เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:03



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:03
เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ คนดีจากแดนไกลที่ฝากทั้งร่างและผลงานที่ทำไว้ ในพื้นแผ่นดินสยามแห่งนี้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:07
ข่าวนี้มาจากหนังสือพิมพ์สยามไสมย ถ้าสะกดอย่างปัจจุบันก็คือ สยามสมัย น่าจะแปลมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า Siam Times เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนและรายสัปดาห์ที่ออกเมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๒๕ - ๒๔๒๙ บรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์คือหมอสมิท (Samuel J. Smith) มิชชันนารีชาวอังกฤษ ผู้ตั้งโรงพิมพ์หมอสมิทขึ้นที่ตำบลบางคอแหลม เพื่อจัดพิมพ์หนังสือต่างๆ ออกจำหน่ายบุกเบิกวงการหนังสือของเมืองสยาม
 
สำนวนภาษาหนังสือพิมพ์สมัยนั้นแสนจะตรงไปตรงมาเหมือนเล่าสู่กันฟัง อย่างเช่นประโยคว่ามีข่าวว่าในวันพุธสามยามเศษ ไม่สู้สบาย สักครู่หนึ่งขาตระไกรแข็งเลย พูดไม่ออกจนสิ้นใจ แต่กว่าจะถึงแก่กรรมก็ข้ามวันข้ามคืนไปถึงวันศุกร์  

ถ้าคุณหมอCVTเข้ามาอ่านแล้ว จะกรุณาสันนิฐานหน่อยว่าท่านเสียชีวิตเพราะโรคอะไรก็จะเป็นพระคุณยิ่งนะครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:10
นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์เป็นคนอังกฤษที่เข้ามารับราชการสนองพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยในการอภิวัฒนาการสยามให้ก้าวทันนานาอารยประเทศ แม้จะถึงแก่กรรมในวัยสี่สิบแปดเท่านั้น แต่ท่านได้สร้างผลงานไว้มากมาย ผมจึงอยากให้คนไทยยุคหลังได้อ่านเรื่องราวของท่านไว้บ้าง โดยว่าไปตามข่าวมรณกรรมของท่านในสยามไสมยนี้แหละ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:11


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:17
คำว่าอังกฤษ คนอังกฤษเองสมัยโน้นเขียนเองว่า อังคริษ นะพระคุณท่าน ลอนดอน ท่านเขียนว่า ลันดัน ตามสำเนียงแท้ๆเลย

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เกิดเมื่อวันที่๒๒ พฤษภาคม ๑๘๓๖ (พ.ศ.๒๓๗๙) ที่ Hastings, East Sussex เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙ อายุยังไม่เต็ม๒๑ดี อยู่ในฐานะนักศึกษาเข้ามาเรียนภาษาไทยเพื่อจะกลับไปรับราชการเป็นล่ามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อรู้ภาษาไทยดีแล้วก็เข้าทำงานเป็นล่ามให้เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กกงสุลอังกฤษประจำสยามในตอนนั้นก่อน และทำให้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายอาลาบาศเตอร์เป็นคนฉลาด และมีวิชาการสำรวจรังวัดติดตัวมาแต่เดิม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดฯให้ตัดถนนเจริญกรุงขึ้นใหม่เพื่อขยายเมืองออกไปนอกกำแพงพระนครนั้น  นายอาลาบาศเตอร์ได้อาสาเข้าช่วยงานรังวัดถนนด้วย ตอนเริ่มต้นทำนั้น วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จทรงม้ามาทอดพระเนตร ทรงทักท้วงว่าถ้าตัดถนนใหญ่โตขนาดนั้น ตรงแน่วจากประตูพระนครที่สามยอดแล้ว หากเกิดอริราชศัตรูเข้ามาตีพระนคร(ทรงหมายถึงฝรั่งนั่นแหละ)แล้วลากปืนใหญ่มาตั้งบนถนน ก็จะเล็งยิงประตูพังโดยง่าย จึงทรงสั่งให้วางแนวถนนใหม่ให้โค้งตามรูปข้างล่าง เคยมีคนสมัยนี้ถามว่าคนตัดถนนสมัยโน้นเขาคิดยังไงจึงทำถนนโค้งอย่างนี้  คำตอบก็อย่างที่ผมเล่านี่แหละครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:19
ต่อมารัฐบาลอังกฤษได้เลื่อนตำแหน่งนายอาลาบาศเตอร์ให้เป็นถึงรองกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ นับว่าหนุ่มมากสำหรับตำแหน่งนี้

ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองกงสุล ครั้งหนึ่งนายอาลาบาศเตอร์ได้ทำหน้าที่รักษาการกงสุลใหญ่อังกฤษประจำกรุงสยามด้วยเมื่อเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กพ้นจากตำแหน่งและรัฐบาลอังกฤษยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดให้มาแทน
 
เมื่อจะเกิดสุริยุปราคาที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๑นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้เชิญผู้แทนรัฐบาลต่างๆที่มีสถานกงสุลอยู่ในสยามให้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ด้วย นายอาลาบาศเตอร์จึงได้เป็นหัวหน้าคณะนักดาราศาสตร์ของพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร ร่วมกับคณะนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส คณะกงสุลอเมริกันประจำกรุงสยาม ตลอดจนชาวยุโรปและอเมริกันที่พำนักอยู่ในประเทศ ร่วมขบวนเสด็จพระราชดำเนินในฐานะพระราชอาคันตุกะในโอกาสนั้นด้วย
ในภาพที่ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์โดยมีฝรั่งยืนเรียงแถวอยู่ที่ค่ายหลวงหว้ากอนั้น นายอาลาบาศเตอร์คงยืนอยู่กับเขาด้วย พิจารณาจากหุ่นที่ผอมๆสูงๆไม่สวมเครื่องแบบทหารแล้ว อาจจะเป็นคนที่สี่จากซ้าย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 12, 08:29
ขออนุญาตเสริมคุณนวรัตน

คุณอาลาบาสเตอร์บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ด้วย

ส่วนหนึ่งของบันทึกของ เฮนรี่  อาลาบาสเตอร์
เขียนเสร็จในกรุงเทพฯ    วันที่ 24 สิงหาคม, ค.ศ. 1868


คุณปิยะสารณ์คงเคยผ่านตาแล้วเป็นแน่


THE ECLIPSE of 1868
Henry Alabaster’s account

หาอ่านได้ที่นี่

http://www.alabaster.org.uk/chron18.htm#eclipse

แถมด้วยภาพเขียนสีน้ำ ฝีมือคุณหญิงแหม่ม

Henry’s wife, Palacia Alabaster, had painted a picture of the scene at the Jungle Palace which is now in the Public Record Office PRO FO 69/46/810S

Reproduced below is a small section from the picture, but the original is in bright colour. A better, miniature reproduction of this is enclosed with the Chronicle (printed version) for you to keep.

(http://www.alabaster.org.uk/chron18/ch18vill37.jpg)

อยากเห็นภาพฉบับสมบูรณ์จัง

 ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 08:31
^
ขอบพระคุณ
คุณเพ็ญชมพูนควรจะแปลมาลงในกระทู้นี้นะครับ น่าสนใจเรื่องราวแท้ๆ ไม่ต้องอาศัยร่างทรงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ;D

หลังจากกลับจากหว้ากอได้ไม่นาน สยามก็ผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่เนื่องจากยังมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินว่าราชการแทน และถวายตำแหน่งวังหน้าให้แก่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ รัฐบาลอังกฤษก็เล่นการเมืองด้วยการแต่งตั้งนายโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ อดีตนายร้อยเอกทหารอังกฤษที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงจ้างไว้ฝึกทหารวังหน้าและสนิทสนมกับกรมหมื่นบวรวิไชยชาญมานานนม  แต่ลาออกจากราชการสยามมาสมัครเข้าคัดเลือกเป็นกงสุลใหญ่แห่งสหราชอาณาจักร ให้ได้ตำแหน่งนี้ข้ามหน้านายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ผู้ถือว่าเป็นสายวังหลวงไป

จึงอย่าได้แปลกใจ เมื่อทำงานในตำแหน่งรองกงสุลไปได้สักระยะเดียว นายอาลาบาศเตอร์ก็ได้เกิดขัดแย้งกับกงสุลน็อกซ์อย่างแรง  ถึงขนาดลาออกจากตำแหน่งกลับไปประเทศอังกฤษทีเดียว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 12, 08:45
^
ขอบพระคุณ
คุณเพ็ญชมพูนควรจะแปลมาลงในกระทู้นี้นะครับ น่าสนใจเรื่องราวแท้ๆ ไม่ต้องอาศัยร่างทรงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ;D

อ่านตอนที่น่าสนใจบางตอน ที่นักแปลตัวจริงสรุปให้ฟังดีกว่า

THE ECLIPSE of 1868
Henry Alabaster’s account


But all the time there were two sources of uneasiness; the first, the weather had been overcast, and though it improved on the 15th there was a general expectation that we should not see that which we had come to see; second, the French were complaining and dissatisfied, and saying the Siamese were so suspicious of them that they would give them no assistance. (This was unfair, the Siamese, if I was not misinformed, wanted to do everything for them, even to feeding them). As an instance of what resulted, I may mention the following. M. Pierre, the botanist of the Expedition, wished to make a journey. "The jealous Siamese" said some "gave him no carts or assistance, believing he came to spy out the land". I asked him whether he had applied for them, he said "No" his chief had determined to take nothing from the Siamese, so had refused to ask for assistance for him. I spoke of it unofficially to a Siamese officer and in a few hours the gentleman was on his way rejoicing with three carts and ten coolies. For this, and some other services I had the fortune to render M. Pierre, I am to have the pleasure of receiving a duplicate set of the plants collected by him (embracing he believes more than 200 new varieties) which I shall forward to the Kew Museum. Also my name, or my present official position is to be attached to a remarkable rush that grows in muddy holes in Siam. I believe it was only the irritating cloudy sky that caused the ill will for as the weather improved it all passed away and the Siamese civilities, sacks of potatoes etc. were freely accepted.


Hy Alabaster

      
   เรื่องมีว่า  ทางฝรั่งเศสโวยวายกัน    อาลาบาสเตอร์แวะไปดู  เห็น  ปิแอร์  the botanist of the Expedition   เป็นชาวฝรั่งเศส    

ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทางไทย  เพราะปิแอร์ไม่ได้ขอ

อาลาบาสเตอร์ก็ไปช่วยพูดให้    เลยได้เกวียนมาสามลำ และ คนงาน ๑๐ คน

เพราะความเอื้อเฟื้อนี้และอย่างอื่นอีกนิดหน่อย     ปิแอร์สัญญาว่าจะแบ่งพรรณไม้ให้ ๑ ชุด  

 ซึ่งน่าจะมีตัวอย่างใหม่ ๆ  มากกว่า ๒๐๐ ขนิด     he believes more than 200 new varieties

ซึ่งกระผม(เขียนรายงานถึงกระทรวงต่างประเทศของตัว) จะส่งไปที่ the Kew Museum.
 

นำเกร็ดมาเล่าพอเป็นน้ำจิ้ม

 ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 09:04
อ่านแล้ว ผมว่าน่าสนใจทั้งเรื่องนั่นแหละครับ

นายอาลาบาศเตอร์กลับไปอยู่ที่อังกฤษสองปี  คงเป็นเพราะได้ลาออกจากราชการมิใช่เป็นการขอย้ายกลับ ตำแหน่งล่ามของกระทรวงการต่างเทศอังกฤษที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเล่าเรียนถึงเมืองสยาม ก็เลยไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ สยามไสมยเขียนว่านายอาลาบาศเตอร์ถึงกับตกงาน

แต่ผมว่าไม่ใช่ ท่านใช้ความรู้ภาษาไทยศึกษาค้นคว้าแล้วเขียนหนังสือดีไว้เล่มหนึ่ง จะตั้งแต่สมัยอยู่เมืองสยามหรือเปล่าก็มิทราบได้ ชื่อ WHEEL OF THE LAW เป็นหนังสือพระพุทธศาสนา แปลว่าวงล้อแห่งธรรมซึ่งเราเรียกว่า ธรรมจักร ซึ่งถือเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมะขึ้นครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์ ท่านคงใช้ช่วงเวลาดังกล่าวขัดเกลาภาษาและเสนอให้ได้รับการตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ

บัดนี้ WHEEL OF THE LAWยังเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษผู้สนใจพระพุทธศาสนา และเป็นหนังสือที่ถูกใช้อ้างอิงมากที่สุดเล่มหนึ่ง
น่าทึ่งที่หนังสือดังกล่าวเขียนขึ้นโดยศาสนิกชนผู้ประกาศตนเป็นโปรแตสแตนท์ ตั้งแต่เกิดจนตาย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 09:14
อ้างถึง
ขอบพระคุณ
คุณเพ็ญชมพูนควรจะแปลมาลงในกระทู้นี้นะครับ น่าสนใจเรื่องราวแท้ๆ ไม่ต้องอาศัยร่างทรงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง


ถ้าแปลดี จะได้ขอให้แปลเรื่องนี้ต่อเลย ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.ย. 12, 09:29
       ได้ข่าวว่าคุณอ้วนธงชัย  ประมูลหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้ไปตั้งศอก   ที่สำคัญคือมี  The Wheels of Law  ไปด้วย

เคยอ่านมาแล้ว  แต่ก็อยากได้อยู่ดี

นายอาลาบาสเตอร์ เคยแต่งหนังสือ The Wheel of the Law พิมพ์ที่ลอนดอน
เป็นที่เลื่องลือมาก  และนักวิชาการได้ใช้อ้างอิงต่อมามากมาย

คุณหลวงที่นับถือและหวั่นหวาด


        อาลาบาสเตอร์ เขียน หรือ แปล  The Wheel of the Law     
        เมื่อคริสตี้ประเทศไทย เปิดแสดง ในปี ๒๕๔๓    ได้ไปดู
        ประเมินราคาไว้ที่  สี่พัน - หกพันบาท    ขายจริงไปในราคาเท่าไรก็ลืมไปแล้วค่ะ

        ขอเปลี่ยนคำถามเป็นว่า พระ ประชาชีพบริบาลคือใคร  เพราะท่านเป็นเจ้าของหนังสือเล่มที่คริสตี้นำมาประมูล


        (ไปเจอคำตอบแล้วค่ะ ว่า The Wheel of the Law  แบ่งเป็น ๓ ภาค
        ภาคแรก is a revised and enlarged edition of the Modern Buddhist

        ภาคที่สอง แปลมา

        ภาคที่สาม  รวบรวมมา

        อาลาบาสเตอร์เขียนไว้ว่า  "My translation is free or literal, according to my judgment.")
   

หากผู้ใดสนใจหนังสือเล่มนี้ แต่ยังไม่มีสตางค์ หาอ่านได้ที่

http://www.archive.org/stream/wheellawbuddhis00ibgoog#page/n6/mode/2up

 ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 09:59


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 10:00


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 10:04
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ๒๐พรรษา ถือว่าทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทรงโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เครื่องยศเทียบเท่ากรมหลวง แล้วทรงว่าราชการแผ่นดินเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศสยามโดยสมบูรณ์
 
นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ตอนนั้นอายุ๓๔ปี กลับมาเมืองไทยได้จังหวะดี จึงขอเข้ามารับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาศัยที่ทรงรู้จักนายอาลาบาศเตอร์ดีอยู่แล้ว จึงทรงรับไว้ในตำแหน่งราชเลขาธิการส่วนพระองค์


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ย. 12, 10:04

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เกิดเมื่อวันที่๒๒ พฤษภาคม ๑๘๓๖ (พ.ศ.๒๓๗๙) ที่ Hastings, East Sussex


เอารูปและแผนที่เมืองเฮสติ้งส์มาให้ดูค่ะ  อย่างที่เป็นอยู่สมัยนายอาลาบาศเตอร์ยังใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น  เป็นเมืองชายทะเลลงไปทางตอนใต้ของลอนดอน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 10:05

ถ้าคุณหมอCVTเข้ามาอ่านแล้ว จะกรุณาสันนิฐานหน่อยว่าท่านเสียชีวิตเพราะโรคอะไรก็จะเป็นพระคุณยิ่งนะครับ


ระหว่างรอคุณหมอ ผมมีเอกสารชิ้นหนึ่งระบุว่า นายเฮนรี่นั้นเสียชีตด้วย "เส้นเลือดสมองแตก" หรือ Stoke ทำให้เกิดอัมพาต


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 10:27
โอ้..น่าจะเป็นคนที่คร่ำเคร่งกับงานมากจนสมองไม่มีเวลาจะพักจะผ่อน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 10:38
ผลงานชิ้นหนึ่งที่ นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ได้ฝากความงามให้กับแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ ท่านได้รับให้ทำหน้าที่หาพันธุ์ต้นไม้ต่าง ๆ มาประดับจัดเป็นสวนสราญรมย์ ได้อย่างงดงาม


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 10:54
^
ขอบคุณครับ ไม่เคยเห็นรูปนี้เลย

คราวที่เสด็จเยือนชวา มลายูและอินเดีย ก่อนพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงสนพระทัยเมืองที่ฝรั่งออกแบบทำไว้หลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือสวนพฤกษศาสตร์ ดังนั้นในฐานะราชเลขาธิการส่วนพระองค์ และเป็นผู้สนใจ มีความรู้ด้านต้นไม้ (ดังบันทึกแปลจากภาษาอังกฤษที่คุณเพ็ญเอามาลงไว้ในกระทู้นี้) นายอาลาบาศเตอร์ จึงได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นที่บริเวณวังสราญรมย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสร้างไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๐๙ เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาพรรณไม้และพันธุ์สัตว์ตามแบบอย่างยุโรป โดยนายอาลาบาศเตอร์เองเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้างสวนด้วยตนเองเมื่อพ.ศ.๒๔๑๗ และยังเป็นผู้สั่งกล้วยไม้รวมทั้งคัทลียามาแสดงในสวนอีกด้วย

ตัวนายอาลาบาศเตอร์เองก็สร้างรังกล้วยไม้ไว้ที่บ้าน และได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มต้นการเลี้ยงกล้วยไม้เป็นคนแรกๆของสยามอีกด้วย
ลูกชายของท่านก็เป็นผู้ที่ได้ถ่ายทอดนิสัยรักต้นไม้นี้มาจากพ่ออย่างเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 11:02
คำว่าอังกฤษ คนอังกฤษเองสมัยโน้นเขียนเองว่า อังคริษ นะพระคุณท่าน ลอนดอน ท่านเขียนว่า ลันดัน ตามสำเนียงแท้ๆเลย

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เกิดเมื่อวันที่๒๒ พฤษภาคม ๑๘๓๖ (พ.ศ.๒๓๗๙) ที่ Hastings, East Sussex เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙ อายุยังไม่เต็ม๒๑ดี อยู่ในฐานะนักศึกษาเข้ามาเรียนภาษาไทยเพื่อจะกลับไปรับราชการเป็นล่ามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อรู้ภาษาไทยดีแล้วก็เข้าทำงานเป็นล่ามให้เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กกงสุลอังกฤษประจำสยามในตอนนั้นก่อน และทำให้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายอาลาบาศเตอร์เป็นคนฉลาด และมีวิชาการสำรวจรังวัดติดตัวมาแต่เดิม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดฯให้ตัดถนนเจริญกรุงขึ้นใหม่เพื่อขยายเมืองออกไปนอกกำแพงพระนครนั้น  นายอาลาบาศเตอร์ได้อาสาเข้าช่วยงานรังวัดถนนด้วย ตอนเริ่มต้นทำนั้น วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จทรงม้ามาทอดพระเนตร ทรงทักท้วงว่าถ้าตัดถนนใหญ่โตขนาดนั้น ตรงแน่วจากประตูพระนครที่สามยอดแล้ว หากเกิดอริราชศัตรูเข้ามาตีพระนคร(ทรงหมายถึงฝรั่งนั่นแหละ)แล้วลากปืนใหญ่มาตั้งบนถนน ก็จะเล็งยิงประตูพังโดยง่าย จึงทรงสั่งให้วางแนวถนนใหม่ให้โค้งตามรูปข้างล่าง เคยมีคนสมัยนี้ถามว่าคนตัดถนนสมัยโน้นเขาคิดยังไงจึงทำถนนโค้งอย่างนี้  คำตอบก็อย่างที่ผมเล่านี่แหละครับ

ตรงนี้ขอยกสองมือเถียงเรื่องถนนโค้งครับ ถนนเจริญกรุงตัดเป็นเส้นตรงยาวตรงไปถึงถนนตกที่บางคอแหลมที่มีโรงพิมพ์ของหมอสมิธตั้งอยู่ ถนนเจริญกรุงนั้นควรเรียกว่าหักมุมเบนองศาเพื่อรับกับโค้งน้ำเจ้าพระยาเป็นแนวเส้นตรงไม่คดโค้งแต่ประการใด

ภาพที่ยกประกอบนั้นเป็นภาพถนนเยาวราชที่มีความโค้งเนื่องจากการตัดถนนตรงๆไม่ได้ เพราะว่าติดบ้านเรือนขุนนางระดับใหญ่ ติดบ้านเจ้าสัว ติดบ้านคนบังคับ ทำให้ถนนคดไปคดมา ผิดกับถนนเจริญกรุงที่ตัดตรงแน่ว หักมุมเบนองศาเท่านั้น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 11:23
เอ้า ไม่เป็นไร ติดไว้ก่อน ขอเวลาไปถามเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพหน่อยนะ

 


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 11:27
เอ้า ไม่เป็นไร ติดไว้ก่อน ขอเวลาไปถามเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพหน่อยนะ

 
เอากับเขาด้วยหรอ ระวังนะคำตอบที่ได้อาจจะบอกว่า วันที่ตัดถนนเล็งกล้อง เจ้าพ่อไม่ได้เดินไปดู


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 11:31
นายอาลาบาสเตอร์ ได้กราบทูลถวายคำแนะนำในวิชาการสำรวจและทำแผนที่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก จึงได้โปรดฯให้ทดลองตั้งกองทำแผนที่ขึ้นในพ.ศ.๒๔๑๘   ให้นายอลาบาสเตอร์ เป็นหัวหน้า และกัปตันลอฟตันเป็นผู้ช่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามอีก๔นาย ได้แก่ ม.ร.ว.แดง (หม่อมเทวาธิราช) นายทัด ศิริสัมพันธุ์ (พระยาสโมสรสรรพการ) นายสุด (พระอุตรพิจารณ์) และ ม.ร.ว.เฉลิม (ภายหลังเป็นพระยาสากลกิจประมวญ) และได้เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพฯ เพื่อตัดถนนเจริญกรุงให้ขยายยาวออกไป รวมทั้งถนนอื่นๆอีกหลายสาย ต่อจากนั้นได้ทำแผนที่เพื่อวางสายโทรเลขไปยังพระตะบอง และแผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม  เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือ และเป็นแนวทางการป้องกันฝั่งทะเล เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการรุกรานทางเรือจากต่างประเทศ

เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ รัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตรัฐบาลสยาม ให้กองทำแผนที่ กรมแผนที่แห่งอินเดียซึ่งมีกัปตัน เอช.ฮิล เป็นหัวหน้า และนายเจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี เป็นผู้ช่วยเดินทางผ่านเข้ามาในประเทศสยาม เพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมปักหมุดรังวัดต่อเนื่องจากประเทศอินเดีย ผ่านพม่าเข้าเขตประเทศสยามทางจังหวัดราชบุรีเข้าบรรจบกับแผนที่ทางทะเลที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งขอสร้างหมุดหลักฐานทางแผนที่บนภูเขาทอง และที่พระปฐมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงด้วย ภายหลังจากทรงพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จึงโปรดเกล้าฯอนุโลมตามคำแนะนำของนายอลาบาสเตอร์ ให้ความยินยอมตามคำขอของรัฐบาลอังกฤษ และทรงเห็นชอบกับการเจรจาทาบทามนายเจมส์  แมคคาร์ธี เข้ามารับราชการเพื่อวางรากฐานการทำแผนที่ของไทย

ประเทศสยามหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการแผนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กองทำแผนที่เพียงกองเดียว  ไม่สามารถรองรับความต้องการจำนวนมากได้ จึงมีโปรดเกล้า ฯ  ให้ตั้งโรงเรียนแผนที่ขึ้นเมื่อวันที่๑๓มกราคม พ.ศ.๒๔๒๕ โดยพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร(สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนแผนที่ กับแต่งตั้งนายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล)เป็นครูใหญ่ และนายเฮนรี นิโกเล เป็นครูรอง ทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถว ๒ ชั้น (ตึกกองทหารมหาดเล็ก) หน้าประตู  พิมานไชยศรี ด้านตะวันออก ในพระบรมมหาราชวัง โดยเกณฑ์นายทหารรักษาพระองค์ ๓๐ นายเข้าเป็นนักเรียนรุ่นแรกนายแมคคาร์ธี ได้พานักเรียนไปฝึกภาคปฏิบัติที่พระราชวังบางปะอิน โดยการลากโซ่ผ่านทุ่งนาหลังเกาะบางปะอิน  ถึงแม้นายแมคคาร์ธี จะเป็นครูใหญ่แต่ก็ได้นำนักเรียนฝึกผ่านภูมิประเทศที่เป็นน้ำ โคลน เลน ด้วยตนเอง ในขณะที่นักเรียน ซึ่งเป็นบุตรหลานเจ้านายและข้าราชการพากันทนไม่ไหว เพราะไม่เคยได้รับความลำบากจึงพากันหลบหนีเกือบหมด เหลือเพียงนักเรียนที่เป็นบุตรหลานคนทั่วไปไม่มากนัก นอกจากการฝึกที่หนักหน่วงแล้วความรู้ต่างๆก็เป็นปัญหาไม่น้อย เนื่องจากครูใหญ่และครูรองพูดไทยไม่ได้ จึงต้องจ้างนายบัญชา ภูมิสถาน(พระยามหาอำมาตยาธิบดี) เป็นล่ามและช่วยตำแหน่งวิสามัญ เพราะได้เรียนภาษาอังกฤษและเลขมาดีแล้ว และนอกจากจะเป็นล่ามแล้วยังสมัครเป็นนักเรียนด้วย

เมื่อ โรงเรียนแผนที่ดำเนินการมาได้ราวสามปีมีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษามากพอที่จะตั้งหน่วยราชการขึ้นได้ จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกเหล่านักสำรวจออกจากสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ตั้งขึ้นเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๘  นายแมคคาร์ธี ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ เป็นร้อยเอกพระวิภาคภูวดล ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้ากรม  ขึ้นตรงต่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมีพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง

รูปข้างล่างถ่ายสมัยต้นรัชกาลที่๖


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 12:08
อ้างถึง
ภาพที่ยกประกอบนั้นเป็นภาพถนนเยาวราชที่มีความโค้งเนื่องจากการตัดถนนตรงๆไม่ได้ เพราะว่าติดบ้านเรือนขุนนางระดับใหญ่ ติดบ้านเจ้าสัว ติดบ้านคนบังคับ ทำให้ถนนคดไปคดมา ผิดกับถนนเจริญกรุงที่ตัดตรงแน่ว หักมุมเบนองศาเท่านั้น

ภาพแรกจากเจ้าพ่อกู๋

เห็นตรงที่ถนนเจริญกรุงโค้งไหมครับ
ผมกำลังหาค้นข้อความต้นฉบับเรื่องที่ผมเอามาเขียนนั้นอยู่ รื้อหนังสือออกมาดูจนมึนแล้ว เจอเมื่อไหร่จะเข้ามาอีก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 12:33
ผมก็ลืมไป เดี๋ยวนี้ทางวิชาการเค้าไม่ต้องลำบากเที่ยวหาข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากหนังสือกันเท่าไหร่ เพราะมีบริการเจ้าพ่อกู๋ทุกระดับประทับใจ คลิ๊กหาบนโต๊ะทำงานได้เลย

แม้ข้อความข้างล่างจะไม่เหมือนที่ผมเขียนไว้เซ๊ะเด๊ะ แต่ก็พอได้อาศัยนะคุณหนุ่มนะ

วางผังถนนเจริญกรุง

ได้มีเรื่องเล่ากันว่า ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องปืนใหญ่ จึงได้ทรงทักท้วงการวางผังการตัดถนนเจริญกรุง ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร โดยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยข้อด้อยที่ประตูเมืองจะเป็นจุดที่ง่ายต่อการโจมตี หากข้าศึกนำปืนใหญ่มาตั้งยิงที่ถนน ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต ซึ่งจะเห็นว่าหักมุมอยู่

http://sd.mod.go.th/phapinkao/phapinkao1.htm


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 09 ก.ย. 12, 12:44
ผมก็ลืมไป เดี๋ยวนี้ทางวิชาการเค้าไม่ต้องลำบากเที่ยวหาข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากหนังสือกันเท่าไหร่ เพราะมีบริการเจ้าพ่อกู๋ทุกระดับประทับใจ คลิ๊กหาบนโต๊ะทำงานได้เลย

แม้ข้อความข้างล่างจะไม่เหมือนที่ผมเขียนไว้เซ๊ะเด๊ะ แต่ก็พอได้อาศัยนะคุณหนุ่มนะ

วางผังถนนเจริญกรุง

ได้มีเรื่องเล่ากันว่า ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องปืนใหญ่ จึงได้ทรงทักท้วงการวางผังการตัดถนนเจริญกรุง ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร โดยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยข้อด้อยที่ประตูเมืองจะเป็นจุดที่ง่ายต่อการโจมตี หากข้าศึกนำปืนใหญ่มาตั้งยิงที่ถนน ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต ซึ่งจะเห็นว่าหักมุมอยู่

http://sd.mod.go.th/phapinkao/phapinkao1.htm


แหม.. ผมว่า ข้อมูลจากเจ้าพ่อกู๋ หรือจะแม่นยำเท่าเจ้าพ่อหลักเมือง
อิอิอิ
 ;D ;D ;D
แซวเล่นนะครับ ทุกๆท่าน อย่าว่ากัน

ว่าแล้วก็ขอรายงานตัวเข้าเรียนวิชานี้นะครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 14:39
ผมก็ลืมไป เดี๋ยวนี้ทางวิชาการเค้าไม่ต้องลำบากเที่ยวหาข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากหนังสือกันเท่าไหร่ เพราะมีบริการเจ้าพ่อกู๋ทุกระดับประทับใจ คลิ๊กหาบนโต๊ะทำงานได้เลย

แม้ข้อความข้างล่างจะไม่เหมือนที่ผมเขียนไว้เซ๊ะเด๊ะ แต่ก็พอได้อาศัยนะคุณหนุ่มนะ

วางผังถนนเจริญกรุง

ได้มีเรื่องเล่ากันว่า ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องปืนใหญ่ จึงได้ทรงทักท้วงการวางผังการตัดถนนเจริญกรุง ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร โดยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยข้อด้อยที่ประตูเมืองจะเป็นจุดที่ง่ายต่อการโจมตี หากข้าศึกนำปืนใหญ่มาตั้งยิงที่ถนน ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต ซึ่งจะเห็นว่าหักมุมอยู่

http://sd.mod.go.th/phapinkao/phapinkao1.htm


"ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร" สามแยกตรงนี้หมายถึงที่ใด  ???

"ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต " หมายความว่าแนวร่างถนนเจริญกรุงไม่ใช่เส้นทางนี้ แต่หักมุมลงมาที่สะพานดำรง แล้วร่างต้นฉบับถนนเจริญกรุงไปออกประตูอะไร  ???


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 15:44
แหะ แหะ...เอ์๊อก

สมองนึกถึงสามยอด แต่นิ้วไปจิ้มเป็นสามแยก
สัญญาวิปลาสอีกแล้ว อัตโน

ขออภัยแล้วกันนะ คุณหนุ่มนะ
เอาแต่มูลๆแล้วกัน ว่าถนนเจริญกรุงตอนเริ่มตัดนี้ นายอาลาบาศเตอร์ได้มาทำเซอร์เวย์ส่องกล้องให้ และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านเสด็จมาเห็นว่าแนวตรงเป๊ะกับประตูเมือง ท่านก็มีรับสั่งให้มันโค้งซะ เบี่ยงซะ ปืนใหญ่มันจะได้มาตั้งเล็งตรงๆไม่ได้

ส่วนฝอยๆที่ว่าเบี่ยงจุดไหน เบี่ยงแล้วไปตรงกับอะไร เอาเป็นว่าผมไม่ทราบก็แล้วกัน ถ้าคุณหนุ่มลากเส้นในแผนที่โบราณของคุณก็ทราบเองได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:07
ก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบม้าเร็ว หรือใช้คนเดินข่าวด้วยเท้าและพาหนะสุดแต่จะสะดวก

ต่อมากงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการสื่อสารทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพกับสิงคโปร์ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่๔ โดยเปิดรับบรรดาจดหมายที่ต้องการส่งไปมากับประเทศต่างๆขึ้น ใช้สถานที่ตึกยามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังที่ทำการกงสุล ซึ่งตอนนั้นตั้งอยู่บริเวณที่ทำการไปรณีย์กลางบางรักปัจจุบัน เปิดขายดวงตราไปรษณียากรของมลายูและอินเดีย ที่มาพิมพ์อักษร "B" แทนคำว่าBangkokทับลงไป ให้ผู้ต้องการไปติดจดหมายที่จะส่งไปต่างประเทศ แล้วส่งไปรณีย์เหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ ก่อนจัดส่งไปประเทศต่างๆผ่านเส้นทางคมนาคมของอังกฤษต่อไป

วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบรมวงศานุวงศ์ประกอบด้วยเจ้านาย ๑๑ พระองค์ ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวัน มีชื่อว่า “Court” หรือ “ข่าวราชการ” เป็นหนังสือแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวด้วยข้อราชการและความเป็นไปภายในพระราชสำนัก เพื่อทูลเกล้าฯถวายและแจกให้กันในหมู่เจ้านาย แต่ปรากฏว่ามีผู้สนใจต้องการพากันมาทูลขอมากขึ้น ทำให้ต้องพิมพ์เพิ่มเป็นจำนวนมาก แต่เดิมผู้ต้องการต้องไปรับหนังสือที่หอนิเพทพิทยาคม ในพระบรมมหาราชวังด้วยตนเอง ทำให้เกิดความไม่สะดวก สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯจึงทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการนี้ส่งให้แก่สมาชิกขึ้น เรียกว่า “โปสต์แมน” และเนื่องในการต้องส่งหนังสือนี้ จึงทรงโปรดให้มี “ตั๋วแสตมป์” ขึ้นเป็นครั้งแรกของสยามเอง สำหรับใช้เป็นค่าเดินส่งหนังสือ



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:13
ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๔๒๓ จมื่นเสมอใจราช(หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง ศิริวงศ์)  ข้าราชสำนักคนหนึ่งได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขอให้ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น ทรงเห็นด้วยแต่เนื่องจากเป็นงานใหญ่ หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ จึงโปรดฯให้จมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นก่อน และทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯทรงเป็นผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในสยาม โดยร่วมมือกับจมื่นเสมอใจราชและนายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึกซึ่งเดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการที่ริบราชบาทว์มา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า“ไปรสะนียาคาร”


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:20
นายอาลาบาศเตอร์ ได้รับผิดชอบจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนักและตู้ไปรษณีย์ พิมพ์ตราไปรษณียากร และจัดระเบียบข้อบังคับไปรษณีย์ จมื่นเสมอใจราชได้ทดลองเปิดกิจการไปรษณีย์ขึ้นในบางท้องที่ของจังหวัดพระนครก่อน ด้วยการจัดให้บ้านเรือนมีเลขที่บ้าน เพื่อที่จะได้นำส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง แล้วจึงจะค่อยๆขยายออกไปยังหัวเมือง เมื่อเข้าที่เข้าทางแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯจึงทรงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เห็นควรที่จะประกาศเปิดการไปรษณีย์ขึ้นในกรุงเทพได้ในวันที่๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีกฎหมายแผ่นดินสำหรับการไปรษณีย์ขึ้นไว้เป็นหลักฐานตามร่างที่นายอาลาบาศเตอร์เสนอ หลังจากทรงมีพระราชวินิจฉัยแล้วจึงได้ประกาศให้ใช้บังคับได้ นับว่าเป็นกฎหมายไปรษณีย์ฉบับแรกของสยาม

ก่อนหน้านั้นนิดเดียว สถานกงสุลอังกฤษได้มีหนังสือถึงรัฐบาลสยามลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๖ อ้างว่าข้าหลวงใหญ่ที่สิงคโปร์ให้สอบถามเรื่องจะขอจัดตั้งไปรษณีย์สาขาของอังกฤษขึ้นที่กรุงเทพอย่างเป็นทางการ รวมทั้งขอมีอำนาจสิทธิขาด ในการพิมพ์จำหน่ายตราไปรษณียากร และรับฝากจดหมายติดต่อกับต่างประเทศทั้งหมด แต่กระทรวงต่างประเทศสยามได้ตอบกงสุลอังกฤษไปว่าไม่อนุญาต เพราะรัฐบาลกำลังจะเปิดการไปรษณีย์ขึ้น และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ไปแล้วเมื่อวันที่๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๘ ทำให้กิจการไปรษณีย์ของสถานกงสุลอังกฤษซึ่งดำเนินการมากว่า๓๐ปี เป็นอันยุติลง

ฝรั่งตรงกลางน่าจะเป็นนายอาลาบาศเตอร์ ที่ยืนอยู่ท่ามกลางข้าราชการการไปรณีย์


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:22
การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฎว่า เมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษ ปรากฎว่ามีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชม สมพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวันที่๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๖ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความตอนหนึ่งว่า

"การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน"  


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 09 ก.ย. 12, 16:22

ถ้าคุณหมอCVTเข้ามาอ่านแล้ว จะกรุณาสันนิฐานหน่อยว่าท่านเสียชีวิตเพราะโรคอะไรก็จะเป็นพระคุณยิ่งนะครับ


ระหว่างรอคุณหมอ ผมมีเอกสารชิ้นหนึ่งระบุว่า นายเฮนรี่นั้นเสียชีตด้วย "เส้นเลือดสมองแตก" หรือ Stoke ทำให้เกิดอัมพาต

ขออภัยครับ คำที่ถูกต้องคือ Stroke ครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 16:23
ก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบม้าเร็ว หรือใช้คนเดินข่าวด้วยเท้าและพาหนะสุดแต่จะสะดวก

ต่อมากงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการสื่อสารทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพกับสิงคโปร์ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่๔ โดยเปิดรับบรรดาจดหมายที่ต้องการส่งไปมากับประเทศต่างๆขึ้น ใช้สถานที่ตึกยามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังที่ทำการกงสุล



เอาภาพนำมาหยอดให้ชมครับ  ;D  เป็นภาพตึกยามที่เปลี่ยนเป็นที่ทำการไปรษณีย์กงสุลอังกฤษ ที่ทำการรับฝากจดหมายไปยังสิงคโปร์และฮ่องกง ในส่วนบทบาทของนายเฮนรี่ ในด้านกิจการไปรษณีย์มีจดหมายลงนามโดยท่านเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๐๗ ให้จัดการแก้ไขปัญหาการหายของจดหมาย ด้วยการนำกุญแจมาล๊อคไว้ ๒ ดอก เก็บไว้ที่เลขาการ และเจ้าของถุงไปรษณีย์ และจดหมายต่าง ๆ ไม่ต้องนำส่งให้เจ้าหน้าที่กงสุลอีกต่อไป ให้ทำการมาส่งที่ตึกยามได้ทันที


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 16:28
ก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบม้าเร็ว หรือใช้คนเดินข่าวด้วยเท้าและพาหนะสุดแต่จะสะดวก

เปิดขายดวงตราไปรษณียากรของมลายูและอินเดีย ที่มาพิมพ์อักษร "B" แทนคำว่าBangkokทับลงไป ให้ผู้ต้องการไปติดจดหมายที่จะส่งไปต่างประเทศ แล้วส่งไปรณีย์เหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ ก่อนจัดส่งไปประเทศต่างๆผ่านเส้นทางคมนาคมของอังกฤษต่อไป




เราเรียกว่า แสตมป์ Straits Settlement นำมาใช้ในสยาม ก่อนที่จะสยามจะดำเนินการพิมพ์ตราไปรษณียการถึง ๓๐ ปี พิมพ์ประทับตัว B คือ Bangkok จึงนำมาให้ชมครับ มี ๓ รุ่น ต่างกันที่ลายน้ำ รุ่นแรกลายน้ำหัวช้าง รุ่นสองลายน้ำ มงกุฎ อักษร CC และรุ่นสาม ลายน้ำมงกุฎ อักษร CA


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 09 ก.ย. 12, 16:31
ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๔๒๓ จมื่นเสมอใจราช(หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง ศิริวงศ์)  ข้าราชสำนักคนหนึ่งได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขอให้ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น ทรงเห็นด้วยแต่เนื่องจากเป็นงานใหญ่ หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ จึงโปรดฯให้จมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นก่อน และทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯทรงเป็นผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในสยาม โดยร่วมมือกับจมื่นเสมอใจราชและนายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึกซึ่งเดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการที่ริบราชบาทว์มา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า“ไปรสะนียาคาร”
คุณครู Navarat.C ครับ "ริบราชบาทว์" แปลว่าอะไรครับ?


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:40
ที่ยุโรปตอนนั้น พระองค์เจ้าปฤศฎางค์อัครราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอนได้ถูกสั่งให้ไปติดตามล๊อบบี้ให้สำนักงานใหญ่สหภาพไปรษณีย์สากลที่กรุงเบอร์ลินรีบรับรองใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสยามโดยเร็วที่สุด เพราะเกรงว่ารัฐบาลอังกฤษเมื่อถูกปฏิเสธไปแล้วจะไม่ยอม และอ้างสิทธิในฐานะที่ทำการรับส่งไปรษณีย์ในสยามมาก่อนร่วม๓๐ปี เรียกร้องอะไรมาอีก

เมื่อสหภาพไปรษณีย์สากลตอบรับให้เป็นสมาชิกแล้ว จึงเป็นอันจบ  สยามจึงมีดวงตราไปรษณียากรที่มีชื่อประเทศของตนปรากฏอย่างเต็มภาคภูมิ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:48
อ้างถึง
คุณครู Navarat.C ครับ "ริบราชบาทว์" แปลว่าอะไรครับ?

คุณครูใจหายวาบหวิดStrokeรับประทาน นึกว่าเขียนอะไรผิดปล่อยไก่ขายหน้าอีกแหล๋ว

เข้าทรงเจ้าพ่อกู๋ปั๊บ เจ้าพ่อบอกตามนี้ จดไว้นะคร๊าบ
ริบราชบาทว์ แปลว่า เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 16:52
ใครจะพาเข้าซอยพระปรีชากลการ ขออดใจรอให้ปลงศพนายอาลาบาศเตอร์เรียบร้อยก่อนนะครับ เพราะเรื่องนั้นก็ยาวทีเดียว เปิดกระทู้ใหม่ได้เลย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 09 ก.ย. 12, 17:12
ขอบคุณคุณครูเนาวรัตน์มากครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:02
เรื่องโทรเลข คู่กับการไปรษณีย์ และโทรศัพท์อีกต่างหาก ดูท่านจะรอบรู้ไปเสียทั้งหมด


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:24
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งขึ้นในพระบรมมหาราชวังและพระราชทานนามว่า “ประพาสพิพิธภัณฑ์” เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ทรงรวบรวมไว้ แต่มิได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม โดยเรียกพิพิธภัณฑสถานในครั้งนั้นทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Museum”

ครั้นถึงรัชสมัยต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้โปรดฯให้จัดตั้งมิวเซียมหลวงขึ้นที่หอคองคอเดีย ซึ่งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศาลาสหทัยสมาคม เพื่อจัดแสดงสิ่งของต่างๆเหล่านั้น โดยพระยาภาสกรวงษ์(พร บุนนาค)เป็นหัวหน้าฝ่ายไทย และนายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ เป็นผู้อำนวยการจัดการแสดงให้พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดียมีภาพลักษณ์เป็นแบบสากล

และนายอาลาบาศเตอร์จึงจัดแสดงในหอคองคอเดีย แบ่งเป็น ๓ กลุ่มคือ
     ๑. ศิลปะโบราณวัตถุของไทย
     ๒. ศิลปะโบราณวัตถุส่วนพระมหากษัตริย์ 
     ๓. ศิลปะโบราณวัตถุจากต่างประเทศ

ทั้งหมดนั้นนายอาลาบาศเตอร์เป็นผู้ริเริ่มจัดทำแค็ตตาล็อกบัญชีภาษาอังกฤษและภาษาไทย และให้สิบเอกทัด ศิริสัมพันธ์ แห่งกรมทหารช่างมหาดเล็กรักษาพระองค์ (ต่อมาได้เป็น พลโทพระยาสโมสรสรรพการ)เป็นภัณฑารักษ์คนแรกของมิวเซียมคองคอเดีย

เมื่อแล้วเสร็จ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเนื่องในการเฉลิมพระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา โดยมีกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ ดังนั้นวันที่๑๙กันยายนของทุกปีจึงเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย”ตามมติครม.ในรัชสมัยรัชกาลที่๙

เมื่อเลิกวังหน้าแล้ว จึงโปรดฯได้ย้ายมิวเซียมหลวงจากพระบรมมหาราชวังไปจัดตั้ง ณ พระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งต่อมาเรียกว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้โปรดให้ยกฐานะพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน ขึ้นกับกระทรวงธรรมการ และมีพระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เป็นเจ้ากรมคนแรก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:37


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:43


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:45
สุสานของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ที่ถนนสีลม


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:47
ข่าวสุดท้ายเกี่ยวกับนายอาลาบาศเตอร์ของสยามไสมย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:50
รูปถ่ายสุดท้ายของนายอาลาบาศเตอร์ก่อนถึงแก่กรรม

แสดงความชราภาพเกินวัยไม่ถึงห้าสิบของสุภาพบุรุษอังกฤษท่านนี้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 18:58
เรื่องของผมจบแล้ว แต่เรื่องของท่านคงยังไม่จบ
ขอเชิญช่วยกันเสริมต่อเพื่อบูชาคุณของฝรั่งที่อุทิศตนทำงานด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

เพื่อก้าวพ้นความล้าหลังของสยามที่ท่านเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารด้วยครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 12, 19:07
เรื่องของผมจบแล้ว แต่เรื่องของท่านคงยังไม่จบ
ขอเชิญช่วยกันเสริมต่อเพื่อบูชาคุณของฝรั่งที่อุทิศตนทำงานด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

เพื่อก้าวพ้นความล้าหลังของสยามที่ท่านเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารด้วยครับ

จบเร็วจัง......อาลองเปิดสยามไสมยไปเรื่อยๆ จะเห็นคอลัมภ์ขายของเลหลัง ของบ้านนี้ขายหมดทุกรายการ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 19:39
เอ้า ก็เข้ามาช่วยกันนำเสนอซิครับ

สยามไสมยที่อยู่ในมือ ก็มีเร่ืองของท่านเพียงเท่านี้แล


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ย. 12, 20:22
เข้ามาเพิ่มเรตติ้งค่ะ
ภายในสุสานของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์  ตกแต่งอย่างประณีต  มีรูปปั้นหรือสลักครึ่งตัวของนายอาลาบาสเตอร์ประดับไว้สวยงาม  พร้อมคำจารึกว่า
To
Henry Alabaster
Formerly of H B.M.’s Consular Service
Afterwards in that of
His Majesty the King of Siam
By whom this monument was erected
In recognition of faithful service
Born A.D.1836
Died A.D.1884 

หมายความว่าสุสานของนายอาลาบาสเตอร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นพระราชทานเนื่องในคุณงามความดีของผู้ตาย ที่ทำงานสนองพระมหากรุณาธิคุณมาอย่างซื่อสัตย์

และมีคำจารึกว่า
A prophet is not without honour
save in his own country

แปลว่า  "นักปราชญ์นั้นย่อมไม่ไร้ผู้ยกย่อง    เว้นแต่ในประเทศของเขาเอง"

อาจเป็นคำจารึกตามความประสงค์ของผู้ตายเอง  หรือว่าตามที่ญาติหรือครอบครัวเห็นว่าเหมาะสม    ถ้าให้ตีความก็ขอเดาต่อว่า คงมีใครสักคนในหมู่คนรู้จัก เขียนยกย่องนายอาลาบาสเตอร์ ว่าเขาเป็นคนเก่งมีฝีมือเยี่ยมทีเดียว เสียแต่อังกฤษมองไม่เห็นเท่าที่ควร  จึงไม่ได้ยกย่องให้คุ้มค่าที่มีคนดีขนาดนี้   เป็นเหตุให้นายอาลาบาสเตอร์ต้องมาใช้ความสามารถในดินแดนอื่นแทนในบ้านเกิดเมืองนอนตนเอง
ถ้าเป็นคำจารึกที่โปรดเกล้าฯพระราชทาน   ก็ถือว่าเป็นการยกย่องนายอาลาบาสเตอร์อย่างสูง เท่าที่ชาวต่างชาติคนหนึ่งจะพึงได้รับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ก.ย. 12, 20:37
อ้างถึง
สุสานของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ที่ถนนสีลม

ขอแก้ว่า

สถานที่พำนักชั่วนิรันดร์ของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ อยู่ที่สุสานโปรเตสแตนต์ ถนนเจริญกรุง ยานนาวา กรุงเทพมหานคร


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Matoom ที่ 09 ก.ย. 12, 23:07
A prophet is not without honour
save in his own country

quote จาก Matthew 13:57 ครับ

http://bible.cc/matthew/13-57.htm


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ย. 12, 00:17
กราบขอบพระคุณ คุณ NAVARAT.C เป็นอย่างสูง ที่นำเรื่องราวของ นาย เฮนรี่ อลาบาสเตอร์ มาเผยแพร่ ..... ผมพยายามติดตาม สืบหา เรื่องราวของเขา ได้ความว่า ท่านเป็นฝรั่งอยู่เมืองไทย ที่รักเมืองไทย เป็นดังบ้านของตัว ใช่หาประโยชน์ ให้แก่แผ่นดินเดิมของตนไม่เลย และเป็นคนที่เริ่มนำความเจริญมาสู่สยาม ในยุคที่ ต้องปรับตัวให้ทันต่อโลก ฉนั้น ควรได้รับการสรรเสริญ เป็นอย่างยิ่ง บุคคลหนึ่ง

อลาบาสเตอร์ (Alabaster ) เป็นตระกูลเก่าแก่ ของอังกฤษ สืบสาวราวเรื่อง ได้ตั้งแต่ ศตวรรษที่ ๑๔ (ก็ ๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว - บ้างก็ว่า สืบได้ตั้งแต่ ยุค พวกนอร์แมน เข้ามาในอังกฤษ ศตวรรษ ที่ ๑๒)  

Alabaster มาจากคำว่า "arbalester" ในตระกูลอลาบาสเตอร์ สันนิษฐานว่า ต้นตระกูล อาจเป็นผู้ทำหน้าไม้ (อาวุธชนิดหนึ่ง) ให้กับกองทหาร ฉะนั้น ตราประจำตระกูล จึงเป็นรูปหน้าไม้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ย. 12, 00:58
เฮนรี่ อลาบาสเตอร์ เป็นบุตรของ  James Chaloner Alabaster (๑๘๐๖ - ๑๘๔๐)  และ Harriet Sophia Woodman มีพี่น้อง สามคนคือ Charles Alabaster (๑๘๓๓ - ๑๘๖๕), Henry Alabaster  (๑๘๓๖ - ๑๘๘๔) และ Sir Chaloner Alabaster (๑๘๓๙ - ๑๘๙๘)

พอ เฮนรี่ อายุได้ ประมาณ ๔ ขวบ บิดา มารดา ก็ป่วย เสียชีวิตจากวัณโรค ติดๆ กัน ทำให้ สามพี่น้อง เป็นกำพร้า ต้องไปอยู่ในความอุปการะของป้า แต่บ้านนี้ ใผ่ความรู้ ได้ทุนเรียน King's College กันทั้งสามคน และเป็นนักเดินทาง ไม่มีใคร อาศัยอยู่อังกฤษเลย พี่ชายคนโต เป็นวัณโรค เช่นบิดามารดา จึงไปตั้งรกรากอยู่ที่นิวซีแลนด์

ส่วน Henry และ  Chaloner เมื่อเรียนจบแล้ว ก็ออกมาอยู่ฮองกง พี่คนกลาง (เฮนรี่) เดินทางเข้ามาเป็น ล่ามนักเรียน (Student Interpreter) และเข้ามาเีรียนภาษาไทย ส่วนคนน้อง เข้าไปทำงานอยู่ในจีน จนได้เป็น Vice - Consul ที่เซียงไฮ้ และตำแหน่งใหญ่โตจนเป็นท่านเซอร์ก่อนตาย......


ตอนเฮนรี่ เรียนที่ King College นั้น เดิม ท่านตั้งใจจะเรียนด้านพฤกษศาสตร์ ตามสมัยนิยม(ยุคนั้นกำลังฮิต) อ่านมาจากไหนแล้วก็ลืม ว่า ท่านสอบไม่ได้ หรือ เปลี่ยนความตั้งใจ ..... เป็นว่า มุมานะเรียน Surveying และ engineering เป็นหลัก แต่ก็ยังลงเรียนวิชา Botany เป็นวิชารอง

ตอนที่ท่านตามเสด็จฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ไปหว้ากอ ท่านก็อุตส่าห์ จะลงมือสำรวจพรรณพฤกษ์ เพราะมีนักพฤกษศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชอง แบบติส หลุยส์ ปิแยร์ (J.B.J. Pierre) แต่ก็ไม่ได้ มีตัวอย่างสำรวจในครั้งนั้น ปรากฏเลย ผิดกับ ตา ปิแยร์ กับ ท่าน ชอร์มเบอร์ก ที่มีผลงานการเก็บตัวอย่าง ทางพฤกศาสตร์ มากมาย (ชื่อของท่านเชอร์ ชอร์มเบอร์ นี้แหล่ะ กลายเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของ "สมัน" (Schomburgk's deer) สัตว์สูญพันธุ์ของไทย....... ส่วนผลงานของ ท่าน อลาบาสเตอร์ที่คิว (Kew Garden) นั้น ไว้จะมาเล่า เพราะเขามีความในกัน ลึกซึ่ง .......



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.ย. 12, 04:53
ขอบคุณคุณปิยะสาส์นที่เล่าเรื่องนี้มากครับ ผมเขาไปอ่านที่นายอาลาบาศเตอร์บันทึกเรื่องหว้ากอตามที่คุณเพ็ญชมพูลิงค์ให้ เห็นเขียนเรื่องที่ฝรั่งเศสไปเก็บพันธุ์พฤกษ์เหมือนกัน บทความนั้นดีมากไม่ยาวเกิน และสะท้อนให้เห็นความรักคนไทยของท่านผู้นี้ อยากเอาลงไว้ในกระทู้ให้อ่านกันง่ายๆด้วย

ขอให้คุณเพ็ญช่วยแปลแล้ว กำลังรอลุ้นอยู่
ผมกำลังจะเดินทางไปต่างจังหวัดสองสามวัน คงไม่มีเวลาคร่ำเคร่งกับกระทู้นี้มากครับ กลับมาแล้วค่อยว่ากัน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.ย. 12, 21:22
ผมแวะเข้ามาดู เห็นกระทู้นี้นิ่งอยู่กับที่ ไม่ทราบที่ผมเขียน"กลับมาแล้วค่อยว่ากัน"จะสื่อความหมายผิดไปหรืออย่างไร

ท่านที่จะกรุณาเสริมกระทู้นี้ ขอเชิญนะครับ ไม่ต้องรอผม


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.ย. 12, 21:47
ได้ไฟเขียวจากท่านเจ้าของกระทู้  ก็เลยแปลเรียบเรียงบทความที่มีคนเขียนเกี่ยวกับเฮนรี อาลาบาศเตอร์มาคั่นโปรแกรมไปพลางๆก่อนค่ะ จนกว่าเจ้าของกระทู้จะกลับมา

King's College ที่เฮนรีได้ทุนการศึกษาไปเรียนนั้นปัจจุบันก็คือ มหาวิทยาลัยลอนดอน   เฮนรี่เป็นนักเรียนหัวปราดเปรื่องคนหนึ่ง  เรียนได้หลายสาขาทั้ง  ทั้งกฎหมายนานาชาติ  วิศวกรรมศาสตร์   วิชาช่างก่อสร้าง  วิชาช่างสำรวจรังวัด  และพฤกษศาสตร์   สาขาทั้งหมดนี้เอื้อให้เฮนรีนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกสาขาในสยาม

ในสายตาฝรั่งที่เข้าในสยาม เมื่อค.ศ.1856  (พ.ศ   2399 ในรัชกาลที่ 4 )   กรุงเทพยังไม่ใช่เมือง ถ้าเทียบกับเมืองตามมาตรฐานยุโรป   สิ่งที่เรียกว่ากรุงเทพ  ก็คือวังหลวงกับวัดพระแก้วล้อมด้วยกำแพงมหึมาสีขาว   พ้นกำแพงออกไปก็มีวัดอีกจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในหมู่ไม้    มีบ้านไม้ลอยอยู่บนแพสองฝั่งเจ้าพระยา    นอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากต้นมะพร้าว  สวนผลไม้  ไร่นาผืนเล็กๆ และที่ดินว่างมีน้ำท่วมขัง  
กรุงเทพไม่มีถนนให้เดิน  ผู้คนสัญจรกันไปมาทางน้ำ หรือมีคนแบกหามไปถ้าเป็นคนใหญ่คนโต    ฝรั่งที่พอจะเห็นหน้าได้ยู่ในสยาม มีแต่พวกกัปตันเรือโดยสารกับพวกมิชชันนารีเท่านั้นเอง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.ย. 12, 22:04
   คำบรรยายข้างบนนั้น เป็นการมองจากสายตาฝรั่ง คนละแบบกับกวีไทยที่มองกรุงเทพว่าเป็น "อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ"      ดิฉันไม่ทราบว่าบทความนี้มาจากบันทึกของนายอาลาบาศเตอร์ หรือบันทึกของนักการทูตฝรั่งคนไหนที่เข้ามาสยามในสมัยนั้น     แต่จะคนไหนก็ตาม น้ำเสียงก็ออกจะดูวังเวงเมื่อบรรยายเมืองหลวงของประเทศที่เขาเห็นว่าแตกต่างจากประเทศเขาลิบลับ

   คนเขียนเล่าต่อไปว่า ในตอนนั้นสถานกงสุลของอังกฤษเพิ่งจะสร้างเสร็จ เป็นบ้านไม้ตั้งอยู่ตรงที่เป็นที่ว่าการไปรษณีย์  ริมถนนเจริญกรุงซึ่งเพิ่งตัดใหม่     การก่อสร้างนอกจากไม้กระดานสร้างบ้านซึ่งหาได้จากท้องถิ่นแล้ว  นอกนั้นพวกเครื่องประกอบทั้งหลายต้องสั่งตรงมาจากอังกฤษหมด เพราะไม่มีขายในสยาม  ไม่ว่าจะเป็นกุญแจประตู  สายยู ลูกบิด และกระจกหน้าต่าง ต้องอิมพอร์ตเข้ามาใช้ในการนี้ทั้งนั้น    กว่าจะเดินทางจากอังกฤษมาถึงสยามได้ก็ต้องใช้เวลาประมาณหกถึงแปดเดือน 
   นอกจากนี้ในกรุงเทพยังมีสัตว์ป่าอาศัยปะปนอยู่กับมนุษย์ได้ เห็นกันทั่วไป   ถ้าเดินลงไปที่สนามก็จะเจองูต่างๆ 13 ชนิดกับผีเสื้ออีก 27 ชนิด   แล้วยังมีแม้แต่คุกในสถานกงสุล  ( consular gaol)
    คำหลังนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่าเขาหมายถึงอะไร   น่าจะเป็นห้องขัง เตรียมเอาไว้ขังชาวต่างชาติที่กระทำผิด อย่างห้องขังใต้ถุนศาล 


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 12, 07:29
สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม

ในภาพเป็นสถานกงสุลอังกฤษถ่ายจากถนนเจริญกรุงไปยังแม่น้ำ จะเห็นเสาธงไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่พร้อมธงยูเนี่ยนแจ๊ค ซึ่งหันหน้าออกไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ซึ่งนายเฮนรี่เคยทำงานอยู่ที่นี่มาก่อน เสาธงไม้นั้นได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ ๔ ภายหลังหักโค่นไป


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 12, 07:34
เมื่อแรกตั้งสถานกงสุลอังกฤษ โดยซื้อที่ดินจากชาวมอญและพม่าที่เจริญกรุงนั้น ในตอนแรกสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้านหน้าคืออาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังเมื่อถนนมีความสำคัญมากขึ้น วิถีการสัญจรก็เปลี่ยนแปลง มีการตั้งอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียสำริด หันหน้าออกถนนเจริญกรุง รองรับรถราง รถเจ๊ก และรถยนต์ แทน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 12, 09:32
กำลังอยากได้ภาพประกอบอยู่พอดีค่ะ 
นับว่าตะเกียงวิเศษนี้ขลังจริง  ไม่ต้องถู ก็เนรมิตมาให้ได้ทันใจ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 12, 14:01
 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์เข้ามาในสยามครั้งแรก เป็นหนุ่มอายุเพียง 21 ปี    ทีแรกเขาไม่ได้ตั้งใจจะอยู่ทำงานที่นี่  แต่มาในฐานะนักเรียนภาษาไทย  เพื่อจะนำกลับไปรับราชการที่อังกฤษในฐานะล่าม     เพราะในรัชกาลที่ 4  ยังไม่มีคนไทยคนไหนพูดภาษาอังกฤษได้    
ในบทความเขียนว่า ภาพบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมที่เห็นคนทำให้เฮนรี่ใจฝ่ออยู่ไม่น้อย  แต่ดิฉันคิดว่าไม่จริง    ถ้าหากว่าเจ้าตัวใจฝ่อจริงคงไม่อยู่ในสยามมาอีกยาวนานหลายปี จนกระทั่งได้เข้าร่วมขบวนเสด็จไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอเมื่อพ.ศ. 2411
เฮนรี่เที่ยวผูกมิตรกับปัญญาชนสยามในยุคนั้น  และสนใจศึกษาพุทธศาสนาจนเขียนหนังสือธรรมะได้  เรื่องนี้คุณนวรัตนเล่าไว้ข้างบนแล้ว จะไม่กล่าวซ้ำนะคะ

ในเมื่อเฮนรี่เป็นนักศึกษาหนุ่มที่ฉลาดปราดเปรื่อง มีความรู้หลายด้าน จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองกงสุล    ผลงานของรองกงสุลหนุ่มรายนี้  ข้ามสาขาจากการทูตไปถึงงานช่างสำรวจ เพื่อตัดถนนเจริญกรุง   คนเขียนบรรยายว่าวันแล้ววันเล่า  เฮนรี อาลาบาศเตอร์ต้องลุยสำรวจไปตามสวนผลไม้  ทุ่งนา  บุกน้ำลุยโคลนไปตามพื้นที่ต่างๆเพื่อจะวางเส้นทางถนนสายใหม่
ด้วยผลงานนี่เอง เฮนรี่จึงเป็นที่ถูกพระอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าไปอ่านหนังสือในหอสมุดหลวง(หรือว่าสมัยนั้นชื่ออะไรก็ตาม  ฝากตรวจสอบด้วยค่ะ)  ก็นับว่าความลำบากลำบนของฝรั่งคนนี้ยังประโยชน์ให้สยามอย่างมหาศาล


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ย. 12, 15:46
อลาบาสเตอร์ ทำงานอยู่สถานฑูตอังกฤษเจริญก้าวหน้าดังที่ อ.เทาชมพพูกล่าว ........ ต่อมาเกิดความกับ กงซูล น๊อกซ์ จึงลาออกไปศึกษาต่อ วิชากฏหมาย (เพิ่มเติม) แล้วกลับมาเวียนวนอยู่ แถวเอเชีย จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสต่างประเทศ จึงได้พบกับ อลาบาสเตอร์ อีกครั้ง และได้ทรงว่าจ้างให้เข้ารับราชการในบางกอก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ .....

ในวิกิฯ เขาว่า อย่างนั้น แต่ผมไม่แน่ใจว่า พ.ศ. ๒๔๑๖ ในหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ประพาสที่ไหนบ้าง และ ได้พบกับอลาบาสเตอร์ ที่สิงค์โปร์ หรือที่อื่น ?  ตามข้อมูล คุณวิกิฯ .....

ในเว็บไซด์ http://valuablebook.tkpark.or.th/image/MT/mu.html ว่า ในหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาส แหลมมลายู สิงค์โปร์ ชวา ครั้งแรก ปี ร.ศ. ๙๘ (พ.ศ. ๒๔๑๓) และ อีกครั้งในปีถัดไป เสด็จฯ ไปถึงอินเดีย (พ.ศ. ๒๔๑๔) และครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จึงไม่แ่น่ใจว่า ได้ทรงพบอลาบาสเตอร์ ที่ไหน ? อย่างไร ?

กลับมาเมืองไทยอีกครั้ง อลาบาสเตอร์ เข้าทำงานเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ในหน้าปกหนังสือ WHEEL OF THE LAW ระุบุว่า ท่านดำรงตำแหน่งเป็น Interpreter of Her Majesty’s Consulate General in Siam แปลว่ากระไร โปรดช่วยแปลให้ทราบด้วยเถิด......


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 12, 17:18


คุณปิยะสารณ์ที่นับถือ

Her Majesty's Consulate General in Siam    คือ สถานกงสุลของสมเด็จพระบรมมราชินีนาถ(แห่งเกรทบริเตน)ประจำสยาม



        ตามอ่านเรื่องชองอาลาบาสเตอร์มานานแสนนานแล้ว      ข้อมูลหลายอย่างก็ซ้ำซ้อนและสับสนสำหรับคนที่เพิ่งเคยเห็น

หนังสือของสกุลเองที่ออกมาตั้งสามสิบกว่าตอน   ก็มีข้อมูลแย้งกันบ้าง    ข้อมูลบางอย่างก็หายไป   หาอยู่หนึ่งวันจนไปเจอว่าเป็น

ตอนที่ต้องเสียสตางค์อ่านเสียแล้ว  เช่นหนุ่มน้อยอาลาบาสเตอร์เขียนถึงลูกผู้น้องเรื่องการเดินทางหลายฉบับ      เรื่องปาลาเซียทนความร้อน

ในสยามไม่ได้
   
        แต่มีตอนใหม่หลุดออกมา  อันนี้อาลาบาสเตอร์เล่าให้ญาตืฟังว่า  ปาลาเซียมีเพื่อนๆแล้ว  แต่กลุ่มของเธอไม่ไปตามธิดากงสุลเลย

ปาลาเซียก็เขียนไปบอกญาติว่า  สามีทำงานหนักมาก   สตางค์ก็น้อย(ต้องรีบเล่าไว้  เดี๋ยวหายไปอีก)   



เรื่อง The Wheel of the Law  นั้น    เพิ่งเล่าไปไม่นานมานี้ว่า  อาลาบาสเตอร์แปลมาเป็นบางส่วน  และรวมมาจากหนังสือหรือบทความ

เรื่อง Modern Buddhist

        "The first part is a revised and enlarged edition of the "Modern Buddhist,"   the short essay in which I,
last year , introduced  to European readers a summary of an idea of an eminent Siamese nobleman on his
own and other religion".

        "The second part; which illustrates the traditionary phrase, is a Buddhist Gospel, or "Life of Buddha,"
commencing with events previous to his last birth and ending with his attainment of the Buddhahood."

ดูได้ที่  Preface xiv  และ   xv



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 12, 17:32

        อาลาบาสเตอร์นั้น  ขยันและเรียนหนังสือสูง   จะทำงานกับน๊อกซ์ก็คงลำบากใจเต็มประดา

เพราะน๊อกซ์นั้นเรียนหน้งสือคงไม่จบมัธยม  และต่อสู้ชีวิตมาอย่างสาหัส   ขนาดเดินเท้าหนีเจ้าหนี้เล่นม้าเข้าเมืองไทยมาจนได้

เม่ื่อน๊อกซ์กลับไปอังกฤษและได้ยศปลอบใจ  ได้ไปอยู่ที่แถบท่องเที่ยวเชิงเขา   ไม้ได้เอาเมียเมืองไทยไปด้วย  แต่ทิ้งสตางค์ไว้มาก

แคโรไลน์ลงจากคานได้ก็เพราะแม่มีเงินมาก  แต่แคโรไลน์ปาเข้าไปจะสามสิบแล้ว  ในสมัยโน้นคงดูแก่มาก   สมัยสาวๆสวยคมขำ

สาวครึ่งชาตินั้นเมื่อสาวก็แหม่มดีๆนี่เอง    เมื่อสูงอายุก็ดูเหมือนหญิงแขก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 12, 17:52


       ยังไม่ได้ค้นเรื่องตอนอาลาบาสเตอร์กลับไปอังกฤษ   ว่าจะไปเรียนกฎหมายน่ะได้เรียนหรื่อไม่

จำไม่ได้ค่ะ     คิดว่าไม่มีข้อมูล     แต่มีเอกสารบอกไว้ว่าอาลาบาสเตอร์จะกลับมาต่อสุ้ทาง"กฎหมายกับน๊อกซ์"


       เรื่องนี้ถ้าจะเล่าแบบฝอย  ก็จะสนุกมาก   เพราะได้ให้ลิ้งค์ให้หลายท่านไปแล้ว


       การที่อาลาบาสเตอร์มีภรรยาเป็นคนไทย  และมีลูกอีกสองคน      คิดว่าในเวลานั้นเป็นเรื่องปกปิด   เพราะลูกไม่ได้รับมรดกเลย

ต้องต่อสู้เลี้ยงชีวิตด้วยความบากบั่นสาหัส     ภรรยาแหม่มรับพระราชทานเงินเลี้ยงชีพตลอดชีวิต  บุตรอีกสองคน(ตายตั้งแต่เด็กเสียคน)ก็

ได้รับพระราชทานค่าเล่าเรียนจนเรียนจบ           ความคงไม่ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ       ของที่เอาไปเลหลัง

ก็เกลี้ยงบ้าน   ตั้งแต่ม่าน  พรมแขวน(คงสมบัติเก่าเพราะเมืองไทยร้อนอบอ้าว)  กระป๋อง  สายยางรดน้ำ


        หนังสือพิมพ์ในบอสตันก็เขียนไว้ในเดือนต่อมาหลังฝังศพว่า  อาลาบาสเตอร์ทำงานได้   ไม่เคยวางท่าเป็นคนมีความรู้

แต่ไม่ค่อบป๊อบปิวล่าร์   


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 12, 18:54
สนุกมากเลยครับคุณวันดี

แปลว่า นายอาลาบาศเตอร์มาเมืองไทยพร้อมภรรยาแหม่มหรือครับ ผมไม่ทราบเรื่องเลย ยังงงว่าทำไมประวัติบอกว่าลูกเมียลำบากมาก ทั้งๆที่พระราชทานเงินเลี้ยงชีพให้ภรรยาหม้ายปีละ๓๐ชั่ง หรือ๓๐๐ปอนด์ ส่วนบุตรพระราชทานปีละ๒๐ชั่ง หรือ๒๐๐ปอนด์ อึมม์ มันเป็นยังงี้นี่เอง

ข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง ทำไมนายอาลาบาศเตอร์ถึงไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือพระยากับเขาบ้าง สมัยโน้นฝรั่งที่มารับราชการได้รับกันก็หลายคน มีท่านผุ้รู้ท่านใดพอจะทราบไหมครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ย. 12, 20:42
ขอบคุณ คุณ Wandee ที่กรุณาแปล อย่างกระจ่าง

อลาบาสเตอร์ เมื่อเข้าทำงานกับฝ่ายสยามแล้ว ..... อ่านจากเอกสารหลายฉบับ ท่านคงทำงานเป็นตัวจักรสำคัญจริง เพราะต้องทำงานออฟฟิต(ของในหลวง) ออกสำรวจทำถนน วางสายโทรเลข และต้องจัดสวนที่สวนสราญรมย์ อีกด้วย (ทำงานหนัก คุ้มค่าเงินจ้าง และบ้านพระราชทาน )

เมื่อมีคดี พระปรีชากลการ ลูกเขยตา น๊อกซ์ ก็ขู่ฟ้อ ๆ ว่าจะฟ้อง รัฐบาลอังกฤษ ให้เอาเรือรบมาบอมสยาม จนในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้ง ราชฑูตพิเศษ ได้แก่ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง - ชูโต) ไปอังกฤษเป็นการด่วน เพื่อชี้แจง ให้รัฐบาลของกวีนวิคตอเรียทราบ ดีที่ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ ขณะนั้น (Lord Salisbury) ไม่ตื่นตูมตาม กงซูล .......

คนที่เป็นคนคิดแนะนำ การตั้งราชฑูตพิเศษนี้ ก็คือ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ นั้นเอง ทำให้เรื่องในเมืองไทย ไม่ลุกลามเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เพราะพ่อตา-ลูกเขย (ผมว่า เรื่องนี้ อลาบาสเตอร์ ปฏิบัติตนอย่างดีเยี่ยม ไม่นำเรือ่งส่วนตัว มาปะปนกับเรือ่งงาน ดังเช่นท่านกงซูล แม้จะมีความกันมาก่อน)

นอกจากราชการ ร้อน และ แรง แล้ว ท่านอลาบาสเตอร์ ยังเป็นที่ปรึกษาเรื่องย่อยๆ น่าปวดหัว ให้กับกระทรวงต่างประเทศของสยาม จุก จิก หลายเรื่อง ( เสนาบดีขณะนั้นคือ เสด็จในกรมเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งเป็นลูกศิษย์เรียภาษาอังกฤษกับอลาบาสเตอร์) เช่น เมื่อ บารอน สติลฟริด เข้ามาถ่ายรูปในเมืองไทย (มีประกาศขายรูปยาว ๓ เมตร ในสยามสไมย นั้นแหล่ะ)  ลงท้าย ก็โมเมว่า รัฐบาลจ้างให้มาถ่าย แถมค่าถ่าย แพงฉิบฉิว  ..... ต้องเรียกว่า เป็นที่ปรึกษา "ไม้จิ้มฟัน ยัง เรือรบ"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 12, 20:50


ท่านผู้ใหญ่อธิบายว่า  เป็นการใช้สอยส่วนพระองค์ค่ะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 12, 20:52
ก่อนหน้าที่นายเฮนรี่จะมาสยาม ท่านได้สมัตรไปเป็นล่ามที่สถานกงสุลอังกฤษที่ประเทศจีน แสดงว่าท่านมีความรู้ความสามารถในด้านภาษาเป็นอย่างมาก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 12, 20:56

        บิดามารดาของอาราบาสเตอร์นั้น  สุขภาพอ่อนแอ  เป็น T.B.  ตายตามกันทิ้งลูกกำพร้าไว้สามคนตั้งแต่ลูกยังเล็ก

พี่ชายคนโตก็เสียชีวิตเป็น T.B.   ตั้งแต่ยังหนุ่มเพิ่งแต่งงาน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 12, 21:18


        สมัยนั้น  ฝรั่งอยากจะไปผจญภัยต่อสู้โลกของคนด้อยพ้ฒนา     มิชชันนารีล้วนอยากนำความเจริญไป

ให้คนเจริญขึ้นมากันทั้งนั้น       จีนไม่ให้เข้าเมืองมาค้าขาย    จึงเลยมาแอบ ๆ อิง ๆ  แวะมาแจกหนังสือ

ศาสนาพิมพ์เป็นภาษาจีนกันในสยามกัน             เรื่องของแจกคนจีนไม่แพ้ใคร   จึงแย่งกันถึงลงไปในน้ำ   

แล้วรับกระดาษไปปิดไว้ที่ประตู(ทำอะไรได้หลายอย่าง)

 

        ข่าวที่บอสตันแจ้งมาว่า  อาลาบาสเตอร์พูดและเขียนจีนไม่ได้แม้นแต่คำเดียว(ฉบับเดือนต่อมาค่ะ)



ตัวที่เก่งคือ ฮะรีปักส์   ลูกกำพร้าที่ไปเดินซื้อก๋วยเตี๋ยว บะหมี่  ไก่ และอะไรดีล่ะ....ผักกาด  แบบต้องทำงานก็พูดเป็นไปเอง

พี่เขยเป็นคนสอนภาษาจีนและสอบภาษาจีนของล่าม    ฮะรีปักส์ก็สอบได้อ่ะซี  อ่า  อายุ ๑๕ กระมัง

เรื่องฮะรีปักส์นี่ต้องเล่ากันได้อีกนาน         เขาเสียดสีข้าราชการไทยไว้มาก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 12, 21:20
เรื่องลูกเมียของเฮนรี อาลาบาศเตอร์   ท่านมี 2 ครอบครัวพร้อมกัน   หลักฐานทางฝ่ายอังกฤษบันทึกว่ามีลูกชาย 3 คนกับคุณนายพาลาเซีย (สกุลเดิม ฟาเฮย์)  
ลูกชายคนแรกชื่อชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อพ.ศ. 2412  หนึ่งปีหลังสิ้นรัชกาลที่ 4
ลูกชายคนที่สอง   ชื่อเอ็ดเวิร์ด เพอร์ซี  อาลาบาศเตอร์  เกิดในปีถัดมา คือพ.ศ. 2413    
ลูกชายคนที่สาม  ชื่อเออเนสต์  อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อพ.ศ. 2415

ส่วนหลักฐานทางไทยบันทึกครอบครัวในสยามว่า ภรรยาคนไทยชื่อเพิ่ม   มีบุตรชาย 2 คนชื่อทองคำและทองย้อย   ทั้งสองรับราชการในสยาม ก้าวหน้าด้วยดีทั้งคู่
นายทองคำต่อมาคือมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) บิดาของ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี
ส่วนนายทองย้อย ต่อมาคือพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)
          


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 12, 22:19
  ดิฉันไม่แน่ใจว่า เมื่อเฮนรี อาลาบาศเตอร์เดินทางมาถึงกรุงเทพครั้งแรก เขาพาภรรยามาด้วยในคราวนั้นเลยหรือเปล่า   ตอนนั้นเฮนรีอายุ 21  ส่วนพาลาเซียอ่อนกว่า 3 ปี   ถ้าแต่งงานกันก็คงแต่งกันใหม่ๆ แล้วพามาสยามด้วยกันเลย    ถ้าคำนวณว่าเสียเวลาเดินทาง 6-8 เดือน  เจ้าสาวก็แต่งงานเมื่ออายุ 17  เจ้าบ่าว 20
  ข้อมูลประวัติของเฮนรีเกี่ยวกับงานของเขายังสับสนกันอยู่   ฝรั่งเองก็ลอกข้อมูลกันต่อๆมาไม่แพ้คนไทย    จึงมีประวัติหลายแห่งบอกว่าเฮนรีมาที่สยามในฐานะรองกงสุล    ความจริงไม่น่าจะใช่  ประวัติอีกตอนหนึ่งบอกว่า เฮนรีได้รับการแต่งตั้งเป็นรองกงสุล ในอีกหลายปีต่อหลังมาอยู่ในสยาม  ดูเหมือนจะหนึ่งปีก่อนเหตุการณ์สุริยุปราคาที่หว้ากอ    ส่วนลูกชายคนโตที่เกิดจากภรรยาชาวอังกฤษเกิด 1 ปีหลังจากนั้น   ถ้าสองสามีภรรยามาอยู่สยามกันตั้งแต่อายุ 21 กับ 18  ก็ต้องอยู่กันมาเกือบ 10 ปีกว่าจะมีลูก  
  แต่ถ้าเฮนรีไม่ได้พาภรรยามาด้วยตั้งแต่แรก   ก็เป็นได้ว่าเขาเดินทางกลับไปรับราชการที่อังกฤษ เมื่อเรียนภาษาไทยจนใช้การได้ดีแล้ว  จากนั้นแต่งงานแล้วพาภรรยากลับมาสยามอีกครั้ง เพื่อมารับตำแหน่งรองกงสุลในพ.ศ. 2409  จากนั้นอีกสองปี บุตรชายคนแรกถึงคลอดออกมา
  ถ้าจะรู้คำตอบก็ต้องดูหลักฐานว่าภาพวาดทิวทัศน์บ้านช่องในกรุงเทพ ของคุณนายพาลาเซีย วาดขึ้นในพ.ศ.อะไร


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 12, 22:25
   หลังเฮนรี อาลาบาศเตอร์ถึงแก่กรรมแล้ว   คุณนายแหม่มไม่ได้อยู่ในสยาม  หรืออาจจะอยู่พักหนึ่ง  แต่ในที่สุดเธอก็กลับไปพำนักถาวรในบ้านเกิดเมืองนอน    คงพาลูกเต้ากลับไปหมด ไม่ได้ทิ้งไว้ในสยาม จึงไม่มีข้อมูลว่าลูกๆชาวอังกฤษของนายอาลาบาศเตอร์รับราชการในเมืองไทย     มีแต่ลูกที่เกิดจากภรรยาไทยที่รับราชการได้เป็นใหญ่เป็นโตทั้งสองคน
   จากนั้นคุณนายพาลาเซียไปยึดอาชีพเป็นศิลปินวาดภาพ   มีหลักฐานว่าภาพของเธอถูกประมูลด้วย แต่ยังหาตัวอย่างไม่พบ    หลักฐานอีกอย่างคือพบว่าในค.ศ. 1871  เธออาศัยอยู่ที่เซนต์จอร์ช ฮันโนเวอร์สแควร์ ที่เบลเกรฟ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ย. 12, 09:21
ลูกชายคนแรก ชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๙

ลูกชายคนที่สอง   เอ็ดเวิร์ด เพอร์ซี  อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๐

ฉะนั้น ..... บุตรขอบ อลาบาสเตอร์ สองคนแรก น่าจะเกิดที่ สยาม เมื่อท่านมารับราชการในฐานะนักเรียนล่าม จนถึง "ผู้ว่าราชการแทนกงสุล"

(๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ - ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ )



ส่วนบุตรคนที่สาม เออเนสต์  อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๒ ในเว็บไซด์ สายสกุล Alabaster ระบุว่า เกิดที่ Brentford ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ถ้าท่านเดินทางมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ ค.ศ. ๑๘๗๓ บุตรของท่านก็ยังแบเบาะอยู่ ซึ่งไม่น่าจะเดินทางมาพร้อมกัน.......  ท่านคงเดินทางเข้ามาคนเดียว ส่วนคุณปาลาเซีย น่าจะตามมาในภายหลัง

ยังหาสิ่งระบุไม่ได้ว่า บุตรของท่านได้เข้ามาด้วยหรือไม่ ถ้าเข้่ามา ก็น่าจะมีบันทึกว่า เป็นพระสหายของพระราชโอรส ในหลวง ดังเช่น เรื่อง นายหลุยส์ เลียวโนเวนส์ บ้าง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ย. 12, 09:45
เมื่อ อลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทาน เงินเลี้ยงชีพให้ ม่ายของ มิสเตอร์ อลาบาสเตอร์ ตลอดชีวิต (ถ้ายังเป็นม่ายอยู่ ?) ปีละ ๓๐๐ ปอนด์ หรือ ๓๐ ชั่ง คือ เดือนละ ๒๕ ปอนด์  หรือ ๒๐๐ บาท (ทำให้เราได้ความรู้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสมัยนั้น ๘ บาท เท่ากับ ๑ ปอนด์ !!!!) ซึ่งมากกว่า เบี้ยหวัดข้าราชการสยาม คือปีละ ๔๐ บาท ( เดือนละ  ๓ บาทเศษ ) อยู่มากโข !!!

และ ...

แล พระรา ทาน ให้ เปน ส่วน เลี้ยง บุตร ของ มิศเตอร อาลาบาศเตอร นั้น ปี ละ สอง ร้อย ปอนด์ คือ ยี่ สิบ ชั่ง (สยามไสมย จ.ศ. ๑๒๔๖)

ในสยามไสมย ไม่ได้ระบุว่า พระราชทานให้กับบุตร แม่ไหน ?

พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา เขียนเรื่อง "คุณป๋า" (พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ - ทองคำ เศวตศิลา) สรุปความไว้ว่า เมื่ออลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม เจ้าคุณ มีอายุเพียง ๕ ขวบ เจ้าคุณทองย้อย น้องชาย อายุเพียง ๒ ขวบเศษ  ........

คุณเพิ่ม มารดา ได้พา ท่านทั้งสอง เข้าไปพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวังด้วย เพราะคุณเพิ่ม มีหน้าที่ถวายนมแก่พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ พระองค์หนึ่ง ทำให้ท่านทั้งสองได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดเจ้านายหลายพระองค์ในขณะนั้น

เนื่องจาก เจ้าคุณทั้งสองไม่ได้รับมรดาจากคุณปู่้เลย จึงมีชีวิตต้องต่อสู้กับความยากลำบากมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะเมื่อคุณเพิ่ม ได้ย้ายกลับไปอยู่ที่ต่างจังหวัด เจ้าคุณทั้งสองยังต้องเรียนหนังสือที่พระนครต่อ จึงต้องอาศัยคนนั้นอยู่บ้างคนนี้อยู่บ้าง เวลาเปิดเรียน เงินทองจะซื้อหนังสือและค่าแต่งตัวก็ไม่มี ต้องหยุดเรียนไปหาสตางค์ โดยการขายดินสอหิน และให้เพื่อนนักเรียนกู้ โดยคิดดอกเบี้ยจนพอกลับเข้าเรียนได้

มีท่านผู้รู้ บอกมาว่า เรื่องของเจ้าคุณ บุตร อลาบาสเตอร์ ทั้งสองตอนเป็นนักเรียนนี้ ให้ไปอ่าน หนังสืองานศพ คุณวิลาศ โอสถานนท์ ท่านใดมีบ้าง ?


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ก.ย. 12, 10:14

        ขอบคุณคุณปิยะสารณ์ที่เอ่ยเรื่อง สติลเฟรด   ก็เกี่ยวๆอยู่ในระยะเวลาเดียวกันค่ะ    

เมื่อวันก่อนนักหาหนังสือเก่ามาถามเรื่องสติลเฟรดและรูปในเมืองไทย   ได้ตอบไปว่าน่าจะสูญไปในกองเพลิง

ที่ไหม้ร้านไปแล้ว   เพราะสติลเฟรดขายกิจการในญี่ปุ่น   เมื่อกลับไปเมืองนอกร้านถ่ายรูปก็เซ้งไปอีกรอบ

สติลเฟรดนั้นเป็นช่างภาพระดับครูหรืออาร์ติส   คิดค่าถ่ายแพงเพราะรูปทุกรูปเป็นงานศิลป   เมื่อเก็บเข้าเล่ม

แล้วก็ขายได้อีก


        ยศบารอนนั้นข้าราชการไทยที่ตามเสด็จเจ้าฟ้าของเรา   ไปเรียนหนังสือแถวรัสเซียหรือยุโรปก็ใข้ยศนี้กัน

การเจรจาให้บารอนสติลเฟรดมาถ่ายรูป   งาน Centennial  Exhibition  นั้นคงขาดตกบกพร่องเรื่องรายละเอียด

ของราคาไป  และเท่าที่เห็นเป็นงานที่ไม่เปิดให้ผู้ใดนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปมากกว่าจะมาขูดรีดเอาดื้อๆ

        รูปงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยเลยไม่มีเลย


        โปรแกรมในพระราชพิธีนั้น อาลาบาสเตอร์ เป็นผู้แปล


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ก.ย. 12, 10:57


อาลาบาสเตอร์  อยู่บ้านเคียงคลังสินค้าลำนำ้ฝั่งตะวันออก   เลขที่ ๙๑๘ - ๕
                   ทำงานอยู่  มิวเซียม

                   ผู้ช่วยผู้จัดการกรมไปรษณีย์

                   กองรักษาสวนสราญรมย์
                        อาลาบาสเตอร์เคยชวนพวกฝรั่งชาวนอก   มาประชุมดูต้นไม้ดอกไม้ที่งามประหลาด     มีพวกแตรฝรั่งผลัดกันเล่น
                        แขกบางคนก็เล่นโครเกต  บางคนก็เดินชมต้นไม้ดอกไม้   พอพลบค่ำก็จุดโคมสี  เลี้ยงกันในห้องที่ตั้งต้นกล้วยไม้
                        เป็นอันมาก
                       
                        บัตรเชิญออกในนาม มิสเตรศ อาลาบาสเตอร์(ในเอกสารเขียน  อาลบาซะตอ)

                        ( สยามไสมย  เล่ม ๒   หน้า ๑๓๗)

                       

       กงสุลอังกฤษ   บ้านก็อยู่ใกล้กัน

       ทูตอเมริกันที่ประจำอยู่ ณ กรุงเทพ   ก็อยู่ถัดออกมาหน่อย
                   



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 12, 11:26
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ได้เดินทางไปยังพระพุทธบาท สระบุรี เนื่องจากอยากจะไปแวะอากาศบริสุทธิ์ เพราะสุขภาพเริ่มไม่ดี ซึ่งได้แวะที่อยุธยาและได้เข้าไปชม "พระเจดีย์ภูเขาทอง" ที่จังหวัดอยุธยา ซึ่งท่านได้บรรยายเอาไว้ว่า

"The first is the "Mount of Gold," the highest of the spires, which differs from most Buddhist towers in having three accessible terraces round it. The highest terrace commands a view over most of the tree-tops. From it we count about fifty spires, so there may be some truth in a native assertion, that Yuthia had two hundred temples. There is nothing very elegant about the spire to justify its grand name; and its height, which I judge to be about a hundred and fifty feet, is nothing very great; but as a good illustration of one of the forms of Buddhist spires, it is worth describing. Upon an extensive square base rises a pyramidal tower in three parts, tier above tier, separated by wide terraces. Cornices of many forms, round and angular, encircle it in close succession. Deep flutings and reentering angles reduce the squareness of the four corners. Two flights of steps on the north and south sides lead to the terraces.

From the highest terrace, which is about sixty feet from the ground, the tower rises for about thirty feet more in the same pyramidal form as described for the lower part. In this portion are two niches containing images of Buddha about seven feet high. Above the niches the still tapering tower is without cornices and quite smooth for about fifteen feet; and thence changing from a square pyramid to a cone, it rises about forty feet to a point. The upper part of the spire is ornamented with narrow headings or rings, lying close one over the other. "The tower is built of brick, and seems to be almost solid, excepting only a small chamber, to which access is obtained from the highest terrace. We find nothing but bats in the chamber, which seems to have suffered from fire. Previous to the Burmese invasion, it probably contained some idols or relics. I know of no other large spires, or Phrachedi, as they are generally called, which have an accessible chamber, though such are found in a few of the smaller spires"

References:

The Wheel of The Law - Henry Alabaster (1871) - Trubner & Co, London - page 270-271


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ย. 12, 14:51
นอกจาก งาน งาน งาน ที่ได้ช่วยกันพรรณามาแล้ว ท่านยังแปลหนังสือ เขียนหนังสืออีก ด้วย

บทความของท่าน ที่เคยมีผู้นำมาเผยแพร่แล้วคือ เรื่อง มิวเซียม และ  มิเนอรโลชี วิชาหินแลแร่ต่างๆ ถูกนำลงในหนังสือ มิวเซียม ฤา รัตนโกษ

เรื่องมิวเซียม ไม่ได้อ่าน ........... อ่านแต่ เรื่อง วิชาหินแร่ ที่กล่าวถึงเพชร เป็นส่วนใหญ่ อ่านแล้ว มีความเห็นว่า ท่านมีความรู้ เรื่องนี้ เป็นอย่างดี ถึงกับเจียรนัยเรื่องราวของเพชรและหินแร่  ได้อย่างกับ เจียรนัยเพชร กระนั้น 


ในบทความยังว่า  มิวเซียมในพระบรมมหาราชวัง มี หิน - แร่ ให้ได้ชมถึง ๑,๕๐๐ ก้อน และลงท้ายว่า ได้จำลอง ตัวอย่างเพชร ก้อนสำคัญ ของโลก ไว้ให้ชมอีกด้วย เยี่ยมจริงๆ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ก.ย. 12, 16:55


มิวเซียมหรือรัตนโกษ   ที่มีบทความเรื่องมิวเซียม  คือ เล่ม ๑  จ.ศ. ๑๒๓๘   หน้า ๑๙๑ - ๑๙๔

และเล่ม ๒  จ.ศ. ๑๒๓๙  หน้า ๑๕๑ - ๑๖๖


The Wheel of the Law   พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๑   และครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:00
ผมกลับมาถึงบ้านแล้ว พบว่ากระทู้ท่านอาลาบาศเตอร์มีผู้มาเพิ่มเติมข้อมูลให้มากมาย ขอบคุณครับ

ถ้าท่านทราบได้คงจะยินดีที่คนไทยไม่ลืมท่าน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:06
เอาผลงานที่ท่านทำเป็นhobbyมาแลกเปลี่ยน

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร    
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ประวัติการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย
 
ประเทศไทยมีกล้วยไม้พันธุ์พื้นเมืองที่มีความสวยงามมากและหลากหลาย ในสมัยโบราณจึงมีผู้นิยมเก็บหานำมาปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในชนบท แต่ที่มีการเพาะเลี้ยงไว้เป็นจำนวนมากหรือที่เรียกว่า “รังกล้วยไม้” ซึ่งมีขนาดใหญ่แต่เดิมนั้นจะพบก็เพียงในรั้วในวังหรือในหมู่ข้าราชการบริพารผู้ใหญ่เท่านั้น

ทั้งนี้ได้มีบันทึกไว้ในสมัยประมาณปี พ.ศ.๒๓๘๐ มีรังกล้วยไม้ขนาดใหญ่ที่มีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ไว้เป็นจำนวนมากอย่างถูกวิธีโดยมีการนำเอากล้วยไม้ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสัน และความสวยงามมีการผสมพันธุ์ขึ้นใหม่ให้มีความแปลกตาขึ้นไปอีก ได้แก่รังกล้วยไม้ของนายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ (ต้นสกุล เศวตศิลา) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่นกล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงมากจนเป็นที่รู้จักกันดีสมัยนั้น ต่อมาเมื่อท่านถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ.๒๓๘๐พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ได้รับช่วงรังกล้วยไม้ ทั้งกล้วยไม้พื้นบ้านและกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศของนายอาลาบาสเตอร์มาดูแลไว้เป็นจำนวนมากได้สะสมพันธุ์เพิ่มเติมและทดลองผสมพันธุ์ใหม่ต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญและได้รับยกย่องเป็นอย่างสูงอีกท่านหนึ่งว่าเป็นผู้มีฝีมือเยี่ยม ทั้งในการเลี้ยงดูและการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ในยุคนั้น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:13
ดังที่ได้เอ่ยไปแล้ว นิสัยรักและสนใจพรรณพฤกษ์ต่างๆ บวกกับความรู้ความชำนาญของท่านคงได้ถูกถ่ายทอดทางใดทางหนึ่งให้แก่ทายาทที่ชื่อ “ทองคำ” ผู้ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯว่า “เศวตศิลา” อันหมายถึงหินขาวAlabaster


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:20
เรียบเรียงจากข้อมูลอาจารย์วิกก์
พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) 22 มิถุนายน พ.ศ. 2422 – 4 เมษายน พ.ศ. 2510 นักพฤกษศาสตร์ นักวิชาการป่าไม้ ผู้ริเริ่มปลูกสวนป่าไม้สักของประเทศไทย ผู้จัดตั้งกองป่าไม้ภาคใต้

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ เกิดที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรชายคนโตของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์กับคุณเพิ่ม มีน้องชายร่วมมารดาคนเดียวคือ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)

เมื่อบิดาถึงแก่อนิจกรรม พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์มีอายุได้เพียง 5 ขวบ ทั้งสองพี่น้องไม่ได้รับมรดกใดๆ จากบิดาจึงมีชีวิตในวัยเด็กที่ยากลำบาก ในขณะเรียนหนังสืออยู่ในกรุงเทพฯ มารดาได้ย้ายไปอยู่ต่างจ้งหวัด จึงอาศัยอยู่กับญาติบ้าง ผู้อื่นบ้าง ในบางครั้ง เวลาขึ้นชั้นเรียนใหม่ก็ต้องหยุดเรียนเพื่อเพื่อไปเร่ขายดินสอหินสำหรับเขียนกระดานชนวนเพื่อนำเงินมาซื้อเสื้อผ้าและหนังสือสำหรับขึ้นเรียนชั้นใหม่ เมื่อมีเงินพอแล้วจึงกลับเข้าไปเรียนใหม่

อย่างไรก็ดี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์สามารถจบหลักสูตรในขณะนั้นโดยสอบไล่ได้ประโยค 2 ได้เป็นที่ 1 ได้รับการจารึกชื่อในแผ่นหินที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นก็ได้เข้าเรียนวิชาทำแผนที่ และสอบไล่ได้เป็นที่ 1 อีก ได้เป็นครูแผนที่ ต่อมาสอบชิงทุนไปเรียนวิชาการป่าไม้ที่ประเทศอินเดียและเป็นคนไทยคนแรกที่สอบวิชาการป่าไม้ได้สำเร็จ หลังจากรับราชการในกรมป่าไม้ได้ 10 ปี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ก็ได้ขอลาราชการไปศึกษาต่อด้านพฤกษศาสตร์ที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนส่วนตัวและก็เป็นนักเรียนไทยที่สำเร็จวิชาพฤกษศาสตร์เป็นคนแรกเช่นกัน

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ได้กลับเข้ารับราชการในกรมป่าไม้ อีกครั้งหนึ่งและได้ย้ายไปเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคภูเก็ต และเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2460


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:27
การรวบรวมพรรณไม้ไทยและการจัดตั้งหอพรรณไม้

ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2463 พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ด้วย ก็ได้รวบรวมพันธุ์ไม้ของไทยจากภาคต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้เพื่อทำเป็น ”หอพรรณไม้” โดยเก็บตัวอย่างได้ประมาณ 1,200 หมายเลข ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และตัวอย่างซ้ำถูกส่งไปเก็บที่ หอพรรณไม้คิวKew Gardenในประเทศอังกฤษ
การเรียบเรียงตำราพรรณไม้

นอกจากได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนบุกเบิกด้านพฤกศาสตร์ที่เป็นคนไทยในการรวบรวมพรรณไม้และการจัดตั้งหอพรรณไม้ (Herbarium) ของกรมป่าไม้ขึ้นดังกล่าวมาแล้ว พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ก็ยังได้เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ “พรรณไม้ไทย” (List of Common Trees and Shrubs in Siam, 1923 ) ซึ่งจัดเป็นตำราพันธุ์ไม้เล่มแรกของไทยในปี พ.ศ. 2466


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:28
การริเริ่มปลูกสวนป่าต้นสัก

ในด้านการป่าไม้ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ได้ทำการทดลองปลูกสวนสักเมื่อปี พ.ศ. 2449 ตามแบบที่พม่าใช้ได้ผลมาแล้วโดยวิธีหยอดเมล็ดลงหลุมและอาศัยความร่วมมือจากชาวไร่ เมื่อการทดลองครั้งแรกได้ผลดี จึงได้มีการขยายการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักเพิ่มขึ้นในระยะต่อมา
เกียรติประวัติ

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ต่างประเทศในการใช้ชื่อท่านตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ถึง 6 ชนิดด้วยกัน

ผลงานของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ นับได้ว่าท่านสร้างคุณประโยชน์ไว้ให้แก่ประเทศชาติอย่างมากมายเช่นกัน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 17:29
มหาอำมาตย์ตรีพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์สมรสกับคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค ธิดา เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)[3] มีบุตรธิดา 3 คน คือ

พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา
นางสมจิตต์ สกลคณารักษ์ (ถึงแก่กรรม)
ร้อยตรีสนั่น เศวตศิลา (ถึงแก่กรรม)

จากนี้พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ยังมีบุตรธิดากับภริยาอื่นอีก 12 คน รวมเป็น 15 คน

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นผู้มักใหญ๋ไฝ่สูง แม้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา มหาอำมาตย์โต๊ะทอง กาทองเป็นคนแรกในกรมป่าไม้ ก็มิได้มีฐานะร่ำรวยและไม่ได้รับตำแหน่งสูงสุดตามควร แต่ท่านก็มีความพอใจและสั่งสอนลูกๆ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตและให้ทำความดีไว้เสมอ

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2510 สิริอายุรวมได้ 87 ปี 10 เดือน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 18:13
รูปหล่อปานดาราฮอลิวู๊ดนี้ คือทายาทรุ่น๓ของนายอาลาบาศเตอร์ ที่สร้างเกียรติประวัติไม่แพ้บรรพบุรุษ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 18:26
พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เดินทางไปเรียนต่อจนจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และปริญญาโทวิศวกรรมโลหะที่สถาบันเอ็มไอที ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยระดับTop10 ของสหรัฐอเมริกา
 
ในระหว่างศึกษาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา โดยทำงานร่วมกับ OSS - Office of Strategic Services ของสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด จนได้รับเหรียญประกาศเกียรติคุณเสรีไทยจากสำนักงานประมวลข่าวกรองของสหรัฐ (หรือซีไอเอ) เพื่อเชิดชูวีรกรรมการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543


กลับเมืองไทย เข้ารับราชการกองทัพอากาศ ประจำกรมช่างอากาศ หลังจากนั้นได้ทำงานในตำแหน่งต่างๆดังนี้

รองอธิบดีกรมประมวลข่าวกลาง
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รัฐบาลเปรม ติณสูลานนท์ และชาติชาย ชุณหะวัณ)
หัวหน้าพรรคกิจสังคม และ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคกิจสังคม
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2534[2]
นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ พ.ศ. 2536

ภาพนี้เป็นผู้เดียวกันกับภาพก่อนหน้า


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 12, 18:29
ภาพถ่ายรวมญาติที่สืบเชื้อสายมาจากนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์รุ่นปัจจุบัน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 12, 22:55
ใครบ้างที่ไม่รู้จักสะใภ้คนงามของพลอ.อ.สิทธิ เศวตศิลา   คุณกุลนภา เศวตศิลา
หรือ อดีต น.ส. รัตนา ชาตะธนะบุ
หรือ มยุรา ธนะบุตร


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 12, 10:44
ความจริง เฮนรี อาลาบาสเตอร์มีลูกกับคุณนายแหม่มพาลาเซีย 4 คนนะคะ ไม่ใช่ 3 คนอย่างที่เราเข้าใจกันแต่แรก
ลูกคนแรกเสียชีวิตเมื่อยังเยาว์  ในประวัติไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร   แต่ถ้าสันนิษฐานจากบันทึกของหมอบรัดเลย์ที่เล่าว่าเด็กทารกฝรั่งในสยามเสียชีวิตกันเมื่อแรกคลอด หรือไม่ก็ยังแบเบาะกันทั้งนั้น   
ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่อัตราการตายของทารกในสมัยนั้นจะสูงมาก   เด็กฝรั่งอาจมีภูมิต้านทานโรคในเมืองร้อนน้อยกว่าเด็กไทยก็เป็นได้   ข้อนี้คงต้องรอให้คุณหมอในเรือนไทยมาอธิบายกันเอง
อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกของตระกูลอาลาบาศเตอร์ที่ลูกหลานช่วยกันรวมรวมไว้   ได้ประวัติของชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์ที่เป็นลูกคนที่สองของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย

เป็นอย่างที่คิดคือคุณนายแหม่มกับลูกๆ 3 คนกลับไปตั้งถิ่นฐานอยู่อังกฤษ     ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์อยู่ที่บ้านเกิดเมืองนอนจนอายุ 34 ปี  ในค.ศ. 1903  จึงเดินทางไปเยี่ยมญาติทางฝ่ายพ่อที่แคนาดา ชื่อเพอร์ซี คริดเดิล  เป็นลูกพี่ลูกน้องของเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์   เมื่อไปที่นั่น  ชาร์ลส์ก็กลับไปตั้งหลักปักฐานอยู่ที่แคนาดาโน่นเลย   ไม่กลับอังกฤษ   
คุณนายแหม่มพาลาเซียถึงแก่กรรมเมื่อค.ศ. 1904  ที่เคนซิงตัน  อายุ 65 ปี  มรดกถูกแบ่งกันไปในระหว่างลูกชายคนที่สามและสี่ 

รูปนี้คือชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์ในวัยชรา


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 12, 13:39
จากการค้นระบบการเก็บทะเบียนวันเดือนปีเกิดและสมรสของชาวอังกฤษ ทำให้ได้ข้อมูลมาพอจะมองเห็นระยะเวลาการทำงานของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ได้ดังนี้ค่ะ

- เฮนรี อาลาบาสเตอร์  เกิดเมื่อ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 (พ.ศ. 2379)  ถึงแก่กรรม วันที่ 8 สิงหาคม  ค.ศ.  1884 (พ.ศ. 2427)อายุ 48 ปี
- เฮนรี อาลาบาศเตอร์  สมรสกับนางสาวพาลาเซีย เอ็มม่า ฟาฮีย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.  1865 (พ.ศ. 2408) ที่เมืองเชลซี  มณฑลมิดเดิลเซกซ์  ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 29 ปี
- เขาเดินทางเข้ามาในสยามเป็นครั้งแรก เมื่อค.ศ. 1857 (พ.ศ.  2400) เมื่ออายุ 21 ปี    ในฐานะนักเรียนล่ามภาษา   ดังนั้น ในครั้งแรกนี้เฮนรีเข้ามาคนเดียวในฐานะหนุ่มโสด  ยังไม่ได้สมรส    
- ในช่วงค.ศ. 1857-1864 (หรือก่อนหน้า 1864 เล็กน้อย)  เฮนรี่อยู่ในสยามตามลำพัง    ทำงานสำรวจถนน และงานอื่นๆถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เมื่อจบช่วงที่อยู่ในสยามครั้งแรกนี้แล้ว    เฮนรีเดินทางกลับไปอังกฤษ สมรสและพาภรรยากลับมา ประมาณ ค.ศ. 1866  (พ.ศ. 2409)
- ภาพวาดบ้านเรือนในกรุงเทพ  ฝีมือคุณนายอาลาบาศเตอร์ที่ยังเหลืออยู่เป็นหลักฐาน คงวาดประมาณค.ศ. 1866  ไม่ใช่ค.ศ. 1857  อย่างที่เข้าใจทีแรก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 12, 14:13
- เฮนรี แต่งงานเมื่ออายุ 29 ปี  เจ้าสาวอ่อนกว่า 3 ปี อายุ 26 ปี
- เฮนรี พาภรรยากลับมาอยู่ในกรุงเทพ  คลอดบุตรชายคนแรกชื่อเฮอร์เบิร์ต เจมส์  เมื่อเดือนสิงหาคม 1866 (พ.ศ. 2409)  แต่เด็กอยู่ได้ไม่กี่วัน ก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน
- ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างพ.ศ. 2409-2411 เฮนรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองกงสุลอังกฤษประจำสยาม    และรักษาราชการแทนกงสุลตัวจริง เมื่อลากลับไปอังกฤษ
- เขาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์   เมื่อค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411)  กลับมาได้ไม่กี่วัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็ประชวรด้วยโรคไข้ป่า(มาเลเรีย) และเสด็จสวรรคต
- ในค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411)   เมื่อขึ้นแผ่นดินใหม่    รัฐบาลอังกฤษแทนที่จะตั้งรองกงสุลอาลาบาศเตอร์เป็นกงสุล  กลับตั้งร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ ครูฝึกทหารวังหน้าให้ได้ตำแหน่งนี้ข้ามหน้าเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ไป
- ข้อนี้กลายเป็นรอยร้าวรอยใหญ่ระหว่างเฮนรีและกงสุลน็อกซ์   จนถึงขั้นเฮนรีลาจากรองกงสุลจากสยาม กลับประเทศอังกฤษ
- เฮนรีลาออก และเดินทางจากสยามไปในปี ค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) คือปีที่เปลี่ยนแผ่นดินนั้นเอง   
-  ตามบันทึกทะเบียนเกิดของอังกฤษ  ลูกชายคนที่สองของเขา ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์ เกิดที่เมืองทวิกเกินนัม (Twickenham) มณฑลมิดเดิลเซกส์  ประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1869 (พ.ศ. 2412)
-  เฮนรีใช้เวลาช่วงนี้อยู่ในอังกฤษ  เขียนตำราธรรมะเรื่อง THE WHEEL OF THE LAW  ซึ่งตีพิมพ์เมื่อค.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 13 ก.ย. 12, 15:20
ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ครับ...



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 12, 16:00
ขอบคุณ  แต่ยังไม่จบค่ะ คุณ piyasann   ขอลงจากเวทีไปให้น้ำก่อน   
ตัวเลขค.ศ. /พ.ศ. มันเยอะจนตาลาย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: takae ที่ 13 ก.ย. 12, 18:33
สวัสดีครับ ;D

มีสิ่งของสะสมอยู่ชิ้นนึง คือ กระจกเงารูปไข่ ด้านหลังเป็นรูปฟิลม์

" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ม.อ.ต. พระยาอินทราธิบดี สีหราชรองเมือง
   ( ทองย้อย เศวตศิลา ) พ,ศ, ๒๔๗๖

ขอฝากเป็นสาระข้อมูลไว้ในกระทู้เรื่องนี้ด้วยครับ. ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 13 ก.ย. 12, 19:26
คุณ takae เข้ามาได้จังหวะมากเลยครับ ข้อมูลส่วนใหญ่ เทน้ำหนักไปที่ เจ้าคุณวันพฤกษ์ แต่หาที่่เกี่ยวกับน้องชายท่านไม่ได้เลย มีหนังสืองานศพ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง อยู่บ้างไหมครับ ?

ค้นเจอแต่ว่า ท่านเป็นบิดา คุณโรสลิน เศวตศิลา พระสหาย ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อทรงพระเยาว์ (คงต้องขออนุญาต รบกวน อาจารย์ เทาชมพู นำภาพ พระฉายาลักษณ์ ที่ทรงฉายกับ คุณโรสลิน มาให้ชมด้วยครับ)



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ก.ย. 12, 21:56


        มิใช่เรื่องลำบากแต่อย่างใด   


มหาอำมาตย์ตรี  พระยาอินทราะธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย  เศวตศิลา)   

เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕

หลังจากศึกษาวิชาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงสำเร็จแล้ว    รับราชการเป็นพนักงานแผนที่  กรมแผนที่ 
กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒


พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นนายอำเภอเสนาใหญ่

พ.ศ.​๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น ขุนนราภัยพิทักษ์

พ.ศ.​๒๔๕๑  ได้เลื่อนเป็นหลวงไชยสงคราม   ปลัดจังหวัดอ่างทอง

พ.ศ.​๒๔๕๓  เป็นข้าหลวงมหาดไทย  มณฑลอยุธยา

พ.ศ.​๒๔๕๔ รับพระราชทานยศ  เลื่อนเป็นรองอำมาตย์เอก

พ.ศ. ๒๔๕๕  เป็นปลัดกรมตำรวจภูธร  แล้วเป็นยกกระบัตรมณฑลนครไชยศรี

พ.ศ. ๒๔๕๖  เป็นอำมาตย์ตรี  ตำแหน่งปลัดมณฑลอยุธยา   เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระกรุงศรีบริรักษ์  และยศเป็นอำมาตย์โท

พ.ศ.​๒๔๕๗  เป็นนครบาลจังหวัด นนทบุรี   และเป็นอำมาย์เอก

พ.ศ. ๒๔๕๘  เป็นพระยานนทบุรีศรีเกษตราราม

พ.ศ.​๒๔๖๒   เป็นมหาอำมาตย์ตรี

พ.ศ. ๒๔๖๕  รั้งตำแหน่งปลัดบัญชาการกองสมุหพระนครบาล  และเปลี่ยนบรรด่ศักดิ์เป็นพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง

พ.ศ. ๒๔๗๑  รั้งตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรีอยู่  ๗ เดือนเศษ  แล้วเป็นสมุหเทศาภิบาล

พ.ศ. ๒๔๗๒  ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลปราจีน


ท่านป่วยเป็นโรคปอดบวม  ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๗๔   อายุได้ ๔๙ ปี


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: takae ที่ 13 ก.ย. 12, 21:58
คุณ takae เข้ามาได้จังหวะมากเลยครับ ข้อมูลส่วนใหญ่ เทน้ำหนักไปที่ เจ้าคุณวันพฤกษ์ แต่หาที่่เกี่ยวกับน้องชายท่านไม่ได้เลย มีหนังสืองานศพ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง อยู่บ้างไหมครับ ?

ค้นเจอแต่ว่า ท่านเป็นบิดา คุณโรสลิน เศวตศิลา พระสหาย ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อทรงพระเยาว์ (คงต้องขออนุญาต รบกวน อาจารย์ เทาชมพู นำภาพ พระฉายาลักษณ์ ที่ทรงฉายกับ คุณโรสลิน มาให้ชมด้วยครับ)



ไม่มีครับ อาจต้องค้นหาจากเรื่องราวเกี่ยวกับ จ.นนทบุรี เพราะท่านเป็นผู้ว่าฯ คนแรกครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ก.ย. 12, 22:11


ขอบพระคุณ คุณตาแก่ค่ะ       

เห็นสร้อยทองราง ๆ  หลายเส้น   


ถ้าข้อมูลผิดพลาดประการใด   ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง  สังเกตเห็นสิ่งผิดพลาด ๒ แห่ง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ก.ย. 12, 22:15



ข้อมูลนั้นอาจไม่ตรงกันบ้างก็เป็นได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 12, 07:14
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายเฮนรี่ ถึงพระเนตรพระกรรณ

"ร.ที่ ๒๓๕

ทูล  สมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์

       ด้วยมิสเตออาลบาสเตอป่วยเปนลมอำมพาธอย่างแรงที่สุดแต่คืนนี้เวลา ๑๐ ทุ่ม
ไม่มีสติเลย  มาจนเวลาวันนี้สองทุ่มตาย   เปนการขาดทุนยิ่งใหญ่ของเรา 
การทั้งปวงก็ยังอะร่าอร่ามอยู่มาก  มิสเตออาลบาสเตอได้รับราชการมาถึงสิบสามสิบสี่ปี
ทำการโดยซื่อตรงจงรักภักดีต่อไทยจริงๆ  การใหญ่ๆ ก็ได้ปล้ำปลุกมามาก   
จะหาคนนอกใช้ให้เสมอเหมือนยากนัก  จะว่าโดยความชอบที่มีมากให้กินพานได้ทีเดียว
ธรรมเนียมกงซุลต่างประเทสที่มาตายในกรุงเทพฯ ก็เคยได้เครื่องศพ 
มิสเตออาลบาสเตอตายในระหว่างราชการ  ควรจะต้องจัดการศพให้ดีกว่ากงซุลต่างประเทศ
ขอให้ท่านทรงสั่งการให้พร้อมทุกอย่าง  ถ้ามีเรือสำหรับที่จะพาหีบสพไปด้วยจะดี 
ขอให้จัดให้พร้อมแต่เช้า  ทันเวลาที่เขาจะไปฝัง  จะได้เปนเครื่องล่อใจคนต่างประเทศ
ที่รับราชการให้เหนเปนเกียรติยศด้วย   ถ้าได้จัดการอย่างไรบ้าง  ขอให้รับสั่ง
กับเทวัญให้ทราบด้วย  จะได้ไปนัดแนะบอกเล่ากันให้รู้

      ทูลมา ณ วัน ๖ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๙ ปีวอก ฉศก  ศักราช ๑๒๔๖
                                             
                                                      สยามินทร์"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 14 ก.ย. 12, 08:27
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายเฮนรี่ ถึงพระเนตรพระกรรณ



       มิสเตออาลบาสเตอได้รับราชการมาถึงสิบสามสิบสี่ปี


อลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม วันที่ ๘ สิงหาคม  ค.ศ.  ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๔๒๗)อายุ ๔๘ ปี

ถ้าลบด้วย ๑๓ - ๑๔ ปี ก็จะเข้ามาเมืองไทย ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๑๔ ซึ่งตรงกับที่ที่เสด็จฯ ประพาส สิงค์โปร์ ชวา อินเดีย รวม ๒ ครั้ง ....

ถ้าเป็นเช่นดังที่ อาจารย์เทาชมพูได้กรุณา ค้นข้อมูลเิชิงลึก มาให้ แสดงว่า ท่านกลับไปพำนักที่อังกฤษ เพียง ๑-๒ ปี ก่อนเดินทางมารับราชการในสยาม และในช่วงแรก ท่านก็เดินทาง ไป-มา สยามกับอังกฤษ อยู่ หรือไม่เช่นนั้น คุณนายปาลาเซีย ก็เดินทางเก่งมาก เพราะต้องลงเรือหลายเดือนกว่าจะเดินทางกันถึง....

ในช่วงปีที่ท่านรับราชการ ให้กับรัฐบาล อังกฤษ (๑๘๖๔-๑๘๗๑) มีหนังสือโต้ตอบ ระหว่าง อลาบาสเตอร์ กับกระทรวงต่างประเทศอังกฤษหลายฉบับ อยู่ที่อังกฤษ  อยากทราบเรื่องราวจังครับ ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง.......




กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 09:57
ที่ผมเขียนไปแล้วว่า นายอาลาบาศเตอร์ได้เดินทางจากอังกฤษกลับมาประเทศไทยโดยตรง แล้วจึงมีโอกาสเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว

คือผมไม่คิดว่าท่านจะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าในสิงคโปรหรือประเทศอื่น ในขณะเสด็จประพาสเพื่อศึกษาบ้านเมืองที่ฝรั่งพัฒนา สมัยนั้น พระองค์เจ้าปฤศฎางค์เป็นทูตอยู่ในลอนดอน ผมเคยผ่านตาว่าเคยมีรับสั่งไปให้เสาะหาฝรั่งเข้ามารับราชการด้วย เฮนรีมีความผูกพันกับคนไทย ทีความรู้ภาษาไทยดี ได้น่าจะไปที่สถานทูตเพื่อหางานทำบ้าง ซึ่งทำให้เขาได้มีโอกาสกลับมาสยามเพื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นช่องทางที่เสี่ยงน้อยกว่าจะสุ่มพาลูกพาเมียไปเตะฝุ่นในอินเดียหรือสิงคโปรเพื่อหางานดีๆทำ แล้วเผอิญโชคช่วยให้ได้พบพระเจ้าอยู่หัวที่นั่น

 


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 10:40
    ต่อจากค.ห. 97
    - เฮนรีลาออก และเดินทางจากสยามไปในปี ค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) คือปีที่เปลี่ยนแผ่นดินจากรัชกาลที่ 4 เป็นรัชกาลที่ 5   
    - เฮนรีไม่ได้กลับไปรับราชการ   เขาไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองทวิกเกินนัม  มณฑลมิดเดิลเซกส์  ประเทศอังกฤษ
    - ลูกชายคนที่สองของเขา ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์ เกิดที่เมืองทวิกเกินนัม (Twickenham) เมื่อ ค.ศ. 1869 (พ.ศ. 2412)
    - ลูกชายคนที่สาม  เอ็ดเวิร์ด เพอร์ซี  อาลาบาศเตอร์   เกิดที่บ้านนี้เช่นกัน เมื่อค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413)
    - เฮนรีใช้เวลาช่วงนี้เขียนตำราธรรมะเรื่อง THE WHEEL OF THE LAW  ซึ่งตีพิมพ์เมื่อค.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) 
    - ลูกชายคนสุดท้อง  เออเนสต์  เกิดที่บ้านนี้เช่นเดียวกับพี่ชายทั้งสอง  เมื่อค.ศ. 1872  (พ.ศ. 2415)
    - เฮนรี่เดินทางกลับเข้ามาในสยาม  เมื่อ ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416) ในฐานะที่ปรึกษา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ดิฉันยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าคุณนายพาลาเซียเดินทางกลับมาด้วยหรือเปล่า    มีหลักฐานว่าเธอมีผลงานภาพวาด เป็นศิลปินมืออาชีพ    ถ้าหากว่าเธอกลับมาสยามก็น่าจะมีภาพวาดบ้านเมืองในสยามให้เห็นเป็นหลักฐานบ้าง   แต่ก็ยังไม่เจอ
    รู้แต่ว่าเฮนรี อาลาบาศเตอร์กลับมาพำนักอยู่ตลอดไปในกรุงเทพ   จนถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 48 ปี ในค.ศ. 1884(พ.ศ. 2427)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 10:59
  เฮนรี อาลาบาศเตอร์ มีลูกชายอีก 2 คนกับคุณเพิ่ม ภรรยาชาวไทย
  - ทองย้อย  (พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์) เกิดเมื่อพ.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422)  หลังจากพ่อกลับเข้ามาอยู่ในสยามได้ 6 ปี
  - ทองคำ  (พระยาอินทราธิบดี สีหราชรองเมือง) เกิดเมื่อ พ.ศ. 1882 (พ.ศ.2425)  อายุเพียง 2 ขวบ เมื่อบิดาถึงแก่กรรม

    กำลังสงสัยอีกอย่างหนึ่งว่า เฮนรี กับพาลาเซียอาจจะแยกกันอยู่   ตั้งแต่เขาเดินทางกลับมาสยามในค.ศ. 1873   เธออยู่กับลูกชายเล็กๆ 3 คนทางโน้น   มีรายได้จากการวาดภาพพอเลี้ยงชีพได้ไม่เดือดร้อน   ส่วนสามีมารับราชการอยู่กับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทางนี้    เพราะมีที่ใดที่หนึ่งในค.ห.ก่อนๆในกระทู้นี้ระบุว่าพาลาเซียเข้ากับชีวิตในสยามไม่ค่อยจะได้     ลูกคนแรกก็ตายที่นี่
     เมื่อมีลูกเล็กๆอีก 3 คน อายุแค่ 4 ขวบ  3 ขวบ และ 1 ขวบ  เธออาจไม่อยากหอบลูกตามมาอยู่ให้เสี่ยงกับโรคภัยไข้เจ็บ   ส่วนเฮนรีน่าจะเป็นคนสุขภาพดีในวัยหนุ่ม  เห็นได้จากไปหว้ากอแล้วกลับมาปลอดภัยแข็งแรงดี   ไข้ป่าทำอะไรไม่ได้

     การหย่าขาดจากกันในสมัยวิคตอเรียนเป็นเรื่องใหญ่และยาก   ไม่ง่ายดายอย่างยุคปัจจุบัน    ดังนั้นสามีภรรยาที่ไม่ประสงค์จะอยู่ด้วยกัน อาจใช้วิธีแยกกันอยู่     แต่ตามกฎหมายก็ยังได้ชื่อว่าสมรสกันอยู่เช่นเดิม
      ด้วยเหตุนี้    จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอาลาบาศเตอร์จึงมามีภรรยาใหม่ที่นี่    ในตอนแรกๆอาจหวังว่าคุณนายแหม่มจะตามมา พร้อมกับลูกๆ  แต่ปีแล้วปีเล่าก็ไม่ยอมมาสักที    จนรู้แน่ว่าเธอไม่มาแล้ว เขาจึงมีภรรยาใหม่  มีลูกเล็กๆอีก 2 คน
     นี่คือเหตุผลว่าทำไมไม่มีบันทึกถึงลูกๆฝรั่งของเฮนรี่ในจดหมายเหตุหรือเรื่องเล่าสมัยรัชกาลที่ 5   อย่างน้อยถ้าอยู่ในสยาม  เด็กพวกนี้น่าจะได้ติดตามพ่อที่เป็นที่ปรึกษาพระเจ้าแผ่นดิน ไปเข้าเฝ้าเจ้านายเล็กๆบ้าง   ขนาดนายหลุยส์ เลียวโนเวนส์ตอนเด็กๆอยู่ในรัชกาลที่ 4  ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเล่าให้ได้ยินกัน
 
   ในเมื่อยังไม่ได้หย่าขาดจากพาลาเซียตามกฎหมาย สถานกงสุลก็ถือว่าคุณนายพาลาเซียเป็นภรรยาม่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมายของเฮนรี อาลาบาศเตอร์  เงินทองบำเหน็จบำนาญก็ต้องตกทอดไปถึงเธอเพียงผู้เดียว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 14 ก.ย. 12, 11:08
สรุปจาก ค.ห. ๑๐๘ - ๑๐๙ แปลว่า

อลาบาสเตอร์ น่าจะตรงมาจากอังกฤษ เมื่อปีค.ศ. ๒๔๑๖ ไม่ใช่ ไปบังเอิญ พบกับ ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ที่สิงค์โปร์ ในระหว่าง เสด็จฯประพาส ?

เมื่อเทียบข้อมูลกับ ข้อความที่พระยาวันพฤกษ์ฯ เขียนใส่เซฟไว้ แล้วทายาทนำมาพิมพ์ในหนังสืองานศพท่าน ก็ไม่มีตอนที่พบกันที่สิงค์โปร์

ข้อนี้ผมพยายามหา เพื่อจะทราบว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า ทรง "เลือก" ให้อลาบาสเตอร์มารับราชการ หาใช่ อลาบาสเตอร์ มาแกร่ว อยู่สิงค์โปร์ แล้วทรงชวนมารับราชการ ?


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 11:26
   ยังหาหลักฐานไม่ได้  ก็ได้แต่ใช้วิชาเดาชั่น   แต่เดาชนิดมีที่มาที่ไป
   เฮนรี่กลับไปอังกฤษ  มิใช่เพราะมีปัญหากับราชการไทย  แต่มีปัญหากับราชการอังกฤษที่เลือกกงสุลนอกซ์ข้ามหัวเขาไป    หลักฐานที่แสดงออกว่าเขาลาออกจากราชการไปเลย  คือเขาไปตั้งหลักแหล่งในมิดเดิลเซกส์แทนที่จะมีบ้านอยู่ในลอนดอน    เขามีเวลาว่างพอจะเขียนหนังสือเรื่องพุทธศาสนาได้  แสดงว่าเฮนรี่อาจไม่ได้ทำงานประจำที่ไหน
    เป็นได้ว่าเฮนรี่ยังติดต่อทางใดทางหนึ่งกับสยาม   ที่ใกล้ตัวที่สุดพอสื่อสารเขียนจดหมายไปมาหากันได้สะดวกคือติดต่อกับสถานทูตไทย     ชื่อเสียงของเฮนรีที่ทำไว้ดีสมัยทำงานถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็คงทำให้ทูตไทยไม่รังเกียจจะติดต่อด้วย  ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมีพระราชปรารภกับพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ อยากได้ฝรั่งที่ปรึกษาสักคน    ฝรั่งที่ไหนจะเหมาะเท่าเฮนรี่  ซึ่งเคยอยู่ในสยามมาหลายปี  แล้วยังว่างจากงานประจำอยู่ด้วย   ฝรั่งอื่นๆที่อาจจะอยากมารับตำแหน่งนี้ก็คงไม่มีใครมีประสบการณ์ในสยามมาก่อน
   เมื่อได้รับการติดต่อ  เฮนรี่ก็ตกลงใจเดินทางมาทันที     ลูกคนเล็กเพิ่งขวบเดียว   เป็นได้ว่าคุณนายแหม่มรั้งรอไว้  ขออยู่บ้านในมิดเดิลเซกส์ให้ลูกๆโตกว่านี้เสียก่อน   อุ้มลูกเล็กตั้ง 3 คนเดินทางครึ่งโลกกลับมาในสยามอีก  เธอเกรงว่าเด็กจะทนลำบากตรากตรำไม่ได้   ทารกฝรั่งในสยามป่วยตายกันหมดทั้งนั้น
   ไม่น่าเป็นไปได้ว่าเฮนรีเดินทางตุหรัดตุเหร่มาอินเดีย สิงคโปร์ ฮ่องกง หรือชวา แบบมาหางานทำเอาดาบหน้า     ไม่มีใครเขาทำกันแบบนั้น   ถ้าเป็นนักแสวงโชคร่อนเร่แบบ soldier of fortune อย่างที่เราอ่านกันในกระทู้โปรตุเกสเข้าเมืองก็ไปอย่าง พวกนั้นเป็นคนไม่มีอนาคต     
  เฮนรีเป็นปัญญาชน  เคยเป็นถึงผู้รักษาราชการแทนกงสุลอังกฤษในสยาม   เขาคงไม่คิดจะเดินทางไปสุดโลก แบมือหางานทำที่ไหนก็ได้   งานกุลีก็เอา    ถ้างั้นหางานในอังกฤษไม่ดีกว่าหรือ เรียนมาตั้งหลายสาขาวิชา  ได้งานดีกว่ามาหาแถวตะวันออกไกลแน่นอนค่ะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 12:08
เป็นวิชาเดาชั่นที่น่าเลื่อมใสครับ คุณนายพาลาเซียหลังจากกลับไปอังกฤษเมื่อสามีลาออกจากราชการก็คงไม่อยากกลับมาสยามอีก น่าจะเป็นห่วงลูกตามสัญชาติญาณของแม่นั่นแล้ว รูปที่เธอวาดไว้ในสยามจึงพบแต่รูปค่ายหลวงหว้ากอ เป็นภาพสีน้ำที่คุณเพ็ญชมพูเอามาลงไว้ตั้งแต่ต้น ถึงจะวาดรูปหาเลี้ยงชีพ นายอาลาบาศเตอร์คงจะยังส่งเสียเลี้ยงดูอยู่ แม้เงินที่พระราชทานหลังนายอาลาบาศเตอร์เสียชีวิต ซึ่งระบุให้แม่หม้ายอาลาบาศเตอร์และบุตร ก็ยังจ่ายเป็นเงินปอนด์เลย แสดงว่าตัวผู้รับคงจะอยู่ทางโน้น ไม่ใช่กรุงเทพ

ส่วนภรรยาไทยและบุตร จะว่าลำบากก็คงจะเปรียบเทียบกับเมื่อบิดายังอยู่ และสิ่งที่ภรรยาแหม่มได้รับ ทว่าบุตรชายทั้งสองของท่านก็ได้รับการศึกษาที่ดีเยี่ยมเท่าที่คนไทยสมัยนั้นจะพึงได้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้ารับราชการ มีเจริญรุ่งเรืองในกาลต่อมาไม่แพ้บิดา


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 12:46
ผมนำรายงานที่นายอาลาบาศเตอร์เขียนส่งไปกระทรวงต่างประเทศอังกฤษตามที่คุณเพ็ญชมพูลิงค์ไว้ให้ ไปถอดความเป็นภาษาไทย และขอร้องให้ท่านผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งแก้ใขขัดเกลา เพื่อที่จะเอามาลงในกระทู้นี้ ท่านผู้อ่านนอกจากจะได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในค่ายหลวง คราวเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอแล้ว ยังจะได้ทราบหัวจิตหัวใจของนายอาลาบาศเตอร์ ผู้ที่รัฐบาลอังกฤษจ้างไว้เพื่อหาหนทางผนวกสยามไว้เป็นเมืองขึ้น แต่สุดท้าย ท่านกลับเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพยายามกระทำทุกทางที่จะมิให้สยามต้องตกเป็นอาณานิคมของชนชาติยุโรป


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 12:47
.


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 12:49
พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงมีพระประสงค์จะเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาสิงหา๑๘ที่คลองวาฬ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับเชิญ(รวมทั้งกงสุลฝรั่งเศส)ให้ไปร่วมด้วยในฐานะแขกของรัฐบาลด้วย ทรงเป็นกังวลอยู่มากว่าน่าจะมีข้าราชการระดับสูงของอังกฤษมาร่วมด้วยสักจำนวนหนึ่ง เมื่อทรงทราบจากข้าพเจ้าว่า นายพันเอก เซอร์แฮรี ออร์ด ข้าหลวงนิคมแหลมมลายูสิงคโปร น่าจะสนองพระราชไมตรีโดยมาเฝ้าพระองค์ที่นั่น จึงทรงมีความยินดีที่จะส่งพระราชสาส์นไปเชิญ ซึ่งเซอร์แฮรี ออร์ดก็ยินดีที่ได้รับ

ข้าพเจ้าได้แนบต้นฉบับพระราชสาส์นมาพร้อมกันนี้

(คือภาพที่ผมอัญเชิญมาไว้ข้างบน)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 12:54
พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกจากพระนครประมาณสองสัปดาห์ก่อนจะเกิดสุริยคราส ระหว่างนั้นท่านสมุหกลาโหม(สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ต้นฉบับใช้คำว่า Prime Minister)และทหารนายร้อยได้สร้างค่ายใหญ่ราวกับเมืองๆหนึ่งในป่าอันไกลโพ้น สำหรับเป็นที่ให้พวกเราจะได้พำนัก และเพื่อไม่ให้แขกรู้สึกว่าขาดตกบกพร่องสิ่งใด กุ๊กฝรั่งเศสกับผู้ช่วยชาวยุโรปและจีนประมาณสีสิบคนจึงถูกส่งไปจัดการตั้งโรงครัวขึ้นที่นั่น ใช้เรือกลไฟวิ่งไปวิ่งมาหลายเที่ยวเพื่อขนสัมภาระ แม้เรือเมล์ยังต้องเปลี่ยนเส้นทางเพื่อที่จะนำของเลิศหรูจากสิงคโปรมาส่งให้

ทรงเกรงว่าเมื่อขุนนางส่วนใหญ่ทิ้งพระนครไปในช่วงดังกล่าว รวมทั้งการเคลื่อนย้ายเรือรบไปอีก จะเป็นการยั่วยุให้พวกอั้งยี่อันธพาลก่อจลาจลขึ้นได้ ข้าพเจ้าได้ทูลแนะนำให้เพิ่มกำลังตำรวจมากยิ่งขึ้น(ซึ่งทรงทำตาม) กำลังตำรวจจึงขยายขึ้นเท่าตัวและเข้าประจำตามจุดต่างๆครอบคลุมส่วนที่เป็นตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติในกรุงเทพ ดังนั้น อิทธิพลของสุริยคราสทำให้ข้าพเจ้าได้รับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พยายามร้องขอมานานกว่าปีแล้วโดยไม่ยากเย็น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 12:57
พอถึงวันที่๑๒ ข้าพเจ้าก็เดินทางโดยเรือปืนยงยศอโยชฌิยา(The Impregnable)ซึ่งเป็นเรือรบที่ดีที่สุดของสยาม กัปตันชื่อวัลรอนด์ กงสุลฝรั่งเศสซึ่งไม่ได้เตรียมการจะไปในวันนั้นก็เลยพาลไม่ไปเสียเลย แม้ต่อมาจะมีการเสนอเรืออื่นอีกสองลำให้เขาก็ตาม ส่วนที่ไปพร้อมข้าพเจ้าก็มีภรรยาของข้าพเจ้า นางแคมป์เบล นายเคนเนดี้กับนายโกลด์จากสถานกงสุล และพ่อค้าชาวอังกฤษสองคน ชาวยุโรปและอเมริกันคณะใหญ่รวมทั้งรักษาการกงสุลสหรัฐก็ถูกจัดให้ไปพร้อมกับเรือลำเดียวกันนี้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:16
เมื่อไปถึงในเช้าของวันที่๑๔ ข้าพเจ้าได้รับหนังสือของท่านสมุหกลาโหม ขอให้ข้าพเจ้าอยู่บนเรือก่อนจนกว่าคนอื่นจะขึ้นฝั่งหมดแล้ว ด้วยว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะต้อนรับข้าพเจ้าอย่างเป็นทางการ ข้าพเจ้าจึงปฏิบัติตาม และเมื่อขึ้นฝั่ง รองเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศได้มารอรับอยู่ที่ปลายสพานท่าเทียบเรือพร้อมเจ้าหน้าที่อื่นๆและนำข้าพเจ้าไปยังประตูชั้นนอกของพระราชฐานโดยทันที ที่นั่น พระเจ้าอยู่หัว รอบล้อมด้วยพระราชวงศ์และเหล่าเสนาบดี ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างอบอุ่น และพระราชดำเนินไปทรงปืนเพื่อยิงสลุตเจ็ดบอกให้ข้าพเจ้าด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ถือได้ว่าเป็นเกียรติยศที่นอกเหนือแบบแผน พระองค์ประทับยืนโดยพระหัตถ์ข้างหนึ่งทรงถือนาฬิกาพกไว้ และทรงจุดชนวนยิงโดยรักษาเวลาให้พอดีไม่มีผิดพลาด   ตรัสว่าทรงต้องการแสดงให้พวกนายทหารเห็นการรักษาช่วงเวลายิงให้เที่ยงตรง

พระเจ้าอยู่หัวเสด็จนำข้าพเจ้าเดินข้ามลานพระราชฐานไปยังพลับพลาโปร่ง และระหว่างการเสริฟน้ำดื่ม ทรงชวนสนทนาด้วยเรื่องสุริยุปราคา แสดงความรู้ของพระองค์ในเรื่องที่ข้าพเจ้าไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนว่าจะได้รับฟัง หลังจากเข้าเฝ้าแล้วท่านสมุหกลาโหมได้นำข้าพเจ้าไปยังเรือนที่พักของท่าน ซึ่งถัดไปก็คือเรือนที่สร้างไว้สำหรับข้าพเจ้า


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:20
นับเป็นความน่าทึ่ง และคงเส้นคงวาในการรับแขกที่แสดงออกโดยรัฐบาลสยามในครั้งนี้ กล่าวคือ บรรดาพวกเสนาบดีทั้งหลายมิได้ทำที่พักของพวกเขาเองให้สะดวกสบายดังเช่นที่ทำให้สำหรับแขก ท่านสมุหกลาโหมเอง แทนที่จะอนุโลมให้คนที่เกินมาในคณะของข้าพเจ้ามาแย่งเนื้อที่ห้องพักในเรือนของข้าพเจ้า   ก็กลับยอมสละห้องบนเรือนของท่านเองห้องแล้วห้องเล่า จนมันกลายเป็นรังของคนยุโรปและอเมริกันทั้งหญิงและชาย ห้องรับรองของท่านได้กลายเป็นสโมสร และท่านก็เหลือเพียงห้องนอนห้องเดียวสำหรับตัวท่านเอง เมื่อข้าพเจ้าพยายามดึงแขกเรือนอันมากมายของท่านออกมาเสียบ้าง ท่านก็มาเอาตัวกลับไป  และแสดงความขัดขืนบ้างก่อนที่จะเห็นด้วยว่าพวกเหล่านั้นควรจะรับประทานอาหารกับเรา    ข้าพเจ้ารู้จักท่านดี ข้าพเจ้าทราบว่าการแสดงความสุภาพแก่พวกผู้หญิงที่ไม่ได้รับเชิญ ซึ่งมาล้มทับท่านกันเป็นจำนวนมากโดยที่ไม่ได้คาดการมาก่อนเช่นนี้ ได้สร้างภาระแก่ท่านเพียงใด แต่ความเอาใจใส่ของท่านก็ยังดำเนินต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ท่านถามด้วยอยากทราบว่ายังมีอะไรอีกบ้างไหมที่ต้องการ พวกเจ้าหน้าที่สยามอื่นๆก็ราวกับแข่งกันแสดงมารยาท และความมีน้ำใจต่อแขก ความเอื้ออาทรเช่นนี้ ข้าพเจ้าไม่เคยพบเคยเห็นที่ไหนมาก่อน และไม่คาดหวังที่จะได้รับอีก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:34
แต่ทว่า ยังมีความอึดอัดใจอยู่ตลอดเวลาสองประการ คือหนึ่ง อากาศที่ขมุกขมัวต่อเนื่องมาซึ่งถึงแม้จะดูดีขึ้นในวันที่๑๕ แต่ก็มีความคาดหมายกันทั่วไปว่าเราจะไม่ได้เห็นสิ่งที่เราสู้เดินทางมาเพื่อจะดูมัน และสอง พวกฝรั่งเศสได้บ่นและแสดงความไม่พอใจ บอกว่าคนสยามตั้งแง่คอยระแวงพวกตนและไม่ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกใดๆ (ข้อนี้ไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่ ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้ฟังมาผิด คนสยามต้องการที่จะทำให้ทุกอย่าง แม้แต่จะเลี้ยงดูพวกเขา) ยกตัวอย่าง ข้าพเจ้าขอเอ่ยถึงกรณีย์ของมองซิเออร์ปิแอร์ นักพฤกษศาสตร์ของคณะสำรวจ ปรารถนาที่จะออกเดินสำรวจ“พวกสยามขี้อิจฉา” บางคนกล่าว “ไม่จัดรถลากให้และไม่ยอมช่วยเหลืออะไรเขาเลย คงคิดว่าเขาจะมาทำจารกรรม” ข้าพเจ้าถามว่าแล้วท่านเคยทำเรื่องขอแล้วกระนั้นหรือ เขาตอบว่า “เปล่า” หัวหน้าของเขาตั้งใจว่าจะไม่ร้องขอความช่วยเหลืออะไรจากพวกสยาม ข้าพเจ้าจึงเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่สยามนายหนึ่ง และสองสามชั่วโมงต่อมาเขาก็เริงร่ามาพร้อมด้วยรถลากสามคันกับกุลีสิบคน ด้วยสิ่งเหล่านี้เอง บวกกับบริการอื่นๆอีกเล็กน้อยซึ่งข้าพเจ้าโชคดีที่ได้กระทำให้กับมองซิเออร์ปิแอร์ ข้าพเจ้าจึงได้รับพืชพรรณซึ่งมองซิเออร์ปิแอร์ได้ไปเก็บมาซ้ำกันหนึ่งชุด(ประกอบด้วยพรรณไม้ที่เขาเชื่อว่าไม่เคยพบมาก่อนถึง๒๐๐สายพันธุ์)ซึ่งข้าพเจ้าจะส่งมันต่อไปยังพิพิธภัณฑ์คิว รวมทั้งชื่อของข้าพเจ้า หรือตำแหน่งปัจจุบันของข้าพเจ้าที่จะแนบไปกับพืชอันน่าทึ่งพันธุ์หนึ่งซึ่งเติบโตอยู่ในหลุมโคลนของสยาม ข้าพเจ้าเชื่อว่าสาเหตุมาจากอากาศที่ขมุกขมัวนี่เอง เลยทำให้ใจคนขุ่นมัวตามไปด้วย พอฟ้าเปิดทุกสิ่งทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี และทำให้พวกฝรั่งเศสยอมรับน้ำใจของชาวสยาม รวมทั้งมันฝรั่งหลายกระสอบ ฯลฯ อย่างเต็มใจ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:42
.


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:44
วันที่๑๕ ตรงกับวันเฉลิมพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียนของชาวฝรั่งเศส เรือทุกลำถูกประดับประดาเพริศแพร้วและยิงปืนสลุตกันอย่างยกใหญ่ หัวหน้าคณะนักสำรวจฝรั่งเศสและกงสุลฝรั่งเศสไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ว่าโดยลำดับตำแหน่งแล้ว ใครควรอยู่ในฐานะประธานจัดงานฉลองวันนี้ได้ นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลทั้งหลายที่ตัวกงสุลฝรั่งเศสยังคงอยู่ในกรุงเทพ

วันที่๑๖ ข้าหลวงใหญ่ของสิงคโปร์มาถึงโดยเรือยอชต์ “ปีโก”ของท่าน แต่เนื่องจากเป็นวันอาทิตย์ท่านจึงเลื่อนการขึ้นฝั่งเป็นวันรุ่งขึ้น เช้าของวันที่๑๗ กัปตันเอดีย์มาถึงโดยเรือรบหลวงแซทเทิลไลท์ คณะของท่านขึ้นบกพร้อมด้วยการยิงสลุตของปืน๑๗กระบอกโดยกองทหารยามฝั่ง และได้รับการนำไปพบท่านสมุหกลาโหม ซึ่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท)ได้ทรงรออยู่ด้วย ในขณะเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกว่าน่าจะดีที่จะสร้างหอสังเกตุการณ์แห่งที่๒ ห่างออกไปสักสองสามไมล์และพระองค์เพิ่งเสด็จไปทรงเลือกจุดที่จะสร้าง    เรารอเกือบสามชั่วโมงจนกระทั่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับและโปรดเกล้าฯให้เราเข้าเฝ้า


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:46
พันเอกออร์ดได้รับการต้อนรับด้วยพิธีรีตองเต็มเหยียดที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะอำนวยได้ แถวทหารกระทำวันทยาวุธเมื่อท่านเดินเข้าไปยังพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับรออยู่บนพระราชบัลลังก์ลำลอง เจ้านายและข้าราชสำนักประมาณสองร้อยนายในชุดผ้าไหมเลื่อมพราย  สวมเสื้อครุยปักดิ้นทองหมอบเฝ้ารายรอบพระองค์ ข้าพเจ้าเบิกตัวฯพณฯ กัปตันเอดีย์ และเจ้าหน้าที่อื่นๆเข้าเฝ้า  แล้วพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงแนะนำพระเจ้าลูกยาเธอและบรรดาขุนนางให้ฝ่ายเรารู้จัก     การกราบบังคมทูลถูกจำกัดไว้แค่การทักทายตามมารยาทอย่างเป็นทางการ กับพระราชปฏิสันถารตอบว่าทรงพึงพอพระทัยมากต่อการมาเยือนครั้งนี้

หลังสิ้นสุดพิธีกรรม พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯที่จะให้มีการฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์แวดล้อมด้วยพระราชอาคันตุกะ  พอจบเรื่องนี้แล้ว นายพันเอกออร์ดจึงได้รับการเชิญให้ไปยังที่พำนักที่สร้างขึ้นสำหรับท่าน และสำรับอาหารระดับสุดยอดได้ถูกนำมาตั้งบริการ เรือนรับรองของนายพันเอกออร์ดมีขนาดที่เป็นรองก็เฉพาะพระราชฐานเท่านั้น ข้าพเจ้าคิดว่าบรรดาเครื่องประกอบต่างๆ เหล้าไวน์ ฯลฯ ไม่ได้ด้อยกว่าที่ข้าพเจ้าเคยได้ยินหรือได้เห็นบนโต๊ะของท่านข้าหลวงของอาณานิคมทั้งหลายเลย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:50
ในตอนค่ำ นายพันเอกออร์ดและคุณนาย กัปตันเอดีย์ ข้าพเจ้ากับภรรยาฯลฯ ทั้งหมดรวมแปดคน ได้รับพระราชทานเลี้ยงรับรองในส่วนพระราชฐานชั้นใน และทรงแนะนำพระราชโอรสพระราชธิดาและเจ้าจอมที่ทรงโปรดเก้าท่าน เช้าวันรุ่งขึ้นความสนิทสนมที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ได้เปิดโอกาสให้บรรดาพระราชวงศ์ทั้งหลายทรงเลิกแสดงท่าทีเคร่งครัดตามขนบธรรมเนียมเสียสิ้น  ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวและบรรดาเจ้าจอมกำลังสนทนากับนายพันเอกออร์ดและคุณนายในห้องหนึ่ง ในห้องที่ติดกันนั้น ข้าพเจ้าและสุภาพบุรุษอื่นๆได้สนทนากับพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธออยู่ถึงสี่สิบห้านาทีเต็มๆ หลายพระองค์เป็นสาวรุ่นพระชันษาระหว่าง๑๕-๑๘ ทรงสนทนาด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมาและฉลาดเฉลียวรอบรู้  เกินกว่าที่ข้าพเจ้าจะนึกถึงเสียอีก

ทรงตรัสใช้ภาษาง่ายๆ  กรองคำที่หยาบหรือกระด้างออกจนฟังอ่อนโยน อันถือได้ว่าเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของภาษาไทย สำหรับพวกที่ร่วมอยู่กับข้าพเจ้าผู้ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ก็ทรงตรัสด้วยภาษาอังกฤษสองสามคำ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาพ่อผู้ใจดี ทรงได้ยินเสียงพูดและเสียงหัวเราะของการสนทนา ทรงยอมรับด้วยพระอารมณ์ขันที่สุด ทรงแย้มพระสรวลขณะที่ตรัสระหว่างเสด็จเข้าว่า  "ลูกๆพูดกันเสียงหนวกหูเสียนี่กระไร"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 13:54
ช่วงเวลาทั้งหมดช่างเพลิดเพลิน ราวกับมาเที่ยวปิกนิคกัน    เมื่อสยามได้เริ่มลดฉากบังตาที่สร้างไว้ในกรุงเทพเพื่อกั้นกลางระหว่างชาวต่างชาติกับพวกเขาลง ข้าพเจ้าก็หวังว่าการกระทำนั้นจะทำให้พวกชาวสยามเกิดความไว้วางใจต่อคนต่างชาติมากขึ้น  พอๆกับการได้ที่พวกเขาจะได้รับความยอมรับนับถือเพิ่มขึ้นมากจากชาวต่างชาติเช่นกัน

ในช่วงบ่ายพระราชโอรสพระองค์ใหญ่เสด็จออกทรงม้ากับชาวต่างชาติคณะใหญ่ และชาวต่างชาติอีกคณะหนึ่งก็สนุกสนานไปกับการขี่ช้าง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 14:00
และแล้ววันสำคัญก็มาถึง แต่เช้าตรู่ก็เห็นฝูงชนวุ่นวายกับการตั้งกล้องโทรทัศน์ที่หน้าเรือนพักของพวกเขา แต่เมฆที่ลอยไล่กันบนท้องฟ้าเพิ่มความหนาแน่นขึ้นทุกชั่วโมง ทำให้ความตื่นเต้นทวีขึ้นถึงขีดสุด  เมื่อเสียงปืนประกาศการเริ่มต้นของคราสดังขึ้น เป็นระยะแรกที่ยังมองอะไรไม่ออก แต่ทันทีที่คราสขั้นเต็มดวงกำลังจะเริ่ม อากาศอุ่นจากโลกดูเหมือนจะลอยตรงขึ้นไปสู่ดวงอาทิตย์ แหวกอากาศเย็นจัดข้างบน  ขับไล่เมฆเหนือหัวของเราให้ลอยกระเจิดกระเจิงไป แสงรุ่งโรจน์ของรัศมีโคโรนารอบพระอาทิตย์ แสงของหมู่ดาวส่องประกายราวลูกปัด และลำแสงเสมือนน้ำพุ พวยพุ่งออกมาด้วยความชัดเจนสวยงาม เสียงครางอย่างอัศจรรย์ใจดังกระหึ่มไปทั่วนิคม เล่ากันว่าท่านสมุหกลาโหมได้วิ่งเข้าไปในเรือนเพื่อตะโกนหาเหล่าภรรยา  "ถึงตอนนี้ เธอจะเชื่อในสิ่งที่ฝรั่งบอกหรือยังล่ะ"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 14:09
ข้าพเจ้ามิได้ประสงค์จะบรรยายเรื่องสุริยุปราคา    นั่นเป็นหน้าที่ของนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส แต่ข้าพเจ้าจะบันทึกสิ่งที่เกิดกับตนเองและบรรดาคนรอบข้าง คณะของข้าพเจ้าทั้งหมดเงียบงันและค่อนข้างตื่นตระหนก คณะพวกมิชชันนารีได้ส่งเสียงเชียร์สั้นๆแต่ดังมาก คนสยามหลังจากส่งเสียงโห่ร้องอย่างประหลาดใจในช่วงแรกก็เปลี่ยนเป็นนั่งเงียบงัน พวกผู้หญิงกลัวๆกล้าๆ ผู้หญิงพื้นเมืองบางคนวิ่งหนีเข้าไปในบ้าน ท่านสมุหกลาโหมออกวิ่งราวกับยังหนุ่มแน่น และวิ่งกลับไปยังหอสังเกตุการณ์กับข้าพเจ้าเมื่อเห็นดวงอาทิตย์เปล่งแสงออกมาอีกครั้ง ท่านนำข้าพเจ้าเข้าเฝ้าโดยทันทีหลังจากนั้น และข้าพเจ้าได้นั่งลงร่วมกับคณะเสนาบดีที่มาร่วมประชุมพร้อมแล้ว เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ฉากกั้นระหว่างเราสองฝ่ายถูกปลดลงไป  พระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีต่างนั่งล้อมรอบ ยิ้มเริงร่าและสนทนากันอย่างตลกขบขัน พิธีรีตรองถูกตัดลงไปที่สั้นที่สุด เสรีภาพในการพูดได้รับพระราชานุญาตให้เป็นไปอย่างเต็มที่

พระเจ้าอยู่หัวทรงบรรยายปรากฏการณ์และสาเหตุของสุริยคราสอย่างชัดเจน แสดงถึงความละเอียดลออที่ทรงศึกษาเรื่องนี้มา สุดท้ายได้พระราชทานเหรียญทอง(ตามประเพณีของสยามในเนื่องในโอกาสสำคัญ) และการประชุมอันน่าสนใจนี้ก็ยุติลง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 14:10
.


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 14:13
ในเวลาเดียวกัน นายพันเอกออร์ดและคณะของท่านก็ได้สังเกตุการณ์การเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ แต่ไม่ค่อยจะได้คุณค่าทางวิทยาการใดๆ เทียบกับการสังเกตการณ์ของคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ทำงานด้วยอุปกรณ์ระดับยอดเยี่ยมเป็นที่สุด

ในช่วงบ่ายพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยือนนายพันเอกออร์ดที่เรือนรับรองของท่าน นับเป็นการถ่อมพระองค์อย่างน่ายกย่อง   ค่ำวันนั้นนายพันเอกออร์ดได้รับเชิญให้ไปชมการแสดงละคร


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 14:15
.


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 14:16
เช้าวันรุ่งขึ้นพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯที่จะฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระราชอาคันตุกะอีกครั้ง  และทันทีที่แล้วเสร็จ ค่ายสุริยคราสก็สลายตัวลงประหนึ่งกองหิมะภายใต้แสงพระอาทิตย์ อาคันตุกะที่มาอย่างไม่เป็นทางการได้ออกเดินทางทันทีหลังจากคราสแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับประมาณเที่ยงของวันที่๑๙ เรือกลไฟและเรือยอชท์แล่นใบที่คนโดยสารลงไปแออัดยัดเยียดก็รีบออกเดินทางกลับ เรือรบหลวงแซทเทิลไลท์เดินเครื่องมุ่งไปยังประเทศจีน เรือรบฝรั่งเศสเฟรลอง มุ่งสู่ไซ่ง่อนพร้อมกับข่าวของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

นายพันเอกออร์ดตัดสินใจที่จะลงเรือในช่วงบ่าย ข้าพเจ้าซึ่งควรจะได้ไปส่งท่านถึงเรือ แต่เพื่อที่จะไม่ให้เป็นการเสียเวลาของเรือรบหลวงยงยศอโยฌิยาซึ่งได้รับมอบหมายให้บริการข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงต้องยอมขาดงานส่งฯพณฯ และลงเรือเพื่อกลับบ้านพร้อมกับท่านสมุหกลาโหม ทิ้งค่ายที่กำลังเริ่มการรื้อถอนซึ่งข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์ของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างกว้างขวาง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแสดงความสนิทสนมเป็นพิเศษดังกล่าว และได้ร่วมเป็นสักขีพยานในปรากฏการณ์ครั้งสำคัญที่สุดทางดาราศาสตร์


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 15:18
การ"ลงทุน"ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯครั้งนั้น มีกำไรด้านนามธรรมอย่างมากมายประเมินค่ามิได้ การเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสยามมิได้เป็นชนชาติล้าสมัย ไม่ยอมรับรู้รับเห็นโลกภายนอกอะไรทั้งสิ้นก็เปลี่ยนไป แม้จะไม่ทำให้พวกเจ้าอาณานิคมหยุดความพยายามที่จะเอาสยามเป็นเมืองขึ้น แต่ก็ต้องคิดหนัก เพราะเส้นทางทางการทูตได้ถูกเปิดขึ้น รัชกาลต่อมาสยามจึงสามารถเจรจา หากุศโลบายในการพึ่งพามิตรประเทศในยุโรป ให้ช่วยประคับประคองเอกราชของสยามจนแคล้วคลาดตลอดรอดฝั่ง

เฮนรี อาลาบาศเตอร์อาจถูกมองว่าเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยนเกินไป เห็นใจเหยื่อเกินกว่าจะเป็นนักการทูตของประเทศที่หากินทางการล่าอาณานิคม ท่านรักคนไทยมากไป ไม่ควรที่จะดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่แห่งสหราชอาณาจักรประจำสยามได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.ย. 12, 15:40

June 1877  และ  1879    ปาลาเซียเขียนจดหมายถึงป้า  จากสยาม

19 June, 1877: Palacia to Auntie:

"....Henry has been wonderfully well through all the hot season, the trip with the King and then our own trip in the cold season quite set him up. Charles and Ernest [her sons] are not quite so well. I think require sea air. I am going to take them down to the coast for a few weeks. I am a martyr to prickly heat which makes me exceedingly irritable and disagreeable. We are going on very quietly in Bankok, one week much the same as another and the time slips away very quickly. His Majesty gave us a little change and a very pleasant evening last week....and received us in the drawing room of the New palace - he has exceedingly nice manners.. . Henry is just starting off on a surveying trip - not very good weather for such work - I think he will have to join us at the seaside after - it is such hard work preparing for these trips to the sea - we have to take everything with us - and I am so tired just now with my attempt to prepare that I can hardly stand ...... Yours affectionately. . . . "

(ชาล์ส และ เอิร์นเนส(บุตรชาย) ไม่ค่อยสบาย   น่าจะได้ไปพักผ่อนได้อากาศทะเลบ้าง   หลานกำลังจะพาลูก ๆ ไปชายทะเลเสียบ้าง    หลานอดทนกับความร้อน
 อย่างสุดจะทน     ทำให้อารมณ์ไม่ดีและหงุดหงิด....)

25 May, 1879: Palacia to Auntie from Bangkok:

"Henry is very busy with the Siamese - sent for at all hours of the day - and woken up out of his sleep in the night - I wish that they would see that his salary is inadequate - which is most certainly is - it is wonderful how he manages to get such an amount of brain-work [done]...
(แปล    เฮ็นรี่ทำงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา   คนไทยก็ตามหาตัวเขาอยู่ทั้งวัน       พวกเขาน่าจะเห็นว่าเงินเดือนเฮ็นรีน้อยนิด  ซึ่งเป็นอย่างนั้นจริง ๆ     มหัศจรรย์เหลือเกินที่เฮ็นรียังใช้สมองทำงานได้)




ในจดหมายเหตุส่วนพระองค์ฉบับหนึ่ง     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ครัสกับ อาลาบาสเตอร์ว่า

ฝากขอบใจภรรยาของเจ้าที่ส่งรูปน้ำเป็นท้องน้ำและเรือต่าง ๆมาให้       เราหวังว่าจะได้ดูรูปที่สวยๆอีก
(เล่าจากความทรงจำ  ว่า พระเจ้าน้องยาเธอเป็นผู้ทูลเกลัาทูลกระหม่อมถวายแทน)


Ah, if Henry and I could only be there [England] with the boys. I believe I miss them more and more and when there will be a prospect of seeing them I do not know. I was glad to get your account of them.....".

(แปล     โอ!   เพียงแต่เฮนรีและหลานจะได้ไปอยู่ที่นั่น(ในประเทศอังกฤษ)    หลานเชื่อว่า

หลานคิดถึงลูก ๆ มากขึ้นทุกที     จะได้เห็นหน้ากันอีกเมื่อไรก็ไม่ทราบ     หลานดีใจที่คุณป้าเขียนมาเล่าเรื่องลูก ๆ)

(ลูกฝรั่งนั้นเมื่อเข้าโรงเรียนตอนเด็ก ๆ   ก็ไปอยู่โรงเรียนประจำ  กลับมาบ้านตามวันหยุด)


เงินที่จะมอบให้แม่ม่ายเลี้ยงชีพ  และส่งลูก ๆ เรียนนั้น  ก็จะต้องส่งผ่านสถานทูตไทยต่อไป  จึงนับเป็นปอนด์




ของที่เลหลังนั้นให้แบดแมนเลหลัง       การเลหลังนั้นเมื่อเก็บเงินๆได้ครบถ้วนแล้วก็จะรวบรวมส่งไปให้ผู้นำมาเลหลัง
สยามไสมย    หน้า ๒๔๙  มีรายการครบถ้วน


พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์เล่าว่า  อาศัยอยู่แถวพระบรมมหาราชวัง       ที่อยู่ของอาลาบาสเตอร์อยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันตก



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 15:47
<

เป็นอันว่าคุณนายปาลาเซียได้กลับมาอยู่ในสยามกับสามี มิได้แยกกันอยู่ในกรุงลอนดอน

ผมย้อนกลับไปอ่านกระทู้ที่ผมเองเคยเขียนขึ้น เรื่อง “ชีวิตดั่งนิยาย-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กระดูกสันหลังพระปิยะมหาราช?” เพื่อหาข้อมูลเรื่องนายอาลาบาศเตอร์ เจอเข้าดังนี้ครับ


เมื่อจบการศึกษาในปีพ.ศ.๒๔๑๙ (พระองค์เจ้าปฤษฎางค์)ได้เสด็จกลับมาเมืองไทยเพื่อเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พร้อมทั้งทูลเกล้าฯถวายรางวัลและประกาศนียบัตรต่างๆ ได้รับพระราชทานทั้งเงินรางวัลและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นเครื่องหมายว่าทรงชื่นชมยินดี

ทรงโปรดเกล้าฯให้เข้ารับราชการ เป็นผู้ช่วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งมีนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ อดีตผู้ช่วยกงสุลอังกฤษที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงจ้างไว้เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำงานอยู่ด้วยในด้านการทำแผนที่ นายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ (คุณปู่ของพลอากาศเอกสิทธิ์ เศวตศิลา) ซึ่งจบมาจากสถาบันเดียวกัน เห็นประกาศนียบัตรต่างๆของหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ก็กราบบังคมทูลว่า เหนือกว่าที่ตนเองได้รับมากนัก ท่านก็เลยได้รับมอบหมายแบบปล่อยเดี่ยวให้ไปเที่ยวสำรวจลำคลองต่างๆเพื่อจะชักน้ำเข้าคลองเปรมประชากร สำหรับมาทำน้ำประปาสำหรับกรุงเทพ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html

เป็นอันว่า เส้นทางที่นายอาลาบาศเตอร์ใช้ในการกลับเข้ามารับราชการในสยามนั้น ก่อนหน้าที่สยามจะตั้งสถานทูตในลอนดอน ซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นอัครราชทูตพระองค์แรก

แต่ทฤษฎีเดาชั่นที่ผมว่าไว้อันนี้ยังยืนยันความเป็นไปได้อยู่ ถึงแม้จะยังไม่มีสถานทูต แต่สยามก็มีกงสุลกิตติมศักดิ์อยู่ที่นั่นก่อนนานแล้ว นายอาลาบาศเตอร์อาจจะติดต่อผ่านกงสุลก็ได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 16:13
  ถ้าอย่างนั้นขอเรียงข้อมูลใหม่
  - ค.ศ. 1873 (พ.ศ. 2416)  เฮนรีเดินทางกลับมาสยาม ในฐานะที่ปรึกษาของพระเจ้าแผ่นดินสยาม   
  - ค.ศ. 1877 (พ.ศ. 2420)  คุณนายแหม่มกับลูกๆ อยู่ในสยามแล้ว
  เธออาจจะเดินทางตามมาทีหลังเมื่อลูกคนเล็กโตพอจะเดินทางได้   หรือว่ามาพร้อมสามีตั้งแต่ 1873  ข้อนี้ต้องรอหลักฐานจากคุณวันดี  ว่าคุณนายพาลาเซียเขียนจดหมายถึงป้าในค.ศ. 1873 บ้างไหม
  - ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422)  ลูกชายของเธอเข้าโรงเรียนประจำในอังกฤษไปแล้ว   คุณนายยังอยู่ในสยาม   ในปีนี้ ชาร์ลส์อายุ 10 ขวบ   เอ็ดเวิร์ด เพอร์ซี อายุ 8 ขวบ  และเออเนสต์ คนเล็ก อายุ 7  ขวบ 
  - ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427)  นายอาลาบาศเตอร์ถึงแก่กรรม   คุณนายขายข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหมด  เดินทางกลับอังกฤษอย่างถาวร
    เมื่อพ่อเสียชีวิต  ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์ คนโตในสามพี่น้อง  อายุ 15 ปี  น่าจะยังเรียนหนังสืออยู่ เช่นเดียวกับน้องชายทั้งสองคน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 16:41
เจอจดหมายที่เฮนรี อาลาบาศเตอร์เขียนถึงญาติลูกพี่ลูกน้องของเขาชื่อเพอร์ซี คริดเดิล  เล่าถึงการเดินทางมาตะวันออกไกลเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 1856  เมื่ออายุได้ 20 ปี
เพอร์ซี คริดเดิลอายุแค่ 12 ในปีนั้น  แต่ก็ดูสนิทชิดเชื้อกันดีกับญาติที่แก่กว่า 8 ปี    
นายคริดเดิลคนนี้เองที่ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์ลูกชายของเฮนรี่เดินทางจากอังกฤษไปเยี่ยมเขาที่แคนาดา เมื่ออายุ 34 ปี หลังพ่อเสียชีวิตในสยามไปนานแล้ว    แล้วก็ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคนาดานั้นเลย

Singapore

Dear Percy

It is preciously hot here, but we have lots of fun, and I hope you at home are as jolly as we are. What do you think of a lot of ladies and gentlemen, playing blind-man’s buff, that is how we amuse ourselves.

I often think of you, and wonder what you will be like when I come back. I hope you work hard, and remember God’s command to honour your father and your mother.

When I get to China I will write again, so now Good bye and may God bless you.

Your affectionate Cousin

Henry Alabaster

เฮนรีพูดว่าจะเดินทางไปเมืองจีน  คิดว่าเขาหมายถึงฮ่องกง ซึ่งใช้เวลา 5 วันเมื่อเดินทางเรือจากสิงคโปร์ 
เอาลายมือของเฮนรีมาให้ดูกันค่ะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 17:02
จดหมายที่เฮนรีเขียนถึงป้าของเขา ในค.ศ. 1876   สามปีหลังจากเขากลับมารับราชการในสยาม  บอกอ้อมๆถึงความรู้สึกเดียดฉันท์ที่มีต่อครอบครัวของน็อกซ์    

Jan 1676: Henry to Auntie:
(พิมพ์ค.ศ.ผิดค่ะ ต้องเป็น 1876)
"This New Year on duty from an early hour. I do not complain. The more I am used the more necessary I become and the better I hope will be my remuneration. I am as proud as ever I was now - having made my position without anyone to thank for it Palacia now leads society and her parties are the only largely attended ones.
She and her lady friends decline to go where Mr Knox's daughters go - and so make successful parties impossible except in our house".


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ก.ย. 12, 19:41


แฟนนีนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมสุภาพชน(ฝรั่ง)   จะหาสามีเป็นฝรั่งผู้ดีคงยาก

เคยอ่านเอกสารที่ข้าราชการชั้นสูงของอังกฤษพาดพิงถึงเธอต่อสมเด็จพระบรมราชินีนาถว่า

ลูกสาวนอกสมรสของ กงสุล เยนิรัล ของใต้ฝ่าละออง ฯ (natural daughter)  และแทนตัว

แฟนนีว่า  that creature

        คนไทยเรานั้นนับกันที่ความรู้  หน้าที่การงานที่ทำ    ลูกจีนบวชเสียไม่กี่ปี  สึกมา  ถ้าเก่งได้รับ

พระราชทานยศคุณหลวงก็มี    ยังไม่ทันลืมก็ได้เป็นพระยา

        ท่านที่นับถือท่านหนึ่งในเรือนไทย  กินยศประมาณ คุณพระแล้วค่ะ    ลูกศิษย์ปลื้มใจกันมาก

นับยศถอยไปมาว่าจะได้ประมาณอำมาตย์เอกไหมนี่     

        ตาน๊อกซ์คงทำมาหากินเรื่องเข้าหุ้นป่าไม้ไว้   มีเงินทิ้งไว้ให้ธิดามากมาย

       


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 12, 20:13
      พระราชหัตถ์เลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

     "ลูกสาวสองคนนี้  คนต่างประเทศไม่มีใครนับถือเลย  ไม่มีใครเอาเป็นภรรยาเป็นแน่    ไปมานอนค้างอยู่ในวังจนคนพูดว่า กงสุลถวายวังหน้าก็มีมาแต่ก่อน    แต่พูดกันแต่ไทย ๆ  คนฝรั่งไม่พูด  มาในครั้งนี้เขาว่าเมื่อไปกาญจนบุรีนี้ออกหน้ามาก   ไปตามเสด็จวังหน้า นั่งที่ไหนก็นั่งเคียงกัน   แลในบางกอกก็มีเถ้าแก่รับส่งเป็นเวลาขึ้นไปนอนวัง   ประทานเข้าของแต่งตัวมากนัก  แต่คำที่คนฝรั่งพูดกันนั้นเป็นการเยาะเย้ยกันมาก      ด้วยเขาไม่นับถือในตัวผู้หญิง  และก็ผิดธรรมเนียมในศาสนาเขามาก"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 12, 20:57
นายอาลาบาศเตอร์คงไม่ใด้ไม่กินเส้นกับนายน๊อกซ์เรื่องลูกเมียคนไทยกระมั้ง?????


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 15 ก.ย. 12, 08:14
natural daughter , that creature....... ฟังแล้ว เสียวสันหลัง ว๊าบ .  หมายถึงใคร คนนั้นคงหน้าชา ไป ๓ วัน ๗ วัน


อลาบาสเตอร์ นอกจากจะทำงาน ๑๐๘, ๑๐๐๙ แล้ว ยังได้มีโอกาส ถวายการสอนหนังสือเจ้านายด้วย ปรากฏใน ข้อเขียนของ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ในหนังสืองานศพท่านดังนี้


"....... ท่านอาลาบาศเตอร์ ได้เป็นครูสอนวิชารังวัดแผนที่และวิชาเบ็ดเตล็ดอีกหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม ในตอนหลังต่อมา เจ้านายใหญ่โตหลายพระองค์ เช่น สมเด็จกรมพระยาภารุพันธ์วงศ์ฯ สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ฯ สมเด็จกรมพระยาดำรง. ฯ,ฯ ได้ทรงเรียกท่านอาลาบาศเตอร์จนติดพระโอษฐว่า "ครู" และเรียกตัวข้าพเจ้าว่า "ลูกครู" เสมอ แม้แทต่ท่านเจ้าพระยาภาษสกรวงษ์ฯ เจ้าพระยาเทเวศร์ ฯ,ฯ ก็เรียกเช่นเดียวกัน ข้าราชการเมื่อครั้งตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ถ้าผู้ใดเอ่ยวาจาเพียงคำเดียวว่า "ครู" ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า หมายความถึง "ท่านอาลาบาศเตอร์" ดังนี้ ......."





กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 12, 08:27
คำถามของผมที่ยังไม่มีคำตอบ

ทำไมนายอาลาบาศเตอร์จึงมิได้เป็นขุนนางท้าวพระยา ทั้งๆที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเห็นว่าทำคุณความดีไว้มากมาก สามารถ"กินพาน"ได้เลย
ฤาว่าพ.ศ.นั้น สมัยรัชกาลที่๕ ยังไม่มีธรรมเนียมที่จะพระราชทานราชทินนามกับชาวต่างชาติ

พวกคุณออกหลวงออกพระท่านหายไปไหนกันหมด ไม่เข้ามาเฉลยสักหน่อยหรือขอรับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 12, 08:48
คำถามของผมที่ยังไม่มีคำตอบ

ทำไมนายอาลาบาศเตอร์จึงมิได้เป็นขุนนางท้าวพระยา ทั้งๆที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเห็นว่าทำคุณความดีไว้มากมาก สามารถ"กินพาน"ได้เลย
ฤาว่าพ.ศ.นั้น สมัยรัชกาลที่๕ ยังไม่มีธรรมเนียมที่จะพระราชทานราชทินนามกับชาวต่างชาติ

พวกคุณออกหลวงออกพระท่านหายไปไหนกันหมด ไม่เข้ามาเฉลยสักหน่อยหรือขอรับ

การกินพานในชาวต่างประเทศ มีมานานแล้วครับ ยังจำ เซอร์จอห์นบาว์ริ่ง กันได้ไหมครับท่านผู้นี้ก็ได้พระราชทานนาม, ตันกิมเจ๋งก็ได้รับพระราชทานราชทินนาม แต่ใน่วนของเฮนรี่ เป็นคนกงสุลฝ่ายอังกฤษ แปลเอกสารต่าง ๆ ใกล้ชิดพระองค์มากแต่ไม่ได้กินพาน เรื่องนี้คงเป็น "ฟ้าลิขิต" หรือ "ทำตัว" ก็ไม่มีใครทราบถึงบุคคลิกและนิสัยใจคอความสัมพันธ์ระหว่างเฮนรี่กับบรรดาพวกพ้องได้ว่าเป็นอย่างไร



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 12, 09:13
สมัยต้นรัชกาลที่๕ มีฝรั่งได้กินพานก่อนมรณกรรมของนายอาลาบาศเตอร์หรือไม่ เท่าที่ผมพยายามนึก ไม่เห็นมี

อนึ่ง บรรดาศักดฺ์ที่พระราชทานให้เซอร์จอห์น บาวริ่ง(บางสำเนียงเรียกโบวริ่ง) เป็นกิตติมศักดฺ์ เพราะบาวริ่งมิใช่ข้าราชการสยาม นึกย้อนขึ้นไป ข้าราชการฝรั่งเริ่มมีในรัชกาลที่๔ แต่ทั้งวังหลวงวังหน้า ไม่ได้พระราชทานราชทินนามแก่ผู้ใด

แต่ผมจะรู้จะอ่านน้อยไปก็เป็นได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ย. 12, 09:30

บางกอกกาลันเดอร์มีรายละเอียดการเข้ามาและเดินทางออกไปของชาวต่างประเทศค่อนข้างละเอียดค่ะ

แต่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านเพราะติดภาระกิจหลายอย่าง

จำได้ว่าบรัดเลย์เล่าว่าอาลาบาสเตอร์พาเจ้าสาวมา....

บิดาของปาลาเซียเป็นช่างตัดเสื้อ  อยู่ที่ Brentwood ใน Essex


เรื่องลูกเมียคนไทยนั้น   อาลาบาสเตอร์คงมิได้ใส่ใจ  แต่ธรรมเนียมคนอังกฤษบางอย่างเคร่งครัด

เกียรติของภรรยา  คือ เกียรติของสามี

แฟนนีนั้นสังคมกับพวกทันสมัยคือ ก.ศ.ร.  ไปมาหาสู่  ไปงานบวช งานตายกัน   แต่เมื่อนายพลเรือพาคุณหญิงมาในงาน

แฟนนีจะได้รับการแนะนำด้วยหรือ


ชอบอาลาบาสเตอร์มากเหมือนกัน  และได้ติดตามข่าวของสมาคมสกุลนักยิงธนูมาตั้งแต่ต้น(ความหมายของสกุลอาลาบาสเตอร์ที่เพี้ยนมา)

อาลาบาสเตอร์เป็นราชเลขานุการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง

ประโยชน์ยิ่งใหญ่ที่ท่านได้ทำไว้คือทำให้สยามเข้าใจว่าลัทธิล่าเมืองขึ้นนั้นคืออะไร    


ข้อมูลของบ้านเรายังหากันไม่พบอีกมาก     เพราะลัทธิตัดแปะ  


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ย. 12, 09:38


เรียนเตือนคุณปิยะสารณ์   ว่าเมตตากรุณาเขียนเรื่องเจ้าคุณพ่อของท่านองคมนตรีกับเรื่องกล้วยไม้ด้วยเถิด




กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 12, 11:29
สมัยต้นรัชกาลที่๕ มีฝรั่งได้กินพานก่อนมรณกรรมของนายอาลาบาศเตอร์หรือไม่ เท่าที่ผมพยายามนึก ไม่เห็นมี

อนึ่ง บรรดาศักดฺ์ที่พระราชทานให้เซอร์จอห์น บาวริ่ง(บางสำเนียงเรียกโบวริ่ง) เป็นกิตติมศักดฺ์ เพราะบาวริ่งมิใช่ข้าราชการสยาม นึกย้อนขึ้นไป ข้าราชการฝรั่งเริ่มมีในรัชกาลที่๔ แต่ทั้งวังหลวงวังหน้า ไม่ได้พระราชทานราชทินนามแก่ผู้ใด

แต่ผมจะรู้จะอ่านน้อยไปก็เป็นได้

ย้อนกลับไปรัชกาลที่ 4   วังหลวงจ้างฝรั่งมารับราชการ ชื่อร้อยเอกอิมเปย์  และวังหน้าจ้างร้อยเอกโทมัส จอร์ช น๊อกซ์ มาฝึกทหารไทยแบบยุโรป    น๊อกซ์รับราชการยาวนานจนรัชกาลที่ 5  ก็ไม่ปรากฏว่าได้บรรดาศักดิ์อย่างขุนนางไทย    แต่เมื่อมาเป็นข้าราชการของอังกฤษในตำแหน่งกงสุลสยาม  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์จากรัฐบาลอังกฤษ
ครูฝรั่งถวายพระอักษรภาษาอังกฤษให้เจ้านายไทย มาทำงานถวายอยู่นาน ก็ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์อย่างขุนนางไทย   ทั้งๆที่ ถ้าเป็นคนไทย ทำงานแบบนี้ได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนเป็นหลวงไปนานแล้ว

จึงคิดว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4  และต้นรัชกาลที่ 5  ยังไม่มีธรรมเนียมให้บรรดาศักดิ์แก่ฝรั่งที่มารับราชการในสยาม   มิฉะนั้นนายอาลาบาศเตอร์คงได้แล้ว  ในเมื่อทำงานถวายยาวนานเป็นที่พอพระราชหฤทัย  ถึงขั้นพระราชทานเกียรติยศในการทำศพให้ชั้นพระยาพานทอง 
จึงเห็นว่าบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานแก่พวกฝรั่ง เพิ่งเริ่มในช่วงกลางรัชกาล   เช่นพระราชทานให้พระยาชลยุทธ์โยธิน   


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 12, 13:18
ผมจะรู้จะอ่านน้อยไปก็เป็นได้

ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิ์พ่อค้าต่างประเทศ

สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิสมมติเทพยพงศ์วงศาดิศวร...ฯลฯ...
ขอประกาศความที่จะว่าไปนี้แก่ท่านทั้งปวงหรือท่านผู้หนึ่งผู้เดียว คือผู้ใดๆ ที่จะได้อ่าน
หนังสือสำคัญนี้ให้ทราบ

ธรรมเนียมในกรุงเทพมหานคร  เมื่อชนชาวต่างประเทศมีความสวามิภักดิ์ได้รับธุระ
ช่วยขวนขวายในราชการแผ่นดินก็ดี  หรือถวายสิ่งของมีราคาต้องพระราชอัธยาศัย
พระเจ้าแผ่นดินสยามก็ดี   นับว่าเป็นผู้มีความชอบแล้ว  ย่อมได้รับพระราชทานตำแหน่ง
บรรดาศักดิ์ฝ่ายสยามเป็นแบบอย่างมา  คือเมื่อในแผ่นดินซึ่งเป็นปฐมรัชกาลที่ ๑
ในพระบรมราชวงศ์นี้  กัปตัน เอฟ. ไลด์ เป็นผู้มาขอเช่าที่เมืองปีนัง  เกาะหมาก ให้อีสตกัมปนีอังกฤษ
ในเวลานั้นได้ถวายดาบประดับพลอย ๑ ปืนบอก ๑ เป็นเครื่องเงินเป็นของดีมีราคา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงรับไว้เป็นพระแสง  แลของอื่นๆ มีราคามาก
ก็ถวายไว้หลายสิ่ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามในรัชกาลเป็นปฐม  ได้ทรงพระกรุณา
โปรดตั้งให้เป็นขุนนางมียศฝ่ายสยามว่าพระยาราชกปิตัน นาย ๑ ...ฯลฯ...

ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลที่ ๓ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดตั้งมิสเตอร์หันเตอร์
เป็นขุนนางมียศฝ่ายสยาม  มีนามโดยภาษาสังสกฤตว่า "หลวงอาวุธวิเศษ" นายหนึ่ง ...ฯลฯ...

(หมายเหตุ  รายละเอียดประกาศฉบับเต็ม กรุณาหาอ่านเอง)




กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 12, 13:25
ร.ที่ ๑๖๖/๔๕

ถึง กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
    ด้วยเธอจดหมายว่า  มิสเตออาลบาสเตอ  จะขอเจาะกำแพงตรงถนนข้างกำแพงวัง
ด้านวัดพระเชตุพน  ริมประตูพิทักษบวรนั้น  ได้ทราบความแล้ว  เห็นว่าไม่เปนการขัดขวางอันใด
ให้ทำเปนประตูช่องกุดใหญ่ๆ ฤาทำเปนประตุตัดก็ได้  ให้ทำไปเถิด
    จดหมายมา ณ วัน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะแมเบญจศก ๑๒๔๕


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 12, 13:56
บางกอกกาเลนเดอ 1861

ิbritish consulate
established june 11th 1856

Sir Robert H. Schomburck, Phil.Dr,  F.R.S. Corresp.
   Member of the R.G.S.L.&c.  Consul.  Appoited 1858

Interpreter  ,Thomas George Knox. Appt. July 7th 1857  absent on leave.

1st Assistant   ,Henry  Alabaster. Acting Interpreter. Appt. March 24th 1859



บางกอกกาเลนเดอ 1862

Dec. 12th 1861  Thomas George Knox, Interpreter to the British Consulate,
returned from a tour to Europe.


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 14:01
ยินดีที่คุณหลวงเล็กเข้ามาครับ

ผมพอจะทราบอยู่ว่ามีการพระราชทานบรรดาศักดฺ์ให้ชาวต่างประเทศมาแต่รัชกาลก่อนๆแล้ว แต่คิดว่าคงพระราชทานแก่พวกนักการทูต หรือพ่อค้าวาณิชย์ที่เข้ามาทำประโยชน์เป็นกรณีย์ๆไป ไม่ใช่ลูกจ้างหลวงที่เรียกว่าข้าราชการ แต่ผมไม่ได้มีตู้หนังสือพระราชกิจจานุเบกษาอยู่ใกล้ตัว จึงอ่านน้อยรู้น้อยในเรื่องนี้ ผู้รู้อย่างคุณหลวงเข้ามาให้ความรู้แก่ผู้อ่านก็ดีแล้ว ตกลงว่า ในรัชกาลที่๔ถึงต้นสมัยรัชกาลที่ห้า ก่อนที่จะพระราชทานบรรดาศักดฺ์ให้กัปตันริเชลิวเป็นหลวงชลยุทธโยธินทร์ประมาณปี๒๔๒๔ พระองค์ได้เคยพระราชทานให้แก่ข้าราชการผู้ใหญ่ท่านใดบ้างหรือเปล่าครับ

อ้างถึง
สมัยต้นรัชกาลที่๕ มีฝรั่งได้กินพานก่อนมรณกรรมของนายอาลาบาศเตอร์หรือไม่ เท่าที่ผมพยายามนึก ไม่เห็นมี

อนึ่ง บรรดาศักดฺ์ที่พระราชทานให้เซอร์จอห์น บาวริ่ง(บางสำเนียงเรียกโบวริ่ง) เป็นกิตติมศักดฺ์ เพราะบาวริ่งมิใช่ข้าราชการสยาม นึกย้อนขึ้นไป ข้าราชการฝรั่งเริ่มมีในรัชกาลที่๔ แต่ทั้งวังหลวงวังหน้า ไม่ได้พระราชทานราชทินนามแก่ผู้ใด

แต่ผมจะรู้จะอ่านน้อยไปก็เป็นได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 14:30
อ้างถึง
บางกอกกาเลนเดอ 1861

ิbritish consulate
established june 11th 1856

Sir Robert H. Schomburck, Phil.Dr,  F.R.S. Corresp.
   Member of the R.G.S.L.&c.  Consul.  Appoited 1858

Interpreter  ,Thomas George Knox. Appt. July 7th 1857  absent on leave.

1st Assistant   ,Henry  Alabaster. Acting Interpreter. Appt. March 24th 1859



บางกอกกาเลนเดอ 1862

Dec. 12th 1861  Thomas George Knox, Interpreter to the British Consulate,
returned from a tour to Europe.

คุณหลวงเล็กพยายามจะบอกอะไรหรือครับ?
 
แล้วบางกอกกาเลนเดอ August 1868 ลงตำแหน่งสองคนนี่ไว้ว่าอย่างไร


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 12, 15:43
ในรัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ ต้นรัชกาล ฝรั่ง แขก มารับราชการในสยามกันหลายคน
พระราชทานเงินเลี้ยงชีพคนละไม่ใช่น้อย  บางคนได้รับพระราชทานบ้านที่พัก
บางคนได้รับพระราชทานเมีย  บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

ทำไมถึงจำกัปตันบุช ที่เป็นพระยามิได้เล่า  นั่นก็รับราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔

มีแขกลังกาคนหนึ่ง  รับใช้รัชกาลที่ ๔ มาตั้งแต่ทรงพระผนวช
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้มารับใช้จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ถึงคุณพระ

ผู้ที่ได้รับพระราชทานพานทอง ถ้าเป็นพระยาก็ต้องเป็นพระยาที่มีตำแหน่งสำคัญในราชการจริงๆ
ถึงจะได้รับพระราชทานพานทอง  พานทองใบหนึ่งมีค่ามาก  ราคาไม่ใช่น้อย  ดูแลเก็บรักษาไม่ง่าย
สมัยก่อนโจรชุกชุม  ขนาดจวนเจ้าเมืองยังถูกปล้นได้
  

ฝรั่งที่รับราชการในหลวง  ถึงไม่มีบรรดาศักดิ์ก็พระราชทานเงินเป็นค่าจ้างสูงอยู่แล้ว
อย่างอาลบาสเตอร์นี่  พระราชทานปีละ ๕๐๐ ปอนด์ (อันนี้มีบันทึกหลักฐาน ไม่ได้เดาชั่น)
ครูฝรั่งหลายคนมีเงินเดือนสูงถึง ๔๐๐ - ๖๐๐ บาท

กรณีของอาลบาสเตอร์นั้น  ต้องเข้าใจว่า ๒๔๑๖ รัชกาลที่ ๕ เริ่มทรงปกครองบริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง
สมเด็จเจ้าพระยาลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปเป็นที่ปรึกษา   ราชการต่างประเทศช่วงนั้นคับขันนัก
การโต้ตอบราชการด้วยหนังสือต่างๆ  จำต้องหาฝรั่งที่รู้หนังสือรู้ธรรมเนียมราชการฝรั่งพอสมควรมาใช้
จะไปพึ่งเสมียนฝรั่งของสมเด็จเจ้าพระยาได้อย่างไร  อาลบาสเตอร์เคยเป็นเลขานุการกงสุลอังกฤษมานานหลายปี
ย่อมรู้เรื่องธรรมเนียมทางยุโรปมาก  จึงได้ทรงว่าจ้างไว้ใช้ราชการไว้ก่อน  (ประกอบกับอาลบาสเตอร์ยังไม่มีหน้าที่อะไรทำเป็นหลักฐาน
หลังจากออกจากตำแหน่งในสถานกงสุลแล้ว  จึงได้รับมาทำราชการกับในหลวง)

แต่จะใช้อาลบาสเตอร์ในราชการระหว่างประเทศอย่างออกหน้าไม่ได้  เพราะสยามมีเรื่องขัดแย้งกับอังกฤษบ่อย
อาลบาสเตอร์เองก็เป็นชาติอังกฤษ  หากแสดงตัวว่าเป็นผู้ขัดขวางผลประโยชน์หรือนโยบายของรัฐบาลอังกฤษ
มีหรือที่อาลบาสเตอร์จะรอด   อาลบาสเตอร์จึงเป็นได้แต่เป็นที่ปรึกษาราชการเฉพาะบางเรื่อง และไม่เปิดเผยเท่าไรนัก

อย่างเรื่องคดีพระปรีชากลการนั่น  อาลบาสเตอร์ได้เข้าร่วมประชุมกับเคาน์ซลลอว์ออฟสเตทด้วย
และที่ประชุมนั้นมีมติเห็นชอบให้ตั้งราชทูตพิเศษไปกรุงลอนดอน   สมเด็จเจ้าพระยานำมติที่ประชุมไปกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕
และเสนอว่า  ควรให้พระยาภาสกรวงศ์เป็นราชทูตพิเศษ
 แต่ครั้นจะให้ไปคนเดียวก็กระไร  จึงเสนอให้ทรงหาคู่หูไปด้วย
ตอนแรกรัชกาลที่ ๕ ทรงเลือกบุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยา  แต่สมเด็จเจ้าพระยากราบบังคมทูลค้านว่า  บุตรชายไม่กินเส้นกับเจ้าคุณภาส
เดี๋ยวจะไปทำเรื่องเสียหายเปล่าๆ  คู่หูของเจ้าคุณภาสที่เหมาะที่สุดคือจมื่นไวยวรนารถ (เจิม  แสง-ชูโต) เพราะเป็นควาญบังคับกันได้
จึงโปรดเกล้าฯ ตามที่สมเด็จเจ้าพระยาเสนอมา   การก็สำเร็จด้วยดี

ต้นรัชกาลที่ ๕ ผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการในพระองค์ด้านฝ่ายต่างประเทศต้นรัชกาล คือ พระยาภาสกรวงศ์ (นักเรียนนอกรัชกาลที่ ๔)
ต่อมา  เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการทรงเจริญพระชันษา ก็ได้รับราชการเลขานุการต่อมา
โดยมีกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์กับพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ คอยช่วยเหลืองานเลขานุการ  ส่วนฝ่ายล่ามนั้น  มีบันทึกว่า  จันดเล กับ ครูสมิทรับหน้าที่อยู่
บรัดเลเองบางทีก็ช่วยร่างหนังสือด้วยเหมือนกัน  

อาลบาสเตอร์นั้น  รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ทำงานเป็นฟรีแลนซ์  สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำงานอะไร  ไม่มีหน้าที่ประจำตายตัว
แต่เมื่อมีรับสั่งเรียกใช้  ก็ต้องเข้าเฝ้าฯ ได้ทันที ไม่ว่าเวลาใด   เท่าที่เคยเห็น  อาลบาสเตอร์เคยรับหน้าทีออกไปเซอเวย์ทำแผนที่ตำแหน่งหินโสโครก
ซ่อมถนน  จัดหอมิวเซียม  จัดสวนสราญรมย์ เป็นต้น  เอกสารชั้นหลังบางทีก็เขียนยกกันจนเกินเลยและลอกกันต่อๆ มา ทำให้เข้าใจเลอะเลือนไป
ที่กล่าวเช่นนี้  ไม่ใช่ว่าอาลบาสเตอร์ ไม่สำคัญ  แต่สำคัญในราชการส่วนพระองค์  ไม่ใช่ในราชการบ้านเมืองทั่วไป

ถามว่า  ทำไมรัชกาลที่ ๕ จึงไม่ใช้อาลบาสเตอร์ในทางราชการบ้านเมืองอย่างเปิดเผย  ก็เพราะเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะเรื่องกับอังกฤษที่มีตาน็อกซ์มาเกี่ยวข้อง  นี่เอง  ทำให้สมัยต่อมา รัชกาลที่ ๕ จึงทรงว่าจ้างชาวยุโรปที่ไม่ใช่อังกฤษ ฝรั่งเศส
มาทำราชการบ้านเมืองที่เกี่ยวกับความมั่นคง  เพื่อไม่ให้เกิดเหตุอย่างอาลบาสเตอร์  หรือถึงจะว่าจ้างชาวอังกฤษฝรั่งเศสมาทำราชการ
ก็เป็นราชการอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องความมั่นคงหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เช่น สอนหนังสือ งานก่อสร้าง ขุดคลอง ทำเหมือง เป็นต้น
แต่ก่อนหน้านั้นที่ต้องว่าจ้างชาวอังกฤษ  ก็เพราะความจำเป็นในราชการพัฒนาประเทศ  และยังหาใครไม่ได้ในขณะนั้น

เคยมีคนกล่าวว่า  การตั้งน็อกซ์เป็นกงสุลอังกฤษประจำสยามนั้น  เป็นการตั้งข้ามหัวอาลบาสเตอร์
ก็ขออธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่า  น็อกซ์ ทำหน้าที่ล่ามประจำกงสุลมาตั้งแต่ปี 1857  
ตำแหน่งล่าม (interpreter) เป็นตำแหน่งที่สูงกว่า 1st Assistant หรือเลขานุการกงสุลคนที่ ๑
ซึ่งอาลบาสเตอร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมื่อ 1859


เมื่อถึงปี 1864 เซอร์โรเบิร์ต ชอมเบิร์ก ได้พ้นจากตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำสยามไป
น็อกซ์ที่เป็นล่ามประจำสถานกงสุล  มีตำแหน่งอาวุโสสุด  จึงได้แต่งตั้งเป็นกงสุลต่อมา เมื่อ 30 พ.ย. 1864/2407
ซึ่งข่าวการแต่งตั้งนอกซ์เป็นกงสุล  รู้ถึงเมืองสยามเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 1865
ในการแต่งตั้งน็อกซ์เป็นกงสุลนั้น  อาลบาสเตอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นล่ามประจำกงสุล ในคราวเดียวกัน
และนิวแมน  ผู้ที่ต่อมาเป็งกงสุลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนขึ้นจากนักเรียนล่าม หรือล่ามฝึกหัด คนที่ ๑ ของกงสุล
มาเป็นเลขานุการคนที่ ๑ ของกงสุล แทนที่อาลบาสเตอร์ อันเป็นการแต่งตั้งตามอาวุโส และไม่ข้ามหัวใคร


ฉะนั้น ที่ว่าตั้งน็อกซ์ข้ามหัวอาลบาสเตอร์จึงไม่ถูกต้อง  และที่สำคัญคือ น็อกซ์เป็นกงสุลในรัชกาลที่ ๔ ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นกงสุล
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงผลัดแผ่นดินอย่างเข้าใจกัน   และไม่มีตำแหน่งรองกงสุลในขณะนั้น  อาลบาสเตอร์ไม่เคยเป็นรองกงสุล
เป็นแต่ทำหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่กงสุลในเวลาที่น็อกซ์เดินทางไปต่างประเทศเท่านั้น


ประการต่อมา  คือเรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นทูตที่อังกฤษ  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไม่ได้เป็นทูตที่อังกฤษในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕
แม้กระทั่งเกิดเหตุคดีอ้ายสำอางจนต้องส่งราชทูตพิเศษไปอังกฤษนั้น  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังเป็นเพียงนักเรียนซิวิลเอ็นจีเนียร์อยู่ที่ต่างประเทศ
และได้ตามคณะราชทูตพิเศษนั้นไปเพื่อทำหน้าที่ล่ามด้วย  

ผมไม่ได้อ่านราชกิจจานุเบกษาเพียงอย่างเดียว  หนังสืออื่นๆ ผมก็อ่าน  ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บเล็กผสมน้อยจากเอกสารที่อ่าน
ได้มากบ้างน้อยบ้างก็ค่อยสะสมกันไป  แลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นกับสหายบ้าง  จะได้ไม่ตีบตัน
เดี๋ยวนี้ ราชกิจจานุเบกษาก็ค้นหาและอ่านได้จากทางอินเทอร์เน็ต  สะดวกสบาย  จะเซฟเก็บไว้ก็ได้  ไม่ต้องเก็บเป็นตู้หรอก
หนักบ้านเปล่าๆ  เล่มหนึ่งๆ ก้ไม่ใช่ถูก ยิ่งเก่ายิ่งแพง    ขนหนีน้ำก็ลำบาก  ใช้ในเน็ตนี่แหละดีด้วย  

อ้อ  เสริมท้ายอีกนิดว่า  ฝรั่งที่รับราชการสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น  เป็นแต่รับราชการตามกรมหรือราชการส่วนพระองค์
ที่จะรับราชการอย่างออกหน้านั้น  ถึงขั้นเสนาบดีใหญ่  ก็มีแต่โรลังค์ ยัคมินส์  เป็นคนแรก  ส่วนเดอริชลิวและน้องชายนั้น
สองคนนี้มารับช่วงต่อจากกัปตันบุชเรื่องกิจการเรือกลไฟและทหารเรือ ถ้าจะนับเป็นเสนาบดีก็คงได้  แต่เป็นช่วงหลัง
ช่วงต้นรัชกาล  สยามยังคงระมัดระวังการตั้งฝรั่งเป็นข้าราชการ  เพราะสถานการณ์บ้านเมืองล่อแหลมมาก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.ย. 12, 16:06
ผมได้รับอาราธนาจากสหายให้มาลงกระทู้นี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา  
ทั้งที่ผมเองก็มีภารกิจที่ต้องทำหลายอย่าง  ไม่ค่อยมีเวลาค้นหนังสือเอกสารหรือเล่นเน็ตนานๆ
และคงจะเป็นอย่างนี้ ไปอีกหลายเพลา  แต่ก็ได้เข้ามาอ่านกระทู้ในเรือนไทยเสมอ
กระทู้นี้ก็ได้ติดตามอ่านดูอยู่  เป็นกระทู้ที่น่าสนใจและเคลื่อนไหวเร็วมาก   จนบางทีตามอ่านไม่ทัน
และไม่ค่อยถนัดแล่นเรือออกโต้คลื่นลมในเขตทะเลหลวงเสียด้วย

อันที่จริง ไม่ใช่คนที่รู้เรื่องนายอาลบาสเตอร์ลึกซึ้งอะไรนัก  มีก็ข้อมูลเกร็ดเล็กๆ
อาศัยว่า  เดี๋ยวนี้ในเน็ตมีหนังสือเก่าให้โหลดอ่านมากมาย   ข้อมูลเก่าๆ ย้อนไปร้อยๆ ปี ก็มีให้อ่าน
ก็ได้เซฟเก็บไว้บ้าง   เสียดายว่า  หลายคนยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น

วันก่อนอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ เล่าว่า  ที่อังกฤษได้สำรวจสถิติการอ่านหนังสือของเด็กๆ
เห้นแล้วก้ตกใจว่า   เด็กอังกฤษอ่านหนังสือน้อยลง ไม่ว่านิตยสาร การ์ตูน หรือหนังสือพิมพ์
และมีแนวโน้มลดลงไปเรื่อยๆ  แม้แต่การอ่านในคอมพ์ ไอแพด ไอโฟน แทบเล็ต ก็น้อยมาก
เด็กไปให้ความสนใจอ่านข้อความสั้นในเฟซบุค หรือคอมเมนต์ในยุทิวป์มากกว่า
นี่ขนาดเด็กในยุโรปที่มีวัฒนธรรมการอ่านสูงยังเจออย่างนี้   บ้านเราล่ะ  จะมีเด็กสักกี่คนที่อ่านหนังสือจากจอต่างๆ

สุดท้ายนี้  ผมได้รับทำตามที่ได้รับอาราธนาจากสหายแล้ว  เห็นควรกลับไปปลีกวิเวกทำงานการของตนต่อ
คำถามอะไรที่มีต่อข้อความของผมนั้น  ถ้าผมว่าง  อาจจะกลับมาตอบให้  เข้าใจว่า  อาจจะต้องรอไปจนพ้นช่วงตรียัมปวายแล้ว
ใครรอได้ก็รอ  รอไม่ได้ก็กรุณาช่วยกันหาคำตอบหรือถกเถียงกันไปก่อน  ขอให้หนุกหนานกันทุกๆ ท่าน  สวัสดี
 ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 17:51
ผมเพิ่งกลับเข้ามาเห็นครับ

อ่านแล้วรู้สึกว่าราวกับมีพายุผ่านมา แล้วก็ผ่านไป จนกว่าหลังตรียัมปวายจึงจะกลับมาอีก

เดี๋ยวขอเวลาอ่านและแกะข้อมูลก่อน
อะไรที่เป็นความรู้ ผมขอน้อมรับด้วยความขอบคุณ อะไรสงสัยจะขอถาม อะไรที่แดกดันมาจะขอทิ้งไป

เอาประโยชน์ของผู้อ่านเป็นหลักก็แล้วกัน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 19:54
อ้างถึง
ในรัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ ต้นรัชกาล ฝรั่ง แขก มารับราชการในสยามกันหลายคน
พระราชทานเงินเลี้ยงชีพคนละไม่ใช่น้อย  บางคนได้รับพระราชทานบ้านที่พัก
บางคนได้รับพระราชทานเมีย  บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

ทำไมถึงจำกัปตันบุช ที่เป็นพระยามิได้เล่า  นั่นก็รับราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔

มีแขกลังกาคนหนึ่ง  รับใช้รัชกาลที่ ๔ มาตั้งแต่ทรงพระผนวช
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้มารับใช้จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ถึงคุณพระ

ผู้ที่ได้รับพระราชทานพานทอง ถ้าเป็นพระยาก็ต้องเป็นพระยาที่มีตำแหน่งสำคัญในราชการจริงๆ
ถึงจะได้รับพระราชทานพานทอง  พานทองใบหนึ่งมีค่ามาก  ราคาไม่ใช่น้อย  ดูแลเก็บรักษาไม่ง่าย
สมัยก่อนโจรชุกชุม  ขนาดจวนเจ้าเมืองยังถูกปล้นได้
 
ฝรั่งที่รับราชการในหลวง  ถึงไม่มีบรรดาศักดิ์ก็พระราชทานเงินเป็นค่าจ้างสูงอยู่แล้ว
อย่างอาลบาสเตอร์นี่  พระราชทานปีละ ๕๐๐ ปอนด์ (อันนี้มีบันทึกหลักฐาน ไม่ได้เดาชั่น)
ครูฝรั่งหลายคนมีเงินเดือนสูงถึง ๔๐๐ - ๖๐๐ บาท


อันนี้เป็นบทนำที่คุณหลวงเล็กเขียนและผู้อ่านเยาวชนได้ความรู้เพิ่ม  แม้คุณหลวงเล็กจะมิได้ตอบที่ผมเขียนถามคำถามว่า “คุณหลวงเข้ามาให้ความรู้แก่ผู้อ่านก็ดีแล้ว ตกลงว่า ในรัชกาลที่๔ถึงต้นสมัยรัชกาลที่ห้า ก่อนที่จะพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้กัปตันริเชลิวเป็นหลวงชลยุทธโยธินทร์ประมาณปี๒๔๒๔ พระองค์ได้เคยพระราชทานให้แก่ข้าราชการผู้ใหญ่ท่านใดบ้างหรือเปล่าครับ” ว่าแล้ว มี หรือ ไม่มี

ผมก็ขอใช้วิชาเดาชั่นตอบเองว่า “ไม่มี” ก็แล้วกัน หวังว่าท่านที่ย้อนไปอ่านคงแยกแยะได้ว่าบริบทที่คำว่า “เดาชั่น”มาปรากฏครั้งแรกในกระทู้นี้ เรากำลังว่ากันด้วยเรื่องที่มีสมมติฐานอย่างไร และสุดท้ายก็จบลงด้วยบทสรุปที่มิได้เป็นการเดาอย่างไร อย่างเช่นในคำถามของผม ถ้าคุณหลวงเล็กไมมีคำตอบ ผมก็เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ขอเดา… แต่ถ้าภายหลังเกิดมีผู้อ้างตน สมมุติใช้นามว่าหลวงใหญ่เข้ามาแสดงหลักฐานว่า มี ชื่อโน้นชื่อนี้ ผมก็คงจะคำนับรับความจริง และผู้อ่านก็จะได้ทราบความจริงนั้น

อนึ่งผมไม่ได้ต้องการใช้กระทู้ที่ผมเขียนเป็นบทวิชาการ หรือวิทยานิพนธ์ ได้บอกกับผู้อ่านหลายครั้งว่าผมเขียนให้อ่านอย่างบันเทิงคดี แต่เป็นสาระบันเทิง ผมจึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเอกสารอ้างอิง เพราะเห็นว่ามันรุงรังและขี้เกียจ นอกจากที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น  อะไรที่ไม่ปรากฏในข้อมูลประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องข้างเคียงที่น่าสนใจ ท่านทั้งหลายก็เข้ามาถกกันหาความจริงต่อ ยอกันบ้างทะเลาะกันบ้าง ผมถือว่าเป็นเสน่ห์ของการเล่นกระทู้ในอินเทอเน็ท เหมือนคนโบราณเล่นต่อสักวา ล้อกันไปล้อกันมา จบแล้วก็จบกันไม่ถือสา เดี๋ยวมีวงใหม่ก็เล่นใหม่ จนกว่าจะเบื่อก็เลิกเล่น

ที่ผมสงสัย และอยากทราบคำตอบดังกล่าวมากก็เพราะว่า ต่อเมื่อนายอาลาบาศเตอร์สิ้นชีวิตแล้ว จึงได้รับพระราชทานเกียรติแก่ศพเช่นพระยาพานทอง ในพระราชหัตถเลขาก็ดูจะทรงเสียพระทัยอยู่มากที่มิได้พระราชทานบรรดาศักดิ์พระยาให้แก่นายอาลาบาศเตอร์ตั้งแต่ครั้งมีชีวิต

มันน่าจะมีเหตุผล แต่เหตุผลอะไร?
ก็เท่านั้น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 19:57
อ้างถึง
กรณีของอาลบาสเตอร์นั้น  ต้องเข้าใจว่า ๒๔๑๖ รัชกาลที่ ๕ เริ่มทรงปกครองบริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง
สมเด็จเจ้าพระยาลงจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปเป็นที่ปรึกษา   ราชการต่างประเทศช่วงนั้นคับขันนัก
การโต้ตอบราชการด้วยหนังสือต่างๆ  จำต้องหาฝรั่งที่รู้หนังสือรู้ธรรมเนียมราชการฝรั่งพอสมควรมาใช้
จะไปพึ่งเสมียนฝรั่งของสมเด็จเจ้าพระยาได้อย่างไร  อาลบาสเตอร์เคยเป็นเลขานุการกงสุลอังกฤษมานานหลายปี
ย่อมรู้เรื่องธรรมเนียมทางยุโรปมาก  จึงได้ทรงว่าจ้างไว้ใช้ราชการไว้ก่อน  (ประกอบกับอาลบาสเตอร์ยังไม่มีหน้าที่อะไรทำเป็นหลักฐาน
หลังจากออกจากตำแหน่งในสถานกงสุลแล้ว  จึงได้รับมาทำราชการกับในหลวง)

แต่จะใช้อาลบาสเตอร์ในราชการระหว่างประเทศอย่างออกหน้าไม่ได้  เพราะสยามมีเรื่องขัดแย้งกับอังกฤษบ่อย
อาลบาสเตอร์เองก็เป็นชาติอังกฤษ  หากแสดงตัวว่าเป็นผู้ขัดขวางผลประโยชน์หรือนโยบายของรัฐบาลอังกฤษ
มีหรือที่อาลบาสเตอร์จะรอด   อาลบาสเตอร์จึงเป็นได้แต่เป็นที่ปรึกษาราชการเฉพาะบางเรื่อง และไม่เปิดเผยเท่าไรนัก

ในเนื้อเรื่องของกระทู้ก็บอกว่า ผลงานของนายอาลาบาสเตอร์จะหนักไปทางวิชาความรู้ที่เขาร่ำเรียนมาทางรังวัด วิศวกรรมและพฤษศาสตร์ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้ A+ เพราะบางเรื่องเช่นการไปรษณีย์โทรเลข เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ที่เกือบถูกอังกฤษอิ๊บไปเสียแล้ว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 20:00
อ้างถึง
อย่างเรื่องคดีพระปรีชากลการนั่น  อาลบาสเตอร์ได้เข้าร่วมประชุมกับเคาน์ซลลอว์ออฟสเตทด้วย
และที่ประชุมนั้นมีมติเห็นชอบให้ตั้งราชทูตพิเศษไปกรุงลอนดอน  
สมเด็จเจ้าพระยานำมติที่ประชุมไปกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕
และเสนอว่า  ควรให้พระยาภาสกรวงศ์เป็นราชทูตพิเศษ  แต่ครั้นจะให้ไปคนเดียวก็กระไร  จึงเสนอให้ทรงหาคู่หูไปด้วย

ตอนแรกรัชกาลที่ ๕ ทรงเลือกบุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยา  แต่สมเด็จเจ้าพระยากราบบังคมทูลค้านว่า  บุตรชายไม่กินเส้นกับเจ้าคุณภาส
เดี๋ยวจะไปทำเรื่องเสียหายเปล่าๆ  คู่หูของเจ้าคุณภาสที่เหมาะที่สุดคือจมื่นไวยวรนารถ (เจิม  แสง-ชูโต) เพราะเป็นควาญบังคับกันได้
จึงโปรดเกล้าฯ ตามที่สมเด็จเจ้าพระยาเสนอมา   การก็สำเร็จด้วยดี

ต้นรัชกาลที่ ๕ ผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการในพระองค์ด้านฝ่ายต่างประเทศต้นรัชกาล คือ พระยาภาสกรวงศ์ (นักเรียนนอกรัชกาลที่ ๔)
ต่อมา  เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการทรงเจริญพระชันษา ก็ได้รับราชการเลขานุการต่อมา
โดยมีกรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์กับพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ คอยช่วยเหลืองานเลขานุการ  ส่วนฝ่ายล่ามนั้น  มีบันทึกว่า  จันดเล กับ ครูสมิทรับหน้าที่อยู่
บรัดเลเองบางทีก็ช่วยร่างหนังสือด้วยเหมือนกัน
 

เรื่องนี้คุณปิยะสาส์นก็ได้เขียนไว้แล้ว และยกความดีเรื่องนี้ให้แก่นายอาลาบาศเตอร์ที่คุณหลวงเล็กมิได้ชี้ไว้

เมื่อมีคดี พระปรีชากลการ ลูกเขยตา น๊อกซ์ ก็ขู่ฟ้อ ๆ ว่าจะฟ้อง รัฐบาลอังกฤษ ให้เอาเรือรบมาบอมสยาม จนในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้ง ราชฑูตพิเศษ ได้แก่ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง - ชูโต) ไปอังกฤษเป็นการด่วน เพื่อชี้แจง ให้รัฐบาลของกวีนวิคตอเรียทราบ ดีที่ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ ขณะนั้น (Lord Salisbury) ไม่ตื่นตูมตาม กงซูล .......

คนที่เป็นคนคิดแนะนำ การตั้งราชฑูตพิเศษนี้ ก็คือ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ นั้นเอง ทำให้เรื่องในเมืองไทย ไม่ลุกลามเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เพราะพ่อตา-ลูกเขย (ผมว่า เรื่องนี้ อลาบาสเตอร์ ปฏิบัติตนอย่างดีเยี่ยม ไม่นำเรือ่งส่วนตัว มาปะปนกับเรือ่งงาน ดังเช่นท่านกงซูล แม้จะมีความกันมาก่อน)


เรื่องอื่นๆก็เป็นความรู้ ใครที่ยังไม่ทราบก็ทราบไว้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 20:05
อ้างถึง
อาลบาสเตอร์นั้น  รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ทำงานเป็นฟรีแลนซ์  สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำงานอะไร  ไม่มีหน้าที่ประจำตายตัว
แต่เมื่อมีรับสั่งเรียกใช้  ก็ต้องเข้าเฝ้าฯ ได้ทันที ไม่ว่าเวลาใด   เท่าที่เคยเห็น  อาลบาสเตอร์เคยรับหน้าทีออกไปเซอเวย์ทำแผนที่ตำแหน่งหินโสโครก
ซ่อมถนน  จัดหอมิวเซียม  จัดสวนสราญรมย์ เป็นต้น  เอกสารชั้นหลังบางทีก็เขียนยกกันจนเกินเลยและลอกกันต่อๆ มา ทำให้เข้าใจเลอะเลือนไป
ที่กล่าวเช่นนี้  ไม่ใช่ว่าอาลบาสเตอร์ ไม่สำคัญ  แต่สำคัญในราชการส่วนพระองค์  ไม่ใช่ในราชการบ้านเมืองทั่วไป

อันนี้ผมไม่เข้าใจ ขอถามก็แล้วกัน เท่าที่ผมหาข้อมูลมาเสนอในกระทู้นั้น อะไรเกินเลย อะไรทำให้เข้าใจเลอะเลือน กรุณาให้ความรู้หน่อย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 20:11
อ้างถึง
ถามว่า  ทำไมรัชกาลที่ ๕ จึงไม่ใช้อาลบาสเตอร์ในทางราชการบ้านเมืองอย่างเปิดเผย  ก็เพราะเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะเรื่องกับอังกฤษที่มีตาน็อกซ์มาเกี่ยวข้อง  นี่เอง  ทำให้สมัยต่อมา รัชกาลที่ ๕ จึงทรงว่าจ้างชาวยุโรปที่ไม่ใช่อังกฤษ ฝรั่งเศส
มาทำราชการบ้านเมืองที่เกี่ยวกับความมั่นคง  เพื่อไม่ให้เกิดเหตุอย่างอาลบาสเตอร์  หรือถึงจะว่าจ้างชาวอังกฤษฝรั่งเศสมาทำราชการ
ก็เป็นราชการอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องความมั่นคงหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เช่น สอนหนังสือ งานก่อสร้าง ขุดคลอง ทำเหมือง เป็นต้น
แต่ก่อนหน้านั้นที่ต้องว่าจ้างชาวอังกฤษ  ก็เพราะความจำเป็นในราชการพัฒนาประเทศ  และยังหาใครไม่ได้ในขณะนั้น

ตอบว่า นายน๊อกซ์ถูกน๊อคลงเวทีกลับบ้านไปเรียบร้อยแล้วหลังคดีพระปรีชากลการ  พระเจ้าอยู่หัวไม่จำเป็นที่จะทรงจัดหลีกให้เลขานุการในพระองค์กับกงสุลใหญ่อังกฤษ

แต่ผมเข้าใจว่า ลึกๆแล้ว ยังไงๆพระองค์ก็ไม่ไว้พระทัยเต็มร้อยกับคนสองชาติ คืออังกฤษกับฝรั่งเศสแน่นอน ท่านจึงทรงเลือกคนเดนมาร์กและเยอรมันมาทำงานด้านการทหารและความมั่นคง ท่านโรลังค์ ยัคมินส์ก็เป็นชาวเบลเยี่ยม
ในส่วนที่พระองค์ทรงใช้นายอาลาบาศเตอร์ในหน้าที่เลขานุการในพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่าทรงมีเหตุที่จะขุ่นพระทัย ใช้อะไรก็ตั้งใจทำอย่างดี

พักยกก่อนครับ เดี๋ยวข้าวเรียงเม็ดแล้วจะเข้ามาต่อ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 21:12
อ้างถึง
เคยมีคนกล่าวว่า  การตั้งน็อกซ์เป็นกงสุลอังกฤษประจำสยามนั้น  เป็นการตั้งข้ามหัวอาลบาสเตอร์
ก็ขออธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่า  น็อกซ์ ทำหน้าที่ล่ามประจำกงสุลมาตั้งแต่ปี 1857  
ตำแหน่งล่าม (interpreter) เป็นตำแหน่งที่สูงกว่า 1st Assistant หรือเลขานุการกงสุลคนที่ ๑
ซึ่งอาลบาสเตอร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมื่อ 1859

เมื่อถึงปี 1864 เซอร์โรเบิร์ต ชอมเบิร์ก ได้พ้นจากตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำสยามไป
น็อกซ์ที่เป็นล่ามประจำสถานกงสุล  มีตำแหน่งอาวุโสสุด  จึงได้แต่งตั้งเป็นกงสุลต่อมา เมื่อ 30 พ.ย. 1864/2407
ซึ่งข่าวการแต่งตั้งนอกซ์เป็นกงสุล  รู้ถึงเมืองสยามเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 1865
ในการแต่งตั้งน็อกซ์เป็นกงสุลนั้น  อาลบาสเตอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นล่ามประจำกงสุล ในคราวเดียวกัน
และนิวแมน  ผู้ที่ต่อมาเป็งกงสุลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนขึ้นจากนักเรียนล่าม หรือล่ามฝึกหัด คนที่ ๑ ของกงสุล
มาเป็นเลขานุการคนที่ ๑ ของกงสุล แทนที่อาลบาสเตอร์ อันเป็นการแต่งตั้งตามอาวุโส และไม่ข้ามหัวใคร

ฉะนั้น ที่ว่าตั้งน็อกซ์ข้ามหัวอาลบาสเตอร์จึงไม่ถูกต้อง  และที่สำคัญคือ น็อกซ์เป็นกงสุลในรัชกาลที่ ๔ ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นกงสุล
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงผลัดแผ่นดินอย่างเข้าใจกัน
  และไม่มีตำแหน่งรองกงสุลในขณะนั้น  อาลบาสเตอร์ไม่เคยเป็นรองกงสุล
เป็นแต่ทำหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่กงสุลในเวลาที่น็อกซ์เดินทางไปต่างประเทศเท่านั้น

เรื่องนี้ผมพลาดไปจริงๆครับ

สับสนไปกับข้อมูลที่ได้มาครั้งนายอาลาบาศเตอร์เป็นตัวแทนกงสุลไปหว้ากอ ซึ่งคิดว่ายังเป็นเซอร์โรเบิร์ต ชอมเบิร์ก

เป็นเพราะความถดถอยของสังขารส่วนสมองดังที่พลาดเรื่องประตูสามยอดแต่จิ้มนิ้วแล้วกลายเป็นประตูสามย่าน ทำให้คุณหนุ่มสยามสับสนไปทีนึง และคราวนี้พลอยทำให้ท่านอื่นเสียหายเพราะความเข้าใจไปผิดด้วย ผมขอน้อมรับไว้เพียงคนเดียว

กำลังคิดจะพิจารณาตัวเองอยู่เหมือนกัน บางทีจะต้องเลิกเขียนลงอินเทอเน็ทเพราะหน้าจะแตกยับเยินเสียก่อนที่จะเหี่ยวไปตามธรรมชาติ
ต้องขอขอบคุณคุณหลวงเล็กที่ทำให้เกิดข้อแก้ไข และทำข้อเท็จจริงให้ปรากฏในเรื่องนี้ด้วย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 21:15
อ้างถึง
ประการต่อมา  คือเรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นทูตที่อังกฤษ  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไม่ได้เป็นทูตที่อังกฤษในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕
แม้กระทั่งเกิดเหตุคดีอ้ายสำอางจนต้องส่งราชทูตพิเศษไปอังกฤษนั้น  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังเป็นเพียงนักเรียนซิวิลเอ็นจีเนียร์อยู่ที่ต่างประเทศ
และได้ตามคณะราชทูตพิเศษนั้นไปเพื่อทำหน้าที่ล่ามด้วย

 
อันนี้ก็ถูกของคุณหลวงเล็กอีกนั่นแหละ แต่คำว่าช่วงต้นรัชกาลที่๕ที่ว่า มันจากไหนถึงไหนไม่ทราบ แต่ถ้านับก่อนที่จะทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ทรงได้รับโปรดเกล้าฯเป็นทูตในลอนดอนแล้ว

คดีพระปรีชากลการ ท่านมาเกี่ยวข้องโดยเล็กน้อยช่วงเป็นทูต โดยแฟนนีอ้างตนเป็นภรรยา มาขอให้ช่วยติดตามเงินของสามีในธนาคารที่นั่น และทรงเขียนรายงานกลับมาที่กระทรวงเท่านั้น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 21:17
อ้างถึง
ผมไม่ได้อ่านราชกิจจานุเบกษาเพียงอย่างเดียว  หนังสืออื่นๆ ผมก็อ่าน  ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บเล็กผสมน้อยจากเอกสารที่อ่าน
ได้มากบ้างน้อยบ้างก็ค่อยสะสมกันไป  แลกเปลี่ยนข้อมูลความเห็นกับสหายบ้าง  จะได้ไม่ตีบตัน

เดี๋ยวนี้ ราชกิจจานุเบกษาก็ค้นหาและอ่านได้จากทางอินเทอร์เน็ต  สะดวกสบาย  จะเซฟเก็บไว้ก็ได้  ไม่ต้องเก็บเป็นตู้หรอก
หนักบ้านเปล่าๆ  เล่มหนึ่งๆ ก้ไม่ใช่ถูก ยิ่งเก่ายิ่งแพง    ขนหนีน้ำก็ลำบาก  ใช้ในเน็ตนี่แหละดีด้วย

 
อ้อ ครับๆ รับทราบครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 21:19
อ้างถึง
อ้อ  เสริมท้ายอีกนิดว่า  ฝรั่งที่รับราชการสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น  เป็นแต่รับราชการตามกรมหรือราชการส่วนพระองค์
ที่จะรับราชการอย่างออกหน้านั้น  ถึงขั้นเสนาบดีใหญ่  ก็มีแต่โรลังค์ ยัคมินส์  เป็นคนแรก  ส่วนเดอริชลิวและน้องชายนั้น
สองคนนี้มารับช่วงต่อจากกัปตันบุชเรื่องกิจการเรือกลไฟและทหารเรือ ถ้าจะนับเป็นเสนาบดีก็คงได้  แต่เป็นช่วงหลัง
ช่วงต้นรัชกาล  สยามยังคงระมัดระวังการตั้งฝรั่งเป็นข้าราชการ  เพราะสถานการณ์บ้านเมืองล่อแหลมมาก

ผมเข้าใจว่า หลังวิกฤตการณ์ร.ศ.๑๑๒กับฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเลิกวางใจที่จะใช้ชาวต่างชาติมาเป็นทหารเพื่อสู้รบรักษาอธิปไตยของสยาม จึงทรงส่งพระราชโอรสไปเรียนวิชาทหารในยุโรปหลายพระองค์เพื่อกลับมาทำหน้าที่ป้องกันรักษาชาติ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 21:21
อ้างถึง
ผมได้รับอาราธนาจากสหายให้มาลงกระทู้นี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา 
ทั้งที่ผมเองก็มีภารกิจที่ต้องทำหลายอย่าง  ไม่ค่อยมีเวลาค้นหนังสือเอกสารหรือเล่นเน็ตนานๆ
และคงจะเป็นอย่างนี้ ไปอีกหลายเพลา  แต่ก็ได้เข้ามาอ่านกระทู้ในเรือนไทยเสมอ
กระทู้นี้ก็ได้ติดตามอ่านดูอยู่  เป็นกระทู้ที่น่าสนใจและเคลื่อนไหวเร็วมาก   จนบางทีตามอ่านไม่ทัน
และไม่ค่อยถนัดแล่นเรือออกโต้คลื่นลมในเขตทะเลหลวงเสียด้วย
อันที่จริง ไม่ใช่คนที่รู้เรื่องนายอาลบาสเตอร์ลึกซึ้งอะไรนัก  มีก็ข้อมูลเกร็ดเล็กๆ
อาศัยว่า  เดี๋ยวนี้ในเน็ตมีหนังสือเก่าให้โหลดอ่านมากมาย   ข้อมูลเก่าๆ ย้อนไปร้อยๆ ปี ก็มีให้อ่าน
ก็ได้เซฟเก็บไว้บ้าง   เสียดายว่า  หลายคนยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น

วันก่อนอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ เล่าว่า  ที่อังกฤษได้สำรวจสถิติการอ่านหนังสือของเด็กๆ
เห้นแล้วก้ตกใจว่า   เด็กอังกฤษอ่านหนังสือน้อยลง ไม่ว่านิตยสาร การ์ตูน หรือหนังสือพิมพ์
และมีแนวโน้มลดลงไปเรื่อยๆ  แม้แต่การอ่านในคอมพ์ ไอแพด ไอโฟน แทบเล็ต ก็น้อยมาก
เด็กไปให้ความสนใจอ่านข้อความสั้นในเฟซบุค หรือคอมเมนต์ในยุทิวป์มากกว่า
นี่ขนาดเด็กในยุโรปที่มีวัฒนธรรมการอ่านสูงยังเจออย่างนี้   บ้านเราล่ะ  จะมีเด็กสักกี่คนที่อ่านหนังสือจากจอต่างๆ

สุดท้ายนี้  ผมได้รับทำตามที่ได้รับอาราธนาจากสหายแล้ว  เห็นควรกลับไปปลีกวิเวกทำงานการของตนต่อ
คำถามอะไรที่มีต่อข้อความของผมนั้น  ถ้าผมว่าง  อาจจะกลับมาตอบให้  เข้าใจว่า  อาจจะต้องรอไปจนพ้นช่วงตรียัมปวายแล้ว
ใครรอได้ก็รอ  รอไม่ได้ก็กรุณาช่วยกันหาคำตอบหรือถกเถียงกันไปก่อน  ขอให้หนุกหนานกันทุกๆ ท่าน
 

อันนี้ขอผ่านก็แล้วกัน คำถามที่ผมถามใหม่จะเข้ามาตอบตอนไหน หรือไม่ตอบก็ตามสะดวก ใครมีคำตอบได้สาระก็ถือว่าเป็นคุณต่อกระทู้ที่อุทิศให้คนที่ทำความดีต่อบ้านเมืองท่านนั้น

 
ขอความกรุณาอย่าทำให้กระทู้ดราม่าไปมากกว่านี้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 12, 21:30
มีบทความหนึ่งที่ฝรั่งเขียนไว้ ช่วงลงท้ายผมเห็นว่าเข้ากับเรื่องที่เราถกกันอยู่พอดี จึงขอแปลมาลงไว้ให้อ่านกัน


Perhaps his greatest value to the King was his knowledge of the Colonial Powers and the designs they had on Thai territory. “He came to Thailand to turn her into a colony of the British, but he stayed in Thailand to help prevent her becoming a British colony,” said his grandson. This point did not go unnoticed by the British Foreign Office; “a good for nothing fellow who was dismissed,” they wrote. King Chulalongkorn thought rather differently and asked him to draft royal letters to Western heads of state; he was given the rank of Phya First Class, almost the highest rank ever attained by a foreigner in Thai service. When he died he was buried in the Protestant Cemetery and his grave is marked by the most imposing memorial of them all. It was given by the King himself.

บางทีคุณค่ายิ่งของเขาที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวคือความรู้ในเรื่องอำนาจจักรวรรดิ์นิยมและแผนการณ์ที่พวกนั้นวาดไว้บนดินแดนไทย “ ท่านมาเมืองไทยเพื่อหาทางเปลี่ยนให้เป็นเครือจักรภพ แต่ท่านกลับอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ไทยกลายเป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ” หลานปู่ของท่านกล่าว ประเด็นนี้มิใช่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษจะไม่ตั้งข้อสังเกตุ “เจ้าคนไร้ค่าที่ถูกให้ออกนั่น” พวกเขาเขียนถึงท่านไว้อย่างนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงคิดต่างกันโดยทรงใช้ท่านให้เป็นผู้ร่างพระราชสาส์นถึงบรรดาประมุขของประเทศต่างๆ ท่านได้รับพระราชทานตำแหน่งพระยาพานทอง ซึ่งเกือบจะเป็นลำดับสูงสุดที่ชาวต่างชาติเข้ามาทำราชการจะได้รับ เมื่อท่านถึงแก่กรรมลงนั้น ร่างของท่านได้ถูกฝังยังสุสานของชาวโปรแตสแสตนท์  และที่ฝังศพของท่านได้ชื่อว่าเด่นเป็นสง่าที่สุดในบรรดาอนุสรณ์สถานทั้งหลาย พระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 16 ก.ย. 12, 23:50
ท่านอาจารย์นวรัตนอย่าเพิ่งลาหนีไปไหนนะครับ แหม่ ผิดพลาดนิดหน่อยแค่นี้ ห้ามน้อยใจครับ  ถ้าไม่อยากผิดพลาดคือนอนตีพุงปุๆ เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร แบบนั้นไม่ให้ประโยชน์กับนักเรียนขี้เกียจๆ แบบผม  รางวัลบ้านพร้อมที่ดินที่ผมตอบปัญหาถูกเมื่อครั้งกระโน้นผมยังไม่ได้ไปรับเลย เกิดอ่านอาจารย์หายไปผมจะไปรับที่ไหนหละนี่


ประวัติศาสตร์แบบห้องเรือนไทยนี่สนุกดีออกครับ ถกกันไปมา  เรื่องประวัติศาสตร์ยกเว้นของกระทรวงที่ให้นักเรียนเรียนกันมันไม่ใช่ของสำเร็จรูป  คงยากที่ใครจะมีข้อมูลครบถ้วนแม่นยำ หรือไม่มีอะไรต้องอนุมานตีความเอา แถมมุมมองการให้น้ำหนักข้อมูลของแต่ละท่านก็แตกต่างกัน ดังนั้นโอกาสที่จะนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเป็นเรื่องธรรมดา  เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่แม่นยำกว่าก็รับมาแก้ไขต่อไป  ถ้าทุกอย่างมันเป๊ะแล้วคงไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแล้ว  การได้เห็นการถกเถียงหรือยกข้อมูลมาคัดค้านกัน เป็นประโยชน์แก่คนอ่านอย่างมหาศาลในการพัฒนาการรับรู้  การใช้เหตุผลและกลั่นกรองข้อมูล ทำให้เข้าใจโลกได้ดียิ่งขึ้น  นักเรียนแอบอ่านก็มีเยอะแยะนะครับ  แถมการมีดราม่าบ้างก็เป็นสีสันอย่างหนึ่งของอินเตอร์เนตครับ   ห้ามไม่ได้  ดังนั้นน้อยอกน้อยใจได้แต่อย่านานเด็ดขาดครับ


ในฐานะคนเจ้าชู้ชอบเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มากหน่อย  เรื่องประวัติของนายอาลาบาสเตอร์นี่ ส่วนที่ผมสงสัยที่สุดไม่ใช่ทำไมท่านไม่ได้ตำแหน่งขุนนาง หรือไม่ได้เป็นกงสุล แต่สงสัยว่าท่านมีภรรยาพร้อมกันสองคนในไทยอย่างไร บริหารจัดการเรื่องในบ้านอย่างไร  เพราะแอบไปอ่านจากวิกิ เมื่อท่านสิ้นไปแล้ว ดูเหมือนบุตรคนไทยจะอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยากเข็ญมากทีเดียว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 ก.ย. 12, 09:24

เมื่อท่านสิ้นไปแล้ว ดูเหมือนบุตรคนไทยจะอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยากเข็ญมากทีเดียว

ผมเองก็สงสัย เช่นเดียวกับคุณประกอบ แต่คนละประเด็น ถัดไปนิด นิ๊ด.... คือ เรื่อง เงินพระราชทาน ๒๐๐ ปอนด์ ที่พระราชทานบุตร อลาบาสเตอร์

ในพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ที่พระราชทานให้มาดาม อลาบาสเตอร์ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๔ (วันเดียวกับที่ อลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม )

"..... that I have directed a pension of £ 300 per annum be granted unto you throughout your long life as a widow of Mr. Alabaster, also the allowance of £ 200 a year be granted for the education of his two children and his funeral should be conducted with all honours of the first class Phya in my service,......."
(จดหมายฉบับนี้ คงเป็นต้นเรื่อง ที่หมอสมิธ นำเนื้อความไปลงในสยามไสมย ฉบับวันที่ ๒๗ สิงหาคม ปีเดียวกัน.........
หมอสมิธ ก็ได้ข่าวไว สมกับเป็นนักหนังสือพิมพ์จริงๆ  :))


้บุตรสองคน ที่ได้รับพระราชทานเงินเพื่อการศึกษา น่าจะหมายถึง บุตรคุณเพิ่ม คือ เจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ และเจ้าคุณอิทราธิบดีฯ เพราะ คุณ ปาลาเซีย มีบุตร ๓ คน อยู่อังกฤษ


สิ่งที่หายไป คือ เราไม่ทราบว่า เหตุการณ์ ต่อจากนั้น เป็นเช่นไร.... เพราะเราทราบแต่ว่า "จะ" พระราชทานเงินให้ อีกที ก็มาทราบว่า ท่านทั้งสองลำบากต้องหาเงินเรียนหนังสือเอง เราไม่ทราบ Missing Piece จริงๆ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 15:37
ผมหายไปค้นคว้าในเน็ทต่อว่า มีสาระอะไรเรื่องนายอาลาบาศเตอร์ที่น่าสนใจควรที่เอามาเล่าสู่กันฟังอีกบ้าง ไปเจอfootnoteเล็กๆในหนังสือ AMERICAN DIPLOMATS IN SOUTHEAST ASIA IN THE NINETEENTH CENTURY:THE CASE OF SIAM ที่นายBenjamin A. Batson ค้นคว้ามาเขียนเป็นตำรา ข้อมูลละเอียดถี่ยิบ อ่านกันตาลายกว่าจะเจอท่อนที่คัดมาให้ดูนี่ ผมแปลกำกับไว้ด้วยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาแกะ

อยากให้ดูว่า ประโยคเล็กๆที่สังคมฝรั่งซุบซิบกันสมัยนั้น ได้ตีความสำคัญไว้ให้คนอย่างนายอาลาบาศเตอร์อย่างไร ขนาดนักการทูตของกงสุลอเมริกันถึงกับเขียนรายงานกลับไปกระทรวง และนายเบนจามินโฉบมาเขียนและอ้างอิงอีกที

Siam Despatches, November17,1897. ได้แนบบางตอนตัดจาก Siam Free Press, November15,1897.ในรายงานฉบับดังกล่าวด้วย
หนังสือพิมพ์ Siam Free Press นั้น นายแบรเรตรายงานในภายหลังว่าเป็น “ที่กล่าวกันทั่วไปว่าเป็นกระบอกเสียงของฝรั่งเศส” หลังที่ยั่วยุมาหลายปี สุดท้ายรัฐบาลสยามก็เกลี้ยกล่อมเสนาบดีอังกฤษให้ถอนความคุ้มครองตัวบรรณาธิการ(ซึ่งปรากฏว่าเป็นคนภายใต้อาณัติของเครือจักรภพ)สำเร็จ และเขาก็ถูกไล่ให้ออกนอกประเทศไป

คำว่า“ subtle native diplomats” ในบทความของสยามฟรีเพรสหมายถึงสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์เป็นหลัก ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ล้วนนับถือในความสามารถของเสนาบดีการต่างประเทศพระองค์นี้  และบางคนเข้าใจ(ผิดๆ)ไปด้วยว่าพระองค์คือคนผู้ที่ทรงอำนาจปกครองสยาม เช่น เซมโพรเนียส บอยด์ เคยอธิบายว่ากรมพระยาเทวะวงศ์คือผู้ที่ “กุมอำนาจแท้จริงในพระราชอาณาจักรนี้” (Siam Despatches, 28ก.พ.,1891) และ นักเขียนเฮนรี นอร์แมน คิดว่าเมื่อเทียบกันแล้ว ระหว่างกรมพระยาเทวะวงศ์  นักการทูตจีนนายลี ฮวง ชาง ก็แค่คนป่าเถื่อนไร้การศึกษา( Siam Despatches, 13ส.ค.,1891) แต่ถ้าสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังพระราชบัลลังก์จริง มันก็เป็นเรื่องธรรมดาๆที่จะเห็นอิทธิพลตะวันตกอันชั่วร้ายที่อยู่เบื้องหลังกรมพระยาเทวะวงศ์อีกที นายแบรเรตคิดว่านายโฮลัง-ยัคแมงส์ ชาวเบลเยี่ยมที่ปรึกษาใหญ่ของรัฐบาลสยามคือมือที่มองไม่เห็น (Siam Despatches, 25ม.ค.,1891) ในขณะที่ก่อนหน้านั้น นายฮัลเดอแมนเคยรายงานว่า ระหว่างที่กรมพระยาเทวะวงศ์ “มีผลงานของกระทรวงที่สำคัญยิ่ง” พระองค์ก็เป็นผู้ที่ถูกควบคุมโดย“คนอังกฤษหัวเปรื่อง” ที่ชื่อเฮนรี อาลาบาศเตอร์ด้วย (Siam Despatches, 10 มี.ค.,1884)
(Siam Despatches คือเอกสารรายงานที่ส่งจากสยามไปยังกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ)

เรื่องที่ว่ากันว่าดังกล่าว จริงเท็จผมไม่ทราบ แต่เรื่องพรรณอย่างนี้ถ้าไม่มีมูล มันก็ไม่มีฝอย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 12, 15:58
หนังสือพิมพ์ Straits Times วันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1884 ลงข่าวการเสียชีวิตของเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 12, 15:59
2 ต่อ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 12, 16:01
3 ต่อ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 12, 16:12
ขบวนศพได้บรรจุร่างของนายเฮนรี่ลงเรือกัญญา เรือมีการตกแต่งด้วย "ช่อฟ้า" ซึ่งให้เกียรติอย่างสูงสุด เรือลากโดยเรือกลไฟ ภายในเรือมีลูกสาวนั่งคนเดียวในเรือ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 16:23
^
เป็นรายงานข่าวที่ให้เกียรตินายอาลาบาศเตอร์มาก ขอบคุณคุณหนุ่มสยามด้วยครับที่ช่วยหามาลง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 16:31
ที่ขีดเส้นแดงไว้ แปลว่านายอาลาบาศเตอร์มีลูกสาวโผล่มาอีกคนแล้วหรือไงนั่น ????


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 17 ก.ย. 12, 17:36
กำลังจะถามเรื่องลูกสาวเลยทีเดียวครับ

ดูเหมือนนายอาลาบาสเตอร์จะได้รับเกียรติจากฝ่ายสยามมาก แต่เหมือนฝ่ายตะวันตกจะมองเค้าไม่ดีเท่าไหร่หรือเปล่าครับ  เพราะการกระทำหลายๆ อย่างเป็นการขัดขวางอิทธิพลของชาติตะวันตก อันนี้ผมเดาๆ เอาจากที่ท่านอาจารย์ยกข้อความมา


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 18:11
เขาเพียงแต่บอกว่า ท่านไม่ป๊อบปูล่าทั้งระหว่างชาวยุโรปและชาวสยาม เรื่องนี้ก็เข้าใจได้ว่าคนบ้างานอย่างนั้นคงไม่ชอบสังสรรค์สโมสรกับคนหมู่มาก คนในสถานกงสุลอังกฤษคงไม่อยากคบหาด้วยอยู่แล้ว ท่านอาลาบาสเตอร์คงทำตัวขวางโลกไว้ที่นั่นพอแรง

แต่ฝรั่งเป็นคนที่เคารพกติกา(ที่ตนสร้างขึ้นมาบังคับให้คนอื่นใช้ตาม) ถ้าเราเล่นตามกติกาเขาก็หาเรื่องไม่ได้ นายอาลาบาศเตอร์มาสอนกติกาให้คนไทย การทูตบางอย่างที่นายอาลาบาศเตอร์แนะนำก็ได้ผลอย่างเหลือเชื่อเหมือนกัน ฝรั่งจึงไม่น่าจะเหม็นหน้านายอาลาบาศเตอร์ในเรื่องนี้
 
แต่อาจจะเหม็นหน้าเรื่องอื่น เช่นไปขวางผลประโยชน์ของพวกพ่อค้าเขา ทำให้ขาดทุนกำไรไปเยอะก็อาจเป็นได้ เพราะหลายงานที่อาลาบาศเตอร์จัดซื้อให้หลวงเอง และปรากฏว่าท่านก็ไม่ได้ร่ำรวยเหมือนฝรั่งที่เข้ามารับราชการต่อๆจากท่าน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 ก.ย. 12, 18:39
เห็นด้วยกับคุณ NAVARAT.C ที่ว่า ท่านก็ไม่น่าจะร่ำรวย ดูได้จาก รายการขายของเลหลัง, เงินเดือนขนาดท่าน ปีละ หลายร้อยปอนด์ น่าจะมีบ้านช่องใหญ่โต โอ่อ่า มีสมบัติมากมาย ไหง อ่านแล้ว ให้ความรู้่สึกว่า มักน้อย ทำแต่งานขนาดนี้

เรื่องไม่ป๊อปปูล่า ในคนไทยนั้น ก็น่าจะมีเค้าความจริงบ้าง มีเรื่องเล่าว่า ท่านได้พบต้นไม้ชนิดใหม่ ท่านก็เที่ยวไปถามใครต่อใคร ว่า ชาวสยามเรียกว่าอะไร ? ถามใครๆ ก็ไม่ได้คำตอบ (ทั้งๆ ที่บางชนิด เป็นที่นิยมจะตาย) ท่านโมโห จึงตั้งชื่อเรียกเองซ่ะ ก็มี ......

แต่มีฝรั่งอยู่อีกคนหนึ่ง ที่ น่าจะเข้ากับ อลาบาสเตอร์ ได้ดี เพราะ ท่านชวนกันเข้ามาทำงาน ในสยามจาก สวนพฤกษศาสตร์ สิงค์โปร์  รับผิดชอบจัดสวนสราญรมย์แทนตัวท่าน คือ James Murton  

ตา Murton ตายก่อน อลาบาสเตอร์ ปีเดียว ข่าวตาย เขาลงว่า ตายเพราะ candle burns at both ends ผมแปลได้ว่า ทำงานหนักจนตาย ...... (ท่านใดแปลได้อย่างถูกต้องโปรดชี้แนะ) นาย Murton ไม่ธรรมดา ตอนมาทำงานที่สิงค์โปร์ ถือหนังสือรับรองจาก Sir. John Lindley บิดาแห่งอนุกรมวิธานกล้วยไม้ เป็นใบเบิกทางเข้ามา


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 17 ก.ย. 12, 18:43
เหตุที่อลาบาสเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับนายน๊อกซ์ กงสุลชาติเดียวกันนั้น  น่าจะเป็นเพราะเหตุดังที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ในพระบรมราโชวาทเสือป่า คราวหนึ่งว่า

"“ฝรั่งที่ออกมาอยู่ในเมืองเรานี้ย่อมมีเปน ๒ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เปนผู้ที่ออกมาอยู่โดยมีกิจธุระ, มีเปนข้าราชการของกรุงสยามบ้าง, เปนพ่อค้าบ้าง,
อีกพวก ๑ เปนคนที่ซึ่งจะหาคำอื่นเรียกไม่ได้ดีกว่า “จรจัด.” “เพราะมักจะเปนผู้ที่ได้ซัดเซคะเนจรมาหลายแห่งแล้ว, และอยู่แห่งใดก็ไม่ใคร่จะได้นาน.  
ฝรั่งจำพวกที่ ๑ กับที่ ๒ นั้น  ถึงแม้เปนฝรั่งด้วยกันก็จริง, แต่เขาจะได้คบค้าสมาคมระหว่างกันและกันนั้นก็หามิได้.  เพราะเขาย่อมถือตนว่าเปนคนละชั้น
กันโดยแท้ทีเดียว."


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 19:16
เรื่องนายน๊อกซ์นั้นคุณวันดีเขียนไว้แล้วว่า

อาลาบาสเตอร์นั้น  ขยันและเรียนหนังสือสูง   จะทำงานกับน๊อกซ์ก็คงลำบากใจเต็มประดา

เพราะน๊อกซ์นั้นเรียนหน้งสือคงไม่จบมัธยม  และต่อสู้ชีวิตมาอย่างสาหัส   ขนาดเดินเท้าหนีเจ้าหนี้เล่นม้าเข้าเมืองไทยมาจนได้

ขยายความที่ฝรั่งเขียนว่าเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกมาเผชิญโชค ทำงานต๊อกต๋อยในเมืองไทย

ปั๊ดโธ่ เป็นตั้งครูฝึกทหารของวังหน้า ยังว่ายังงั้นอีก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 19:24
คุณปิยะสาส์นครับ

ตา Murton ตายก่อน อลาบาสเตอร์ ปีเดียว ข่าวตาย เขาลงว่า ตายเพราะ candle burns at both ends ผมแปลได้ว่า ทำงานหนักจนตาย ...... (ท่านใดแปลได้อย่างถูกต้องโปรดชี้แนะ)

ผมว่านายอาลาบาศเตอร์ก็ประเภทเดียวกัน ทำงานหนักไม่พักไม่ผ่อน...หักโหมจนอายุสั้น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ก.ย. 12, 20:21


       คุณนวรัตน์เริ่มกระทู้ พระปรีชากลการเมื่อไร   จะได้รีบมาจองข้างเวทีค่ะ

น็อกซ์มาจากกองร้อยทหารพื้นเมือง       กว่าจะยิงปืนใหญ่ในไทยเป็นก็คงอ่านอินสตรัคชั่นเสียเหนื่อย

อิมเปที่เดินเท้าหนีคุกทหารมาจากพม่า  ก็ไม่ได้รับเงินเดือนมากเท่าที่หวังไว้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 12, 20:43



เคยมีคนกล่าวว่า  การตั้งน็อกซ์เป็นกงสุลอังกฤษประจำสยามนั้น  เป็นการตั้งข้ามหัวอาลบาสเตอร์
ก็ขออธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่า  น็อกซ์ ทำหน้าที่ล่ามประจำกงสุลมาตั้งแต่ปี 1857  
ตำแหน่งล่าม (interpreter) เป็นตำแหน่งที่สูงกว่า 1st Assistant หรือเลขานุการกงสุลคนที่ ๑
ซึ่งอาลบาสเตอร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมื่อ 1859


เมื่อถึงปี 1864 เซอร์โรเบิร์ต ชอมเบิร์ก ได้พ้นจากตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำสยามไป
น็อกซ์ที่เป็นล่ามประจำสถานกงสุล  มีตำแหน่งอาวุโสสุด  จึงได้แต่งตั้งเป็นกงสุลต่อมา เมื่อ 30 พ.ย. 1864/2407
ซึ่งข่าวการแต่งตั้งนอกซ์เป็นกงสุล  รู้ถึงเมืองสยามเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 1865
ในการแต่งตั้งน็อกซ์เป็นกงสุลนั้น  อาลบาสเตอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นล่ามประจำกงสุล ในคราวเดียวกัน
และนิวแมน  ผู้ที่ต่อมาเป็งกงสุลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนขึ้นจากนักเรียนล่าม หรือล่ามฝึกหัด คนที่ ๑ ของกงสุล
มาเป็นเลขานุการคนที่ ๑ ของกงสุล แทนที่อาลบาสเตอร์ อันเป็นการแต่งตั้งตามอาวุโส และไม่ข้ามหัวใคร


อ่านแล้วก็สับสนกับคำบอกเล่าของคุณหลวงเล็ก
๑  ล่าม interpreter เป็นตำแหน่งสูงกว่า 1st assistant หรือเลขานุการคนที่ 1 ของกงสุล
๒  นิวแมนเลื่อนจากนักเรียนล่ามหรือล่ามฝึกหัดคนที่ ๑  มาเป็นเลขานุการคนที่ ๑ ของสถานกงสุล

ก็เลยคิดว่าจะต้องหาผู้รู้จริง เรื่องตำแหน่งในสถานกงสุลมาอธิบายให้เข้าใจดีกว่า   เผอิญรู้จัก คุณ Robert Fitts อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำปาปัวนิวกินี  ที่เคยเป็นนักการทูตในประเทศไทยมาหลายปี   ปัจจุบันพำนักอยู่ในกรุงเทพ   ก็เลยติดต่อไป
ถามท่าน ว่าตำแหน่งในสถานทูตหรือกงสุลเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน อะไรมันขั้นต้นขั้นสูง     โดยยกประวัติของอาลาบาศเตอร์มาเล่าให้ฟัง
คุณโรเบิร์ตก็เปิดกูเกิ้ลอ่านประวัติอาลาบาศเตอร์ แล้วลำดับให้ฟังว่า  สถานกงสุลในสมัยโน้นมีเจ้าหน้าที่น้อยมาก    ตำแหน่งเรียงจากต่ำไปสูงตามนี้
๑  ล่ามหรือ interpreter  
๒ 1st assistant  หรือเลขานุการ(จะสถานทูตหรือสถานกงสุลก็ตาม)
คุณฟิตตส์อธิบายว่า ที่ตำแหน่งล่ามต่ำกว่าเลขานุการสถานกงสุล  เพราะหน้าที่ของล่ามคือสื่อสารระหว่างฝรั่งกับไทยเท่านั้น  ไม่ได้รับผิดชอบกิจการต่างๆของสถานกงสุล ไม่ว่าด้านบริหารหรือธุรการ   ดังนั้นเจ้าหน้าที่ขั้นต้นที่มาเริ่มทำงาน ก็ต้องเริ่มที่ล่ามก่อน เพราะขอบเขตงานมีแค่แปลภาษา  
เมื่อเรียนรู้งานในกงสุลเพิ่มขึ้น ตำแหน่งจึงอาจขยับขึ้นเป็นเลขานุการ   ขอบเขตความรับผิดชอบกว้างและลึกกว่าล่าม
ดังนั้นจึงผิดขั้นตอนที่ใครสักคนเป็นเลขานุการแล้วกลับเลื่อนเป็นล่าม แต่ถ้าทำสองตำแหน่งควบ หรือทำหน้าที่ชั่วคราว เพราะขาดล่ามในระยะนั้น  ก็ไม่แปลกอะไร
๓  deputy consul หรือบางแห่งเรียก vice consul  คือรองกงสุล   สูงขึ้นไปจาก assistant
๔  consul หรือ consul general เป็นตำแหน่งสูงสุด


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 12, 20:55
ส่วนที่คุณหลวงเล็กบอกว่าอาลาบาศเตอร์ไม่เคยเป็น deputy consul  ดิฉันหาไม่เจอว่าอยู่ในค.ห.ไหน     แต่ดิฉันผ่านสายตามาว่ามี หลักฐานจากข่าวหนังสือพิมพ์ 2 แห่ง ระบุว่าเขาเคยเป็น deputy consul นั้น คือข่าวที่ลงประวัติสั้นๆในมรณกรรมของเชา
เป็นข่าวทั้งในสยามและในบอสตัน  คือในค.ห. 153 ของคุณนวรัตน  สแกนข้อความจากบางกอกกาเลนเดอ มาลงให้อ่านกัน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5358.0;attach=36008;image)

และหนังสือพิมพ์ในบอสตัน นำข่าวมรณกรรมจากบางกอกกาเลนเดอไปลงซ้ำอีกที  ว่าอาลาบาศเตอร์เคยเป็น vice consul
ถ้าหากว่าจะผิด ก็ผิดว่าบางกอกกาเลนเดอลงผิดกระมัง  โดยไม่มีใครในกรุงเทพทักท้วงเลยสักคน  แต่ไม่ใช่ว่ามีคนในเรือนไทยนี้นั่งเทียนยกเมฆเอาเองแน่ๆค่ะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 12, 21:03
ดิฉันขอขอบคุณหลายท่านที่ประคับประคองบรรยากาศในกระทู้อาลาบาศเตอร์ ซึ่งเป็นกระทู้ที่เนื้อหาหนักและค่อนข้างยาก   ให้เดินหน้ามาด้วยดีจนถึงค.ห.นี้     สิ่งที่น่าชื่นใจคือมีหลายท่านกระตือรือร้นเข้ามาร่วมวงหัวข้อที่คุณ NAVARAT.C ตั้งขึ้นมา  
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ท่านอุตส่าห์แปลบทความมาลง ด้วยความเหนื่อยยาก  คุณปิยะสาส์นก็เข้ามาสานต่ออย่างกระตือรือร้น   มีส่วนเป็นกำลังใจให้คนอ่านอย่างดิฉันและท่านอื่นๆ เกิดสนุกจะไปค้นในเน็ตต่อ      
ถ้าหากว่าไม่มีใครสนใจจะตอบ อ่านอย่างเดียว  เราก็โพสต์ได้ แต่มันแห้งแล้ง    พิมพ์ได้จบเรื่องก็จบดีกว่า วงเงียบกริบไม่มีใครคุย ใครจะพูดคนเดียวได้นาน
ดิฉันจึงพยายามต่อกระทู้นี้ทั้งๆคุณ NAVARAT.C แปลบทความที่หว้ากอจบแล้ว เพราะเสียดายกระทู้สนุกๆ อยากต่อยอดมันให้ยาวออกไปอีก  เพราะคิดว่าหลายท่านน่าจะยังสนุกที่จะสนทนากันต่อ เพียงแต่ชะงักไปเป็นระยะเพราะไม่รู้จะต่อทางไหน  
 
การเล่นเว็บบอร์ดคือการสนทนากันด้วยตัวอักษรผ่านหน้าจอ   ไม่ใช่การเขียนวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่จะมุ่งความถูกต้องแม่นยำ   (แม้แต่วิจัยหรือบทความวิชาการก็ยังมีผู้ค้านได้ออกบ่อยๆ ทั้งๆผู้เขียนก็มุ่งความถูกต้องเป็นหลักอยู่แล้ว)  การแสดงความเห็นหรือข้อมูล  ผิดถูกไม่สำคัญ ขอแต่ให้มีที่มาที่ไปให้คนอ่านรู้  เขาจะได้ไปหาข้อมูลต่อได้  ว่าถูกแล้วหรือขาดตกบกพร่องตรงไหน
ถ้าหากว่าผิด จะได้มีคนเข้ามาแก้ไข ต่อลมหายใจให้กระทู้ต่อไปอีก   ไม่มีใครผูกขาดความรู้เอาไว้คนเดียว เพราะจะก่อให้คนอื่นๆเกิดเกร็งไม่อยากจะตอบ กลัวผิด   หนักเข้าก็ไม่อยากมีใครคุย  กระทู้ก็ตกจอไปด้วยความเบื่อหน่ายของคนอ่าน

สิ่งที่เว็บบอร์ดเล็กๆอย่างเรือนไทยอยู่มาได้ คือสมาชิกที่เข้ามาคุยล้วนเป็นสุภาพชน  และปัญญาชน  ให้เกียรติและมีมิตรภาพระหว่างกัน   ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับทุกท่านที่มีมารยาท และไม่ทำลายบรรยากาศความเป็นมิตรในเรือนไทยนี้ค่ะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 21:42
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูที่อุตสาห์ไปถามผู้รู้ตัวจริงมายืนยันครับ

Vice Consul เรียกแบบอเมริกัน Deputy Consul เรียกแบบอังกฤษ ไทยเรียกรองกงสุล เป็นตำแหน่งผู้ใหญ่ จะเป็นรองก็แต่ตัวกงสุลเท่านั้น
Assistant Consul คือตำแหน่งผู้ช่วยกงสุล เด็กๆก็เป็นได้
 
ผมยังงงๆอยู่ว่าตำแหน่งล่าม จะใหญ่ได้ถึงไหน มีหน้าที่แปลตามที่คนอื่นพูด ใหญ่จริงก็พูดเองสิ พูดไม่ต้องแปลให้ใครฟังด้วย
แต่เผลอไปผิดประเด็นหลักเข้า เพราะความจำวิปลาศไป เรื่องข้างบนเลยไม่ได้ยกมือขออภิปราย


อ้างถึง
คุณนวรัตน์เริ่มกระทู้ พระปรีชากลการเมื่อไร   จะได้รีบมาจองข้างเวทีค่ะ

น็อกซ์มาจากกองร้อยทหารพื้นเมือง       กว่าจะยิงปืนใหญ่ในไทยเป็นก็คงอ่านอินสตรัคชั่นเสียเหนื่อย

คงไม่ไหวแล้วละครับ เรื่องพระปรีชานี่ว่ากันมาหลายวิกแล้ว ต้องชวนคุณเพ็ญชมพูกับคุณแสนอักษรขึ้นมาแสดงผมขอจองข้างเวทีบ้าง หากกระทู้ถึงตอนมันๆ ผมเกิดของขึ้นๆมาจึงจะกระโดดขึ้นไปเล่น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 17 ก.ย. 12, 22:10
จากที่ท่านอาจารย์เทาชมพูว่ามา ถ้าเผื่อว่านายอาลาบาสเตอร์ไม่ได้มีอาวุโสด้อยกว่านายนอกซ์ เป็นไปได้ไหมว่าการที่นายนอกซ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกงสุลเป็นเกมส์การเมืองของอังกฤษ เพราะนายนอกซ์รับราชการเป็นครูฝึกทหารของวังหน้า เคยได้อ่านมาว่านายนอกซ์เองก็ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระปิ่นเกล้ามาก  ดังนั้นเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาล แถมมีการตั้งวังหน้าใหม่ที่สมเด็จเจ้าพระยาฯตั้ง ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 ตั้ง  อังกฤษอาจจะเล็งเห็นว่าการตั้งนายนอกซ์นั้นน่าจะเป็นผลดีต่ออังกฤษในอนาคตมากกว่า เพราะ

1. วังหน้ากรมพระราชวังบวรมีพระชนม์มากกว่ารัชการที่ 5  แถมรัชการที่ 5 ขณะนั้นพระพลานามัยก็ไม่ค่อยดี แถมยังเด็กอยู่มาก ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงพระมหากษัตริย์ในอนาคต การมีกงสุลที่มีความสัมพันธ์อันดีและคุ้นเคยกับว่าที่กษัตริย์พระองค์ใหม่น่าจะช่วยในการขยายอิทธิพลของอังกฤษในอนาคตได้มากกว่าตั้งนายอาลาบาสเตอร์ที่ถึงแม้จะเคยรักษาการตำแหน่งนี้ก็ตาม

2. สถานการณ์การเมืองไทยยุคต้นรัชการที่ 5 อำนาจการปกครองจริงยังไม่ได้อยู่ที่พระมหากษัตริย์ อังกฤษเลยแทงหวยไปทางวังหน้าเต็มตัว แต่สุดท้ายแทงผิด นายนอกซ์กลับสร้างปัญหามากขึ้นในภายหลัง ดังที่เราได้เห็นเรื่องวิกฤติวังหน้าในเวลาต่อมา

อันนี้เดาล้วนๆ ครับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 17 ก.ย. 12, 22:22
อ่าน ค.ห. ๑๘๘ ของคุณประกอบ แล้ว ตบเข่า บอกกับตัวเองว่า "นั้นปะไร" แถมกด Like ให้ไม่ทันนนนน........



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 22:39
นี่ไงครับคุณประกอบและคุณปิยะสาส์น ที่คุณหลวงเล็กเข้ามาแถลงข่าวโดยการพาดหัวไม้ซะชาวบ้านตกอกตกใจ

คือความเป๋ไป๋ของผมที่หลงตามบทความของฝรั่งจนลืมตรวจสอบกับข้อเท็จจริงว่านายน๊อกซ์ได้เป็นกงสุลเมื่อไหร่ นึกว่าได้รับการแต่งตั้งหลังการเปลี่ยนรัชกาล ซึ่งความจริงก็อย่างที่คุณหลวงเล็กว่า คือเมื่อสิ้นพระปิ่นเกล้า พระจอมเกล้าท่านก็มิได้ทรงตั้งใครเป็นวังหน้าแทน ช่วงนั้นนายน๊อกซ์ก็ออกมาทำงานในกงสุล เป็นล่าม และก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลไปแล้วก่อนที่พระจอมเกล้าจะเสด็จสวรรคต  หลังจากนั้น สมเด็จเจ้าพระยาก็ใช้อำนาจของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นมาดำรงตำแหน่งวังหน้าแทน  
ฉะนั้น การแต่งตั้งนายน๊อกซ์เป้นกงสุลจะด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับการเมืองเรื่องวังหน้าวังหลัง ตามสมมติฐานที่ผิดของผม

ข้อผิดพลาดในเรื่องข้อเท็จจริงนี้ผมจึงขอยอมรับโดยดี และเห็นโทษผิดของตนที่ทำให้ผู้อ่านเช่นคุณทั้งสองเลยหลงลำดับเหตุการณ์ไปด้วย

ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากนั้น ไม่น่าจะเกี่ยวในประเด็นนี้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 12, 23:03
ขอคุณปิยะสาส์นค้นย้อนหลังในกระทู้ ให้หน่อยนะคะ ว่าน๊อกซ์ได้รับตำแหน่งใดในสถานกงสุลอีก นอกจากเริ่มด้วยล่าม แล้วจบลงที่กงสุล
ระหว่างสองตำแหน่งนี้ เขาได้เป็นอะไรบ้างไหม
บางทีเราอาจจะมองเห็นการก้าวหน้าของน๊อกซ์ในฐานะนักการทูต    คุณโรเบิร์ตตั้งข้อสังเกตเอาไว้ประการหนึ่งเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งในสมัยนั้น ซึ่งขออุบไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่ามันจะสวมลงข้อมูลได้หรือเปล่า   เดี๋ยวจะอ่านผิดกันอีก


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 17 ก.ย. 12, 23:04
เอ เงื่อนไขเรื่องเวลาเลยชักจะงงๆ   ตกลงตอนนายอาลาบาสเตอร์ไปที่หว้ากอ ไปในฐานะรักษาการกงสุลหรือเปล่าครับ  เพราะช่วงเวลาหลัง ร. 4 เสด็จกลับจากหว้ากอ จนสิ้นพระชนม์รู้สึกจะเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก นายนอกซ์ไม่น่าจะได้รับการแต่งตั้งทัน  ถ้านายนอกซ์เป็นกงสุลแล้ว ทำไมนายอาลาบาสเตอร์ไปในฐานะตัวแทน หรือตอนนั้นนายนอกซ์ไม่ได้อยู่ในสยาม


เดี๋ยวต้องไปเช็ค timeline ใหม่อีกทีให้ละเอียดซะแล้ว  ตกลงนายนอกซ์เป็นกงสุลตั้งแต่ตอนไหนแน่ ตอนนี้งงตึ้บ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 12, 23:46
ผิดตั้งแต่คคห.ที่๕

ต่อมารัฐบาลอังกฤษได้เลื่อนตำแหน่งนายอาลาบาศเตอร์ให้เป็นถึงรองกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ นับว่าหนุ่มมากสำหรับตำแหน่งนี้

ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองกงสุล ครั้งหนึ่งนายอาลาบาศเตอร์ได้ทำหน้าที่รักษาการกงสุลใหญ่อังกฤษประจำกรุงสยามด้วยเมื่อเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กพ้นจากตำแหน่งและรัฐบาลอังกฤษยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดให้มาแทน
 
เมื่อจะเกิดสุริยุปราคาที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๑นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้เชิญผู้แทนรัฐบาลต่างๆที่มีสถานกงสุลอยู่ในสยามให้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ด้วย นายอาลาบาศเตอร์จึงได้เป็นหัวหน้าคณะนักดาราศาสตร์ของพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร ร่วมกับคณะนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส คณะกงสุลอเมริกันประจำกรุงสยาม ตลอดจนชาวยุโรปและอเมริกันที่พำนักอยู่ในประเทศ ร่วมขบวนเสด็จพระราชดำเนินในฐานะพระราชอาคันตุกะในโอกาสนั้นด้วย

ข้อเท็จจริงคือ เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กพ้นจากตำแหน่งในปี๑๘๖๔ ยังอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่๔ ต่อมาในปี รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งนายน๊อกซ์เป็นกงสุลแทนปี๑๘๖๕ ส่วนปีที่เสด็จหว้ากอคือ ปี ๑๘๖๘ หลังจากนั้นถึง๓ปี

ประวัติของนายอาลาบาศเตอร์ที่คนอื่นเขียน และผมนำมาเล่ากล่าวประมาณว่า นายอาลาบาศเตอร์เข้ามาทำงานในกงสุลตั้งแต่สมัยที่เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กเป็นกงสุลใหญ่ และไต่อันดับขึ้นมาเรื่อย จนได้เป็นรักษาการกงสุลเมื่อกงสุลไปราชการต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสไปหว้ากอ ผมก็เข้าใจผิดคิดว่ากงสุลใหญ่นั้นยังคือเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กอยู่ ลืมตรวจสอบไปว่าท่านเกษีนณไปแล้ว ไม่นึกว่าจะเป็นนายน๊อกซ์ เพราะชื่อนายน๊อกซ์มาโผล่ว่าไม่ถูกกับอาลาบาสเตอร์ในช่วงที่กลับจากหว้ากอมาระยะหนึ่งแล้ว ก็เลยนึกว่านายน๊อกซ์ได้เป็นกงสุลหลังผลัดแผ่นดิน เพราะเรื่องการเมืองวังหน้าวังหลัง  ดังที่เขียนไว้นี้

คคห.ที่๗

หลังจากกลับจากหว้ากอได้ไม่นาน สยามก็ผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่เนื่องจากยังมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินว่าราชการแทน และถวายตำแหน่งวังหน้าให้แก่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ รัฐบาลอังกฤษก็เล่นการเมืองด้วยการแต่งตั้งนายโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ อดีตนายร้อยเอกทหารอังกฤษที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงจ้างไว้ฝึกทหารวังหน้าและสนิทสนมกับกรมหมื่นบวรวิไชยชาญมานานนม  แต่ลาออกจากราชการสยามมาสมัครเข้าคัดเลือกเป็นกงสุลใหญ่แห่งสหราชอาณาจักร ให้ได้ตำแหน่งนี้ข้ามหน้านายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ผู้ถือว่าเป็นสายวังหลวงไป

จึงอย่าได้แปลกใจ เมื่อทำงานในตำแหน่งรองกงสุลไปได้สักระยะเดียว นายอาลาบาศเตอร์ก็ได้เกิดขัดแย้งกับกงสุลน็อกซ์อย่างแรง  ถึงขนาดลาออกจากตำแหน่งกลับไปประเทศอังกฤษทีเดียว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ย. 12, 00:56

ข้อมูลเรื่องนี้กระจายมาก     และยังพอมีอีกหลายเรื่องที่จะนำมาสนทนากันได้



ข้อความใน หนังสือพิมพ์ เดอะ ทรานคริปต์   เป็นความที่ส่งจากผู้อ่านในประเทศจีนมา

แจ้งว่าว่า  เฮนรี  อาลาบาสเตอร์ พูดและเขียนภาษาจีนไม่ได้แม้นแต่น้อย




        ในบทความของต้นตระกูลเศวตศิลา  ที่ ท่านสิทธิ  เศวตศิลาได้เขียนบทนำไว้

ได้พูดถึงคนในสกุลเศวตศิลา  Alabaster Chronicle     ที่ดิฉันตามอ่านมาช้านานแล้ว

ในหน้า ๑๗๗  ได้ลงไว้ว่า


รับราชการในรัฐบาลอังกฤษของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย

        ท่านเฮนรี  อาลาบาสเตอร์   ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นล่าม(ตำแหน่งเกินอัตรา)   
ประจำสถานทูตอังกฤษในระเทศจีน  เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.​๒๓๙๙​(ค.ศ. ๑๘๕๖)

แล้วได้ปฎิบัติหน้าที่กองควบคุมงาน (Superintendency)  ตั้งแต่วันที่ ๒๘   กันยายน  พ.ศ. ๒๓๙๙(๑๘๕๖)   จนถึง
วันที่ ๓๑ มกราคม  พ.ศ. ๒๔๐๐​ (ค.ศ.๑๘๕๗)


        จากนั้นท่านก็เดินเรือมาสู่สยามในฐานะล่ามประจำกรุงสยาม

 
ผู้สำเร็จราชการฮ่องกง  เซอร์จอห์น  บาวริง ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ (๑๘๕๕)   ได้เข้ามายังบางกอกเพื่อเจรจาสนธิสัญญาว่ากรุงสยามจะยินยอม

และตกลงให้ตั้งกงสุลผู้มีอำนาจเต็มในสยาม         ชาวอังกฤษจะได้มีที่ดินเป็นของตนเอง  มีท่าเรือ   และทำสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต


       ท่านเฮนรี  อาลาบาสเตอร์  ถูกย้ายจากฮ่องกงเข้ามายังสยาม   ในฐานะ นักเรียนล่ามประจำกรุงสยาม


ภายหลังเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.​๒๔๐๑ (ค.ศ. ๑๘๕๘)  ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยชั้นสอง     ตอนนั้นกงสุลทำการในหน้าที่ราชทูต


เมื่อวันที่  ๒๔ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๐๒ (๑๘๕๙)ได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยชั้นที่ ๑     และทำงานในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ ๒๑ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๐๔(๑๘๖๑)


ได้เลื่อนเป็นล่ามตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ (๑๘๖๔)   และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่  ๓๑ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๑๔ (๑๘๗๑)


        ได้รับเงินเดือนครั้งสุดท้ายปีละ ๕๐๐ ปอนด์   รวมเวลารับราชการทางฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ  ๑๕​ ปี ๙ เดือนเศษ



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ย. 12, 01:12



        ท่านเฮนรี  อาลาบาสเตอร์   กลับมายังประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๔๑๖  หรือ ค.ศ. ๑๘๗๓

เป็นปีที่ ๕  ในรัชกาลที่ ๕


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 12, 06:07
อ้างถึง
คุณนวรัตน์เริ่มกระทู้ พระปรีชากลการเมื่อไร   จะได้รีบมาจองข้างเวทีค่ะ

น็อกซ์มาจากกองร้อยทหารพื้นเมือง       กว่าจะยิงปืนใหญ่ในไทยเป็นก็คงอ่านอินสตรัคชั่นเสียเหนื่อย

คงไม่ไหวแล้วละครับ เรื่องพระปรีชานี่ว่ากันมาหลายวิกแล้ว ต้องชวนคุณเพ็ญชมพูกับคุณแสนอักษรขึ้นมาแสดงผมขอจองข้างเวทีบ้าง หากกระทู้ถึงตอนมันๆ ผมเกิดของขึ้นๆมาจึงจะกระโดดขึ้นไปเล่น

คุณแสนอักษรนี้คือใครผู้ใดหนอ

จากเพ็ญชมพูผู้มีอักษรไม่ถึงแสน  แหะ แหะ

 ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 18 ก.ย. 12, 06:23
พ.ศ. ๒๔๑๕ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสอินเดีย  เพื่อทำความตกลงเรื่องสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรก
ในหนังสือสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  คุณวิมลพรรณ เล่าว่า ล้นเกล้าฯ ทรงชวนอลาบาสเตอร์
มารับราชการเป็นที่ปรึกษาที่กรุงสยาม  แสดงว่าเมื่ออลาบาสเตอร์จากเมืองไทยไปใน พ.ศ. ๒๔๑๔
น่าจะไปอยู่ที่อินเดีย  แล้วจึงเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๑๖


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 07:14
ท่านเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ถูกย้ายจากฮ่องกงเข้ามายังสยาม ในฐานะ นักเรียนล่ามประจำกรุงสยาม

ภายหลังเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๐๑ (ค.ศ. ๑๘๕๘) ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยชั้นสอง ตอนนั้นกงสุลทำการในหน้าที่ราชทูต

เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ (๑๘๕๙)ได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยชั้นที่ ๑ และทำงานในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๔(๑๘๖๑)

ได้เลื่อนเป็นล่ามตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ (๑๘๖๔) และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ (๑๘๗๑)

แสดงว่าที่มาของข้อมูลขัดกันน่ะซีครับ เพราะปีที่เสด็จหว้ากอคือ ปีพ.ศ. ๒๔๑๑ (๑๘๖๘) ตอนนั้นเอกสารอื่นๆว่านายอาลาบาศเตอร์เป็นDeputy Consul บ้าง Vice Consul เป็นรองกงซูลบ้าง แล้วแต่ชนชาติใดจะบันทึก ไม่เห็นมีใครกล่าวว่าท่านเป็นล่าม แล้วไปตามเสด็จในฐานะรักษาการกงสุลใหญ่ เป็นแขกพิเศษของพระเจ้าอยู่หัว

ผมผ่านตาข้อมูลที่คุณวันดียกมาให้ดูนี้เหมือนกัน แต่เห็นว่ามันยังไงๆอยู่ ผมจึงเลือกที่จะเขียนว่าท่านเป็นรองกงสุล เพราะใครอ่านแล้วก็เข้าใจได้ ถ้าเอามาเขียนว่า อังกฤษส่งตำแหน่งล่ามไปเป็นพระราชอาคันตุกะ และทรงจุดชนวนปืนยิงสลุตให้เกียรติด้วยพระองค์เอง คนอ่านสะดุดใจแน่

ด้วยความเคารพ เรื่องตำแหน่งล่ามกับตำแหน่งรองกงสุล(ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร)นี่ ผมเชื่อตามแนวข้อมูลที่ท่านอาจารย์เทาชมพูนำมาเขียนนานแล้วครับ ประสบการณ์จริงที่ทำงานมา ผมก็เห็นแต่ล่ามนั่งข้างหลังผู้เจรจา สมองคิดแต่เรื่องหาคำแปล ไม่ได้คิดStrategy(ภาษาไทยแปลซะดุว่ายุทธศาสตร์)ในการเจรจาเช่นผู้บริหารเลย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 07:30
พ.ศ. ๒๔๑๕ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสอินเดีย  เพื่อทำความตกลงเรื่องสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรก ในหนังสือสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  คุณวิมลพรรณ เล่าว่า ล้นเกล้าฯ ทรงชวนอลาบาสเตอร์มารับราชการเป็นที่ปรึกษาที่กรุงสยาม  แสดงว่าเมื่ออลาบาสเตอร์จากเมืองไทยไปใน พ.ศ. ๒๔๑๔ น่าจะไปอยู่ที่อินเดีย  แล้วจึงเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๑๖
 

นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวอย่างว่า Alabaster Chronicle ถูกบันทึกโดยผู้ที่อาจจะไม่รู้จริง หรือรู้ไม่หมด เพราะไม่ได้กล่าวไว้เลยว่าเมื่อ เฮนรี อาลาบาศเตอร์ หลังจากลาออกจากงานที่สถานกงสุลในกรุงเทพแล้ว กลับเมืองอังกฤษไปทำอะไรบ้าง มาอินเดียหรือเปล่า มาทำไม เราจึงต้องเดากันไปในทางว่า นายอาลาบาศเตอร์มีลูกมีเมีย เป็นผู้ใหญ่มีความคิดแล้ว คงจะไม่เดินทางผจญภัยมาหางานทำเอาดาบหน้า น่าจะได้รับงานที่สำคัญอะไรสักอย่างหนึ่งก่อน แล้วจึงจะเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาอุษาคเนย์อันไกลโพ้น

ส่วนตัวผมจึงไปเดาว่า ท่านคงใช้ความรู้ภาษาไทยหางานที่ลอนดอน โดยเริ่มจากกงสุล(กิตติมศักดิ์)ของสยามที่นั่น เมื่อมีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงเดินทางมา
เดาก็เขียนว่าเดานะครับ ไม่ได้เขียนในรูปแบบข้อเท็จจริง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 07:37
อ้างถึง
คุณแสนอักษรนี้คือใครผู้ใดหนอ

จากเพ็ญชมพูผู้มีอักษรไม่ถึงแสน  แหะ แหะ

คิดถึงคุณแสนอักษรเน๊อะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ย. 12, 08:01


แสนอักษรสบายดีค่ะ   วันก่อนไปดูหนังสือพงศาวดารจีนที่พิมพ์พระราชทานในงานศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มา ๒ เล่ม

ปกสวยลายฝรั่ง  เป็นดอกไม้ดอกเล็ก ๆ   เรียงแถวกัน   ฝากปกไว้ที่คุณอาร์ตค่ะ


เรื่องข้อมูลที่ขัดกันนั้น   ขอเลือกที่จะเชื่อวิมลพรรณ  เพราะเธอใช้เอกสารต้นฉบับมากมายเป็นทรั้งค์ ๆ  และค้นอยู่เป็นสิบปี


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 18 ก.ย. 12, 08:17


แสนอักษรสบายดีค่ะ   วันก่อนไปดูหนังสือพงศาวดารจีนที่พิมพ์พระราชทานในงานศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มา ๒ เล่ม

ปกสวยลายฝรั่ง  เป็นดอกไม้ดอกเล็ก ๆ   เรียงแถวกัน   ฝากปกไว้ที่คุณอาร์ตค่ะ


เรื่องข้อมูลที่ขัดกันนั้น   ขอเลือกที่จะเชื่อวิมลพรรณ  เพราะเธอใช้เอกสารต้นฉบับมากมายเป็นทรั้งค์ ๆ  และค้นอยู่เป็นสิบปี


อุ๊ยๆๆๆ ออกชื่อเราด้วยฮ่ะ  :o

ปกสวย สีเทา (แต่คุณอีกคนแกว่าสีเขียวอมน้ำเงิน) ดอกไม้ลายทอง งามนักๆ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 08:19
อ้างถึง
เรื่องข้อมูลที่ขัดกันนั้น   ขอเลือกที่จะเชื่อวิมลพรรณ  เพราะเธอใช้เอกสารต้นฉบับมากมายเป็นทรั้งค์ ๆ  และค้นอยู่เป็นสิบปี

ครับผม

ก็ต้องค้นหากันต่อไปว่าท่านมาทำอะไรในอินเดีย ถ้าไม่มีงานรออยู่แล้ว หรือจะออกแนวว่า ได้ทุนมาทำมาวิจัยเรื่องพระพุทธศาสนาต่อหลังจากประสพความสำเร็จในการเขียน Wheel of the Law

และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็คงไม่ได้หอบลูกเมียมาให้เป็นภาระแก่ท่่าน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 12, 09:04
จดหมายเหตุ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ โดยหมอบรัดเล ตีพิมพ์ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1865 ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๘ ลงข่าวเรื่อง "คืนกลับมากรุงเทพ"

ณ วันพฤหัสบดี เดือนสิบ แรมหกค่ำ มิศเตอเฮนรี อาละบัศเตอเปนผู้ช่วยกงสุลอังกฤษ กลับมาแต่เมืองอังกฤษได้ภรรยาภามาด้วย

จึนำมาให้ชมกัน  ;)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 09:13
^
ตรงนี้เป็นช่วงที่คุณวันดีคัดมาไว้

ได้เลื่อนเป็นล่ามตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ (๑๘๖๔) และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ (๑๘๗๑)

คือไม่ใช่ช่วงที่กลับเข้ามาเพื่อรับราชการ
เอ้า ช่วยหากันต่อปาย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ก.ย. 12, 10:31
เรียงตามระยะเวลา อาศัยอ้างอิงจากคุณ Wandee และบทความของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์

(เรื่องคำนวนปี ถ้าผิดพลาด กรุณาทักท้วง เนื่องจาก ไม่ถนัด ปฏิทิน เปลี่ยนปีพ.ศ. เดือนเมษายน แบบเก่าครับ)


ล่าม (ตำแหน่งเกินอัตรา) ประจำสถานฑูตอังกฤษในจีน     ๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๖ - ๒๗ กันยายน ค.ศ. ๑๘๕๖  ( ๔ เดือน)
Superintendency ประจำสถานฑูตอังกฤษในจีน        ๒๘ กันยายน    ค.ศ. ๑๘๕๖ - ๓๑ มกราคม ค.ศ. ๑๘๕๗  ( ๔ เดือน)

เดินทาง เข้ามาสยาม.....


เป็นนักเรียนล่าม (Student Interpreter) - ไม่ปรากฏวันที่ ถ้าอนุมาน ก็น่าจะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๗ - ก่อน ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ (ประมาณ ๑ ปี เศษ)

ผู้ช่วยชั้น ๒ ประจำ สถานกงสุลกรุงเทพฯ        ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ - ๒๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๙ (ประมาณ ๑๐ เดือน)

ผู้ช่วยชั่น ๑ ประจำ สถานกงสุลกรุงเทพฯ        ๒๔ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๙ - ๑๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๐ ( ประมาณ ๑ ปี ๒ เดือน)

ทำหน้าที่แทนล่าม                                 ๑๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๐ - ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๑ (ประมาณ ๑ ปี ๖ เดือน)

ไม่ปรากฏว่า ทำตำแหน่งใด                       ๒๒ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๑ - ๒๙ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๖๔ (ประมาณ ๓ ปี)

ล่าม                                                 ๓๐ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๖๔ - ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ ( ๗ ปี กับ ๑ เดือน)



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ก.ย. 12, 10:52
ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ล่าม ....  มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ดังนี้

๑. เซอร์ ซอมเบอร์ก ออกจากตำแหน่ง กงสุล เดินทางกลับอังกฤษ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๔ ( He retired from the public service in 1864, hampered by health problems )

๒. อลาบาสเตอร์ เดินทางกลับอังกฤษ เพื่อสมรส กับคุณ ปาลาเซีย เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ค.ศ.  ๑๘๖๕ (อย่างน้อย ต้องเดินทางกลับไปอังกฤษ เป็นครึ่งปี .......)

๓. จากที่ อ. เทาชมพู กรุณาค้นคว้า ได้ความว่า "- ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างพ.ศ. 2409-2411 เฮนรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองกงสุลอังกฤษประจำสยาม    และรักษาราชการแทนกงสุลตัวจริง เมื่อลากลับไปอังกฤษ"  = อลาบาสเตอร์ เป็นรองกงสุล ในปีค.ศ. ๑๘๖๖ (คงเมื่อกลับจากแต่งงาน)

ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อเขียน ของเจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ ว่า

"... เมื่อครั้นท่านได้รับตำแหน่งเป็นผุ้แทนกงสุล ซึ่งตามภาษาราชการไทย เรียกกันว่า "ผู้ว่าราชการแทนกงสุล" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่เกาะจานใกล้เกาะหลัก เมื่อปลายรัชกาลนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๑) ท่านอาลาบาศเตอร์ก็ได้รับพระมหากรุณาให้ไปในการนั้นด้วย ......"


ตอนเซอร์ ชอมเบอร์ก ออกจากตำแหน่ง กงสุล อลาบาสเตอร์ ก็อายุประมาณ ๓๐ ปี ส่วน ตาน๊อกซ์ อายุ ก็ประมาณ ๔๐ ปี เข้ามาอยู่เมืองไทยก่อนพักใหญ่ ถ้านับอย่างไทย ก็อาวุโสสูงกว่า (ถ้าไม่พาดพิงเรื่องภูมิหลัง) ไม่มีเอกสารอยู่ในมือ จึงไม่ทราบว่า คำสั่งแต่งตั้ง น๊อกซ์ เป็นกงสุล เมื่อวันที่ เดือน ปี ใด?

ขอใช้ verb to เดา ว่า ถ้าไม่ใช่เรื่องการเมือง ก็คงเป็นเรื่อง อาวุโส กับ ผลัดกันกลับยุโรป ........


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 12, 11:28
สยามไสม ตีพิมพ์ไว้ว่าเมื่อนายอาลาบาศเตอร์ สิ้นชีวิตลง ในหลวงพระราชทานเงินเบี้ยเลี้ยงดูภรรยา ๓๐๐ ปอนด์ และบุตร ๒๐๐ ปอนด์ตลอดชีวิต

ภายหลังมีการขายของเลหลัง ทรัพย์สินของบ้านนี้หมด เช่น กระถางแก้ว เก้าอี้บุหนัง โคมไฟ กำปั่นเหล็ก ตู้ จานกระเบื้อง และอื่น ๆ จิปาถะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 13:48
มาอ่านประวัติของที่ทำการทูตของอังกฤษกัน


หลังจากการเข้ามาของเซอร์จอห์น บาวริง เพื่อทำสนธิสัญญากับสยามในปี1855 ซึ่งมีผลในการบังคับใช้ในวันที่5เมษายนของปีถัดไปนั้น อังกฤษก็ได้ส่งกงสุลคนแรกเข้ามาเมืองไทยทันทีมีนามว่านายชาลร์ส แบตเทน ฮิลลิเออร์(Charles Batten Hillier) ท่านผู้นี้ติดโรคบิดมาจากไหนไม่ทราบ หรือเป็นของแถมจากการบริโภคน้ำดิบในเมืองไทยที่กระเพาะของฝรั่งเปราะบางเกินจะรับก็ได้ ทำให้ต้องไปพักฟื้นรักษาร่างกายทางใต้ แต่ระหว่างกลับมาเพราะมีราชการด่วนนั้น นายฮิลลิเออร์ก็ป่วยหนักจนเสียชีวิตลงเมื่อ18 ตุลาคม 1856 ร่างของเขาถูกฝังไว้ในสุสานโปรเตสแสตนท์ที่กรุงเทพ อ้อ นี่เองที่หนังสือรับสั่งอ้างถึงว่า ทรงให้จัดการพิธีศพของนายอาลาบาศเตอร์ให้ดีกว่าที่รัฐบาลอังกฤษทำให้กงสุลใหญ่ผู้นี้

ผมหาภาพที่ฝังศพของนายฮิลลิเออร์ไม่เจอ แต่เอาของนายอาลาบาสเตอร์มาให้ดูว่าเด่นกว่าผู้ใดในสุสานนั้น


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 13:50
นายเบล(Bell)เข้าทำหน้าที่รักษาการในหน้าที่กงสุลแทน จนกระทั่งเซอร์จอห์น บาวริงเอกอัครราชทูตประจำกรุงสยาม ผู้มีถิ่นพำนักในฮ่องกง ได้ส่งนายจิงเจล(Gingell)มาเป็นกงสุลสืบแทนนายฮิลลิเออร์

กงสุลอังกฤษคนแรกได้เช่าที่ดินที่ตำบลบางคอแหลมไว้ แต่นายจิงเจลต้องการกรรมสิทธิ์ที่ถาวรกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้ทรงแสดงน้ำพระทัยช่วยเหลือให้ได้ที่ดินข้างๆสถานทูตปอร์ตุเกต และยังได้พระราชทานเงินยืม16000บาท เพื่อให้นายจิงเจลสามารถสร้างอาคารสถานกงสุลไปก่อนที่เงินที่อังกฤษส่งจากลอนดอนจะมาถึง

คุณหนุ่มสยามเขียนไว้ว่า
สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 13:51
นายคนแรกของนายอาลาบาศเตอร์


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 13:55
สถานกงสุลอังกฤษแห่งใหม่สร้างแล้วเสร็จในปี1876 กงสุลใหญ่คนแรกที่ได้เข้าพำนักในก็คือ เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก (Sir Robert Schomburgk )วงการไฮโซฝรั่งนินทาว่าท่านผู้นี้เป็นคนปรัสเซียที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ชาวบริติสแท้
กงสุลท่านนี้แหละที่รับหนุ่มอาลาบาศเตอร์เข้าทำงานเป็นครั้งแรกในสถานกงสุล

ท่านอาจารย์เทาชมพูเขียนไว้ในตอนต้นว่า
เป็นบ้านไม้ตั้งอยู่ตรงที่เป็นที่ว่าการไปรษณีย์ ริมถนนเจริญกรุงซึ่งเพิ่งตัดใหม่ การก่อสร้างนอกจากไม้กระดานสร้างบ้านซึ่งหาได้จากท้องถิ่นแล้ว นอกนั้นพวกเครื่องประกอบทั้งหลายต้องสั่งตรงมาจากอังกฤษหมด เพราะไม่มีขายในสยาม ไม่ว่าจะเป็นกุญแจประตู สายยู ลูกบิด และกระจกหน้าต่าง ต้องอิมพอร์ตเข้ามาใช้ในการนี้ทั้งนั้น กว่าจะเดินทางจากอังกฤษมาถึงสยามได้ก็ต้องใช้เวลาประมาณหกถึงแปดเดือน
นอกจากนี้ในกรุงเทพยังมีสัตว์ป่าอาศัยปะปนอยู่กับมนุษย์ได้ เห็นกันทั่วไป   ถ้าเดินลงไปที่สนามก็จะเจองูต่างๆ 13 ชนิดกับผีเสื้ออีก 27 ชนิด  แล้วยังมีแม้แต่คุกในสถานกงสุล(consular gaol)

คำหลังนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่าเขาหมายถึงอะไร   น่าจะเป็นห้องขัง เตรียมเอาไว้ขังชาวต่างชาติที่กระทำผิด อย่างห้องขังใต้ถุนศาล   

เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก ได้สร้างอาคารขึ้นอีกมากมาย เช่น บ้านผู้ช่วยกงสุล เรือนบริวาร คุกสองหลัง(ต้นฉบับที่ผมแปลใช้คำว่าjail) และอาคารสำนักงาน ทำให้สถานกงสุลดังกล่าวสามารถใช้เป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตที่สมบูรณ์ได้

ภาพสถานกงสุลอังกฤษแห่งแรกมองจากแม่น้ำ ถ่ายปี 1867 หรือพ.ศ. 2410


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 13:58
ผู้เขียนได้หยุดตำนานกงสุลอังกฤษไว้ตรงนี้ คงจะขนลุกที่จะเขียนเรื่องท่านเซอร์น๊อกซ์ลงไป แล้วมาเริ่มต้นใหม่กับท่านในภาพข้างล่าง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 14:04
ทิ้งช่วงไปประมาณ6ปี เริ่มต้นที่ เมื่อเซอร์ ราล์ฟ ปาเจต์ (Sir Ralph Paget)เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ได้เข้าดำรงตำแหน่งในปี1902 ได้พบว่าสถานทูตดังกล่าวอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เรือยนต์ต่างๆวิ่งส่งเสียงสลับกับเปิดหวูดสนั่นทั้งวันทั้งคืน ฝั่งตรงข้ามกันกลายเป็นโรงสีใหญ่สองโรง กำลังสร้างยังไม่แล้วเสร็จอีกหนึ่ง ที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วนั่นอยู่ก็หนวกหูเวลาเดินเครื่องจักร แถมปล่องควันก็ส่งเขม่าลอยตามลมเข้ามาจับที่อาคารทั้งปวงของสถานกงสุลเป็นคราบดำไปหมด ครั้นปี1905 รถรางสายเจริญกรุงก็อุบัติขึ้น ส่งเสียงล้อบดรางเหล็กสลับกับเสียงเคาะกระดิ่งแก๊งๆเตือนคนไปตลอดทาง หน้าสถานทูตนั้นก็มีบาร์เหล้าของสาวอิตาเลี่ยนชื่อว่ามาดามสตาโรที่มีลูกสาวๆหลายนาง ส่งเสียงเปียนโนและเครื่องดนตรีนานาชนิดเคล้ากับการให้บันเทิงบริการอย่างอื่นแก่ลูกค้าที่หื่นกระหาย ภาคเช้าตรู่ก็เบิกอรุณด้วยเสียงระฆังจากวัดข้างเคียง ประกวดกับเสียงสวดอ้อนวอนอัลเลาะห์จากสุเหร่าที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน

แปลไปอ่านไปไม่รู้ว่าต้นฉบับเว่อร์ไปหรือเปล่า ดูในภาพถ่ายข้างล่างก็เงียบๆ

อย่างไรก็ดีที่คุณวีหมีเคยเล่าว่า สาเหตุที่สถานทูตอังกฤษจำเป็นต้องย้ายจากที่เดิม เพราะเมื่อก่อนแม่น้ำคือหน้าบ้าน ตอนหลังถนนเจริญกรุงกลายเป็นหน้าบ้าน ก็คงจะจริงอยู่ แต่จริงไม่หมดด้วยประการเช่นนี้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 14:06
เซอร์ ราล์ฟ ปาเจต์เล็งที่ดินไม่ไกลจากราชกรีฑาสโมสรสำหรับที่จะสร้างสถานทูตใหม่ แต่พอเสนอไปทางลอนดอนเรื่องก็ถูกดองเค็ม พอถึงเวลาที่จะต้องวางเงินค่าที่ดินตามสัญญา เงินปอนด์ก็หาได้โผล่มาไม่ แถมทางโน้นก็เลี่ยงที่จะแจ้งเหตุแจ้งผลตรงๆด้วยว่าเป็นเพราะเหตุใด บังเอิญท่านเซอร์กำลังปวดขมับเรื่องที่ไทยตื้อขอแก้ไขสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและปัญหาการปรับเปลี่ยนแนวเขตแดน ก็เลยไม่มีเวลาที่จะแบ่งความปวดดังกล่าวไปให้ขมับข้างที่รับรูปเสียงกลิ่นรสทั้งหลายอันเคยเป็นภาระแก่โสตประสาทของท่าน

บังเอิญโชคดีที่ฝ่ายไทยรู้ข่าวว่าทางสถานทูตอังกฤษอยากจะย้ายที่ทำการไปอยู่ที่อื่นก็เห็นที่ดินดังกล่าวเหมาะเหม็งกับที่จะทำสำนักงานไปรษณีย์กลาง แต่ระบบราชการที่ขยับอย่างเชื่องช้าของทั้งสองฝ่ายราวกับหอยทากวิ่งแข่งกัน สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็ระเบิดขึ้นเสียก่อนในปี1914 ต้องรอจนจบสงครามในปี1919 เมื่อนายริชาร์ด เสตอจีส ซีมอร์มารับหน้าที่ และรัฐบาลสยามได้ส่งข้อเสนอเป็นเรื่องเป็นราวที่จะขอแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ยังไม่ทันได้เรื่องได้ราวก็เปลี่ยนทูต ให้เชอร์ โรเบิร์ต เกรก (Sir Robert Greg)มารับตำแหน่งแทนในปี1921


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 14:14
ท่านผู้นี้และภรรยามีรสนิยมวิไลของศิลปินตรงกัน สถาปัตยกรรมโคโลเนียลที่เป็นกลุ่มเรือนไม้ทรงปั้นหยา และแม่น้ำอันทรงเสน่ห์มีชีวิตจิตใจ ช่างถูกกับจริตของทั้งสองยิ่งนักแล้ว ตัวท่านทูตเองนั่นแหละที่รู้สึกหลอนเหลือเกิน ทุกครั้งที่จิตกระหวัดไปคิดถึงยามที่จะต้องย้ายไปอยู่ทำเนียบหลังใหม่ ที่กำลังออกแบบโดยสถาปนิกฝีมือระดับข้าราชการกรมโยธา

สำนวนที่ผมเขียนก็ฉวัดเฉวียนไปตามอารมณ์ของเจ้าของต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ผมถอดความเขามานะครับ ไม่ได้แต่งปรุงขึ้นเอง เพียงแต่เติมพริกน้ำส้มเหยาะน้ำปลาไปบ้างให้ fish and chipsของเขาออกรสไทยๆเท่านั้นเอง
 
เอ้าต่อครับต่อ
 
โชคมหาศาลของเครือจักรภพยิ่งแล้วที่นายวูด(Wood)รองกงสุลได้ไปราชการในลอนดอน และมีโอกาสได้ช่วยในการขึ้นแบบร่างส่วนที่เป็นอาณาบริเวณทำเนียบทูต นายวูดคือผู้ที่รับผิดชอบในแผนแบบของสถานกงสุลแห่งใหม่ของอังกฤษในเชียงใหม่และสงขลา และแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่จะสร้างในกรุงเทพของเขาก็ได้รับการยอมรับอย่างชื่นมื่น

เมื่อกลับมากรุงเทพแล้ว ท่านทูตเมื่อได้เห็นแบบใหม่แล้วก็แสดงความพออกพอใจในผลงานของท่านรองมาก ดำเนินการถอนคำคัดค้านที่จะก่อสร้างมาเป็นขอแก้แบบนั่นนี่โน่นบ้างนิดๆหน่อยๆ จบลงในเดือนมีนาคมของปี1922ด้วยการลงนามทำสัญญาซื้อขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษผืนนี้จากพระยาภักดีนรเศรษฐ์ ที่รู้จักกันในนามว่านายเลิศ ซึ่งในขณะนั้นครอบครองที่ดินแปลงมหึมาที่จัดเป็นสวนเรียกว่า“ปาร์กนายเลิศ”จากถนนเพลินจิตไปจรดคลองแสนแสบ โดยแบ่งขายให้สถานทูตอังกฤษไปครี่งหนึ่ง ประมาณ28ไร่ อีกครี่งหนึงเจ้าของเก็บไว้และทายาทได้สร้างโรงแรมขึ้น ชื่อโรงแรมปาร์กนายเลิศ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 14:15
ยังไม่จบครับ แต่เอาเท่านี้ก่อน


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 12, 14:34
กงสุลท่านนี้แหละที่รับหนุ่มอาลาบาศเตอร์เข้าทำงานเป็นครั้งแรกในสถานกงสุล

ขออนุญาตแวะเข้าป่าแป๊บเดียว

กงสุลท่านนี้นี่แหละที่ทำให้โลกรู้จัก "สมัน" Schomburgk's Deer

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3296.0;attach=15879;image)

ใน พ.ศ. ๒๔๐๖ ท่านเซอร์โรเบิร์ต โชมเบิร์ก (Sir Robert Schomburgk) ได้นำเขาสมันซึ่งเป็นเขาหลุดเก็บตกจากเมืองไทย ทูลถวายพระนางวิกตอเรียแห่งอังกฤษ พระนางวิกตอเรียรับสั่งให้ส่งไปยังพิพิธภัณฑ์เซาท์เคนชิงตัน ต่อมาโปรเฟสเซอร์ไบลท์ (Blyth) ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญคุ้นเคยกับเขากวางต่าง ๆ จากประเทศอินเดีย ได้ศึกษาเขากวางดังกล่าวและยกให้สมันเป็นกวางชนิดใหม่ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กวางโชมเบิร์ก Rucervus schomburgki (Blyth, 1863) เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์โรเบิร์ต โซมเบิร์ก

 ;D


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 12, 14:49
ออกจากป่า มาเห็นเรื่องผิดปรกติเรื่องหนึ่ง

สถานกงสุลอังกฤษแห่งใหม่สร้างแล้วเสร็จในปี1876 กงสุลใหญ่คนแรกที่ได้เข้าพำนักในก็คือ เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก (Sir Robert Schomburgk )วงการไฮโซฝรั่งนินทาว่าท่านผู้นี้เป็นคนปรัสเซียที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ชาวบริติสแท้

คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Hermann_Schomburgk) บอกว่าท่านเซอร์เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๕

มีอะไรต้องแก้ไขหรือเปล่าหนอ

 ???



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 18 ก.ย. 12, 14:51
เหตุที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงจ้างอลาบาสเตอร์มาเป็นที่ปรึกษานั้น  น่าจะเป็นผลมาจากการที่อังกฤษ
บังคับให้สยามทำสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕  อันเป็นผลมาจากคดีความเรื่องสัมปทานป่าไม้
ระหว่างพ่อค้าอังกฤษและสัปเยกกับเจ้านายฝ่ายเหนือ  ซึ่งอังกฤษถือปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่า
ประเทศราชไม่สามารถติดต่อกับต่างประเทศได้โดยตรง  ต้องให้ประเทศแม่เป็นผู้ติดต่อแทน  และในเวลานั้น
คงจะหาชาวสยามที่รู้แบบธรรมเนียมทางการทูตไม่ได้  จึงเป็นโอกาสดีสำหรับอลาบาสเตอร์ที่จะเข้ามาช่วยงาน
ด้านนี้พอดี

สัญญาเชียงใหม่ฉบับแรกมีอายุ ๑๐ ปี  เมื่อใกล้จะครบกำหนด  อังกฤษได้ขอต่อสัญญาฉบับที่ ๒ โดยมีเงื่อนไข
ที่จะขอส่งไวซ์กงสุลไปประจำที่เชียงใหม่  ในการเตรียมการรับกงสุลอังกฤษที่จะไปประจำที่เชียงใหม่นี้ได้พบ
สำเนาพระราชหัตถเลขาในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ที่แสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องมีคนที่รู้แบบธรรมเนียมการทูต
ดังนี้

 “ด้วยคิดเหนว่าราชการในเมืองเชียงใหม่ต่อไปภายน่าจะมีกงสุล  ก็คงจะมีราชการสำคัญบางสิ่ง  ฃ้าหลวงฃองเรา
รู้แต่ธรรมเนียมฝ่ายไทย  ถ้ามีการที่จะจะต้องอาไศรยธรรมเนียมยุโรป  ก็จะต้องหาฤาลงมาถึงกรุงเทพฯ เปนระยะทางไกล  
อีกประการหนึ่งหนังสือมีไปมากับเมืองมรแมนเปนหนังสือพม่า  จะหาล่ามแปลที่ไว้ใจได้ก็ไม่ใคร่จะมี  จึงได้คิดอยากจะให้ใช้
ภาษาอังกฤษ  จะได้เปนที่เข้าใจกันได้ง่ายตลอดกรุงเทพฯ  แต่จะหาผู้ใดเปนที่ไว้ใจได้ยังไม่มี  จึงค้างอยู่

บัดนี้คิดเหนว่า  มิสเตอหลุยซาเวีย  เปนคนรู้ราชการฃ้างฝ่ายไทยแลเฃ้าใจในธรรมเนียมยุโรปทั้งราชการแลถ้อยความ  
ตัวเฃาก็รักใคร่เมืองเรามาก  เมืองเชียงใหม่นี้  เหมือนหนึ่งเปนเพชรซึ่งประดับมงกุฎของเมืองไทย  ถ้ามงกุฎปราศจาก
เพชรประดับก็จะไม่ผ่องใสงดงามได้  เพราะฉะนั้นราชการเมืองเชียงใหม่จึงเปนการสำคัญ  อยากจะใคร่ได้มิศเตอร์หลุยซ์
ขึ้นไปเปนผู้ช่วยแนะนำธรรมเนียมต่างๆ  สำหรับฃ้าหลวงเมืองเชียงใหม่  จะได้อ่านได้แปลได้แต่งหนังสือ  ซึ่งมีไปมากับ
เจ้าพนักงานฝ่ายอังกฤษ  เหนว่าการลำบากที่จะมีมาถึงกรุงเทพฯ จะเบาบางไปได้มาก”


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 15:07
ออกจากป่า มาเห็นเรื่องผิดปรกติเรื่องหนึ่ง

สถานกงสุลอังกฤษแห่งใหม่สร้างแล้วเสร็จในปี1876 กงสุลใหญ่คนแรกที่ได้เข้าพำนักในก็คือ เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก (Sir Robert Schomburgk )วงการไฮโซฝรั่งนินทาว่าท่านผู้นี้เป็นคนปรัสเซียที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ชาวบริติสแท้

คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Hermann_Schomburgk) บอกว่าท่านเซอร์เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๕

มีอะไรต้องแก้ไขหรือเปล่าหนอ

 ???



ผมแปลมาจากตรงนี้ครับ
The first British Consul to inhabit the British Consulate, completed about 1876, was Sir Robert Schomburgk.

นึกว่าจะต้องแก้ตัวว่าสมองวิปลาศอีกแล้ว

แต่จะว่าก็ว่าเถอะ สมัยถูกบังคับให้เรียนประวัติศาสตร์ ผมเกลียดการท่องพ.ศ.มาก สอบแทบจะตกเพราะไม่ยอมจำ บัดนี้เห็นความสำคัญของมันอยู่ แต่ก็ยังขี้เกียจเหมือนเดิมที่จะทำให้ถูกต้องเป๊ะๆ โดยเฉพาะอะไรที่ไม่ค่อยเป็นประเด็นหลักของเรื่อง

ฉะนั้นถ้าอะไรผิดพลาดไป ก็แจ้งมาอย่างคุณเพ็ญนี้ก็จะเป็นพระคุณกับผมมาก แต่ถ้าจะมาเอาเรื่อง ผมยอมถอยครับ จะเอาอะไรกับมือสมัครเล่นมาเขียนสู่กันอ่านสนุกๆ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ก.ย. 12, 17:17
ก่อนจะข้ามไป ขอฝอยเรื่อง ท่านเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบอร์ก นอกเรื่องประวัติศาสตร์ แต่ก็เนื่องๆ กันอยู่นิดหน่อยครับ ......

ท่านเซอร์ ไม่ใช่คนอังกฤษโดยกำเนิด แต่ทำงานให้กับรัฐบาลอังกฤษ เป็นสมาชิกใน สมาคมความรู้ชั้นสูงของอังกฤษหลายสมาคม เช่น Royal Geographical Society, Linnean Society เป็นต้น คือไปทำสำรวจหลายประการ อยู่ใน British Guiana (ประเทศกายอานา ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ)

อายุ ๔๐ กลับมาเขียนผลงานเป็นที่ประจักษ์ถึงความรู้ ก็ได้เป็นท่านเซอร์ จากควีน วิคเตอเรีย และได้เป็น กงสุลคนแรกของ สาธารณรัฐโดมินิกัน อยู่ ๑๐ ปี ............... จึงได้เข้ามาเป็น กงสุลในสยาม เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๕๗ (ปีเดียวกับที่ อลาบาสเตอร์ เดินทางเข้ามาสยาม - ถ้าว่า เขาชวนกันมาทำงาน ก็อาจจะจริง.....)

ซอมเบิร์ก เรียนมาทาง พฤกษศาสตร์ ชีวิตเบื้องต้นตั้งแต่แตกเนื้อหนุ่ม ก็ออกเดินทางสำรวจทางธรรมชาติ และมนุษย์วิทยา มาโดยตลอด จนน่าจะเข้าใจชนพื้นเมือง จึงได้เป็นกงสุลเป็น ๑๐ ปี ก่อนจะถูกย้ายมาสยาม ในระหว่างที่อยู่ กายอานา และ โดมินิกัน ท่านได้เดินทางสำรวจ และเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ ส่งให้ Sir. John Lindley บิดาแห่งอนุกรมวิธานกล้วยไม้ เสมอๆ กว่า พัน ตัวอย่าง......

แต่เมื่อท่านเข้ามาสยาม มีปรากฏ ตัวอย่าง (specimen ) หลงเหลืออยู่ที่ Kew  ไม่ถึง ๒๐ ต้น ซึ่งน่าแปลกมาก.......

ท่านเซอร์ ซอมเบิร์ก ฝากชื่อไว้ เป็นชื่อ Genus และชื่อวิทยาศาสตร์ หลายชนิด (ส่วนใหญ๋เป็นพืชหลายสกุล).........  ในส่วนของกล้วยไม้เอง ขณะที่ท่านสำรวจอยู่ใน กายอานา ในปี ค.ศ. ๑๙๓๘ ได้ส่งรูปวาด และตัวอย่างแห้ง กล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ไปให้ Sir. Lindley .......... ท่านก็อึ๊ง เพราะเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติให้ท่านเซอร์ ซอมเบิร์ก ว่า Schomburgkia (ต่อมาถูกพิจารณายุบ รวมไว้กับกล้วยไม้ชนิดอื่นแล้ว)

เมื่อ อลาบาสเตอร์ เข้ามารับราชการที่ในสยาม แล้ว ท่านก็เริ่มสั่งกล้วยไม้ เข้ามาเลี้ยง และเผยแพร่การเลี้ยงกล้วยไม้ "อย่างปราณีต" คือ ไม่ใช่ นำมาแขวนๆ ไว้ ฝากเทวดาเลี้ยง อย่างกล้วยไม้ท้องถิ่น (เพราะกล้วยไม้ ของอลาบาสเตอร์ นั้น ....... แพง !!!) มีคำบอกเล่า ปรากฏว่า กล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่ท่านเป็นคนแรกที่สั่งเข้ามาเลี้ยงในสยาม ชื่อ

Schomburgkia undulata

ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. ๑๘๔๔ ที่อเมริกาใต้ อยู่ในสกุล Schomburgkia อันเป็นชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติ แก่ เซอร์ซอมเบิร์ก .......

ซอมโบเกีย นั้น เป็นที่นิยมแพร่หลายมากในสมัยโบราณ รูปร่างลำต้น (ลำลูกกล้วย) คล้ายเอื้องคำของไทย คนยุคใหม่ ที่ไม่รู้ประวัติ เพราะเห็นมาแต่เกิด จึงเรียกว่า เป็นไม้พื้นถิ่นของไทยไปซ่ะแล้ว......


ท่านคงคิดถึง คนที่ชวนท่่านมาทำงาน ก็เป็น ได้ ........



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 18:35
ขอบคุณทุกท่านที่หาเรื่องมาช่วยสลับฉากครับ

เนื่องจากสถานทูตแห่งใหม่อยู่ในย่านชานพระนคร จึงทำให้เงินที่ได้จากการขายสถานทูตเก่าให้รัฐบาลไทยประมาณ £110,000 พอเพียงสำหรับราคาที่ดินที่ซื้อใหม่รวมทั้งค่าก่อสร้าง ตลอดจนการย้ายอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิกตอเรียและเสาธงมาจากที่เดิม อนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิกตอเรียนั้นมีคำจารึกที่ฐานว่า “ตั้งขึ้นด้วยความรักอันประทับอยู่ในความทรงจำของพศกนิกรของพระองค์ในสยาม” อนุสาวรีย์นี้เป็นที่นับถือของนักศึกษาไทยมาก เชื่อว่าการอธิษฐานขอพรจากพระองค์คงจะทำให้พวกเขาสำเร็จการศึกษาที่กรุงเทพได้
อนุสาวรีย์นี้เคยถูกนำเอาผนังไม้มาปิดไว้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ญี่ปุ่นก็ยังกรุณาเจาะช่องเล็กๆไว้ให้มองลอดเข้าลอดออกได้ ซึ่งน่าจะทำให้พระองค์ไม่ทรงเซ็งจนเกินไป (but the Japanese kindly provided a peephole so that Her late Majesty should not be upset ใส่ไว้หน่อยกันโดนหาว่านั่งเทียนเขียน)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 18:39
ส่วนอนุสาวรีย์สงครามที่มองผ่านรั้วไปจะเห็นนั้น สร้างโดยเงินบริจาคของชาวอังกฤษที่พำนักอยู่ในเมืองไทยในปี1923  ถ้านับตามข้อเท็จจริงนี้ มันคือสิ่งก่อสร้างชิ้นแรกบนที่ดินผืนใหม่


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 18:42
กลุ่มอาคารทั้งหมดสร้างแล้วเสร้จในปี1926  หัวหน้าคณะผู้อำนวยการก่อสร้าง ท่านเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มเซอร์ โรเบร์ต เกรก ทำพิธีขึ้นบ้านใหม่เมื่อวันที่ 22กรกฎาคม1926 ช้ากว่ากำหนดไปนิดนึง แต่ท่านก็เขียนปรัชญาไว้ในหนังสือรายงานถึงกระทรวงต่างประเทศว่า “ช้าไปไม่กี่สัปดาห์หรือจะนับค่า เมื่อเราสถาปนาจะให้สง่าชั่วฟ้าดิน (แปลมั่วๆมาจาก What is a few weeks’ delay when you have built almost for eternity?)

สิ่งที่เด่นอยู่ในห้องอาหารของทำเนียบท่านทูตก็คือพัดโบกแขวนเพดาน(punkah) ซึ่งนำมาจากสถานทูตเก่า
(ภาพประกอบไม่ใช่สถานที่ที่กล่าวถึงนะครับ ตั้งใจจะให้ดู punkah ใช้คนชักเชือกจากอีกห้องหนึ่งให้โบกไปโบกมา)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 18:45
ที่สร้างความฉงนอีกอย่างหนึ่งก็คือแท่งคอนกรีตทรงกระบอกยักษ์ที่ปักอยู่หัวมุมถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ

เมื่อนายเลิศซื้อที่ดินนี้ระหว่างถนนเพลินจิตกับคลองแสนแสบนั้น ท่านทำเครื่องหมายอาณาเขตไว้ด้วยการสร้างปักหมุดหินรูปทรงคล้ายปืนใหญ่ที่ฝังปากกระบอกลงดิน มีอยู่6ตำแหน่งด้วยกัน เหลือเพียงแห่งเดียวที่หัวมุมสถานทูตเท่านั้น อีกแท่งหนึ่งทรงคล้ายลูกปืนถูกรถชนพังไปแล้วเมื่อปี2003


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 18:53
เมื่อย้ายมาอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้วกลับกลายเป็นว่าไกลปืนเที่ยงมากไป กรุงเทพย่านนั้นยังเจริญไม่มาก ถนนที่ขยายมาทางทิศตะวันออกก็สุดแค่ถนนเพลินจิต ส่วนที่เป็นสุขุมวิทยังเป็นทุ่งนาอยู่เลย จึงไม่น่าประหลาดใจเท่าไหร่ที่จะโดนสวดจากคนที่มีความจำเป็นจะต้องไปติดต่อทำธุระ โดยเฉพาะพวกที่เกี่ยวข้องกับเรือสินค้าชักธงอังกฤษจำนวนมากที่เข้าเทียบท่าในกรุงเทพ กฏหมายกำหนดให้กัปตันต้องไปผ่านเอกสารที่สถานกงสุลซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับสถานทูต พวกนี้จะโวยว่าเวลาขึ้นบกของพวกเขามีจำกัดอยู่แล้ว ยังต้องมาเปลืองไปกับการเดินทางที่กว่าจะไปกว่าจะกลับเสร็จ หมดเวลาเยี่ยมคำนับมาดามสตาโรพอดี พวกแขกอินตระเดีย พม่ามาเลย์ที่อยู่ในบังคับอังกฤษก็ฮึดฮัดเพราะรถเมล์หรือรถรางสมัยนั้นมิได้เฉียดกรายมาใกล้สถานทูตเลย นั่งเรือจ้างมาแล้วก็ยังต้องเดินขาฉิ่งอีก พอถูกหนังสือพิมพ์โจมตีหนักเข้าบางคนก็เสนอว่าน่าจะไปหาที่ตั้งสถานกงสุลใกล้ๆที่เดิม ซึ่งเป็นความคิดที่ดีแต่ไม่มีเงินก็หาประโยชน์มิได้ เพราะต้องยอมจำนนกับราคาที่ดินที่พุ่งขึ้นสูงลิบลับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 19:00
ส่วนสถานทูตเดิมที่รัฐบาลไทยซื้อไป ก็เข้าไปจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์กลางที่นั่น ตรงตำแหน่งอนุสาวรีย์พระนางเจ้าวิกตอเรียที่อังกฤษย้ายไปแล้ว ก็เอาตู้ไปรษณีย์ไปตั้งไว้หราทีเดียว


จบที่ควรจะถอดความมาให้อ่านกันเพียงเท่านี้ครับ ห้ามขอดูเอกสารอ้างอิง เดี๋ยวจะเห็นที่ผมแปลผิดจากต้นฉบับ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 18 ก.ย. 12, 19:48
เพิ่งได้รับทราบวันนี้เองครับว่าไอ้สิ่งก่อสร้างปริศนาหัวมุมถนนวิทยุที่แท้ก็คือหลักหมุดขนาดยักษ์นี่เอง เคยไปด้อมๆ มองๆ ด้วยความสงสัยด้วยตัวเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไรกันแน่ ขนาดงานเขียนของคุณวินทร์ เลียววาริณก็เคยกล่าวถึงไว้ แต่สุดท้ายไม่ได้เฉลยให้หายข้องใจว่าคืออะไร  เพิ่งได้รูัวันนี้และได้รู้เพิ่มเติมว่าเป็นรูปปืนใหญ่จิ้มดิน

ทำหลักหมุดได้อลังการงานสร้างขนาดนี้ ไม่ต้องกลัวใครมาแอบย้ายตอนดึกๆ เลย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 19:57
สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม  

คุณหนุ่มสยาม คุณมาโพสต์เรื่องน่าสนใจอย่างนี้ไว้แล้วหายไปไหน ขอเชิญมาขยายความต่อหน่อยครับ



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 12, 21:24
สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม  

คุณหนุ่มสยาม คุณมาโพสต์เรื่องน่าสนใจอย่างนี้ไว้แล้วหายไปไหน ขอเชิญมาขยายความต่อหน่อยครับ



ไม่ได้หายไปไหนคร้าบ.... ;D

เรื่องปืนใหญ่ที่ปักหมุดที่ดินนั้น มีเอกสารบางชิ้นระบุว่า "อังกฤษได้นำปืนใหญ่มาด้วยและปักหัวลงเพื่อเป็นการบอกว่าตรงนี้เป็นที่ตั้งของสถานทูต"

ส่วนเรื่องสาเหตุของการย้ายสถานทูตจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาคือ
๑. ตรงข้ามสถานทูตฝั่งแม่น้ำ มีโรงสี ๒ ดรงเปิดหวูดเสียงดัง ฝุ่นปลิวมาตกในสถานทูตสกปรก

๒. ฝั่งเจริญกรุงมีบาร์ มาดาม สตาดรง เปิดเสียงเพลงดังทุกกลางคืน คนเมาในบาร์ก็มาเกะกะหน้าสถานทูตอยู่เนือง ๆ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 18 ก.ย. 12, 21:38
 ???ขอเรียนถาม คุณ Wandee และทุกท่าน ครับ .......

ตอนที่ ซอมเบิร์ก ออกไปแล้ว มิศเตอร์ ฮะรีปักษ์ ก็วนเวียนอยู่แถวนี้ เหตุไฉน ถึงไม่มาเสียบตำแหน่ง กงสุล แทนเล่าครับ ? โปรดชี้แนะ ........

ด้วย นาย ฮะรีปักษ์ ดูน่าจะมีบทบาท มากในสมัยนั้น เรื่องสนธิสัญญา คงมีคุณงาม ให้ตอบแทนด้วยตำแหน่ง ใหญ่โตได้อยู่.......


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 21:41
เรื่องปืนใหญ่ที่ปักหมุดที่ดินนั้น มีเอกสารบางชิ้นระบุว่า "อังกฤษได้นำปืนใหญ่มาด้วยและปักหัวลงเพื่อเป็นการบอกว่าตรงนี้เป็นที่ตั้งของสถานทูต"

ว้า...มันทำด้วยอิฐก่อฉาบปูน อังกฤษจะลากเอามาจากไหนได้อย่างไร

เอาเรื่องคดีนายเส็งถูกเฆี่ยนจนตายดีกว่า ผมอยากรู้ แล้วอังกฤษเขาไม่โวยเอาหรือ เล่าหน่อย เล่าหน่อย


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 12, 21:51
Sir Harry Smith Parkes

นายฮารีปักเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนไม่ใช่หรือครับ เอามาอยู่เมืองไทยเสียของหมด


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 12, 22:17
เรื่องปืนใหญ่ที่ปักหมุดที่ดินนั้น มีเอกสารบางชิ้นระบุว่า "อังกฤษได้นำปืนใหญ่มาด้วยและปักหัวลงเพื่อเป็นการบอกว่าตรงนี้เป็นที่ตั้งของสถานทูต"

ว้า...มันทำด้วยอิฐก่อฉาบปูน อังกฤษจะลากเอามาจากไหนได้อย่างไร

เอาเรื่องคดีนายเส็งถูกเฆี่ยนจนตายดีกว่า ผมอยากรู้ แล้วอังกฤษเขาไม่โวยเอาหรือ เล่าหน่อย เล่าหน่อย

ก็ภายในคงมีปืนใหญ่เหล็กปักอยู่ แต่ก่อปูนภายหลังก็เป็นไปได้นิ

ต้องรีบเล่า เดี๊ยวเขาไม่ทำเสลี่ยงให้..... ;D

"นายจินเจล Mr. Gingell ได้ถูกส่งมาเป็นกงสุลอังกฤษประจำสยามเมื่อ ค.ศ. 1856 เมื่อมาถึงสยามเกิดขัดแย้งกับนายเบลล์ ซึ่งมีตำแหน่งด้อกกว่าต้องลาออกจากราชการและตรอมใจตาย ส่วนนายจินเจลมาเช่าบ้านที่บางคอแหลม ใช้เป็น "สถานกงสุลอังกฤษแห่งแรก"
แต่ไม่โอ่อ่าสมฐานะ จึงเสาะหาที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ ระหว่างนั้นกฎหมายมิให้คนต่างชาติเข้าครองที่ดิน แต่ก็เลี่ยงโดยเช่าที่ดิน 99 ปีแทน

นาย Puddicombe ได้เลี่ยงที่จะเช่าที่ดินตำบลบางคอแหลม 99 ปีจากเสมียน "นายเส็ง" ต่อมาทางราชการทราบเข้าจึงลงโทษโดยการเฆี่ยน 99 ทีจนถึงแก่ความตาย ทำให้เรื่องนี้อาจจะเป็นชนวนอ้างเหตุการตายมาเป็นประเด็นทางการยึดเมืองได้ จึงได้มีการพระราชทานที่ดินที่ตำบลบางรัก + ซื้อเสาธงให้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 18 ก.ย. 12, 23:49


เรียนคุณปิยะสารณ์ที่นับถือ

Post ในประเทศจีนสำคัญมาก  และมีบุคคลากรจำนวนมากกว่า  เพราะมีสถานกงสุลหลายแห่ง

ปริมาณการค้ามหาศาล

อัตราเงินเดือนสูงกว่ามาก

ฮะรีปักส์พูดเขียนและเข้าใจภาษาจีนดี  และกิสลับเป็นญาติเขย    ตอนแรกๆมาก็อาศัยอยู่กับกิสลับ

เป็น ล่ามฝึกหัด     แป๊บเดียวเลื่อนขั้น  ไม่ต้องวิ่งซื้อหมู บะหมี่ เต้าเจี้ยวอีกต่อไป

เฮ้อ!  เล่าจากความจำนะคะ   

มีสงครามใหญ่ครั้งหนึ่ง   นายทหารเรือบังคับให้ฮะรีปักษ์อยู่ใกล้ ๆ  จะไม่ได้รับบาดเจ็บ  เพราะยังเด็กอยู่มาก

ฮะรีปักษ์ได้เห็นการฆ่าฟันนองเลือดไปตามถนน

เมื่อกลับไปเยี่ยมบ้าน  ฮะรีปักษ์ก็ท่องเที่ยวยุโรปอยู่หลายเดือน    และคว้าหลานสาวอดีตนายพลกองทัพเรืออังกฤษเข้าคนหนึ่ง

ขากลับมามาแวะที่สยามด้วย

หนังสือเรื่องฮะรีปักษ์หาอ่านได้ไม่ขัดสน     

ถ้าข้อมูลพลาด  ก็คงเป็นได้บ้าง    หลายคนคงจำกิสลับได้   อ่านจาก ร้อยปีมิชชันนารี


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 19 ก.ย. 12, 00:03


        คุณปาลาเซียนั้น  เมื่อเป็นนักวาดรูป  มีจิตใจอ่อนโยน  และรักความเป็นไทยหลายต่อหลายอย่าง

รูปวาดของเธอยังมีอีกหนึ่งรูป   เธอได้อธิบายถึงวัฒนธรรมไทยด้วยความนิยมชมชื่น  โดยเล่าถึงความหมายในภาพที่เธอวาด

ไม่สามารถตามภาพนี้ได้   แต่เรื่องนั้นได้มาแล้ว      ขอเวลาไปจัดการกับเอกสารต่างๆก่อนค่ะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 ก.ย. 12, 11:42
เรื่องการได้ที่ดินริมถนนเจริญกรุงมาเป็นที่ตั้งสถานกงสุลอังกฤษและการย้ายไปอยู่ที่แยกเพลินจิตนั้น 
คงต้องรอคุณหนุ่มสยามมาบรรยายความโดยละเอียด  แต่การที่ที่ดินแปลงนี้ตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ
รัฐบาลสยามนั้นมีความปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุเรื่องคลังจ่ายเงินแผ่นดินแลเรื่องข้าราชการกรม
ราชเลขาธิการ  เอกสารจดหมายเหตุฉบับนี้เป็นพระราชหัตถเลขาที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานไปยัง
พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  เมื่อวันที่  ๑๒  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๖๕
เนื้อความในพระราชหัตถเลขาทรงกล่าวถึงการที่ระทรวงพระคลังมหาสมบัติตกลงซื้อสถานทูตอังกฤษเดิม
ที่ตำบลบางรักจากพระภักดีนรเศรษฐ เป็นเงิน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท  และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ขยายเขตกรมศุลกากรและตั้งธนาคารชาติ

แต่การที่กระทรวงพระคลังฯ ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินรายนี้และจ่ายเงินจำนวนมากไปก่อนที่จะนำความกราบ
บังคมทูลพระกรุณา  โดยเกรงว่าข่าวจะรั่วและจะทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นไปกว่านั้น  มีพระบรมราชวิิจฉัยว่า
ไม่ต้องด้วยพระราชนิยม  และได้ทรงกล่าวถึงข้าราชการในกรมราชเลขาธิการไว้ว่า

"ฉันขอรับรองว่าคนปากบอนหรือปากมากเขาไม่ใช้เลยในกรมนั้น,  แลถ้าจับใครได้ว่าทำผิดกติกาในข้อนี้  ไม่เปนแต่เพียงไล่ออก, 
ถึงแก่ถอดเสียด้วย.  ในกระทรวงอื่นจะเปนอย่างไรไม่ทราบ,  แต่ในเรื่อง.ื้อที่รายนี้กิติศัพท์ได้มาเข้าหูฉันหลายวันแล้วก่อนที่
ได้รับจดหมายของเธอ, ฉนั้นเธอคอยมองๆไว้ในทางกระทรวงของเธอบ้างก็ดี"

ส่วนเรื่องที่กระทรวงพระคลังจ่ายเงินซื้อที่ดินไปแล้ว  ก็มีพระราชวิจารณ์ว่า
"ส่วนเรื่องซื้อที่, เมื่อเธอได้ทำการตกลงซื้อแล้วแลจ่ายเงินไปแล้ว  ฉันก็ไม่มีทางอื่นนอกจากตอบว่าอนุญาต,"

ความในพระราชหัตถเลขานี้ชี้ชัดว่า รัฐบาลสยามมิได้ซื้อที่ดินสถานทูตอังกฤษจากรัฐบาลอังกฤษ  แต่ซื้อจากพระยา
ภักดีนรเศรษฐ หรือนายเลิดสะมันเตา  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่สถานทูตอังกฤษย้ายไปอยู่ใหม่  ฤาจะเป็นการแลกที่ดิน
ระหว่างพระยาภักดีนรเศรษฐกับสถานทูตอังกฤษ  แล้วพระยาภักดีฯ นำที่ดินที่แลกมานั้นมาขายให้รัฐบาลอีกต่อ
แต่ราคาที่รัฐบาลรับซื้อคืนมากับตอนที่ซื้อให้สถานทูตอังกฤษนั้นห่างกันกว่าร้อยเท่าทีเดียว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 12, 11:51
ถ้าอย่างนั้นขอเรียนถามคุณ V_Mee ว่าปัจจุบันที่ดินที่ตั้งสถานทูตอังกฤษเป็นของใคร   ถึงแบ่งส่วนหนึ่งมาเป็นศูนย์การค้าได้คะ   


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 12, 11:55
"การประกาศขายที่ดินจำนวนเกือบ 9 ไร่ ของเขตสถานทูต อังกฤษ โดยมีบริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนดำเนินการขาย ด้วยมูลค่าของผู้ยื่นซองประมูลสูงสุดในนามบริษัทเตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด เจ้าของธุรกิจในเครือเซ็นทรัล ราคา 950,000 บาทต่อตารางวา หรือ 405 ล้านบาทต่อ 1 ไร่ รวมมูลค่าซื้อขายที่ดินจำนวนดังกล่าวกว่า 3,600 ล้านบาท ส่งผลให้ดีลครั้งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์การซื้อขายที่ดินในกรุงเทพฯ ที่ ณ วันนี้สามารถทุบสถิติมาตรฐานราคาซื้อขายจากเดิมลงได้ทันที ช่วงระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ราคาซื้อขายที่ดินย่าน วิทยุ เพลินจิต หลังสวน ในบางแปลงมีตัวเลขราคาแตะ 7-8 แสนบาทต่อตารางวา เดิมถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคู่แข่งรายอื่นที่ยื่นซองประมูลเข้ามา จะมีตัวเลขที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายที่เป็นอยู่ในย่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ยื่นประมูลไปในราคา 888,888 บาทต่อตารางวา, กลุ่มฮ่องกงแลนด์ ยื่นประมูลในราคา 800,000 บาทต่อตารางวา, กลุ่มที.ซี.ซี.แลนด์ของเจ้าสัวน้ำเมา นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ยื่นประมูลในราคาเกือบ 700,000 บาทต่อตารางวา"

http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=1746


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 12, 11:57
เริ่มหาที่ตั้งใหม่และการครอบครองที่ดิน
 
อย่างไรก็ดี ถึงตอนนั้นทางเจ้าหน้าที่ของไทยก็ได้เล็งเห็นแล้วว่าทางรัฐบาลอังกฤษมิได้พอใจเท่าใดนักต่อสถานที่ตั้งของสถานทูต และได้มีการยื่นข้อเสนอที่ว่า หากฝ่ายอังกฤษสามารถหาสถานที่ตั้งใหม่ได้ สถานที่ตั้งปัจจุบันนั้นก็เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ก่อตั้งเป็นที่ทำการไปรษณีย์กลางของกรุงเทพมหานคร แต่ทว่ากระบวนการทางราชการทั้งในกรุงเทพฯ และลอนดอน กลับถูกดำเนินการอย่างเชื่องช้ายิ่ง ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และเวลาก็ล่วงเลยไปจนสงครามยุติลงในปี พ.ศ 2462 เมื่อ มร. ริชาร์ด สเตอร์กิส ซีมัวร์ (Mr. Richard Sturgis Seymour) ได้เข้ามาในฐานะเอกอัครราชทูต โดยทางรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ยืนยันข้อเสนอที่จะจัดหาสถานที่ตั้งใหม่ให้เพื่อแลกกับเขตพื้นที่ของสถานทูตเดิม แต่เมื่อ เซอร์ โรเบิร์ต ไฮด์ เกร็ก (Sir Robert (Hyde) Greg) ได้เป็นเอกอัครราชทูตในปลายปี พ.ศ. 2464 ทีแรกท่านไม่ได้รู้สึกยินดีมากมายนักกับแนวคิดในการย้ายสถานที่ตั้ง ทั้งตัวท่านเองและภริยาของท่านเป็นผู้ที่มีรสนิยมศิลป์และอาคารทรงโบราณที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานทูตเดิม ที่สอดคล้องกับความรู้สึกเชิงศิลป์ของสองสามีภรรยายิ่งนัก โดยเฉพาะ เซอร์ โรเบิร์ต (Sir Robert) นั้น รู้สึกรับไม่ได้เลยกับความคิดที่ว่าต้องอาศัยในบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกจากกระทรวงโยธาธิการ
 
โชคดีที่ว่า มร. ดับบลิว เอ อาร์ วู้ด (Mr. W A R Wood) รองกงสุลในขณะนั้น ได้เดินทางไปเยือนอังกฤษในปี พ.ศ. 2465 และได้ช่วยจัดเตรียมแผนผังฉบับร่างสำหรับอาคารทำเนียบหลักในเขตพื้นที่สถานทูต ก่อนหน้านี้ มร. วู้ด(Mr. Wood) ได้เป็นผู้รับผิดชอบต่อแบบแผนผังฉบับร่างของสถานกงสุลใหม่ที่สงขลาและเชียงใหม่ และเป็นที่น่ายินดีว่าแนวคิดสำหรับกรุงเทพฯของท่านนั้นได้รับการเห็นพ้องด้วยดี หลังจากที่ท่านเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร เซอร์ โรเบิร์ต (Sir Robert) แสดงความพึงพอใจต่อแผนดำเนินการของ มร. วู้ด (Mr. Wood) และเสียงคัดค้านของท่านต่อการย้ายที่พำนักก็เริ่มอ่อนลงเป็นลำดับ และดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2465 จึงมีการทำข้อตกลงกันโดยได้ฝ่ายอังกฤษได้สิทธิ์ในสถานที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตในปัจจุบันจากพระยาภักดี นรเศรษฐ ผู้ที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของนายเลิด ซึ่งในเวลานั้นเป็นเจ้าของสวนหย่อมที่อยู่ระหว่างถนนเพลินจิตและคลองขนาดใหญ่ที่ไหลขนานกับถนนเพชรบุรีแต่เพียงผู้เดียว รัฐบาลอังกฤษเข้าถือสิทธิ์ประมาณครึ่งหนึ่งของสวนหย่อม หรือประมาณ 12 เอเคอร์ (28 ไร่) จากนายเลิด (ผู้ซึ่งเสียชีวิตลงในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 1931 เมื่อมีอายุได้ 73 ปี) ลูกสาวของท่าน คุณหญิง เลอศักดิ์ คู่สมรสของคุณพินิจ สมบัติศิริ ได้รับมรดกในที่ดินส่วนที่เหลือ โดยส่วนหนึ่งนั้นเป็นสถานที่ตั้งของโรงแรมฮิลตันในปัจจุบัน
 
ขณะนั้น สถานที่ตั้งแห่งใหม่นี้อยู่ตรงขอบชั้นนอกของกรุงเทพมหานครพอดี โดยที่ถนนเพลินจิตสิ้นสุดประมาณครึ่งไมล์ถัดไป ไม่น่าแปลกใจเลยว่า มีเสียงตำหนิกล่าวหาว่าสถานทูตอังกฤษกำลังย้ายไปอยู่ในสถานที่ที่ไกลจากศูนย์กลางเมืองจนเกินไป เซอร์ โรเบิร์ต (Sir Robert) เห็นควรและจำเป็นที่จะตอบโต้บทความวิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ในกรุงเทพมหานครฉบับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ไม่เป็นที่นิยมเลย โดยเฉพาะกับบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดินเรือ กัปตันของเรืออังกฤษ ซึ่งในช่วงนั้นเข้ามาเทียบท่าที่กรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมาลงทะเบียนและกระทำพิธีการเอกสารต่างๆสำหรับเรือของพวกเขาที่สถานกงสุลใหญ่ภายในสถานทูต และพวกเขาก็ร้องเรียนว่าต้องเสียเวลาที่พวกเขามีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างมากในการเดินทางไปและกลับจากสถานที่ใหม่ ประชาชนในอาณัติของอังกฤษจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวอินเดีย พม่า และ มาเลเซีย ก็แสดงความไม่พอใจ เพราะว่ารถโดยสารประจำทางและรถรางในเวลานั้น ไม่มีเส้นทางใดที่ผ่านใกล้สถานที่ตั้งแห่งใหม่เลย ได้มีการพิจารณาที่จะตอบรับและบรรเทาทุกข์ข้อโต้แย้งเหล่านี้เหมือนกัน โดยได้มีการดำริที่จะคงสถานกงสุลและสำนักงานการเดินเรือไว้ใกล้ๆ กับสถานที่ตั้งเดิม ทว่าค่าใช้จ่ายในการที่จะจัดหาที่ดินในบริเวณนั้นกลับสูงเกินกว่าที่จะรับได้
 
จากการที่สถานที่ตั้งใหม่นี้อยู่บริเวณขอบชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร ไม่เพียงแต่มีความจำเป็นที่จะจัดหาที่ดินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจ่ายชำระค่าก่อสร้างอาคารใหม่ต่างๆ จากรายรับที่ได้มาจากการขายสถานที่ตั้งเดิมริมแม่น้ำ เป็นจำนวนประมาณ £110,000 ด้วย พระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียและเสาธงได้รับการย้ายไปสู่สถานที่ใหม่จากสถานทูตเดิมด้วยเช่นกัน พระบรมรูปสมเด็จพระนางวิกตอเรียนั้น ตามคำจารึกบนฐานของพระบรมรูปนั้น เขียนไว้ว่า “สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีโดยพสกนิกรของพระองค์ท่านในประเทศสยามเมื่อปี ค.ศ. 1903” พระบรมรูปนี้ได้รับการเคารพนับถือจากนักเรียนไทยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่าพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชินีผู้ล่วงลับไปแล้ว อาจจะมีส่วนช่วยต่อความสำเร็จทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร พระบรมรูปนี้ถูกตีปิดไว้ด้วยไม้กระดานในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทางญี่ปุ่นก็ยังกรุณาเจาะช่องสำหรับมองเอาไว้ให้ เพื่อไม่เป็นการลบหลู่สมเด็จพระราชินีผู้ล่วงลับไปแล้ว อนุสาวรีย์สงครามได้รับการลงจารึกโดยชาวอังกฤษในประเทศไทยและได้ถูกสถาปนาขึ้นในตอนต้นของปี พ.ศ. 2466 ตามข้อเท็จจริงแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างชิ้นแรกบนสถานที่ตั้งใหม่
 
การก่อสร้าง
 
อาคารต่างๆในเขตพื้นที่ของสถานทูตสร้างขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2469 หัวหน้าคณะทูต คือเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่ทางการทูตผู้มีอำนาจเต็ม เซอร์ โรเบิร์ต เกร็ก (Sir Robert Greg) ได้เข้าพำนักในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2469 ซึ่งล่าช้ากว่าที่ท่านได้คาดหวังไว้ แต่ท่านได้กล่าวในเชิงปรัชญาในจดหมายถึงกระทรวงการต่างประเทศก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมว่า “แค่ล่าช้าเพียงสองสามสัปดาห์นั้นนับเป็นอย่างไรได้ เมื่อคุณได้ใช้เวลาสร้างเกือบชั่วนิรันดร์ ?”
 
อาคารในเขตพื้นที่ของสถานทูตประกอบด้วยอาคารทำเนียบของเอกอัครราชทูต และที่พักของคณะทำงาน นอกเหนือจากการตกแต่งเพิ่มเติมเล็กน้อยหนึ่งหรือสองแห่ง ในปัจจุบันทุกๆ อาคารยังคงเป็นโครงสร้างเดิมตามที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ 2463 - 2472 จุดเด่นในห้องอาหารของอาคารทำเนียบคือพัดชัก ซึ่งถูกนำมาจากอาคารทำเนียบของสถานทูตเดิม  นายเลิศได้ซื้อที่ดินระหว่างถนนเพลินจิตกับคลองแสนแสบ และได้สร้างหลักเขตที่ดินที่มีลักษณะคล้ายปืนใหญ่ ซึ่งมีจำนวน 6 หลัก  ในปี 2546 ยังมีหลักเขตนี้เหลือให้เห็นแค่ 2 หลัก โดยหลักหนึ่งอยู่หัวมุมถนนข้างสถานทูตอังกฤษ  อีกหลักหนึ่งลักษณะคล้ายลูกปืนอยู่ด้านนอกใกล้ทางเข้าโรงแรม แต่ได้ถูกทำลายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี 2546 
 
เซอร์ โรเบิร์ต เกร็ก (Sir Robert Greg) ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนผังแบบเปิดโล่งสำหรับเขตพื้นที่สถานทูตแห่งใหม่นี้ ท่านได้พูดถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่โล่งต่อสุขภาพ”และเสนอต่อไปอีกว่า “ภูมิอากาศของกรุงเทพมหานครนั้นเป็นลักษณะที่ว่าไม่มีใครอยากจะออกไปนอกบ้านหากเขาไม่จำเป็นจริงๆ ในระหว่างเวลา 9 นาฬิกา และ 16.30 นาฬิกา” ถือได้ว่าเป็นเพราะความมานะพยายามของท่านที่ทำให้คลองที่สวยงามหลังทำเนียบถูกรวมไว้ในเขตพื้นที่สถานทูต คลองนี้ถูกขุดขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ เพื่อนำมาใช้ถมเรียบสวนนายเลิดทั้งหมด และเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้เพื่อล่องเรือและอาบน้ำในวันหยุดสุดสัปดาห์  อย่างไรก็ดี ไม่มีใครลงไปว่ายน้ำที่นั่นอีกแล้วในปัจจุบันนี้
 
การเปลี่ยนสถานภาพ
 
สถานทูตอังกฤษได้เปลี่ยนฐานะเป็นสถานเอกอัครราชทูตในปี พ.ศ. 2490 มร. เจฟฟรีย์ ฮาริงตัน ธอมพ์สัน (Mr. Geoffrey Harrington Thompson) อดีตอัครราชทูตและราชทูตวิสามัญ ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเป็นคนแรกในปีนั้น
 
ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการเพิ่มกลุ่มอาคารใหม่เพื่อใช้เป็นสำนักงานปรับอากาศที่ทันสมัย ได้มีการวางศิลาฤกษ์อาคารหลังใหม่นี้โดยสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สองในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2515
 
สมาชิกของราชวงศ์อังกฤษหลายพระองค์ได้เข้ามาเยี่ยมชมอาคารทำเนียบของสถานเอกอัครราชทูตหลังนี้ สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สองได้เสด็จมาระหว่างการเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2515 และ พ.ศ. 2539 เจ้าชายฟิลลิปได้เสด็จมาเยือนในปี พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2515 เจ้าฟ้าหญิงแอนในปี พ.ศ. 2521 ท่านดยุคแห่งเคนท์ ในปี พ.ศ. 2530 และ เจ้าฟ้าหญิงอาเล็กซานดร้าในหลายๆ วโรกาส โดยครั้งล่าสุดนั้นพระองค์ท่านได้มาเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2546
 
การขายที่ดิน
 
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สถานทูตอังกฤษได้ขายที่ดิน 3.55 เอเคอร์ จากที่ดินทั้งหมด 12.75 เอเคอร์ให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของนายเตียง จิราธิวัฒน์  ที่ดินส่วนที่ขายเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยมลพิษและเสียงดังที่สุดในบริเวณสถานทูตซึ่งติดกับถนนใหญ่หกเลน (ถนนเพลินจิต) และเส้นทางรถไฟฟ้า  สถานทูตได้คงสภาพและรักษาอาคารที่อยู่อาศัยในส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์, สำนักงานสถานทูต,  อนุสรณ์สถานสงครามโลก,  รูปปั้นที่โอ่อ่าของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย, สภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลสาป และสวนสาธารณะไว้คงเดิม  การดำเนินการขายที่นี้เพื่อนำไปเป็นกองทุนในการพัฒนาและรักษาสถานทูต  ซึ่งรวมถึงส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ของเจ้าหน้าที่, เครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อการสันทนาการ,  การปรับปรุงอาคารที่ทำการเป็นแบบเปิดโล่ง และ การเสริมความแข็งแรงด้านความปลอดภัย  ต้นไม้ในส่วนของที่ดินที่ขายแล้วนั้นได้บริจาคให้กรุงเทพมหานครและโรงเรียนนานาชาติอังกฤษ 


ข้อมูลจากเวปสถานทูตอังกฤษ http://ukinthailand.fco.gov.uk/th/about-us/our-embassy/location-and-access/embassy-history


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.ย. 12, 06:00
มีลิงค์ดีๆของคุณหนุ่มรัตนะมาฝากคุณหนุ่มสยามและท่านที่ชอบเนื้อหาของกระทู้นี้ครับ


http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/01/K11623509/K11623509.html


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 12, 16:56
ในตอนค่ำ นายพันเอกออร์ดและคุณนาย กัปตันเอดีย์ ข้าพเจ้ากับภรรยาฯลฯ ทั้งหมดรวมแปดคน ได้รับพระราชทานเลี้ยงรับรองในส่วนพระราชฐานชั้นใน และทรงแนะนำพระราชโอรสพระราชธิดาและเจ้าจอมที่ทรงโปรดเก้าท่าน เช้าวันรุ่งขึ้นความสนิทสนมที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ได้เปิดโอกาสให้บรรดาพระราชวงศ์ทั้งหลายทรงเลิกแสดงท่าทีเคร่งครัดตามขนบธรรมเนียมเสียสิ้น  ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวและบรรดาเจ้าจอมกำลังสนทนากับนายพันเอกออร์ดและคุณนายในห้องหนึ่ง ในห้องที่ติดกันนั้น ข้าพเจ้าและสุภาพบุรุษอื่นๆได้สนทนากับพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธออยู่ถึงสี่สิบห้านาทีเต็มๆ หลายพระองค์เป็นสาวรุ่นพระชันษาระหว่าง๑๕-๑๘ ทรงสนทนาด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมาและฉลาดเฉลียวรอบรู้  เกินกว่าที่ข้าพเจ้าจะนึกถึงเสียอีก

ทรงตรัสใช้ภาษาง่ายๆ  กรองคำที่หยาบหรือกระด้างออกจนฟังอ่อนโยน อันถือได้ว่าเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของภาษาไทย สำหรับพวกที่ร่วมอยู่กับข้าพเจ้าผู้ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ก็ทรงตรัสด้วยภาษาอังกฤษสองสามคำ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาพ่อผู้ใจดี ทรงได้ยินเสียงพูดและเสียงหัวเราะของการสนทนา ทรงยอมรับด้วยพระอารมณ์ขันที่สุด ทรงแย้มพระสรวลขณะที่ตรัสระหว่างเสด็จเข้าว่า  "ลูกๆพูดกันเสียงหนวกหูเสียนี่กระไร"

ในนี้ นายอาลาบาศเตอร์ไม่ได้ระบุพระนามพระเจ้าลูกเธอ ที่เสด็จออกมาต้อนรับแขกเมือง      แต่ไปพบในพระนิพนธ์ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล  ทรงบันทึกไว้ว่า หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์

" เสด็จป้ากรมหลวงสมรรัตน์ฯ เคยตรัสกับข้าพเจ้าว่า "ป้าก็เคยรินน้ำชาเลี้ยงฝรั่งที่หว้ากอ " แล้วท่านก็ทรงพระสรวลเมื่อเห็นข้าพเจ้าหัวร่อ  และตรัสต่อไปว่า "จริงนะ  เพราะทูลหม่อมท่านรับสั่งว่า  ธรรมเนียมฝรั่งเขาต้องให้ผู้หญิงรินน้ำชา    แล้วท่านก็เลยให้ป้าเป็นคนออกไปรับแขกเมือง"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ ประสูติเมื่อพ.ศ. 2395   เมื่อเสด็จไปที่หว้ากอ พระชันษาได้ 15 ย่าง 16 ปี


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 12, 17:02
มีลิงค์ดีๆของคุณหนุ่มรัตนะมาฝากคุณหนุ่มสยามและท่านที่ชอบเนื้อหาของกระทู้นี้ครับ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/01/K11623509/K11623509.html

ความคิดเห็นที่ 3

ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
พระราชหัตถเลขาในคราวเสด็จบ้านคลองวาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พระองค์โปรดให้ตั้งค่ายขึ้น และนำกุ๊กจีน กุ๊กยุโรป อย่างดีเยี่ยมมาเพื่อการนี้ และได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส, ผู้แทนพระองค์ของอังกฤษ ที่สิงคโปร์ มายังตำบลดังกล่าว

พวกฝรั่งเศสก็เย้ยหยันในทางที่ว่า จะมองเห็นหรือไม่ก็ไม่แน่ใจในความแม่นยำ เมฆก็มาก ปกคลุมอยู่หลายวัน ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชหัตถเลขาส่งไปต่างประเทศเล่าความไว้โดยละเอียด

และข้อความในจดหมายไปยังต่างประเทศ รัชกาลที่ 4 ทรงรู้และตระหนักดีว่า "ไข้ป่า" รุนแรงเพียงใด ซึ่งพ่อครัวที่ไปตั้งค่ายอยู่ก่อนหน้านี้ได้ตายไปหลายคน ทรงเล่าผ่านตัวอักษรว่า

"ไช้ป่านั้นรุนแรงนักที่บ้านคลองวาฬ พ่อครัวหลายคนก็ได้เป็นโรคไข้ป่าตายกันมาก ดังนั้นจึงจะเขยิบที่สังเกตุการณ์ออกไปสักหน่อย (คาดว่าอยู่บ้านหว้ากอ) ซึ่งข้าพเจ้า (รัชกาลที่ 4 ) ไม่อยากจะติดเชื้อดังกล่าวเลย ไม่อยากจะขึ้นบกจะขออยู่ในเรือให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัยในไข้ป่านี้"

และเมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพฯ สิ่งที่ทรงหวาดกลัวก็เป็นเรื่องจริง

จากคุณ    : หนุ่มรัตนะ

ม.จ.พูนพิศมัยทรงเล่าไว้เช่นกันว่า
"เสด็จป้า (หมายถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์) ทรงเล่าว่า  ก่อนทรงพระประชวรได้ 2 วัน   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถามคุณย่าใหญ่ (เจ้าจอมมารดาเที่ยง  พระมารดาของท่าน) ในเวลา  ทรงชี้นิ้วพระหัตถ์ไปที่ดาวพระพุธซึ่งกำลังจะผ่านเข้าไปในดวงจันทร์ ว่า "นังเที่ยง  เห็นดาวนั่นไหม" ท่านทูลตอบว่า "เห็นเพคะ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสต่อไปว่า " ไม่ดีสำหรับข้านะดาวดวงนั้น" "


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.ย. 12, 09:57
ผมค้นเจอจดหมายเหตุของหมอบรัดเล ซึ่งเป็นบันทึกที่น่าสนใจโดยรวม ขอแนะนำให้ท่านไปอ่านเองในเน็ท แต่ในที่นี้ผมจะคัดเอาเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องในกระทู้มาปิดท้าย เสียดายอยู่เหมือนกันที่ไม่ได้เจอเสียตั้งแต่แรก ข้อเท็จจริงที่เขียนจะได้ไม่พลาดดังที่ท่านคงอ่านพบไปแล้ว แต่ก็นั่นแหละ ถ้าผมจะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลต่างๆครบถ้วนเสียก่อนแล้วจึงเขียน ก็คงจะใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี แล้วคงรับประกันไม่ได้อยู่นั่นเองว่าจะไม่ผิดที่ไหนเลย ดังนั้น ถ้าจะหมายให้ทุกอย่างถูกต้องหมดแล้ว คงไม่มีวันที่จะเขียนสำเร็จ ผมอายุมากพอประมาณแล้ว เวลาที่เหลือสำหรับที่จะเขียนอย่างสนุกสนานน้อยลงๆ เพราะความไม่สนุกมันเข้ามากระชับพื้นที่มากขึ้นทุกที

ปล. ผมชอบที่ฝรั่งด้วยกันเขียนFamily nameของเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก ว่า“จอมเบิค”
ฮ่ะฮ่า น่าจะเขียนว่าจอมเบิกซะเลย ไทยๆดี

http://www.reurnthai.com/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.ย. 12, 10:01
จดหมายเหตุของหมอบรัดเล


ปีเถาะจุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ.๒๓๙๘

เมษายน ที่ ๓ เซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษ เข้ามาขอทำหนังสือสัญญา
เมษายน ที่ ๑๘ ทำหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ
เมษายน ที่ ๒๓ เซอร์ยอนเบาริงกลับไป
มีนาคม ที่ ๑๗ นายแฮรี ปากส์ มากับภรรยา นำสัญญาอังกฤษเข้ามาแลก
เมษายน ที่ ๕ แลกหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ

ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙

พฤษภาคม ที่ ๑๕ นายแฮรี ปากส์ กับภรรยากลับไป
มิถุนายน ที่ ๑๐ นายฮิลเลีย กงสุลอังกฤษคนแรก เข้ามาถึง
ตุลาคม ที่ ๑๘ นายฮิลเลีย กงสุลอังกฤษป่วยเปนบิดถึงแก่กรรม
มีนาคม นายยิลคัล ผู้รั้งกงสุลอังกฤษกับภรรยา เข้ามาถึง

ปีมเสงจุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐

ธันวาคม ที่ ๘ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษเข้ามาถึง

ปีมแมจุลศักราช ๑๒๒๑ พ.ศ.๒๔๐๒

ธันวาคม ที่ ๑๒ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แล้วเดินทางบกออกไปเมืองเมาะลำเลิง
เมษายน ที่ ๒๖ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับมาถึง

ปีรกาจุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔

สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างถนนใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง) ผ่านไปข้างหลังบ้านฝรั่ง

ปีกุญจุลศักราช ๑๒๒๕ พ. ศ. ๒๔๐๖

มีนาคม ที่ ๑๖เปิดถนนทำใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง)
มีนาคม ที่ ๓๐ เซอรอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับไปยุโรป
มกราคม ที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระชัณษา ๕๘
มกราคม ที่ ๓๐ เรือรบอังกฤษ ชื่อ โคเคต พาทอมัส ยอช นอกส์ เปนกงสุลเยเนอราลอังกฤษเข้ามาถึง(นายนอกส์ คนนี้เดิมเปนนายทหารอังกฤษ รับราชการอยู่อินเดีย ละราชการทหารอังกฤษ มาเมืองไทยเมื่อค.ศ.๑๘๕๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จ้างไว้เปนครูทหารวังน่า จน ค.ศ.๑๘๕๗ กลับรับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล)
มีนาคม ที่ ๑๕ นายนอกส์ กงสุลอังกฤษไปเมืองนอก (ทางนี้นายอาลบาสเตอ รักษาการแทน)

ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑

สิงหาคม ที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากกรุงเทพ ฯ ไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาหมดดวง (ที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์)
สิงหาคม ที่ ๑๘ มีสุริยอุปราคาหมดดวง มืดอยู่ถึง ๖ นาที กับ ๔๖ วินาที
สิงหาคม ที่ ๒๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากหว้ากอ
สิงหาคม ที่ ๓๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรมาหลายวัน เรียกหมอแคมเบล กับหมอบรัดเลเข้าไปปฤกษากับแพทย์หลวง แต่หาได้เข้าไปตรวจพระอาการไม่
กันยายน ที่ ๑๔ นายอาลบาสเตอ ผู้แทนกงสุลอังกฤษ เกิดวิวาทกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เรื่อง (สมบัติคนในร่มธงอังกฤษต้อง) ไฟไหม้ที่วัดเกาะ
ตุลาคม ที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตพระชัณษาได้ ๖๔ เสวยราชย์ได้ ๑๘ ปี สมเด็จพระราชโอรส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จผ่านพิภพกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เปนพระมหาอุปราช
พฤศจิกายน ที่ ๑๕ เรือรบอังกฤษ ชื่อ สลามิส มาถึง นายพลเรือเกปเปล กับกงสุลเยเนราล นอกส์ มาด้วยในเรือนี้
มีนาคม ที่ ๑๘ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ธันวาคม ที่ ๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือบางกอก ไปประพาศอินเดีย

ปีมเมียจุลศักราช ๑๒๓๒ พ. ศ. ๒๔๑๓

มีนาคม ที่ ๑๓ นายน๊อกส์ กงสุลเยเนราลอังกฤษไปตามเสด็จเมืองกัลกัตตา กลับมาถึง
มีนาคม ที่ ๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประพาศอินเดีย ๔ เดือน กลับมาถึง
กรกฎาคม ที่ ๓ นายเฮนรี อาลบาสเตอ ไปยุโรป ๒ ปี กลับเข้ามาถึง (นายอาลบาสเตอนี้ แต่เดิมรับราชการอังกฤษ จนได้เปนผู้แทนกงสุลครั้งที่ ๑ วิวาทกับนายน๊อกส์กงสุล ฯ จึงออกจากราชการ กลับเข้ามาคราวนี้แล้วไม่ช้าก็เข้ารับราชการไทยอยู่จนถึงอนิจกรรม)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.ย. 12, 10:18
ผมเอามาเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ
ข้อความอักษรสีน้ำเงิน คือความเห็นที่ผมแสดงลงไป

พ.ศ. ๒๓๙๙

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธันวาคม ที่ ๘ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษเข้ามาถึง
ปีนี้ นายอาลาบาศเตอร์เข้าทำงาน เริ่มเป็นตำแหน่งล่ามฝึกหัดในสถานกงสุล

พ.ศ.๒๔๐๐

ทอมัส ยอช นอกส์ ลาออกจากวังหน้า รับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล

พ.ศ.๒๔๐๒

ธันวาคม ที่ ๑๒ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แล้วเดินทางบกออกไปเมืองเมาะลำเลิง
เมษายน ที่ ๒๖ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับมาถึง

พ.ศ. ๒๔๐๔

สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างถนนใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง) ผ่านไปข้างหลังบ้านฝรั่ง
นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ไปช่วยงานที่นั่นร่วมสองปี จึงไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ในสถานกงสุลโดยตรง ขณะที่นายน๊อกซ์อยู่ประจำ น่าจะปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักในกระทรวงมากกว่า

พ. ศ. ๒๔๐๖
มีนาคม ที่ ๑๖เปิดถนนทำใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง)
มีนาคม ที่ ๓๐ เซอรอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับไปยุโรป
มกราคม ที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระชัณษา ๕๘
มกราคม ที่ ๓๐ เรือรบอังกฤษ ชื่อ โคเคต พา ทอมัส ยอช นอกส์ เปนกงสุลเยเนอราลอังกฤษเข้ามาถึง(นายนอกส์ คนนี้เดิมเปนนายทหารอังกฤษ รับราชการอยู่อินเดีย ละราชการทหารอังกฤษ มาเมืองไทยเมื่อค.ศ.๑๘๕๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จ้างไว้เปนครูทหารวังน่า จน ค.ศ.๑๘๕๗ กลับรับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล)
มีนาคม ที่ ๑๕ นายนอกส์ กงสุลอังกฤษไปเมืองนอก (ทางนี้นายอาลบาสเตอ รักษาการแทน)

นายน๊อกส์ไปหลายปี นายอาลาบาสเตอร์คงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองกงสุล (Deputy หรือ Vice Consul)และรักษาการแทนกงสุล เพื่อให้สมศักดิ์ศรีผู้แทนของรัฐบาลอังกฤษในการติดต่อกับรัฐบาลสยาม

พ.ศ. ๒๔๑๑

สิงหาคม ที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากกรุงเทพ ฯ ไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาหมดดวง (ที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์)

พ. ศ. ๒๔๑๕
มีนาคม ที่ ๑๓ นายน๊อกส์ กงสุลเยเนราลอังกฤษไปตามเสด็จ(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)เมืองกัลกัตตา กลับมาถึง
มีนาคม ที่ ๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประพาศอินเดีย ๔ เดือน กลับมาถึง
กรกฎาคม ที่ ๓ นายเฮนรี อาลบาสเตอ ไปยุโรป ๒ ปี กลับเข้ามาถึง (นายอาลบาสเตอนี้ แต่เดิมรับราชการอังกฤษ จนได้เปนผู้แทนกงสุลครั้งที่ ๑ วิวาทกับนายน๊อกส์กงสุลฯจึงออกจากราชการ กลับเข้ามาคราวนี้แล้วไม่ช้าก็เข้ารับราชการไทยอยู่จนถึงอนิจกรรม)
หลายฉบับว่านายอาลาบาศเตอร์ เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งที่สองพ.ศ. ๒๔๑๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจหมายถึงว่าเข้ารับราชการในปีนั้น ตามพิจารณาตามจดหมายเหตุของหมอบรัดเล แสดงว่านายอาลาบาศเตอร์ได้กลับมายังกรุงเทพก่อนหลายเดือนอยู่ แล้วจึงเข้ารับราชการ

ป.ล. คนที่งงเรื่องเดือนและพ.ศ. สมัยนั้นคนไทยนับ๑เมษายนเป็นวันเปลี่ยนศักราชขึ้นปีใหม่นะครับ



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ก.ย. 12, 11:19
คุณหนุ่มสยามเขียนไว้ว่า

อ้างถึง
สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม

ข้อความนี้มีความกำกวมอยู่ ตามไปค้นก็ไม่เจอ อ่านแล้วเข้าใจว่า หลังจากการเข้ามาของเซอร์จอห์น บาวริง เพื่อทำสนธิสัญญากับสยามในปี๑๘๕๕ ซึ่งมีผลในการบังคับใช้ในวันที่๕เมษายนของปีถัดไปนั้น อังกฤษก็ได้ส่งกงสุลคนแรกเข้ามาเมืองไทยทันทีมีนามว่านายชาลร์ส แบตเทน ฮิลลิเออร์ และการตั้งสถานกงสุลในคราวนั้นได้ก่อเรื่องฉกรรจ์ดังกล่าวขึ้น

วันนี้เจอแล้วได้ความว่า เมื่อเซอร์จอห์น บาวริ่งเข้ามาทำสญธิสัญญาทางไมตรีกับสยามนั้น ได้มีความข้อหนึ่ง ทำความชัดแจ้งเรื่องการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวไว้ด้วย แสดงว่าเรื่องที่คุณหนุ่มสยามเขียนไว้นั้นมีมูล แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในรัชกาลก่อนๆแล้ว อังกฤษยังสยองอยู่  แต่ไม่ใช่เกิดจากการก่อตั้งสถานกงสุลอังกฤษเมื่อเริ่มแรก หรือหลังที่สนธิสัญญาบาวริงมีผลบังคับใช้แล้ว

ฝ่ายอังกฤษประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง โดยรัฐบาลสยามยอมให้อังกฤษเข้ามาตั้งกงสุล มีอำนาจพิจารณาคดีที่คนอังกฤษมีคดีความกัน และร่วมพิจารณาคดีที่คนไทยกับอังกฤษมีคดีความกัน ในสมัยปลายรัชกาลที่ 4 ฝรั่งต่างก็เข้ามาตั้งโรงงานในสยามเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาลทราย อู่ต่อเรือ โรงเลื่อยไม้ เป็นต้น การที่สยามรับเอาวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาใช้หลายอย่างนี้ทำให้ฝรั่งเรียกขานว่าเป็น "เมืองไทยยุคใหม่"

ผลของสนธิสัญญายังเป็นการให้สิทธิเสรีภาพในการถือครองที่ดินแก่ทั้งราษฎรไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนราษฎรไม่ค่อยกล้าให้ชาวต่างประเทศถือครองที่ดินเพราะกลัวในหลวงจะกริ้ว รัฐบาลไทยอยากให้ฝรั่งเข้ามาตั้งโรงงานสมัยใหม่ จำต้องยอมผ่อนปรนเรื่องการถือครองที่ดินให้แก่ฝรั่ง แต่ก็ไม่ใช่จะถือครองได้ทุกที่ รัฐบาลแบ่งที่ดินออกเป็นสามเขต คือ ในพระนครและห่างกำแพงพระนครออกไปสองร้อยเส้นทุกทิศ ยอมให้เช่าแต่ไม่ยอมให้ซื้อ ถ้าจะซื้อต้องเช่าครบ 10 ปีก่อน หรือจะต้องได้รับอนุญาตจากเสนาบดี เขตที่ล่วงออกไป  เจ้าของที่และบ้านมีสิทธิให้เช่าหรือขายกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่มีข้อแม้  แต่ล่วงจากเขตนี้ไปอีก ห้ามมิให้ฝรั่งเช่าหรือซื้อโดยเด็ดขาดเมื่อราษฎรได้รับสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราษฎรก็มีทางทำมาหากินเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง คือ การจำนองที่ดินเพื่อกู้เงิน หรือขายฝากขายขาดที่ดินของตนได้


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 12, 22:15
มีเกร็ดจากสุริยุปราคาที่หว้ากออีกนิดหน่อย  ตัดตอนจากพระนิพนธ์หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ขอรวมไว้ในกระทู้นี้เลยค่ะ

"ถึงวันสูรย์จะหมดดวง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทอดพระเนตรหน้าพลับพลา พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการทั้งหมด  รวมทั้งพระยาโหราฯด้วย   ต่างคนต่างดูท้องฟ้าด้วยกล้องด้วยกระจกแทบทุกคนไป

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์จดไว้ว่า
"...ต่อมา 4 โมง 16 นาที (10.16 น.) เมฆจึงจางสว่างออกไป เห็นดวงอาทิตย์ไรๆ แลดูพอรู้ว่าจับแล้ว จึงประโคมเสด็จสรงมุรธาภิเษก  ครั้นเวลา 5 โมง 20 นาที (11.20 น.)แสงแดดอ่อนลงมา ท้องฟ้าตรงดวงพระอาทิตย์สว่างไม่มีเมฆเลย ที่อื่นแลเห็นดาวใหญ่ด้านตะวันตก และดาวอื่นๆ มากหลายดวง
เวลา 5 โมง 36 นาที 20 วินาทีจับสิ้นดวง เวลานั้นมืดเป็นเหมือนกลางคืนและพลบค่ำ คนที่นั่งใกล้ๆ ก็แลดูไม่รู้จักหน้ากัน "
เสด็จพ่อทรงเล่าว่าพระยาโหราฯ ตบขาร้องว่า "ผลุ๊บ" เวลาหมดดวง   ด้วยตื่นเต้นจนลืมว่าอยู่หน้าพระที่นั่ง"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 12, 22:17
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในคำนำภาค 19 ว่า
"การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอในฤดูฝน จนเป็นเหตุให้ประชวรและสวรรคต  ครั้งนั้นผู้ที่เกิดภายหลัง หรือเกิดทัน แต่ยังเป็นเด็กอยู่เช่นตัวข้าพเจ้า เคยปรารภกันว่า เพียงแต่จะดูสุริยุปราคา เหตุใดจึงเสด็จลงไปฝ่าอันตราย และความลำบากถึงเพียงนั้น
พึ่งมาได้ฟังคำชี้แจงภายหลังว่า สุริยุปราคาที่เห็นได้หมดดวง ในประเทศนี้ไม่เคยมีมาแต่ก่อน จนถึงในตำราโหรของไทยว่า สุริยุปราคาไม่มีที่จะหมดดวงได้
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณทราบก่อนใครๆ ว่าในประเทศนี้ว่า ในปีมะโรงสุริยุปราคาจะมีหมดดวง และจะเห็นได้ในเมืองไทยนี้ ดำรัสบอก พวกโหรก็ไม่มีใครลงเนื้อเห็นด้วย

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์เคยตรัสเล่าว่า แม้พระองค์ท่านเองก็ไม่ทรงเชื่อว่าจะเห็นหมดดวง แต่เกรงพระทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ต้องยอมจะไปทอดพระเนตรด้วย
ที่เสด็จลงไปทอดพระเนตรที่ตำบลหว้ากอ ในแขวงประจวบคีรีขันธ์ เพราะปรากฏในทางคำนวณว่าจะเห็นได้หมดดวงที่ตรงนั้น ถ้าดูอยู่ในกรุงเทพฯ นี้หาเห็นหมดดวงไม่

เล่ากันว่าในวันมีสุริยุปราคา โหรที่ลงไปตามเสด็จก็ยังไม่เชื่อว่าจะเห็นหมดดวง พอเงากินปิดขอบพระอาทิตย์หมดดวง พระยาโหราธิบดีเถื่อนเวลานั้น ยังเป็นหลวงโลกทีป ร้อง "ผลุ๊บ" เต็มเสียงหน้าที่นั่งด้วยความยินดี สิ้นกลัวเพราะความเลื่อมใสในวิชาที่ได้ร่ำเรียน"


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 09:47
คิดว่ากระทู้นี้จบแล้ว    เอาเข้าจริงไปเจอเกร็ดเกี่ยวกับอาลาบาศเตอร์อีกนิดหน่อย   จึงขอนำมารวมกันไว้ในกระทู้นี้เสียเลยค่ะ

ในพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕    ประจำวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๕  จ.ศ. ๑๒๓๘  (พ.ศ. ๒๔๑๙)  ทรงบันทึกว่า
" มิสเตอร์อาลาบาศเตอร์จดหมายมาขอยืมเงิน ๕๐๐ ชั่ง"
จากนั้น มีบันทึกว่า
" ได้เรียกมิสเตอร์อาลาบาศเตอร์มาพูดด้วยเรื่องจะกู้เงิน ๕๐๐ ชั่ง"
และมีบันทึกหลังจากนั้นว่า
" อาลาบาศเตอร์จดหมายขอบใจที่ได้รับเงิน"

พ.ศ. 2419  อาลาบาศเตอร์เข้ามาอยู่ในกรุงเทพเป็นครั้งที่ 2   ได้ 3 ปีแล้ว   ก็คือทำงานราชการถวายมาระยะหนึ่งนานพอสมควร    ต้องการเงินจำนวนมากมายนี้ไปทำอะไรก็ยังหาข้อมูลไม่พบ   เงิน 500 ชั่งหรือสี่หมื่นบาทในสมัยต้นรัชกาลที่ 5  เป็นเงินมากมายมหาศาล เกินกว่าจะคิดได้ว่าแกขอยืมเพื่อไปสร้างบ้านอยู่กับลูกเมีย     
คำว่า "ขอยืม" แสดงว่ามีเงื่อนไขว่าจะใช้เงินคืน   ไม่ใช่การขอพระราชทานเฉย ๆ  จึงสันนิษฐานว่าอาลาบาศเตอร์ขอยืมไปเพื่อลงทุนทำอะไรสักอย่าง ที่คิดว่ามีกำไรดีพอจะถวายเงินคืนได้     แต่อาจจะไม่ได้ผลกลับมา จึงไม่มีบันทึกไว้ในประวัติตอนถึงแก่กรรม ว่าเป็นเจ้าของกิจการอะไรในสยาม


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 09:59
อย่างไรก็ตาม   การทำงานของอาลาบาศเตอร์คงเป็นที่พอพระราชหฤทัย   จึงทรงพระกรุณามาก  นอกจากพระราชทานเงิน ๕๐๐ ชั่งแล้ว   ก็ยังพระราชทานล็อกเก็ตมีพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ให้คุณนายแหม่มของอาลาบาศเตอร์ด้วย

งานราชการที่อาลาบาศเตอร์ทำถวายคงจะทำให้เขาเป็นที่รู้จักมักคุ้นของชาวสยามกันมาก   ยิ่งเป็นฝรั่งอังกฤษที่พูดไทยคล่องแคล่วก็คงทำให้สื่อสารสนิทสนมกันได้ง่าย    จึงปรากฏในจดหมายเหตุสยามสมัยว่า งานศพของอาลาบาศเตอร์มีคนไปร่วมแสดงความอาลัยกันแน่นป่าช้าทีเดียว

ครั้นพอรู้ข่าวว่าท่านถึงแก่อนิจกรรมแล้ว     คนทั้งปวงพร้อมกันช่วยการศพ   ในหลวงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯจัดประทานให้มีวอ  และให้พวกเจ้า พวกขุนนาง พวกทหาร พวกแตรหลวงไปช่วยการแห่ศพ ให้เป็นที่แสดงใจรัก    และใจนับถือคนอันได้รับอาสาทำราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตหลายปีนักหนา     คนที่ชอบที่รักที่นับถือมิสเตอร์อาลาบาศเตอร์พากันเอาดอกไม้มาลาเป็นอันมากมาทิ้งในหลุมที่จะฝังศพนั้น     ชาวสยามบางคนจุดธูปเทียนบูชาครู    ครั้นครูดินได้สวดถวายนมัสการแก่พระเจ้าอันถาวรสมควรแก่การศพ     คนที่ออกแน่นป่าช้านั้นต่างคนต่างกลับไปบ้าน    เห็นคนสยามตั้งเครื่องดอกไม้ที่จะมีการจุดดอกไม้ในค่ำวันนั้น   เป็นการคำนับผู้ที่ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 12:42

ขอบคุณจขกท. ที่นำประวัติของท่านอาลาบาศเตอร์มาเล่าสู่กันฟัง ทำให้รู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องสุริยุปราคา สมัย 1868 ว่ามีที่มาที่ไปอย่าไร
และขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู ที่ให้ link http://www.alabaster.org.uk/chron18.htm#eclipse  รายงานของท่านอาลาบาสเตอร์ในฐานะ Acting Consul ( ในช่วงนั้นที่ยังทำงานให้ประเทศอังกฤษ  )  ฉบับภาษาอังกฤษนี้อ่านแล้วชัดเจนมาก

ตรงที่... The Prime Minister is said to have rushed into his house and called to his wives "Now will you believe in what foreigners tell you?..

และที่..The King gave a full and clear account of the causes of the Eclipse, shewing how thoroughly he had read up the subject.

และที่....the French Frelon having preceded her to Saigon with the news of the great success.




แต่ก็ยังมีที่สงสัยนึดนึง ตรงชาวฝรั่งเศส บ่นเรื่อง "The jealous Siamese" ว่่า อิจฉาอะไรกัน

แต่เมื่อจขกท.โพสต์รูปกล้องดูดาวของนักดาราศาสตร์แล้วจึงถึงบางอ้อ





กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 12:55

จากรูปกล้องของนักดูดาวชาวฝรั่งเศส นั้นทันสมัยมาก ตั้งอยู่บน German Equartorial Mount ที่สามารถตามการเคลื่อนที่ของดาวได้
และรูปนี้น่าจะเป็นรูปถ่าย negative คือกลับซ้ายเป็นขวา เนื่องจากตัว mount นั้นปกติจะชี้ไปทางทิศเหนือ ( ตามตำแหน่งที่ตั้งกล้อง  )
แต่จากภาพนี้ หัวของ mount ชี้ไปทางทิศตะวันตก



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 13:16
รูปนี้  ไม่ใช่นักดาราศาสตร์ที่มาดูสุริยุปราคาที่หว้ากอในปลายรัชกาลที่ 4     แต่เป็นนักดาราศาสตร์ที่มาดูปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418  ในรัชกาลที่ 5  ไม่มีอาลาบาศเตอร์ มีแต่พระนิเทศชลธี (เซอร์อัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส)
คุณ NAVARAT.C เจ้าของกระทู้อธิบายว่าภาพนี้ไม่ใช่ของจริง  แต่เป็นหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกจัดฉากตั้งแสดงไว้ในสถาบันทางดาราศาสตร์ในฝรั่งเศส

เชิญอ่านได้ที่กระทู้นี้ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5377.45

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5377.0;attach=36337;image)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 14:34
ขอบคุณครับท่านเทาชมพู ผมไปอ่านlink ที่ท่านให้มา แลท่านเองเอารูป ทางเดินของสุริยุปราคา ในวันที่ 6 เมษ 1875  มาประกอบนะครับ
ไม่ใช่ปรากฎการณ์ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ แต่อย่างไร  สุริยุปราคานั้นเกิดขึ้นจริงเห็นได้ที่กทม.ด้วยซ้ำ เวลาประมาณ 14:30 กว่าก็บังเต็มดวงครับ

ปล. แก้ไข คศ ที่พิมพ์ผิด จาก 1975 เป็น  1875


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 14:36

ส่วนรูปที่ว่าถึงแม้จะถ่ายมาจากหุ่นขี้ผิ้ง ผู้ปั้นหุ่นเอง ก็ต้องทำจากรูปถ่ายต้นฉบับครับ ไม่สามารถยกเมฆตามใจชอบ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 14:41

ขอบคุณครับท่านเทาชมพู ผมไปอ่านlink ที่ท่านให้มา แลท่านเองเอารูป ทางเดินของสุริยุปราคา ในวันที่ 6 เมษ 1975  มาประกอบนะครับ
ไม่ใช่ปรากฎการณ์ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ แต่อย่างไร  สุริยุปราคานั้นเกิดขึ้นจริงเห็นได้ที่กทม.ด้วยซ้ำ เวลาประมาณ 14:30 กว่าก็บังเต็มดวงครับ

รูปไหนคะ  รูปนี้หรือเปล่าที่คุณบอกว่าเป็นทางเดินของสุริยุปราคา ในวันที่ 6 เมษ 1975

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5377.0;attach=36306;image)

เห็นมุมบนขวาเขียนว่า 1875 April 06  ไม่ใช่ 1975 April 06  นะคะ


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 30 ก.ย. 12, 14:49

ครับรูปนั้น ครับ ผมพิมพ์ คศ ผิดครับ ควรเป็น 1875 :-[


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:49
ในหนังสือ "แคทยา และเจ้าฟ้าสยาม" พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ได้ทรงเขียนเล่าเหตุการณ์ที่หว้ากอไว้ น่าจะรวบรวมไว้ในกระทู้นี้ เพื่อความสะดวกที่จะศึกษาเรื่องราวซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ท่อนหนึ่ง ในระหว่างจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเพื่อให้สยามอยู่รอด
 
พระจอมเกล้าฯทรงสนพระทัยในดาราศาสตร์อย่างยิ่ง ซึ่งอัครมหาเสนาบดีของพระองค์ก็สนใจอยู่ด้วย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้พศกนิการของพระองค์เปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ หันมายึดการคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์มากกว่าโหราศาสตร์ ดังนั้น ทรงดีพระทัยยิ่งที่ทรงคำนวนพบว่า จะมีสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่๑๘สิงหาคม๒๔๑๑  ในวันที่๑๘กรกฎาคมพระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ล่ามของสถานกงสุลอังกฤษ ให้ช่วยกระตุ้นให้เซอร์แฮรี่ ออร์ด ข้าหลวงใหญ่ประจำสิงคโปร์และภรรยา ตอบรับคำเชิญของพระองค์เพื่อเดินทางมาดูสุริยุปราคาในครั้งนี้ ดังความตอนหนึ่งว่า

“ฉันได้มีโอกาสติดต่อกับเซอร์ แฮรี่ ออร์ด โดยทางจดหมายหลายครั้ง น้ำเสียงและถ้อยคำสำนวนในจดหมายเป็นที่พอใจฉันมาก จนฉันรู้สึกว่ามีความคุ้นเคยกับเขาเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับภรรยาของเขาก็เป็นที่ชื่นชอบนับถือของบรรดามเหสีของฉัน…
..สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งและน่าสนใจเป็นที่สุด…  ….โปรดช่วยฉันให้ประสบความสำเร็จดังประสงค์เท่าที่ท่านจะทำได้  ฉันจะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างยิ่ง”

เนื่องจากไทยอยู่ในแนวสุริยุปราคาโดยตรง พระองค์จึงทรงหวังว่า จะสามารถโน้มน้าวพสกนิกรของพระองค์ให้เลิกงมงายกับความเชื่อโบราณที่ว่าสุริยุปราคาเกิดจากราหูอมอาทิตย์ ต้องตีฆ้องหรือจุดประทัดให้ราหูตกใจ จะได้คายดวงอาทิตย์อกมาใหม่ โดยหันมายอมรับความจริงว่าสุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถทำนายได้ล่วงหน้า และอธิบายได้ด้วยหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:51
ผู้สังเกตการณ์จากยุโรปจำนวนหนึ่งเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในภูมิภาคส่วนนี้ของโลก รวมทั้งคณะนักสำรวจจากฝรั่งเศสที่เข้ามาในไทยเพื่อการนี้โดยตรง จากการคำนวณของพระจอมเกล้าฯเอง สุริยุปราคาครั้งนี้จะเกิดขึ้นระหว่างเส้นแวงที่๙๙องศา ๔๒ลิปดาตะวันออก และเส้นรุ้งที่๑๑องศา ๓๙ลิปดาเหนือ พระองค์จึงได้เลือกตำบลรกร้างกลางป่าทึบแห่งหนึ่ง ไกลจากกรุงเทพไปประมาณ๑๔๐ไมล์ เป็นที่ทอดพระเนตรปรากฏการณ์ครั้งนี้ พระองค์ทรงเชื้อเชิญชาวต่างประเทศในกรุงเทพรวมทั้งคณะนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ไปชุมนุม ณ ตำบลนั้นในวันที่๑๘สิงหาคม พระองค์ทรงต้อนรับ เลี้ยงดู และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ตามเสด็จอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย ประมาณว่า พระคลังข้างที่ใช้จ่ายในการนี้ไปถึง๒๐๐๐๐ปอนด์ มีการถางป่าเพื่อตระเตรียมที่ทางเป็นอาณาบริเวณกว้างประมาณ๒ไมล์ ปลูกพลับพลา ที่ประทับและที่พักชั่วคราวจนดูคล้ายกับเมืองเล็กๆ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพลับพลาที่หลังคาเลื่อนออกได้ เพื่อตั้งกล้องดูดาวของคณะสำรวจฝรั่งเศส

นายสเตฟาน หัวหน้าคณะสำรวจฝรั่งเศส ซึ่งมาทางบก(เพราะตอนนั้นคลองสุเอชยังไม่ได้เปิดให้เรือแล่นผ่าน) ได้เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยพร้อมข้าราชสำนัก กองทหารและชาวยุโรปจำนวนหนึ่ง เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคโดยเรือกลไฟของกองทัพเรือรวม ๑๒ ลำ มาถึงที่นี่เมื่อวันที่๘สิงหาคม ในขณะที่โดยทางบก ก็ยังมีเกวียนเทียมวัว ม้า และช้างอีก๕๐เชือก”


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:53
ในวันที่๑๖สิงหาคม เซอร์แฮรี่ ออร์ด ผู้ว่าราชการสิงคโปรและภรรยาได้ตามมาสมทบ แต่เนื่องจากวันนั้นเป็นวันอาทิตย์ ผู้ว่าราชการฯและภรรยา ซึ่งต่างเป็ยคริสต์ศาสนิกชนที่เคร่งครัด จึงยังไม่ขึ้นจากเรือจนกว่าจะวันรุ่งขึ้น ขณะที่ขึ้นบกนั้น ก็มีพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการ และยิงสลุต๑๗นัด ในจำนวนผู้ที่ตามเสด็จครั้งนั้น มีเจ้าจุฬาลงกรณ์และพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งโหรประจำราชสำนักจำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าโหรหลวงเหล่านี้มิได้กระตือรือร้นกับเหตูการณ์ครั้งนี้นัก ก็ย่อมจะเป็นที่เข้าใจได้ เพราะถ้าทุกอย่างเป็นไปตามคำทำนาย ก็แสดงว่า วิชาโหรของเขาก็เป็นสิ่งพ้นสมัย เชื่อถือไม่ได้อีกต่อไป


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:55
พลับพลาที่ประทับนั้นตกแต่งด้วยผ้าแดง มีรั้วล้อมรอบ ถัดไปเป็นพลับพลาของอัครมหาเสนาบดี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ว่าราชการสิงคโปร คณะสำรวจจากฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่กงสุลและแขกรับเชิญชาวยุโรป ตามลำดับความสำคัญและสถานะอย่างเคร่งครัด พระจอมเกล้าฯทรงรับรองผู้ตามเสด็จอย่างดี มีทั้งครอบครัวชาวไทย พ่อครัวฝรั่งเศสสำหรับทำอาหารฝรั่ง ในขณะที่มีเหล้าไวน์บริการไม่จำกัด และมีวงดุริยางค์หลวงอีกถึง๒วง คอยบรรเลงขับกล่อมทุกคืน

(ภาพล่างผมหาได้จากเวป บรรยายภาพว่าเป็นที่พักของคณะนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศส)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:57
รุ่งเช้าของวันที่เฝ้ารอมานาน อากาศดี สว่าง สดใส แต่แล้วทุกคนก็ใจหายวูบเมื่อถึงเวลา๑๐.๒๒น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มสุริยุปราคา เพราะมีเมฆเคลื่อนมาบดบังพระอาทิตย์จนมืดมิด คณะนักสำรวจฝรั่งเศสใช้เวลาเตรียมการมานานเป็นแรมเดือน และต้องรอนแรมมาไกลนับหมื่นไมล์ รู้สึกผิดหวังมาก แต่ราวกับว่าเป็นการบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ ก่อนที่สุริยุปราคาจะเต็มดวงเพียง๒๒นาที ท้องฟ้ากลับแจ่มกระจ่าง เห็นดวงอาทิตย์กำลังถูกกลืนได้อย่างชัดเจน และสุริยุปราคาก็เกิดตามกำหนดเวลาที่ทรงคำนวณไว้ไม่ผิดเพี้ยน ดังที่พระองค์เจ้าดิศวรกุมารทรงบันทึกไว้ว่า “มันมืดมิดสนิทเสียจนกระทั่งมองเห็นดวงดาวจำนวนมากเต็มท้องฟ้า”


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:58
ตอนนี้เองที่มีการยิงปืนใหญ่กันสนั่นหวั่นไหว พร้อมกับเสียงประโคมของแตรสังข์ และพระจอมเล้าฯและอัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ต่างร้องตะโกนด้วยความดีใจเป็นภาษาอังกฤษว่า “ฮูรา ฮูรา” เพราะในภาษาไทยไม่มีคำอุทานแบบนี้ แน่นอนที่พระองค์และอัครเสนาบดีต่างก็ดีใจที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นความแม่นยำของการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ในค่ำคืนนั้นพระจอมเกล้าฯโปรดพระราชทานเลี้ยงใหญ่เป็นการอำลา ในขณะที่คงมีแต่โหรหลวงที่ไม่สู้สบายใจนัก  


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ต.ค. 12, 18:59
อย่างไรก็ดี การเสด็จกลับอย่างผู้มีชัยและความปลื้มปิติในความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวในงานทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ครั้งนี้ กลับนำไปสู่เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดใจอันเนื่องมาจากพลับพลาที่ประทับที่โปรดให้สร้าง ณ ตำบลในแนวของสุริยุปราคานั้น อยู่ในที่ลุ่มชื้นแฉะ เป็นแหล่งเพาะไข้มาลาเรีย โดยที่เป็นคราวเคราะห์ที่ไม่มีใครเฉลียวใจฉุกคิดขึ้นมาก่อนว่าจะเป็นตำบลที่จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ด้วยเหตุดังนั้นเอง พระจอมเกล้าฯจึงทรงพระประชวรล้มเจ็บอย่างแรงด้วยพิษไข้มาลาเรีย …..


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 10:47
Bangkok calender 1862  มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับแวดวง ในกทม. สมัยนู๊นมาลง ได้ความรู้ดีทีเดียวครับ

http://books.google.co.th/books?id=XIs0AAAAMAAJ&printsec=frontcover&hl=th#v=onepage&q&f=false

ทำให้เราได้รู้ว่าชาวต่างประเทศแห่มาตั้งสถานกงสุล กันตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครบ้าง

และก็บอกไว้ว่าท่าน อาลาบาศเตอร์ ในปี 1862 มีตำแหน่งเป็น 1st Assistant




กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 10:56
และที่น่าสนใจไปกว่านั้น ก็คือ ใน Bangkok calender 1862 ได้มีการตีพิมพ์ เหตุการณ์ สุริยุปราคาที่จะเกิดขึ้นในปี 1862 ว่าจะมีกี่ครั้ง
เห็นได้ที่ีประเทศใดบ้าง



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 11:03

และใน Bangkok calender 1862 เช่นกันมีการตีพิมพ์ (  จะใช้ว่าทำนาย ดีไหมหนอ  ) ว่าจะเกิดการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่างๆ
ในแต่ละเดือนว่าจะไปไหน เห็นได้เวลาไหน ......

 


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 11:10

มีคำถามว่า นาย DB Bradley ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ตีพิมพ์ Bangkok calender  มีความสามารถ ในการทำนาย การเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้า และตำแหน่งดาวเคราะห์ต่าง ว่าจะไปอยู่ที่ไหน  ดาวดวงไหนจะไปโคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ บ้างวันไหน .....ขนาดนั้นเชียวหรือ ????? ;)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 22:17

ก็แสดงว่าทั้งคนไทยคนต่างชาติ ที่ได้อ่าน Bangkok calender ในปี  1862 ( เข้าใจว่าออกราวเดือน มค. 1862 ) และในปีต่อๆมา ก็รู้ว่าสุริยุปราคา และตำแหน่งของดาวทั้งหลายนั้น จะทราบล่วงหน้าได้จาก Bangkok calender  :)


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 22:53

และจาก Bangkok calender ถึงรู้ว่านาย Bradley เป็นมิชชันนารี และพิมพ์ในนามของ American Missionary Association

ซึ่งถ้าตามไปดูที่ The Presbyterian Almanac ประจำปีก็คล้ายๆกันกับของ Bangkok calender ที่มีเรื่องราวของสุริยูปราคา จันทรุปราคา ตำแหน่งดวงดาวต่างๆ
เรื่องราวของปีที่ผ่านมา, นับว่าชาวคริสเตียน ใช้ความรู้ดาราศาสตร์ที่ทันสมัยไว้โน้มเน้า คนให้เชื่อถือได้ดีทีเดียว

และใครหนอที่บอก สุริยุปราคา และดวงดาวต่างๆได้ล่วงหน้าอีก ?

ก็ที่นี่เลยครับ ........The American Ephemeris and Nautical Almanac for the year 1868

http://books.google.co.uk/books?id=OycOAAAAQAAJ&printsec=frontcover&dq=The+Nautical+almanac+and+astronomical+ephemeris+1868&source=bl&ots=YSV3c-Aoce&sig=jwsqj11VteloLJUP7EpuJ4_szEM&hl=th&sa=X&ei=6f1rUKq2GsLrrQfS-YDQBg&ved=0CFQQ6AEwBw

เขาพิมพ์แจกล่วงหน้าไว้สองปี คือพิมพ์ในปี 1866

และรูปนี้อยู่ในหน้า 414 บอกเส้นทางของสุริยุปราคา ของปี 1868 ว่าจะผ่านประเทศใดบ้าง  มี Thailand อยู่ตรงกลาง แถว Latitude 10 กว่า
นั่นก็คือแถวประจวบคีรีขันท์



กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 03 ต.ค. 12, 23:30
 อยากให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน New York Times ฉบับนี้ครับ

http://query.nytimes.com/mem/archive-free/pdf?res=9D01E4DB103AEF34BC4B52DFB0668382679FDE




กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ต.ค. 12, 16:49
เข้ามาอีกครั้งไม่ได้หมายจะปั่นเรตติ้งนะครับ แต่บังเอิญได้ภาพมาจากอินเทอร์เน็ทก็อยากจะรวบรวมไว้ในกระทู้นี้ เป็นภาพที่ทำการของกงสุลอังกฤษ น่าจะสมัยนายจอมเบิก Sir Robert Schomburgk(เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก) ประมาณปีพ.ศ.๒๔๑๐

การก่อสร้างนอกจากไม้กระดานสร้างบ้านซึ่งหาได้จากท้องถิ่นแล้ว นอกนั้นพวกเครื่องประกอบทั้งหลายต้องสั่งตรงมาจากอังกฤษหมด เพราะไม่มีขายในสยาม ไม่ว่าจะเป็นกุญแจประตู สายยู ลูกบิด และกระจกหน้าต่าง ต้องอิมพอร์ตเข้ามาใช้ในการนี้ทั้งนั้น
นอกจากนี้ในกรุงเทพยังมีสัตว์ป่าอาศัยปะปนอยู่กับมนุษย์ได้ เห็นกันทั่วไป ถ้าเดินลงไปที่สนามก็จะเจองูต่างๆ๑๓ชนิดกับผีเสื้ออีก๒๗ชนิด  
แล้วยังมีแม้แต่คุกอยู่ใต้ถุนสถานกงสุล


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ต.ค. 12, 16:53
เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก ได้สร้างอาคารขึ้นอีกมากมาย เช่น บ้านผู้ช่วยกงสุล เรือนบริวาร และอาคารสำนักงาน ทำให้สถานกงสุลดังกล่าวสามารถใช้เป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตที่สมบูรณ์ได้

ในภาพเป็นบ้านท่านกงสุลเอง


กระทู้: เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ต.ค. 12, 17:10
บ้านทรงเหลี่ยมที่มีระเบียงรอบแบบสถานกงสุลอังกฤษ เรียกว่า Colonial Style หรือเปล่าคะ  
เคยเห็นคล้ายๆอย่างนี้ ยังหลงเหลืออยู่ในกรุงเทพบ้าง แต่ขนาดเล็กกว่าและไม่สวยงามเท่า