เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 24479 ใต้เงาเจดีย์ที่ศรีลังกา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 16 มี.ค. 10, 23:12

อีกส่วนของชิ้นที่แล้วครับ จะเห็นว่าเป็นรูปแบบเดียวกันกับของลังกาเลย  ตกใจ


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 03:47

นั่งปั่นงานมา 4 ชั่วโมง เพิ่งจะเสร็จ
เข้ามาแปะโป้งไว้ก่อนนะครับ ไว้ว่างมาอ่านต่อ



ปล. กระทู้นี้เรต R มีทั้งช่างภาพ นายแบบ และเจ้าของกระทู้ หุหุหุ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 08:17

ปวดจายอารายน้องเน พี่ดิปวด5555 อัพกระทู้ทีไรรูปแกขึ้นมาเปงรูปแรกเรย กว่ามันจะขึ้นหน้าใหม่ให้ 5555 (สงสัยรีบตอบๆๆให้มันเปลี่ยนหน้าใหม่แหงม) ยิงฟันยิ้ม


ซุ้มที่แกยกมาเป็นซุ้มมกรโตรณะแบบอินเดียใต้อะ มันส่งอิทธิพลให้ลังกาด้วย ส่วนสุโขทัยเอาไปปรับใช้ให้มีกลิ่นแบบไทยๆเข้าไป ดูอ่อนช้อยขึ้น

คติของมกรโตรณะมีอยู่ว่า มกรเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ เพราะเป็นสัตว์น้ำ น้ำเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และการเกิด ดังนั้น เมื่อมกรคายวงโค้งออกมาเป็นซุ้ม ก็จะคายคนออกมาด้วย (การเกิด)

ดังนั้น ถ้าเปลี่ยนปลายซุ้มไปเป็นกินรี ก็จะหลุดคอนเซปต์ไป แต่ก็ยังทำ อาจเป็นเรื่องของความงามตามใจช่างท่าน เปลี่ยนหางมกรให้เป็นหางกินรีเสีย ซุ้มกินรีนี้ พบมากมายนักหนาในพุกาม มากกว่าในสิงหลเสียอีก

การที่มีอิทธิพลลังกาอยู่ในสุโขทัยมาก ปรากฏเรื่องอยู่ในจาึรึกวัดศรีชุมว่า "สมเด็จพระมหาสามี จากแต่สีหลมาพาฝูงคนดีแบกอิฐแต่ต่ำ ขึ้นไปกระทำพระเก้าท่านคืนบริบวรณด้วยศรัทธา" และเอาพระธาตุจากสีหลมาบรรจุไว้ 2 องค์ หลายคนตีความตอนนี้ว่าเป็นการซ่อมพระมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ซึ่งก็ต้องกับหลักฐาน เพราะปูนปั้นที่นั่นเกือบจะดูเป็นลังกาแท้ สรุปว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาท่านอิมพอร์ตช่างมาแต่ลังกาทีเดียว


แต่ขึุ้นชื่อว่าช่างไทยแล้ว ไม่ลอกใครมาเปล่าๆลุ่นๆ เลยครับ ถึงจะมีตัวอย่างจากเมืองนอก แต่ท่านพลิกแพลงไปตามใจชอบ เห็นสมควรว่าสวยว่างาม ลังกามีอิทธิพลทางศาสนาต่อสุโขทัยก็จริง แต่รากฐานดั้งเดิมทางพุกาม-เขมร ซึุ่่งเป็นครูเก่ามาก่อนเราก็ยังไม่ทอดทิ้ง
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 08:50

เรื่องซุ้มลังกา - สุโขทัย เดี๋ยวจะเอามาให้ดูแน่ๆ ขอรีเสริชก่อน แป๊บนึงๆ ฮืม


พาเที่ยวต่อๆๆๆ มหาสถูปแรกที่ผมไปเที่ยวเลย คือรุวันเวลิเสยะ (Ruvanveli) ซึ่งมีอีกหลายชื่อ คือ สุวรรณมาลิกเจดีย์ (เจดีย์ทรายทอง) รัตนมาลิกเจดีย์ (เจดีย์ทรายแก้ว) ซึ่งชื่อหลังทั้งสอง เป็นชื่อที่คนไทยสมัยสุโขทัยเรียก


พระมหาสถูปแห่งนี้ถือเป็นเจดีย์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของลังกา เปรียบเสมือนเจดีย์ยุทธหัตถีบ้านเรา เพราะสร้างขึ้นเมื่อพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยชนช้างได้ชัยแก่พระยาเอฬารทมิฬ กอบกู้อิสรภาพให้กรุงลังกาได้

พระองค์จึงให้สร้างมหาสถูปมีหัตถีปราการ (ช้างล้อมที่ฐานด้านนอก หรือฐานประทักษิณ) ถือเป็นเจดีย์รุ่นแรกๆของลังกาที่มีช้างล้อม บางท่านก็ว่าท่านถือเป็นสัญลักษณ์ว่าได้ชนช้างชนะพระยาทมิฬ ช้างจึงเ้ป็นสัตว์มีบุญคุณปกป้้องพุทธศาสนาจากท้าวต่างแดนนอกรีต



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 09:06

เจดีย์องค์นี้ คนสุโขทัยไปเที่ยวไหว้นมัสการกันแล้ว ท่านเรียกว่า สุวรรณมาลิกบ้าง รัตนมาลิกบ้าง

มีความเชื่อของลังกาว่า เมื่อถึงเวลาธาตุอันตรธาน (เมื่อสิ้นพุทธศาสนา 5000 ปี) พระบรมธาตุเจ้าทั้งหลายในพิภพมนุษย์ พิภพนาค จะไปรวมกันในห้องธาตุเจดีย์องค์นี้ แล้วเหาะไปต้นพระศรีมหาโพธิ์ เกิดเพลิงไหม้พระธาตุอันตรธาน เปลวเพลิงพุ่งขึ้นสูงเท่าพรหมโลก...

ในจารึกนครชุมกล่าวพยากรณ์วันสิ้นศาสนาไว้ว่า

"เมื่อปีอันจักสิ้นศาสนาพระพุทธเป็นเจ้าที่สุดทั้งหลายอั้น ปีชวดเดือนหกบูรณมี วันเสาร์ วันไทยวันระวายสัน ไพสาขฤกษ์ เถิงเมื่อวันดังนั้น แต่พระธาตุทั้งหลายอันมีในแผ่นดิืนนี้ก็ดี ในเทพโลกก็ดี ในนาคโลกก็ดี เหาะไปกลางหาว และไปประชุมกันในลังกาทวีป เข้าอยู่ในกลวงรัตนมาลิกมหาสถูป"

"แล้วจึงจักเหาะไปอยู่ในต้นพระศรีมหาโพธิ ที่ำพระพุทธเป็นเจ้าตรัสแก่สรรเพชญุตญาณเป็นพระพุทธเมื่อก่อนอั้นจึงจักกาลำไฟไหม้พระธาตุทั้งอั้นสิ้นแล เปลวพุ่งขึ้นคุงพรหมโลก ศาสนาพระพุทธจักสิ้นในวันดังกล่าวอั้นแล"

นึุกถึงเพลง Requiem ของโมสาร์ทเลย ร้องไห้

ช้างล้อมซ่อมใหม่แล้ว เป็นช้างยืนโผล่ออกมาครึ่งตัว เหมือนวัดช้างล้อมกำแพงเพชร แต่ไม่ทรงเครื่อง ไม่อยู่ในซุ้ม


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 10:07

เมืองอนุราธปุระ ยังมีวัดเก่าแก่อีกมายมายน้ักหนา เช่น วัดเชตวัน วัดลังการาม วัดทักษิณาราม วัดอโศการาม

ถ้าสนใจประวัติศาสตร์สุโขทัย จะทราบได้ว่า ชื่อวัดเหล่านี้ปรากฏในจารึกของสุโขทัยทั้งนั้น

พาไปดู monastery เขาบ้าง เป็นสำนักสงฆ์ที่มีอาคารอำนวยความสะดวกครบครันครับ

โรงพยาบาลครับ สิงหลเรียก เวทหาละ (Vedahala) ตรงกลางจะมีห้องพระ ล้อมรอบด้วยอาคารต่างๆ แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก OPD ผู้ป่วยใน มีห้้องรักษาโรคแบบต่างๆ

อันนี้เป็นโลงหิน เขาว่าเอาไว้จับพระป่วยแช่น้ำยา


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 10:12

ห้องผู้ป่วยแต่ละห้องจะแยกจากกัน มีผนังคั่น (นัยว่ากันติดเชื้อมั้ง) มีห้องยาด้วยนะ ในนั้นก็จะมีพวกหิน โกร่ง สำหรับบดยา

อันนี้เป็นบ่อแช่น้ำร้อนในโรงพยาบาล เขาเรียกว่า ชันตาฆระ (Jantaghara) แขกสิงหลคุยว่าใช้หินแกะเป็นเดือยเข้าล๊อกกันสนิท น้ำไม่รั่วไม่ซึมเลย


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 10:23

อันนี้เป็นหอฉัน จำชื่อสิงหลไม่ได้เสียแล้ว

นัยว่าแขกคุยว่าแต่ละวัดมีพระอยู่ 5000 รูป เวลาบิณฑบาต ก็จะเอาข้าวมาเทรวมๆกันในราง แล้วตักแบ่งกันทีหลัง รางข้าวทำจากหิน ยาวถึง 19 เมตร!!!

ต้องคิดดูว่าพระจะเยอะขนาดไหน บางวัดพิเศษเลย มีรางแยกกับด้วย แต่รางแยกกับจะสั้นกว่า

มีห้องนั่งฉันในระเบียง ตรงกลางเป็นลานตากบาตร และมีรางน้ำบนหลังคาปล่อยลงมาสำหรับล้างบาตร ที่ฐานมีบริเวณสำหรับล้างบาตร และมีทางระบายน้ำออกด้วย


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 10:32

ดูฝ่ายอรัญญิกกันบ้างครับ ที่นี่ชื่อกาฬุเทยะ โปกุนะ (Kalutiya Pokuna) หรือสระดำ เชื่อว่า เป็นอารามเก่าแก่ ชื่อ หทัยุณหาราม (วัดหัวใจอบอุ่น จุมพิต)

อยู่ในบริเวณวัดมหินตาเล อันเป็นที่มาของวัดป่ามะม่วงบ้านเรา

อารามนี้มีสระน้ำตรงกลาง กั้นเขื่อนกันตลิ่งพัง มีโบสถ์กลางน้ำ มีเจดีย์บนเนิน มีห้องสมุด มีกุฏิสองชั้นห้องน้ำในตัว มีบันไดหินเชื่อมแต่ละกุฏิ พื้นเล่นระดับ มีที่ทำสมาธิบนหน้าผา สามารถมองเห็นวิวทั้งหมด ยังกับรีสอร์ทหรูกลางป่า น่าไปบวชเป็นพระลังกามั่ง


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 10:55

มาถึงวัดมหินตาเลครับ วัดนี้อยู่นอกเมืองอนุราธปุระไปพอสมควร บรรยากาศคล้ายๆภูพระบาทบ้านเรา

มีความสำคัญตรงที่ เป็นสถานที่ซึ่งพระมหินท์ โอรสพระเจ้าอโศกมหาราชที่บวชเป็นพระอรหันต์ มาพบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะซึ่งกำลังออกล่ากวาง ทั้งสองได้ทายปัญหากัน แล้วพระเจ้าเทวาันัมปิยติสสะก็ยอมรับนับถือพุทธศาสนา มีเจดีย์สำคัญที่สร้างเป็นอนุสรณ์คือ อัมพสถานเจดีย์ หรือเจดีย์มะม่วง

ปัญหานั้นมีว่า พระมหินท์ชี้ไปที่ต้นไม้ใกล้มือ...

 "ดูกรมหาบพิต ต้นไม้นี้ชื่ออะไร"

"นี่ต้นมะม่วง"

"นอกจากต้นมะม่วงนี้ ยังมีต้นมะม่วงต้นอื่นอีกหรือไม่"

"ยังมีต้นมะม่วงอีกมายในป่านี้"

"นอกจากต้นมะม่วงอื่นๆแล้ว ยังมีต้นไม้อื่นอีกหรือไม่"

"นอกจากต้นมะม่วงอื่นๆแล้ว ยังมีต้นไม้อื่นอีกมากแต่มิใช่ต้นมะม่วง."

"นอกจากมะ่ม่วงต้นอื่นๆ และต้นไม้อื่นที่มิใช่ต้นมะม่วงแล้ว ยังมีต้นไม้อื่นอีกหรือไม่ มหาบพิต"

"มีสิ ก็ต้นมะม่วงต้นนี้ไง " เจ๋ง

"โอ มหาบพิต พระองค์ทรงพระสติปัญญาอันล้ำเลิศ!!"  ตกใจ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 11:30

วัดนี้จะถือเป็นจุดกำเนิดพระพุทธศาสนาในลังกาก็ว่าได้ ทุกวันนี้เจดีย์มะม่วงหรืออัมพสถานถูกซ่อมใหม่แล้ว แต่ก็ยังเป็นปูชนียสถานสำคัญของลังกา เป็นที่แสวงบุญกันแพร่หลาย


 และที่สำคัญก็คือเป็นต้นกำเนิดวัดป่ามะม่วง สุโขทัยบ้านเรา!!! ยิ้มเท่ห์

เรื่องปรากฏในจารึกป่ามะม่วง ปีพ.ศ.1890 พญาฤาไทย (ลิไทย มหาธรรมราชาที่1) เสวยราชย์อยู่เมืองศรีสัชชนาลัย สุโขทัยได้ยี่สิบสองข้าว ก็โปรดให้ราชบัณฑิตไปเชิญมหาสามี แต่ลังกาทวีป อันมีศีลาจารคล้ายพระขีณาสพมายังกรุงสุโขทัย ให้มาพักยังเมืองพันในหัวเมืองมอญ จากนั้นพระองค์โปรดให้ปลูกกุฎีวิหารในป่ามะม่วงทิศใต้กรุงสุโขทัย ปราบพื้นให้ราบแล้วประดับประดาข้าวตอกดอกไม้เรียบร้อยงามหนักหนาดังพระพิษณุกรรมมานฤมิตร


แล้วให้อำมาตย์ราชสกุลทั้งหลายไปอัญเชิญมหาสามีมาแต่เมืองพัน มาทางเมืองฉอด เมืองเชียงทอง เมืองบางจันทร์ บางพาร เข้าประตูทางทิศบูรพาไปถึงทิศประจิม  ให้กั้นเพดานผ้าไม่ให้แสงตะวันร้อน แขวนพวงมาลัยดอกไม้ ปูลาดผ้าเบญจรงค์ไม่ให้ฝุ่นเปื้อนพระบาท อัญเิชิญมหาสามีเข้าจำพรรษา


เมื่อออกพรรษาก็ทรงกระทำมหาทาน หล่อพระพุทธรูปทองสำริดใหญ่เืท่าองค์พระพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้กลางเมืองสุโขทัย

จากนั้นทรงออกบวชเป็นพระภิกษุ ทรงอธิษฐานว่า ผลบุญที่อาตมาออกบวชครั้งนี้ไม่ปรารถนาจักรพรรดิสมบัติ พรหมสมบัติ อินทรสมบัติ อาตมาปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้านำสัตว์ข้ามสังสาร....


พญาิลิไทยทรงพระโอษฐ์ (เมาท์) ต่อว่า เมื่อทรงรับไตรสรณคมแล้ว ชาวบ้านต่างร้องไห้สาธุการบูชา ธรณีไม่อาจรับพระคุณอันหนักของพระองค์ได้ก็สั่นไหว พื้นน้ำก็สะเทือน เมื่อพระองค์ย่างพระบาทลงสัมผัสพื้นดินวัดป่ามะม่วง ธรณีก็ไหว (อีกรอบ)  และยังมีปาฏิหาริย์อื่นๆอีก แต่ไม่ทรงเมาท์ต่อ...


ในบริเวณเดียวกันยังมีเจดีย์อีกหลายองค์ ในภาพบนยอดเขาคือ เจดีย์มหินทุเสยะ ครับ ประดิษฐานพระอุณาโลมของพระพุทธเจ้า


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 11:36

จะเห็นได้ว่า พญาิลิไทยทรงไอเ้ดนติไฟน์พระองค์เองเป็นพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ อาจจะเป็นเพราะทรงเชี่ยวชาญปิฎกไตร ทรงอ่านมหาวงส์พงศาวดารลังกามากจนอินพระทัย เมื่อเชิญมหาสามีมา ก็ตี๊ต่างให้มหาสามีสิงหลนั้นเป็นพระมหินทเถระ ปลูกกุฎีวิหารให้อยู่ในป่ามะม่วง จำลองเหตุการณ์ตอนพบเทวานัมกับพระมหินท์พบกันที่มหินตาเล

ลังกานี่ช่างมีอิทธิพลต่อสุโขทัยจริงๆ หายใจเข้าออกเป็นสิงหลทวีปกันหมดเลย

มีเจดีย์อีกบนยอดเขาอีกลูก ชื่อเจดีย์กัณฐกะครับ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 11:40

ใกล้ๆเจดีย์ยังมีอาราธนาคัล หรือหินอาราธนา ซึุ่งเชื่อว่าพระมหินท์เหาะจากอินเดียมาลงที่นี่ บ้างก็เชื่อว่าเป็นสถานที่ที่สุมนสามเณรเหาะขึ้นไปประกาศเชิญเทพเจ้าต่้างๆ ให้มาฟังพระมหินท์เทศนา


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 มี.ค. 10, 12:25

ขอบคุณสำหรับคำอธิบายครับพี่กุ  ยิงฟันยิ้ม
บรรยากาศที่ลังกานี่น่าไปเหมือนกันนะครับ เพิ่งดู little Buddha เห็นแล้วอยากไปเนปาล
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 11:45

ิบรรยากาศคล้ายๆเนปาลนะ (เคยไปหรอฟะ ฮืม)

ขอรักษาคอนเซปท์ชมรมอนุรักษ์ิจิตรกรรมไทยบ้างนิดนึงครับ พาไปดูิจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในศรีลังกาที่สีห์คีรียะกันดีกว่า จิตรกรรมที่นี่มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11 ถ้าเชื่อว่าเขียนขึ้นสมัยพระเจ้ากัสสปะ ผู้สร้างวังสิห์คีรียะ นั่นคือร่วมสมัยตอนต้นของทวารวดีบ้านเราทีเดียว และมีอายุอยู่ร่วมสมัยจิตรกรรมอันเลื่องชื่อที่ถ้ำอชันต้า รัฐมหาราษฏร์ อินเดียอีกด้วย

ลักษณะการเขียนเห็นได้ชัดว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรรมอินเดียสมัยคลาสสิค ซึ่งเขียนภาพมีมิติ มีกล้ามเนื้อเสมือนจริง มีการลงแสงเงาทำให้ภาพไม่แบน ลักษณะเด่นก็คือ นิยมให้แสงเข้าจากด้านหน้า ทำให้เน้นเ้ส้นใช้สีเข้มกว่า

หากเทียบกับอินเดียแล้วถือเป็นยุคทองทีเดียว ซึ่งหลังจากนั้นต่อมา จิตรกรรมอินเดียจะเสื่อมลง กลายเป็นภาพสองมิติ เขียนแบบแบนๆ ไม่ีมีแสงเงา ไม่มีกล้ามเนื้อ ใช้มุมมองจากด้านข้างมากกว่า






บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง