เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 11, 10:12



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 11, 10:12
กระทู้นี้แยกมาจาก “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์”
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3700.0

เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า
            คิดบทเกลาไว้เป็นกลอนสุนทรสนอง
            เป็นคติควรดำริห์ขอเชิญตรอง
            ตามทำนองโบราณราชประเพณี

       สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ท่านทรงปฏิบัติพระองค์ตามกลอนพระราชนิพนธ์ คือทรงถือว่า "รองภูมินทร์"   จึงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองแผ่นดิน  อันจะทำให้ระคายเคืองสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้   หากมีผู้ยุแยงตะแคงรั่ว  
      นอกจากนี้  เราก็รู้ๆกันว่าในรัชกาลที่ 4 อำนาจไม่ได้อยู่ที่เจ้านายฝ่ายเดียว แต่อยู่ที่ขุนนางตระกูลใหญ่ด้วย    สิ่งที่วังหน้าทำได้คือสร้างการทหารให้เข้มแข็งไว้เป็นดุลย์อำนาจ  เพื่อป้องกับปรามคนคิดการใหญ่ไปด้วยในตัว

พระราชกรณียกิจที่มีบันทึกไว้ เป็นเรื่องส่วนพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่

พระอัธยาศัยของทั้งสองพระองค์ก็ต่างกัน  สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักวิชาการ  ส่วนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นนักกีฬา     โปรดดนตรีพื้นเมืองอย่างแคน ว่ากันว่าทรงแอ่วลาวได้ไพเราะนัก  

   หากจะกล่าวถึงความ สนิทสนมส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระเมตตาสมเด็จพระราชอนุชาเสมอ  คราวหนึ่งเสด็จขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปใหญ่วัด พนัญเชิง  ทรงปิดเฉพาะพระพักตร์ เว้นพระศอไว้พระราชทานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าให้ทรงปิดต่อ   ทั้งสองพระองค์ทรงล้อเลียนกันอย่างสนิทสนม    สมเด็จ๚ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ว่า

   “ผู้อ่านพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ไม่ทราบพฤติการณ์แต่ก่อน น่าจะเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอริต่อกัน ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นที่แท้เกิดแต่ พระอุปนิสัยต่างกัน พระราชนิยมก็ต่างกัน แต่ส่วนพระองค์ทรงรักใคร่ชอบชิดสนิทสนมกัน เพราะเหตุที่กล่าวมาจึงมักตรัสค่อนกันทั้งสองฝ่าย ด้วยถือว่าถึงอีกฝ่ายหนึ่งจะทรงทราบก็ไม่ทรงพระพิโรธ เล่ากันมาว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มักดำรัสเรียกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าพี่ทิดบ้าง พี่เถรบ้าง และตรัสค่อนว่าแก่วัด แต่หากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมิใคร่เขียนลายพระราชหัตถเลขาจึง ไม่ปรากฏคำทรงค่อนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่เป็นลายลักษณ์ อักษร ความซึ่งค่อนกันนั้นก็พึงสังเกตเห็นได้ว่ามิได้เกี่ยวข้องถึงราชการบ้านเมือง”

    มีเรื่องเล่ากันมาว่า วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ส่งชาจีนอย่างดีมาพระราชทาน เพราะทรงทราบว่าพระราชอนุชาโปรดเสวยชารสดี    สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงลองจิบดูแล้วก็มีรับสั่ง ว่า
   “พุทโธ นี่มันชาบังสุกุลนี่นา”
   ที่ตรัสเช่นนั้น ก็เป็นทำนองล้อว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราชเอาชาเก่าๆ ที่ทรงรับประเคนในสมัยที่ยังทรงผนวชมาพระราชทานนั่นเอง

   บรรดาฝรั่งมักจะให้ความนิยมนับถือวังหน้า  เพราะคุณสมบัติของพระองค์อย่างที่เซอร์จอห์น เบาริงกล่าวยกย่องมาแล้ว    หลายคนลงความเห็นตรงกันว่าทรงเป็น "ผู้ดี" เพราะพระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี หมอบรัดเล (Bradley) เคยบันทึกไว้ว่า

   “ในระหว่างที่สมเด็จพระ ราชินีตรัสแก่หมอบรัดเลนั้น เจ้าฟ้าน้อยประทับนิ่งมิได้ตรัสประการใดเลย และดูเหมือนว่าพระองค์จะทรงเกรงกลัวพระราชมารดามากทีเดียว”

    พระราชอัชฌาสัยของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯอีกประการหนึ่งคือไม่โปรดแสดงยศศักดิ์    โดยปกติเมื่อเสด็จออกให้ข้าราชการเฝ้าก็เสด็จออกที่โรงรถ ต่อเวลามีการพิธีจึงเสด็จออกท้องพระโรง    ถ้าไม่ใช่ราชการงานเมือง  มักจะเสด็จแต่โดยลำพังพระองค์ บางทีทรงม้าไปกับคนตามเสด็จคนหนึ่งสองคน  มิให้ใครรู้ว่าพระองค์เสด็จ แม้จะเสด็จไปตามวังเจ้านายก็ไม่มีพิธีรีตองล่วงหน้า
    ครั้งหนึ่งที่วังของพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เมื่อครั้งบังคับการกรมช่างสิบหมู่  และยังทรงเป็นหม่อมเจ้าอยู่    เวลาค่ำแล้วได้ยินเสียงคนมาร้องเรียกที่ประตูวัง ให้คนเปิดประตูออกมา พบพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่วัง พระองค์เจ้าประดิษฐฯ ตกพระทัย ออกไปเชิญเสด็จมาประทับบนหอนั่ง เวลานั้นมีแต่ไต้จุดอยู่ใบหนึ่ง จะเรียกพรมเจียมมาปูรับเสด็จ  พระองค์ก็รับสั่งห้าม   ประทับยองๆ   ดำรัสเรื่องที่โปรดให้ทำสิ่งของถวายไปพลางและทรงเขี่ยไต้ไปพลาง จนเสร็จพระราชธุระ จึงเสด็จกลับไปพระบวรราชวัง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 11, 18:52
       กีฬาที่สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ โปรดมีหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือทรงม้า  อีกอย่างคือทรงคลี   บางคืนก็โปรดให้ข้าราชบริพารเล่นขี่ม้าซ่อนหา    วิธีเล่นคือมีคน ๒ คน ขี่ม้าสะพายย่ามติ้ว แต่งตัวเหมือนกัน  คนหนึ่งเป็นคนมีติ้ว  อีกคนอยู่โยง   คนขี่ม้าหนีต้องได้ติ้วก่อนจึงจะเข้าโยงได้ ความสนุกอยู่ที่ไม่รู้ได้ว่าม้าไหนเป็นม้าติ้ว และม้าไหนเป็นม้าอยู่โยง เพราะแต่งตัวเหมือนกัน บางทีคนขี่ม้าติ้วแกล้งไล่ ผู้ที่ไม่รู้หลงหนี เลยเข้าโยงไม่ได้ก็มี

       กีฬาอีกอย่างที่ตื่นเต้นไม่แพ้ล่อวัวกระทิงของสเปน คือทรงม้าเข้าล่อช้างตกมัน สมเด็จ๚ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่าครั้งหนึ่งได้ทรงม้าผ่านตัวโปรดขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยาสายฟ้าฟาด เข้าล่อช้างพลายแก้ว ซึ่งขึ้นระวางเป็นพลายไฟภัทกัลป์ เวลาตกน้ำมัน พอช้างไล่    ทรงกระทบพระบาทจะให้ม้าวิ่ง ม้าตัวนั้นเป็นม้าเต้นน้อยดีไปเต้นน้อยเสีย เล่ากันว่าวันนั้นหากหมออาจซึ่งเป็นหมอช้างขี่พลายแก้ว เอาขอฟันที่สำคัญเหนี่ยวพลายแก้วไว้อยู่โดยฝีมือ อีกนัยหนึ่งว่าปิดตาช้าง แล้วเบนไปเสียทางอื่นทัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงไม่เป็นอันตราย

   โดยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ หัว โปรดกีฬาเกี่ยวกับช้างนี้เองจึงปรากฏว่าได้เคยโปรดให้มีช้างบำรูงา (ช้างปะงา) ขึ้นครั้งหนึ่ง และดูเหมือนว่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่มีช้างบำรูงาในเมืองไทย

   นอก จากนี้ยังกล่าวกันว่าโปรดการล่าสัตว์อีกด้วย ดังมีปรากฏอยู่ในบันทึกของหมอบรัดเล ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ตอนหนึ่งว่า “โปรดกีฬาต่างๆเช่นล่าสัตว์ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากหนังเสือหนังหมีที่ฟอกแล้ว และประดับอยู่ในวังเป็นอันมาก”  แต่ที่แน่นอนก็คือโปรดการท่องเที่ยวไปตามหัวบ้านหัวเมืองทั้งเหนือและใต้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสว่า
    “เป็นเพราะเกิดวัณโรคขึ้น ภายในพระองค์มีพระอาการประชวรเสาะแสะอยู่เสมอ จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมืองเนืองๆ กล่าวกันว่ามักเสด็จไปประทับตามถิ่นที่มีบ้านลาวเสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะ ทวน แขวงนครไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัสนิคมบ้าง แต่ไปประทับที่พระตำหนักบ้านสีเทา จังหวัดสระบุรี เสียโดยมาก
     แท้ที่จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาสตามหัวเมืองต่างๆมาตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็น กรมขุนอิศเรศรังสรรค์เพราะทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่าการเสด็จประพาส หัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถจะทรงทราบทุกข์สุขของไพร่ฟ้าประชาชนได้เป็นอย่างดีกว่ารายงานใน กระดาษ

       นอกจากจะโปรดการเสด็จประพาสทางบกเข้าดงพงพีแล้วยังโปรด เสด็จประพาสทางชลมารคอีกด้วย การเสด็จประพาสทางทะเลครั้งสุดท้ายก่อนสวรรคตเห็นจะเป็นการเสด็จประพาสซึ่ง ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า

   “ครั้งมาถึงวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๙ ค่ำ (วันที่ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๐๓) เวลาเช้า ๕ โมง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยทางชลมารค ไปประพาส ณ เมืองปักษ์ใต้ฝ่ายทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองเพชรบุรีออกไปทุกๆเมือง ตลอดเมืองสงขลา วันพุธเดือน ๙ แรม ๖ ค่ำ (วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๐๓) ถึงเมืองสงขลา ประทับแรมอยู่ที่ค่ายหลวงเมืองสงขลา ๑๐ ราตรี เสด็จกลับมาแวะเมืองนคร๚ วันเดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ ไปนมัสการพระบรมธาตุแล้วประทับอยู่ที่ค่ายหลวงเมืองนครฯ ๓ ราตรี ครั้น ณ วันเดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ เสด็จกลับมากรุงเทพมหานคร”

   โดยเหตุที่พระ บาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาการและวัฒนธรรมของชาวตะวันตก ทรงคุ้นเคยกับชาวต่างประเทศมาก ฉะนั้นพระอัธยาศัยบางประการจึงพลอยติดธรรมเนียมฝรั่งไปด้วย เช่น การชักธง กล่าวกันว่าได้ทรงริเริ่มเป็นพระองค์แรกมาตั้งแต่ในรัชกาลที่๓
     แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ไม่โปรดฝรั่ง คราวหนึ่งเสด็จมาทอดพระเนตรธงบนยอดเสา ณ พระราชวังเดิมจึงแกล้งรับสั่งว่า

   “นั่นท่านฟ้าน้อย เอาผ้าขี้ริ้วขึ้นตากทำไม”

   เมื่อเสด็จประทับพระบวรราชวังแล้ว โปรดให้ตั้งเสาธงสำหรบพระบวรราชวังขึ้น ได้ชักธงพระจุฑามณีเป็นประจำ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ม.ค. 11, 19:00
ป.ล. ช้างบำรูงา ที่ทำเป็นอักษรสีแดงไว้ข้างบนนี้    หมายถึงการฝึกช้างให้รู้จักชนกัน หรือที่เรียกว่ายุทธหัตถี    วิธีคือผูกช้างขาหลังโยงกับเสาตลุง  ให้ประ กับช้างอีกตัวได้แค่ปลายงา  เพื่อกันช้างบาดเจ็บหากปะทะกันถึงตัวจริงๆ   เพราะจะทำให้ช้างเข็ดและไม่กล้าชนช้างเมื่อถึงเวลาออกรบจริงๆ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 15:46
พระราชกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  ที่จะเล่าต่อไปนี้ คือทางด้านการทหาร 
 
พระราชกรณียกิจเรื่องนี้ไม่ได้เริ่มเมื่อทรงเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ 4  แต่ย้อนไปถึงรัชกาลที่ 3   ตั้งแต่ดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์   ได้เคยเสด็จนำทัพเรือไปตีเมืองญวน   ได้ญวนอพยพติดตามเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยาม   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามเสน  อย่างที่เรารู้จักกันว่า บ้านญวนสามเสน
จากนั้น ก็โปรดเกล้าฯให้ทรงควบคุมทหาร  หัดทหารปืนใหญ่ไว้รับราชการ    ในเมื่อปืนใหญ่เป็นอาวุธฝรั่ง       สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเรียนภาษาอังกฤษกับมิชชันนารีมาก่อนจนแตกฉานในภาษานี้ พอจะแปลตำราปืนใหญ่ได้   ก็ทรงนำชาวญวนอพยพที่ว่ามาหัดเป็นทหาร  เป็นชุดแรกก่อนชุดอื่นๆที่จะตามมาภายหลัง
ส่วนหนังสือก็ทรงแปลขึ้น เพื่อใช้เป็นตำราปืนใหญ่ฝึกทหาร   เมื่อพ.ศ. 2384


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 16:27
ตำราปืนใหญ่ประกอบไปด้วย ๓ บท

๑. ตำนานปืนใหญ่

๒. ตำรายิงปืนใหญ่รบกาลแปลง

๓. ตำรายิงปืนป้อมและยิงเรือรบ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 16:36
เป็นที่น่าสนใจมากครับ ว่าในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงครองราชย์อยู่นั้น เจ้าฟ้ามงกุฎก็ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวร และธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ แต่เจ้าฟ้าน้อย ท่านทรงทำสิ่งไรไว้บ้าง  ???


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 16:36
ถูกปาดเสียแล้ว  ;D

มีของแท้มาโชว์เหมือนกันค่ะ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 16:45
 :-[

จะกล่าวถึงพระอัจฉริยภาพด้านความรู้ภาษาอังกฤษของพระองค์ ซึ่งได้ทรงแปลตำราปืนใหญ่ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ โดยกล่าวถึงประวัติปืนใหญ่และประวัติของปืนใหญ่ตั้งแต่อดีตและมีการฝึกทหารอีกด้วย ทั้งนี้ทรงแปลภาษาไทย และกำกับภาษาอังกฤษไว้พร้อมกัน เช่น ปืนม่อตา (Mortar) ทรงแปลว่า "ปืนครก" หรือ ปืนซันแดะ (Thunder) แปลว่าฟ้าร้อง อีกทั้งเทคนิคการหล่อปืนใหญ่แบบไทย ซึ่งมีการวางอาคมไว้ด้วย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ม.ค. 11, 17:01
พระราชกรณียกิจสำคัญของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  ที่จะเล่าต่อไปนี้ คือทางด้านการทหาร 
 
พระราชกรณียกิจเรื่องนี้ไม่ได้เริ่มเมื่อทรงเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ 4  แต่ย้อนไปถึงรัชกาลที่ 3   ตั้งแต่ดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์   ได้เคยเสด็จนำทัพเรือไปตีเมืองญวน   ได้ญวนอพยพติดตามเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยาม   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามเสน  อย่างที่เรารู้จักกันว่า บ้านญวนสามเสน จากนั้น ก็โปรดเกล้าฯให้ทรงควบคุมทหาร  หัดทหารปืนใหญ่ไว้รับราชการ    ในเมื่อปืนใหญ่เป็นอาวุธฝรั่ง       สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเรียนภาษาอังกฤษกับมิชชันนารีมาก่อนจนแตกฉานในภาษานี้ พอจะแปลตำราปืนใหญ่ได้   ก็ทรงนำชาวญวนอพยพที่ว่ามาหัดเป็นทหาร  เป็นชุดแรกก่อนชุดอื่นๆที่จะตามมาภายหลัง
ส่วนหนังสือก็ทรงแปลขึ้น เพื่อใช้เป็นตำราปืนใหญ่ฝึกทหาร   เมื่อพ.ศ. 2384

ทำไมรัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวญวนที่อพยพติดตาม
ทัพสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เข้ามา 
ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามเสนล่ะครับ  ;D


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 17:23
คุณ siamese ช่วยตอบหน่อยซีคะ  มีอยู่ในกระทู้เก่าไม่ใช่หรือ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 17:35
ประวัติปืนใหญ่  อีกหน้าหนึ่ง 
ตั้งใจจะสแกนหน้า 2  แต่สแกนผิดเป็นหน้า 3  ก็เลยขอให้ดูหน้า 3 แทนนะคะ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 17:45
บทที่ 2   ทำเนียบนามปืนใหญ่  เป็นนามพระราชทานคล้องจองกันตลอด  อ่านแล้วเพลิดเพลิน
ชื่อที่ 1-10 เป็นชื่อคนชนชาติ หรือเชื้อชาติต่างๆที่อยู่ในสยามในยุคนั้น   

ขอมดำดิน
จีนสาวไส้
ไทยใหญ่เล่นหน้า
ชวารำกฤช
มุหงิดทะลวงฟัน
มักสันแหกค่าย
ฝรั่งรายปืนแม่น
แมนแทงทวน
ญวนง่าง้าว
ลาวตีคลี

คำว่ามุหงิด   เมื่ออ่านเข้าใจว่าหมายถึงชนชาติมลายู   แต่รอยอินชี้เฉพาะลงไปอีกว่า  น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.

คำที่ 8  แมนแทงทวน   รอยอินเก็บความหมายคำว่า "แมน" ไว้ ว่า เทวดา  แต่ในที่นี้เห็นจะไม่ได้หมายความถึงเทวดาเป็นเชื้อชาติไหน ใครรู้บ้างคะ



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:00
มาเป็นมวยแทนตอบเรื่องญวน ระหว่างรอคิวต่อจากเรื่องปืนใหญ่ครับ
(เอามาจากเวปของกรุงเทพมหานครครับ ไม่ได้เขียนขึ้นเอง)


ความเป็นมาของชุมชนบ้านญวน สามเสน

หมู่บ้านสามเสน มีวิวัฒนาการมาจากการอยู่รวมกันของผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาว โปรตุเกส ชาวเขมร และชาวญวนสำหรับชาวโปรตุเกสและชาวเขมรนั้นอยู่รวมกันจนกลายเป็น ชนกลุ่มเดียวกัน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในส่วนที่เรียกว่า "บ้านเขมร" ส่วนชาวญวนอยู่ด้านนอกถัดออก มาเรียกว่า "บ้านญวน" โดยมีคลองเป็นเส้นแบ่งเขต (ปัจจุบันถมเป็นถนนหมดแล้ว ดูแผนที่ ประกอบ) มีอาณาเขต ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตรา กฏหมายขึ้น เมื่อพ.ศ. 2452 ยกเนื้อที่ของสองหมู่บ้านให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซังโรมันคาทอลิก มีขอบเขตดังนี้
ทิศเหนือ มีคลองบ้านญวนเป็นเขต ตั้งแต่ปากคลองจนถึงเขตถนนสามเสนยาว 12 เส้น 4 วา
ทิศตะวันออก มีเส้นห่างจากขอบถนนสามเสนไปทางตะวันตก 6 วา เป็นเขตตั้งแต่ คลองบ้านญวนจนถึงคลองวัดราชาธิวาสยาว 6 เส้น 5 วา
ทิศใต้ มีคลองวัดราชาธิวาสเป็นเขต ตั้งแต่ปากคลองวัดราชธิวาสไปจรดถนนสามเสน ยาว 12 เส้น
ทิศตะวันตก มีฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเขต ตั้งแต่ปากคลองบ้านญวนฝั่งใต้จรดปาก คลองวัดราชาธิวาสฝั่งเหนือยาว 6 เส้น 19 วา
รวมเนื้อที่พระราชทาน 68 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา (วัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ 2527:37)
 
ชุมชนบ้านญวน สามเสน เกิดขึ้นเพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด เกล้าฯ ให้ชาวญวนที่ติดตามกองทัพไทยเข้ามา เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ยกกองทัพไปทำสงคราม ขับไล่ญวนออกจากเขมรเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2376 (พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี ทรงเป็นแม่ทัพเรือ)โดยทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดส้มเกลี้ยงเหนือบ้านเขมร เพราะนับถือศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับชาวเขมรที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ทรงใช้เงินส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินสวนแปลงใหญ่ใกล้เคียงกัน พระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัย พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างโปสถ์หลังแรกขึ้น ชื่อว่า" วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์" เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ ต่อมา พ.ศ. 2410 เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "วัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์" ตามชื่อของท่านนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ ซึ่งมีพระรูปของท่านประดิษฐานอยู่ในโบสถ์จนถึงปัจจุบัน
วัดนักบุญฟรังซีสเชเวียร์ ถือเป็นศูนย์รวมของชุมชนชาวญวนเป็นองค์กรที่สร้างความ ผูกพันในหมู่ชาวญวนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาโดยตลอด ทำให้สามารถรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีสืบเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน


วิถีชีวิตของชุมชนบ้านญวน สามเสน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีนโยบายในการจัดที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวญวนที่ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ แยกกันอยู่โดยถือหลักสองประการคือ แยกกันอยู่ตามศาสนาที่นับถือและ แยกกันอยู่ตามสาเหตุที่อพยพเข้ามา ชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์และติดตามกองทัพไทยเข้ามา ตามคำชักชวนของคนในกองทัพไทย ให้ไปอยู่รวมกับชาวเขมรและคนเชื้อสายโปรตุเกส ที่นับถือ ศาสนาคริสต์ ซึ่งอยู่มาก่อนที่ตำบลสามเสน เรียก "กองญวนสวามิภักดิ์" ส่วนชาวญวนที่นับถือ ศาสนาพุทธนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่ตำบลบางโพ (รวมกับชาวญวนพุทธเก่าที่เข้ามาตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ 1 ) และที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม (บริเวณเชิงสะพานขาว) พวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ ถูกกวาดต้อนมาจากสงครามไทยรบเวียดนาม (พ.ศ. 2376 - 2390 ) ชาวญวนกลุ่มนี้เรียก "กองญวนอาสารบ" การแยกกลุ่มเช่นนี้ ก็เพื่อความสะดวกในการควบคุมและปกครอง

ชาวญวนทั้งสองกลุ่มนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้อยู่ในบังคับ บัญชาของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โดยชาวญวนที่สามเสนนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สักข้อมือว่า "ญวนสวามิภักดิ์" ให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของพระยาวิเศษ สงครามรามภักดี ซึ่งเป็นหัวหน้าชาวเขมรที่ตำบลสามเสน และให้เข้ารับราชการสังกัด "กรม ทหารปืนใหญ่" ทั้งหมด  


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:07
ในกระทู้เดิมของผม เรื่องสายสกุลจีนของเจ้าคุณจอมมารดาเอม เคยเขียนไว้ว่า หลังจากที่องเชียงสือนำเรือหนีออกไปจากพระนครได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงกริ้วพวกชาวญวนมาก ทรงไม่ไว้พระราชหฤทัยให้อยู่ในพระนครอีก โดยโปรดให้อพยพครัวญวณทั้งหมดจากแถวท่าเตียน ไปอยู่ที่สามเสน เหนือน้ำไกลกำแพงเมืองกรุงเทพออกไปให้มากหน่อย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 18:28
สวัสดีค่ะคุณ Navarat.C  ขอบคุณที่ช่วยตอบ  

เป็นที่น่าสนใจมากครับ ว่าในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงครองราชย์อยู่นั้น เจ้าฟ้ามงกุฎก็ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวร และธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ แต่เจ้าฟ้าน้อย ท่านทรงทำสิ่งไรไว้บ้าง  ???

ในรัชกาลที่ 3  ไทยรบกับศึกหลายด้าน   ทางตะวันออกคือญวน   รบกันหลายปี ไทยได้กัมพูชาคืนมา
ส่วนทางใต้  ไทรบุรีเป็นขบถขึ้นมา 2 ครั้ง  ไทยส่งกองทัพไปปราบ  ทำให้ไปกระเทือนอังกฤษเข้าด้วย  สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงทรงวิตกว่า ถ้าญวนและ/หรืออังกฤษบุกมาทางทะเล  ก็คงผ่านเข้าปากอ่าวมาถึงกรุงเทพได้เลย เพราะไม่มีป้อมปราการแข็งแรงพอจะเป็นด่านกั้นไว้   จึงโปรดให้สร้างป้อมปราการเพิ่มเติมที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์(พระประแดง)    นอกจากนี้ก็เพิ่มเติมป้อมปากน้ำขึ้นอีกที่ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร  สมุทรสงคราม  จันทบุรีและสงขลา
พระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (หรือสมเด็จพระปิ่นเกล้า) รับพระบรมราชโองการเป็นแม่กองจัดแจงหัด  ฝึกหัดทหารปืนใหญ่ในเมืองหลวง และทุกเดือนก็ไปใส่ดินยิงปืนใหญ่ที่นครเขื่อนขัณฑ์

ส่วนปืนใหญ่ในตอนนั้นหาซื้อจากต่างประเทศมาได้ไม่ทันการ  สมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงโปรดฯให้ช่างมาฝึกหัดหล่อปืนใหญ่เป็นปืนเหล็ก    นำไปจากกรุงเทพ   ทหารประจำป้อมปืน  จะเอาจากทหารประจำป้อมตามปกติ ทรงเห็นว่าไม่พอ   ก็ทรงให้เกณฑ์ขุนหมื่นในกรมต่างๆทั้งทหารและพลเรือน ผลัดเปลี่ยนเวรมาฝึกหัดยิงปืนใหญ่ไว้สำรองราชการ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 18:36
ในรัชกาลที่ 3  พระราชภารกิจสำคัญของเจ้าฟ้าน้อย สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ คือ 2 เรื่องนี้ อาจมีเรื่องอื่นๆอีก ต้องขอแรงท่านอื่นช่วยเล่าด้วย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:41
ขอบพระคุณท่านที่ให้ความสนใจในกระทู้ที่แล้วและท่านอาจารญ์เทาชมพูที่ขยายขอบเขตเรื่องราวมาต่อกันในกระทู้นี้ ผมเองหลังจากที่เข้ามาเห็น ยังตั้งตัวไม่ทันที่จะพิมพ์อะไรยาวๆออกไปตามให้ทันขบวนได้ จึงขอใช้เครื่องทุ่นแรงก่อนเป็นอันดับแรก

พระราชประวัติย่อที่ผมสแกนนำมาลงไว้นี้ มาจากหนังสือที่ระลึก ปกติจะทำขึ้นแจกผู้ที่มาถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระทำเป็นประจำทุกปีในวันที่๗มกราคม เล่มนี้ไม่ปรากฏนามผู้เรียบเรียงครับ ผมเห็นว่าจะมีประโยชน์ในการปูเรื่อง เพื่อให้นักศึกษารุ่นใหม่ที่เข้ามาหาความรู้ในเรื่องของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯจะไม่สับสนเรื่องอะไรเกิดก่อนเกิดหลัง ส่วนรายละเอียดบางช่วงบางตอนอันเนื่องในพระราชประวัติของพระองค์ อาจมีท่านที่สนใจจะขยายความอยู่แล้ว


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:42
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:43
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:45
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:47
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:51
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:52
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:54
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 18:56
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 19:01
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 19:02
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 19:06
.


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 19:10
จบย่อพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเท่าที่บันทึกในเอกสารของไทยครับ
คราวนี้เราจะมาขยายความตรงไหนกันดี

ผมขออนุญาตพักยกก่อนครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 19:52
พระราชกรณียกิจที่คุณ Navarat สแกนมาให้ดูกัน ดิฉันถือว่าเป็นข้อสรุปได้ชัดเจนแล้วค่ะ

ส่วนที่ถามว่าจะขยายความตรงไหนดี  ก็แล้วแต่คุณ Navarat สะดวกค่ะ  ขยายความตรงไหน หรือเพิ่มเรื่องใหม่เข้าไป ก็ได้ทั้งนั้น
กรอบกว้างๆคือคุยกันเรื่องสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ

ดิฉันอยากพูดถึงแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย   ในตำราปืนใหญ่    แต่ก่อนจะถึง ขอเล่าเกร็ดเรื่องภาษาอังกฤษกับหูชาวสยามให้ฟังก่อน
นายทหารอังกฤษที่มารับราชการไทยก่อนน็อกซ์  ชื่อร้อยเอกอิมปีย์ ( Captain Impey)   ในการฝึกทหาร   เขาออกคำสั่งใช้ภาษาอังกฤษ  ต่อมาทหารไทยยุคนั้นก็ออกคำสั่งทหารตามภาษาที่ได้ยินจากอิมปีย์ เรื่อยมาตลอดรัชกาลที่ ๔
จนทหารรุ่นนั้นชรากันแล้ว มาออกคำสั่งกับทหารรุ่นหลัง   ทหารไทยรุ่นหลังฟังไม่ออก
คำสั่งว่าอย่างนี้
"สะเปร โบขะลัม  พรหมะ  สันตา ตุสันตา"
ภาษาอังกฤษข้างบนนี้ คือคำอังกฤษว่าอะไรเอ่ย?


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 11, 20:32
เคยทราบครับ แต่ตอนนี้นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก

จำได้อีกว่าคำสั่งทหารฝึกแบบอีหรอบนี่ มีอีกคำสั่งหนึ่งคือ

อินทร์ ปะสันตา พรหม ปะสันตา

ตอนเฉลย กรุณาช่วยเฉลยข้างบนด้วยนะครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 20:56
เคยทราบครับ แต่ตอนนี้นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก

จำได้อีกว่าคำสั่งทหารฝึกแบบอีหรอบนี่ มีอีกคำสั่งหนึ่งคือ

อินทร์ ปะสันตา พรหม ปะสันตา

ตอนเฉลย กรุณาช่วยเฉลยข้างบนด้วยนะครับ

รอความหวังจากคุณ siamese  เผื่้อจะมีเฉลยในตำราปืนใหญ่ ฉบับของคุณ
คำข้างบนนี้ ดิฉันถอดได้แค่คำว่า อินทร์  พรหม  กับ สันตา  

ถามอีกทีว่ามีพากย์ภาษาไทยของเพลง The Midnight Bride ที่ถอดออกมาเป็นอักษรไทย  ไหมคะ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 21:46
ตำนานปืนใหญ่ที่ทรงแปล  ตอนที่ ๑ เป็นประวัติ หรือทรงเรียกว่า "ตำนาน"   ทรงแปลว่า

" แต่ก่อนคนโบราณนั้นยังหารู้จักทำปืนทำดินไม่เลย   และมีเครื่องอาวุธอยู่อย่าง ๑ สำหรับใช้รบแทนปืน  ภาษาอังกฤษเรียกว่า มิละตารีแอนแยน(Military Engine)"


คำทับศัพท์เหล่านี้ อ่านแล้วน่าสนุก  ที่สนุกคือถ้าไม่มีภาษาอังกฤษกำกับไว้  ก็น่าจะเอามาทายกันดูว่าตรงกับคำว่าอะไร เช่น

"จึงมีคนชาติอังกฤษคนหนึ่งชื่อว่า ราชจาเบกกัน"  และคนๆนี้เป็นคนมีสติปัญญามาก  คิดกระทำดินปืนขึ้นใช้ได้ก่อนบุคคลอื่นทั้งปวงในวิลาศทุกๆชาติฝรั่ง

ยังมีคนหนึ่งอีกชื่อว่า สะวอษ   อยู่ในเมืองแยระมานี    และคนๆนี้เป็นบาทหลวงพวกอะละมาร    เขาว่าบาทหลวงคนนี้เป็นผู้คิดกระทำดินปืนได้ก่อนบุคคลผู้อื่นทั้งปวง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 22:00
เคยทราบครับ แต่ตอนนี้นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก

จำได้อีกว่าคำสั่งทหารฝึกแบบอีหรอบนี่ มีอีกคำสั่งหนึ่งคือ

อินทร์ ปะสันตา พรหม ปะสันตา

ตอนเฉลย กรุณาช่วยเฉลยข้างบนด้วยนะครับ

รอความหวังจากคุณ siamese  เผื่้อจะมีเฉลยในตำราปืนใหญ่ ฉบับของคุณ
คำข้างบนนี้ ดิฉันถอดได้แค่คำว่า อินทร์  พรหม  กับ สันตา  

ถามอีกทีว่ามีพากย์ภาษาไทยของเพลง The Midnight Bride ที่ถอดออกมาเป็นอักษรไทย  ไหมคะ

นั่งอ่านไปก็ขำไปกับภาษาไทยที่พยาพยามออกเสียงอย่างต่างประเทศ เช่น ฝาศุภเรส เป็นต้น ในตำราปืนใหญ่มีคำดังนี้
1. มิลิตารี แอนแยน
2. พวกอะละมาน
3. ราชจาเบกกัน
4. วิลาศพุทธเกษ
5. ลุอิส
6. เฟิมเดโอดะออบฝะมาจ์
7. เรกเฟกวิกมาจ์
8. ดิตันฉะแมนเรีย
9. ฮอละฟะรัน
10.ฟะรันเทิน
11. ซิษสะแฟยะริง
12. อินณุวะระเบาเฟ
13. ปัศตัน
คือถ่ายทอดมาทั้งคำสั่งแบบอังกฤษเลย  ;D



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 22:05
ดิฉันอ่านพบคำสั่งภาษาอังกฤษออกสำเนียงไทยแล้ว ใน ตำนานปืนใหญ่     แต่ยังไม่เจอคำปริศนาของคุณนวรัตน  คงจะต้องฝากคุณ siamese ไว้ตามเดิมให้ช่วยเฉลย
คำที่เจอ แล้วลอกมาให้อ่าน   อยากจะให้สมาชิกเรือนไทยที่เป็นทหาร (เผื่อจะมีเข้าสักคน) หรือใครที่มีเพื่อนฝูงเป็นทหารพอสอบถามกันได้ ช่วยถอดออกมา   ดูซิว่าในยุคนี้ยังพอเดาได้หรือไม่

สมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

บทที่ ๑   ว่า  ทหารยืนเข้าสองแถวอยู่ข้างหน้าปืนแล้วเมื่อไร     นายทหารบอกบังคับว่า "เฟิมเดโอดะออบฝะมาจ์   คนที่เป็นเลข ๑ นั้นก็บอกว่า "เรกเฟกวิกมาจ์  คนที่เป็นเลข ๒ เลข ๓ นั้นเปิดแถวออกเป็นปากชนางแล้วก็พากันเดินออกไป  ถ้าคนใดไปถึงที่ของตัวให้หยุดอยู่    คนใดที่ยังไม่ถึงที่ยืนก็ให้เดินต่อไปจนถึงที่ยืนของตัวแล้วจึงหยุด    เมื่อจะหันกลับไปข้างหน้านั้น  ให้กลับให้พร้อมกัน...

บทที่ ๒ ว่า พวกทหารทั้งปวงมายืนเข้าสองแถวอยู่ข้างหลังปืน หรืออยู่ข้างซ้ายปืน   หรืออยู่ข้างขวาปืนนั้นก็ดี   เมื่อใดนายทหารบอกบังคับว่า "เฟิมเดโอดะออบฝะมาจ์  คนที่เป็นเลข ๑ ก็บอกว่า " เลบเฟกวิกมาจ์"[/color]
ถ้าม้ว่าพวกทหารยืนเข้าสองแถวอยู่ข้างท้ายปืน หรืออยู่ข้างขวาปืนนั้น  ก็ให้เดินไปพร้อมกันแล้วมาเข้าที่เป็นนั้นเถิด"


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 22:07
คุณ siamese มีตำราปืนใหญ่เหมือนกัน อ่านออกหมดทุกคำแล้ว  
ดิฉันกำลังรอว่าใครจะควบม้าขาวมาเฉลย   รอสัก ๓ วัน ถ้าไม่มีใครแล้วจะมาไขปริศนา
ก่อนหน้าเปิดหนังสือเล่มนี้มาปัดฝุ่น   เคยอ่านเจอคำว่า พุทธเกศ  ปัศตัน  วิลาศ ฝาศุภเรศ  หันแตร   พอรู้ว่าหมายถึงอะไร
แต่คำสั่งเหล่านี้ ถอดรหัสยังไงก็ถอดไม่ออก 

ป.ล.อยากจะนั่งยานเวลากลับไปได้ยินกับหู  เวลานายทหารออกคำสั่ง และทหารในแถวขานรับคำสั่ง   จริงๆ  ;D


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 22:17
ตำนานเรือรบไทย โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เรือกลไฟ
 มีปรากฎในจดหมายเหตุของพวกมิชชันนารีอเมริกัน กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยุ่หัว เมื่อครั้งยังเป็น
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ได้หมอจันดเลเป็นผู้ช่วย ทรงพยายามทำหม้อและเครื่องจักรต่อเรือกลไฟ
ขึ้นได้ลำ ๑ เมื่อรัชกาลที่ ๓ แต่ว่าเปนเรือแล่นพอแล่นได้ จะใช้การหาได้ไม่ .."

จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเรียนรู้วิทยาการด้านเครื่องจักรเป็นอย่างมาก


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 22:20
จัดภาพกองทหารวังหน้า ภาพทหารปืนใหญ่จะได้ ออฟเซิฟ กันถึงยุคถึงสมัย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 11, 22:36
^
รูปข้างบนนี้ ทหารปืนใหญ่ ไม่สวมรองเท้าหรือคะ?

สงสัยว่าทหารวังหน้าแต่งกายแบบทหารปืนใหญ่ของอังกฤษสมัยวิกตอเรียนหรือเปล่า    ไปหารูปดูก็ยังไม่เจอ  เจอแต่รูปนี้ค่ะ

(http://farm4.static.flickr.com/3506/3260102619_d7c278cc29.jpg)




กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 11, 22:44
ใช่ครับ ไม่ได้ใส่เกือกบาทาแต่อย่างใด แม้ว่าเลยมาถึงพลตระเวน (หัวแดงแข้งดำ) ก็เท้าเปล่าเช่นกัน


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 07:42
ในรัชกาลที่๔นั้น แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จะทรงมอบพระราชภาระให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงศึกษาและจัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปรับปรุงกองทัพไทยให้ทันสมัยตามแบบยุโรปไปแล้ว แต่ในส่วนพระองค์ ยังทรงสนพระทัยในเรื่องปืนใหญ่อยู่มาก จึงทรงจัดกองปืนใหญ่อาสาญวนขึ้นใหม่เพื่อทดแทนกองปืนใหญ่อาสาญวนที่โอนไปขึ้นกับวังหน้า เมื่อคณะราชทูตไทยเดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษและ ฝรั่งเศส จึงมีพระราชหัตถเลขารับสั่งถึงจมื่นไวยวรนาถ(วร บุนนาค) ซึ่งอยู่ในคณะทูตความว่า

“....ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถเอาใจใส่เสาะหาซื้อปืนอย่างหนึ่ง เรียกว่า อามสตรอง ซึ่งเป็นปืนใหญ่บรรจุข้างท้าย มาให้ข้าพเจ้าเล่นเองเป็นปืนทองเหลืองย่อม ๆ กระสุนตั้งแต่นิ้วหนึ่งขึ้นไปสองนิ้ว ลงมาสักกระบอกหนึ่ง ว่าเขาใช้อย่างไร แต่ก่อนนี้ไปเข้าได้สั่งปืนรบเนอกัมปนีให้เขาหามาให้ เขาก็ได้หามาให้ข้าพเจ้า เป็นปืนนิคแคมปาเตน กระบอกหนึ่งแล้ว ปืนนั้นข้าพเจ้าเอายิงเล่นเองก็ได้ ไม่น่ากลัวเหมือนปืนบรรจุทางปาก และบรรจุนวนไฟวุ่นวาย เพราะปืนนั้น ไฟข้างหลังไม่เห็นเลย ในลำกล้องปืนกระสุนกว้างนิ้วหนึ่ง ยาว 3 นิ้ว กระสุนแตกอย่างยาโกบก็มีมาด้วย ปืนนี้ยิงได้เร็ว 15 เซกันยิงได้นัดหนึ่ง ปืนอามสตรอง ถ้าเล็ก ๆ ไม่มี ก็จะคิดสั่งให้เขาทำขึ้นเป็นดังของเล่น เช่น ปืนรบเนอกัมปนีที่สั่งนั้นเถิด ปืนกระบอกนี้ รางก็เป็นทองเหลืองหล่อหนักสองหาบทั้งบอก เป็นงามนัก ราคา 1000 เหรียญเล็ก... ”  

ปืนอาร์มสตรองที่จมื่นไวยวรนารถสั่งเข้ามาครั้งนั้น มาถึงในปลายรัชกาลที่๔ บรรจุเข้าใช้ในราชการของวังหลวง ภาพที่เห็นเป็นสมัยรัชกาลที่๕ เมื่อ ปืนนี้ได้ใช้ออกศึกในสงครามปราบฮ่อจริงๆ โดยก่อนไปมีการชักรูปกันไว้เป็นประวัติศาสตร์


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 07:46

มีปืนใหญ่แบบอื่นๆ ที่ยิงกระสุนลูกแตก ไปในการศึกครั้งนี้ด้วย
ในรูปนี้ชื่อปืนใหญ่ทองเหลืองปากบาง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 07:56
รูปที่คุณหนุ่มสยามนำมาลงไว้นั้น เป็นหมู่ปืนใหญ่ภูเขาบรอดเวล

ไม่ทราบว่าเป็นหน่วยทหารที่โอนมาจากวังหน้าในสมัยรัชกาลที่๕หรือเปล่า


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 07:58
หน่วยทหารปืนใหญ่ อุลเคเชียส หรือ สตีลบรอนล์


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 08:07
เอารูปทหารราบมาลงไว้ด้วย

เครื่องแบบพลทหาร เฉพาะเสื้อกางเกงเท่านั้นที่เป็นผ้า ส่วนใต้ลงไป ใช้หนังแท้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 08:10
พวกฮ่อกลัวปืนเหล่านี้มาก เพราะสามารถบรรทุกไปบนหลังช้างได้ อานุภาพกระสุนลูกแตก ทำลายล้างสูงและมีความรวดเร็วในการยิง
ทหารฝึกหัดแบบยุโรปนี้สามารถปราบศึกฮ่อที่ยืดเยื้ออยู่ลงได้อย่างราบคาบ

ฮ่อคือใคร เรื่องราวของสงครามปราบฮ่อเป็นอย่างไร ไม่ใช่เรื่องจะมาขยายความในกระทู้นี้ ผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาต่อได้ตามลิงค์นี้เลยครับ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD

ในภาพเป็นนายทหารจากหัวเมืองฝ่ายเหนือแต่งเครื่องแบบเต็มยศ ในสงครามครั้งนี้ครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 09:02
ผมยังหาคำสั่งทหารที่ว่า อินทร์ปะสันตา พรหมปะสันตา ไม่เจอ เจอแต่ตัวอย่างเหล่านี้ครับ

แจนจะฟะโรน ท่านว่าคือ Change Front
เรกเฟ ท่านว่าคือ Right Face
เตกโปษแอดเกิน ท่านว่าคือ Take Post At Gun
กวิกมาจ์ ท่านว่าคือ Quick March   


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 11, 10:26
ว่าจะพอเรื่องนี้แล้ว  แต่ไปเจอเกล็ดนี้มา เลยต้องขอเข้าซอยคำสั่งทหารอีกสักหน่อย


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัดพวกโขลนขึ้นเป็นทหาร แต่งตัวเสื้อแดง กางเกงแดง เสื้อมีชายยาวถึงเข่า หมวกแก๊ปสูง เรียกว่าทหารจิงโจ้  คำว่าจิงโจ้ ไทยเราใช้ศัพท์นี้เรียกสัตว์ประหลาด ต่อมาก็เรียกตัว Kangaroo ของออสเตรเลียที่ดูว่าประหลาดเพราะมีกระเป๋าใหญ่โตที่ท้องสำหรับใส่ลูก ว่าจิงโจ้ด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเองทรงเห็นใครแต่งตัวโคร่งๆ ก็จะทรงเปรียบกับจิงโจ้ เช่น ในพระราชหัตถเลขา ตรัสเล่าตอนหนึ่งว่า "ขุนนางลังกามาคอยรับ แต่งจิงโจ้ท้องโตเต็มที"  คือแขกลังกาเวลาแต่งเต็มยศ จะนุ่งผ้าหลายชั้น ทำให้ท้องโตออกมา

ในพระราชนิพนธ์ โคลงดั้น เรื่องโสกันต์ ทรงกล่าวถึงทหารจิงโจ้ว่า

จิงโจ้ยืนเรียบร้อย              ริมถนน
เสื้อจีบชายกระจาย      สุกจ้า
ถือปืนทั่วทุกคน      พล่องแพล่ง
นายดาบเดินด้อมถ้า      ถ่องถนน

ขบวนเดินเป็นระเบียบคล้อย   คลาไป
พิณพาทย์ทุกวงตี      สนั่นก้อง
จิงโจ้เมื่อถึงใคร      คำนับ
เสียงจิงโจ้กัดร้อง      เร่าเร้ารุมระงม
      
"จิงโจ้กัด" ไม่ใช่กิริยาที่ทหารหญิงจะใช้ในการต่อสู้ แต่เป็นการทำความเคารพ เพราะคำสั่งที่พวกนี้ใช้บอกทหาร จะแปลกกว่าทหารอื่นๆ คือแทนที่จะใช้ว่า วันทยาวุธ ก็บอกว่า"จิงโจ้กัด"  ดังที่กล่าวไว้ใน โคลงบาทสุดท้ายข้างต้น และแทนที่จะใช้ คำว่า บ่าอาวุธ ก็ใช้ว่า "จิงโจ้หยุด" และแทนที่จะ บอกว่า เรียบอาวุธ ก็สั่งว่า "จิงโจ้นอน" ดังนี้เป็นต้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ม.ค. 11, 10:45
ขอบคุณมากครับ อ.NAVARAT.C  ผมสังเกตุหรือเคยได้รับรู้มาว่า เรื่องปืนประจำกายนั้น ด้ามเป็นไม้ ลำกล้องเหล็ก คงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจะเป็นการติดต่อจากนายหันแตร (Mr. Hunter) นำปืนจากทหารอินเดียหรือจากทางมาเก๊า เอามาให้เราใช้กันแน่ แต่ที่แน่ๆนั้นเป็นปืนที่ทำขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยหน่วยทหารแห่งจักรวรรดิ์นิยม


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 11, 20:53
ผมยังหาคำสั่งทหารที่ว่า อินทร์ปะสันตา พรหมปะสันตา ไม่เจอ เจอแต่ตัวอย่างเหล่านี้ครับ

แจนจะฟะโรน ท่านว่าคือ Change Front
เรกเฟ ท่านว่าคือ Right Face
เตกโปษแอดเกิน ท่านว่าคือ Take Post At Gun
กวิกมาจ์ ท่านว่าคือ Quick March   


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3296.0;attach=15661;image)

มาเฉลยทีละข้อ

"สะเปร โบขะลัม  พรหมะ  สันตา ตุสันตา"
Spread both columns  from center to center



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 11, 22:02
ตำนานปืนใหญ่ที่ทรงแปล  ตอนที่ ๑ เป็นประวัติ หรือทรงเรียกว่า "ตำนาน"   ทรงแปลว่า

" แต่ก่อนคนโบราณนั้นยังหารู้จักทำปืนทำดินไม่เลย   และมีเครื่องอาวุธอยู่อย่าง ๑ สำหรับใช้รบแทนปืน  ภาษาอังกฤษเรียกว่า มิละตารีแอนแยน(Military Engine)"


คำทับศัพท์เหล่านี้ อ่านแล้วน่าสนุก  ที่สนุกคือถ้าไม่มีภาษาอังกฤษกำกับไว้  ก็น่าจะเอามาทายกันดูว่าตรงกับคำว่าอะไร เช่น

"จึงมีคนชาติอังกฤษคนหนึ่งชื่อว่า ราชจาเบกกัน"  และคนๆนี้เป็นคนมีสติปัญญามาก  คิดกระทำดินปืนขึ้นใช้ได้ก่อนบุคคลอื่นทั้งปวงในวิลาศทุกๆชาติฝรั่ง

ยังมีคนหนึ่งอีกชื่อว่า สะวอษ   อยู่ในเมืองแยระมานี    และคนๆนี้เป็นบาทหลวงพวกอะละมาร    เขาว่าบาทหลวงคนนี้เป็นผู้คิดกระทำดินปืนได้ก่อนบุคคลผู้อื่นทั้งปวง

เฉลย
ราชจาเบกกัน   = Richard Bacon
วิลาศ            =  Europe
สะวอษ          =  Schwartz
แยระมานี        = คงเดากันได้ไม่ยาก  Germany
อะละมาร         = เดายากมาก   German   (ทำไมไม่เป็น แยระมาร  ก็ไม่ทราบ)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ม.ค. 11, 22:34
เคยทราบครับ แต่ตอนนี้นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก

จำได้อีกว่าคำสั่งทหารฝึกแบบอีหรอบนี่ มีอีกคำสั่งหนึ่งคือ

อินทร์ ปะสันตา พรหม ปะสันตา

ตอนเฉลย กรุณาช่วยเฉลยข้างบนด้วยนะครับ

รอความหวังจากคุณ siamese  เผื่้อจะมีเฉลยในตำราปืนใหญ่ ฉบับของคุณ
คำข้างบนนี้ ดิฉันถอดได้แค่คำว่า อินทร์  พรหม  กับ สันตา  

ถามอีกทีว่ามีพากย์ภาษาไทยของเพลง The Midnight Bride ที่ถอดออกมาเป็นอักษรไทย  ไหมคะ

นั่งอ่านไปก็ขำไปกับภาษาไทยที่พยาพยามออกเสียงอย่างต่างประเทศ เช่น ฝาศุภเรส เป็นต้น ในตำราปืนใหญ่มีคำดังนี้
1. มิลิตารี แอนแยน
2. พวกอะละมาน
3. ราชจาเบกกัน
4. วิลาศพุทธเกษ
5. ลุอิส
6. เฟิมเดโอดะออบฝะมาจ์
7. เรกเฟกวิกมาจ์
8. ดิตันฉะแมนเรีย
9. ฮอละฟะรัน
10.ฟะรันเทิน
11. ซิษสะแฟยะริง
12. อินณุวะระเบาเฟ
13. ปัศตัน
คือถ่ายทอดมาทั้งคำสั่งแบบอังกฤษเลย  ;D



เฉลยเช่นกัน

1. มิลิตารี แอนแยน = Military engine
2. พวกอะละมาน = German
3. ราชจาเบกกัน = Richard Bacon
4. วิลาศพุทธเกษ = Portugal
5. ลุอิส = Louis
6. เฟิมเดโอดะออบฝะมาจ์ = From the order of march
7. เรกเฟกวิกมาจ์ = Left
8. ดิตันฉะแมนเรีย = Detachment rear
9. ฮอละฟะรัน = Halt, Front
10.ฟะรันเทิน = Front turn
11. ซิษสะแฟยะริง = cease firing
12. อินณุวะระเบาเฟ = Inward about face
13. ปัศตัน =Pistol


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 08:07
อ้างถึง
7. เรกเฟกวิกมาจ์ = Left

7. เรกเฟกวิกมาจ์ = Left Quick March


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 08:23
^
คุณ Navarat เคยถอดไว้เองค่ะ 

อ้างถึง
เรกเฟ ท่านว่าคือ Right Face
กวิกมาจ์ ท่านว่าคือ Quick March  


เรกเฟกวิกมาจ์   Right Face Quick March

ตรงข้ามกับ เลบเฟกวิกมาจ์ (Left face Quick March)


เหลือแต่คำนี้  ยังถอดไม่ได้ครบ

อินทร์ ปะสันตา พรหม ปะสันตา
In ....center from ....center

ปะสันตา  ปะ แทนอะไรที่เกี่ยวกับ center  ยังนึกไม่ออก


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 09:09
ได้ดูภาษาเขียนสำเนียงไทยจากภาษาอังกฤษในสมัยรัชกาลที่๔มาจนมึนพอสมควรแล้ว
คราวนี้มาลองดูเขียนอังกฤษจากสำเนียงไทยบ้าง

นี้คือตัวอย่างพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีไปถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ น่าสนใจที่พี่น้องสองพระองค์จะมีหนังสือส่วนพระองค์ที่ทรงเขียนถึงกันในวิธีนี้ (ไม่ทราบตั้งแต่เมื่อไหร่ ด้วยพระประสงค์อันใด)

ที่น่าสนใจคือลายพระหัตถ์ ที่บรรจง เป็นระเบียบอ่านง่ายกว่าที่คนยุคคอมพิวเตอร์เขียนมาก
ส่วนเนื้อความ ท่านลองอ่านดูก่อน ผิดถูกอย่างไร ประเดี๋ยวผมจะเฉลย เอาแค่ที่ขยายนะครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 09:12
และนี่ คือพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงมีไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

ลายพระหัตถ์ของพระองค์เป็นที่เลื่องลือว่าประหนึ่งคัดลายมือ แบบที่เรียกว่าอาลักษณ์ทำอะไรไม่ได้เลย

ลองชม และตีความดูครับ ต้นฉบับไม่ชัดเท่าไหร่ ผมพยายามแต่งเต็มที่แล้ว


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 09:40
อยากอ่านมาก  เสียดายว่าพระราชหัตถเลขาที่สแกนมา ดิฉันเห็นไม่ชัด   เซฟรูปไปขยายแล้วก็ยิ่งพร่า
อ่านออกอยู่บรรทัดแรก  May it please your Majesty   ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

 พอถึงบรรทัดที่ 2  เข้าใจว่าเป็นคำไทยสะกดด้วยภาษาอังกฤษ
ส่วนพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ช่างน่าอัศจรรย์   ตัวอักษรงาม เรียบเท่ากันและช่องไฟสม่ำเสมอ จนดิฉันนึกว่าเป็นตัวพิมพ์ดีด   เคยเห็นพิมพ์ดีดเก่ารุ่นหนึ่ง แกะพิมพ์เป็นตัวคัดลายมือบรรจงแบบนี้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 11, 10:13
อยากอ่านเช่นกันครับ ตราพระราชลัญจกรแบบยุโรป ก็เป็นที่น่าสนใจเช่นกันครับ ผมอ่านได้แค่ "..... Of King Of Siam" เนื้อน้ำหมึกสีฟ้า


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 11, 10:19
และพระราชลัญจกรแบบยุโรป ในการเจรจาทางการค้ากับอเมริกา ระหว่างประธานาธิบดีแฟรงกิ้น กับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีตราประทับเดียวกัน เนื้อสีครั่ง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 11, 10:58
ลองแกะคำอ่านดูได้คร่าวๆดังนี้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 11, 11:00
ลองค้นหาพิกัดละติจูด ลองติจูด ที่กล่าวถึงในพระราชหัตถเลขา กลายว่าตรงกับกลางอ่าวไทย ตรงเครือ่งหมายบวก 

ซึ่ง มีการกล่าวถึง "บ้านอ่างหิน" จะหมายถึง อ่างศิลา หรือไม่ ? ซึ่งดูจากทิศพิกัดแล้วคงเป็นการตรัสถึงการเดินทางโดยทางเรือ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 11:43
ผมใช้เวลาทั้งเช้า แกะลายพระราชหัตถเลขาออกมาได้ดังนี้ ขอเชิญท่านถอดความต่อ
อันนี้ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

May it please your Majesty.

Xan ock pai chack wang hlung wan sua reem kham nung wela bai Sam Mong (10th and at 3 o’ck.) pai thung tha ban Ang hin wela 11 P.M. wan nan thot smo’ yu thin nan to xau leeu chung dai khung pai bon bock du kan tham it sai (sandy bricks) nai thi leeu dai wat deet du longitude 13 ° 20 ' 13 4 '' N. lee latitude dai hen wa latitude nai thi nan pen longitude 100 ° 54 ' 36 ' ' East Greenwich.

To His Majesty the Second King of Siam


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 11:44
อันนี้ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ


May it please your Majesty.
Kha mom xan dai krap thawai bang khom la ox chak Krungthap tang tae na Athid duan 7 ram 1 kham wela yen (Sunday 16th., at 6 P.M.) Khiun ma thung Ban Sitha na wan ram 2 kham wela klang khiun pra man sak 5 thum set (june 17th., at 11 P.M.) lae rub phra ratxa than khiun ma khang ni tong dirn thang rue chuing xa pai duai dirn thang bog pen khlon mag dirn har dai mai pho khiun ma thung ko pho phob phuak maung Roi et khum au xang Si pra lat long ma thun klaw thun kha mom thawai xang 1 ma phac yu thi lung reiun kha mom xan  lae kha mom xan dai rub xai klow xai kha mom pai du wat xana sut sung 3 sok 7 niu hu hang rub…

เดี๋ยวหายตาแฉะแล้วจะมาเฉลยต่อครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 11, 11:56
ผมใช้เวลาทั้งเช้า แกะลายพระราชหัตถเลขาออกมาได้ดังนี้ ขอเชิญท่านถอดความต่อ
อันนี้ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

May it please your Majesty.

Xan ock pai chack wang hlung wan sua reem kham nung wela bai Sam Mong (10th and at 3 o’ck.) pai thung tha ban Ang hin wela 11 P.M. wan nan thot smo’ yu thin nan to xau leeu chung dai khung pai bon bock du kan tham it sai (sandy bricks) nai thi leeu dai wat deet du longitude 13 ° 20 ' 13 4 '' N. lee latitude dai hen wa latitude nai thi nan pen longitude 100 ° 54 ' 36 ' ' East Greenwich.

To His Majesty the Second King of Siam


แกะออกมาให้ได้ความดังนี้ ถูกผิดก็ติเตียนได้ครับ  ;D


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 11, 12:10
อีกฉบับหนึ่ง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 12:12
ไม่บังอาจติเตียนหรอกครับ กรุณาอ่านเองเลย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 12:15
ฉบับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯครับ



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 13:13
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3175.0;attach=13056;image)

ขอบคุณสำหรับคำเฉลย ทันเวลา  มิฉะนั้นดิฉันคงหลอนไปอีกหลายวัน  เหมือนเคยหลอนกับสะพานบางลำพูมาแล้ว   ;)

มิน่า อ่านเท่าไรก็ไม่ออกว่าเป็นคำอังกฤษว่าอะไร
การเทียบอักษรฝรั่งกับตัวสะกดภาษาไทยในพระราชหัตถเลขา น่าศึกษามาก
ทั้งสองพระองค์ทรงสะกด ฉัน ว่า Xan   ใช้ X = ฉ  ไม่ได้ทรงใช้ ch อย่างเวลาเราถอดเพลงคาราโอเกะสมัยนี้
ส่วน ch อย่างในคำว่า chack = จาก  ใช้แทนเสียง จ
น่าจะเป็นการถอดจากอักษรโรมันมากกว่าอังกฤษ

ในพระราชหัตถเลขาตอบจากสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ทรงสะกดแบบเดียวกัน คือ x=ฉ  ch= จ

May it please your Majesty.
Kha mom xan dai krap thawai bang khom la ox chak

น่าสังเกตว่า Kh ใช้แทนทั้ง ก  และ ค
Kha mom xan = ก(ร)ะหม่อมฉัน
bang khom    =  บังคม

แต่มีบางคำที่สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงสะกดแตกต่างจากสมเด็จพระจอมเกล้า  คือคำว่า ออก
สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงสะกดว่า ock
แต่สมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงสะกดว่า ox 


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 15:16
พระราชหัตถเลขาที่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่๔ทั้งสองพระองค์มีถึงกันเป็นส่วนพระองค์นั้น แสดงถึงความรัก ความผูกพันระหว่าพี่กับน้องร่วมพระครรภ์ ในขณะเดียวกัน ได้แสดงถึงความยอมรับนับถืออย่างชัดเจนว่าใครเป็นที่หนึ่งและใครเป็นรอง ภาษาที่เลือกใช้ ทรงเลือกที่จะสื่อกันด้วยภาษาไทยที่สะกดด้วยภาษาอังกฤษแบบ Romanization ดังที่ท่านอาจารย์เทาชมพูตั้งข้อสังเกตุไว้แล้วนั้น

โดยเนื้อหาของจดหมายทุกฉบับ เป็นการบอกกล่าวสารทุกข์สุขดิบซึ่งกันและกัน หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่ประสพ หรือการแสดงสัมพันธภาพอื่นๆ เช่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงแจ้งพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อช่วยพระราชอนุชาสร้างวัดที่วังสีทา หรือการที่ทรงแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบถึง “ของฝาก” ที่ทรงนำมาถวายจากการประพาศหัวเมือง เป็นต้น แม้บางครั้งจะเป็นเพียงทุเรียนกวน๒ห่อก็ตาม

คำขึ้นต้นและคำลงท้ายก็น่าสนใจ แม้จะทรงใช้คำขึ้นต้นอย่างกับเป็นทางการว่า “To His Majesty the First King of Siam”  หรือ “ To His Majesty the Second King of Siam” และตามด้วยบรรทัดที่ว่า “May it please Your Majesty” ตามรูปแบบของภาษาอังกฤษแท้ๆ แต่ในเนื้อหานั้น ทรงเลือกใช้สรรพนามของพระองค์เอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จะทรงใช้คำว่า ฉันและท่าน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงใช้คำสรรพนามแทนพระองค์ว่า “เกล้ากระหม่อม”

คำลงท้ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จะทรงใช้ว่า “ This from Your Majesty’s very affectionate brother” อันแปลตรงตัวว่า “นี่จากพระบรมเชษฐาผู้รักยิ่งของพระองค์”
ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะทรงใช้ว่า “Your Majesty’s most obedient and humble servant” อันแปลตรงตัวว่า “จากข้ารับใช้ที่เชื่อฟังและต่ำต้อยของพระองค์” หรือจะแปลให้ไพเราะห์แบบไทยๆก็ได้ว่า “จากข้าพระบาทที่จงรักภักดีของพระองค์”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงลงพระนามว่า “ S.P.P.M. Mongkut (สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงลงพระนามว่า S.P.Pawarendrarames, (สมเด็จพระปวเรนทราเมศ)




กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 15:31


ได้ดูภาษาเขียนสำเนียงไทยจากภาษาอังกฤษในสมัยรัชกาลที่๔มาจนมึนพอสมควรแล้ว
คราวนี้มาลองดูเขียนอังกฤษจากสำเนียงไทยบ้าง

นี้คือตัวอย่างพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีไปถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ น่าสนใจที่พี่น้องสองพระองค์จะมีหนังสือส่วนพระองค์ที่ทรงเขียนถึงกันในวิธีนี้ (ไม่ทราบตั้งแต่เมื่อไหร่ ด้วยพระประสงค์อันใด)


ได้ข้อสันนิษฐานมาอีก ๒ ข้อ จากพระหัตถเลขา ความเป็นภาษาไทย ที่สะกดด้วยอักษรโรมัน
๑  เป็นการทดลองของนักปราชญ์ ๒ พระองค์ว่า อักษรฝรั่งสามารถเอามาเขียนภาษาไทย  แทนอักษรไทย ได้หรือไม่    ทำให้นึกถึงบางประเทศเช่นอินโดนีเซีย ใช้อักษรอังกฤษในภาษาเขียนของเขา
๒  ไม่มีพระราชประสงค์ให้คนอื่นได้ล่วงรู้เห็นความในพระราชหัตถเลขา   
    การใช้ภาษาอังกฤษ ปลอดภัยพอๆกับเขียนด้วยรหัสลับ   เพราะข้าราชบริพารไทยก็อ่านภาษาฝรั่งไม่ออก   ฝรั่งในสยามก็อ่านความในภาษาไทย เต็มกลืนพอกัน

อาจมีผู้ค้านว่า พระราชหัตถเลขา ที่ส่งกันไปมานี้ก็เนื้อความธรรมดา เล่าเรื่องส่วนพระองค์เล็กๆน้อยๆ ไม่เห็นจะมีความลับตรงไหน แต่อย่าลืมว่านี่คือตัวอย่างเดียวเท่านั้น   เราไม่มีทางรู้ว่าพระราชหัตถเลขาที่เป็นเรื่องลับมีหรือไม่  อาจจะมีก็ได้
เพราะถ้าทรงสื่อสารกันด้วยภาษาที่มีคนรู้น้อยมาก พ่วงด้วยเนื้อความที่อ่านยากหนักขึ้นไปอีก  ก็เป็นได้ว่าถ้ามีเรื่องลับ หรือเรื่องด่วนที่จะต้องทรงส่งถึงกัน ไม่ให้ใครลักลอบเปิดอ่านกลางทาง   วิธีนี้น่าจะใช้ได้ผล


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 17:19
^
^
ผมก็ยังมองไม่เห็นเหตุผลอื่นนอกจากการพยายามปกปิดเรื่องที่ทรงเขียนถึงกัน จากบรรดาผู้ที่พยายามสอดรู้สอดเห็นในสมัยนั้น ไม่แน่เหมือนกัน บางทีอาจจะทรงใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ครั้งยังเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า เพื่อสื่อสารระหว่าง๑พระกับ๑โยม


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 17:34
ในเมื่อคุณ Navarat เห็นด้วย  ดิฉันก็เลยขอเดาในทางเดียวกันว่า น่าจะมีการสื่อสารทำนองนี้กันมาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๓     เพราะทั้งสองพระองค์ต่างก็เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ยังดำรงพระยศเจ้าฟ้า     ถ้าจะทรงฝึกอักษรอังกฤษแบบโรมัน ก็ไม่จำเป็นต้องรอมาจนรัชกาลที่ ๔  ทรงเรียนใหม่ ๆ ไฟกำลังแรง น่าจะทดลองกันได้ตั้งแต่ตอนนั้น
ในรัชกาลที่ ๓ อันตรายมีอยู่ใกล้เจ้าฟ้าทั้ง ๒ พระองค์   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรมหลวงรักษ์รณเรศที่จ้องจับผิดพระธรรมยุติกนิกายไม่ละลด  ส่วนเจ้าฟ้าน้อยก็มีเรื่องพระลครที่ไปเกลี้ยกล่อมซ่องสุมผู้คนมาเป็นข้าเจ้าฟ้า      ก็ยังดีที่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มิได้ทรงลงพระอาญาเจ้าฟ้า  ตัดหัวพระลครไปคนเดียว
ดังนั้นทรงติดต่ออะไรกัน   ก็น่าจะให้ปลอดภัยจากการคนที่สามรู้เห็น ได้มากที่สุด


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 17:51
วิธีนี้ อาจจะเริ่มกันเล่นๆแบบเด็กๆที่เรียนภาษาอังกฤษมาด้วยกัน แล้วชักจะแตกฉาน
จนเป็นเรื่องเป็นราว สามารถนำมาใช้ได้จริงๆเมื่อจำเป็นโดยไม่ขัดเขิน

และคงจำเป็นต้องใช้ด้วย (ดังสมมติฐานข้างต้น)

ปกติ ถ้าโตๆกันแล้วมีคนมาเขียนถึงเราโดยวิธีนี้ และให้โต้ตอบด้วยวิธีเดียวกันด้วย เราคงจะกระดากกระเดื่องไม่น้อยนะครับ
แสดงว่า ทรงปฏิบัติต่อกันมานานจนเป็นปกติวิสัย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 18:04
น่าจะทรงคล่องกันทั้งสองฝ่ายค่ะ   
สังเกตจากประโยคที่ทั้งสองพระองค์ทรงใช้  ล้วนแต่ยาวๆกันทั้งนั้น  แสดงว่าไม่จำเป็นต้องประหยัดถ้อยคำ แบบเกรงพระทัยอีกฝ่ายว่าทรงอะไรยาวๆจะถอดเสียงไม่ออก    เลยต้องรวบรัดให้กระชับเข้าไว้   
พระราชหัตถเลขา มีลักษณะให้เห็นว่าจะทรงใช้คำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น    แน่พระทัยว่าผู้รับไม่ทรงรำคาญ  และทรงอ่านเสียงได้ออกทุกคำ   ก็คงจะเคยชินในการรับส่งกันมามากแล้ว

ถ้าไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะเจริญรอยตามพระราชนิยมในเรื่องนี้  ไม่ใช่แค่กระดากกระเดื่องอย่างเดียวเท่านั้น  คงเขียนได้ลำบากลำบนมากๆด้วยค่ะ
Nai  ja mai chai phasa kong rao, nai ja kian lum bag , tong koy kid wa sakod yang rai, jing mai kha?


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ม.ค. 11, 20:44
jing krabbbbb


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 11, 22:33
ขอพูดถึงพระปรีชาทางด้านภาษาอีกหน่อย  ก่อนจะไปเรื่องพระราชกรณียกิจอื่นๆต่อไป

ในพระนิพนธ์ ความทรงจำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  ทรงเอ่ยถึงพระปรีชาทางภาษาของสมเด็จพระปิ่นเกล้าว่า

"เมื่ออังกฤษให้เซอร์เจมส์ บรุ๊ค เป็นทูตเข้ามาในตอนปลายรัชกาลที่ ๓    หนังสือที่มีไปมากับไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นคราวแรก   ข้างฝ่ายไทยไม่มีผู้ชำนาญภาษาอังกฤษ   ต้องอาศัยมิชชันนารีอเมริกันชื่อ มิสเตอรโจนส์ (เรียกกันว่าหมอยอนส์) คน ๑ กับฝรั่งครึ่งชาติชื่อเจมสเฮส์ (เรียกกันว่าเสมียนยิ้ม)อีกคนหนึ่ง ซึ่งไม่ชำนาญภาษาไทย  เป็นผู้แปลและแต่งภาษาอังกฤษแล้วให้ส่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เรียกในจดหมายเหตุว่า ทูลกระหม่อมพระ) ทรงตรวจทุกฉบับ     พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในสมัยนั้นอีกพระองค์ ๑    แต่คงเป็นเพราะไม่ทรงทราบลึกซึ้งถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   จึงไม่ปรากฏว่าได้มีหน้าที่ช่วยตรวจหนังสือที่มีไปมากับเซอรเจมส"

ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับข้อที่ว่า สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไม่ค่อยจะทราบภาษาอังกฤษลึกซึ้งเท่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  คิดว่าสองพระองค์น่าจะทรงรู้ภาษาอังกฤษไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

เซอร์เจมส์ บรุ๊คเข้ามาในสยามเมื่อพ.ศ. 2393  ส่วนเซอร์จอห์น เบาริงเข้ามาหลังจากนั้นอีกแค่ 4 ปี  ในพ.ศ. 2397   ในบันทึก เขาเล่าเมื่อได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯว่า โปรดนิยายของชาร์ลส์ ดิกเกนส์ เรื่อง Pickwick Papers   ในพระที่นั่งอิศเรศฯ ก็มีห้องสมุดและตู้หนังสือ   บรรยากาศเหมือนเข้าไปอยู่ในบ้านผู้ดีอังกฤษ   
ถ้าออกปากชมกันขั้นนี้ก็แสดงว่าหนังสืออังกฤษที่ทรงอ่าน มีอยู่มากทีเดียว  ไม่ใช่แค่สิบยี่สิบเล่ม
นอกจากนั้น Pickwick Papers เป็นหนังสือตลก     ตลกชนิดหัวร่อกันงอหายสำหรับฝรั่้งอังกฤษ     เราก็รู้ๆกันว่าเรื่องขำของแต่ละชาติไม่เหมือนกัน   อะไรที่อังกฤษขำ  คนไทยหรือจีนหรืออินเดียอาจจะเฉยๆ ทำนองเดียวกัน   เรื่องขำของคนไทย ฝรั่งก็อาจงงๆก็ได้ว่าไม่เห็นตลกตรงไหน
เพราะฉะนั้นใครอ่านเรื่อง Pickwick Papers แล้วขำได้   ก็ต้องแตกฉานไม่เฉพาะแต่ภาษา แต่เข้าใจวัฒนธรรมฝรั่งด้วย   จะเป็นได้ต่อเมื่อได้ทรงศึกษากับฝรั่งด้วยความเอาพระทัยใส่ทั้งภาษาและวัฒนธรรม และทรงรู้ภาษาขั้นดีทีเดียว     

Pickwick Papers มีให้อ่านได้ในเน็ตค่ะ  อยากรู้ว่าอ่านยากง่ายแค่ไหน  ก็ลองไปหาอ่านดู


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 00:19
อ้างถึง
ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับข้อที่ว่า สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไม่ค่อยจะทราบภาษาอังกฤษลึกซึ้งเท่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  คิดว่าสองพระองค์น่าจะทรงรู้ภาษาอังกฤษไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

จดหมายเหตุในรัชกาลที่๓ เรื่องเซอรเจมสบรุ๊คเข้ามาทำสัญญา  มีความตอนหนึ่งว่า

“การครั้งนี้ก็เป็นการฝรั่ง  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์  ทราบอย่างธรรมเนียมฝรั่งมาก  ควรจะเอาเปนที่ปฤกษาใหญ่ได้  ก็แต่ว่าติดประจำปืนอยู่ที่เมืองสมุทรปราการ   จมื่นไวยวรนารถเล่า ก็เปนคนทันสัดในอย่างธรรมเนียมฝรั่ง  ก็ลงไปรักษาเมืองสมุทรปราการอยู่  แต่ทว่าเห็นจะได้พูดจาปฤกษาหาฤๅกับเจ้าพญาพระคลังแล้ว  ก็เห็นจะถูกต้องกันกับเจ้าพญาพระคลัง  ยังแต่พญาอุไทยธรรมราช  ก็เปนบุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราชอายุก็เป็นผู้ใหญ่อยู่บ้า ง สารพัดจะรู้การครั้งเจ้าพญานครศรีธรรมราชเจราจากับฝรั่งทุกสิ่งทุกประการ  ก็ต้องลงไปอยู่เมืองสมุทรปราการ  ให้พญาศรีพิพัฒน์แต่งคนดีมีสติปัญญาเข้าใจความ  เชิญกระแสพระราชดำริห์ลงไปปฤกษา เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พญาอุไทยธรรมราชที่เมืองสมุทรปราการ  พญาสูรเสนาที่เมืองเขื่อนขันธ์ด้วย  แลกระแสพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยที่อยู่กรุงเทพฯ แลที่ลงไปรักษาราชการอยู่ ณ เมืองสมุทรปราการ เมืองนครเขื่อนขันธ์ก็ดี  ให้ประชุมปฤกษาหาฤๅจงพร้อมมูลปรองดองกัน  อย่าได้ถือทิฐิมานะเกี่ยงแย่งให้เสียราชการไป”  


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 00:25
ส่วนข้อความนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงท่านทรงนิพนธ์ขึ้นเองครับ       

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรแล้ว  ยังต้องทรงกังวลด้วยเรื่องราชทูตอังกฤษมาขอแก้สัญญาเป็นพระราชภาระอันใหญ่ยิ่ง  อีกทั้งเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งทรงวางพระราชหฤทัยและพอจะรับราชการสนองราชกิจเรื่องนี้ได้  ต้องติดภารกิจสำคัญน้อยใหญ่มิได้อยู่ประจำพระนครใกล้ชิดพระองค์  ให้เป็นเครื่องพออุ่นพระหฤทัยได้เลย  จะทรงเหลียวทางใดย่อมทรงอ้างว้างวิตกในพระราชหฤทัยเป็นธรรมดา   ครั้งนั้นได้อาศัยอาศัยมิชชันนารีอเมริกันชื่อมิสเตอร์ โจนส์  ที่เรียกกันในพื้นเมืองนี้ว่า Dr.ยอนส์คน ๑  กับฝรั่งครึ่งชาติชื่อ เจมสเฮส์  ซึ่งเรียกกันว่า เสมียนยิ้ม อีกคน ๑  ซึ่งทั้ง ๒ คนก็ไม่ชำนาญภาษาไทย  เป็นผู้แปลและแต่งภาษาอังกฤษ  แล้วส่งไปถวายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระวชิรญาณ  ซึ่งเรียกในจดหมายเหตุเรื่องเซอรเจมสบรุ๊คเข้ามาทำสัญญาว่า “ทูลกระหม่อมพระ” ทรงตรวจทุกฉบับ   การส่งภาษาตอบโต้ในการทูตครั้งนั้นจึงเป็นไปได้โดยสะดวก  และอุ่นพระราชหฤทัยปลดเปลื้องพระราชภาระครั้งนี้ไปได้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 00:33
อ้างถึง
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในสมัยนั้นอีกพระองค์ ๑    แต่คงเป็นเพราะไม่ทรงทราบลึกซึ้งถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   จึงไม่ปรากฏว่าได้มีหน้าที่ช่วยตรวจหนังสือที่มีไปมากับเซอรเจมส

ส่วนข้อความในล้อมกรอบนี้ไม่ทราบว่าปรากฎขึ้น โดยใครไปแต่งเสริมให้สมเด็จท่านหรือเปล่า

ถ้าจะให้ผมตีความนะครับ ผมเชื่อว่าตอนเจรจาร่างสัญญาอะไรกันนั้น ท่านให้ไปปรึกษาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และพญาอุไทยธรรมราช เพราะเป็นเรื่องของฆราวาส เขาจะเชือดเฉือนกันเรื่องผลประโยชน์ หาใช่กิจของสงฆ์ไม่
เมื่อการเจรจาลงตัวแล้ว สัญญาร่างขึ้นมาเสร็จสรรพ เหลือเพียงความถูกต้องในเรื่องของการแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นไทย ถูกผิดอย่างไร อันนี้พระแก้ได้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

และยังถือเป็นการถวายเกียรติครบทั้งสองพระองค์ในฐานะบุคคลสำคัญด้วย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 07:30
เจมส์ บรูค เกิดที่เมืองพาราณสี ประเทศอินเดียในปัจจุบัน แต่ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนนอร์วิชในอังกฤษ ต่อมาบรุคได้เดินทางไปรบกับพม่าพร้อมกับกองทหารของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้รับบาดเจ็บ จึงถูกส่งตัวกลับไปพักฟื้นที่อังกฤษ เมื่อหายดีแล้วจึงได้กลับมาใหม่ เริ่มต้นพยายามทำการค้าแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนเมื่อบิดาเสียชีวิตลง ทิ้งมรดกให้บรูคถึง 30,000 ปอนด์ จึงได้ลงทุนซื้อเรือสกูนเนอร์ ที่ต่อแบบใหม่ติดอาวุธมีความเร็วสูง ตั้งชื่อว่า"เดอะรอยัลลิสต์"แล้วออกเดินทางไกลไปจนถึงเกาะบอร์เนียว เหมือนหนังฮอลิวูดเลยที่ตอนนั้นชาวเมืองกำลังก่อกบฎ ต่อต้านสุลต่านแห่งบรูไนอยู่พอดี บรูคได้จังหวะเข้าสอดแทรกและเสนอตนเป็นคนกลาง เพราะทุกฝ่ายเกรงอำนาจกองทหารอังกฤษที่เขาจ้างให้มากับเรือ ทำให้การเจรจาสงบศึกเป็นผลสำเร็จ สุลต่านต้องยกรัฐซาราวัคให้ปกครอง โดยแต่งตั้งบรูคให้ดำรงตำแหน่ง ราชาแห่งซาราวัค มีสมญานามว่า “The White Raja of Sarawak”

บรูคเริ่มวางรากฐานปูอำนาจของตนไปทั่วซาราวัก ปฏิรูประบบบริหาร แก้ไขปรับปรุงกฎหมายปราบปรามโจรสลัดซึ่งเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องไปตลอดเวลาที่บรูคปกครอง เมื่อเดินทางกลับอังกฤษเป็นการชั่วคราวในพ.ศ. 2390 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการและผู้บัญชาการทหารแห่งลาบวน ได้เป็นกงสุลทั่วไปของอังกฤษแห่งบอร์เนียว และได้รับพระราชทานเหรียญตราเป็นอัศวินชั้นบาธ ใช้คำนำหน้านามว่าท่าน"เซอร์" ตั้งแต่บัดนั้น

ในปีพ.ศ. 2393 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรูค เดินทางเข้ามาขอแก้ไขสัญญาเบอร์นี่กับไทย ซึ่งอังกฤษต้องการให้ไทยยกเลิกระบบการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า ขอให้ไทยลดภาษีปากเรือจากวาละ 1,700 บาท เหลือ 500 บาท และห้ามเก็บค่าธรรมเนียมอื่นใดอีก ขอให้กงสุลอังกฤษเข้ามาร่วมพิพากษาคดีความที่เกิดกับคนในบังคับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิพิเศษอีกหลายข้อ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์กับอังกฤษทั้งสิ้น ขณะที่ไทยเห็นว่าข้อตกลงในสัญญาเบอร์นี่ มีความเหมาะสม อังกฤษได้รับผลประโยชน์มากอยู่แล้ว ถ้าไทยยอมแก้ไขสัญญาให้สิทธิพิเศษแก่อังกฤษมากไป จะทำให้ชาติอื่นๆ ถือเป็นแบบอย่าง ทำตามอังกฤษบ้าง ดังนั้น การเจรจาจึงไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเซอร์ เจมส์ บรูค กลับไปถึงสิงคโปร์ ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษใช้กำลังทหารบีบบังคับไทยให้ยอมแก้ไขสัญญา แต่รัฐบาลอังกฤษไม่เห็นชอบ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษจึงเป็นไปตามสนธิสัญญาเบอร์นีที่จัดทำขึ้นในปี 2369
 
ในปี พ.ศ. 2394 เซอร์ เจมส์ บรูค ถูกกล่าวว่าใช้อำนาจในทางที่ผิด และถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนที่โปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากสิงคโปร์ แม้จะพ้นข้อหา แต่เหตุการณ์ก็ได้หลอกหลอนเขาอยู่ตลอดเวลาจนเส้นโลหิตในสมองแตก  เซอร์ เจมส์ บรูคเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2411
 
เซอร์ เจมส์ บรูคมีทัศนคติที่ไม่ดีกับคนไทยเท่าไร ถ้าคนๆนี้ยังมีอำนาจต่อไป ไม่โดนการเมืองเล่นงานอ่วมอยู่ที่สิงคโปร คนไทยคงได้เจอเรือรบอังกฤษเข้ามาย่ำยีแน่ๆ  แต่ในขณะที่เขียนรายงานตำหนิโน่นนี่ ก็ยังอุตส่าห์ชมเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ แต่ผมพิเคราะห์แล้วคงจะไม่ได้พบกัน เซอร์ เจมส์ บรูคอาจได้ข้อมูลนี้มาจากพวกฝรั่งที่เป็นล่ามฝ่ายไทยนั่นเอง



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 08:51
อ้างถึง
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในสมัยนั้นอีกพระองค์ ๑    แต่คงเป็นเพราะไม่ทรงทราบลึกซึ้งถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   จึงไม่ปรากฏว่าได้มีหน้าที่ช่วยตรวจหนังสือที่มีไปมากับเซอรเจมส

ส่วนข้อความในล้อมกรอบนี้ไม่ทราบว่าปรากฎขึ้น โดยใครไปแต่งเสริมให้สมเด็จท่านหรือเปล่า


ในหนังสือที่ดิฉันลอกมาให้อ่าน บอกว่ามาจาก ความทรงจำ ตอน ๒  พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ค่ะ
อาจเป็นฉบับที่ไม่ได้ตัดทอนข้อความนั้นออกไป


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 09:50
นั่นแน่ เจอแล้วครับ ต้นตอมาจากคุณกัมม์ คนชอบพอกันกับผมอีกท่านหนึ่งนี่เอง

http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/
www.pantip.com/cafe/library/topic/K5312615/K5312615.html

    ประเด็นเรื่อง "ความสามารถทางภาษาอังกฤษ"

         ....เรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาฝรั่ง ปรากฎว่าเริ่มทรงศึกษาภาษาละตินก่อน ด้วยเมื่อเสด็จประทับอยู่วัดราชธิวาส เขตวัดติดต่อกับวัดคอนเซปชั่น Immaculate Conceptiovn Church ของพวกโรมันคาทอลิก และเวลานั้นสังฆราชปาลกัวต์ยังเป็นบาทหลวงอธิการของวัดนั้นชอบไปเฝ้าทูลถามภาษาและขบนธรรมเนียมไทยเนืองๆจนทรงคุ้นเคย จึงโปรดฯให้สอนภาษาละตินถวายเป็นทำนองแลกเปลี่ยนความรู้กั จะได้ทรงศึกษาอยู่ตลอดเวลาสักเท่าใดและถึงเพียงไหนก็ไม่ปรากฎ แต่สังเกตในลายพระราชหัตถเลขาเมื่อเสวยราชย์แล้ว มักทรงใช้ศัพท์ภาษาละตินเนืองๆ เห็นได้ว่าทรงทราบไวยกรณ์ของภาษานั้น แต่การที่ทรงศึกษาภาษาละตินคงหยุดเมื่อเสด็จย้ายจากวัดราชาธิวาส แต่ภาษาอังกฤษยนั้นเสด็จกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศฯแล้วหลายปี จึงได้เริ่มทรงศึกษาต่อมิชชั่นนารีอเมริกัน....  

 .....พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับมิสเตอรแคสเวล จนสามารถจะอ่านเขียนและตรัสภาษาอังกฤาได้สะดวกดียิ่งกว่าใครๆ ที่เป็นไทยด้วยกันในสมัยนั้นทั้งสิ้น ข้อนี้มีหลักฐานปรากฎเมื่อรัฐบาลอังกฤษให้เซอรเจอมสบรุ๊คเป็นทูตเข้ามาเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓ หนังสือที่มีไปมากับไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นคราวแรก เวลานั้นข้างฝ่ายไทยไม่มีผู้ชำนาญภาษาอังกฤษ ต้องใช้มิชชันนารีอเมริกันชื่อ มิสเตอร์โจน (เรียกกันว่า "Dr.ยอนส์") คน ๑ กับฝรั่งครึ่งชาติชื่อเจมสเฮส์(เรียกกันว่า "เสมียนยิ้ม") อีกคน ๑ ซึ่งไม่ชำนาญภาษาไทย เป็นผู้แปลและแต่งภาษาอังกฤษ แล้วส่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เรียกในจดหมายเหตุว่า "ทูลกระหม่อมพระ") ทรงตรวจทุกฉบับ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในสมัยนั้นอีกพระองค์ ๑ แต่คงเป็นเพราะไม่ทรงทราบอย่างลึกซึ้งถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงไม่ปรากฎว่ามีหน้าที่ช่วยตรวจหนังสือที่มีไปมากับเซอรเจมสบรุ๊ค

         .....วิชาความรู้ต่างๆที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาจากตำราภาษาอังกฤษจะมีอย่างใดบ้าง ข้อนี้มีหลักฐานปรากฏว่าได้ทรงศึกษาวิชาคนาวิธีอย่าง ๑ วิชาโหราศาสตร์อย่าง ๑ ประวัติศาสตร์อย่าง ๑ กับการเมืองด้วยอีกอย่าง ๑ การที่ได้ทรงศึกษาวิชาคณนาวิธีและโหราศาสตร์ ปรากฏในเรื่องสุริยอุปราคาที่กล่าวมาแล้วในตอนก่อน การที่ทรงศึกษาประวัติศาสตร์ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ปรากฏอยู่ในหนังสือ เซอรจอน เบาริ่ง แต่งว่า เมื่อจะเป็นอัครราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีใน พ.ศ. ๒๓๙๘ นั้น เกรงไทยจะรับรองไม่สมศักดิ์ ด้วยทูตอังกฤษมที่เคยเข้ามากรุงเทพฯแต่ก่อน เป็นแต่ทูตของอุปราชในอินเดีย หรือทูตของรัฐบาลอังกฤษ แต่เซอรจอน เบาริ่ง เป็นอัครราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาแต่งพระองค์สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย จะต้องให้รับผิดกัน เซอรจอน เบาริ่ง ค้นหาแบบอย่างที่ไทยเคยรับาชทูตของพระเจ้าแผ่นดิน พบในหนังสือเก่าเล่าเรื่องสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับ เชอเลีย เดอ โชมอง ราชูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘ เอารายการในหนังสือนั้นมาเปรียบเทียบ ข้างฝ่ายไทยในเวลานั้นไม่มีใครรู้แบบแผน เพราะตำราสูญเสียแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบพระองค์เดียว เพราะได้หนังสือพงศาวดารการเกี่ยวข้องในระหว่างไทยกับฝรั่ง ที่ฝรั่งแต่งไว้แต่โบราณ ทรงคาดใจเซอร จอน เบาริ่ง ว่าคงปรารถนาจะให้รับรองผิดกับทูตอังกฤษที่มาแล้วแต่ก่อน จึงโปรดฯให้เอาแบบอย่างครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับราชทูตฝรั่งเศสมาใช้เป็นระเบียบ ก็ถูกใจ เซอรจอน เบาริ่ง ไม่มีทางที่เกี่ยงงอนได้.....


ในรัชกาลที่ ๓  เรื่องหนังสือต่างประเทศ  โปรดฯให้ปรึกษาเจ้าฟ้าพระโดยตลอด  และเป็นกำลังสำคัญพระองค์หนึ่งในแผ่นดินสมเด็จพระเชษฐาธิราช  ส่วน "ฟ้าน้อย" พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ปรากฏว่าได้ทรงปรึกษาราชการต่างประเทศด้วยเรื่องภาษาเลยครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ม.ค. 11, 10:06
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเองก็ยอกรับว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นั้นทรงกว้างขวางกว่าพระองค์ ดังพระราชหัตถเลขา เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง ถึงพระยามนตรีสุรยวงศ์ และเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี ในเรื่องเจรจาซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 10:26
นั่นแน่ เจอแล้วครับ ต้นตอมาจากคุณกัมม์ คนชอบพอกันกับผมอีกท่านหนึ่งนี่เอง

http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/
www.pantip.com/cafe/library/topic/K5312615/K5312615.html


ดิฉันไม่ได้เอามาจากคุณกัมม์ แต่เอามาจากหนังสือเรื่อง ข้อมูลประวัติศาสตร์บางเรื่อง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางพวง ปราบอังวะ
สังเกตดูว่าข้อความก็เกือบจะเป็นพิมพ์เดียวกันกับที่คุณ Navarat ยกมา  แต่ไม่มีประโยคเกี่ยวกับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ    คุณ Navarat ได้มาจากหนังสือเล่มไหนคะ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 11:20
อ้างถึง
แต่ไม่มีประโยคเกี่ยวกับสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ    คุณ Navarat ได้มาจากหนังสือเล่มไหนคะ

ประโยคไหนครับ
ส่วนใหญ่ ผมก็ค้นๆมาจากในเวปนี้เอง แต่ก็ไม่ได้สนใจจะให้เครคิตใคร เพราะที่เห็นๆก็ลอกๆกันมาจนไม่ทราบว่าต้นตอจริงๆที่ควรจะได้รับเครดิตนั้นคือใคร

แต่เอาเถอะ เราผ่านไปคุยกันเรื่องอื่นดีกว่ากระมังครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 11:26
มาต่อกันที่เซอร์ จอห์น เบาวริงสักหน่อย

คนไทยเราส่วนใหญ่รู้จักเซอร์ จอห์น เบาวริงในแง่บวก ทั้งๆที่เขาเข้ามทำให้เราตกอยู่ในสัญญาเสียเปรียบในเรื่องผลประโยชน์อย่างมากมาย กว่าจะมาดิ้นหลุดได้ในสมัยรัชกาลที่๖ ก็อีก๗๐ปีให้หลัง  ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะที่เขาทำให้ฝันร้ายว่าเมื่อไหร่อังกฤษจะมาเชือดเรา อย่างกับที่ทำกับพม่าและจีนเสียทีนั้น ยุติลงได้
 
เมื่อครั้งเซอร์ เจมส์ บรูก กลับบ้านไปมือเปล่า ได้อาฆาตไว้ว่าจะส่งกองเรือรบอังกฤษมากรุงเทพอีกครั้งหนึ่งนั้น มีหรือที่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง๒พระองค์จะไม่ทรงได้รับทราบ ความเคลื่อนไหวของอังกฤษที่สื่อเอามาตีพิมพ์ในสิงคโปร คงจะได้ผ่านสายพระเนตรท่านด้วย การที่รัฐบาลอังกฤษยังไม่ทำอะไรไทยตามความต้องการของท่านเซอร์ ก็เพราะว่ายังยุ่งกับสงครามฝิ่นในจีนมากกว่า จีนตอนนั้นเป็นหมูอ้วน สิงโตอังกฤษจ้องจะฟัดอยู่ให้จมเขี้ยว สยามเป็นกระต่ายตัวน้อย มาวิ่งไล่ก็เปลืองแรง ถึงฆ่าได้ก็กินไม่อิ่ม


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 11:33
พอทำสงครามฝิ่นกับจีนครั้งแรกจบลง อังกฤษก็พร้อมที่จะเชคบิลกับสยามเสียที

รัฐบาลทางลอนดอนสั่งเซอร์ จอห์น เบาวริง ให้คุมเรือรบอังกฤษแล่นมาสู่สยาม โชคดีทีสยามผลัดแผ่นดินแล้ว ข่าวแพร่ออกไปว่า เจ้าฟ้ามงกุฏและพระอนุชา ผู้ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของฝรั่งทั้งหลายได้สืบราชสมบัติแทนพระมหากษัตริย์ที่ทรงตั้งข้อรังเกียจชาวตะวันตก ด้วยความยินยอมพร้อมใจกันของข้าราชการไทยที่มีหัวก้าวหน้า มีความรู้ในเรื่องของชาวตะวันตกทั้งปวง เซอร์ จอห์น เบาวริงจึงไม่อยากจะผลีผลาม

เมื่อมาเจอกับท่าทีที่เป็นมิตรอย่างยิ่งของสยาม และเซอร์ จอห์น เบาวริงก็ได้ทุกอย่างที่อังกฤษต้องการโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ จึงเป็นสิ่งที่น่ายินดีของทั้งสองฝ่าย ทางคนไทยนั้นก็โล่งใจ สามารถนอนหลับยาวๆโดยไม่ต้องฝันร้ายไปได้อย่างน้อยก็อีกสักระยะหนึ่ง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 11:41
คนไทยไม่ได้ปอดกองเรือของอังกฤษจนเกินเหตุหรอกครับ เซอร์ จอห์น เบาวริงเองแกก็ไม่ค่อยชอบคนเอเซียนักหรอก ใจแกก็ร้ายไม่หยอก กลับจากเมืองไทยไปโดยที่ไม่ได้ยืดเส้นยืดสาย ถึงเมืองจีนแกก็หาเรื่องเล่นงานคนจีนทีเดียว

ตอนนั้นเซอร์ จอห์น เบาวริง เป็นข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำประเทศจีน ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เกาะฮ่องกงที่บังคับเช่ามาจากจีนเมื่อชนะสงครามฝิ่นครั้งแรก ถูกกดดันจากพวกพ่อค้าให้เสนอขอแก้ไขสนธิสัญญานานกิงกับข้าหลวงตรวจการของจีนประจำเมืองกวางตุ้ง คือจะเอาประโยชน์เพิ่มอีก จีนจึงไม่สนใจจะเจรจาด้วย อังกฤษจึงต้องรอจังหวะที่หาเรื่อง พอดีเกิดกรณีที่ตำรวจชายฝั่งของจีนเข้าจับกุมเรือต้องสงสัยว่าเป็นโจรสลัดและค้าของเถื่อน เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ.2399

 เรือลำนี้ชื่อ “แอร์โรว์”  ซึ่งเป็นเรือของตั๊วเฮียจีนแต่ติดธงอังกฤษ กงสุลของอังกฤษในเมืองกวางตุ้ง(กวางเจา)ได้รับคำสั่งจากฮ่องกงให้ประท้วงจีน เรียกร้องให้ปล่อยเรือและลูกเรือทันที อ้างว่าเรือดังกล่าวจดทะเบียนในฮ่องกงถือเป็นสัญชาติอังกฤษ จีนไม่มีสิทธิตรวจค้นตามสนธิสัญญาที่เพิ่งกระทำกัน และให้รัฐบาลจีนขอโทษอย่างเป็นทางการ พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะไม่ละเมิดสิทธิ์ของอังกฤษอีก จีนตอบไปว่าตอนจับกุมไม่ยักเห็นว่ามีธง แต่อังกฤษยืนยันว่ามี แต่ถูกตำรวจจีนฉีกทำลาย การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินไปอย่างเข้มข้น สุดท้ายจีนจำใจยอมปล่อยตัวลูกเรือทั้ง12คน แต่ไม่ยอมออกหนังสือขอโทษอย่างเป็นทางการ

เซอร์ จอห์น เบาวริง ข้าหลวงใหญ่อ้างเป็นเหตุเพียงเล็กน้อยนี้ ประกาศว่ากรณีพิพาทไร้ข้อยุติ และกระทำการอันป่าเถื่อนไร้คุณธรรม ด้วยการออกคำสั่งให้กองเรือรบอังกฤษวิ่งขึ้นไปในแม่น้ำ และให้เรือทุกลำยิงปืนใหญ่ถล่มใส่เมืองกวางตุ้งทุกๆสิบนาที จนกว่ารัฐบาลจีนจะยอมแพ้ การทำลายล้างคนจีนอย่างโหดเหี้ยมเริ่มจาก23 ตุลาคมนั้นเอง ไปจนถึง13พฤศจิกายน จึงหยุดยิง  ในการนี้ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสส่งกองเรือรบเข้ามาผสมโรงถล่มจีนด้วย หวังที่จะขอแบ่งเค๊กก้อนใหญ่ จีนเองก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายและพลเรือนจีนต้องเสียชีวิตบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก ศึกครั้งนี้ยืดเยื้อข้ามปี ในที่สุดอังกฤษและฝรั่งเศสถือเป็นโอกาสทอง ส่งกำลังทหารเข้าทำลายกรุงปักกิ่งและพระราชวังต้องห้ามอย่างยับเยิน รัฐบาลจีนจึงยอมให้สัตยาบันในการร่างสนธิสัญญาเทียนสินใน พ.ศ.2401


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 12:16
เซอร์ จอห์น เบาวริงเขียนบันทึกถึงพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองคืด้วยทัศนคติที่ดี เป็นเหตุหนึ่งที่คนอังกฤษไม่กล้าทำอะไรรุนแรงกับไทยอย่างที่ทำกับจีน ในส่วนที่เขายกย่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯนั้น ผมได้เอ่ยถึงไปบ้างแล้วในกระทู้นี้ ข้อความในหนังสือที่คัดมา เป็นเพียงบทสรุป


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 12:44
อ้างถึง
เซอร์เจมส์ บรุ๊คเข้ามาในสยามเมื่อพ.ศ. 2393  ส่วนเซอร์จอห์น เบาริงเข้ามาหลังจากนั้นอีกแค่ 4 ปี  ในพ.ศ. 2397   ในบันทึก เขาเล่าเมื่อได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯว่า โปรดนิยายของชาร์ลส์ ดิกเกนส์ เรื่อง Pickwick Papers   ในพระที่นั่งอิศเรศฯ ก็มีห้องสมุดและตู้หนังสือ   บรรยากาศเหมือนเข้าไปอยู่ในบ้านผู้ดีอังกฤษ   
ถ้าออกปากชมกันขั้นนี้ก็แสดงว่าหนังสืออังกฤษที่ทรงอ่าน มีอยู่มากทีเดียว  ไม่ใช่แค่สิบยี่สิบเล่ม
นอกจากนั้น Pickwick Papers เป็นหนังสือตลก     ตลกชนิดหัวร่อกันงอหายสำหรับฝรั่้งอังกฤษ     เราก็รู้ๆกันว่าเรื่องขำของแต่ละชาติไม่เหมือนกัน   อะไรที่อังกฤษขำ  คนไทยหรือจีนหรืออินเดียอาจจะเฉยๆ ทำนองเดียวกัน   เรื่องขำของคนไทย ฝรั่งก็อาจงงๆก็ได้ว่าไม่เห็นตลกตรงไหน
เพราะฉะนั้นใครอ่านเรื่อง Pickwick Papers แล้วขำได้   ก็ต้องแตกฉานไม่เฉพาะแต่ภาษา แต่เข้าใจวัฒนธรรมฝรั่งด้วย   จะเป็นได้ต่อเมื่อได้ทรงศึกษากับฝรั่งด้วยความเอาพระทัยใส่ทั้งภาษาและวัฒนธรรม และทรงรู้ภาษาขั้นดีทีเดียว     

Pickwick Papers มีให้อ่านได้ในเน็ตค่ะ  อยากรู้ว่าอ่านยากง่ายแค่ไหน  ก็ลองไปหาอ่านดู

มีชาวอังกฤษอีกคนหนึ่ง ชื่อ เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประสพการณ์ชีวิตของตนในสยาม และกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไว้พอสมควร ลองอ่านดูครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 12:45
แยกซอยไปหาประวัติเซอร์จอห์น เบาว์ริง (วิกิสะกดอย่างนี้)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Sir_John_Bowring_by_John_King.jpg/250px-Sir_John_Bowring_by_John_King.jpg)

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เกิดที่เมืองเอ็กซเตอร์แห่งจังหวัดเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นเด็กหัวดีเรียนเก่ง สามารถพูดได้ถึง 10 ภาษาหลัก ๆ ในยุโรปทั้งหมดรวมถึงจีนกลาง เริ่มเขียนบทความลงใน "Westminster Review” นิตยสารวิเคราะห์เศรษฐกิจ ต่อมาในปี 2368 ได้ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และได้ย้ายไปเนเธอร์แลนด์เรียนจบแพทย์และกฎหมายจากมหาวิทยาลัยกรอนิงเกน (University of Groningen) ต่อมาได้เป็นสมาชิกของสภา Kilmarnock Burghs จากนั้นได้รับการแต่งตั้งไปเจรจาทางการค้ากับฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ซีเรีย และเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้เป็นตัวแทน การเจรจาทางการค้ากับจีนที่เมืองกวางจูในปี 2392 หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก็ขึ้นเป็นข้าหลวงอังกฤษประจำฮ่องกง เมื่อฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หลังจีนพ่ายแพ้ใน "สงครามฝิ่นครั้งที่ 2” และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองฮ่องกง ในปี 2398

เบาว์ริงได้เชิญพระราชสาสน์ในสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม สัญญาฉบับนั้นคือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย  ผลเสียคือสยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล เกิดสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้คนอังกฤษและคนในบังคับของอังกฤษไม่ต้องขึ้นศาลไทย   แม้ทำผิดไม่ว่าอาญาหรือแพ่ง ไทยก็ไม่อาจลงโทษได้   นอกจากนี้สัญญาเบาริงทำให้การค้าเสรี    ถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของสยาม
แต่ผลดีของสนธิสัญญาก็มี คือทำให้สยามรอดปลอดภัยมาได้จากเป็นอาณานิคม   ไม่ถูกอังกฤษใช้กำลังยึดเอาดื้อๆอย่างที่เคยทำกับพม่า     และผลพลอยได้คือการค้าต่างประเทศเฟื่องฟูขึ้นมาก  ทำรายได้เข้าประเทศมากกว่าระบบผูกขาดการค้าอย่างเมื่อก่อน

สยามปฏิบัติกับเบาว์ริงอย่างเป็นมิตร  ในต้นรัชกาลที่ 5 เบาว์ริง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และทวีปยุโรป มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2404 เบาว์ริงย้ายไปเป็นตัวแทนทางการค้าที่อิตาลี และอีกหลายประเทศในยุโรป เบาว์ริงเสียชีวิตเมือวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 12:46
ขอจบเรื่องของ เฟรเดอริค อาร์เธอร์ นีล ครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 12:54
ใครสนใจ หาอ่านPickwick Papers ได้ที่นี่ค่ะ

http://www.online-literature.com/dickens/pickwick/1/


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 13:34
^
^
แหะ ๆ เข้าไปอ่านแล้ว

ท่านอาจารย์น่าจะแปลไว้ให้ด้วยนะขอรับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 13:47
^
^
ยังหาบันไดปีนขึ้นไปได้ไม่ถึงค่ะ

and, in another hour, Mr. Pickwick, with his portmanteau in his hand, his telescope in his greatcoat pocket, and his note-book in his waistcoat, ready for the reception of any discoveries worthy of
being noted down, had arrived at the coach-stand in St.  Martin's-le-Grand.

'Cab!' said Mr. Pickwick.

'Here you are, sir,' shouted a strange specimen of the human race, in a sackcloth coat, and apron of the same, who, with a brass label and number round his neck, looked as if he were catalogued in some collection of rarities. 
This was the waterman.  'Here you are, sir.  Now, then, fust cab!'  And the first cab having been fetched from the public-house, where he had been smoking his  first pipe, Mr. Pickwick and his portmanteau were thrown into the vehicle.

'Golden Cross,' said Mr. Pickwick.

'Only a bob's vorth, Tommy,' cried the driver sulkily, for the  information of his friend the waterman, as the cab drove off.

'How old is that horse, my friend?' inquired Mr. Pickwick, rubbing his nose with the shilling he had reserved for the fare.

'Forty-two,' replied the driver, eyeing him askant.

'What!' ejaculated Mr. Pickwick, laying his hand upon his  note-book.  The driver reiterated his former statement.  Mr. Pickwick looked very hard at the man's face, but his features  were immovable, so he noted down the fact forthwith.

'And how long do you keep him out at a time?'inquired Mr. Pickwick, searching for further information.

'Two or three veeks,' replied the man.

'Weeks!' said Mr. Pickwick in astonishment, and out came the note-book again.

ในเรื่องนี้นอกจากมีภาษาอังกฤษอย่างสุภาพชนแล้ว ยังมีอังกฤษแบบค็อกนีย์  (ในอักษรสีแดง) อ่านยากและแปลยาก   สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเข้าถึงอารมณ์ขันในเรื่องนี้ได้ แสดงว่าภาษาไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับพระองค์ท่านเลย

เอาคลิปไปดูก่อนดีไหมคะ   จะขำง่ายกว่า

http://www.youtube.com/watch?v=DIiuiQ8bB20


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ม.ค. 11, 14:22
อ. NAVARAT.C มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหวนวงนี้หรือไม่ครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 15:23
^
^
เพิ่งจะทราบเรื่องแหวนวงนี้ บัดเดี่ยวนี้เองขะรับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 15:26
ระหว่างรอผู้รู้มาเฉลยเรื่องแหวน  ขอคั่นด้วยเกร็ดเล็กๆ ไปก่อน

เอาเกร็ดเล็กๆมาเล่าบ้าง

ม.จ.พูนพิสมัย ทรงเล่าไว้เกี่ยวกับบรรยากาศในวังหน้ารัชกาลที่ ๔ ว่า

"ในพระราชวังหน้า   มีพวกผู้หญิงแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ  มีญวน มอญ ลาว สาวๆรับใช้อยู่ในพระราชวัง    พวกเหล่านี้ล้วนเป็นพวกที่เข้ามาถวายตัว  จากกองอาสาเหล่าต่างๆ  คือ พวกที่แตกกันเองอยู่บ้านเมืองตัวไม่ได้   หรือเป็นพวกที่กวาดต้อนลงมาเมื่อแพ้ศึกตามธรรมเนียมเก่า    เมื่อมาอยู่ในกรุง ๆ  แล้ว ก็โปรดให้อยู่เป็นพวกๆ เรียกว่า "กองอาสา" ญวน จาม มอญ ตามชื่อพวก แต่ไม่มีพม่าเลย
.....
...เสด็จป้ารับสั่งว่า " ผู้หญิงญวนนั้นแต่งตัวสวยเหลือเกิน" 




กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 16:36
ขอกลับมาเล่าเรื่องปืนใหญ่อีกครั้ง
ในพระราชนิพนธ์ "ตำราปืนใหญ่" ตอนที่ ๓  เป็นเรื่องตำราทำดินปืน และยิงปืนใหญ่

ตำราทำดินปืนในหนังสือนี้ไม่ใช่ตำราฝรั่ง แต่น่าจะมาจากตำราไทยโบราณ  คงเป็นตำราพิไชยสงคราม     สูตรทำดินปืนมีหลายสูตร  ออกมาเป็นชื่อต่างๆกัน
วิธีประสมยาดินปืน มีหลากหลาย
ชื่ออัฐธาตุ ดิน ๑ ชั่ง  มาด ๑๐ ตำลึง   ถ่านละหุ่ง ๒ บาท   ชันย้อย ๑ ตำลึง  กะดูกผีเป็นถ่าน ๓ บาท   ปั้นดังลูกพลุ  ยิงแห่งใดเป็นไฟไหม้แห่งนั้นแล
ชื่อกาลเดช   ดิน ๑ ชั่ง  ถ่านประดู่ ๑ ชั่ง มาด ๒ ตำลึง ๒ บาท  เหล็กกะทะ ๑๒ ตำลึง  หระดาน ๒ บาท  ยิงเป็นไฟไหม้ ทับช้าง ม้า รี้พลตกใจแล

คำที่พิมพ์ตัวแดง คือไม่รู้ว่าเป็นชื่ออะไร แร่ธาตุหรือต้นไม้   รอยอินไม่ได้เก็บความหมายไว้    ถ่านละหุ่งกับถ่านประดู่พอเข้าใจว่าเป็นถ่านเกิดจากเผาไม้เนื้อแข็ง   หระดาน คือหรดาล
ส่วนก(ร)ะดูกผี  ก็ไม่รู้ว่าเผากระดูกจนเป็นถ่าน หรือว่าเป็นชื่อเฉพาะกันแน่ ค่ะ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 17:00
อีกตอนหนึ่ง

อนึ่ง  ท่านให้เอาแมงภู่ตายคารู ๑  มะพร้าวที่พึ่งเป็นลูกๆเดียว ทะข้างตวันออกมาหุงเป็นน้ำมัน   แล้วเอาสีผึ้งซึ่งไหว้สิทธิศักดิ์สามสถาน   เอาสมองหัวสัพสมองขุดตำใส่ลงในน้ำมัน   บดแมงภู่ใส่ลงเคี่ยวไปแล้ว ชุบกะสุนยิงแม่นแล    ถ้ากะสุนกลับคืนมาเรือน ให้เจาะไม้ไปฝังไว้นอกบ้านแล    เมื่อจะเอาสมองนั้น ให้วักเหล้าเข้า ขอเอาจงดี

ใครทราบบ้างทำไมต้องใช้แมงภู่ตายคารู   เป็นเคล็ดหรืออะไร?
คำว่า สมอง ข้างบนนี้  หมายถึงหัวอะไรคะ?
คำที่พิมพ์สีแดง อยากทราบความหมาย

อนึ่ง  ถ้ายิงคนก็ดี สัตว์ก็ดี    จะเอาเป็นมิให้ตาย ท่านให้เอาสีผึ้งมาปั้นเป็นลูกกะสุน   ให้รวงกะสุนนั้นเสีย    แล้วเอาไม้พลับพลาผ่าเผาเป็นเถ้า แล้วปรอทหนัก ๓ กะปังทอง ปั้นด้วยเถ้าแล้วตรอกเข้าในกะสุนที่รวงไว้นั้น     แล้วให้เอาผ้าขาวมาขยำด้วยอัลมาน  ห่อลูกกะสุนนั้น   และเมื่อจะยิงนั้นให้ค่อยยัดจงดี  อย่าให้ลูกกะสุนแตกได้  แล้วยิงเถิด   
ถ้าคนก็ดี สัตว์ก็ดี อยู่ใกล้กัน ๔-๕ คน ๓-๔ ตัว  ได้เป็น มิตายก่อน   ถ้ามิแก้ ๓ วันตายแล   ถ้าจะแก้มิให้ตาย เอาดินเหนียวแช่น้ำ ตรอกให้กินบ้าง ทาบ้าง มิตายแล

ข้อหลังมีวิธียิงไม่ให้ตายด้วย 
คงจะหวังให้แค่บาดเจ็บ  จึงกำหนดส่วนผสมใช้สีผึ้งปั้น มีไส้เป็นเถ้าและปรอท   ซึ่งคงไม่แข็งมากนัก  เมื่อยิงจะได้ไม่ทะลุทะลวงเข้าไปในร่างกาย

นี่เดาเอาทั้งนั้น  ใครทราบช่วยอธิบายด้วยค่ะ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 17:32
คงหาคนที่สามารถอธิบายไม่ได้แล้วในยุคนี้
แค่อ่าน ก็เอ๋อแล้ว


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 18:57
งั้นขอหยุดเรื่องทำกระสุนดินปืนไว้แค่นี้ก่อนนะคะ     มาพูดถึงพระราชกรณียกิจด้านทหารเรือกันบ้าง

สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโปรดการทหารเรือ   ถึงขั้นมีการต่อเรือรบ  และจัดตั้งทหารเรือวังหน้าขึ้นด้วย    สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีเรือกลไฟเป็นเรือนรบ และเรือพาหนะตั้งแต่พ.ศ. 2401 เป็นต้นมา   พนักงานเดินเรือเป็นพวกอาสาจาม   พวกมอญเป็นทหารมรีน (Marine= นาวิกโยธิน) สำหรับเรือรบ     พวกไทยเป็นต้นกล   ส่วนการบังคับบัญชายังไม่มีคนไทยคนไหนชำนาญ  จึงต้องจ้างฝรั่งเป็นกัปตัน และต้นหนเรือรบ

ในรัชกาลที่ 3  คนเก่งเรื่องเรือมีอยู่ 1 พระองค์และ 1 คน คือสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งดำรงพระยศเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อครั้งเป็นจมื่นไวยวรนารถ    สามารถต่อเรือและเดินเรือได้   จึงได้บังคับบัญชาทหารเรือ
ทหารเรือก็เลยแบ่งเป็นทหารเรือของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศ และทหารเรือของจมื่นไวยฯ   ในยามปกติทหารเรือทั้ง 2 ส่วนไม่ขึ้นแก่กัน แต่ต่างก็ขึ้นตรงกับพระเจ้าอยู่หัว
แต่เมื่อเกิดสงคราม ต้องยกทัพเรือไปตีเมืองญวนเพื่อชิงกัมพูชากลับมา  ในพ.ศ. ๒๓๘๔   ก็ยกทัพเรือกันไปทั้งสองทัพ   เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯเป็นทัพหลวง   กองเรือจมื่นไวยเป็นทัพหน้า
เรือของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศฯชื่อเรือ พุทธอำนาจ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ม.ค. 11, 19:09
แหวนนิลกสาปน์  
คือแหวนนากปลอกมีดค่ะ  พระราชทานให้ข้าราชการ

มีพระบรมราชโองการให้ช่างทองหล่อหลอมให้ถูกต้องตามตำรา  แล้วทำเป็นแหวนปลอกมีด  วงละสองสลึงเฟื้อง
พระราชทานไปให้ผู้ใด  ให้ผู้นั้นเก็บไว้  หรือสวมนิ้วมือไว้สำหรับระลึกถึงพระเดชพระคุณ   ถ้าเล็กไปของนิ้วผู้ได้รับพระราชทานไปแล้ว จะให้ไปให้ช่างรายรีด
ให้เขื่องออกไปควรแก่นิ้วของตัวก็ตาม  หรือจะเอาเป็นเครื่องรางเป็นวัตถุที่เป็นสวัสดิมงคล

เมื่อเวลาสบาย ๆ จะถวายให้ทรงลงอักษรซึ่งเป็นมงคลสพคัญ ๆ  ก็จะลงพระราชทานไว้ใช้สวมนิ้วทำการมงคล  คือโกนจุกตัดผมหรือล้างหน้าและเจิม
อย่าเอาไปสวมนิ้วที่จะจับของโสมมไม่เป็นมงคล

มีอยู่ในประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔  ฉบับ มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย
ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  บรรณาธิการ
หนังสือราคา   ๕๙๐ บาท
อยู่ภาคปกิรณกะ     หน้า ๕๘๔

ก.ศ.ร. ชอบพิมพ์ประกาศในรัชกาลที่ ๔ มากค่ะ  มีในสยามประเภท(เล่มอะไรก็ยังไม่ได้ค้น)เป็นความรู้ทั่วไป
และได้พิมพ์ออกเป็นเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ     ตื่นเต้นกันมากสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจความเป็นมา

มีประกาศที่น่าสนใจหลายฉบับค่ะ        


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 20:17
สำหรับคนรุ่นหลังที่ไม่รู้ว่าแหวนปลอกมีดนาก หน้าตาเป็นอย่างไร   เอารูปมาให้ดูกันค่ะ



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 20:21
จากนาวิกศาสตร์

เรือรบไทยสมัยรัชกาลที่๓
๑. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๒๐๐ ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ ๑๐ กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
      ๒. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน
      ๓. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๓๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ.๒๓๘๗ ได้นำสมณทูตไปลังกา
      ๔. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖ เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๒๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
      ๕. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด ๔๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
      ๖.เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๑๐๐ ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์


รูปที่มาลงไว้ข้างล่างภาพแรกไม่ใช่เรือรบไทย แต่เป็นเรือชนิดเรือBarkเหมือนกัน จึงนำมาให้ชมว่าเรือBarkเป็นอย่างนี้
ส่วนภาพล่างเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังดดยขรัวอินโข่ง บุคคลร่วมสมัยกับเรือBark จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าเรือในภาพ อาจจะเป็นเรือรบลำใดลำหนึ่งของไทยก็ได้



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ม.ค. 11, 20:54
ผมเองก็เพิ่งสนใจจะรู้นี่แหละว่าเรือBarkหน้าตาเป็นอย่างนี้

เลยพลอยทำให้คิดว่า เรือต่างๆที่เราเห็นในภาพข้างล่างอย่างชินตา และนึกว่าเป็นเรือกำปั่นของฝรั่งนั้น จริงแล้วอาจเป้นเรือรบไทยสมัยต้นรัชกาลที่๔ก็ได้ โดยเฉพาะล่างสุดที่เห็นมีร่วมสิบลำ ถ้าฝรั่งยกกองเรือเข้ามามากๆพร้อมกันขนาดนี้ ก็คงเป็นเรื่องแล้วละ

ใครมีหลักฐานอย่างไรไหมครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 20:57
จากนาวิกศาสตร์


      ๒. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน
    

เซอร์จอห์น เบาว์ริง เล่าว่า ได้ข่าวว่าสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เคยทรงอ่านหนังสือภาษาอังกฤษของเซอร์วอลเตอร์ สก๊อตต์  นักเขียนนวนิยายชั้นเอกของอังกฤษในยุคนั้น   จนเอาชื่อพระราชทานเป็นนามเรือ

Sir Walter Scott เขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์อังกฤษไว้หลายเรื่อง  โดยมากย้อนยุคไปถึงยุคกลาง เรื่องที่เราอาจเคยดูหนังหรือได้ยินชื่อก็คือ Ivanhoe     นิยายของเซอร์วอลเตอร์ สก๊อตต์ ข้ามไปดังในสหรัฐอเมริกา กลายเป็นนิยายขายดีในประเทศนั้น   สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯคงจะได้รับหนังสือเป็นของถวายจากมิชชันนารีอเมริกันที่เป็นพระอาจารย์

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQFAY4xcjOwv47iMW_UpkOhrxaDRzsEwydjlkhTpBST8WT3UuoKDA)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Baitoey ที่ 17 ม.ค. 11, 20:59
อัจฉริยภาพทางภาษาของจอน บาวริ่ง

จาก สยามในสิ่งพิมพ์ของฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ 4 ดร. สุนันทา ฟาเบรอ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 11, 21:08
จากนาวิกศาสตร์

เรือรบไทยสมัยรัชกาลที่๓
๑. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๒๐๐ ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ ๑๐ กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
      ๒. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน
      ๓. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๓๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ.๒๓๘๗ ได้นำสมณทูตไปลังกา
      ๔. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖ เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๒๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
      ๕. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด ๔๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
      ๖.เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๑๐๐ ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์

    แยกประเภทเรือได้เป็น 3 แบบคือ bark  ชิพ (ship)  และสกูเนอร์ (Schooner)

    Bark อย่างที่คุณ Navarat ยกมา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4184.0;attach=16447;image)

    ship

(http://4.bp.blogspot.com/_SvtsTiARtm4/TMwpKdW0wVI/AAAAAAAAAc4/wg-Ev8lKJS8/s1600/Bounty_Ship.jpg)

   schooner

(http://andrewprokos.com/d/topsail-schooner?g2_itemId=1348&g2_serialNumber=4)

    ต้องลองเทียบกับภาพวาดและภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4  ว่าตรงกันมากน้อยแค่ไหน ค่ะ
    ป.ล.  พอจะหาภาพเรือ ๓ แบบมาให้ดูกันได้  แต่ดิฉันดูไม่ออกว่ามันต่างกันยังไง  ก็ดูเป็นเรือกำปั่นใช้ใบขนาดใหญ่เหมือนกัน


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ม.ค. 11, 22:03
เรือประเภท barque หรือ bark เป็นเรือประเภท ๓ เสากระโดง อ.NAVARAT.C  ลองดูภาพขาวดำหน้าเรือนแพ มีธง พื้นธงเป็นลักษณะลาย ไม่ใช่เรือไทยครับ

ขอแทรกภาพเรือประเภท barque หรือ bark ชื่อเรือ HMS. Hornet ช่วงเวลาเดียวกัน ถ่ายโดยนาย John Thompson ระยะเวลาช่วงเดียวกันที่เมืองฟูเกี้ยน ประเทศจีน


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 09:05
ธงเรือรบสยามที่ใช้จากรัชกาลที่๒ จนถึงรัชกาลที่๕
ข้อมูล เวปพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ

พ.ศ. 2360 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ ทรงได้ช้างเผือกมาสู่พระราชอาณาจักรถึง 3 เชือก นับว่าเป็นพระเกียรติยศอย่างยิ่งของพระมหากษัตริย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างสีขาว (ไม่ทรงเครื่อง) อยู่ในวงจักรสีขาวติดไว้ที่กลางธงแดง หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก เป็นธงราชนาวี ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 09:07
พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้เรือค้าขายของเอกชน ใช้ธงเหมือนอย่างเรือหลวง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เอารูปจักรออก (เพราะรูปจักรเป็นของสูง เป็นเครื่องหมายสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน) คงเหลือแต่รูปช้างสีขาวอยู่บนพื้นธงสีแดง ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือราษฎร์


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 09:16
ได้รูปเรือรบสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาให้ชมด้วยครับ

แต่มีอยู่ภาพเดียว
ส่วนเรือรบที่เห็นขาวๆอยู่ข้างหลัง ดูเหมือนเรือของพวกล่าอาณานิคมหน่อย ไม่ยักเอามาลงไว้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 11, 09:36
เอารูปเรือรบโบราณของฝรั่งมาลงให้ดูกันค่ะ     ขนาดของเขาน่าจะใหญ่กว่าของเรามาก



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 10:16
ในภาพสี เป็นกองเรือรบของฝรั่งเศสที่เอามาถล่มญวนในปีพ.ศ.2402 แล้วก็เลยประจำการที่โคชินไชน่า(ญวน ที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนชื่อให้ใหม่)ในไซ่ง่อนนั่นเอง เรือพวกนี้น่าจะต้องเข้ามาอวดธงในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขู่สยามอยู่บ้าง

แต่ดูรูปเรือรบสองลำใหญ่ในภาพเรือนแพ เป็นเรือสมรรถนะเดียวกันกับข้างต้น แต่ธงแถบไม่ใช่ธงฝรั่งเศส และเรือรบในภาพที่อยู่ไกลออกไป ขนาดจะเล็กกว่าและไม่ได้ติดธงบนเสากระโดงแสดงสัญชาติ ไม่ทราบว่าเป็นเรือของไทยเองหรือเปล่า


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 10:38
อีกชาติหนึ่งที่ใช้ธงแถบ ลายตามยาว คือพวกดัทช์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในปัตตาเวีย กรุงเทพเป็นจุดผ่านที่อาจแวะมาเบ่งบ้าง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ม.ค. 11, 11:31
เรือปักธงลายขวาง ๓ สีหน้าเรือนแพ พื้นธงเหมือนธงดัชท์ เลยนะครับ เรือเหล่านี้อาจจะมามากวางตุ้งก็เป็นไปได้ เพราะกวางตุ้งเป็นแหล่งเมืองท่าและดินแดนอาณานิคม เป็นศูนย์กลางการค้าตะวันออกไกล ดังภาพหมู่ตึกสิบสามห้าง ที่ชาวฝรั่งได้ทำการขอเช่าพื้นที่ดินจากรัฐบาลชิวหลังสิ้นสุดสงครามฝิ่น จะเห็นธงของห้างต่างๆที่มาทำการค้าที่นี้ (สินค้าผ้าไหม เครื่องกระเบื้อง ใบชา ฝิ่น เป็นหลัก)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Baitoey ที่ 18 ม.ค. 11, 12:32
วิวกรุงเทพฯ รัชกาลที่สาม


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 11, 13:29
^
น่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  ใครรู้บ้างคะว่าตรงไหน?

เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
ช่วยอธิบายเส้นทางให้ทราบได้ไหมคะว่า ออกจากปากอ่าวไทย เลียบไปทางไหน จนถึงบันทายมาศ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 15:01
       จากเวปของกองทัพเรือ

……..พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดทัพไปช่วย(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา)พร้อมกับ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)เป็นแม่ทัพเรือ  นำเสบียงอาหาร พร้อมด้วย กำลังทหารไปทางทะเลอีกทางหนึ่ง โดยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๔  จนกระทั่งทัพเรือได้เดินทางไปประชิดป้อมปากน้ำ เมืองบันทายมาศ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าไป ญวนได้ตอบโต้อย่างเต็มกำลังนานถึง ๖-๗ วัน ขณะนั้นเป็นช่วงปลายมรสุม ลมตะวันตกพัดรุนแรง เรือซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะทนสภาพคลื่นลมเช่นนั้นไม่ไหว สถานที่ ๆจะซ่อมทำก็ไม่มี ประจวบกับ กำลังพลจากเมืองไซ่งอน กำลังจะเดินทางมาถึง กรมขุนอิศเรศ รังสรรค์ ได้ตัดสินพระทัยที่จะถอยทัพไปพักอยู่ที่เมืองจันทบุรีก่อน เมื่อสิ้นฤดูลมตะวันตกแล้ว จึงจะออกมาทำการรบใหม่ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เรียกกองทัพกลับกรุงเทพฯ ……..


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 11, 15:08
ไปเจอศิลปวัฒนธรรมออนไลน์  รายงานเรื่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294815134&grpid=&catid=08&subcatid=0804

"พระปิ่นเกล้า" The Second King แห่งรัชกาลที่ 4 กษัตริย์ผู้ทรงมีอัจฉริยภาพที่มากคน"ไม่รู้จัก"

วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:29:39 น.
โดย...ปรีชยา ซิงห์

เป็นที่รับรู้กันไม่ลงลึกนักว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือเมื่อกว่า 160  ปีที่ผ่านมา สยามประเทศ มีพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมืองด้วยกันถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง ทั้งสองพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินคู่พี่น้องสายเลือดเดียวกันที่ทรงเปี่ยมไป ด้วยพระปรีชาความสามารถรอบด้าน โดยเฉพาะกิจการด้านการต่างประเทศ

และเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา กรมศิลปากร ได้จัดงาน "เปิดวังหน้า รำลึกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"  ในวาระคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ พร้อมกับมีการเสวนาเรื่อง พระปิ่นเกล้า อ่าน เขียน เรียน "ฝรั่ง" รู้เท่าทันตะวันตก   ด้วย  The Second King   ตามที่ชาติฝรั่งเรียกนี้ ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษมาก กระทั่งกระฉ่อนไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา ถึงขนาดที่  นายแฟรงกลิน เพียร์ซ ประธานาธิบดีคนที่ 14 ของสหรัฐฯ  ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมากมายมาถวาย กษัตริย์ทั้ง2 ถึงเมืองสยาม

   เอกสุดา สิงห์ลำพอง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  เปิดเผยเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงชื่นชอบสนับสนุนชาติ "อเมริกา" มากถึงขั้นพระราชทานนามพระโอรสองค์โตของพระองค์ ในเจ้าจอมมารดาเอมว่า "ยอร์ช วอชิงตัน" (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ตามชื่อประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา
   โดยเครื่องบรรณาการที่นายทาวน์เซนด์ ทูตของสหรัฐนำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีภาพวาดเหมือนนายจอร์จ วอชิงตัน ขนาดเท่าตัวจริงเป็นหนึ่งในรายการที่นำมามอบให้   ซึ่งน่าจะถูกพระทัยพระองค์เป็นที่สุด

(http://www.matichon.co.th/online/2011/01/12948151341294816382l.jpg)

ภาพเหมือนประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ที่อเมริกา นำมาทูลเกล้าฯ ถวายให้กษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงสยามในสมัยนั้น  เป็นฝีมือการวาดของ เรมบรันต์ พีล (Rembrandt Peale) ศิลปินชื่อดังชาวอเมริกัน ปัจจุบันแขวนอยู่ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนอีกรูปหนึ่งนายทาวน์เซนด์นำมาถวายรัชกาลที่ 4 ในคราวเดียวกัน แต่ปัจจุบันไม่ทราบไปอยู่ที่แห่งใด ด้วยไม่มีใครเคยพบเห็นอีกเลย

   ด้าน นายไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์  และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารศิลปวัฒนธรรม  สำนักพิมพ์มติชน ได้โชว์หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ที่เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นจดหมายที่ เซอร์ จอห์น บาวริ่ง ราชทูตอังกฤษสมัยนั้น เขียนชื่นชม The Second King  ของไทย ที่ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกลใน ด้านการทหาร การต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารต่างๆในการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างชาติ ทั้งยังชื่นชมการพูด การเขียน การอ่านภาษาอังกฤษของพระองค์ที่มีความแตกฉานอย่างคล่องแคล่วและสละสลวย โดยเฉพาะลายพระหัตถ์ที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก
 
        นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชื่อดัง กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ที่ชาติยุโรปให้การยอมรับมาก นอกเหนือจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรง ปรีชาทางด้านการทหารมาก ด้วยทรงเป็นทหารเรือ มาตั้งแต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แล้วโดยทรงดูแลเรื่องกรมทหาร ทรงสนใจเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ  วิชาการช่างกล และวิชาการปืนใหญ่ ทั้งยังมีความรู้ในวิชาการต่อเรืออย่างดี ทรงต่อเรือรบกลไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย  ซึ่งตำแหน่งสูงสุด คือทรงบังคับบัญชาการทหารเรือ วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) ดังจะเห็นได้ว่า โปรดทรงเครื่องแบบทหารเรือมากที่สุด

         นายไกรฤกษ์ ระบุต่อว่า  เมื่อมีผู้อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงทรงให้อัญเชิญ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระอนุชาขึ้นครองราชย์พร้อมกันไปด้วย  พร้อมทั้งทำพิธีพระบวรราชาภิเษกเสมอด้วยเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 เนื่องจากพระปิ่นเกล้าทรงมีกำลังทหารมาก  และมีพระชะตาแรงสมควรได้เป็นกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง เสมือนอเมริกาที่มีประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี  อย่างไรก็ตาม ชาติฝรั่ง ระบุลงในบันทึกว่า อำนาจบริหารประเทศอยู่ที่พระจอมเกล้า 80 %  ขณะที่พระปิ่นเกล้าอยู่ที่ 20 %

   ปิดท้ายที่ รศ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   เปิดคำถามขึ้นต้นว่า "ทำไมสยามต้องสนใจตะวันตก?"  พร้อมอธิบายว่า ประเทศสยามเริ่มเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการต่างๆ โดยรับอิทธิพลจากชาติตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  ที่ผู้นำสยามมีความสัมพันธ์อันดีกับชาติอเมริกัน ซึ่งมีผลลึกซึ้งเป็นอย่างมาก ผู้ที่นำเข้าวัฒนธรรมต่างๆ นั้นล้วนมาจากหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารี

  ซึ่งจากการศึกษาแล้วมิชชันนารีเหล่านั้นแม้จะเป็นผู้ที่มีความเชื่อเรื่อง ศาสนามาก   แต่ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะเข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาในสยาม  เพียงแต่แวะเข้ามายังดินแดนแหลมทองเพื่อรอเปลี่ยนผ่านไปยังประเทศอื่นๆ ในแถบภูมิภาค  แม้สุดท้ายมิชชันนารีหลายคนก็ปักหลักสร้างครอบครัวในสยามไปเลย

          อาจารย์ธเนศกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่อนข้างโปรดมิชชันนารีเหล่านี้มาก นั่นเพราะบุคคลเหล่านี้ทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันระหว่าง ชาวสยามและชาวอเมริกัน  กระทั่งหมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.)   ชาวอเมริกัน ถึงขนาดถ่ายทอดเป็นองค์ความรู้ เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับชาติตะวันตกเป็นฉบับภาษาไทยกันเลยทีเดียว ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา ที่พระมหากษัตริย์ไทยเอาความรู้ต่างๆมาใช้จากการเรียนศาสนามาตีความ  ขณะที่ คนสยามเองก็ไม่ได้เปลี่ยนไปนับถือพระเจ้าตามแบบตะวันตกมากนัก

          "การเรียนรู้ วิวัฒนาการชาติตะวันตกของผู้นำสยาม โดยผ่านภาษาไทย เป็นปรีชาญาณความสามารถที่ได้เปรียบของรัชกาลที่ 4 เพราะการถ่ายทอดวัฒนธรรมตะวันตกโดยสร้างผ่านภาษาไทยพร้อมกับมีการพิมพ์เป็นตัวอักษรในช่วงเปลี่ยนผ่ายสยามเป็นเรื่องที่ใหม่ในยุคสมัยนั้น  กลายเป็นเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้สยามได้รับรู้โลกภายนอกได้มากขึ้น และเชื่อว่า การที่สยามรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นในการล่าอาณานิคมในยุคนั้นก็ด้วยเพราะ พระจอมเกล้าและพระปิ่นเกล้าทรงผ่อนปรนและเป็นมิตรกับชาติมหาอำนาจจนเราได้ รับเอกราชถึงทุกวันนี้" รศ.ธเนศ กล่าว

(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294815134&grpid=&catid=08&subcatid=0804#)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 11, 15:14
      จากเวปของกองทัพเรือ

……..พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดทัพไปช่วย(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา)พร้อมกับ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)เป็นแม่ทัพเรือ  นำเสบียงอาหาร พร้อมด้วย กำลังทหารไปทางทะเลอีกทางหนึ่ง โดยเสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๓๘๔  จนกระทั่งทัพเรือได้เดินทางไปประชิดป้อมปากน้ำ เมืองบันทายมาศ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าไป ญวนได้ตอบโต้อย่างเต็มกำลังนานถึง ๖-๗ วัน ขณะนั้นเป็นช่วงปลายมรสุม ลมตะวันตกพัดรุนแรง เรือซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะทนสภาพคลื่นลมเช่นนั้นไม่ไหว สถานที่ ๆจะซ่อมทำก็ไม่มี ประจวบกับ กำลังพลจากเมืองไซ่งอน กำลังจะเดินทางมาถึง กรมขุนอิศเรศ รังสรรค์ ได้ตัดสินพระทัยที่จะถอยทัพไปพักอยู่ที่เมืองจันทบุรีก่อน เมื่อสิ้นฤดูลมตะวันตกแล้ว จึงจะออกมาทำการรบใหม่ หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้เรียกกองทัพกลับกรุงเทพฯ ……..

อยู่ทางใต้ติดทะเลนี่เอง ถึงไปทางเรือ   ดูเส้นทางก็เลียบชายฝั่งไป ไม่ไกลเท่าใดนัก


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 ม.ค. 11, 15:15
^
น่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  ใครรู้บ้างคะว่าตรงไหน?


ทิวทัศน์ของท่าและอู่ต่อเรือที่บางกอก
(ซาบาติเออร์ วาดจากภาพสเกทซ์ของอองรี มูโอต์)

ภาพที่ปรากฏเป็นโบสถ์เก่าของวัดอัสสัมชัญ บางรัก ครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ม.ค. 11, 15:22
อ้างถึงตำนานเรือรบไทย กล่าวไว้นิดหน่อยว่า "เมื่อไทยเกิดเปนข้าศึกกับญวนเมื่อรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าญวนจะยกกองทัพเรือขึ้นมาบุกรุกพระราชอาณาเขตรบ้าง จึงโปรดฯให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองชายทเล และให้ต่อเรือรบกำปั่นแปลงขึ้นดังกล่าวมาแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เมื่อยังเปนที่เจ้าพระยาพระคลัง ได้ว่าทั้งกระลาโหมแลกรมท่า ต้องเปนเจ้าหน้าที่ไปสร้างป้อมปราการที่เมืองจันทบุรี ครั้นนั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเปนที่หลวงนายสิทธิ์ ลงไปช่วยราชการบิดาที่เมืองจันทบุรี ได้ไปตั้งโรงต่อเรือกำปั่นใบตามแบบฝรั่งขึ้น ๒ ลำ

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรก็โปรดฯ พระราชทานชื่อว่าเรือเทพโกสินทร ลำ ๑ เรือระบิลบัวแก้ว ลำ ๑ แล้วมีรับสั่งให้ต่อเรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ลำ เรือกำปั่นใบซึ่งต่อในคราวนี้ ได้ใช้เปนเรือรบในคราวเมื่อโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเปนที่จมื่นไวยวรนาถยกลงไปตีเมืองญวน"

จะเห็นได้ว่าขบวนเรือรบของเราตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี มีกองเรือ และเป็นที่ตั้งมั่นแล่นเรือกำปั่นแปลง (คือเรือกำปั่น ติดปืนเป็นเรือรบไว้ใช้ทางทะเล) มุ่งหน้าไปเมืองฮาเตียนได้เลย และได้แนบแผนที่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย จนถึงแหลมญวน จะเห็นว่าชายฝั่งกัมพูชามีหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 15:43
อ้างถึง
ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษมาก กระทั่งกระฉ่อนไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา ถึงขนาดที่  นายแฟรงกลิน เพียร์ซ ประธานาธิบดีคนที่ 14 ของสหรัฐฯ  ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมากมายมาถวาย กษัตริย์ทั้ง2 ถึงเมืองสยาม

   เอกสุดา สิงห์ลำพอง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  เปิดเผยเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่พบว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ทรงชื่นชอบสนับสนุนชาติ "อเมริกา" มากถึงขั้นพระราชทานนามพระโอรสองค์โตของพระองค์ ในเจ้าจอมมารดาเอมว่า "ยอร์ช วอชิงตัน" (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ตามชื่อประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา
   โดยเครื่องบรรณาการที่นายทาวน์เซนด์ ทูตของสหรัฐนำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีภาพวาดเหมือนนายจอร์จ วอชิงตัน ขนาดเท่าตัวจริงเป็นหนึ่งในรายการที่นำมามอบให้   ซึ่งน่าจะถูกพระทัยพระองค์เป็นที่สุด

ท่านทูตทาวน์เซนด์ แฮรีสเองก็แสดงความชื่นชมพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯมาก ดังจะเห็นได้จากบันทึกฉบับนี้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ม.ค. 11, 15:56
^

นายพลแฮริน ผู้นี้เอง เป็นผู้นำเรือดำ เข้าจอดเทียบท่าเมืองเอโดะ ในรัฐบาลโตกุกาว่า เรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ และลงนามทำสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างอเมริการ-ญี่ปุ่น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 18 ม.ค. 11, 16:05
ผู้นำเรือดำเข้ามาคือ นายพล แม็ตธิว เปอรี  (Commodore Matthew Calbraith Perry) มิใช่หรือครับ

ส่วนท่านทูตแอริส  เป็นผู้เข้าไปทำสนธิสัญญา  ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังเรือดำ รึเปล่าครับ?


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ม.ค. 11, 16:18
ผู้นำเรือดำเข้ามาคือ นายพล แม็ตธิว เปอรี  (Commodore Matthew Calbraith Perry) มิใช่หรือครับ

ส่วนท่านทูตแอริส  เป็นผู้เข้าไปทำสนธิสัญญา  ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังเรือดำ รึเปล่าครับ?

ผมพลาดเองครับ เรือดำ (Black Ship) โดยนายพล แม็ตธิว เปอรี ครับ  :-[


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 11, 16:44
The Black Ship ของ Perry
(http://cssvirginia.org/vacsn3/crew/susque/gleason_1852_w750.jpg)

Matthew Perry
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4b/Perry1852LibraryOfCongress.jpg)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ม.ค. 11, 16:50
อีกภาพหนึ่งครับ อ.เทาชมพู เป็นเรือเครื่องจักรไอน้ำด้วยนะครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ม.ค. 11, 16:59
ย้อนกลับมาถามถึงเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆที่ยกพลไปบันทายมาศ

อ้างถึง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรก็โปรดฯ พระราชทานชื่อว่าเรือเทพโกสินทร ลำ ๑ เรือระบิลบัวแก้ว ลำ ๑ แล้วมีรับสั่งให้ต่อเรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ลำ เรือกำปั่นใบซึ่งต่อในคราวนี้ ได้ใช้เปนเรือรบในคราวเมื่อโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเปนที่จมื่นไวยวรนาถยกลงไปตีเมืองญวน"

จะเห็นได้ว่าขบวนเรือรบ ของเราตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี มีกองเรือ และเป็นที่ตั้งมั่นแล่นเรือกำปั่นแปลง (คือเรือกำปั่น ติดปืนเป็นเรือรบไว้ใช้ทางทะเล) มุ่งหน้าไปเมืองฮาเตียนได้เลย และได้แนบแผนที่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย จนถึงแหลมญวน จะเห็นว่าชายฝั่งกัมพูชามีหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย

ถ้างั้น เรือไทย bark, ship, schooner  ล้วนแต่เป็นเรือเครื่องจักรไอน้ำด้วยหรือเปล่า  หรือว่าใช้ใบเรือควบคุมการเดินทาง เท่านั้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 17:19
^
ยังเป็นเรือใช้ใบครับ
ตอนไปรบกับญวน ไทยยังไม่มีเรือที่ติดเครื่องจักรเลย

เมืองบันทายมาศ(ชื่อเขมร) เขมรอ้างว่าเป็นของเขมร ญวนก็อ้างว่าเป็นของญวนชื่อเมืองฮาเตียน ไทยเห็นว่าเขมรเป็นเมืองขึ้น ก็คิดว่าบันทายมาศนี้อยู่ในเขตปกครองของไทยด้วย
แต่ความจริงแล้ว ประชากรในเมืองนี้เป็นคนญวนมากกว่าคนเขมร ไทยเข้าไปจะก็ต้องทะเลาะกับญวนเป็นธรรมดา

ดูในแผนที่นะครับ เส้นเหลืองคือเส้นพรมแดน เมืองฮาเตียนห่างจากเขมรแค่สามสิบกว่ากิโลเมตรเท่านั้น

ส่วนในภาพขาวดำ ถ่ายเมื่อปี2512 สี่สิบกว่าปีก่อนนั้นบ้านเมืองก็อาจจะเห็นร่องรอยเมืองสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงนำเรือรบไประดมยิง
ป้อมปืนของญวนคงอยู่บนเขาที่เป็นหัวแหลม ทะเลมีคลื่นตลอดเรือคงไม่อยู่นิ่งให้เล็งนาน ไม่ทราบว่า อานุภาพอันจำกัดของปืนใหญ่ทั้งสองฝ่าย จะยิงกันโดนอะไรหรือไม่


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 17:42
เรือBARKและเรือSCHOONER เป็นเรือที่ออกแบบให้แล่นเร็ว ไม่อุ้ยอ้ายเหมือนเรือSHIP ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการขนสินค้าเป็นหลัก

เอาลายเส้นเปรียบเทียบเรือBARK และเรือSCHOONER มาให้ชม
ที่เห็นความแตกต่างชัดๆก็คือลักษณะของใบเรือ

เรือเหล่านี้เมื่อวิศวกรประดิษฐ์เครื่องจักรกลขึ้นมาได้ ก็ยังใช้เครื่องจักรเป็นแค่ตัวเสริมเวลาอับลม หรือการวิ่งเข้าไปในแม่น้ำซึ่งคดเคี้ยว บังคับใบให้กินลมลำบาก
แต่ในทะเลเปิดวันที่ลมพัดเป็นปกติ ใช้ใบอย่างเดียวก็วิ่งฉิวกว่าการขับเคลื่อนด้วยเครื่องในสมัยนั้นมาก


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 ม.ค. 11, 17:46
ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ว่า
ในปีพ.ศ. 2353 ญวนส่งทูตมาขอเอาเมืองบันทายมาศ โดยอ้างว่าเจ้าเมืองบันทายมาศเป็นคนไม่ดี
พระเจ้ากรุงเวียดนามจึงตั้งขุนนางญวนมาว่าราชการแทน ด้วยเมืองนี้เมื่อก่อนขึ้นแก่ญวน
จึงขอรับพระราชทานไปเป็นเมืองขึ้นอย่างแต่ก่อน
ฝ่ายเราก็ยอมยกให้เขาไปตามประสงค์ ด้วยเหตุหลายประการ

แต่เห็นว่าญวนไปได้แต่ตัวเมืองบันทายมาศเท่านั้น ส่วนดินแดนยังอยู่ในฝั่งกัมพูชา และเป็นของกัมพูชาจนทุกวันนี้
เท็จจริงอย่างไรครับ ;D


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ม.ค. 11, 18:23
ย้อนกลับมาถามถึงเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆที่ยกพลไปบันทายมาศ

อ้างถึง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรก็โปรดฯ พระราชทานชื่อว่าเรือเทพโกสินทร ลำ ๑ เรือระบิลบัวแก้ว ลำ ๑ แล้วมีรับสั่งให้ต่อเรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ลำ เรือกำปั่นใบซึ่งต่อในคราวนี้ ได้ใช้เปนเรือรบในคราวเมื่อโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อเปนที่จมื่นไวยวรนาถยกลงไปตีเมืองญวน"

จะเห็นได้ว่าขบวนเรือรบ ของเราตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี มีกองเรือ และเป็นที่ตั้งมั่นแล่นเรือกำปั่นแปลง (คือเรือกำปั่น ติดปืนเป็นเรือรบไว้ใช้ทางทะเล) มุ่งหน้าไปเมืองฮาเตียนได้เลย และได้แนบแผนที่เส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย จนถึงแหลมญวน จะเห็นว่าชายฝั่งกัมพูชามีหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยมากมาย

ถ้างั้น เรือไทย bark, ship, schooner  ล้วนแต่เป็นเรือเครื่องจักรไอน้ำด้วยหรือเปล่า  หรือว่าใช้ใบเรือควบคุมการเดินทาง เท่านั้น


เรือกำปั่นแปลง ยกจากตำนานเรือรบระบุไว้ดังนี้

"เมื่อเกิดรบขึ้นกันกับญวนในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) คิดแบบอย่างเรือรบขึ้นใหม่ เจ้าพระยานครฯ คิดต่อเปนเรือกำปั่นแปลงขนาดยาว ๑๑ วา กว้าง ๙ ศอกคืบ หัวเปนเรือปากปลา ท้ายเปนกำปั่น มีหลักแจวรายตลอดลำทั้งสองแคม สำหรับแจวในแม่น้ำลำคลอง และมีเสาใบสำหรับแล่นใบในทะเลด้วย

เมื่อคิดแบบอย่างตกลงกันแล้ว โปรดฯ ให้เจ้าพระยานครฯ ต่อเรือกำปั่นแปลงลำแรกที่บ้านหน้าวัดมหาธาตุ ต่อสำเร็จแล้วถวายทอดพระเนตร ก็โปรด พระราชทานชื่อว่า เรือมหาพิไชยฤกษ์ ...และได้ต่อขึ้นอีก ๓๐ ลำ พระราชทานเงินช่วยลำละ ๒,๔๐๐ บาท"



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 18:28
อ้างถึง
แต่เห็นว่าญวนไปได้แต่ตัวเมืองบันทายมาศเท่านั้น ส่วนดินแดนยังอยู่ในฝั่งกัมพูชา และเป็นของกัมพูชาจนทุกวันนี้
เท็จจริงอย่างไรครับ

ก็อาจจะจริงนะครับ ดินแดนบางส่วนที่เคยเป็นจังหวัดบันทายมาศของเขมร ที่ญวนไม่ติดใจว่าเป็นของตน เขมรก็ยังคงครอบครองต่อไป แต่หัวใจ คือตัวเมืองและภูมิประเทศที่ติดชายฝั่ง สามารถเป็นเมืองท่าค้าขายได้เป็นอย่างดี มีชายหาดสวยงาม เหมือนอ่าวพระนาง จังหวัดกระบี่บ้านเรา ซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นรีสอร์ทนักท่องเที่ยวนั้น เป็นของญวนหมด

แถม
อ้างถึง
“จิตร ภูมิศักดิ์” ผู้ซึ่งต้องยกย่องว่าเป็นปราชญ์ในเรื่องอารยธรรมเขมรคนหนึ่งของเมืองไทย จิตรภูมิศักดิ์ได้กล่าวถึงปราสาทหินแห่งหนึ่งในกัมพูชาชื่อ “บันทายฉมาร์” (BanteayChamar) ว่า ทางฝั่งไทยจะรู้จักในชื่อ “บันทายสมันต์” หรือ “ผไทสมันต์” คำว่า“บันทาย” ในภาษาเขมรออกเสียงเป็น “บันเตียย”หมายถึงเมืองที่มีลักษณะเป็นป้อมค่ายแข็งแรง คำนี้คนไทยจะเรียกเพี้ยนเป็น บันทายหรือ พุทไธ เสมอ เช่น บันทายศรี บันทายมาศ พุทไธมาศ (เมืองฮาเตียนปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนาม มีผู้รู้บอกว่าคนไทยเรียกเพี้ยนเป็นท่าเตียน)เป็นต้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 ม.ค. 11, 18:29
เรือกำปั่นแปลง ยกจากตำนานเรือรบระบุไว้ดังนี้

"เมื่อเกิดรบขึ้นกันกับญวนในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) คิดแบบอย่างเรือรบขึ้นใหม่ เจ้าพระยานครฯ คิดต่อเปนเรือกำปั่นแปลงขนาดยาว ๑๑ วา กว้าง ๙ ศอกคืบ หัวเปนเรือปากปลา ท้ายเปนกำปั่น มีหลักแจวรายตลอดลำทั้งสองแคม สำหรับแจวในแม่น้ำลำคลอง และมีเสาใบสำหรับแล่นใบในทะเลด้วย

เมื่อคิดแบบอย่างตกลงกันแล้ว โปรดฯ ให้เจ้าพระยานครฯ ต่อเรือกำปั่นแปลงลำแรกที่บ้านหน้าวัดมหาธาตุ ต่อสำเร็จแล้วถวายทอดพระเนตร ก็โปรด พระราชทานชื่อว่า เรือมหาพิไชยฤกษ์ ...และได้ต่อขึ้นอีก ๓๐ ลำ พระราชทานเงินช่วยลำละ ๒,๔๐๐ บาท"

"ครั้งนั้นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช เข้ามาเฝ้าช่วยในการพระบรมศพด้วย ทรงพระราชดำริว่า กองทัพฝ่ายเราไปฆ่าอ้ายญวนเสีย เจ้าเวียดนามมีความโกรธแค้นอยู่ จะไว้ใจทางทะเลไม่ได้ จึ่งโปรดให้เจ้าพระยานครคิดต่อเรือรบขึ้นเป็นตัวอย่างลำ ๑  ให้ใช้ทั้งในคลองและทะเลได้  เจ้าพระยานครจึ่งคิดต่อเป็นเรือปากปลาท้ายกำปั่นแปลง  มีพลแจวได้ ๒ ข้างตลอดลำ  ปากกว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ยาว ๑๑ วา   ครั้นถวายตัวอย่างโปรดแล้ว   เจ้าพระยานครก็ต่อขึ้นที่หน้าบ้านลำ ๑   พระราชทานชื่อ มหาพิไชยฤกษ์ แล้วเกณฑ์เสนาบดี เจ้สัว เจ้าภาษี นายอากร ต่อคนละลำบ้าง ๒ คนต่อลำบ้าง ได้เรือ ๓๐ ลำ  พระราชทานเงินช่วยแรงลำละ ๓๐ ชั่ง  พระราชทานชื่อว่า
ไชยเฉลิมกรุง ๑ บำรุงศาสนา ๑ อาสาสู้สมร ๑ ขจรจบแดน ๑ แล่เลยลม ๑ อุดมเดชะ ๑ ชนะชิงชัย ๑ บรรลัยข้าศึก ๑ พิลึกเลอสรวง ๑ ทะลวงกลางรณ ๑ ประจญโจมทัพ ๑ จับโจรทมิฬ ๑ บินอรณพ ๑ ตลบล่องคลื่น ๑ ฝืนชลเชี่ยว ๑ เที่ยวอุทก ๑ กระหนกจาม ๑ ทรามคะนอง ๑ ผยองสมุทร ๑ ประทุษฐเมืองพาล ๑ รำบาญปรปักษ์ ๑ จักรอมเรศร์ ๑ ตระเวนวารี ๑ ตรีเพชฌฆาต ๑ พรหมาสตร์นารายณ์ ๑ ลอยชายเข้าเมือง ๑ กระเดื่องบุญฤทธิ์ ๑ พานิชภิเศก ๑ เฉกเทพดาสรรค์ ๑ มหันตมงคล ๑
แล้วปลูกโรงไว้ที่คลองบางกอกใหญ่ หน้าวัดสังข์กระจายข้าม"

และดูเหมือนว่าราชนาวีไทย เคยนำชื่อเรือเหล่านี้บางส่วนมาเป็นนามสำหรับเรือที่ประจำการอยู่ในขณะนั้นด้วย
เช่น เรือหลวงเที่ยวอุทก เรือหลวงตระเวนวารี


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ม.ค. 11, 20:41
^
เรื่องเรือรบที่คุณart47ยกมานั้น เป็นสงครามสยามกับญวนครั้งที่๒ครับ เรื่องไทยรบกับญวนนี้เคยเป็นมหากาพย์ชื่อ “อานามสยามยุทธ สงครามสร้างชาติสยาม” ที่ตั้งใจจะมี๓ตอน แต่เอาเข้าจริงๆ ตอน๓หายไปเฉยๆ ทั้งๆที่เป็นกระทู้ที่สนุกมาก คนติดตามอ่านเยอะแยะ เจ้าของกระทู้ชื่อคุณแมวเซา สำบัดสำนวนที่เขียนถือเป็นชั้นครูทีเดียว ทำให้เรื่องที่น่าเบื่อ กลายเป็นเรื่องที่น่าอ่านได้

เพื่อไม่ให้สับสนกับกระทู้นี้ ผมได้เอาลิงค์มาให้ผู้ที่สนใจ อยากจะตาแฉะเข้าไปอ่านดู เป็น “อานามสยามยุทธ สงครามสร้างชาติสยาม ภาค 2” ที่ผมคิดว่าเป็นตอนที่มันส์ที่สุดนะครับ ภาคแรกไปปูทางเรื่องลาวเรื่องเขมรเสียหมด ส่วนภาค๓ นัยว่าจะมีเรื่องที่กรมขุนอิศเรศฯเป็นแม่ทัพเรือ เอาเรือปืนไปถล่มบันทายมาศ รู้สึกว่าท่านเจ้าของกระทู้หมดแรงไปเสียก่อน ผมหาร่องรอยไม่เจอว่าตกลงได้เขียนขึ้น หรือไม่ได้เขียน

คลิ๊กตามนี้เลยนะครับ

http://salakohok.freeforums.org/2-t11.html

ผมจะลองฉายหนังตัวอย่างให้ดู

กลับมาที่สมรภูมิปากคลองวามนาวต่อนะครับ

ที่ผมพาแวะไปสำรวจกำลังของกองทัพเรือสยามเสียก่อน ก็พอจะได้จินตนาการให้เห็นความงดงามของกระบวนทัพเรือสยามที่เป็นสำเภาแบบจีน ติดตั้งปืนใหญ่ที่หัวเรือ และที่กาบเรือ รวม 6กระบอก ติดธงทิวสีแดง ทหารสวมเสื้อผ้านุ่งสีแดง สวมหมวกตุ้มปี่สีแดง(รูปทรงคล้ายดอกลั่นทม) ประมาณลำละ40-50คน

ผมมองเห็นขบวนเรือหลายสิบลำกรรเชียงด้วยพายอย่างยาวมาเป็นแถวตามลำน้ำโขงที่กว้างใหญ่ พร้อมยิงปืนใหญ่หน้าเรือและกราบซ้ายจนควันขาวตลบอบอวลไปทั่วท้องน้ำ เมื่อมาประจัญหน้ากันตลอดทั้งแนวค่ายก็แปรขบวนทิ้งสมอเรือให้หันหน้าสู้กระแสน้ำเป็นแถวยาวเหยียด เพื่อยิงปืนทางกราบเรือด้านขวามือ การยิงปืนใหญ่อย่างต่อเนื่องข้ามวันข้ามคืน คงจะหมดกระสุนไปเป็นพันนัดเหมือนกัน แต่อย่างนั้นก็ตามทหารผ่ายญวนก็ไม่มีท่าทีว่าจะยอมแพ้

ผมเอาทางกองทัพเรือสยามมาบรรยายเสียยืดยาวก็เพื่อจะรำลึกถึงตอนที่กองทัพเรือสยามได้มีส่วนร่วมในชัยชนะครั้งสุดท้ายของกองทัพเรือในสงคราม “อานามสยามยุทธ” ภาคที่สองนี้ครับ

แมวเซา


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ม.ค. 11, 09:35
^
เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
ช่วยอธิบายเส้นทางให้ทราบได้ไหมคะว่า ออกจากปากอ่าวไทย เลียบไปทางไหน จนถึงบันทายมาศ

เข้าไปอ่านลิงค์อานามสยามยุทธที่คุณNAVARAT.C แปะลิงค์ส่งให้อ่าน ก็พบกับ เส้นทางการเดินเรือดังนี้ครับ

ฉะบับที่ ๒๐ ระยะทางเรือใบไปเมืองญวน
ข้าพระพุทธเจ้า พระภักดีวานิจ พระสุนทรวานิจ พระไมตรีวานิจ หลวงจำเริญวานิช รับใส่เกล้า ฯ ได้ไปปรึกษากับไต่ก๋ง จีนญวน พร้อมกันทำระยะทางทูลเกล้า ฯ ถวาย

แต่เมืองเว้จะเข้า มาเมืองไซ่ง่อน ถ้าเดือนยี่ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เป็นฤดูลมตะวันออกลมดีมาได้คล่อง ๙ วัน ๑๐ วันถึงเมืองไซ่ง่อน
ถ้าจะกลับไปในเดือนยี่ เดือน ๓ เดือน ๔ ลมต้านหน้าไปไม่ได้ ต่อเดือน ๕ พอแล่นก้าวไปได้บ้าง ๑๗ วัน ๑๘ วัน จึงจะถึงเมืองเว้
เดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เป็นฤดูลมสำเภา สลาตัน ลมขัด เมืองเว้จะลงมาเมืองไซ่ง่อนไม่ได้ ถ้าจะกลับไปสมสลาตันส่งท้ายไปคล่อง ๙ วัน ๑๐ วันถึงเมืองเว้ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ เป็นฤดูลมตะวันออก ลมอุตรา ลมตะวันตก ลมแปรปรวนหายืนไม่ เมืองเว้จะลงมาเมืองไซ่ง่อน ต้องแล่นก้าวเข้ามา ๒๑ วัน ๒๒ วัน จึงจะถึงเมืองไซ่ง่อน

ถ้าจะกลับไปต้องแล่นก้าว ลมไม่เป็นประตูเดียวไป ๒๕ วัน ๒๖ วันถึงเมืองเว้ เดือน ๑๒ เดือนอ้าย เป็นฤดูลมว่าวลมอุตรากล้า คลื่นใหญ่เกิดพายุในตกหนัก เมืองเว้จะลงมาเมืองไซ่ง่อนไม่ได้ ถ้าจะกลับไปเป็นลมพายุฝนคลื่นใหญ่ตีเข้าฝั่งถึงจะแล่นก้าวก็ไม่ได้
ระยะทางนอกแต่เมืองเว้ จะมาเมืองไซ่ง่อนที่จะแวะเข้าตักน้ำหาฟืน ถ้าลมดีแล่นมาแต่เมืองเว้ วันหนึ่งถึงเขาหันสอหน้าเมืองหุ้ยอาน แต่เขาหันสอแล่นมาครึ่งวันถึงเกาะเจียมปิดหลอมาวันหนึ่งถึงเกาะวัวโลตรงปาก น้ำเมืองกวางง่าย แต่เกาะวัวโลแล่นมา ๒ วัน ถึงปากน้ำเมืองกุยเญิน แต่ปากน้ำเมืองกุบเญินแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองภูเอียน แต่ปากน้ำเมืองภูเอียนแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองภูเอียน แต่ปากน้ำเมืองภูเอียนแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองอยาตรัง แต่ปากน้ำเมืองอยาตรังแล่นมา ๒ วันถึงวัวญิมปากน้ำเมืองไซ่ง่อน

แต่เมืองไซ่ง่อนจะมาเมืองพุทไธมาศทางนอก ถ้าเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนอ้ายเป็นฤดูลมตะวันออกมาคล่อง ๔ วัน ๕ วันถึงเมืองพุทไธมาศ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ แล่นก้าวมาได้ ถ้าเป็นฤดูลมว่าวต้องแล่นก้าวบ้าง มา ๖ วัน ๗ วันจึงถึงเมืองพุทไธมาศ
ถ้าจะกลับไปเมืองไซ่ง่อนต้องแล้นก้าวไป ๓ วัน ๔ วันถึงเกาะมัน แต่เกาะมันจะไปเมืองไซ่ง่อน ลมตะวันออกลมว่าวต้านหน้าไปไม่ได้
ถ้าเดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ ห้าเดือนเป็นลมสลาตันลมสำเภาคลื่นลมกล้า เมืองไซ่ง่อนจะมาเมืองพุทไธมาศไม่ได้ ถ้าจะกลับไปได้คล่อง ลมตะวันตกส่งท้ายไป ๕ วัน ๖ วัน ถึงเมืองไซ่ง่อน

แต่ปากน้ำเมืองไซ่ง่อนมาทะเลทางใน ล้าลมดีครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองสมีถ้อ แต่ปากน้ำเมือยล่องโห้มาครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองล่องโห้ แต่ปากน้ำเมือยล่องโห้มาครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองปาศักดิ์ แต่ปากน้ำเมืองปาศักดิ์มาครึ่งวันถึงเกาะอุยเลย ถ้าคลื่นลมกล้าเรือเดินในเกาะอุยเลยถ้าคลื่นลมปกคิเรือเดินนอกเกาะอุยเลยใน เกาะมัน ๆ กับเกาะอุยเลยตรงกัน ห่างกันทางประมาณครึ่งวัน ถ้าเรือสำเภา เรือปากใต้แล่นนอกเกาะมัน ถ้าเรือศีร์ษะญวนยาว ๑๑ วา ๑๒ วา เดินทางในเกาะมันในเกาะอุยเลยออกจากท้ายเกาะอุยเลยแลเห็นปากน้ำเมืองเขมา แต่เมืองเขมามาวันหนึ่งถึงเมืองเตกเซีย

แต่เมืองเตกเซียมาวันหนึ่งถึงเมืองพุทไธมาศ แต่เมืองพุทไธมาศมาครึ่งวันถึงเมืองกำปอด แลเห็นเกาะตุนอยู่ทิศสำเภาประมาณครึ่งวัน แต่เมืองกำปอดมาครึ่งวันถึงฉองตงมึง สำหรับเรือไปมาแวะเข้าตักน้ำหาฟืน แต่ตงมึงมาวันครึ่งถึงเมืองกระพงโสม แต่เมืองกระพงโสมมาวันครึ่ง มาแต่ไซ่ง่อนทาง ๖ วัน ๗ วันถึงเกาะกง
แต่เกาะกงมาวันหนึ่งถึงเกาะกูด เกาะช้าง หน้าเมืองตราด แต่เกาะช้างมาวันหนึ่งถึงแหลมสิงห์ปากน้ำเมืองจันทบุรี แต่ปากน้ำเมืองจันทบุรีมาวันหนึ่งถึงเกาะสม็ด แต่เกาะเสม็ดครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองระยอง แต่ปากน้ำเมืองระยองมาครึ่งวันถึงช่องแสมสาร แต่ช่องแสมสารมาวันหนึ่งถึงเกาะศรีชังหน้าเมืองบางละมุง แต่เกาะศรีชังวันหนึ่ง แต่ไซ่ง่อนมา ๑๓ วัน ๑๔ วันถึงปากน้ำเจ้าพระยา แต่ปากน้ำเมืองไซ่ง่อนเรือใหญ่จะเดินทางนอก ๒ วัน ถึงเกาะมันออกจากเกาะมันมาวันครึ่งถึงขวางใหญ่ แต่ขวางใหญ่มาวันหนึ่งถึงขวางน้อย แต่ขวางน้อยจะเข้ามา ถ้าเดือนยี่ เดือน ๓ สองเดือนเป็นฤดูลมตะวันออกลมอุตรา ต้องแล่นเลียบฝั่งตะวันออกมา ๓ วัน ๔ วันถึงหน้าเกาะช่องกำปั่น มาแต่เกาะช่องกำปั่นวันหนึ่งถึงเกาะไผ่ออกจาเกาะไผ่วันหนึ่งถึงหลังเต่าตรง เข้าปากน้ำเจ้าพระยาเป็นทาง ๙ วัน ๑๐ วัน ถ้าเดือน ๔ เดือน ๕ สองเดือนเป็นลมสำเภาสลาตัน ออกจากขวางน้อยแล่นข้ามมา ๔ วัน ๕ วันถึงหน้าเขาสามร้อยยอด ออกจากเขาสามร้อยยอดครึ่งวันมาถึงเจ้าลาย ออกจากเจ้าลายครึ่งวันถึงเกาะไผ่ มาวันหนึ่งถึงหลังเต่าตรงเข้าปากน้ำเจ้าพระยาเป็นทาง ๗ วัน

ถ้าเดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ สี่เดือนนี้ฤดูลมสลาตันลมตะวันตกพัดกล้าคลื่นใหญ่ เมืองพุทไธมาศ ขวางน้อย จะเข้ามาไม่ได้ ถ้าเดือน ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนอ้าย สี่เดือนนี้เป็นฤดูลมตะวันออกลมศีร์ษะเขา ทางนอกมาไม่ได้ลมพัดกล้าคลื่นใหญ่ ถ้าจะมาต้องมาทางใน ที่จะตั้งกองลาดตระเวนคอยดูเรือไปมาทางนอกทิศตะวันออก ที่เกาะกูดแห่งหนึ่งที่เกาะช่องกำปั่นแห่งหนึ่ง

ข้างทิศตะวันตกที่สามร้อยยอดแห่งหนึ่ง ถ้าจะตั้งกองตระเวนทางในที่ตั้งเกาะกง เกาะช้าง เกาะกูดเกาะศรีชังแห่งหนึ่ง แต่เมืองไซ่ง่อนจะมาเมืองพุทไธมาศเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนอ้าย มาได้คล่อง เดือนยี่เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ ต้องแล่นก้าวจึงมาได้ เดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ มาไม่ได้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 11:17
^
พิศดารดีจริงๆนะครับ อ่านแล้วต้องใช้เวลาเป็นวันแกะแผนที่จึงจะเห็นภาพ

ขออนุญาตเดินเรื่องต่อ
ผมจะขอเล่าเรื่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯกับเรือกลไฟลำแรกของสยามที่พระองค์ทรงต่อขึ้นสักหน่อย นักประวัติศาสตร์บางท่านอาจจะบันทึกว่า เรือกลไฟลำแรกที่สยามได้ต่อขึ้นชื่อ “เรือสยามอรสุมพล” ที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้ต่อขึ้นสำหรับกองเรือวังหลวง เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร ต้องท้าวความไปถึงสมัยรัชกาลที่๓ เมื่อนายหันแตรนำเรือกลไฟมาแล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก
 
นายหันแตร คือชื่อที่คนไทยสมัยนั้นเรียกนายฮันเตอร์(Robert Hunter)พ่อค้าชาวอังกฤษเชื้อสายสก๊อต  ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เข้ามาตั้งห้างสรรพสินค้าในสยาม ชื่อห้างหันแตร  ถ้าเขียนแบบฝรั่งเรียกจะสะกดว่า พริฏิษ แฟกฏอรี่ (The British Factory)
คุณหลวงเล็กได้เขียนเรื่องนี้ไว้โดยพิศดารในห้องเรือนไทยนี้เอง ท่านไปคลิ๊กอ่านได้ที่

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3268.0

นายฮันเตอร์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอาวุธวิเศษประเทศพาณิช เพราะมีความดีความชอบถวายปืนคาบศิลา จำนวน๑๐๐๐กระบอก ขณะที่ไทยมีกรณีพิพาทกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ

นายฮันเตอร์ยังได้เป็นคนที่นำตัว ฝาแฝดอิน-จันชาวสยามเดินไปแสดงตัวที่สหรัฐอเมริกา จนโด่งดังและทำให้สากลโลกได้รู้จักกับแฝดสยามจนบัญญัติศัพท์คำว่า Simese Twin ขึ้นเป็นครั้งแรก แต่นายฮันเตอร์มีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักนัก เช่น เคยเสนอขายพรมให้แก่หลวงโดยที่ไม่ได้สั่ง แต่พอหลวงไม่ซื้อก็เกิดความไม่พอใจ บางครั้งลักลอบนำเข้าฝิ่นเถื่อน ทั้งที่กฎหมายไทยในเวลานั้นประกาศห้ามสูบฝิ่น เมื่อถูกตรวจพบ นายฮันเตอร์ก็มักอ้างความสัมพันธ์ระหว่างชาติ หรือไม่ก็ขู่ว่าจะนำเรื่องไปฟ้องต่อทางการอังกฤษให้นำเรือรบมาปิดปากอ่าวเป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างนายฮันเตอร์กับทางราชการขาดสะบั้นลง เมื่อเห็นสยามเปิดสงครามกับญวน นายฮันเตอร์ได้สั่งปืนคาบศิลาหวังจะมาขายจำนวน๒๐๐กระบอก โดยหวังว่าหลวงจะซื้อทั้งหมด ปืนนั้นเข้ามาช้า พอดีสงครามซาลงแล้ว ทางราชการไม่มีความจำเป็น แต่พยายามรักษาน้ำใจขอรับซื้อไว้๑๐๐กระบอกเท่านั้น แต่นั่นยังเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ก็คือ ปืนชุดนี้เดินทางเข้ามาพร้อมกับเรือกลไฟ ที่ชื่อ เอ็กเพรส (Express)
 
เรือลำนี้แล่นมาจากเมืองท่าลิเวอร์พูล กัปตันชื่อ พี.บราวน์ ได้นำเข้ามาวิ่งทวนน้ำตามน้ำโชว์ตัวในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้คนกรุงแห่กันไปดูแน่นขนัดริมฝั่ง อย่าว่าแต่คนไทยเลย พวกฝรั่งหลังเขาตั้งแต่เกิดมาก็ไม่เคยเห็น "เหล็กลอยน้ำได้"  สิ่งประดิษฐ์ใหม่แห่งยุค อย่างเช่นเรือกลไฟมาก่อน แต่นายฮันเตอร์ได้เสนอขายในราคา ๕๐๐๐๐เหรียญสหรัฐ แต่คนไทยบอกว่าแพงไป เพราะเรือขึ้นสนิมแล้ว นายฮันเตอร์ก็วีนแตก ประกาศว่าจะนำไปขายให้ญวนซึ่งเป็นคู่แค้นของไทยแทน คงจะทะเลาะกันหนักและแสดงกิริยาที่หยาบคายสุดๆ หนังสือบางฉบับกล่าวว่านายฮันเตอร์ถึงกับขู่ว่าจะยิงลูกระเบิดถล่มพระราชวังเสียด้วย ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ซึ่งทรงหน่ายกับพฤติกรรมของฝรั่งคนนี้อยู่แล้ว จึงรับสั่งให้เนรเทศนายฮันเตอร์กับภรรยาที่อยู่ในเมืองไทยมา๑๘ปีแล้วออกนอกราชอาณาจักร ห้ามกลับเข้ามาอีกตลอดชีวิต นายฮันเตอร์จึงต้องออกไปสิงคโปร์พร้อมกับเรือเอ็กเพรส  ขูดสนิมทาสีใหม่ที่อู่ของอังกฤษแล้ววิ่งไปไซ่ง่อน ขายเรือลำนี้ให้ญวนไปในราคาที่เคยเรียกเอากับสยาม

ผมหารูปเรือเอกเอ็กเพรสไม่พบ พบแต่เรือร่วมสมัยที่ต่อจากลิเวอร์พูล เลยเอามาลงพอเป็นจินตนาการ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 11:23
วิลาส นิรันดร์สุขศิริ เขียนไว้ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที๒๖ ฉบับที่๐๙ ดังนี้

จดหมายข่าวของมิชชันนารีในสยาม ที่ลงเรื่องเกี่ยวกับเรือลำนี้ไว้ในส่วนที่เป็นปัจฉิมลิขิต จดหมายข่าวดังกล่าวเป็นฉบับประจำวันที่ ๑๑ มกราคม ค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) เล่าเรื่องเรือลำนี้ไว้อย่างค่อนข้างน่าสนใจ ตอนท้ายของปัจฉิมลิขิตนี้ มีข้อความที่อ่านแล้วอดขำในความช่างแขวะของบาทหลวงฝรั่งที่เขียนเรื่องนี้ไม่ได้ การแขวะศาสนาพุทธโดยมิชชันนารีฝรั่งในครั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกหูแต่อย่างใด และเป็นเรื่องทำนองขี้แพ้ชวนตีเสียมาก
 
"เหตุการณ์แปลกใหม่อย่างยิ่งสำหรับประเทศสยามเพิ่งเกิดขึ้น ประมาณ ๙ โมงเช้าวันนี้ เรือกลไฟของอังกฤษชื่อ เอ็กสเปรส โดยกัปตัน พี บราวน์ เดินทางขึ้นแม่น้ำมา ความใหญ่โตโอฬารของเรือสร้างความโกลาหลให้แก่เรือลำเล็กลำน้อยในแม่น้ำนี้อย่างมาก ส่วนพละกำลังของเรือก็ทำให้ชาวบ้านนับพันพากันแตกตื่น บางกอกไม่เคยเห็นภาพเช่นนี้มาก่อน พระเจ้ากรุงสยามทรงเป็นราวปักษีน้อยในกรงทอง๑ เราเกรงว่าพระองค์ยังไม่ทรงเห็นสิ่งมหัศจรรย์นี้ แม้ว่าเรือได้แล่นผ่านหน้าพระบรมมหาราชวัง และเลี้ยวกลับหลังอวดตัวเสร็จแล้ว บรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนางและข้าราชการของรัฐบาล ต่างรู้สึกทึ่งกันทั่วหน้า และกล่าวกันว่า "เรือลำนี้เป็นที่สุดของหัวใจของพวกเขา" อันเป็นการแสดงออกที่มีความหมายเหมือนกับที่ราชินีแห่งชีบาทรงรู้สึก เมื่อพระนางทรงเห็นชัยชนะของโซโลมอน และว่ากันว่า "ไม่มีจิตวิญญาณอื่นใดเหลืออยู่ในพระวรกายของนางแล้ว" พระคลังกล่าวว่า เรือลำนี้เป็นฝีมือของทวยเทพ หาใช่มนุษย์ไม่ เป็นที่หวังกันอย่างที่สุดว่า พระมหากษัตริย์จะทรงแหวกม่านประเพณีหลวงเพื่อการนี้สักครั้ง และเสด็จไปบนเรือเพื่อทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เรือเอ็กสเปรสได้รับการซ่อมแซมและนำมาสู่สยาม ตามพระราชปรารภของพระองค์ที่มีพระราชประสงค์ที่จะซื้อเรือเช่นนี้ แต่เรือลำนี้ก็ก้าวหน้าเกินกว่าสติปัญญาและทักษะของชาวสยามเหลือเกิน จึงมีโอกาสเสี่ยงที่พระองค์อาจทรงเบี่ยงบ่ายหลีกเลี่ยงจากข้อตกลงที่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนหน้านี้ เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด พระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อพระราชกรณียกิจในการสร้างและตกแต่งวัดวาอาราม และอาจทรงเห็นว่าเรือลำนี้มีราคาแพงเกินไป สู้เอาไปบำรุงพระเจ้าที่ไร้ความหมายของพระองค์ไม่ได้ เราเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าของเราจะทรงใช้เหตุการณ์นี้เพื่อแผ้วถางทางให้พระองค์เข้าสู่จิตใจของผู้คนเหล่านี้ แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่สร้างขึ้นจากสติปัญญาและอำนาจของมนุษย์ที่จะเปลี่ยนวิญญาณของผู้คนเหล่านี้ให้หันเข้าหาพระคริสต์ได้ เว้นแต่พระวรสารเท่านั้น"
 
เหนือข้อความข้างต้น มีข้อความ ๒ ประโยคที่เขียนด้วยมือ ใจความว่า "พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้สั่งเรือลำนี้แต่พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะรับซื้อไว้ เรือจะไปสิงคโปร์พรุ่งนี้"


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 11:33
เป็นอันว่า เมื่อนายฮันเตอร์จากไป ความหวังที่จะมีเรือกลไฟไว้ใช้ในสยามก็จางหายไปด้วย แต่เรือ "เอ็กสเปรส" ก็เป็นแรงดลใจให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงสร้างเรือกลไฟขึ้น

พระราชกิจจานุกิจของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเขียนไว้ตอนหนึ่งว่า "ในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ (ค.ศ. ๑๘๔๗) และได้ทรงร่วมกับ Rev. J.H. Chandler สร้างเรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ที่ต่อมาเรียกว่า "เรือกลไฟ" หรือ "เรือไฟ" เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้ทรงทดลองแล่นในแม่น้ำเจ้าพระยา"  

ความจริง เรือกลไฟลำแรกที่กล่าวถึงนี้ เป็นเรือแบบมีล้อใบพัดน้ำด้านข้าง ขนาดประมาณ ๒๐ กว่าฟุต หรือ๖เมตร เป็นเรือขนาดเล็กที่ทรงทดลองต่อขึ้นเป็นเรือต้นแบบ ยังไม่ใช่เรือที่มีประสงค์จะนำมาใช้งานอย่างจริงจัง

ผมเอารูปเรือที่เป็นต้นแบบของการใช้เครื่องจักรไอน้ำมาลงพอเป็นสังเขปนะครับ ดังนั้นผู้ที่ค่อนขอดว่า เรือที่พระองค์ต่อขึ้นลำนี้ใช้งานจริงไม่ได้เพราะไม่มีปืนใหญ่สักกระบอก ก็จริงของเขานั่นแล แต่อยู่ๆใครจะต่อเรือกลไฟขึ้นมาขนาดจะใช้ติดอาวุธเป็นเรือรบได้ มันก็ต้องเริ่มต้นจากเรือต้นแบบเช่นนี้ก่อนทั้งนั้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 11:41
ดังนั้น คงมีฝรั่งคนใดคนหนึ่งได้เห็น และชื่นชมพระองค์มาก ถึงขนาดส่งเรื่องไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “Singapore Free Press” ที่สิงคโปร์ ไม่แน่ว่าเป็นพระราชประสงค์หรือเหตุบังเอิญกันแน่ที่เรือลำนี้ออกแล่นอวดโฉมในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม อันเป็นวันชาติสหรัฐพอดี ต่อมานิตยสาร " Scientific American " จึงได้นำบทความเรื่องราวเกี่ยวกับพระปรีชาสามารถของพระองค์ดังกล่าว ไปลงพิมพ์อีกครั้งหนึ่งดังนี้

หนังสือพิมพ์ Singapore Free Press ฉบับวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ (ค.ศ. ๑๘๔๘) ตีพิมพ์ข่าวต่อไปนี้จากเมืองบางกอก ประเทศสยาม โดยเล่าเกี่ยวกับพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะการช่างของเจ้าชายพื้นเมืองพระองค์หนึ่ง
 
เป็นที่ทราบกันสักระยะหนึ่งแล้วว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ได้ทรงริเริ่มสร้างเครื่องจักรไอน้ำขนาดเล็กขึ้น การสร้างดังกล่าว ซึ่งเกิดจากความอุตสาหะพยายามอันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและความทรหดอดทนของพระองค์ท่าน ได้เสร็จสมบูรณ์ลงแล้วหลังจากใช้เวลามานาน และชาวสยามก็สามารถคุยเขื่องได้แล้วว่า ตนมีเรือกลไฟไว้แล่นในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่ชิ้นส่วนทุกชิ้นของเรือถูกสร้างและผลิตขึ้นในประเทศโดยชาวสยามเอง เรือลำนี้มีความยาว ๒๖ ๑/๒ ฟุต ความกว้าง ๓ ฟุต และมีเครื่องยนต์ ๒ แรงม้า ปรากฏการณ์ขนาดย่อมนี้ได้แล่นขึ้นลงแม่น้ำสายนั้นหลายเที่ยวแล้ว ท่ามกลางสายตาที่เต็มไปด้วยความรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมของฝูงชนนับพันที่ยืนแออัดกันบนฝั่งแม่น้ำทุกครั้งที่เรือแล่นผ่าน โดยที่ส่วนใหญ่เจ้าฟ้ากรมขุนฯ ทรงเป็นนายท้ายเรือด้วยพระองค์เอง เป็นธรรมดาอยู่เองที่พระองค์ทรงปลื้มพระทัยกับเรือไอน้ำลำนี้ของพระองค์ยิ่งนัก ไม่กี่วันที่ผ่านมา พระองค์ทรงนำเรือดังกล่าวแล่นไปมาหน้าพระบรมมหาราชวังต่อเบื้องพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงปลาบปลื้มพระทัยจนถึงกับทรงกล่าวคำสรรเสริญในความช่างประดิษฐ์ของเจ้าฟ้ากรมขุนฯ พร้อมพระราชทานของกำนัล นอกจากนั้นยังมีพระบรมราชโองการให้เจ้าฟ้ากรมขุนฯ สร้างเรือกลไฟขึ้นอีกลำหนึ่ง ให้มีขนาดใหญ่พอที่จะเดินทางไปยังสิงคโปร์ได้ ซึ่งเจ้าฟ้ากรมขุนฯ ก็ทรงรับที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ เนื่องจากประเทศสยามไม่มีทองแดงหรือเหล็กที่มีความหนาพอ เตาต้มน้ำจึงถูกสร้างขึ้นในลักษณะที่มีน้ำหนักมาก อันส่งผลให้ความเร็วของเรือลดลง อย่างไรก็ตามเจ้าฟ้ากรมขุนฯ ทรงคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ไม่มากก็น้อย พระองค์มีรับสั่งให้จัดสร้างเรืออีกลำหนึ่งขึ้นจากแบบจำลองที่แตกต่างจากเดิม โดยที่สามารถลอยตัวในน้ำได้ดีกว่าลำปัจจุบัน และมีล้อใบพัดน้ำขนาดใหญ่กว่าเดิม พระองค์ทรงสั่งซื้อทองแดงที่มีความหนาพอสำหรับเตาต้มน้ำตัวใหม่จากสิงคโปร์แล้ว
 
แม้แต่ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ขนาดจิ๋วก็ทำด้วยฝีมือที่น่าชมเชยอย่างยิ่ง และสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของเจ้าฟ้าผู้ทรงมีฝีมือช่างพระองค์นี้ ซึ่งทรงกำกับดูแลการผลิตอย่างใกล้ชิดและทรงตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนความสามารถของเหล่าช่างผู้รับใช้พระองค์ ที่ล้วนเรียนรู้ด้วยตนเอง

วิลาส นิรันดร์สุขศิริ  วารสารศิลปวัฒนธรรม

ในเวลาใกล้เคียงกับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ “ The New York Tribune “ ที่ได้ลงข้อความสดุดีเจ้านายสยามองค์นี้ด้วย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 12:05
ความจริงบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพระองค์ คือชาวอเมริกันชื่อ J.H. Chandler คนไทยเรียกหมอจันทเล  นายคนนี้ไม่ใช่หมอจริงๆ และไม่ใช่หมอสอนศาสนาด้วย แต่ธรรมเนียมคนไทย เมื่อเห็นฝรั่งทำงานกับมิชชันนารีก็เรียกหมอไว้ก่อน ทั้งๆที่รักษาโรคไม่ได้ ที่มิชชันนารีจ้างไว้ก็เพราะมีความรู้ทางช่าง สัมพันธภาพระหว่างนายแชนด์เลอร์กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ได้เริ่มต้นอย่างดี ก่อนที่จะจบแบบไม่สวยเท่าไหร่ เพราะบทความที่หนังสือพิมพ์เอาไปลง ดูเหมือนว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะแย่งซีนไปเป็นพระเอกแต่พระองค์เดียว นายแชนด์เลอร์ผู้กระหายจะมีชื่อเสียงบ้าง จึงต้องลงมือเขียนจดหมายไปถึงวารสาร Scientific American บ้างเพื่อระบายความในใจ
 
หมอบลัดเลย์เขียนถึงนายแชนด์เลอร์กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เพียงดังนี้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ม.ค. 11, 12:17
"แต่คนไทยบอกว่าแพงไป เพราะเรือขึ้นสนิมแล้ว"

แสดงว่ามีการให้ชาวสยามได้ขึ้นไปยังเรือเพื่อสำรวจใช่ไหมครับ เหมือนเคยอ่านทำนองว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงขึ้นไปสำรวจเรือ หรือขุนนางสักท่านปลอมตัวเข้าไปยังบนเรือ เพื่อสำรวจเรือว่าเหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร ใช่ไหมครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 12:18
จดหมายของนายแชนด์เลอร์ที่เขียนถึงบรรณาธิการวารสาร Scientific American นั้น ได้รับการลงพิมพ์ในฉบับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๓ (ค.ศ. ๑๘๕๐) มีเนื้อความดังนี้
 
จดหมายจากสยาม อินเดียตะวันออก
บางกอก ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๓ (ค.ศ. ๑๘๕๐)
 
เรียนคุณมันน์ และสหาย
 
ในวารสาร ฉบับวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๒ (ค.ศ. ๑๘๔๙) มีบทความภายใต้หัวเรื่องว่า "ช่างเครื่องกลเชื้อพระวงศ์ชาวสยาม" ซึ่งกล่าวว่า T.N. Chaufa Kromakun (บางครั้งเรียกว่า T. Momfanoi) ได้ทรงสร้างเรือไอน้ำลำเล็กขึ้นลำหนึ่ง ปรากฏในเนื้อหาของบทความว่า "เครื่องยนต์และลำเรือถูกสร้างขึ้นจากความอุตสาหะพยายามอันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและความทรหดอดทนของพระองค์ท่าน และขณะนี้ชาวสยามก็สามารถคุยเขื่องได้แล้วว่า ตนมีเรือไอน้ำไว้แล่นในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่ชิ้นส่วนทุกชิ้นของเรือถูกสร้างและผลิตขึ้นในประเทศโดยชาวสยามเอง" ข้อความนี้ถูกต้องแน่หรือ พระองค์และชาวสยามอาจ "คุยเขื่อง" ได้ แต่ความจริงแล้ว ข้อความนั้นเป็นจริงเพียงครึ่งเดียว ของกำนัลที่กล่าวกันว่าเจ้าฟ้าพระองค์นี้ได้รับนั้นมีมูลค่าน้อยกว่า ๑๕๐ เหรียญสหรัฐ และแม้ว่า "ในหลวงยังมีพระบรมราชโองการให้เจ้าฟ้ากรมขุนฯ สร้างเรือไอน้ำขึ้นอีกลำหนึ่ง ให้มีขนาดใหญ่พอที่จะเดินทางไปยังสิงคโปร์ได้" กระนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างเรือดังกล่าวขึ้นมาแต่อย่างใด ทองแดงที่อ้างกันว่าสั่งเข้ามาสำหรับเตาต้มน้ำก็ไม่เคยมาถึง และเป็นไปได้ว่าผู้ที่รับใบสั่งสินค้าไม่กล้าผลิตสินค้าให้ ด้วยเกรงว่าจะไม่ได้รับค่าตอบแทนแต่อย่างใด
 
บทความดังกล่าวปิดท้ายด้วยข้อความที่ว่า "แม้แต่ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ขนาดจิ๋วก็ทำด้วยฝีมือที่น่าชมเชยอย่างยิ่ง และสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถของเจ้าฟ้าผู้ทรงมีฝีมือช่างพระองค์นั้น ซึ่งทรงกำกับดูแลการผลิตอย่างใกล้ชิดและทรงตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนความสามารถของเหล่าช่างผู้รับใช้พระองค์ท่านที่ล้วน "เรียนรู้ด้วยตนเอง" ในการสร้างเครื่องยนต์ดังกล่าว ผมมักถวายคำปรึกษาเนืองๆ และคำชี้แนะของผมก็ได้รับการปฏิบัติตาม บ่อยครั้งที่เราพบช่างเครื่องที่เรียนรู้ด้วยตนเองในประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งเป็นช่างฝีมือดี แต่การคิดว่าบุรุษที่เรียนรู้ด้วยตนเองท่ามกลางคนป่าเถื่อนสามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้นั้น เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อเลย
 
แต่ทั้งเจ้าฟ้าพระองค์นั้นและผู้ติดตามของพระองค์ต่างก็มิได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อผมมาถึงที่นี่ในปี ค.ศ. ๑๘๔๓ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ผมนำเครื่องกลึงแบบเลื่อนขนาดเล็กติดตัวมาด้วย หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ผลิตเครื่องมือหลายชิ้นถวายแด่เจ้าฟ้าพระองค์นั้น และจำหน่ายให้พระองค์ในที่สุด จากนั้นพระองค์ก็ทรงขอให้ผมช่วยในการสร้างโรงจักรกล เครื่องกลึงและเครื่องมือต่างๆ ซึ่งผมก็กระทำตามพระประสงค์ และถวายคำชี้แนะให้พระองค์ตลอดจนบริวารของพระองค์เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ และช่วยสร้างเครื่องจักรกลขนาดเล็กให้ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) หลังจากที่ได้สร้างโรงจักรกลและเครื่องมือต่างๆ เสร็จแล้ว เจ้าฟ้าพระองค์นั้นก็มีพระประสงค์ที่จะสร้างเรือไอน้ำขนาดเล็ก ผมสร้างรูปจำลองหลายชิ้นสำหรับเครื่องยนต์ขึ้นจากไม้ แต่พระองค์มีพระประสงค์สิ่งอื่นที่ดีกว่านั้น ผมจึงส่งเงิน ๒๐๐ เหรียญสหรัฐไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อสั่งทำแบบจำลองที่ใช้งานได้ พร้อมทั้งลำเรือโดยสมบูรณ์ เมื่อเรือซึ่งนำแบบจำลองนั้นมาถึงสันดอนปากน้ำ พระองค์ก็ทรงอดพระทัยรอให้เรือเข้ามาในเมืองไม่ไหว และทรงเร่งให้ผมฝ่าฝนไปรับแบบจำลองนั้นมา ผมต้องการสนองพระประสงค์ของพระองค์ จึงรุดออกไปตามรับสั่ง แม้ว่าต้องกลับมาไม่สบายไปหลายวัน
 
เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะคิดว่าหลังจากได้รับความเอาใจใส่และความช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว เจ้าฟ้าผู้มั่งคั่งก็จะประทานรางวัลแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือบ้างไม่มากก็น้อย เวลาที่ใช้ในการถวายความช่วยเหลือแด่พระองค์ ต้องประมาณได้ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เหรียญสหรัฐ แต่ทั้งหมดที่ได้รับในรูปสินน้ำใจนั้น คือของกำนัลเล็กน้อยสองสามชิ้นที่มีมูลค่ารวมกันประมาณ ๒๕ เหรียญสหรัฐ ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะขอรับค่าตอบแทนสำหรับแบบจำลองเรือไอน้ำในเวลาไม่นานหลังจากที่มันมาถึง แต่พระองค์ก็ทรงบ่ายเบี่ยงครั้งแล้วครั้งเล่า และผมก็ไม่ได้รับจนกระทั่งหลังจากนั้นมาอีกสองปี
 
ผมได้แนบคำประกาศสั้นๆ เกี่ยวกับเรือของเจ้าฟ้าพระองค์นี้และโรงจักรกลโรงใหม่ ซึ่งนำมาจากบางกอกคาเลนดาร์ ในปี ค.ศ. ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๓๙๒)
 
ผมได้รับ Scientific American นับจากเล่มที่ ๒ เป็นต้นมา เป็นประจำ และชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ผมหวังให้คุณประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดในความพยายามกระจายข่าวสารด้านเครื่องกล ผมขอแสดงความนับถือมา ณ ที่นี้
 
เจ แฮสเซตต์ แชนด์เลอร์


วิลาส นิรันดร์สุขศิริ ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 12:32
อ้างถึง
"แต่คนไทยบอกว่าแพงไป เพราะเรือขึ้นสนิมแล้ว"

แสดงว่ามีการให้ชาวสยามได้ขึ้นไปยังเรือเพื่อสำรวจใช่ไหมครับ เหมือนเคยอ่านทำนองว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงขึ้นไปสำรวจเรือ หรือขุนนางสักท่านปลอมตัวเข้าไปยังบนเรือ เพื่อสำรวจเรือว่าเหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร ใช่ไหมครับ

ของจะซื้อจะขายกัน ต้องมีการขึ้นไปสำรวจแน่นอนครับ บุคคลสำคัญในเรื่องนี้อีกท่านหนึ่งคือจมื่นไวยวรนาถ หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ คนโปรดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีฝีมือและผลงานในทางต่อเรือให้วังหลวงเช่นกัน ท่านผู้นี้ฉลาดปราชญ์เปรื่อง ฝรั่งมั่วไม่ได้หรอก

ผมเดาว่า เรือคงซื้อมือสองมา และรีบจะนำมาให้ทันสงครามญวนจนไม่ได้ซ่อมแซมปะผุ ยิ่งฝ่าทะเลเป็นแรมเดือนกว่าจะมาถึงสยาม คงจะทรุดโทรมไปอีกไม่น้อย คนซื้อก็ต้องอยากได้ของใหม่ ถ้าเรียกราคาถึงขนาดนี้

ผมจึงสันนิฐานต่อว่า พอคนไทยไม่ซื้อ นายหันแตรก็เอาเรือลำนี้ไปสิงคโปร ที่นั่นเป็นฐานทัพเรืออังกฤษ ย่อมมีอู่ที่จะซ่อมแซมเรื่องพวกนี้ได้ เรือเมื่อซ่อมดีแล้วเอาไปญวน ญวนจึงซื้อเพราะจำเป็น เพราะตอนนั้นญวนก็เริ่มมีเรื่องกับฝรั่งเศสแล้ว

นายหันแตรคงขาดทุนกำไรไปโขอยู่ แต่ถ้าไม่ซ่อม ออกจากกรุงเทพวิ่งไปขายญวนในไซ่ง่อนอีก ก็คงหงายหลังเป็นครั้งที่สอง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 19 ม.ค. 11, 13:39
หลวงนายสิทธิ์ ใน คคห. ๑๔๓ ก็คือ
(ในรัชกาลที่ ๓) หลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก (ช่วง บุนนาค) ต่อมาก็คือ จมื่นไวยวรนาถ (เพิ่มสร้อยเป็น จมื่นไวยวรนาถภักดีศรีสุริยวงศ์) หัวหมื่นมหาดเล็ก
และได้เลื่อนเป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ประมาณปีสุดท้ายในรัชกาล    
ในรัชกาลที่ ๔ เป็นที่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม ศักดินา ๒๐๐๐๐ (พิเศษ) เครื่องยศเทียบที่เจ้าต่างกรม (เข้าใจว่า เทียบที่พระองค์เจ้าตั้ง คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในบัดนี้)
ในรัชกาลที่ ๕ ได้เป็น ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และภายหลังได้เป็นที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ศักดินา ๓๐๐๐๐  เครื่องยศเทียบที่พระองค์เจ้าต่างกรม
(เข้าใจว่า เทียบที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในบัดนี้ บ้างก็ว่าเทียบที่ กรมหลวง)

อธิบายยืดยาว เผื่อท่านที่ไม่ทราบว่า หลวงนายสิทธิ์ หรือ จมื่นไวยวรนาถ ในรัชกาลที่ ๓ ที่มีบทบาทในการต่อเรือ การทหารเรือ คือผู้ใด  ;D

ในรัชกาลที่ ๔ ท่านได้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า

ตำแหน่ง ผบ.ทร.วังหน้า นั้น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สืบทอดต่อจากพระราชบิดา
ส่วน ผบ.ทร. วังหลวง นั้น "เจ้าคุณทหาร" เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ วร บุนนาค สืบทอดต่อจากบิดา



ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ ได้บันทึกไว้ว่า หลวงสิทธิ์นายเวร สนใจในการศึกษาวิชาต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่ง เป็นนายช่างไทยคนแรกผู้สามารถต่อเรือแบบฝรั่งได้
ท่านได้ต่อเรือกำปั่นรบ เรียกว่าเรือกำปั่นบริค ลำแรกเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โปรดพระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร" (แต่ฝรั่งเรียกว่า เรืออาเรียล)
และได้ต่อเรือรบอีกหลายลำมีน้ำหนักถึง ๓๐๐ - ๔๐๐ ตัน สำหรับลำเลียง ทหารไปรบกับญวน ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๗๘

ได้ต่อเรือขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อว่า "ระบิลบัวแก้ว" (ภาษาอังกฤษว่า คองเคอเรอ) ซึ่งใหญ่กว่าเรือลำแรก
ต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างอู่ต่อเรือขึ้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพ ฯ หลายอู่ เรือกำปั่นลำแรกที่ต่อเสร็จในอู่กรุงเทพฯ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า เรือแคลิโดเนีย เป็นเรือที่ต่อค้างจากจันทบุรี
หลวงนายสิทธิ ได้นำมาต่อเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จในอู่กรุงเทพ ฯ เมื่อต่อเรือลำนี้เสร็จ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้หลวงนายสิทธิ เป็นช่างต่อเรือหลวงและเป็นผู้บัญชาการอู่หลวง

ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ หลวงนายสิทธิได้ต่อเรือกำปั่นเสร็จอีก ๔ ลำ ได้แก่ เรือรบวิทยาคม เรือรบวัฒนานาม (แอโร) เรือจินดาดวงแก้ว (ประเภทเรือบาร์ก ชื่อว่า ซักเซส) เรือลำที่สี่ชื่อ เทพโกสินทร์ (ประเภทเรือชิป ซึ่งเป็นเรือของแม่ทัพหน้าคราวยกไปตีเมืองบันทายมาศ) เนื่องจากมีเรือกำปั่นใบแบบฝรั่งหลายลำ จึงจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศ มาช่วยฝึกสอนวิชาเดินเรือให้แก่คนไทย ใน พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวอังกฤษชื่อ กัปตันทริกซ์ มาสอนวิชาเดินเรือทั้งเรือรบและเรือเดินสินค้า ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ หลวงนายสิทธิได้สร้างเรือกำปั่นแบบฝรั่งขึ้นอีกหลายลำ ได้แก่ เรือราชฤทธิ (พ.ศ. ๒๓๘๔) เรือสยามภพ (พ.ศ. ๒๓๘๕) เรือโผนเผ่นทะเล (พ.ศ. ๒๓๙๒) และเรือจรจบชล (พ.ศ. ๒๓๙๓)

หลวงสิทธินายเวร (ช่วง บุนนาค) รับราชการมี ความดีความชอบมากจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นโดยลำดับ ได้เลื่อนเป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก พ.ศ. ๒๓๘๔ เพิ่มสร้อยนามของท่านเป็นจมื่นไวยวรนาถภักดีศรีสุริยวงศ์

ในปีนี้ได้เกิดสงครามกับญวน รัชกาลที่ ๓ ได้ให้จัดกองทัพเรือกำปั่นที่ต่อใหม่ โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพหลวง และจมื่นไวยวรนาถ เป็นทัพหน้ายกไปตีเมืองบันทายมาศ



จาก http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1113 (http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1113)
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ค้นพบมองข้ามเรือกลไฟลำแรกที่ว่านี้ แล้วจัดให้เรือพระที่นั่งสยามอรสุมพลเป็นเรือกลไฟลำแรกที่คนไทยต่อขึ้นใช้ได้เอง เรือพระที่นั่งลำนี้มีความยาว ๗๕ ฟุต และความกว้าง ๒๐ ฟุต โดยต่อตัวเรือกันที่อู่ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ส่วนเครื่องจักรกำลัง ๑๕ แรงม้านั้น สั่งซื้อมาจากเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เรือลำนี้สร้างเสร็จและขึ้นระวางประจำการเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ (ค.ศ. ๑๘๕๕) เว็บไซต์ของกองทัพเรือจัดให้เป็นเรือรบในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่หนังสือของอาจารย์ ส. พลายน้อย เห็นว่าควรเป็นเรือกลไฟธรรมดา ไม่ใช่เรือรบ เพราะไม่มีปืนใหญ่

สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งยังทรงพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ทรงกล่าวถึงเรื่องการสร้างเรือกลไฟในหนังสือตำนานเรือรบไทยว่า (คัดลอกมาโดยไม่เปลี่ยนตัวสะกด) "เรื่องต่อเรือกลไฟในประเทศนี้ มีปรากฏในจดหมายเหตุของพวกมิชชันนารีอเมริกัน กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ได้หมอจันดเลเปนผู้ช่วย ทรงพยายามทำหม้อและเครื่องจักรต่อเรือกลไฟขึ้นได้ลำ ๑ เมื่อรัชกาลที่ ๓ แต่ว่าเปนเรือพอแล่นได้ จะใช้การหาได้ไม่ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์สั่งเครื่องจักรกลไฟมาแต่เมืองอังกฤษ มาต่อเรือขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ เปนเรือจักรข้าง ยาว ๗๕ ฟุต พระราชทานชื่อว่า เรือสยามอรสุมพล นับเปนเรือกลไฟลำแรกซึ่งมีขึ้นในประเทศนี้"

บันทึกของพระองค์ยืนยันเรื่องราวที่กล่าวไว้แล้วเป็นอย่างดี ยกเว้นเฉพาะแหล่งที่มาของเครื่องจักรสำหรับเรือสยามอรสุมพลเท่านั้นที่ขัดกันอยู่


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 13:49
ขอบคุณคุณภาณุเมศฺวรมากครับ

ข้อเขียนข้างต้นได้ปูพื้นฐานความเข้าใจให้เป็นอย่างดี เดี๋ยวผมจะได้เข้าเรื่อง"เรือสยามอรสุมพล"เลย
แต่ก่อนไปจะขอเคลียร์เรื่องคาใจอีกเล็กน้อย

จดหมายของนายแชนด์เลอร์ที่ตีพิมพ์ออกไปดังกล่าวเป็นที่สับสนสำหรับคนอ่านอยู่มาก ตกลงแล้วอะไรเป็นอะไร ผมพยายามวิเคราะห์ดู จากเขาเขียนจดหมายถึงเพื่อนบาทหลวงคนหนึ่งในจดหมายลงวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๗ (ค.ศ. ๑๘๔๔) โดยมีเนื้อความบางตอนดังนี้
 
"เวลาของผมในช่วงเดือนที่ผ่านมาหมดไปกับการถวายความช่วยเหลือแก่เจ้าฟ้าน้อย แรกทีเดียวพระองค์ทรงส่งงานชิ้นย่อยมาให้ทำ ซึ่งก็เสร็จสิ้นไปแล้ว แต่ต่อมาก็มีมาเรื่อยๆ มีบุรุษสองสามคนในโรงกลึงเข้ามาใช้เครื่องกลึงและเครื่องมืออื่นๆ เกือบตลอดเวลา การดูแลคนและงานของพระองค์เป็นเรื่องที่กินเวลาส่วนใหญ่ของผมไปมาก จนผมคิดว่าเราต้องปฏิเสธไม่ให้ใช้เครื่องกลึง หรือไม่ก็ขายให้เสียเลยจะดีกว่า พระองค์ทรงกำลังทำเครื่องจักรหลายตัว ในบรรดาสิ่งเหล่านั้นมีเครื่องยนต์ไอน้ำขนาดเล็กรวมอยู่ด้วย และต้องใช้เครื่องกลึงตลอดเวลา ผมสรุปว่า ถ้าขายให้พระองค์ก็จะลดความยุ่งยากลง ดีกว่าที่จะให้คนและงานของพระองค์มาที่โรงกลึงต่อไป
 
พระองค์พระราชทานเงินให้ผม ๑๐๘ เหรียญ หรือ ๑๘๐ อัฐ เป็นค่าเครื่องกลึง ตะไบขนาดเล็กสองสามเล่ม และเครื่องมืออื่นๆ เงินนี้พอเป็นค่าใช้จ่ายและอื่นๆ ชาวสยามนี่พอใจกับทุกอย่างที่มาจากสหรัฐ” (ที่ถูกน่าจะเป็น๑๐๘บาท Tical เป็นภาษาโบราณเรียกหน่วยเงินบาท ไม่ได้แปลว่าอัฐนะครับ)

สรุปแล้วเครื่องยนต์ไอน้ำขนาดเล็กที่ว่า ก็สำเร็จลงในโรงกลึงที่วังนะครับ ไม่ใช่ที่โรงกลึงของนายแชนด์เลอร์ และโดยช่างที่เป็นคนไทยที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯจะทรงกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากแบบที่ทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง

อีกประการหนึ่ง นายแชนด์เลอร์กล่าวในจดหมายว่าได้รับพระราชทานเงิน๑๐๘ เหรียญสำหรับเครื่องกลึง แต่เขียนไปลงหนังสือพิมพ์ กล่าวหาว่าทรงบ่ายเบี่ยงที่จะจ่ายเงิน๕๐๐ เหรียญตอบแทนสำหรับแบบจำลองเรือไอน้ำต้นแบบที่นายแชนด์เลอร์อ้างว่าได้ส่งเงินไป๒๐๐เหรียญ เพื่อสั่งให้ทำมาจากลอนดอน

พิจารณาดูก็น่าแปลกอยู่ เครื่องกลึงเหล็กเครื่องเบ้อเร่อ ราคา๑๐๘เหรียญ ส่วน "แบบจำลอง" นั้น ถึงจะประดิษฐ์อย่างใกล้เคียงของจริงอย่างไรก็ยังเป็นของเล่นอยู่ดี(ดูภาพประกอบ)  ที่อ้างว่าลงทุนสั่งถึง๒๐๐เหรียญ เปรียบเทียบราคากับเครื่องกลึงทั้งชุดผมก็ว่าจะเวอร์ไปแล้ว นี่จะไปเรียกเอากับท่านถึง๕๐๐เหรียญ โอโห จะเอากำไรอะไรนักหนา สมควรแล้วที่ถูกดองเรื่องไว้ถึง๒ปี ไม่ทราบว่าที่สุดแล้วจบกันที่จำนวนเท่าใด แต่จบก่อนที่นายแชนด์เลอร์จะเขียนหนังสือไปลงหนังสือพิมพ์แน่นอน และทั้งสองฝ่ายคงจะพอใจในข้อยุติ นายแชนด์เลอร์ยังคงทำมาหากินอยู่ในสยามต่อไปอีกยาวนาน อาชีพตอนหลังนี้คือเปิดโรงพิมพ์ทำหนังสือพิมพ์ คุณหนุ่มสยามรู้จักโรงพิมพ์ของหมอจันทเลนี้ดี มีรูปถ่ายสมัยโน้นด้วย

ส่วนของกำนัลที่นายแชนด์เลอร์ตีราคาไว้๒๕เหรียญนั้น ก็คือสินน้ำใจ ไม่ใช่ทรงชำระที่นายแชนด์เลอร์เชคบิลแน่นอน


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 19 ม.ค. 11, 14:13
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นั้น
ถือว่าเป็น "สหชาติ" โดยปี (คือปี ๒๓๕๑ ในรัชกาลที่ ๑)

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ ๔ กันยายน ๒๓๕๑
(พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าน้อย พระราชโอรสในสมเด็จ ฯ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กับเจ้าฟ้าบุญรอด พระราชธิดาในสมเด็จ ฯ กรมพระศรีสุดารักษ์      พระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๑ กับสมเด็จ ฯ กรมพระอมรินทรามาตย์)

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อุปบัติ เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๓๕๑
(นายช่วง บุตรจมื่นไวยวรนาถ ดิศ กับคุณจันทร์ ธิดาเจ้าพระยาพลเทพ ทองอิน      หลานเจ้าพระยามหาเสนา บุนนาค และเจ้าคุณนวล)

สมเด็จ ฯ กรมพระอมรินทรามาตย์ (ภายหลังได้เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑) กับเจ้าคุณนวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์ ชั้นที่ ๑) นั้น
กล่าวอย่างธรรมดา คือ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา กัน   เกิดใน ราชินิกุลบางช้าง

ถ้ามิเป็นการอาจเอื้อม  อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  
เป็นลูกเรียงพี่เรียงน้องกัน เป็นญาติชั้นเดียวกัน มีย่าเป็นพี่น้องกัน
เป็นสหชาติโดยปี เกิดปีเดียวกัน
สนใจภาษาและแบบอย่างธรรมเนียมฝรั่งเหมือนกัน
สนใจการต่อเรือ การทหารเรือ เหมือนกัน
รับราชการสนองพระเดชพระคุณเหมือนกัน


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 19 ม.ค. 11, 14:15
มาลงชื่อว่าตามอ่านอย่างสนุกสนานครับ ขอบพระคุณทุกท่านครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 15:51
^
ตามอ่านอย่างเดียวไม่พอนะครับท่านม้า ต้องหาเรื่องเด็ดๆมาลงด้วย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 17:56
ความพยายามที่จะสร้างเรือกลไฟที่สมเด็จเจ้าฟ้าเริ่มตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ. ๒๓๘๗ แต่เวลาก็ได้หมดไปกับการศึกษาหาความรู้ที่ยากยิ่ง มิได้เข้ากูเกิลแล้วจะกดปุ่มออกมาได้อย่างสมัยนี้ กว่าจะได้ลงมือทำต้นแบบเครื่องกลจริงๆก็ต่อเมื่อได้เครื่องกลึงมาตั้งอยู่ในวังแล้วนั่นแหละ ดังนั้นกว่าเรือต้นแบบของพระองค์จะวิ่งขึ้นๆลงๆแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ก็เป็นปีพ.ศ. ๒๓๙๐เข้าไปโน่น

ดังที่คุณภาณุเมศฺวรว่า ในฐานะที่เป็นสหชาติที่มีความสนใจในอะไรๆที่คล้ายกัน และน่าจะสนิทสนมกันพอสมควรในฐานะที่ไปราชการการสงคราม เป็นแม่ทัพหน้าและแม่ทัพหลวง คราวเอากองเรือรบไปยิงกับญวนที่บันทายมาศมาด้วยกัน  สมเด็จเจ้าพระยาท่านจะต้องได้รับประโยชน์ในเครื่องต้นแบบของสมเด็จเจ้าฟ้าบ้าง

แต่ในช่วงผลัดแผ่นดิน ทุกฝ่ายก็คงต้องไปยุ่งๆกับเรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า  ในรัชกาลที่๔นี้ มีความเปลียนแปลงขนานใหญ่ สมเด็จเจ้าฟ้าได้รับสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ บัญชาการกองทัพเรือวังหน้า มีอู่ต่อเรืออยู่ฝั่งตรงข้ามกับคลองบางกอกน้อย หรือที่เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้เป็นสมุหพระกลาโหม และบัญชาการกองทัพเรือวังหลวง ซึ่งมีอู่ต่อเรืออยู่ที่ข้างๆวัดระฆัง ส่วนตัวท่านเองก็มีอยู่อยู่ที่ปากคลองสานอีกแห่งหนึ่งด้วย

ครั้นบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ปรากฎว่าเรื่องเรือกลไฟที่ใช้งานได้จริงๆนั้น ยังไม่ไปถึงไหน ความจริงที่ต้องยอมรับประการหนึ่งก็คือ สยามผลิตวัตถุดิบไม่ได้เลย แผ่นโลหะที่จะใช้สร้างเรือ ต้องสั่งมาจากยุโรป สั่งมาแล้วก็ขาดโน่นขาดนี่ ต้องรอของครบอีกนับเป็นเดือนๆ ยากเย็นแสนเข็ญที่จะสร้างเครื่องกล หรือตัวเรือได้เอง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมท่านจึงใช้ทางลัด สั่งเครื่องจักรไอน้ำสำหรับเรือมาจากอังกฤษแบบสำเร็จรูป เอาลงติดในเรือกำปั่นไม้ที่มีอยู่แล้ว สำเร็จขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ก็ล่วงมาถึงพ.ศ. ๒๓๙๘ เกือบ๘ปีหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงสร้างเรือต้นแบบสำเร็จ  
เรือของสมเด็จเจ้าพระยาท่านเป็นเรือจักรข้าง ยาว ๗๕ ฟุต พระราชทานชื่อเรืออย่างเหมาะสมน่าทึ่งว่า เรือสยามอรสุมพล ( อรสุม=ไอน้ำ พล=กำลัง) นับเปนเรือกลไฟลำแรกซึ่งใช้งานได้จริงๆที่มีขึ้นในประเทศนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงโปรดเรือลำนี้มาก เพราะเสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารคไปยังหัวเมืองริมแม่น้ำ ริมทะเลหลายแห่งได้สะดวกด้วยเรือพระที่นั่งลำนี้ เกาะสีชังนั้นเสด็จบ่อย แต่ที่ไปไกลที่สุดคงจะเป็นสงขลา

ข้อมูลเรือสยามอรสุมพลมีความสับสน ทั้งสองรูปที่นำมานี้ถูกบรรยายว่าเป็นเรือสยามอรสุมพลทั้งสิ้น แต่ในรูปวาดนั้น ไม่ใช้เรือจักรข้าง เหมือนเรือในรูปถ่าย ดังนั้นต้องมีอะไรผิดกันสักอย่างหนึ่งเป็นแน่ ผมก็เกิดไม่ทันได้เห็นซะด้วยจะได้ยืนยันได้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 18:04
เมื่อเห็นว่าคนไทยทำได้เพียงเช่นนี้ จึงโปรดเกล้าให้อู่เรือวังหลวงต่อเรือไม้ ที่หาได้ง่ายในสยาม จะให้ดีอย่างไรก็ได้ แล้วสั่งเครื่องกลไฟจากฝรั่งเข้ามาติดตั้งดีกว่า

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเองก็ทรงให้อู่เรือวังหน้าต่อเรือขึ้นอีกหลายลำด้วยวิธีการเดียวกัน ต่อมาถึงกับทรงซื้อเรือของฝรั่งทั้งลำ มาดัดแปลงติดอาวุธใช้เป็นเรือรบด้วย เรือของกองเรือวังหน้าลำหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงต่อขึ้นเองอย่างประณีตมาก คือเรือยงยศอโยชฌิยา  สามารถเดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ได้รับคำชมเชยจากชาวต่างประเทศเป็นอันมากว่ามีผีมือได้ระดับ การเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงในต่างประเทศ ธงสยามได้ถูกชักขึ้นคู่กับธงอังกฤษที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย

เรือยงยศอโยชฌิยาทำด้วยไม้ ตัวเรือเป็นแบบสกูนเนอร์ ยาว ๑๔๐ ฟุต กว้าง ๒๙ ฟุต มีปืนใหญ่ ๖ กระบอก ระวางขับน้ำ ๓๐๐ ตัน กำลังเครื่องจักร ๖๐ แรงม้า พลประจำเรือ ๘๐ นาย เริ่มขึ้นระวางใช้ในราชการเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ ถูกใช้งานอย่างคุ้มค่าข้ามรัชกาลเลยทีเดียว เคยยิงต่อสู้กับเรือปืนของฝรั่งเศสที่ป้อมพระจุล เคยร่วมขบวนกับเรือพระที่นั่งมหาจักรี และเรือมกุฏราชกุมารไปส่งและรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ คราวเสด็จประพาศยุโรปที่สิงคโปรทั้งสองครั้ง
และภารกิจสำคัญสุดท้ายคือ เป็นเรือที่กรมหลวงชุมพรฯ ได้ทรงใช้นำนักเรียนนายเรือไปฝึกภาคสนามในทะเลอยู่หลายปีก่อนปลดระวางประจำการ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๑


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ม.ค. 11, 20:15
ไปเจอหนังสือที่เล่าถึงเรือพระที่นั่งมงคลราชปักษี  เลยคัดมาให้อ่านกันค่ะ

จากนาวิกศาสตร์

เรือรบไทยสมัยรัชกาลที่๓
๑. เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๒๐๐ ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ ๑๐ กระบอก เรือลำนี้เป็นของพระบาท

สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็น

กรมขุน อิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน)
      ๒. เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ ไปราชการทัพรบกับญวน
      ๓. เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๔ เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด ๓๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ

.๒๓๘๔ ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ.๒๓๘๗ ได้นำสมณทูตไปลังกา
      ๔. เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖ เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๒๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
      ๕. เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด ๔๐๐ ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
      ๖.เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๑๐๐ ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์
   เรือมงคลราชปักษี  เป็นเรือที่สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงชมเชยไว้ในพระราชหัตถเลขา ถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์และเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี  
(คงตัวสะกดแบบเดิม)

 " ....วังหน้าท่านซื้อเรือสกุเนอ  ลำหนึ่งเป็นเรืออเมริกัน ท่านจัดแจงเป็นเรือรบ เรือพระที่นั่ง  พระราชทานชื่อว่าเรือมงคลราชปักษี จัดแจงสอาดสอ้านงามหมดจดหนักหนาน่ารักน่าชม    ท่านเสด็จลงไปทอดพระเนตรการทำเองทุกวัน  ตั้งแต่เดือน ๙ มา  ครั้นการเสร็จแล้วในเดือน ๑๒   ท่านรับเงินไปแจกเบี้ยหวัดข้าราชการทั้งสิ้น ๑๐๐๐ ชั่ง  แล้วให้มารับเงินไปรวมหยุดไว้อีก ๑๐๐๐ ชั่ง  ยังไม่แจก  ก่อนท่านมาลาข้าพเจ้าว่าจะไปประพาสลมทะเลสักเดือนเศษ   ท่านเสด็จไปกับเรือพระที่นั่งมงคลปักษีแล้ว  ว่าท่านจะเสด็จไปถึงเมืองจันทบุรี
        
       เรือพระที่นั่งวังหน้าลำนี้คงโก้มาก เป็นที่ถูกพระราชหฤทัยสมเด็จพระจอมเกล้าฯ    จนมีพระราชประสงค์จะได้เรือจากยุโรปเป็นส่วนพระองค์สักลำหนึ่ง    เห็นได้จากข้อความในพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันนี้
      
       "อนึ่งเรือพระที่นั่งมงคลราชปักษีของวังหน้านั้น เขาเล่าฦๅกันมาก  สรรเสริญว่าหมดจดงดงามดีนัก ใครสู้ไม่ได้   ก็ท่านทูตานุทูตได้ไปเมืองลอนดอนทั้งที    ถ้าแม้นจะคิดอ่านหาเรือกำปั่นสกุเนอที่ทำด้วยเหล็กย่อมๆให้ข้าพเจ้าใช้เล่นสักลำหนึ่งจะได้ฤๅไม่ .....แต่ถ้าท่านจะเอาใจใส่ไต่ถามหาเรือเหล็กเล็กๆที่เขาจะขาย  หรือจะสั่งให้เขาทำจะได้ฤๅไม่   จะเป็นเรือกลไฟหรือเรือแล่นใบก็ตามจะเห็นควร    ถ้าทุนจะเสียเพื่อเรือเหล็กนั้นไม่มากนัก   อยู่ในสามร้อยชั่งลงมาแล้ว  ข้าพเจ้าก็ยินดีจะซื้อไว้ใช้เล่นสักลำหนึ่งพอเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้า"


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ม.ค. 11, 20:26
โปรดสังเกตว่าเรือพระที่นั่งทุกลำมีชื่อทั้งไทยและอังกฤษ   เรือพระที่นั่้งพุทธอำนาจ ในเว็บทหารเรือบอกว่าชื่อ Fairy แต่ในหนังสือของดิฉันบอกว่าชื่อ Sir Walter Scott    จะผิด   หรือเปลี่ยนทีหลัง อย่างไรก็ไม่ทราบ  ฝากท่านผู้รู้ตรวจสอบอีกที

สาเหตุที่มี ๒ ภาษา  ล้วนเป็นเหตุผลทางวิสัยทัศน์  คือ
๑   ต่อไปชื่อเรือเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ในหนังสือและเอกสารของฝรั่ง  ที่เข้ามาติดต่อกับสยาม     ถ้าคนไทยไปอ่านพบเข้าก็จะตรวจสอบได้ว่าชื่อไทยของเรือคือชื่ออะไร
๒   ชื่อไทยยืดยาวและเขียนยาก อ่านยาก ฝรั่งจำไม่ค่อยได้     ถ้ามีชื่ออังกฤษกำกับก็สะดวกในการติดต่อมากกว่า

ว่ากันว่าคนที่ถวายคำแนะนำให้เรือพระที่นั่งมีชื่อ ๒ ภาษาคือนายหันแตร โรเบิต ฮันเตอร์    คงเป็นตอนที่แกยังดีๆ พูดจากันรู้เรื่องอยู่  ยังไม่ได้แผลงฤทธิ์แผลงเดชขึ้นมา


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ม.ค. 11, 20:35
อ้างถึง
เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด ๑๐๐ ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์

ทรงซื้อมาแล้ว ปรับปรุงสอาดสอ้านงามหมดจดหนักหนาน่ารักน่าชมแล้ว ก็ต้องเอาออกลองทะเล

 
หนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่ 4 เล่ม 1 แผ่นที่ 2 ฉบับวันอังคาร เดือนห้า แรมค่ำหนึ่ง จ.ศ.1220 ( ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม 2401 ในหน้า 14) มีเนื้อหาดังนี้


เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 แรมแปดค่ำ ปีมะเส็ง นพศก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมาแต่ประพาสทะเลถึงพระบวรราชวัง แล้วทรงพระราชดำรัสเล่าความว่า เสด็จพระราชดำเนินลงไปถึง เกาะช้าง หน้าเมืองตราด มีผู้กราบทูลว่า เมื่อก่อนเรือพระที่นั่งลงไปถึง เกาะช้าง สองสามวัน มีเรืออ้ายจีนสลัดหลายลำมาแล่นเที่ยวอยู่หน้า เกาะช้าง ข้างนอก เรือเล็กน้อยพวกหาปลาหาปลิง กลัวหนีเข้ามาฝั่งฟากเมืองตราดสิ้น

ครั้นได้ทรงทราบดังนี้ จึงทรงคาดการเห็นว่า สลัดถ้ามาเที่ยวตำบลนั้นแล้ว เมื่อน้ำในเรือหมดก็เห็นจะแวะมาตักน้ำใน คลองสลักคอก ที่ตำบล เกาะช้าง นั้นเอง จึงได้เลื่อนเรือกำปั่นพระที่นั่งมงคลราชปักษี กับกำปั่นพุทธสิงหาศน 2 ลำ มาทอดอยู่ที่ปาก คลองสลักคอก คอยจับสลัดอยู่ถึง 3 วัน ก็หาพบเรือสลัดมาไม่ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับขึ้นมา ทอดประทับเรือพระที่นั่งอยู่ที่แหลมสิงห์ ปากน้ำเมืองจันทบุรี

วันพุธ เดือนสี่ แรมสี่ค่ำ เวลาบ่าย 5 โมงเย็น คนในเรือพระที่นั่งส่องกล้องลงไปข้างล่างได้เห็นเรือใบแล่นอยู่ 3 ลำ ที่หน้าเกาะปิด เกาะเปิด ไกลที่เรือพระที่นั่งทอดอยู่ประมาณ 200 เส้นเศษ ลำหนึ่งทอด สองลำแล่นผ่านไปผ่านมาอยู่แล้ว ได้แลเห็นไฟวาบขึ้นในเรือลำใหญ่ ได้ยินเสียงปืนใหญ่ 3 นัด เอาความกราบทูล จึงทรงคาดการณ์สังเกตเห็นว่า เป็นเรืออ้ายจีนสลัดเข้าตีเรือลูกค้าเป็นแน่
ขณะนั้นเรือพระที่นั่งก็ม้วนใบไว้สิ้นคาดเพดานไว้ตลอดลำ ทรงกำหนดการเห็นว่า กว่าจะแก้เพดานแล้วชักใบขึ้นให้พร้อม แล้วจะแล่นลงไปได้ ก็จะไม่ทันอ้ายสลัด เวลาก็จะค่ำเสีย เดือนก็มืดลงไปก็จะไม่เห็นเรืออ้ายสลัด จึงได้โปรดให้งดรออยู่จัดแจงเรือกำปั่นทั้ง 2 ลำ ไว้ให้พร้อมต่อเวลา 4 ทุ่ม เดือนขึ้นสว่างแล้ว จึงจะแล่นเรือกำปั่นทั้ง 2 ลำ ลงไปสืบความและตามจับอ้ายสลัด ครั้นเวลาเดือนขึ้นแล้วก็ได้แล่นเรือพระที่นั่ง เรือพุทธสิงหาศน ลงไปตามกำหนด

พอพบเรือลำซึ่งถูกสลัดตีเมื่อเวลาเย็นวันนั้นแล่นขึ้นมา จึงโปรดให้เรือช่วงออกไปถาม ได้ความว่า เป็นเรือจีนเจ้าสัวเล่าแซ มีนายเรือลูกเรือคน 15 คน 16 อ้ายสลัดแล่นไล่มาแต่ เกาะช้าง ทันเข้าที่หน้าเกาะปิด เกาะเปิด อ้ายสลัดเอาปืนยิง 2 นัด เรือลำนั้นได้ยิงสู้ แต่ประจุดินใส่ปืนมากไป ปืนแตก ดินในถังก็ลุกขึ้นด้วย อ้ายสลัดเอาหม้อดินทิ้งลงด้วย คนในลำถูกดินลุกตายสองคน นอกนั้นป่วยเจ็บหมด เหลือเป็นคนดีอยู่สี่ห้าคน อ้ายสลัดร้องให้ลดใบและทอดสมอลง ด้วยความกลัวก็ได้ทำตามใจอ้ายจีนสลัด แต่อ้ายจีนสลัดจะขึ้นบนเรือก็หาทันไม่ ด้วยลมสำเภาพัดกล้า พัดเรืออ้ายสลัด แล่นเลยเรือที่ทอดสมออยู่นั้นขึ้นมา เรืออ้ายจีนสลัดจึงแล่นก้าวไปก้าวมา จะเข้าหาเรือที่ทอดสมออยู่ ก็เข้าไม่ติด พวกอ้ายจีนสลัดจึงลงเรือช่วงตีกรรเชียงมา จะขึ้นเรือลำนั้นให้ได้จีนจุ่นจูเรือลำนั้นกลัว เอาขอนไม้ผูกกับตัวโดดน้ำลอยหนีไป คนอีก 6 คน ก็โดดน้ำหนี ว่ายจนจมน้ำตาย เรือช่วงอ้ายจีนสลัดเข้ามาใกล้ร้องถามว่ามีสิ่งไรบนเรือ จีนบนเรือบอกว่าไม่มีสิ่งไรมีแต่จากบรรทุกมาขาย อ้ายจีนสลัดก็หาขึ้นบนเรือไม่ ตีกรรเชียงกลับไปเรืออ้ายจีนสลัด ครั้นค่ำลงเรืออ้ายจีนสลัดก็หายไป ไม่ทราบว่าไปทางไหน เรือลำนี้ก็แล่นขึ้นมา

จึงได้แล่นเรือพระที่นั่งลงไปตามในกลางคืน ก็หาพบเรืออ้ายสลัดไม่ พบแต่ตัวจุ่นจูซึ่งผูกกับไม้ขอนลอยน้ำอยู่ ได้รับตัวขึ้นเรือได้แต่ในกลางคืนวันนั้นแล้ว ครั้นเวลาเช้าขึ้นลมอุตราพัดลงกล้า ทอดพระเนตรลงไปเห็นเรือลำหนึ่งแล่นหนีอยู่ข้างล่าง ได้ไถ่ถามจีนที่ถูกสลัดตี ก็ยืนยันว่าเรือลำนั้นเป็นเรือสลัดแน่แล้ว จึงได้แล่นเรือพระที่นั่งไล่ลงไปใกล้เรือลำนั้น ประมาณ 50 เส้น 60 เส้น ลมอุตราก็สงบอ่อนไปเสีย เรือพระที่นั่งแล่นไม่เดิน เรือที่หนีนั้นก็ตีกรรเชียงเข้าฝั่งข้างจันทบุรีหายไป ข่าวอันนี้เป็นแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเล่าเมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมืองจันทบุรี ก็หาได้มีบอกข่าวนั้นเข้ามาไม่จนวันนี้ เป็นวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นสองค่ำ ปีมะเมียยังเป็นนพศก

เรือสกูนเนอร์ขนาด100ตัน เท่าในภาพนี้เองครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ม.ค. 11, 20:49
ขอแนบเส้นทางการเดินเรือ ที่นายอองรี อูโมต์ เดินทางระหว่างสยาม - กัมพูชา ครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 20 ม.ค. 11, 12:06
คุณหลวงเล็ก ท่านกรุณาให้ลิงค์หนังสือบางกอกคาเลนดา (1861 และ 1862) มา  ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาลงไว้ที่นี้

1861
http://books.google.com/books?id=77BMAAAAYAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false (http://books.google.com/books?id=77BMAAAAYAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false)
เลขหน้า 44 - 47 แต่หน้าค้นหาเป็น 46 - 49

1862
http://books.google.com/books?id=XIs0AAAAMAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false (http://books.google.com/books?id=XIs0AAAAMAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false)
หน้า 42 - 45




กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ม.ค. 11, 15:11
คุณหลวงเล็ก ท่านกรุณาให้ลิงค์หนังสือบางกอกคาเลนดา (1861 และ 1862) มา  ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาลงไว้ที่นี้

1861
http://books.google.com/books?id=77BMAAAAYAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false (http://books.google.com/books?id=77BMAAAAYAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false)
เลขหน้า 44 - 47 แต่หน้าค้นหาเป็น 46 - 49

1862
http://books.google.com/books?id=XIs0AAAAMAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false (http://books.google.com/books?id=XIs0AAAAMAAJ&printsec=frontcover&dq=Bangkok+Calendar&hl=th#v=onepage&q&f=false)
หน้า 42 - 45




ดึงออกมาจัดให้ดูสะดวกตาครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ม.ค. 11, 15:42
หน้าต่อมา


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ม.ค. 11, 15:47
แผ่นต่อมา


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ม.ค. 11, 21:31
จากตารางทะเบียนเรือทั้งหมด บอกได้ว่า

๑ เรือสยามอรสุมพลนั้น เป็นเรือPaddleหรือ พายแบบกงล้อหมุนข้างลำเรือ ไม่ได้ใช้ใบจักรท้ายเรือ(ถึงว่าซิครับ ใบจักรเรือยังล้ำสมัยมากในยุโรปด้วยซ้ำ) รูปที่เริมต้นจากเวปนี้ แล้วลอกต่อๆกันไปนับสิบในโลกไซเบอร์นั้น ผิดครับ

http://www.navy.mi.th/nrdo/Chakri/king4.htm

๒ ผู้ที่ต่อเรือกลไฟได้ในสมัยรัชกาลที่๔นั้น มีมากมาย มิใช่เฉพาะอู่เรือวังหลวง และอู่เรือวังหน้า หรืออู่ปากคลองสานของสมเด็จเจ้าพระยาเท่านั้น ในบรรดาท่านที่ต่อได้เป็นรายแรกๆองค์หนึ่งก็คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่ากรมพระคลังสินค้า
เรือบางลำที่ต่อโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ลงทะเบียนชื่อเจ้าของว่าPrime Minister ผมเพิ่งทราบบัดเดี๋ยวนี้แหละครับว่า ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมที่ท่านดำรงอยู่ในครั้งรัชกาลที่๔ ฝรั่งเรียกว่า “นายกรัฐมนตรี”ตามความหมายในปัจจุบัน
เรือบางลำของท่านลงทะเบียนชื่อเจ้าของว่า สมเด็จองค์ใหญ่ แสดงว่าเป็สมบัติส่วนตัวของท่าน บางลำเป็นของสมเด็จองค์น้อย  หริอสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
เจ้านายและขุนนางอื่นๆที่เป็นเจ้าของเรือก็มี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาทนิภาธร กำกับราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ  และพวกข้าราชการระดับพระยาสายสกุลบุนนาคหลายคน
ที่รวมกันแล้วก็จำนวนไม่น้อยคือพวกพ่อค้าจีน ที่ดังๆก็เจ้าสัวยิ้ม(พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) เจ้าสัวฟัก(พระยาศิริไอยสวรรค์) ญาติผู้ใหญ่ของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม เจ้าสัวสอน ที่มาของชื่อตรอกเจ้าสัวสอนแถวเยาวราชทุกวันนี้ เจ้าสัวนอกนั้นชื่อยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นไทย ผมอ่านไม่ออก

๓ เรือกลไฟที่ต่อส่วนใหญ่เป็นเรือสินค้า ระวาง๒-๓รัอยตันขึ้นไป เรือรบส่วนใหญ่จะ๒๐๐ตันลงมา เพราะเน้นความคล่องตัว วิ่งเร็ว มากกว่าความจุ ในทะเบียนเรือไม่ยักแยกประเภทเรือรบกับเรือสินค้า



กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ม.ค. 11, 21:46
ในค.ห. 161 ที่คุณ siamese ยกมา   แกะออกมาได้อีก ๒ ชื่อ
คือ
๑  เรือชื่อ Kim Yook Heen เป็นเรือแบบ lugger (เรือใบขนาดเล็ก) ของพระยาโชฏึกราชเศรษฐี

(http://www.luggers.co.uk/lugger.jpg)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ม.ค. 11, 21:52
๒  เรือชื่อ Antelope   ในช่องชนิดของเรือ เขียนว่า do ไม่แน่ใจว่าแปลว่าอะไร  หรือหมายถึงต่อเอง?  
เจ้าของคือพระยามนตรี(สุริยวงศ์)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ม.ค. 11, 22:43
do มีความหมายว่า "เหมือนข้างต้น" ครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 20 ม.ค. 11, 23:25
ย่อมาจาก ditto น่ะครับ


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ม.ค. 11, 08:34
ขอบคุณค่ะ   เหมือนเครื่องหมาย "  ในช่อง when built น่ะเอง
คุณม้า ดิฉันเคยใช้ ditto  ก่อนยุคซีรอกซ์  เพิ่งรู้ความหมายของคำว่า ditto เดี๋ยวนี้เอง


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ม.ค. 11, 08:58
อ.เทาชมพู ตั้งหัวข้อกระทู้นี้ "เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า" ได้เพราะนัก จึงได้พบว่าเป็นเพลงยาวในพระบวรนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผมจึงขอคัดลอกเพลงยาวลงมาให้อ่านกันอย่างเต็มบท ครับ

"เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า   คิดบทเกลาไว้เป็นกลอนสุนทรสนอง
เป็นคติควรดิริห์ขอเชิญตรอง   ตามทำนองโบราณราชประเพณี
แม้ผู้ใดใครเป็นข้าราชกิจ      อย่าห่อนคิดถือโกรธเท่าเกษี
ถึงจะต้องราชทัณฑ์สักพันที   ก็ควรที่รับผิดอย่าคิดโกง
อีกข้อหนึ่งอย่าพึงทำบาปมาก   รู้สิ่งใดแล้วอย่าอยากพูดโผงโผง
ความข้างในออกไปนอกออกตะโกรง   จะชักโยงหักใจอย่าได้ทำ
อันปากบอนนี้เป็นการพานชั่วมาก   พอใจอยากชอบพอในข้อขำ
จะได้คิดยอกย้อนบอนระยำ   เหมาะหมายทำการชอบมอบกายา
ต้องคิดไปจึงจะได้เห็นว่าผิด   ความชั่วนั้นมันจะติดเพราะอิจฉา
วิสัยคนปากคันอกตัญญุตา   ไม่ซื่อต่อภัสดาที่ชื่นเชย
ถึงผู้ใดจักไปเลี้ยงดูเล่า      ชั่วของเจ้าเขาไม่ลืมดอกน้องเอ๋ย
ใครคิดร้ายต่อสามีไม่ดีเลย   อย่าเชือนเฉยตรึกตรองไว้ลองดู
นางโมราฆ่าพระจันทโครพ   ความไม่จบฦาเล่าจนเข้าหู
ควรจะจำใส่ใจไว้เป็นครู      จะได้รู้ชั่วเช่นไว้เป็นตรา
จงรำฦกนึกดูเมื่ออยู่บ้าน      เคยสำราญเป็นไฉนอย่างไรหนา
คนทั้งหลายเขาก็เรียกตามฉายา   ที่มีมาว่าอีนี่อีนั่นไป
ประเดี๋ยวนี้คนทั้งนั้นก็หันกลับ   มาคำนับว่าคุณจอมหม่อมฉันไหว้
มีวาสนาเหมาะเจาะขึ้นเพราะใคร   เหตุไฉนลืมคุณการุณา

อันตัวเรานี้ก็รองพระจอมเกล้า   เป็นปิ่นเกล้าในสยามภาษา
มียศศักดิ์ประจักษ์ทั่วทุกภารา   พระทรงธรรม์กรุณาชุบเลี้ยงเรา
ถึงใครใครที่จะตกมาเป็นห้าม   ไม่มีความขายหน้าดอกหนาเจ้า
เสียแต่ไม่ฉายเฉิดเพริศพริ้งเพรา   เพราะแก่เถ้าหงุบหงับไม่ฉับไว
ถ้าจะว่าไปจริงทุกสิ่งสิ้น      ก็พอกินตามแก่แก้ขัดได้
ฤาน้ำจิตต์คิดเห็นเป็นอย่างไร   จึงมิได้ปลงรักสักเวลา
การสิ่งใดที่ไม่ดีเรามิชอบ   อ้อนวอนปลอบจงจำอย่าทำหนา
ก็ไม่ฟังขืนขัดอัธยา      ยิ่งกับว่าตอไม้ไม่ไหวติง
ที่ข้อใหญ่ชี้ให้เห็นเรื่องเล่นเพื่อน   ทำให้เฟือนราชกิจผิดทุกสิ่ง
ถ้าจะเปรียบเนื้อความไปตามจริง   เสมอหญิงเล่นชู้จากสามี
นี่หากวังมีกำแพงแข็งแรงรอบ   เป็นคันขอบดุจเขื่อนคีรีศรี
ถ้าหาไม่เจ้าจอมหม่อมเหล่านี้   จะไปเล่นจ้ำจี้กับชายเอยฯ"


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 21 ม.ค. 11, 11:06
ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ ได้บันทึกไว้ว่า หลวงสิทธิ์นายเวร สนใจในการศึกษาวิชาต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่ง เป็นนายช่างไทยคนแรกผู้สามารถต่อเรือแบบฝรั่งได้
ท่านได้ต่อเรือกำปั่นรบ เรียกว่าเรือกำปั่นบริค ลำแรกเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โปรดพระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร" (แต่ฝรั่งเรียกว่า เรืออาเรียล)
และได้ต่อเรือรบอีกหลายลำมีน้ำหนักถึง ๓๐๐ - ๔๐๐ ตัน สำหรับลำเลียง ทหารไปรบกับญวน ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๗๘

ได้ต่อเรือขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อว่า "ระบิลบัวแก้ว" (ภาษาอังกฤษว่า คองเคอเรอ) ซึ่งใหญ่กว่าเรือลำแรก
ต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างอู่ต่อเรือขึ้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพ ฯ หลายอู่ เรือกำปั่นลำแรกที่ต่อเสร็จในอู่กรุงเทพฯ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า เรือแคลิโดเนีย เป็นเรือที่ต่อค้างจากจันทบุรี
หลวงนายสิทธิ ได้นำมาต่อเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จในอู่กรุงเทพ ฯ เมื่อต่อเรือลำนี้เสร็จ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้หลวงนายสิทธิ เป็นช่างต่อเรือหลวงและเป็นผู้บัญชาการอู่หลวง

ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ หลวงนายสิทธิได้ต่อเรือกำปั่นเสร็จอีก ๔ ลำ ได้แก่ เรือรบวิทยาคม เรือรบวัฒนานาม (แอโร) เรือจินดาดวงแก้ว (ประเภทเรือบาร์ก ชื่อว่า ซักเซส) เรือลำที่สี่ชื่อ เทพโกสินทร์ (ประเภทเรือชิป ซึ่งเป็นเรือของแม่ทัพหน้าคราวยกไปตีเมืองบันทายมาศ) เนื่องจากมีเรือกำปั่นใบแบบฝรั่งหลายลำ จึงจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศ มาช่วยฝึกสอนวิชาเดินเรือให้แก่คนไทย ใน พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวอังกฤษชื่อ กัปตันทริกซ์ มาสอนวิชาเดินเรือทั้งเรือรบและเรือเดินสินค้า ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ หลวงนายสิทธิได้สร้างเรือกำปั่นแบบฝรั่งขึ้นอีกหลายลำ ได้แก่ เรือราชฤทธิ (พ.ศ. ๒๓๘๔) เรือสยามภพ (พ.ศ. ๒๓๘๕) เรือโผนเผ่นทะเล (พ.ศ. ๒๓๙๒) และเรือจรจบชล (พ.ศ. ๒๓๙๓)


และจากที่คุณหนุ่มสยาม  นำมาลงไว้ใน คคค. ๑๖๐ (ขออนุญาตนำมาลงอีกครั้ง จะได้ดูได้สะดวก)


จะเห็นได้ว่า
เรือแกล้วกลางสมุทร ( Klaao klang samoot - Ariel)   
เรือวัฒนานาม  (Wattana nam – Arrow) 
เรือจินดาดวงแก้ว  (Chinda dooang kaao – Success) 
เรือสยามภพ  (Sayam pipop – Favorite) 
เรือโผนเผ่นทะเล  (Pon pen tale – Celerity)
เรือจรจบชล (Chawn chap chon – Wanderer)   
ซึ่งเป็นเรือที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ช่วง บุนนาค เมื่อครั้งเป็นหลวงนายสิทธิ์ และจมื่นไวยวรนาถ ในรัชกาลที่ ๓ ได้ต่อขึ้น  ยังใช้การได้จนถึงในรัชกาลที่ ๔ (๑๘๖๑-๑๘๖๒ หรือ ๒๔๐๔-๒๔๐๕)

ปีที่สร้างตรงกับที่ผมเคยว่าไว้  ยกเว้น เรือโผนเผ่นทะเล  (Pon pen tale – Celerity) ที่ผมลงไว้ว่า  ๒๓๙๒ (๑๘๔๙)  แต่ในบางกอกคาเลนดาว่า ๒๓๘๙ (๑๘๔๖)


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ม.ค. 11, 11:32
อ.เทาชมพู ตั้งหัวข้อกระทู้นี้ "เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า" ได้เพราะนัก จึงได้พบว่าเป็นเพลงยาวในพระบวรนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผมจึงขอคัดลอกเพลงยาวลงมาให้อ่านกันอย่างเต็มบท ครับ

คุณ siamese กางใบแล่นไปถึงพระบวรนิพนธ์เสียแล้ว    ดิฉันตามไม่ทัน  ยังมัวนับเรือในรายการที่คุณเอามาลงอยู่ค่ะ
นอกจากเรือ bark  schooner ฯลฯ แล้ว ยังมีอีกอย่างคือ brig   เป็นเรือเสากระโดงคู่   คุณสมบัติแล่นเร็ว   ใช้ได้ทั้งเป็นเรือรบและเรือการค้า ก็เลยนิยมกันมากในสมัยนั้น
เรือบริก  ตกอับไปตั้งแต่มีเรือกลไฟเข้ามาแทนที่  ข้อเสียเปรียบคือต้องใช้ลูกเรือมาก  และถ้าเจอลมแรงก็บังคับทิศทางได้ยาก

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a4/Brig_Niagara_full_sail.jpg/800px-Brig_Niagara_full_sail.jpg)

เรือออกทะเลในอ่าวไทย และพ้นอ่าวไทยไปถึงอาณาจักรข้างเคียง คงจะชักนำจินตนาการของกวีให้บรรเจิด   
สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโปรด "ลองทะเล"   ข้าราชบริพารอย่างพระศรีสุนทรโวหารภู่ น่าจะเคยตามเสด็จ   สมัยนั้นคงโก้พอๆกับนั่งเครื่องบินไปลงเรือเดินสมุทรเที่ยวอลาสก้าสมัยนี้   
เรือสวยๆทันสมัยพวกนี้คงเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของประชาชนกรุงเทพ  สุนทรภู่น่าจะเคยนั่งเรือบริก เรือบ๊าค  เรือสกูเนอร์ ออกชมทะเลในอ่าวไทย หรือเคยโดยสารเรือพาณิชน์ของเจ้าสัวท่านใดท่านหนึ่ง ออกนอกอ่าวไทยไปค้าขายในประเทศใกล้ๆมาแล้ว   ถึงได้มีฉากทะเลในพระอภัยมณีเป็นฉากหลัก  แทนที่จะเป็นฉากป่าเขาลำเนาไพรอย่างขุนช้างขุนแผนในรัชกาลที่ ๒ และ ๓ 


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ม.ค. 11, 14:12
โปรดสังเกตวงกลมสีแดง  ในรูปข้างล่าง
เป็นบันทึกถึงวาระสุดท้ายของเรือ ว่า เรือพระที่นั่งหลายลำ สูญหาย ถูกเผา หรือชำรุดเสียหาย    ในค.ศ. ต่างๆกัน  ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 11:33
เผอิญหนังสือพิมพ์บางกอกคาเลนดาไม่มีศักยภาพในการหาข่าว เหมือนหนังสือพิมพ์อเมริกันแท้ๆเสียด้วย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 11:51
ค่อยยังชั่วหน่อย  กระทู้ยังเดิน   นึกว่าจะต้องถามเองตอบเองคนเดียวเสียแล้วซีคะ    ;D
ขาประจำเฮโลไปกระทู้ "ภาพและเรื่องสมัยรัชกาลที่๕ ได้มาใหม่จากเวปฝรั่งเศส" กันหมด   ไม่ถึง ๒๔ ช.ม.  กระทู้โน้นวิ่งไป ๓ หน้าแล้ว  ;)
ตอนนี้ข้างตัวมีหนังสือ Siam Glory  สมุดภาพสมัยรัชกาลที่ ๕  กับ หนังสือ ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง   เพิ่งได้มา  อ่านจบเมื่อไรคงมีเรื่องไปแจมที่กระทู้โน้น

เป็นอันรู้ตอนจบของเรือหลวงหลายลำ
เรือ Neptune  ไฟไหม้
เรือ Sea Flower สูญหาย
เรือ Victory   พัง หมดสภาพ
เรือ Sir Walter Scott สูญหาย
เรือราชรังษี   Sea Horse  ไฟไหม้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 13:47
เอาเรือกำปั่นไฟของเจ้าสัวมีชื่อ (แต่ชื่ออะไรมิทราบ) มาให้ชม

ก็คือเรือสำเภาเช่นที่ชำนาญในการต่อด้วยไม้ตะเคียนทองมาแต่ดั้งเดิมน่ะครับ ติดเครื่องเข้าไป พอให้วิ่งต่อได้ในยามลมฟ้าอากาศไม่อำนวย


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ม.ค. 11, 13:53
ส่วนเรือพระที่นั่งลำนี้ชื่อ "อรรคราชวรเดช" ไม่ยักปรากฏในสมุดทะเบียนของบางกอกคาเลนดา

แต่เป็นเรือพระที่นั่งสำคัญที่ใช้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ เป็นเหตุให้ทรงได้รับเชื้อไข้ป่า ประชวรหนักเมื่อถึงกรุงเทพ และเสด็จสวรรคตในระยะเวลาอันสั้น


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ม.ค. 11, 16:48
หมดภูมิรู้เรื่องเรือแล้วค่ะ
ขอนำเรื่องที่ค้างอยู่ตั้งแต่กระทู้พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์มาเล่าอีกที

สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงมีพระสนมที่โปรดปรานท่านหนึ่งชื่อเจ้าจอมมารดากลีบ มีพระองค์เจ้าหลายพระองค์ รวมทั้งพระองค์เจ้าเปียที่เซอร์จอห์น เบาริง บันทึกไว้ด้วย
นอกจากเป็นเจ้าจอมมารดาที่ถูกพระราชหฤทัย    ท่านคงทำกับข้าวเก่งอีกด้วย  จึงได้เป็นนายห้องเครื่อง คือเป็นหัวหน้าห้องครัววังหน้า ด้วย  แปลว่าอาหารการกินทั้งหลาย โดยเฉพาะของเสวย อยู่ในความควบคุมดูแลของท่าน

"เมื่อปีระกา (พ.ศ.๒๔๐๔) นั้น มีผู้กระซิบทูล (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ)ว่า เจ้าจอมมารดากลีบทำเสน่ห์ยาแฝด จึงได้โปรดฯให้พระยาพิไชยบุรินทรา  พระยามณเฑียรบาล ตุลาการหรือสมัยนั้นเรียกว่าตระลาการในพระบวรราชวังชำระความ
พวกครั้งนั้นตระลาการเห็นว่า พระอัธยาศัยไม่สู้กริ้วนัก  ขอตีความว่าอาจจะทรงเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง    แต่มีผู้ทูลฟ้องก็ต้องสอบสวนไปตามระเบียบ   ก็ชำระแต่พอเป็นพิธี   ก็มิได้ความจริง
สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เพื่อตัดข้อครหานินทา จึงทรงปลดเจ้าจอมมารดากลีบจากตำแหน่ง  ให้พระยาราชโยธา เข้ามากำกับเป็นนายเครื่อง เครื่องนั้นโปรดฯให้พวกพ่อครัวผู้ชายทำ   แต่พวกนี้คงทำไม่ถูกปาก   เมื่อทรงพระประชวรไม่สบาย เสวยพระกระยาหารไม่ได้ ก็ทรงคิดถึงแม่ครัวคนเก่า  อยากจะเสวยฝีมือเจ้าจอมมารดากลีบอีกครั้ง  
พวกขุนนางวังหน้า ดูออก พระยาพิไชยบุรินทรา  หลวงเสนาพลสิทธิ์  หลวงเพชรชลาลัย  จมื่นศรีบริรักษ์ จ่าการประกอบกิจ  ท้าวพิพัฒนโภชา  (แย้ม) ผู้ช่วย  ขำภรรยาพระพรหมธิบาล (เสม) จึงเข้าชื่อกัน ทำเรื่องราวรับประกันกลีบมารดา ถ้าเป็นผู้ทำเสน่ห์ยาแฝดแน่แท้แล้วหรือกลับทำใหม่อีก ก็ให้เอาโทษผู้นายประกันถึงสิ้นชีวิตคือยอมเอาหัวเป็นประกันว่าเจ้าจอมมารดากลีบไม่ได้ทำเสน่ห์  

ทรงทราบทัณฑ์บนดังนั้นแล้วก็โปรดฯให้เจ้าจอมมารดากลีบเข้ามาทำเครื่องเสวยตามเดิม        


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 10:33
        เมื่อเจ้าจอมมารดากลีบกลับเข้ามาทำพระกระยาหารถวายเหมือนเดิม   พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าก็เริ่มประชวร   หมอถวายยารักษาเท่าไรก็ไม่หาย   เป็นเรื้อรังมาถึง ๕ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๐๔-๒๔๐๘ ซึ่งตลอดเวลา เจ้าจอมมารดากลีบเป็นนายห้องเครื่อง ผู้ทำเครื่องถวาย
        พระโรคที่ประชวรคือวัณโรค   เป็นโรคร้ายไม่มียารักษาหาย   พอๆกับมะเร็งสมัยนี้    แต่หมอวังหน้าก็เก่ง ประคับประคองไว้ได้ถึง ๕ ปี  พระวรกายซูบผอมมีแต่หนังหุ้มกระดูก   ในตอนปลายที่ประชวรหนัก  เรื่องเดิมของเจ้าจอมมารดากลีบก็ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง
         ในพระราชพงศาวดารบันทึกเรื่องราวไว้ว่า
        "ครั้นต่อมาถึงเดือน ๑ ปีฉลู (พ.ศ.๒๔๐๘) ทรงพระประชวรมากไป กลีบมารดาทำเครื่องแกงก๋วยเตี๋ยวให้เจ้าพนักงานตั้งถวาย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเสวยได้ ๒ ฉลองพระหัตถ์ ทรงเห็นเป็นขนอยู่ในชามพระเครื่องแกงก๋วยเตี๋ยว"
        พงศาวดารไม่ได้บันทึกว่าเมื่อทรงเห็น "เป็นขน" แล้ว สืบสาวราวเรื่องขึ้นมา  หรือปล่อยไว้เฉยๆ  แต่คิดว่าน่าจะมีการทำอะไรสักอย่าง คงไม่ปล่อยไว้อย่างนั้น   พงศาวดารมาบันทึกอีกที ก็เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปประมาณ ๑ เดือน
        "ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๒ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จฯขึ้นไปเยี่ยมประชวร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงกราบบังคมทูลว่า ทรงประชวร ครั้งนี้ มีความสงสัยในกลีบทำเสน่ห์ยาแฝดจึงทรงประชวรมากไป ขอรับพระราชทานข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระบรมมหาราชวัง เป็นตระลาการชำระให้ได้ความจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ พระยามณเฑียรบาล พระยาอนุชิตชาญไชย พระยาบริรักษราชา พระยาอัษฎาเรืองเดช พระพรหมธิบาลพระพรหมสุรินทร์ เป็นตระลาการชำระ"
        สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ท่านไม่เอาตระลาการวังหน้ามาชำระอีกแล้ว คงจะไม่ไว้วางพระทัย หรือไม่ก็โดนขังกันไปทั้งชุดเลย   เพราะชำระครั้งก่อนตัดสินว่าไม่ผิด   ท่านทูลขอตระลาการจากวังหลวงมาทั้งชุด  ชุดใหม่นี้ก็สอบสวนทำคดี ตัดสินออกมาว่าทำเสน่ห์ยาแฝดจริง   สืบได้ด้วยว่ามีใครเป็นผู้สอนให้ทำ   คือ "อ้ายช้าง อ้ายขนานแดง อ้ายโสม  เป็นครู"       


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 10:34
 
         เมื่อได้ความ จึงให้ลูกขุนปรึกษาโทษว่า กลีบมารดา มีพระองค์เจ้าถึง ๑๒ พระองค์ ไม่มีความกตัญญูรู้พระเดชพระคุณมาคิดทรยศ         อนึ่งอ้ายช้าง อ้ายโสม อ้ายขนานแดง ผู้เป็นครู น้อย แย้ม ขำ จ่าการประกอบกิจ ซึ่งเป็นญาติและรู้เห็นด้วย รวมทั้งสิ้น ๘ คน (ทั้ง ๘ คนนี้) ให้รับราชบาตรลงพระราชอาชญาเฆี่ยน แล้วให้ไปประหารชีวิตเสีย แต่พระยาพิไชยบุรินทรา จมื่นศรีบริรักษ์ หลวงเสนาพลสิทธิ์ เป็นแต่นายประกันทำตามพระราชอัธยาศัย ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ให้ถอดเสียจากที่ลงพระราชอาชญาจึงส่งไปคุก
        ยังอ้ายจันชุม อียา อีสุข อีอ่วม อีสุด อีป้อมก้อน อียิ้มแก้ว อีหนู ไม่ได้เป็นบ่าวทาส มารับอาสาให้กลีบมารดาใช้ และรู้เห็นด้วย ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนแล้วส่งไปจำไว้ ณ คุก
        ครั้นลูกขุนปรึกษาโทษแล้ว ก็ทรงพระประชวรหนักลงถึงสวรรคต"

        ตั้งแต่วันโปรดเกล้าฯให้ตระลาการชำระ (วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๔๐๔) ถึงวันสวรรคต (วันที่ ๗ มกราคม ๒๔๐๘) เป็นเวลาเพียง ๑๙ วัน คนโทษเหล่านี้จึงยังไม่ทันรับพระราชอาญา เพียงแต่จำคุกเอาไว้ก่อน
        จากนั้นเมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เรียบร้อยแล้ว          พระราชพงศาวดาร เก็บความเรื่องนี้ถึงตอนจบว่า
       "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงพระราชดำริ สงสัยคลางแคลงอยู่ว่าการจะไม่จริง จึงทรงพระราชหัตถเลขาให้เนรเทศกลีบมารดา และญาติคือท้าวพิพัฒน์โภชา และขำ ภรรยาพระพรหมธิบาล ซึ่งเป็นญาติของเจ้าจอมมารดากลีบ-จุลลดาฯ ไปอยู่เสียเมืองสุโขทัย อ้ายโสม อ้ายช้าง อ้ายขนานแดง หมอ ให้ส่งไปจำคุก จ่าการประกอบกิจ กับน้อย โปรดฯให้ยกโทษเสียปล่อยไป ส่วนพระยาพิไชยบุรินทรา หลวงเสนาพลสิทธิ์ จมื่นศรีบริรักษ์ ก็โปรดฯให้พ้นจากเวรจำ มิได้ตั้งขึ้นรับราชการอีก"
       


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 11, 10:34
คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ วิจารณ์ไว้ว่า

        "ทั้ง ๓ ท่านนี้ หากพิจารณาแล้ว ดูๆก็น่าสงสารอยู่ไม่น้อย เพราะที่กล้าเสี่ยงเอาชีวิตเข้าประกันก็ด้วยจงรักภักดีต่อเจ้านาย สงสารว่าท่านเสวยพระกระยาหารไม่ได้ แต่กลับมาพลอยต้องโทษ หรือบางทีอาจเป็นด้วยท่านคุ้นเคยนับถือกันกับเจ้าจอมมารดากลีบ ก็เป็นได้ เพราะเจ้าจอมมารดากลีบเป็นพระสนมเอกแต่ผู้เดียวที่ได้ขึ้นเฝ้าอยู่บนพระที่ นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ซึ่งธรรมดาแล้ว โปรดประทับอย่างฝรั่ง มี 'บ๋อย' ผู้ชายเฝ้ารับใช้
       ในพระราชพงศาวดาร ที่เรียกเจ้าจอมมารดากลีบว่า 'กลีบมารดา' นั้น เพราะเมื่อต้องโทษ ยศศักดิ์ก็ต้องถูกถอด 'เจ้าจอมมารดา' ถือว่าเป็นยศศักดิ์ เมื่อเรียก จึงเรียกแต่ 'กลีบมารดา' ตัดคำว่า 'เจ้าจอม' ออกเสีย
        เช่นเดียวกับ เจ้านายเดิมทรงเป็นพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า หรือแม้แต่เจ้าฟ้า หากถูกลงพระราชอาญา 'ถอด' จากพระเกียรติยศ ตามธรรมเนียมต้องเรียกเจ้านายพระองค์นั้นว่า 'หม่อม'
        เรื่องเจ้าจอมมารดากลีบนี้ ได้ยินผู้ใหญ่สมัยก่อนๆท่านพูดกันว่า ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงแคลงพระทัยนั้น เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงพระประชวรมาช้านานถึง ๔-๕ ปี จึงทรงสงสัยว่า จะทรงประชวรด้วยพระโรควัณโรคภายใน ซึ่งชาววังหลวงก็เป็นโรคเรื้อรังโรคนี้กันมาก โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ โปรดแปรพระราชฐานไปประทับตามต่างจังหวัด เช่นทางอีสาน ชลบุรี ซึ่งอาจจะไม่ถูกกับพระโรค หรือทำให้เป็นพระโรค ประการหนึ่ง
        อีกประการหนึ่ง ที่ว่าทรงเห็นเส้นขนอยู่ในชามพระเครื่องนั้น เจ้าจอมมารดากลีบเป็นผู้ทำก็จริง แต่ก็มี เจ้าพนักงานเป็นผู้เชิญ ขึ้นถวาย คือต้องผ่านมือผู้อื่น อาจมีการกลั่นแกล้งกันก็เป็นได้
        เพราะเจ้าจอมมารดากลีบเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปรานออกหน้าออกตายิ่ง กว่าผู้อื่นมาช้านาน จนมีพระโอรสธิดาถึง ๑๒ พระองค์ อาจเกิดการอิจฉาริษยากลั่นแกล้ง ด้วยในวังหน้านั้นมีเจ้าจอมพระสนมมากมาย
        "ท่านเสด็จไปหัวบ้านด้านเมืองที่ใด ก็ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองแลกรมการมาทุกที..."
        (จากพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานไปยังราชทูต พ.ศ.๒๔๑๖)
        ดังนั้น เมื่อเสร็จงานพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 'ยกประโยชน์ให้แก่จำเลย' พระราชทานอภัยโทษมิได้ประหารชีวิต
        เจ้าจอมมารดากลีบนั้น เข้าใจกันว่า คงจะเป็นธิดาของเจ้าบ้านผ่านเมือง หรือกรมการเมือง หรือบิดาเป็นผู้มีเชื้อสาย เมืองสุโขทัย เมื่อพระราชทานอภัยโทษแล้ว จึงโปรดฯให้ไปอยู่ ณ เมืองสุโขทัย"


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ม.ค. 11, 16:48
เรื่องฉาวก่อนเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯนี้ สะท้อนให้เห็นสัจจะแห่งโลกธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน คนเรานั้น ไม่ว่าจะเป็นยาจกหรือท้าวพญามหากษัตริย์ ย่อมมีทั้งได้ลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีทั้งสุขและทุกข์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯแม้จะมีผู้สรรเสริญพระองค์โขอยู่ แต่ก็มีผู้นินทาพระองค์ในเรื่องความเชื่อเรื่องคุณไสย เสน่ห์ยาแผดดังเนื่องที่เล่ามาข้างต้นอยู่ไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะให้ข้อคิดประการหนึ่งไว้ว่า เมื่ออ่านแล้ว เราไม่ควรเอาทัศนคติของสังคมในปัจจุบัน ไปตัดสินพฤติกรรมของคนในอดีตนะครับ

คนโบราณตั้งแต่สมัยพุทธกาล ถือผู้ชายเป็นใหญ่ ลูกและเมียเป็นสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ชาย เหมือนที่คนสมัยนี้เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงในบ้าน สามารถจะเอาไว้เชยชม หรือแค่ใช้งาน ให้เฝ้าบ้าน จะให้เขาไปหรือจะเอาไปปล่อยวัด ย่อมเป็นสิทธิ์ การที่พระเวสสันดรยกพระมเหษี และพระโอรสธิดาให้ชูชกนั้น คนโบราณฟังแล้วน้ำตาไหลด้วยความซาบซึ้ง เห็นว่า แม้สมบัติอันมีค่าที่ทรงรักและหวงแหนที่สุด ยังสามารถเสียสละ บริจาคเป็นทานให้กับคนอย่างชูชกได้ คนสมัยนี้ฟังแล้วคิดตรงกันข้าม เห็นว่าพระเวสสันดรเป็นผู้ชายที่ใช้ไม่ได้เลย ไม่สมควรเป็นสามี ไม่สมควรเป็นพ่อคนด้วยซ้ำ มีอย่างหรือ เอาภรรยาผู้จงรักภักดี บุตรธิดาที่กำลังน่ารักไปยกให้พราหมณ์จัญไร เพื่อแลกกับบุญที่จะได้ไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อไป ช่างเห็นแก่ตัวแท้

แม้ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่๔ ในอุษาคเนย์ก็ยังถือผู้ชายเป็นใหญ่อยู่นั่นเอง การมีผู้หญิงไว้เป็นเจ้าของส่วนตัว ยิ่งมากเท่าไรยิ่งถือเป็นอำนาจบารมี เหมือนพญาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งก็คือตัวผู้ที่แข็งแรงกว่าตัวผู้ทั้งหมดในฝูงที่สามารถช่วงชิงความเป็นใหญ่ บรรดาตัวเมียทั้งหลายต่างจะพยายามกรีดกลายมาใกล้ๆ เพื่อเชิญชวนให้ผสมพันธุ์ด้วย ไม่ใช่แต่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง เศรษฐี หรือคนโตในหมู่บ้าน ก็ต้องพยายามเลี้ยงผู้หญิงไว้เป็นภรรยาให้มากที่สุด เท่าที่กำลังวังชาและกำลังทรัพย์จะเอื้อได้  เพื่อแสดงสัญญลักษณ์ของความเป็นชายเหนือชายทั้งปวง

จึงไม่แปลกที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมักจะทรงอวดจำนวนเจ้าจอมทั้งหลาย เพื่อแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ จนฝรั่งตาค้าง เซอร์จอห์น เบาวริ่งไปรับพระราชทานเลี้ยงที่พระตำหนักคืนเดียวก็ได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงมีเจ้าจอมกี่คน พระโอรสธิดากี่พระองค์ สังคมไทยตอนนั้นเห็นเป็นเรื่องธรรมดา สมควรเปิดเผยด้วยซ้ำ แต่สังคมตะวันตกเห็นเป็นเรื่องตรงกันข้าม คนไทยสมัยนี้ที่รับอารยธรรมตะวันตกมาเต็มหัวจิตหัวใจ จึงยอมรับไม่ได้ถึงการกระทำของบรรพบุรุษ

การที่จะทรงปรารภเรื่องเจ้าจอมของพระองค์กับพระเชษฐา ขอให้นำตัวไปสอบสวนในวังหลวงเพราะทรงไม่ไว้ใจคนวังหน้าของพระองค์เอง ก็เป็นเรื่องธรรมดาในยุคที่พระเจ้าแผ่นดินจะสั่งกุดหัวใครก็ได้ ไม่เห็นต้องเหนียม ถูกผิดอย่างไร The King ก็ can do no wrong อยู่นั่นเอง คนไม่ผิดจะตายฟรีก็เป็นเรื่องของกรรม ที่บันดาลให้เป็นไป ไม่ใช่บาปของผู้สั่งการ

ผมเองก็ไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ใครจะมาทำเสน่ห์ยาแฝดกับท่านในวัยนี้ เพื่ออยากได้อะไรเล่า โดยเฉพาะเจ้าจอมมารดาที่มีพระโอรสธิดาตั้ง ๑๒ พระองค์ จะยังปรารถนาอะไรอีก อย่างไรก็ตาม ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้นเห็น “ขน” ในเครื่องเสวยของพระองค์  แล้วจะสั่งเฆี่ยนหรือประหารผู้รับผิดชอบ ก็สามารถทำได้โดยชอบ  การที่เอาจำเลยไปสอบสวนด้วยระบบแบบไทยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเหมือนกันที่จำเลยจะรับสารภาพ หรือซัดทอดคนอื่นเข้าไปด้วย ตามแต่ที่พระอัยการจะบีบให้พูด
 
การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯท่านทรงบันทึกเรื่องนี้ไว้ คงจะทรงเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาๆไม่ใช่เรื่องเสียหายกระมัง แล้วสมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงเอาความนั้นมาเล่าต่อในพระนิพนธ์ของท่านสั้นๆ จุดมุ่งหมายก็เพื่อจะแก้ต่างให้พระราชบิดาว่า มิได้ทรงประหารคนเหล่านั้นจริงๆ เพียงแต่ให้เนรเทศเท่านั้น  แต่ผู้ที่นำมาเสนอโดยละเอียดพิศดารในยุคปัจจุบัน คือคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ใน“เวียงวัง”คอลัมม์ประจำของสื่อสิ่งพิมพ์อย่างสยามสมัย คนไทยชั้นกลางทั่วไปจึงได้รับทราบกันทั่ว ทุกวันนี้ก็หาอ่านได้ไม่ยากจากเวป และยังได้รับการป้ายไปเผยแพร่อย่างสนุกสนานกันต่อๆ รวมทั้งในกระทู้นี้ด้วย

เป็นกรรมของท่าน คนไทยน่ะยังดีที่ยังยั้งๆไว้บ้าง แต่แม่แหม่มแอนนานี่สิ สมัยโน้นเธอเอาเรื่องที่ลือกันให้แซ่ดนี้ไประบายสีในหนังสือของตัว ว่าคิงมงกุฏเป็นผู้ที่วางแผนอยู่เบื้องหลัง ให้เจ้าจอมมารดาท่านนี้ค่อยๆวางยาพิษพระอนุชาทีละน้อยๆ จนสวรรคต เพราะความอิจฉาริษยา แต่แล้วเจ้าจอมมารดาตัวการก็ถูกปิดปาก โดนจับเอาไปใส่กระสอบถ่วงน้ำที่ปากอ่าวเพื่อกำจัดทิ้ง เรื่องเช่นนี้เป็นเหยื่ออันโอชะของพวกซ้ายตกขอบอยู่แล้ว  จึงไม่พลาดที่จะนำไปขยายต่อในเวปแอนตี้สถาบันทั้งหลายทั้งปวงอย่างเมามัน กล่าวหาว่า ที่อ้างว่าปล่อยเจ้าจอมกลับไปสุโขทัยนั้นไม่จริง เพราะมีหลักฐาน แหม่มแอนนาซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์โดยตลอดเขียนว่าเอาไปฆ่าถ่วงน้ำปิดปาก เอากะมันซี


ดังนั้นเรื่องนี้ผมจึงขออนุญาตที่จะไม่เล่นต่อ แต่อยากจะให้ข้อคิดว่า ผ้านั้น เมื่อผ่านการใช้งานแล้ว จะต้องหมองบ้าง ยิ่งใช้งานมากยิ่งมีจุดด่างพร้อย ที่ไม่มีตำหนิเลยคือผ้าที่เก็บไว้ไม่ได้นำมาใช้งาน ดังนั้น เมื่อจะเลือกผ้าขาวก็ให้ดูเปรียบเทียบกับผ้าอื่นๆ  จึงจะเห็นว่าผ้าเป็นสีขาว
แต่ถ้าจะหาแบบจ้องจับผิด ก็เห็นแต่ตำหนิของผ้า เพราะผ้าขาวที่ขาวบริสุทธิ์จริงๆนั้น ไม่มี

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯจริงๆแล้วท่านก็ทรงเป็นปุถุชน พระราชประวัติที่โชกโชนทั้งชีวิต ก็มีทั้งผิดชอบชั่วดีเหมือนมนุษย์ทั่วไป ผมหวังว่าเรื่องทั้งหมดในกระทู้นี้ จะเป็นผ้าผืนใหญ่ที่เอาออกมาคลี่ให้ท่านดู หวังว่าท่านผู้อ่านจะเห็นเนื้อหาของผ้าทั้งผืน มากกว่าติดใจจะเพ่งตำหนิของผ้านะครับ


ขอบพระคุณที่อ่านเรื่องที่ผมเขียนทั้งสองกระทู้ มาจนถึงบรรทัดนี้


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 11, 17:28
ผมได้อ่านบทความนี้ ทำให้ทราบถึงเรื่องข่าวลือต่างๆว่า ไม่เป็นความจริง

พระบรมราชโอวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว พระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๒
“..เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงประชวรมากแล้ว จะเป็นในปลายปีชวด ฉกศ ๑๒๒๖ หรือ ต้นปีฉลู สัปตศก ๑๒๒๗ ทูลกระหม่อมเสด็จไปเยี่ยมประชวร ๒ ครั้ง ไม่โปรดให้ลูกเธออื่นตามเสด็จเข้าไปเลย มีแต่พ่อเชิญพระแสงอยู่คนเดียว
ข้างฝ่ายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็มีแต่กลีบ ซึ่งในเวลานั้นเป็นเจ้าจอมมารดาคนโปรด เสด็จเข้าไปเยี่ยมประชวรถึงในห้องพระบรรทม ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสร.... พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสด็จเข้ามากอดพระบาท ทรงกันแสงว่า หาช่องทางที่จะกราบทูลอยู่ช้านานแล้ว ก็ไม่มีโอกาส บัดนี้ไม่มีใคร จะขอกราบบังคมทูลแสดงน้ำใจที่ซื่อสัตย์สุจริตต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  มีผู้กราบบังคมทูลกล่าวโทษว่า สะสมเครื่องศัสตราวุธกระสุนดินดำขึ้นไว้ ก็ได้สะสมไว้จริง มีอยู่มากไม่นึกกลัวใคร
แต่เป็นความสัตย์จริงที่จะได้คิดประทุษร้ายต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทไม่มีเลยสักขณะจิตหนึ่ง แล้วถวายสัตย์สาบานเป็นอันมาก ซึ่งได้ตระเตรียมไว้นั้นเพื่อจะป้องกันผู้อื่นเท่านั้น ทูลกระหม่อมก็ทรงพระกันแสงกอดพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ และทรงแสดงความเชื่อถือ มิได้มีความรังเกียจอันใดในข้อนั้น...”


กระทู้: " เราที่สองรองภูมินทร์นามปิ่นเกล้า"
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 28 ม.ค. 11, 01:09
เข้ามาลงชื่อว่าตามอ่านอยู่นะครับ

เพิ่งจะสร่างจากวันหยุดยาวช่วงปีใหม่
อ่านไล่ตั้งแต่ต้น เรื่องคำสั่งทางทหารต่างๆ จนกระทั่งเรื่องเสน่ห์ยาแฝด

ขอนั่งเงียบ ตามอ่านไปเรื่อยๆ นะครับ


ปล.
ผ้มยังติดใจอยู่นิดๆ ในตอนต้นๆของกระทู้ ที่คุณครูใหญ่ยังสงสัย เรื่องคำสั่ง  อินทร์ ปะสันตา พรหม(ไม่มี ะ) ปะสันตา
แว่บแรก ที่นึกถึง คือ แถวทหารนุ่งห่มเขียวแดงแบบอินทร์ พรหม  ทำความเคารพด้วยท่าวันทยาวุธ ครับ (present arm)

แต่พอมาอ่านพบ
"สะเปร โบขะลัม  พรหมะ  สันตา ตุสันตา"
Spread both columns  from center to center

ก็เลย ไม่แน่ใจ จะเดาเอาว่าอาจจะเป็น In! present arm, บลา บลา  ก็ไม่เข้าเค้า  ;D ;D ;D ;D