เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:09



กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:09
จากเรื่องของฐานที่ข้าพเจ้าเคยตั้งกระทู้ถาม ผลคือมีผู้เข้ามาตอบมากมายเป็นที่ชื่นใจแก่เจ้าของกระทู้เป็นที่ยิ่ง แต่ข้าพเจ้ายังติดใจสงสัยอยู่เช่นเคยว่าฐานสิงห์ในไทย คืออะไร เพราะข้าพเจ้าเองยังงงๆอยู่ ด้วยไม่ทราบว่าคำว่าฐานสิงห์หมายรวมถึงส่วนบัวคว่ำบัวหงาย อะไรต่ออะไรที่อยู่เหนือฐานสิงห์ขึ้นไปด้วย หรือนับเพียงแค่บริเวณที่เป็นขาของฐาน ที่ดูคล้ายๆขาสิงโต หากได้ความแล้วว่าฐานสิงห์ในหลักสถาปัตยกรรมไทยคืออะไรแล้ว การพิจารณาที่มาของฐานสิงห์จะง่ายขึ้น ว่าได้รับอิทธิพลจากฐานอาคาร หรือฐานเครื่องเรือน
เรื่องฐานสิงห์นี้ในจีนสำหรับงานสถาปัตยกรรมมีมานานเท่าไรข้าพเจ้าไม่ทราบเหมือนกัน เพราะยังไม่ได้ไปแอบอ่านหนังสือที่ร้านต่อจนหมดบท  ไว้ไปแอบอ่านรอบสองแล้วจะรีบกลับมาเล่า (เยี่ยม...แอบเลวได้อีก)
แต่ที่แน่ๆ เครื่องเรือนจีนที่มีลักษณะหน้าตาคล้ายฐานสิงห์เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. ๑๓๖๘ – ๑๖๔๔) กล่าวคือ ตั่งที่มีลักษณะใหญ่ๆยาวๆ ท้องเครื่องเรือนโค้งๆคดๆ ขาหดๆสั้นๆ แบบฐานสิงห์เริ่มมีในยุคดังกล่าวเป็นครั้งแรก เรียกว่า "คังจี" (炕几: Kang ji) นึกไม่ออกให้นึกถึงตั่งไทยธรรมดาๆทั่วไป ไม่มีอะไรแตกต่าง (ภาพที่ ๑)


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:21
ภาพที่ ๑ ภาพตั่งแบบ “คังจี” ในสมัยราชวงศ์หมิง
ที่มา: http://image.baidu.com


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:24
       นอกจากจะเกิดการสร้างตั่งยาวๆดังกล่าวเป็นครั้งแรกแล้ว เครื่องเรือนในสมัยราชวงศ์หมิง ยังมีลักษณะต่างๆที่โดยเด่นผิดจากยุคอื่นหรือเริ่มมีมาก่อนยุคอื่นอีก ได้แก่
         ๑.   การนำเอาลักษณะลายเส้นโค้งที่รูปลักษณ์คล้ายๆพวยกา ภาษาจีนเรียกว่า "หูเมิน" (壶门:
hu men) ที่ปกติจะเป็นลวดลายที่ใช้ประดับตบแต่งอาคารสำคัญ อาทิ ฐานอาคารแบบสุเมรุอาสน์ (须弥座:xu mi zuo) ซึ่งเป็นฐานพระพุทธรูป หรือเจดีย์เป็นต้น มาใช้กับเครื่องเรือนในบริเวณท้องเครื่องเรือน(ภาพที่ ๒) ถ้าจำไม่ผิดคนไทยเรียกส่วนดังกล่าวว่าท้องสิงห์ บริเวณลายดังกล่าวนี้ภาษาทางช่างจีนเรียกว่าลายฟัน (牙子:ya zi ) นอกจากนี้ในสมัยราชวงศ์หมิงยังใช้ลวดลายอื่นๆอีกมากมาย (ภาพที่ ๓)


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:26
ภาพที่ ๒ การใช้หูเมิน (壶门:hu men)
ที่มา: http://www.dolcn.com/data/cns_1/article_31/essay_312/eind_3121/2003-11/1069520657.html


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:29
ภาพที่ ๓ ลวยลายบริเวณท้องเครื่องเรือนลายฟัน (牙子:ya zi )  แบบต่างๆ ด้านขวามือคือแบบราชวงศ์หมิง ด้านซ้ายมือคือแบบราชวงศ์ชิง
ที่มา: http://www.allart.com.cn/jianshi/mingqingjiaju/200602/2527.html


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:34
๒.   ยุคดังราชวงศ์หมิง นอกจากจะนำหูเหมินมาใช้ ยังนำเอาการเว้าเข้าไปตรงกลาง ของฐานอาคาร
ที่เรียกว่า “ซู่เยา” (束腰:shu yao) มาใช้กับเครื่องเรือน เป็นครั้งแรก และดูจะเป็นยุคเดียวที่ใช้ เพราะหลังจากนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป ส่วนดังกล่าวไม่ทราบว่าศัพท์ทางช่างไทยเรียกว่าอะไร บัวหรือ...คงไม่ใช่ มันเป็นอะไรสักอย่างที่เชื่อระหว่างบัวคว่ำบัวหงาย ใครรู้วานบอกที (ภาพที่ ๔)
๓.   ขอบของแผ่นไม้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นเครื่องเรือนและ ตัวส่วนเว้า หากนึกภาพ
ส่วนดังกล่าวตามไม่ออกจริงๆ ขอให้นึกถึงบัวหงายตามฐานเจดีย์...นั้นแหละใช่เลย พอเห็นภาพแล้วใช่ไหม
ชิ้นส่วนดังกล่าวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ปิง พาน หย่าน” (冰盘沿:bing pan yan) แปลตรงๆว่า “ขอบจานน้ำแข็ง” บางที่แผ่นไม้ดังกล่าว ช่างอาจย่นย่อรวมกันกับซู่เยา หากมีลักษณะดังกล่าวเรียกว่า “เตี๊ยเซ่อ” (叠涩:die se)
อันคำว่า “เตี๊ยเซ่อ” หากผู้ใดไม่เคยอ่านกระทู้เรื่องของฐาน หรืออ่านแล้วจำไม่ได้ ส่วนดังกล่าวจะหมายถึงส่วนที่ยื่นยาวออกมาเป็นขั้น คล้ายๆชั้นฐานที่ซ้อนกันไม่กันมาของอาคารไทยโบราณ
นอกจากนี้แผ่นไม้ดังกล่าวช่างอาจจะผสมๆสลักๆตัดให้กลมกลืนหายไปเลย กับพื้นไม้ของเครื่องเรือนและตัวขาของเครื่องเรือนให้ดูเก๋ไปอีกแบบ (ภาพที่ ๔)



กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:38
ภาพที่ ๔ การใช้ซู่เยา (ส่วนล่างสุดที่เป็นขอบเล็กๆ) และ ปิงพานหย่าน (ส่วนที่อยู่อยู่ตรงกลาง)
ที่มา: http://china.cfhot.com/news/27487_3.htm


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:40
๔.   ขาของเครื่องเรือนในสมัยราชวงศ์หมิงมีหลาย อาทิ แบบที่เรียกว่า “ขากีบม้า” (马蹄足:
ma ti zu) ในบทความที่ข้าพเจ้าเก็บความมาไม่ได้บอกว่ามีใช้ครั้งแรกในสมัยใด แต่ว่าลักษณะของขาเครื่องเรือนแบบขากีบม้าในสมัยราชวงศหมิงจะมีเพียงโค้งเข้ามาเพียงวงเดียว ไม่โค้งเข้าโค้งออกเป็นรูปตัว “S” (ภาพที่ ๕)


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:45
ภาพที่ ๕ ลักษณะขาเครื่องเรือนแบบ “ขากีบม้า” ในสมัยราชวงศ์หมิง
ที่มา: http://www.dolcn.com/data/cns_1/article_31/essay_312/eind_3121/2003-11/1069520657.html


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:52
ส่วนขาแบบอื่นดัง ดังขาคดโค้งคล้ายรูปตัว “S” ได้ปรากฏเช่นกัน เรียกว่าขาแบบ “สามโค้ง” (三弯脚:san wan jiao) ดูไปคล้ายฐานสิงห์เป็นที่สุด (ภาพที่ ๕)



กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 20:57
ภาพที่ ๕ ขาคดโค้งแบบสามโค้ง(三弯脚:san wan jiao)
ที่มา: http://image.baidu.com


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 21:03
    แสดงให้เห็นว่าแต่ดั้งเดิมขาของเครื่องเรือนจีนอาจเป็นรูปอื่นได้ มิต้องเป็นรูปหัวสิงห์แบบมีตามีหูมองหน้าแยกเขี้ยวใส่เราได้เสมอไป
     จากลักษณะพิเศษของเครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง สันนิษฐานได้ว่าเครื่องเรือนของจีนในยุคราชวงศ์หมิง ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการสร้างอาคารของจีนในอดีต ส่วนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับไทยหรือไม่อย่างไรขอให้ท่านทั้งหลายมาพิจารณากันเอง เพราะข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ทราบ
     อย่างไรก็ตามมีเพื่อนชาวเรือนไทยท่านหนึ่งเสนอว่าเราอาจได้รับผ่านมาจากเขมรอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเขมรอาจรับมาจากจีนอีกทีหนึ่งก็เป็นได้ โดยอ้างหลักฐานว่าเจียวต้ากวน ทูตชาวจีนได้พบเครื่องเรือนจีนในเมืองพระนครสมัยพระนคร
    ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานว่าเขมรอาจรับอิทธิพลจากจีนอีกทอดหนึ่งก่อนจะเข้าสู่ไทย อย่างไรก็ตามรูปแบบขาสิงห์ที่ถกกัน คงไม่ได้รับในสมัยพระนครช่วงที่เจียวต้ากวนเข้าไปชมเป็นแน่ ด้วยช่วงที่เจียวต้ากวนไปเมืองพระนครเป็นช่วงที่ตรงกับราชวงศ์หยวน (ค.ศ. ๑๒๗๖ – ๑๓๖๘) ของจีน ซึ่งราชวงศ์ก่อนราชวงศ์หมิง และลักษณะเครื่องเรือนดังกล่าวเริ่มเกิดในสมัยราชวงศ์หมิง
ดังนั้นหากไทยรับมาจากเขมรคงรับมาจากสมัยพระนครช่วงท้ายๆ ประมาณคริสตวรรษที่ ๑๕ เพราะ ด้วยตอนนั้นเครื่องเรือนแบบดังกล่าวคงเกิดขึ้นแล้ว หากคิดเป็นพุทธศตวรรษคงราวๆพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ดังนั้นลักษณะของอาคารหรือเครื่องเรือนแบบฐานสิงห์จะเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเชียงใต้เมื่อใด จะเข้ามาโดยนิมิต หรือเป็ดห่านบินคาบมา หรือว่านายพ่อค้านำมาขายฤาไฉน ข้าพเจ้ามาสุมไฟเรียบร้อยแล้ว โปรดเทน้ำมันตามมากันให้เยอะๆ เพราะข้าพเจ้าเองอยากรู้เหมือนกัน
   สวัสดี ;D


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 มี.ค. 10, 21:09
บรรณานุกรม
ข้อมูลทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าเก็บความจากหนังสือเรื่อง “木样年华:中国古代家具”และจากเว็ปไซด์ดังนี้ คือ
๑.   http://www.allart.com.cn/jianshi/mingqingjiaju/200602/2527.html
๒.   http://image.baidu.com
๓.   http://www.dolcn.com/data/cns_1/article_31/essay_312/eind_3121/2003-11/1069520657.html เป็นบทความวิชาการชื่อว่า“明式家具的含蓄性: The connotation of Ming furniture”
๔.   http://china.cfhot.com/news/27487_3.htm
๕.   http://images.google.com/imgres?imgurl=http://show.artxun.com


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 มี.ค. 10, 08:49
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ แต่ผมยังอ่อนด้วยเรื่องสถาปัตย์ ตอนนี้มีเปอร์เซียมาแจมอีก สงสัยคงต้องหาเพื่อนที่อยู่แถวๆ
ตุรกี อิหร่านอีกสักคน


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 05 มี.ค. 10, 09:01
สวัสดีครับคุณ Han-bing
 ;D

เอารูปฐานสิงห์แบบอินเดีย อายุพุทธศตวรรษที่ 6-8 มาให้ชมกัน เป็นฐานสิงห์แท้ๆเลย อาจมาจากเปอร์เซียก็ได้

ที่มา : http://huntington.wmc.ohio-state.edu/public/index.cfm?fuseaction=showThisDetail&ObjectID=6726&detail=large


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 05 มี.ค. 10, 11:26
อ้าวยังไม่ไปลังกาอีกหรือครับคุณกุนึกว่าไปแล้วเสียอีก ;D


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 08 มี.ค. 10, 20:13
ภาพของพี่กุนี่ฐานสิงห์ของแท้เลยนะครับ 555

ถามต่อสักนิดครับว่า เรื่องการนั่งบนหลังสิงห์นี้มีแนวคิดมาจากอะไรดีครับ
เพราะการนั่งหลังสิงห์นี้ก็ความนิยมในหลายท้องที่ ถึงแม้การใช้ขาสิงห์คดๆมาประดับ
ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องการนั่งบนหลังสิงห์ เพราะอาจเกิดจากการลงลายประดับ
ในฐานบัวคว่ำเฉยๆ แล้วค่อยมาเรียกว่าขาสิงห์ที่หลังก็เป็นไปได้ เพราะมีความหมายดีและพ้องกัน
แต่การเรียกสิงห์กับที่นั่งปรากกฏหลายที่ เช่น สีหบัญชร สิงหาสนบัลลังก์ พุดตานกาญจนสิงหาสน์ ฯลฯ
เลยไม่รู้ว่าแนวคิดแบบนี้จะมีทางที่มาจากไหนได้บ้าง เพราะเห็นอินเดียก็นิยมรูปสิงห์มากๆเหมือนกัน

เอาภาพนี้มาใช้อีกรอบ เพิ่งเห็นว่ามีจารึกอยู่ด้วย



กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มี.ค. 10, 00:28
Hi there

According to your consequence question about the concept of The seat with lion image decorated.

Someone said The Gautama Buddha can be identified as the Singha of Sakkaya clan, but this concept is too old fasion and nowaday there are only less people agree with this thought. If you notice the throne of the king in any part of the world, there are large numbers of them decorated with lion, it's an international concept, suggesting the power and authority of the king which can be compare with the Lion. exampli gracia as India, China even in Thailand that never found lion in native.


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 09 มี.ค. 10, 02:47
ขออนุญาตแทรกเล็กน้อยครับ เพราะคิดว่ามี 3 เรื่องที่ต้องเรียนให้ทราบ

1.) เรื่องแรกสิ่งที่เจ้าของกระทู้เริ่มต้นถามมา ถ้าจะเรียกรวมๆคงต้องเรียกว่า 'ลวดบัว'
การจัดลำดับและระเบียบ(order) ของลวดบัว อย่างน้อยในศิลปะอียิปต์ก็พบมาแล้ว
แต่เอกสารลายลักษณ์อักษรที่พบในปัจจุบันว่าเก่าที่สุดเป็นของศิลปะช่วง classic ของกรีก
และยังมีหลักฐานว่าศิลปะอื่นๆในโลก เช่น อินเดียและเปอร์เชีย
มีเอกสารที่อธิบายถึงการจัดลำดับแบบนี้เหมือนกันในสมัยต่อๆมา

ถ้าคิดซะว่าปักกิ่งต่างกับฉางอานตรงที่ปักกิ่งติดวัฒนธรรมมุสลิมมากกว่ามาก
เพราะก่อนจะตั้งราชวงศ์หยวนได้ ท่านข่านทั้งหลายแกทิ้งกระโจมไปอยู่ในเมืองแขกมาก่อน

ผมเชื่อว่าความเป็นแขกเหล่านี้ไม่น่าจะเริ่มต้นกันจริงจังในสมัยราชวงศ์หมิง
แต่อาจเกิดการแพร่กระจายตัวออกไปมากในช่วงราชวงศ์หมิงตอนต้นหรือก่อนหน้า
เพราะรูปแบบพวกนี้น่าจะเป็นที่คุ้นเคยของผู้ดีจงหยวนบางส่วน เช่น ปักกิ่งมาก่อนแล้ว




2.) ชื่อเรียกส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆในวัฒนธรรมไทยมักแยกได้ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก คือ ชื่อที่ปรุงคำขึ้นตามหน้าที่ของส่วนประกอบนั้นๆ
กลุ่มที่ 2 คือ ชื่อที่ช่างใช้เรียกให้เข้าใจกันไปตามรูปร่างรูปทรง
โดยชื่อทั้ง 2 กลุ่มอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้

เช่น บันแถลง (บรรพ์แถลง) อาจจะหมายถึงกลีบขนุนบนองค์ปรางค์
หรือ ซุ้มรังไก่ที่ประดับยอดมณฑปก็ได้

ถ้าดูกันเท่านี้ก็มีคำนึงเป็นคำตามหน้าที่ อีก 2 คำเป็นคำตามรูปร่าง




3.) สิงหาสน์ที่มีฐานเป็นตัวสิงห์ กับฐานสิงห์ที่เป็นลวดบัว
อาจจะเกี่ยวกันหรือไม่เกี่ยวกันก็ได้ครับ เช่น อาจจะเกี่ยวกันโดยชื่อ หรือความหมาย
แต่ไม่ได้เกี่ยวกันเลยโดยการออกแบบลวดลาย หรือลักษณะทางกายภาพ เป็นต้น





หมดประเด็นเท่านี้ครับ


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 09 มี.ค. 10, 10:47
ขอบคุณที่มาอธิบายเพิ่มเติมครับ ทั้งสองคคห.เลย


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 09 มี.ค. 10, 21:50
เรียนคุณติบอทราบ
           ทั้งนี้ต้องขอบพระคุณคุณติบอในการอธิบายเรื่องฐานสิงห์ให้ข้าพเจ้าทราบ
           เรื่องการที่จีนรับอิทธิพลจากแขก ไม่ว่าแขกที่ว่าจะเป็นแขกแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแขกอินเดีย หรือเปอร์เซีย ไม่ได้เริ่มกระจายตัวเข้ามาในจีนช่วงราชวงศ์หมิงแต่อย่างใด หากเข้ามาก่อนหน้านั้นเป็นเวลานานนักหนา อาจก่อนราชวงศ์ฮั่นอีก ก็เป็นได้ แต่ที่ค้นพบเยอะแยะเลยนั้นเริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น โดยเข้ามาพร้อมๆกับศาสนาพุทธส่วนหนึ่ง เห็นได้จากการแกะสลักถ้ำต่างๆ
           อย่างไรก็ตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ในคราก่อน หมายถึงแต่เพียงว่า เครื่องเรือนในสมัยราชวงศ์หมิง นำเอาศิลปะการก่อสร้างอาคารมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องเรือน มิได้หมายความว่าในยุคดังกล่าวเริ่มรับศิลปะอินเดีย หรือจากเมืองแขกไม่ว่าจะแขกนับถือพุทธ ฮินดู หรืออิสลามเข้ามาแต่อย่างใด ขออภัยถ้าข้าพเจ้าเขียนไม่ใคร่กระจ่าง
          จริงๆชื่อกระทู้ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพิมพ์ผิดตั้งแต่ต้น ด้วยความประสงค์แรกคือจะตั้งว่า "เครื่องเรือนแบบราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลต่อฐานสิงห์หรือไม่" แต่เมื่อพิมพ์ผิดไปก็เลยตามเลย เพราะข้าพเจ้าเองอยากรู้เหมือนกันว่าฐานสิงห์แบบอินเดียมีลักษณะอย่างไร จะได้เทียบกับที่อยู่ในจีนที่เขาว่ารับมาจากอินเดียอีกที
          ทั้งนี้ เรื่องที่คุณติบอว่าศิลปะแบบปักกิ่งต่างจากฉางอาน ด้วยติดอิทธิพลแบบมุสลิม อันเป็นผลเนื่องจากปฐมราชวงศ์เคยไปอยู่แถบเมืองแขกมุสลิม จึงได้รับอิทธิพลมุสลิมมา ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ขอออกความคิดเห็น เนื่องจากยังไม่ได้ค้นคว้า
         ข้าพเจ้าขอเสนอความคิดเล็กน้อยว่า ศาสนาอิสลามเข้ามาจีนมานานพอควร ในสมัยราชวงศ์ถังอันมีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน นอกจากศาสนาพุทธจะถูกเชิดชูอย่างยิ่งแล้วเป็นหลังของแผ่นดิน ศาสนาอิสลามก็ตั้งมั่นอยู่ดีมีสุขอยู่ในเมืองฉางอาน ขณะที่ศาสนาอื่นๆถูกกดเสียแบบราบ อิทธิพลแบบเอเชียกลางต่างๆเข้ามาสู่จีนในช่วงดังกล่าวเป็นจำนวนมาก (แม้จะไม่ใช่อิสลามไปเสียทั้งหมด) ดังนั้นจะว่าในแง่ดังกล่าว ศาสนาอิสลามจะเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ศิลปะแบบมุสลิมในฉางอานมาก่อนก็อาจเป็นได้ และเมืองฉางอานอาจมีอิทธิพลแบบมุสลิมไม่น้อยกว่าเมืองอื่นก็ได้ (ในที่นี้ควรเจาะจงสักนิดว่าสมัยราชวงศ์ถัง หรือราชวงศ์อื่นใด เพราะฉางอานเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อนหน้านี้ แต่เดาว่าน่าจะหมายถึงราชวงศ์ถัง)
        ทางเมืองปักกิ่ง ปฐมกษัตริย์แม้จะเคยอยู่ในดินแดนที่เป็นมุสลิม ถ้าข้าพเจ้าจำไม่ผิด บรรดาปฐมวงศ์ทั้งหลายไม่ได้เป็นมุสลิม ภายหลังราชวงศ์หมิง และชิงยิ่งหากไกลความเป็นมุสลิม เพราะสองราชวงศ์นี้เป็นพุทธ ยิ่งราชวงศ์ชิงแล้วยิ่งเป็นพุทธอย่างเคร่งครัด สิ่งก่อสร้างหลายอย่างในปักกิ่งใช่ว่าจะตกทอดมาจากสมัยราชวงศ์หยวน หากแต่สร้างครั้งราชวงศ์หมิงและชิงก็เยอะไป ก่อนสมัยราชวงศ์หยวนแถบเมืองปักกิ่งเคยเป็นอาณาจักรหลายแห่ง ซึ่งล้วนนับถือพุทธศาสนา ดังนั้นจะว่าศิลปะเมืองปักกิ่งจะเป็นอิทธิพลมุสลิมมากกว่าฉางอานอาจเป็นไปได้ยาก (ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าเดาว่าคุณติบอคงหมายถึงราชวงศ์หยวนเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงราชวงศ์อื่นอันได้แก่ หมิง และชิง)
        อย่างไรก็ตามนี้คือข้อเสนอของข้าพเจ้าผู้อยู่ในระหว่างช่วงเตรียมสอบและไม่ได้อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ข้อมูลยังไม่ค่อยแน่ชัดจึงขอเสนอไปก่อนตามข้างต้น ได้ความอย่างไรจะมาตั้งกระทู้เล่าอีกที
         สวัสดี
         


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 09 มี.ค. 10, 21:53
good day khun Tibo (Chinese guy)  ;D


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 13 มี.ค. 10, 00:37
ขอบคุณ คุณ han_bing สำหรับคำอธิบายครับ
เรื่องการติดต่อระหว่างจีนกับแขกเป็นเรื่องใหญ่ในการค้าโลกมากต่อมากครับ
เพราะที่จริง จิตรกรรมจีนสมัยราชวงศ์ถังก็มีภาพนักบุญสวม rosary(สร้อยกางเขน)ให้เราได้เห็นกันแล้ว
จะรออ่านต่อเรื่องน่าสนใจที่คุณนำมาเสนอครับผม 8)




P.S. G'day black belly guy hehe.


กระทู้: เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 14 มี.ค. 10, 00:13
ขอให้การสอบเป็นไปด้วยดีครับผม คุณhan_bing ;D

แต่ยังไงผมขอดูตัวอย่างขาสิงห์ของเปอร์เซียที่พูดถึงในลักษณะที่ว่าได้ไหมครับ ถ้ารับจากอินเดียอย่างหนึ่ง
ถ้าเปอร์เซียจะเป็นอย่างไรอยากได้คำแนะนำครับ