เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 139415 หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 08:49

แม้แต่ฮิตเล่อร์ ที่คนเกือบทั้งโลกประณาม แต่คนเยอรมันก็รักเคารพฮิตเล่อร์ เคยได้ยินคำกล่าวคล้ายๆกับว่า
เมื่อชาติแพ้ คนทั้งชาติก็แพ้ด้วย....สงครามมีแต่การสูญเสีย..มีทั้งวีรบุรุษ และคนขายชาติ ....ในสายตาของ
หลายๆคน คนๆนึงอาจเป็นวีรบุรุษสำหรับเขา แต่อีกหลายคนก็มองว่าเป็นคนไม่ดี...
คงมีแต่เจ้าตัวนะคะ ที่รู้ดีเต็มอกว่าตัวเองทำไปเพราะอะไร....สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจค่ะ....
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 09:11

ร.ต.อ. โพยม จันทร์คะเดินออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์เหมือนทหารนิรนาม ท่านดีกว่าพวกนั้นหน่อยที่ท่านรอดชีวิตจากสงคราม แต่ทหารนิรนามก็ดีกว่าท่าน ตรงที่มีผู้สร้างอนุสาวรีย์ให้ มีคนไปวางพวงมาลาทุกปีๆ

ชอบมากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 09:28

เปิดหนังสือ "เสรีไทย อุดมการณ์ที่ไม่ตาย"  จัดทำโดยอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก คณะกรรมการดำเนินงานเปิดอาคารเสรีไทยอนุสรณ์
เจ้าของเรื่องคือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี   ค้นหาชื่อของร.ต.อ. โพยม  เจออยู่นิดเดียว ว่า
เสรีไทยสายอังกฤษทั้ง ๖ คนถูกนำตัวมาขังรวมกัน ไว้ที่กองตำรวจสันติบาล  ซึ่งมีร.ต.อ. โพยม จันทรัคคะ(นามสกุลจริงของท่านคืออะไรกันแน่) ได้รับมอบหมายจากพลต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส ให้เป็นผู้ดูแล...
................
ระหว่างอยู่ในความควบคุมของสันติบาล   ป๋วยซึ่งนำสารลับจากกองบัญชาการ ๑๓๖ ก็ได้ลอบเดินทางไปพบนายปรีดี พนมยงค์...
จบ
แค่นี้เอง

ชื่อของร.ต.อ. โพยมถูกเอ่ยถึงครั้งเดียวในฐานะผู้ควบคุมเสรีไทย  การนำสารของดร.ป๋วยก็ไม่มีการเอ่ยถึงว่าใครเสี่ยงตายต่อหน้าที่การงานนำไปพบนายปรีดี   เหมือนกับว่าท่านหาทางเล็ดรอดตำรวจไปจนพบเอง
ร.ต.อ. โพยมถูกมองข้ามความสำคัญไปจริงๆ   ถ้ามองอย่างที่คุณนวรัตนมองว่าท่านคือวีรบุรุษคนหนึ่งของเสรีไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 25 ก.ค. 10, 09:38

อ่านมาตรา 3(1) ข้อเดียวในร่างพ.ร.บ.อาชญากรสงคราม ในคห. 295   ถ้านำมาใช้ได้จริงๆ จอมพลป.ก็ไม่รอดแล้ว    ลองนึกกลับกันว่าถ้าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะ  ใครเป็นฝ่ายพันธมิตรถูกจับขึ้นศาลพิเศษ 
ไม่มีการออกพ.ร.บ.เพราะรู้ว่าย้อนหลังไม่ได้   แต่มีระเบียบการของศาลพิเศษเหมือนในพ.ร.บ.นี้ ลิสต์ชื่อผู้โดนมาตรา 9  จะยาวเหยียดแค่ไหน   และมีชื่อใครบ้าง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 17:48

อ้างถึง
เสรีไทยสายอังกฤษทั้ง ๖ คนถูกนำตัวมาขังรวมกัน ไว้ที่กองตำรวจสันติบาล  ซึ่งมีร.ต.อ. โพยม จันทรัคคะ(นามสกุลจริงของท่านคืออะไรกันแน่) ได้รับมอบหมายจากพลต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส ให้เป็นผู้ดูแล
.

ผมเคยเขียนเรื่องของร.ต.อ.โพยม จันทะรัคคะ ไว้ในความคิดเห็นที่ 194 นามสกุลนั้นสะกดตามที่เห็นมาจากหนังสือตำนานเสรีไทย  ส่วน“จันทร์คะ” ในกระทู้หลัง เอามาจากหนังสือคนละเล่มกันชื่อประวัติของนายพลตาดุ  โดยมิได้เฉลียวใจว่าจะผิดกัน ขออภัยครับ

พอมีปัญหาเลยถามกูเกิล ได้ความว่าที่ถูกต้องคือ จันทรัคคะ  ท่านมีผลงานเป็นบทวิชาการเยอะ แต่ไม่มีที่เขียนไว้เกื่ยวกับเสรีไทย และวีรกรรมของตนเองเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 18:07

บทบาทของร.ต.อ. โพยมที่เจอเพิ่มเติม ก็สอดคล้องกับที่คุณนวรัตนเล่าไว้  บทความต่อไปนี้ ผู้เขียนคือร.ต.อ. ประสิทธิ์ รักประชา เขียนลงในต่วยตูน
มีตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องเสรีไทยว่า

ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ดร.ป๋วย  อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 3 นาย ได้กระโดดร่มลงที่ชัยนาท ถูกชาวบ้านล้อมจับ ฐานเป็น แนวที่ 5 เหมือนเดิม ถูกซ้อมสะบักสะบอม อธิบดีตำรวจ หลวง อดุลเดชจรัส ทราบเรื่องจึงให้ตำรวจไปรับตัวมาขังที่สันติบาล ห้องเดียวกับ ร.อ.หยุนกัง และ ร.อ.หวุนฮั่นอู่ จึงรู้จักสนิทสนมกัน ตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้น พล.ต.จ.ขุนศรีศรากร เป็นผู้บังคับการสันติบาล พ.ต.อ. จำรัส  มัณฎุกานนนท์ เป็นรองผู้บังคับการ ร.ต.อ.รัตน์  วาฒนมหาต เป็นสารวัตรกองกำกับการ 1 ท่านผู้นี้มีความสามรถในการสืบสวนเป็นเยี่ยมผู้ใต้บังคับบัญชาเคารพนับถือเชื่อฟังคำสั่ง เมื่อปี 2497 ข้าพเจ้าเป็น ร.ต.ต. ประจำกองบังคับการ ท่านเลื่อนชั้นเป็น พล.ต.จ. ผู้บังคับการสันติบาล แล้ว ร.ต.อ. ชีพ ประพันธ์เนติวุฒิ เป็นสารวัตร กองกำกับการ 3 ท่านมีความรู้ภาษาจีนอย่างลึกซึ้ง เพราะท่านศึกษาในประเทศจีนจากต้นตำรับโดยตรง รับผิดชอบ เอกสารติดต่อระหว่างไทย- จีนนโดยเฉพาะ ในปี 2512 ข้าพเจ้าเป็น พ.ต.ท. รองผู้กำกับการข่าว ตชด.ท่านเลื่อนขึ้นเป็น พล.ต.ต  ผู้ช่วยผู้บัญชาการ ตชด.แล้ว เช่นกัน
   ยังมี ร.ตท.โพยม  จันทรัคคะ ร.ต.ต. ธานี สาธรกิจ และ จ.ส.ต. เทียน สุโกศล เป็นหลานชาย นายใจ บิดา นาย กมล สุโกศล คุ้นเคยกับท่านอธิบดี จึงฝากฝังขอเป็นตำรวจด้วยคน จ.ส.ต.เทียน สำเร็จจากโรงเรียนมัธยมจงหวา รุ่นที่ 4 แล้วไปเรียนต่อที่ประเทศจีนอีกหลายปี เป็น จ.ส.ต.ที่สอบเป้นพนักงานสอบสวนได้ และเชี่ยวชขาญภาษาจีนอีกด้วย ท่านอธิบดีจึงเรียกใช้อย่างใกล้ชิด มอบให้ทำงานติดต่อกับฝ่ายรัฐบาลจีนที่นครจุงกิง ยังมีนายตำรวจอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวนาม ได้ร่วมขบวนการเสรีไทยภายใต้การนำของท่าน พูเลา ทั้งสิ้น เป็นเกราะป้องกันเสรีไทยทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะพวกที่กระโดดร่มลงมาและขึ้นฝั่งทางทะเล
   ท่านมีคำสั่งให้จับเป็น ห้ามจับตาย และ ห้ามซ้อม (เรื่องนี้ถนัดนัก) พวกที่ถูกจับได้ ทหารญี่ปุ่นเคยมาขอตัวอ้างว่าจะเอาไปสอบสวน แต่ทางสันติบาลไม่ให้ แต่ถ้าต้องการประวัติของบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ขัดข้อง
   ดร.ป๋วยและพวก ถูกขังที่สันติบาล เวลากลางวันก็เห็นอยู่ในห้องขัง แต่เวลากลางคืนหายตัวได้ ไปทำงาน รับ-ส่งวิทยุ ติดต่อกองบัญชาการทหารสัมพันธมิตร และ ขบวนการเสรีไทยนอกประเทศ โดยมีนายตำรวจ ติดตามไปอำนวยความสะดวก และ คุ้มกันไม่ให้ญี่ปุ่นลักพาตัวไป ก่อนสว่างก็กลับที่คุมขังเหมือนเดิม งานเสรีไทยจึงได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เสรีไทยสายจีนได้พึ่งบารมีด้วย นี่แหละคือฝีมือของเสรีไทยสายตำรวจ.

     ขอนำมาลงอีกครั้ง  เป็นการรำลึกถึงเสรีไทยสายตำรวจ   ซึ่งมีเอกสารบันทึกเอาไว้น้อยกว่าเสรีไทยสายอื่นๆ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 18:35

มานั่งรอตั้งแต่เช้า คิดว่าวันนี้ครูจะไม่มาสอนเสียแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 18:54

ถ้ามีคำถาม กระทู้นี้ก็อยู่ยาวหน่อยครับ

ถ้าเงียบไปทั้งหน้าห้องหลังห้อง

ก็แบ๊ะๆเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 18:57

เมื่อเริ่มมีเสียงจากในห้องเรียน   
ระหว่างรอท่านกูรูใหญ่กว่ามาเล่าต่อ   ดิฉันก็ขอโพสต์อะไรเล็กๆน้อยๆไปก่อน ไม่ให้ขาดช่วง  เกี่ยวกับพลต.อ. อดุล
สุพจน์ ด่านตระกูล เขียนไว้ในคำนำหนังสือคำให้การของพลต.อ. อดุล ดังนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 19:02

ในตอนต้นกระทู้ ดูเหมือนจะไม่ได้บอกว่าพลต.อ.อดุล เป็นศิษย์เก่าร.ร.ไหนมาก่อน   ในประวัติมีรายละเอียด
ท่านเป็นศิษย์เก่าอัสสัมชัญ   ท่านน่าจะรู้ภาษาอังกฤษดี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 19:15

พลต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เขียนไว้อาลัยพลต.อ.อดุล ตอนหนึ่งระบุว่ามีการออก พ.ร.ก  พิเศษเพื่อให้อำนาจท่านโดยเฉพาะ  



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 20:08

ส่วนเรื่องพลต.อ.อดุลถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไรนั้น    มีลงในคำไว้อาลัยเช่นกัน  แต่อ่านแล้วก็ไม่ค่อยชัดเจนว่าท่านเป็นอะไรกันแน่
ต้องขอเชิญคุณหมอ CVT มาช่วยวินิจฉัยอาการ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 26 ก.ค. 10, 21:55

หยุดยาวหลายวัน  นักเรียนไปเที่ยวหรือไม่ก็เข้าวัดกันหมด   ครูต้องเลคเชอร์กับโต๊ะเก้าอี้และกระดานดำไปพลางๆ  กระทู้นิ่งเมื่อไรท่านกูรูใหญ่กว่าจะหายตัว

ความคิดเห็นนี้เกิดขึ้นหลังจากอ่านกระทู้มาสามร้อยกว่าความเห็น     มองเห็นภาพว่า จอมพลป. ท่านเล็งการณ์ไกล ส่งเพื่อนรักไปคุมกรมตำรวจ   ส่วนท่านคุมทหารบก    ในบ้านเมืองเราสมัยนั้น  "กลุ่มพลัง" ที่แข็งแกร่งที่สุดคือทหารบกกับตำรวจ   ถ้าหากว่ารวมกันได้เมื่อไร  ไปอยู่ในมือใคร คนนั้นก็เป็นจอมกระบี่ไร้เทียมทาน
ผู้นำที่มองข้อนี้ออก ไม่ว่าเคยเรียนประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ก็ตาม จึงต้องวางเส้นทาง เอาคนที่เชื่อใจได้เป็นผบ.ทบ.และอ.ต.ร. (สมัยนี้ก็คือผบ.สตช) ขึ้นตรงต่อผู้นำคนเดียว  
ใครที่เป็นฝ่ายตรงข้าม  ก็ต้องมีกลุ่มพลังของตัวเองบ้าง ไม่งั้นไปไม่รอด

ส่วนกำลังของพลเรือน(ใช้คำนี้เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่าประชาชน) ที่รวมพลังกันได้เหนียวแน่นที่สุด คือกลุ่มพลเรือนอุดมการณ์เดียวกัน คือสังคมนิยม  นำโดยนายปรีดี พนมยงค์  
กลุ่มนี้มีกองกำลังติดอาวุธที่แข็งแกร่ง คือกองกำลังของครูเตียงและนายครอง จินดาวงศ์   ส่วนที่อยู่ในเมืองเป็นพวกปัญญาชนในหลายๆอาชีพ  นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ที่ร่วมอุดมการณ์ก็มีหลายคน
นอกจากนี้  ยังมีกลุ่มพลังที่ไม่รวมกับทหารบก คือกลุ่มทหารเรือ    เข้ามาร่วมกับกลุ่มพลเรือนในรัฐประหารปี ๒๔๙๒ หรือกบฏวังหลวง   แต่ว่าสู้แรงกลุ่มพลังแรกไม่ได้ ก็ถูกสตัฟฟ์เอาไว้ให้หยุดแค่นั้น
มีความพยายามอีกครั้งในพ.ศ. ๒๔๙๔ เกิดกบฏแมนฮัตตัน แต่ทำไม่สำเร็จ  ก็ถูกฟรีซไปยาวนานเลยทีนี้

กลุ่มพลังกลุ่มแรก คือทหาร+ตำรวจ มีกำลังยืนยาวนานมาจนถึงพ.ศ. ๒๕๐๐   แม้ว่าพลต.อ.อดุลพ้นหน้าที่อธิบดีตำรวจไปแล้ว เนื่องจากรักเป็นพิษขึ้นมาภายหลัง  แต่นโยบายของจอมพลป.ยังยึดแนวทางเดิม    เราจึงมียุค "ใต้ดวงอาทิตย์ ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" ในช่วงต่อมา   หลังกบฏวังหลวง
ตำรวจยุคพลต.อ.เผ่า ศรียานนท์แข็งแกร่งยิ่งกว่ายุคพลต.อ.อดุล เสียอีก

ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มรัฐสภา เป็นกลุ่มที่ยังไม่มีพลังต่อรองมากนัก  รวมกันก็ยังไม่ติด เพราะแบ่งแยกเป็นพรรคต่างๆ   ตั้งแต่พ.ศ. 2475 จนถึง 2500   จากนั้นก็แทบจะสูญหายไปเลยในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ 2500-2506



บันทึกการเข้า
proudtobethai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 06:31

เมื่อวานแวะเข้ามาดูหลายรอบเลยค่ะ เห็นกระทู้เงียบ เลยนึกว่าโรงเรียนปิดยาวช่วงวันหยุดยาว..
วันนี้แวะเข้ามาใหม่ อ้าว โรงเรียนมีสอนพิเศษแล้ว แหม..เกือบขาดเรียนแน่ะค่ะ... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 27 ก.ค. 10, 15:49

มาลงชื่อว่า ยังคงเข้าเรียนอยู่ครับ


รอท่านคุณครูใหญ่ มาประสิทธิประสาทวิชาการความรู้เหมือนเช่นเคยครับ
 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง