เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: มัญชีร ที่ 12 ม.ค. 01, 09:51



กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: มัญชีร ที่ 12 ม.ค. 01, 09:51
เรือนไทยภาคเหนือ ติดกาแลไว้เพื่ออะไรคะ มีความเชื่ออะไรเป็นพิเศษรึเปล่า


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 20 ธ.ค. 00, 18:17
ให้อีกามาแล?
มั่วเจ๊า


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: แฟนลิเก ที่ 20 ธ.ค. 00, 20:35
มันคืออะไรครับ


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: มัญชีร ที่ 21 ธ.ค. 00, 09:37
ให้อีกาไม่แลต่างหากล่ะคะ ถ้าเป้นประโยชน์ในเชิงช่างก็คือติดไว้เพื่อไม่ให้อีกาหรือนกมาเกาะได้ จะได้ไม่ถ่ายมูลเลอะเทอะหลังคา แต่ทีนี้อยากทราบว่า มีความเชื่ออะไรนอกเหนือจากนี้หรือเปล่า


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 21 ธ.ค. 00, 23:33
เรื่องภูมิปัญญาล้านนาเกินความรู้ผมครับ ผ่มค่นต๋าย..
แต่ถ้าจะให้เดา นี่กำลังจะมั่วนะครับ อาจจะมีความเชื่อเรื่องสิริมงคลอะไรเป็นพิเศษมาประกอบด้วยหรือไม่ เป็นไปได้ครับ
ลักษณะกาแลที่เป็นไม้ 2 อันเอามาขวางขัดกันไว้ ชวนให้ผมนึกไปถึงเฉลว ซึ่งก็เป็นไม้เอามาขัดๆ กันไว้เหมือนกันเป็นรูป - ดูคล้ายๆ ดาวหกแฉกหรือแปดแฉก มักปักอยู่เหนือหม้อต้มยาไทยโบราณ (ภาคกลาง) เห็นว่าช่วยฤทธิ์สรรพคุณยาด้วย
คำว่า เฉลว นั้น มีบางคนบอกว่ามาจากคำว่า ตาเหลว แปลว่าดวงตาของนกเหยี่ยว น่าสนใจที่กาแล ก็มีคำว่ากา (นก?) และมีคำว่าแล (ดู?) จะเกี่ยวกันไหมไม่ทราบ
แต่เครื่องหมาย X นั้น เราเรียกเครื่องหมาย "ตีนกา" - กากบาท ไม่ยักเรียกกาแล (แต่ดูหน้าตากากบาทกับกาแลที่หน้าจั่วเรือนไม่ต่างกันเท่าไหร่?)
การเอาไม้มาขัดๆ กันไว้แล้วเชื่อว่ามีอะไรเป็นอำนาจพิเศษอยู่นี้ ฝรั่งก็มี ถ้าจำไม่ผิดไม้ที่ขัดกันเป็นรูปนี้ # ฝรั่งบางคนเรียกว่า hex ว่าเป็นเวทมนตร์แม่มด แต่อันนี้ไม่แน่ใจครับ
มั่วเหมือนเดิมครับ


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: Mr Z ที่ 30 ธ.ค. 00, 11:39
เคยได้ยินมาว่าเป็นเครื่องหมายของการจำนนต่อพม่านะครับ ว่ากันว่าถ้าบ้านไหนไม่มีกาแล พวกพม่าก็จะบุกมาปล้นอ่ะ อันนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับ ได้ยินเค้าเล่ากันมาอ่ะ ไม่ confirm ครับ


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: สอบวา ที่ 12 ม.ค. 01, 21:50
เรือนกาแลแท้ๆ มีองค์ประกอบสำคัญที่เด่นๆ อยู่หลายชิ้นเช่นกาแล กับหัมยนต์ ร้านน้ำ
หัมยนต์ หำยนต์ หำยนนั้นค่อนข้างชัดเจนว่าทำหน้าที่เป็นยันต์ศักดิ์สิทธิ์  เพื่อป้องกันและขับไล่ภยันตรายต่างๆ จากภายนอก  ไม่ให้ผ่านเข้าประตูห้องนอนไปทำร้ายเจ้าของเรือน

กาแล ก๋าแล หรือกาแหลยังไม่มีการสรุปเป็นเรื่องราวกันเลยครับ มีหลายนัยแล้วแต่จะยกความหมายไหนมาคุยกัน  บ้างก็ว่าเพื่อป้องกันแร้งและกามาเกาะหลังคาเรือน  ซึ่งคนล้านนาหรือคนไทยยวนถือว่าเป็นเรื่องอัปมงคล
บางความหมายบอกว่าพม่าบังคับให้ทำ เพื่อให้เห็นว่าผิดกับบ้านเรือนของพม่า
ส่วนอาจารย์ไกรสีห์ นิมมานเหมินทร์ท่านบอกว่าน่าจะรับเอาอิทธิพลของคนลัวะ  ซึ่งเคยปกครองดินแดนล้านนามาก่อน  เรือนลัวะนั้น เวลาทำพิธีเสนเรือนจะใช้เขาควายมาติดด้านหน้ายอดหลังคา  และได้พัฒนามาเป็นการแกะไม้ติดในส่วนยอดของหลังคาแทน  เพื่อแสดงฐานะในภาษาลัวะเรียกส่วนนี้ว่า “กะแหล้” เวลาแผลงไปเป็นสำเนียงยวนที่อ่อนเนิบมากกว่า ก็เลยแผลงเป็น “กาแล” ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับความเชื่อถือกันมากที่สุด


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: สอบวา ที่ 12 ม.ค. 01, 21:51
สำหรับความหมายใหม่ซึ่งยังไม่เป็นที่เผยแพร่กันมากนัก  บอกว่ากาแลเป็นวัฒนธรรมร่วมในการสร้างบ้านของคนไทหลายกลุ่ม  แต่ว่าพัฒนาแตกต่างกันออกไป “กาแล” เป็นส่วนที่วิวัฒนาการมาจากโครงสร้างของบ้านมาแต่โบราณที่มี่ปั้นลมไขว้กัน (อย่างเช่นกระท่อมที่เราเห็นเด็กๆวาดกัน  ภาพกระท่อมจะมีไม้ไขว้กันทั้งหัวและท้ายหลังคา) ทั้งนี้การไขว้กันทำให้สะดวกในการก่อสร้าง และยึดให้ไม้แข็งแรงมั่นคง และปั้นลมที่ไขว้กันนี้พบในอัสสัม พม่าในรัฐไทยใหญ่และกะฉิ่น ลาว
แต่คนล้านนาซึ่งโดยรากฐานนั้นมีจิตใจอ่อนโยนและมีศิลปะสูง ได้พัฒนาปั้นลมที่ไขว้กันเป็นกาแลที่แกะสลักอย่างสวยงาม  
เรื่องราวของกาแลก็เลยยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด  
แต่ที่แน่ๆ กาแลกับเฉลวนั้น  แตกต่างกัน


กระทู้: กาแล
เริ่มกระทู้โดย: สอบวา ที่ 12 ม.ค. 01, 21:51
เฉลวนั้นใช้ในพิธีกรรมของคนไทยแทบทุกภาค ส่วนใหญ่เราจะเห็นเฉลวปักอยู่บนหม้อยา บางทีก็ใช้ในการทำขวัญข้าวตามทุ่งนา และแต่ละภาคก็ใช้แยกย่อยกันอีกที
ในล้านนาออกสำเนียงว่า “ตาแหลว” นอกจากว่าจะใช้ในเรื่องหมอเมือง แล้ว ยังใช้ในเรื่องของพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตรทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นไหว้แม่โพสพ ไหว้ผีขุนน้ำต่างๆ ไหว้ผีขุนฝาย เหมืองน้ำต่างๆ
และยังใช้ตาแหลวปกตินี้ในการทำพิธีสืบชาตาบ้าน (ในพิธีสืบชาตาคนไม่ใช้ตาแหลว)
ตาแหลวของล้านนาที่สานกันเป็นแปดแฉกนั้น   แทนค่าความหมายทิศทั้งแปด ในคติของล้านนานั้น  ทิศทั้งแปดตามคัมภีร์มหาทักษานั้นแทนค่าเดชเมือง ศรีเมือง  อายุเมือง (จำได้เท่านี้ครับ) ทิศทั้งแปดจะอยู่รายล้อมจุดศูนย์กลางที่ตัดกัน ซึ่งเรียกว่าใจเมือง  ดังนั้นตาแหลวแบบนี้จึงใช้ในพิธีสืบชาตาเมือง  ทั้งนี้จะสานกันอย่างดีและสวยงามเป็นพิเศษ ซึ่งเค้ามีคำเมืองเฉพาะเรียกว่า “ตาแหลวพันชั้น” ครับ