เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 08:48



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 08:48
สหายท่านหนึ่ง  เปรยขึ้นมาว่า
อยากทราบว่าประตูแลป้อมต่างๆ ในพระนคร
เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ มีอยู่มากน้อยเท่าใด
ช่วยหามาให้ทัศนาสักน้อยหนึ่งเถิด
 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 09:12
(คัดลอกอักขรวิธีตามต้นฉบับเป็นส่วนใหญ่)

@ พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นภูวไนยนฤเบนทราธิบาล
ได้ทรงเรียบเรียงชื่อพระทวารแลประตูรอบพระบรมมหาราชวัง
แลรอบพระนครไว้เพื่อให้ข้าราชการ ซึ่งจะกราบบังคมทูล
พระกรุณาจะได้เรียกให้ถูกต้องตามนี้

- พระทวารเทวราชมเหศร์   คือพระทวารที่เสดจออกในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน

- พระทวารเทเวศรักษา  ทิศตะวันตกน่าเก๋งราชอาศน

- พระทวารเทวาธิบาล  น่าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมานทิศเหนือตรงห้องอาลักษณ

- ประตูสนามราชกิจ  หว่างหอพระบรมอัฐิกับพระที่นั่งใหม่

- ประตูดุสิดาราม  ออกฉนวนวัดพระศรีรัตนสาศดาราม  ที่พระสงฆเฃ้ารับบิณฑบาตรนั้น

- ประตูแถลงราชกิจ  หว่างพระที่นั่งภูวะดลทัศนัย

- ประตูปริตประเวศ  ตรงพระที่นั่งประภาศพิพิธทพัณฑ์

- ประตูราชสำราญ  ออกพระที่นั่งสุทไธสวริย

- ประตูไพศารทักษิณ  ออกวัตพระเชตุพนทิศใต้

- ประตูกัลยาวดี  ออกทางศาลาไว้ศพทิศใต้

- ประตูศรีสุดาวงษ  ออกโรงไม้  

- ประตูเขื่อนเพชร์   ออกเชิงตะพานช้างทิศตวันตก

- ประตูอุโมง  เดินใต้ตะพานช้างทิศตะวันตก

- ประตูอนงคลีลา  ออกท้ายโรงสะดึงรึงไหมทิศตวันตก ที่เรียกกันว่า ประตูดิน นั้น

- ประตูยาตรากระษัตรี  ออกฉนวนท่าราชวรดิฐ ทิศตวันตก

- ประตูศรีสวัศดิ์วงษ  ออกข้างหอธรรมสังเวช  ทิศเหนือ




กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 09:26

- พระทวารจักระพรรดิภิรมย  คือพระทวารเสดจออกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทิศเหนือ

- ประตูพรหมโสภา  หว่างพระที่นั่งใหม่กับพระมหาปราสาท ทิศเหนือ

- พระทวารใหม่  ออกน่าพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ทิศเหนือ

- พระทวารใหม่  ออกน่าพระที่นั่งมูลสถานบรมอาศน์ ทิศเหนือ

- ประตูกมลาศน์ประเวศ  ตรงพระพุทธรัตนสถานชั้นใน

- ประตูอมเรศสัญจร  ตรงอ่างแก้ว

- ประตูวงเดือน  ข้างเหนือพระพุทธมณเฑียร

- ประตูวงเดือน  ตรงพระที่นั่งทรงธรรม

- ประตูฉนวนเกยโสกันต์  ประตูสามน่าที่ทรงบาตร

- ประตูศรีสุนทร  มีต้นสนอยู่ข้างในทิศตวันตก

- ประตูสุวรรณบริบาล  ตรงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สองชั้น

- ประตูพิมานไชยศรี  หว่างทิมดาบตำรวจหน้ากับหว่างห้องกรมวัง สองชั้น

- ประตูดุสิตสาศดา  ออกวัดพระศรีรัตนสาศดาราม

- ประตูเขื่อนเพ็ชร  ข้างโรงแสงหลังหอแก้ว

- ประตูเทวราชดำรงศร  สกัดพระที่นั่งอนันตสมาคมด้านเหนือ สองชั้น

- ประตูทักษิณสิงหาร  สกัดพระที่นั่งอนันตสมาคม สองชั้น ทิศใต้

- ประตูรัตนพิศาล  หลังโรงกระสาปนทิศตวันตก



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 09:34

- ประตูพิมานเทเวศ  ตรงพระราชวังเดิมทิศเหนือ

- ประตูวิเสศไชยศรี  มุมวังสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ

- ประตูมณีนพรัตน  ออกพลับพลาท้องสนามหลวงทิศเหนือ

- ประตูสวัศดิโสภา  ตรงน่าวัดพระศรีรัตนสาศดาราม ทิศตวันออก

- ประตูเทวาพิทักษ  เหนือพระที่นั่งสุทธัยสวริย ทิศตวันออก

- ประตูศักดิไชยสิทธิ  ใต้พระที่นั่งสุทไธยสวริย ทิศตวันออก 

- ประตูวิจิตรบันจง  ตรงวัดพระเชตุพน ทิศใต้

- ประตูอนงคารักษ  ตรงวิหารพระพุทธไสยาศน  วัดพระเชตุพน ทิศใต้

- ประตูพิทักษบวร  ออกสกัดใต้

- ประตูสุนทรทิศา  ออกสกัดเหนือ

- ประตูเทวาพิรมย  อกท่าขุนนางทิศตวันตก

- ประตูอุดมสุดารักษ  ออกฉนวนท่าราชวรดิฐ ทิศตวันตก

รวมพระทวารแลประตูชั้นในชั้นกลางชั้นนอกรอบพระบรมมหาราชวัง ฯ



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 09:47

แต่นี้ประตูรอบพระนคร

- ประตูยอดออกตะพานเหลกถนนบำรุงเมือง ไปสระประทุมวัน ทิศตวันออก

- ประตูตัดออกวัดสเกศ

- ประตูตัดน่าวัดเทพธิดาทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดน่าวัดราชนัดา ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพันเงิน ทิศตวันออก

- ประตูยอดออกถนนสนามควาย ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านขุนราม ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านเสมียนตรากรมวัง ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระศรีกาฬสมุด ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านนายน้อย มหาดเล็ก ทิศตวันออก

- ประตูตัดน่าวัดรังศรีสุทธาวาศ ทิศตวันออก

- ประตูยอดน่าวัดบวรนิเวศน์ ทิศตวันออก

- ประตุช่องกุดตรงน่าบ้านหลวงอะไภยเสนา (ขำ)  ทิศตวันออก

- ประตูยอดออกวังกรมหมื่นมเหศวรวิลาศ ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านหลวงเทเพน (หง) ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

- ประตูช่องกุดออกวัดสังเวชวิศยาราม  ทิศเหนือ



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 09:57
ขอบพระคุณอย่างสูง งดงามและสว่างแจ้ง จักค่อย ๆ อ่านเทียบกับแผนที่เก่า ๆ ดู  ;) ;D


จักรออ่านประตูนกยูง ขอรับ  ;)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 ก.ย. 11, 10:12
ยังมีอีกค่ะ ประตูที่ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว ... ;D
ประตูสีกรลีลาศ อยู่หน้าพระที่นั่งทรงผนวช
ประตูนางในไคลคลา เป็นประตูพระบรมมหาราชวังชั้นใน


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 ก.ย. 11, 10:19
ประตูนกยูง  ???
คุณหนุ่มรัตนะบอกไว้ในเว็ปพันทิปว่า
ตั้งอยู่ข้างๆวัดพระเชตุพน บริเวณท่าเตียน
ลักษณะเป็นหอรบ ปัจจุบันรื้อทิ้งแล้ว แต่ได้อนุรักษ์ชื่อประตูไว้
เป็นชื่อตรอก ชื่อ "ตรอกประตูนกยูง"

แล้วไงต่อคะ... ???


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 10:31
ประตูนกยูง  ???
คุณหนุ่มรัตนะบอกไว้ในเว็ปพันทิปว่า
ตั้งอยู่ข้างๆวัดพระเชตุพน บริเวณท่าเตียน
ลักษณะเป็นหอรบ ปัจจุบันรื้อทิ้งแล้ว แต่ได้อนุรักษ์ชื่อประตูไว้
เป็นชื่อตรอก ชื่อ "ตรอกประตูนกยูง"

แล้วไงต่อคะ... ???

คือคุณหลวงเล็กท่านบอกรายชื่อประตูด้านทิศตะวันออกของเมือง ทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพ ยังขาดทิศใต้และทิศตะวันตกครับ ซึ่งผมเคยลงชื่อ "ประตูนกยูง" ไว้ซึ่งไพเราะมาก จึงอยากจะรออ่านครับ

ทั้งนี้ทราบว่าการเอ่ยเรียกขานชื่อประตูเมืองนั้น มีการกำหนดเรียกชื่อไว้ตั้งแต่แผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หากแต่ประชาชนไม่นิยมเรียกกัน เรียกแต่ชื่อตามตำบลที่ตั้ง ซึ่งเรียกสะดวกกันติดปาก ทำให้ชื่อประตูทั้งหลายเลือนหายไป (ไม่ทราบว่าคุณหลวงเล็กพอจะหารายชื่อประตูนี้ได้หรือไม่)

จึงได้เอื้อนเอ่ยอยากทราบถึงชื่อประตูเมืองต่าง ๆ  เช่นที่เราเรียกชื่อ "ประตูนกยูง" เป็นต้น

เช่น ประตูสำราญราษฎร์ (ประตูผี) ตรงกับประตูแห่งใดที่คุณหลวงเล็กรายงานมา เป็นต้น


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 10:42
ทีนี้ประตูเมืองจะเห็นว่ามี ๓ รูปแบบ (ตามความเห็นเรื่องประตูเมือง)

๑. ประตูตัด (ตามภาพที่แนบประกอบ)

๒. ประตูยอด

๓. ช่องกุด


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 11:06
- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาอร่าม  ทิศตวันตก

- ประตูตัดน่าวังกรมหมื่นกระษัตรศรีสักดิเดช ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกวังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดตรงน่าบ้านหม่อมเจ้าเนตร ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาสุรเสนา (คง) ทิศตวันตก

- ประตูตัดตรงวังใหม่กรมพระราชวังบวร ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาพิไชยบุรินทรา (ทิม)  ทิศตวันตก

- ประตูยอดท่าช้างพระราชวังบวร ทิศตวันตก

- ประตูยอดท่าขุนนางพระราชวังบวร  ทิศตวันตก

- ประตูยอดแนวนลงตำหนักแพพระราชวังบวร  ทิศตวันตก

- ประตูตัดออกโรงเรือพระราชวังบวร  ทิศตวันตก

- ประตูตัดโรงวิเสศพระราชวังบวร  ทิศตวันตก

- ประตูตัดออกท่าวัตมหาธาตุ  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกท่าแปดตำรวจ ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกวังพระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ ทิศตวันตก

- ประตูยอดท่าพระ ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกโรงกูบ  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดน่าโรงทาน ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกโรงวิเสศ  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกคลังสินค้า  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกโรงเงินเก่า  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดน่าศาลาพระยาบำรุงค์ราชสถาน (คุ้ม) ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดตรงพระวิหารพระพุทธไสยาศน  วัดพระเชตุพน ทิศตวันตก

- ประตูยอดออกศาลต่างประเทศ ทิศตวันตก

- ประตูยอดฉนวนท่าน้ำวัตพระเชตุพน  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกเหนือบ้านเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงค์ (เพ็ง)  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกใต้บ้านเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงค์ (เพ็ง) ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาธรรมจรันยานุกูลมนตรี (จำเริน) ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดน่าวังกรมหมื่นภูมินทรภักดี  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกวังกรมหมื่นอุดมรัตนราศรี  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านตรวจสุกกรมพระนครบาล  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาเพชรพิไชย (หนู)  ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกโรงภาษีฝิ่น ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาสีหราชเดโช (แฃก) ทิศตวันตก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระครูมหิทร (ทองอยู่) ทิศตวันตก

- ประตูออกบ้านหม่อมเจ้าเพญบูรณ  ทิศตวันตก

- ประตูตัดน่าวัดราชบุรณ  ทิศตวันตก



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 ก.ย. 11, 11:14
ประตูเยอะจังค่ะ  ;D
เขาบอกว่า
ประตูวังหลวงชั้นกลางที่เรียกกันว่า ประตูผี คือประตูกัญญรวดี
ส่วนชั้นนอก คือ ประตูพิทักษ์บวร ค่ะ
ผิด ถูก ประการใด รอท่านsiamese แถลงค่ะ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 11:24
- ประตูช่องกุดเหนือบ้านพระยากสาปน์กิจโกศล (โหมด)  ทิศตวันตกเฉียงใต้

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) ทิศใต้

- ประตูช่องกุดออกบ้านนายโตะ มหาดเลก  ทิศตวันออกเฉียงใต้

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระยาเทพประชุน (พุ่ม)  ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านหลวงนายศักดิ (ลม้าย) (บิดาเจ้าพระยารามราฆพ) ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระแก้วพระคลังสวน ทิศตวันออก

- ประตูยอดออกวัดจักรวัติราชาวาศ  ทิศตวันออก

- ประตูตัดน่าวังใหม่สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านนายอากรตา (นายอากรเตา?) ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านเสมียนตรา (น้อย) ทิศตวันออก

- ประตูยอดออกสนนเจริญกรุง  ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านหลวงจำเนียรวัฒกี (สิง) ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกโรงโค ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ (มั่ง) ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านนายขำ จางวาง ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดตรงน่าวังพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย  ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านหลวงจินดาจักรรัตน ทิศตวันออก


รวมพระทวาร ๖    ประตูชั้นใน  ๒๑  ชั้นกลาง  ๗  ชั้นนอก  ๑๓
รอบพระบรมมหาราชวัง  ๔๗  แลประตูยอด ๙  ประตูตัด ๑๑
ประตูช่องกุด ๔๘  รอบพระนคร  ๖๘  รวม  ๑๑๕  ด้วยกัน  ฯฯ

ลงวัน ๑  ขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑  กุนสัปตศก  ๑๒๓๗

ข้าพเจ้า  หลวงเล็ก  นำมารายงาน  
ณ วันขึ้น ๙ ค่ำ  เดือน ๑๐  ปีเถาะ  ๒๕๕๔


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 ก.ย. 11, 11:31
กฎมณเทียรบาลในสมัยโบราณ เกี่ยวกับประตูวังค่ะ  ;D

มาตราที่ 66 ถ้าถีบประตูวัง ให้ตัดตีนเสีย เอามือผลักประตูวังเข้าไปเอง ให้ตีด้วยหวาย 20 ที
ถ้าปีนกำแพงวังชั้นนอกให้ตัดตีนเสีย ถ้าปีนกำแพงชั้นในให้ฆ่าเสีย ถ้าถือเครื่องสาตราอาวุธเข้าไปในพระราชวัง
ให้นายประตูถามดู ดี ร้าย ถ้าใช่งานที่จะเอาเข้ามา ให้ตัดมือผู้เอาเข้ามานั้นเสีย ถ้านายประตูมิได้ว่าละให้เอาเข้าไป
ให้มีโทษแก่นายประตูดุจนั้น

อนึ่งไอยการการกระบถปลอมมาต่างเมืองก็ดีแลราชศัตรู และสุนัขม้าโคกระบือแล่นเข้าในพระราชวังถึงหน้าพระที่นั่งก็ดี
บนพระโรงก็ดีโทษชาววังถึงตาย ส่วนนายประตูไซ้ให้ควักตาเสีย


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 11:42
ป้อมต่าง ๆ ล่ะ ท่านหลวงเล็ก

มีรายละเอียดประการใดฤๅ

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 11:45
(คัดลอกอักขรวิธีตามต้นฉบับเป็นส่วนใหญ่)

@ พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นภูวไนยนฤเบนทราธิบาล
ได้ทรงเรียบเรียงชื่อป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง  
แลรอบพระนครไว้เพื่อข้าราชการ  เมื่อกราบบังคมทูลพระกรุณา
จะได้เรียกให้ถูกต้องตามนี้  


ป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง  คือ

๑.ป้อมอินทรังสรรค์  มุมประตูท่าพระทิศตวันตกเฉียงเหนือ

๒.ป้อมขันเขื่อนเพชร  ริมประตูวิเสศไชยศรีทิศเหนือ

๓.ป้อมเผดจดัษกร มุมโรงสักทิศตวันออกเฉียงเหนือ

๔.ป้อมสัญจรใจวิง ใต้พระที่นั่งไชยชุมพล ทิศตวันออก

๕.ป้อมสิงฃรฃันท์  ใต้พระที่นั่งไชยชุมพล  ทิศตวันออก

๖.ป้อมขยันยิ่งยุทธ  เหนือพระที่นั่งสุทไธสวรรย  ทิศตวันออก

๗.ป้อมฤทธิรุธโรมรัน  ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย  ทิศตวันออก

๘.ป้อมอนันตคีรี  ตรงพระตำหนักสวนกุหลาบ

๙.ป้อมมณีปราการ  มุมวัดพระเชตุพน  ทิศตวันออกเฉียงใต้

๑๐.ป้อมพิศาลเสมา  ตรงพระวิหารพระป่าเลไลย  วัดพระเชตพน  ทิศใต้

๑๑.ป้อมภูผาสุทัศน  ตรงโบถพระพุทธไสยาศน  วัดพระเชตพน  ทิศใต้

๑๒.ป้อมสัตตบรรพต  มุมประตูพิทักษบวร  ทิศตวันตกเฉียงใต้

๑๓.ป้อมโสฬศสีลา  ใต้ฉนวนออกราชวรดิฐ  ทิศตวันตก

๑๔.ป้อมมหาสัตตะโลหะ  เหนือฉนวนท่าราชวรดิฐ  ทิศตวันตก

๑๕.ป้อมพรหมประสาทสิลป  เหนือพระที่นั่งชลังคพิมาน  
๑๖.ป้อมอินทประสาทศร  ใต้พระที่นั่งชลังคพิมาน  ทิศตวันตกทั้งสองป้อม

รอบพระบรมมหาราชวัง  ๑๖



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 12:08
ป้อมรอบพระนครนั้น  คือ

๑.ป้อมมหายักษ  ตรงการเปรียญวัดพระเชตุพน  ทิศตวันตก

๒.ป้อมมหาฤกษ  น่าวังกรมหมื่นภูมินทรภักดี  ทิศใต้

๓.ป้อมผีเสื้อ  น่าวังกรมพระเทเวศวัชรินทร  ทิศใต้

๔.ป้อมจักรเพชร เชีงตพานช้างวัดราชบุรณ  ทิศตวันตกเฉียงใต้

๕.ป้อมมหาไชย  น่าวังใหม่สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ ทิศตวันออก

๖.ป้อมใหม่  ใต้บ้านพระยาอัพภันตริกามาตย (ดิษ) (ขรัวตาในสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ทิศตวันออก

๗.ป้อมมหากาล  น่าบ้านหม่อมเจ้าหญิงพิกุล ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข  ทิศตวันออก

๘.ป้อมมหาปราบ  ออกบ้านเสมียนตรากรมวัง  ทิศตวันออก

๙.ป้อมยุคุนธร  มุมวัดบวรนิเวศ  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

๑๐.ป้อมพระสุเมรุ  ปากคลองบางลำภู  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ

๑๑.ป้อมอิสินทร  ออกบ้านพระยาสุรเสนา (บุญคง)  ทิศตวันตก

๑๒.ป้อมพระอาทิตย  มุมพระราชวังบวรสถานมงคล  ทิศตวันตก

๑๓.ป้อมพระจันทร  มุมวัดมหาธาตุ  ทิศตวันตก


ป้อมรอบพระนคร รวม  ๑๓ ป้อม

ปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างล่าง  คือป้อมป้องปัจจามิตร 

ป้อมปิดปัจจนึกนั้นอยู่ฝั่งฟากข้างปากคลองสาร 

ป้อมพิไชยประสิทธิ อยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ มุมวังสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี

ป้อมใหม่ในคลองผดุงกรุงเกษม  เหนือวัดนรนารถสุนทริการาม

ป้อมใหม่ในคลองผดุงกรุงเกษมอีกป้อมหนึ่ง  ตรงบ้านญวน

ป้อมใหม่ในคลองผดุงกรุงเกษม  เหนือวัดพระพลาไชย

ป้อมมีชื่อ ๓ ป้อม  ป้อมไม่มีชื่อ ๓ ป้อม  รวม ๖ ป้อมชั้นนอก

รวมทั้งป้อมรอบพระบรมมหาราชวังและรอบพระนครแลป้อมชั้นนอก  ๓๕  ป้อม  ฯฯ



ลงวัน ๑  ขึ้น ๗ ค่ำ  เดือน ๒  กุนสัปตศก  ๑๒๓๗

ข้าพเจ้า  หลวงเล็ก  นำมารายงาน   
ณ วันขึ้น ๙ ค่ำ  เดือน ๑๐  ปีเถาะ  ๒๕๕๔ 


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 12:23
เรื่องป้อม คุณวิกกี้มีรายงานดังนี้

ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87)

ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีทั้งสิ้น ๑๗ ป้อม สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจำนวน ๑๐ ป้อม และสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง แต่เดิมเป็นป้อมมีหอรบ มีหลังคามุงกระเบื้องโบกปูนทับ ป้อมทั้งหมดมีชื่อคล้องจองกัน ดังนี้

๑.  ป้อมอินทรรังสรร อยู่มุมกำแพง ด้านทิศตะวันตกต่อทิศเหนือ ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง
๒.  ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร  อยู่ทางด้านทิศเหนือระหว่างประตูวิเศษไชยศรี และประตูมณีนพรัตน์ ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ เป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม
๓.  ป้อมเผด็จดัสกร  อยู่มุมกำแพงด้านทิศเหนือต่อทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยม มีที่ตั้งเสาธง เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นที่ตั้งเสาธงใหญ่
๔.  ป้อมสัญจรใจวิง  อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ถัดจากพระที่นั่งไชยชุมพล ตรงกับถนนบำรุงเมือง สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๕.  ป้อมสิงขรขันฑ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ ทางเหนือของประตูเทวาพิทักษ์
๖.  ป้อมขยันยิงยุทธ  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับประตูเทวาพิทักษ์ ทางเหนือของพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๗.  ป้อมฤทธิรุดโรมรัน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกติดกับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ทางใต้ของพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๘.  ป้อมอนันตคีรี  อยู่เหนือกำแพงด้านทิศตะวันออก ถัดจากประตูศักดิ์ไชยสิทธิ ตรงข้ามกับสวนสราญรมย์ เป็นป้อม ๒ ชั้น
๙.  ป้อมมณีปราการ  อยู่สุดกำแพงด้านทิศตะวันออก เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ บูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๒ ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียนจริยศึกษาของโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
๑๐. ป้อมพิศาลสีมา  อยู่บนกำแพงด้านทิศใต้ ระหว่างประตูวิจิตรบรรจงกับประตูอนงคารักษ์ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพน
๑๑. ป้อมภูผาสุทัศน์  อยู่มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกต่อทิศใต้ ติดกับประตูพิทักษ์บวร ตรงข้ามกับท่าเตียน
๑๒. ป้อมสัตตบรรพต อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ถัดจากประตูช่องกุด เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๒
๑๓. ป้อมโสฬสศิลา  อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางใต้ของประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ บูรณะในสมัยรัชกาลที่ ๒
๑๔. ป้อมมหาสัตตโลหะ  อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางเหนือของประตูอุดมสุดารักษ์ เป็นป้อมรูปหอรบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ บูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๒
๑๕. ป้อมทัศนนิกร  อยู่บนกำแพงด้านทิศตะวันตก ทางใต้ของป้อมอินทรรังสรร สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๖. ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือท่าราชวรดิฐ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว
๑๗. ป้อมอินทรอำนวยศร อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ท่าราชวรดิฐ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้ว


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 12:34
ป้อมรอบกำแพงพระนคร (http://www1.mod.go.th/heritage/nation/bangkok/index5.htm) มีรายงานในเว็บของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม

ป้อมรอบกำแพงพระนครทั้ง ๑๔ ป้อม ส่วนใหญ่ได้รื้อออกไปหมดแล้ว คงเหลือเพียง ๒ ป้อม คือ ป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬ มีชื่อและที่ตั้ง ดังต่อไปนี้
  
๑.  ป้อมพระสุเมรุ  ตั้งอยู่ที่มุมกำแพงเมือง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ใต้ปากคลองบางลำภู ป้อมนี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และนับว่าเป็นป้อมที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง  
๒.  ป้อมยุคนธร  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านเหนือ บริเวณเหนือวัดบวรนิเวศ ฯ
๓.  ป้อมมหาปราบ  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านเหนือ  
๔.  ป้อมมหากาฬ  ตั้งอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก ใต้ประตูพฤฒิมาศ บริเวณสะพานผ่านฟ้า ป้อมนี้อยู่ในสภาพ  สมบูรณ์ดีทุกประการ  
๕.  ป้อมหมูทลวง  ตั้งอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก  ตรงหน้าเรือนจำพระนครเก่า  
๖.  ป้อมเสือทะยาน  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านตะวันออก เหนือประตูสามยอด บริเวณสะพานเหล็กบน            
๗.  ป้อมมหาไชย  ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองด้านตะวันออก บริเวณหน้าวังบูรพาภิรมย์  
๘.  ป้อมจักรเพชร  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ เหนือปากคลองโอ่งอ่าง ใต้วัดราษฎร์บูรณะ (วัดเลียบ) เป็นป้อมสำคัญทางด้านใต้  
๙.  ป้อมผีเสื้อ  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ ตรงปากคลองตลาด  
๑๐. ป้อมมหาฤกษ์  ตั้งอยู่ทางด้านใต้ เหนือปากคลองตลาดขึ้นไป บริเวณโรงเรียนราชินีล่าง  
๑๑. ป้อมมหายักษ์  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ตรงวัดพระเชตุพน  
๑๒. ป้อมพระจันทร์  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ริมท่าพระจันทร์ ตรงมุมวัดมหาธาตุด้านตะวันตกเฉียงเหนือ  
๑๓. ป้อมพระอาทิตย์ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก มุมพระราชวังบวร ฯ ตรงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  
๑๔. ป้อมอิสินธร  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก
  
นอกจากนั้น ยังมีป้อมที่อยู่นอกกำแพงเมือง สร้างขึ้นภายหลังเมื่อได้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว บางป้อมอยู่ทาง  ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอยู่ ๗ ป้อมด้วยกัน คือ
  
๑.  ป้อมปราบปัจจามิตร  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยา ริมปากคลองสาน  
๒.  ป้อมปิดปัจจานึก  อยู่ริมปากคลองผดุงกรุงเกษม ทางด้านใต้  
๓.  ป้อมผลาญศัตรูราบ  อยู่ใต้วัดเทพศิรินทร์ ฯ ริมถนนพลับพลาไชย  
๔.  ป้อมปราบศัตรูพ่าย  อยู่ใต้ตลาดนางเลิ้ง ตรงหมู่บ้านญวน ข้างบริเวณวัดสมณานัมบริหาร  
๕.  ป้อมทำลายแรงปรปักษ์  อยู่เหนือวัดโสมนัสวิหาร  
๖.  ป้อมหักกำลังดัสกร  อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ด้านทิศเหนือ  
๗.  ป้อมวิชัยประสิทธิ์  อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง

 ;D



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 12:36

ปากคลองผดุงกรุงเกษมข้างล่าง  คือป้อมป้องปัจจามิตร 

ป้อมปิดปัจจนึกนั้นอยู่ฝั่งฟากข้างปากคลองสาร 


ใคร่ขอถามความสับสนของป้อมทั้งสองนี้ครับ

ข้อมูลจากจาก หนังสือ : รำลึก ๘๐ ปี เขตคลองสาน (ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์) รายงานว่า ป้อมบริเวณคลองสาน ชื่อ "ป้อมป้องปัจจามิตร"
ในพื้นที่ของเขตคลองสานมีป้อมสำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่แห่งหนึ่ง คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ตั้งอยู่ปลายถนนลาดหญ้า ซอยลาดหญ้ ๗๑ ทางเข้าป้อมแห่งนี้ผ่านสำนักงานเขตคลองสาน ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ลักษณะของป้อมเป็นแบบก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๓๙๗ หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกเสร็จแล้ว ได้โปรดให้สร้างป้อมรายตามริมคลอง และสร้างป้อมขึ้นเพื่อป้องกันทางด้าน ลำน้ำเจ้าพระยา ป้อมป้องปัจจามิตรอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตก ตรงข้ามป้อมป้องปิดปัจจานึกที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม  

                     ในรัชกาลที่ ๕ กรมเจ้าท่าได้ใช้ป้อมป้องปัจจามิตรเป็นสถานที่ตั้งเสาธงสัญญาณสำหรับชักธงแจ้งข่าวเรือสินค้าเข้าออกว่าเป็นเรือของบริษัทใด และมีบ้านพักของข้าราชการกรมเจ้าท่าผู้ดูแล เสาธงอยู่ในบริเวณนั้นด้วย ต่อมาได้มีการย้ายเสาธงบนป้อมป้องปัจจามิตรลงมาอยู่ใกล้บริเวณตัวป้อมดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานสำคัญของชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๐๓ กรมเจ้าท่าย้ายการชักธงสัญญาณเรือเข้าออก ไปที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย เสาธงที่ป้อมป้องปัจจามิตรใช้เพียงชักธงแสดงสภาพลักษณะอากาศตามคำพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

                     เนื่องจากป้อมป้องปัจจามิตรเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ และไม่มีหลักฐานว่าได้มีการทำนุบำรุงมาแต่ครั้งใด สภาพของป้อมชำรุดทรุดโทรม ขอบกำแพงป้อมบางตอนแตกร้าว ส่วนใหญ่ถูกรื้อไป เพื่อประโยชน์ในกิจการอื่น คงเหลือส่วนหนึ่งของกำแพงเฉพาะเท่าที่เคยใช้เป็นที่ตั้งของสถานีสัญญาณเรือเข้าออกของกรมเจ้าท่าเท่านั้น ในปีงบประมาณ ๒๕๒๘ เขตคลองสานได้เสนอโครงการ บูรณะปรับปรุงป้อมป้องปัจจามิตรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๙ (คลองสาน สัมพันธวงศ์ บางรัก) และได้รับงบพัฒนาจังหวัด จำนวน ๘๐๔,๖๓๒ บาท ประกอบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๙ กรุงเทพมหานครได้สนับสนุนงบประมาณมาปรับปรุงเพิ่มเติมอีก ๓๑๒,๗๐๐ บาท จึงทำให้สภาพของป้อมป้องปัจจามิตรคงสภาพดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้


http://www.swcs.ac.th/klongsan/pompongputjamid.html


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 12:40
ป้ายประชาสัมพันธ์บ่งว่า "ป้อมป้องปัจจามิตร" ตั้งอยู่คลองสาน ไม่ใช่ตั้งอยู่ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านล่าง

ตกลงชื่อใดถูก ชื่อใดผิด  ???  แบบนี้เรียกรวมพล ไปผิดป้อม คงโดนฟันคอ ริบเรือนกระมัง  ???


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 13:39
สงสัยเสมียนที่ส่งให้ไปจดชื่อป้อมจะแอบไปนั่งจิบสุราข้างทาง
ก่อนออกไปถึงป้อม  ทำให้สับสนจดชื่อป้อมสลับกัน
(ข้าพเจ้าไม่ผิด เพราะรายงานตามเอกสาร
อย่างเคร่งครัดและเคร่งเครียด)
 8)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 14:01
ก็ตามแผนที่กล่าวไว้ว่า ชื่อป้อมป้องปัจจามิตร ครับผม อยู่ใต้วัดเทพศิรินทร์ลงมา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4438.0;attach=21498;image)

สงสัยแผนที่จะระบุป้อมผิด อ้างถึงสถานและสิ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรื่องป้อมปราการ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ดังนี้

"...ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ
๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร
๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้
๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ
๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง
๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย
๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง
๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน
๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ ๑ วัดแก้วแจ่มฟ้า..."

แผนที่ผิด ?

 ???


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 ก.ย. 11, 14:12
แผนที่ป้อมรอบพระนครค่ะ... ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 14:12
คุณเพ็ญฯ แผนที่ที่เอามาแสดงนั้น  เขียนขึ้นเมื่อปีกุนนพศก  ๑๒๔๙
ตามที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ มีรับสั่งให้เขียนขึ้น

ต่อมากรมแผนที่ได้นำแผนที่ดังกล่าวมาปรับปรุงเติมข้อมูล
ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นลงไปใหม่ เมื่อ ร,ศ, ๑๑๕

เจ้าหน้าที่ที่เขียนแผนที่นี้ คือนายวอนกับนายสอน
เขียนเสร็จเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม  ๑๑๕

ถ้าเลื่อนแผนที่ลงมาอีกนิด  ตรงที่เป็นป้อมป้องปัจจามิตร
ที่ปากคลองสาน  ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา  
มีรูปป้อมเขียนว่า  ป้อมปัจจามิด  อยู่ด้วย


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 11, 14:17
แผนที่ระวางอาณาเขตกรุงเทพ ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ ไม่มีป้อมบริเวณคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว แต่ป้อมเจ้าปัญหา มีระบุว่า "ป้อมป้องปัจจามิตร" แบบนี้เกิดความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นแล้ว

ส่วนแผนที่ฉบับล่างเป็นสมัยรัชกาลที่ ๖


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 14:50
คุณเพ็ญฯ แผนที่ที่เอามาแสดงนั้น  เขียนขึ้นเมื่อปีกุนนพศก  ๑๒๔๙
ตามที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ มีรับสั่งให้เขียนขึ้น

ต่อมากรมแผนที่ได้นำแผนที่ดังกล่าวมาปรับปรุงเติมข้อมูล
ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นลงไปใหม่ เมื่อ ร,ศ, ๑๑๕

เจ้าหน้าที่ที่เขียนแผนที่นี้ คือนายวอนกับนายสอน
เขียนเสร็จเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม  ๑๑๕

แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๓๙ (ร.ศ. ๑๑๕) เป็นหนึ่งในแผนที่พระราชอาณาเขตและแผนที่เมืองที่กรมแผนที่จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อแสดงข้อมูลทางกายภาพของสยามประเทศ ตามมาตราฐานการทำแผนที่อย่างตะวันตก ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สำหรับแผนที่พระนครนั้น ปรากฏหลักฐานว่า ทำขึ้นในมาตราส่วนขนาดใหญ่ มีรายละเอียดถนน หนทาง บ้านเรือนต่าง ๆ อย่างชัดเจน และตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย แก้ไขเพิ่มเติม ตึกถนน บ้านเรือน ตามที่เปลี่ยนแปลงใหม่ในทุกวันนี้ รวบรวมเข้าทั้งฝั่งลำน้ำเจ้าพระยาลงบนแผ่นเดียวกัน โดยให้ช่างเขียนแผนที่สองท่าน คือนายวอนและสอน คัดลอกเส้นแผนที่ขึ้นใหม่ จนแผนที่แล้วเสร็จและพิมพ์เผยแพร่ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙)

 ;D



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 15:34
ถ้าเลื่อนแผนที่ลงมาอีกนิด  ตรงที่เป็นป้อมป้องปัจจามิตร
ที่ปากคลองสาน  ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา 
มีรูปป้อมเขียนว่า  ป้อมปัจจามิด  อยู่ด้วย


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ก.ย. 11, 15:35
ตกลงป้อมนี้ (พิจารณาภาพจากความเห็นที่ ๒๒) มีชื่อว่าป้อมอะไร
พร้อมให้เหตุผลหรือแหล่งข้อมูลอ้างอิง


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ย. 11, 19:10
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ ขยายพระนครออกไปอีกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมโอบล้อมกรุงซึ่งลักษณะเป็นเกาะ เป็นคลองรอบกรุงชั้นนอก คลองรอบกรุงในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงเป็นคลองรอบกรุงชั้นใน แผ่นดินนี้ ขุดคลองแต่ไม่ได้สร้างกำแพงเมืองเลียบคลอง โปรดฯ ให้สร้างแค่ป้อม ๗ ป้อม เรียงรายตามริมคลอง ที่จริงป้อมสร้างเวลานั้นมี ๘ ป้อม แต่อีกป้อมหนึ่ง ข้ามไปอยู่ฟากธนบุรี ตรงปากคลองสาน ซึ่งบัดนี้ยังคงอยู่อีกป้อมเดียวใน ๘ ป้อม คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ส่วนอีก ๗ ป้อม ทางฟากตะวันออก รื้อหมดแล้ว

ชื่อป้อมทั้ง ๘ คล้องจองกันน่าจำ คือ ป้องปัจจามิตร ปิดปัจจานึก ฮึกเหี้ยมหาญ ผลาญไพรีราบ ปราบศัตรูพ่าย ทำลายแรงปรปักษ์ หักกำลังดัสกร มหานครรักษา

สำหรับป้อมปราบศัตรูพ่ายนั้นเหลือแต่ชื่อ ซึ่งกร่อนลงเหลือแต่ ‘ป้อมปราบ’

ส่วนป้อมหักกำลังดัสกรอยู่แถว ๆ สะพานมัฆวานรังสรรค์


จากบทความเรื่อง เปรียบกรุงเทพฯ ว่าเป็นเวนิซตะวันออกโดย  จุลลดา ภักดีภูมินทร์ นิตยสารสกุลไทย (http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=4211&stissueid=2661&stcolcatid=2&stauthorid=13)
 

ชื่อป้อมที่คุณหลวงถาม

ตกลงป้อมนี้ (พิจารณาภาพจากความเห็นที่ ๒๒) มีชื่อว่าป้อมอะไร

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4438.0;attach=21498;image)

สงสัยเสมียนที่ส่งให้ไปจดชื่อป้อมจะแอบไปนั่งจิบสุราข้างทาง
ก่อนออกไปถึงป้อม  ทำให้สับสนจดชื่อป้อมสลับกัน

สลับชื่อกับ "ป้อมปิดปัจจานึก" กระมัง

 ;D



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 08:21
^ ป้อมใกล้วัดพลับพลาไชย ไม่ใช่ ป้อมปิดปัจจานึก


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 08:25
อ้าว! งั้นป้อมนี้ล่ะ

๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย

 ???


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 08:40
ทำเนียบนาม  พิมพ์ปี ๒๔๕๗  ว่าไว้ดังนี้

ป้อมที่ตั้งเรียงรายอยู่ชั้นนอก
รอบคลองผดุงกรุงเกษมแลฝั่งตวันตก

(๑) ป้อม "ป้องปัจจามิตร" อยู่ฝั่งตวันตกริมปากคลองสาน

(๒) ป้อม "ปิดปัจจานึก" อยู่ฝั่งตวันออก ริมปากคลองผดุงกรุงเกามข้างใต้

(๓) ป้อม "ผลาญศัตรูราบ" อยู่ข้างใต้วัดเทพศิรินทราวาศ หรือริมวัดพลับพลาไชย

(๔) ป้อม "ปราบศัตรูพ่าย" อยู่ใต้ตลาดนางเลิ้ง ตรงหมู่บ้านญวนข้าม  แต่บัดนี้ได้รื้อแล้ว

(๕) ป้อม "ทำลายแรงปรปักษ์" อยู่เหนือวัดโสมนัศวิหาร  แต่บัดนี้ได้รื้อเสียแล้ว

(๖) ป้อม "หักกำลังดัษกร" อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม  ข้างเหนือรื้อแล้ว (นะจ๊ะ)

(๗) ป้อม "วิไชยประสิทธิ์" อยู่ฝั่งตวันตก  ปากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 08:50
เอกสารจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ ๓
ว่าด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกชื่อป้อม

(คัดลอกอักขรวิธีตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่)

@ วัน ๕ ขึ้น ๕ เดือน ๑๐ จุล.๑๑๘๗ ระกาสัปตศก
สมเดจพระพุทธิเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
สั่งให้จาฤกชื่อป้อมลงแผ่นศิลาลายไปตรึงประจำป้อมกรุงเทพฯ
ชั้นนอก ๑๔ ป้อม  ชั้นใน ๑๑ ป้อม  เมืองสมุทรปราการ ๖ ป้อม
เมืองนครเขื่อนขันธ์ ๙ ป้อม  ป้อมเมืองนางเกร็ง ๑ ป้อม
(รวม) ๔๑ ป้อม  ...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 08:56
เรื่องป้อมริมวัดพลับพลาไชย

จาก ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔ (http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92%E0%B9%95)

๓๒ ขุดคลองแลทำถนนในจังหวัดพระนคร ๑ คลองผดุงกรุงเกษม เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กอง ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ( วร ) เปนนายงานขุด คลองแต่ลำแม่น้ำที่ใต้วัดเทวราชกุญชรผ่านคลองมหานาคไปออกแม่น้ำ ที่เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าคลอง๑ ๑ เปนคูพระนครชั้นนอกกว้าง ๑๐ วาลึก ๖ ศอก ยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วาสิ้นค่าจ้างขุดเปนเงิน ๒๗,๕๐๐ บาท สำเร็จในปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้เปิดคลองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ค่ำ ๑ พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษม แลมีงานมโหรศพ ฉลอง ๓ วัน ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ ๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร ๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง ๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลาไชย ๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง ๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน ๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ ๑ วัดแก้วแจ่มฟ้า เดิมอยู่ตรงหลังธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ย้ายไปอยู่ถนนสี่พระยา เมื่อ ในรัชกาลที่ ๕

๓๓ (ป้อม ๘ ป้อมนั้นสร้างไม่ทันแล้วหมด ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อเขตรพระนครขยายต่อออกไปอิก ป้อมเหล่านั้นไม่เปนประโยชน์ดังแต่ก่อน จึงโปรดให้รื้อเอาที่สร้างสถานที่ต่าง ๆ โดยมาก ยังเหลืออยู่เวลานี้แต่ป้อมป้องปัจจามิตรข้างฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร กับป้อมปิดปัจนึก ข้างฝั่งตวันออกที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๒ ป้อมเท่านั้น)

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 09:32
... ชั้นนอกพระนคร  ป้อมมหายักษ  หน้าวัดพระเชตพล ๑  
ป้อมมะหาเริกษ  หน้าบ้านพญาราชภักดี ๑  ป้อมผีเสื้อ
หน้าบ้านพญาอุไทยทัน ๑  ป้อมจักรเพช  ปากคลอง ๑
ป้อมมะหาไชย  หน้าวังกรมหมื่นนะเรน ๑  ป้อมเสือทะยาน
หน้าบ้านพระมหาเทพ ๑  ป้อมหมูทะลอง ริมบ้านพญายมราช ๑
ป้อมมะหากาล  ประตูยอดข้ามไปสนามกระบือ ๑
ป้อมมะหาปราบ  เหนือวัดพรมสุรินขึ้นไป ๑   ๙ (ป้อม)

ป้อมยุคนธร ๑  ป้อมอิศินธร ๑  ป้อมพระสุเมร ๑  
ป้อมพระอาทิตย์ ๑  ป้อมพระจันท์ ๑  กรมพระราชวังบวรฯ   ๕ (ป้อม)
(รวม) ๑๔ ป้อม


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 09:46
...ชั้นในพระราชวัง  ป้อมอินทะรังสรร  ๑  ป้อมขันเขื่อนเพช ๑
ป้อมเผด็จศดัศกอร ๑  ป้อมศิงขรขันท์ ๑  ป้อมมะนีปราการ  ๑
ป้อมพิศาลเสมา ๑  ป้อมภูผาสุทัศน์ ๑  ป้อมสัตะบรรพต  ๑
ป้อมโสฬศีลา ๑  ป้อมมะหาโลหะ  ๑  ป้อมอะนันตคีรี  ๑  
๑๑  ป้อม

(ป้อม) เมืองสมุทรปราการ  ป้อมผีเสื้อสมุท  กลางหาด ๑
ป้อมนาคราช ฝั่งตวันตก  ๑  ป้อมพระกาล  มุมตวันออก  ๑
ป้อมประโคนไชย ป้อมใหญ่ ๑  ป้อมกายสิทธิ์  ป้อมแปดเหลี่ยม ๑
ป้อมนารายปราบศึก  มุมเหนือริมน้ำ  ๑    ๖  ป้อม

(ป้อม) บางนางเกร็ง  ป้อมตรีเพชร  เหนือเมืองสมุทรปราการ
ฝั่งตวันออก  ๑  ป้อม

(ป้อม) เมืองนครเขื่อนขัน  ป้อมศัตรูพินาศ  เฉียงใต้ริมน้ำ ๑
ป้อมไฟฟ้า  ป้อมแปลงมุมเฉียงใต้ริมน้ำ ๑  ป้อมเพชหึง
ป้อมใหญ่เหนือเมือง  ๑  ป้อมมะหาสังหาญ  ป้อมใหญ่ริมน้ำ ๑
ป้อมจักกรด  มุมเหนือ  ๑  ฟากตวันออก  ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย  
มุมเหนือริมน้ำ  ๑  ป้อมปีสาจสิง  มุมเฉียงเหนือ  ๑  ป้อมราหูจร
เฉียงใต้  ๑  ป้อมวิธยาคม  เฉียงเหนือ  ริมน้ำ  ๑     ๙  ป้อม

ป้อมวิเชียรโชดก  เมืองสาครบุรี  ๑  สถารเทพยเจ้าจอมเมือง
สารเจ้า  ๑  เมืองสมุทรสงคราม  ป้อมพิฆาฎข้าศึก  ๑  
บางปะกฎ  ป้อมคงกะพัน  ๑

(ป้อม) ทรงใหม่ ป้อมป้องปัจจามิตรฝั่งตวันตก ๑  
ป้อมปิดปัจนึก  ฝั่งตวันออก ๑   ป้อมกำราบฤทธิปรปักษ์ ๑
ป้อมหารหักศัตรู  ๑  ป้อมสู้ไพรีรณ  ๑  ป้อมผจญปัจนึก ๑    ๖  ป้อม...



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 09:48
แผนผังการวางตำแหน่งของป้อมรอบพระนครชั้นใน


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 09:58
...ชื่อป้อม  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นเดชอดิศศร (ทรงพระนิพนธ์)
ป้อมป้องปัจจามิตร ๑                 ป้อมปิดตระวัน ๑
ป้อมศิงขรเขือนขรร ๑                ป้อมพรรรภูผา ๑
ป้อมปักกหลั่น ๑                        ป้อมเสือซ่อนเล็บ ๑
ป้อมปิศาจสิง ๑                        ป้อมผาเผือก ๑
ป้อมศิลาโลหะ ๑                       ป้อมแปดคม ๑
ป้อมยักขินี ๑                            ป้อมมหาถมื้น ๑
ป้อมประจำสมุท ๑                     ป้อมประจำจักรวาฬ ๑
ป้อมหิมภานต์คูหา ๑                   ป้อมคิรีราบร้าย ๑
ป้อมเพชหึง ๑                           ป้อมอะสุรินทราหู ๑
ป้อมประไลยกัลป ๑                    ป้อมจำบังนระปักษ์ ๑
ป้อมมหาเมฆ ๑                         ป้อมแสงอาทิคย์ ๑
ป้อมปัตพิพัง ๑                          ป้อมแก้วปราการ ๑
ป้อมปะกายแก้ว ๑                      ป้อมมารสดุ้ง ๑
ป้อมมหาพิฤก ๑                         ป้อมธนูเพช ๑
ป้อมพสุธาสเทือน ๑                   ป้อมธนูแผลง ๑

ป้อมกำราบฤทธิปรปักษ์ ๑             ป้อมมหารหักศัตรู ๑
ป้อมสู้ไพรีรณ  ๑                       ป้อมประจนปัจนึก ๑
๔ ป้อมๆ ทำใหม่  ฯ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 10:03
ตำแหน่งป้อมของคุณหนุ่มกับของคุณดีดีมีต่างกันอยู่ ๒ แห่ง

ช่วยยืนยันทีว่า ซ้ายหรือขวา ถูกต้อง   ???


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 10:19
ตำแหน่งป้อมของคุณหนุ่มกับของคุณดีดีมีต่างกันอยู่ ๒ แห่ง

ช่วยยืนยันทีว่า ซ้ายหรือขวา ถูกต้อง   ???

อำแดงนวลแข cross check ได้ตาไวมากขอรับ ของคุณดีดี ถูกต้องแล้ว

"อ้างถึง
๘.ป้อมมหาปราบ  ออกบ้านเสมียนตรากรมวัง  ทิศตวันออก

๙.ป้อมยุคุนธร  มุมวัดบวรนิเวศ  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ"


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 10:39
อำแดงนวลแข   cross check ได้ตาไวมากขอรับ ของคุณดีดี ถูกต้องแล้ว

อำแดงนวลแข  

ใครหนอ

เพ็ญชมพูหาใช่ "นวลแข" ไม่    
แก้ไขใหม่ "เต็มชมพู" ต่างหากหนา
อย่างไรก็ชื่นใจในกรุณา
ตอบปัญหาไวว่องต้องขอบคุณ

" เต็มชมพู" คืออะไรใคร่ขอถาม
ชมพูงาม เต็มอย่างไรสงสัยอยู่
มีแหว่งเว้าตรงไหนไม่น่าดู
ขอความรู้ช่วยเฉลยเผยมาที

 ;D  ???

สีชมพูมีความหมายในหลายสิ่ง
คือสุขยิ่งคือความรักสมัครสมาน
คือมิตรภาพคืออายุยืนยาวนาน
คือสีหวานแห่งมหา'ลัยในพระนาม

เพ็ญชมพู "ชมพูเต็ม" เต็มด้วยสุข
สนานสนุกเต็มด้วยรักชักวาบหวาม
เต็มด้วยมิตรภาพในวัยอันงาม
หวังทุกยามเรือนไทยนี้สีชมพู


 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 10:46
ชื่อไพเราะ "เต็มชมพู" ดูสมบูรณ์ อิ่มเอมทุกประการ

อำแดงนวลแข = อำ + แดงนวล + แข

แดงนวล เสมือน แดงเรื่อ ๆ ประหนึ่ง ชมพูหวาน

แข เสมือนพระจันทร์ แจ่มจรัส วันเพ็ญ

คิดเล่น ๆ เท่านั้นเอง


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 11:08
ข่าวเพลิงไหม้ บริเวณป้อมปราบศัตรูพ่าย ตกปีใด คุณหลวงเล็กช่วยคำนวณวันอย่างฝรั่งให้ทีครับ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 11:26
พ.ศ. ๒๔๒๙ ไฟไหม้ไปถึงวัดญวน ตลาดน้อย ไปหยุดลงที่ป้อมปิดปัจจนึก


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 11:29
ข่าวเพลิงไหม้ บริเวณป้อมปราบศัตรูพ่าย ตกปีใด คุณหลวงเล็กช่วยคำนวณวันอย่างฝรั่งให้ทีครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4741.0;attach=24304;image)

อาสาแย่งคุณหลวงตอบ

จ.ศ. ๑๒๔๖ - พ.ศ. ๒๔๒๗

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 11:37
^
คุณเพ็ญชมพู ไวมาก  ;D ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 11:38
พ.ศ. ๒๔๒๙ ไฟไหม้ไปถึงวัดญวน ตลาดน้อย ไปหยุดลงที่ป้อมปิดปัจจนึก

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4741.0;attach=24305;image)

วันที่เกิดเหตุ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/040/336.PDF)

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 11:58
เพลิงไหม้ที่บ้านอำแดงอ่วม  ภรรยาพระภิรมย์ (คล้าย)
นั้นตรงกับวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๗
ถ้านับตามอย่างปฏิทินสากล  จะเป็นปี ๒๔๒๘



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 12:02
ส่วนไฟไหม้ตั้งแต่หน้าวัดญวนอุภัยราชบำรุง
และลามไหม้จนจรดโรงโปลิศป้อมปิดปัจจานึก
เทียบวันแล้ว ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม  ๒๔๒๙


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ย. 11, 17:05
ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้  คือ  คดีเด็ดเหตุเกิดในกำแพงพระนครเมื่อราว ๑๕๐ ปีมาแล้ว

ข้าพระพุทธเจ้า  พระยามหามนตรี กอลอแนนต์อินชีพ
พระศักดาภิเดชวรฤทธิ์  แอตยุแตน  ขอพระราชทาน
น้อมเกล้าฯ ถวายคำนับกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้พิจารณาตัดสินคดีของราษฎร ซึ่งเกิดขึ้น
ในท้องที่  ทหารยามรักษาถนนในกำแพงเมืองจับมาส่ง
ณ สาลออฟฟิศ ได้พิจารณาตัดสิน  ดังนี้


- เรื่อง ๑  ซายันฤทธิ ยามท่าขุนนางจับตัวจีนเสง โจทย์
นายหว่าง จำเลย  โจทย์หาว่านายหว่างชกเตะจีนเสงกับภรรยาจีนเสง
ฟกบวมหลายแห่ง  นายหว่างยอมทำขวัญเป้นเงินตราสองตำลึง

- เรื่อง ๑ ซายันสี ทหารยามวัดราชบพิจับตัวนายเพง โจทย์
อ้ายบ่าย จำเลย มาส่ง  โจทย์หาว่าอ้ายบ่ายเป็นทาสผู้มีชื่อ
ค่าตัวชั่งหนึ่ง  นายเพงเป็นนายประกัน  นายเพงรับตัวอ้ายบ่าย
ไปส่งนายเงิน

- เรื่อง ๑ ซายันน้อย ทหารยามตะพานมอญจับตัวอำแดงฤท โจทย์
นายน้อย จำเลย  มาส่ง   ดจทยืหาว่านายน้อยเป็นนายประกันอีเอี่ยมทาส
ค่าตัวชั่งสิบตำลึง  ส่งไปตามกระทรวง

- เรื่อง ๑ ซายันไผ่ ยามหน้าวัดราชบุรณะ จับตัวหลวงอณุรักษ นายเงิน
อ้ายแพ ตัวทาส มาส่งหาว่าอ้ายแพเป็นทาสค่าตัวชั่ง ๑   ถามอ้ายแพ
รับถูกต้อง  นายเงินรับตัวทาสไป

- เรื่อง ๑ ซายันลี่ ทหารยามวัดมหรรพาราม  จับตัวหมื่นชำนิ โจทย์
นายเดด จำเลย  มาส่ง  ดจทย์หาว่านายเดดลักอีทรัพย์ ทาสของหมื่นชำนิไป 
อีทรัพย์ค่าตัว ๑๖ ตำลึง  ถามนายเดด รับ  ตัดสินให้คืนทาสให้นายเงินไป



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 21:36
กอลอแนนต์อินชีพ - Colonel-in-Chief (http://en.wikipedia.org/wiki/Colonel-in-Chief)

แอตยุแตน - Adjutant (http://en.wikipedia.org/wiki/Adjutant)

ซายัน - Sergeant (http://en.wikipedia.org/wiki/Sergeant)

โจทย์ - โจทก์

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 21:58
ประตูพฤฒิบาศ ริมวัดปรินายก


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 11, 22:02
เรื่องชื่อนามแห่งประตูเมืองของแต่ละแห่งนั้น เคยเรียนถามคุณหลวงเล็กแล้ว จึงนำมาให้อ่านว่าสูญหายไป

๑. ประตูพฤฒิบาศ

๒. ประตูนกยูง

๓. ประตูสำราญราษฎร์


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 22:33

(http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2010/03/31-03-53-450x318.jpg)

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศบรรยายว่า

ประตูพฤฒิบาศ และป้อมมหากาฬ มองเห็นยอดภูเขาทองอยู่ลิบ ๆ  รูปเก่าเกือบร้อยปีมาแล้ว บริเวณขวามือปัจจุบันคือหัวมุมลานเจษฎาบดินทร์ ด้านหน้าเป็นถนนราชดำเนิน


 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ย. 11, 22:48
นี่เป็นอีกรูปหนึ่ง มีการบรรยายว่าที่เห็นลิบๆคือประตูสำราญราษฎร์หรือประตูผี

ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14443;image)

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 11, 09:50
ประตูเยอะจังค่ะ  ;D
เขาบอกว่า
ประตูวังหลวงชั้นกลางที่เรียกกันว่า ประตูผี คือประตูกัญญรวดี
ส่วนชั้นนอก คือ ประตูพิทักษ์บวร ค่ะ
ผิด ถูก ประการใด รอท่านsiamese แถลงค่ะ

ประตูพิทักษ์บวร อยู่ล่างสุดของกำแพงพระบรมมหาราชวัง เสมือนประตูหลังบ้าน ซึ่งใช้สำหรับการอวมงคล เห็นตัวอย่างการตั้งริ้วกระบวนอัญเชิญพระโกศ ก็ตั้งต้นตรงนี้


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ย. 11, 10:39
ถามคุณหลวงเล็กว่า ลักษณะป้อมหอรบ แบบนี้ละครับ เคยตั้งอยู่ในกรุงเทพด้วย จะเรียกว่าอะไรดี  ???


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.ย. 11, 17:16
คุณหนุ่มสยามจะคาดคั้นเอาข้อมูลอะไรจากผม
แต่ผมสงสัยว่า ศิลาจารึกชื่อประตู ๒-๓ ประตู คือ

๑. ประตูพฤฒิบาศ

๒. ประตูนกยูง

๓. ประตูสำราญราษฎร์

คงจะทำขึ้นติดที่ประตูตอนที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างในพระนคร
ให้เสร็จทันก่อนที่จะจัดงานพระราชพิธีฉลองสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี กระมัง
มิฉะนั้น  ในรายงานของพระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นภูวไนยนฤเบนทราธิบาล
ก็น่าจะปรากฏชื่อประตูตามที่คุณว่านั้น  หลักฐานที่นำมาแสดงล้วนยืนยันว่า
เป็นหลักฐานหลังการฉลองพระนคร ๑๐๐  ปีแล้วทั้ง ๒ ชิ้น

ผมยังสงสัยว่า  ประตูผี  จริงๆ แล้วคือ ประตุยอด หรือประตูช่องกุดกันแน่
อยากได้หลักฐานยืนยันจากเอกสารเก่า (ที่เก่าจริง  ไม่ได้อ้างต่อมาจากคนอื่น)

ส่วนป้อมหอรบนั้น  เท่าพิจารณาจากชื่อป้อมในรายงาน
ของพระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นภูวไนยนฤเบนทราธิบาล
ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าป้อมเหล่านั้น  แต่ละป้อมมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
ป้อมที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๓ คงเป็นป้อมแบบเก่าสมัยอยุธยา
ป้อมที่สร้างหรือซ่อมแซมสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นไป คงเปลี่ยนรูปแบบ
เป็นอย่างตะวันตก (กระมัง?)  


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.ย. 11, 19:12
กระผมเกิดความสงสัย
เพราะเคยเล่าเรียนกันมาว่า
กรุงรัตนโกสินทร์นี้ มี "ประตูผี" เนื่องจากเป็นประตูที่หามศพออกนอกพระนคร ไปเผาที่วัดสระเกศ

แต่ในหนังสืออธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยานั้น มีกล่าวไว้ว่า

"ด้านขื่อทิศบูรรภ์ศรีอยุทธยานั้น...... มาถึงประตูใหญ่ห้ามมิให้เอาศพออก ชื่อประตูเจ้าจันน์ ๑......"

แต่กลับไม่มีข้อความแห่งใดที่บ่งบอกว่า มีประตูที่เฉพาะนำศพออก เช่นกรุงรัตนโกสินทร์

เช่นนี้แล้วทุกประตูกำแพงพระนครของกรุงศรีอยุธยานอกจากนี้สามารถนำศพออกได้หรือ ???
แลหากเป็นจริง กรุงเก่าก็ไม่มี "ประตูผี" ซิขอรับ ???



อ่อ... อีกข้อที่สงสัย
ดูเหมือน "พ่อสง่า" จะเคยเขียนบอกเอาไว้ว่า ประตูสามยอด (สำราญราษฎร์) เป็นประตูกำแพงเมืองยอดเดียว
และชื่อว่า "ประตูพฤฒิบาศ ???" ต่อมาพังลงทับคนตาย แล้วสร้างเป็นประตูสามยอดขึ้นแทน

เลยสงสัยว่า "ประตูพฤฒิบาศนี้"
อยู่หนใดกันแน่
1. ริมป้อมมหากาฬ ทางวัดบวรนิเวศ หรือ
2. คือประตูสามยอด หลังเก่า ก่อนพังลงสร้างใหม่ในสัมยรัชกาลที่ 5


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 10:03
"ประตูพฤฒิบาศ"

ประกาศก่อสร้างถนนอุณากรรณ เมื่อ ๑ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗ เรื่องตัดถนนอุณากรรณ ความยาว ๗๒๐ เมตร

" ให้ตัดถนนขึ้นใหม่ ตรงช่องถนนเข้าสารผ่านสวนตึกดิน ไปออกตรงช่องประตูพฤฒิบาศให้เปนทางใหญ่ ..."

แต่ยังหาแผนที่ถนนอุณากรรณไปออกประตูยังไม่พบ  :o


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 10:17
ประกาศการก่อสร้างถนนราชดำเนิน ซึ่งถนนราชดำเนินควรตั้งอยู่ระหว่างถนนสามเสน กับ ถนนพฤฒิบาศ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 10:42
จึงตอบคุณ Art47 ได้ว่า "ประตูพฤฒิบาศ" นั้นเป็นประตูที่ออกไปยังวัดปรินายก


จากประตูสมัยต้น ร.๕ ที่คุณหลวงเล็กรายงาน
- ประตูช่องกุดออกบ้านพันเงิน ทิศตวันออก

- ประตูยอดออกถนนสนามควาย ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านขุนราม ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านเสมียนตรากรมวัง ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านพระศรีกาฬสมุด ทิศตวันออก

- ประตูช่องกุดออกบ้านนายน้อย มหาดเล็ก ทิศตวันออก

มีเพียงประตูเดียวที่เป็นประตูยอด คือประตูออกถนนสนามควาย (เส้นทางป้อมมหากาฬ) ซึ่งก็ไปยังปรินายกได้ และยังมีประตูช่องกุดอีก ๔ ช่องก็เดินทางไปยังวัดปรินายกได้


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 10:51
กฎมณเทียรบาลในสมัยโบราณ เกี่ยวกับประตูวังค่ะ  ;D

มาตราที่ 66 ถ้าถีบประตูวัง ให้ตัดตีนเสีย เอามือผลักประตูวังเข้าไปเอง ให้ตีด้วยหวาย 20 ที
ถ้าปีนกำแพงวังชั้นนอกให้ตัดตีนเสีย ถ้าปีนกำแพงชั้นในให้ฆ่าเสีย ถ้าถือเครื่องสาตราอาวุธเข้าไปในพระราชวัง
ให้นายประตูถามดู ดี ร้าย ถ้าใช่งานที่จะเอาเข้ามา ให้ตัดมือผู้เอาเข้ามานั้นเสีย ถ้านายประตูมิได้ว่าละให้เอาเข้าไป
ให้มีโทษแก่นายประตูดุจนั้น

อนึ่งไอยการการกระบถปลอมมาต่างเมืองก็ดีแลราชศัตรู และสุนัขม้าโคกระบือแล่นเข้าในพระราชวังถึงหน้าพระที่นั่งก็ดี
บนพระโรงก็ดีโทษชาววังถึงตาย ส่วนนายประตูไซ้ให้ควักตาเสีย


การถีบประตูพระบรมมหาราชวังเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จริง เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔

อ้างถึงจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ 

"เนื่องด้วยชาวยุโรปและจีนลูกจ้างเมาสุราเดินเข้าไปถึงพระราชฐานชั้นในซึ่งมีแต่เจ้าจอมหม่อมห้ามพักอยู่ เมื่อเข้าไปไม่ได้เพราะโขลนทวารปิดประตูเสียทัน ชาวยุโรปและจีนลูกจ้างโกรธถึงกับเตะถีบประตูวัง ซึ่งต้องโทษตัดมือตัดตีน หากแต่ ตามสนธิสัญญาบาวริ่ง ข้องที่ ๖ ระบุไว้หากคนในบังคับทำผิดให้ส่งตัวไปยังสถานกงสุลจัดการ"


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 ก.ย. 11, 11:08
ป้อมรอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคล มีชื่อป้อมดังนี้  ;D
- ป้อมทับทิมศรี
- ป้อมเขื่อนขันธ์
- ป้อมนิลวัฒนา
- ป้อมมุกดาพิศาล
- ป้อมเพชรบูรพา
- ป้อมวิเชียรอาคเนย์
- ป้อมเพชรไพฑูรย์
- ป้อมเขื่อนเพชร
- ป้อมมณีมรกต
ปัจจุบันป้อมเหล่านี้ได้ถูกรื้อลงหมดแล้ว


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 11:13
ประกาศตัดถนน ๓ สาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗

๑. ถนนประตูยอด (ประตูพฤฒิบาศ) ไปยังวัดโสมนัสวิหาร (สายสีน้ำเงิน) = ถนนนครสวรรค์ในปัจจุบัน

๒. ถนนประตูยอด ถึง หน้าวัดรังษีสุทธาวาส (สายสีเขียว)

๓. ถนนประตูบ้านพระยานรรัตน์ราชมานิต จดคลองผดุงกรุงเกษม (สายสีส้ม)

ถนนทั้งสามสายนี้ "ปูด้วยหิน" และให้กรมพระนครบาลตัดถนนรอบคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อให้เชื่อมถนนเหล่านี้เข้าด้วยกัน (เส้นประไข่ปลาสีแดง)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 11:18
พบชื่อประตูอีกชื่อหนึ่งเรียกกันลำลองว่า "ประตูยอดต้นมะขาม" จากการตัดถนนจากประตูยอดต้นมะขามไปยังวัดโสมนัสวิหารไปจรดคลองเปรมประชากร  :o


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 ก.ย. 11, 11:19

ประกาศก่อสร้างถนนอุณากรรณ เมื่อ ๑ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗ เรื่องตัดถนนอุณากรรณ ความยาว ๗๒๐ เมตร

" ให้ตัดถนนขึ้นใหม่ ตรงช่องถนนเข้าสารผ่านสวนตึกดิน ไปออกตรงช่องประตูพฤฒิบาศให้เปนทางใหญ่ ..."


ถ้าถนนอุณากรรณเส้นนั้น คือถนนอุณากรรณปัจจุบันนี้แล้ว ก็ยิ่งทำให้สับสนใหญ่

เพราะถนนอุณากรรณสายปัจจุบันอยู่ข้าทิศตะวันออกของวัดสุทัศน์เทพวราราม
ไม่ได้ตัดมาจากถนนข้าวสาร ผ่านตึกดิน ไปออกแถวป้อมมหากาฬเลย ???

เออ... อย่างไรกันนี่ :o


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 09 ก.ย. 11, 11:57
ถนนอุณากรรณ ปัจจุบัน ข้างวัดสุทัศน์  ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 12:27

ประกาศก่อสร้างถนนอุณากรรณ เมื่อ ๑ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗ เรื่องตัดถนนอุณากรรณ ความยาว ๗๒๐ เมตร

" ให้ตัดถนนขึ้นใหม่ ตรงช่องถนนเข้าสารผ่านสวนตึกดิน ไปออกตรงช่องประตูพฤฒิบาศให้เปนทางใหญ่ ..."


ถ้าถนนอุณากรรณเส้นนั้น คือถนนอุณากรรณปัจจุบันนี้แล้ว ก็ยิ่งทำให้สับสนใหญ่

เพราะถนนอุณากรรณสายปัจจุบันอยู่ข้าทิศตะวันออกของวัดสุทัศน์เทพวราราม
ไม่ได้ตัดมาจากถนนข้าวสาร ผ่านตึกดิน ไปออกแถวป้อมมหากาฬเลย ???

เออ... อย่างไรกันนี่ :o

อย่างงหนู Art47 ถนนที่ตัดใหม่นี้ถือกำเนิดขึ้นจริงหรือไม่ ตรวจสอบได้ไม่ยาก แต่ปัจจุบันแนวถนนนี้คล้ายแนวถนนราชดำเนินกลาง  ส่วนถนนอุณากรรณในปัจจุบันที่ขนาดวัดสุทัศน์ฯ อาจจะมีการพระราชทานนามใหม่


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 15:01
ถนนอุณากรรณ์ ด้านข้างวัดสุทัศน์ฯ สร้างขึ้นเมื่อ ร.ศ. ๑๑๙ โปรดเกล้าให้แก้ไขถนนบูรพาเสียใหม่ (ถนนด้านหลังวังบูรพา)  ในการนี้ถนนที่สร้างใหม่ถูกสร้างด้วยเงินของพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าอุณากรรณ์อนันตนรไชย ซึ่งเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระราชทานนามถนนตามเจ้าของเงินคือ "ถนนอุณากรรณ์"

เป็นอันว่าหายสงสัยแล้วนะครับพ่อปักษา Art47


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.ย. 11, 15:42
อะฮ้า...กำลังถกเถียงเรื่องถนนอุณากรรณออกรสเปรี้ยวหวานมันเค็ม
อย่ากระนั้นเลย   ขอสลับฉากมาฟังแหล่เพื่อความเพลิดเพลินเจริญใจ
กันดีกว่า   พร้อมแล้ว  อ่าน


แหล่ประตูสะพานหันพัง  (แหล่เครื่องเล่นมหาชาติกัณฑ์มหาพน)

ที่ ๒๖  กันยายน                        เกิดโกลาหลอัศจรรย์
ที่ประตูยอดสะพานหัน                พังทะลายลั่นเสียงครืนคราน
ทับสายไฟฟ้าขาดเป็นแสง           ถูกนายแดงดับสังขาร
ประชาชนอลหม่าน                    พากันสงสารเวทนา
สองทุ่มหย่อน ๒๐ มินิต              เวลาเมื่ออิฐพังลงมา
เลื่องลือกันลั่นพารา                   ต่างคนต่างพากันมาดู
ทั้งไทยทั้งเจ๊กเด็กผู้ใหญ่             บ้างชวนกันไปเป็นหมู่ๆ
เสียงโจษกันลั่นสนั่นหู                ว่าจะไปดูประตูพัง
บ้างขึ้นรถไอบ้างไปรถลาก          รถม้าก็มากแล่นประดัง
เขย่ากระดิ่งเสียงกริ่งกรั่ง             ซ้อนซับคับคั่งทั้งรถยนต์
บ้างเดินกันกลุ้มทั้งหนุ่มแก่           เสียงพูดกันแซ่ตามถนน
บางคนก็ว่าตายห้าคน                 พูดกันจนล้นเลยอัตรา
สมคำโบราณท่านขานกล่าว        ว่าคนปากยาวกว่าปากกา
พูดเติมต่อแต้มแกมมุสา              บางคนก็ว่าตายมากมาย
ได้สืบถามผู้อยู่ใกล้ชิด                ว่านายแดงโปลิศคนเดียวตาย
เด็กหญิงสองคนที่ถูกสาย            ก็ไม่วางวายอย่าสงกา
ผู้ใหญ่ผู้หญิงถูกอีกคน                ก็ไม่วายชนม์แต่ช้ำกายา
เขาพาเอาไปรักษา                    ที่โรงไฟฟ้าทั้งสามคน
นี่เป็นความจริงไม่ผิดพลั้ง           ท่านผู้ฟังอย่าฉงน
ตกลงรวมสี่ตายหนึ่งคน              เจ็บอีกสามคนไม่ม้วยมรณ์...





กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 15:49
เอาแหล่ประตูอี่นอีก ๆ ๆ

แนบภาพประตูสะพานหันให้ชมครับ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 15:54
ทางเข้าไปยังประตูสะพานหัน ผู้คนมากมายต่างพากันมาดูประตูพัง ราว ๒ ทุ่มกว่า (จะเห็นอะไรดีคุณหลวง มืดซะกระนั้น  ???)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.ย. 11, 15:57
จะกลับกล่าวถึงคราวครั้ง                ประตูจะพังเกิดสังหรณ์
เมื่อเวลาบ่ายตะวันรอน                  อิฐสองสามก้อนร่วงลงไป
แต่คนแถบนั้นไม่นึกหมาย               ว่าจะทะลายพังโครมใหญ่
จึงพากันเฉยเลยไป                       มิได้ตกใจเลยสักคน
พอถึงกลางคืนพังครืนคราน            แผ่นดินสะท้านสะเทือนถนน
ทับสายไฟฟ้าที่ติดบน                   ขาดกระเด็นหล่นลงกลางดิน
ไฟฟ้าตามบ้านตามถนน                เลยดับมืดมนหมดทั้งสิ้น
เกิดเอ๊กสิเด็นไม่เห็นดิน                 เสียงดังสายดิ้นแกว่งไปมา
อิฐปูนทะลายมากมายอือ               ข้างนอกขวามือทับหลังคา
ข้างในทับทางรถรางหนา               กลางทวาราปิดทางไป
คนอยู่ข้างในไม่ได้ออก                 คนอยู่ข้างนอกเข้าไม่ได้
ปูนทรายกับอิฐปิดทางไป               เป็นกองสูงใหญ่กว่าสองวา
สงสารเด็กแอ๊วกับเด็กอยู่                วิ่งหนีประตุตกประหม่า
เอามือไปป่ายสายไฟฟ้า                 เจ็บปวดเสียวชาแต่ไม่ตาย
มารดาเด็กแอ๊วชื่อแม่อยู่                 นั่งที่ประตูตัดอ้อยขาย
กลัวซุ้มประตูจะทับตาย                  จึงรีบผันผายหนีเร็วไว
เด็กแอ๊วลูกถูกสายไฟฟ้า                 แม่อยู่มารดาตรงเข้าไป
หวังจะช่วยลูกถูกสายไฟ                อารามตกใจสิ้นสมประดี
ก้าวเท้าไปเหยียบสายไฟฟ้า            เลยล้มถลากลางวิถี
มีผู้ช่วยพลันในทันที                      ทั้งสามนารีไม่วายชนม์
พวกพลตระเวนเป่านกหวีด              เสียงวีดๆ แซ่ถนน
โปลิศก็มามากหลายคน                 อีกมหาชนก็มากมาย...



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.ย. 11, 16:01
ออกขุนอย่าเพิ่งขัดแหล่สิ  ก็เขาว่าเห็น แสดงว่ามันต้องแสงสว่างบ้างสิน่ะ
อย่างน้อยก็ตะเกียงเจ้าพายุ ไฟฉาย  เทียน  ก็ต้องมีติดมือกันมาบ้าง
หากว่าคืนนั้นฟ้าไม่ปิด  เดือนแหว่งน้อย  แสงจันทร์ก็คงพอช่วยได้บ้าง

ส่วนแหล่ประตูอื่น  ไม่มีจ้ะ  ถ้าอยากฟัง  ออกขุนต้องออกแรงแหล่เองแล้วละ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.ย. 11, 16:42
ชายหนึ่งขึ้นรถจักรยาน              รีบถีบลนลานเร็วใจหาย
โจนรถเจ๊กปัง ไม่พังทะลาย         ตัวกลับล้มหงายกลางมรรคา
ฝ่ายว่านายแดงโปลิศสมัคร         กำลังนอนพักในเคหา
ได้ยินนกหวีดเสียงเซ็งซ่า           ไม่รู้เรื่องว่าเหตุอันใด
แต่งฟอร์มไม่ทันดันโดดโหยง      นุ่งผ้าโสร่งวิ่งเข้าไป
ถูกสายไฟฟ้าเข้าทันใด              เลยล้มลงไปกลางมรรคา
สายไฟฟ้านั้นก็พันพาด              คล้ายนาคบาศรัดกายา
เป็นควันกลุ้มกลบอบมังสา          แรงดูดไฟฟ้าเข้าในกาย
ไฟลุกจากปากจากช่องหู            ยิ่งพิเคราะห์ดูน่าใจหาย
ช่องจมูกเห็นเป็นประกาย            นายแดงเลยตายอยู่กลางแปลง
สาสารแม่บุญเกือบเป็นบ้า           ด้วยเป็นภรรยาของนายแดง
ตั้งแต่โศกเศร้าเฝ้ากรรแสง          คิดถึงนายแดงผู้สามี
เมื่อนายแดงถูกสายไฟฟ้า           แม่บุญถลาจรลี
จะเจ้าไปอุ้มช่วยสามี                 แต่พอเดินรี่จะเข้าไป
โปลิศกับแขกช่วยกันห้าม           ไม่ให้โฉมงามเข้าไปใกล้
เขากลัวจอมขวัญจะบรรลัย          แม่บุญพิไรร่ำโศกา
ว่าโอ้โอ๋พ่อโฉมฉาย                  พ่อมานอนตายอนาถา
ชีวิตวายวางกลางมรรคา             น่าเวทนานี่กระไร
เพราะอ้ายสายไฟฟ้า                  มันล้างชีวาผัวกูได้
นางยิ่งครวญคร่ำร่ำพิไร               สุชลนัยน์อาบพักตรา
ถ้าแม้นเจ็บตายด้วยโรคไข้          ถึงจะเสียใจก็พอซา
ได้พยาบาลการรักษา                 หามหอหายาบำรุงได้
ถ้าเสือมันกัดหรือคนดี                แม่บุญจะหนีอย่าสงสัย
คงคิดแก้แค้นตอบแทนได้           ฆ่าให้บรรลัยไปตามกัน
นี่พ่อตายด้วยสายไฟฟ้า             สุดสิ้นปัญญาของดิฉัน
หรือกรรมสิ่งใดมาตามทัน           นางยิ่งโศกศัลย์แสนเสียดาย...



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 16:48
สรุปว่านายแดง โปลิศ ตายเพราะถูกไฟดูดตาย ไม่ได้ตายจาก "ประตูสะพานหันพัง"  8) 8) ;D ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ก.ย. 11, 16:51
ผู้ที่มาดูประตูพัง                ก็ยิ่งคับคั่งมามากมาย
ลือว่าประตูทับคนตาย         ทั้งหญิงทั้งชายชวนกันมา
พวกพลตระเวนยืนเรียงแถว   ล้อมกองอิฐแล้วเฝ้ารักษา
ไม่ให้ผู้ใดเดินไปมา             ถูกสายไฟฟ้าคอยระวัง
กรมหมื่นเดชอดิศรอุดมเดช    ทอดพระเนตรประตูพัง
ผู้ที่มานั้นอนันตัง                ทั้งแขกฝั่งและจีนไทย
จะแก้ไขให้ละเอียด             ก็จะยาวเหยียดมากเกินไป
จะกล่าวแต่ย่อพอเข้าใจ        ขอออกนามให้ทราบคดี
พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ     ยศของท่านนายพลตรี
พระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ที่         เสนาบดีธรรมการ
พระยายมราชที่                   เสนาบดีนครบาล
ปลัดทูลฉลองรองสถาน        นามของท่านพระยาเพชดา
พระอธิการมิสเตอร์ลอซัน      อเนกอนันต์มากหนักหนา
สารวัตรนายหมวดตรวจตรา    อีกกรมสุขานั้นก็มี
คุณพระคุณหลวงอีกมากหลาย  ฉันบรรยายไม่ถ้วนถี่
อ้างพอมีหลักเป็นสักขี           เพราะยังมีอีกมากนา...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ก.ย. 11, 16:23
ช่วงนี้ ผมมีกิจมาก  ยังไม่สามารถมาแหล่เรื่องประตูสะพานหันพัง
ให้จบได้  แต่ครั้นจะให้สาธุชนที่สนใจติดตามกระทู้นี้นั่งหาวรอผม
มาแหล่ต่อไปเป็นหลายเพลาก็ใช่ที   จึงนำข้อมูลเล็กน้อยมาลง
เพื่อให้เห็นการใช้ประตูบางประตูในพระบรมมหาราชวัง

"...พระสงฆ์ที่รับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังนั้น 
นิมนต์เป็นเวรกันมารับ  จึงเรียกว่า "บิณฑบาตเวร"
เมื่อรัชกาลที่ ๑  นิมนต์แต่พระภิกษุวัดระฆังผลัดเวรกัน
กับพระภิกษุวัดพระเชตุพน  ด้วยพระภิกษุทั้งสองวัดนี้
ต้องรับราชทัณฑ์เมื่อครั้งกรุงธนบุรีด้วยเหตุซื่อตรง
ต่อพระวินัยบัญญัติมีความชอบ  ดังปรากฏข้อความ
อยู่ในพระราชพงศาวดาร   ครั้นต่อมา  ในรัชกาลชั้นหลัง
ได้เพิ่มจำนวนวัดที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์
พระภิกษุวัดอื่นๆ เข้ามารับบิณฑบาตจนครบตามวัน
ในสัปดาห์  และมีพระภิกษุวัดอื่นที่เข้ามาสมทบในแต่ละเวรด้วย
ดังนี้

วันอาทิตย์  วัดมหาธาตุ  เป็นต้นเวร  วัดดุสิดาราม สมทบ

วันจันทร์     วัดราชบูรณะ เป็นต้นเวร  วัดจักรวรรดิและวัดราชบพิธ สมทบ

วันอังคาร    วัดระฆัง เป็นต้นเวร  วัดอมรินทร์  วัดรังษีสุทธาวาส และวัดพระยาทำ สมทบ

วันพุธ     วัดพระเชตุพน เป็นต้นเวร  วัดสามพระยา  วัดนาคกลาง  และวัดชิโนรส  สมทบ

วันพฤหัสบดี  วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นต้นเวร  วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายอื่นๆ สมทบ

วันศุกร์    วัดสุทัศน์ เป็นต้นเวร   วัดสระเกศ  สมทบ

วันเสาร์  วัดอรุณราชวราราม  เป็นต้นเวร  วัดโมลีโลกยาราม  วัดหงส์รัตนาราม  และวัดราชสิทธาราม  สมทบ

จำนวนพระภิกษุที่เข้ารับบิณฑบาตเวรโดยปกติมีจำนวน ๑๐๐  รูป
ต่อวัน  ต่อเมื่อเป็นวันนักขัตฤกษ์จึงนิมนต์เพิ่มขึ้นเป็น ๑๕๐  รูป
พระองค์เจ้าสามเณร  หม่อมเจ้าสามเณร  และสามเณรเปรียญ
ก็ได้เข้ารับบิณฑบาตเวรด้วย   พระภิกษุสามเณรที่จะรับบิณฑบาต
ในแต่ละวันจะเดินเข้าทางประตูดุสิตศาสดา (ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)

เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว  พระองค์เจ้าพระ  พระองค์เจ้าสามเณร 
จะเสด็จออกที่ประตูสนามราชกิจ (ประตูยามค่ำ หรือประตูย่ำค่ำ)
ส่วนหม่อมเจ้าพระและหม่อมเจ้าสามเณร  จะเสด็จออกที่
ประตูยาตรากษัตรีย์  (ประตูฉนวน)  พระภิกษุสามเณรนอกนั้น
จะเดินออกที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) ..."



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 16:44
ขอทราบประวัติประตูย่ำค่ำ ว่าทำไมถึงชื่อนี้คร่าว ๆ ครับ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 11, 07:57
รอก่อนนะออกขุน  ช่วงนี้มีงานมากจริงๆ
เดี๋ยวแหล่ต่อจบแล้วจะเอามาลงให้อ่าน
และจะแถมหมายรับสั่งสมัยรัชกาลที่ ๑
ที่เกี่ยวกับเรื่องประตูในพระบรมมหาราชวังให้ด้วย ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 11, 08:13
ในแต่ละวันจะเดินเข้าทางประตูดุสิตศาสดา (ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)

เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว  พระองค์เจ้าพระ  พระองค์เจ้าสามเณร 
จะเสด็จออกที่ประตูสนามราชกิจ (ประตูยามค่ำ หรือประตูย่ำค่ำ)
ส่วนหม่อมเจ้าพระและหม่อมเจ้าสามเณร  จะเสด็จออกที่
ประตูยาตรากษัตรีย์  (ประตูฉนวน)  พระภิกษุสามเณรนอกนั้น
จะเดินออกที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) ..." 

ไม่ใคร่ตรงกับข้อมูลใน "พระประวัติตรัสเล่า"

อายุเราได้ ๑๔ ปี  ถึงกาลกำหนดบรรพชา......ครั้งนั้นยังมีบิณฑบาตเวร คือจัดพระสงฆ์ในวัดอาราหลวงให้ผลัดกันเข้าไปรับบิณฑบาต ในพระบรมหาราชวังชั้นใน วันพฤหัสบดีเป็นเวรของพระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดธรรมยุตอื่น ถึงกำหนดเราเข้าไปบิณฑบาต  ใช้เสลี่ยงไปจากวัด ลงเดินที่ในวัง พวกเณรธรรมยุตก็ใช้ห่อมดองคาดประคตอกสะพายบาตร เหมือนเณรมหานิกาย แต่ในที่อื่น แม้เมื่อเข้าไปหรือกลับออกมาแล้ว ก็ห่อคลุม เข้าทางประตูดุสิตศาสดา ที่เป็นทางข้างในออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์เจ้าออกทางประตูสนามราชกิจ ที่เรียกว่าประตูย่ำค่ำ หม่อมเจ้าได้ยินว่า ออกประตูอนงคลีลา หรืออะไรที่ออกฉนวนตำหนักน้ำท่าราชวรดิษฐ์  พระสามัญออกประตูยาตราสตรีที่เรียกว่าประตูดิน   

จาก พระประวัติตรัสเล่า  พระประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยพระองค์เอง ตอนที่ ๓ คราวเป็นพระกุมาร (http://www.nkgen.com/rem/rem3.htm)


 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 11, 08:22
ขอทราบประวัติประตูย่ำค่ำ ว่าทำไมถึงชื่อนี้คร่าว ๆ ครับ

ประตูสนามราชกิจ อยู่ระหว่างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกับกำแพงแก้วพระมหามณเฑียรตรงพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ชาววังเรียกกันโดยทั่วไปว่า ประตูย่ำค่ำ

(http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2009/08/E8155237/E8155237-25.jpg)

ประตูนี้ถือว่ามีความสำคัญเพราะหากข้าหลวงในวังจะออกนอกเขตพระราชฐานชั้นใน ถ้าพ้นเวลาที่จะออกทางประตูด้านหลังพระราชวังซึ่งปิดไปแล้วตั้งแต่ตอนเย็น ทางออกจากเขตพระราชฐานชั้นในจึงเหลือเพียงประตูสนามราชกิจนี้เพียงประตูเดียว ซึ่งจะเปิดอยู่จนถึงสี่ทุ่มตรง

ในอดีตมีประเพณีสำคัญเกี่ยวกับประตูย่ำค่ำหลายประการ เป็นต้นว่าชาววังที่จะเดินผ่านออกมาฝ่ายหน้าต้องระมัดระวังการแต่งตัวไม่ใช้สีฉูดฉาดเกินไป แต่ต้องไม่ให้ดูซอมซ่อจนน่าเกลียด ไม่ลากจูงหรือแบกหามของใหญ่โตที่อาจจะทำให้เกิดวุ่นวายส่งเสียงดัง หรือห้ามนำสัตว์มีชีวิตเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้แต่การสวมรองเท้าต้องเป็นรองเท้าหุ้มส้นเรียบร้อย จะเป็นรองเท้าแตะไม่ได้โดยเด็ดขาด มิฉะนั้นพนักงานกรมโขลนจะสั่งสอนต่อหน้าธารกำนัลโดยไม่มีการไว้หน้า

ข้อมูลจาก บล็อกโอเคเนชั่นของป้ารุ (http://www.oknation.net/blog/paaru/2007/11/08/entry-1)

 ;D



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 14 ก.ย. 11, 11:01
คนมารอฟังคุณหลวงเล็กแหล่ เรื่องประตูสะพานหันพัง ตอนจบค่ะ... ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.ย. 11, 11:17


เนื่องจากไม่อยากเป็นสาธุชน         ไปกันมากขนาดนี้มิต้องสาธุกันเมื่อยมือฤา




กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 11, 15:18
รถที่สำหรับรับคนป่วย       ก็เอามาด้วยเตรียมไว้หนา
กรมกองตระเวนเกณฑ์เอามา   สำรองเผื่อว่ามีอันตราย
คนยิ่งแน่นอัดยัดเยียดกัน    ต่างคนต่างดันกันเกือบล้มหงาย
ตั้งใจมาดูผู้คนตาย           แต่ไม่สมหมายดังจินดา
หมายว่าประตูพังทับคน      จึงได้สู้ทนเบียดเข้ามา
ที่ยังเป็นสาวคราวโสภา      เห็นจะเสียท่าไปหลายคน
พวกรุ่นหนุ่มรุมกันจ้อง       เกือบมั้วกินช่องกลางถนน
แต่เครื่องภายนอกหยอกกันป่น   เพราะกำลังคนชุลมุน
ที่ปลายถนนพาหุรัด          คนเบียดเยียดยัดกันออกวุ่น
หญิงคนหนึ่งถูกพระพิรุณ     พี่เจ๊กแกดุนผ้าเปรอะไป
เหลียวหลังมาว่าอ้ายตายโหง   มันมาตะโพงหลังกูได้
เพื่อนกันห้ามว่าอย่าอึงไป      ขายหน้าใครๆ เขาแลดู
เราเป็นผู้หญิงนิ่งดีกว่า        ขืนทำปากกล้าจะอดสู
เลยเลี่ยงหลบไปไกลประตู    ถ้าแม้นขืนอยู่ชื่อคงดัง
บ้างว่าถูกคนล้วงกระเป๋า      บ้างถูกเหยียบเท้าด้วยเกือกหนัง
พลตระเวนห้ามก็ไม่ฟัง       ขืนดันทุรังเบียดเข้าไป
ฝรั่งที่อยู่โรงไฟฟ้า            กับคนงานมาจัดแก้ไข
เอาเชือกโยงเสาเข้าทันใด    กลัวล้มลงไปจะเสียที...




กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 11, 15:26

อายุเราได้ ๑๔ ปี  ถึงกาลกำหนดบรรพชา......ครั้งนั้นยังมีบิณฑบาตเวร
คือจัดพระสงฆ์ในวัดอาราหลวงให้ผลัดกันเข้าไปรับบิณฑบาต ในพระบรมหาราชวังชั้นใน
วันพฤหัสบดีเป็นเวรของพระสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดธรรมยุตอื่น ถึงกำหนดเราเข้าไปบิณฑบาต  
ใช้เสลี่ยงไปจากวัด ลงเดินที่ในวัง พวกเณรธรรมยุตก็ใช้ห่อมดองคาดประคตอกสะพายบาตร
เหมือนเณรมหานิกาย แต่ในที่อื่น แม้เมื่อเข้าไปหรือกลับออกมาแล้ว ก็ห่อคลุม เข้าทางประตูดุสิตศาสดา
ที่เป็นทางข้างในออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระองค์เจ้าออกทางประตูสนามราชกิจ ที่เรียกว่าประตูย่ำค่ำ
หม่อมเจ้าได้ยินว่า ออกประตูอนงคลีลา หรืออะไรที่ออกฉนวนตำหนักน้ำท่าราชวรดิษฐ์  พระสามัญออกประตูยาตราสตรีที่เรียกว่าประตูดิน  

จาก พระประวัติตรัสเล่า  พระประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยพระองค์เอง ตอนที่ ๓ คราวเป็นพระกุมาร (http://www.nkgen.com/rem/rem3.htm)


 ;D

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเล่าว่า  "ได้ยินมา"  
แสดงว่า  พระองค์จะทรงจำคำของคนอื่นมาอีกทอด
หาใช่ทรงเห็นเอง   ฉะนั้นข้อมูลจึงอาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงได้




กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 11, 15:31
หมายรับสั่งยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔

ประตูดินที่ ๑ กรมตำรวจใหญ่ซ้าย...... อนงคลีลา
พระพิเรนทรเทพทำ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 11, 21:38
อ้างถึง "จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์" กล่าวถึงประตูย่ำค่ำว่า

"ประตูพระบรมมหาราชวัง เปิดและปิด ๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น. การเปิดและปิดประตูมีการตรวจตาอย่างเข้มงวด เมื่อพ้นเวลาที่กำหนดแล้ว หากฝ่ายในและฝ่ายหน้ามีราชการสำคัญหรือราชการด่วนต้องติดต่อกัน ก็จะใช้ประตูสนามราชกิจ ที่เรียกสามัญว่า "ประตูยามค่ำ" และเพี้ยนเป็น "ประตูย่ำค่ำ" บางทีก็เรียก "ประตูข้างหน้า" ดังนั้นประตูสนามราชกิจจึงต้องมีเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนอยู่เวรยามตลอดคืนทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 11, 21:57
แม่พลอย-คุณเปรม ที่ประตูย่ำค่ำ

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 11, 22:14
แม่พลอย-ช้อย ที่ประตูย่ำค่ำ

ยิ่งใกล้วันมีงานเข้าไปอีก ทั้งพลอยและช้อยก็อดรนทนไม่ไหว กลางวันว่างๆ ก็ต้องชวนกันเล็ดลอดหนีจากตำหนัก แล้วออกทางประตูย่ำค่ำไปดูเขาสร้างเขาไกรลาสที่ข้างๆ พระที่นั่งอัมรินทร์ เริ่มดูตั้งแต่เขาไกรลาสนั้นยังเป็นโครงไม้ไผ่สาน จนถึงเวลาที่เขาเอาแผ่นดีบุกหุ้มแล้วทาสีให้เหมือนศิลาจริงๆ ทุกครั้งที่ไปดูก็จะเห็นเขาไกรลาสอันเป็นที่สรงน้ำหลังโสกันต์นั้นผิดตาไปทุกครั้ง จนในที่สุดเมื่อใกล้วันงานเข้า มณฑปใหญ่ยอดเขาก็สร้างเสร็จ บุษบกที่สรงก็เสร็จลงข้างๆ กัน เจ้าพนักงานเริ่มใส่ต้นไม้ต่างๆ และต่อท่อน้ำพุในเขา และกั้นราชวัตรปักฉัตรโดยรอบบริเวณเขาไกรลาส ...

 ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.ย. 11, 08:16
แล้วจัดการต่อสายไฟฟ้า    ที่ขาดลงมากลางวิถี
สามทุ่มเศษยี่สิบนาที        จึงต่อเสร็จดีแล้วเปิดไฟ
เมื่อสายไฟฟ้าขาดทำลาย   รถรางสองสายเดินไม่ได้
ที่จริงสายขาดนั้นสายใน     สายนอกมิได้อันตราย
แต่สายนอกอิฐปิดทางไว้    จึงเดินไม่ได้ทั้งสองสาย
พวกกุลีขนอิฐปูนทราย       ที่พังทลายทับหนทาง...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 11, 08:55
แล้วจัดการต่อสายไฟฟ้า    ที่ขาดลงมากลางวิถี
สามทุ่มเศษยี่สิบนาที        จึงต่อเสร็จดีแล้วเปิดไฟ
เมื่อสายไฟฟ้าขาดทำลาย   รถรางสองสายเดินไม่ได้
ที่จริงสายขาดนั้นสายใน     สายนอกมิได้อันตราย
แต่สายนอกอิฐปิดทางไว้    จึงเดินไม่ได้ทั้งสองสาย
พวกกุลีขนอิฐปูนทราย       ที่พังทลายทับหนทาง...

ให้ภาพประกอบประตูสะพานหัน ที่มีรถรางทั้ง ๒ สายวิ่งให้บริการ สายในคือวิ่งรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนสายนอกวิ่งออกไปยังถนนเจริญกรุง ย่านบางรักถึงบางคอแหลม


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 08:53
ไม่ใช่ขอแรงหรือกะเกณฑ์      กรมกองตระเวนได้จัดจ้าง
ให้ขุดรื้อขนไปจนสว่าง          ให้ร้อยสตางค์ทุกคนไป
ที่พวกกุลีทำการนั้น              จุดวอชิงตันสว่างไสว
คนยิ่งยัดเยียดเบียดกันใหญ่    เพราะอยากจะใคร่เห็นด้วยกัน
เห็นเขารื้อขนอิฐปูนทราย       นึกว่าคนตายมีในนั้น
บ้างยืนชะเง้อเขย่งยัน           บ้างเอาร่มรันกันก็มี
สีการ้องว่าอ้ายหน้าโสมม      มันจะเอาด้ามร่มตำของดี
บ้างเล่นซุกซนจับก้นป่นปี้      ครั้นถึงราตรีย่ำสองยาม
คนค่อยซาห่างบางกว่าเก่า     ถึงจะบางเบาก็ยังล้นหลาม
ตั้งใจอุตส่าห์พยายาม           ยืนล้อมสนามประตูพัง
ครั้นถึงเวลาเกือบเจ็ดทุ่ม       คนยังประชุมอยู่สะพรั่ง
ทันทีทันใดก็ได้ฟัง               กุลีบอกดังว่าเจอแล้วขา
คนคอยดูนั้นสำคัญหมาย       ว่าเจอะคนตายแน่แล้วหนา
จึงร้องถามไปมิได้ช้า            ว่าอะไรจ๋าเจออะไร...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 11, 09:01
ตะเกียงวอชิงตัน จุดกันสว่างไสว คือแบบนี้

ที่มา http://www.thailantern.com/main/boards/lofiversion/index.php/t510.html


"โคมวอชิงตัน" เป็นอย่างไร http://www.reurnthai.com/index.php?topic=657.0  ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 10:04
ฝ่ายพวกกุลีมารายงาน     ว่าหมวกทหารเจอหนึ่งใบ
แต่เจ้าของหมวกไม่รู้ไปไหน   หรือดำดินไปใต้บาดาล
อย่าเพ่อดูหมิ่นดำดินทราย    เขาก็เป็นชายชาติทหาร
ทิ้งหมวกไว้ให้เป็นพยาน      แล้วหนีบันดาลดำดินไป
เหมือนโทเฮงสูนเรื่องห้องสิน    เขายังดำดินไปได้
เรื่องหมวกไม่รู้ของผู้ใด      ฉันสืบไม่ได้ต้องยอมจน
คนที่คอยดูอยู่จนรุ่ง           สู้ทนให้ยุงมันกัดป่น
ไม่พบคนตายเลยสักคน      จนแสงสุริยนส่องนภา
กุลีขนอิฐยังไม่หมด           แต่ครบกำหนดตามสัญญา
ครั้นรุ่งสางสว่างจ้า            กุลีถ้วนหน้าหยุดงานพลัน
เมื่อแรกรับจ้างต้องเซ็นชื่อ     หรือลงลายมือเป็นสำคัญ
ครั้นถึงรุ่งเช้าเอารางวัล       บาทหนึ่งเท่ากันทุกคนไป
โรงพักถนนพาหุรัด            เป็นที่จ่ายจัดค่าจ้างให้
กรมกองตระเวนไม่เกณฑ์ใคร   คิดค่าจ้างให้ทั่วทุกคน
กุลีพวกก่อนอดนอนเพลีย      ต้องหยุดพักเสียไม่รื้อขน
จ้างกุลีใหม่อีกหลายคน        ให้ขุดรื้อขนต่อไปนา
ขนอีกสองวันจึงสำเร็จ         รวมกุลีเสร็จหกสิบห้า
จ้างคนละบาทไม่ขาดราคา    ไม่หย่อนไม่กว่าร้อยสตางค์...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 10:13
ยังไม่หมดเรื่องประตูพัง        ขอกล่าวแต่ครั้งเมื่อแรกสร้าง
ฉันจะแก้ไขให้กระจ่าง           ประตูนี้สร้างสามครั้งครา
ครั้งแรกรัชกาลที่หนึ่งชัด        ครั้งที่สองรัชกาลที่ห้า
ถึงครั้งที่สามตามอัตรา          รัชกาลที่ห้าอีกเหมือนกัน
ถึงรัชกาลที่หกนี้                  ประตูพังหมดที่สะพานหัน
จึงพังทลายกระจายลั่น          นี่กล่าวสั้นๆ ไม่พิสดาร
ถ้าท่านผู้ฟังยังไม่แจ้ง           ฉันจะแสดงให้วิตถาร
ท่านที่ไม่ชอบจะรำคาญ        ว่ากล่าวยาวยานจนเกินดี...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 10:14
เมื่อครั้งรัชกาลที่หนึ่งหนา      เสวยราชย์มาได้สองปี
จะสร้างประตูพระบุรี             พร้อมกำแพงมีรอบนคร
แต่ประตูยอดครั้งก่อนใช้       ยอดทำด้วยไม้สูงสลอน
ทำช่องกุดบ้างเป็นตอนๆ       จนรอบนครแต่เดิมมา
ส่วนประตูที่สะพานหัน          ทำครั้งแรกนั้นช่องกุดหนา
ลงมือศกสองถึงศกห้า         จึงแล้วเสร็จว่าแต่ตั้งแผ่นดิน...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 10:18
ถึงรัชกาลที่สามชัด        ประตูด้านวัดพรหมสุรินทร์
ยอดไม้ผุพังกระทั่งดิน     ทับคนตายดิ้นกลางมรรคา
จึงรื้อประตูยอดทั่วหมด    ทำซุ้มอิฐลดต่ำลงมา
เรียกว่าหอรบมีหลังคา     เผื่อข้าศึกมาได้ป้องกัน
แต่ช่องกุดที่มีประตู        ยังคงเดิมอยู่ไม่แปรผัน...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 11, 10:40
ประตูด้านวัดพรหมสุรินทร์ คือ ประตูยอดบริเวณป้อมมหากาฬ เป็นประตูยอดที่ออกไปวัดพรหมสุรินทร์ ซึ่งพงศาวดากล่าวไว้ว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้สร้างไว้และเมื่อท่านได้สิ้นชีพลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาวัดต่อและโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดปรินายก" 

ประตูนี้ยังออกไปยังสนามควายอีกด้วย จึงเรียกว่า "ประตูไปออกสนามคอกควาย" และในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีรถเจ๊กจอดคอยท่ามากมาย ใครใคร่สัญจรก็จ้างว่า "ไปประตูวัดปรินายก" ได้เลยราคาไม่กี่อัฐเท่านั้นเอง

และวัดปรินายกแต่ก่อนมีพื้นที่วัดกว้างมาก แต่ภายหลังโดนถนนราชดำเนินในตัดผ่านไปเกือบครึ่ง จึงเห็นอยู่เพียงแค่ปัจจุบัน


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 10:43
ถึงรัชกาลที่ห้านั้น          ท่านทรงจัดสรรการแผ่นดิน
ศกเก้าสิบหกพระทูลเกล้า   โปรดให้เจ้าพระยามหินทร์
เปลี่ยนแปลงประตูพระบุริน  แต่ไม่ทั่วสิ้นทั้งบุรี
รื้อซุ้มหอรบที่มีอยู่         ทำเป็นประตูยอดสูงดี
ประตูตัดสั้นนั้นก็มี          ท่านทำท่วงทีดูโสภณ
แต่ประตูที่สะพานหัน      เมื่อคราวครั้งนั้นแปลงอีกหน
เป็นประตูตัดดาดฟ้าบน    ดูเหมือนจะทนทำแข็งแรง
ถึงศกร้อยปีมีสมโภช       โขนเขนเต้นโลดงิ้วตุ้งแชง
พระสงฆ์สวดมนต์รอบกำแพง   เลี้ยงข้าวเลี้ยงแกงสนุกครัน
ครั้นมาถึงศกร้อยเจ็ดปี       แปลงประตุที่สะพานหัน
เป็นประตูยอดตั้งแต่นั้น      มิได้แปรผันอีกเลยนา
ครั้นถึงศกร้อยสามสิบเอ็ด   ประตูเสด็จพังลงมา
เพราะเก่าชะแรแก่ชรา        ขอยุติกาจบกันที...นั้นแหล่........

แหล่เรื่องประตูสะพานหันพัง เป็นเครื่องเล่นมหาชาติกัณฑ์มหาพน
แหล่ตั้งแต่วันที่ ๙ กันยายน  ๒๕๕๔  มาจบลงในวันนี้
สาธุชนคนใดที่ติดตามฟัง/อ่านแหล่นี้มาอย่างสนใจ (และไม่เหน็บแนม)
ขอให้อานิสงส์โดยทั่วกัน อิอิ..


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 11, 11:02
แสดงว่า ก่อน ร.ศ. ๑๐๐ เป็นประตูยอดตัด และ ร.ศ. ๑๐๗ ทำเป็นประตูยอด และพังลงใน ร.ศ. ๑๓๑

+++

ไม่ได้เหน็บแนบ แต่ให้ "ไส้กรอกปลาแนม" ติดกัณฑ์เทศน์ไว้  :P


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 11, 11:05
สาธุชนหลั่งไหลกันมา ถวายกัณฑ์เทศน์ พร้อมทั้งรอฟังแหล่เรื่องต่อไปค่ะ... ;D


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 11, 11:18
.. 8)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 11:32
แสดงว่า ก่อน ร.ศ. ๑๐๐ เป็นประตูยอดตัด และ ร.ศ. ๑๐๗ ทำเป็นประตูยอด และพังลงใน ร.ศ. ๑๓๑

+++

ไม่ได้เหน็บแนบ แต่ให้ "ไส้กรอกปลาแนม" ติดกัณฑ์เทศน์ไว้  :P

แซ่บสิครับอย่างนี้  อนุโมทนาบุญแก่ออกขุนสยามไว้ด้วย
แหล่นี้เล่าประวัติประตูสะพานหันได้ดียิ่ง  ยังไม่เคยได้อ่านจากแหล่งอื่นเลย
อ้อ  ไม่ต้องปิดทองคำเปลวหรอกครับ  เดี๋ยวจะมีคนหมั่นไส้

ส่วนสาธุชนที่ใคร่ฟังแหล่อีก  คงต้องรอโอกาสหน้าล่ะครับ
เพราะต้องแหล่ตามเนื้อเรื่องกระทู้  แหล่พร่ำเพรื่อเรี่ยราดไม่ได้
เดี๋ยวราคาจะตกได้


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 15:36
หมายรับสั่ง  เรื่อง  ยกประตูพระบรมมหาราชวัง  จุลศักราช  ๑๑๔๔

วัน ๕  ขึ้น ๗ ค่ำ  เดือน ๒  จุลศักราช  ๑๑๔๔  ฤกษ์ยกประตูซึ่งมีมณฑป
พระราชวัง ๔ ด้าน  เป็นประตูด้านริมน้ำตะวันตก  ๕  สะกัดเหนือ  ๔ 
ตะวันออกใต้  ๔   ใต้  ๔   รวม  ๑๗  ประตู


ประตูด้านริมน้ำ  นับใต้ไปเหนือ

ประตูดิน  ที่ ๑  กรมตำรวจใหญ่ซ้าย  พระพิเรนทรเทพ ทำ   อนงคลีลา  ๑

ประตูฉนวน  กรมตำรวจใหญ่ขวา  พระพิเรนทรเทพ ที่ ๒   ยาตรากษัตรี  ๑

ประตูที่ ๓  พระอินทราทิตย์  กรมสนมซ้าย  ทำ    ศรีสุนทรทวาร  ๑

ประตูที่ ๔  กรมตำรวจนอกซ้าย  หลวงอินทรเดชะ  ทำ   ไพศาลสมบัติ  ๑

ประตูที่ ๕  กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง  พระพิพิธเดชะ  ทำ   รัตนพิศาล  ๑

รวม  ๕  ประตู


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 15:57
ประตูด้านสะกัดเหนือน้ำ  นับแต่ตะวันตกไปตะวันออก

ประตูมุมข้างเหนือที่ ๑  ทวารเทเวศร  ๑
ประตูถัดมาที่ ๒  วิเศษไชยศรี  ๑  รวม  ๒  ประตู
หลวงรักษมณเฑียร  ข้าหลวงกรมพระราชวังบวร ทำ

ประตูที่ ๓  มณีนพรัตน  ๑
ประตูที่ ๔  สวัสดิโสภา  ๑  รวม ๒  ประตู
หลวงบำเรอภักดิ์  ข้าหลวงกรมพระราชวังบวร  ทำ



ประตูด้านตะวันออก  นับข้างเหนือลงไปใต้น้ำ

ประตูด้านตะวันออกที่ ๑  นับลงไปข้างใต้  พระรามพิไชย  กรมล้อมวังซ้าย  ทำ  เทวาพิทักษ์ ๑

ประตูที่ ๒  ลงไป  พระพิเดชสงคราม  กรมล้อมวังขวา  ทำ  ศักดิ์ไชยสิทธิ์  ๑

ประตูที่ ๓ ลงไป  พระเสนานนท์  กรมอาสาวิเศษขวา  ทำ  วิจิตรบรรจง  ๑

ประตูที่ ๔ ลงไป  พระอินทราทิตย์  กรมสนมขวา  ทำ  อลงการ์รัตน์  ๑    รวม  ๔ ประตู


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 16:05
ประตูด้านสะกัดใต้น้ำ  นับแต่ตะวันออกมาตะวันตก

ประตูด้านใต้ที่ ๑  หมื่นอัคเนศร  หมื่นศรสำแดง  กรมเกณฑ์หัด  ทำ  สวัสดิสัญจร  ๑

ประตูที่ ๒  หลวงสุริยภักดี  กรมสนมซ้าย  ทำ  สุนทรทิศา  ๑

ประตูที่ ๓  ริมศรีสำราญ  หลวงพรหมบริรักษ์  กรมสนมขวา  ทำ  เทวาภิรม  ๑

ประตูที่  ๔  หมื่นจงใจรักษ์  กรมทหารในขวา  ทำ  อุดมสุดารักษ์  ๑  รวม  ๔  ประตู


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 11, 16:16
วัน ๒  แรม ๖ ค่ำ  เดือน ๒  จุลศักราช  ๑๑๔๔  ปีขาลจัตวาศก
เพลาเช้าโมง ๑  บาท ๑   ฤกษ์ยกประตูมีมณฑป  พระราชวังชั้นใน  ๓ ด้าน
ด้านสะกัดเหนือ  ๕    ตะวันออก  ๒  ใต้  ๓   รวม  ๑๐  ประตู  ในนี้

ประตูด้านสะกัดเหนือ  นับตะวันตกไปตะวันออก

ประตูที่ ๑  เป็นสองชั้น  ชั้นนอก  กรมกระลาโหม  ๑  ทำ 
ชั้นใน  พระมหามนตรี ๑  ทำ   สุบรรณบริบาล  ๒

ประตูที่ ๒  เป็นสองชั้น  ชั้นนอก  กรมมหาดไทย  ๑  ทำ
ชั้นใน  พระมหาเทพ  ๑  ทำ  พิมานไชยศรี  ๒

ประตูที่ ๓  หลวงภูเบนทรสิงหนาท ๑  หลวงนเรนทรชาติสังหาร  ๑  ทำ  ดุสดีศาสดา ๑


ประตูด้านตะวันออก  นับเหนือลงไปใต้
ขุนสุเรนทรวิชิต ๑  ขุนอภัยเสนา ๑  ทำ ที่ ๑  อินทรลีลาศ
หลวงราชโยธาเทพ ๑  ทำ ที่ ๒  ราชสำราญ     รวม  ๒ ประตู


ประตูด้านใต้  นับตะวันออกไปตะวันตก
พระราชวรินทร์  ทำ ที่ ๑  อีสาณทักษิณ  ๑
ชาวเครื่องพระอภิรมย์ราชยาน  ทำ ที่ ๒  วารินขณรา ๑
ขุนภักดีอาษา ๑  ขุนโยธาภักดี ๑  ทำ  ที่ ๓  กัลยาวดี  ๑   รวม  ๓  ประตู ฯฯ...


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 11, 21:47
จิตรกรรมฝาผนังวัดดุสิต มีอยู่ประตูหนึ่งที่เป็นลักษณะประตูยอดแหลม เสาไม้


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 ก.ย. 11, 08:19
ฝ่ายพวกกุลีมารายงาน     ว่าหมวกทหารเจอหนึ่งใบ
แต่เจ้าของหมวกไม่รู้ไปไหน   หรือดำดินไปใต้บาดาล
อย่าเพ่อดูหมิ่นดำดินทราย    เขาก็เป็นชายชาติทหาร
ทิ้งหมวกไว้ให้เป็นพยาน      แล้วหนีบันดาลดำดินไป
เหมือน "โทเฮงสูน" เรื่องห้องสิน    เขายังดำดินไปได้
เรื่องหมวกไม่รู้ของผู้ใด      ฉันสืบไม่ได้ต้องยอมจน
คนที่คอยดูอยู่จนรุ่ง           สู้ทนให้ยุงมันกัดป่น
ไม่พบคนตายเลยสักคน      จนแสงสุริยนส่องนภา
กุลีขนอิฐยังไม่หมด           แต่ครบกำหนดตามสัญญา
ครั้นรุ่งสางสว่างจ้า            กุลีถ้วนหน้าหยุดงานพลัน
เมื่อแรกรับจ้างต้องเซ็นชื่อ     หรือลงลายมือเป็นสำคัญ
ครั้นถึงรุ่งเช้าเอารางวัล       บาทหนึ่งเท่ากันทุกคนไป
โรงพักถนนพาหุรัด            เป็นที่จ่ายจัดค่าจ้างให้
กรมกองตระเวนไม่เกณฑ์ใคร   คิดค่าจ้างให้ทั่วทุกคน
กุลีพวกก่อนอดนอนเพลีย      ต้องหยุดพักเสียไม่รื้อขน
จ้างกุลีใหม่อีกหลายคน        ให้ขุดรื้อขนต่อไปนา
ขนอีกสองวันจึงสำเร็จ         รวมกุลีเสร็จหกสิบห้า
จ้างคนละบาทไม่ขาดราคา    ไม่หย่อนไม่กว่าร้อยสตางค์...


โทเฮงสูน ในเรื่องห้องสิน  เป็นใคร มีบทบาทอย่างไร
ใครทราบโปรดอธิบายให้ฟังหน่อย  จักเป็นพระคุณยิ่ง

รถที่สำหรับรับคนป่วย       ก็เอามาด้วยเตรียมไว้หนา
กรมกองตระเวนเกณฑ์เอามา   สำรองเผื่อว่ามีอันตราย
คนยิ่งแน่นอัดยัดเยียดกัน    ต่างคนต่างดันกันเกือบล้มหงาย
ตั้งใจมาดูผู้คนตาย           แต่ไม่สมหมายดังจินดา
หมายว่าประตูพังทับคน      จึงได้สู้ทนเบียดเข้ามา
ที่ยังเป็นสาวคราวโสภา      เห็นจะเสียท่าไปหลายคน
พวกรุ่นหนุ่มรุมกันจ้อง       เกือบ "มั้ว" "กินช่อง" กลางถนน
แต่เครื่องภายนอกหยอกกันป่น   เพราะกำลังคนชุลมุน
ที่ปลายถนนพาหุรัด          คนเบียดเยียดยัดกันออกวุ่น
หญิงคนหนึ่งถูกพระพิรุณ     พี่เจ๊กแกดุนผ้าเปรอะไป
เหลียวหลังมาว่าอ้ายตายโหง   มันมาตะโพงหลังกูได้
เพื่อนกันห้ามว่าอย่าอึงไป      ขายหน้าใครๆ เขาแลดู
เราเป็นผู้หญิงนิ่งดีกว่า        ขืนทำปากกล้าจะอดสู
เลยเลี่ยงหลบไปไกลประตู    ถ้าแม้นขืนอยู่ชื่อคงดัง
บ้างว่าถูกคนล้วงกระเป๋า      บ้างถูกเหยียบเท้าด้วยเกือกหนัง
พลตระเวนห้ามก็ไม่ฟัง       ขืนดันทุรังเบียดเข้าไป
ฝรั่งที่อยู่โรงไฟฟ้า            กับคนงานมาจัดแก้ไข
เอาเชือกโยงเสาเข้าทันใด    กลัวล้มลงไปจะเสียที...

คำว่า  มั้ว  กินช่อง  มีความหมายว่าอะไร   ใครก้ได้ช่วยอธิบายหน่อย
จักเป็นพระคุณยิ่งนักแล


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 11, 09:05
มั้ว กับ กินช่อง เป็นภาษาทางการพนันหรือเปล่าคุณหลวง  ???

คิดได้ว่า กินช่อง คงจะหมายถึงการพนันแบบหนึ่งอย่างกำถั่ว เล่นโป โดยแทงวางเงิน (เบี้ยหอย) ไปที่แผ่นไม้กระดานซึ่งทำเป็นเครื่องหมายบวกไว้ เกิด ๔ ช่องให้เลือกแทงได้ตามสบาย โดยช่องที่ว่าเรียกว่า ประตู คือมี ๔ ประตูให้เลือกเล่น ซึ่งคงจะหมายถึง กินช่องได้เงินพนันว่ามีผู้ใดตายหรือไม่ตายในกองอิฐนั้น


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 20 ก.ย. 11, 10:01
ฝ่ายพวกกุลีมารายงาน     ว่าหมวกทหารเจอหนึ่งใบ
แต่เจ้าของหมวกไม่รู้ไปไหน   หรือดำดินไปใต้บาดาล
อย่าเพ่อดูหมิ่นดำดินทราย    เขาก็เป็นชายชาติทหาร
ทิ้งหมวกไว้ให้เป็นพยาน      แล้วหนีบันดาลดำดินไป
เหมือน "โทเฮงสูน" เรื่องห้องสิน    เขายังดำดินไปได้
เรื่องหมวกไม่รู้ของผู้ใด      ฉันสืบไม่ได้ต้องยอมจน
คนที่คอยดูอยู่จนรุ่ง           สู้ทนให้ยุงมันกัดป่น
ไม่พบคนตายเลยสักคน      จนแสงสุริยนส่องนภา
กุลีขนอิฐยังไม่หมด           แต่ครบกำหนดตามสัญญา
ครั้นรุ่งสางสว่างจ้า            กุลีถ้วนหน้าหยุดงานพลัน
เมื่อแรกรับจ้างต้องเซ็นชื่อ     หรือลงลายมือเป็นสำคัญ
ครั้นถึงรุ่งเช้าเอารางวัล       บาทหนึ่งเท่ากันทุกคนไป
โรงพักถนนพาหุรัด            เป็นที่จ่ายจัดค่าจ้างให้
กรมกองตระเวนไม่เกณฑ์ใคร   คิดค่าจ้างให้ทั่วทุกคน
กุลีพวกก่อนอดนอนเพลีย      ต้องหยุดพักเสียไม่รื้อขน
จ้างกุลีใหม่อีกหลายคน        ให้ขุดรื้อขนต่อไปนา
ขนอีกสองวันจึงสำเร็จ         รวมกุลีเสร็จหกสิบห้า
จ้างคนละบาทไม่ขาดราคา    ไม่หย่อนไม่กว่าร้อยสตางค์...


โทเฮงสูน ในเรื่องห้องสิน  เป็นใคร มีบทบาทอย่างไร
ใครทราบโปรดอธิบายให้ฟังหน่อย  จักเป็นพระคุณยิ่ง


โทเฮงสูน หรือ ถู่อิ๋วซุน  เป็นศิษย์ของกีลิวสุน แห่งเทืองเขาเหลียงซาน มีภรรยาชื่อ นางเตงตันหยก
ลักษณะคือ รูปร่างเตี้ย สูงเพียงสองศอกคืบ ผิวดำ อาวุธที่ใช้คือง้าวกระบองเหล็ก มีพาหนะคือกิเลน
ความสามารถพิเศษ ดำดินได้ไกลวันละสองหมื่นห้าพันเศษ

ตอนแรกรับราชการเป็นขุนพลนายทหารของพระเจ้าโจ้วหวาง แต่ภายหลังเข้าสวามิภักดิ์กับฝ่ายของพระเจ้าโจวอู่หยาง
ที่มีเจียงจื่อหยางเป็นแม่ทัพใหญ่

ต่อมาในการรบที่ด่านเสงตี้กวน ก็ถูกเตียวแก๋นายด่าน ผู้มีวิชาดำดินเช่นกัน ฆ่าแล้วตัดศีรษะเสียบประจานที่หน้าด่าน
พระเจ้าโจวอู่หยาง ทรงประกอบพำธีบวงสรวงปูนบำเหน็จหลังสงครามเสร็จสิ้น
โดยให้โทเฮงสูน เป็นดาวโทฮู้แช หรือดาววังดิน


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 24 ก.พ. 13, 06:46
ทางเข้าไปยังประตูสะพานหัน ผู้คนมากมายต่างพากันมาดูประตูพัง ราว ๒ ทุ่มกว่า (จะเห็นอะไรดีคุณหลวง มืดซะกระนั้น  ???)

ไม่เคยคิดข้อข้องใจแต่อย่างใด จนกระทั่งเพิ่งสังเกตเห็นว่า ทั้งสองภาพที่กล่าวว่าประตูสะพานหัน ประตูเดียวกัน แต่ทำไมเครื่องยอดประตูไม่เหมือนกัน

แน่นอนว่าภาพทั้งสองถ่ายต่างปีกัน?



กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 11 ก.ย. 15, 04:55
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16626;image)
แนวกำแพงพระนครและประตูพระนครนั้น อาศัยจับทิศการวางรางรถรางแล้วพบว่า
๑. ตัวราง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับกำแพงพระนคร ซึ่งผมก็รีบลงไปดูในแผนที่รถราง พบว่า เส้นทางเดินของรถราง
    ในพระนครจะอยู่ชิดกับแนวกำแพงเสมอ ยกเว้นมีอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่วางรางตรงข้ามกับกำแพง และมีประตู
    พระนครตั้งอยู่ด้วย ซึ่งก็คือ "ตั้งแต่หัวมุมโรงเรียนราชินี - ประตูศรีสุดาวงศ์" เท่านั้น

๒. เมื่อทราบตำแหน่งแล้วก็เจาะไปยังแผนที่วัดโพธิ์ฯ พบว่าแนวรถรางหน้าภาพ มีการหักมุมเล็กน้อย และมีกำแพงตั้งตรง
     กันกับแนวหักพอดีจึงได้กำหนดซึ่งน่าจะเป็นตรงนี้ ด้วยมีประตูเมือง (ตรงกับเขตสังฆาวาส) เหนือประตูจะเป็นที่ตั้ง
     ของป้อมมหายักษ์ ท้ายวัดโพธิ์

๓. อีกจุดหนึ่งซึ่งยืนยันความถูกต้องของภาพคือ จุดวงกลม ๒ จุดอยู่เยื้องกัน ในแผนที่มีจุดวงกลม อยู่พอสังเกตได้ว่า
     เป็นตำแหน่งของ "หัวก๊อกประปา" ซึ่งก็มีอยุ่ในภาพ และมีอยู่ในแผนที่

สรุปว่า ภาพที่ผมลงให้เห็น เป็นภาพถนนมหาราช รถรางวิ่งผ่านท้ายวัดโพธิ์ ช่วงเขตสังฆาวาส ครับ

เยี่ยมครับ

ฉะนั้น ภาพตึกที่ขวางถนนอยู่ข้างหน้าคือ สถานที่แห่งใด

ดังนี้แล้ว อาคารมีหลังคาคลุมนี้ ควรจะเป็นป้อมมหาฤกษ์ อยู่ตรงโรงเรียนราชินี ในปัจจุบันครับ แต่ด้วยพื้นขาว เลยทำให้ความขาวกลืนเป็นพื้นหลังไปหมด ไม่เห็นรายละเอียดใบเสมาครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16609;image)

ขอขุดกระทู้ขึ้นมาถามนะครับ...

ทำไมรางจึงพุ่งตรงเข้าหาป้อมมหาฤกษ์ // กลายเป็นว่าตัวป้อม”หลบใน”เข้ามาในแนวกำแพง // ลองค้นดูแผนที่กูเกิล  พบว่ามีพื้นที่ว่างติดกับรร.ราชินี  พอดิบพอดีที่จะเคยมีป้อมได้หลังหนึ่ง  ไม่ทราบว่าบังเอิญหรือไม่?

6เหลี่ยม=ป้อมมหายักษ์ // วงกลม=ป้อมมหาฤกษ์ (ผมเดา) // 5เหลี่ยม=ป้อมผีเสื้อ (ผมเดาอีกเหมือนกัน) // ตำแหน่งป้อมที่ผมเดาไปนี้  เข้าเค้าบ้างไหมครับ?


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 15, 08:17
ป้อมรอบกรุงเทพมหานครชั้นใน ต้องอยู่แนวกำแพงพระนครเท่านั้นครับ แนบแผนที่ลักษณะโครงสร้างของ
ป้อมมหายักษ์ หน้าวัดพระเชตุพน

ป้อมมาฤกษ์ สร้างตรงพื้นที่ปากคลองตลาด ป้อมนี้จึงมีความใหญ่ยื่นออกมาสวยงาม ชานป้อมด้านหน้ากลายเป็นพื้นที่ของโรงเรียนราชินี ในปัจจุบันนี้

ป้อมผีเสื้อ ป้อมรักษาท้องน้ำเจ้าพระยาหันหน้าออกแม่น้ำ เป็นป้อมขนาดเล็กยื่นออกจากกำแพงนิเดียว


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 15, 15:30
ภาพป้อมถนนจักรเพชร


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 11 ก.ย. 15, 16:58
ขอบคุณสำหรับรูปลายเส้นของป้อมทั้ง4
ป้อมผีเสื้อ คงจะอยู่สุดปลายถนนบ้านหม้อ ทับอยู่บนถนนตัดใหม่ที่ทอดไปลงเจ้าพระยา
ป้อมมหาฤกษ์ นี่ได้อาคารสุนันทาลัยช่วยชี้ทาง
ป้อมจักรเพชร โดนถนนทับไปบางส่วน และเป็นเกาะกลาง/ไหล่ทางบางส่วน // ถ้ายังมีฐานรากป้อมหลงเหลืออยู่บ้าง น่าจะขุดแต่งแล้วทำกล่องกระจกครอบไว้ (รูปประกอบ เป็นถนนสมัยใหม่ที่ซ้อนทับอยู่บนถนนโบราณ ในเมืองกวางโจว)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 ก.ย. 15, 16:17

พื้นที่ตรงนี้น่าสนใจมากครับ
ซ้อนทับกับป้อมใหม่เมืองบางกอก ปลายสมัยพระนารายณ์


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 15, 16:30

พื้นที่ตรงนี้น่าสนใจมากครับ
ซ้อนทับกับป้อมใหม่เมืองบางกอก ปลายสมัยพระนารายณ์



ป้อมบางกอกนั้น สร้างด้วยอิฐบางส่วน นอกนั้นเป็นระเนียดไม้ ตอนเริ่มสร้างกรุงธนบุรีป้อมร้าง อิฐถูกรื้อมาใช้งาน


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 ก.ย. 15, 18:33

ป้อมร้างแต่พื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณนั้นเกือบทั้งหมดครับ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 25 ก.ย. 15, 04:21
รูปถ่ายทางอากาศ 17-10-2472 // ตรงลูกศรชี้  ใช่ประตูนกยูงหรือไม่ครับ  เพราะว่าตรงกับซอยนกยูงในปัจจุบันพอดี

อดีต....หมู่ตึกบ้านหม้อ (ในกรอบสีเหลี่ยมเอวคอด) "บันแถลง"ยังอยู่ครบหมด  งดงามจริง  
ปัจจุบัน..น่าเสียดาย :'(


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 25 ก.ย. 15, 04:32
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4197.0;attach=16609;image)
ดังนั้นประตูที่เห็นเพียงครึ่งล่าง  ก็คือประตูนกยูง (ถ้ารูปถ่ายทางอากาศ 17-10-2472  ผมกล่าวถูก)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.ย. 15, 10:01
รูปถ่ายทางอากาศ 17-10-2472 // ตรงลูกศรชี้  ใช่ประตูนกยูงหรือไม่ครับ  เพราะว่าตรงกับซอยนกยูงในปัจจุบันพอดี

อดีต....หมู่ตึกบ้านหม้อ (ในกรอบสีเหลี่ยมเอวคอด) "บันแถลง"ยังอยู่ครบหมด  งดงามจริง  
ปัจจุบัน..น่าเสียดาย :'(

ประตูนี้แหละคือประตูที่เรียกกันว่า ประตูนกยูง เพราะแต่เดิมมีศาลาไตรมุขยอดนกยูงและฉนวนน้ำวัดพระเชตุพนตั้งอยู่


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 15, 10:10
รูปถ่ายทางอากาศ 17-10-2472

ด้วยอภินันทนาการจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (http://www.finearts.go.th/nat/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C/item/%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%93.html)

(http://www.finearts.go.th/nat/images/59/nat/18.jpg)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 25 ก.ย. 15, 14:22
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพู สำหรับแหล่งที่มาของรูปถ่ายทางอากาศ
ขอบคุณคุณsiamese  ประเดี๋ยวผมจะไปแก้ในหนังสือที่ซื้อมา  ทั้งเรื่อง "เสาธงป้อมผีเสื้อ" และ "ประตูท่าเตียน"ที่ระบุผิดเป็นประตูนกยูง


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 26 ก.ย. 15, 16:08
ในสมัยโบราณ  ถ.มหาราช ช่วงที่ผ่านพระบรมมหาราชวัง  ฝั่งหนึ่งเป็นกำแพงวัง  อีกฝั่งเป็นกำแพงพระนคร
ทิวทัศน์ของถนนช่วงนี้คงดูทมึนขึงขัง  ทำให้จินตนาการถึงกำแพงแดงในพระราชวังปักกิ่ง
(http://images.mybeijingchina.com/attraction/beijing/the-forbidden-city/the-forbidden-city-163.jpg)



ถ.เชตุพน...ซ้ายสุดของรูป  ที่เห็นประตูเมืองโผล่มาเสี้ยวหนึ่ง  ก็ต้องเป็นประตูนกยูงเป็นแน่


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 ก.ย. 15, 19:25
ในสมัยโบราณ  ถ.มหาราช ช่วงที่ผ่านพระบรมมหาราชวัง  ฝั่งหนึ่งเป็นกำแพงวัง  อีกฝั่งเป็นกำแพงพระนคร
ทิวทัศน์ของถนนช่วงนี้คงดูทมึนขึงขัง  ทำให้จินตนาการถึงกำแพงแดงในพระราชวังปักกิ่ง



ถ.เชตุพน...ซ้ายสุดของรูป  ที่เห็นประตูเมืองโผล่มาเสี้ยวหนึ่ง  ก็ต้องเป็นประตูนกยูงเป็นแน่

ถนนมหาราชช่วงผ่านพระบรมมหาราชวังประกอบไปด้วยกำแพงเมือง และกำแพงพระบรมมหาราชวัง ถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในรั้วเขตกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีการสร้างอาคารบังไว้ มีถนน มีตลาดครับ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 27 ก.ย. 15, 02:16
แหะ แหะ จินตนาการพลาด


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.ย. 15, 09:47
.


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.ย. 15, 10:07
.


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 28 ก.ย. 15, 01:58
จากรูปถ่ายทางอากาศ  แนวกำแพงพระบรมมหาราชวังต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกันกับแนวกำแพงเมืองย่านท่าเตียน (ที่ถูกทุบทิ้งแล้ว)
และผมได้พลิกไปดูรูปถ่ายของทอมสัน  ก็ได้เห็นแนวกำแพงงอกออกมาจากป้อมภูผาสุทัศน์ (ป้อมตรงมุมถนนท้ายวัง)


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ย. 15, 13:10

และผมได้พลิกไปดูรูปถ่ายของทอมสัน  ก็ได้เห็นแนวกำแพงงอกออกมาจากป้อมภูผาสุทัศน์ (ป้อมตรงมุมถนนท้ายวัง)


งอกยังไงหรอครับ ? :o :o


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 29 ก.ย. 15, 15:27
ผมเห็นแนวกำแพงพระนครต่อออกมาจากป้อมภูผาสุทัศน์ตามลูกศรสีฟ้า
ที่จริงก็ไม่ค่อยเต็มตาเท่าไร  เพราะตรงจุดเชื่อมต่อกับป้อม มีต้นไม้ กับ อาคารที่ยังไม่มีหลังคา บดบังอยู่ // เห็นใบเสมาโผล่มาหน่อยนึง
ขอคำชี้แนะด้วยครับ


กระทู้: ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ย. 15, 16:39
ผมเห็นแนวกำแพงพระนครต่อออกมาจากป้อมภูผาสุทัศน์ตามลูกศรสีฟ้า
ที่จริงก็ไม่ค่อยเต็มตาเท่าไร  เพราะตรงจุดเชื่อมต่อกับป้อม มีต้นไม้ กับ อาคารที่ยังไม่มีหลังคา บดบังอยู่ // เห็นใบเสมาโผล่มาหน่อยนึง
ขอคำชี้แนะด้วยครับ

กำแพงชนป้อมครับ และป้อมแนวเดียวกับกำแพงเมืองครับ ไม่ได้ยื่นโผล่ออกมาแต่ประการใดครับ