เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: piyasann ที่ 05 พ.ค. 12, 23:48



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 05 พ.ค. 12, 23:48
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความสำคัญของนามสกุล ซึ่งทรงมีพระราชดำรินี้ มาตั้งแต่ยังไม่ได้ทรงครองราชฯ ดังเช่นพระราชนิพนธ์ "ฉายาหรือชื่อแซ่" ในวารสารทวีปัญญา พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการมีนามสกุลในฝั่งยุโรป และความสำคัญของการใช้นามสกุล จนกระทั้งเมื่อทรงครองราชฯ แล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ กำหนดให้คนไทยทุกคนต้องมีชื่อตัวและนามสกุล

และในการนี้ ได้พระราชทาน นามสกุล ให้แก่ ข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท เป็นชุดแรก เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ คือ ๑. สุุขุม ๒. มาลากุล ๓. พึ่งบุญ ๔. ณ มหาไชย และ ๕. ไกรฤกษ์  ต่อจากนั้นจึงได้ทรงพระกรุณา เป็นธุระพระราชทานนามสกุล แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และพสกนิกรที่ได้กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานจนนามสกุลสุดท้าย "ตันตริยานนท์" พระราชทานแก่ นายประดิษฐ์ ผู้ช่วยนายเวรกรมบาญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นลำดับทีึ่่ ๖,๔๓๗  สิริรวมแล้ว ระยะเวลาประมาณ ๑๒ ปีที่พระราชทานนามสกุล เฉลี่ยแล้ว ปีละกว่า ๕๓๖ นามสกุล 



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 05 พ.ค. 12, 23:50
เรื่องนามสกุลพระราชทาน มีหนังสือหลายเล่มกล่าวถึง ตั้งแต่มูลเหตุ และรายชื่อนามสกุลพระราชทาน สามารถหาอ่านได้ครับ
(ร้านหนังสือก็ยังมีขายอยู่ หรือเข้าไปที่เว็บไซด์ หลายๆ เว็บไซด์ได้ครับ)



ส่วนขั้นตอนของการขอพระราชทานนามสกุลนั้น เป็นดังนี้ (จากหนังสือ นามสกุล นานาสาระ : ชมรมคนรักวัง (โรงพยาบาบพระมงกุฏเกล้า)

๑. ผู้ขอพระราชทานนามสกุล ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา โดยระบุตำแหน่งหน้าที่และนามบรรพบุรุษของผู้ขอพระราชทาน

๒. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขนานนามนามสกุลพระราชทาน โดยทรงเขียนลำดับที่และนามสกุลที่พะรราชทานด้วยบายพระหัตถ์ในหนังสือกราบบังคมทูลพร้อมกับทรงจดทะเบียนนามสกุล และนามผู้ขอพรระาชทานในสมุดทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน

๓. ใบพระราชทาน

๓.๑ นามสกุลพระราชทาน ที่ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ มีจำนวน ๓๑ นามสกุล

๓.๒ ทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้าพนักงานพระอาลักษณ์ เขียนบัตรพระราชทานนามสกุล แล้วทรงลงพระปรมาภิไธย ที่ด้านบนของบัตร

๔. พระราชทานลายพระหัตถเลขา หรือบัตรนามสกุลแก่ผู้ขอพระราชทาน และประกาศพระราชทานนามสกุลในราชกิจจานุเบกษา











กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:16
ผู้ได้รับพระราชทาน นามสกุล ก็นับได้ว่า เป็นมงคลสูงสุดประการหนึ่ง ใบพระราชทานนามสกุลจึงเป็นสมบัติล้ำค่าของครอบครัวนั้น ๆ  .......

ใบพระราชทานนามสกุล ชุดนี้ รวบรวมโดย คุณ กรุ่ม สุระนันทน์ (ถึงแก่กรรม) นักสะสมหนังสือและเอกสารประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งของไทย


บางนามสกุล เป็นฉบับจริง (เช่นนามสกุลของท่านเอง - แต่ถ่ายเอกสารมาแปะเอาไว้) บางนามสกุล ตัดจากหนังสืองานศพ  หลายนามสกุลมีเขียนคำบรรยาย เกี่ยวกับผู้ได้รับพระราชทาน หรือภาพของผู้ได้รับพระราชทานกับประวัติย่อ หรือเครือญาติด้วย

ผมเคยได้มีโอกาส เห็นใบพระราชทานนามสกุล อีกปึกหนึ่ง ที่คุณกรุ่ม สุระนันทน์ เก็บรวบรวมเพื่อเอาเข้าแฟ้มเดียวกันนี้ แต่เมื่อท่านได้ถึงแก่กรรมแล้ว เอกสารปึกนั้น ได้สาบสูญไป(เพราะเหมือนเศษกระดาษตัดไว้ สำหรับคนไม่รู้ค่า !!!!) จึงเหลือนามสกุลที่ท่านได้รวมเป็นแฟ้มนี้ และยังค้างคาอยู่ เพียงเท่าที่จะได้นำลงต่อไป

เรื่อง ใบพระราชทานนามสกุลพระราชทาน เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ แง่มุมด้าน ศิลปะการเขียน และประวัติศาสตร์ ชนิดหนึ่ง ที่น่ารวบรวม........ ความน่าสนใจเช่น  ในฉบับที่ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์เอง ก็อธิบายถึงมูลเหตุที่มาของชื่อนามสกุลนั้นๆ ไว้อย่างน่าศึกษา หรือถ้าเป็นบัตรพระราชทานนามสกุล ก็จะระบุชื่อบรรพบุรุษ หรือหน้าที่การงานของผู้ได้รับพระราชทาน พร้อมวันเดือนปี กับสถานที่ พระราชทาน ซึ่งมีความแตกต่างกันบ้าง (ลายมืออาลักษณ์ก็ต่างกัน สำนวนก็ต่างกัน)

เพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจ  จึงขอนำการรวบรวมใบพระราชทานนามสกุล ที่คุณกรุ่ม สุระนันทน์ รวบรวมไว้ (เท่าที่เหลืออยู่) มาเผยแผร่ และหากท่านใดมีใบพระราชทานนามสกุลอื่นๆ ก็ขอนำมาลงต่อท้ายได้ครับ ถือว่า เป็นการรวบรวมต่อจากท่านๆ หนึ่งซึ่งมีความปราถนาจะรวบบัตรพระราชทานนามสกุลให้เป็นหมวดหมู่ ให้ได้ศึกษากันต่อไป


สุดท้าย ขอขอบพระคุณ คุณโกศล ช่อผกา แห่งสยามบรรณาคม เอื้อเฟื้อให้นำข้อมูลนี้มาเผยแพร่ครับ

(ผมเรียงตามตัวอักษรไทย ครับ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ)



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:17
"กาญจนาคม"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:18
"กุญชร ณ อยุธยา"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:19
แผ่นที่สอง


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:20
แผ่นที่ สาม


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:20
"จันทนะโพธิ"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:21
"จันทรประภา"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:25
ขอเรียนถามท่านผู้รู้ว่า เมื่อพระราชทานนามสกุลแล้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำเป็นจะต้องจดแจ้งกับทางการอีกเช่นนี้ ทุกนามสกุลพระราชทานหรือไม่ หรือเป็นไปได้ว่า เฉพาะหัวเมือง ?


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:25
"จันทรศร"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:26
"ชัยปราณี"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:27
ภาพท่านผู้ได้รับพระราชทาน มีลายมือท่านผู้รวบรวม เขียนบรรยาย


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:28
น่าจะตัดจากหนังสืองานศพน่ะครับ แต่ก็ทำให้ได้เห็นภาพผู้รับพระราชทานนามสกุล


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:29
"ชูโต"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:31
โน๊ตของท่านผู้รวบรวม ด้านขวาบน ทำให้ทราบว่า หลวงราชอักษร (สอาด) ต่อมาคือ มหาเสวกโท พระยาราชสาสน์โสภณ (อาจ ชูโต)


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:33
"ณ ป้อมเพชร์" ใบพระราชทาน มี การันต์ บนตัว ร เรือด้วย


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:35
"ตุงคะมณี"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:35
"นนทะนาคร"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 00:37
หลวงรามัญนนทเขตคดี (กมล นนทะนาคร) ท่านเป็นรามัญ หรือไม่ครับ หรือรับราชการ เกี่ยวกับรามัญ ?


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 พ.ค. 12, 08:31


มีข้อมูลรุ่นหลังว่า  รองอำมาตย์เอก หลวงรามัญนนทเขตต์คดี (เจ๊ก  นนทนาคร)  

เป็นนายอำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี  ค่ะ

รายละเอียดเห็นจะต้องรอท่านต่อไป


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 12, 09:02
ตอนที่บิดาจัดงานแต่งงานให้พี่ๆทั้ง5คน ตวนกู อับดุล เราะห์มานอายุไม่ถึง3ขวบ ท่านเป็นลูกคนที่20 ของสุลต่าน  ที่เกิดจากมารดาเดียวกันก็มีถึง12คนแล้ว แต่เหลือแค่8คนเป็นพี่ชาย3 น้องชาย1น้องสาว3  นอกนั้นเสียตั้งแต่ยังเป็นเด็ก มารดาของท่านชื่อเดิมว่าเนื่อง เป็นลูกสาวหลวงนราบริรักษ์ (เกล็บ นนทะนาคร) นายอำเภอเมืองนนทบุรีในรัชสมัยรัชกาลที่5 กับคุณนายอิ่ม เล่ากันในตระกูลว่า ท่านเกล็บสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยามหาโยธา( เจ่ง-อดีตเจ้าเมืองเมาะตะมะที่พาครัวเรือนมอญหนีพม่ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร กับท่านผู้หญิงทรัพย์) หลังสมรสกับสุลต่าน อับดุล ฮามิดแล้ว หม่อมเนื่องผู้เป็นเอกภรรยาเพราะถือว่าเป็นภรรยาพระราชทาน ได้รับการสถาปนาเป็นปะดูกา ซรี เจ๊ะ เมินยาราลา ชาวเมืองทั้งปวงเรียกสั้นๆว่ามะเจ๊ะ(คุณแม่ใหญ่)

แม้นามสกุลนทนาครดังกล่าวจะบันทึกในหนังสือนามสกุลพระราชทานว่า สมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯพระราชทานให้ ขุนรามัญนนทเขตรคดี (เจ๊)   นายอำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี  บิดาชื่อพระรามัญนนทเขตร์คดี (เทียม)  ปู่ชื่อหลวงรามัญนนทเขตร์คดี (ทับ) แต่เข้าเค้าว่าทั้งสองสายเป็นมอญทั้งคู่ อาจเป็นญาติกันทางใดทางหนึ่ง จึงใช้นามสกุลร่วมกัน  


หนังสือนามสกุลพระราชทานเห็นจะบันทึกพลาด เจ๊ คือ เจ๊ก และ เทียม คือ เนียม

คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) เป็นหลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตรคดี (เจ๊ก) นายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ข้อมูลจาก คุณองค์ บรรจุน (http://blogazine.in.th/blogs/ong/post/3034)
 ;D


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 12, 09:59
ขอเรียนถามท่านผู้รู้ว่า เมื่อพระราชทานนามสกุลแล้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำเป็นจะต้องจดแจ้งกับทางการอีกเช่นนี้ ทุกนามสกุลพระราชทานหรือไม่ หรือเป็นไปได้ว่า เฉพาะหัวเมือง ?

๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

ตอบ  เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลได้เลย  แต่ต้องไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องถิ่นคืออำเภอที่มีภูมิลำเนาลงทะเบียนไว้

 ;D


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 06 พ.ค. 12, 10:01
เดิม หลวงรามัญนนทเขตรคดี เป็นตำแหน่งปลัด (มอญ) ในจังหวัดนนทบุรี

คู่กันกับ หลวงสยามนนทเขตรขยัน ปลัด (ไทย)

เจ้าเมืองมีราชทินนามเป็นที่ "พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน"
ต่อมาเปลี่ยนสร้อยราชทินนามเป็น "พระยานนทบุรีศรีมหาเกษตราราม"

ซึ่งเป็นปกติที่ว่าหากจังหวัดใดมีชนชาติไหนอยู่มากๆ ก็อาจจะตั้งตำแหน่งปลัดมาปกครองดูแลชนชาตินั้นๆ
เช่น ปลัดจีน ปลัดลาว ปลัดเขมร เป็นต้น


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:48
"บุณยรัตพันธุ์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:49
ในใบ สะกดว่า "บุณย์รัตพันธุ์" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงเขียนพระราชทาน


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:50
"ปุณณกันต์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:51
"ผลัญชัย"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:54
น้องชายท่านผู้ขอพระราชทาน พ.ต.อ. นายรองพลพ่าห์ (สวัสดิ์ ผลัญชัย - บางแห่งใช้ว่า รอง ผลัญชัย ก็มี ?) ท่านเป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวง สมัยยังอยู่เรือนจาก


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:55
"ภมรพล"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:57
พ.ต.อ. พระยาสุรศักดิเสนา (โต๊ธ ภมรพล) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:58
เครื่องแบบ ทหารรักษาวัง หรือไม่ครับ รอ อ. Vee_Mee มาตอบ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 06 พ.ค. 12, 11:59
ความเกี่ยวข้องกับสายสกุล "สุขุม" จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพฯ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 06 พ.ค. 12, 18:46
ภาพ นายพันเอก พระยาสุรศักดิดสนา (โต๊ะ  ภมรพล) ในความเห็นที่ ๓๐ นั้น  เป็นภาพแต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวนายทหารบกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑  สวมหมวกแก๊ปสีกากีแกมเขียวติดตราปทุมอุณาโลมที่หน้าหมวก  เสื้อเป็นเสื้อราชปะแตนสีกากีแกมเขียว  ที่คอเสื้อติดพระมหามงกุฎรัศมีเงิน  หมายเป็นนายทหารหน่วยรบประจำการ  ที่คอเสื้อห้อยเสมาอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร.พระมหามงกุฎทองคำลงยา  ที่ปลายบ่าติดอินทรธนูน้อยนายทหารชั้นนายพันพื้นสักหลาดสีน้ำเงินติกแถบทองใหญ่ที่ริมขอบ  มีจักรหมายยศเงินติดเรียงกัน ๓ จักร  หมายเป็นนายพันเอก  ที่กึ่งกลางอินทรธนูประดับเลขหมายสังกัดเป็นเลข ๑  หมายว่าเป็นนายทหารสังกัดกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ  อกเสื้อเบื้องขวาประดับเข็มราชวัลลภทองคำบนแพรแถบสีแดง หมายว่าเคยรับราชการในกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  อกเสื้อเบื้องซ้ายตอนบนประดับแถบแพรเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น ๒ แถว  ถัดลงมาประดับเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.พระมหามงกุฎ ชั้นที่ ๒ (ลงยาสีดำ) บนแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก  ที่กึ่งกลางกระเป๋าเสื้อข้างซ้ายประดับเข็มข้าหลวงเดิม  หมายว่าได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชบ์


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 06 พ.ค. 12, 19:00
ภาพในความเห็นที่ ๓๑ เป็นภาพแต่งเครื่องแบบเต็มยศ นายพันเอก ทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตัวเสื้อเป็นเสื้อราชปะแตน  ติดดุมทองตราอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร.  ปลอกคอเสื้อเป็นสักหลาดสีบานเย็น (สีหมายกระทรวงวัง  เพราะกรมทหารรักษาวังเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงวัง)  ติดแถบทองที่ขอบรอบและมีแถบทองเล็กพาดกลาง  หมายเป็นนายทหารยศชั้นนายพัน  ที่กึ่งกลางคอเสื้อทั้งสองข้างประดับเครื่องหมายนายทหารประจำการรูปพระมหามงกุฎรัศมีเงิน  อินทรธนูพื้นสีบานเย็นมีแถบทองเล็กพาดกลาง  กับมีแถบทองใหญ่ที่ริมขอบกับมีเส้นลวดขดที่ริมขอบอินทรธนู  หมายเป็นนายทหารชั้นนายพันสังกัดกรมรักษาพะองค์ (ถ้าสังกัดกรมที่ไม่ใช่กรมรักษาพระองค์ไม่มีเส้นลวดขดรอบขอบอินทรธนู)  ประดับจักรหมายยศเงินที่ปลายอินทรธนู ๒ จักร  กับที่ต้นอินทรธนู ๑ จักร  หมายเป็นนายทหารยศนายพันเอก  ที่กึ่งกลางอินทรธนูข้างขวาประดับเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ร.ร.๖ พระมหามงกุฎ  หมายเป็นนายทหารราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๖  ที่กึ่งกลางอินทรธนูเบื้องซ้ายประดับเข็มเครื่องหมายสังกัดรูปอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.พระมหามงกุฎ

อกเสื้อเบื้องขวาประดับสายยงยศราชองรักษ์  ตอนบนติดเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร.พระมหามงกุฎทองคำลงยาสีดำบนแพรแถบช้างเผือก  ถัดลงมาเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.ในรัชกาลที่ ๖ และ ป.ป.ร. ในรัชกาลที่ ๗  ที่ดุมเม็ดต้นประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์มงกุฎสยาม  ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายประดับเหรียราชอิสริยาภรณ์ คือ ๑. จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก  เหรียญจักรมาลา เหรียญราชรุจิรัชกาลที่ ๖  เหรียญลรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๖ และ ๗ ตามลำดับ  ถัดลงมาเป็นเข็มราชวัลลภทองคำบนแะรแถบสีแดง  หมายว่าเป็นหรือเคยเป็นนายทหารสังกัดกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ  (ปกติเข็มนี้จะติดบนอกเสื้อเบื้องขวา)


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 06 พ.ค. 12, 19:05
หลวงรามัญนนทเขตรคดี (เจ๊ก) นั้นท่านเป็นคุณปู่ของ คุณดุสิต  นนทะนาคร อดีตประธานสภาหอการค้าไทยที่เพิ่งล่วงลับไปไม่นานนี้


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ค. 12, 20:02
คุณนวรัตนบอกว่าคุณปู่ของคุณดุสิตสงสัยว่าจะชื่อ "แช่ม"

ตกลงว่า “นนทนาคร” เป็นนามสกุลท่านมารดาของท่านตนกูทั้งสองอย่างมิต้องสงสัยใดๆต่อไป ได้หลักฐานกระทั่งว่าน้องชายของคุณหญิงเนื่องคนหนึ่งชื่อแช่ม
ผมมีเพื่อนชื่อดุสิต นนทนาคร บิดาชื่อท่านช่วย นนทนาคร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สงสัยว่าปู่จะชื่อท่านแช่ม  คุณดุสิตคนนี้เป็นอดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตภัณฑ์ในเครือซีเมนต์ไทย ปัจจุบันเป็นประธานหอการค้า หน้าตาดูไปแล้วก็คล้ายๆกับคนมาเลย์เหมือนกัน


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3304.0;attach=10537;image)

แต่คุณดุสิตเองเล่าว่าคุณปู่ของท่านคือหลวงรามัญนนทเขตรคดี (เจ๊ก) (http://www.ariyaplus.com/scoop/scoop_29.php)

ที่มาของนามสกุล ‘นนทะนาคร’ นั้น เป็นนามสกุลที่คุณปู่ของผม คือ หลวงรามัญนนทเขตรคดี ได้รับพระราชทานจากองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า ‘นนทะนาคร’ หมายถึง ‘นาคน้อยผู้ร่าเริง’ ยิ่งทำให้เลือดวชิราวุธนั้นยิ่งเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ปู่ นอกจากจะหมายถึง พ่อของพ่อ อาจหมายถึง ลุงหรืออาของพ่อ ก็ได้

คุณปู่ (คุณพ่อของคุณพ่อ) ของคุณดุสิตชื่อ "แช่ม" หรือ "เจ๊ก"

 ???


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 06 พ.ค. 12, 20:09
สงสัยจังเลยครับว่าใบพระราชทานนามสกุลทำไมถึงมีสัญญาลักษณ์หรือดวงตราทางซ้ายมือแตกต่างกัน ผู้รู้ช่วยตอบทีครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

"จันทรประภา"


"กาญจนาคม"



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ค. 12, 06:34
ข้อมูลจากหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณดุสิตเป็นบุตรของคุณช่วย  นนทะนาคร  ที่เป็นบุตรคนเดียวของหลวงรามัญนนทเขตรคดี (เจ๊ก)

ส่วนชื่อแข่มนั้นคุณพี่ NAVARAT.C ท่านสันนิษฐานไว้ว่า
"ได้หลักฐานกระทั่งว่าน้องชายของคุณหญิงเนื่องคนหนึ่งชื่อแช่ม
ผมมีเพื่อนชื่อดุสิต นนทนาคร บิดาชื่อท่านช่วย นนทนาคร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สงสัยว่าปู่จะชื่อท่านแช่ม"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ค. 12, 06:41
สงสัยจังเลยครับว่าใบพระราชทานนามสกุลทำไมถึงมีสัญญาลักษณ์หรือดวงตราทางซ้ายมือแตกต่างกัน ผู้รู้ช่วยตอบทีครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

"จันทรประภา"


"กาญจนาคม"



ชื่อว่า อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.พระมหามงกุฎ ครับ
อักษร ว. นั้นมาจากพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ""  ทำเป็นรูปพญานาค  หมายถึงปีมะโรงพระราชสมภพ

อักษรพระบรมนามาภิไธยนี้จะใช้กับการที่เป็นส่วนพระองค์  ดังเช่นพระราชทานให้เป็นเครื่องหมายสังกัดที่ติดกลางบ่าทหารรักษาวังบ้าง  ที่คอเสื้อเสือป่าบ้าง
จะต่างกันก็ตรงที่เป็นเครื่องหมายติดเสื้อนั้น  พระรัศมีจะอยู่เหนือวงอักษร ว. ส่วนที่เป็นตราหัวกระดาษพระรัศมีของพระมหามงกุฎอยู่ภายในวงอักษร ว.


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 07:47
ใบพระราชทานนามสกุลในช่วงแรก ๆ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๖ พระราชทาน "สุขุม"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 07:50
"กาญจนโชติ"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 07:52
๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๖ "มาลากุล"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 07:56
"อิงค์นินันท์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ค. 12, 08:02
อ้างถึง
ส่วนชื่อแข่มนั้นคุณพี่ NAVARAT.C ท่านสันนิษฐานไว้ว่า
"ได้หลักฐานกระทั่งว่าน้องชายของคุณหญิงเนื่องคนหนึ่งชื่อแช่ม
ผมมีเพื่อนชื่อดุสิต นนทนาคร บิดาชื่อท่านช่วย นนทนาคร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สงสัยว่าปู่จะชื่อท่านแช่ม"

เหตุที่ต้องใช้การสันนิษฐาน ก็ด้วยว่าชื่อพ่อชื่อปู่อะไรทำนองนี้ เพื่อนนักเรียนประจำไม่มีใครยอมบอกใคร เพราะดีไม่ดีจะกลายมาเป็นชื่อเล่นของตัวเองไปได้ง่ายๆ

คุณดุสิตเองตอนเด็กๆบางครั้งเพื่อนก็เรียกว่าไอ้ช่วย ถ้ารู้ว่าปู่ชื่อเจ๊ก ก็คงจะสนุกไปใหญ่ อาจจะเป็นไอ้เจ๊กช่วย
ผมรู้ว่าพ่อท่านชื่อช่วย ก็เลยสันนิฐานว่าปู่ชื่อแช่ม เพราะเห็นว่าช.ช้างสะกดเหมือนกัน

จากที่ถกกันนี้ เลยทำให้เข้าใจว่า ท่านตนกูอับดุลเราะห์มานไม่ได้เกี่ยวดองกับสายตรงของคุณดุสิต แต่เป็นสายของอา(หรือลุง?) มิน่า ถามอะไรเรื่องคุญหญิงเนื่องก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง

ตอนนี้ผมก็หมดความสามารถจะไปซักถามอะไรได้อีก ถ้าคุณเพ็ญชมพูยังไม่หายสงสัย ก็โปรดจุดธูปถามท่านเอาเอง


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 08:18
"กรรณสูต"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 08:40
"รามโกมุท"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 08:42
"รัตนประทีป"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 10:25
ตอนนี้ผมก็หมดความสามารถจะไปซักถามอะไรได้อีก ถ้าคุณเพ็ญชมพูยังไม่หายสงสัย ก็โปรดจุดธูปถามท่านเอาเอง

คุณเพ็ญชมพูคงต้องไปจุดธูปเรียนถามท่านเอาเอง  ;D

มีคิวจุดธูปติดต่อปรโลก ขึ้นบัญชีไว้ ๒ รายแล้ว

วิธีนี้จะได้ผลไหมหนอ

แหะ แหะ

 ;D


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ค. 12, 10:39
ไม่ลองก็ไม่รู้น๊า


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 10:49
 :)


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 12, 10:53
^
ไม่เอานะ กลัว  :-[


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 19:52
ปัจจุบัน มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิมพ์ใบนามสกุลพระราชทานขึ้นใหม่
โดยรักษาเนื้อหาตามใบพระราชทานนามสกุลของเดิมไว้


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 21:31
สกุล "รูปะวิเชตร์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 21:38
สกุล เดชะไกศยะ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 21:42
สกุล  พุทธิเภษัช


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 21:48
สกุล สุวรรณประทีป

หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ(สุนี) ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลนี้ ต่อมาคือพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ  ผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศไทย
โปรดสังเกตว่าในใบพระราชทานนามสกุล สะกดชื่อท่านว่า สุนี  แต่ในประวัติท่านในวิกิพีเดีย สะกดว่า สุณี


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 22:06
สกุล วิชัยขัทคะ
สกุลนี้ลูกหลานเก็บหลักฐานไว้ทั้งหนังสือขอพระราชทานนามสกุล และใบพระราชทานนามสกุล  ทำให้ทราบหลักฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพระยาพิชัยดาบหัก
หลักฐานข้างล่างนี้ ทำให้รู้ว่าแม้ว่าพระยาพิชัยดาบหักตัดสินใจจะขอตายตามเจ้านาย คือสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ แต่บุตรหลานของท่านยังคงรับราชการกันต่อมาในรัชกาลที่ ๑ และเรื่อยมาถึงรัชกาลที่ ๖  
บุตรของพระยาพิชัยดาบหักได้เป็นพระยาเช่นเดียวกับบิดา มีราชทินนามว่าพระยาพิชัยเชียงแสน (โต)  
ลำดับเชื้อสายท่านได้ดังนี้

พระยาพิชัยดาบหัก
v
พระยาพิชัยเชียงแสน (โต)
v
ชื่อหลวงวัง(ทอง)
v
พระพลสงคราม(ท่า)
v
หลวงอนุรักษ์ภูมินทร์(ปรี)
v
ขุนศรีพัฒนากร (ท้าย) สรรพาการเมืองอ่างทอง


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 12, 22:08
ใบที่บอกว่า "ถอนทันท่วงที" ไม่ได้มีปัญหาอะไรมาก  เพียงแต่ลำดับชื่อบรรพบุรุษไม่ครบเท่าใบที่สอง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯก็โปรดเกล้าฯพระราชทานนามสกุลให้ว่า วิชัยขัทคะ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:24
"มัณฑุกานนท์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:24
"วัจนะคุปต์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:26
"ศุกรวรรณ"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:27
โน๊ต บรรดาศักดิ์ผู้รับพระราชทาน และทายาท


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:28
"ศุภมิตร" หน้า ๑


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:28
"ศุภมิตร" หน้า ๒


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:30
"ศุภมิตร" หน้า ๓


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:31
"ศุภมิตร" หน้า ๔


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:31
น่าจะโน๊ตไว้่หลายสกุลน่ะครับ สแกนมานานจำไม่ได้ว่าอยู่ตรงไหน


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:33
"สิงหเสนี" หน้า ๑


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:33
"สิงหเสนี" หน้า ๒


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:34
สาแหรก และเครือญาติ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:34
สาแหรก และเครือญาติ ๒


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:35
ท่านต้นสกุล


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:36
เพิ่มเติม


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:38
"สุรนันทน์" นามสกุล ของคุณกรุ่ม สุระนันทน์ ผู้รวบรวม

เรื่องของสกุล สุรนันทน์ มีเรื่องสนุกในประวัติศาสตร์มากมาย รอให้ได้รับเอกสารจากผู้เก็บรักษาไว้ก่อนครับ มีโอกาสคงได้เขียน..........


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:40
"หงสกุล" ดองไปมากับสุรนันทน์ จนแกะกันไม่ออก


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:40
"หิญชีระนันทน์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:41
"หุตะเสวี"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:43
"อินทามระ"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:44
"อิศรางกูร ณ อยุธยา" แผ่น ๑


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:44
"อิศรางกูร ณ อยุธยา" แผ่น ๒


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 08 พ.ค. 12, 23:45
"โรจนประดิษฐ์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 พ.ค. 12, 01:49
บุตรของพระยาพิชัยดาบหักได้เป็นพระยาเช่นเดียวกับบิดา มีราชทินนามว่าพระยาพิชัยเชียงแสน (โต)  
ลำดับเชื้อสายท่านได้ดังนี้

พระยาพิชัยดาบหัก
v
พระยาพิชัยเชียงแสน (โต)v


จะเป็นท่านเดียวกับผู้นี้หรือไม่หนอ  ???

"ครั้นถึงวันกำหนด กองทัพไทยก็ยกเข้าตีค่ายพม่าแต่เพลา ๓ ยามทุกทัพ พระยากาวิละก็ยกกองทัพข้างในเมืองตีกระหนาบออกมา
พอรุ่งสว่าง กองทัพวังหน้าตีหักเข้าค่ายพม่าได้ แต่กองทัพวังหลวงเห็นปืนพม่ายังหนานัก ยังแอบคันนายิงกันอยู่กับพม่าหาบุกรุก
เข้าแหกค่ายพม่า ไม่ขณะนั้นพระยาพิไชยชื่อโต เป็นคนกล้าหาญ ร้องว่า "ไล่ฟันไล่แทงเถิด แตกดอก"
แล้วพระยาพิไชยก็นำหน้าเข้าไล่รุกพม่า นายทัพนายกองทั้งปวงจึงตามเข้าไป ก็ตีได้ค่ายพม่าหมดทุกค่าย พวกพม่าพากันแตกฉาน"

ถ้าเป็นบุตรพระยาพิชัยดาบหักจริงๆ แล้วไซร้

ก็ถือว่า "เชื้อไม่ทิ้งแถว" เลยนะขอรับ  ;D


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ค. 12, 20:27
น่าจะใช่ นะคะ คุณ art47    ;D
ขอบคุณที่หารายละเอียดมาถ่ายทอดให้อ่านกัน

******************
นามสกุล มหายศปัณยา  (ในรายชื่อนามสกุลพระราชทาน พิมพ์ว่า มหายศปัญญา)
พระราชทานให้พระยาบุรีรัตน (น้อยหนู)  กรมการพิเศษจังหวัดแพร่  ปู่ชื่อพระยาบุรีรัตน (หนานมหายศ)  บิดาชื่อพระยาบุรีรัตน (หนานปัญญา)
สกุลนี้มีพระยา 3 ชั่วคน ได้รับพระราชทานราชทินนามเดียวกัน


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: PAOPAI ที่ 11 พ.ค. 12, 17:21
"ดุละลัมพะ"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: PAOPAI ที่ 11 พ.ค. 12, 17:25
"พลางกูร"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: PAOPAI ที่ 11 พ.ค. 12, 17:32
"โรจนวิภาต"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: PAOPAI ที่ 11 พ.ค. 12, 17:35
"โอสถานนท์"


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: PAOPAI ที่ 11 พ.ค. 12, 17:43
สำเนาหนังสือขอพระราชทานนามสกุล "โอสถานนท์" (จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พันตรีวิลาส โอสถานนท์)


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ค. 12, 17:45
จากค.ห. 85
^
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5094.0;attach=32271;image)

หลวงผดุงวิทยาเสริม ต่อมาคือพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร)บุตรชายคนหนึ่งของท่านได้แก่พ.ต.จำกัด พลางกูร อดีตเสรีไทย

ท่านเกิดที่บ้านถนนสีลม จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2426 เป็นบุตรนายเจิม และนางปริก พลางกูร มีน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 2 คน คือ หลวงสันธานวิทยาสิทธิ์ (กำจาย พลางกูร) และ พระอัพภัณตราพาธภิศาล (กำจร พลางกูร) เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส สอบไล่ได้ชั้น 2 ประโยค 3 จากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2444 ได้ประกาศนียบัตรครูมัธยมพิเศษ พ.ศ. 2446
พระยาผดุงวิทยาเสริมสมรสกับคุณหญิงเหรียญ (สกุลเดิม นิโครธานนท์) เมื่อ พ.ศ. 2456

    ปี พ.ศ. 2448 ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการไปเรียนวิชาครู ณ ประเทศอังกฤษ เข้าศึกษา ณ วิทยาลัยฝึกหัดครูที่ตำบล Isleworth กรุงลอนดอน เป็นเวลา 4 ปี
    พ.ศ. 2452 สอนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์
    พ.ศ. 2453 ย้ายมาสอนที่โรงเรียนปทุมคงคา
    พ.ศ. 2454 เป็นอาจารย์รอง โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จ
    พ.ศ. 2457 เป็นอาจารย์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน แผนกคุรุศึกษา
    พ.ศ. 2460 รักษาการแทนอาจารย์ใหญ่แผนกคุรุศึกษา  โรงเรียนข้าราชการพลเรือน(ต่อมาคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
    พ.ศ. 2461 เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ
    พ.ศ. 2470 เป็นเจ้ากรมตำรา
    พ.ศ. 2471 เป็นเจ้ากรมสามัญศึกษา
    พ.ศ. 2473 รักษาการอธิบดีกรมศึกษาธิการ
    พ.ศ. 2475 กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ
    รับพระราชทานบำนาญ รวมเวลาที่รับราชการ 32 ปี

เครื่องราชอิสสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้รับพระราชทาน คือ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

บุตรธิดาที่เกิดจากคุณหญิงเหรียญ
    พ.ต. จำกัด พลางกูร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางฉลบชลัยย์ (มหานีรานนท์)
    ศ.ดร. กำแหง พลางกูร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ พ.อ. (พิเศษ) พญ.มยุรี (สุนทรเวช)
    ศ.พญ. คุณหญิงตระหนักจิต หะริณสุต (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ ศ.นพ.จำลอง หะรินสุต
    ดร. บรรเจิด พลางกูร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางสมลักษณ์ (ยมะสมิต)
    นางลำเพา สุทธเสถียร สมรสกับนายวิตต์ สุทธเสถียร
    พล.ต.เกรียงเดช พลางกูร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางอรัว (เพ่งไพฑูรย์)
    รศ. สลวย กรุแก้ว (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ ศ.อนันต์ กรุแก้ว

คุณหญิงเหรียญถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2471 ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 พระยาผดุงวิทยาเสริมได้สมรสกับคุณหญิงจรูญ ผดุงวิทยาเสริม (สกุลเดิม รสานนท์) มีบุตรธิดา คือ

    น.ส.จรวยรส พลางกูร (ถึงแก่กรรม)
    ศ.นพ.กัมปนาท พลางกูร (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ ผศ.พญ.จิรา (อินทะนิยม)
    นางเสาวรส ทองปาน (ถึงแก่กรรม) สมรสกับ ศ.ดร.โสภิณ ทองปาน

พระยาผดุงวิทยาเสริมถึงแก่กรรมด้วยโรคความดันโลหิตสูง และอัมพาต เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2497 ณ บ้านซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต จังหวัดพระนคร และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2499

จากวิกิพีเดีย


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 มิ.ย. 12, 16:29
เพิ่มเติม "หิญชีระนันทน์" ครับ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 มิ.ย. 12, 16:55
อำมาตย์ตรี พระสอนถูกระบอบ ( เรือง หิญชีระนันท์)

เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘ (สมัยรัชกาลที่ ๕ - มีชีวิตอยู่ ๕ แผ่นดิน)

นายเรืองเป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวน ๘ คนของนายตง และนางแสง ชาวบ้าน ตำบลบ้านโป่ง งูเหลือม (บ้านหัวตะเข้) ท่ายาง เมืองเพชรบุรี มีอาชีพ ทำไร่ ทำสวน แต่ฐานะดีครอบครัวหนึ่งในตำบล เริ่มต้นศึกษาที่วัดท่าคอย เขาย้อย เมืองเพชร เป็นเวลา ๕ ปีก่อนจะย้ายมาเรียน บาลี มูลบทบรรพกิจ และศาสนา กับพระภิกษุทัด ที่วัดเขากระจิว (วัดบรรพตาวาส) จนพระอาจารย์หมดภูมิจะสอนนายเรือง จึงแนะนำให้เข้ามาเีรียนต่อในพระนคร

แต่ขณะนั้น นายตงได้ล้มเจ็บ และเีสียชีวิตลง เมื่อนายเรืองอายุได้ ๑๒ ปี แต่ทางบ้านนายเรืองก็อุตสาหะ มารดาและพี่น้อง ๗ คนยินดีทำไร่ไถ่นา หาเลี้ยงชีพเพื่อให้นายเรืองได้มีโอกาสร่ำเรียนต่อ บังเอิญมีกระบวนเสด็จของเจ้านายจากบางกอก แปรพระราชฐานมาัยัง วังบ้านปืน นางแสงจึงฝากนายเรืองมากับคนรู้จักในกระบวนตามเสด็จฯ

เมื่อเข้ากรุงเทพฯ นายเรือง ไปพำนักอยู่บ้านของผู้พาเข้ากรุงฯ สัปดาห์หนึ่งแล้วจึงแจวเรือไปส่งไว้ที่วัง กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ป้อมพระสุเมรุ ที่วังให้คนนำไปฝากไว้กับ เจ้าคุณเขมาภิมุขธรรม วัดบวรวิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมหามกุฏราชวิทยาัลัย สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรชั้น ๓ แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนวัดมหรรพาราม สอบไล่ได้ชั้น ๓ ประโยค ๑ ปีถัดมา

ปีพ.ศ. ๒๔๔๕ สอบไล่ประโยค ๒ ที่วัดบวรนิเวศ แล้วไปเรียนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้ประกาศนียบัตรครูประถม ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ่ ๒๕ บาท และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรครูมัธยมสามัญ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ซึ่งมีเพียง ๔ คนที่สอบได้ เป็นอันจบการศึกษา ได้รับพระราชทาน ผ้าม่วงจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นรางวัลในการสอบไล่ได้










กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 มิ.ย. 12, 17:41
นายเรือง เริ่มรับราชการ "ครู" เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี สอนที่โรงเรียนวัดสุทัศน์ รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๖๕ บาท (พ.ศ. ๒๔๔๘)  สอนได้ ๔ ปี ทางการ รวมโรงเรียนวัดสุทัศน์ ไปรวมไว้กับโรงเรียนวัดราชบูรณะ จึงย้ายไปสอนที่ใหม่  มีตำแหน่งเป็น ครู(น้อย) เติบโตจนเป็น ครูใหญ่ ที่โรงเรียนวัดวินัยชำนาญ และโรงเรียนวัดนวลนรดิศ อายุได้ ๓๐ ปี รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนสอนถูกระบอบ" พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นบรรดาศักดิ์คู่กับ "ขุนสอบถูกระบิล" (หลวงสอบถูกระบิล)

พ.ศ. ๒๔๖๑ กระทรวงธรรมการ ย้ายขุนสอนถูกระบอบ มารับราชการพนักงานสอบไล่ กองสอบไล่ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสอนถูกระบอบ เป็นคุณหลวงสอนฯ ได้ ๙ ปี ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนเป็น พระสอบถูกระบอบ พ.ศ. ๒๔๗๐  

ข้าราชการกระทรวงธรรมการจะเป็นอยู่เป็นประจำคือ คุณหลวง นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อราชประแตนกระดุม ๕ เม็ด เรียบร้อย มาทำงานตรงเวลา ไม่เคยขาด ไม่เคยสาย ในส่วนการสอน ท่านพร่ำสอนศิษย์อย่างเอาใจใส่

"อย่าดื่มเหล้า อย่าเกียจคร้าน ตั้งใจเรียน และยึดมั่นในธรรมะ"

"อย่าเบียดเบียนผู้อื่น จงคิดเป็นกุศล และประกอบแต่กุศลกรรม"

อย่าตามใจตัวเองในทางที่ผิด จงรักษาสุขภาพทางกาย และทางใจอยู่เสมอ"

นอกจากการสอนในชั้นเรียน ท่านใช้เวลาแต่งตำราประกอบการสอนหลายเล่ม เช่น หนังสืออ่านประกอบวิชาภูมิศาสตร์สำหรับชั้นประถม และ ตำราภูมิศาสตร์แผนที่สำหรับชั้นมัธยมตอนต้น



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 มิ.ย. 12, 17:53
พ.ศ. ๒๔๗๔ เลื่อนขึ้นเป็น ครูใหญ่ โรงเรีึยนวัดบวรนิเวศวิหาร (โรงเรียนเก่าของท่าน) แล้วย้ายไปเป็นพนักงานตรวจการแขวงธนบุรีตะวันตก ทำหน้าที่หัวหน้าแผนกสอบไล่ อยู่ ๒ ปี แล้วถูกปลดจากราชการ ฐาน "รับราชการมานาน" !!!!!   แต่ปีรุ่งขึ้น (๒๔๘๐) ก็ถูกเรียกกลับมารับราชการ แต่อยู่ในราชการได้อีกไม่นานก็ลาออก ขณะอายุได้ ๕๓ ปี รับราชการมา ๓๒ ปี

ชีวิตครอบครัว : สมรสกับนางสาวบุญเรือง สิงหบุระอุดม (นางสอนถูกระบอบ) บุตรีรองอำมาตย์โท ขุนอาวุธวัฒนา (บุญรอด สิงหบุระอุดม) มีบุตร-ธิดา ๑๐ คน เช่น พลโท นวล หิญชีระนันทน์ และ นางเรืองอุไร กุศลาศรัย ภรรยา นายกรุณา กุศลาศรัย เป็นต้น  ต่อมาท่านมีบุตรกับนางพยุงอีก ๘ คน

พระสอนถูกระบอบ มีอายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ยกย่องท่านเป็น ครูอาวุโสตัวอย่าง ในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗

(เรียบเรียงจาก : ห้าแผ่นดิน ชีวประวัติของพระสอนถูกระบอบ พ.ศ. ๒๕๒๗ )



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 มิ.ย. 12, 21:56
สำหรับการพระราชทานนามสกุล "หิญชีระนันทน์" นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงมาจาก ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของท่านคือ "หิ้นเจียน" ให้เข้ากับความหมายในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง ????? (แปลโดยผู้เรียบเรียงประวัติ ๕ รอบคุณพระฯ )


คุณ Vee_Mee ได้ช่วยไขข้อข้องใจหนึ่งไว้ในหนังสือ "ทะเบียฬนามสกุล ที่เราได้ให้ไป วชิราวุธ ปร." ซึ่งสอบทานกับราชกิจจานุเบกษา และสมุดทะเบียฬของรัชกาลที่ ๖ ได้ความว่า "หิ้นเจียน" เป็นชื่อ "ทวด" ไม่ใช่ ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของคุณพระฯ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 มิ.ย. 12, 22:01
"ตฤษณานนท์" (Trishnanonda) ควรจะอ่านว่า ตริด-สะ-หนา-นน ตามพจนานุกรม หรือ ตริดส์-นา-นน ดีครับ?


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 มิ.ย. 12, 22:39
นามสกุลนี้ พระราชทานมาแต่ นายกุหลาบ (ก.ศ.ร. กุหลาบ) นายชาย (ก.ห. ชาย) และครูนัดดา (หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์)

ทายาทของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ออกหนังสือ มีใจความมาว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่า "ตฤษณานนท์" โดยทรงเลียนจากชื่อนางตรุษผู้เป็นย่าของนายนัดดา


เรื่อง ตั้งนามสกุลตาม "เชื้อทางแม่" นี้ รัชกาลที่ ๖ ทรงเห็นว่า " ......ฝ่ายผู้หญิง ไม่ควรจะเอานามท่านเข้าไปเปนนาสกุล เพราะตามเกณฑ์ก็ว่า ผู้ชายเปนผู้ตั้งสกุล....."  ปรากฏอยู่ในใบพระราชทานนามสกุล "ศุภมิตร์" ซึ่งเดิม เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ประสงค์จะให้ใช้นามสกุลผู้สืบเชื่อสาย ท่านเจ้าคุณนวล ราชินิกูล ว่า "บุนนาค-นวล"


เท่าที่อ่านทวนในสมุดทะเบียฬนามสกุลฯ แล้ว แทบจะไม่มีนามสกุลที่ตั้งตาม "เชื้อทางแม่" เลย ยกเว้น "สุจริตกุล" สำหรับผู้สืบเชื่อสายจาก ท้าวสุจริตธำรง (นาค) กับหลวงอาสาสำแดง (แตง)   .......(ท่านใดมีสำเนาใบพระราชทานฯ  โปรดแสดง)





กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 มิ.ย. 12, 22:53
ส่วนนามสกุลอื่นๆ กรณีตั้งตามชื่อ จะทรงตั้งตามชื่อตัว, ชื่อบิดาหรือบรรพบุรุษ แซ่สกุล ทางบิดาเท่านั้น ซึ่งก็น่าจะสมเหตุ เพราะดูจากตัวอย่างใบกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานนามสกุล ใน คห. ๘๘ ก็บอกแต่ชื่อข้างฝ่ายบิดา เป็นสำคัญ เช่นในหมวด ต

ตปานนท์ ...... ปู่ชื่อตะ (เป็นมอญ)

ตมะวิโมกษ์ ...... บิดาชื่อหมอก (ตม - พจนานุกรมแปลว่า ความมืด ความเศร้าหมอง)

ตมัสปาณ .....ทวดชื่อหมอก

ตยังคชวนะ ......บิดาชื่อเตียงวัด

ตยังคะกนก ......ปู่ชื่อเตียง

ตยางคานนท์ ...... แซ่เดิม "เตียง"

ตะรุษานนท์ ..... ปู่ชื่อตรุษ

ตังคณะสิงห์ ..... บิดาชื่อจีนตังเซง

ตัณฑวณิช ......แส้ตัน

มีใกล้เคียงคือ ตฤณานนท์ (Trinananda) พระราชทาน นายร้อยตรีโมรา สัสดีเมืองสิงห์บุรี ปู่ชื่อแพรก (ตฤณ แปลว่าหญ้า )


ส่วน ตฤษณานนท์ นี้ พระราชทาน มหาดเล็กวิเศษนัดดา ครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กับนายกุหลาบ(ปู่) และนายชาย(บิดา) ทวดชื่อ ตรึส



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 19 มิ.ย. 12, 23:31
ทวดชื่อตรึส ตามที่ทรงจดไว้ในสมุดทะเบียฬฯ นี้ ตอนกราบบังคมทูล ครูนัดดาคงจะลงว่า "ทวดชื่อตรึส" ไม่ได้แจงว่า ทวดคือ ทวดชาย หรือ ทวดหญิง?

เพราะที่ทราบๆ กัน บิดา ของก.ศ.ร. กุลหลาบ ชื่อเสง  มารดาชื่อ ตรุษ หรือ ตรุศ ไม่มีปรากฏชื่อ "ตรึส" ในประวัติ ก.ศ.ร. (และก.ศ.ร. ก็เกิดวันตรุษไทย........ อันนี้น่าจะนอกประเด็น)


ในหลวงรัชกาลที่ ๖ เองก็คงไม่ทรงสืบแสวงหาบรรพบุรุษ ดังเช่นที่ ก.ศ.ร. ท่านเขียนประวัติตระกูลของผู้น้ำผู้ดีไปเสียหายคน  ......  เมื่อปรากฏว่า ทวดชืื่อตรึส ก็ ไม่ได้ทรงสอบสวนต่อ ตั้งไปตามที่กราบบังคมทูล .............. ฉนั้น ก็เป็นไปได้ว่า อาจจะทรงตั้งนามสกุล ตาม "เชื่อทางแม่" ไปโดยไม่ทรงทราบ ก็เป็นได้ ?

หรือ............ในหลวงรัชกาบที่ ๖  ก็อาจจะทรงอ่าน "สยามประเภท" แลหนังสืออื่นของ ก.ศ.ร. เช่นก้ัน (เพราะร่วมสมัย) อาจจะทรงทราบว่า มารดาของก.ศ.ร. เป็นคนมีเชื้อสาย เป็นคนบดี และบิดา ของก.ศ.ร. ก็แจวเรือไปมีบ้านใหม่  จึงทรงให้เกียรติ Single Mom (ทันสมัยมากกกกกก........) อิอิ


ฝากลายมือครูนัดดา (หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์) ปีพ.ศ. ๒๔๖๖ เผือท่านใดต้องการเทียบลายมือท่านซึ่งน่าสนใจ  เช่น ในหนังสือแจกงานศพ ก.ศ.ร. กุลาบ เรื่อง ตัมณาญธนบัตร์ ปีพ.ศ. ๒๔๖๑ เขียนมอบให้ใคร ห้องสมุดใด ก็เป็นลายมือ ครูนัดดา เป็นไปได้ว่าตอนหลังๆ  ครูนัดดา อาจจะเป็น ผู้ช่วย หรือเลขาฯ ของก.ศ.ร. กุหลาบ ?

ท่านพิมพ์หนังสือเล่มเล็กเท่าฝ่ามือ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ หน้าไม่ถึง ๒๐ หน้าสนองคุณ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฉลองพระชนมายุ ๖๕ พรรษา อ่านสำนวนคำนำแล้ว สุภาพ เจียมเนื้อเจียมตัว แทนคุณปู่ท่านจัง........... (รูปพระมนูแถลงสาร สีแดงชาด เพิ่งพิมพ์เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ จากตรางาช้างพระราชทาน ซึ่งไปซุกอยู่ในโต๊ะงานสังเค็ตงานพระบรมศพ รัชกาลที่ ๕ ที่ไม่มีใครเคยสนใจ .........  มีเด็กมือบอน แอบบปั๊มตราเก็บไว้ ก่อนที่จะส่งมอบคือหน่วยงานเจ้าของ หลังจากที่ตรานี้ สาบสูญไป ๒๐ ปี ......... )



กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 มิ.ย. 12, 08:27
สำหรับการพระราชทานนามสกุล "หิญชีระนันทน์" นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงมาจาก ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของท่านคือ "หิ้นเจียน" ให้เข้ากับความหมายในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง ????? (แปลโดยผู้เรียบเรียงประวัติ ๕ รอบคุณพระฯ )


คุณ Vee_Mee ได้ช่วยไขข้อข้องใจหนึ่งไว้ในหนังสือ "ทะเบียฬนามสกุล ที่เราได้ให้ไป วชิราวุธ ปร." ซึ่งสอบทานกับราชกิจจานุเบกษา และสมุดทะเบียฬของรัชกาลที่ ๖ ได้ความว่า "หิ้นเจียน" เป็นชื่อ "ทวด" ไม่ใช่ ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของคุณพระฯ


หิญฺชีร แปลว่า m. a rope or chain for fastening an elephant's foot.

คำว่า หิญฺชีร ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงนำมาตั้งเป็นนามสกุลนี้  ไม่ได้มุ่งเอาความหมายของคำ  แต่มุ่งเอาเสียงของคำที่คล้ายกับชื่อบรรพบุรุษของตระกูลนี้
คือ หิ้นเจียน  ฉะนั้นหากจะไปนามสกุลว่า  ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง  ต่อไปหากว่าลูกหลานชั้นหลัง ไม่ได้สืบสวนที่มาของนามสกุลให้กระจ่าง
ก็จะเข้าใจคลาดเคลื่อนเหมือนกับนามสกุลพระราชทานอีกหลายนามสกุล   นามสกุลหิญชีระนันทน์ ต้องแปลตามบริบทของต้นสกุลว่า
ลูกหลานหรือเชื้อสายของจีนหิ้นเจียน  จึงจะถูกต้อง  ถ้าแปลตามศัพท์  คนจะสงสัยว่า  สกุลนี้เกี่ยวข้องอะไรกับช้าง 
แล้วคนต้นสกุลนี้ไปเกิดยินดีอะไรกับเชือกหรือโซ่ล่ามช้าง  ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีแม้แต่ช้างก็ตาม 

(นันท์ หรือ นันทน์ เป็นคำศัพท์บาลีสันสันสกฤต  มีความหมายหลายความหมาย  หนึ่งในจำนวนนั้นคือความหมายว่าลูกชาย
ถามว่าทำไมคำนี้จึงแปลว่าลูกชาย  อธิบายว่า  ในสังคมชาวอินเดียแต่บรรพกาล  ครอบครัวใดมีลูกชาย เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
เพราะลูกชายจะได้เป็นผู้สืบโคตรสกุลให้รุ่งเรืองต่อไป  และทำให้พ่อแม่ไม่ต้องตกนรกขุมปุตระ  เนื่องจากมีลูกชายทำพิธีศราทธพรตหรือสังสการ
อุทิศส่วนกุศลให้แก่พ่อแม่ที่ล่วงลับ  ซึ่งลูกสาวทำไม่ได้)


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 01 ก.ค. 12, 19:39
ศิริธร และ ศิริธร ณ พัทลุง

ซึ่ง มีผู้ใช่ ร่วมกัน คือ คุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง นักเขียนเรื่องลานนา (เพชรลานนา) นักหนังสือพิมพ์

และน้องชาย คุณ ปราโมทย์ ศิริธร นักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 01 ก.ค. 12, 19:40
ใบนี้ ก็ไม่ค่อยเคยเห็นครับ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: Nithi Kanisthanon ที่ 07 ก.ค. 12, 02:48
พันเอกพระชิตสรการ (ยวง กนิษฐานนท์) เป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล

๐๗๑๑ กนิษฐานนท์ Kanishtha^nanda นายร้อยเอกยวง ผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม กระทรวงกระลาโหม ปู่เป็นหลวงอมรินทรรักษา (หนู) นายน้อย มหาดเล็กรัชกาลที่ ๓ เป็นทวด ปู่ทวดคือ หลวงสมบัติบดี (ฉิม) ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ส.ค. 12, 23:48
"สุจริตกุล" ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทาน ที่ทรงตั้งจากทางฝ่ายหญิง (อาจจะมีเพียงนามสกุลเดียว ถ้าไม่นับรวม ราชสกุล ในพระพี่นาง - พระน้องนาง รัชกาลที่ ๑)


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ส.ค. 12, 23:49
สุจริตกุล แผ่นสอง


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ส.ค. 12, 23:50
สุจริตกุล แผ่น สาม


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: กวิศ หิญชีระนันทน์ ที่ 02 ต.ค. 12, 13:34
ขอบคุณมากครับ ทำให้ได้รู้จักถึงปู่ของพ่อเลยครับ สำหรับรุ่นผม รุ่นหลานก็สืบถึงปู่ของปู่ ขอบคุณมากๆครับ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ธ.ค. 12, 10:11
"บุณยะตุลานนท์"

https://www.dropbox.com/s/wgfdei8vfibmtby/Photo%201-5-2555%2C%2019%2057%2002.jpg

https://www.dropbox.com/s/pqe5qs07ifi9bwo/Photo%201-5-2555%2C%2019%2056%2016.jpg

ของผมครับ แบบถ่ายเอกสาร

 ;D


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: Sirithorn ที่ 01 ม.ค. 13, 21:39
ใบนี้ ก็ไม่ค่อยเคยเห็นครับ

ใบนี้ดิฉันก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันค่ะ  ;D มีญาติผู้ใหญ่ทำงานกองราชเลขาฯ ( พันตรีอาทิตย์ ศิริธรซึ่งขับรถพระที่นั่งนำเสด็จพระเจ้าอยู่หัว ) จะลองถามท่านดูค่ะ....ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: อีนปีน ที่ 24 ต.ค. 13, 16:27
พอดี...ตาม หาใบนามสกุล มานานแล้ว ครับ...

ไม่ทราบว่า มี ใบนามสกุล ของ สุวรรณมัณฑ์ ไหม ครับ



ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ครับ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 13, 16:40
ยังไม่เคยเห็นใบพระราชทานนามสกุลนี้นะคะ
มีแต่รายละเอียดว่า เป็นนามสกุลพระราชทานหมายเลข  ๒๓๖๘
สุวรรณมัณฑ์ สะกดด้วยอักษรโรมันว่า Suvarnamanta
ผู้ขอพระราชทาน คือขุนศรีมงคล (แสง) บิดา กับรองอำมาตย์เอก ขุนวิจิตรเลฃา (ปุ่น) ผู้พิพากษาศาลมณฑลชุมพร บิดาขุนศรีมงคลชื่อหลวงศุภมาตรา (ทอง) ปู่ชื่อมั่น


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: อีนปีน ที่ 28 ต.ค. 13, 11:04
ขอบพระคุณมาก ครับ...


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: มีนกร ที่ 11 มิ.ย. 15, 00:08
๔๙๐๓
ศุกรสดุดี Sukrasatudi
ขุนมัณฑลานุการ (ชม)
กรมการพิเศษ จังหวัดร้อยเอ็จ
บิดาชื่อสุก 5/4/19
 

กำลังตามหาสำเนาใบพระราชทานนามสกุลครับ หาได้จากที่ใดได้บ้างครับ หอสมุดแห่งชาติมีหรือไม่ครับ

อยากทราบความหมายของนามสกุลด้วยครับ

ขอบพระคุณมากครับ








กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: มีนกร ที่ 11 มิ.ย. 15, 00:15
(http://www.uppic.org/image-4404_55787023.jpg) (http://www.uppic.org/share-4404_55787023.html)

ในหนังสือเล่มนี้มีหรือไม่ครับ ข้างในเล่มเป็นอย่างไรบ้างครับ ท่านใดเคยอ่านบ้างครับ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มิ.ย. 15, 10:54
ปัจจุบัน มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิมพ์ใบนามสกุลพระราชทานขึ้นใหม่โดยรักษาเนื้อหาตามใบพระราชทานนามสกุลของเดิมไว้
ไม่ทราบว่าหมดเขตหรือยัง  ลองสอบถามดูนะคะ
ตัวอย่าง ดูได้ในรูปนี้


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มิ.ย. 15, 11:38
อยากทราบความหมายของนามสกุลด้วยครับ

นามสกุลของคุณมีนกร มาจากชื่อบิดาของท่านขุนฯ คือ "สุก" คำว่าสดุดีคงไม่ต้องแปล ส่วนคำว่า "ศุกร" ตาม พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ  (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=sukra+&trans=Translate&direction=AU) มีความหมายตามนี้


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 มิ.ย. 15, 16:46
ใบนามสกุลพระราชทานของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีกำหนดหมดเขต  ท่านที่ต้องการติดต่อได้ที่มูลนิธิฯ ในหอสมุดแห่งชาติ  โทร. ๐๒ ๒๘๑๔๖๕๙ ในวันและเวลาราชการครับ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: juta.k ที่ 25 ก.ค. 15, 13:23
สกุล คัมภิรานนท์


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: juta.k ที่ 25 ก.ค. 15, 13:28
ใครพอจะมีข้อมูลของ หลวงชลสินทธุ์สงครามชัย (ชื่อเดิม กรบ อมลัษเฐียร ) บ้างไหมค่ะ ท่านเคยรับราชการอยู่ที่กองทัพเรือ ราวปี 2452 เป็นต้นไป
ขอบคุณค่ะ


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: Tumzasokyo ที่ 24 ก.ค. 18, 09:33
มีใครพอจะมีข้อมูลตระกูลนี่หรือเปล่าครับ แล้วเราจะรู้ได้ไงครับว่าเป็นใบพระราชทานของจริง


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ค. 18, 09:45
มีใครพอจะมีข้อมูลตระกูลนี่หรือเปล่าครับ แล้วเราจะรู้ได้ไงครับว่าเป็นใบพระราชทานของจริง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5094.0;attach=68625;image)

๒๓๑๖ บุณยัษเฐียร   Punyashthira   รองอำมาตย์ตรี ขุนธนินทรพิทักษ์ (อาน)  พธำมรงค์เมืองภูเก็จ  ทวดชื่อพระยาถลาง (บุญคง)

http://www.phyathaipalace.org/นามสกุลพระราชทาน/namebo.html (http://www.phyathaipalace.org/นามสกุลพระราชทาน/namebo.html)

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/1058.PDF


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ค. 18, 13:50
ใครพอจะมีข้อมูลของ หลวงชลสินทธุ์สงครามชัย (ชื่อเดิม กรบ อมลัษเฐียร ) บ้างไหมค่ะ ท่านเคยรับราชการอยู่ที่กองทัพเรือ ราวปี 2452 เป็นต้นไป
ขอบคุณค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6361.0


กระทู้: ใบพระราชทานนามสกุล
เริ่มกระทู้โดย: Tumzasokyo ที่ 25 ก.ค. 18, 03:15
ขอบคุณครับ บุณยัษเฐียร เป็นนามสกุลของผมเอง  และนี่คือรูปท่านครับ