยกรมกลาง  กรมยุทธนาธิการ  ๓. นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) ผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ  ๔. นายพันเอก พระกันภยุบาทว์ (ม.ล.สุวรรณ) เจ้ากรมสรรพยุทธ




กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 06:42
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบทหารบกหลายครั้ง

เริ่มจาก พ.ศ. ๒๔๕๕ เปลี่ยนหมวกเฮลเม็ต (Helmet) ทรงสูง  เป็นเฮลเม็ตทรงเตี้ยที่เรียกกันทั่วไปว่า หมวกกะโล่  เพราะมีปีกหมวกกว้างกว่าทรงสูง  ซึ่งเหมาะสำหรับเมืองร้อนเช่นประเทศไทย

พ.ศ. ๒๔๕๗ ตราพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารบก พ.ศ. ๒๔๕๗  มีสาระสำคัญคือ เปลี่ยนแปลงเครื่องแบบเต็มยศสำหรับหน่วยทหารรักษาพระองค์  และเลิกมช้เสื้อทูนิคคอพับ  เปลี่ยนมาใช้เสื้อทูนิคคอตั้งแทน  เปลี่ยนกางเกงสีน้ำเงินแก่เป็นสีดำ

พ.ศ. ๒๔๕๙  เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งตัวกรมทหารรักษาพระองค์ คือ กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์เปลี่ยนมาใช้เสื้อและกางเกงเต็มยศสีฟ้าหม่น  กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์เปลี่ยนมาใช้เสื้อสีน้ำเงิน  หมวกมีตราพระครุฑพาห์บนยอดหมวก  เริ่มใช้เครื่องแบบสีดินแดง (กากี) ตามแบบเครื่องแบบเมืองร้อนของกองทัพบกอังกฤษ

พ.ศ. ๒๔๖๒ ตราพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวแบบทหารบก พ.ศ. ๒๔๖๒  มีสาระสำคัญคือ เปลี่ยนเครื่องแบบจากสีดินแดง (กากี) เป็นสีกากีแกมเขียวตามเครื่องแบบกองทัพพันธมิตรซึ่งกองทหารอาสาได้ไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑  เลิกใช้เสื้อทมูนิคเปลี่ยนมาใช้เสื้อแบบราชการ (ราชปะแตน) และเริ่มใช้เสื้อคอแบะสีกากีแกมเขียวในเวลาแต่งเครื่องปกติ เครื่องฝึกหัดและเครื่องสนาม
ต่อมามีการเปลี่ยนอินทรธนูนายทหารสัญญาบัตรจากเป็นแผ่นยาวเต็มบ่ามาเป็นอินทรธนูน้อย


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 06:48
พระบาทสมเด๋็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศ จอมพล ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๑๑ นีกษาพระองค์


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 06:57
วันเสาร์ที่  ๑๙  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๖๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องปกติกากีแกมเขียว จอมพล  จอมทัพบกสยาม  ประดับพระดาราเสนางคบดี  เสด็จลงพระลานพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับคณะละครของสมาคมสหายสงคราม ในพระบรมราชูปถัมภ์  ซึ่งได้ร่วมกันจัดแสดงละครพระราชนิพนธ์เรื่อง “ผิดวินัย”  เมื่อคืนวันที่  ๑๖ -  ๑๘ มกราคม  พ.ศ. ๒๔๖๖  ณ โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน

(นั่งพื้นจากซ้าย)  ๑.หุ้มแพร หลวงสมรรคนันทพล (พืช  บุนนาค)  แสดงเป็น “นายสิบโท สาย  แสงทอง”  ๒. นายร้อยเอก หลวงรามฤทธิรงค์ (กระมล  โชติกเสถียร - พลโท พระยาสราภัยสฤษดิการ)  แสดงเป็น “มองสิเออร์ จูลส์  มานิเยร์”  ๓. จ่านายสิบ ม้วน  ทองโต  แสดงเป็น “พลทหาร แจ้ง  เจนใจ”
(นั่งเก้าอี้จากซ้าย)  ๑. หม่อมราชวงศ์วิสิษฐ์ศรี  โสณกุล  แสดงเป็น “ดารา”  ๒. นางอาสาสงคราม ( ฟื้น  หัสดิเสวี)  แสดงเป็น “มาดาม เดอะโนซ์”
(ยืนจากซ้าย)  ๑. นายพันโท พระอาสาสงคราม (ต๋อย  หัสดิเสวี)  ๒. นายพันเอก หม่อมเจ้าอมรทัต  กฤดากร  ๓. นายร้อยเอก หลวงอัศวินวิลาศ (อิ้น  ศรีวิลาศ)  ๔. นายพลโท เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ  พึ่งบุญ) สมุหราชองครักษ์  ๕. นายร้อยเอก หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน  โรหิตเศรณี)  ๖. จอมพล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกแห่งสมาคมฯ และผู้ทรงอำนวยการแสดง (Producer)  ๗. นายพลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด  เทพหัสดิน) สภานายกแห่งสมาคมฯ แสดงเป็น “นายพลตรี พระยารัตนโยธิน”  ๘. นายพันเอก หม่อมเจ้าฉัตรมงคล  โสณกุล  ๙. นายพันตรี หลวงศรีราชสงคราม (ศรี  ศุขวาที) แสดงเป็น “นายร้อยเอก หลวงกฤษณเสนี”  ๑๐. นายร้อยเอก ประเสริฐ  อินทุเศรษฐ  แสดงเป็น “นายร้อยโท ยอด  ยุทธานนท์”  ๑๑. นายร้อยโท เภา  เพียรเลิศ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 07:56
ขอสลับฉากอาจารย์วีร์ด้วยภาพชุดนักเรียนนายร้อยทหารบกสมัยต้นรัชกาลที่๖ จากหนังสือ ๑๐๐ปี จุลจักรพงศ์ครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 07:59
นักเรียนนายร้อยที่เห็นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้นประถม รับตั้งแต่๑๐ขวบขึ้นไป โรงเรียนตั้งอยู่ที่กรมแผนที่ทหารในปัจจุบัน เครื่องแบบมีสีสันอย่างไรมีหลักฐานตามภาพเขียนสีน้ำมันนี้


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 08:05
พระองค์จุลนั้น พระบิดาของท่าน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ (จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) พระยศเมื่อต้นรัชกาลเป็นนายพันเอกตามหลักฐานของอาจารย์วีร์ พระองค์จุลผู้เป็นพระโอรสจึงมีสิทธิ์แต่งเครื่องแบบประดับยศได้ครึ่งหนึ่งของพระบิดา(อาจารย์วีร์ช่วยตรวจสอบยืนยันด้วยครับ)


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 08:06
นี่ไม่เห็นเครื่องหมายแผงอินธนูซะด้วย


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 08:09
ภาพนี้ก็ไม่สู้จะชัด


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 08:10
อีกภาพหนึ่ง


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 08:12
สุดท้ายในภาพชุดนี้ครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.พ. 15, 09:16

(แถวที่สองจากซ้าย)  ๑. นายพันโท พระสุรเดชรณชิต (อุ่ม  อินทรโยธิน - นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) ผู้บังคับการกองโรงเรียนทหารบก  ๒. นายพันเอก พระสุนทรพิมล (คืบ) ยกรบัตรทัพบก 

ขอแก้ไขว่า นายพันเอก พระสุนทรพิมล (คืบ) ต่อมาคือนายพลตรี พระยาวิชิตณรงค์ ปลัดบัญชีทหารบก ค่ะ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 09:21
ภาพพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ในความเห็นที่ ๔๐ - ๔๓ ที่ท่าน Navarat C. นำมาแสดงนั้น  เป็นภาพทรงเครื่องนายร้อยตรี นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์  ทรงฉายไว้ตอนต้นรัชกาลที่ ๖ ครับ  เพราะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  ไม่ทรงรับหม่่อมคัธรินเป็นสะใภ้หลวง  ซึ่งส่งผลให้ไม่ทรงรับพระองค์จุลฯ เป็นพระนัดดาไปด้วย

แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นพระเชษฐาที่สนิทสนมรักใคร่และสนิทสนมกับทูลกระหม่อมจักรพงษ์ยิ่งกว่าพระราชอนุชาพระองค์ใดๆ  จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเผื่อแผ่มาถึงพระองค์จุลฯ ซึ่งทรงเป็นพระนัดดาพระองค์แรก  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าพงษ์จักร (พระนามเดิม) เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  เสมอว่าทรงมีพระประสูติการแต่พระชนนีที่เป็นเจ้า  เช่นสามพระองค์ชายพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุลีราเมศวร์ที่มีพระชนนีคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ซึ่งเติบโตมาในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง  พร้อมด้วยพระองค์จุลฯ ทรงเล่าว่า ทูลกระหม่อมลุง คือ ล้นเกล้าฯ รัชกลที่ ๖ โปรดให้พระนัดดาทั้งสองคือ พระองค์จุลฯ และพระองค์ชายใหญ่ (พระองค์เจ้าภาณุฯ) ทรงแต่งเครื่องทหารมาแต่ทรงพระเยาว์  มีรับสั่งกับทั้งสองพระองค์ก่อนที่จะโปรดให้ไปเรียนที่อังกฤษว่า เจ้าต้องไปเรียนทหาร  แล้วจะได้กลับมาเป็นทหารรับใช้ประเทศชาติเหมือนลุง

เรื่องเครื่องแบบทหารนี้  พระองค์จุลฯ ทรงเล่าไว้ว่า ทูลกระหม่อมลุงโปรดให้ช่างทำกระบี่ขนาดเล็กให้ทรงคาดเหมือนทรงเป็นนายทหารในกองทัพบกเลยทีเดียว

ในภาพชุดนั้นจะเห็นว่า พระองค์จุลฯ ทรงประดับอินทรธนูยาวตามบ่า  ประดับเครื่องหมายยศรูปจักรเงิน ๑ จักร หมายเป็นนายร้อยตรี  ที่กึ่งกลางอินทรธนูประดับอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.พระมหามงกุฎเงิน และประดับสายราชองครักษ์ที่อกเสื้อเบื้องขวา  หมายเป็นราชองครักษ์พิเศษในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีพระราชนิยมให้พระราชโอรสเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์กันทุกพระองค์  เริ่มจากทรงตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นนายพันตรี  ต่อมาเมื่อทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเทพทวาราวดี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ทรงเป็นนายร้อยโท  จากนั้นก็ได้พระราชทานยศให้พระราชโอรสที่ทรงเจริญพระชันษาแล้วเป็นนายร้อยตรีมาเป็นลำดับ  ซึ่งรวมถึงทูลกระหม่อมจักรพงษ์พระชนกในพระองค์จุลฯ ก็เคยเป็นนายร้อยตรีในกรมทหารราชที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์มาก่อน  การที่รัชกาลที่ ๖ โปรดให้พระองค์จุลฯ และพระองค์ชายใหญ่แต่งเครื่องแบบนายทหารมหาดเล็กฯ นี้จึงเป็นการเจริญรอยพระราชนิยมในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕

นายร้อยโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงฉายพร้อมด้วย นายร้อยตรี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ที่กรุงเวน๖ืปีเตอร์สเบิร์ก  ประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 09:23
ขอบพระคุณท่านอาจารย์ใหญ่ที่กรุณามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 09:50
ขอบคุณสำหรับข้อมูลอาจารย์วีร์มากครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.พ. 15, 09:55
คุณหมอเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ?

มาตามเสียงเรียกหา  ;D

            เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขจากที่เคยได้ตราไว้ ในรศ. ๑๑๖ ครับ แต่ตัว ร.ศ.๑๑๖ ผมไม่สามารถค้นในอินเตอร์เน็ตออกมาได้

คุณหมูดำสามารถค้นหาตัว ร.ศ. ๑๑๖ ในเว็บราชกิจจานุเบกษาในชื่อ "พระราชกำหนดเครื่องแต่งกายทหารราบ" (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/044/760_1.PDF)


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 10 ก.พ. 15, 10:02
คุณหมอเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ?

มาตามเสียงเรียกหา  ;D

            เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขจากที่เคยได้ตราไว้ ในรศ. ๑๑๖ ครับ แต่ตัว ร.ศ.๑๑๖ ผมไม่สามารถค้นในอินเตอร์เน็ตออกมาได้

คุณหมูดำสามารถค้นหาตัว ร.ศ. ๑๑๖ ในเว็บราชกิจจานุเบกษาในชื่อ "พระราชกำหนดเครื่องแต่งกายทหารราบ" (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/044/760_1.PDF)
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญหลายๆคร้าบ

ท่านอาจารย์วี ได้กรุณาไล่เรียงต่อจากผมไปจนถึงปี ๒๔๖๒ ซะแล้ว ตอนนี้ผมกำลังรวบรวมต่อจะนำข้อมูลมาร่วมวงหาโอกาสครูพักลักจำต่อไปนะครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 10 ก.พ. 15, 10:17
เสื้อทูนิคสีน้ำเงินแก่ และหมวกเฮลเม็ตมียอดหมวกตราพระครุฑพ่าห์ น่าจะมีตั้งแต่ใน ปี๒๔๕๗ แล้วหรือเปล่าครับ อาจารย์วี เพราะใน พรก.๒๔๕๗ ก็กำหนดไว้แล้ว

แต่เรื่องเสื้อสีดินแดงนี่ผมพึ่งทราบเลยครับ และพึ่งเคยเห็น ฉลองพระองค์ทหารที่เป็นชุดคอแบะ(คือเหมือนชุดสูท) ที่ทหารบกใช้ นี่ละครับ ยังคิดอยู่ว่าการเปลี่ยนเป็นชุดสีกากี กับกากีแกมเขียวน่าจะมีมาก่อน ๒๔๖๒ แล้ว อย่างน้อยๆ คือช่วงส่งกำลังไปร่วมสงครามโลกครั้งที่๑ ในปี ๒๔๖๐ เพราะเราใส่ชุดแบบทหารพันธมิตร แลหมวกเหล็ก ไปเข้าร่วมสงครามแล้ว


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.พ. 15, 11:24
            เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง 

เพิ่งเห็นตรงนี้ ขออนุญาตแก้ไข ร.ศ. ๑๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๑ (พ.ศ. = ร.ศ. + ๒๓๒๔)  ;D


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 11:59
^
คุณเพ็ญต้องเอาหน้ายิ้มเยาะออกไปก่อน

ตรงนี้น่ะ เป็นเรื่องชวนปวดหัวที่สุด การแปลงร.ศ.เป็นพ.ศ. จะเอาตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งมาบวกลบไม่ได้ ต้องดูเดือนด้วย เพราะสมัยก่อนไทยเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายน ถ้าใช้ฐานความเข้าใจปัจจุบันก็คือ ตั้งแต่มกราคมถึงมีนาคม เป็นพ.ศ.นึง จากเมษายนถึงธันวาคม แลัวเลยไปถึงมีนาคมอีกปีหนึ่งนั้น เป็นอีกพ.ศ.นึงถัดไป

ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด
และที่ว่าเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายนนั้น เปลี่ยนตั้งแต่ ๑ เมษายน หรือเปลี่ยนในวันที่ประกาศสงกรานต์


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.พ. 15, 14:55
ขออนุญาตชี้แจงดังนี้

๑.
คุณเพ็ญต้องเอาหน้ายิ้มเยาะออกไปก่อน

หน้าแสดงอารมณ์ที่เรือนไทยจัดหามามีภาพ "ยิ้ม" อยู่ ๔ แบบ  :) = ยิ้ม   ;) = ยิ้มเท่ห์ (คำนี้เขียนผิดที่ถูกคือ เท่)  :D = ยิ้มกว้าง ๆ และสุดท้าย  ;D = ยิ้มยิงฟัน ที่เลือกใช้  ;D ก็เพื่อจุดประสงค์แสดงอารมณ์ว่ามีความสุขเท่านั้น มิได้คิดในจุดประสงค์อื่นใดเลย

๒.
ตรงนี้น่ะ เป็นเรื่องชวนปวดหัวที่สุด การแปลงร.ศ.เป็นพ.ศ. จะเอาตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งมาบวกลบไม่ได้ ต้องดูเดือนด้วย เพราะสมัยก่อนไทยเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายน ถ้าใช้ฐานความเข้าใจปัจจุบันก็คือ ตั้งแต่มกราคมถึงมีนาคม เป็นพ.ศ.นึง จากเมษายนถึงธันวาคม แลัวเลยไปถึงมีนาคมอีกปีหนึ่งนั้น เป็นอีกพ.ศ.นึงถัดไป

และที่ว่าเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายนนั้น เปลี่ยนตั้งแต่ ๑ เมษายน หรือเปลี่ยนในวันที่ประกาศสงกรานต์


เรื่องนี้คุณหมอศานติเคยอธิบายไว้แล้ว

เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม

๓.
ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด

รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก คือ  พ.ศ. ๒๓๒๕ = ร.ศ. ๑ ดังนั้น พ.ศ. จึง = ร.ศ. + ๒๓๒๔  ซ.ต.พ.




กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 10 ก.พ. 15, 15:13
ขออภัยในข้อผิดพลาดของผมด้วยนะครับ ผมพลาดไปที่บวกด้วย๒๓๒๕ ครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 10 ก.พ. 15, 15:52
                           ผมขออนุญาต มาต่อ ทวนในสิ่งที่อาจารย์หลายๆท่าน ได้ว่ากันไปแล้วนะครับ พอมาถึงปี ๒๔๖๒ ครับ เครื่องแบบสีเทาก็หายไปจริงๆสักทีครับ เป็นเครื่องแบบสีกากีแกมเขียวแทน (เหมือนพันตรีประจักษ์ ขวัญใจ อาจารย์เทาชมพูครับ)โดยมีการแบ่งชุดเป็นประเภทอย่างชัดเจน ประเภท ปรกติ(มีก.และข) ประเภทราชการสนาม ประเภทฝึกหัด ประเภทสโมสรกลางวัน ประเภทราตรีสโมสร ประเภทครึ่งยศ และประเภทเต็มยศ และเปลี่ยนชื่อหน่วยทหาร จากเดิมเรียกกรมทหารราบ กรมทหารม้า ก็เป็น กรมทหารบกราบ กรมทหารบกม้า   กรมทหารม้าที่๑รักษาพระองค์ก็เปลี่ยนเป็น กรมทหารบกม้ากรุงเทพ รักษาพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว แอบเห็นมี กรมทหารบกม้านครปฐม กรมทหารบกม้านครราชสีมา ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนารถ กรมทหารบกม้าพิศณุโลก ด้วยครับ นอกจากเครื่องหมายสังกัดที่เดิม เป็นตัวเลขกลางลายกนกแล้ว คราวนี้เพิ่มตัวอักษรเข้ามาด้วยครับ สำหรับกรมกองต่างๆที่ไม่ใช่ตัวเลช
                          และสำหรับหน่วย กรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ และหน่วยรักษาพระองค์อื่น ที่ใช้ตัวอักษรพระปรมาภิไธยย่อ วปร.ในพระมหามงกุฏ ให้เปลี่ยนเป็น ร.ร.๖ ครับ

                         นักเรียนนายร้อยมีชุดเต็มยศเพิ่มขึ้นมา คือเป็นหมวกยอดพู่สีแดง แผงคอและคอมือสีแดงมีคันชีพและประคตครับ เครื่องแบบ แบบนี้ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะหายไปนะครับ กลับมาอีกที ก็ตอนเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แล้ว
(http://www.bloggang.com/data/klongrongmoo/picture/1237700935.jpg)
                         จนล่วงมาในปี ๒๔๖๔ ก็ออกแก้ไข พรก.ปี ๒๔๖๒ ที่เปลี่ยนเยอะครับ จริงๆ มีการออกแก้ไขมาก่อนแล้ว๒-๓ ฉบับ แต่เป็นส่วนเล็กน้อยครับ ในการแก้ไขครั้งนี้ อย่างที่ ท่านอาจารย์V_mee ได้กล่าวไปแล้วครับ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้อินทรธนูผ้าปลายมนเย็บติดกับเสื้อแล้วสวมด้วยปลอกอินทรธนูหรือที่เรียกว่าอินทรธนูน้อยแทน ครับ และชุดปรกติ ข. ของนายทหารก็เปลี่ยนจากเสื้อแบบหลวงหรือราชปะแตนท์ให้เป็นเสื้อแบบกากีแกมเขียวคอแบะ(เสื้อสูท) แบบมีกระเป๋าบนล่าง ฝากระเป๋าบนแบบปลายแฉลบ ฝาล่างแบบย่าม เสื้อรองในสีเดียวกับเสื้อนอก และผุกผ้าผูกคอเงื่อนกลาสี หรือเนคไทน์ ครับ เหมือนในรูปที่ท่าน V_mee  นำให้ดู ที่เป็น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๖ ฉายร่วมกับคณะ ที่แสดงละครครับ เช่นเดียวกันชุดคอแบะได้ถูกยกเลิกหรือให้ใส่ได้เพียงในโอกาสลำลองและให้นำเสื้อกากีแกมเขียวคอปิดมาใช้แทนรวมถึงชุดเต็มยศของนายทหารชั้นนายพลที่ใช้หมวกพับระบาย๒ด้าน ก็กลับมาเป็นหมวกยอดแบบมีภู่หลังสิ้นรัชกาลที่ ๖ โดยออกเป็นแจ้งความกระทรวงกลาโหม ลง๒๙ มีนา ๒๔๖๘ ประกาศในราชกิจจา ๔ เมษา ๒๔๖๙


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 15, 16:31

ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด

รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก คือ  พ.ศ. ๒๓๒๕ = ร.ศ. ๑ ดังนั้น พ.ศ. จึง = ร.ศ. + ๒๓๒๔  ซ.ต.พ.

ขอโทษท่านเจ้าของกระทู้แป๊บนึงนะครับ

ในร.ศ.๑ นั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านให้เริ่มต้นนับปีในวันที่ ๑ มกราคม หรือ ณ วันสงกรานต์ในเดือนเมษายนปีนั้น ครับ
ถ้าไม่ใช่ ๑ มกราคม ก็จะซ.ต.พ.มิได้


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 10 ก.พ. 15, 18:33
(https://pantonghor.files.wordpress.com/2015/02/img_0829-e1423567803828.jpg)
ภาพหมวกเฮลเม็ต แบบต่างๆครับ
(https://pantonghor.files.wordpress.com/2015/02/img_0828-e1423567914503.jpg)
ภาพหมวกอันนี้ผมไม่ทราบเลยครับว่าเป็นของหน่วยใดสมัยใด มีอาจารย์ท่านใดพอมีความเห็นอย่างไรบ้างไหมครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 15, 19:02
เฮลเมททรงอย่างทหารโรมัน ขอภาพตราสัญลักษณ์หน้าหมวกชัดๆ ได้ไหมครับ

แนบภาพทหารวังหน้าสมัยต้นรัชกาลที่ ๕


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 10 ก.พ. 15, 19:22
ผมถ่ายมาแค่รูปเดียวเสียด้วยครับ เลยขอครอปและขยายเฉพาะส่วนตรามาให้ดูนะครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 19:27
เรื่องแบบทหารสีกากีดูเหมือนจะเริ่มใช้ราว พ.ศ. ๒๔๕๗ หรือ ๒๔๕๙ จำไม่ได้แน่ครับ
เมื่อกองทหารอาสาของไทยออกเดินทางไปสงครามฏลกครั้งที่ ๑ ยังใช้เครื่องแบบกากีอยู่  แต่เมื่อไปถึงฝรั่งเศสแล้ว  กองทัพฝรั่งเศสจ่ายเครื่องแบบสีกากีแกมเขียวให้เปลี่ยนใช้เหมือนกองทหารชาติสัมพันธมิตร  พร้อมทั้งจ่ายหมวกเหล็กแบบฝรั่งเศสให้ใช้  กองทัพบกไทยจึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องแบบสีกากีแกมเขียวทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒  และใช้หมวกเหล็กแบบฝรั่งเศสต่อมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  เมื่อรับควมช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาจึงเปลี่ยนกลับไปใช้เครื่องแบบกากีและหมวดเหล็กแบบอเมริกัน  และมาเปลี่ยนเป็นเครื่องแบบกากีแกมเขียวอีกครั้งในยุคจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์

เครื่องหมายสังกัดที่เป็นตัวเลขในกรอบกนกนั้นดูเหมือนจะเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังแล้วครับ  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และ ๖ นั้นเครื่องหมายสังกัดที่ติดบนกึ่งกลางอินทรธนูเป็นตัวเลขโลหะสีเงิน เช่น เลข ๑ ๒ ๑๔ ณลณ แต่ถ้าเป็นกรมกองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมวงศ์เป็นผู้บังคับการพิเศษใช้ติดอักษรพระบรมนามาภิไธยหรือพระนามาภิไธยเพิ่มไปเหนือตัวเลข  ดังภาพนายพันตรี พระเจ้าน้องยาเธอ หรมหมื่นชัยนาทนเรนทร นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ ที่ทรงติดเลขหมายกรมคือ ๑๑ ที่กึ่งกลางอินทรธนูและมีอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.อยู่เหรือตัวเลข  และโปรดสังเกตว่าเสด็จในกรมมิได้ทรงติดเครื่องหมายประจำการที่คอเสื้อ  กับมิได้ทรงสะพายสายคันชีพ  ทั้งนี้เพราะทรงเป็นนายทหารพิเศษมิใช่นายทหารประจำการร


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 19:40
เมื่อแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเสวยราชสมบัติได้ทรงรับเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๑๔ จังหวัดเพชรบุณี  ต่อมามีพระราชดำริจะให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเป็นนายพันเอกผู้บังคับการพิเศษกรมทหารนี้  เพราะพระนามกรมพ้องกับชื่อจังหวัดที่เป็นที่ตั้งหน่วยทหาร  แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฯ กรมหลวงพืษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลถวายความเห็นแย้งว่า

"ข้าพระพุทธเจ้าก็เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การที่เจ้านายผู้หญิงเปนผู้บังคับการนั้นงดงามดี  แลเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การที่จะโปรดเกล้าฯ ให้น้องหญิงเปนผู้บังคับการพิเศษนั้นสมควรอย่างยิ่ง  แต่ข้าพระพุทธเจ้าต้องขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาศกราบบังคมทูลความวิตกบางอย่างคือ
๑)   กรมทหารราบที่ ๑๔ นั้น  ได้ประกาศว่า ทรงพระมหากรุณารับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษเสียเองแล้ว  การที่จะเปลี่ยนนั้นแปลว่าต้องปลดอักษรพระนามย่อที่บ่า  ซึ่งเกรงด้วยเกล้าฯ ว่า นายทหารแลพลทหารจะพากันเสียใจมากอยู่  คิดด้วยเกล้าฯ ว่าตามแบบฝรั่งเจ้านายผู้หญิงมักเปนผู้บังคับการพิเศษทหารม้า  ถ้าโปรดเกล้าฯ ให้เปนผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๖ ซึ่งว่างก็ดูจะไม่ขัดข้องประการใด  ชื่อเมืองนั้นถ้าจะว่าไปก็ไม่สำคัญนักกรมทหารอาจเปลี่ยนแปลที่ตั้งได้ต่างๆ เสมอ
๒)   ถ้าโปรดเกล้าฯ ให้น้องหญิงเปนผู้บังคับการพิเศษ  แลไม่ถวายตำแหน่งอย่างนั้นแก่เสด็จแม่   นากลัวจะทรงไว้หนวด   เพราะท่านโปรดทหารมากที่สุด  แลเคยทรงบ่นอยู่เหมือนกันว่า ทำไมพระราชินีกรุงสยามจึงมิได้เปนทหารอย่างในยุโรป  ถ้าไม่มีผู้หญิงได้เปนเสียเลยก็ไม่เปนไร  เพราะแปลว่าไม่มีแบบ  แต่ถ้าน้องหญิงได้เปนขึ้นแล้ว  เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าน่ากลัวจะเกิดความ
ถ้าแม้ว่าเสด็จแม่จะทรงเปนผู้บังคับการพิเศษแล้ว  กรมทหารรักษาพระองค์ก็มีว่างอยู่แต่กรมทหารปืนใหญ่เท่านั้น  ส่วนกองพลที่ว่างยังไม่มีผู้บังคับการพิเศษเลยคือ กองพลที่ ๘  ที่ ๙  ที่ ๑๐.  กองพลที่ ๖ ที่ ๗  ก็มีแต่เจ้านายเปนผู้บังคับการพิเศษ  กองพลละกรมเท่านั้น  ส่วนกองพลที่ ๑  ที่ ๒  ที่ ๓  ที่ ๔  ที่ ๕ นั้นบัดนี้เปนการรวยพออยู่แล้ว”


เมื่อได้ทอดพระเนตรความตามลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ เสนาธิการทหารบกแล้ว  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกระลาโหมถวายพระยศนายพันเอก ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๕   แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง   กับได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเป็นนายพันเอก ผู้บังคับการพิเศษกรมหารม้าที่ ๒  มาตั้งแต่วันที่  ๗  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕   และรุ่งขึ้นวันที่  ๘  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕ ยัง “ ได้ทรงถวายตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ (มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) แด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี” 

ต่อมาจึงเป็นธรรมเนียมที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะทรงดำรงพระยศเป็นนายพันโทผู้บังคับการพิเศษกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์มาจนถึงปัจจุบัน  ส่วนกรมทหารม้าที่ ๕ ที่สมเด็จพระพันปีหลวงทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษก็ติดอักษรพระนามาภิไธย ส.ผ.ที่บ่าเสื้อต่อมาแม้จะเปลี่ยนนามกรมเป็นกรมทหารบกม้านครราชสีมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๖

สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ทรงเครื่องเต็มยศนายพันโท ผู้บังตับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดสังเกตพระมาลา  พระภูษามีแถบเหมือนแถบขากางเกงนายทหาร  และทรงขัดกระบี่ด้วย
   


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 10 ก.พ. 15, 19:42
พระรูปนี้เป็นพระรูป นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเครื่องปกตินายพันเอกผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๒


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 ก.พ. 15, 11:34
ในร.ศ.๑ นั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านให้เริ่มต้นนับปีในวันที่ ๑ มกราคม หรือ ณ วันสงกรานต์ในเดือนเมษายนปีนั้น ครับ
ถ้าไม่ใช่ ๑ มกราคม ก็จะซ.ต.พ.มิได้

ขออนุญาตยกคำถามนี้ไปตอบในกระทู้ สวัสดีปีใหม่ไทย - ไต (ย้อนหลัง) ครับ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2506.0) ;D


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 12 ก.พ. 15, 14:12
มีจุดนึงที่ยังไม่ทราบรายละเอียดเลยครับ คือ กรมทหารรักษาวัง วปร.  ที่รู้สึกว่าจะไม่ใช้เครื่องแบบเหมือนทหารบกเลย และเป็นหน่วยงานทหารที่สังกัดกระทรวงวัง ไม่ใช่กลาโหมด้วยครับ และยังเคยยกฐานะให้ ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวัง ให้เทียบเท่า ผู้บัญชาการทหารบก เป็นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารรักษาวัง ก่อนจะลดฐานะกลับมาเป็น ผบ.กรมเท่าเดิม  แต่ต่อมากรมทหารรักษาวังนี้ก็มาเปลี่ยน มาขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม มาเป็นกองพันทหารราบที่ ๙ ทหารรักษาวัง ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวในภายหลัง (ต่อมาหน่วยนี้แปรสภาพเป็นกองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ร.๑พัน๓รอ. การแต่งกายหมวกยอดมีพู่สีบานเย็น เสื้อสักกะหลาดสีขาวแผงคอและข้อมือสีบานเย็นประดับพระปรมาภิไธย ว.กนก )


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 ก.พ. 15, 10:17
กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. จะว่าไปก็คือทหารบกดีๆ นี่เอง  แต่ทหารรักษาวังนี้มีพระราชบันทึกว่า เดิมเรียกว่ากรมวังนอก  ลูกหมู่กรมวังนอกนี้เป็นพลชาววังมีหน้าที่เปิดปิดประตูและทำการโยธาต่่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง กับเข้าขบวนแห่ในเวลามีเสด็จโดยกระบวนราบหรือกระบวนหยุหยาตรา  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระราชดำริว่า การที่ต้องจัดทหารรักษาพระองค์มาวางยามประจำรักษาการตามประตูวังคู่กับลูกหมู่กรมวังนอกนั้นเป็นการสิ้นเปลือง  อีกทั้งทหารมีหน้าที่ป้องกันรักษาประเทศชาติแต่ให้มายืนยามรักษาการเช่นนี้ย่อมเป็นการสูญเปล่า  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมวังนอกขึ้นเป็นกรมทหารรักษาวังสังกัดกระทรวงวัง  มีระเบียบปกครองเป็นกรมทหารบกกรมหนึ่งขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อเสนาบดีกระทรวงวัง  มีสมุหราชองครักษ์ที่เป็นนายทหารบกเป็นผู้กำกับราชการ

เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมวังนอกเป็นกรมทหารรักษาวังแล้ว  ก็โปรดเกล้าฯ ให้ทหารรักษาวังเป็นผู้อยู่เวรยามประจำรักษาประตูพระราชฐานที่ประทับเฉพาะชั้นนอกแทนทหารรักษาพระองค์ที่โปรดให้ถอนกลับกรมกองไปทั้งหมดและคงทำการต่างๆ เช่นที่เคยปฏิบัติมา  ส่วนที่พระราชฐานชั้นกลางคงเป็นหน้าที่ของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ที่มีที่ตั้งกองรักษาการอยู่ที่ใต้ถุนพระที่นั่งจักรีมหาปราสทตามเดิม

เนื่องจากกรมทหารรักษาวังนี้เป็นส่วนราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงวัง  แต่ระเบียบวิธีปกครองทั้งหมดเป็นทหารจึงใช้เครื่องแบบคล้ายทหารบก  จะต่างกันเฉพาะในรายละเอียดบางประการเพื่อให้เป็นที่สังเกตว่ามิใช่ทหารบกคือ  หมวกเต็มยศครึ่งยศ  ทหารรักษาวังใช้หมวกค๊อกแฮตสวมทางขวางอย่างที่เรียกกันว่าหมวกแบบนโปเลียน  มีตราพระครุฑพ่าห์โลหะสีทองติดทับบนดอกไม้แพรจีบสีบานเย็นที่หน้าหมวก  นายทหารสัญญาบัตรมีพู่ติดที่หน้าหมวกด้วย  เสื้อใช้เสื้อแบบราชการ (ราชปะแตน) สีขาวมีปลอกคอและข้อมือสีบานเย็น  กางเกงสีน้ำเงินแก่แถบสีบานเย็น  รองเท้าสูง (บูท) หนังดำ  กระบี่ไทย (คล้ายดาบไทย) ฝักหนังดำเครื่องทองใช้แทนกระบี่ฝักเงินอย่างทหารบก  สำหรับเครื่องแบบปกติ เครื่องฝึกหัดและเครื่องสนาม เหมือนอย่างทหารบกเกือบทั้งหมด  ต่างกันแต่เพียงหมวกแก๊ปมีผ้าพันหมวกสีบานเย็น

สีประจำเหล่าของทหารรักษาวังเป็นสีบานเย็น  เพราะสีบานเย็นสีหมายกระทรวงวัง

เครื่องแบบทหารรักษาวังมีเปลี่ยนแปลงบ้างในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ เช่นเครื่องแบบปกติเปลี่ยนจากเสื้อเทากางเกงน้ำเงินแก่มาเป็นกางเกงดำ  แล้วเปลี่ยนเป็นกากีทั้งชุด  กับเพิ่มหมวกกันแดดแบบกะโล่สีกากี  และเพิ่มกระบี่แบบทหารบกในเวลาแต่งเครื่องปกติ

ส่วนที่กล่าวว่า "เคยยกฐานะให้ ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวัง ให้เทียบเท่า ผู้บัญชาการทหารบก เป็นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารรักษาวัง ก่อนจะลดฐานะกลับมาเป็น ผบ.กรมเท่าเดิม" นั้น  ขออธิบายเพิ่มเติมว่า ปกติกรมทหารบกทั่วไปกรมหนึ่งมีอัตรากำลังเพียง ๒ กองพันๆ หนึ่งมี ๔ กองร้อยเป็นอย่างมาก  เมื่อแรกสถาปนากรมทหารรักษาวังก็มีกำลังพลเป็น ๒ กองพันเช่นเดียวกัน  กองพันที่ ๑ มีที่ตั้งประจำอยู่ที่ริมประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง  กองพันที่ ๒ อยู่ที่โรงทหารถนนราชวิถีที่ปัจจุบันเป็นกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์  มีหน้าที่รับผิดชอบรักษาการพระราชวังดุสิต  ต่อมาในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๘  มีพระราชดำริที่จะจัดตั้งกองทหารในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ที่มีสัญญาลับกับอังกฤษให้คาบสมุทรมลายูของไทยเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ  เพื่อแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สยามยังคงหวงแหนดินแดนแถบนี้อยู่  แต่เวลานั้นเสนาบดีกระทรวงกระลาโหมกราบบังคมทูลว่า กองทหารบกที่มีอยู่ในเวลานั้นมีจำกัด  ไม่สามารถถอนกำลังหน่วยหนึ่งหน่วยใดลงไปตั้งในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ดังพระราชประสงค์ได้  จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวังขึ้นที่สวนราชฤดี จังหวัดนครศรีธรรมราช  แบ่งนายทหารจากกรุงเทพฯ ไปประจำที่นครศรีธรรมราชและโปรดให้ใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้เกณฑ์ชายฉกรรจ์เข้าประจำการในกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง  จัดอัตรากำลังเป็น ๔ กองร้อย

เมื่อกรมทหารรักษาวังมีอัตรากำลังเป็น ๓ กองพัน  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกตำแหน่งผู้บังคับการกรมซึ่งเป็นนายพันเอก ขึ้นเป็นนายพลตรี เรียกชื่อตำแหน่งว่า ผู้บัญชาการกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. มีเกียรติยศเสมอด้วยผู้บัญชาการกองพลในสังกัดกองทัพบก  เพราะในสมัยนั้นกองพล ๑ มีอัตราเป็นกรมทหารราบ ๒ กรมๆแม้จะจัดเป็น ๒ กองพัน  แต่ก็มีอัตรากำลังเพียงกองพันละ ๒ กองร้อย  เมื่อรวมกับอัตรากำลังที่ขึ้นสังกัดในกองพลทั้งกองทหารม้า  ทหารพาหนะ  ทหารปืนใหญ่ แล้ว  กองพลหนึ่งจะมีอัตราพอๆ กับกรมทหารรักษาวัง ๓ กองพันรวมกัน

ต่อมาในตอนปลายรัชสมัยมีการตรวจตัดรายจ่ายในพระราชสำนัก  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. ซึ่งทำให้ลดรายจ่ายในพระราชสำนักลงได้ถึงปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท  เมื่อกรมทหารรักษาวังลดอัตราลงเหลือ ๒ กองพันแล้ว  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ลดตำแหน่งยศผู้บัญชาการกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.ลงมาเป็น นายพันเอก ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวังตามเดิม


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 ก.พ. 15, 10:19
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศ นายพันเอก ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวัง  ทรงฉายเมื่อแรกสถาปนากรมทหารรักษาวัง


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 ก.พ. 15, 10:30
หมวดทหารรักษาวังพร้อมพลแตร  สวมเครื่องแบบปกติขาว  โปรดสังเกตนายสิบและพลทหารสวมหมวกไม่มีพู่


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 13 ก.พ. 15, 13:44
ขอบคุณท่านอาจารย์ V_MEE  มากเลยครับ ได้มีโอกาสเห็นรูปหมวกค๊อกแฮตจริงๆเสียที พระบรมฉายาลักษณ์ ร.๖ นี่น้าจะเป็นต้นแบบให้สร้าง อนุสาวรีย์ที่ ร๑.พัน.๓​รอ. ตรงถนนพระราม๕ เลยนะครับ

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xfp1/t31.0-8/p417x417/78043_134002436655897_291701_o.jpg)


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 15, 15:50
ผมถ่ายมาแค่รูปเดียวเสียด้วยครับ เลยขอครอปและขยายเฉพาะส่วนตรามาให้ดูนะครับ

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการจัดทหารเป็นแบบฝรั่งเศส มีกรมเกราะทอง และหมวกนี้ได้รับอิทธิพลดังกล่าว


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.พ. 15, 11:50
ขอโทษครับ มีความผิดพลาดจึงได้ลบคคห.นี้


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 26 ธ.ค. 16, 17:00
ห่างหายไปนานเป็นปีเลยจริงๆครับ จากที่เคยนั่งอ่านหารูป จะนำมาคุยเลยหายไปเป็นปีๆ เลยครับ
วันนี้เลยนำรูปหมวกยอดแบบไม่มีพู่ หรือที่บางทีเราก็เรียกว่า หมวกกันแดด มาฝากครับ

(http://www.militarysunhelmets.com/wp-content/uploads/2012/10/Thai2.jpg)


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ตองฮอคุโรบูตะ ที่ 26 ธ.ค. 16, 17:03
รูปมาจาก www.militarysunhelmet.com (http://www.militarysunhelmet.com) นะครับ
(http://www.militarysunhelmets.com/wp-content/uploads/2012/10/ThailandFront.jpg)
รูปนี้ ตามข้อมูลในเว็บบอกใช้ในกองทัพไทยยุค1990s แต่ผมไม่เคยเห็นและไม่คุ้นกับตราหน้าหมวกลักษณะนี้เลยครับ


กระทู้: ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 10 ม.ค. 17, 10:53
รูปมาจาก www.militarysunhelmet.com (http://www.militarysunhelmet.com) นะครับ
(http://www.militarysunhelmets.com/wp-content/uploads/2012/10/ThailandFront.jpg)
รูปนี้ ตามข้อมูลในเว็บบอกใช้ในกองทัพไทยยุค1990s แต่ผมไม่เคยเห็นและไม่คุ้นกับตราหน้าหมวกลักษณะนี้เลยครับ


ตราหน้าหมวกน่าจะเป็นตรา หน่วยบัญชาการกำลังสำรองรึเปล่าครับ