เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 7254 เรื่องของ "ส้วม"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 26 มิ.ย. 23, 18:13

bidet  สมัยใหม่หน้าตาเป็นแบบนี้


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 26 มิ.ย. 23, 18:38

               (หากเป็นงานเลี้ยงในวังยังนึกภาพสาวๆ ปลีกตัวไปปลดทุกข์ในห้องหับลับตาคนได้ แต่การใช้ขณะฟังเทศน์ท่ามกลางผู้คนมากมายนั้น  ตกใจ  ฮืม)
คำถามของคุณหมอ SILA ทำให้ดิฉันต้องไปค้นคำตอบมาให้    ได้คำตอบแล้วว่าสมัยนั้นสาวๆเขาปลดทุกข์กันท่าไหนอย่างไร
แต่ใช้ท่านี้ ต่อหน้าคุณพ่อและผู้คนอื่นๆหรือเปล่า ยังจนปัญญาหาหลักฐานไม่ได้ค่ะ
ใครทราบช่วยบอกด้วย

ของไทยเมื่อสมัยก่อนง่ายกว่า เพราะใส่ผ้าซิ่นเมื่อต้องเข้าเมืองไปทำธุระ  ภาพที่ผมเห็นค่อนข้างบ่อยเมื่อยุค 2500 +/-ต้นๆ ก็คือการยกผ้าซิ่นให้โป่งด้านหน้า ยืนฉี่บริเวณใกล้โตนเสาไฟฟ้า    สมัยนั้น ในพื้นที่ๆผมอยู่ ถนนยังเป็นลักษณะของการใช้หินปูนเกลี่ยให้เรียบแล้วบดอัดด้วยรถบดที่ทำงานด้วยเครื่องจักรไอน้ำแล้วจึงราดยาง  ที่บริเวณโคนเสาไฟฟ้าริมถนนเหล่านี้จะมีกอหญ้าสูงประมาณข่าขึ้นอยู่รอบโคนเสาไฟฟ้า ลำบากที่จะทำด้วยการนั่งยองแล้วกางร่มบัง  แต่ก็มีที่ถกหญ้าออกให้เป็นที่ว่างพอนั่งได้ แล้วใช้การกางร่มหมุนไปมาเพื่อบัง

กรณีปล่อยออกไปเลยตามสะดวกก็เคยเห็น  ครั้งหนึ่งที่ญี่ปุ่น ในการเลี้ยงรับรองด้วยอาหารเย็นที่คลับเฮ้าส์ของบริษัทหนึ่ง สาวผู้ใหญ่โตได้ปล่อยอย่างสบายลงบนหมอรองนั่งในโต๊ะอาหาร ก็อั้นไม่อยู่เพราะเพลินจนมาสายเลยเวลานัด เลยต้องรีบเข้ากระบวนพิธีต้อนรับตามธรรมเนียมให้จบ สักพักใหญ่ก็ลุกขึ้นไปห้องน้ำ เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (สาวเสิร์ฟ) นำอาหารมาวางบนโต๊ะ พบว่าเบาะรองนั่งและบริเวณนั้นเปียก ก็เลยจัดการเปลี่ยนเบาะรองนั่งก่อนที่เธอจะกลับมานั่ง  ทุกคนที่ร่วมโต๊ะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น(เดาได้)ก็เมื่อตอนที่สาวเสิร์ฟได้เอาเบาะมาเปลี่ยน เมื่อเธอกลับมานั่ง ฝ่ายรับรองต่างก็ช่วยกันกลบเกลื่อนด้วยการนำสนทนาไปในเรื่องสัพเพเหระที่สนุกสนาน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 27 มิ.ย. 23, 09:25

อ่านแล้วนับว่าเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่งค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

กลับมาเรื่อง bidet  
บิเด้ยังมีในยุโรป  แต่ก็เสื่อมความนิยมลงไปมากแล้ว  เพราะไหนจะเทอะทะเมื่อติดตั้งในห้องน้ำ   ไหนจะไม่สะดวกในการใช้    ประกอบกับมีผู้คิดค้นวิธีทำความสะอาดแบบใหม่ที่ง่ายดายและคล่องตัวกว่า  คือใช้สายฉีดน้ำ
เมื่อก่อนห้องน้ำในโรงแรมใหญ่ๆและห้างสรรพสินค้าในไทยไม่มีสายฉีด  ส่วนบิเด้ไม่ต้องพูด ไม่มีอยู่แล้ว    เดี๋ยวนี้มีสายฉีดน้ำกันแพร่หลายแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 27 มิ.ย. 23, 09:35

ของไทยเมื่อสมัยก่อนง่ายกว่า เพราะใส่ผ้าซิ่นเมื่อต้องเข้าเมืองไปทำธุระ  ภาพที่ผมเห็นค่อนข้างบ่อยเมื่อยุค 2500 +/-ต้นๆ ก็คือการยกผ้าซิ่นให้โป่งด้านหน้า ยืนฉี่บริเวณใกล้โตนเสาไฟฟ้า

อาจารย์เสรินทร์ จิรคุปต์ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นล้านนา เล่าว่าในหนังสือ เรื่องเล่าจาวกาดเล่ม ๑ ว่า

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แม่เล่าให้ผมฟังว่า แม่เป็นชาวบ้านวัดศรีสุพรรณ ชื่อบุญชุม สมนาวรรณ ตอนเป็นสาวแม่หาบข้าวสารเดินขายที่กาดหลวงบ้าง กาดเก๊าลำไยบ้าง วันหนึ่งแม่หาบข้าวมาถึงวัดผ้าขาว เกิดปวดฉี่ เพื่อนแม่จึงแนะนำให้ยืนฉี่ โดยยืนถ่างขา มือข้างหนึ่งจับหาบ อีกข้างหนึ่งจับชื่นยกขึ้น ทำเหมือนป้าคนที่เดินนำแต่แม่ซึ่งเป็นสาวรู้สึกอาย จึงไม่กล้ายืนฉี่ จึงต้องหาบข้าวเดินกลับบ้านที่ศรีสุพรรณ เสียเวลาอีกค่อนวัน วันนั้นเลยไมได้ขายข้าว

เรื่องผู้หญิงยืนฉี่ มีหลายท่านยืนยันว่าเคยพบเห็นในภาคอีสานเช่นกัน

ในภาพเป็นสาวอินโดนีเซีย นุ่งซิ่นยืนฉี่ลักษณะเดียวกับสาวล้านนาสมัยก่อน
ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 27 มิ.ย. 23, 10:16

ประเทศที่ให้ความสำคัญกับส้วมมากที่สุด เห็นจะไม่มีใครเกินญี่ปุ่น   จากประสบการณ์  ไม่ว่าจะเดินทางไปเที่ยวเมืองเล็กเมืองน้อยห่างไกลยังไง  ที่เที่ยวทุกแห่งมีห้องน้ำสะอาดทันสมัย   ชักโครกขาวสะอาดเอี่ยมอ่องราวกับเพิ่งนำมาติดตั้งเมื่อวานนี้เอง
ราวๆ 25 ปีก่อน  เคยไปพักที่บ้านชาวญี่ปุ่น   จึงเห็นสุขภัณฑ์อัตโนมัติ หรือชักโครกไฟฟ้า   หรือตอนนั้นเรียกว่าส้วมคอมพิวเตอร์ เป็นครั้งแรก   มันมีปุ่มให้กดอยู่บนที่วางแขนข้างๆตัวที่นั่ง    ปุ่มนั้นปุ่มนี้หลายปุ่ม  ทำเอาเงอะงะไปหมดกว่าจะดูออก  ว่ามันใช้งานอะไรแบบไหนกัน   
สุขภัณฑ์เหล่านี้นำมาใช้ในไทย   แต่ไม่ได้แพร่หลายนัก   ตามห้างคงใช้ไม่ไหว คนใช้จำนวนมาก และใข้ไม่เป็น คงพังเร็ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 27 มิ.ย. 23, 10:17

คู่มือการใช้ห้องน้ำญี่ปุ่นแบบละเอียดยิบ! พร้อมคำอธิบายปุ่มกด อ่านไว้จะได้ไม่งง!?

https://www.tsunagujapan.com/th/perfect-guide-how-to-use-restroom-toilet-in-japan/
บันทึกการเข้า
MCMLII
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 27 มิ.ย. 23, 23:14

ส้วมในประเทศไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการเรื่อยมาตามลำดับ

ส้วมหลุม ถือเป็นส้วมแบบแรกที่คนไทยใช้ เป็นหลุมดินที่มีทั้งแบบหลุมแห้งและหลุมเปียก ขุดเป็นหลุมกลมหรือสี่เหลี่ยม แล้วปลูกตัวเรือนครอบหลุมไว้

ส้วมถังเท มีลักษณะคล้ายส้วมหลุม แต่ใช้ถังวางไว้ในหลุมใต้ฐานไม้สำหรับรองรับอุจจาระผู้ขับถ่าย แล้วค่อยนำไปเททิ้ง ซึ่งมักจะนำถังไปเททิ้งวันละครั้ง

ส้วมบุญสะอาด ประดิษฐ์โดยนายอินทร์ บุญสะอาด ผู้ตรวจการสุขาภิบาลประจำอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะพิเศษคือมีกลไกป้องกันปัญหาการลืมปิดฝาหลุมถ่าย

ส้วมคอห่าน ผู้ประดิษฐ์คือ พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) ผู้สำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก ได้คิดค้นการใช้หัวส้วมแบบคอห่านร่วมกับระบบบ่อเกรอะบ่อซึม ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกว่า ส้วมซึม ทำให้การขับถ่ายในส้วมมีความสะดวกสบายและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ส้วมชักโครก เป็นส้วมที่มีส่วนประกอบค่อนข้างสลับซับซ้อน ที่เรียกว่าชักโครก คงเพราะเมื่อถ่ายเสร็จต้องชักคันโยกปล่อยน้ำลงมา และมีเสียงดังโครก จึงเรียกตามนั้น ผู้ประดิษฐ์ส้วมชักโครกรุ่นแรกขึ้นคือ เซอร์จอห์น แฮริงตัน ขุนนางชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๙ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๘ อเล็กซานเดอร์ คัมมิงส์ ก็ได้พัฒนาส้วมชักโครกแบบใหม่ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น และเป็นต้นแบบของส้วมชักโครกที่ใช้งานในปัจจุบัน ในประเทศไทยส้วมชักโครกเป็นที่นิยมแพร่หลายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เนื่องจากมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่มากขึ้น จากนั้นก็นิยมต่อ ๆ มาจนปัจจุบัน เพราะมีการออกแบบให้ทันสมัยและน่าใช้ยิ่งขึ้น

ส้วมในต่างประเทศ มีคำเรียกต่าง ๆ กัน เช่น toilet , rest room, lavatory, W.C (ย่อมาจาก water closet) และ bathroom เป็นต้น ซึ่งเรามักจะคุ้นชินอยู่แล้ว แต่ที่แปลกกว่าที่อื่น คือ ประเทศเยอรมัน ที่เขาใช้คำว่า Damen (ดาเมน) กับห้องส้วมหญิง และคำว่า Heren (เฮอร์เร่น) กับห้องส้วมชาย ซึ่งหากเราไปจำภาษาอังกฤษที่ว่า Men แปลว่า ชาย และ Her ที่หมายถึงผู้หญิง แล้วเข้าตามนั้นละก้อ อาจจะมีการหน้าแตก เพราะเข้าผิดห้องได้ อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ห้องส้วมทุกแห่ง มักจะมีสัญลักษณ์สากลเป็นรูปชาย-หญิงในแบบต่าง ๆ ติดไว้ เพื่อให้แยกออก

ในหลาย ๆ ประเทศ นอกเหนือไปจากส้วมชักโครกแล้ว เรายังอาจพบ โถอนามัย ที่ฝรั่งเรียกว่า bidet (อ่านว่า บิ-เด) ตั้งอยู่ข้าง ๆ  ซึ่งจะมีหัวก๊อกน้ำติดอยู่ ก๊อกนี้บางแห่งจะมีทั้งน้ำร้อน-น้ำเย็นให้เลือก ใช้ได้หลายภารกิจ เช่น ใช้ล้างชำระของสงวนหรือก้นหลังจากเสร็จภารกิจ ใช้ล้างเท้า ใช้ซักผ้า และใช้อาบน้ำเด็ก เป็นต้น

ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม


ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งชักโครกและคอห่าน ก็ถูกนาย Thomas Crapper ต่อยอดเป็นที่นิยมไปทั่ว ยิ่งห้วงมหาสงครามในยุโรปไอ้กันส่ง Dough Boy ไปช่วยตีกับไกเซอร์ ได้ใช้ส้วมของ Crapper เข้าก็ติดใจ แล้ว Crap ก็หมายถึง อึ ไปในที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มิ.ย. 23, 09:13 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 09:31

      แวะกลับไปชักโครก ย้อนไปไกลลิบกับข่าวเมื่อ ก.พ. ปีนี้ -

           ทีมนักโบราณคดีจีนขุดพบชิ้นส่วนส้วมระบบชักโครก ซึ่งคาดว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 2,400 ปี และถือว่าเป็นของใช้ที่หรูหรา
สำหรับชนชั้นสูงในยุคนั้น
           ที่แหล่งขุดค้นโบราณวัตถุเย่วหยาง ในเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ได้ขุดเจอชิ้นส่วนเครื่องใช้ที่แตกหักหลายชิ้นท่ามกลาง
ซากปรักหักพังของพระราชวังเก่า และใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะนำมาประกอบกันเป็นรูปเป็นร่างได้สำเร็จ ตามรูปประกอบ

https://www.dailynews.co.th/news/2008383/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 09:32

มาขยายความต่อจากคุณ MCMLII ค่ะ

บริษัทจำหน่ายสุขภัณฑ์ของนายโธมัส แครปเปอร์ยังดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้   ดูสินต้าแล้วน่าจะเน้นแนวหรูแบบคลาสสิค
https://thomas-crapper.com/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 09:35

ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งชักโครกและคอห่าน ก็ถูกนาย Thomas Crapper ต่อยอดเป็นที่นิยมไปทั่ว ยิ่งห้วงมหาสงครามในยุโรปไอ้กันส่ง Dough Boy ไปช่วยตีกับไกเซอร์ ได้ใช้ส้วมของ Crapper เข้าก็ติดใจ แล้ว Crap ก็หมายถึง อึ ไปในที่สุด

มีเรื่องเล่าว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทหารอเมริกันที่ประจำการไปที่ประเทศอังกฤษ ช่วงเวลานั้นห้องสุขาในประเทศอังกฤษใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท "Thomas Crapper & Co Ltd" โดยมีชื่อบริษัทปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์ในห้องสุขา ทหารอเมริกันจึงพากันเรียกห้องสุขาว่า "crapper" และนำคำสแลงดังกล่าวมาใช้กับห้องสุขาในอเมริกา (แต่มีบางข้อมูลกล่าวว่า crapper เป็น American slang ใช้มาตั้งแต่ 1920s)

ที่น่าสนใจคือ คำว่า "crap" ที่หมายถึง bodily waste ปรากฏอยู่ใน the Oxford English Dictionary ปี ๑๘๔๖ เพียง ๑๐ ปี หลังจาก Thomas Crapper เกืด คำนี้ในความหมายว่า "อึ" จึงไม่น่ามาจากชื่อของเขา เพียงแต่พ้องกันเท่านั้น

ข้อมูลจาก http://www.worldwidewords.org/qa/qa-cra1.htm


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 09:42

     แวะกลับไปชักโครก ย้อนไปไกลลิบกับข่าวเมื่อ ก.พ. ปีนี้ -

           ทีมนักโบราณคดีจีนขุดพบชิ้นส่วนส้วมระบบชักโครก ซึ่งคาดว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 2,400 ปี และถือว่าเป็นของใช้ที่หรูหราสำหรับชนชั้นสูงในยุคนั้น
           ที่แหล่งขุดค้นโบราณวัตถุเย่วหยาง ในเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ได้ขุดเจอชิ้นส่วนเครื่องใช้ที่แตกหักหลายชิ้นท่ามกลางซากปรักหักพังของพระราชวังเก่า และใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะนำมาประกอบกันเป็นรูปเป็นร่างได้สำเร็จ ตามรูปประกอบ

https://www.dailynews.co.th/news/2008383/
น่าสนใจมาก    ถ้าสิ่งที่ขุดเจอคือส้วมชักโครกของจีน  ก็ต้องเปลี่ยนประวัติการคิดค้นประดิษฐกรรมของ "ส้วม" จากที่รู้ๆกันมาก่อน   ว่าจีนนำหน้ายุโรปไปไกลหลายพันปี

ขอลอกจากลิ้งค์ที่คุณหมอ SILA ทำไว้ให้  เอาลงมาให้อ่านกันเต็มๆนะคะ

วันที่ 15 ก.พ. 2023 ที่ผ่านมา ทีมนักโบราณคดีได้เปิดเผยหน้าตาของเครื่องใช้ที่ประกอบขึ้นมาใหม่จากชิ้นส่วนที่ขุดพบว่า มันคือส้วมชักโครกระบบแมนวล ซึ่งคาดว่ามีอายุเก่าแก่ย้อนไปถึง 2,400 ปีก่อน

ทีมงานเชื่อว่า ส้วมชักโครกชุดนี้น่าจะเป็นของใช้ส่วนตัวของชนชั้นผู้ปกครอง มีการสันนิษฐานรายนามของผู้ที่อาจเป็นเจ้าของไว้หลายราย ตั้งแต่ ฉินเซี่ยวกง เจ้าผู้ครองนครรัฐฉินในช่วง 381-338 ปีก่อน ค.ศ. หรือ ฉินเซี่ยนกง ผู้เป็นบิดาของเขา และ หลิวปัง ซึ่งต่อมาทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ฮั่น ในพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (ฮั่นโกโจ) เนื่องจากพระราชวังโบราณที่ทีมงานขุดค้นอยู่นั้น ได้รับการประเมินว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่ใช้ว่าราชการของเหล่ากษัตริย์และจักรพรรดิ

วันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา ทีมนักโบราณคดีได้เปิดเผยหน้าตาของเครื่องใช้ที่ประกอบขึ้นมาใหม่จากชิ้นส่วนที่ขุดพบว่า มันคือส้วมชักโครกระบบแมนวล ซึ่งคาดว่ามีอายุเก่าแก่ย้อนไปถึง 2,400 ปีก่อน

ทีมงานเชื่อว่า ส้วมชักโครกชุดนี้น่าจะเป็นของใช้ส่วนตัวของชนชั้นผู้ปกครอง มีการสันนิษฐานรายนามของผู้ที่อาจเป็นเจ้าของไว้หลายราย ตั้งแต่ ฉินเซี่ยวกง เจ้าผู้ครองนครรัฐฉินในช่วง 381-338 ปีก่อน ค.ศ. หรือ ฉินเซี่ยนกง ผู้เป็นบิดาของเขา และ หลิวปัง ซึ่งต่อมาทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ฮั่น ในพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ (ฮั่นโกโจ) เนื่องจากพระราชวังโบราณที่ทีมงานขุดค้นอยู่นั้น ได้รับการประเมินว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่ใช้ว่าราชการของเหล่ากษัตริย์และจักรพรรดิ

หลิวรุ่ย นักวิจัยของสถาบันโบราณคดีแห่งสถาบันสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมขุดค้นอธิบายว่า ของใช้ที่หรูหรา เช่น ระบบส้วมชักโครกนี้ เป็นเครื่องใช้ที่มีไว้สำหรับชนชั้นสูงของยุคนั้นเท่านั้น นอกจากนี้ เขายังระบุด้วยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่ขุดพบส้วมระบบชักโครกเช่นนี้ในประเทศจีน ซึ่งทำให้ทีมงานประหลาดใจมาก

ส้วมชักโครกโบราณแบบนี้จะติดตั้งไว้ในอาคาร โดยมีการต่อท่อออกมาด้านนอกสู่หลุมรองรับสิ่งปฏิกูล ที่เรียกว่าเป็นระบบ ‘แมนวล’ นั้นก็เนื่องจากบ่าวรับใช้จะเป็นผู้ราดน้ำลงโถ หลังจากที่มีการใช้งานเสร็จทุกครั้ง 

หลิว กล่าวว่า ขณะนี้ยังขุดไม่พบชิ้นส่วนด้านบนของโถชักโครก จึงยังไม่สามารถระบุได้ว่า ในการใช้งานส้วมชักโครกนี้ ผู้ใช้จะนั่งลงบนโถเหมือนการนั่งบนเก้าอี้หรือจะต้องนั่งยอง ๆ 

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาจากบันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับสุขาโบราณ เช่น ภาพสลักหินตามสุสานของสมาชิกราชวงศ์ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ซึ่งอยู่ระหว่าง 206 ก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 24 เป็นไปได้ว่าผู้ใช้งานจะต้องนั่งยอง ๆ 

หลิว อธิบายว่า การค้นพบชิ้นส่วนสุขาโบราณเป็นการช่วยยืนยันได้ว่า ชาวจีนโบราณให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัยอย่างยิ่ง 

ก่อนหน้าที่จะมีการขุดเจอชิ้นส่วนของระบบส้วมชักโครกชิ้นนี้ มีการบันทึกอย่างเป็นทางการว่า ผู้ที่คิดค้นระบบส้วมชักโครกคือ จอห์น แฮริงตัน ข้าราชสำนักของอังกฤษในศตวรรษที่ 16 โดยเขาประดิษฐ์สุขาชนิดนี้เพื่อให้สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 1 ได้ทรงใช้

นอกเหนือจากชิ้นส่วนของสุขาโบราณแล้ว ทีมนักโบราณคดีแห่งเย่วหยางยังขุดตัวอย่างดินในบริเวณใกล้เคียงมาวิเคราะห์ด้วย โดยหวังว่าจะพบร่องรอยจากซากของเสียที่ช่วยให้ข้อมูลเรื่องอาหารการกินของคนยุคโบราณ แต่ ณ เวลานี้ยังพบเพียงร่องรอยของการใช้ปุ๋ยคอกในการเพาะปลูกของยุคราชวงศ์ฮั่นเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 12:35

ส้วมชักโครกโบราณแบบนี้จะติดตั้งไว้ในอาคาร โดยมีการต่อท่อออกมาด้านนอกสู่หลุมรองรับสิ่งปฏิกูล ที่เรียกว่าเป็นระบบ ‘แมนวล’ นั้นก็เนื่องจากบ่าวรับใช้จะเป็นผู้ราดน้ำลงโถ หลังจากที่มีการใช้งานเสร็จทุกครั้ง

เรียกว่า ส้วมชักโครก คงไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีระบบเปิดน้ำเพื่อขับล้างได้ ก็คงเป็นเพียง ส้วมราดน้ำ (เพื่อขับล้าง)

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 13:50

        ดูลักษณะเป็น flush toilet แบบว่า ส้วมท( ่อ)างลาด+ราด น้ำ
        - flush toilet ที่แปลไทยเป็น ชักโครก
        (นิยามตามวิกิว่า flush toilet - ชักโครก เป็นส้วมที่กำจัดของเสียจากมนุษย์โดยใช้แรงของน้ำเพื่อชะล้างผ่านท่อระบายน้ำไปยังจุดอื่นเพื่อทำการบำบัด)
        หากขุดค้นได้ชิ้นส่วนเพิ่มเติมอาจจะพบกลไลไขน้ำราดลง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 15:01

           จากวังฝรั่งเศส ข้ามช่องแคบไปวังอังกฤษบ้าง

           “ส้วมหลวง” ในวังฝรั่ง พระเจ้าเฮนรีที่ 8 และชาววังอังกฤษ ขับถ่าย (ขี้) กันอย่างไร?
ผู้เขียน    ไมเคิล ไรท์ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2538

           https://www.silpa-mag.com/history/article_86016

           หนังสือพิมพ์ Independent ของอังกฤษได้ลงบทความวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ BBC ว่าด้วย “ส้วมในวังของพระเจ้า Henry ที่ 8
(สมัยอยุธยาตอนกลาง)”
          
           พระเจ้าแผ่นดินมีห้องพระบังคนเฉพาะพระองค์ ในนั้นมีตู้ไม้บุกำมะหยี่สีดำขลิบทอง เมื่อเปิดฝาจะเห็นเบาะกำมะหยี่ที่เป็นช่องตรงกลาง
ข้างหลังมีกระโถนทำด้วยโลหะมีค่า ตามประเพณีจะต้องมีมหาดเล็กเฝ้าพระบังคน (Groom of the Stool*) เพื่อปรนนิบัติพระองค์, นับว่าเป็น
ตำแหน่งสูงที่เจ้านายทุกคนแย่งกันสมัคร เพราะเป็นการเฝ้าพระองค์อย่างใกล้ชิด เป็นโอกาสดีที่จะขอผลประโยชน์ให้ตนและญาติ
          สำหรับปี ค.ศ. 1539 มหาดเล็กเฝ้าพระบังคนบันทึกว่า “พระองค์เสวยพระโอสถถ่าย, ทรงรับการสวนพระทวาร ตี 2 ตื่นพระบรรทม,
เสด็จไปยังห้องพระบังคน พระโอสถได้ผลดี, ทรงพระอารมณ์เบิกบาน” มหาดเล็กจะขอพระสงเคราะห์อันใดก็คงได้เมื่อนั้น
          
* As the name suggests the Groom of the Stool was responsible for attending to the King's toileting needs.
The Groom would care for the King's toilet, known in the Tudor period as a 'Stool' (tudorsociety.com)
   ส่งต่อมาถึงปัจจุบันที่ในโรงพยาบาล - Stool Exam. ตรวจอุจจาระ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 28 มิ.ย. 23, 15:07

             ที่วัง Hampton Court ชาววังธรรมดา ๆ ใช้ The Great House of Basement (มหาศาลาสุขา?), เป็นอาคารสองชั้น
ดังที่เห็นในภาพ, ประกอบด้วยกระดานม้านั่ง, สองชั้น, สองข้างฝาเจาะเป็นรู 28 รูทั้งหมด แต่ละรูห่างกันสองฟุต, เหมาะแก่การนั่งคุยกัน
นินทาตามประสาชาววังทั่วโลก ว่ากันว่าใคร ๆ อยากนั่งข้างบนเพราะอากาศบริสุทธิ์กว่า และยังมีหน้าต่างให้มองดูได้ว่าใคร ๆ เข้า ๆ ออก ๆ จากวัง

             จาก “มหาศาลาสุขา” มีท่ออิฐนำไปข้างล่าง (ใต้ดิน) แล้วก็นำออกไปสู่แม่น้ำเทมส์ ระบบนี้ใช้ได้ดี, แต่ไม่นานกว่าหนึ่งเดือน
เพราะไม่มีระบบชักโครก ภัณฑารักษ์ฯ ท่านอธิบายว่า “หลังจากที่ประทับอยู่ได้สี่สัปดาห์, ท่อใต้ดินจะเต็มอยู่ท่วมหัวคน, จึงต้องแปรพระราชฐาน
หรือเสด็จประพาส เพื่อให้ข้าราชการขุดและขัด (King’s Scourers) ขุดและขัดท่อให้ใช้งานได้อีกต่อไป จึงจะเสด็จกลับเข้าวังพร้อมพระราชบริวาร
เป็นร้อยเป็นพัน”


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 19 คำสั่ง