เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 12:33



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 12:33
อ่านเมืองโบราณฉบับล่าสุด มีบทสัมภาษณ์คุณลุงเทียนชัย จึงแย้มปิ่น ซึ่งส่วนหนึ่งกล่าวถึงบรรพบุรุษของคุณลุงว่าเป็นรัชทายาทราชวงศ์ชิงที่ลี้ภัยการเมืองมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระนั่งเกล้า

อ่านแล้วรู้สึกว่าค้างใจอยู่มาก พอมาเสิร์ชดูในเน็ตปรากฏว่ามีเรื่องราวพัวพันกับกระทู้การรื้อเจดีย์วัดเล่งเน่ยยี่ในพันทิพ

http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W5438145/W5438145.html (http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W5438145/W5438145.html)

ขอคัดความบางส่วนในกระทู้นี้ที่โพสต์โดยคุณหญิงยอดนักทดลอง เกี่ยวกับประวัติของท่านฉี่หยี่กงซึ่งว่ากันว่าเป็นรัชทายาทราชวงศ์ชิง คคห.57-60 ดังนี้ครับ

ประวัติท่านฉี่หยี่กง

เป็นคำบอกเล่าต่อๆกันมา ภายในตระกูลว่าท่านฉี่เป็นองค์ชายสองแห่งราชวงศ์ชิง ลี้ภัยการเมืองเข้ามายังประเทศสยาม จากเรื่องราวคำบอกเล่าของคนในรุ่นก่อนและเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่สอดคล้ องกันทุกส่วนจึงเชื่อได้ว่าท่านฉี่หยี่กงเป็นองค์ชายสองในฮ่องเต้เต้ากวง

อ งค์ชายสองมีพระนามว่า Yikang (อ่านว่าอี้กัง) ประสูติในปี พ.ศ.2369 เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในฮ่องเต้เต้ากวง Daoguang Emperor ซึ่งเป็นฮ่องเต้ลำดับที่แปดแห่งราชวงศ์ชิง ครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2363 – 2393 (ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่สาม)

ฮ่องเต้เต้ากวงมีพระโอรสทั้งหมด 9 พระองค์ แต่องค์ชายสองมีพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์และพระขนิษฐา 1 พระองค์ คือ
- องค์ชายสาม Yichi ประสูติปีพ.ศ. 2372
- องค์ชายหก Yixin ประสูติปีพ.ศ. 2376 – 2441
- องค์หญิงหก

พ ระมารดา Empress Xiao Jing Cheng ทรงเป็นฮองเฮาองค์ที่สี่มาจากเผ่าบอจิกิทซึ่งมีอำนาจมากในช่วงก่อตั้งราชวงศ ์ชิง (เจงกิสข่าน กุบไลข่าน ผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน รวมถึงสมเด็จย่า ผู้อภิบาลจักรพรรดิคังซี ซึ่งทำให้ราชวงศ์ชิงและประเทศเป็นปึกแผ่นนั้นก็มาจากเผ่าบอจิกิท)

อ งค์ชายใหญ่นั้นสิ้นพระชนม์ตั้งแต่องค์ชายสองยังเยาว์ องค์ชายสองจึงเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่ง พระมารดาซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นพระสนม มีความกังวลในความปลอดภัยขององค์ชายสองจึงส่งไปอยู่กับพระญาติที่มีกำลังทหา รที่ตำบลเหม่ยเสี้ยน องค์ชายสามป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด องค์ชายสี่ (Xianfeng Emperor) ซึ่งประสูติจากฮองเฮาองค์ที่สาม ซึ่งมาจากเผ่านิอูฮูรูที่กำลังมีอำนาจเข้มแข็ง พอจะสนับสนุนองค์ชายสี่ ที่มาจากของเผ่าตนให้ขึ้นครองราชย์ได้ แต่ฮองเฮาองค์ที่สามก็ทิวงคต หลังจากพระมารดาขององค์ชายสี่สิ้น พระมารดาขององค์ชายสองก็ได้รับสถาปนาเป็นฮองเฮาองค์ที่สี่

จากรูปถ ่ายองค์ชายสองฉลองพระองค์ชุดเฝ้าซึ่งแสดงฐานะรัชทายาท มีจุดสังเกตุฐานะอยู่ที่คอปกเสื้อและปลายแขนสีน้ำเงินแสดงฐานะเชื้อพระวงศ์ช ั้นสูง ลูกประคำยาวที่สวมเมื่อเข้าเฝ้าฮ่องเต้ไม่จำเป็นต้องคุกเข่าเพียงค้อมตัวให้ สายประคำแตะพื้นก็เพียงพอแล้ว รอยแยกของเสื้อสีน้ำเงินจะเห็นว่าชุดด้านในเป็นสีเหลือง เนื่องจากยังไม่ได้ครองราชย์ เป็นเพียงรัชทายาทจึงใส่ไว้ข้างใน (ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ใส่เสื้อสีเหลืองนอกจากองค์ฮ่องเต้และรัชทายาท) จากรูปท่านยังไม่มีหนวดเคราเนื่องจากอายุยังไม่ถึง 20 ปี

องค์ชายสอง เมื่อประทับอยู่ที่ตำบลเหม่ยเสี้ยนได้ศึกษาเรื่องการแพทย์และพระพุทธศาสนา แม้ว่าจะเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งแต่พระองค์ก็ไม่มีพระประสงค์จะครองบัลลังก์ คิดจะหลีกทางให้องค์ชายหกได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาแทน ขณะนั้นประเทศตะวันตกเริ่มขยายมีอิทธิพลในประเทศจีน ฮ่องเต้เต้ากวงไม่เข้าใจถึงอำนาจของประเทศตะวันตก ยังคงเชื่อว่าประเทศจีนยิ่งใหญ่ที่สุดจนมีการพูดกันว่าฮ่องเต้เต้ากวงนั้นไม ่รู้ด้วยซ้ำว่าอังกฤษอยู่ตรงไหนของโลก ทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆเสียเปรียบต่างชาติจนเกิดสงครามฝิ่นครั้งแรกและสน ธิสัญญานานกิง ทำให้จีนเสียฮ่องกงให้กับอังกฤษ และเสียเปรียบอังกฤษในหลายๆด้าน

องค์ชายหกนั้นมีพระพี่เลี้ยงที่มองก ารณ์ไกล จัดการให้องค์ชายหกมีความรู้ ความเข้าใจในชาติตะวันตก ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับชาวต่างชาติ องค์ชายสองคิดว่าหากพระองค์สละสิทธิ์ในราชสมบัติให้แก่องค์ชายหก ประเทศจีนจะประคองตัวจากการคุกคามของชาติตะวันตกและปฏิรูปเข้าสู่ยุคใหม่ได้

เมื่อองค์ชายสองปรึกษากับปลัดวังแซ่ลิ้ม (ปลัดวังที่เหม่ยเสี้ยน) ปลัดวังก็แนะนำว่า หากแม้องค์ชายสองยังอยู่ในประเทศจีนการสละสิทธิ์ก็ทำได้ยาก ถึงฝ่ายไหนจะขึ้นครองราชย์ก็ตาม ฝ่ายผู้สนับสนุนองค์ชายสี่ก็ยังคงเห็นว่าองค์ชายสองเป็นศัตรูที่ต้องหักหาญล งอยู่ดี ทางที่ดีที่สุดควรจะออกไปจากประเทศจีนเสีย การค้าทางทะเลด้านเอเซียกำลังเฟื่องฟู จะขออาสาไปดูลาดเลาว่าที่ไหนที่พอจะไปปักหลักอยู่ได้

ปลัดวังแซ่ลิ้ม ได้ออกเดินทางมากับเรือสำเภาทำทีเป็นพ่อค้าทำการค้าขายล่องเรือมาเรื่อยจาก (ในปัจจุบันคือ เวียตนาม สยาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย) เมื่อเห็นแล้วว่าประเทศสยามนั้นมีความอุดมสมบูรณ์และพระมหากษัตริย์สยามนั้น ไม่มีความรังเกียจเดียจฉันท์ชาวจีนโพ้นทะเล ให้ความเมตตาเช่นพสกนิกรของพระองค์เองเยี่ยงบิดาดูแลบุตร ด้วยความโอบอ้อมดูแลความเป็นอยู่อย่างดี

ปลัดวังแซ่ลิ้มจึงกลับไปประเทศจีนกราบทูลให้องค์ชายส องทราบว่าประเทศสยามมีความเหมาะสมที่จะอพยพออกจากประเทศจีนมาพึ่งพระบรมโพธิ สมถาร แต่องค์ชายสองมีความกังวลใจเพราะมิใช่ท่านเพียงองค์เดียวที่จะเสด็จ ยังมีราชองครักษ์และข้าราชบริพารพร้อมทั้งทรัพย์สินอีกจำนวนมาก หากพระองค์เสด็จเข้าไปพระเจ้าอยู่หัวสยามจะเข้าพระราชหฤทัยผิดคิดว่าเรามีคว ามประสงค์ร้ายได้ ขอให้ปลัดวังกลับไปแจ้งความประสงค์ของเราและทูลถามพระเจ้าอยู่หัวสยามให้แน่ นอนเสียก่อน

ปลัดวังแซ่ลิ้มก็ได้จัดเรือสำเภาเข้ามาขอพบเจ้าสัวยิ้ม ซึ่งขณะนั้นเป็นคนจีนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้วางพระราชหฤ ทัย เรียนให้ทราบว่าตนเป็นปลัดวังและองค์ชายสองมีพระประสงค์ที่จะขอเข้ามาพึ่งพร ะบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยบริวารโดยไม่ได้มีเจตนาร้ายต่อประเทศสยามและพระราชวงศ์จักรีแต่อย่ างใด ขอให้เจ้าสัวยิ้มนำความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตรัชกาลที่ 3 ทรงทราบความประสงค์แล้ว จึงประทานพระบรมราชานุญาตให้ตามที่ขอ ปลัดวังแซ่ลิ้มเตรียมที่ประทับในสยามและวางแผนการอพยพเข้ามาสยามเสร็จแล้วจึ งกลับไปประเทศจีนเพื่อรับองค์ชายสองและบริวารเข้ามาตาม พระบรมราชานุญาติเมื่อราว พ.ศ. 2390

ปลัดวังแซ่ลิ้มเตรียมการเป็นควา มลับและรอบคอบยิ่ง ขบวนเรือสำเภา 13 ลำ ทาสีฟ้าอมเขียวเป็นพาหนะนำองค์ชายสอง เหล่าองครักษ์ และข้าราชบริพาร ทยอยออกจากท่าในประเทศจีนและมาลอยเรือรอที่จุดนัดพบแล้วจึงเข้าสยามพร้อมกัน

เ มื่อตัดสินใจลี้ภัยสู่ประเทศสยาม องค์ชายสองจำต้องสละพระนาม ยศ ศักดิ์และอดีตไว้บนแผ่นดินจีน เมื่อเข้ามาสู่แผ่นดินสยามท่านก็ดำรงตนเป็นพสกนิกรในพระบรมโพธิสมภารของพระบ าทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อองค์ชายสองเข้ามาอยู่บนแผ่นดินสยามก็เ ปลี่ยนชื่อแซ่ ไม่ให้ใครเรียกพระนามเดิมอีก ให้เรียกท่านเพียงว่า “ฉี่หยี่กง” และเรียกกันว่า “ท่านฉี่”

ปลัดวังแซ่ลิ้มเชิญท่านฉี่ลงจ ากเรือที่แม่น้ำท่าจีนและพาไปพักยังบ้านที่สร้างขึ้นที่ตลาดพลู ซึ่งอยู่ห่างออกมาจากชุมชนชาวจีนในสมัยนั้น ใกล้กันนั้นก็ตั้งศาลเจ้าดินพร้อมโรงงิ้วยกพื้นสูงเพื่อจะมองเห็นทัศนวิสัยไ ด้ในระยะไกล หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีก็จะได้เตรียมตัวป้องกัน

พระบาทส มเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให ้ท่านฉี่ใช้ที่ดินตั้งแต่วัดเล่งเน่ยยี่ไปจนถึงวรจักร และอีกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก จากคลองสานจนถึงวัดกัลยาณมิตร พักอาศัยปลูกผักเลี้ยงสัตว์และทำการค้าข้าว

ปลัดวังแซ่ลิ้มคิดว่าถึง จะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ถ้ากินใช้แล้วไม่หาเพิ่มไม่นานทรัพย์ก็คงหมด จึงทำการค้าข้าวส่งขายประเทศจีนและค้าขายกับประเทศอื่นๆแถบนี้ คนที่มากับท่านเห็นว่าที่ไหนพอจะตั้งตัวได้ก็ขอลงไปตั้งฐานะของตนตามรายทางจ นคนของท่านกระจายอยู่แถวเวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เพิ่งขาดการติดต่อกันไปเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง

ท่านฉี่ มีความรู้สึกซาบซึ้งในพระพระทัยของรัชกาลที่3 มาก ท่านรับสั่งกับชาวจีนที่มากับท่านว่า “เราไม่เคยได้ช่วยกอบกู้บ้านเมืองเหมือนพระเจ้าตากสินฯ แต่พระเจ้าอยู่หัวสยามก็มีพระเมตตาให้เราได้อยู่อาศัยได้มีที่ทำมาหากิน เพราะฉะนั้นขอให้ลูกหลานกตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดินสยามและพระราชวงศ์จักรี”

ท ่านฉี่พักอยู่ที่ตลาดพลูสมัยนั้นถือว่าเป็นต่างจังหวัดชนบทไกลความเจริญ เหล่าบริวารปลูกบ้านพักกระจายรอบพร้อมให้การอารักขา องครักษ์ทั้งหลายเมื่ออยู่ในเขตบ้านท่านก็สวมชุดประจำตำแหน่งอย่างที่ใส่เมื ่ออยู่ในประเทศจีน เป็นเสื้อคว้านคอผูกเอวสองข้างสีน้ำเงิน ตรงอกเสื้อมีวงกลมสีขาว อักษรสีแดงเขียนว่า “ฉี่” แต่เมื่อออกพ้นเขตบ้านก็จะไม่รับอนุญาติให้ใส่เครื่องแบบนี้

ใกล้กัน นั้นปลัดวังลิ้มก็ตั้งศาลเจ้าขึ้นคือศาลเจ้าดิน มีการสร้างเวทีงิ้วแบบยกพื้นสูง เวทีงิ้วถูกยกขึ้นเพื่อให้เห็นทัศนวิสัยได้ไกล ใต้เวทีมีการขุดคูน้ำ อาวุธต่างๆถูกซุกซ่อนอยู่ในคูน้ำใต้เวที พร้อมใช้ทุกเมื่อ เสื้อเกราะ แบบมีกระเป๋าไว้สอดแผ่นเหล็ก หอกซึ่งมีสองง่ามเสียบลงไปในหอกและบิดก็จะกลายเป็นสามง่าม และอาวุธอีกนานาประการถูกซ่อนเอาไว้

องครักษ์ขององค์ชายสองส่วนหนึ ่งปลอมตัวเป็นคณะนักแสดงงิ้ว อาศัยอยู่ในเรือซึ่งแต่งเป็นเรือคณะแสดงงิ้วจอดเรือตั้งแต่ท่าจีน ปากน้ำ ทุ่งครุ ดาวคนอง คลองสาน ราชวงศ์ ท่าเตียนทั้งสองฝั่ง ปากคลองบางกอกใหญ่ ในเรือมีอาวุธเตรียมพร้อมที่จะป้องกันองค์ชายสอง

เมื่อองค์ชายสองเ สด็จออกมาแล้วนั้นเหตุการณ์พลิกผัน เมื่อฮ่องเต้เต้ากวงสิ้นพระชนม์ลง องค์ชายสี่ก็ชิงสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้เสียนเฟิง ก่อนที่จะมีการเปิดพระบรมราชโองการเรื่องผู้สืบทอดราชบัลลังก์ของฮ่องเต้เต้ ากวง

แต่เพื่อเป็นลดแรงกดดันทางการเมือง ฮ่องเต้เสียนเฟิงจึงพระราชทานตำหนักสวยงาม กว้างขวาง ให้องค์ชายหก ซึ่งเรียกในเวลาต่อมาว่าตำหนักเจ้าชายกง (ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของปักกิ่ง)

ส่วนพระมารดาขององค์ชายหกผู้ดำรงฐานะฮองเฮาอยู่ ซึ่งต้องได้รับการยกย่องขึ้นเป็นฮองไทเฮา กลับไม่ได้ยกย่องขึ้น แล้วลดฐานะลงให้เป็นเพียงอดีตพระสนม ยังความเจ็บแค้นแก่องค์ชายหกยิ่งนัก จนเมื่อพระมารดาประชวรหนัก ฮ่องเต้เสียนเฟิงจึงประทานตำแหน่งฮองไทเฮาให้ ไม่กี่วันหลังจากนั้นฮองไทเฮาผู้ระทมทุกข์ก็สิ้นพระชนม์ ขณะอายุเพียงแค่44 ปี พระองค์ถูกฝังในสุสานพระสนมและยังไม่ได้คำยกย่องต่อในพระนามว่า “เช็ง” เช่นฮองเฮาผู้ล่วงลับคนอื่นของฮ่องเต้เต้ากวง จนถึงสมัยฮ่องเต้ถงจื้อ (โอรสของฮ่องเต้เสียนเฟิง) จึงได้ประทาน “เช็ง” ต่อท้ายพระนามเป็น Empress Xiao Jing Cheng

ความไม่พอพระทัยขององค์ชายหก ทำให้ฮ่องเต้เสียนเฟิงระแวงองค์ชายสองว่าอาจจะรวบรวมไพร่พลเข้ามาชิงบัลลังก ์ แก้แค้นที่พระองค์รังแกพระมารดาและองค์ชายหก ฮ่องเต้จึงส่งคนออกตามหา จนได้ทราบว่าเข้ามาอยู่ในสยาม ส่งคณะผู้มีวิทยายุทธ์เข้ามาติดตามสืบหา แต่เพราะการวางแผนที่รัดกุมของปลัดวังแซ่ลิ้ม ผู้ไม่ประสงค์ดีจึงหาไม่พบต้องกลับประเทศจีน ต่อมารวบรวมคนกลับมาใหม่และพาคนที่เหม่ยเสี้ยนที่รู้จักองค์ชายสองมาด้วย ครั้งที่สองนี้ก็ไม่พบอีกเช่นกัน ทั้งคณะทำงานไม่สำเร็จจึงไม่สามารถกลับจีนได้ จึงตั้งตนเป็นผู้มีอิทธิพลใช้วิทยายุทธ์รังแกและรีดไถชาวจีนด้วยกัน (เป็นอั้งยี่อีกพวกที่เกะกะระรานผู้คน คนพวกนี้ไม่ใช่เป็นคนของท่าน)

ผ ู้ปกครองอั้งยี่ต่อจากท่านฉี่คือธิดาของท่านชื่อสมบุญ เป็นคนนิสัยเด็ดเดี่ยวกล้าหาญฉลาดเฉลียว บิดาจึงมอบหมายให้บัญชาอั้งยี่ต่อจากท่าน เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านฉี่สิ้นแล้ว เกิดคณะผู้คิดการกบฎที่รู้จักกันว่ากบฎร.ศ.130 ได้มาติดต่อตั้วเฮียของอั้งยี่ให้ช่วยเป็นกำลังให้โดยไม่ได้รู้ว่าอั้งยี่ถื อความกตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดินสยามและราชวงศ์จักรี ตั้วเฮียทำทีเป็นยินดีตกลงช่วยแต่ขอเป็นฝ่ายล้อมวัง คณะกบฎก็หลงเชื่อ พอถึงเวลาอั้งยี่ก็ล้อมวังแต่ไม่ได้ล้อมเพราะปองร้ายรัชกาลที่ 6 แต่ล้อมเพื่ออารักขาจนกว่าจะปราบปรามคณะกบฎเสร็จสิ้น รัชกาลที่ 6 พอรู้ว่าถูกอั้งยี่ล้อมก็ตกใจคิดว่าพวกอั้งยี่ประสงค์ร้าย สั่งให้ปราบปรามอั้งยี่ จนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากิติยากร วรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (หลานชายเจ้าสัวยิ้ม พระโอรสในรัชกาลที่5 กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ที่ล้อกันว่า เกิดวันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ็ก) ซึ่งทราบความจริงทุกประการก็รีบกราบบังคมทูลอธิบายความจริงให้รัชกาลที่6 ทรงทราบ เรื่องปราบปรามอั้งยี่จึงราไป

หัวหน้าองครักษ์ของท่านฉี่เรี ยกว่าตั้วเฮีย คือลูกชายของปลัดวังแซ่ลิ้ม เข้ามาเมืองสยามตั้งแต่อายุ 16 ตายเมื่ออายุ 80 กว่าโดยไม่เคยกลับไปเมืองจีนอีกเลย ก๋งต่าง นายเสน่ห์ บุญมานพ เป็นคู่เขยกับตั้วเฮีย ปัจจุบันบ้านก๋งต่างที่ตลาดพลูก็ยังอยู่ ลูกชายของตั้วเฮียรุ่นสุดท้ายคือนายกิตติ ลิ้มจำรูญ ปัจจุบันอายุ 84 ปี (พระยาเทพหรูตั้งนามสกุล “ลิ้มจำรูญ” ให้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2467)

ใ นสมัยนั้นพวกอั้งยี่ ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เอาไว้ พวกทหารก็มาขโมยของพวกอั้งยี่ (องครักษ์ของท่าน) ก็เลยต่อสู้ ทหารก็ตั้งข้อหา พระยาเทพหรูก็จะไปจับเองโดยไม่ยอมให้คนอื่นไปจับ ตั้วเฮียของอั้งยี่ก็จะมารับเป็นจำเลยทุกครั้งไป พระยาดำรงธรรมสารก็จะเป็นผู้ตัดสินคดี ก๋งต่างเป็นนายประกัน โดยมากจะจบที่ปรับเล็กน้อยแล้วสั่งปล่อย เพราะพระยาทั้งสองทราบดีว่าอั้งยี่ถูกรังแกมิได้เกะกะระรานใคร คุณประสพ วิเศษสิริ ลูกชายพระยาดำรงธรรมสารเล่าให้ฟังว่าเวลาไม่มีคดี สามคน คนจับ คนตัดสิน คนประกันก็ไปนั่งทานข้าวด้วยกันเป็นประจำ

หลังเหตุการณ์กบฎ ร.ศ.130 สงบลง แม่สมบุญจึงเรียกรวมพลที่บ้านกลาง (ปัจจุบันคือแถวคลองถม) บ้านกลางนี่เปิดให้คนของท่านเข้ามาพักได้ เวลาเจ็บไข้ มีหมอจีนตรวจรักษา เจียดยา มีห้องยาสำหรับคนของท่านฉี่อยู่ที่บ้านกลาง จี๊ฮั้วตึ๊ง (ตอนหลังเป็นร้านขายทองคำใบใหญ่และเครื่องทองที่มีชื่อเสียง 1ใน5 สมัยร.5 คือ ตั้งโต๊ะกัง เซ่งเฮงหลี อี้ซุ่นมุ้ย งี่ซุ่ยเฮง จี๊ฮั้วตึ๊ง ปัจจุบันจี๊ฮั้วตึ๊งยังอยู่ในสพานหัน แต่เปลี่ยนเป็นขายผ้าและยังมีรูปแม่สมบุญติดอยู่) เมื่ออั้งยี่มาโดยพร้อมเพรียงกันแล้ว แม่สมบุญก็ประกาศเลิกอั้งยี่ เนื่องจากหน้าที่คุ้มกันท่านฉี่ก็หมดลงแล้ว เพราะว่าท่านสิ้นแล้ว ต่อจากนี้ขอให้เป็นพลเมืองดีของแผ่นดิน ยึดถือคุณธรรมสามอย่างคือ กตัญญูกคเวที ตั้งมั่นในศีลธรรมและมีสัจจวาจา อั้งยี่ทั้งหลายล้วนแต่เป็นบุรุษผู้เก่งกล้าถึงกับน้ำตาซึมกันทั่ว (แม่สมบุญตัดสินใจเลิกอั้งยี่ก็เพราะว่าเกรงว่าในอนาคตฝ่ายบ้านเมืองจะเกิดก ารเข้าใจผิดอีกก็จะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท)

อั้งยี่รวมพลครั้งสุ ดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2485 เมื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ พวกอั้งยี่ไปรวมกันที่บ้านตั้วเฮียทำกำแพงกั้นน้ำ และอาศัยอยู่ที่นั่นจนน้ำลด เคยมีรูปถ่ายเหตุการณ์ครั้งนั้นแต่สูญหายไป

ต ามคำบอกเล่าของหลานก๋งต่าง พวกทหารหากเห็นอั้งยี่ไว้หางเปียถือไม้กวาดจะไม่เข้ามาหาเรื่อง เพราะรู้ว่าพวกอั้งยี่มีวิชาป้องกันตัว นอกจากว่าจะมีพวกมาด้วยมากกว่า เข้ามารุมแล้วแจ้งข้อหา ซึ่งตามกระบวนการแล้วก็ถูกปล่อยทุกครั้ง

ท่า นฉี่หยี่กงได้สมรสกับนางสาวเหน้า ซึ่งเป็นคนย่านตลาดพลู มีบุตรธิดา 7 คน เมื่อมาถึงสยามแล้วท่านก็ถือว่าคนที่ลงเรือมาด้วยกันเป็นพี่เป็นน้อง มาสู่ขอธิดาของท่าน ท่านก็ยกให้ไม่ได้รังเกียจว่าฐานะต่ำกว่า ส่วนมากจึงแต่งกันไป ดองกันมาในวงญาติที่มาด้วยกัน

ซึ่งลูกหลานในปัจจุบันคือตระกูลแซ่ฉี่ แซ่จึง ล่ำซำ ทั่งเครือแก้ว พัทนะ เชาวกำธร อึ๊งภากรณ์ สิมะเสถียร กรรณสูต กาญจนาภา จักกะพาก วรรณวิฑูร จารุมิลินท หโยดม บุลสุข หวั่งหลี จึงแย้มปิ่น ฮุนตระกูล โทณวณิก สราญจิตต์ ดำรงไชย ขัมพานนท์ ชีชุติ คุณหญิงราชโกษา มารดาคุณแก้วขวัญ ขวัญแก้ว วัชโรทัย

มีรายนามและลำดับตามสมุดตระกูลที่ได้แนบมาด้วย เนื่องจากรวบรวมในภายหลังจึงอาจมีตกหล่นไปบ้าง

ท ี่สงขลาเป็นแหล่งของคนของท่านฉี่ เมื่อ 30 ปีก่อนมีการจัดงานรวมญาติแซ่ฉี่ที่สงขลาทำให้ได้ทราบว่า มีผู้ใช้แซ่ฉี่อยู่มากกว่าสองพันคน ล้วนแต่เป็นผู้ที่มากับเรือของท่าน มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง

เรื่องราวที่สองคล้องกัน

ทั้งใน ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนที่ระบุไว้ว่าองค์ชายสอง องค์ชายสาม องค์ชายหกเป็นพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน และระบุว่าองค์ชายสอง องค์ชายสามสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเด็ก ต่อมามีการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองย้อนหลัง

เรื่องการแย่งชิงบัลลัง ก์กันระหว่างองค์ชายสี่และองค์ชายหก โดยองค์ชายสี่ไม่ยอมเปิดพระราชโองการผู้สืบราชบัลลังก์ ฉวยโอกาสฮ่องเต้เต้ากวงสิ้น ประกาศตนเป็นฮ่องเต้ พอขึ้นมาก็ไม่ยอมสถาปนาพระมารดาขององค์ชายหก (ซึ่งดำรงตำแหน่งฮองเฮาของฮ่องเต้เต้ากวง ต้องขึ้นเป็นฮองไทเฮา สมเด็จพระพันปี) ขึ้นเป็นฮองไทเฮา และลดตำแหน่งให้เป็นเพียงพระสนมหม้ายในอดีตฮ่องเต้เต้ากวง ภายหลังในสมัยซูสีไทเฮา องค์ชายหกได้กลับมากุมอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการของยุวฮ่องเต้ (ลูกของเสียนเฟิงฮ่องเต้) จึงได้มีการคืนตำแหน่งให้พระมารดาในสุสาน โดยการเติมคำว่า เช็ง

ในเกร็ดประวัติศาสตร์เคยมีการส่งรังนกจากประเทศสยามเข้าไปถวายองค์ชายสามซึ่งป่วยหนัก โดยบอกว่าองค์ชายสองประทานมาจากประเทศสยาม

หลักฐานที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน

1. ตำหนักที่เหมยเสี้ยน (ตามคำบอกเล่าของฟัดโกวอายุ 93ปี คนสุดท้ายที่ออกมาจากจีนเล่าให้ฟังว่า ฉลองพระองค์ขององค์ชายสองก็ยังได้เห็นแต่ไม่มีผู้ดูแล แม่สมบุญได้กลับไปที่ตำหนักเหมยเสี้ยนครั้งหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่า หน้าบ้านมีบ่อน้ำใหญ่ มีถนนตัดผ่านหน้าบ้านและหลังบ้าน เมื่อคนเดินผ่านหน้าบ้านไม่ว่าจะนั่งเกี้ยวหรือจูงจักรยานจะต้องลงมาแล้วทำก ารคารวะหน้าป้าย จะมียกเว้นให้คนสามประเภทไม่ต้องทำเช่นนั้นแต่ต้องใช้ถนนหลังบ้านคือ
- ขบวนเกี้ยวเจ้าสาว
- ขบวนงานศพ
- ผู้อาวุโสที่เป็นรุ่นที่5 แล้วเท่านั้นคือมีลูก หลาน เหลน โหลนแล้ว
ญ าติที่ไปเมืองจีนเมื่อปีที่ผ่านมาเล่าให้ฟังว่าเขตบ้านกว้างเป็นกิโลเมตรและ เคยมีคนอยู่ในบ้านเป็นร้อยคน ปัจจุบันลูกหลานย้ายออกไปไม่ก็ปลูกบ้านใหม่อยู่ใกล้ๆกัน

2. เรือนแพ 2 ชั้นเคยจอดอยู่ที่หน้าวัดสำเพ็ง ปัจจุบันกลายเป็นเรือนริมแม่น้ำและอยู่ระหว่างการซ่อมแซม

3. อาวุธอยู่ในการดูแลรักษาของลูกหลานอั้งยี่

4. ศาลเจ้าโกบ๊อ ศาลเจ้าตึกดิน ยังมีโรงงิ้วยกพื้นอยู่ในปัจจุบัน และยังมีคูน้ำอยู่ใต้โรงงิ้ว ตอนซ่อมแซมใหญ่ได้ใส่ท่อน้ำแทน แต่ผู้ดูแลไม่เคยรู้ว่ามีคูน้ำไว้เพื่ออะไร

5. บ้านคุณก๋งที่ตลาดพลู

6. คำบอกเล่าทั้งจากฝ่ายลูกหลานท่านฉี่ ลูกหลานอั้งยี่ ผู้ดูแลศาลเจ้าตึกดิน ลูกหลานของผู้อยู่ในเหตุการณ์



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 13:37
ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้จัดทำเอกสารข้างต้นนี้ แต่อยากจะแสดงข้อสังเกตบางประการอย่างสุจริตใจไว้ ณ ที่นี้ครับ

1. จาก wikipedia องค์ชายสองมีพระนามว่า 奕綱 Yi4 Gang1 อี้กัง ประสูติ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2369 สิ้นพระชนม์ 5 มีนาคม พ.ศ.2370 ขัดแย้งกับเอกสารดังกล่าวว่ามีพระชนม์สืบต่อมาจนเป็นฉี่หยี่กง

2. เอกสารดังกล่าวอ้างว่า การสิ้นพระชนม์ขององค์ชายใหญ่ทำให้พระมารดาเป็นกังวลในความปลอดภัยขององค์ชายสองจึงส่งไปอยู่กับพระญาติที่เป็นทหารที่ตำบลเหม่ยเสี้ยน น่าคิดว่าการส่งองค์ชายสองไปอยู่กับพระญาตินี้เป็นเรื่องลับหรือเปิดเผย หากเป็นเรื่องลับอาจหมายความได้ว่าแสร้งทำว่าสิ้นพระชนม์แล้ว แต่ได้ย้ายไปอยู่กับพระญาติแทน เรื่องนี้ก็เป็นไปได้ยาก เพราะองค์ชายใหญ่สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2374 หลังจากองค์ชายรองสิ้นพระชนม์ถึง 4 ปี เหตุผลเรื่องนี้จึงอ่อนไป นอกจากนั้นตามประวัติพระมารดา ฮองเฮาเสี้ยวจิ้งเฉิง เป็นบุตรีขุนนางมงโกล แต่ส่งลูกไปอยู่กับพระญาติที่เหม่ยเสี้ยน แล้วเหม่ยเสี้ยนอยู่ที่ไหน

อ่านความประกอบหลายประการ ขอตั้งสมมติฐานว่าเหม่ยเสี้ยนที่เอกสารนี้อ้างถึงหมายถึงตำบลเหมยเสี้ยนในมณฑลกวางตุ้ง พอจะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของฉี่หยี่กงผู้ซึ่งชื่อเสียงเรียงนามผู้คนใกล้ชิดล้วนแล้วแต่เป็นชื่อแต้จิ๋วหรือฮกเกี้ยน โดยเฉพาะชื่อฉี่งี่กุงที่เอ่ยถึงในเอกสารเกี่ยวข้องบางฉบับนั้นน่าจะเป็นสำเนียงจีนแคะของชื่อ หยี่กง(แต้จิ๋ว) เพราะเหมยเสี้ยนเป็นศูนย์กลางจีนแคะ และอยู่ละแวกใกล้เคียงกับมาตุภูมิจีนแต้จิ๋ว

ดูจากสภาพแวดล้อม ฉี่หยี่กง น่าจะมีบรรพบุรุษเป็นแต้จิ๋ว/แคะ นอกจากนั้นที่เป็นไปได้ก็น่าจะมีแค่ฮกเกี้ยนกับกวางตุ้ง ไม่มีอะไรบ่งชี้ความเป็นแมนจู (ราชวงศ์ชิง)หรือมงโกล (พระมารดาขององค์ชายสอง) เลย

ไม่น่าเชื่อว่าฉี่หยี่กงจะเป็นองค์ชายสองรัชทายาทราชวงศ์ชิงครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 16:49
ตอนต่อไปยิ่งน่าสงสัยหนักเข้าไปใหญ่

อันอั้งยี่ทั้งหลายนั้น นอกจากกระทำตัวเป็นนายอิทธิพลแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ห่วงเช็งฮกเม้ง หรือ โค่นชิงกู้หมิง ในพากย์ไทย

คงเป็นเรื่องที่แปลกพิกลหากอั้งยี่กลุ่มนี้จะกลายเป็นผู้พิทักษ์รัชทายาทราชวงศ์ชิง

เกินกว่าจะเชื่อได้ครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 07, 16:58
มาตั้งข้อสังเกตรายละเอียดทางฝ่ายไทย
ท่านเป็นถึงองค์ชายสองราชวงศ์ชิง มาขอตั้งหลักแหล่งในสยาม   ผู้คนอาวุธพรั่งพร้อม   มีหรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงไว้พระราชหฤทัยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แค่ตลาดพลู ห่างพระราชวังเพียงนิดเดียว   
ถึงบอกว่าแอบเอาอาวุธซ่อนไว้ก็เถอะ  แค่เห็นจำนวนคนยกกันเข้ามาก็ต้องระวังแล้ว     มีเจ้าพระยานิกรบดินทร์(เจ้าสัวโต)รับรองอยู่คน ก็ไม่น่าจะพอ
และถ้าเจ้าสัวโตท่านฉลาดละก็ ไม่น่าออก recommendation ให้ง่ายๆ เพราะเรื่องทำนองนี้ถ้าพลั้งพลาด ก็ถึงประหาร

มากันถึงขนาดนี้ น่าจะโน่น..ไปอยู่ไกลๆเลย  ชายแดน  ทำไร่ไถนาที่นั่น หรือไม่ก็ไปอยู่เกาะกลางทะเล มีว่างอีกหลายเกาะ
ถ้าหากว่าไว้พระทัยเอาไว้ใกล้พระองค์ ก็ต้องทรงชุบเลี้ยง ให้รับราชการ  หรือไปค้าขายสำเภาหลวง    คงไม่ปล่อยให้ปลูกโรงงิ้ว เล่นงิ้วไปวันๆเอาไว้อย่างนั้น

อยู่กันเอิกเกริกในเมืองหลวงขนาดนี้  เข้ามาก็แปลกกว่าพวกจีนเสื่อผืนหมอนใบทั้งหลายจากบ้านนอก    ชาวบ้านย่อมซุบซิบจับตามองอย่างแปลกใจ   ว่าท่านเหล่านี้ดูผิวพรรณหน้าตาก็ผู้ดี  ภาษาที่พูดก็ไม่บ้านนอกเหมือนพวกเรา 
หน่วยสืบราชการลับจีนเข้ามาตั้ง ๓ หนยังแกะรอยไม่ได้อีกแน่ะ   แปลกจัง


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 07, 17:15
พระบาทส มเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาตให ้ท่านฉี่ใช้ที่ดินตั้งแต่วัดเล่งเน่ยยี่ไปจนถึงวรจักร และอีกฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก จากคลองสานจนถึงวัดกัลยาณมิตร พักอาศัยปลูกผักเลี้ยงสัตว์และทำการค้าข้าว

ที่ดินที่ว่า ในรัชกาลที่ ๓ ไม่ใช่ที่ดินว่างๆไร้ผู้ครอบครองนะคะ   แต่มีคนอยู่กันแล้ว โดยเฉพาะคลองสานถึงวัดกัลยาณมิตร   ยังนึกไม่ออกว่าตรงไหนว่าง   พอจะให้คนจีนกลุ่มใหญ่เข้ามาอยู่ได้  ในเมื่อเขาอยู่กันมาตั้งแต่สมัยธนบุรี

ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก คือฝั่งธนบุรีเดี๋ยวนี้ พวกคนไทยที่อพยพจากกรุงแตกมาอยู่กันมากมาย    ขุนนางอยู่กันเต็ม    เมื่อย้ายเมืองหลวงมาฝั่งกรุงเทพ พวกขุนนางก็ไม่ได้ย้ายตามมาด้วย   ยังคงครอบครองอยู่ที่เดิม    ยิ่งคลองสานด้วยแล้ว เป็นถิ่นของขุนนางตระกูลบิ๊กที่สุดของรัตนโกสินทร์ คือพวกบุนนาค  อยู่กันตั้งแต่ปากคลองจนกลางคลอง
อีกอย่าง ที่ดินแถวนั้นเขาทำสวนกันค่ะ  เป็นที่อุดมสมบูรณ์มาก พืชผลราคาดี  มากค่าเกินกว่าจะเอาไว้ปลูกผักเลี้ยงสัตว์

ในรัชกาลที่ ๓ มีการปราบปรามอั้งยี่กันอย่างหนัก   ตระกูลนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนบ้างหรือ
ในรัชกาลที่ ๖ ไม่มีหลักฐานว่านายทหารหนุ่มกบฎร.ศ. ๑๓๐ ไปพึ่งกำลังอั้งยี่    ในการสอบสวนก็ไม่มีใครให้การเรื่องนี้     ถ้าอั้งยี่เข้าไปล้อมวังจริง  แม้จะบอกว่าล้อมอารักขา การสอบสวนจับกุมเห็นทีจะไม่จบลงง่ายๆแบบประวัติศาสตร์ไม่สนใจจะบันทึกเอาไว้ด้วยซ้ำ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 18:22
"ในเกร็ดประวัติศาสตร์เคยมีการส่งรังนกจากประเทศสยามเข้าไปถวายองค์ชายสามซึ่งป่วยหนัก โดยบอกว่าองค์ชายสองประทานมาจากประเทศสยาม"

อันนี้ก็น่าสนใจครับ

ตามประวัติศาสตร์องค์ชายสามสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2373 องค์ชายสองหากยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ถึงวันนั้นจะมีอายุเพียง 4 พรรษา ไปกันใหญ่เลยครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 18:48
มีรูปประกอบด้วยครับ ลองเปรียบเทียบกันดู

ฉี่หยี่กง (องค์ชายสอง?)



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 18:49
องค์ชายหก (น้องชายแท้ๆขององค์ชายสอง) ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Yixin%2C_Prince_Gong (http://en.wikipedia.org/wiki/Yixin%2C_Prince_Gong)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/0/08/%E6%81%AD%E4%BA%B2%E7%8E%8B.jpg)


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 15 มิ.ย. 07, 19:40
วัดเล่งเน่ยยี่ ที่มีนัยความหมายซ่อนอยู่ ว่า วัดในพระพุทธศาสนาที่ราชวงศ์ชิงสร้าง ด้วยท่านฉี่เป็นผู้บริจาคที่ดินท่านจึงได้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งเพื่อไว้เก็บอัฐิ และให้ลูกหลานได้มากราบไหว้
ไม่ทราบว่า เล่งเนยยี่  แปลว่าอะไรครับ
การเข้ามาโดยใช้สำเภาถึง 13 ลำ  ผมคิดว่าน่าจะเอิกเกริกเกินไปครับ  เพื่อความมั่นคงผมคิดว่าไม่น่าจะมีพระบรมราชานุญาตให้เข้ามาปานนั้น
แล้วถ้าเป็นระดับองค์ชายที่เป็นรัชทายาท  ต้องมีบริวารและกำลังทหารอารักขาไม่น้อยแน่(ผมคะเนว่าน่าจะพอพอกับเจ้าเมืองแถบหัวเมืองของไทยพรือมากกว่าด้วยซ้ำ  แล้วจะยังมาตั้งรกรากตั้งก๊วนอยู่แถบพระนครอีก  ยิ่งเป็นไปได้ยากใหญ่
มุ่ยเจียง แซ่ฉี่ (ฉี่งี้กุง)  จะเป็นเชื้อพระวงค์ระดับองค์ชายรัชทายาทหรือไม่น่สงสัยอย่างที่คุณ CH ว่า  แต่ดูรูปแล้วยิ่งใหญ่จริงๆด้วยชุดแต่งกาย


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 15 มิ.ย. 07, 19:45
ขออภัยครับที่ส่งรูปซ้ำ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 มิ.ย. 07, 19:59
เล่งเน่ยยี่ เป็นสำเนียงแต้จิ๋วครับ จีนกลางว่า หลงเหลียนซื่อ

หลง = มังกร
เหลียน = ดอกบัว
ซื่อ = วัด

ดังนั้นเรียก เล่งเน่ยยี่ ก็น่าจะพอครับ ไม่ต้องปะหน้าด้วย วัด ให้วุ่นวาย เพราะมี ยี่ ปะหลังอยู่แล้วครับ

ที่สำคัญ นอกจากชื่อแล้ว พระวัดนี้ยังสวดกันเป็นแต้จิ๋วด้วยครับ ราชวงศ์ชิงไฉนสร้างวัดแต้จิ๋วเช่นนี้


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 07, 20:45
ชื่อภาษาไทยของเล่งเน่ยยี่  คือวัดมังกรกมลาวาส  ตรงกับภาษาจีนทุกคำ
เล่ง  = มังกร
กมลา = ดอกบัว
อาวาส = วัด

เรื่องนี้เป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดทางมุขปาฐะ จากรุ่นต่อรุ่น  ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายถึงหลักฐานข้อเท็จจริง
ถอดความออกมาตามประสาดิฉัน  คิดว่าต้นตระกูลนี้น่าจะมาจากชนบทแห่งใดแห่งหนึ่งของจีน อาจจะลูกหัวหน้าชุมชน   
อพยพมาเมืองไทยพร้อมด้วยลูกบ้านอีกหลายคน แต่ไม่ถึง ๑๓ ลำเรือ    ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดที่หนึ่งในกรุงเทพ
น่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่างอยู่ในถิ่นเดิม  ทำให้อยู่ไม่ได้    ถึงกับมีศัตรูมาตามหา 
ทำสวนผักเลี้ยงสัตว์ก่อน  แล้วขยับขยายค้าขายในภายหลัง

น่าสังเกตว่าท่านมีลูก ๗ คน แต่ตัวท่านและรุ่นลูกไม่ได้รับราชการกันเลย   
ถ้าหากว่าเป็นคนจีนที่มีวิชาความรู้ น่าจะได้เข้ารับราชการ อย่างน้อยกรมท่าซ้ายรับแน่ๆ 
มีลูกหลานวงศ์วานสืบต่อมา  ลูกหลานก็แต่งงานกับลูกคนในหมู่บ้านเดิมที่คนละแซ่กัน   ขยายวงเครือญาติออกไปมาก
ลักษณะนี้เป็นลักษณะคนจีนในเมืองไทยโดยมาก
ส่วนเรื่องอื่นๆ  คิดว่าเป็นคำบอกเล่าเท่านั้น  รวมทั้งชื่อพระยาเทพหรู   ชื่อนี้ไม่ใช่ราชทินนาม   
ถ้าหากว่าเป็นพระยาเทพ อะไรสักอย่าง  และมีชื่อเดิมว่าหรู  ก็ไม่เคยได้ยินว่าคนไทยที่ไหนชื่อว่าหรู ทั้งหญิงและชาย
ไม่ทราบว่าเป็นภาษาจีนหรือเปล่าคะ คุณอาชาผยอง


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 07, 20:54
"ลูกหลานในปัจจุบันคือตระกูลแซ่ฉี่ แซ่จึง ล่ำซำ ทั่งเครือแก้ว พัทนะ เชาวกำธร อึ๊งภากรณ์ สิมะเสถียร กรรณสูต กาญจนาภา จักกะพาก วรรณวิฑูร จารุมิลินท หโยดม บุลสุข หวั่งหลี จึงแย้มปิ่น ฮุนตระกูล โทณวณิก สราญจิตต์ ดำรงไชย ขัมพานนท์ ชีชุติ คุณหญิงราชโกษา มารดาคุณแก้วขวัญ ขวัญแก้ว วัชโรทัย"

ขอแก้ความเข้าใจผิด
มารดาของคุณขวัญแก้ว และคุณแก้วขวัญ วัชโรทัย (เลขาธิการพระราชวัง) คือท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร ค่ะ ไม่ใช่คุณหญิงราชโกษา
ท่านผู้หญิงพัวไม่เคยเป็นคุณหญิงราชโกษา   ท่านเป็นคุณหญิงประชุมมงคลการ มาก่อน   เมื่อพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรสามีของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาประชุมมงคลการ   
ไม่ทราบว่าคุณหญิงราชโกษาเป็นใคร


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 16 มิ.ย. 07, 13:16
สังเกตตราประจำตำแหน่งบนหน้าอก

ขององค์ชายหกจะเป็นมังกร แสดงความเป็นเชื้อพระวงศ์

ในขณะที่ของฉี่หยี่กง เป็นนก ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของขุนนางฝ่ายบุ๋น น่าเสียดายที่ภาพไม่ชัด ดูไม่ออกว่าเป็นนกอะไร เพราะจะเป็นตัวระบุชั้นยศครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มิ.ย. 07, 17:20
เคยเห็นนกคล้ายๆอย่างนี้ในภาพวาดของญี่ปุ่น
ถ้าบอกว่าเป็นนกกะเรียน   พอจะบอกได้ไหมคะว่าขุนนางชั้นไหน



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 16 มิ.ย. 07, 21:22
ถ้าเป็นนกระเรียนนี่ชั้นสูงสุดเลยครับ

แต่ชั้นอื่นๆก็เป็นนกทั้งสิ้น หลายตัวหน้าตาคล้ายๆกัน ส่วนที่จะชี้ได้ชัดเจนหน่อยก็คงเป็นหางครับ แต่ภาพนี้มีแฟลร์ตรงตำแหน่งหางพอดีทำให้ดูไม่ออกครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 17 มิ.ย. 07, 17:19
ท่านผู้เล่าประวัติไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยเลยแม้แต่น้อย จึงเล่าเรื่องประสมปนเปอย่างน่าเอ็นดู

1 ถ้าองค์ชายสองเข้ามา 2390 จริง ปีนั้นตระกูลบุนนาคเริ่มมีอำนาจบารมีใหญ่โต ครอบครองอาณาบริเวณแถบวัดประยุรวงศ์ทั้งหมด
องค์ชายสองคงต้องมีมากกว่าสำเภา 13 ลำจึงจะเข้าแทรกตัวตรงนั้นได้

2 ถ้าองค์ชายสองเป็นหัวหน้าอั้งยี่จริง ประวัติศาสตร์ก็ผิดหมด เพราะพงศาวดารรัชกาลที่ 3 บอกว่าเกิดจีนตั้วเหี่ยครั้งแรก 2385
ที่นครชัยศรีและสาครบุรี ครั้งที่สองไปเกิดที่เมืองปราณ หลังสวนและอีกหลายครั้งจนถึงปี 2391 จึงปราบใหญ่ชนิดตายเป็นพันที่แปดริ้ว
ศพลอยเกลื่อนแม่น้ำ เกิดเป็นคำกล่าวว่า (เจ้าพระยาพระคลัง) เดือน 4 เล่นตรุษเมืองนครชัยศรี เดือน 5 เล่นสงกรานต์เมืองฉะเชิงเทรา
องค์ชายสองนั่งบัญชาการอยู่ที่ตลาดพลู คงต้องใช้อินเตอร์เนตจึงจะทำการได้แหละ

3 องค์ชายสองท่านต้องเป็นเทพเท่านั้น จึงเป็นต้นตระกูลให้กับจีนหลายสาขา ที่เพิ่งเข้าประเทศครั้งรัชกาลที่ 5 เช่นในหนังสือ
"ดั่งสายลมที่พัดผ่าน" คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช เล่าว่า คุณชวดอึ้งเมี่ยวเหงี่ยนเป็นชาวจีนแคะ เข้ามาสู่สยามสมัยต้นรัชกาลที่ 5


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 18 มิ.ย. 07, 00:04
รูปองค์ชายหกเป็นชุดอ๋องชุดเชื้อพระวงศ์ครับ
แต่รูปท่านฉี่(เข้าใจว่าเป็นรูปวาด)  เป็นชุดขุนนางครับ  เพราะเห็นพวกละครที่เค้าแต่งชุดเค้าจะใช้ชุดคล้ายๆท่านฉี่แต่เป็นรูปสัตว์คงจะแยกเป็นฝ่ายบุ๋นฝ่ายบู๊อ่ะครับ  ถ้าเป็นขุนนางลี้ภัยการเมืองมาน่าจะเชื่อได้  แต่ตระกูลฉี่นี่เป็นฮกเกี๊ยนหรือครับ  ก็ในประวัติว่าลี้ภัยจากเมืองหลวงมาอาศัยกับญาติอยู่ที่กวางตุ้ง  ดังนั้นน่าจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว  และพระวัดมงกรฯสวดแต้จิ๋วก็น่าจะเป็นไปได้  การจะมีทายาทเป็นตระกูลต่างๆหลายสาขาของไทยเรานั้นก็มีหลักฐานที่เจดีย์ไงครับ และก็เป็นไปได้เพราะคงมีการสืบกันมาหลายรุ่น


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 มิ.ย. 07, 19:10
พยายามดูรูปอีกครั้ง ตรงหางนั้นไม่แน่ใจว่าเป็นแสงแฟลร์หรือเป็นแผ่นหาง ถ้าเป็นแผ่นหางก็น่าจะเป็นนกยูง

ถ้าเป็นนกยูงก็จะเป็นขุนนางระดับที่สาม เทียบกับของไทยเรา ถ้านับระดับสูงสุดเป็นเจ้าพระยา ระดับสามก็ประมาณ คุณพระ

แต่ถ้าเป็นข้าราชการชั้นคุณพระ ก็ยังแปลกอีก เพราะวัง (หรือจวน) จะอยู่ เหม่ยเสี้ยน หรือ เหมยเสี้ยน ก็ตาม ก็เป็น เสี้ยน ซึ่งแปลว่า ตำบล

ขุนนางระดับนี้เป็นไปไม่ได้ว่าจะให้ปกครองแค่ตำบล เพราะเทียบกับบ้านเราก็แค่ชั้นกำนัน ซึ่งควรเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย

ข้อมูลมันสับสนปนเปไปหมดครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มิ.ย. 07, 20:11
คุณอาชาลองเอาเหม่ยเสี้ยนเป็นตัวตั้งไหมคะ
ขุนนางปกครองตำบลเหม่ยเสี้ยนน่าจะชั้นไหน   สวมชุด มีรูปนกอะไรบนเสื้อ
ก็เอามาเทียบดู
ถ้าหากว่าลักษณะนก ไกลกันมาก เช่นเป็นนกพิราบ นกเขา อะไรพวกนี้
ก็มองได้ ๒ อย่าง   ว่า
๑) ถ้าท่านฉี่เคยอยู่เหม่ยเสี้ยนจริง    รูปเสื้อผ้าที่ว่านั่นก็ไม่ใช่เสื้อผ้าขุนนางถูกต้องตามยศชั้นของจีน
แต่จะเป็นเสื้อผ้าของชนกลุ่มไหน  ยังไง   นั่นอีกเรื่อง ต้องค้นคว้ากันต่อไป
๒) ถ้าเสื้อผ้าถูกต้องแล้ว    แสดงว่าท่านฉี่ไม่เคยอยู่ตำบลเล็กๆอย่างเหม่ยเสี้ยน  ต้องอยู่เมืองใหญ่  ซึ่งชื่อคล้ายคลึงกับตำบลเล็กๆ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มิ.ย. 07, 20:15
เรื่องสกุลที่ว่าเป็นลูกหลาน  ไม่ทราบว่านับทางพ่อหรือทางแม่   ถ้าเป็นทางลูกหลานผู้หญิงของท่านฉี่  ที่ไปแต่งกับชายในสกุลอื่น  แล้วนับสกุลนั้นเป็นลูกหลานไปด้วย ก็เป็นได้
แต่ถ้านับทางลูกหลานผู้ชาย   มีสองสามนามสกุลที่เช็คได้ เพราะเป็นนามสกุลพระราชทาน   ไม่มีชื่อท่านฉี่อยู่ในประวัติ   บางสกุลก็ระบุชื่อปู่ทวดเป็นคนไทย อย่างนามสกุลจารุมิลินท


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 18 มิ.ย. 07, 23:32
1. ชุดนั้นเป็นชุดแบบแมนจูแน่นอนครับ ตราบนอกเสื้อก็เป็นตราที่ดูคล้ายตราขุนนางแมนจู แต่จะเป็นแบบของราชสำนักชิงหรือไม่นั้น คงต้องหารูปจริงไปค้นคว้าเปรียบเทียบกับบันทึกของทางจีนครับ
2. ปัญหาอยู่ที่ว่า เสี้ยน แปลว่า ตำบล ครับ จะเหม่ยเสี้ยนหรือเหมยเสี้ยน ก็ต้องเป็น ตำบลเหมย หรือตำบลเหม่ย เป็นไปไม่ได้ว่าจะเป็นหน่วยการปกครองที่ใหญ่กว่านั้นครับ

ส่วนเรื่องสายสกุล เคยเห็นจากกระทู้หนึ่งที่ถูกลบไปแล้ว เห็นว่าส่วนมากเกี่ยวพันกับตระกูลต่างๆโดยเป็นสะใภ้ของตระกูลเหล่านั้นครับ แม้แต่จึงแย้มปิ่น ก็เกี่ยวพันกับท่านฉี่เพราะลูกสาวท่านแต่งให้สกุลนี้ครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 07, 07:35
ทำไมองค์ชายสี่ ถึงแต่งกายแบบขุนนางคะ
ไม่แต่งอย่างอ๋องหรอกหรือ?
หรือว่าอ๋องของแมนจู แต่งกายแบบเดียวกับขุนนาง  มีฮ่องเต้เท่านั้นแต่งผิดไปจากคนอื่นๆในราชสำนัก

ดิฉันยังติดใจ ว่าเป็นเสื้อผ้าที่"คล้าย" ขุนนางแมนจู มากกว่าค่ะ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 19 มิ.ย. 07, 12:15
ชุดขุนนางกับเชื้อพระวงศ์ต่างกันตรงตราตรงหน้าอกครับ

ขุนนางฝ่ายบุ๋นจะเป็นนกชนิดต่าง ขั้นสูงสุดคือนกกระเรียน

ฝ่ายบู๊จะเป็นสัตว์สี่เท้าต่างๆ ขั้นสูงสุดคือกิเลน

ส่วนเชื้อพระวงศ์จะเป็นมังกรครับ เหมือนในรูปที่องค์ชายหกใส่อยู่ครับ

ชุดที่ท่านฉี่ใส่ ไม่ใช่ชุดเชื้อพระวงศ์แน่ๆครับ ก็คงแปลได้ว่า ท่านฉี่ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ครับ หรือถ้าจะคิดว่าปกปิดฐานะ อันนี้ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะทางลูกหลานบอกว่าใส่เฉพาะเวลาอยู่ในบ้านเพื่อปกปิดฐานะอยู่แล้ว

หรือเป็นไปได้อีกอย่างคือ ชุดนี้ก็ไม่ใช่ชุดข้าราชการราชสำนักชิงอีก ถึงได้ต้องปกปิดฐานะ

เกี่ยวกับขบวนการอั้งยี่?


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มิ.ย. 07, 13:33
โดยความเห็นส่วนตัวนะคะ
ว่าเสื้อผ้าชุดนี้ไม่ใช่ขุนนางราชวงศ์ชิง  แต่เป็นเสื้อผ้าของหน่วยงานอะไรสักแห่ง
ที่มีการลำดับชั้นยศสูงต่ำ คล้ายข้าราชการ
มีการปกครองเป็นลำดับลดหลั่นกัน จากหัวหน้าถึงลูกน้อง
เรื่องนี้จะเป็นการปกครองส่วนตัวในบ้านของท่านฉี่หยี่กง   หรือว่าขยายไปถึงภายนอก หรือเปล่าก็ไม่อาจทราบได้
ถ้าหากว่ารูปนกบนหน้าอก เป็นนกชั้นสูง
ท่านหยี่กงนี่ก็ตำแหน่งบิ๊กไม่ใช่เล่น  แม้ไม่ใช่พระราชวงศ์ชิงและไม่ใช่ขุนนางราชสำนักจีนก็ตาม


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Traveller ที่ 21 มิ.ย. 07, 15:06
ดูจากรูปน่าจะนกกะเรียนนะคะ สองตัว ตัวนึงที่อยู่ด้านล่างคู้หัวอยู่ :)


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 22 มิ.ย. 07, 00:58
 :) ความรู้เรื่องเครื่องแต่งกายขุนนางจีน   ตอนนี้มี บทความนี้ของอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน   อยู่ในหนังสือกระเบื้องถ้วยกระลาแตก  โดยพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์  ลองหามาดูจะเกิดความกระจ่าง จ้า


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 22 มิ.ย. 07, 01:10
 :) ส่วนพงศาวดารราชวงศ์ชิงฉบับภาษาจีนก็มีให้ดูทางเนต  เพียงพิมพ์ 清史稿 ก็จะหาข้อมูลยืนยันได้ว่าใครพูดไม่จริง หรืออาจมีความเชื่อผิดจากประวัติศาสตร์  ส่วนปัจจุบันในประเทศจีนมีการพิมพ์ปูมตระกูล(family tree) ของแต่ละแซ่กันมาก ยิ่งแซ่ฉี่ก็ ไม่เล็กในเหมยเสี้ยน(เหมยโจวปัจจุบัน)  มีมากที่อำเภอเจียวหลิ่ง ด้วย ย่อมต้องหาต้นตอได้ง่าย
อย่างไรก็ดี  เรื่องรื้อเจดีย์ก็เรื่องหนี่ง เรื่องความเป็นมาต้นตระกูลก็เรื่องหนึ่ง ไม่ควารนำมาปนกัน 
อย่าลืมความจริง กับความเชื่อต้องแยกกันให้ชัด    ความเชื่อนั้นมีอยู่จริงตามที่เชื่อ   แต่สิ่งที่เชื่อถือนั้นอาจไม่มีจริง 
      ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัส  กาลามสูตร อันแปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล เรียกว่า เกสปุตตสูตร ก็มี     กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่องมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ก่อนเชื่อ มี ๑๐ ประการคือ
๑. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
๒. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
๓. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
๔. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
๕. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
๖. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
๗. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
          เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มิ.ย. 07, 09:35
ขอโทษนะคะ ที่จะต้องตอบคุณ hakkayin2550 ว่าอ่านคำตอบคุณไม่รู้เรื่องเลย
เต็มไปด้วยความคลุมเครือ  ไม่ชี้ชัดอะไรสักอย่าง แถมยังยกคติในพุทธศาสนามายาวเหยียด อย่างไม่ชัดเจนด้วยว่าจะสนับสนุนหรือต่อว่าใคร หรืออย่างไร
คำแนะนำให้ไปหาหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้มาอ่าน   มันไม่ง่ายนักหรอกสำหรับคนอ่านทางเน็ตซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ทั้งในประเทศและนอกประเทศ
ถ้าหากว่าจะอนุเคราะห์  อยากชี้แจงแสดงเหตุผล  ก็ช่วยเก็บความจากหนังสือเล่มนั้นมาบอกจะมีประโยชน์กว่า ไหนๆคุณก็อ่านแล้ว   ย่อมรู้ว่าตัวเองจะบอกอะไรได้
ส่วนเรื่องอื่นๆที่บอกมาเกี่ยวกับเหม่ยเสี้ยน หรือเจดีย์ว่าเป็นคนละเรื่อง กรุณาอธิบายให้ชัดเจนกว่านี้จะได้ไหม
กาลามสูตรที่ยกมา   คุณอาชาผยองและดิฉันก็ทำตามนั้นอยู่แล้ว  คือไม่เชื่อเรื่องที่บอกกล่าวกันมาลอยๆ    ไม่เข้าใจว่าคุณยกมาเพื่อสนับสนุนค.ห.ของเราสองคนหรือว่ายกมาค้านกันคะ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 22 มิ.ย. 07, 11:42
ขออธิบายด้วยตรรกะอย่างง่ายที่สุดนะครับ
1 เจ้าแมนจู นับถือพุทธแบบธิเบต เป็นพวกลามะ ไม่ใช่แบบศาลเจ้าจีนที่มีในไทย

2 อั้งยี่เกิดก่อนท่านฉี่เข้ามา เกิดครั้งแรกที่ชุมนุมชาวจีนหัวเมืองตะวันออก เริ่มที่นครไชยศรี
จีนพวกนี้ เข้ามาเป็นคณะใหญ่เพื่อมาเป็นแรงงานทำไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาล เป็นจีนแต้จิ๋วไม่ใช่แมนจู
มีการควบคุมเป็นกระบวนการชัดเจน โดยอ้างการฟื้นฟูราชวงศ์หมิง เมื่อก่อการ จึงเกิดเรื่องใหญ่เสมอ
ยังนึกไม่ออกว่าเจ้าแมนจูจะกลายเป็นหัวหน้าขบวนการโค่นแมนจูได้อย่างไร

3 ท่านจะเป็นต้นตระกูลจีนแคะ ไหหลำ แต้จิ๋ว กวางตุ้งได้อย่างไร
ขอให้หาหนังสือเล่าเรื่องแซ่ต่างๆ มาพิจารณา ทุกตระกูลสาวกลับไปถึงที่มาที่เมืองจีนได้หมด
ลองดูเล่มดังของคุณหญิงนักเขียน "ดุจนาวากลางสมุทร" ก็ได้ อย่างน้อยตระกูลนี้ก็มิได้สีบจากแมนจูแน่ๆ
ข้ออ้างเรื่องเป็นต้นตระกูลต่างๆ จึงพิลึกมาก บางตระกูลเข้ามาเมื่อท่านตายไปแล้วด้วยซ้ำ

4 เรื่องอั้งยี่คุ้มครองรัชกาลที่ 6 นี่ เป็นสุดยอดของการสร้างเรื่องทีเดียว
กบฎ ร.ศ. 130 นั้น ถูกจับได้ ตั้งแต่เป็นกระบวนการเล็กๆ ไม่มีช่องจะสร้างปัญหาแก่บ้านเมืองจนถึงพวกอั้งยี่รับทราบได้
และราชการไทยรังเกียจอั้งยี่เป็นอย่างยิ่ง สมัยรัชกาลที่ 5 ท่านช่วงก็ยกทหารใส่รถราง ลุยมาครั้งหนึ่งจนสิ้นทราก

ผู้แต่งเรื่องไม่เข้าใจสภาพสังคมและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
เล่าเรื่องชนิดที่ฝรั่งเรียก  urban legend เหมาะแก่การเป็นพล๊อตนิยายเรื่องเล็บครุธ หรือหน้ากากดำ
คงจำได้ว่า สมัยหนึ่งเราเขียนเรื่องประกาศิตจางโซเหลียง ก็ใช้บรรยากาศแบบนี้แหละครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 มิ.ย. 07, 12:32
ขอบคุณคุณฮากกาหยิ่นที่บอกทางให้ครับผมจะลองตามไปดูครับ

แต่ถ้าจะกรุณามาเล่าให้ฟังด้วยก็จะขอบคุณมากครับ ตอนนี้กำลังหมกมุ่นกับอีกงานหนึ่งอยู่ครับ  ;D


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 22 มิ.ย. 07, 21:24
ต้องขออภัยนะครับ  คือขอนอกเรื่องนิดหน่อย  จังหวัดเหมยโจว ที่ว่านี้น่ะครับ  เป็นที่เดียวกันกับที่คุณทักษิณไปไหว้บรรพบุรุษหรือเปล่าครับ...:D


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 มิ.ย. 07, 22:19
ที่เดียวกันครับ เป็นชุมชนจีนแคะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 มิ.ย. 07, 23:31
ผมดูจากข้อมูลที่คุณ hakkayin แนะนำมา
ข้อมูลเรื่องเครื่องแต่งกายกับประวัติศาสตร์คงไม่ได้มีอะไรใหม่กว่าที่เราคุยกันไปแล้ว
แต่ผมหาข้อมูลของตระกูลฉี่ในเจียวหลิ่งหรือเหมยโจวไม่เจอจริงๆครับ

รบกวนคุณ hakkayin แนะนำลิงก์ให้หน่อยครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 23 มิ.ย. 07, 00:20
 :)ประวัติย่อ  พระมเหสีและโอรส เต้ากวงฮ่องเต้  ที่สำคัญจากข้อมูลภาษาจีน
จักรพรรดิชิงซวนจง เฉิงหวงตี้  หรือ เต้ากวงฮ่องเต้ มีมเหสี 4 องค์ พระสนมเอก 1องค์  พระสนมที่สำคัญ 3 องค์ เป็นต้น มีพระโอรส 9 พระองค์ พระธิดา 10 พระองค์
พระมเหสีองค์ที่1  เซี่ยวมู่เฉิงหวงโฮ่ว   เชื้อสายแมนจู  สกุลนิ่วกูลู่  เป็นพระชายาองค์แรก ปีรัชกาลเจียชิ่งที่13 ค.ศ.1809 สิ้นพระชนม์  ภายหลังเต้ากวงฮ่องเต้ครองราชย์สถาปนาพระอัฐิเป็น ฮองเฮา
พระมเหสีองค์ที่2  เซี่ยวเซิ่นเฉิงหวงโฮ่ว  เชื้อสายแมนจู  สกุลถงเจีย  เป็นพระชายาองค์ที่สอง  เมื่อเต้ากวงฮ่องเต้ครองราชย์สถาปนาเป็น ฮองเฮา     ปีรัชกาลเต้ากวงที่13 ค.ศ.1795  สิ้นพระชนม์ลง   
พระมเหสีองค์ที่3  เซี่ยวฉวนเฉิงหวงโฮ่ว  เชื้อสายแมนจู  สกุลนิ่วกูลู่   เดิมเป็นที่พระสนมเอกฉวน   ปีรัชกาลเต้ากวงที่14 ค.ศ.1796  เต้ากวงฮ่องเต้สถาปนาขึ้นเป็นฮองเฮา    ในปีรัชกาลเต้ากวงที่ 20 ค.ศ.1815 สิ้นพระชนม์ลง  มีพระโอรสองค์เดียว องค์ชาย 4 อี้จู่ ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิจักรพรรดิเสียนเฟิง
พระมเหสีองค์ที่4  เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว  เชื้อสายมองโกล  สกุลป๋อเอ่อร์จี้จี๋เท่อ  เดิมเป็นที่พระสนมเอกจิ้ง  เมื่อเซี่ยวฉวนเฉิงหวงโฮ่ว สิ้นพระชนม์ ปีรัชกาลเต้ากวงที่ 20 ค.ศ.1815 พระโอรสองค์เดียวของพระนาง คือองค์ชาย 4 อี้จู่ มีชนมายุได้ 10 ปี 
พระสนมเอกจิ้ง ได้อภิบาลเจ้าชาย อี้จู่ เสมือนเป็นพระมารดาแท้ๆ จนพระองค์เจริญพระชันษา  เมื่อองค์ชายอี้จู่ครองราชย์มีพระนามว่า พระจักรพรรดิเสียนเฟิง   องค์จักรพรรดิทรงรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสนมจิ้งจึงทรงสถาปนาเป็น พระบรมราชชนนี ที่หวงกุ้ยไท่เฟย  และต่อมาได้สถาปนาเป็น  พระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว  พระนางมีพระโอรส 3 องค์  คือองค์ชายอี้กัง  องค์ชายอี้จี้  องค์ชายอี้ซิน  พระธิดา 1องค์
พระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย เชื้อสายแมนจู สกุลอูหย่า   มีพระโอรส 3 องค์ คือ องค์ชายอี้หวน องค์ชายอี้เหอ  องค์ชายอี้ฮุ่ย  พระธิดา 1องค์
รายพระนามพระโอรสในจักรพรรดิเต้ากวง
1.องค์ชายอี้เหวย  โอรสองค์โต ประสูติ ปีเจียชิ่งที่ 13  ค.ศ.1809  จากพระสนมเหอเฟย   สิ้นพระชนม์เมื่อปี เต้ากวงปีที่11 ค.ศ.1832
2.องค์ชายอี้กัง  โอรสองค์ที่ 2  ประสูติปีเต้ากวงที่ 6  ค.ศ.1826  จากพระสนมเอกจิ้ง ต่อมาสถาปนาเป็นพระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว    สิ้นพระชนม์เมื่อมีชนมายุได้ 2 ปี (คนจีนนับรวมอยู่ในครรภ์ด้วยความจริงมีพระชนม์แค่4เดือน)  ภายหลังจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์  ทรงนับถือว่าเป็นเสมือนพระเชษฐาจึงสถาปนาพระอัฐิเป็น อ๋อง นาม ซุ่นเหอจวิ้นหวัง
3.องค์ชายอี้จี้   โอรสองค์ที่ 3  ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829  จากพระสนมเอกจิ้ง ต่อมาสถาปนาเป็นพระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว  สิ้นพระชนม์เมื่อมีชนมายุได้ 3 ปี (คนจีนนับรวมอยู่ในครรภ์ด้วยความจริงมีพระชนม์แค่ 1 ปี)  ภายหลังจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์  ทรงนับถือว่าเป็นเสมือนพระเชษฐาจึงสถาปนาพระอัฐิเป็น อ๋อง นาม ฮุ่ยจื้อจวิ้นหวัง
4.องค์ชายอี้จู่   โอรสองค์ที่ 4  ประสูติปีเต้ากวงที่ 11  ค.ศ.1831   จาก เซี่ยวฉวนเฉิงหวงโฮ่ว  องค์ชาย 4 อี้จู่  ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า  จักรพรรดิเสียนเฟิง  มีมเหสีคือพระนางซูอัน  และพระนางซูสี พระโอรสคือองค์ชายไจ้ฉุนซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิถงจื้อ
5.องค์ชายอี้ฉง  โอรสองค์ที่ 5  ประสูติ จากพระสนมเสียงเฟย  ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามตุนฉินชินหวัง
6.องค์ชายอี้ซิน  โอรสองค์ที่ 6  ประสูติปีเต้ากวงที่ 12  ค.ศ.1832   จากพระสนมเอกจิ้ง ต่อมาสถาปนาเป็นพระบรมราชชนนี ที่เซี่ยวจิ้งเฉิงหวงโฮ่ว ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามกงจงชินหวัง หรือที่รู้จักกันดีในพระนามองค์ชายกงอี้ซิน หรือพระองค์เจ้ากง ตำแหน่งพระอนุชา  ทรงอยู่ในสถานะพระอนุชาที่ใกล้ชิดขององค์จักรพรรดิเพราะทรงเติบโตมาด้วยพระมารดาองค์เดียวกัน  จึงทรงมีฐานะอันสูงยิ่งในหมู่เชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย มีวังที่ประทับที่งดงามหรูหราที่สุด (เป็นอดีตทำเนียบของเหอเซินคนโปรดของจักรพรรดิเฉียนหลง)
พระองค์เจ้ากงทรงมีบทบาทอย่างมากในทางการบริหารบ้านเมืองตลอด 3 รัชกาล ตั้งแต่ปีรัชกาลเสียนเฟิง-ถงจื้อ-กวงซวี่   
ในรัชกาลเสียนเฟิงพระองค์เจ้ากงทรงรับหน้าที่ด้านการต่างประเทศ เป็นผู้ติดต่อเจรจาในเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น สงครามฝิ่นครั้งที่สอง  แม้จะทรงมิอาจหยุดยั้งการเผาทำลายพระราชอุทยานหยวนหมิงหยวน ของกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศส
ในช่วงต้นรัชสมัยถงจื้อและในต้นรัชสมัยกวางสูพระองค์เจ้ากง อี้ซิน และพระองค์เจ้าฉุน อี้หวน โดยความร่วมมือกับเชื้อพระวงศ์อื่น  ได้สนับสนุนพระนางซูสีไทเฮาขึ้นมามีอำนาจในการว่าราชการหลังม่าน 
7.องค์ชายอี้หวน  โอรสองค์ที่ 7 ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829  จากพระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามตุนเสียนชินหวัง ตำแหน่งพระอนุชา ต่อมาอภิเษก กับเย่เฮ่อนาลาหว่านเจิน น้องสาวของพระนางซูสีไทเฮา มีโอรสองค์สำคัญคือ
องค์ชายไจ้เทียน ต่อมาได้ครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกวงซวี่    และ องค์ชายไจ้เฟิง ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นตุนเสียนชินหวังตามพระบิดา มีพระโอรสคือ  องค์ชายปูยี ซึ่งได้ครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง
8.องค์ชายอี้เหอ โอรสองค์ที่ 8 ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829   จากพระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามจงตวนชินหวัง
9.องค์ชายอี้ฮุ่ย โอรสองค์ที่ 9 ประสูติปีเต้ากวงที่ 9  ค.ศ.1829   จากพระสนมเอก จวงซุนหวงกุ้ยเฟย  ต่อมาสถาปนาเป็น อ๋อง นามฟูจิ้งชินหวัง
พระราชประวัติพระจักรพรรดิเต้ากวง  พระมเหสีและพระโอรส ตามที่บรรยายมานี้มีความชัดเจนเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายทั่วไปในเอสารประวัติศาสตร์ของจีนและไต้หวันรวมทั้งนักประวัติศาสตร์โลก
ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีองค์ชายราชวงศ์ชิงลี้ภัยการเมืองมาอยู่ในเมืองไทยจริง


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 23 มิ.ย. 07, 00:29
 :) คุณเทียนชัย จึงแย้มปิ่น อ้างว่า ท่านฉี่งี่กุง มาจากเหมยเสี้ยน  ซึ่งก็คือเมืองเหมยโจว มณฑลกวางตุ้ง ในปัจจุบัน เหมยโจว มีชื่อเดิมว่า เหมยเสี้ยน แปลว่าอำเภอเหมย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เจียอิ้งโจว เหมยโจวเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมจีนแคะ คนจีนแคะส่วนใหญ่ที่หนีออกนอกประเทศสมัยปลายราชวงศ์ชิงนั้น มีเหตุจากการเมืองภายใน เนื่องจากหงซิ่วฉวน ผู้นำกบฎไท่ผิงเทียนกั๋ว เป็นจีนแคะ ดังนั้นผู้นำระดับสูงส่วนหนึ่งก็เป็นจีนแคะด้วย เมื่อนครเทียนจิง(นานนกิง)ที่มั่นของไท่ผิงถูกทหารรัฐบาลชิงตีแตก กองกำลังสายหนึ่งจึงหนีลงมาอยู่ที่เจียอิ้งโจว เมื่อเจียอิ้งโจวถูกตีแตก ชาวแคะจึงลี้ภัยไปอยู่ที่อื่น รวมทั้งในเอเชียอาคเนย์ ไต้หวัน
            ส่วน ชื่อ  ฉี่  งี่  กุง นี้สามารถแปลได้ดังนี้
   ฉี่  ในภาษาแคะ หรือ ฉี ในภาษาจีนกลาง เป็นแซ่     
งี่  ในภาษาแคะหรือ เอ้อร์ ในภาษาจีนกลาง แปลว่า สอง   
กุง ในภาษาแคะหรือ จวิน ในภาษาจีนกลาง ตามพจนานุกรมจีน-ไทยฉบับใหม่โดยเทียนชัย เอี่ยมวรเมธ แปลว่า  1.กษัตริย์ ,ราชา, พระเจ้าแผ่นดิน   2. คำยกย่องที่ใช้เรียกยกย่องผู้ชาย เช่นท่านจาง  ท่านทั้งหลาย คุณทั้งหลาย
ความหมายที่ 1 นั้น ตรงกับขุนในภาษาไทยโบราณ    ส่วนความหมายที่ 2 นั้น ตรงกับคุณในภาษาไทยสมัยหลัง
ดังนั้น ฉี่งี่กุง จึงแปลว่า คุณผู้ชายคนที่สอง เนื่องจากมีการนำคำนี้มาใช้เรียกต่อท้ายแซ่ และลำดับที่ จึงไม่สามารถแปลว่ากษัตริย์  หรือ องค์ชายได้เลย


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 23 มิ.ย. 07, 00:35
 :) เครื่องแต่งกายขุนนางจีนราชวงศ์ชิง
โดยปกติเสื้อประดับยศนั้น ผู้แต่งต้องเป็นผู้ที่ผ่านการสอบเทียบวิทยฐานะทางการศึกษาแล้ว ซึ่งในท้องถิ่นต่างๆ มีบัณฑิตเหล่านี้อยู่ทั่วไป ดังนั้นหากพ่อค้าจีนคนใดเคยผ่านการศึกษาและสอบเทียบวิทยฐานะมาบ้างแล้วก็สามารถแต่งกายแบบราชสำนักได้แต่ มีแถบหน้าอกเสื้อ
แบบเดียวกับข้าราชการชั้นต่ำสุดคือ ระดับเก้าชั้นโท และหมวกก็จะยังไม่มีลูกแก้วประดับยอด และพู่แววมยรุาแสดงว่ายังไม่เข้าสู่ระบบราชการ
ส่วนประกอบของเครื่องยศขุนนางจีน
เครื่องยศของขุนนางในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น ชาวแมนจูปรับปรุงแบบเครื่องแต่งกายของตนเข้ากับเครื่องแต่งกายของขุนนางในราชวงศ์หมิง โดยมีเครื่องประกอบยศตามแต่ฐานันดรศักดิ์ เครื่องยศประกอบด้วย
1.หมวกยศ แบ่งเป็นสองชนิดคือ แบบฤดูร้อนและแบบฤดูหนาว
 หมวกฤดูร้อน เป็นหมวกทรงคลุ่มคล้ายงอบหรือหมวกกะโล่ มีเส้นไหมสีแดงห้อยจากยอดหมวกคลุมโดยรอบ แต่หากมีงานพระบรมศพจะเปลี่ยนเป็นหมวกขาวไม่มีเส้นไหมแดง
หมวกแบบฤดูหนาว มีลักษณะเป็นหมวกทรงกลมคว่ำพอดีศีรษะ มีกระบังขนสัตว์สีดำโดยรอบ กลางหมวกมีเส้นไหมเช่นเดียวกับหมวกฤดูร้อน 
ส่วนพระมาลาขององค์พระจักรพรรดิมีทั้งสองแบบเช่นเดียวกับของขุนนาง แต่จะมีเส้นไหมแดงจะหนากว่ามาก มียอดแหลมสูงประดับด้วยอัญมณีทองและไข่มุกด์ เฉพาะพระมาลาฤดูร้อน   ด้านหน้าพระมาลามีพระพุทธรูปบุทองคำ ประดับด้วยไข่มุกโดยรอบ
ส่วนพระมาลาขององค์จักรพรรดินีมีแต่แบบฤดูหนาว ยอดหมวกประดับด้วยหงส์ทองประดับไข่มุก เก้าตัว
หมวกขุนนางทั้งสองแบบมียอดลูกแก้ว เรียกว่าเติ่งไต้ 頂戴 แบ่งชั้นยศกันที่ยอดหมวก
ระดับหนึ่ง เป็น  รัตนชาตสีแดง       ระดับสอง เป็น กัลปังหา       
ระดับสาม เป็น รัตนชาติสีน้ำเงิน       ระดับสี่ เป็นรัตนชาติสีเขียว
ระดับห้า เป็นแก้วผลึก         ระดับหกเป็นเปลือกหอยสังข์
ระดับเจ็ดเป็นทองเกลี้ยระดับ      แปดเป็นทองสลักลาย
และระดับเก้าเป็นทองฉลุลาย        ระดับต่ำกว่าระดับเก้าจะไม่มีการยอดหมวก
ด้านหลังของยอดหมวกจะมีพู่แววมยุราห้อย ไปทางด้านหลัง เรียกว่า ฮวาหลิง 花翎 แปลว่า ขนนกประดับ ขนนกประดับนี้ขุนนางระดับทั่วไปมีหนึ่งแวว เมื่อเลื่อนชั้นสูงขึ้นจะเพิ่มเป็นสองแวว และสามแววตามลำดับหลังรัชกาลจักรพรรดิเสียนเฟิง ขุนนางระดับห้าขึ้นไปสามารถถวายเงินแก่ราชการเพื่อเพิ่มแววของพู่หมวกได้1 แวว
2.เสื้อยศลายมังกร
เรียกว่า หมังเผา(หมังเพ้า)蟒袍 เป็นเสื้อที่ใช้สวมเวลาปฏิบัติงานปกติเป็นเสื้อไหมยาวตลอดตัว คอกลมปกใหญ่ติดกระดุมข้างขวา พื้นสีน้ำเงินปักไหม มีลวดลายสิริมงคลต่างๆ มีความแตกต่างกันที่เล็บมังกรที่ปักบนเสื้อ ชายเสื้อปักลายฝั่งน้ำคลื่นทะเลด้วยไหมห้าสี เสื้อของชาวแมนจูปลายแขนเสื้อทั้งสองข้างจะยื่นยาวเลยมือออกมาคล้ายรูปเกือกม้า เรียกว่า หม่าถีซิ่ว馬蹄袖 แปลว่า แขนเกือกม้า หรือ เจี้ยนซิ่ว 箭袖แปลว่า แขนเสื้อยิงธนู ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของเสื้อสมัยชิงแขนเสื้อนี้ปกติจะต้องพับขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่เวลาเข้าเฝ้าจะต้องปัดปลายแขนเสื้อลงทั้งสองข้าง โดยต้องสะบัดข้างซ้ายลงก่อน แล้วจึงสะบัดข้างขวาเพื่อแสดงความเคารพ การปัดแขนเสื้อนี้ถือว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของการถวายความเคารพแบบแมนจู
3.เสื้อยศเข้าเฝ้า
เรียกว่าเฉาเผา朝袍  เป็นเสื้อคลุมชั้นนอกใช้สวมขณะเข้าเฝ้า มีลักษณะเป็นเสื้อคลุมคอกลมติดกระดุมผ่าหน้ามีความยาวเพียงหน้าแข้ง แขนเสื้อจะตรงและสั้นกว่าเสื้อลายมังกร สีดำ หรือน้ำเงิน ในฤดูร้อนจะเป็นแพรโปร่งในฤดูหนาวจะเป็นผ้าขนสัตว์ มีสัญลักษณ์บ่งบอกระดับชั้น
เรียกว่า ปู๋ฝู(โป้วฮก)補服 เป็นแผ่นผ้าไหมปักลวดลายเป็น รูป สัตว์ต่างๆ ติด ไว้กลางอกทั้งหน้าและหลัง   
แผ่นผ้าไหมปักลวดลายนี้ของขุนนางทั่วไปเป็นสี่เหลี่ยม  ขุนนางในราชสำนักเป็นวงกลม ส่วนของเชื้อพระวงศ์นั้นสัญลักษณ์ปักลายมังกรในวงกลม แผ่นผ้าปักหรือ ปู๋ฝู นี้ ราชวงศ์ชิงอนุโลมใช้ตามแบบราชวงศ์หมิง เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะของเสื้อเป็นแบบแมนจูเท่านั้น
แผ่นผ้าปักหรือปู๋จื่อ ของขุนนางฝ่ายพลเรือนใช้ลายรูปสัตว์ปีก ดังนี้
ระดับหนึ่งปักรูปนกกระเรียน (เซียนเหอ) 仙鶴
ระดับสองปักรูปไก่ฟ้าทอง (จิ่นจี) 錦雞
ระดับสามปักรูปนกยูง (ข่งเชว่) 孔雀
ระดับสี่ปักรูปห่านป่า (เหยี่ยน) 雁
ระดับห้าปักรูปไก่ฟ้าขาว(ไป๋เสียน) 白鷴
ระดับหกปักรูปนกยาง (ลู่ซือ) 鷺鷥
ระดับเจ็ดปักรูปนกเป็ดน้ำแดง (ซีชือ) 鸂鶒
ระดับแปดปักรูปนกกระทา(อันฉุน) 鵪鶉
ระดับเก้าปักรูปนกหางแพน(เลี่ยนเชว่) 練雀
แผ่นผ้าปักหรือ ปู๋จื่อ ของขุนนางฝ่ายทหารใช้ลายรูปสัตว์สี่เท้า ดังนี้
ระดับหนึ่งปักรูปกิเลน(ฉีหลิน)麒麟
ระดับสองปักรูปสิงโต(ซือจื่อ)獅子
ระดับสามปักรูปเสือดาว(เป้า)豹
ระดับสี่ปักรูปเสือโคร่ง(หู่) 虎
ระดับห้าปักรูปหมี (สยง) 熊
ระดับหกปักรูปเสือดาวเหลือง (เปียว) 彪
ระดับเจ็ด  และระดับแปดปักรูปแรด(ซีหนิว) 犀牛
ระดับเก้าปักรูปม้าทะเล(ไห่หม่า)海馬
4.เข็มขัด     เช่นระดับหนึ่งหัวเข็มขัดเป็นทองคำฝังหยกทรงเหลี่ยม เป็นต้น
5.เครื่องปูลาด
เป็นขนสัตว์สำหรับปูลาดที่นั่งระดับหนึ่งฤดูหนาวเป็นหนังหมาป่า ฤดูร้อนเป็นสักหลาดแดง ส่วนพวกต่ำกว่าระดับเก้าใช้หนังนากบก และสักหลาดขาว เป็นต้น
6.ประคำอิสริยาภรณ์
เรียกว่าเฉาจู สวมบนเสื้อยศขณะเข้าเฝ้า จึงเรียกว่าประคำเข้าเฝ้า ชาวแมนจูดัดแปลงมาจากประคำทางพระพุทธศาสนามี108 เม็ด    เนื่องจากชนเผ่าแมนจู ยึดมั่นพระพุทธศาสนามาก จึงใช้ลูกประคำมาดัดแปลงเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์   ประคำทุกระดับทั้งของฮ่องเต้และขุนนาง มีความยาวเพียงกลางลำตัว   แต่ผู้ที่จะสวมประคำอิสริยาภรณ์ได้ต้องเป็นขุนนางระดับห้าขึ้นไปเท่านั้นยกเว้นขุนนางในราชบัณฑิตยสถาน และสำนักราชเลขาธิการ
7.เครื่องยศพระราชทานพิเศษ
เช่น แววมยุราพู่หมวกพิเศษ เสื้อกั๊กสีเหลืองทอง เป็นของพระราชทานให้เป็นพิเศษแก่ผู้มีความชอบในราชการ 
จากบทความของอาจารย์เศรษฐพงษ์ จงสงวน   อยู่ในหนังสือกระเบื้องถ้วยกระลาแตก  โดยพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 23 มิ.ย. 07, 00:45
มีเวปของแซ่ สวี่ (ฉี , ฉี่ .ชื้อ ) ลองเข้าไปดูครับ
http://www.xu-shi.com/

มีบทความของแซ่ นี้ที่อพยพไปไต้หวัน ระบุว่ามีสายหนึ่งมาจาก เจียอิ้งโจว อำเภอ เจี่ยวหลิ่ง มณฑล กวางตุ้ง  http://www.xu-shi.com/bbs/ShowPost.asp?ThreadID=10794


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 23 มิ.ย. 07, 00:48
 :) สรุปแล้วผมว่าน่าจะชัดเจนว่าคงไม่มีองค์ชายราชวงศ์ชิง หนีมาสยาม
ส่วนการเรียกร้องให้รักษาเจดีย์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่น่าเอาเรื่ององค์ชายมาเสริมให้ เจดีย์ดูมีค่าขึ้น


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มิ.ย. 07, 08:21
ขอบคุณคุณฮากกายิน2550 อ่านรู้เรื่องแล้วค่ะ
ขอบคุณอีกครั้งที่อุตสาหะ พิมพ์ข้อความจากหนังสือมาให้อย่างละเอียด


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 มิ.ย. 07, 11:04
ขอบคุณมากครับ  ;D



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 23 มิ.ย. 07, 13:16
ขอบคุณเช่นกัน ครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: hakkayin2550 ที่ 23 มิ.ย. 07, 15:01
 :D ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ทั้งหลาย ขอบพระคุณมากครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 ส.ค. 07, 10:47
ตามประวัติบอกไว้ว่า พระยาเทพหรูตั้งนามสกุล “ลิ้มจำรูญ” ให้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2467

ผมคิดว่าชื่อพระเทพหรู นี้ที่จริงควรจะเป็นพระเทพผลู เจ้ากรมกองตระเวณซ้ายครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 22 ส.ค. 07, 21:51
เลื่อมใส  เลื่อมใส ข้าน้อยขอขอบพระคุณเช่นกัน 
ได้ความรู้และความกระจ่างเยอะเลย  แปลว่าเรื่องท่านฉีเอามาเป็นประเด็นเรื่องรื้อเจดีย์เท่านั้น.... :)


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 ก.ย. 07, 21:21
มาอึ้งครับ โห... เป็นตุเป็นตะเชีย
แต่จะเป็นตุ/ตะยังไง ผู้รู้ทั้งหลายในที่นี้ก็จับไต๋ได้อยู่หมัดอยู่ดี
ขอบพระคุณทุกท่านที่แบ่งปันวิทยาทานครับ

ผมสงสัยตอนเห็นรูป ว่าเป็นชุดขุนนางแน่ๆ ไม่ใช่กษัตริย์หรือเจ้านาย

รัชทายาทชิงหนีมาสยาม ชัดแล้วว่าคงไม่จริง ที่ผมสนใจมากกว่าคือเรื่องจริงว่าด้วย ดร. ซุนยัตเซนมาสยาม เข้าใจว่าก่อนทำเก๊กเหม็ง (กั๋วมิ่ง - คือทำปฏิวัติ) ล้มราชวงศ์ชิง ใครจะกรุณาให้วิทยาทานเรื่องนี้ได้มั่งครับ
ส่วนเรื่องลุงโฮ (จิมินห์) เคยมาแฝงตัวในไทยระหว่างสู้กับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสนั้น มีการบันทึกไว้มากแล้ว


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: rayban704 ที่ 07 ม.ค. 10, 15:11
ขอบคุณมาก ๆ เลย


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: pjchaina ที่ 04 มี.ค. 10, 10:15
เคยเห็นนกคล้ายๆอย่างนี้ในภาพวาดของญี่ปุ่น
ถ้าบอกว่าเป็นนกกะเรียน   พอจะบอกได้ไหมคะว่าขุนนางชั้นไหน


ช่ายๆ เห็นด้วยครับ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Ngao_Mak ที่ 04 มี.ค. 10, 10:32
รูปชุดขุนนางนั่นถ่ายที่ไหนผมไม่รู้
แต่กรอบเหลือง และชายเสื้อเห็นเสื้อสีเหลือง แสดงว่าเป็นบุคคลไม่ธรรมดา

แล้วเรื่องหนีมาสยามอะไรนั่น ผมไม่เชื่อหรอกครับ

ส่วนเรื่องรื้อเจดีย์ ถ้าเขาจะรื้อ
ใครหน้าไหนมีปัญหาครับ???

รื้อทิ้งไปซะก็ดี


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 04 มี.ค. 10, 11:16
วานคุณฮากกาหยิ่นบอกที่มาหนังสือ และเว็ปไซด์หน่อยได้ไหมครับ จะได้ค้นคว้าต่อ
ขอขอบพระคุณ ณ ที่นี้ด้วยครับ ;D
อนึ่งทุบเจดีย์อะไรหรือครับ แล้วทำไมต้องทุบต้องรื้อ ถ้าเป็นของโบราณเก่าแก่รื้อไปก็น่าเสียดาย เพราะเป็นงานศิลป์ชิ้นหนึ่ง
ทำลายไปก็เหมือนทำลายสมบัติชาติ ใครหน้าไหนคงไม่มีปัญหา แต่ว่าคงเป็นปัญหาแก่ชาติว่าเราทำลายมรดกบรรพบุรษไปอีกชิ้น
น่าเสียดาย...เหมือนกับใครสักคนมาเผาทำลายรูปพ่อรูปแม่เราที่ตกทอดมา เราคงไม่ดีใจ...เว้นเสียแต่คนๆนั้นจะมีแนวคิดต่างออกไป
อันนั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาอีกส่วนหนึ่ง  ::)


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มี.ค. 10, 13:06
เรื่องรื้อเจดีย์ คือเรื่องนี้

จากกรณีวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ ถนนเจริญกรุง จะทุบทิ้งเจดีย์ทรงไทยภายในวัดเพื่อใช้พื้นที่จัดสร้างอนุสาวรีย์เจ้าอาวาสคนปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว หรือ พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์แทนนั้น ปรากฏว่า มีกลุ่มคนจีนเชื้อสายไทยเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากเจดีย์ดังกล่าวเป็นที่เก็บอัฐิของบรรพบุรุษ กลุ่มทายาทผู้เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วย
นายเทียนชัย จึงแย้มปิ่น ตัวแทนกลุ่ม เข้าร้องเรียน "มติชน" ว่า เจดีย์ทรงไทยมีอายุกว่า 115 ปี เป็นอนุสรณ์สำคัญแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ชิงของจีน เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของ "องค์ชายสอง" แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อประมาณ พ.ศ.2390 ใช้ชื่อว่า "ฉี่ หยี่ กง" รัชกาลที่ 3 ทรงมอบที่ดินให้ องค์ชายสองจึงบริจาคให้เป็นที่ตั้งบางส่วนของวัด ทรงสร้างพระเจดีย์ทรงไทยในวัดเพื่อให้ลูกหลานระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของราชวงศ์จักรี
"ผมเคยคัดค้านแล้ว แต่วัดยืนยันจะทุบเจดีย์ ตามกำหนดจะลงมือรื้อวันที่ 30 พฤษภาคมนี้" นายเทียนชัยกล่าว
ฉี่ หยี่ กง สมรสกับนางเหน้า มีบุตรธิดา 7 คน เป็นต้นตระกูลดังหลายตระกูล เช่น ล่ำซำ ทั่งเครือแก้ว พันทนะ เชาวกำธร อึ๊งภากรณ์ สิมะเสถียร กรรณสูต กาญจนาภา จักกะพาก วรรณวิฑูร จารุมิลินท หโยดม บุลสุข หวั่งหลี จึงแย้มปิ่น ฮุนตระกูล โทณวณิก สราญจิตต์ ดำรงไชย ขัมพานนท์ ชีชุติ ฯลฯ

 จากนสพ.มติชน  ฉบับวันที่  2 พ.ค.50


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Ngao_Mak ที่ 04 มี.ค. 10, 16:27
เพราะมันไม่มีความสำคัญอะไรในประวัติศาสตร์ ถึงขนาดต้องให้เป็นโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องมาอนุรักษ์อะไรให้เสียเวลา เพราะมันไม่มีความสำคัญ เขาถึงรื้อเจดีย์ทิ้ง

ผมว่ารื้อทิ้งไป ผมว่าไม่มีปัญหาอะไร



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 04 มี.ค. 10, 17:06
หรือ...อาจเป็นได้
แล้วอะไรบ้างหนอที่ควรเป็นโบราณวัตถุ มีค่าทางประวัติศาสตร์ มีค่าไม่ควรทุบทิ้ง
อย่างวัดเฉลิมพระเกียรติที่นนทบุรี ว่าไปก็สร้างใหม่เกือบหมด แต่คนเขาก็นับว่าเป็นโบราณสถานแล้ว
คำถามเรื่องอะไรเก่าใหม่ คำถามนี้คงเป็นคำถามยากน่าดู เพราะหลายอย่างในไทยบางคนว่าเก่ามีคุณค่า แต่บางคนว่าเก่าทรุดโทรม
เพราะอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลายแห่งถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะถูกมองว่าไร้ค่าก็มี
บางทีมันก็ควรค่าน่าทุบ แต่เราก็ทิ้งไว้รกหูรกตาก็เยอะ
แต่บ่อยครั้งมักเห็นคนไทยทุบมันด่ะเลย
เจดีย์ที่ว่าผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเก่าแค่ไหน มีคุณค่าเท่าไร
คงต้องรอข้อมูลเพื่อพิจารณาต่อไป
เอาเถิด...เรื่องนี้ไว้พิจารณาทีหลัง
แต่ที่จะพูดคือคนจีนโบราณในสมัยราชวงศ์ชิง แม้เป็นคนธรรมดาก็ใส่เสื้อสีเหลืองได้เหมือนกัน
เสิ้อเหลืองนั้นเป็นเสื้อคลุมพระราชทาน ให้ใส่ไว้ชั้นนอกสุด เสื้อคลุมชั้นนอกสุดปกติเรียกว่า “หม่ากว้า” (马褂: ma gua)
เสื้อนี้ถ้าเป็นเสื้อพระราชทานสีเหลืองเรียกว่า "ฮวงหม่ากว้า" (黄马褂:huang ma gua)
ปกติผู้ที่จะใส่เสื้อสีเหลืองนอกจากสมเด็จพระจักรพรรดิแล้วจะมีเพียงเหล่าองค์รักษ์ข้างพระองค์ ขุนนางผู้ใหญ่ที่ตามในกระบวนเสด็จพระราชดำเนิน และผู้ทำความดีชอบต้องพระทัย
หากผู้ใส่เป็นองค์รักษ์ หรือขุนนางผู้ใหญ่ตามเสด็จแล้ว (จริงๆแล้วเดินนำ) จะใส่ได้เฉพาะเวลาตามเสด็จพระราชดำเนินเท่านั้น หากขืนใส่เดินเล่นถูกลงโทษได้
หากได้รับเพราะความดีความชอบ มีสองประเภท ได้แก่ประเภทตามเสด็จล่าสัตว์ แล้วยิงสัตว์มาถวายต่อหน้าพระพักตร์ (ทำนองว่า...ข้าพระพุทธเจ้าก็เก่งนะเออ ล่าได้ด้วหนึ่งแหละ)
หากพระองค์ต้องพระทัย อาจพระราชทานเสื้อให้ (เป็นอารมณ์ว่า...เออ เองก็เก่งนะ แพนด้าทั้งตัวอุตส่าห์ล่าได้ อะ...มาเอารางวัลไป)
แต่พวกนี้จะใส่ได้เฉพาะในโอกาสตามเสด็จไปล่าสัตว์เท่านั้น ใส่นอกเหนือจากเวลาดังกล่าวมีความผิด
สุดท้าย คือทำความดีความชอบต้องพระทัย จะเป็นองค์พระจักรพรรดิหรือพระจักรพรรดินีก็ได้
จะทำถูกใจด้านใดก็ได้ ขอให้ต้องพระทัยไว้เถิดเป็นพอ
ถูกใจแล้ว...นั้นแหละ เอาไปเลย จะใส่ในโอกาสใหญ่ๆตอนไหนก็ได้ตามใจชอบ
ดังครั้งหนึ่งพระนางซูซีไทเฮาเคยพระราชทานเสื้อคลุมแบบนี้ให้แก่คนขับรถไฟ ที่ขับรถไฟได้ต้องพระทัย
แต่เสื้อประเภทนี้ใส่ไว้ข้างนอกสุด ไม่ใช้เสื้อคลุมชั้นใน ขอเวลาไปค้นก่อน แล้วจะมาเล่าต่อ


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 04 มี.ค. 10, 18:22
รูปนี้เป็นรูปของนายพลกอร์ดอน (Major Charles George Gordon,1833-1885) ที่เข้ามารับราชการช่วงปลายราชวงศ์ชิงคราวปราบกษฎไท่ผิง
มีที่มาจากเว็ปไซด์ ดังนี้
http://images.google.com/imgres?imgurl=http://pic.itiexue.net/pics/2009_3_22_75578_8975578.jpg&imgrefurl=http://bbs.tiexue.net/post_3438710_1.html&usg=__LuyGA1GnCMzRIjW5XgB2bO8MYS0=&h=400&w=228&sz=26&hl=th&start=5&um=1&itbs=1&tbnid=JlR0Ay2uPB1C5M:&tbnh=124&tbnw=71&prev=/images%3Fq%3D%25E9%25BB%2584%25E9%25A9%25AC%25E8%25A4%2582%26um%3D1%26hl%3Dth%26lr%3D%26newwindow%3D1%26sa%3DN%26tbs%3Disch:1



กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 04 มี.ค. 10, 18:29
ส่วนเรื่องภาพดูชัดๆแล้วเป็นนกกระเรียนมองพระอาทิตย์ ปกติเป็นภาพที่ใช้กับขุนนางฝ่ายบุ๋นที่มีตำแหน่งสูงสุด
ทั้งนี้ ลายผ้าเป็นสีทอง หรือมีสร้อยประคำยาวไม่จำเป็นต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง เพราะเท่าที่ผมดูจากตัวอย่างภาพขุนนางเก่าๆในจีนระดับสูงก็มีภาพคล้ายๆกัน
ภาพนี้เสียดายที่ในเว็ปไซด์ไม่ได้บอกที่มาว่ามาจากไหน เพียงแต่บอกว่าเป็นชุดข้าราชการในสมัยราชวงศ์ชิง
ผมนำมาจากเว็ปไซด์ดังนี้ http://tieba.baidu.com/f?kz=412418445


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 04 มี.ค. 10, 19:35
         ดังนั้น จากภาพเขียนที่ปรากฎท่านสันนิษฐานว่าท่านคงไม่ใช่เชื้อพระวงศ์แต่อย่างใด แม้เสื้อจะมีสีเหลืองปนบนลายปัก และประคำจะยาวไปสักนิด
แล้วเสื้อตัวในแลบออกมาเห็นเป็นสีเหลือง ผมไปดูรูปในหน้งสือเรื่อง 清两江总督与 总督署:THE LIANGJIANG GOVERNOR - GENERALS OF QING DYNASTY AND THEIR OFFICIAL RESIDENCE มีภาพของท่านข้าหลวงประจำมณฑลเหลียงเจียงซึ่งถือเป็นขุนนางชั้นสูง (การแบ่งนี้เป็นการแบ่งแบบโบราณ คือ แบ่งเป็นแปดมณฑลใหญ่ ไม่เหมือนกับเมืองจีนในปัจจุบัน)
มีภาพหนึ่งเป็นภาพของท่าน หลี เว้ย เสี่ยง (李卫像:li wei xiang) จากภาพท่านก็ใส่เสื้อคลุมทับยาวดำทับตามแบบขุนนางทั่วไป แต่ว่าเสื้อคลุมแหวกออกมาเห็นเสื้อชั้นในสีเหลือง ทั้งท่านยังใส่สร้อยประคำเอว แต่ก็เป็นหลักฐานอีกชิ้นว่าขุนนางแต่งตัวลักษณะนี้เช่นกัน ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ หากเป็นขุนนางระดับสูง
           ด้วยเหตุประการฉะนี้ ท่านฉี่ หยี่ กงอาจเป็นขุนนางผู้ใหญ่ของ หนีตายมาไทย ดังนั้นเราลองสมมุติเหตุการณ์เล่นๆนะ เรื่องมีอยู่ว่า...
ช่วงปลายราชวงศ์ชิง บ้านเมืองวุ่นวายเหลือเกิน ขุนนาง เจ้าเมือง เจ้าของที่ดินเผลอๆอาจถูกกลุ่มกบฎไท่ผิงจับฆ่าถ้าบังเอิญดันไปอยู่แถวๆที่กบฏรุกราน
(กลุ่มกบฎนี้เปิดฉากเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๓ กว่าจะล้างบางปราบสำเร็จก็ตั้ง ๒๔๐๗) ท่านฉี่ หยี่ กงอาจเป็นขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่บังเอิญอยู่แถวๆที่มีกบฎ ท่านเลยตัดสินใจอพยพยกครัวมา ทางใต้แถบเหมยเสี้ยนตัวท่านอาจมีพื้นเพเป็นคนที่นั้นก็ได้ ใครจะรู้ สอบจอหงวนเอาตำแหน่งมันสอบได้ทั้งประเทศนี้
          หลังจากท่านเลยมาหลบร้อนในบริเวณนั้น อาจได้ข่าวว่าเมืองไทยสงบดี เพราะยุครัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) เมืองไทยกำลังมีความสุข ไทยเป็นมหา ท่านจึงตัดสินใจแล้วโยกย้ายมายังเมืองไทย เพราะว่าชาวจีนทางใต้โดยเฉพาะแถบกวางตุ้ง ฟูเจี้ยนล้วนมีเครื่องญาติไปค้าขายเป็นจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านจึงอาจได้ฟังข่าวเมืองไทย
          ท่านมาไทย คงไม่ได้มาตัวเปล่า คงมากันมากมาย คนในบ้านท่าน เครือญาติท่าน คงไม่น้อย ยิ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ คนพึ่งบารมีคงเยอะ ขนกันมา พอมาถึง ท่านคงไปอยู่ในบริเวณที่ชาวจีนอยู่กัน เพราะไปอยู่โดดคงลำบากน่าดู กรุงเทพมหานครของเราตอนนั้นเลยกำแพงเมืองออกก็เป็นป่า ส่วนท่านจะได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือไม่ไม่ทราบ อาจได้เฝ้าก็ได้ เพราะท่านเป็นขุนนางมา เรื่องเข้าเฝ้าคงไม่ยาก แต่ที่ท่านไม่รับราชการ อาจเป็นเพราะท่านเป็นจีนมาใหม่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอาจไม่ไว้วางพระทัย ก็เป็นได้ เพราะดูขุนนางรอบตัวท่านแต่ละคน แม้มีเชื้อจีน แต่ก็ไม่ใช่คนจีนอพยพมา โดยมากเป็นลูกจีนในไทยทั้งนั้น
          ด้วยประกาฉะนี้ท่านเลยไปทำการค้าอยู่เงียบๆ เล่นงิ้วไปวันๆ อย่างมีความสุข และเนื่องจากท่านรวย และเก่ง ท่านเลยบริจาคเงินและที่สร้างวัดจีนได้ อีกทั้งการที่ท่านได้เข้ามาเมืองไทย มีโอกาสในการอยู่อาศัย เรื่อยไปจนถึงโอกาสทำการค้า (การค้าสมัยก่อนพวกค้าสำเภามันก็ต้องมีเส้น...ไม่ใช่อยู่ๆจะเดินดุ่มๆไปขายกับเขาได้ ไม่เชื่อลองมองเมืองไทยรอบๆตัวเราสิ...)  ด้วยพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านจึงบอกลูกหลานให้พักดี
          เนื่องจากท่านทำการค้า คุมคนเยอะ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่าย ที่จะกลายเป็น...อั๊งยี้น้อยๆ ภายหลังอาจพัฒนาจนเติบใหญ่ โดยที่ท่านไม่ตั้งใจ เพราะคนท่านเยอะ ใครมันจะไปทำอะไรท่านจะไปรู้ได้อย่างไร (หรือรู้ก็ไม่ทราบได้) เพราะดูจากประวัติศาสตร์ไทย พ่อค้าหลายคนก็เป็นอั๊งยี้ด้วย อย่างพวกพ่อค้าน้ำตาลแถวฉะเชิงเทรา เพราะจริงๆอังยี้ไม่ใช่ซ่องโจรอะไร เป็นการรวมตัวกันเพื่อป้องกันตัวเองของชาวจีน
         สุดท้าย ที่เรื่องราวของท่านกลายเป็นตำนานอลังการขนาดนั้น อาจเป็นเพราะท่านเป็นผู้มีความรู้ เล่าเรื่องราวในวังให้ลูกหลานฟัง ภายหลังเรื่องเล่าปากต่อปากก็ค่อยๆพัฒนาเรื่องจนอลังการได้จนทุกวันนี้ เรื่องธรรมดาของเรื่องเล่า คิดดู ยังมีตำนานพ่อขุนรามคำแหงไปแต่งงานกับลูกสาวพระเจ้ากรุงจีนเลย
        เรื่องทั้งหมดนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผม เล่าๆให้ฟัง แต่ว่าประเด็นสำคัญที่จะเน้นคือ ท่านคงไม่ใช่เจ้า แต่เป็นขุนนางใหญ่ และเจดีย์ดังกล่าวหากเป็นเจดีย์เก็บอัฐิของท่านจริง ก็นับว่าน่าเสียดาย หากจะถูกรื้อ เพราะท่านอาจไม่ใช่บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ แต่ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ และเป็นส่วนหนึ่งในความรักของลูกหลานที่สืบทอดกันมา
         ที่พักสุดท้ายของพ่อแม่เรา ใครจะไม่รัก...
       สวัสดี


กระทู้: รัชทายาทราชวงศ์ชิงในแดนสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 10, 12:53
ตำนานของท่านฉี่ มีการแต่งเติมเสียจนไม่รู้ว่าเรื่องจริงเป็นยังไง   และมีความผิดพลาดด้านรายละเอียดกันทุกขั้นทุกตอน
เริ่มตั้งแต่อ้างว่าท่านเป็นรัชทายาทแมนจู    ไปจนเรื่องท่านเป็นบรรพบุรุษของตระกูลอีกหลายตระกูล  ที่จริงๆแล้วก็ไม่เกี่ยวกับท่าน
ดิฉันจึงไม่อยากสรุปอะไรทั้งสิ้น ว่าประวัติท่านมีเค้าความจริงตรงไหนบ้าง  เพราะแยกไม่ได้เอาเลยระหว่างข้อจริงและข้อเท็จ

ก็ขอให้อ่านด้วยวิจารณญาณ เท่านั้นค่ะ