เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 17191 เพลงเถากับเพลงตับ
โรสา
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 08 ธ.ค. 00, 07:00

อ่าน(และชื่นชม)กระทู้ที่ ๑๘๔ ทำให้บังเอิญนึกถึงข้อสงสัยที่เก็บมานานว่า เพลงเถากับเพลงตับต่างกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ธ.ค. 00, 14:43

ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของเพลงไทยคือการที่บางเพลงจะมีการแต่งไว้ในอัตราจังหวะที่แตกต่างกัน อัตราจังหวะที่ว่าของเพลงไทยนี้โดยหลักๆ แล้วจะประกอบด้วย อัตราจังหวะ ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว ถ้าพูดกันแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือชั้นเดียวจะเร็วที่สุด และ ๓ ชั้นจะช้าที่สุด แต่ถ้าจะถามว่าแล้วเร็วช้าต่างกันแค่ไหน ก็คงต้องขยายความแบบง่ายๆ เหมือนเดิมว่า โดยปกติเพลงไทยแต่เดิมจะถูกแต่งขึ้นในอัตราสองชั้นครับ เป็นอัตราจังหวะความเร็วปานกลาง เพลงสามชั้นนั้นทำโดยการขยายจังหวะ และทำนองเพลงขึ้นเป็น ๒ เท่าจากโครงเพลงในอัตราสองชั้น ยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่า เพลง ก. ในอัตราสองชั้นมีความยาว ๔ บรรทัด เมื่อขายเป็นสามชั้น เพลง ก. ก็จะมีความยาว ๘ บรรทัด ในทางตรงกันข้ามถ้าทำการ "ตัด" ทำนองลงครึ่งหนึ่งจากโครงเพลงสองชั้นเดิมก็จะกลายเป็นเพลงในอัตราชั้นเดียวครับ ยกตัวอย่างเดิม เพลง ก. ๒ ชั้นความยาว ๔ บรรทัด เมื่อตัดลงเป็นชั้นเดียวก็จะเหลือเพียงสองบรรทัด แต่กฏที่ว่านี้ไม่ตายตัวเสียทีเดียวนะครับยังมีข้อพิจารณาปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ที่บอกมาเป็นเพียงภาพคร่าวๆ ที่อธิบายความแตกต่างของเพลงในอัตราจังหวะต่างกันเท่านั้น โม้มานานดูเหมือนจะไม่ได้ตอบคำถามแต่จริงๆ แล้ว การที่แต่งขยายเพลง ๒ ชั้นเพลงใดเพลงหนึ่งขึ้นเป็นอัตราสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว สำหรับใช้บรรเลงต่อเนื่องกันแล้ว เพลงที่ประกอบด้วยท่วงทำนองจังหวะทั้งสามอัตรานี่แหละครับที่เรียกว่า "เพลงเถา"

ยกตัวอย่างเพลงเถา เช่น สุดสงวน เถา ประกอบด้วย เพลง สุดสงวน ๓ ชั้น - ๒ ชั้น - ชั้นเดียว ฯลฯ

ส่วนเพลงตับนั้นจะเป็นการนำเอาเพลงหลายๆ เพลง (โดยมากจะเป็นเพลง ๒ ชั้น) มาบรรเลงต่อกัน ถ้ามีเนื้อร้องต่อเนื่องกันก็จะเรียกว่า "ตับเรื่อง" เพลงตับอีกประเภทหนึ่งคือการนำเอาเพลงที่อาจจะเนื้อร้องไม่ต่อเนื่องกัน แต่ท่วงทำนองสำเนียงใกล้เคียงกันมารวมบรรเลงต่อกัน เรียกว่า "ตับเพลง" ครับ

ยกตัวอย่าง เพลงตับ เช่น ตับวิวาห์พระสมุทร ประกอบด้วยเพลง ๓ เพลงคือ คลื่นกระทบฝั่ง  (๒ ชั้น ) แขกบังใบ (๒ ชั้น ) แขกสาหร่าย (๒ ชั้น ) เป็นต้น
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ธ.ค. 00, 17:22

คุณโรสา
เอ้อระเหยลอยมา ลอยมาแต่กระทู้ล่างลงไป
ได้ยินถามแถลงแจ้งเหตุ โอ้แม่ซ้อสมะเขือเทศ น้องจะช้าอยู่ไย....
อย่ามัวแต่ฟังอยู่นอกวง เชิญหนาแม่เชิญมาลง  ร่วมเล่นเพลงพวงเอ๋ยก็มาลัย...
บันทึกการเข้า
แม่บัว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ธ.ค. 00, 00:03

ตอนเรียนชั้นประถมและมัธยม ที่โรงเรียนอิฉันสอนวิชาขับร้องเพลงไทยเดิม เวลาเรียนต้องนั่งพับเพียบหลังตรง จำแม่น คือ ลาวเจริญศรี และ เขมรโยกไทร  เอ๊ย เขมรไทรโยค

เชิญคุณหลวงนิลกลับกระทู้ 184 เจ้าค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ธ.ค. 00, 02:17

ขอบคุณคุณทิดมากค่ะ  ดีใจที่มาคุยเรื่องดนตรีไทยกันอีกครั้งหลังจากในกระทู้ที่ห้องสมุด(น่าจะไปตามคุณระนาดเอกมาคุยด้วย ดีมั้ยคะ)  
นานมาแล้วที่ฟังดนตรีไทย  จำได้คลับคล้ายคลับคลา  แต่ส่วนมากจำไม่ค่อยได้ แฮ่ๆๆ  ขอถามคุณทิดหน่อยนะคะ  ไม่ทราบว่าในเพลงเถา
โดยเฉพาะสามชั้นนี่  จะมีจังหวะเดียวกัน คือความเร็วสมำ่เสมอเท่ากันตลอดทั้งสามชั้นมั้ยคะ  จำได้ว่าเคยเล่น ไม่ทราบเพลงประเภทไหน  
แต่จังหวะมันจะกระชั้นขึ้นเรื่อยๆ  จนเร็วระทึกตอนจบน่ะค่ะ  ดิฉันเป็นประเภทเล่นเพลงร็อคมาก่อน  พอเล่นเพลงกรัชั้นพวกนี้ก็ชอบมากเลยค่ะ  
แต่จำไม่ได้ซักอย่างแล้วค่ะ  แย่จังเลย :-(  ช่วยทวนความจำให้หน่อยด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
โบว์สีชมพู
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ธ.ค. 00, 17:04

รู้สึกว่าหลายท่านในweb นี้ มีความรู้เยอะจังค่ะ อ่านแล้วทึ่งมากค่ะ
ลองตามไปอ่านกระทู้ที่ 184 แล้ว ก็ยิ่งรู้สึกสนุกตามไปด้วยค่ะ  แต่ร่วมแต่งเพลงด้วยไม่ได้ เพราะความสามารถไม่ถึงค่ะ
บันทึกการเข้า
รัตนพันธุ์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ธ.ค. 00, 20:55

เพลงเถาจะเร็วขึ้นเรื่อยๆค่ะ จาก๓ชั้น (ช้ามาก น่านอนสไตล์เช่นจังหวะของเพลง เขมรไทรโยค) มา๒ชั้น (ฟังกำลังสบาย เช่นจังหวะของเพลงลาวดวงเดือน) มาชั้นเดียว (มันค่ะ จังหวะของเพลงจำพวก ค้างคาวกินกล้วย, พม่ากลองยาว เป็นต้น) พอถึงลูกหมดก็ใส่กันสุดๆเลย ก็จบเพลงแล้วนี่คะ
ส่วนเพลงตับจะเป็นการนำเพลงหลายๆเพลงที่มีอัตราจังหวะเท่าๆกันมาบรรเลงต่อกัน มี๒ชนิดคือตับเรื่อง และตับเพลงค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 02:47

อ้อ ใช่แล้วค่ะ "ลูกหมด"  ขอบคุณมากค่ะ คุณรัตนพันธ์

ปกติเพลงเถาสามชั้นนี่  จะลงท้ายด้วยลูกหมดเสมอไปรึเปล่าคะ

ดิฉันเคยเล่นแต่ซอมานานแล้ว  ไม่ได้จับไปจนลืมหมดแล้วค่ะ  พูดแล้วก็ละอายครูมากค่ะ

แล้วอยากถามเรื่องโน้ตดนตรีไทยด้วยค่ะ  อย่างซออู้ ซอด้วงนี่  จะใช้โน้ต 0 1 2 3 4 บนล่าง  รวม 10 โน้ต  ถ้าจำไม่ผิดนะคะ  แล้วเครื่องดนตรีอย่างอื่นนี่ใช้โน้ตแบบนี้ด้วยรึเปล่าคะ  หรือเป็นแต่เครื่องสาย  เพราะดูเหมือนว่า ระนาด จะใช้โน้ตคนละอย่าง  ขอบคุณด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
Tid
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 07:25

I copied this message from www.thaikids.com. The authors if these messages are the well-known Thai musician. Kru Tak is nick name of Acharn Chanok Sagarik. And Nong is nickname of Acharn Ananda Nark-Kong (CU)



By the way, I've seen K. Kaew (DS) of SOAS around here, he knows better than me. If P' Kaew see this topic please explain us about the topic na krub.

...................



เท่าที่ทราบดูเหมือนจะมี ๕ แบบคือ

             ๑ โน้ตตัวเลขแบบ 0 1 2 3 4 (บรรทัดบน-ล่าง)

             ๒ โน้ตตัวเลขแบบ 9 ตัว (1 2 3 4 5 6 7 8 9)

             ๓ โน้ตตัวอักษร (ด ร ม ฟ ซ ล ท)

             ๔ โน้ตตัวเลข (0 1 2 3 4 5 6) อันนี้ใช้กับขิม

             ๕ โน้ตตัวเลขเจ็ดตัว (1 2 3 4 5 6 7)

             อาจจะมีมากกว่านี้ ใครทราบช่วยเพิ่มด้วยครับ



             จากคุณ: ครูตั๊ก- [Saturday, April 29, 2000# 10:25]

.............................................................................................

โน้ตที่น่าสนใจนอกไปจากที่ครูตั๊กพูดึงนี่ ยังมีอีกนะครับ แต่ต้องคุยกันยาว ในที่นี้จะขอยกขึ้นมาก่อน 2 ญัตติ คือโน้ตร้องและโน้ตเครื่องทำจังหวะ



             1. โน้ตพิเศษของพวกนักร้อง ที่ชอบเขียนโน้ตแทนเสียงเอื้อนว่า เอ๋ย เงย หือ อือ เออ เฮอ น่ะครับ เป็นโน้ตรู้สึกว่านิยมใช้กันมากเป็นการส่วนตัวของคนร้อง

             แต่ไม่ได้ค่อยมีโอกาสพิมพ์เผยแพร่เหมือนโน้ตระบบอื่น หรือหยิบขึ้นมาสนทนากเียงกันเช่นโน้ตแบบอื่น

             ทั้งๆที่วิชาการขับร้องนี่ก็เป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้เรื่องดนตรีด้านอื่นๆเช่นกัน และเนื่องด้วย คงเป็นการยุ่งยากที่จะจัดทำโน้ตทางร้องออกมาเผยแพร่ ยุ่งยากทั้งการบันทึก

             การวางระบบจัดพิมพ์ การอ่านออกเสียงออกความและออกอารมณ์ ก็เลยเงียบซะ พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ประมาณนี้



             ศิลปะทางการขับร้องนี่สำคัญนะครับ จะทำไงึงจะสร้างหลักฐานเรื่องเพลงร้องได้อย่างจริงจังกันซะทีล่ะครับ เอาให้มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งกว่าแค่พิมพ์เนื้อร้อง

             คำร้องที่ลอกมาจากบทวรรณคดี ตรงกันมั่ง เพี้ยนกันมั่ง และมักจะจบอยู่แค่การลงคำร้องตามแบบแผนกวีนิพนธ์เท่านั้น ไม่ลงรายละเอียดว่าตรงไหนเสียงสูงเสียงต่ำ

             ตรงไหนเอื้อนไม่เอื้อน ตรงไหนเสียงยาวเสียงสั้น ตรงไหนเป็นสำเนียงอะไร ตรงไหนตรงกับโน้ตตัวอะไรในเพลง ฯลฯ

             จะหาความรู้และหลักฐานบันทึกเรื่องร้องนี่ยากเหลือเกิน ้าไปเทียบกับโน้ตประเภทอื่นที่ผลิตกันมาเยอะแยะ มีทุกระบบที่ครูตั๊กว่ามา

             ที่นิยมมากที่สุดตอนนี้เห็นจะเป็นโน้ตตัวอักษร ด ร ม ฟ ซึ่งหาได้ง่ายดาย และเข้าใจไม่ยากนัก ้ารู้จักใช้สติปัญญาในการหัดเรียนเขียนอ่าน

             แต่ของโน้ตร้องที่ดูเหมือนจะอาภัพกว่าเขาเพื่อน เท่าที่เห็นก็เป็นการหาทางเขียนกันเอง เข้าใจกันเองในพวกนักร้องหรือคนที่พอรู้เรื่องร้องนั้นบ้าง

             แต่้าไม่ได้ฝึกมาทางนี้โดยตรงหรือไม่รู้เพลงที่เขาเขียนโน้ตทางร้องนี่มาก่อน ก็อ่านลำบากเหมือนกัน เพราะไม่ใช่โน้ตระดับเสียงหรือโน้ตหน่วยทำนองอย่าง 5

             ข้อที่กล่าวึง



             (ตัวอย่าง)

             เพลงแขกบรเทศ สามชั้น

             นี่ ฮือ กระ-ไร -- ตก เฮอ ใจ -- เออ เฮ้อเออเอ่อ เออ หือ เงอ เฮ้อ เอ่อ เออยย ฮึ- ไป เปล่า-เปล่า



             โน้ตพวกนี้นักร้อง-นักขับเสภา-นักพากย์ เขานิยมใช้กันมาก เขียนแทรกลงไประหว่างช่องไฟของคำกลอน บางทีก็เขียนรวมกันไปเลยทั้งทางร้อง ทางเอื้อน และคำร้อง

             โดยไม่เน้นเรื่องเส้นกันห้องที่ระยะเท่ากันเป๊ะๆอย่างเครื่องดนตรี เป็นโน้ตเอื้อนที่ช่วยให้การขับร้องตรงหลักการขึ้นมากกว่า

             บางคนก็เก่งชนิดไม่ได้ใส่ใจกับการอ่านโน้ตร้องให้ยุ่งยากรำคาญ เพราะนักร้องทั่วไปเขาจะจำทำนองร้องไว้ในสมองมากกว่า บางคนก็ดูแค่เนื้อร้อง เพลงน่ะ

             จำได้แล้วหละ ปิดสมุดโน้ตก็ยังร้องกันได้สบายใจ มีโน้ตเข้ามาช่วยตรงรายละเอียดบางอย่างเท่านั้น อะไรทำนองนี้

             ส่วนระดับเสียงและจังหวะของโน้ตร้องอย่างไรที่สมบูรณ์แบบ

             เป็นเรื่องที่ท่านผู้เกี่ยวข้องคงต้องหาทางออกกันซะทีว่าจะใช้ระบบใดที่สามารเขียน-บันทึกและอ่านให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

             หรือน่าจะมีสัญญลักษณ์อะไรขึ้นมาใช้สำหรับโน้ตร้อง

             อันที่จริง จะว่าไม่มีโน้ตร้องที่พอจะใช้งานได้ซะเลยก็ไมู่ก เพราะเคยเห็นโน้ตทางร้องที่ท่านอาจารย์สงัด ภูเขาทอง สมัยเมื่อสอนอยู่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ

             เขียนทางร้องเป็นลักษณะโน้ตอักษรไทย ด ร ม ฟ แทนเอื้อน และสามารบรรจุอยู่ในช่องไฟแปดห้องต่อบรรทัด

             แต่ต้องอาศัยการเขียนด้วยลายมือแบ่งช่วงการร้องแบบกะความน่าจะเป็นเอา และที่รู้สึกเหนื่อยแทน ทั้งคนเขียนและคนอ่านคือการใช้เส้นโค้งโยงระยะการเอื้อน

             มีทั้งเส้นโค้งเล็กๆสั้นๆ และโค้งใหญ่ๆยาวๆ (หมายึง้าเอื้อนแบบกระทบเสียงรึสบัดก็สั้นหน่อย แต่้าเอื้อนยาว ลากเสียงยาว หรือประโยคการร้องช่วงนั้นยาว

             ก็ใช้เส้นโค้งยาวมาคร่อมช่วงโน้ต) ส่วนการเอื้อนว่าตรงไหนจะเป็น เออ เอิง เอย เฮอ เงอ อะไรนี่ ปล่อยให้เป็นกรรมของคนร้องที่จะต้องไปรับผิดชอบต่อเอาเอง

             น่าสังเกตว่า เท่าที่อาจารย์สงัดได้เผยแพร่ออกมา แม้จะเป็นเรื่องที่ก่อคุณูปการมหาศาลให้แก่วงการดนตรีไทยในระดับหนึ่ง

             แต่ก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจหรือผ่านการยอมรับในวงกว้างมากนัก แต่้านึกดูอีกที ก็ยังดูเข้าท่ากว่าไม่เขียนอะไรไว้เสียเลย หรือสักแต่ว่าเขียน แต่เอามาอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง

             งานของอาจารย์สงัดตรงนี้คล้ายกับระบบการบันทึกของครูจันทนา พิจิตรคุรุการ ซึ่งลงโน้ตทำนองลงไปในสมุดบันทึกขับร้องส่วนตัวของท่าน

             เขียนเป็นโน้ตเก้าตัวอย่างทางซอ แต่ก็ไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเอื้อนมากนัก นอกจากกรณีนี้ก็มีอยู่ในงานของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงด้วยเช่นกัน

             แต่แพร่หลายน้อยกว่าของอาจารย์สงัดและครูจันทนา





             ้าจะเอารายละเอียดเรื่องโน้ตร้อง ระหว่างที่ยังหาทางออกอะไรไม่ได้ ก็คิดว่าโน้ตสากลยังเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงระดับเสียงสูงต่ำ

             การแสดงช่องไฟ การแสดงระยะี่ห่างกว้างแคบของโน้ต และเสียงผ่านต่างๆที่ใช้เป็นลูกประดับประดาในโน้ตเพลง

             อันนี้ที่จริง้าศึกษาจากกรณีดนตรีตะวันตกในยุคแรกๆที่มีการเขียนโน้ตใช้กัน

             ก่อนที่จะปริวรรตมาเป็นโน้ตบันทัดห้าเส้นอย่างที่เป็นมรดกตกทอดมาจนึงเราลูกหลานทุกวันนี้ โน้ตฝรั่งในระยะแรกเป็นโน้ตเพลงขับร้องครับ

             ตั้งแต่กรีกเรื่อยมาจนึงบาทหลวงฝรั่งยุคกลาง มีการปรับปรุงแก้ไขสืบเนื่องมาอย่างไม่หยุดยั้ง และมาลงตัวแวโบส์หลวงพ่ออิตาลีเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้

             จากนั้นจึงพัฒนาการไปสู่โน้ตสำหรับทางเครื่องดนตรี กลายมาเป็นวิชาการเขียนโน้ตที่ละเอียดละออในที่สุด และก้าวไปสู่การเขียนโน้ตอย่างก้าวหน้าไปเรื่อง

             เป็นรูปกราฟฟิคบ้าง เป็นสัญญลักษณ์แปลกๆออกไปบ้าง ตามยุคสมัยการสร้างสรรค์แห่งเสียงดนตรีและเพลงร้องของฝรั่งเขา



             ญัตติแรก ว่าด้วยโน้ตทางร้อง เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวที่อาจจะไม่ต้องใจผู้รู้ทั้งหลายในไทยคิดนี้ก็ได้ แต่ก็อยากให้ช่วยกันอภิปรายต่อด้วยครับ



             ญัตติที่สอง ว่าด้วยโน้ตเครื่องทำจังหวะ (ไม่ใช่เครื่องกำกับจังหวะ)

             ไม่ทราบว่าใครมีความเห็นอย่างไร ต่อกระบวนการและวิธีการบันทึก การเขียน การอ่าน การสร้างสัญญลักษณ์ของเครื่องทำจังหวะทั้งหลายที่ใช้อยู่ในวงการดนตรีไทย

             ทั้ง ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ โหม่ง ฆ้อง 3 ใบ หุ่ย 7 ใบ เหม่งบัวลอย ตะโพนไทย ตะโพนมอญ เปิงมาง กลองสองหน้า กลองแขก กลองมลายู ทับ โทน รำมะนามโหรี

             รำมะนาลำตัด กลองทัด กลองยาว กลองตุ๊ก กลองจีน กลองมะริกัน ฯลฯ



             บรรดาเครื่องทำจังหวะที่เห็นและเป็นอยู่ อยากจะามท่านผู้รู้ว่า ในโลกแห่งการบันทึกโน้ตดนตรีไทยที่เรามีลมหายใจเข้าออกกันอยู่นี้

             เราใช้กระบวนการที่ค่อนข้างจะฉาบฉวยเกินไปหรือเปล่า ทั้งการสมมติชื่อเรียก การสมมติอักษรย่อแทนเสียง (ซึ่งมักทำให้งงกันอยู่บ่อยๆ) การสร้าง form & pattern

             ของการจดบันทึกโน้ตจังหวะ หรือบางทีก็เขียนคำอ่านเต็มๆยัดลงไปในพื้นที่ห้องโน้ตไทยมาตรฐานซะเลย



             แต่ในทางปฏิบัติจริง การทำจังหวะนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก มีทั้งข้อบังคับ ข้อยกเว้น ข้อผ่อนผัน และข้อละเมิด

             ซึ่งก็ควรที่จะสังคายนาเรื่องโน้ตเครื่องทำจังหวะทั้งหลายแหล่นี่กันอย่างจริงจังซะทีด้วยเหมือนกัน จะเอาอย่างไร จะเขียนแบบไหน

             จะบันทึกอย่างไรให้มันสมบูรณ์แบบตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด อ่านกลับมาเป็นโน้ตจังหวะได้จริงๆ และสามารสื่อความงามของดนตรีไทยได้อย่างแท้จริงในที่สุด



             หรือว่าไหนๆก็สมมติกันมาจนึงป่านนี้แล้ว

             สมมติกันต่อไปดีไหม



             ญัตติที่สาม ว่าด้วยโน้ตเพลงของเครื่องดนตรีที่มีการประสานเสียง / ขั้นคู่/ คอร์ด ในตนเอง

             เอ.... เอาไว้งวดหน้าดีกว่า เมื่อยมือแล้ว จบแค่นี้แหละ



             จากคุณ: หน่อง- [Saturday, April 29, 2000# 14:02]
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 07:57

โน้ตบนล่างนี่จะใช้กับเครื่องสีที่มี๒สายคือบนหมายถึงสายนอก
ล่างหมายถึงสายใน
ส่วนโน้ตขิมเเบบที่๔  (0123456) จะเขียนเเยก๓ช่องตามลักษณะขิม
ส่วนแบบอื่นจะเขียนบนบรรทัดเดียว

ที่ว่า >ปกติเพลงเถาสามชั้นนี่ จะลงท้ายด้วยลูกหมดเสมอไปรึเปล่าคะ
ส่วนใหญ่จะใช่เเต่ไม่เสมอไป  อาจออกเพลงอื่นต่อ  ออกเดี่ยว หรือ ทอด
เพลงชั้นเดียว ลงเฉยๆ ก็มี
บันทึกการเข้า
โบว์สีชมพู
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 09:32

เคยได้ยินคําว่า เพลงตับครั้งแรก ตอนอ่าน เรื่องแต่ปางก่อนค่ะ ที่มีการพูดถึงเพลง ตับนางซิน
อยากเล่นดนตรีไทยเหมือนกัน แต่ไม่ได้เรียนมา ที่บ้านมีขิม แต่เล่นไม่เป็นค่ะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 10:00

ขอบคุณคุณทิดเป็นอย่างมากเชียวค่ะ  ที่อุตส่าห์หามาแปะให้  เรื่องร้องนี่ไม่ไหวค่ะ  ไม่เคยลองเลย (กลัวไปทำเค้าวงแตก)  เลยยิ่งไม่ทราบใหญ่

เรื่องโน้ตนี่  ดูเหมือนระบบที่มีเจ็ดโน้ต เจ็ดเสียงนี่  คงจะได้เค้ามาจากทางตะวันตกมังคะ  แต่เครื่องสองสาย  คือซออู้และซอด้วง  เล่นได้แค่สายละห้าเสียง  เพราะใช้นิ้วจับอยู่สี่นิ้ว กับเสียงสายเปล่าอีกหนึ่งเสียง  (ถ้าเรามานิ้วเยอะกว่านี้ จะเล่นโน้ตได้มากกว่านี้มั้ยเนี่ย)  อย่างขิม ระนาด รู้สึกจะเทียบกับโน้ตสากลได้ใช่มั้ยคะ  

ที่น่าทึ่งที่สุดก็คือ  เวลาคนเอาเครื่องมาประสมกันเป็นวงนี่  เค้าคิดโน้ตต่างระบบ ให้มาใช้กับเครื่องดนตรีต่างชนิดกันได้อย่างไร  อย่างเวลาจะแต่งเพลงทีนึง คนแต่งทำนอง หรือ composer นี่ต้องคิดเป็นโน้ตทั้งระบบที่มีจำนวนเสียงพื้นฐานต่างกัน (เจ็ดเสียงกับห้าเสียง)  นี่ไม่ทราบใช้วิธีอย่างไรไม่ให้งงนะคะ
บันทึกการเข้า
แมงกาชอน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 10:42

แบบนี้สงสัยต้องตาม" p' Kaew "  ของคุณทิดมาตอบซะแล้วมังคะ

เอ้า !! ครูแก้วเจ้าขามาตอบหน่อยเจ้าค่า
บันทึกการเข้า
Stardust
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 12:16

ง่ายๆนะตรับ
เพลงเถาเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะครบทั้ง 3 แบบ กล่าวคือ มีทั้ง สามชั้น สองชั้นและขั้นเดียว ส่วนลูกหมดจะมีหรือไม่ก็ได้ครับ แต่ถ้ามีจะสมบูรณ์กว่า เช่น เขมรพวงเถา โสมส่งแสงเถา
ส่วนเพลงตับนั้นจะเป็นเพลงหลายๆเพลงมาต่อกันแล้วแต่งเนื้อร้องให้เข้ากันได้เลยเรียกรวมว่าเป็นเพลงตับ เช่น ตับวิวาพระสมุทร ตับลาวเจริญศรี ตับนกเป็นต้น
บันทึกการเข้า
Stardust
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ธ.ค. 00, 12:21

อีกนิดนะครับ
เพลงเถาบางเพลงนั้นแต่งขึ้นมาโดยแต่งเพิ่มจากเพลง สองชั้นของเดิม โคยถ้าแต่ง สามชั้นก็จะเรียกว่า"ขยาย"และชั้นเดียวเรียกว่า "ตัด" เช่น เพลงโสมส่องแสงเถา ครูมนตรี ตราโมตได้แต่งขึ้นจากเพลง"ลาวดวงเดือน"โดยขยายเป็นสามชั้นและตัดลงเป็นชั้นเดียวเป็นต้น...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง