เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 20 เม.ย. 11, 14:20



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 เม.ย. 11, 14:20
ถึง  สมาชิกเรือนไทยและผู้ที่ผ่านไปผ่านมาในเรือนไทยทุกท่าน

ท่านทั้งหลายพอจักทราบหรือไม่ว่า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้ง ๓ พระองค์ ได้เคยทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธย
จ.ป.ร.  ว.ป.ร.  และ ป.ป.ร.  ไว้ทั้งหมดกี่แห่ง
ทรงจารึกไว้ ณ สถานที่ใดบ้าง  
ทรงจารึกไว้เมื่อวันเดือนปีใด  

ถ้าได้ภาพประกอบด้วยก็ดี
และถ้าสามารถเรียงลำดับเวลาที่ทรงจารึกด้วยจะดีมาก ;D




กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 14:37
ถามแบบนี้มีคะแนนให้สักกี่มากน้อยขอรับ  ;D ;D ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 เม.ย. 11, 14:45
ถ้าตอบดี  ข้อมูลถูกต้อง มีแหล่งที่มาของเอกสารอ้างอิงชัดเจน
ไม่พิมพ์ตกหล่น  พิจารณาแล้วให้ข้อมูลจารึกแห่งละ  ๑๐  คะแนน
ตกลงตามกติกานี้ ไหม

(นี่ๆ  มันคนละกระทู้กันแล้วคุณไซมีส   อย่าทำให้เขวสิ  :-\)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 14:48
น้ำตกธารเสด็จ เกาะพงัน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาส ๑๔ ครั้ง และทรงสลัก "หิน จ.ป.ร. ที่๑ " ทุกครั้งที่เสด็จประพาส

ก) จารึกบนก้อนหินข้างพลับพลาที่ประทับมีอักษร จปร. ปี ๑๒๖๓ (จุลศักราช),รศ. ๑๒๐,ภปร. ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕ และ ปปร. ๒๔๖๙,๒๔๗๑
(จปร. เป็นพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๕, ปปร. เป็นพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๗ และ ภปร. เป็นพระปรมาภิไธย ย่อของรัชกาลที่ ๙)

ข) จารึกอักษรคำว่า ธารเสด็จ อยู่บริเวณปลายน้ำตก ด้านหน้าพลับพลาที่ประทับ

ค) จารึกพระปรมาภิไธย ภปร. วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๐๕ และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ รพ.๑๐ เมษายน ๒๕๑๕ (รพ. เป็นพระปรมาภิไธยย่อ ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน รัชกาลที่ ๗)

ง) จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ๑๐๘ มีจารึกปีจุลศักราช ๑๒๐๕,๑๒๕๑,๑๒๕๒,๑๒๕๘, ๑๒๖๐,๑๒๖๑ ๑๒๖๒,๑๒๖๓,๑๒๖๗,๑๒๗๑ บนก้อนหินก้อนเดียวกันแต่คนละด้าน ด้านหลังของก้อนหินนี้มีพระปรมาภิไธยย่อ ๑๓๐ วปร. (พระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ ๖) ด้านตรงข้ามลำธารมีหินอีกหนึ่งก้อนที่สลักพระปรมาภิไธยย่อ ปปร.รพ. ๒๔๖๙ ไว้ด้วย

จ) จารึก จปร. อยู่ห่างจากจารึกจุลศักราช ขึ้ไปทางต้นน้ำประมาณ ๒ กิโลเมตรเศษ ชาวบ้านใต้เรียกท้องชะนาง พบไร่ พริก มะเขือ กล้วย จึงได้จารึกอักษร จปร.บรรทัดล่างจารึกว่า ต่อไปมีไร่


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 14:50
พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒ เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๘

เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ  ทอดปากอ่าวเมืองสงขลา
วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  รัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘

ถึง  ท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

ด้วยแต่ก่อนได้บอกข่าวคราวเข้ามาเพียงวันที่ ๒๐ เดือนกรกฎาคม  จะขอบอกข่าวต่อไปตามลำดับ......

เขาคูหาสวรรค์ที่ไปนั้น  เมื่อจะเข้าเขตวัดมีสระ ๆ หนึ่ง  ทางที่เข้าไปมีลูกเขาบังต้องเดิรเฉียงไป  พื้นแผ่นดินแดงเหมือนเขาจันทบุรีตลอด  ที่ตรงน่าวัดมีบ่อ ๆ หนึ่งว่าน้ำจืดสนิท  แต่เวลานี้น้ำแห้ง  มีถ้ำอยู่ที่ลูกเขาข้างน่าเป็นโพรงเล็กๆ  มีพระพุทธรูปขึ้นไปบนชานชั้นบนอีกชั้นหนึ่งสูงสัก ๗ -๘ ศอก  เปนพื้นราบกว้างสักสามสิบวา  มีต้นไม้ใหญ่ปลูกรายรอบร่มรื่นดี  ที่กลางลานนั้นยกพื้นอีกชั้นหนึ่งสูงสักศอกหนึ่ง  มีโบสถ์สามห้องไม่มีผนังอย่างโบสถ์บ้านนอกข้างหัวเมืองตวันตกทั้งปวง  มีพระประธนใหญ่ที่ลานชั้นกลางมีการเปรียญและกุฏิสงฆ์  ลูกพลับพลาประทับร้อนบนนั้น  ว่าข้างภูมที่ท่วงทีเขาดีอย่างยิ่ง  เหมือนอย่างเรานึกทำเล่น  ถ้าจะทำเปนวัดหลวงจะงามกว่าวัดมหาสมณารามมาก

ขึ้นเนินลาด ๆ ไปอีกหน่อยหนึ่งจึงถึงปากถ้ำ  ที่ปากถ้ำนั้นก็มีเทือกเขาบัง  ต้องเดิรเฉียงเข้าไปเหมือนกัน  ถ้ำยาวสักสิบห้าวา  ข้างแคบๆ กว่าหน่อยหนึ่ง  แสงสว่างเข้าได้เต็มน่าเพราะปากช่องใหญ่  ถ้ำนี้เรียกว่าถ้ำน้ำเงิน  เพราะน้ำซึมตะไคร่จับเขียวไปทั้งถ้ำ  มีพระพุทธรูปนอนใหญ่องค์หนึ่ง  นั่งใหญ่องค์หนึ่ง  ย่อมๆ ลงมาอีกยี่สิบหกองค์  พระพุทธรูปนั้นก็น้ำเงินไปด้วยกันโยมาก  ข้างหลังพระมีปล่องลงไปได้จนถึงพื้นล่างมีน้ำ  ในนั้นทำนองถ้ำหมีแควป่าสัก  แต่มืดต้องจุดเทียน  ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. ไว้ที่เพิงน่าถ้ำอีกแห่งหนึ่ง   แล้วเดิรกลับลงมาเลี้ยวไปตามทางข้างเขาอีกหน่อยหนึ่งถึงถ้ำนางคลอด  ปากถ้ำสูงประมาณสี่วา  เปนเวิ้งเข้าไปตื้น ๆ ไม่อัศจรรย์อันใด

รอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ปปร. ภปร. และ พระนามาภิไธยย่อ สก.ที่ผนังถ้ำวัดคูหาสวรรค์  จังหวัดพัทลุง

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/10/K5918661/K5918661-37.jpg)

พระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อ ๒๖ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘)

พระปรมาภิไธยย่อ ปปร. เมื่อ ๒๕ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๗๑

พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ พระนามาภิไธยย่อ สก.  เมื่อ ๑๗ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๐๒

 ;D



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 14:55
แผ่นหินที่จารึกอักษรที่น้ำตกธารประพาส


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 14:59
อักษรพระนามาภิไธย ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่ นอร์ทเคป ครับ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 15:12
อักษรย่อพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงจารึกอักษรย่อพระปรมาภิไธย  จ.ป.ร.  คราวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้และแหลมมลายู ในปี  พ.ศ.  ๒๔๓๓  ได้เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองชุมพรมาประทับ  ณ  เมืองกระ  และเมืองระนอง      เมื่อเสด็จมาถึงแนวเขตแดนระหว่างจังหวัดชุมพรและระนอง      พระองค์ทรงจารึกอักษรย่อพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ไว้บนก้อนหิน ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสทางบก ทางเรือ รอบแหลมมลายูรัตนโกสินทร์ ๑๐๙ ความว่า 

" ในกลางที่แจ้งเป็นตร่อน้ำแบ่ง มีศิลาก้อนใหญ่จมดินครึ่งหนึ่ง  มีก้อนเล็กซ้อน   ซึ่งเห็นจะเป็นก้อนหินลอยทั้งสองก้อน  ให้เขาหามาไว้จะจารึกเห็นก้อนใหญ่จะศูนย์ยากกว่า จึงให้กลิ้งก้อนเล็กลงเสีย ให้กรมสรรพสิทธิ์เขียน จ.ป.ร. อย่างอัฐกับกรมสมมติเขียน ๑๐๙ มอบเครื่องมือให้ผู้ช่วยเมืองไชยาอยู่เราะ แล้วให้รอเขียนอยู่  ๗  มินิต"

http://www.loveranong.com/index.php?topic=63.0


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 15:17
อนุสาวรีย์ศิลาสลักพระปรมาภิไธย ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ในเขตตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้าน จปร. หลักกิโลเมตรที่ 525 ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร ห่างจากตัวเมืองระนอง 86 กิโลเมตร
อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นที่ตั้งของ “หินสลักพระปรมาภิไธย จปร.” ของรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงจารึกไว้ ครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จประพาส โดยขบวนช้างและม้าจากจังหวัดชุมพร มาประทับแรมคืนที่พลับพลาดอนวังทู้ หมู่ที่ 1 ตําบลปากจั่น เพื่อไประนอง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2433  
ได้ทรงทำการแบ่งเขตแดนระหว่างชุมพรกับระนอง ณ หลักกิโมตรที่ 525 ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี และได้ทรงรับสั่งให้สลักพระปรมาภิไธย ย่อ จปร. ลงบนก้อนหินที่อยู่บริเวณนั้น


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 15:19
ที่กล่าวว่าโปรดฯให้สลักอักษร ตามแบบเหรียญ คือ ตามอย่างเหรียญกษาปณ์รุ่นช่อมะกอกนี้ คือ มีอักษรย่อพระปรมาภิไธย ภายใต้พระเกี้ยว


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 15:26
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสถ้ำสาริกา (เดิมชื่อถ้ำหนองตีเหล็ก) ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2442 ในช่วงเวลาที่เสด็จประพาสนั้น เป็นฤดูน้ำหลากทุ่งเขางู ขบวนเรือพระที่นั่งออกจากพลับพลาค่ายหลวงหลุมดิน เสด็จประพาสถ้ำหนองตีเหล็ก ทอดพระเนตรภายในถ้ำจนทั่วแล้วจึงเสด็จขึ้นมาประทับที่แคร่ไม้ปากถ้ำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถ้ำใหม่ว่า ถ้ำสาริกา แล้วโปรดฯ ให้ช่างสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร.๑๑๘ ไว้เหนือปากถ้ำ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ที่ 34


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 15:28
๑. พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.
๒. พระปรมาภิไธย่อภปร.
๓. พระนามาภิไธยย่อ สก.

ที่ตั้ง : ตำบลกะช่อง  อำเภอนาโยง  จังหวัดตรัง
พิกัดแผนที่  : ระวาง ๔๙๒๔ II  ลำดับชุด L ๗๐๑๗ พิมพ์ครั้งที่ ๒ - RTSD จังหวัดตรัง  พิกัดกริด  ๔๗ NNJ ๘๖๖๓๔๔
ประวัติสังเขป
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จ พระราชดำเนินจังหวัดตรัง  เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๑ ได้ทรงใช้รถยนต์พระที่นั่งเสด็จธารน้ำตกโตนปลิว เขากระช่อง  และทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ปปร.ที่ข้างลำธาร ตำหนักโปร่งฤทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ  และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎรที่ตำบลนาโยงเหนือ จังหวัดตรัง  เมื่อวันที่ ๑๗  มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒  และทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. และ พระนามาภิไธยย่อ สก. ไว้บนหน้าผาน้ำตกเดียวกับพระ ปรมาภิไธยย่อ ปปร. ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๗



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 15:34
พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒ เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๘

เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ  ทอดปากอ่าวเมืองสงขลา
วันที่  ๒๙  กรกฎาคม  รัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘

ถึง  ท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

ด้วยแต่ก่อนได้บอกข่าวคราวเข้ามาเพียงวันที่ ๒๐ เดือนกรกฎาคม  จะขอบอกข่าวต่อไปตามลำดับ......

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/10/K5918661/K5918661-30.jpg)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/10/K5918661/K5918661-31.jpg)

 ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 15:41
1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ วปร.

สถานที่ : น้ำตกธารมะยม เกาะช้าง จังหวัดตราด

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จน้ำตกธารมะยมถึง 9 ครั้ง โปรดให้บันทึกบรรยายความงามของน้ำตกธาร มะยมไว้อย่างละเอียด และมีการจารึกพระปรมาภิไธยย่อ " จ.ป.ร. " ไว้ที่น้ำตกทั้ง 3 ชั้น

การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งที่ 2 พ.ศ. 2419  นอกจากทรงจารึกพระปรมาภิไธย และปีที่เสด็จแล้ว พระองค์ทรงทำ "เกรน" หรือกองศิลา ไว้เป็นที่ระลึกแห่งหนึ่งใกล้ๆ บริเวณน้ำตก โดยทรงพระราชหัตถเลขาว่า
" เราสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม รัชกาลที่ 5 ได้มาถึงที่นี้ 2 ครั้งๆ หนึ่งเมื่อปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235  กับครั้งนี้วัน 4 ฯ 2 ค่ำ ปีชวด อัฐศก ศักราช 1238  เราทั้งปวง บรรดาที่มาพร้อมกันได้ลงชื่อไว้ท้ายหนังสือนี้ " พร้อมทั้งลงพระพระปรมาภิไธยของพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จ
เสร็จแล้วพับแผ่นกระดาษนั้นบรรจุในกล่องตลับยาสูบเงินนอก แล้วใส่ลงในถ้วยน้ำชาที่มีตราประจำพระองค์ พร้อมเอาจานปิดทับข้างบนไว้ วางถ้วยลงบนพื้นหินและเอาหินก้อนเล็กก้อนใหญ่วางทับไว้ ต่อมา มีการค้นหาเกรนแห่งนี้ แต่ไม่พบร่องรอยแต่อย่างใด

และในปีพ.ศ. 2464  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ น้ำตกธารมะยม และโปรดเกล้าให้สลักพระปรมาภิไธยย่อ วปร. และปีพ.ศ. ที่เสด็จไว้ด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 15:42
อักษรพระนามาภิไธย ที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ที่ นอร์ทเคป ครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4355.0;attach=18496;image)

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ รัชกาลที่ ๕ เสด็จเยือนแหลมเหนือหรือนอร์ทเคป ประเทศนอร์เวย์

จากพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน

...พระยาชลยุทธได้ตระเตรียมเครื่องมือขึ้นมาตามเคยที่จะจาฤก จ.ป.ร. แต่อยู่ข้างกันดารมาก จะหาศิลาก้อนใหญ่บนนั้นไม่มีเลย มีอยู่ก้อนเดียว ซึ่งเปนศิลาติด ไม่ใช่กลิ้งได้ ลงมือปราบน่า พวกช่างไม้แลคนที่หามรวม ๕ คน ด้วยกัน ช่วยกันสกัด พ่อไปเขียน จ.ป.ร. แลเลขฝรั่ง ๑๙๐๗ แล้วพวกนั้นสกัด สกัดของเขาดีแลคนทำงานก็แขง ๕ คนเท่านั้น ไม่ช้าเท่าใดก็แล้ว พวกเราไปพักถ่ายรูปแลกินของต่าง ๆ ซื้อโปสก๊าดเขียนโปสก๊าด จนการแล้วเสร็จ ไปถ่ายรูปในที่นั้น ออกคิดถึงพวกแตรของเรา เพราะธรรมเนียมสลัก จ.ป.ร. เวลาแล้ว เคยเป่าแตรบอกสำเร็จ ถ้าเรือมหาจักรีมาเปนได้เป่ากัน...

 ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 15:43
อนุสาวรีย์แห่งความรัก - น้ำตกพลิ้ว

แม้ว่าบริเวณน้ำตกพลิ้วจะไม่ได้สลักพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. แต่สถานี้ก็เป็นประจักษ์พยานได้ถึงการเสด็จสร้างอนุสาวรีย์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และมีการจารึกอักษรไว้ สร้างเป็นอนุสาวรีย์ไว้ ๒ อย่าง แบบเจดีย์ (อลงกรณ์เจีดย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ และแบบปิรามิด เพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 15:56
1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : ถ้ำพระยานคร อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด อ.กุยบุรี และกิ่งอำเภอสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
ประวัติ :
ถ้ำพระยานคร เป็นถ้ำขนาดใหญ่ บนเพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ จุดเด่นของถ้ำแห่งนี้ คือ "พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์" เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2433 เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งมาประกอบทีหลังโดยให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมายกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง ที่กำแพงหินด้านขวามีพระปรมาภิไธยย่อในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7(พ.ศ. 2469) เป็นตัวหนังสือใหญ่สีขาวสะดุดตา พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์นับเป็นจุดเด่นของถ้ำพระยานคร และเป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 16:08
เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี

แหลมหิน จปร. เป็นที่ตั้งของหินสลักพระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ริมหาดทรายรี เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการเสด็จประพาสทางทะเล


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 16:11
พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๔

เรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ  ทอดที่ปากน้ำเมืองหลังสวน
วันที่  ๑๐  สิงหาคม  รัตนโกสินทร๒๒ศก ๑๐๘

ถึง  ท่านกลาง แลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

..................

วันที่  ๑๐  ก่อนกินเข้าไปที่สวนพระยาจรูญ  อยู่ใต้บ้านลงมาหน่อยหนึ่ง  ปลูกมะพร้าว หมาก พลู กาแฟ มังคุด มะไฟ เงาะ และต้นผลไม้เมืองจีนต่าง ๆ  ทั้งกานพลู จันทน์เทศ  ทุเรียนลางสาดนั้นเปนพื้นสวน  เวลาบ่ายลงเรือขึ้นไปตามลำน้ำ  น้ำเชี่ยวหนักขึ้นไปทุกที  จนพอที่จะเรียกว่าเรี่ยวว่าแก่งได้  แต่แปลกันกับข้างไทรโยค  แม่น้ำนั้นดูค่อย ๆ สูงขึ้นไป  มีที่น้ำเชี่ยวน้ำอับ  แต่ในแม่น้ำนี้ไม่มีที่น้ำอับ  มีแต่เชี่ยวมากเชี่ยวน้อย  แลเห็นน้ำสูงได้ในระยะใกล้ ๆ

เรือไฟทอนิครอฟต์ลากขึ้นไปสองชั่วโมงกับ ๔๕ มินิตถึงน่าถ้ำเขาเอ็น  เปนถ้ำเสมอพื้นตลิ่ง   ที่ต้องขึ้นนั้นขึ้นตลิ่งมิใช่ขึ้นเขา  แต่ศิลาน่าผาชันสูงใหญ่ดูงามดี  ทีสามถ้ำด้วยกัน  ถ้ำกลางตรงน่าไม่สู้กว้างใหญ่  ปากถ้ำเปิดสว่าง  มีพระพุทธรูปโตบ้างย่อมบ้าง ปิดทองใหม่ ๆ หกองค์  พระศิลาพม่าของพระยาระนองและพระยาหลังสวนมาตั้งไว้ ๒ องค์  ได้จารึกอักษรตามที่เคยจารึกไว้ที่ผนังถ้ำ  และให้สร้างพระเจดีย์ซึ่งทำค้างอยู่ที่ชง่อนศิลาน่าถ้ำองค์หนึ่ง  ถ้ำอีกสองถ้ำนั้นอยู่บนไหล่เขาสูงขึ้นไป  ถ้ำหนึ่งฉันไม่ได้ไปดู  เขาว่ากว้างเท่า ๆ กันกับถ้ำล่าง  เปนแต่ลึกเข้าไป  อีกถ้ำหนึ่งต้องเดิรเลียบเขาห่างตลิ่งเข้าไปหน่อยหนึ่ง  ปากถ้ำแคบในนั้นมืด  ได้ไปมองดูที่ปากช่องจะไม่โตกว่าถ้ำกลางมากนัก  แต่เปนคั้งค้าวจอกแจกไปทั้งถ้ำ  เวลาเย็นเสียแล้วจึงได้รีบกลับมา


ถ้ำเขาเอน ซึ่งเสด็จประพาสในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒  ทรงให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ถ้ำเขาเงิน

รอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. และ ร.ศ. ๑๐๘  ที่ผนังถ้ำเขาเงิน

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/10/K5918661/K5918661-61.jpg)

 ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 16:11
ถ้ำเขาเงิน จ.ชุมพร

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกโดยลำดับ ถึงเมืองหลังสวนเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘ ประทับแรมที่พลับพลาตำบลบางขันเงิน

ครั้นถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม เสด็จพระราชดำเนินมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำดับถึง วัดถ้ำเขาเอนนี้ มีพระเจดีย์ที่ทำค้างอยู่ที่ชะง่อนศิลาหน้าถ้ำ ได้ทรงนมัสการแล้ว ทรงดำริว่า ควรจะสถาปนาพระเจดีย์ขึ้นไว้ให้เปนที่ระฤก ถึงการที่ได้เสด็จมาประพาสถึงตำบลนี้ และจะได้เปนที่สักการะบูชาของพุทธสาสนิกชนสืบไปสิ้นกาลนาน จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นี้ขึ้นไว้ และให้เปลี่ยนนามถ้ำนี้ใหม่ ให้เรียกว่าถ้ำเขาเงินต่อไป...”

ลายมือที่จารึกไว้ยังมีต่อพอจะได้ใจความอีกว่า...

“ต่อมาผู้ว่าราชการพร้อมด้วยกรมการได้ลงมือก่อพระเจดีย์ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๑ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๑ (สมัยก่อนนับเดือนเมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่) สิ้นพระราชทรัพย์ ๔ ชั่ง ๓๖ บาท ๒๖ อัฐ แล้วได้ทำการฉลองในวันที่ ๒๖ มีนาคม ร.ศ.๑๑๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จาฤกประกาศพระบรมราชูทิศไว้ในแผ่นศิลาติดไว้ที่ฐานพระเจดีย์นี้ เพื่อเป็นที่มหาชนผู้มานมัสการได้อนุโมทนาในพระราชกุศลผล บุญราสีนี้ ฯ”



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 16:14
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : วัดถ้ำคีรีวงศ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษมไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5.5 กิโลเมตร

ประวัติ :
ในสมัยที่ หลวงปู่ม่วง ยังมีชีวิตอยู่ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาพบหลวงปู่ม่วงที่วัดคีรีวงศ์ โดยโปรดให้จารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ที่ผนังถ้ำด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 16:16
ครั้นถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม เสด็จพระราชดำเนินมาทางชลมารค ขึ้นมาตามลำดับถึง วัดถ้ำเขาเอนนี้ มีพระเจดีย์ที่ทำค้างอยู่ที่ชะง่อนศิลาหน้าถ้ำ ได้ทรงนมัสการแล้ว ทรงดำริว่า ควรจะสถาปนาพระเจดีย์ขึ้นไว้ให้เปนที่ระฤก ถึงการที่ได้เสด็จมาประพาสถึงตำบลนี้ และจะได้เปนที่สักการะบูชาของพุทธสาสนิกชนสืบไปสิ้นกาลนาน จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจรูญราชโภคากร ผู้ว่าราชการเมืองหลังสวน ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นี้ขึ้นไว้ และให้เปลี่ยนนามถ้ำนี้ใหม่ ให้เรียกว่าถ้ำเขาเงินต่อไป...

พระเจดีย์ซึ่งทำค้างอยู่ที่ชะง่อนศิลาหน้าถ้ำ ซึ่งเดิมมีแต่ฐาน  โปรดเกล้าฯ ให้พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก  ณ  ระนอง) เจ้าเมืองหลังสวนปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ขึ้นไว้


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 16:17
สัตหีบ จ.ชลบุรี

เมื่อเวลา ๒๑.๒๘ ของค่ำวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๐๙ พระอัจฉริยภาพทางด้านการแล่นในพระอัจฉริยภาพทางช่างผ่านงานฝีพระหัตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยด้วยความปลื้มปีติ

 
เมื่อพระองค์ทรงทรงแล่นใบข้ามอ่าวไทยด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง จากหน้าวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ฝ่าคลื่นและลมหลากรูปแบบ ตามลักษณะภูมิประเทศ ข้ามอ่าวมาถึงอ่าวเตยงาม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี


และได้ปักธงราชนาวิกโยธินที่พระองค์ทรงนำไปด้วย บนยอดหินใหญ่ชาดหาดหน้ากองบัญชาการนาวิกโยธิน

ณ ศิลาประวัติศาสตร์นั้นได้สลักความไว้ว่า


ณ ที่นี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จอมทัพไทย
ได้ทรงเรือใบขนาด 13 ฟุต ด้วยพระองค์เองพระองค์เดียว
จากหัวหินมาถึงสัตหีบ เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509
เริ่มเวลา 04.28 ถึงเวลา 21.28
ทั้งนี้เป็นพระปรีชาสามารถอย่างยอดเยี่ยม
เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์
กองทัพเรือได้ขอพระราชทานพระมหากรุณา
ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้เป็นสิริมงคล
และเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป






กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 เม.ย. 11, 16:20
อืมม์  มีจารึกอักษรพระปรมาภิไธยหลายแห่งเลย

ไม่ทราบว่าหมดหรือยัง  หรือยังมีอีก ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 16:26
ยังมีอีกเยอะค่ะ ...
คุณ luanglek อาจจะดูยากหน่อยและอาจจะมีข้อมูลซ้ำกัน แนะนำให้ลองรวบรวมเป็นรายจังหวัดจะสะดวกขึ้นค่ะ..
ไม่ทราบว่า คุณ luanglek จะทำรายงาน หรือรวบรวมข้อมูลไปทำอะไรคะ (จะได้ช่วยกันหาข้อมูลได้ตรงวัตถุประสงค์  ;D)
น่าจะมีโปรเจคไปเก็บข้อมูลในสถานที่จริงนะคะ จะได้ยกแก๊งส์ลูกน้ำไปเที่ยว เอ้ย!ไปช่วยงานค่ะ.. ;D


พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : วนอุทยานถ้ำผาไท ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กม.

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไท เมื่อพุทธศักราช 2469  และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ปปร. ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสครั้งนั้น


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 20 เม.ย. 11, 16:37
ยังมีอีกเยอะค่ะ ไม่ทราบว่าคุณluanglek จะทำรายงาน หรือรวบรวมข้อมูลไปทำอะไรคะ (จะได้ช่วยกันหาข้อมูลได้ตรงวัตถุประสงค์  ;D)
น่าจะมีโปรเจคไปเก็บข้อมูลในสถานที่จริงนะคะ จะได้ยกแก๊งส์ลูกน้ำไปช่วยงาน.. ;D


ผมไม่ได้เอาไปทำรายงานส่งหรอกครับ
พอดีไปอ่านเจอบทความชิ้นหนึ่งในหนังสือใกล้มือ
ก็เลยสนใจอยากจะทราบว่า  จารึกอักษรพระปรมาภิไธย
รัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗  มีทั้งหมดกี่แห่ง  แต่ละแห่งจารึกขึ้นเมื่อใด
จึงได้เอามาให้สหายในเรือนไทยช่วยกันค้นหาให้หน่อย
ใครผ่านไปผ่านมา  เห็นแล้วจะได้อ่านและทราบข้อมูลด้วย

ส่วนใครสนใจจะจัดทริปวางแผนตามรอยจารึกอักษรพระปรมาภิไธย
ก็เชิญเถิด   ท่าทางจะสนุกดี   แต่ผมคงไม่ไป
เพราะมีงานต้องทำหลายอย่าง

ป.ล.   ขอบคุณสหายทั้งหลายที่ช่วยค้นข้อมูลมาเสนอกัน
แต่ขอกระซิบดังๆ ว่า   ยังมีจารึกอักษรพระปรมาภิไยอีกหลายแห่งนะครับ
ที่ตอบมานี่  ได้สัก  ๑  ส่วนใน ๕ ส่วนกระมัง ;D 8)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 16:44
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : ถ้ำค้างคาว (ถ้ำระฆัง) บริเวณค่ายบุรฉัตร ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี

ประวัติ :
ที่ผนังถ้ำมีจารึกลายฝีพระหัตถ์พระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” พร้อมกับตัวเลข “๑๑๘” สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสถ้ำนี้เมื่อ รศ. 118 (พ.ศ.2442)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 16:45
น้ำตกกระโรม จ.นครศรีธรรมราช

น้ำตกกระโรมซึ่งเป็นเขตที่จัดว่าอากาศดีที่สุดในประเทศไทย แต่ไม่ทราบติดอันดับดีที่สุดในโลกหรือเปล่า น้ำตกแห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ดิฉันจะพาไปถึงชั้นที่ 7 เท่านั้น เพราะเป็นชั้นที่สวยงามอีกชั้นหนึ่ง และชั้นนี้มีความสำคัญมากๆคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ท่านเคยเสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้ และพร้อมกับทรงสลักพระปรมาภิไธยไว้ที่หน้าหินผาแห่งนี้ด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 16:48
ผาเสด็จ จ.สระบุรี

ผาเสด็จ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลทับกวางใกล้กับสถานีรถไฟผาเสด็จ มีหินผาขนาดใหญ่เป็นชะง่อนยื่นออกมาขวางเส้นทางรถไฟสายแก่งคอย -มวกเหล็กซึ่งวิศวกรชาวฝรั่งเศลพยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่านก็ไม่สามารถระเบิดได้ มีคนงานเสียชีวิตในระหว่างก่อสร้างเป็นจำนวนมากจนกระทั่งความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงเสด็จมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2438 เพื่อทอดพระเนตร และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ "จปร" "สผ" "รศ.115" ไว้บนก้อนหินนั้น ซึ่งยังคงมีจารึกอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 16:58
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :ถ้ำจอมพล จังหวัดราชบุรี

ประวัติ :
เป็นถ้ำประวัติศาสตร์ที่คนราชบุรีภาคภูมิใจ ซึ่ง 3 กษัตริย์ไทยเคยเสด็จประพาส ปรากฏหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ภปร. และ มวก. สลักบนแผ่นหินปากทางเข้าถ้ำ
-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสถ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2438 ทรงพระราชทานตั้งชื่อเป็น ถ้ำจอมพล
-พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสถ้ำจอมพล ในคราวที่ทรงนำกองพลเสือป่ามาซ้อมรบในจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2457
-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จฯ ประพาส เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยได้ทรงปลูกต้นสัก ต้นกัลปพฤกษ์ และ ต้นนนทรี ไว้เป็นที่ระลึกที่บริเวณหน้าถ้ำ
-สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้เสด็จฯ ประพาสถ้ำจอมพลแห่งนี้ และเสวยพระกระยาหารกลางวันที่บริเวณสวนรุกขชาติ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2520


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 17:07
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :วัดพระพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉายหลายครั้ง ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อ รศ. ๗๙ รศ.๙๑ รศ.๑๐๔ และรศ. ๑๑๕ ณ บริเวณใกล้กับที่ปรากฏภาพพระพุทธฉายด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 เม.ย. 11, 17:24
1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ วปร.
3.พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.
4.พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.

สถานที่ : เกาะพะงัน จ.สุราษฏร์ธานี
ประวัติ :
ราษฎรชาวเกาะพะงันถือกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เคยเสด็จประพาสหลายรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 โดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสน้ำตกธารเสด็จรวม 14 ครั้ง ปรากฏตามหลักฐาน พระปรมาภิไธยย่อ จปร , วปร , ปปร และ ภปร ที่ทรงจารึกไว้ที่ก้อนหินบริเวณใกล้ๆ น้ำตก มีการตั้งศาลให้กราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นศิริมงคลหรือจะบนบานขอโชคลาภก็แล้วแต่


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 19:30
น้ำตกกระโรม จ.นครศรีธรรมราช

น้ำตกกระโรมซึ่งเป็นเขตที่จัดว่าอากาศดีที่สุดในประเทศไทย แต่ไม่ทราบติดอันดับดีที่สุดในโลกหรือเปล่า น้ำตกแห่งนี้มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ดิฉันจะพาไปถึงชั้นที่ 7 เท่านั้น  เพราะเป็นชั้นที่สวยงามอีกชั้นหนึ่ง และชั้นนี้มีความสำคัญมากๆคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ท่านเคยเสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้ และพร้อมกับทรงสลักพระปรมาภิไธยไว้ที่หน้าหินผาแห่งนี้ด้วย

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=595731

 ;D  ???  ;D  ???


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 เม.ย. 11, 06:28
จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๖๐ บันทึกเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินน้ำตกกระโรมไว้ว่า

วันเสาร์ที่  ๑๒  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๐
เสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกที่ ๑ “หนานราง”  น้ำตกที่ ๒ “สนานเตย”
และน้ำตกที่ ๓ “สนานดาดฟ้า”   ตำบลกะโรม  จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
เนื่องจากหนทางที่จะขึ้นไปที่หน้าผาใหญ่ริมทางน้ำตกเป็นหลืบศิลาใหญ่เลี่ยนลื่น
จะโปรดเกล้าฯ ให้ทำนั่งร้านขึ้นไปก็เป็นการฉุกละหุกและลำลาก  จึงมีพระราชดำรัสสั่ง
ให้ผูกเชือกเส้นใหญ่ไว้กับต้นไม้บนเขา  แล้วทรงพระราชวีรยะไต่เส้นเชือกนั้นขึ้นไปถึงหน้าผาสูง
ทรงดินสอพองจารึกพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. แล พ.ศ. ๒๔๖๐ ที่หน้าผาเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนิน
ทรงค้อนเหล็กสลักศิลาตามรอยพระบรมนามาภิไธยเป็นสังเขป  แล้วทรงจุณเจิม 
หมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป่าแตรสั้นถวายคำนับตามธรรมเนียมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชนิยมมา



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 เม.ย. 11, 06:30
ทรงดินสอพองจารึกพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. แล พ.ศ. ๒๔๖๐ ที่หน้าผาเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนิน



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 07:06
ส่วนตราด้านข้างถ้าจำไม่ผิด ก็เป็นของสมเด็จวังบูรพา หรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ เป็นภาพดวงอาทิตย์เปล่งรัศมีแฉก ลอยขึ้นเหนือนำ และพ.ศ. ๒๔๕๘ เบื้องล่าง


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 09:48
พระปรมาภิไธยย่อ วปร.

สถานที่: น้ำตกคลองเจ้า (น้ำตกอนัมก๊ก หรือน้ำตกธารสนุก) เกาะกูด จังหวัดตราด

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ.2454 และทรงพระราชทานนามน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ “องค์เชียงสือ” กษัตริย์ญวนผู้ก่อตั้งราชวงศ์เหงียนขึ้นเป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม ที่เคยเข้ามาลี้ภัยการจลาจลตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้ช่วยปราบโจรสลัด ในน่านน้ำทะเลตราด โดยได้สลักพระปรมาภิไธยย่อ "วปร. ๑๓๐"  ไว้บนแผ่นหิน และใกล้กันนั้นโปรดให้สลักอักษร "ภส BS ๑๑๔"
ซึ่งเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าภานุรังสีสว่างวงศ์  กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 09:55
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :ผาเสด็จ หมู่ที่ 5 ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ประวัติ :
ใกล้กับสถานีรถไฟผาเสด็จ มีหินผาขนาดใหญ่เป็นชะง่อนยื่นออกมาขวางเส้นทางรถไฟสายแก่งคอย -มวกเหล็ก ซึ่งวิศวกรชาวฝรั่งเศลพยายามจะระเบิดทำลายเพื่อจะทำทางรถไฟผ่าน แต่ไม่สามารถระเบิดได้ มีคนงานเสียชีวิตในระหว่างก่อสร้างเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งความทราบถึงพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงเสด็จมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2438  เพื่อทอดพระเนตร และได้ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ "จปร." "สผ." "รศ.115" ไว้บนก้อนหินนั้น ซึ่งยังคงมีจารึกอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 10:28
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :ถ้ำสาริกา อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานชื่อ ถ้ำสาริกา เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดราชบุรีเป็นครั้งที่หก ในปี พ.ศ.2442 และทรงสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ไว้บนผนังถ้ำบริเวณปากทางเข้าถ้ำ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 10:48
พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : วัดคูหาภิมุข (วัดหน้าถ้ำ) เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ได้เสด็จมาประทับแรมที่วันแห่งนี้ ในปีพ.ศ. 2472 และโปรดให้สลักพระปรมาภิไธย ย่อ ป.ป.ร. ที่ผาหินภายในวัดคูหาภิมุข นี้ด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 10:59
1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : วัดสุวรรณคูหา (วัดถ้ำ) หมู่ที่ 2 ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ห่างจากตัวเมืองพังงาประมาณ 9 กิโลเมตร
ประวัติ :
เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดี มีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดิน และพระราชวงศ์หลายพระองค์ เช่น จปร. ปปร. ภปร. ฯลฯ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 11:09
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : โบราณสถานลายพระหัตถ์ ตั้งอยู่ในเขตบ้านโคกขวาง ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดราชบุรี

ประวัติ :
โบราณสถานลายพระหัตถ์ หรือเมืองนางอมรเทวี คือซากเทวาลัยสมัยลพบุรี อายุสมัยเดียวกับเมืองศรีมโหสถ และเมืองนางอมรเทวี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ก่อด้วยฐานศิลาแลงเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่ปรักหักพังคล้ายผิวจอมปลวก
ใน รศ. 127 (พ.ศ.2451)  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้ และได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ย่อไว้ที่แผ่นศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสูง 1.00 เมตร กว้าง 0.50 เมตร ยาว 1.00 เมตร อันตั้งอยู่บนฐานเทวาลัยว่า “จ.ป.ร.127”  ซึ่งพระปรมาภิไธยย่อนี้ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ราษฎรได้ร่วมกันสร้างมณฑปครอบไว้

เรียนถามค่ะ  ???
ด้านขวามือ เคียงกับพระปรมาภิไธย จปร. เป็นลายจารึกพระนามย่อของพระองค์ใด คะ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 11:35
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : เกาะลังกาจิว ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร

ประวัติ :
เกาะลังกาจิว เป็นเกาะสัมปทานรังนกนางแอ่น ปรากฏรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร.ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จทอดพระเนตรการเก็บรังนก


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 11:40
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ : โบราณสถานลายพระหัตถ์ ตั้งอยู่ในเขตบ้านโคกขวาง ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดราชบุรี

ประวัติ :
โบราณสถานลายพระหัตถ์ หรือเมืองนางอมรเทวี คือซากเทวาลัยสมัยลพบุรี อายุสมัยเดียวกับเมืองศรีมโหสถ และเมืองนางอมรเทวี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ก่อด้วยฐานศิลาแลงเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่ปรักหักพังคล้ายผิวจอมปลวก
ใน รศ. 127 (พ.ศ.2451)  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้ และได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ย่อไว้ที่แผ่นศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดสูง 1.00 เมตร กว้าง 0.50 เมตร ยาว 1.00 เมตร อันตั้งอยู่บนฐานเทวาลัยว่า “จ.ป.ร.127”  ซึ่งพระปรมาภิไธยย่อนี้ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ราษฎรได้ร่วมกันสร้างมณฑปครอบไว้

เรียนถามค่ะ  ???
ด้านขวามือ เคียงกับพระปรมาภิไธย จปร. เป็นลายจารึกพระนามย่อของพระองค์ใด คะ

ก็คุณดีดี ได้ตอบไว้แล้ว ไงครับ เป็นการสลัก คำว่า "รศ และ ๔๑ อันเป็นเลขปีที่พระองค์ครองราชย์ในราชสมบัติ ตามด้วย ๑๒๗ รัตนโกสินทร์ศก" ไงครับ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 11:53
^ ขอบพระคุณค่ะ สำหรับคำชี้แนะ ไม่งั้นหนูคงงงไปอีกนานค่ะ  ;D

1.พระปรมาภิไธยย่อ จปร.
2.พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : ถ้ำพระยานคร อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบถึงความสวยงามของถ้ำพระยานคร และมีพระประสงค์จะเสด็จประพาส จึงตรัสสั่งให้นายช่างประจำราชสำนักออกแบบพลับพลาแบบจตุรมุขขนาดย่อม กว้าง ๒.๕๕ เมตร ยาว ๘ เมตร สูง ๒.๕๕ เมตร (วัดถึงช่อฟ้า) แล้วนำไปประกอบติดตั้ง ดังปรากฏในจดหมายเหตุคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู พ.ศ. ๒๔๓๓ ตอนหนึ่งว่า
"วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๓ (ร.ศ.๑๐๙) เวลาบ่ายสามโมงเศษ เสด็จลงเรือกระเชียงไปขึ้นหาดทรายหน้าเขาสามร้อยยอด แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับในถ้ำใหญ่มียกช่อฟ้าพลับพลาในถ้ำด้วย พลับพลานี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์(ปรุง)ส่งไปแต่กรุงเทพฯ พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานยกคุมขึ้นตั้งแต่กลางคืนวันที่ ๑๙ พอเสด็จขึ้นถึงก็พอแล้วเสด็จโปรดให้ยกช่อฟ้าพลับพลา ทหารถวายคำนับเป่าแตรด้วยแล้วเสด็จขึ้นมาประทับบนพลับพลาพระราชทานนามว่า พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์  พร้อมกับลงพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ไว้ที่ผนังทำด้านเหนือของพลับพลา เวลาบ่าย ๕ โมง เสด็จกลับลงเรือพระที่นั่งประทับแรมที่นี่"

ต่อมาสมัยสมเด็จพนระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จประพาสทางชลมารค เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๖๙  และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำด้านทิศตะวันตกของพลับพลา



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 12:19
พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : น้ำตกปาโจ จังหวัดนราธิวาส

ประวัติ :
ปี พ.ศ. 2471 สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเยือนน้ำตกแห่งนี้ และได้ลงพระปรมาภิไธยย่อของพระองค์ท่านไว้บนหินก้อนหนึ่งที่น้ำตกแห่งนี้ด้วย ในครั้งนั้นทางจังหวัดได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นเพื่อรับเสด็จ และพลับพลาแห่งนี้ได้ชื่อว่า พลับพลา “ศาลาธารทัศน์” ปัจจุบันเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของนำตกปาโจ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 12:44
พระปรมาภิไธยย่อ ปปร.

สถานที่ : ถ้ำเขาปินะ หมู่ที่ 7 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ประวัติ :
เขาปินะเป็นเขาหินปูนภายในกลวงเป็นถ้ำจนถึงยอดเขา มีลักษณะคล้ายกะทะคว่ำอยู่ท่ามกลางสวนยางและทุ่งนา มีความต่างระดับถึง 6 ระดับ  บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดปินะ มีบันไดขึ้นไปชมถ้ำ ซึ่งมีอยู่หลายชั้นและชมทิวทัศน์รอบ ๆ เขาได้ และที่สำคัญบนเพิงผาส่วนของถ้ำจำปาบริเวณที่สูงที่สุดของเขา มีอักษรจารึก “ปปร.” พระปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 7 ปรากฏอยู่


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 เม.ย. 11, 13:34
คุณดีดีช่วยทำสรุปให้หน่อยได้ไหมครับว่า
ตอนนี้เราได้จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
ในสถานที่แห่งใดมาบ้างแล้ว  และแต่ละที่จารึกขึ้นเมื่อใด
ขอบคุณมากๆ มาล่วงหน้า ;D ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 13:54
ยินดีค่ะ  ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 15:13
ได้ 30 รายการค่ะ
(อ้อ! มี แหลมเหนือหรือนอร์ทเคป ประเทศนอร์เวย์ 12/07/2450 รัชกาลที่ 5 อีกหนึ่งรายการค่ะ)  ;D
น่าสังเกตว่าไม่มีภาคอีสานเลยนะคะ...


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 15:26
^
^
ความพยายามยอดเยี่ยม


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 15:30
ยอดเยี่ยมครับ คุณดีดี  //// คุณหลวงต้องให้รางวัลคุณดีดีบ้าง  >:(


รายการที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๐๓ เลยหรอ คุณดีดี ??? บวกตัวเลขผิดไปหรือเปล่าครับ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 15:39
พระปรมาภิไธยย่อ จปร.

สถานที่ :วัดพระพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉายหลายครั้ง ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร. เมื่อ รศ. ๗๙  รศ.๙๑ รศ.๑๐๔ และรศ. ๑๑๕ ณ บริเวณใกล้กับที่ปรากฏภาพพระพุทธฉายด้วย



น่าจะไม่ผิดนะคะ
จาก http://www.watphraphutthachai.com/watphrabuddhachay/boransatan/boran7.htm (http://www.watphraphutthachai.com/watphrabuddhachay/boransatan/boran7.htm) ค่ะ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช หรือ พระพุทธเจ้าหลวง
รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธฉาย ๔ ครั้ง คือ ร.ศ. ๗๙  
(พ.ศ.๒๔๐๓)  , ร.ศ. ๙๑ (พ.ศ.๒๔๒๘) ,ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙)

วันจันทร์ที่ ๑๗ ธันวาคม เวลาเช้า หนึ่งโมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จทรงม้าพระที่นั่ง ออกพลับพลาไปตามทางหลวงข้ามทางรถไฟออกทุ่งนา และเข้าดงถึงพระพุทธฉาย เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ระยะทาง ๒๒๓ เส้น มีพระสงฆ์สวดชยันโตรับเสด็จอยู่ที่เชิงเขา เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระพุทธฉาย แล้วประทับเสวยเช้าที่ศาลา แล้วทรงจารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร. ที่เพิงผา และมีปีที่เสด็จพระราชดำเนินมา ณ ที่นี้ ร.ศ.๗๙ และ ๙๑ และ ๑๐๔ และ ๑๐๕


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 16:09
^
^
ผมว่าแปลกมากนะครับ ร.ศ. ๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงมีพระชนมายุ ๗ ชันษา แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังไม่ใช้ "รัตนโกสินทร์ศก" เป็นตัวกำหนดระยะเวลา

ผมจึงมีแนวโน้มไปในทางว่า ทรงให้ช่างแกะจารึกสลักพระปรมาภิไธย ย้อนหลังไปในช่วงเวลานี้ เพื่อเป็นการประกาศว่า พระองค์เคยเสด็จมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 เม.ย. 11, 16:13
กระทู้นี้ไม่มีคะแนนให้นะครับ  กรุณาอย่าเรียกร้องเลย

มีแต่คำชมเชยจากผมและคนที่เข้ามาอ่านว่า  คุณดีดีเก่งมาก


ขอตรวจจารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๗ ก่อน
เท่าที่คนเคยรวบรวมไว้   รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธย
ไว้รวมทั้งหมด  ๑๓  ครั้ง  (ที่ไหนบ้างนั้น  ขอเชิญผู้ใฝ่รู้หากันต่อไป)

ที่ตอบมาแล้วนั้น  มีดังนี้

๑.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒๔๖๙  
ที่ถ้ำพระยานคร  อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  วันที่  ๒๐/๐๖/๒๔๖๙  
สถานที่แห่งนี้  ในขณะนั้น เรียกชื่อว่า  ถ้ำคูหาคฤหาสถ์  
(ตามเอกสารรัชกาลที่ ๗ ได้บันทึกพระราชกิจในการเสด็จประพาสครั้งนั้น)
ส่วนวันที่ที่ถูกคือ  วันพุธที่ ๑๖  มิถุนายน  ๒๔๖๙

๒.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒๔๖๙  
จำนวน ๒ แห่ง ที่เกาะพงัน  เมื่อวันที่ ๒๓/๐๖/๒๔๖๙
ผมสงสัยว่าปี ๒๔๗๑  รัชกาลที่ ๗ เสด็จประพาสเกาะพงัน
และได้ทรงจารึกที่เกาะพงันด้วยหรือ  ใครว่างตรวจสอบหน่อย

๓.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒๔๖๙  
ที่ถ้ำผาไท  จังหวัดลำปาง  วันที่  ๑๓/๐๑/๒๔๖๙
อันนี้ถูก  ผมเพิ่มวันที่ทรงจารึกให้

๔.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่น้ำตาปาโจ  จังหวัดนราธิวาส (เดิมบริเวณอยู่ในจังหวัดสายบุรี)
ทรงจารึกเมื่อ ๒๐/๐๔/๒๔๗๑  ตามเอกสารว่า มีจารึก ๒ แห่ง

๕.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่จังหวัดยะลา  ณ วัดคูหาภิมุข  ตรงถ้ำและสระแก้ว
เมื่อวันที่ ๑๙/๐๔/๒๔๗๑  ไม่ใช่ ๒๔๗๒  

๖.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร. ๒ แห่ง
ที่จังหวัดตรัง  ที่น้ำตกโตนปลิว (เอกสารเก่าเรียกว่า ธารหทัยสำราญ)
ที่จังหวัดพัทลุง  ที่ถ้ำคูหาสวรรค์
ทั้ง ๒ แห่ง จารึกในวันเดียวกัน คือ ๒๕/๐๑/๒๔๗๑  

๗.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่เขาปินะ  จังหวัดตรัง  วันที่  ๑๐/๐๒/๒๔๗๑  
วันที่จารึกผมเพิ่มให้

๘.จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ป.ป.ร.
ที่ถ้ำวัดสุวรรณคูหา  อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
จารึกเมื่อวันที่  ๐๗/๐๒/๒๔๗๑
วันที่จารึกผมเพิ่มให้


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 เม.ย. 11, 16:23
^
^
ผมว่าแปลกมากนะครับ ร.ศ. ๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงมีพระชนมายุ ๗ ชันษา แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังไม่ใช้ "รัตนโกสินทร์ศก" เป็นตัวกำหนดระยะเวลา

ผมจึงมีแนวโน้มไปในทางว่า ทรงให้ช่างแกะจารึกสลักพระปรมาภิไธย ย้อนหลังไปในช่วงเวลานี้ เพื่อเป็นการประกาศว่า พระองค์เคยเสด็จมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

เจอคนช่างสงสัยเสียแล้ว   ถูกแล้วครับ  จารึกนั้นมีรับสั่งให้ช่างจารึกเมื่อ ปีร,ศ, ๑๑๕
และการที่จารึกคราวนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างจารึกปีร,ศ,ที่ได้เคยเสด็จฯ มาครั้งก่อนๆ
ลงไปด้วย  แน่นอนว่า รัตนโกสินทรศก  เพิ่งมีใช้เมื่อ ปีร,ศ,๑๐๘  ร,ศ,ที่เก่ากว่านั้น
เป็นของที่ใช้ย้อนอดีตมาแปลงปี จ,ศ, ให้เป็น ร,ศ,  ซึ่งก็มีที่อื่นไม่ใช่หรือ
ที่ทรงให้จารึกเป็นปี จ,ศ,  ไม่ใช้ ร,ศ,


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 16:29
^
^
ผมว่าแปลกมากนะครับ ร.ศ. ๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ ทรงมีพระชนมายุ ๗ ชันษา แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังไม่ใช้ "รัตนโกสินทร์ศก" เป็นตัวกำหนดระยะเวลา

ผมจึงมีแนวโน้มไปในทางว่า ทรงให้ช่างแกะจารึกสลักพระปรมาภิไธย ย้อนหลังไปในช่วงเวลานี้ เพื่อเป็นการประกาศว่า พระองค์เคยเสด็จมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

เจอคนช่างสงสัยเสียแล้ว   ถูกแล้วครับ  จารึกนั้นมีรับสั่งให้ช่างจารึกเมื่อ ปีร,ศ, ๑๑๕
และการที่จารึกคราวนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างจารึกปีร,ศ,ที่ได้เคยเสด็จฯ มาครั้งก่อนๆ
ลงไปด้วย  แน่นอนว่า รัตนโกสินทรศก  เพิ่งมีใช้เมื่อ ปีร,ศ,๑๐๘  ร,ศ,ที่เก่ากว่านั้น
เป็นของที่ใช้ย้อนอดีตมาแปลงปี จ,ศ, ให้เป็น ร,ศ,  ซึ่งก็มีที่อื่นไม่ใช่หรือ
ที่ทรงให้จารึกเป็นปี จ,ศ,  ไม่ใช้ ร,ศ,

แล้ว จอ สอ ร้อย ละครับ  :P


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 17:17
จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๗ แก้ไขให้ถูกต้องตามที่ คุณ luanglek ตรวจค่ะ

(คุณหลวง น่าจะส่งข้อมูลไปให้ทางจังหวัดหรือผู้ดูแลรับผิดชอบนะคะ
จะได้เห็นความสำคัญ และจัดทำข้อมูลเผยแพร่ให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 เม.ย. 11, 17:40
พระปรมาภิไธยย่อ วปร.

สถานที่: น้ำตกคลองเจ้า (น้ำตกอนัมก๊ก หรือน้ำตกธารสนุก) เกาะกูด จังหวัดตราด

ประวัติ :
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ.2454 และทรงพระราชทานนามน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ “องค์เชียงสือ” กษัตริย์ญวนผู้ก่อตั้งราชวงศ์เหงียนขึ้นเป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม ที่เคยเข้ามาลี้ภัยการจลาจลตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้ช่วยปราบโจรสลัด ในน่านน้ำทะเลตราด โดยได้สลักพระปรมาภิไธยย่อ "วปร. ๑๓๐"  ไว้บนแผ่นหิน และใกล้กันนั้นโปรดให้สลักอักษร "ภส BS ๑๑๔"
ซึ่งเป็นพระนามย่อของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าภานุรังสีสว่างวงศ์  กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ด้วย

เรื่องธารสนุกนี้มีพระราชบันทึกไว้ในพระราชบันทึกใน “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” เล่ม ๒ ว่า

“วันที่  ๒๒  เช้าถึงเกาะกูด,  ฉันและบริวารได้ลงเรือกรรเชียงมีเรือยนต์จูงไปจนถึงปากคลองจึ่งแก้เชือก  แล้วตีกรรเชียงเฃ้าไป.  ที่ปากคลองมีสันดอนทราย,  ต่อเฃ้าไปมีหินปักการังมากหน่อย,  แต่พอพ้นที่แนวหาดแล้วก็ไปได้โดยสดวก.  ต่อนั้นเฃ้าไปอีก ๓๐ เส้นเปนคลองรูปดื่น,  คือมีลักษณะเหมือนคลองริมทเลทั้งปวง,  สองฃ้างฝั่งมีไม้โกงกาง,  นานๆ จึ่งจะเห็นกล้วยไม้ทีหนึ่ง.  ตั้งแต่ปากคลองเฃ้าไปจนถึงท่าขึ้นหาที่สนุกหรือน่าดูไม่ได้จนแห่งเดียว.  ได้ความว่าคลองนี้ไม่มีชื่อ,  ฉันจึ่งให้ชื่อประชดว่า “คลองสนุกน้อย”, สำหรับต่อไปคนไปเที่ยวที่นั้นจะได้ค้นหา “คลองสนุกใหญ่” ว่ามันอยู่ที่ไหน.
ขึ้นจากเรือแล้วเดิรต่อไปอีกพักใหญ่ๆ จึ่งถึงธารน้ำตก,  ซึ่งเปนที่น่าดูพอใช้.  น้ำที่ตกนั้นไหลอาบลงจากน่าผา,  แยกเปน  ๒ สายใหญ่  และตกลงในอ่าง,  ซึ่งมีรูปกลมราวกับคนสร้าง,  มีผาล้อมรอบเปนฉาก.  ด้าน ๑ มีผาใหญ่ซึ่งน่าราบดี,  จึ่งได้จาฤก ว.ป.ร.ไว้ที่น่าผา,  และฉันให้ชื่อธารนั้นว่า “ธารสนุก”.   ที่นี้ทูลกระหม่อมมิได้เคยเสด็จเลย.  กรมหลวงดำรงเล่าว่า จะเสด็จหลายครั้งแล้ว,  พะเอินมีคลื่นจัดเสด็จขึ้นไม่ได้เลย.  ทูลกระหม่อมอา ได้เคยเสด็จแล้ว,  และได้ทรงคุยทับถมมานักแล้ว,  กรมหลวงดำรงจึ่งได้จัดให้ฉันขึ้นไปในครั้งนี้จงได้.  ธารที่กล่าวนี้ทูลกระหม่อมอาท่านเรียกว่าธารเจ้าอนัมก๊ก,  และท่านทรงอ้างว่า องเชียงสือ, เมื่อครั้งหนีจากเมืองญวนเฃ้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารนั้น,  ได้ไปพักอยู่ที่เกาะกูดก่อนเฃ้าไปกรุงเทพฯ.  ตามความจริงองเชียงสือได้พักอยู่ที่เกาะกระบือ.  ที่ทูลกระหม่อมอาทรงอ้างว่าไปพักที่เกาะกูดนั้น  เพราะมีอ่าวเรียกว่า “อ่าวจ้าว”;  และเพราะเหตุที่ไม่เคยปรากฏว่าได้มีเจ้าใดๆ อาศัยเกาะในชายทเลแถบนี้นอกจากองเชียงสือ,  ท่านจึ่งทรงลงความสันนิษฐานว่า อ่าวนั้นเรียกตามองเชียงสือ.  แต่สืบสวนกันดูได้ความว่าที่อ่าวนั้นมีผู้ใหญ่บ้านชาวเกาะกูดคน ๑ ชื่อจ้าวตั้งภูมิลำเนาอยู่,  และในเวลาที่ฉันไปที่เกาะกูดคราวนั้นก็ยังอยู่.
เวลาบ่ายกลับลงเรือ,  และบ่าย ๓ นาฬิกาเศษออกเรือแล่นดูรอบเกาะกูด,  แล้วกลับไปทอดสมอในอ่าวคลองสนุกน้อยตามเดิม.  ในคืนนั้นออกเรือเดิรทางไปเกาะช้าง.” 


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 เม.ย. 11, 17:47
อักษรพระนามาภิไธย "มว" ในความเห็นที่ ๔๐ นั้นคือ อักษรพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร  อักษรพระนามาภิไธยนี้ทรงใช้ในช่วงเวลาที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  เมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้วจึงทรงใช้อักษรพระนามย่อ ว.ป.ร.


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 เม.ย. 11, 09:10

แล้ว จอ สอ ร้อย ละครับ  :P

ถามอย่างนี้ ประสงค์จะลองของใช่ไหม ดอน


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 22 เม.ย. 11, 13:51
ขอบพระคุณ คุณV_Mee ค่ะ

อักษรพระนามาภิไธย "มว" ในความเห็นที่ ๔๐ นั้นคือ อักษรพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร  อักษรพระนามาภิไธยนี้ทรงใช้ในช่วงเวลาที่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  เมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้วจึงทรงใช้อักษรพระนามย่อ ว.ป.ร.

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4355.0;attach=18571;image)


ประวัติน้ำตกคลองเจ้า-น้ำตกธารสนุก-คลองสนุกน้อย... สนุกมากๆ เลยค่ะ ทรงมีพระอารมณ์ขันมากเลยนะคะ  ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 25 เม.ย. 11, 16:43
จารึกอักษรพระปรมาภิไย จ.ป.ร.  ที่รัชกาลที่ ๕
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเป็นที่แรกครั้งแรก
คือสถานที่ไหน  เมื่อไร  และใครเป็นผู้ลงมือสลักอักษรพระปรมาภิไธยครั้งนั้น



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 09:05
โอเค  ไม่มีใครสนใจตอบ

งั้นเราจะบรรเลงเอง   ส่วนใครจะเมตตาช่วยหาภาพมาประกอบก็ไม่ว่ากัน

จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๑
ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖  รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ จากกรุงเทพฯ
ด้วยเรือกลไฟพระที่นั่งเวสาตรี  เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออก
เสด็จฯ ไปประทับที่เกาะช้าง  แขวงเมืองตราด เมื่อวันอังคาร
แรม ๔ ค่ำ เดือน  ๓  (๐๓/๐๒/๒๔๒๗) เวลา ๕ โมงเช้าเศา
ประทับเรือพระที่นั่ง  เสด็จฯ เข้าคลองมะยม แล้วเสด็จฯ ขึ้นเขาไปประพาสน้ำตก
เสด็จฯขึ้นไปจนถึงน้ำตกชั้นสูง   ทรงพระราชหัตถเลขาเป็นอักษรพระปรมาภิไธย
จ.ป.ร.  ไขว้กันในกระดาษ  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ
พระองค์เจ้าจิตรเจริญ  ทรงถ่ายแบบอักษรพระปรมาภิไธยนั้นลงที่แท่งศิลาใหญ่
ที่อยู่กลางลำธารหน้าน้ำตก  แลลงศักราช  ๑๒๔๖  ใต้อักษรพระปรมาภิไธยนั้นด้วย
แต่ยังไม่ได้ทันทรงสลักให้แล้วเสร็จ   ด้วยเป็นเวลาเย็นมากแล้วจึงได้เสด็จฯ กลับลงมา
รุ่งขึ้น  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพล  กับพระเจ้าน้องยาเธอ
พระองค์เจ้าจิตรเจริญ  เสด็จขึ้นไปสลักอักษรพระปรมาภิไธยดังกล่าวจนเสร็จ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 09:14
จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๒

ปีกุนนพศก  ๑๒๔๙  เสด็จฯ ไปประพาสที่เกาะช้างอีก
เมื่อวันจันทร์  แรม ๕ ค่ำ เดือน  ๑๑   (๑๐/๑๐/๒๔๓๐)
เสด็จฯ โดยเรือพระที่นั่งเข้าคลองมะยม  เสด็จฯ ขึ้นเขาไปที่น้ำตกแห่งเดิม
ที่ได้ทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธยไว้ครั้งก่อน  คราวนี้  โปรดเกล้าฯ ให้
จารึกศักราช  ๑๒๔๙  ลงที่ใต้อักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร.
แลเลขศก ๑๒๔๖   จากนั้น  เสด็จฯ ขึ้นเขาต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่ง
โปรดเกล้าฯ ให้จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. แลเลขศก ๑๒๔๙
แล้วเสด็จฯ กลับ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 เม.ย. 11, 11:27
กำลังสับสนกับข้อมูลน่ะค่ะ ไม่ใช่ใม่สนใจจะตอบ.... ;D

จาก http://www.kohchangnews.com/index.php/2011-04-17-06-44-53/61-2010-08-31-00-51-26 และ
http://www.salakphet.com/th/index.php?option=com_content&view=article&id=22:whats-new-in-15&catid=30:2008-12-27-02-01-26&Itemid=34
บอกไว้ว่า

"การเสด็จประพาสของพระองค์ใน  จ.ศ. 1238 (พ.ศ. 2419)  นอกจากทรงจารึกพระปรมาภิไธย และปีที่เสด็จแล้ว พระองค์ทรงทำ " เกรน " หรือกองศิลา ไว้เป็นที่ระลึกแห่งหนึ่งใกล้ๆ บริเวณน้ำตก โดยทรง พระราชหัตถเลขาว่า " เราสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม รัชกาลที่ 5 ได้มาถึงที่นี้ 2 ครั้งๆ หนึ่งเมื่อปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235 กับครั้งนี้วัน 4 ฯ 2 ค่ำ ปีชวด อัฐศก ศักราช 1238 เราทั้งปวง บรรดาที่มาพร้อมกันได้ลงชื่อไว้ท้ายหนังสือนี้ " เสร็จแล้วพับแผ่นกระดาษนั้นบรรจุในกล่องตลับยาสูบเงินนอก แล้วใส่ลงในถ้วยน้ำชาที่มีตราประจำ พระองค์ พร้อมเอาจานปิดทับข้างบนไว้ วางถ้วยลงบนพื้นหินและเอาหินก้อนเล็กก้อนใหญ่วางทับไว้ ต่อมา มีการค้นหาเกรนแห่งนี้แต่ไม่พบร่องรอยแต่อย่างใด

นอกจากนั้นยังปรากฏจารึกพระปรมาภิไธย " จ.ป.ร. " ไว้ที่ชั้น 2 ใน จ.ศ. 1246 (พ.ศ. 2427) , จ.ศ. 1249 (พ.ศ. 2430) , จ.ศ.1251 (พ.ศ. 2432) และ จ.ศ. 1263 (พ.ศ. 2444) และที่ชั้น 3 ร.ศ. 106 (พ.ศ. 2430)..."

และจาก http://www.trat.go.th/trat100/trat_100/king5.htm
บอกไว้ว่า

"สมเด็จพระปิยมหาราชได้เคยเสด็จประพาส และทรงเยี่ยมประชาชนจังหวัดตราดมาแล้วถึง ๘ ครั้ง คือ ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๙,๒๔๒๕,๒๔๒๖,๒๔๒๗,๒๔๓๐,๒๔๓๒,๒๔๔๔ โดยลำดับ และถ้านับรวมครั้งล่าสุด คือหลังจากที่ได้เมืองตราดคืนมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เข้าด้วยก็จะเป็น ๙ ครั้ง หลักฐานที่จะยืนยันข้อความนี้ ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุเสด็จประพาสจันทบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๑๙ และพระราชหัตเลขาเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกปี ๒๔๒๕,๒๔๒๖,และปี ๒๔๒๗

ส่วนที่ปรากฎในจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ก็มีหลักฐานลายพระหัตถ์จารึกพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร.ไว้ที่แผ่นหินที่น้ำตกธารมะยม และน้ำตกนนทรีย์ บนเกาะช้าง คือ ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ,๒๔๓๒,และ ๒๔๔๔ "



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 เม.ย. 11, 12:05
และ http://watsaitong.blogth.com/page5/&thisy=&thism=&thisd=
เรียบเรียงจากหนังสือตามรอยเสด็จฯ เกาะช้างจังหวัดตราด ค้นคว้าวิจัยโดย นายอภิลักษณ์ เกษมผลกูล
บอกว่า

"พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นตามหัวเมืองต่างๆ 24 ครั้ง เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองตราดถึง12 ครั้ง ดังนี้
                      ครั้งที่ 1      พ.ศ. 2416 เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นผู้ตามเสด็จประพาสน้ำตกธารมะยม เกาะช้าง
และเกาะกระดาดทางฝั่งตะวันตก

                  ครั้งที่ 2      ต้นเดือนมกราคม 2420 เสด็จประพาสเกาะช้าง มีพระราชนิพนธ์เล่าว่า เกาะนี้เสือ ชุมนัก เสด็จขึ้นพลับพลาที่บ้านคลองนนทรี พักผ่อนกิริยาบทแล้วเสด็จปีนเขาเพื่อทอดพระเนตรน้ำพลุ คลองมะยม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ทำกองศิลา ด้วยทรงอนุสรณ์ให้ทราบว่าได้เสด็จ มาถึงที่นี้ถึงสองคราว จากนั้นเสด็จประพาสเกาะกระดาด ทรงพระสำราญกับการเดินป่า มีพระราชหัตถเลขาว่าที่นี่มีกวางและเนื้อทรายชุกชุมมาก

                  ครั้งที่ 3      เดือนกุมภาพันธ์ 2423 สันนิษฐานว่าเป็นการเสด็จเพื่อทรงรำลึกถึงพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีที่เสด็จทิวงคต เพื่ออนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่เคยเสด็จประพาสชายทะเลด้วยกัน เสด็จไปที่น้ำตกธารมะยม เกาะช้าง และเกาะกระดาด

                  ครั้งที่ 4      เดือนกุมภาพันธ์ 2424 เสด็จเกาะกงไปทอดพระเนตรวัดคงคาราม หรือวัดเกาะปอ เสด็จกลับเกาะกระดาด เกาะช้าง และเข้าไปตามอ่าวสลักเพชร นายติ้น หลวงสลักเพชรพัฒนกิจ กราบถวาย รายงาน วันรุ่งขึ้น เสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ. ตัวเมืองตราด เสด็จฯ ตามเส้นทางคลองบางพระ ขึ้นทอดพระเนตรบ้านเรือนราษฎร ทรงซื้อผ้า และพระราชทานผ้าแก่ผู้ตามเสด็จ นับเป็นครั้งแรกที่เสด็จเยือนตัวเมืองตราด

                  ครั้งที่ 5      เดือนธันวาคม 2425 เสด็จประพาส เกาะช้าง จอดเรือบรรทมที่คลองพร้าวและอ่าวสลักเพชร จากนั้นจึงเสด็จไปเกาะหมาก และเกาะกระดาด

                       ครั้งที่ 6      เดือนธันวาคม 2426 การเสด็จครั้งนี้มีพระราชประสงค์เพื่อพักพระราชภารกิจ หลังจากทรงหายจากอาการประชวร มีสมเด็จพระศรีพัชรินพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชินี และ ข้าราชบริภารฝ่ายใน ตามเสด็จประพาสน้ำตกธารมะยม บ้านหลวงสลักเพชร จากนั้นเสด็จไปเกาะหมาก และเกาะกระดาด

                        ครั้งที่ 7      เดือนกุมภาพันธ์ 2427 เสด็จเกาะช้าง ราษฎรบ้านสลักคอก ขอพระบรมราชานุญาตให้ ประทับรอยพระบาทสร้างพระอุโบสถ พระราชทานชื่อวัดว่า วัชคามคชทวีป เสด็จไปยังน้ำตกธารมะยมทรงโปรดให้จารึก พระปรมาภิไธยย่อ จปร. 1246 ไว้เป็นครั้งแรก  รุ่งเช้าเสด็จพระราชดำเนินไปที่แหลมงอบ และในปีนี้ได้พระราชทานพระบรมสาทิสลักษณ์ทรงเครื่องต้น ให้กับพระยาตราด ปัจจุบันพระบรมสาทิสลักษณ์นี้ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม

                  ครั้งที่ 8      เดือนตุลาคม 2430 ประพาสเกาะกระดาด เกาะกูด เกาะช้าง น้ำตกธารมะยม ทรงลุยน้ำในลำธารข้ามแก่ง พระราชทานนามว่า “ แก่งทรงลุย ” รุ่งเช้าเสด็จประพาสเมืองตราด ถวายผ้าพระกฐิน ที่วัดบุรินทรประดิษฐ์ ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างตราด ส่วนพระประธานวัดบุริน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ. ศาลาการเปรียญวัดแหลมงอบ

                  ครั้งที่ 9      26 กุมภาพันธ์ 2432 ประพาสเกาะช้าง เกาะกระดาด ที่ลำธารน้ำตกธารมะยม ทรงโปรดต้นเฟิร์น กล้วยไม้ และช้างน้าว ที่ออกดอกเหลืองอร่าม เสด็จถึงยอดเขาน้ำตกธารมะยม โปรดให้ผูกผ้าทำธง พระราชทานชื่อยอดเขาว่า ธัชกูฎ

                  ครั้งที่ 10      มีนาคม 2443 ประพาสน้ำตกธารมะยมเกาะช้าง เกาะกระดาด และแหลมงอบ ทอดพระเนตรโรงทหาร และวัดสุวรรณาเขต ชาวบ้านเรียกวัดแหลมงอบ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา

                  ครั้งที่ 11      1 มีนาคม 2444 ประพาสเกาะช้าง เกาะกูด ต่อมาเสด็จเมืองตราด เมืองจันทบุรี หลังจากเสด็จครั้งนี้แล้ว อีก 2 ปีเศษ เมืองตราดก็ตกเป็นของฝรั่งเศส....ด้วยความโทรมมนัส ตรอมตรมในพระราชหฤทัย..ยิ่งนักทำให้ล้นเกล้าพระปิยะมหาราชว่างเว้นการเสด็จ เยือนเมืองตราดนานถึง 6 ปี

                      ครั้งที่ 12      13 พฤศจิกายน 2450 เสด็จกลับจากยุโรปได้เสด็จมาปลอบขวัญชาวเมืองตราดก่อนกลับคืนสู่พระนคร ทรงขึ้นฝั่งที่บ้านท่าเรือจ้าง และเสด็จตามถนนเข้าตลาดขวาง ไปท้ายตลาดใหญ่ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พระวิมลเมธาจารย์อ่านคำถวายพระพรชัยมงคล มีพระราชดำรัสตอบปลอบขวัญ แล้วพระราชทานพระแสงราชศาสตราวุธประจำเมือง นับเป็นการเสด็จประพาสจังหวัดตราด ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายในพระชนม์ชีพ หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ก็เสด็จสวรรคต"



กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 15:19
จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๓

ปีชวดสัมฤทธิศก  ๑๒๕๐  เสด็จประพาสหัวเมืองทะเลฝั่งตะวันตก
เสด็จฯ ไปที่เกาะพงัน เมื่อวันศุกร์  แรม ๙ ค่ำ เดือน ๙  (๓๑/๐๘/๒๔๓๑)
เสด็จฯ ไปตามลำธารถึงสถานที่แห่งหนึ่ง  มีศิลาก้อนใหย่  ๒ ก้อนตั้งเหลื่อมกัน 
ดูเหมือนกับอิงพิงกันอยู่   โปรดเกล้าฯ ให้จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร.
กับเลขศักราช  ๑๒๕๐  ไว้ที่ก้อนศิลาก้อนหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าได้เคยเสด็จประพาศ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 15:24
ปรมมือดังๆให้คุณ ดีดี

วันนี้วันพระ อย่าลืมติดกัณฑ์เทศน์นะครับ ผมขอฝากเทียนไขแท้ ทำด้วยขึ้ผึ้งจากป่าโคราช หนัก ๒ บาท กึ่งเฟื้อง ฝากไปด้วย


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 เม.ย. 11, 15:29
ปรมมือดังๆให้คุณ ดีดี

วันนี้วันพระ อย่าลืมติดกัณฑ์เทศน์นะครับ ผมขอฝากเทียนไขแท้ ทำด้วยขึ้ผึ้งจากป่าโคราช หนัก ๒ บาทฝากไปด้วย

ปรบมือให้หนูไมคะ  ???  งงอ่ะ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 15:32
ปรมมือดังๆให้คุณ ดีดี

วันนี้วันพระ อย่าลืมติดกัณฑ์เทศน์นะครับ ผมขอฝากเทียนไขแท้ ทำด้วยขึ้ผึ้งจากป่าโคราช หนัก ๒ บาทฝากไปด้วย

ปรบมือให้หนูไมคะ  ???  งงอ่ะ

คห.66 เอามาลงสรุปให้อ่านไงครับ จะได้ไว้เทียบกับของคุณหลวง สนุกดี


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 26 เม.ย. 11, 15:38
ผมขอฝากเทียนไขแท้ ทำด้วยขึ้ผึ้งจากป่าโคราช หนัก ๒ บาท กึ่งเฟื้อง ฝากไปด้วย

ทำไมต้องป่าโคราช
ส่วนไหนของโคราชน่ะคุณไซมีส

ไอ้ผมอยู่บ่อยๆ ยังไม่เคยเจอป่าใหญ่หนใดเลย
นอกจากดงพญาไฟ (ดงพญาเย็น)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 15:47
เทียนขี้ผึ้ง ๒ เล่ม  ที่คุณไซมีสเอามาให้คุณดีดีนั้น
จะให้เอามาทำน้ำมนต์  หรือลนน้ำมันพรายไม่ทราบ

ส่วนคุณอาร์ท  ผมสงสัยว่า เมืองโคราชนี่
เขาส่งส่วยขี้ผึ้งหรือเปล่า  ผมความจำไม่ค่อยดี


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 16:00
เทียนขี้ผึ้ง ๒ เล่ม  ที่คุณไซมีสเอามาให้คุณดีดีนั้น
จะให้เอามาทำน้ำมนต์  หรือลนน้ำมันพรายไม่ทราบ

ส่วนคุณอาร์ท  ผมสงสัยว่า เมืองโคราชนี่
เขาส่งส่วยขี้ผึ้งหรือเปล่า  ผมความจำไม่ค่อยดี

ผมขอฝากเทียนไขแท้ ทำด้วยขึ้ผึ้งจากป่าโคราช หนัก ๒ บาท กึ่งเฟื้อง ฝากไปด้วย

ทำไมต้องป่าโคราช
ส่วนไหนของโคราชน่ะคุณไซมีส

ไอ้ผมอยู่บ่อยๆ ยังไม่เคยเจอป่าใหญ่หนใดเลย
นอกจากดงพญาไฟ (ดงพญาเย็น)


พอทั้ง ๒ ท่านเลย ของทำบุญใยต้องถามที่มา  ???


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 เม.ย. 11, 16:08
^  เผอิญคุณทำบุญแล้ว  กรรมการ ปปช.สองคนไปเห็นเข้าเลยสงสัย
อยากสะกดรอยตามไปดูสักหน่อย  ก็ถ้าบอกที่มาได้  ก็รอดตัว
แต่ถ้าตอบไม่ได้  เห็นจะต้องพิสูจน์ตนเองอีกหลายครั้งนะ ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 26 เม.ย. 11, 19:38
เทียนขี้ผึ้ง ๒ เล่ม  ที่คุณไซมีสเอามาให้คุณดีดีนั้น
จะให้เอามาทำน้ำมนต์  หรือลนน้ำมันพรายไม่ทราบ

ส่วนคุณอาร์ท  ผมสงสัยว่า เมืองโคราชนี่
เขาส่งส่วยขี้ผึ้งหรือเปล่า  ผมความจำไม่ค่อยดี

อนุกรรมการ ปปช. ได้สืบสาวถึงที่มาเทียนขี้ผึ้งหนัก 2 บาทกึ่งเฟื้อง ของคุณไซมีส
ซึ่งอ้างว่าทำมาจากขี้ผึ้งป่าเมืองโคราชนั้น

ฉะนี้ อนุกรรมการตรวจสอบแล้วมีหลักฐานชั้นต้นว่า

(จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 2 เรื่อง "บัญชีกองส่วย")

จำนวนอากรป่าผึ้ง แบ่งขึ้นมาแต่พระบรมมหาราชวัง 5 เมือง ฝ่ายพระราชวังบวร 1 เมือง มีแจ้งอยู่ในนี้
เมืองพิษณุโลก หลวงรักษาอุดม นายอากรป่าผึ้ง ส่งขี้ผึ้งหนักปีละ 3 ภารา 3 หาบ
เมืองพิจิตร ขุนศรีสมบัติ นายอากรป่าผึ้ง ส่งขี้ผึ้งหนักปีละ 2 หาบ
เมืองกำแพงเพชร พระยากำแพงเพชร เจ้าเมือง ส่งขี้ผึ้งอากรหนักปีละ 2 หาบ
เมืองตาก พระอินทรคิรี ส่งขี้ผึ้งอากรหนักปีละ 2 หาบ
เมืองสุโขทัย ขุนภักดีรักษา นายอากรป่าผึ้ง ส่งขี้ผึ้งหนักปีละ 20 ชั่ง
เมืองนครสวรรค์ พระบริบูรณ์ภุมรา จางวาง กองอากรส่วยผึ้ง คุมเลขรักษาป่าผึ้ง คนขุนหมื่น 30 คนไพร่ 253 คนทาส 10 รวม 293 คน ส่งขี้ผึ้ง หนักปีละ 6 หาบ

............

เมืองนครราชสีมา 2 กอง หลวงภิรมย์ภุมเรศ ส่วยผึ้ง ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 12 ทำส่วยไพร่ 50 คน เงิน 3 ชั่ง 60 บาท รวม 67 คน ส่วยค้าง
                           ขุนฤทธิกำแหง ส่วยผึ้ง ยกไพร่ 7 ทำส่วยไพร่ 30 คน เงิน 2 ชั่ง 20 บาท รวม 37 คน ส่วยค้าง
                           รวม ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 19 ทำส่วยไพร่ 80 คน เงิน 6 ชั่ง รวม 104


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 19:45
^
หวังว่าคงจำได้แล้วนะครับ คุณหลวงเล็ก... ขอบคุณคุณ Art47 มากครับ (เราเอาน้ำตาเทียนไปหยดเป็นการลงโทษ กันไหม  ;D ;D)


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 22:00
โคลงหนุ่มสยามฟั่นเทียน

หวังบูชาคุณเจ้าด้วยเทียนน้อย        ไว้เปล่งแสงส่องลานยามสั่งสอน
สองบาทกึ่งเฟื้องไม่จากจร            คำพระสอนต้องจำให้ขึ้นใจ
ด้วยหว่างทางเจอเสียงอื้ออึงอ้าง     เนื้อมวลสารที่มาน่าสงสัย
จากโคราชรกชัฎดินแดนไกล            คุณอาร์ทเฉลยให้ได้ทันการณ์


โคลงหนุ่มสยามนับตังค์

อย่าได้ถามทำไมต้องสองบาท  ด้วยทำยากหนักหนากว่าจะได้
สองอัฐฤากึ่งเฟื้องเท่ากันนา        จัดหาด้ายฟั่นปั่นเป็นลาย
ทุกวันนี้อิดออดนับอัฐฬศ  มัวแต่จดเงินชั่งตำลึงหมาย
ให้ข้าทาสยกกำปั่นเยื้องย่างกราย      กระดานหงายเสาเรือนทรุดทุกวันเอย

 ;D ;D ;D ;D ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 08:00

อนุกรรมการ ปปช. ได้สืบสาวถึงที่มาเทียนขี้ผึ้งหนัก 2 บาทกึ่งเฟื้อง ของคุณไซมีส
ซึ่งอ้างว่าทำมาจากขี้ผึ้งป่าเมืองโคราชนั้น

ฉะนี้ อนุกรรมการตรวจสอบแล้วมีหลักฐานชั้นต้นว่า

(จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 2 เรื่อง "บัญชีกองส่วย")

จำนวนอากรป่าผึ้ง แบ่งขึ้นมาแต่พระบรมมหาราชวัง 5 เมือง ฝ่ายพระราชวังบวร 1 เมือง มีแจ้งอยู่ในนี้
............

เมืองนครราชสีมา 2 กอง หลวงภิรมย์ภุมเรศ ส่วยผึ้ง ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 12 ทำส่วยไพร่ 50 คน เงิน 3 ชั่ง 60 บาท รวม 67 คน ส่วยค้าง
                           ขุนฤทธิกำแหง ส่วยผึ้ง ยกไพร่ 7 ทำส่วยไพร่ 30 คน เงิน 2 ชั่ง 20 บาท รวม 37 คน ส่วยค้าง
                           รวม ขุนหมื่น 5 ยกไพร่ 19 ทำส่วยไพร่ 80 คน เงิน 6 ชั่ง รวม 104

ดีมากครับ  ขอบคุณสหายอาร์ทที่ค้นข้อมูลมาให้ทันท่วงที
แสดงว่าเทียนขี้ผึ้งจากป่าโคราชของคุณไซมีสเป็นของแท้แน่นอน
เป็นอันว่ายกข้อสงสัยได้  รอดตัวไป 8)

^
หวังว่าคงจำได้แล้วนะครับ คุณหลวงเล็ก... ขอบคุณคุณ Art47 มากครับ (เราเอาน้ำตาเทียนไปหยดเป็นการลงโทษ กันไหม  ;D ;D)

รสนิยมของคุณท่านออกแนวซาดิสม์นะขอรับ   ใครอยู่ใกล้ๆ โปรดระวังตัว :(

 


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 เม.ย. 11, 08:16


กำปั่นนั้น  เท่าที่อ่านมา  ท่านล่ามไว้กับเสาเรือน  หรือล่ามกุญแจที่ตอกไว้กับพื้น

หรือซ้อนกันสูงสามใบเรียงตลอดผนัง

ยกไปยกมาไม่ใช่กำปั่นกระมัง      น่าจะเป็นกระจาดของนางกระแอขายข้าวเหนียวที่เสาชิงช้า

ข้าวเหนียวแถวเสาชิงช้าราคากก.ละ ๑๔๐ บาทแล้วค่ะ     ไปรับหนังสือโบราณที่ร้านหนังสือริมสะพานอรุณอัมรินทร์
แล้วแวะซื้อ


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 เม.ย. 11, 09:15


กำปั่นนั้น  เท่าที่อ่านมา  ท่านล่ามไว้กับเสาเรือน  หรือล่ามกุญแจที่ตอกไว้กับพื้น

หรือซ้อนกันสูงสามใบเรียงตลอดผนัง

ยกไปยกมาไม่ใช่กำปั่นกระมัง      น่าจะเป็นกระจาดของนางกระแอขายข้าวเหนียวที่เสาชิงช้า

ข้าวเหนียวแถวเสาชิงช้าราคากก.ละ ๑๔๐ บาทแล้วค่ะ     ไปรับหนังสือโบราณที่ร้านหนังสือริมสะพานอรุณอัมรินทร์
แล้วแวะซื้อ

กำปั่นต้องมั่นกับเสาเรือน        ตอกย้ำเตือนข้าทาสบริวารหนา
ด้วยกลอนบอกกำลังเยื้องย่างมา     จึงมิได้นำพามาใส่สายยู
อันกำปั่นหีบเหล็กปิดสนิท        กำบังมิดแน่นหนาห้ามแง้มดู
ด้วยอันแน่นเงินชั่งนะโฉมตรู     อย่าได้ว่าอย่างบุญเพ็งหีบเหล็กเอย  ;D


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 15:03
จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๔

ปีร,ศ, ๑๐๘  เสด็จฯ ประพาสทะเลตะวันตกด้วยเรือพระที่นั่งอุบลบุรพทิศ
โปรดเกล้าฯ ให้ทอดเรือพระที่นั่งที่อ่าวธาร  เพื่อเสด็จฯ ขึ้นเกาะพงัน
เมื่อ ๑๖ ก.ค. ๑๐๘  เพลาเช้า  เสด็จฯ ไปตามลำธารถึงก้อนศิลาที่จารึกอักษร
พระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ๑๒๕๐  โปรดเกล้าฯ ให้ช่างจารึกเลขศก ๑๒๕๑ ลง
ที่ใต้เลข ๑๒๕๐  แล้วเสด็จฯ ต่อไปตามลำธารผ่านน้ำตก ๔ แห่ง
จนถึงหลังเขาเป็ฯลำธารต่อไปอีก  ๒๐๐  เส้น  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้จารึก
จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. แลเลขศก ๑๐๘  ไว้ที่ก้อนศิลาที่สุดทางนั้น
เป็นจารึกอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๔  เสด็จฯ ต่อไปอีก  ๓๐ วา  หรือ ๒ เส้น
ถึงหลังเขาซึ่งเป็นที่ราบ  มีไร่เรียกว่า ท้องชนาง อยู่ในระหว่างยอดเขาสูงล้อม
โปรดเกล้าฯ ใหจารึกที่ก้อนศิลาที่ปลายธารนั้นว่า "ต่อไปมีไร่"  แล้ว
เสด็จฯ ประพาสแห่งอื่นต่อไป


กระทู้: จารึกอักษรพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 เม.ย. 11, 15:15
๑๘  ก.ค. ร,ศ, ๑๐๘  เสด็จฯ ไปประพาสที่เกาะพงันอีก 
โปรดเกล้าฯ ให้ช่างสลักจารึกที่น้ำตกแรกหน้าต้นกร่าง
อันเป็นที่ประทับสรงน้ำ  ว่า "ธารเสด็จ"  เป็นนามพระราชทาน
และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิชิตภักดี ผู้ว่าราชการเมืองไชยา ทำศาลาไว้ที่นั้นด้วย
แล้วเสด็๗ฯ ต่อไปที่เกาะสี่เกาะห้า ในทะเลสาบ


จารึกอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ครั้งที่ ๕

๒๔  ก.ค.  ร,ศ, ๑๐๘  โปรดเกล้าฯ จารึกอักษรพระปรมาภืไธย จ.ป.ร.
กับเลศก ๑๐๘  ไว้ที่หน้าผาเพิงถ้ำที่เรียกว่า หน้าเทวดา  แห่งหนึ่ง หน้าค่ายหลวง
หน้าผานี้เป็นเพิงเชิงเขาเพดานราบ  ก่อเป็นแท่นไว้วางเครื่องสังเวย
ของพวกที่ทำรังนกในเขตนั้น  ที่จะต้องมาเซ่นก่อนทำการเก็บรังนกทุกครั้ง
เสร็จแล้ว  เสด็จฯ ไปยังเมืองพัทลุง