เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: aradabkk ที่ 16 ก.ย. 13, 17:45



กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: aradabkk ที่ 16 ก.ย. 13, 17:45
สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์เทาชมพู และอาจารย์ทุกๆท่าน เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสติดตามชมสารคดีชุดนี้ https://www.youtube.com/watch?v=A_wDfrX3yzs เลยนำมาให้ชมกัน สำหรับท่านที่ยังไม่เคยได้รับชม มาก่อน แล้วก็มีคำถามค่ะ ว่าหมู่บ้าน Piprahwa มีชื่อในภาษาไทยว่าอะไรเหรอค่ะ แล้วภาษาที่สลักอยู่บนผอบ (เรียกไม่ถูกค่ะ) ที่บรรจุนั้นตามที่เข้าใจคือเป็นภาษาสันสกฤตโบราณใช่ไหมค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 13, 18:04
มาทำคลิปให้ค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=A_wDfrX3yzs

ไม่รู้จักเมืองนี้มาก่อน  เลยไม่แน่ใจว่าไทยถอดออกมาเป็นชื่อว่าอะไรค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 18:22
สนใจลองเข้าไปอ่านนะครับ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html

เริ่มจาก คคห.๒๗ ผมเปิดคุณวิกิดูเห็นว่าคือสถานที่เดียวกับในกระทู้ดังกล่าว

The Piprahwa relics,are located in the Calcutta and New Delhi Museums, the Golden Mount Temple in Bangkok, in Burma, the Dipaduttamrama Temple (also known as the Jewel Stupa) in Colombo, Sri Lanka, and the Anuradhapura Temple, Kandy, Sri Lanka. A portion of the relics were retained by W. C. Peppe, and these are still owned by a descendant of the Peppe family in England. Since December 2012 they have been offered for sale on the Internet



กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 18:37
กรุงกบิลพัสดุ์ (Kapilavastu)

กบิลพัสดุ์เป็นหนึ่งในดินแดนพุทธภูมิ ซึ่งรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า หมู่บ้านปิปราห์วา (Piprahwa) เมืองนี้ตั้งอยู่บริเวณเขตแดนระหว่างประเทศอินเดียกับเนปาล ในช่วง 29 ปีแรก กรุงกบิลพัสดุ์และลุมพินีเคยเป็นที่ประทับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 18:40
นี่ก็น่าอ่านครับ สั้นๆ

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/09/X12725682/X12725682.html

และ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pratatlanna&month=11-07-2005&group=1&gblog=1


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 20:13
อ้างถึง
มีคำถามค่ะ ว่าหมู่บ้าน Piprahwa มีชื่อในภาษาไทยว่าอะไรเหรอค่ะ แล้วภาษาที่สลักอยู่บนผอบ (เรียกไม่ถูกค่ะ) ที่บรรจุนั้นตามที่เข้าใจคือเป็นภาษาสันสกฤตโบราณใช่ไหมค่ะ


เพิ่งดูสารคดีในคลิ๊ปจบ

ปิปราห์วา ไม่น่าจะมีที่ถอดออกมาเป็นภาษาแบบไทยๆครับ เพราะเป็นหมู่บ้านในยุคปัจจุบันที่อยู่ในสถานที่ซึ่งเมื่อก่อนเป็นกรุงกบิลพัสดุ์ ในพระพุทธประวัติเองกล่าวว่า หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานเจ้าศากยะทั้งหลายก็ถูกทำลายล้างด้วยความแค้นของพระเจ้าวิฑูฑภะผู้เป็นญาติ กรุงกบิลพัสดุ์ก็อาจจะร้างไปในตอนนั้นแล้ว

๑๕๐ปีต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้สร้างสถูปขึ้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นใหม่ จากองค์เดิม(ซึ่งหาทรากไม่พบแล้ว) เมื่อปีพุทธศักราช๒๔๔๑ นายวิลเลียม แคลคัสตัน เปปเป นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ทำการสำรวจวัดโบราณบริเวณหมู่บ้านปิปราห์วะ เมืองบาสติ ใกล้ชายแดน ประเทศเนปาล คือ กรุงกบิลพัสดุ์ แล้วได้ขุดพบผอบพระบรมธาตุภายในพระสถูปของพระเจ้าอโศก ที่ฝาผอบมีคำจารึกภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลเป็นใจความว่า “ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้เป็นของศากยบุตรราชสุกิติกับพี่น้องผู้ชายพร้อมทั้งพี่น้องผู้หญิงลูกและเมียสร้างขึ้นอุทิศถวาย”

เมื่อมีข่าวว่าอังกฤษพบผอบพระบรมสารีริกธาตุ พระภิกษุพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่ศรีลังกาทราบเข้า ก็รีบเสด็จไปดู เวลานั้นนายมาควิส เคอร์ซัน ขณะดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการประจำประเทศอินเดีย แต่ก่อนเคยอยู่กรุงเทพฯมีความคุ้นเคยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดี พระองค์เจ้าปฤศฎางค์จึงทรงแนะนำให้ท่านทูลเกล้าฯถวายโดยให้เหตุผลว่าว่า มีแต่พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในโลกปัจจุบันนี้  ท่านอุปราชเห็นด้วยจึงทำหนังสือขอทูลเกล้าถวายพระบรมสารีริกธาตุนี้มาเมืองไทย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 20:41
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีลักษณะเป็นอัฐิธาตุที่ถูกเผาไฟของมนุษย์ธรรมดา ก็คงจะทรงผิดหวังเพราะไม่ทรงอนุญาตให้ใครทั้งสิ้นได้ดูเลย หลังจากที่สมณฑูตจากประเทศที่นับถือพุทธศาสนาต่างๆมาเฝ้าขอพระราชทานส่วนแบ่งไปแล้ว ทรงโปรดเกล้าให้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลือ ไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์บนยอดภูเขาทอง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: aradabkk ที่ 16 ก.ย. 13, 20:51
ขอบคุณท่านอาจารย์เนาวรัตน์และอาจารย์เทาชมพูมากค่ะ ที่ให้คำชี้แนะในการหาข้อมูลต่อยอด มีคำถามเพิ่มเติมค่ะ ว่าเหตุใดรัฐบาลอินเดียสมัยนั้นทำไมถึงได้ทูลเกล้าถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระพุทธเจ้าหลวงค่ะ ทั้งๆที่การค้นพบครั้งนั้นถือว่าเป็นหลักฐานที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลขณะนั้นต้องการผลักไสพระบรมสารีริกธาตุออกไปจากประเทศหรือเนื่องจากเหตุผลทางศาสนาค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 21:11
ในคลิีปบอกว่า รัฐบาลอังกฤษในอินเดียต้องการยิงนกสองตัวด้วยกระสุนนัดเดียว คือตอนนั้นมีการกล่าวหาโดยนักโบราคดีเยอรมันที่ทำงานอยู่ในอินเดียคนหนึ่งว่า รัฐบาลว่าฉ้อฉลสร้างหลักฐานเท็จในเรื่องการค้นพบทางโบราณคดีนี้ ก่อนที่จะมีการพิสูจน์ ท่านอุปราชจึงอยากจะให้เรื่องมันจบๆไปโดยรัฐบาลอังกฤษได้หน้าได้ตาทางวิเทโศบายด้วย การทูลเกล้าฯถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจึงลงตัวเป็นอันดีในทั้งสองกรณีย์


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 13, 21:26
ดูคลิปนี้เพิ่มด้วยก็ได้ค่ะ  Prof Harry Falk ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาอินเดียโบราณ ยืนยันว่าเป็นโบราณวัตถุของแท้

http://www.youtube.com/watch?v=HwhABtpl5Q8


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 21:30
พระผอบและจารึกภาษาสันสกฤตครับ



กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: aradabkk ที่ 16 ก.ย. 13, 21:52
ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์เนาวรัตน์ บังเอิญว่าดิฉันได้ชมสารคดีนี้ในฉบับภาษาฝรั่งเศส จากช่อง Arte  ซึ่งดิฉันไม่ได้สันทัดภาษาฝรั่งเศสนัก link ที่ให้ไว้ไปหาเจอในภาคภาษาอังกฤษซึ่งดิฉันเองยังไม่ได้รับชม ขอบคุณที่ชี้แนะให้ค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 13, 21:58
ไม่รู้ว่าภาษาที่จารึกอยู่บนผอบนั้นใช้อักษรอะไรเขียน   ไม่เคยเห็นค่ะ  ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ใช้อักษรต่างๆเขียนได้
แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายคืออักษรเทวนาครี
อักษรเทวนาครีที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤต  หน้าตาเป็นอย่างนี้

อ่านเพิ่มเติมเรื่องภาษาสันสฤตได้ที่นี่ค่ะ
http://www.gotoknow.org/posts/361068


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 22:13
ในคลิ๊ปบอกว่าเป็นภาษาสันสกฤตครับ แต่เป็นภาษาสันสกฤตแบบโบราณ พบได้ทั่วไปในโบราณสถานที่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกก็จารึกด้วยอักษรนี้ครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 13, 22:41
เสาหินพระเจ้าอโศก จารึกด้วยอักษรพราหมี( brahmi )
งั้นผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  คงจารึกด้วยอักษรนี้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 22:44
ใช่แล้วครับ
ผมไม่ทราบว่า brahmi จะอ่านว่า พราหมี

นึกว่าเป็นอักษรของพวกพราหม์ ซึ่งหมายถึงสันสกฤต


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 13, 22:59
สันสกฤต เหมือนบาลีอยู่อย่างหนึ่งคือเขียนด้วยอักษรได้หลายชนิด  ทั้งพราหมี เทวนาครี  โรมัน และไทย ค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 13, 23:13
ถ้าอย่างนั้นคงเขียนได้อีกหลายภาษานะครับ เช่น มอญ พม่า ลาว เขมร หรือ คาตาคานะ ฯลฯ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 13, 23:21
ถามจริงหรือเปล่าคะ?
ภาษาอื่นไม่รู้  แต่อักษรเขมรน่าจะเขียนสันสกฤตได้     คำว่า ฤทธิ์ อย่างในชื่อเจ้านโรดม  รณฤทธิ์  มาจากภาษาสันสกฤตค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 17 ก.ย. 13, 04:06
http://jayanti2600.wordpress.com/2012/08/24/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 06:10
อ้างถึง
ถ้าอย่างนั้นคงเขียนได้อีกหลายภาษานะครับ เช่น มอญ พม่า ลาว เขมร หรือ คาตาคานะ ฯลฯ

มอญ พม่า ลาว

อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (คำเมือง) พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ เช่นเดียวกับอักษรพม่า อักษรชนิดนี้ใช้ในอาณาจักรล้านนาเมื่อราว พ.ศ. 1802 จนกระทั่งถูกพม่ายึดครองใน พ.ศ. 2101 ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา พบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย (ส่วนที่เป็นเขตอาณาจักรล้านนาเดิมและเขตที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านนาบางแห่ง) นอกจากนี้ยังแพร่หลายถึงไปถึงเขตรัฐไทยใหญ่แถบเมืองเชียงตุง ซึ่งอักษรที่ใช้ในแถบนั้นจะเรียกชื่อว่า "อักษรไตเขิน" มีลักษณะที่เรียบง่ายกว่าตัวเมืองที่ใช้ในแถบล้านนา

อนึ่ง อักษรธรรมล้านนายังได้แพร่หลายเข้าไปยังอาณาจักรล้านช้างเดิมผ่านความสัมพันธ์ทางการทูตและทางศาสนาระหว่างล้านนากับล้านช้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ร่วมสมัยกับพระเจ้าโพธิสารราชและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง เป็นต้นเค้าของการวิวัฒนาการของแบบอักษรที่เรียกว่าอักษรธรรมลาว (หรือที่เรียกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยว่า "อักษรธรรมอีสาน") ในเวลาต่อมา

คาตาคานะ

The monk Kūkai introduced the Siddhaṃ script, which being a Brahmic script used the Sanskrit ordering of letters, to Japan in 806 on his return from China. Buddhist monks who invented Katakana chose to use the word order of Sanskrit and Siddham, since important Buddhist writings were written with those alphabets.


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 07:03
ผมคิดว่าประเด็นที่น่าสนใจยังอยู่ที่ประเด็นเดิมที่สร้างความปวดหัวให้รัฐบาลอังกฤษ ที่ว่า พระอัฐิธาตุซึ่งอ้างว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านั้น เป็นของแท้หรือไม่แท้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชหรือไม่ หรือปลอมขึ้นในสมัยหลังนี่เองโดยนายเปปเป นักโบราณคดีอังกฤษผู้อ้างการค้นพบ ประเด็นนี้ก็ถกกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ ปัจจุบันพวกที่เชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุมีรูปพรรณสันฐานดั่งเพชรพลอยก็ยังประดักประเดิดที่จะเชื่อคำวืนิจฉัยของนักโบราณคคีอยู่

ความเห็นของสมเด็จกรมพระยาดำรงตามเวปที่โยงให้โดยคุณhobo มีความอันน่าตรึกตรองยิ่งว่า พระพุทธองค์เองจึงมิได้ให้ความสำคัญในเรื่องพระธาตุเจดีย์อันจะบรรจุพระพุทธอัฐิ แต่ทรงแนะนำให้พุทธศาสนิกชน ยามที่รำลึกถึงพระองค์ก็ให้ไปสักการะสังเวชนียสถานทั้ง๔ ดังนั้นชาวพุทธในอินเดียตั้งแต่โบราณกาลจึงไม่ใส่ใจในพระธาตุเจดีย์มากนัก

ชรอยพระพุทธองค์จะทรงหยั่งรู้ว่า พระอัฐิธาตุนั้นสามารถปลอมแปลงขึ้นได้ในรูปลักษณ์ต่างๆ เพื่อสร้างหรือทำลายศรัทธาของชาวพุทธ

ย้อนรอยความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ กับกระบวนการพิสูจน์ความจริงในยุครัชกาลที่ 5
โดย : เพ็ญนภา หงษ์ทอง

เช้าตรู่วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ผ้าแดงผืนใหญ่ถูกแห่ขึ้นห่มองค์ภูเขาทอง เป็นสัญลักษณ์ว่าอีก ๓ วันข้างหน้า งานสักการะพระบรมสารีริกธาตุประจำปีจะถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ บรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง สัญลักษณ์เด่นตระการของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่อยู่คู่กับราชธานีแห่งนี้มานับแต่สมัยรัชกาลที่ ๕

สำหรับชาวพุทธส่วนใหญ่ งานสมโภชน์ที่จัดขึ้นในช่วงกลางเดือน ๑๒ ของทุกปีเช่นนี้ หมายถึงช่วงเวลาสำคัญที่จะได้เข้าร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ในการสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในองค์เจดีย์ภูเขาทอง เปรียบประดุจการได้ทำการถวายสักการะพระพุทธองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างใกล้ชิด

แต่อีกหลายคนวาระอันสำคัญนี้หมายถึงความสงสัยในความจริงแท้ของพระบรมสารีริกธาตุย้อนกลับมาให้คิดถึงอีกครั้ง จะเชื่อได้อย่างไรว่าสิ่งที่ชาวพุทธกระทำการมหาสักการะด้วยศรัทธาอันตั้งมั่นนั้น คือสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระสรีระของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ซึ่งความสงสัยนี้เคยถูกทำให้จางหายไปจากใจคนในอดีต ด้วยกระบวนการการพิสูจน์ความจริงว่าด้วยพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขึ้น เพื่อตอบคำถามของทั้งชาวไทยและชาวโลกในยุคสมัยของพระองค์

ความสงสัยในความแท้หรือเทียมของพระบรมสารีริกธาตุนี้ ดังขึ้นนับแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๗ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๑) เมื่อ ยอจ์ช เครฟวิล ราชทูต และกงสุลแห่งประเทศอังกฤษ มีจดหมายในนามรัฐบาลอินเดีย ทูลมายังพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงษ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศของสยาม ณ ขณะนั้น ความตอนหนึ่งว่า

“...ท่อนอัฐิและอังคารที่พบปะขึ้นนี้ ปรากฏว่าเป็นของพระสมณโคดมพุทธศากยมุณี...สิ่งของอื่นๆ ทั้งหลายที่พบขึ้นด้วยกันนั้น ก็เป็นสิ่งที่ชอบใจของผู้ศึกษาชาวยุโรป...ส่วนพระพุทธสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นอัฐิและอังคารนั้น เป็นของนับถือศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนิกชน เหตุฉะนั้นรัฐบาลอินเดียจึงมีความประสงค์จะทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม อันเป็นบรมกษัตริย์ ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาอยู่พระองค์เดียวทุกวันนี้ เพื่อจะได้ทรงจำแนกแก่ผู้ที่ควรได้รับรักษาไว้” (จากสำเนาคำแปลจดหมาย, เอกสาร ร.๕ แฟ้ม ศ.๑๑ หมายเลข ๑๒/๑๑ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
“พระพุทธสารีริกธาตุ” ที่ ยอจ์ช เครฟวิล อ้างถึงในจดหมายคือ “พระอัฐิและอังคาร” ที่ วิลเลียม แคลกตันซ์ เปปเป ชาวอังกฤษ ขุดพบในต้น ร.ศ. ๑๑๖ ใต้พื้นดินในบริเวณที่เรียกว่า ปิปราห์วะ โกต (Piparahawa Kot) แควันบัสติ ซึ่งในอดีตถือว่าอยู่ในเขตกรุงกบิลพัสดุ์ และมีการพิสูจน์จากรัฐบาลอินเดียและอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของอินเดีย แล้วว่าเป็น “อัฐิของสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า”

จดหมายฉบับนี้ก่อให้เกิดความตื่นตัวในราชสำนักแห่งสยามอย่างยิ่งว่า ควรจะมีทีท่าอย่างไรในการตอบกลับรัฐบาลอินเดีย

“การที่จะพึงกล่าวมีอยู่แต่สองอย่าง คือจะรับเชื่อถือหรือไม่รับโดยไม่เชื่อถือเท่านี้...ถ้ารับ จำต้องระวังการที่นักปราชญ์ในประเทศอื่นจะกล่าวคำโต้แย้งว่า พระธาตุรายนี้มิใช่พระบรมสารีริกธาตุโดยแท้ ถ้าหากว่าเขาหาเหตุผลประจักษ์แก่ตาชาวโลกได้ว่ามิใช่พระบรมสารีริกธาตุโดยแท้ ความเสื่อมเสียในข้อที่หลงเชื่อสิ่งที่ไม่เป็นจริงก็จะบังเกิดขึ้น ถ้าหากว่าไม่รับ ก็จำเป็นจะต้องทรงชี้แจงเหตุผลให้ประจักษ์แก่ตาชาวโลกว่าไม่ควรเชื่ออัฐิรายนี้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุโดยเหตุใด ถ้าไม่ชี้แจงได้เช่นนั้นพวกนับถือศาสนาในเมืองอื่น คือ เมืองลังกา และเมืองพม่า พากันลงเนื้อเชื่อถือได้ไปไว้ในเมืองนั้นๆ ความเสื่อมเสียพระเกียรติยศก็จะมี เป็นการยากมีอยู่ทั้งสองฝ่ายฉะนี้” ส่วนหนึ่งของจดหมายที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีว่าการมหาดไทย เขียนกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ.๒๔๔๑) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเดิมพันในการเชื่อหรือไม่เชื่อในความจริงแท้แห่งพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้ยิ่งใหญ่และสำคัญต่อราชสำนักสยามนัก

การพิสูจน์ทราบความจริงแท้แห่งองค์พระบรมสารีริกธาตุ เริ่มขึ้นนับแต่วันที่จดหมายจากยอช เครฟวิล เดินทางถึงราชสำนักสยาม ไปจนถึงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๗ ที่ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ มีจดหมายตอบกลับไปยังยอจ์ช เครฟวิล ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นผู้ออกไปรับพระบรมสารีริกธาตุนั้น โดยจะเริ่มออกเดินทางในเดือนธันวาคมทันที ชัดเจนว่าสยามประเทศมีข้อยุติแล้วว่า มีความเชื่อถือในพระบรมสารีริกธาตุนั้นว่าเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างไม่มีทางปฏิเสธว่าไม่ใช่

เอกสารหลักฐานทางประวัติสาสตร์ ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการวินิจฉัยของราชสำนักสยามนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการพิจารณาจากหลักฐานเอกสารที่รัฐบาลอินเดียทำสำเนาส่งมา ซึ่งทางอินเดียและอังกฤษเองก็มีกระบวนการพิสูจน์ที่ละเอียดยิ่ง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพระชินวรวงศ์ ภิกษุ (อดีตพระองค์เจ้าปฤษฎางค์) ซึ่งจาริกแสวงบุญอยู่แถบประเทศศรีลังกาและอินเดียในขณะนั้น เดินทางไปตรวจสอบหลักฐานถึงถิ่นที่ค้นพบ โดยเฉพาะจารึกโบราณ อันเป็นหลักฐานสำคัญที่ระบุว่า พระอัฐิธาตุที่พบเป็นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลักฐานทุกอย่างที่ได้รับจากรัฐบาลอินเดีย และจากพระชินวรวงษ์ ถูกนำสู่ที่ประชุมเสนาบดี ซึ่งหลายท่านเชี่ยวชาญทั้งทางพุทธประวัติ ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี รวมไปถึงความสามารถในการวิเคราะห์อักษรพราหมี ซึ่งเป็นอักษรโบราณสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เพื่อถกเถียง แลกเปลี่ยนความเห็น และตรวจสอบหลักฐานร่วมกันอย่างละเอียด

ย้อนกลับสู่ปิปราห์วะ โกต ยุคต้น ร.ศ. ๑๑๖ เมื่อมิสเตอร์เปปเป ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุ เขาได้พบสิ่งของมากมาย และได้บันทึกการค้นพบนั้นลงพิมพ์ในวารสารรายเดือนของ “รอยัลเอเซียติก โซไซอตี้” ลงวันที่ ๑๕ กรกฏาคม ค.ศ.๑๘๙๘ (ร.ศ. ๑๑๗, พ.ศ. ๒๔๔๑) ซึ่งมีคำแปลบันทึกอยู่ในเอกสาร ร.๕ แฟ้ม ศ.๑๑ หมายเลข ๒/๑๑ แผนกเอกสารสำคัญ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ สรุปได้ว่า มีหีบศิลาทำจากหินทรายขนาดใหญ่ ๑ ใบ ในหีบศิลาพบภาชนะ ๕ ชิ้น ประกอบด้วย ผอบศิลา ๒, ตลับศิลา ๒, หม้อศิลา ๑, และชามแก้วมีฝาเป็นรูปปลาที่มือถือ ๑ ในภาชนะเหล่านั้นมี “อัฐิหลายท่อน” พลอยจารนัยหลายอย่าง แผ่นทองคำทำเป็นรูปดาวและสี่เหลี่ยม กับที่ตีพิมพ์รูปราชสีห์ ซึ่งมีการพิสูจน์ภายหลังว่าเป็นสิ่งที่เรียกว่าสากยสิงหะ ที่สำคัญคือตามรอบของฝาผอบใบที่ ๑ มีคำจารึกเป็นอักษรพราหมี อันเป็นภาษาที่มีใช้ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.๒๔๐- พ.ศ.๓๑๐) อยู่ด้วย

ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลอินเดียและรัฐบาลอังกฤษ เทียบเคียงสิ่งของที่เปปเปพบ กับสิ่งของที่มีการพบกันก่อนหน้านั้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความเกี่ยวพันกับวิถีของชาวพุทธสมัยพระเจ้าอโศก อีกทั้งมีการแปลอักษรพราหมีที่จารึกรอบฝาผอบใบที่ ๑ เป็นภาษาบาลี และภาษาอังกฤษ ราชสำนักสยามสร้างความมั่นใจให้ตนเองด้วยการให้พระชินวรวงษ์ คัดลอกจารึกอักษรพราหมี ส่งกลับมายังดินแดนสยาม เพื่อให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทำการศึกษาเทียบเคียงกับอักษรพราหมีที่ปรากฏในจารึกอโศก ที่ขุดค้นพบก่อนหน้านั้นโดยตรง ซึ่งกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สรุปความได้ว่า

“นี้ ที่บรรจุพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้า ของศากยพี่น้องผู้ชายผู้มีเกียรติงาม พร้อมทั้งพี่น้องผู้หญิง พร้อมทั้งลูกเมีย”

ในขณะที่ฝ่ายอินเดีย เมื่อแปลมาเป็นภาษาอังกฤษ และถอดความเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งได้ความว่า “อัฐซึ่งฝังเก็บไว้นี้ เป็นอัฐิของสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนของผู้มีเกียรติคุณ อันเป็นภาดาและภคินี กับทั้งบุตรและบุตรสะใภ้ แห่งวงศ์สกยราช”

เมื่อนำข้อความของจารึกโบราณนั้นมาพิจารณาเทียบเคียงกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ กรุงกุสินารา และเหล่ามัลลกษัตริย์ร่วมกันถวายพระเพลิงแล้ว โทณพราหมณ์ได้ทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารรีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อให้บรรดากษัตริย์ที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ เพื่อเข้าร่วมงานพระบรมศพ ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เมืองของตน ให้ชาวเมืองได้สักการะบูชา

พระบรมสารีริกธาตุ ๑ ใน ๘ ส่วนนั้น ถูกแบ่งให้กับกษัตริย์สกยราช(ศากยราช) พระญาติวงศ์ของพระพุทธองค์เพื่อให้อัญเชิญไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ประกอบหลักฐานอื่นๆ ที่ทางอินเดียส่งมาให้ ความสงสัยของราชสำนักสยามในความจริงแท้แห่งพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียทูลเกล้าฯ ถวาย ก็เป็นอันสิ้นสุดลง

๑๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๗ (การนับรัตนโกสินทร์ศกใช้เดือนเมษายนเป็นเดือนแรก และเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี เมื่อเทียบกับปัจจุบันจึงเป็นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๒) พระยาสุขุมนัยวินิต เดินทางถึงโกรักบุรี และเข้ารับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากข้าหลวงใหญ่เมืองโกรักบุรี เชิญบรรจุในพระเจดีย์กะไหล่ทองคำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานมาจากกรุงสยาม และเดินทางกลับถึงรัฐสยามในวันที่ ๒ มีนาคม ขึ้นฝั่งที่เมืองตรัง จากตรัง พระบรมสารีริกธาตุได้รับการอัญเชิญต่อไปยังพระวิหารบนเกาะพระสุมทรเจดีย์ ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์กะไหล่ทองคำจะได้รับการประดิษฐานบนบุษบก เพื่อรอฤกษ์เคลื่อนไปประดิษฐานที่บรมบรรพตต่อไป

๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๘ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๒) พระสงฆ์ ๘ รูป พร้อมเจ้าพนักงานกรมภูษามาลา กรมราชบัณฑิต กรมสังฆการี เดินทางไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่วิหารเกาะพระสุมทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ ประดับประดาด้วยดอกไม้ ธงทิว จากสถานีรถไฟตำบลวัวลำพอง (หัวลำโพง) ขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ นำโดยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมขุนนครราชสีมา พระสงฆ์ และเหล่าทายก ทายิกา ได้ร่วมกันอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาตามถนนเจริญกรุง ถนนวรจักร และ ถนนบำรุงเมือง มุ่งหน้าสู่พระบรมบรรพต เพื่อบรรจุลงประดิษฐาน ณ ใจกลางพระเจดีย์ ให้พุทธศาสนิกชนได้กระทำการถวายสักการะอย่างใกล้ชิดจนถึงปัจจุบัน เป็นปีที่ ๑๑๓

แม้กระบวนการและขั้นตอนในการพิสูจน์ความจริงแท้แห่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขึ้นนี้ จะยังไม่สามารถสร้างความกระจ่างให้กับอีกหลายคำถามได้ เช่น อัฐิในภาชนะทั้ง ๕ ใบ ที่เปปเปขุดพบเป็นของพระพุทธองค์ทั้งหมด หรือเฉพาะอัฐิที่อยู่ในผอบใบที่มีอักษรโบราณจารึกอยู่ หากเป็นพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด แล้วเหตุใดจึงบรรจุแยกผอบกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นคำถามรัชกาลที่ ๕ ทรงถามขึ้นในที่ประชุมเสนบดีในครั้งนั้น และยังไม่มีหลักฐานแสดงเหตุผลได้

แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคืออัฐิที่ค้นพบที่อินเดีย และประดิษฐาน ณ บรมบรรพต แห่งวัดสระเกศฯ ในปัจจุบันนี้ได้รับการยืนยันด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์แลัวว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระสรีระแห่งพระพุทธองค์อย่างไม่ต้องสังสัย ข้อสรุปนี้ น่าจะทำให้ความคลางแคลงใจของพุทธศาสนิกชนรุ่นใหม่จางหายไปและเข้าร่วมงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายนนี้ ได้ด้วยศรัทธาอันตั้งมั่นยิ่งขึ้น

แหล่งข้อมูล
- จดหมายเหตุเรื่องพระสารีริกธาตุ เอกสาร ร.๕ แฟ้ม ศ.๑๑ หมายเลข ๒/๑๑, ๓/๑๑, ๑๒/๑๑ และ ๑๓/๑๑ แผนกเอกสารสำคัญ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
- ประวัติวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และจดหมายเหตุเรื่องพระสารีริกธาติเมืองกบิลพัสดุ์ คณะรัฐมนตรีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตฐาน (อยู่ ญาโณทโย) สมเด็จพระสังฆราช, ๒๐ พศจิกายน ๒๕๐๘
- บามิยัน ดินแดนประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองและมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร), ธันวาคม ๒๕๕๕
กราบขอบพระคุณ พระพรหมสิทธิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และ พระมหาพิศุทธิ์ วิสุทฺโธ วัดสระเกศฯ สำหรับคำแนะนำและการอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลและภาพประกอบ
ภาพทั้งหมด : เอื้อเฟื้อโดยวัดสระเกศ ซึ่งสำเนาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง




กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 08:59
พระผอบและจารึกภาษาสันสกฤตครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5762.0;attach=43348;image)

ผอบองค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุมีอักษรโบราณกำกับอยู่ นาย T.W. Rhys Davids แปลได้ความว่า ‘นี้คือพระบรมสารีริกธาตุที่แท้จริงของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งศากกะยะวงศ์อันประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธาน อันห้อมล้อมบำรุงโดยราชตระกูล: This shrine for Relics of the Buddha, the August one, is that of the Sakayas, the brethren of the Distinguished one, is association with their sister and with their children and their wives.’

จาก ลิ้งก์ข้างบนของคุณโฮโบ (http://jayanti2600.wordpress.com/2012/08/24/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2/)  ;D


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 10:03
จารึกที่ปรากฏบนพระผอบอ่านเป็นภาษาสันสกฤต ออกเสียงว่า

Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.  
ซึ่งนักโบราณคดีแปลไว้โดยสำนวนต่างๆกัน แต่ในทำนองเดียวกันว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุทั้งสิ้น
นอกจากที่คุณเพ็ญยกมา

นี้คือพระบรมสารีริกธาตุที่แท้จริงของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งศากกะยะวงศ์อันประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นประธาน อันห้อมล้อมบำรุงโดยราชตระกูล

ยังมีอื่นๆอีก ดังเช่น

“This relic deposit of the Lord Buddha is the share of this renowned Sakya brethren, his own sister’s children and his own son.”

ภาษาอังกฤษข้างบน บางสำนวนเป็นพหูพจน์ ถอดความประมาณนี้
ที่บรรจุพระบรมสารีริธาตุนี้ร่วมกัน(สร้าง)โดยพี่น้อง(ชาย)ศากยวงศ์ พี่น้องหญิงและบรรดาบุตร(ของเขาและเธอเหล่านั้น)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 10:04
เรื่องนี้ตามไปอ่านแล้วชักสนุก สงสัยกระทู้นี้จะยาว


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 10:31
แปลไม่ค่อยจะตรงกันเลย
ยกเก้าอี้มาฟังกระทู้ยาวค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 13, 10:34
เข้ามากราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุครับ

ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองศิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปีนั้น รัฐบาลอินเดียได้ร่วมการเฉลิมฉลองในวาระอันเป็นมหามงคลนี้

ทางรัฐบาลไทยได้ติดต่อกับรัญบาลอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนี้ออกจากประเทศอินเดียชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนได้สักการะที่พุทธมณฑล

ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๙ ถึงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐


การสำรวจทางโบราณคดีของอินเดีย ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ๑๖ องค์ แบ่งเป็บจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงนิวเดลี ๑๔ องค์

และจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่เมืองกัลกัตตา ๒ องค์


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 13, 10:38
ตัวผอบ ทำจากหินสบู่ มีจารึกด้วยอักษรพราหมณ์ ภาษามคช ว่า "พระสถูปนี้คือที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างถวายโดยพระภาตา พระภคิณี พระโอรส และพระชายาแห่งสุกิติสากยวงศ์"


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 17 ก.ย. 13, 10:41
is association with their sister and with their children and their wives

ตรงนี้น่าจะเป็น in association ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็น่าจะมีทั้งของพระพุทธเจ้า + เหล่าเจ้านายแห่งศากยวงศ์ รวมกันด้วยครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 17 ก.ย. 13, 10:43
ได้อ่านเทียบภาษามคธที่คุณหนุ่มเอามาลงแล้ว แสดงว่าตาเดวิดแปลคาดเคลื่อน สุกติติ หายไปทั้งคำเลยครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: ตูมตั้งบังใบ ที่ 17 ก.ย. 13, 10:53
ยังสงสัยว่าทำไมพระบรมสารีริกธาตุรวมถึงพระธาตุของบรรดาพระสาวกที่ค้นพบในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ถึงไม่มีลักษณะเป็นเหมือนอัญมณีแบบที่ปรากฎในดินแดนแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 11:06
ได้อ่านเทียบภาษามคธที่คุณหนุ่มเอามาลงแล้ว แสดงว่าตาเดวิดแปลคาดเคลื่อน สุกติติ หายไปทั้งคำเลยครับ

"สุกิติ" สุ = ดี งาม   กิติ  บาลีว่า กิตติ = คำสรรเสริญ

ตาเดวิดแกแปลว่า  the Distinguished one
(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 11:20
แผนที่นี้แสดงว่าเมืองปิปราห์วะ อยู่ใกล้ๆลุมพินี สถานที่ประสูตินั่นเอง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 11:23
ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และของมีค่าที่บรรจุอยู่ในสถูป


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 11:31
 :D


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 13, 11:38
นักโบราณคดีชาวอินเดีย สันนิษฐานว่า ผอบศิลานี้น่าจะอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑ ซึ่งการขุดค้นได้พบตราดินเผา ประทับจารึกซึ่งมีใจความว่า "ที่นี่เป็นวัดของภิกษุแห่งกรุงกบิลพัสดุ์"

จึงสันนิฐานว่า เมือง Phprahawa ก็เป็นเมืองกบิลพัสดุ์เก่านั่นเอง

การค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ขุดพบ ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๒ นั้นพบเมื่อปี ๒๕๑๕ โดยพบอยู่ลึกกว่าที่ขุดเดิมเล็กน้อยโดนมีข้อสันนิษฐานว่า

ผอบที่ค้นพบลึกสุด (พบครั้งที่ ๒) เป็นส่วนของโทณะพราหมณ์ที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนมอบให้กษัตริย์นำไปสร้างพระสถูปต่าง ๆ ซึ่งก็คือองค์นี้

ส่วนการค้นพบครั้งที่ ๑ เป็นกลุ่มพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้รวบรวมจากสถูปต่าง ๆ ที่ร้างนำมารวมบรรจุไว้ที่แห่งนี้ (ซึ่งอยู่ชั้นบน ทำให้พบก่อน - ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 17 ก.ย. 13, 11:52
ผมเข้าใจผิด ปล่อยไก่ตัวเบ้อเร่อ ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งหลายที่กรุณาแก้ไขครับ ตกลงคำว่า สุกิติเป็นคำขยายศากยวงศ์ ไม่ได้เป็นชื่อเฉพาะของศากยวงศ์สายนี้อย่างที่ผมเข้าใจแต่แรก ถ้าอย่างนั้นที่แปลๆ มาก็คล้ายๆ กันใช่ไหมครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 11:55
ขอผมกลับไปเริ่มต้นที่สารคดีในคลิ๊ปของจขกท.ก่อนนะครับ

เรื่องนี้เกิดจากชาร์ลส์ อัลเลน นักประวัติศาสตร์ในเรื่องโบราณคดีของอินเดียผู้มีชื่อเสียง ได้สนใจที่จะค้นคว้าหาความจริงครั้งที่นายวิลเลี่ยม เปปเป้ ค้นพบเมื่อสมัยอินเดียยังคงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่๕ของไทย นายเปปเป้ผู้นี้เป็นนักโบราณคดีระดับสมัครเล่น เมื่อได้ไปเป็นผู้จัดการของบริษัทที่ดินทางภาคเหนือของอินเดีย เขาได้พบเนินดินที่น่าสนใจ จึงให้คนงานขุดลงไปเจอซากโบราณสถาน ลึกลงไปในระดับหกเมตรจากระดับพื้นดินนั้น เขาก็ได้พบหีบศิลา ภายในบรรจุของมีค่าประเภทแก้วแหวนเงินทองโบราณนับแล้วรวม๑๖๐๐ชิ้น ซึ่งโปรยปรายไว้บูชาภาชนะคล้ายผอบของไทยสี่ห้าใบที่วางรวมกันอยู่ เมื่อเปิดใบที่มีอักขระโบราณจารึกไว้ เขาพบว่าในนั้นมีอัฐิและเถ้าอังคารบรรจุอยู่


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 12:02
เปปเป้ไม่ทราบว่าจารึกนั้นมีความหมายอย่างไร เขาจึงคัดลอกอักขระดังกล่าวส่งไปให้เจ้าพนักงานโบราณคดีท้องถิ่น ดอกเตอร์ แอนตัน ฟูเรอร์ ชาวเยอรมันที่รับราชการในรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในเรื่องพุทธศาสนคดีอย่างยิ่งผู้หนึ่งแห่งยุค จากจดหมายโต้ตอบหลังจากได้อ่านอักขระที่หลานปู่ของนายเปปเป้ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีนั้น แสดงว่าทั้งคู่เชื่อโดยบริสุทธ์ใจว่าคือพระบรมสารีริกธาตุ

แต่หลังจากที่เรื่องนี้เป็นข่าวขึ้นมาไม่นาน ฟูเรอร์ก็จำใจต้องรีบลาออกจากราชการ เพราะปรากฏข้อกล่าวหาว่าเขาอาศัยตำแหน่งหน้าที่ ปลอมแปลงโบราณวัตถุ พระไตรปิฏก รวมทั้งพระบรมสารีริกธาตุ(ซึ่งตอนนั้นพบตามสถูปเจดีย์ต่างๆหลายแห่งมาก จนบริติชมิวเซียมมีเป็นห่อใหญ่ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงเห็น) ส่วนหนึ่งหลอกขายไปให้ชาวพม่า เรื่องการค้นพบของนายเปปเป้ซึ่งรับรองโดยดอกเตอร์ฟูเรอร์ เซียนๆในวงการจึงส่ายหัวดิก ท่านอุปราชซึ่งรับเรื่องไว้แล้วก็กระอักกระอ่วนเป็นยิ่งนัก เพราะไม่มีปัญญาจะตัดสินอะไรจริงอะไรเท็จ และคนอังกฤษก็ไม่สนใจพระบรมสารีริกธาตุมากไปกว่าเพชรพลอยของมีค่าที่บรรจุร่วมกันอยู่ในพระสถูป เมื่อพระภิกษุพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงแนะนำให้ถวายพระเจ้าอยู่หัวของไทย ท่านเห็นทางออกที่สุดสวย จึงรับลูกทันที

หลังเรื่องนี้แล้ว คนอังกฤษก็ไม่สนใจเรื่องนี้อีก


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 12:07
แถมนอกเรื่องนิดนึง ตอนที่โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยายมราชไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาจากอินเดียนั้น ก็เนื่องด้วยท่านเจ้าคุณเป็นพระมหาเปรียญเก่า เมื่อไปพบกับพระภิกษุพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่นั่น ทราบว่าทรงแอบหยิบพระบรมสารีริกธาตุใส่ย่ามมาสองสามชื้นตอนที่เจ้าหน้าที่อังกฤษนำมาอวด ทรงกะว่าถ้าอังกฤษไม่ยอมถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระเจ้าอยู่หัวตามที่ทรงแนะนำ ท่านก็จะเอาที่ท่านเม้มไว้ทูลเกล้าถวาย พระเก่าพอเจอพระใหม่ทำอย่างนั้นเข้าก็เต้นผาง ทูลว่าท่านต้องปาราชิกแล้ว(เพราะลักทรัพย์เขาเกินกว่า๕มาสก) รีบสึกเถ้อะ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านทรงเซ็งเรื่องนี้มาก ผ้าเหลืองร้อนๆรุ่มๆอยู่หลายปีเมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพก็จำต้องสึกในที่สุด เพราะท่านเจ้าคุณท่านออกข่าวว่าถ้าไม่สึกเองท่านจะจัดการสึกให้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 12:09
ขออนุญาตแทรกตรงนี้นิดนึง  ;)

จารึกที่ปรากฏบนพระผอบอ่านเป็นภาษาสันสกฤต ออกเสียงว่า

Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.  


เวลาล่วงเลยไป ๒,๔๔๐ ปี นายวิลเลียม แคลคสตัน เปปเป ได้ขุดพบสถูปโบราณซึ่งภายในบรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุของราชวงศ์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ โดยบนผอบมีอักษรพราหมณ์จารึกไว้ โดยถอดความได้ว่า

“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ”  

แปลความว่า

“ที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้ เป็นของศากยราชสุกิติ กับพระภาตาพร้อมทั้งพระภคินี พระโอรสและพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวายไว้”


จาก เว็บวัดสุนันทวนาราม  (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:5MyMjvpEdTYJ:www.watpahsunan.org/place/6.html+&cd=9&hl=th&ct=clnk&gl=th)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 12:15
Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.
“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ”  

คนละเรื่องเดียวกันไปเลย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 12:19
ที่จริงอ่านเกือบเหมือนกัน (มี สะภะคินิกานะ เพิ่มขึ้นมา)  อาจเป็นเพราะว่าผอบเป็นรูปทรงกลม ทำให้เริ่มต้นประโยคคนละที่

Sukiti bhatinam sa-puta-dalanam / iyam salila-nidhane Budhasa bhagavate sakiydnam.

                                             อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิยานะ / สุกิติภาตีนํ สะภะคินิกานะ สะปุตะทาลานะ

เมื่อพิจารณาคำแปลแล้ว เวอร์ชันคำอ่านอักษรไทย น่าจะตรงกับลำดับข้อความมากกว่า  ;)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 13, 13:37
การแกะภาษาออกมา ต้นฉบับเป็นแบบนี้ครับ

ที่มา http://www.piprahwajewels.co.uk/page4.html


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 13:49
      จาก ปฐมสมโพธิกถา

      พระสังคีติกาจารย์จึงนิพนธ์พระคาถาประมวลพระธาตุทั้งปวงไว้ในภายหลังว่า อุณฺหิสํ จตุโร ฑาฒา เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า พระบรมธาตุทั้งหลายคือพระอุณหิศ พระเขี้ยวแก้ว ๔ พระรากขวัญ ๒ ทั้ง ๗ พระองค์นี้ ตั้งอยู่ทั้งแท่งบมิได้ทำลาย แลพระสารีริกธาตุทั้งหลายอันเศษนั้นทำลายทั้งสิ้น ปรากฏเป็น ๓ สัณฐาน อย่างใหญ่นั้นมีประมาณเท่าเมล็ดถั่วแตก อย่างกลางนั้นมีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก     อย่างน้อยนั้นประมาณเท่าเมล็ดพรรณผักกาด ถ้าจะกำหนดโดยสี ขนาดใหญ่นั้นมีพรรณเหลืองคล้ายสีทอง ขนาดกลางนั้นมีพรรณดังสีแก้วผลึก ขนาดน้อยนั้นมีพรรณดังสีดอกพิกุลเป็น ๓ อย่าง  ถ้าจะประมวลพระธาตุทั้งสิ้นก็ตวงได้ ๘ โทณะ แลโทณะหนึ่งตวงได้สองทะนานสิริเป็น ๑๖ ทะนานด้วยกัน พระธาตุขนาดใหญ่นั้นตวงได้ ๕ ทะนาน ขนาดกลางนั้นก็ตวงได้ ๕ ทะนานเท่ากัน แต่ขนาดน้อยนั้นตวงได้ ๖ ทะนาน

          แลพระธาตุบมิได้ทำลาย ๗ พระองค์นั้น พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนฝ่ายขวากับพระรากขวัญเบื้องบน ขึ้นไปประดิษฐานในพระจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำฝ่ายขวาก็ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองกาลึงคราษฐ์ กาลบัดนี้ไปสถิตอยู่ในลังกาทวีป พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนฝ่ายซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราษฐ์ พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำฝ่ายซ้ายไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพระอุณหิศ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสเจดีย์ ณ พรหมโลก พระทนต์ทั้ง ๓๖ แลพระเกศาโลมาแลพระนขาทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดานำไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่างๆ ต่อๆ กันไป แลพระปริขารธาตุทั้งหลายนั้น พระกายพันธน์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองปาตลีบุตร ผ้าอุทกสาฎกไปสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาลราษฐ์ พระจัมมขันธ์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองโกสลราษฐ์ แลสีพระทนต์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองมิถิลา ผ้ากรองน้ำไปสถิตอยู่ ณ วิเทหราษฐ์ มีดกับกล่องเข็มไปสถิตอยู่ ณ เมืองอินทปัตถ ฉลองพระบาทแลถลกบาตรไปสถิตอยู่ ณ บ้านอุสิสพราหมณคาม เครื่องลาดไปสถิตอยู่ ณ เมืองมกุฏนคร ไตรจีวรไปสถิตอยู่ ณ เมืองภัทรราษฐ์ บาตรทรงสถิตในเมืองปาตลีบุตร บัดนี้ตกไปอยู่ลังกาทวีป นิสีทนสันถัตไปสถิตอยู่ ณ กุรุราษฐ์

          แล้วจึงกล่าวประฌามคาถาในที่สุด แปลเนื้อความว่า ข้าพระพุทธเจ้าถวายวันทนาการซึ่งพระธาตุทั้งหลายคือพระพุทธสรีรธาตุ แลปริกขารธาตุทั้งปวง อันเทพยดามนุษย์กระทำสักการบูชา

                                             ธาตุวิภัชนปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๗ จบ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 13, 13:49
จดหมายว่านำโบราณวัตถุไปยังพิพิธภัณฑ์ที่อังกฤษ ส่วนพระบรมสารีริกธาตุให้กษัตริย์แห่งสยามนำไปแจกต่อไป ผ่านโดยพระปฤฎางค์

http://www.piprahwajewels.co.uk/page6.html


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 13, 14:06
โบราณวัตถุที่ถูกบรรจุในกล่อง 4 กล่อง ประกอบด้วยแผ่นทองคำวงกลม รูปสิงโต และ สวัสดิกะ, หินสีแกะเป็นดอกไม้ ดอกบัว และกลุ่มลูกปัดหินสี

และภาพพานพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มา http://www.piprahwajewels.co.uk/page10.html


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 14:16
ต่อคะร้าบ ต่อ

ชาร์ลส์ อัลเลนพระเอกในสารคดีที่ออนแอร์เมื่อเร็วๆนี้ เกิดสนใจที่จะค้นหาความจริงที่ผ่านมาจนถึงรัชกาลที่๙ ว่าพระบรมสารีริกธาตุที่นายเปปเป้พบนั้น ตกลงเป็นของแท้หรือใครทำเทียมขึ้นหวังปั่นกระแสในยุคโน้น เขาได้รับความร่วมมือเป็นอันดีจากนายแฮร์รี ฟอร์ค ศาสตราจารย์ในภาควิชาภาษาอินเดียโบราณของสถาบันอินเดียศึกษาอันเก่าแก่ที่สุดของเยอรมัน ทั้งสองเดินทางไปพิพิธภัณฑ์กัลกาตาซึ่งเก็บผอบที่เจอในครั้งนั้นด้วยกัน หลังความพยายามอันยิ่งยวด ทางการของอินเดียก็ยินยอมเปิดกรุให้ทั้งสองดู เมื่อได้สัมผัสด้วยตาตนเอง ศาสตราจารย์ฟอร์คยืนยันว่าอักขรวิธีที่จารึกข้อความบนผอบนี้เป็นของแท้แน่จริง อ่านได้ว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในขณะเดียวกันก็สร้างปริศนาใหม่ขึ้นว่า ภาษาดังกล่าวนั้นยังมิได้เกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ แต่เกิดขึ้นในอินเดียหลังเสด็จปรินิพพานอย่างน้อยๆก็๑๕๐ปี


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 14:28
หลังถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบรมอัฐิและพระอังคารได้ถูกแบ่งเป็นแปดส่วนให้แก่กษัตริย์ต่างๆในชมพูทวีป หลังจากนั้นร้อยกว่าปี พระเจ้าอโศกก็ได้ขึ้นครองราชย์ ในต้นรัชกาลได้ทำสงครามไปทั่วสารทิศจนได้ชื่อว่าเป็นมหาราช อย่างไรก็ตาม ในภายหลังพระองค์ได้ยอมรับพระพุทธศาสนาและปราวณาพระองค์เป็นพุทธมามกะ พระองค์ทรงสั่งให้ราชบุรุษขุดทั้งแปดสถูปเพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุมารวมไว้ ก่อนจะแบ่งใหม่ไปบรรจุในสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยของพระองค์ นัยว่าให้ได้จำนวน๘๔๐๐๐องค์  ซึ่งในจำนวนนี้ คนของพระองค์ที่ได้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ยังดินแดนนอกขอบขัณฑสีมาก็อัญเชิญไปในเรือด้วย นี่เป็นเหตุว่าทำไมพระบรมธาตุหลายแห่งในเมืองไทยและตลอดอุษาคเนย์ ได้อ้างว่ามีพระบรมสารีริกธาตุแท้ๆที่ได้มาจากอินเดียบรรจุไว้ด้วย

พระบรมสารีริกธาตุนี้อังกฤษขุดพบในโบราณสถานหลายแห่ง บรรจุในผอบคล้ายๆกันหมดโดยมีอักษรพราหมนี ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในสมัยของพระองค์จารึกไว้ เหมือนที่เห็นจากนายเปปเป้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 14:37
ตรงนี้เองที่ผมเจอว่า เมื่อจะแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ได้พอบรรจุในสถูปเจดีย์ ๘๔๐๐๐องค์นั้น จึงจำเป็นที่พระบรมสารีริกธาตุจะต้องมีรูปพรรณสัณฐานเป็นอัญมณีบ้าง แต่จะเป็นด้วยพระพุทธานุภาพหรือราชานุภาพ ผมของดออกเสียงขรับท่านประธาน

ก็อย่างที่กรมพระยาดำรงท่านว่า เพียงแค่เป็นอัฐิธาตุที่พิพิธภัณฑ์ในลอนดอนรวบรวมไว้ พระพุทธองค์คงต้องสูงใหญ่ปานพญายักษ์


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 14:45
สำหรับที่กบิลพัสดุ์นั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่พระเจ้าอโศกมหาราชจะขุดพบพระบรมสารีริกธาตุที่พวกศากยะได้ไป แล้วนำมาแบ่งลงบรรจุใหม่ในผอบที่มีจารึกด้วยอักษรพราหมนี นำลงหีบศิลาพร้อมโปรยปรายด้วยเพชรนิลจินดาเป็นพุทธบูชา ดังที่นายเปปเป้ได้ค้นพบ

นักโบราณคดีชาวอินเดียยุคปัจจุบัน ได้ค้นพบความเป็นไปได้ของข้อสันนิฐานดังกล่าว โดยการขุดค้นต่อจากที่นายเปปเป้ได้กระทำไว้ แล้วพบห้องขนาดใหญ่ใต้ห้องที่นายเปปเป้พบหีบศิลานั้น

ในสารคดีที่จขกท.นำมาบอกต่อ นายอัลเลนได้ตั้งคำถามทิ้งไว้ว่าเป็นไปได้ไหม ว่าห้องที่อยู่ข้างล่างลงไปจะเป็นห้องในสถูปเก่าที่พวกศากยะวงศ์นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ก่อนพระเจ้าอโศกมหาราช

ของเขาจบตรงนี้ครับ ของเราจะจบหรือไม่จบ
(ขอยิ้มภาพของคุณหนุ่มหน่อย)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 14:52
ขณะนี้หลานปู่ของนายเปปเป้กำลังนำบรรดาเพชรนิลจินดาของมีค่าบางส่วนที่ปู่ได้ไว้จากการขุดค้นมาออกประมูลในเน็ท

พลันก็มีข้อครหาทันทีว่าเอาอีกแล้ว เปปเป้อีกแล้ว ฤาช่องHistory channel จะรับจ๊อบมาโปรโมตสินค้าของหลานนายเปปเป้

บร๊ะ แล้วไอ้ที่ผมนั่งเขียนมาแทบตายนี่ จะตัดตอนเชื่อตรงไหนดี


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 17 ก.ย. 13, 14:59
เข้ามาเตือนเศรษฐีมีทรัพย์ ท่านเจ้าสัว เจ๊สัวทั้งหลายว่า ของเหล่านี้ท่านทำถวายเป็นพุทธบูชา ไปเอามาเป็นของส่วนตัวปรับโทษเท่ากับขโมยของสงฆ์ เมื่อตายกายแตกต้องลงมหาอเวจีนรกนะครับ แต่แหมดาวกระจายผลึกหินสีม่วงนั้นน้ำงามจริงๆ ครับ ตาหลานก็ช่างจัดเรียง เป็นระเบียบสวยจริงๆ พิพิทธภัณฑ์ไทยน่าจะจัดอย่างนี้บ้าง น่าดูชมมากๆ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 15:22
อ้าว...เห

ในเวปของคุณหลานมีข้อความนี้ด้วย
Although most of the relics and jewels were given away after the find, Neil's grandfather was given permission by the then Indian government to keep some of the relics and jewels, and it is these Neil now wishes to sell.

แม้ว่าพระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีจะถูกแจกจ่ายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่หลังจากการค้นพบ ปู่ของนีลก็ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดียให้เก็บพระบรมสารีริกธาตุและอัญมณีบางส่วนไว้ และของเหล่านี้ปัจจุบันนีลต้องการจะขาย

กรุณาอย่าเซนเซ่อร์ครับ ผมบ่ได้มีธุรกิจแอบแฝงมาโฆษณากับท่านเล้ย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 13, 17:55
โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ,                       ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเราตถาคต
โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ,                        ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม
โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ,       ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
โย ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ,       ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม

เพราะฉะนั้น การเห็นพระพุทธเจ้า คือการเห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นความเกิดขึ้นของทุกข์, และการดับไม่เหลือของทุกข์ในขณะจิตหนึ่งๆ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 20:11
เรื่องเล่าในตระกูล "สุขุม"

เมื่อลอร์ดเคอสัน อุปราชของอินเดียในเครือจักรภพอังกฤษมีหนังสือกราบทูลถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขอให้ส่งราชทูตไปรับที่อินเดีย  จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ พระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช(ต่อมาเจ้าพระยายมราช) เป็นผู้แทนสยาม เดินทางไปรับโดยมีหลวงพินิตอักษรไปเป็นผู้ช่วย

เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถึงเมืองไทยแล้ว ก็ได้เดินทางโดยรถม้าหลวงเข้าพระบรมมหาราชวัง ครั้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯแล้วก็นั่งรอรับสั่งอยู่ ได้ทรงเปิดพระสถูปนำถุงผ้าที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มาเทออกในถาดทองคำ ทรงคัดเลือกเอาเฉพาะองค์พระบรมสารีริกธาตุออกมาบรรจุในพระสถูปทองคำแบบไทย แล้วจึงได้ทรงเทเอาผงอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นพวกดอกไม้ เครื่องหอม ที่ผู้บรรจุเดิมได้ใส่ไว้เป็นพุทธบูชากลับใส่ถุงเดิม แล้วพระราชทานให้พระยาสุขุมนัยวินิตรับไป
เมื่อท่านเจ้าคุณรับถุงผงนั้นแล้วก็กราบถวายบังคมลากลับบ้าน  แล้วนำถุงผงไปวางไว้ชั้นล่างของโต๊ะ๒ชั้นในห้องนอน โดยมิได้คิดอะไร

คืนวันนั้นซึ่งเป็นคืนเดือนมืด ผู้หญิงสองสามคนที่อยู่เป็นเพื่อนคุณหญิงตลับภรรยาของท่านในห้องถัดไปได้เอะอะขึ้น  ทำให้คุณหญิงตื่นขึ้นมาทันเห็นแสงสีขาวเป็นลำ ส่องเข้าไปทางหน้าต่างห้องนอนของท่านเจ้าคุณ เมื่อรีบเปิดประตูเข้าไปดู  จึงเห็นว่าแสงนั้นส่องไปที่ถุงผงที่วางไว้  จึงได้ปลุกท่านเจ้าคุณขึ้นมา  แล้วหยิบเอาถุงผงมาเทออกสำรวจ ปรากฏว่ายังมีพระบรมสารีริกธาตุติดอยู่กับเศษผงอีก ๓-๔ องค์

วันรุ่งขึ้น  ท่านเจ้าคุณนำพระบรมสารีริกธาตุที่ติดมาในถุงผงไปถวายคืนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกราบบังคมทูลให้ทรงทราบเรื่องอัศจรรย์ดังกล่าว ทรงมีรับสั่งว่า "เจ้าคุณเก็บไว้บูชาก็แล้วกัน  ฉันก็ได้คัดเลือกอย่างละเอียดแล้วเมื่อวานนี้  ไม่น่าจะมีเหลืออยู่อีก"

นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทำให้เจ้าพระยายมราชและลูกหลานสกุล“สุขุม” มีสมบัติตระกูลเป็นพระบรมสารีริกธาตุไว้บูชาสืบทอดกันมา



กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 21:16
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 21:45
รูปนี้บรรยายภาพว่า พระยาสุขุมนัยวินิต ถ่ายขณะเป็นผู้แทนประเทศสยามออกไปรับพระบรมสารีริธาตุที่ประเทศอินเดีย กับหลวงพินิตอักษร(พ.ศ. ๒๔๔๑)

ผมดูแล้วไม่น่าจะใช่ รูปท่านเจ้าคุณที่คู่กับคุณหญิงถ่ายก่อนหน้าที่ท่านจะไปอินเดียหลายปี ไม่มีอะไรคล้ายกับบุคคลในภาพนี้เลย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 21:51
อ้างถึง
นักโบราณคดีชาวอินเดียยุคปัจจุบัน ได้ค้นพบความเป็นไปได้ของข้อสันนิฐานดังกล่าว โดยการขุดค้นต่อจากที่นายเปปเป้ได้กระทำไว้ แล้วพบห้องขนาดใหญ่ใต้ห้องที่นายเปปเป้พบหีบศิลานั้น

ในสารคดีที่จขกท.นำมาบอกต่อ นายอัลเลนได้ตั้งคำถามทิ้งไว้ว่าเป็นไปได้ไหม ว่าห้องที่อยู่ข้างล่างลงไปจะเป็นห้องในสถูปเก่าที่พวกศากยะวงศ์นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ก่อนพระเจ้าอโศกมหาราช

สิ่งที่ดอกเตอร์ศรีวัสตวะ( Dr. K.M. Srivastava) นักโบราณคดีชาวอินเดียค้นพบเมื่อปี๒๕๑๕ ในห้องใต้สถูปที่นายเปปเป้ขุดดังกล่าวนั้น เป็นภาชนะดินเผาธรรมดาที่ภายในมีผอบสองใบ กระดูกมนุษย์อยู่ถึง๒๐ชิ้น เกือบทั้งหมดเป็นกระดูกกระโหลกศีรษะ ชิ้นหนึ่งขนาดใหญ่มาก ถึง๓X๕เซนติเมตร

ผอบ๒ทั้งใบมีแผ่นทองคำประดับอยู่ ไม่มีอักษรใดๆให้อ่าน แต่ก็เชื่อกันว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 21:57
รัฐบาลอินเดียได้นำไปแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรุงนิวเดลฮี โดยเปิดเผยเหมือนโบราณวัตถุอย่างหนึ่ง มิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 13, 22:01
จนสถานเอกอัครราชทูตไทยที่นั่นทนไม่ได้ จึงทำเรื่องให้รัฐบาลไทยส่งบุษบกไปประดิษฐานให้อยู่ในที่อันควร


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 08:08
นี่ก็คนละเรื่องเดียวกัน ทั้งคำแปลอักขระและพระบรมสารีริกธาตุ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 09:01
^
ของเทียม


ของแท้

พระบรมสารีริกธาตุที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นิวเดลฮี

http://www.youtube.com/watch?v=1HQiyRm9l6E

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 13, 09:14
นี่ก็คนละเรื่องเดียวกัน ทั้งคำแปลอักขระและพระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุและผอบ เป็นคนละส่วนกัน ทำภาพกราฟฟิคแบบนี้ คนเข้าใจผิดกันแย่เลย

ตัวพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในตลับทองคำ ขุดพบที่พระปรางค์วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 09:25
อีกรูปแบบหนึ่งของพระบรมสารีริกธาตุ

ภาพถ่ายขณะนำไปบอกบุญเพื่อระดมทุนสร้างวัดในรัฐที่มีคนจีนและคนเอเซียอยู่มากในสหรัฐอเมริกา
พระทนตธาตุแบบไม่มีรอยไฟไหม้ของพระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นของพระทางมหายาน มีขนาดสูงถึง๕เซนต์ แต่มีคำอธิบายว่าเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อนก็ขนาดเท่าๆกับฟันกรามของมนุษย์ธรรมดานี่แหละ แต่ขยายขนาดขึ้นด้วยพลังอันเกิดจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 09:33
องค์นี้แบบกระดูกข้อนิ้วมือ อยู่ในเมืองจีนเช่นกัน ดูเหมือนคนจีนจะนิยมชนิดที่ไม่มีรอยไหม้ไฟ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 18 ก.ย. 13, 10:01
มีขนาดสูงถึง๕เซนต์ แต่มีคำอธิบายว่าเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อนก็ขนาดเท่าๆกับฟันกรามของมนุษย์ธรรมดานี่แหละ แต่ขยายขนาดขึ้นด้วยพลังอันเกิดจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก


ดูแล้วเป็นลักษณะฟันของสิ่งมีชีวิตพวกเคี้ยวเอื้อง ตัว crown สี่เหลี่ยม สูงมาก และมีร่องเป็นริ้วๆ ชัดเจน พระพุทธเจ้าไม่ฉันอย่างนั้นแน่ครับ ลองหาคำว่า bovine molar ใน google ดู จะมีรูปเหมือนมากรูปหนึ่ง จะเอามาก็เกรงใจ เป็นการทำลายขวัญพุทธศาสนิกชนชาวจีนมากไปหน่อย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 10:17
พระทันตธาตุที่มีชื่อเสียงที่สุดอยู่ในเมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา เรียกว่าพระทาฐธาตุ(พระเขี้ยวแก้ว) คือฟันเขี้ยวเบื้องต่ำขวา พระราชาแห่งแคว้นกาลิงคะได้ไป ภายหลังได้ถูกอัญเชิญไปเกาะลังกา ภายใต้อาณานิคมอังกฤษถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซีลอน ปัจจุบันเปลี่ยนกลับเป็นประเทศศรีลังกา
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จไปยุโรปครั้งแรกนั้น เรือพระที่นั่งได้เทียบท่าที่โคลัมโบ เมืองซีลอนของอังกฤษ ทรงมีพระราชประสงค์จะได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วที่ร่ำลือกันในตำนานมาก ข้าหลวงอังกฤษที่นั่นก็รับปากจะติดต่อทางวัดให้จัดถวายอำนวยความสะดวก จึงทรงมีพระราชอุสาหะพระราชดำเนินไปถึงเมืองแคนดี้ซึ่งห่างไกลจากโคลัมโบมากพอควร แต่ไปถึงแล้วเจ้าอาวาสที่นั่นกลับเล่นตัว จัดให้ทอดพระเนตรแต่ภายนอก ไม่เปิดพระสถูปให้ดูองค์พระทาฐุธาตุภายใน ใครจะอ้อนวอนอย่างไรก็หายอมไม่ จึงทรงพระพิโรธเสด็จกลับโดยไม่ได้พระราชทานสิ่งของที่เตรียมไปถวายเป็นพุทธบูชา
 
คนอ่านความตามพระราชบันทึกก็อารมณ์ค้างตาม เลยไม่ได้รู้กันว่าพระเขี้ยวแก้วมีลักษณะเป็นแท่งอัญมณี หรือเป็นพระทันตธาตุจริงๆตามแบบของมนุษย์ทั่วไป
อย่างไรก็ดี คนอ่านกระทู้นี้ก็ไม่ต้องอารมณ์ค้าง เพราะผมหาภาพทางพระอินทรเนตรมาฝากแล้ว


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 10:22
ผมเห็นแล้วก็พอเข้าใจ ท่านเจ้าอาวาสไม่ใช่อิคิวซัง คงไม่สะดวกจะวิสัชนาพระราชปุจฉายากๆ หากได้ทอดพระเนตรในวันนั้น


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 13, 10:23
มีขนาดสูงถึง๕เซนต์ แต่มีคำอธิบายว่าเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อนก็ขนาดเท่าๆกับฟันกรามของมนุษย์ธรรมดานี่แหละ แต่ขยายขนาดขึ้นด้วยพลังอันเกิดจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก


ดูแล้วเป็นลักษณะฟันของสิ่งมีชีวิตพวกเคี้ยวเอื้อง ตัว crown สี่เหลี่ยม สูงมาก และมีร่องเป็นริ้วๆ ชัดเจน พระพุทธเจ้าไม่ฉันอย่างนั้นแน่ครับ ลองหาคำว่า bovine molar ใน google ดู จะมีรูปเหมือนมากรูปหนึ่ง จะเอามาก็เกรงใจ เป็นการทำลายขวัญพุทธศาสนิกชนชาวจีนมากไปหน่อย

เมืองไทยก็เช่นกันนะครับคุณ Hobo เคยเดินท่าพระจันทร์ไหม ตลาดพระเครื่องมี พระอรหันต์ธาตุในรูปแบบปะการัง หินแคลเซียมจากถ้ำ เพียบ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 18 ก.ย. 13, 10:36
เคยเห็นครับ คุณ Siamese เคยมีคนให้ผมมาด้วย เป็นแก้วสีชมพู คล้าย quartz ชิ้นเล็กๆ เต็มไปหมด บอกว่าเป็นพระธาตุ จะทิ้งก็ไม่ได้ จะเอาขึ้นหิ้งพระไว้บูชาก็ตะคิดตะขวงใจ จะยกมือไหว้ก็ละอายใจตนเอง สุดท้ายให้คนอื่นไปต่อเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ไม่เข้าใจคือคนที่ทำมาหลอก นึกว่าคนอื่นเขาไม่รู้ทันหรืออย่างไร เห็นจะเป็นนิสัยของคนขี้โกหก ที่ชอบหลอกตัวเอง สะกดจิตตัวเองไปพร้อมกันด้วย แหมหลวงจีนนั่นก็ช่างกล้า บอกว่าขยายออกมาได้เอง ฟังแล้วน่าโมโห อยากกระชากหน้ากากพวกนี้จริงๆ ครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 10:57
เย็นไว้ ๆ

ผมเสนอเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ต้องการกระตุ้นต่อมโกรธท่านผู้ใด แต่เห็นประโยชน์ในการให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยจะทราบกัน หวังให้ปัญญาเกิด คนเราเมื่อมีปัญญาแล้วทุกอย่างก็ดีขึ้นเองแหละครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 18 ก.ย. 13, 11:06
ผมสบายดีครับ คำตอบดุเดือดไปหน่อย ต้องขออภัยท่านผู้อาวุโสครับ :-X


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 11:20
ดุเดือด แล้วรู้โดยพลันว่าตนกำลังดุเดือด ก็ถือว่าปัญญาเกิดแล้ว ตรงนี้ได้๑คะแนน
สะสมคะแนนมากๆเข้า วันหนึ่งรางวัลใหญ่จะเกิดแก่ตน โดยไม่ต้องอยากได้ ไม่ต้องขอใคร


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 13, 11:35
ดุเดือด แล้วรู้โดยพลันว่าตนกำลังดุเดือด ก็ถือว่าปัญญาเกิดแล้ว ตรงนี้ได้๑คะแนน
สะสมคะแนนมากๆเข้า วันหนึ่งรางวัลใหญ่จะเกิดแก่ตน โดยไม่ต้องอยากได้ ไม่ต้องขอใคร

ติดต่อรับรางวัลที่ไหนฮะ ....555+

สำหรับสิ่งที่รู้สึกแปลก ๆ หลังจากที่ได้มีบุญ ขึ้นเสลี่ยงคานหาม ขึ้นไปถึงยอดภูเขาทองได้จากผู้ใจบุญอนุเคราห์ ทราบว่าบนยอดบรมบรรพตนั้นมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่

แต่โบราณมาก่อนที่จะมีการปรับปรุงนั้น ประชาชนเข้านมัสการอยู่ต่อหน้าและเบื้องล่าง เดินเข้าไปในซุ้มคูหา กราบไหว้ได้ แต่ในปัจจุบันทำหลังคาคอนกรีตให้คนปีนขึ้นไปด้านบนได้

นั่นหมายถึงว่า เรายืนเหนือพระบรมสารีริกธาตุ คิดว่าไม่เป็นการสมควรเท่าไร.... แต่ได้เห็นวิวสวย ๆ ก็พาชื่นใจ เบิกบาน ลมเย็นมาก ๆ

สำหรับพระบรมสารีริกธาตุอื่น ๆ ที่ฝังในดิน มีปรางค์หรือเจดีย์คร่อมไว้ ขึ้นไปปีนป่ายก็น่าคิดอยู่


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 12:38
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จไปยุโรปครั้งแรกนั้น เรือพระที่นั่งได้เทียบท่าที่โคลัมโบ เมืองซีลอนของอังกฤษ ทรงมีพระราชประสงค์จะได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วที่ร่ำลือกันในตำนานมาก ข้าหลวงอังกฤษที่นั่นก็รับปากจะติดต่อทางวัดให้จัดถวายอำนวยความสะดวก จึงทรงมีพระราชอุสาหะพระราชดำเนินไปถึงเมืองแคนดี้ซึ่งห่างไกลจากโคลัมโบมากพอควร แต่ไปถึงแล้วเจ้าอาวาสที่นั่นกลับเล่นตัว จัดให้ทอดพระเนตรแต่ภายนอก ไม่เปิดพระสถูปให้ดูองค์พระทาฐุธาตุภายใน ใครจะอ้อนวอนอย่างไรก็หายอมไม่ จึงทรงพระพิโรธเสด็จกลับโดยไม่ได้พระราชทานสิ่งของที่เตรียมไปถวายเป็นพุทธบูชา
 
คนอ่านความตามพระราชบันทึกก็อารมณ์ค้างตาม เลยไม่ได้รู้กันว่าพระเขี้ยวแก้วมีลักษณะเป็นแท่งอัญมณี หรือเป็นพระทันตธาตุจริงๆตามแบบของมนุษย์ทั่วไป
อย่างไรก็ดี คนอ่านกระทู้นี้ก็ไม่ต้องอารมณ์ค้าง เพราะผมหาภาพทางพระอินทรเนตรมาฝากแล้ว

เมื่อจะกล่าวถึงวิธีซึ่งเปิดพระทันตธาตุให้คนดูหรือนมัสการ ก็จะต้องข้ามเรื่องที่จะพรรณนาถึงเหตุการณ์เหล่านั้นเสีย กล่าวต่อไปว่า พระทันตธาตุนั้นร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ มีพระเจดีย์ครอบเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นในที่สุดเป็นกล่องประดับเพชรพลอยงามดี องค์นอกที่สุดมีสังวาลหลายอย่าง สังเกตได้แต่ว่าเป็นอย่างพม่านั้นสายหนึ่งสวมอยู่ สัณฐานพระทันตธาตุก็ไม่ผิดอันใดกับที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่า ๆ แต่ไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน ที่ซึ่งเก็บนั้นเป็นห้องไม่มีหน้าต่าง มีแต่ประตูด้านเดียว มีประแจสามดอก ผู้ซึ่งรักษาซึ่งเรียกว่า ระเตมะหัตตะเมยะ ซึ่งแต่งตัวนุ่งผ้ายาวยี่สิบเจ็ดวา เก็บดอกหนึ่ง พระเก็บสองดอก ในนั้นมีสิ่งอื่น ๆ ที่มีราคาหลายอย่าง แต่ยากที่จะเห็นได้ถนัด เพราะมืด ต้องจุดไฟ แลไม่จุดหลายดวงนัก ดูเหมือนเจ้าพนักงานผู้รักษาจะพอใจให้เป็นเช่นนั้นด้วย การที่จะบูชาด้วยประทีบย่อมไม่เป็นที่ต้องใจของผู้รักษา ข้าพเจ้าได้เห็นหนังสือเขียนด้วยลานทองสองผูก ผูกหนึ่งซึ่งเข้าใจว่า ส่งไปแต่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงสยาม หนึ่งร้อยห้าสิบปีเศษมาแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้พลิกดู ร้อยลานกลับต้นเป็นปลาย เขียนด้วยอักษรขอม ขึ้นต้นเป็นวิธีอุปสมบท แล้วกฐิน ผูกแลถอนสีมา ข้างปลายมีบานแพนกเขียน แปลร้อยได้คำที่จารึกนั้นมา ศักราชลงว่า ๑๐๐๐๕ ถ้าจะเข้าใจโดยคำว่า พันห้า ก็เป็นก่อนเวลาแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ แลทั้งสังเกตดูถ้อยคำในนั้นประกอบด้วยรูปตัวอักษรเห็นเป็นหนังสือขอมที่เขมรเขียน หาใช่ไปจากกรุงสยามไม่ อีกผูกหนึ่งนั้นไม่ได้ดู ด้วยผู้รักษาหวงแหนเหลือเกินราวกับว่าผู้หนึ่งผู้ใดจะวิ่งราวไปจากที่นั้น ยังมีพระแก้วอีกองค์หนึ่งซึ่งหน้าตักประมาณสักสี่นิ้ว สังเกตดู ไม่ใช่ฝีมือลังกา สีคล้ายมรกต ส่องโปร่ง มีที่ชำรุดบ้าง จะสังเกตว่าเป็นเนื้อศิลาหรืออันใดก็ยาก ด้วยสว่างไม่พอ แลเขาไม่สู้จะให้ดูนานนัก คนก็เข้าเต็มแน่น ถ้าผู้ใดขืนอยู่ช้าก็อาจจะเป็นลมได้ ด้วยต้องการลมสำหรับหายใจ ข้าพเจ้าได้คัดคำบานแพนกในคัมภีร์นั้นมาลงไว้ในที่นี้ด้วย เห็นว่า การที่คัดนั้นมิใช่ง่าย ต้องทำทุกรกิริยาเป็นอันมาก

จาก เรื่องพระเขี้ยวแก้ว  (http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสลังกาทวีป พ.ศ. ๒๔๔๐

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 16:32
ผมเพิ่งเข้ามาเห็นครับ เห็นแล้วก็จังงังไป ที่เขียนไปนั้นก็เขียนจากความจำแท้ๆ ต้องขอเวลานอกก่อนว่าผมไปเอาความดังกล่าวมาจากหนังสือเล่มไหน


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 16:39
เบิกพระอินทรเนตรปุ๊บก็เจอปั๊บ
เอาไปก่อนตรงนี้นะครับคุณเพ็ญ

เคยอ่านพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จฯ ไปนมัสการพระทันตธาตุ (ฟันของพระพุทธเจ้า) ที่วัดศรีดาลาดามัลลิกาวะ หรือวัดพระทันตธาตุ เมืองแคนดี้ ซีลอน (ศรีลังกาในปัจจุบัน) เมื่อปี 2449 ไว้อย่างน่าสนใจ
ขอประมวลมาเล่าอย่างย่อเป็นภาษาธรรมดาบางส่วนดังนี้ครับ

ครั้งนั้น รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ จากกรุงโคลัมโบไปยังวัดพระทันตธาตุเมืองแคนดี้ เพื่อถวายสักการะพระธาตุดังกล่าว
โดยทรงเตรียมข้าวของจำนวนไม่น้อยไปถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อเสด็จฯ ไปถึงผู้ดูแลวัดรับเสด็จแล้วนำเสด็จไปยังห้องที่ประดิษฐานพระทันตธาตุ พระทันตธาตุนั้นประดิษฐานอยู่ในผอบเล็กภายในครอบเจดีย์ทอง 7 ชั้น แต่ไม่เปิดให้ผู้ใดได้เห็น (คนทั่วไปจะได้นมัสการจากด้านนอก วีไอพีเท่านั้นที่จะได้เข้าไปนมัสการในห้องนี้ แต่ก็จะไม่ได้เห็นพระทันตธาตุอยู่ดีครับ)....
  
.....รัชกาลที่ 5 ท่านทรงสงสัยว่าพระทันตธาตุยังอยู่จริงหรือ พอเสด็จฯ ถึงในห้องประดิษฐาน ท่านทรงรับสั่งถามผู้ดูแลว่าขอดูได้หรือไม่ ผู้ดูแลตอบว่าเปิดให้ดูไม่ได้ เพราะไม่มีธรรมเนียม ท่านถึงกับทรงรับสั่งทำนองว่าท่านเป็นพุทธมามกะ ที่เมืองสยาม ท่านเป็นผู้เปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ถ้าไม่ให้ดู ท่านก็กลับล่ะ แล้วท่านก็ทรงนำเครื่องบูชาต่างๆ กลับด้วย (ผมเข้าใจเอาเองว่าในเวลานั้น ท่านคงไม่ทรงเชื่อว่ามีพระทันตธาตุอยู่จริง เพราะถูกทำลายไปแล้ว)

ผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำลังกาทราบข่าวก็เต้นสิครับ ระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเมืองพุทธถูกปฏิเสธแบบนี้ ถึงกับต้องจัดหาของมาถวายเพื่อขอโทษท่าน ผู้สำเร็จราชการฯ ได้ขอเข้าเฝ้าฯ พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูป "วัลลิปุราม" (Vallipuram) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสำคัญที่พบในตอนเหนือของลังกามาน้อมเกล้าฯ ถวาย รัชกาลที่ 5 โปรดให้รับไว้ แล้วเชิญมาประดิษฐานที่ระเบียงวิหาร วัดเบญจมบพิตร จนถึงปัจจุบัน
 
ต่อมาเมื่อปี 2536 รัฐบาลศรีลังกาขอพระพุทธรูปองค์นี้กลับคืนโดยอ้างว่าเป็นสมบัติของศรีลังกา เรื่องนี้คุยกันอยู่หลายปี เพราะพระพุทธรูปสำคัญเป็นสมบัติของแผ่นดินไทยโดยชอบนับแต่ผู้สำเร็จราชการอังกฤษน้อมเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ 5 โน่นแล้ว ในที่สุดก็ได้ทางออกที่เหมาะสมคือ รัฐบาลไทยโดยกรมศิลปากรได้หล่อเป็นพระพุทธรูปจำลองมอบให้แก่ศรีลังกา โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีส่งมอบพระพุทธรูปจำลองให้ฝ่ายศรีลังกาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539


 
http://www.thaiemb.org.in/th/narrative/detail.php?ID=1893


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 16:56
ความที่ผมเขียนน่าจะมาจากเล่มนี้

ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์.(2540). “เมื่อ ร. 5 ทอดพระเนตรพระทันตธาตุ” ใน จารึกสยาม.  หน้า 11-24

ผมมีหนังสือของท่านชาลีอยู่สักโหลหนึ่งในกรุ ถ้าหาเจอเมื่อไหร่ค่อยว่ากันอีกทีก็แล้วกันนะครับคุณเพ็ญ เอาเป็นว่าสมองของผมยังไม่สูญเสียให้แก่อัลไซเมอร์จนถึงขั้นต้องขอลาออกจากเรือนไทยก็ดีแล้ว


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:09
จำได้ว่าเมื่อพ.ศ. 2545  มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)จากจีนมาประดิษฐานชั่วคราวที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม  เพื่อร่วมฉลองในมหามงคลวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 75 พรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว     ผู้คนหลั่งไหลกันไปสักการะ   รถติดกันยาวเหยียดจากพุทธมณฑลถึงตลิ่งชัน  
ดิฉันก็ไปเหมือนกัน  โชคดีมีไกด์กิตติมศักดิ์พาไปตอนกลางคืน  รถไม่ติดเท่าตอนกลางวัน  แต่ก็มีคนไปสักการะกันเต็มห้องไปหมด

อินทรเนตรช่วยส่องให้ว่า  พระเขี้ยวแก้วนี้ประดิษฐานอยู่ที่วัดหลิงกวง ที่ปักกิ่ง  นายเดา ชูเรน รองประธานและเลขาธิการใหญ่ พุทธสมาคมแห่งประเทศจีน เล่าว่า

    “พระเขี้ยวแก้วที่อยู่ในเมืองจีน ประชา ชนชาวจีนมักเรียกว่า “พระทันตธาตุฟาเหียน” เพราะ หลวงจีนฟาเหียน ได้อัญเชิญพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) องค์นี้มาสู่จีน มีผู้กล่าวว่า พระทันตธาตุองค์นี้ได้ประดิษฐานครั้งแรกไว้ ที่อาณาจักรโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อว่า อูไดยานา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน
    หลังจากอาณาจักรนี้แล้วก็เคลื่อนย้าย มาอยู่ในแคว้น โคตัน (ทุกวันนี้คือ จังหวัด ไฮเตียน มณฑลซินเกียง) ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ ๕ หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัย ราชวงศ์จี๋ (Qi) ซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศ จีน ได้เดินทางไปเอาพระทันตธาตุจาก เมืองโคตัน มาไว้ที่ เมืองนานกิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ (ท่านได้ออกเดินทางจาริกไปยัง ประเทศอินเดียและลังกา พ.ศ. ๙๔๒ - ๙๕๗)
    หลังจากนั้น ประเทศจีนก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัย ราชวงศ์ซุ่ย (Sui) พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วก็เลยย้ายมาประดิษฐาน ณ เมืองหลวงใหม่ คือเมืองฉางอัน (ซีอาน) ต่อจากนั้นมา จีนก็ตกอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงวุ่นวาย มีการรบกันภายในประเทศ ระหว่าง กันเองเป็นเวลาถึง ๕ ราชวงศ์

    ดังนั้น พระเขี้ยวแก้วได้ถูกย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กลับไปกลับมาหลายเมือง จนกระทั่งสุดท้ายได้มาประดิษฐานอยู่ที่ เมืองเยนกิง (คือเมืองปักกิ่ง ในปัจจุบัน) บนภูเขา ซีซัน ในสมัย ราชวงศ์เหลียว ซึ่งอยู่ภาคเหนือของประเทศจีน

    จากจดหมายเหตุในสมัย จักรพรรดิเดาซอง ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงศ์เหลียว เล่มที่ ๒๒ บันทึกไว้เกี่ยวกับการประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วไว้ที่ พระเจดีย์เจาเซียน ในเดือนปีที่ ๘ ของปีที่ ๗ ของเหียนย่ง ค.ศ. ๑๐๗๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔) ซึ่งได้บันทึกไว้ในประวัติของพระเขี้ยวแก้วที่แน่นอน ก่อนที่จะมาประดิษฐาน ณ เมืองปักกิ่ง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:14
     ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ (พ.ศ. ๒๔๔๓) พระเจดีย์เจาเซียนได้รับความเสียหายด้วยปืนใหญ่ โดยกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรชาติตะวันตก ของผู้นิยมลัทธิจักรวรรดินิยม ๘ ประเทศ หลังจากนั้น มีพระภิกษุที่อยู่ภายในวัดได้มาทำ ความสะอาดบริเวณรอบพระเจดีย์ แล้วได้พบพระเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในหีบศิลาอย่างถาวร อยู่ภายในห้องใต้ดินขององค์พระเจดีย์

    บนตลับไม้กฤษณานั้นมีการระบุไว้ว่า ถูกนำมายัง ณ สถานที่นี้ในปี ค.ศ. ๙๖๓ (ปี พ.ศ. ๑๕๐๖) โดยพระภิกษุชื่อ ซ่านฮุยในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นผู้ได้รับการขนานนามว่า “อาจารย์ผู้เก็บความลับ” ตลับไม้กฤษณานี้ได้ รักษามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งด้านข้างและด้านใน กล่องนั้นเป็นลายมือของหลวงจีนซ่านฮุย ซึ่งในตลับไม้นี้มี พระเขี้ยวแก้ว อยู่ด้านบน

      ในที่สุด พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งได้ซ่อนเร้น มาเป็นเวลานานถึง ๘๓๐ ปี ก็ได้ปรากฏขึ้น อีกในโลกมนุษย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางพุทธ สมาคมแห่งประเทศจีน จึงได้อัญเชิญมาให้ประชาชนสักการบูชาที่ วัดกวงจี่ เป็นการชั่วคราว ณ อาคารสรีระ เมืองปักกิ่ง


      พาคนดูออกจากอินเดียไปจีนเสียแล้ว   ขอคืนเส้นทางให้เจ้าของกระทู้ตามเดิมค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ก.ย. 13, 20:24
ถามท่านผู้รู้ภาษาจีน วัดกวงจี่กับวัดหลิงกวง เป็นวัดเดียวกันหรือเปล่าครับ

ในภาพบรรยายนี้ว่า พระบรมสารีริกธาตุ (พระทาฐธาตุ) ประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: aradabkk ที่ 18 ก.ย. 13, 20:29
สวัสดีค่ะ จขกท.ไม่ได้หายไปไหนค่ะ กำลังอ่านความรู้ต่างๆที่ท่านอาจารย์ทั้งหลายนำมาให้ชม จะไปถึงไหนๆก็ตามค่ะ ยินดีกอบโกยความรู้ เล่าต่อเถอะค่ะอาจารย์ กำลังสนุก รวมทั้งกระทู้ เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด และ กระทู้ท่านหญิงกำมะลอ ตามอ่านตลอดค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:36
ถามท่านผู้รู้ภาษาจีน วัดกวงจี่กับวัดหลิงกวง เป็นวัดเดียวกันหรือเปล่าครับ

ในภาพบรรยายนี้ว่า พระบรมสารีริกธาตุ (พระทาฐธาตุ) ประดิษฐานอยู่ที่พระเจดีย์วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง


  เป็นคนละวัดกันค่ะ     มากกว่านี้ต้องรอคุณม้า หรือคุณ han_bing
  ตามประวัติ บอกว่าใน พ.ศ. 2443 วัดหลิงกวงถูกทำลายเสียหายเมื่อกองทัพชาติตะวันตกบุกรุกกรุงปักกิ่ง ท่ามกลางซากปรักหักพัง  พบพระเขี้ยวแก้วบรรจุในกล่องศิลามีจารึกวัน เดือน ปีที่สร้างเจดีย์อยู่ภายในกล่องไม้กฤษณาอีกชั้นหนึ่ง  ทางวัดได้เก็บรักษาไว้จนถึงพ.ศ. 2498 จึงนำไปไว้ ณ วัดกวงจี่ชั่วคราว เมื่อทางการได้สถาปนาพระเจดีย์องค์ใหม่ที่วัดหลิงกวงแล้วเสร็จ จึงมีพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้วในพระมหาเจดีย์  เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2507


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:38
สวัสดีค่ะ จขกท.ไม่ได้หายไปไหนค่ะ กำลังอ่านความรู้ต่างๆที่ท่านอาจารย์ทั้งหลายนำมาให้ชม จะไปถึงไหนๆก็ตามค่ะ ยินดีกอบโกยความรู้ เล่าต่อเถอะค่ะอาจารย์ กำลังสนุก รวมทั้งกระทู้ เรื่องเล่าชาวกรุงเทพรุ่นทวด และ กระทู้ท่านหญิงกำมะลอ ตามอ่านตลอดค่ะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:47
  ถ้าจะสักการะพระบรมสารีริกธาตุ   แต่ไม่สามารถจะไปถึงศรีลังกาหรือจีน    ไปใกล้ๆแค่นครปฐมก็ได้ค่ะ    ตรงไปที่พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเคยแสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์มา 3 รัชกาลแล้ว

   ปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ถูกจารึกครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ พระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
    “เมื่อปีมะโรง อัฐศก วันเสาร์ เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ (๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙) เห็นที่องค์พระปรางค์เป็นดวงช่วงออกมาทางซุ้มคูหาทิศเหนืออีกคราว ๑  ครั้นมาถึงวันพฤหัส เดือน ๑ ขึ้น ๗ ค่ำ เห็นรัศมีส่องไปทั้งองค์ปรางค์เหมือนแสงดอกไม้เทียน จับอยู่ที่องค์พระได้เห็นด้วยกันมาก ในเดือน ๑ ปีมะโรง อัฐศก เห็นอัศจรรย์ ๒ ครั้ง
     การที่ปาฏิหาริย์มีนั้นทุกปี ๆ ละ ๒ ครั้งบ้าง ๓ ครั้งบ้าง ถ้าสมโภชเวียนเทียนเมื่อใดก็เป็นทุกคราว และที่พระปฐมเจดีย์มีเหตุอัศจรรย์หลายอย่าง คือองค์พระปรางค์  ลางทีเดือนมืดก็บังเกิดเป็นรัศมีเหมือนบุคคลเอาผ้าขาวเข้าไปหุ้มไว้ แล้วก็หายไปทีละน้อย ๆ แล้วก็สว่างขึ้นทีละน้อย ๆ จนเต็มกำลัง และเห็นขึ้นไปจนตลอดยอดนภศูล ลางทีก็สว่างซีกหนึ่ง ลางทีสว่างข้างล่าง มืดข้างบน แล้วสว่างข้างบน มืดข้างล่าง เมื่อจะสว่างนั้นก็เป็นรัศมีเรืองขึ้นทีละน้อย ๆ สว่างเต็มกำลังตลอดจนยอดนภศูล แล้วรัศมีก็โรยอ่อนลงมาทีละน้อย ๆ จนมืดไปทั้งองค์พระปรางค์ แล้วก็ค่อย ๆ มีรัศมีเรือง ๆ ขึ้นมาอีกดังกล่าวมาแล้ว เป็นอยู่ ๒ ทุ่มบ้าง ๓ ทุ่มบ้าง แล้วจึงหายไปทีเดียว ลางทีก็เห็นเป็นดวงดาวติดอยู่ปลายยอดนภศูล รัศมีแดงเหลืองสีต่าง ๆ ค่อย ๆ เลื่อนลงมาทีละน้อย หายไปในช่องคูหา ลางทีดูที่องค์พระปรางค์มืดเป็นปกติ แต่ขอบริมนั้นมีรัศมีขาวสว่างขึ้นไปตลอดยอด...”


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:49
        ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จไปพระราชทานผ้าพระกฐินแล้วประทับอยู่ ๒ คืน ได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีก พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ประชุมอยู่ในที่นั้นก็เห็นกันพร้อมหน้า พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า
           “...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงปิติโสมนัส รับสั่งว่าเหมือนผีหลอก ไม่รู้ที่จะว่าอย่างไรได้ เห็นจะเป็นไฟธาตุดินอยู่ในอิฐปูนถูกน้ำฝนเข้าก็เกิดเป็นรัศมีขึ้น ที่รับสั่งตรัสดังนี้ เพื่อจะมิให้คนที่ถือศาสนาพากันติเตียนได้ แต่ทองทศทองทิษมีอยู่ในฉลองพระองค์เท่าใด ก็ถอดพระราชทานให้เป็นส่วนพระราชกุศลจนสิ้น”

           พวกคนยุโรปที่ไปเที่ยวนครปฐมและพบเหตุอัศจรรย์นี้ ถึงกับนั่งลงกราบไหว้แบบคนไทย ทั้งยังมีโต๊ะหะยีแขกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ เมื่อคนไทยถามว่าเป็นแขกมานับถือแบบนี้ไม่เป็นบาปหรือ แขกก็บอกว่าเขากราบไหว้แท่นบรรทมของพระเจ้า ที่คนโบราณสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ จะเป็นบาปได้อย่างไร
           มีบางคนกล่าวว่าที่องค์พระปฐมเจดีย์มีรัศมีเรืองขึ้นนั้น เป็นเพราะสารที่ตำราฝรั่งเรียกว่า ฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารมีรัศมีเรืองแสง ไม่ใช่อภินิหารของพระสารีริกธาตุแต่อย่างใด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ซึ่งได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า ‘พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย’ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา พระยาอนุชิตชาญชัย พระวิสูตรโยธามาตย์ เอาฟอสฟอรัส เครื่องมือต่าง ๆ ไปทำการทดลอง พอทั้ง ๓ รับงานทดสอบปาฏิหาริย์องค์พระปฐมเจดีย์ ยังไม่ทันจะได้ลงมือ เจ้าหญิงและหม่อมห้ามในกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา พร้อมด้วยบุตรภรรยาของพระยาอนุชิตชาญชัย และบ่าวไพร่ได้พากันไปเที่ยวหลังองค์พระ ก็ถูกฝูงผึ้งจำนวนหนึ่งเข้าโจมตี ต้องวิ่งหนีกันกระเจิดกระเจิง บ้างก็เข้าไปในดงหนาม บ้างก็วิ่งไปชนต้นไม้จนหัวแตก บ้างก็ถึงกับผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ต้องมีคนเอาผ้านุ่งไปให้จึงกลับมาได้ ทั้ง ๆ ที่บูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์มา ๑๐ ปี ไม่เคยมีใครถูกผึ้งต่อยเลย

          ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงพบปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ถึง ๒ ครั้ง แต่พระองค์ไม่ได้รับสั่งให้ใครฟัง เก็บความแปลกพระทัยไว้เงียบ ๆ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ขณะยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๒ และมีพระราชหัตถเลขามากราบทูลสมเด็จพระราชบิดาว่า


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:51
     “ด้วยเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๘ นี้ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๑๑ เวลาดึก ๒ ยามกับ ๕๕ นาที ข้าพระพุทธเจ้าได้นั่งอยู่ที่เรือนสนามจันทร์ มีข้าราชการและมหาดเล็กอยู่ด้วยเป็นอันมาก ได้เห็นองค์พระปฐมมีรัศมีสว่างพราวออกมาทั้งองค์ ดูประหนึ่งว่าองค์พระปฐมเจดีย์ด้านตะวันตกคือด้านที่เล็งตรงกับสนามจันทร์นั้น ทาด้วยฟอสฟอรัสพราวเรืองตั้งแต่คอระฆังลงมาหน่อยหนึ่งตลอดขึ้นไปจนยอดมงกุฎ และซ้ำยังมีรัศมีพวยพุ่งสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๓ - ๔ วา ปรากฏแก่ตาอยู่อย่างนี้ ๑๗ นาที แล้วรัศมีตอนใต้แต่ปล้องไฉนตลอดยอดก็ดับลงไปทันที เหลือสว่างอยู่แต่ตอนช่องมะหวดลงมาอีกสักไม่ถึงกึ่งนาทีก็ดับหายไปหมด มืดแม้จะมองแต่รูปองค์พระก็ไม่ถนัด ข้าพระพุทธเจ้าได้นับผู้ที่เห็นในขณะนั้น ตลอดจนทหารที่อยู่ยาม ๔ คน เป็นจำนวน ๖๙ คน
           ข้าพระพุทธเจ้าลองคิดดูตามไซแอนซ์ ว่าบางทีจะเป็นด้วยตอนฝนตกหนักละอองฝนจะติดค้างอยู่ที่กระเบื้องที่ประดับองค์พระปฐมบ้าง ครั้นตอนดึกจวนพระจันทร์ตกแสงจันทร์ส่องทอตรงได้ระดับฐานฉากกับองค์พระปฐม จึงเกิดแสงแพรวพราว ฉะนั้นพอจันทร์เหลื่อมเข้าเมฆ แสงลับไป รัศมีที่องค์พระปฐมก็หายไปด้วย ครั้นรุ่งขึ้นได้ทราบเกล้าฯ ว่าจีนที่รับเหมาทำศาลารัฐบาลซึ่งอยู่ด้านตะวันออกองค์พระ และชาวตลาดอีกหลายคนซึ่งอยู่เหนือองค์พระก็เห็นด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เข้าใจได้ว่ารัศมีได้พราวออกทั่วองค์พระเป็นอันพ้นวิสัยที่แสงจันทร์จะถึงได้ หรือว่าจะมีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ในองค์พระธาตุนั้น จะส่องแสงแพรวพราวในเวลากลางคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ต้องแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันมากพอ ในเวลากลางวันก็ชอุ่ม ตอนเย็นก็ฝนตก ไม่ใช่ธาตุฟอสฟอรัสแน่ จึงเป็นอันจนด้วยเกล้าฯ ที่อ้างแสงรัศมีนั้นเป็นด้วยเหตุไรนอกจากว่ามหัศจรรย์ยิ่ง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 13, 20:52
      รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ ข้าพระพุทธเจ้าได้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป มีพระนิกรมุนีเป็นประธาน สวดมนต์เย็นในพระวิหารองค์พระแล้วได้เดินเทียนสมโภชองค์พระ ๓ รอบ รุ่งขึ้นวันที่ ๒๖ เวลาเช้า พวกข้าราชการ พ่อค้า ราษฎรชาวพระปฐมเจดีย์ มีความปีติยินดีช่วยกันจัดของไปถวายและเลี้ยงพระหมดทั้งวัดพระปฐมเจดีย์เป็นจำนวน ๖๘ รูป เวลาค่ำได้มีละครเรื่องสุวรรณหงษ์ ตอนกุมพลถวายม้าฉลองหนึ่งคืนเป็นเสร็จการ”
          พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสว่า
         “เรื่องพระปฐมเจดีย์กระทำปาฏิหาริย์ตามลักษณะที่เล่ามานี้ ช่างไม่มีอะไรผิดกับที่เคยเห็น ๒ คราวแต่สักนิดเดียว เวลาที่ได้เห็นนั้นคนมากยิ่งกว่าที่นับมา เห็นปรากฏด้วยกันทั้งหมด จึงได้มีเรื่องตรวจตราซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พ่อเข้าใจในลักษณะที่เล่าว่าเป็นอย่างไร แลเชื่อว่าได้เป็นเช่นนั้นจริงเพราะเคยเห็น แต่จะเป็นด้วยอันใด เหลือที่จะยืนยันฤารับรองให้คนอื่นเห็นด้วยจริงได้ จึงไม่ได้เล่าให้ใครฟังในชั้นหลัง ๆ นี้ เพราะห่างจากเวลาที่ได้เห็นนั้นมาก เข้าใจว่าการที่เป็นเช่นนั้นได้จะได้เป็นอยู่เนือง ๆ แต่หากคนนั้นตกค่ำลงก็เข้านอนเสียไม่สังเกต แปลกอยู่หน่อยแต่ที่เวลาเป็นมักจะเป็นเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนยี่ เวลาเดินบกมาถึงที่นั้นฤาเสด็จออกไปหลายครั้งไม่เคยมีเลย ขออนุโมทนาด้วยในส่วนกุศลที่ได้ทำ”
           ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์อีกในคืนเดือนมืด พร้อมข้าราชบริพาร ตำรวจ และเสือป่า เข้าเฝ้าอยู่ที่สนามจันทร์ประมาณ ๒๐๐ คน ซึ่งได้เห็นกันทุกคนรวมทั้งราษฎรที่อยู่รอบองค์พระ
         หลังจากนั้นได้ทรงสร้างพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์โดยเฉพาะ ซึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากสวรรคตแล้วกระทรวงวังได้ให้ย้ายพระที่นั่งองค์นี้มาปลูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
      http://www.all-magazine.com/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/allMagazine%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3003/--.aspx


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 06:00
เข้ามาแจ้งว่าผมยังหาต้นเรื่องของผมไม่เจอเลยครับ แต่ได้เจอความที่คุณออกหลวงมงคล เขียนไว้ในพันทิป “ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับรัชกาลท่ ๕ ที่คุณไม่เคยรู้...”  เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปครั้งที่๒

จากจุดหมายแรกที่เรือพระที่นั่งซักเซนจะทำการจอดนั่นคือท่าเรือเมืองลังกา หรือศรีลังกาในปัจจุบัน

แจ้งให้ทราบครับว่า การเสด็จประพาสเมืองศรีลังกานั้น พระองค์ได้เคยเสด็จแล้วหนหนึ่ง ในครั้งนั้นทรงเสด็จประพาสทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้ว ณ เมืองลังกา และมีเหตุการณ์ทำให้ไม่สบายพระทัย เรียกว่าพระองค์ทรงกริ้วก็ไม่ผิดนัก จากหลักฐานที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทร์ ความว่าชาวเมืองลังกาไม่ให้เกียรติพระองค์ในฐานะกษัติรย์ (เรื่องในอดีตนะครับ ถือเป็นเพียงประวัติศาสตร์ อ่านเป็นความรู้ อย่าโมโหนะครับ เพราะผมโมโหแทนไปก่อนหน้านี้แล้ว)

การเสด็จศรีลังกาครั้งนี้ นักวิชาการหรือผู้ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วยต่างก็คิดว่า หากพระองค์เสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีอย่างการเสด็จครั้งที่ 1 พระองค์คงไม่เลือกแวะประเทศนี้ เพียงแต่เป็นหมายของเรือพระที่นั่งซักเซน ทำให้ไม่สามารถเลือกได้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 08:47
อ้างถึง
ตูมตั้งบังใบ
ยังสงสัยว่าทำไมพระบรมสารีริกธาตุรวมถึงพระธาตุของบรรดาพระสาวกที่ค้นพบในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ถึงไม่มีลักษณะเป็นเหมือนอัญมณีแบบที่ปรากฎในดินแดนแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ

ยังมีประเด็นที่ไม่มีใครตอบคุณตูมตั้งบังใบ (ก่อนจะเห็นคำว่าครับ ผมนึกว่าเป็นสาววัยแรกแย้มซะอีก) ไม่มีอะไรจะดีเท่าอรรถาธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งประทานหม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล ในเวปที่คุณhoboโยงไว้ตอนต้น

 “…..เรื่องพระธาตุยังไม่จบ มีตำนานเกิดขึ้นที่ลังกาว่า เมื่อพระเจ้าอโศกจะไปเอาพระธาตุที่รามคามพระยานาคหวงไว้นั้น ต่อมาพระยานาคราชเกรงว่าจะมีผู้มาลักเอาไปเสีย จึงเชิญไปไว้เมืองนาคใต้บาดาล อยู่มามีพระอรหันต์องค์หนึ่งในเกาะลังกา ให้สามเณรองค์หนึ่งนัยว่ามีอิทธิฤทธิ์มากไปหาพระยานาคราชถึงเมืองบาดาล ไปบอกให้รู้ว่าพระพุทธศาสนามาเจริญอยู่ในลังกาทวีป อยากจะได้พระบรมธาตุส่วนที่อยู่ที่พระยานาคราชไปบูชา ก็ด้วยอิทธิฤทธิ์ของสามเณรนั้น ปรากฏว่าพระยานาคยอมรับว่าจะยอมให้พระบรมธาตุส่วนส่วนที่ได้แก่ตน จึงเชิญพระบรมธาตุขึ้นมาจากเมืองบาดาล มาวางไว้ที่หาดทรายเกาะลังกา เพราะพระธาตุตกไปถึงเมืองบาดาลในมือพญานาค เป็นเหตุให้พระธาตุส่วนที่อยู่ที่รามคามนี้เป็นศิลาไม่ใช่กระดูกคน บอกไว้ในตำราว่าให้พึงสังเกตก็มีลักษณะต่างกันถึงห้าอย่าง แต่จำไม่ได้หมดว่าสีเหมือนแก้วผลึก เหมือนดอกพิกุลแห้ง เหมือนทองอุไร ฯลฯ เพราะฉะนั้นพระบรมธาตุที่ออกจากลังกามายังประเทศต่างๆ เช่นเมืองไทยเรา ที่ได้รับพระธาตุมาจากลังกานั้น เป็นพระธาตุกรวดทรายทั้งสิ้น ไม่ใช่กระดูกคนอย่างที่อินเดีย แต่ก็เชื่อคำและตำราที่กล่าวอันเป็นของลังกามาแต่สมัยสุโขทัย ที่กรุงอยุธยาได้มา แม้ที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ขุดได้และให้ญี่ปุ่นไปนั้น ที่จะเป็นกระดูกคนหามีไม่ ที่หลวงธำรงฯ ได้มาก็เป็นกระดูกคน”

ตีความว่า พระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่ถือว่ารับมาจากอินเดีย ก็ภายหลังรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราชนับพันปี แล้วก็ผ่านมาจากลังกา ที่ซึ่งอิทธิอภินิหารต่างๆได้ถูกเพิ่มเติมลงไปในคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งทรงตรัสเองว่าธรรมะแท้ๆที่ทรงนำมาสอนพระสาวกให้ล่วงจากทุกข์ได้นั้น มีแก่นเพียงใบไม้หนึ่งกำมือในพระหัตถ์เมื่อเทียบกับใบไม้ในป่าทั้งหมด

ใบไม้หนึ่งกำมือมันจะสักเท่าไหร่ แต่มนุษย์ส่วนใหญ่จะชอบทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ใบไม้ในป่าจึงถูกเติมลงไปหลายกระบุงโกย พระพุทธศาสนาจึงเต็มไปด้วยเปลือกและกระพี้เพื่อเจริญศรัทธาของคนที่ยังนับถือเจ้าเข้าผี อภินิหารต่างๆต้องถูกเติมลงไปให้ถูกจริตคนเหล่านั้น เพื่อขยายผลให้ได้พุทธศาสนิกชนในเชิงปริมาณ โดยเรื่องคุณภาพไว้ว่ากันทีหลัง
ด้วยเหตุเหล่านี้เอง พระบรมสารีริกธาตุในเมืองไทยจึงเป็นพระธาตุกรวดทรายอัญมณีทั้งสิ้น ตั้งแต่แรกเริ่มยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 09:02
อ้างถึง
ที่หลวงธำรงฯ ได้มาก็เป็นกระดูกคน

ขยายความตรงนี้หน่อย

เมื่อคณะราษฎรทำการปฏิวัติรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ  พันเอกหลวงพิบูลสงคราม(หรือจอมพล ป.) เมื่อได้ทำลายล้างคณะสี่เสือร่วมขบวนการเดียวกันขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ก็คิดสร้างกุศลเพื่อล้างบาปโดยเสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม(นายทหารฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตจากการปะทะกับฝ่ายกบฏบวรเดชที่ทุ่งบางเขน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ นิกเนมว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏ) กำหนดชื่อว่า“วัดประชาธิปไตย”หวังให้เป็นอนุสรณ์ ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดความคิดใหม่ ส่งนาวาเอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย ซึ่งรัฐบาลอินเดียของอังกฤษก็ยินดีแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดได้ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ ในเมืองสารนาถ ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ตอนนั้นใกล้สงครามโลกญี่ปุ่นจะบุกแล้วต้องเอาใจสยามหน่อย
  
พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวมีลักษณะเป็นอัฐิธาตุกระดูกของมนุษย์ธรรมดา แต่บริเวณที่ขุดพบเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถาน คือเป็นที่พระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ มีเสาอโศกของพระเจ้าอโศกมหาราชแสดงหลักฐานของผู้สร้างมหาสถูปธรรมราชิกะซึ่งบรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุนั้น

เมื่อได้พระบรมสารีริกธาตุมา จึงมีผู้เสนอให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดพระศรีมหาธาตุ และได้เป็นพระอารามหลวงชั้นวรมหาวิหาร เมื่อวันที่๓๐มิถุนายนพ.ศ.๒๔๘๕


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 09:12
แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มานั้นมิได้เป็นพระธาตุกรวดทรายอัญมณีอันถูกจริตหรือกระไร จึงดูรัฐบาลไม่ได้โปรโมตเรื่องนี้เท่าที่ควร นอกจากจะสร้างพระเจดีย์เล็กบรรจุไว้ภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ ที่ผนังโดยรอบมีช่องบรรจุอัฐิอังคารของสมาชิกคณะราษฎร์ทั้งที่เสียชีวิตแล้ว และเผื่อไว้สำหรับผู้ที่รอการเสียชีวิต(บัดนี้คงครบถ้วน) ซึ่งทั้งหมดเคยเป็นนักการเมืองพรรคเดียวกัน อันนี้ก็อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งซึ่งสร้างความตะขิดตะขวงใจให้แก่พุทธศาสนิกชนคนไทยเป็นอย่างมาก

พระบรมสารีริกธาตุแท้ๆจากประเทศอินเดียที่วัดพระศรีมหาธาตุจึงมีผู้นิยมไปกราบไหว้บูชาน้อยกว่าพระธาตุเจดีย์ดังๆทั้งหลายทั้งปวงในเมืองไทย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 11:40

         หลังจากนั้นได้ทรงสร้างพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรพระปฐมเจดีย์โดยเฉพาะ ซึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากสวรรคตแล้วกระทรวงวังได้ให้ย้ายพระที่นั่งองค์นี้มาปลูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
         เป็นที่น่ายินดีว่าพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยจะได้กลับคืนไปสู่ที่เดิมอีกแล้ว   สืบเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังสนามจันทร์ ในปี 2550 ผู้ดูแลพระราชวังได้กราบบังคมทูลขอให้มีการอัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กลับมาประดิษฐาน ณ พระราชวังสนามจันทร์ จึงมีพระราชดำริให้สำนักพระราชวังส่งหนังสือมายังกรมศิลปากรในการอัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยกลับมาประดิษฐาน ณ พระราชวังสนามจันทร์ดังเดิม ดังนั้น กรมศิลปากรจึงรับสนองพระราชดำริ โดยหลังจากการบวงสรวงแล้วเสร็จ จะอัญเชิญองค์พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยไปยังสำนักช่างสิบหมู่ อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อบูรณะซ่อมแซม
         นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากรให้สัมภาษณ์ว่า
       “สภาพทั่วไปถือว่าชำรุดทรุดโทรมมาก หลังคารวมทั้งโครงสร้างที่เป็นเนื้อไม้ข้างในผุกร่อนไปกว่า 80% รวมถึงลวดลายต่างๆ ก็มีความเสียหายมาก จึงต้องมีการทำโครงสร้างใหม่ เปลี่ยนแท่นฐาน ถอดแบบลวดลาย และลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์ ใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินงานประมาณ 1 ปี 6 เดือน จากนั้นจะอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระที่นั่งพิมานปฐม ในพระราชวังสนามจันทร์ พร้อมทั้งศึกษาองค์ความรู้ของพระที่นั่ง ขั้นตอน และกระบวนการเคลื่อนย้ายไว้เป็นหลักฐานให้ประชาชนได้ศึกษาต่อไป”


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 17:21
เข้ามาแจ้งว่าผมยังหาต้นเรื่องของผมไม่เจอเลยครับ แต่ได้เจอความที่คุณออกหลวงมงคล เขียนไว้ในพันทิป “ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับรัชกาลท่ ๕ ที่คุณไม่เคยรู้...”  เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปครั้งที่๒

จากจุดหมายแรกที่เรือพระที่นั่งซักเซนจะทำการจอดนั่นคือท่าเรือเมืองลังกา หรือศรีลังกาในปัจจุบัน

แจ้งให้ทราบครับว่า การเสด็จประพาสเมืองศรีลังกานั้น พระองค์ได้เคยเสด็จแล้วหนหนึ่ง ในครั้งนั้นทรงเสด็จประพาสทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้ว ณ เมืองลังกา และมีเหตุการณ์ทำให้ไม่สบายพระทัย เรียกว่าพระองค์ทรงกริ้วก็ไม่ผิดนัก จากหลักฐานที่ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทร์ ความว่าชาวเมืองลังกาไม่ให้เกียรติพระองค์ในฐานะกษัติรย์ (เรื่องในอดีตนะครับ ถือเป็นเพียงประวัติศาสตร์ อ่านเป็นความรู้ อย่าโมโหนะครับ เพราะผมโมโหแทนไปก่อนหน้านี้แล้ว)

การเสด็จศรีลังกาครั้งนี้ นักวิชาการหรือผู้ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วยต่างก็คิดว่า หากพระองค์เสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีอย่างการเสด็จครั้งที่ 1 พระองค์คงไม่เลือกแวะประเทศนี้ เพียงแต่เป็นหมายของเรือพระที่นั่งซักเซน ทำให้ไม่สามารถเลือกได้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในพระราชหัตถเลขา "ไกลบ้าน" พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี) เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ปีมะแม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ พุทธศักราช ๒๔๕๐ เมื่อถึง "โกลัมโบ" ก็ดูทรงสำราญพระทัยอยู่

วันอังคารที่ ๙ เมษายน

เวลาบ่าย ๔ โมง เรือเข้าในเบรกวอเตอ มีเรือรบอังกฤษสลุดลำหนึ่ง เรือยังไม่ทันจอด พวกดำน้ำหัวมันเหลืองเหมือนพวกเอเดน สิเกรตารีเจ้าเมืองกับกงสุลเยอรมันลงมาหา เอาเรือเจ้าเมืองลงมารับไปขึ้นท่า มีพระมารับประมาณ ๑๒ องค์ สวดมหาการุณิโก ได้ยืนฟังจนจบแล้วเลยไปขึ้นรถ ตรงไปกวีนซเฮาส์ทีเดียว เจ้าเมืองคนนี้ชื่อเซอเฮนรีอาเทอเบลก เดิมเปนเจ้าเมืองฮ่องกง เคยรับลูกโตเมื่อกลับจากยุโรป ท่านผู้หญิงต้อนรับดีจริง ๆ จะชวนให้นอนบนกวีนซเฮาส์เสียให้ได้ เพราะเขาจัดไว้เรียบร้อยแล้ว.....


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 17:29
วันพุฒที่ ๑๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖

หญิงน้อย

วันนี้เรือออกพ่อนอนหลับ ต่อออกมาพ้นแล้วเรือแคลงมากจึงรู้สึก เขาว่าเมื่อ ๓ โมงเศษมีพระลงมาหาคือท่านสุมังคละ และสุภูติ กับพวกคฤหัสถ์อื่น ๆ อีกมากด้วยกัน กรมสมมตนำหนังสือต่าง ๆ มาให้ดู พวกพระทันตธาตุลงชื่อกันมาเชิญให้ขึ้นไปแลเรี่ยรายต่าง ๆ ท่านสุภูติแต่งคาถาทำนองถวายพรพระ เปนคำให้พรแก้เจ็บไข้ลงมาว่าจะมาสวดให้หายเจ็บไข้ คาถานั้นแต่งออกจะดี ๆ คิดจะส่งถวายพรมหลวงวชิรญาณทอดพระเนตร คราวนี้ไม่ได้พบใครแต่ขากลับเห็นจะต้องพบ

วันนี้ได้ให้เจ้าพระยาสุรวงษ์นำหนังสือกับของไปให้เลดีเบลก พ่อได้สมุดเซอเฮนรีให้ ๒ เล่ม คือที่งามของลังกาเล่ม ๑ ไคด์เมืองอนุราธเล่ม ๑

กลางคืนคลื่นก็ไม่มี แต่เรือโคลงเคลงเปนไกวเปล เพราะออกที่กว้างมากไม่มีอะไรบัง และออกจะเฉียงลมหน่อย ๆ ด้วย กรมประจักษ์พูดมคธเม้กตาพวกลังกา ๖ ชั่วโมงอิ่มอกอิ่มใจสบายมาก ว่าให้อยู่กับพวกนั้นสามวันก็เอา


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 18:08
ตัวหนังสือเล็กจัง ทำไมจึงต้องทำให้อ่านได้ยากลำบากขนาดน้าน


อ้างถึง
เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ปีมะแม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ พุทธศักราช ๒๔๕๐ เมื่อถึง "โกลัมโบ" ก็ดูทรงสำราญพระทัยอยู่
ตกลงคุณเพ็ญติดใจประเด็นไหนครับ

ประเด็นว่า คราวเสด็จครั้งแรก พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตร หรือไม่ได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วที่อยู่ภายในสถูป
หรือ ประเด็นว่าพระองค์ท่านยังคงติดพระทัยคนลังกาในการรับเสด็จครั้งที่แล้ว ครั้งที่สองนี้ หากเสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีก็ไม่อยากจะแวะที่นั่นอีก


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 18:33
ตกลงคุณเพ็ญติดใจประเด็นไหนครับ

ประเด็นว่า คราวเสด็จครั้งแรก พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตร หรือไม่ได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วที่อยู่ภายในสถูป
หรือ ประเด็นว่าพระองค์ท่านยังคงติดพระทัยคนลังกาในการรับเสด็จครั้งที่แล้ว ครั้งที่สองนี้ หากเสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีก็ไม่อยากจะแวะที่นั่นอีก

มีความเห็นดังนี้

๑. รัชกาลที่ห้าได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วแน่นอน ซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัยดังนี้
 
เมื่อจะกล่าวตามคนต่างประเทศเขากล่าว ที่เขาได้พิจารณาวาดเขียนจำลองถ้วนถี่ เขาว่า ทำด้วยงาช้างซึ่งเสียสี เป็นของพระเจ้าวิกรมพาหุคิดทำขึ้น ไม่เป็นสัณฐานพันธุ์มนุษย์ เพราะสิ่งที่จริงแท้นั้น โปรตุเกสได้ทำลายเสียที่เมืองคัวดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่า ถึงพระทันตธาตุซึ่งว่าโปรตุเกสทำลายเสียนั้นจะเชื่อว่าแท้ก็ไม่ได้ ด้วยพาไปซ่อนเร้นหมกฝังเสียเป็นหลายครั้งมาแล้ว

๒. ในการเสด็จครั้งหลังนี้ รัชกาลที่ห้าทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี คงไม่ติดพระทัยเรื่องเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 19:15
ตอบข้อนี้ก่อน แม้จะไม่ใช่ผมที่แสดงความเห็นไว้ แต่ก็ยังไม่สายไปที่จะแสดง
อ้างถึง
๒. ในการเสด็จครั้งหลังนี้ รัชกาลที่ห้าทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี คงไม่ติดพระทัยเรื่องเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว

ก่อนการเสด็จครั้งแรก ทรงเตรียมพระทัยล่วงหน้านานพอสมควรที่จะแวะคอลัมโบ เพื่อจะเสด็จเมืองแกนดีเพื่อนมัสการพระเขี้ยวแก้ว เพราะอยากพิสูจน์ตามความเห็นของพระองค์ที่คุณเพ็ญเอาลงลงข้างบนนี้แหละ การไปเมือแกนดีไม่ใช่ไปง่ายๆเช้าไปเย็นกลับ แต่ต้องประทับค้างคืนในโรงแรมที่นั่นคืนหนึ่ง  ดังนั้นเป็นธรรมดาที่ประสานไปถึงขนาดนี้ แต่เอาเข้าจริงคนเฝ้ากับยึกยักไม่ยอมเปิดพระสถูปให้ทอดพระเนตรองค์พระธาตุ ก็เป็นธรรมดาที่จะทรงกริ้วมาก ขนาดเสด็จกลับเลยโดยไม่พระราชทานเครื่องบูชาที่เตรียมเอาไปจากเมืองไทย

ดังนั้นทำไมจะเป็นไปไม่ได้หากจะมีพระราชประสงค์ที่จะไม่กลับไปอีก(ถ้าเลือกได้) เผอิญเลือกไม่ได้ เพราะครั้งที่สองท่านเสด็จไปรักษาพระองค์ ผู้ติดตามโดยเสด็จไม่เยอะ ไม่คุ้มจะนำเรือพระที่นั่งมหาจักรีไป หากเช่าเหมาชั้นหนึ่งของเรือโดยสารของสายการเดินเรือที่วิ่งเป็นปกติดีกว่า และกำหนดเส้นทางของเขาจากสิงคโปร ก็จะเทียบท่าที่โคลัมโบตามปกติ เพื่อรับส่งผู้โดยสารอื่นๆ

ขณะนั้นยังทรงพระประชวรอยู่ไม่ค่อยสบายพระวรกาย แต่มีพระสงฆ์ลังกาขึ้นมาบนเรือสวดถวายพระพรให้ทรงหายโดยไว ก็ทรงพระเกษมสำราญ ก็เท่านั้นเอง 
 


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 19:22
อ้างถึง
๑. รัชกาลที่ห้าได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วแน่นอน ซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัยดังนี้
 
เมื่อจะกล่าวตามคนต่างประเทศเขากล่าว ที่เขาได้พิจารณาวาดเขียนจำลองถ้วนถี่ เขาว่า ทำด้วยงาช้างซึ่งเสียสี เป็นของพระเจ้าวิกรมพาหุคิดทำขึ้น ไม่เป็นสัณฐานพันธุ์มนุษย์ เพราะสิ่งที่จริงแท้นั้น โปรตุเกสได้ทำลายเสียที่เมืองคัวดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่า ถึงพระทันตธาตุซึ่งว่าโปรตุเกสทำลายเสียนั้นจะเชื่อว่าแท้ก็ไม่ได้ ด้วยพาไปซ่อนเร้นหมกฝังเสียเป็นหลายครั้งมาแล้ว
ในประโยคไหนของพระบรมราชวินิจฉัยครับ ที่ทรงกล่าวว่า ทรงได้ทอดพระเนตรพระทันตธาตุ ไม่ว่าจะเป็นองค์ไหนก็ตาม


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 19:44
ในประโยคไหนของพระบรมราชวินิจฉัยครับ ที่ทรงกล่าวว่า ทรงได้ทอดพระเนตรพระทันตธาตุ ไม่ว่าจะเป็นองค์ไหนก็ตาม

กล่าวต่อไปว่า พระทันตธาตุนั้นร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ มีพระเจดีย์ครอบเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นในที่สุดเป็นกล่องประดับเพชรพลอยงามดี องค์นอกที่สุดมีสังวาลหลายอย่าง สังเกตได้แต่ว่าเป็นอย่างพม่านั้นสายหนึ่งสวมอยู่ สัณฐานพระทันตธาตุก็ไม่ผิดอันใดกับที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่า ๆ แต่ไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 19:55
มีประเด็นครับ แต่บังเอิญต้นเรื่องของผมไม่สามารถหาได้ทางอินเทอเน็ทนอกจากที่ยกมาแล้ว ดังนั้นต้องขอเวลาค้นหนังสือในบ้านก่อน ไม่ทราบว่าไปเก็บไว้ที่ไหน

แต่ว่าคุณเพ็ญยังมีความสุขกับการใช้อักษรตัวจิ๋วๆนี่ดีหรือครับ มันไม่เป็นการอนุเคราะห์คนอ่านที่ล่วงสู่วัยชราภาพเช่นผมเลย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 20:07
ทำไมฟ้อนท์ในจอของดิฉันปกติล่ะคะ    ส่วนที่คุณเพ็ญชมพูอ้างถึง ยังเป็นอักษรตัวใหญ่ด้วยซ้ำไปค่ะ
คุณ Navarat.C  กด Ctrl  ตามด้วย +  เพื่อขยายฟ้อนท์หรือยังคะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 20:11
ก็ปกติแหละครับ ปกติแบบเล็กก็มีใหญ่ก็มี แต่ข้อความสำคัญเล็กหมด

ผมลองทำตามที่แนะนำแล้วไม่ได้ผลครับ อาจยังทำไม่ถูกก็ได้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 20:16
ดิฉันลองขยาย size ตัวอักษรของคุณเพ็ญชมพูจาก 11 เป็น 16

กล่าวต่อไปว่า พระทันตธาตุนั้นร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ มีพระเจดีย์ครอบเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นในที่สุดเป็นกล่องประดับเพชรพลอยงามดี องค์นอกที่สุดมีสังวาลหลายอย่าง สังเกตได้แต่ว่าเป็นอย่างพม่านั้นสายหนึ่งสวมอยู่ สัณฐานพระทันตธาตุก็ไม่ผิดอันใดกับที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่า ๆ แต่ไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน

ต่อไปคุณเพ็ญชมพูลองขยายข้อความจาก 11 เป็น 16 ได้ไหมคะ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ก.ย. 13, 20:25
อ้างถึง
13 กำลังดีครับ

สำหรับข้อความยาวๆที่ประสงค์จะให้อ่านเอาความ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 13, 20:41
ดิฉันเข้าไปขยายค.ห.ของคุณเพ็ญชมพู จากฟ้อนท์ 11 เป็น 13 แล้วนะคะ   ไม่ทราบว่าหน้าจอของคุณ NAVARAT.C ฟ้อนท์ใหญ่พออ่านออกหรือยัง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 09:19
เมื่อพิจารณาตามพระราชนิพนธ์  ก็แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงได้ทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วแน่ ดังความในพระราชนิพนธ์ข้างต้นที่ผมอัญเชิญเฉพาะตอนที่เกี่ยวข้องมาให้อ่าน ส่วนฉบับเต็มท่านกลับไปคลิ๊กอ่านเองได้ ผมขอที่จะเว้นไว้

การเปิดพระธาตุให้คนดู

พระทันตธาตุนี้รักษาอยู่ในที่ซึ่งเรียกว่า ดาลาดามาลิกาวะ ณ เมืองแกนดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าอยู่ในท่ามกลางเกาะ วิหารที่เก็บนั้นไม่ใหญ่โตอันใด ตั้งอยู่ในกำแพงพระราชวัง ……

….เมื่อจะกล่าวถึงวิธีซึ่งเปิดพระทันตธาตุให้คนดูหรือนมัสการ ก็จะต้องข้ามเรื่องที่จะพรรณนาถึงเหตุการณ์เหล่านั้นเสีย กล่าวต่อไปว่า พระทันตธาตุนั้นร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ มีพระเจดีย์ครอบเป็นชั้น ๆ จนถึงชั้นในที่สุดเป็นกล่องประดับเพชรพลอยงามดี องค์นอกที่สุดมีสังวาลหลายอย่าง สังเกตได้แต่ว่าเป็นอย่างพม่านั้นสายหนึ่งสวมอยู่ สัณฐานพระทันตธาตุก็ไม่ผิดอันใดกับที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่า ๆ แต่ไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน ที่ซึ่งเก็บนั้นเป็นห้องไม่มีหน้าต่าง มีแต่ประตูด้านเดียว มีประแจสามดอก ผู้ซึ่งรักษาซึ่งเรียกว่า ระเตมะหัตตะเมยะ ซึ่งแต่งตัวนุ่งผ้ายาวยี่สิบเจ็ดวา เก็บดอกหนึ่ง พระเก็บสองดอก ในนั้นมีสิ่งอื่น ๆ ที่มีราคาหลายอย่าง แต่ยากที่จะเห็นได้ถนัด เพราะมืด ต้องจุดไฟ แลไม่จุดหลายดวงนัก ดูเหมือนเจ้าพนักงานผู้รักษาจะพอใจให้เป็นเช่นนั้นด้วย

เมื่ออ่านถึงตรงนี้ ก็ย่อมจะตีความได้ว่า ทรงได้เห็นว่าพระทันตธาตุ ร้อยอยู่ในห่วงลวดซึ่งปักอยู่ในกลางดอกอุบลทำด้วยทองคำ สัณฐานพระทันตธาตุไม่ผิดกับองค์ที่จำลองนัก แต่จะเป็นด้วยเก่า หรือด้วยจะเป็นสีดอกพิกุลแห้ง จึงได้มีสีคล้ำมัวเหมือนงาที่ทำเครื่องมืออันใช้เก่าๆไม่เป็นสีเดียวเสมอกัน เพราะในห้องค่อนข้างจะมืด


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 09:28
การที่จะบูชาด้วยประทีปย่อมไม่เป็นที่ต้องใจของผู้รักษา ข้าพเจ้าได้เห็นหนังสือเขียนด้วยลานทองสองผูก ผูกหนึ่งซึ่งเข้าใจว่า ส่งไปแต่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรุงสยาม หนึ่งร้อยห้าสิบปีเศษมาแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้พลิกดู ร้อยลานกลับต้นเป็นปลาย เขียนด้วยอักษรขอม ขึ้นต้นเป็นวิธีอุปสมบท แล้วกฐิน ผูกแลถอนสีมา ข้างปลายมีบานแพนก เขียนแปลร้อยได้คำที่จารึกนั้นมา ศักราชลงว่า๑๐๐๐๕ ถ้าจะเข้าใจโดยคำว่า พันห้า ก็เป็นก่อนเวลาแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ แลทั้งสังเกตดูถ้อยคำในนั้นประกอบด้วยรูปตัวอักษรเห็นเป็นหนังสือขอมที่เขมรเขียน หาใช่ไปจากกรุงสยามไม่ อีกผูกหนึ่งนั้นไม่ได้ดู ด้วยผู้รักษาหวงแหนเหลือเกินราวกับว่าผู้หนึ่งผู้ใดจะวิ่งราวไปจากที่นั้น ยังมีพระแก้วอีกองค์หนึ่งซึ่งหน้าตักประมาณสักสี่นิ้ว สังเกตดู ไม่ใช่ฝีมือลังกา สีคล้ายมรกต ส่องโปร่ง มีที่ชำรุดบ้าง จะสังเกตว่าเป็นเนื้อศิลาหรืออันใดก็ยาก ด้วยสว่างไม่พอ แลเขาไม่สู้จะให้ดูนานนัก คนก็เข้าเต็มแน่น ถ้าผู้ใดขืนอยู่ช้าก็อาจจะเป็นลมได้ ด้วยต้องการลมสำหรับหายใจ ข้าพเจ้าได้คัดคำบานแพนกในคัมภีร์นั้นมาลงไว้ในที่นี้ด้วย เห็นว่า การที่คัดนั้นมิใช่ง่าย ต้องทำทุกรกิริยาเป็นอันมาก

ทรงมีพระราชปรารภว่า ผู้ดูแลสถานที่ดังกล่าวหวงแหนสิ่งของที่นั่นมากแม้แต่กับพระองค์ซึ่งถือว่าเป็นพระมหากษัตริย์พุทธมามกะพระองค์เดียวในโลก นอกจากแสงไม่พอแล้ว วันนั้นก็ให้คนเข้ามาเต็มไปหมดจนแทบไม่มีอากาศจะหายใจ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 09:33
การที่จะเปิดพระทันตธาตุให้คนดูเป็นการเปิดเผยนั้น นาน ๆ มีครั้งหนึ่ง ในเวลาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินลังกายังมีอยู่ เปิดครั้งหลังที่สุดแผ่นดินพระเจ้ากีรติศรี ในราวพุทธศักราช ๒๓๑๘ จุลศักราช ๑๑๓๗ เป็นปีที่พระอุบาลีเถระกับราชทูตกรุงสยามตามคำเชื้อเชิญของพระเจ้ากีรติศรีให้ไปสืบศาสนวงศ์ในเมืองลังกา เพราะเวลานั้น พระสงฆ์ในเมืองลังกาสาบสูญสิ้นไป พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงได้ทรงจัดพระสงฆ์สิบรูป กับทูตานุทูต ให้เชิญพระพุทธรูป พระธรรม แลพระราชสาส์นออกไป ซึ่งจดหมายระยะทางของราชทูต แลวิธีซึ่งเชิญพระทันตธาตุออกให้ราษฎรดูอย่างไร ยังมีอยู่ในห้องอาลักษณ์ แลได้ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ แต่จะเป็นฉบับใดข้าพเจ้าจำไม่ได้ ต่อมาอีก มีครั้งหนึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๑ จุลศักราช ๑๑๙๐ แลเมื่อไม่กี่ปีนี้อีกครั้งหนึ่ง การที่เปิดให้คนดูเช่นนี้ เพื่อประสงค์จะได้เงินปฏิสังขรณ์ที่วิหารพระทันตธาตุ ชนชาวสิงหลทั้งปวงย่อมพากันแตกตื่นไปนมัสการแลเข้าเรี่ยไรทั่วทั้งสกลลังกาทวีป
ในระหว่างซึ่งมิได้มีการเปิดให้คนนมัสการมากเช่นนั้น ย่อมเปิดให้ผู้มีบรรดาศักดิ์ต่างประเทศสำคัญ ๆ ดูบ้างเป็นครั้งเป็นคราว แต่โดยปรกติที่เปิดให้ชาวลังกาบูชานั้น เป็นแต่ไปนมัสการภายนอก หาได้เห็นองค์พระทันตธาตุไม่

ทรงหมายความว่า น้อยครั้งมากที่เขาจะเปิดให้คนทั่วไปได้เห็นองค์จริง นอกจากบุคคลสำคัญชาวต่างชาติ อย่างภาพที่ผมหาเจอจากเวป เป็นภาพลายเส้นขณะที่ปรินซ์ออฟเวลส์แห่งสหราชอาณาจักรกำลังทอดพระเนตรพระเขี้ยวแก้วตามที่พระสงฆ์ที่นั่นเปิดถวาย

ตรงนี้ผมเชื่อว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯคงได้ทอดพระเนตรในลักษณะเช่นเดียวกัน แต่ท่ามกลางแสงที่ไม่พอ ทำให้ไม่ชัดไม่อาจขจัดข้อสงสัยที่ค้างคาพระทัยมานาน และทรงตั้งความปรารถนาที่จะต้องรอนแรมมาพิสูจน์ทราบด้วยพระองค์เองได้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 09:36
เมื่อจะกล่าวตามคนต่างประเทศเขากล่าว ที่เขาได้พิจารณาวาดเขียนจำลองถ้วนถี่ เขาว่า ทำด้วยงาช้างซึ่งเสียสี เป็นของพระเจ้าวิกรมพาหุคิดทำขึ้น ไม่เป็นสัณฐานพันธุ์มนุษย์ เพราะสิ่งที่จริงแท้นั้น โปรตุเกสได้ทำลายเสียที่เมืองคัวดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่า ถึงพระทันตธาตุซึ่งว่าโปรตุเกสทำลายเสียนั้นจะเชื่อว่าแท้ก็ไม่ได้ ด้วยพาไปซ่อนเร้นหมกฝังเสียเป็นหลายครั้งมาแล้ว

ตรงนี้ทรงสรุปที่คนอื่นแสดงความเห็นเมื่อพิจารณาจากภาพวาด แต่ส่วนพระองค์เองนั้น ทรงมีความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่มิได้ทรงพระอักษรไว้เป็นหลักฐานต่อสาธารณชนโดยทั่วไป

แต่จะอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามอ่านต่อไป


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 13, 09:46
เทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี โคลัมโบ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 10:10
ผมหมดปัญญา ยังหาเอกสารต้นฉบับของไทยไม่เจอ จึงเข้าไปหาในเวปด้วยภาษาอังกฤษ พบหนังสือ Locations of Buddhism: Colonialism and Modernity in Sri Lanka โดย Anne M. Blackburn ดังแสดงใต้คคห.นี้ ผมถอดเอาความมาเฉพาะที่กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

วันรุ่งขึ้นได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่พระราชวังเก่าอันเป็นที่ประดิษฐานของพระทันตธาตุ ณ ที่นั้นทรงถามคำถามผู้ซึ่งรักษา(เรียกว่า ระเตมะหัตตะเมยะ ซึ่งแต่งตัวนุ่งผ้ายาวยี่สิบเจ็ดวา)คงจะไม่ทันคาดคิดว่า ถ้าพระองค์จะอัญเชิญขึ้นมาบนพระหัตถ์จะได้ไหม เขาได้ทูลปฏิเสธเพราะคิดว่าเหนืออำนาจของตนจะอนุญาตได้ ผลก็คือ พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินกลับทันทีพร้อมกับเครื่องบูชาที่เตรียมมาพระราชทาน แม้กระทั่งทรงคืนสิ่งของที่พระสงฆ์ลังกาถวายแด่พระองค์ด้วย เรื่องนี้ทางการอาณานิคมอังกฤษได้สั่งสอบสวนด่วน และมีรายงานว่าเป็นความบกพร่องของล่ามผู้รับผิดชอบที่ได้สร้างความเข้าใจผิด ทำให้เกิดเรื่องฉกรรจ์กระทบต่อพระเจ้าแผ่นดินสยาม

ในพระราชหัตถเลขาถึงพระนางเจ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวโทษว่าพระสงฆ์ที่นั่นไร้มารยาทและมิได้ถวายพระเกียรติเท่าที่ควร และยังทรงแสดงความกังขาว่าจะไม่ใช่พระทันตธาตุแท้ พระราชหัตถเลขาอีกฉบับได้ทรงมีไปยังเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ(โรลัง ยัคมินส์) ซึ่งปรากฏอยู่ในอนุทินของที่ปรึกษาชาวเบลเยียมของกระทรวงยุติธรรมคนหนึ่ง ซึ่งบันทึกว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมั่นใจในข้อสงสัยของพระองค์ว่าจะเป็นฟันของจระเข้

ฝรั่งไม่ได้บันทึกถึงสภาพการณ์ที่ทางวัดปล่อยให้คนเข้ามาแน่น อึดอัด และแสงสว่างไม่พอเพียง และผู้มีอำนาจปล่อยให้ทรงต้องเจรจากับบุคคลระดับความรับผิดชอบแค่ยามรักษาการณ์ แต่ในบทความที่ผมเคยอ่าน ทรงบ่นกับสมเด็จพระนางเจ้ามากกว่าที่ผมนำมาวิเคราะห์นี้มาก


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 10:56
อีกสำนวนหนึ่งนั้นมีผู้เขียนว่า
 
King Chulalongkorn visited Ceylon on the 19th April, 1897, while he was sailing for England. He had brought many valuable offerings for the Tooth Relic, and when he visited Kandy the relic was exhibited to him. The king wanted to be blessed by the relic by taking it in his own hands, which the guardians of the Temple refused to allow. The king became exasperated and sent back all offerings to the Queen's Hotel, Kandy, where he had taken lodgings. Again he visited Ceylon on the 20th November of the same year, on
his return home, but this time he spent the night in the steamer itself.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จเยือนซีลอนในวันที่๑๙เมษายน๑๘๙๗ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปอังกฤษ ทรงนำของพระราชทานอันมีค่าหลายอย่างมาถวายบูชาพระทันตธาตุ เมื่อมาถึงแคนดีนั้น เมื่อพระทันตธาตุได้ถูกนำมาถวายให้ทอดพระเนตร พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญขึ้นมาบนพระหัตถ์เพื่อความเป็นศิริมงคล แต่ผู้รักษาของวัดไม่ยินยอม พระองค์ทรงกริ้วและให้นำของที่เตรียมมากลับไปควีนส์โฮเตลในแคนดีซึ่งทรงพำนักอยู่ อีกครั้งหนึ่งที่เสด็จผ่านซีลอนในขาเสด็จกลับเมื่อวันที่๒๐ เดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน คราวนี้ทรงประทับค้างคืนวันนั้นบนเรือพระที่นั่ง

เช่นเดียวกับตรงนี้แหละ ที่มีผู้สันนิฐานว่ายังคงทรงเคืองคนที่นั่นไม่หาย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 15:25
สรุปว่าได้ทอดพระเนตรเห็นพระเขี้ยวแก้ว ท่ามกลางแสงสลัวและผู้คนแออัดยัดเยียด (แสดงว่าไม่มีการจัดเวลาพิเศษให้พระองค์ท่านเสด็จเฉพาะส่วนพระองค์) เมื่อมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญมาวางบนพระหัตถ์ คนเฝ้าสถานที่ก็ไม่ยอม ทั้งๆตอนนั้นก็น่าจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายลังกาตามเสด็จด้วยหลายคน จึงกริ้ว

พระเขี้ยวแก้วเท่าที่ทอดพระเนตรเห็นคงมีรูปพรรณสัณฐานที่ก่อความแคลงพระทัยให้มาก จึงมีพระราชประสงค์จะนำมาวางบนพระหัตถ์เพื่อดูให้ถนัด พระราชปรารภต่อเจ้าพระยาอภัยราชาคงจะตรงกับความสงสัยในพระทัยว่าสิ่งนี้ไม่ใช่รูปจำลอง  แต่เป็นอะไรอีกอย่างเช่นฟันจระเข้ แต่จะพูดให้เอิกเกริกไปก็ไม่ดีจึงทรงระบายกับฝรั่ง คนไทยไม่มีโอกาสรู้เรื่องนี้ ถ้าไม่รั่วออกมาเพราะลูกน้องของท่านเจ้าคุณได้เห็น แล้วบันทึกไว้เป็นส่วนตัว ลูกหลานเอามาเล่าต่ออีกทีภายหลังจนมีคนนำไปเขียนหนังสือ

ก็น่าเห็นใจว่าชาวสยามรวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ คงช็อคกันแน่ๆถ้าได้ยินพระราชปรารภ แต่ดิฉันก็สงสัยว่าหนึ่งในฝ่ายไทยที่พระองค์อาจเล่าพระราชทานคือสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ แต่เมื่อฟังแล้ว สมเด็จก็คงเก็บเงียบไม่เขียนไม่บันทึก คงไม่ได้เล่าประทานท่านหญิงพูนฟังด้วย เพราะเป็นถ้อยคำฉกาจฉกรรจ์นัก

ดิฉันเห็นว่าส่วนที่กริ้วน่าจะมีสาเหตุมากกว่าหนึ่ง  คือกริ้วผู้เฝ้าสถานที่ที่ไม่ให้ความสำคัญกับพระองค์  สอง ทรงผิดหวังกับพระบรมสารีริกธาตุที่เห็นว่าไม่ชวนน่าเลื่อมใสเอาเสียเลย ถ้าหากว่าพระธาตุงดงามมากตามที่บรรยายไว้ในพระไตรปิฎก แม้เห็นระยะไกลและไม่พอพระทัยที่ไม่มีโอกาสเห็นใกล้ๆ ก็น่าจะบรรยายความงามในระยะไกลที่ทรงเห็น ด้วยความโสมนัสในส่วนนี้

ข้อนี้ทำให้นึกว่า พระธาตุทั้งหลายที่เขาแจกจ่ายกันตามวัด และตามบ้านจะเป็นแบบเดียวกัน มีบางคนบอกด้วยว่าพระธาตุเสด็จมาเอง  เพิ่มจำนวนได้ด้วย

แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ ปาฎิหาริย์ที่พระปฐมเจดีย์ จะอธิบายด้วยเหตุผลอื่นได้อย่างไร


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 18:49
ในพระราชหัตถเลขาถึงพระนางเจ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวโทษว่าพระสงฆ์ที่นั่นไร้มารยาทและมิได้ถวายพระเกียรติเท่าที่ควร และยังทรงแสดงความกังขาว่าจะไม่ใช่พระทันตธาตุแท้ พระราชหัตถเลขาอีกฉบับได้ทรงมีไปยังเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ(โรลัง ยัคมินส์) ซึ่งปรากฏอยู่ในอนุทินของที่ปรึกษาชาวเบลเยียมของกระทรวงยุติธรรมคนหนึ่ง ซึ่งบันทึกว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงมั่นใจในข้อสงสัยของพระองค์ว่าจะเป็นฟันของจระเข้

ฝรั่งไม่ได้บันทึกถึงสภาพการณ์ที่ทางวัดปล่อยให้คนเข้ามาแน่น อึดอัด และแสงสว่างไม่พอเพียง และผู้มีอำนาจปล่อยให้ทรงต้องเจรจากับบุคคลระดับความรับผิดชอบแค่ยามรักษาการณ์ แต่ในบทความที่ผมเคยอ่าน ทรงบ่นกับสมเด็จพระนางเจ้ามากกว่าที่ผมนำมาวิเคราะห์นี้มาก


พระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ  คัดเฉพาะส่วนเหตุการณ์วุ่นวายครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปที่วัดพระทันตธาตุ

วันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ.๑๑๖  

....... ตาพระอีกองค์หนึ่งเอาคัมภีร์กรากเข้ามาให้ คราวนี้ฉันเลยไม่มีตัว ไม่รู้ใครเอาอะไรมาให้และส่งอะไรไปให้ใคร มันหนุบ ๆ หนับ ๆ ไปไม่มีอะไรจะเหมือนแย่งลูกมะนาวใต้ต้นกัลปพฤกษ์ บางคนฉันเข้าใจว่าแกไม่ได้ตั้งใจ ตีนไม่ถึงพื้นมันลอยเข้ามาก็มา ตาที่อ่านก็ค้ำกันเรื่อยไปทั้งสองคน ท่านพวกที่อยู่นอกสังเวียนก็สวดกันเรื่อยไป เหมือนวิวาทกันมากกว่าอื่น ฉันเดินพลางขอบใจพลาง ใครก็ไม่รู้เป็นล่ามตะโกนแปล และไม่เห็นหน้าเห็นตา ถ้าแม่เล็กไปก็เป็นลมอยู่ที่นั่นเอง มันชั่งชั่วชาติประดาเสีย ขึ้นกระไดแคบ ๆ ไปอีกชั้นหนึ่งจึงถึงชั้นบนที่ห้องพระทันตธาตุ ในนั้นจุดไฟดวงเล็กไว้สัก ๓ ดวง หรือ ๔ ดวง หน้าต่างก็ไม่มี ตั้งใจจะให้มืดทีเดียว พวกฝรั่งทั้งผู้ชายผู้หญิงดันเข้าไปก็หลายคน พระก็หลาย ตาท้องโตคนหนึ่งกินที่เท่า ๓ คน แกเข้าไปถึง ๘ คนคนเราเข้าไปได้สองสามคน นอกนั้นเบียดขลักกันอยู่ข้างนอก   ฉันจุดเทียนรุ่งสองเล่มจะหาอะไรปักก็ไม่มี จะติดกับโต๊ะก็ดูเหมือนแกไม่ตั้งใจ กลัวจะสว่างไป เขารื้อพระเจดีย์เอามาใส่ไว้ในครอบแก้ว แล้วพระเจดีย์องค์ใหญ่นั้นจะย่อมกว่าพระเจดีย์ที่วับวรนิเวศน์ไม่มากนัก กาไหล่ทองมีสังวาลพม่าบ้าง อะไรอีกบ้างดูไม่ทันและไม่ใคร่เห็นถนัด คล้องอยู่เป็นพวงใหญ่ ดูเหมือนมีพลอยดี ๆ มาก องค์รอง ๆ ลงมาดูก็ไม่ใคร่ถนัด พวกท้องโตบ้างพระบ้างเดินยุ่ม ๆ ย่าม ๆ เหมือนจะกลัวเราแกะเพชรและพลอย หรือขโมยใส่กระเป๋า เขาหยิบมาให้ดูองค์ในประดับเพชรและทับทิม มีลุ้งประดับประดาเพชรพลอยอีกชั้นหนึ่ง กับเอาพระแก้วสีเป็นมรกตจริง ๆ น่าตักสัก ๔ นิ้วส่งมาให้ดู ไม่ทันเห้นว่าจริงหรือปลอมมันรับเอาไปเสียแล้ว คัมภีร์ลานทองสองผูกที่กรมดำรง (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ว่าเป็นของพระบรมโกศนั้น ได้ดูผูกหนึ่งที่เป้นหนังสือขอม เป็นวิธีอุปสมบทกฐินเดาะ ผูกสีมา ซึ่งไม่ประหลาดอันใด แต่พลิกดูให้ตลอดก็ไม่ได้ มันแน่นกันเหมือนปลาเซดินในหีบ เหงื่อไหลแต่กลางขม่อมจนส้นตีน ให้กรมสมมติคัดบานพแนก จะขอเอาไปคัดนอกห้อง มันก็ไม่ยอมว่าไม่มีธรรมเนียม ฉันก็พื้น ว่ากะของเท่านี้ข้อจะขโมยทีเดียวหรือ

ในขณะนั้นฉันพิจารณาดูพระเขี้ยวแก้ว รูปร่างก็อ้ายดุ้น ๆ นั้นแล แต่ที่ตากุดาลังกาเห็นจะเล็กกว่า และงามไปกว่าหน่อย แล้วไม่สกปรกเหมือนด้วย จะว่าเป็นงาเก่า ๆ ด้ามแปรงปิดทองพระก็งามไปกว่า สีแดงเปื้อน ๆ จะทำให้เป็นฟันคนแก่สกปรก หรือจะให้เป็นเก่าก็ไม่ทราบ ทำนองก็จะให้เป็นสีดอกพิกุลแห้ง แต่ไม่เสมอกัน บางแห่งหนาบางแห่งบาง   ฉันว่ายอมให้ฉันจับได้หรือไม่ บอกว่าไม่มีธรรมเนียมไม่เคยยอมให้ใครจับเลย ฉันว่าประหลาดแล้วในโลกนี้ ออกมาอย่างไรเล่าใน พระเจดีย์เข้าไปอยู่ในครอบแก้ว ก็ตอบว่าจับได้แต่พระที่เป็นเกาวนาเป็นผู้ปกครอง

ฉันว่าพระเป็นแต่เกาวนา ข้าเป็นเจ้าแผ่นดิน ถือพระพุทธศาสนา ในเมืองข้าเช่นพระแก้วมรกตไม่มีใครจับ ข้าเป็นผู้จับได้ ข้าดีกว่าผู้รักษาอีก  เขาว่าผู้รักษาจับ ก็จับด้วยผ้าไม่ได้จับด้วยมือเปล่า ฉันวาเจ้าจะพูดอะไรมากไป พี่น้องข้าบ่าวข้าที่มีเดี๋ยวนี้ ชี้หลวงสุนทรและมหามทลิย เป็นคริสเตียนก็เคยจับ ข้าอยากลองดู เจ้าไม่ให้จับข้าก็ไม่จับกับของพันนี้

พระพุทธเจ้าไม่ได้ซ่อนพระองค์ไม่ให้ผู้ใดเข้าถึง พระธรรมของท่านเปิดเผยแก่คนที่หวังจะประพฤติตาม ไม่มีสิ่งใดปิดบังซ่อนเร้น เรามาบัดนี้เพื่อจะบูชาสิ่งนี้ ก็เฉพาะต่อองค์พระพุทธเจ้า เราหาได้มุ่งจะบูชาสิ่งที่ต่างพระองค์ไม่ เมื่อเจ้าห้ามข้าด้วยความดูถูกดังนี้ ข้าก็ไม่บูชาพระพุทธเจ้าในที่นี้ ข้าจะบูชาที่อื่นได้ถมไป   ฉันสั่งให้ขนเครื่องบูชากลับ และให้คืนของที่พระให้มาทั้งหมด และสั่งให้คนที่ไปด้วยให้เข้าไปดูเสียทุกคน ฉันออกมาหายใจที่เฉลียง พอคนดูทั่วกัน แล้วก็ลงมาขึ้นรถกลับ อ้ายพวกนั้นตะลึงกันไป ไม่มีใครติดตามว่ากล่าวอันใด...........................

อันที่จริงฉันก็ได้คิดเสียก่อนที่จะกริ้วแล้ว ขออย่าให้แม่เล็กตกใจว่าฉันแผลงฤทธิ์ เห็นว่าไม่กริ้วไม่ได้ คนเป็นกองเสียพระเกียรติยศ และในการที่จะให้เงินให้น้อยก็ไม่ได้ ให้มากก็งุ่มง่ามถึงจะไม่เชื่อก็ต้องเป็นเชื่อ อายพวกฝรั่งมันหัวเราะเยาะเจ้าแผ่นดินมอญ (พระองค์หมายถึง พระเจ้าบุเรงนอง) ถูกลังกามันเมกเสียยับ ยังเป็นที่หัวเราะกันอยู่ทุกวันนี้ ฉันจะแปลเรื่องย่อ ๆ ส่งมาให้ อยากให้ตีพิมพ์ในวชิรญาณ หรือจะลงธรรมจักษุอยากให้พระได้อ่านด้วย กลัวจะไม่ใคร่มีใครอ่านหนังสือนั้นสองฉบับ ............

 


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 18:55
อีกฉบับหนึ่ง

พระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

เรือพระทั่งมหาจักรี ในมัชฌันตรวิถี ทะเลอาหรับ วันที่ ๒๗ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖

กราบทูลกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส

ด้วยการที่หม่อมฉันออกมาครั้งนี้ ที่แห่งใด ๆ ก็นับว่าเป็นเรียบร้อย เว้นไว้แต่ที่มาลิกาวะ วัดพระทัตธาตุ หม่อมฉันไปชวนวิวาทกันขึ้นกับผู้รักษา อันที่จริงไม่ได้เป็นไปโดยลุอำนาจแก่โทษา ได้คิดก่อนแล้วจึงได้วิวาท เหตุการณ์ที่ขอจับต้องพระทันตธาตุนั้น ไม่เป็นการประหลาดอันใด มีผู้เคยจับต้องเป็นอันมากคนที่มาด้วยกับหม่อมฉัน เช่นเจ้าหมื่นเสมอใจ หลวงสุนทรโกษา และมหามุทลิย ซึ่งเป็นคนนับถือศาสนาพระเยซู หากแต่เพียงมาด้วยเจ้านายของเราก็ได้จับ   ความจริงไม่มีผู้ใดทั้งฝรั่งแลลังกาที่ได้คิดสักคนหนึ่ง ว่าจะเกิดขัดขวางดังนั้น เจ้าเมืองเองได้บอกแก่หม่อมฉันว่า เพราะคิดเห็นเสียว่าหม่อมฉันเป็นคนถือพุทธศาสนา คงจะเข้าออกกันได้สนิทสนมกับพวกนั้น เพื่อจะเปิดช่องให้พวกข้าราชการได้เข้าไปมาก จึงมิได้เข้าไปในห้องนั้นด้วย หาไม่การอันนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นเลย

พิเคราะห์ดูตามอาการกิริยาแลคำที่ออกตัวภายหลัง ก็เป็นอันจะโก่งราคาให้สูง คือจะบอกให้เห็นว่าอนุญาตให้จับโดยความนับถืออย่างยิ่ง ไม่ได้อนุญาตแก่ผู้อื่นเลยแต่การอันนั้นไม่เป็นความจริง แลประกอบด้วยกิริยาอันหยาบคายของหัวหน้าผู้รักษา ให้ปรากฏว่าคำตอบนั้นไม่สู้เป็นการเคารพแลล่อลวง ซึ่งเป็นสันดานแห่งชาวลังกาอันจะได้เห็นในหนังสือที่หม่อมฉันเรียงมาสำหรับลงวชิรญาณวิเศษและธรรมจักษุนั้นแล้ว ว่าตามความจริง เจดีย์ฐานอันนี้ ไม่เป็นเครื่องที่ก่อเกิดความยินดีเลื่อมใส เพราะเห็นเป็นการล่อลวงติดอยู่ในนั้น ถ้าหากเราจะเข้าเรี่ยรายเล็กน้อยก็จะไม่สมควรแก่ที่เขาเป็นที่นับถือกัน ถ้าจะออกมากก็ให้นึกละอายใจ ว่าจะเป็นผู้หลงใหลไปตามแลดูก็จะไม่เป็นประโยชน์อันใด และไม่เป็นเกียรติยศอันใด ทั้งฝ่ายศาสนาและฝ่ายพระราชอาณาจักร จึงไม่รับเชื้อเชิญ ที่จะไปดูอีกในภายหลัง ..........


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 19:00
ในพ.ศ. ๒๔๓๔ สมเด้จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จไปเยือนลังกาทวีป ทรงพระนิพนธ์เรื่อง ไปลังกาทวีป ทรงมีพระมติว่า

ที่ข้าพเจ้าได้ไปแลเห็น แลนมัสการพระเขี้ยวแก้วฉะนี้ ถ้าจะไม่พรรณนาถึงพระเขี้ยวแก้วไว้สักหน่อยก็จะขาดความไป  พระทาฒะธาตุนี้สีสันนั้นสีเหลือง ๆ มีคราบจับ เห็นได้ว่าเป็นของโบราณแท้  แต่เมื่อพิเคราะห์ดูรูปสัณฐานเห็นว่าถ้าพระทาฒะธาตุนี้เป็นพระเขี้ยวในสรีรกายของพระพุทธองค์แล้ว พระพุทธเจ้าคงสูงใหญ่ราว ๔ ศอกของสามัญชน... อีกประการหนึ่งพระเขี้ยวของพระพุทธองค์ผิดกับเขี้ยวของสามัญมนุษย์ เพราะรูปไม่เหมือนกับเขี้ยวของคนตามธรรมดาเลย  ความจริงจะเป็นฉันใด ข้อความเหล่านี้ก็มีหนังสือแก้ไข แล้วแต่จะเลือกลงเนื้อเชื่อใจ  เมื่อว่าที่แท้แล้วพระพุทธศาสนามิได้อยู่ที่วัตถุและเจดียฐานอันใด อาศัยใจเป็นใหญ่ ถ้าใจชั่วแล้ว พระเขี้ยวแก้วสักแปดหมื่นสี่พันก็ไม่เป็นประโยชน์อันใดแก่ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  

ข้อมูลทั้งหมดจาก เว็บพิณประภา  (http://www.pinprapa.com/aticle672Blank.html)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.ย. 13, 19:20
เรื่องความสามารถในการหาข้อมูลในเน็ท ในยุทธจักรนี้เห็นไม่มีใครจะเกินคุณเพ็ญชมพูไปได้ ต้องขอบคุณยิ่งที่ทำให้เรื่องนี้ได้รับการเติมเต็มในทุกมุมมอง อ่านแล้วก็นึกสรรเสริญพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ ในพระอารมณ์ขันที่ทรงเขียนเล่าเหตุการณ์ที่แย่ๆอย่างนั้นให้ออกในแนวตลกได้

ที่โดนใจผมมากที่สุดอยู่ที่ทรงเขียนว่า อันที่จริงฉันก็ได้คิดเสียก่อนที่จะกริ้วแล้ว ขออย่าให้แม่เล็กตกใจว่าฉันแผลงฤทธิ์  ตรงนี้แสดงว่าทรงมีพระสติรักษาพระองค์ตลอดเวลา สมเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มากพระบารมีโดยแท้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ย. 13, 19:53
 ;D


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: ท้าวฮุ่ง ที่ 30 ก.ย. 13, 10:38
อ้างถึง
มีคำถามค่ะ ว่าหมู่บ้าน Piprahwa มีชื่อในภาษาไทยว่าอะไรเหรอค่ะ แล้วภาษาที่สลักอยู่บนผอบ (เรียกไม่ถูกค่ะ) ที่บรรจุนั้นตามที่เข้าใจคือเป็นภาษาสันสกฤตโบราณใช่ไหมค่ะ


เพิ่งดูสารคดีในคลิ๊ปจบ

ปิปราห์วา ไม่น่าจะมีที่ถอดออกมาเป็นภาษาแบบไทยๆครับ เพราะเป็นหมู่บ้านในยุคปัจจุบันที่อยู่ในสถานที่ซึ่งเมื่อก่อนเป็นกรุงกบิลพัสดุ์ ในพระพุทธประวัติเองกล่าวว่า หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานเจ้าศากยะทั้งหลายก็ถูกทำลายล้างด้วยความแค้นของพระเจ้าวิฑูฑภะผู้เป็นญาติ กรุงกบิลพัสดุ์ก็อาจจะร้างไปในตอนนั้นแล้ว

พระเจ้าวิฑูฑภะตายก่อนพระพุทธเจ้ามะใช่หรอ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ก.ย. 13, 13:50
นี่แหละน่าคิด

เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ ปรากฏอยู่เป็นอนุปุพพีกถาใน “ธัมมปทัฏฐกถาธัมมปทัฏฐกถา” แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 ไม่ได้อยู่ในบรรพพระพุทธประวัติ

ธัมมปทัฏฐกถาธัมมปทัฏฐกถา มิได้ถือว่าเป็นโบราณคดีประวัติศาสตร์
ในขณะที่หลักฐานที่ได้จากการค้นพบพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ คือโบราณคดีประวัติศาสตร์

ดังนั้น ถ้าเชื่อว่า พระบรมสารีริกธาตุถูกบรรจุในพระสถูปโดยญาติพี่น้องแห่งศากยะของพระพุทธองค์จริง ก็ต้องเชื่อว่า ขณะนั้นยังไม่เกิดเรื่องการฆ่าล้างโคตรโดยพระเจ้าวิฑูฑภะ(ถ้ามี)
หรือถ้ามีเหตุการณ์ฆ่าล้างโคตรเจ้าศากยะโดยพระเจ้าวิฑูฑภะจริง ก็ต้องเป็นภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน นานพอสมควรจนมีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว

อีกหลักฐานหนึ่ง นักโบราณคดีอังกฤษเขียนว่า กรุงกบิลพัศดุ์ถูกทำลายล้างโดยกองทัพมุสลิม คราวเดียวกับที่ตักสิลาลูกลบไปจากแผ่นดินชมพูทวีป ก่อนที่พระเจ้าอโศกจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุผลว่าทำไมพระสถูปที่ปิปราห์ว่าจึงมีช่องบรรจุพระสารีริกธาตุเดิม อยู่ลึกไปจากชั้นที่ชาวอังกฤษพบ ซึ่งเป็นการบรรจุครั้งใหม่ในสมัยพระเจ้าอโศก

สุดท้าย
น่าจะใช้ภาษาไทยที่เหมาะสมในการแสดงความเห็นในกระทู้ลักษณะนี้หน่อยนะครับ ผมว่า


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: ท้าวฮุ่ง ที่ 30 ก.ย. 13, 13:54
เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าล้างศากยะ ไม่มีในพระไตรปิฎกหรอครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: world ที่ 03 ก.พ. 19, 04:30
อ้างถึง
อีกหลักฐานหนึ่ง นักโบราณคดีอังกฤษเขียนว่า กรุงกบิลพัศดุ์ถูกทำลายล้างโดยกองทัพมุสลิม คราวเดียวกับที่ตักสิลาลูกลบไปจากแผ่นดินชมพูทวีป ก่อนที่พระเจ้าอโศกจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุผลว่าทำไมพระสถูปที่ปิปราห์ว่าจึงมีช่องบรรจุพระสารีริกธาตุเดิม อยู่ลึกไปจากชั้นที่ชาวอังกฤษพบ ซึ่งเป็นการบรรจุครั้งใหม่ในสมัยพระเจ้าอโศก

พึ่งได้เข้ามาอ่านเลยอยากจะออกความเห็นนิดครับ   คือศาสนาอิสลามเกิดขึ้นเมื่อราวๆพุทธศักราช 1175 และเมืองตักศิลาถูกทำลายโดยพวก Hephthalite ในช่วงไล่ๆกัน

ส่วนพระเจ้าอโศกมีชีวิตอยู่ช่วงพุทธศักราช 239-311     คงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าอโศกจะมาฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังเมืองถูกทำลาย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ก.พ. 19, 17:27
ขอบคุณที่อุตส่าห์สมัครเข้าเรือนไทยมาเพื่อชี้ที่ผิดครับ ผมก็หลับหูหลับตาไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะเอามานำเสนอต่อ ต้องขออภัยด้วย

นามปากกานี้คุ้นๆว่าเคยเข้ามาทีหนึ่งแล้ว เป็นของคุณ Zodiac28 จากพันทิป คนเดียวกันหรือเปล่าครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: world ที่ 03 ก.พ. 19, 18:32
ถูกแล้วครับ   สมัครไว้นานแล้วแต่ปกติใช้เข้ามาดูเฉยๆน่ะครับ      วันนี้ได้ลิงค์มาเลยเปิดอ่านดูพอดีเห็นเข้าเลยลองโพสต์ดูด้วยเลยครับ     คุณ Navarat ยังสบายดีนะครับไม่ค่อยเห็นที่พันทิปแล้ว


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ก.พ. 19, 20:58
ก็สบายดีแต่ไม่เหมือนเดิมแล้วครับ ยินดีที่ได้เจอกันที่นี่อีกครั้งนะ

ไหนๆเรื่องนี้คุณได้เข้ามาท้วงแล้วก็ช่วยหาคำตอบหน่อยเถิดครับ จะได้ปิดประเด็นได้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: world ที่ 11 เม.ย. 19, 18:40
ผมเดานะครับ     สมมุติว่ามีการฆ่าล้างศากยะวงศ์จริงก็มีความเป็นไปได้ที่เรื่องว่าพระพุทธเจ้าเชิญเหล่าพี่น้องศากยะวงศ์จำนวนหนึ่งมาบวชก่อนจะเกิดสงครามขึ้น     เป็นไปได้ว่าผู้ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและจารึกว่าเป็นพี่น้องศากยะวงศ์นั้นก็น่าจะเป็นบรรดาสงฆ์ที่เคยเป็นศากยะวงศ์มาก่อน


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 เม.ย. 19, 09:54
หายไปนาน นึกว่าไม่กลับมาตอบเสียแล้ว


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 เม.ย. 19, 09:48
ลืมกระทู้นี้ไปเลยค่ะ   ต้องย้อนกลับไปอ่านใหม่แต่ต้น

ผมเดานะครับ     สมมุติว่ามีการฆ่าล้างศากยะวงศ์จริงก็มีความเป็นไปได้ที่เรื่องว่าพระพุทธเจ้าเชิญเหล่าพี่น้องศากยะวงศ์จำนวนหนึ่งมาบวชก่อนจะเกิดสงครามขึ้น     เป็นไปได้ว่าผู้ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและจารึกว่าเป็นพี่น้องศากยะวงศ์นั้นก็น่าจะเป็นบรรดาสงฆ์ที่เคยเป็นศากยะวงศ์มาก่อน
คำตอบของคุณ world มีน้ำหนักมากค่ะ    ถ้ามีการฆ่าล้างตระกูลกันจริงๆ  ก็เป็นได้ว่าผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตมาจนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้ ก็คือเจ้านายที่ผนวชเป็นพระสงฆ์ไปแล้วก่อนหน้านี้
พวกนี้ถือได้ว่าตัดขาดทางโลก หมดฐานันดรไปแล้ว  ไม่ใช่เจ้านายที่อยู่ในข่ายถูกฆ่าล้างโคตรอีก

แต่ทีนี้   จารึกบนผอบนั่นน่ะซี ที่ทำให้ดิฉันสงสัย  
เพราะพูดถึงภรรยาถึงบุตรด้วย

มีนัยยะว่าผู้บรรจุนั้นคือผู้ครองเรือน  คือยกครอบครัวกันมารับอานิสงส์แห่งมหากุศลนี้ทั่วถึงกัน  
 
ท่านอาจจะค้านว่า เจ้านายเหล่านี้ไม่ได้บวชเพียงลำพัง แต่พาลูกเมียมาบวชด้วยกันหมด   ทีนี้ ทางพุทธศาสนาถือว่า  เมื่อคฤหัสถ์เข้าสู่ภิกขุภาวะแล้ว ความเป็นลูกเป็นเมียในครอบครัวเดียวกันก็ย่อมถูกสละไปโดยปริยาย  ไม่มานับเป็นครอบครัวกันอีก     ต่างคนต่างดำรงความเป็นภิกษุ ภิกษุณี แบบปัจเจกบุคคล  
ที่สำคัญกว่านี้ความเป็นเจ้า หรือเป็นเชื้อสายวงศ์ไหน ก็ต้องสละออกไปด้วย ไม่นำมาอ้างอิงอีก  
ถ้อยคำบนผอบ ก็ควรจะเป็นว่า ภิกษุ ภิกษุณีชื่อใด  เป็นผู้บรรจุ   หรือถ้าไม่อยากออกชื่อเพราะมากมายหลายคน ไม่มีเนื้อที่จารึก  อาจมีชื่อหัวหน้าต่อด้วยคำว่าบริวาร
แต่ไม่น่าจะเป็นการบอกถึงฐานันดรเจ้านายศากยะวงศ์  โดยไม่มีคำว่าภิกษุ หรือฉายาของพระภิกษุ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 เม.ย. 19, 09:55
คิดไปคิดมา มีความเป็นไปได้ 3 ทาง
1  ทางที่คุณ world สันนิษฐาน ว่าบรรจุโดยพระสงฆ์อดีตเจ้านายศากยะวงศ์
2  ทางที่ดิฉันเสนอ  ผู้บรรจุคือเจ้านายเชื้อสายศากยวงศ์ หลายองค์ เป็นคฤหัสถ์ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น
3  ถ้าข้อ 2 เป็นจริงก็นำไปสู่ข้อ 3  ว่าการสังหารศากยวงศ์อาจมีจริงหรือไม่มีก็ได้
     ถ้าไม่มีจริง เป็นเรื่องแต่งขึ้นมาทีหลัง ก็หมดข้อสงสัยไปว่าทำไมยังมีเจ้านายรวมกลุ่มกันมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
     ถ้ามีจริง    เป็นได้ว่ามีการยกพวกทำศึกฆ่าฟันกัน ศากยะวงศ์พ่ายแพ้ตายไปในสนามรบ เกือบหมด แต่ไม่หมด    พวกที่หนีไปได้หรือบังเอิญย้ายไปอยู่ที่อื่นเสียก่อนเลยไม่ตาย  พวกนี้แหละที่รอดมาจนได้มีชื่อจารึก

ข้อสุดท้ายที่ไม่อยากบวกไว้ใน 3 ข้อแรก คือผอบเป็นของปลอมค่ะ   ใส่จารึกลงไปให้ดูขลังเท่านั้นเอง


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 เม.ย. 19, 12:01
ข้อสุดท้ายที่ไม่อยากบวกไว้ใน 3 ข้อแรก คือผอบเป็นของปลอมค่ะ   ใส่จารึกลงไปให้ดูขลังเท่านั้นเอง

ผอบคงไม่ปลอมแน่ครับ เพราะได้รับการพิสูจน์จากผู้เชียวชาญหลายสำนักมาก ทั้งนักโบราณคดีชาวอังกฤษและชาวอินเดียเอง อนึ่ง นายเปปเป้เป็นเพียงเกษตรกร คงไม่มีภูมิปัญญาที่จะไปปลอมของเช่นนี้ขึ้นมาได้

ในส่วนตัวผมจึงให้น้ำหนักไปทางข้อ ๓
อย่างไรเสีย การสังหารหมู่หรือฆ่าล้างโครตจะต้องมีผู้รอดตายเสมอ ในกรณีย์นี้ถ้าเกิดขึ้นจริงก็น่าจะมีเจ้านายที่ได้รับการยกเว้นโทษประหารบ้างครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 เม.ย. 19, 12:32

ขออภัยครับ
ผมตามอ่านอีกได้สักสองรอบ ตรงที่ขีดเส้นใต้หรือเปล่าครับที่เขียนว่าเป็นของศักยราชวงศ์

"iYa Salila Nidhane Budhasa Bhagavata Saki Sukiti Bhatinam Bhagini Kana Saputa
 Dalana"
“อิยะ สะลิละ นิธะเน พุธะสะ ภะคะวะตะสะ สากิ สุกิติ ภาตีนะ สะภะคินิ กานะ สะปุตะ ทาลานะ”


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 เม.ย. 19, 13:03

ขออภัยอีกครั้ง เจอแล้วครับ อยู่บรรทัดบน ขอบคุณครับ


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 เม.ย. 19, 13:15

บรรทัดที่จารึก "ยานะ" บนผอบนี่ภาพถ่ายมองไม่ชัดนะครับ 



กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 เม.ย. 19, 14:27
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5762.0;attach=70993;image)

บรรทัดที่จารึก "ยานะ" บนผอบนี่ภาพถ่ายมองไม่ชัดนะครับ 

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5762.0;attach=70994;image)


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 เม.ย. 19, 17:19

ขอบคุณครับ  ;D
จากรูปที่คุณเพ็ญชมพูกรุณานำมาลง
"ยานะ" อยู่บน "สุกิติ" และ เยื้องกับ "สากิ"
ลายจารึกเป็นการขูดอย่างไม่ประณีต เหมือนกับรีบทำ

ถ้าจะให้หมายถึง "ศากยะ" ทำไมไม่เขียน สมาส "สากยะ" ไปเลย


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 เม.ย. 19, 17:31
The casket found inscribed in Mauryan Brahmi script reads, 'Sukitibhatinam sabhaginikanam saputadalanam yam salilanidhane Budhasa Bhagavate Sakiyanam'.

According to Buhler, it means that the casket containing the relics of Lord Buddha was donated by Sukirti brothers along with their sisters, sons and wives belonging to the Sakya clan.

But in the opinion of J.F. Fleet, this is the collection of relics of Sukirti brothers, the relatives of lord Buddha and those of their sisters, sons and wives too.

จาก http://www.museumsofindia.gov.in/repository/record/im_kol-19737A-B-10420


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 เม.ย. 19, 13:41

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3)

  
พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ        
   
               ก็พระญาติทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธะชื่อว่าไม่ฆ่าสัตว์ แม้จะตายอยู่ก็ไม่ปลงชีวิตของเหล่าสัตว์อื่น.
               เจ้าศากยะเหล่านั้นคิดว่า "พวกเราฝึกหัดมือแล้ว มีเครื่องผูกสอดอันทำแล้ว หัดปรือมาก, แต่พวกเราไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้เลย, พวกเราจักแสดงกรรมของตนแล้วให้หนีไป." เจ้าศากยะเหล่านั้นทรงมีเครื่องผูกสอดอันทำแล้ว จึงเสด็จออกเริ่มการยุทธ. ถูกศรที่เจ้าศากยะเหล่านั้นยิงไปไปตามระหว่างๆ พวกบุรุษของพระเจ้าวิฑูฑภะ, ออกไปโดยช่องโล่และช่องหูเป็นต้น. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสว่า "พนาย พวกเจ้าศากยะย่อมตรัสว่า ‘พวกเราเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์’ มิใช่หรือ? ก็เมื่อเช่นนี้ ไฉนพวกเจ้าศากยะจึงยิงบุรุษของเราให้ฉิบหายเล่า." ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งกราบทูลพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นว่า "ข้าแต่เจ้า พระองค์ตรวจสอบดูแล้วหรือ?"
               พระเจ้าวิฑูฑภะ. พวกเจ้าศากยะยังบุรุษของเราให้ฉิบหาย.
               บุรุษ. บุรุษไรๆ ของพระองค์ ชื่อว่าตายแล้ว ย่อมไม่มี, ขอเชิญพระองค์จงรับสั่งให้นับบุรุษเหล่านั้นเถิด.
               พระเจ้าวิฑูฑภะ เมื่อรับสั่งให้นับดู ไม่ทรงเห็นหมดไปแม้คนหนึ่ง. ท้าวเธอเสด็จกลับจากที่นั้นแล้ว ตรัสว่า "พนาย คนเหล่าใดๆ บอกว่า ‘พวกเราเป็นเจ้าศากยะ’ ท่านทั้งหลายจงฆ่าคนเหล่านั้นทั้งหมด; แต่จงให้ชีวิตแก่คนที่ยืนอยู่ในสำนักของเจ้าศากยะมหานาม ผู้เป็นพระเจ้าตาของเรา.
               เจ้าศากยะทั้งหลายไม่เห็นเครื่องถือที่ตนพึงถือเอา บางพวกคาบหญ้า บางพวกถือไม้อ้อ ยืนอยู่, ถูกเขาถามว่า "ท่านเป็นเจ้าศากยะหรือไม่ใช่? เพราะเหตุที่เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้จะตายก็ไม่พูดคำเท็จ; พวกที่ยืนคาบหญ้าอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ, หญ้า." พวกที่ยืนถือไม้อ้อก็กล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ, ไม้อ้อ." เจ้าศากยะเหล่านั้นและเจ้าศากยะที่ยืนอยู่ในสำนักของท้าวมหานาม ได้ชีวิตแล้ว.
               บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้น เจ้าศากยะที่ยืนคาบหญ้า ชื่อว่าเจ้าศากยะหญ้า, พวกที่ยืนถือไม้อ้อ ชื่อว่าเจ้าศากยะไม้อ้อ.
               พระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ฆ่าเจ้าศากยะอันเหลือทั้งหลาย ไม่เว้นทารกแม้ยังดื่มนม ยังแม่น้ำคือโลหิต ให้ไหลไปแล้ว รับสั่งให้ล้างแผ่นกระดาน ด้วยโลหิตในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น.
               ศากยวงศ์อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้. พระเจ้าวิฑูฑภะนั้นรับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ในเวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า "เราจักเสวยอาหารเช้า" ดังนี้แล้ว ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง, เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว, รับสั่งให้เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า "เราจักเสวยร่วมกัน."


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 เม.ย. 19, 15:14

ผู้จารึกเริ่มจาก "สุกิติ" ก่อน แล้ว จารึก เวียนไปจนครบรอบจบที่ "สะกิ-ยะนัง"
ตรง "ยะนัง" ยกไปจารึกบน "สุกิติ"

สุกิติ ภะตินัง สะภะคินิ กะนัง สะปุตะ ทะละนัง  =  (สกุล)สุกิติ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ธิดา บุตร อุทิศ

อิยะ สะลิละ นิทธะเน พุทธะ สะภะคะวะเต สะกิยะนัง = นี้ สรีระ บรรจุ พระพุทธ ภควัต ศากยะ

ดังนั้น "ศากยะ" จึงไม่ได้ขยาย "สุกิติ'


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 เม.ย. 19, 17:21
เป็นประเด็นที่สำคัญเลยนะครับทีนี้


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 19, 20:00
ดังนั้น "ศากยะ" จึงไม่ได้ขยาย "สุกิติ'

แต่ "สุกิติ" ขยาย "ศากยะ"  ;D

"สุกิติ" สุ = ดี งาม   กิติ  บาลีว่า กิตติ = คำสรรเสริญ

ราชสำนักสยามสร้างความมั่นใจให้ตนเองด้วยการให้พระชินวรวงษ์ คัดลอกจารึกอักษรพราหมี ส่งกลับมายังดินแดนสยาม เพื่อให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทำการศึกษาเทียบเคียงกับอักษรพราหมีที่ปรากฏในจารึกอโศก ที่ขุดค้นพบก่อนหน้านั้นโดยตรง ซึ่งกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สรุปความได้ว่า

“นี้ ที่บรรจุพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้า ของศากยพี่น้องผู้ชายผู้มีเกียรติงาม พร้อมทั้งพี่น้องผู้หญิง พร้อมทั้งลูกเมีย

ในขณะที่ฝ่ายอินเดีย เมื่อแปลมาเป็นภาษาอังกฤษ และถอดความเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งได้ความว่า

“อัฐซึ่งฝังเก็บไว้นี้ เป็นอัฐิของสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนของผู้มีเกียรติคุณ อันเป็นภาดาและภคินี กับทั้งบุตรและบุตรสะใภ้ แห่งวงศ์สกยราช


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 เม.ย. 19, 20:23

Sukit​i​ family donate this​ relic​ burying Budha​ Bhagawata Sakaya.

รูปประโยคนี้​ สุกิติ​ขยาย​ประธาน​ ส่วน​ ศากยะขยายกรรมครับ
แต่ถ้า​ ประโยคขึ้นด้วย​ อิยัง​ อาจแปลได้ตามนั้น


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 19, 08:21
The casket found inscribed in Mauryan Brahmi script reads, 'Sukitibhatinam sabhaginikanam saputadalanam yam salilanidhane Budhasa Bhagavate Sakiyanam'.

According to Buhler, it means that the casket containing the relics of Lord Buddha was donated by Sukirti brothers along with their sisters, sons and wives belonging to the Sakya clan.

But in the opinion of J.F. Fleet, this is the collection of relics of Sukirti brothers, the relatives of lord Buddha and those of their sisters, sons and wives too.

คำแปลเปลี่ยนไปเมื่อเปลี่ยนลำดับของข้อความ  ;D

จากหนังสือ The Life of Buddha : As Legend and History โดย Edward J. Thomas  (https://books.google.co.th/books?id=Zfb9AQAAQBAJ&pg=PA161&lpg=PA161&dq=Sukirti+brothers,&source=bl&ots=7BpgSKfRRu&sig=ACfU3U3LeLP0IZuWcTpqRvALK5NIlCURGg&hl=th&sa=X&ved=2ahUKEwiWo_nqutzhAhXEX3wKHW42Br4Q6AEwFXoECAIQAQ#v=onepage&q=Sukirti%20brothers%2C&f=false)หน้า ๑๖๑ - ๑๖๒


กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: world ที่ 03 พ.ค. 19, 21:47
หายไปนาน นึกว่าไม่กลับมาตอบเสียแล้ว

ขออภัยครับ    ปกติไม่ค่อยได้เล่นที่นี่พอโพสต์แล้วก็ลืมไป     นี่บังเอิญเมื่อวานอ่านเดลินิวส์แล้วเจอข้อมูลที่พาให้นึกถึงคุณ Navarat.C เลยนึกถึงกระทู้นี้ได้


แต่ในกรณีพี่น้องศากยะนี้ผมคิดว่าก็อาจมีกรณีที่เป็นทายาทของเจ้าหญิงศากยะที่ไปแต่งงานกับกษัตริย์อื่นเช่นกัน     กลุ่มนี้ถึงแม้จะเป็นราชวงศ์อื่นไปแล้วก็ยังถือได้ว่ามีสายเลือดศากยะอยู่




กระทู้: ตามรอยการค้นพบ พระบรมสารีริกธาตุ ณ สถูป Piprahwa
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 19, 08:42
ก็เป็นไปได้ค่ะ   
เจ้านายเชื้อสายราชวงศ์อื่น(ทางพ่อ) แต่มีทางแม่เป็นวงศ์ศากยะ ก็สามารถนับตัวเองเป็นเชื้อสายศากยะได้  ถ้าอินเดียนับการสืบสายสกุลวงศ์ทางแม่ด้วย
ถ้านับแบบนี้  ย่อมจะมีเจ้านายศากยะเหลือเชื้อสายมาอีกจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว  เพราะเจ้าหญิงในราชวงศ์ศากยะที่ไปเสกสมรสกับเจ้าชายในราชวงศ์อื่น ย่อมมีหลายองค์ และหลายรุ่นด้วยกัน