เรือนไทย

General Category => วิเสทนิยม => ข้อความที่เริ่มโดย: CrazyHOrse ที่ 08 ม.ค. 10, 17:18



กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 08 ม.ค. 10, 17:18
ผมเคยพูดถึงอาจาดไว้ในกระทู้ คำให้การของจีนกั๊กเรื่องเที่ยวเมืองบาหลี (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2827.msg53083#msg53083) ว่าคำว่าอาจาดนี้มาจากคำ ชวา-มลายู ว่า อาจารฺ

เหตุด้วยว่าครั้งหนึ่งผมไปที่บาหลี และเจอ "อาจาด" อย่างเดียวกับของเรา เสิร์ฟแนมมากับอาหารท้องถิ่นของเขาด้วย สอบถามคนท้องถิ่นได้ความว่าออกเสียงว่า อาจารฺ พิจารณารูปคำแล้ว ไม่เห็นว่าเป็นคำไทยได้ จึงคิดว่าทางชวา-มลายูน่าจะเป็นต้นตอของเรา

ไม่นานมานี้ได้ไปกินอาหารอินเดีย เห็นเขาเสิร์ฟผักสดฝานเป็นเครื่องแนมมาให้ ก็คล้ายๆอย่างที่บ้านเรามีแตงกวา มะเขือเทศ มาให้นั่นแหละครับ ต่างกันตรงที่มีหอมฝานมาให้ด้วย เอะใจขึ้นมาก็เลยถามบริกรชาวอินเดียว่าไอ้อย่างนี้เรียกว่าอะไร?

คำตอบที่ได้คือ "สลัด" เล่นเอาผมเสียกำลังใจไปนิดหน่อย แต่ยังไม่ละความพยายาม ถามต่อว่า แล้ว "อาจารฺ" น่ะมีไหม?

เขาชี้ถ้วยเล็กข้างๆให้ดู ผมถึงได้ถึงบางอ้อ... มันคือผักดองรสเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ หน้าตาคล้าย ๆ กิมจิที่เสิร์ฟมากับอาหารอินเดียเป็นประจำนั่นเอง หน้าตาไม่คล้ายอย่างอาจารฺ หรืออาจาดของไทยกับชวามลายูเลย

เมื่อค้นข้อมูลเพิ่มเติมจึงได้ความว่าคำนี้ ภาษาฮินดีเขียนว่า อจารฺ (अचार) น่าคิดว่าอาจเป็นที่มาของคำว่าอาจาดของเราก็เป็นได้ครับ


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 08 ม.ค. 10, 23:11
ขอบคุณครับ คุณ CrazyHOrse

ผมไปค้นต่อได้ข้อมูลดังนี้ครับ


अचार acha:r (อจารฺ) (nm) pickles (ผักดอง)
ที่มา: Mahendra Caturvedi. A practical Hindi-English dictionary. Delhi: National Publishing House, 1970.
พจนานุกรมฮินดี-อังกฤษ: http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/caturvedi/

ในวิกิพีเดีย นิยามคำอังกฤษไว้ว่า Indian Pickle : http://en.wikipedia.org/wiki/Indian_pickle
ดูต่อจากลิงค์ต่อไปที่อื่น ทำให้ทราบว่า อาจาดแขกอินเดีย มีมากมายหลายชนิดจริงๆ  ;D แต่บ้านเราดูเหมือนจะใช้เรียกกับ ผักดองที่กินกับหมูสะเต๊ะ เท่านั้น

ในหมวดภาษาอื่น ระบุไว้ดังนี้ครับ
ภาษาอินโดนีเซีย เรียกว่า Acar คิดว่าตรงกับคำว่า "อาจาด" ของไทย
ภาษาอุรฺดู เรียกว่า  اچار (อจารฺ)
ภาษามลยาฬัม เรียกว่า അച്ചാര്‍ (อจฺจารฺ)
ภาษาทมิฬ เรียกว่า ஊறுகாய் (อุรุกายฺ) แต่ในพจนานุกรม Tamil เก็บคำว่า அச்சாறு (อจฺจารฺ) ไว้ด้วย โดยระบุว่า เป็นคำยืมมาจาก อุรฺดู
ภาษาเตลุคุ เรียกว่า  ఊరగాయ (อูรุคายฺ)

จากพจนานุกรมอื่นๆ
ภาษาเบงกาลี เรียกว่า আচার (อาจาร)
ภาษาปัศตู เรียกว่า آچار (อาจารฺ) เป็นคำยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย
ภาษากัษมีรี (แคชเมียร์ - กัษมีระ) เรียกว่า आँचार् (อางฺจารฺ)


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 08 ม.ค. 10, 23:31
ผมคิดว่า อาจารฺ (ผักดองแขก) เป็นอาหารของมุสลิมอินเดีย คำนี้จึงมีปรากฎอยู่ในภาษาฮินดูสถานี (ฮินดี - อุรฺดู) เป็นหลัก แม้แต่ภาษาเบงกาลี (บังกลาเทศ) แคชเมียร์ เปอร์เซีย ปัศตู ก็มีคำนี้ เพราะเป็นมุสลิมเหมือนกัน

อีกประการหนึ่ง สังเกตได้จากภาษาแถบอินเดียใต้ไม่มีคำนี้ ถ้ามีก็เป็นคำยืมมาจากภาษาฮินดูสถานี อีกทีหนึ่ง หรือ ภาษาอินเดียทางตะวันตกใกล้ๆ กัน เช่น ภาษามราฐี ก็เรียกผักดองด้วยคำอื่น

คำแขกว่า อาจารฺ นี้ น่าจะถูกมุสลิมมาเลย์-อินโดฯ ยืมมาใช้อีกทีครับ ทางไทยเราก็น่าจะยืมมาจากมุสลิมภาคใต้ของไทยอีกต่อหนึ่ง โดยผ่านทางอาหารที่เรียกว่า "หมูสะเต๊ะ"

การยืมคำฮินดูสถานี ผ่านภาษามาเลย์-อินโดฯ นี้ ทำให้ผมนึกถึงคำว่า "องุ่น" อีกคำหนึ่ง  8) 


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 09 ม.ค. 10, 12:24
ตอนโดนเนรเทศไปอยู่ในกลุ่มคนมุสลิม เขาเรียกของที่ทานเป็นเครื่องเคียงว่า อาจาด ครับผม ตอนอยู่ในกลุ่มฮินดู เขามี ลาซัม ซัมบ้า แต่บางครั้งก็ได้ยินคำว่า อาจาด บ้างเหมือนกันครับผม ตอนหนีออกจากสถานกักกันไปทานอาหารที่ร้านมุสลิม มีมาเสริฟแน่นอน ครับผม
มานิต


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 09 ม.ค. 10, 19:40
ถ้างั้นอาจาดของแขกมุสลิม โดยนัยคงหมายถึง เครื่องเคียง คือ ของกิน ที่ใช้กินเคียงคู่ประกอบกับอาหารจานหลัก ซึ่งโดยมากจะเป็นผัก หรือ ผลไม้ดอง ดังนั้น รูปแบบของอาหารจึงลักษณะที่เรียกว่า ผักดอง

ผมยังหาคำอาหรับไม่เจอว่า เค้ามีอาจารฺ หรือไม่ ถ้าไม่มี ก็แสดงว่า อาจารฺ เป็นอาหารแถบฮินดูสถาน-อิหร่าน

ผมไม่ค่อยรู้เรื่องวัฒนธรรมการกินแถบๆ นั้น เคยไปกินอาหารอินเดียสองสามครั้ง แต่ที่ผมกินคงเป็นอาหารของแถบอินเดียใต้ เพราะจำได้ว่ามีคำว่า มัททราส ในเมนู ซึ่งเผ็ดร้อน มากๆ (เหมือนทำถุงพริกไทยหกลงไป  ;D ) แต่ก็อร่อยดีครับ

เครื่องเคียงไม่มีเสริฟ (สงสัยอยู่ในเมนูออเดิฟ) หรือไม่ก็ร้านอาหารเค้าประหยัดงบ  ??? (ผมทานที่เมืองอ็องติบส์ ฝรั่งเศส ครับ เฉลี่ยแล้ว ราคาจานละ 12-14 € ตก 600 - 700 บาท)

มีอีกอย่างที่กินคือ นาน เป็นแป้งแผ่น เหมือนแป้งโรตี แต่หนากว่า ไว้ฉีกกินจิ้มกินกับแกงต่างๆ ในภาษาเปอร์เซีย ก็เรียก นาน เหมือนกัน


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 09 ม.ค. 10, 21:16
ผมไปดูเพิ่มในพจนานุกรมเปอร์เซีย-อังกฤษ ของ STEINGASS ( http://dsal.uchicago.edu/cgi-bin/philologic/getobject.pl?c.0:1:781.steingass )

เค้าอธิบายดังนี้ครับ

آچار āchār (อาจารฺ), Powdered or salted meats, pickles, or fruits, preserved in salt, vinegar, honey, or syrup; particularly onions preserved in vinegar; also the pickle or liquor in which these meats or fruits are preserved; mixed, collected, assembled together; uneven rugged ground, full of risings and hollows;--(S. āchāra = สันสกฤต: อาจารฺ) Immemorial custom, conformity to religious institutions.

แสดงว่า อาจารฺ แต่เดิมนั้นเป็นคำสันสกฤต ผมเลยไปดูเพิ่มในพจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ ของ APTE ( http://dsal.uchicago.edu/cgi-bin/philologic/getobject.pl?c.1:1:1149.apte3 ) ได้ให้ความหมายของ อาจารฺ ไว้ดังนี้ครับ

आचारः [आचार-भावे घञ्] 1 Conduct, behaviour, manner of action or of conducting oneself; सदाचारः good conduct; नीच˚ &c.; लोकाचारविवर्जिताः Pt.5.4 ignorant of the ways of the world. -2 Good conduct or behaviour; न शौचं नापि चाचारो न सत्यं तेषु विद्यते Bg. 16.7; Ms.1.19,5.4,3.165. -3 A custom, usage, practice; तस्मिन्देशे य आचारः पारंपर्यक्रमागतः Ms.2.18; Y. 1.343. -4 An established usage, fixed rule of conduct in life, customary law, institute or precept (opp. व्यवहार in law); आचार्य आचाराणाम् K.56; Ms.1.19; oft. as the first member of comp. in the sense of 'cus- tomary', 'usual', 'as is the custom', 'according to form', 'as a formality'; ˚पुष्पग्रहणार्थम् M.4; see ˚धूम, ˚लाज below; परिकर्मन् Ś.2. -5 (a) Any customary observance or duty; ˚प्रयतः V.3.2; गृहाचारव्यपदेशेन U.3. (b) A form, forma- lity; आचार इत्यवहितेन मया गृहीता Ś.5.3; Mv.3.26. (c) The customary salutation or bow, usual formality; आचारं प्रतिपद्यस्व Ś.4; V.2; अविषयस्तावदाचारस्य Mv.2. -6 Diet. -7 A rule (of conduct). -Comp. -अङ्गम् title of the first of the twelve sacred books of the Jainas -चक्रिन् N. of a Vaiṣṇava sect. -चन्द्रिका N. of a work on the religious customs of the Śūdras -तन्त्रम् one of the four classes of the Tantras (with Buddhists). -दीपः [आचारार्थः नीराजनार्थो दीपः] 1 'a lamp of religious customs', title of a work. -2 a lamp waved about a person as a formality and token of auspiciousness. -धूमग्रहणम् inhaling smoke as a customary rite (as of the sacrificial ceremony) R.7.27; वधूमुखं क्लान्तयवाव- तंसमाचारधूमग्रहणाद् बभूव Ku.7.82. -पूत a. purified by customary observances, of pure conduct; तमातपक्लान्त- मनातपत्रमाचारपूतं पवनः सिषेवे R.2.13. -भेदः difference in the customary law. -भ्रष्ट, -पतित a. apostate, fallen from established usages or rules of conduct. -मयूखः 'Ray of religious customs'; N. of a work. -लाज (m. pl.) fried grain customarily showered upon a king or other important personage as a mark of respect (as when he passes through the streets of his capital); अवाकिरन्बाललताः प्रसूनैराचारलाजैरिव पौरकन्याः R.2.1. -वर्जित, -व्यपेत, -हीन a. 1 irregular, out of rule. -2 outcast, who has renounced all customary observances. स्मृत्याचारव्यपेतेन Y.2.5; Ms.3.165. -वेदी [आचारस्य वेदीव] 'altar of religious customs', N. of Āryāvarta, the sacred region of the Āryas.


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 09 ม.ค. 10, 22:13
เจอมาว่า อาหรับเป็นอีกคำหนึ่ง


The modern standard Arabic term is مخلل, pronounced MUKHALLAL.
http://www.proz.com/kudoz/arabic_to_english/science/612711-what_is_the_english_definition_and_translation_for_the_word_turshi.html


Modern Translation: PICKLES:
Arabic     ‏كبيس, ‏مخلل (pickle, pickled, rare), ‏خضار مخلل.
http://www.websters-online-dictionary.org/Pi/Pickles.html

ในวิกิพีเดีย ถอดเป็นอักษรโรมันว่า "mekhallel"
Middle East: In Iran and all Arab countries, pickles (called torshi in Persian, mekhallel in Arabic, and hamutzim in Hebrew) are commonly made from turnips, peppers, carrots, green olives, cucumbers, beetroot, cabbage, lemons, and cauliflower.
http://en.wikipedia.org/wiki/Pickling

Google Translator แปลคำว่า Acar ของภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาอาหรับว่า المخللات


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 12 ม.ค. 10, 12:19
ตอนนี้เที่ยงคุยเรื่องอาจาดต่อสักนิดนะครับ
ตอนที่โดนเนรเทศไปอยู่ในกลุ่มฮินดู เช้าๆเขาทาน"โดซ่า" เป็นคล้ายๆขนมเบื้องไทยอันใหญ่ๆเท่าขนมถังแตก หรือจะว่าขนมเบื้องณวนแบบแป้งก็ได้ เขาจะทานกับอาจาดที่เป็นแตงกวาใส่มะพร้าวแบบขูดและมีน้ำกะทิ ครับผม ตอนอยู่กับกลุ่มมุสลิม มีอาหารอย่างหนึ่งอร่อยมาก เหมือนต้มข่าไก่ ใส่ไข้ต้มด้วย แต่น้ำแกงเป็นกะทิ ข้นคลั่ก ถ้าเอามาคลุกข้าวแล้วเหมือนทานข้าวเหนียวเปียกไก่ เขาทานกับอาจาดที่เป็นแตงกวาหั่น ไม่มีน้ำ ครับผม
อยู่เมืองไทย ผมเคยชินกับ...ขายถั่ว ขายโรตี ไปที่โน่นหาถั่ว แบบที่ท่าน...ขายไม่เจอ โรตีก็ไม่มี มีแต่ จะปาตี และนาน ที่ท่านว่าครับผม อ้ออยู่เมืองไทยผมชอบทานไข่ต้ม และต้องเป็นไข่เป้ด ไปอยู่ที่โน่นผู้คุมท่านก็อตส่าห์ไปหามาต้มให้ ทานไม่ได้เลยครับ กลิ่นมันสุดๆเลยครับทานไม่ได้  ฮิ ฮิ
มานิต


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 13 ม.ค. 10, 14:03
ขอบคุณมากครับ ต่อยอดให้เพียบเลย  ;D

จะว่าไปผมก็สงสัยเรื่องพวกแป้ง โรตี นาน จะปาตี ฯลฯ แค่ โรตี กับ นาน แค่นี้ก็งงแล้วครับ บางคนบอกเหมือนกัน บางคนว่าต่างกัน คนอินเดียบางคนเรียก นานโรตี พ่วงเลย ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรแน่ครับ


กระทู้: ที่มาของ อาจาด
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 13 ม.ค. 10, 14:51
อยากเรียนให้ท่านทราบ ครับผม แต่มันไม่มีเรื่อง อาจาด มาเป็น"ร่ม"ให้ ทำยังไงดี เอาสั้นๆนะครับ
อยู่เมืองไทยชอบทานโรตี (ท่านผู้ขายท่านจะใช้เนยทากะทะก่อนทำ) ซื้อมาแล้วก็มาราดนมข้น วันไหนต้องการพลังงานมากก้แถมน้ำตาลลงไปด้วย พอโดนเนรเทศไปยังถิ่นของเจ้าของตำรับ กลับไม่เห็นโรตี ครับผม จะปาตี ขนาดใกล้เคียงกัน แต่น่าจะใช้แป้งต่างกัน สีออกโกโก้ ผิงบนกะทะร้อนที่ไม่มีเนยทา  นานก็น่าจะเป็นแป้งอีกแบบหนึ่งสีออกไปทางเหลืองอ่อน  เวลาทานท่านก็จิ้มแกงทั้งหลายของท่าน ผมเคยชิม แต่ไม่ได้ทานครับผม สงสัยเขาจะกลัวเปลือง คนโดนเนรเทศเขาให้ทานข้าวครับผม อ้อ หาทางลงได้แล้ว ข้าวผัดที่นั้นเขาเรียกว่า "ปูเลา" เขามี"อาจาด" ให้แกล้มครับผม
มานิต