เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ALoHA ที่ 14 เม.ย. 05, 20:42



กระทู้: ทำไมดินสอต้องเป็นแท่ง และปากกาต้องเป็นด้าม
เริ่มกระทู้โดย: ALoHA ที่ 14 เม.ย. 05, 20:42
 ทำไมไม่เรียกว่าเป็นแท่งก็แท่งเหมือนกัน หรือเป็นด้ามก็ด้ามเหมือนกัน เพราะลักษณะการใช้ก็เหมือนกัน


กระทู้: ทำไมดินสอต้องเป็นแท่ง และปากกาต้องเป็นด้าม
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 19 เม.ย. 05, 05:11
 ผมไม่รู้เหมือนกัน แต่ขอแสดงความเห็นว่า ที่ใช้ลักษณะนามต่างกันเพราะว่า แรกเริ่มของอุปกรณ์ทั้ง ๒ นี้ อาจมีรูปร่างต่างกันครับ

ดินสอ คงมีลักษณะเป็นแท่ง มาตั้งแต่เดิม

ส่วน "ปากกา" เข้าใจว่าแรกนั้นคือ ขนนก ที่มาบากปลายขนนกให้เป็นเหมือนปากกา แต่ทำไม่เรียกลักษณะนามว่า "ด้าม" ก็มิทราบ อาจเป็นเพราะว่า คนโบราณ มองว่า "ปากกาที่ทำจากขนนก" ไม่ได้เป็นแท่ง แต่ตรง รอยต่อระหว่าง ส่วนปากที่บาก กับ ขนนก นั้น เป็นพื้นที่ว่าง เป็น "ด้ามจับ (โดยนิ้ว)" ก็เลยเรียกเป็นด้าม ต่อมารูปทรงวิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นแท่งๆ แต่ลักษณะนามเราก็ยังคงใช้เหมือนโบราณครับ

เป็นข้อสันนิษฐานของผมนะครับ โปรดอย่านำไปอ้างอิงเชิงวิชาการ อิอิ

เรื่องใช้ตามโบราณมานี้ก็มีเยอะครับ เห็นชัดๆ คือ "รถไฟ" ที่เรียกรถไฟก็เพราะว่า รถแบบนี้วิ่งได้ด้วย "ไฟ" นั่นคือ สมัยก่อนใช้เครื่องจักรไอน้ำครับ จึงต้องใช้ไฟต้มน้ำ เพื่อให้เกิดแรงดันไอน้ำขับเคลื่อนรถไปได้

ต่อมาเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ใช้เครื่องจักรดีเซล หรือ ไฟฟ้า แต่เราก็ไม่เรียก "รถไฟ" ว่า "รถจักรกล" หรือ "รถจักรกลสันดาป" ครับ เราก็เรียก "รถไฟ" เหมือนเดิม เพราะเข้าใจกันอยู่แล้วว่าหมายถึงอะไร


กระทู้: ทำไมดินสอต้องเป็นแท่ง และปากกาต้องเป็นด้าม
เริ่มกระทู้โดย: ครูไผ่ ที่ 10 พ.ค. 05, 21:44
 อีกตัวอย่างที่เรียกจนติดปากเช่น "กระดานดำ"  (สีเขียว)  แทบจะไม่เคยได้ยินใครเรียกว่า "กระดานเขียว" เลย

ไม้บรรทัดที่ทำด้วยพลาสติกก็ยังเรียกว่าไม้บรรทัด