เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 12, 10:24



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 08 ก.พ. 12, 10:24
กระทู้นี้  ต่อเนื่องจากกระทู้ก่อน กติกายังเหมือนเดิม ดังนี้

ท่านทั้งหลาย

ประวัติข้าราชการแต่ครั้งเก่าก่อนเป็นข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายกันอยู่
ยังไม่ได้รวบรวมให้ค้นหาได้ง่าย   โดยเฉพาะประวัติข้าราชการ
ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและค้นคว้าหากันมาก
ในเรือนไทยและในอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย

ด้วยเหตุนี้  ก็ใคร่เชิญชวนท่านทั้งหลายได้ช่วยกันรวบรวมประวัติ
ของพระยาแต่ละคนอย่างละเอียดๆ จากข้อมูลแหล่งต่างๆ
มาใส่ไว้ในกระทู้นี้ พร้อมกับระบุแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน  

จะไปคัดลอกข้อมูลลงมาใส่ไว้ทั้งหมดก็ได้  พร้อมระบุแหล่งข้อมูล
หรือถ้าคัดลอกมาไม่สะดวก  ก็พิมพ์ชื่อพระยา (ชื่อตัว - นามสกุล)
แล้วใส่ลิงก์ให้สามารถคลิกเข้าไปเปิดอ่านได้  อย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน

ส่วนท่านจะแนบภาพหรือไม่  สุดแต่ท่านเห็นเหมาะเห็นงาม

ในเบื้องต้นนี้  ขอประวัติพระยาอีกสัก ๕๐ คน   และขอให้ใส่เลขเรียงลำดับด้วย
จะได้นับถูกต้อง   ขอขอบคุณทุกท่านที่มีใจยินดีมีน้ำใจให้ความร่วมมือกับกระทู้นี้

( :oโอ๊ะๆ  ไม่ต้องแย่งกันลงนะครับ ;D)


 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 08 ก.พ. 12, 16:50
๕๑.พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตกุล)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5_(%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94_%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5) (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5_(%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94_%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5))


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 08 ก.พ. 12, 17:00
๕๒.พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)
http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=588:2011-08-10-06-35-43&catid=48:personal&Itemid=133 (http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=588:2011-08-10-06-35-43&catid=48:personal&Itemid=133)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 08 ก.พ. 12, 17:08
๕๓. อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา)
http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=399:2010-12-26-01-52-02&catid=48:personal&Itemid=133 (http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=399:2010-12-26-01-52-02&catid=48:personal&Itemid=133)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 12, 10:11
              นายเกลื่อน ชัยนาม (พระยาอุภัยพิพากสา) เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2407 ตรงกับวันอังคารขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด ณ ตำบลบ้านคลองสาน อำเภอบางลำพูล่าง พระนคร บิดาชื่อ ขุนชัยบริบาล (ตาด) มารดาชื่อ พลับ มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 5 คน คือ
1. นางจีน วิบูลเสข
2. คุณหญิงเจียม เทพาธิบดี (เจียม เทพานนท์)
3. นางจีบ สวัสดิโสกา บุนนาค
4. นายเกลื่อน ชัยนาม (พระยาอุภัยพิพากสา)
5. ขุนชัยบริบาล (เลื่อน ชัยนาม)

ท่านได้ทำการสมรสกับคุณหญิงจันท มีบุตรด้วยกันหลายคนแต่ที่ยังมีชีวิตอยู่เพียง 2 คน และเกิดจากภริยาอื่น 6 คน
1. นายดิเรก ชัยนาม
2. นายไพโรจน์ ชัยนาม
บุตรจากภริยาอื่น
1. นางแม้น ลิมปินันทน์
2. นางประเทือง คูสมิต
3. นายพันตำรวจตรี นิรันดร ชัยนาม
4. เรืออากาศเอกอุส่าห์ ชัยนาม
5. นายโอภาส ชัยนาม
6. นางสุภางค์ ชัยนาม

การศึกษา
              เมื่อ พ.ศ. 2417 ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยที่สำนักหมื่นสุนทร
              ในปี พ.ศ. 2428 ได้อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ พระสุธัมสังวรเป็นพระอุปชาย์ พระสมุห์นุช และพระอาจารย์ชุ่ม เป็นพระกัมมวาจา ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม 1 พรรษา แล้วลาสิกขาบท ท่านได้ศึกษาค้นคว้าวิชาความรู้ทางด้านการปกครองและกฎหมายจนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นผู้พิพากษาในศาลกรุงเทพมหานครและศาลมณฑลหัวเมือง และในปี พ.ศ. 2460 เนติบัณฑิตยสภาได้รับรองคุณวุฒิของท่านยอมรับเข้าเป็นสมาชิกวิเศษและได้รับพระราชทานเสื้อครุยเนติบัณฑิต
              นอกจากความรู้ทางด้านการปกครองและกฎหมายแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้านวรรณคดีไทย สามารถเขียนคำประพันธ์ร้อยกรอง โคลง กลอน โวหาร สุภาษิตไว้มากมาย ที่มีตีพิมพ์แล้วคือ "สำรวจคำกล้า" พิมพ์ในคราวฉลองอายุครบ 60 ปี

การรับราชการ
              ในปี พ.ศ. 2426 อายุ 19 ปี เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกองตระเวนซ้าย (รักษาความสงบเรียบร้อยที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) กรมกองตระเวน กระทรวงเมือง (กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย)
           พ.ศ. 2428 ได้รับแต่งตั้งเป็นหมื่นรองชัยบริบาล ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอวัดทองธรรมชาติ จังหวัดธนบุรี
              พ.ศ. 2430 ไปเป็นนายอำเภอตลาดสมเด็จ ธนบุรี ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนขจรบุรี
              พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ให้ไปรักษามณฑลลาวกาว (มณฑลอิสาน) ซึ่งติดต่อกับอินโดจีนฝรั่งเศส พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้กราบถวายบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนายเกลื่อน ชัยนาม (ขุนขจรบุรี) ให้ไปช่วยราชการครั้งนั้นด้วย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุญาต และทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นขุนผไทไทยพิทักษ์
ในการเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เมื่อถึงมณฑลลาวกาว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรงแต่งตั้งให้นายเกลื่อน ชัยนาม (ขุนผไทไทยพิทักษ์) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดศรีสะเกษ
              ในปี พ .ศ. 2436 (ร.ศ. 112) มีทหารญวน เขมร เข้ารุกรานดินแดนของเมืองเชียงแตน ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตรงข้ามปากเซ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้มีรับสั่งให้นายเกลื่อน ชัยนาม (ขุนผไทไทยพิทักษ์) คุมทหารเมืองศรีสะเกษ เมืองอุทุมพรพิสัย ไปรักษาค่ายช่องโพย ซึ่งติดต่อกับเขตแดนเมืองพรหมเทพของฝรั่งเศส การไปปฏิบัติราชการในยามคับขันครั้งนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรงไว้วางพระทัยนายเกลื่อน
ชัยนาม เป็นพิเศษ ถึงกับได้มีลานพระหัตถ์มอบอาญาสิทธิ์ให้นายเกลื่อน ชัยนาม ประหารชีวิตผู้กระด้างกระเดื่องได้ก่อนกราบทูลอย่างเป็นทางการ เมื่อท่านได้วางแผนและรักษาด่านด้วยความเข้มแข็งเรียบร้อยแล้ว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร จึงมีรับสั่งให้พระชัยภักดี ผู้ช่วยเมืองศรีสะเกษไปรักษาด่านช่องโพยแทน และรับสั่งให้นายเกลื่อน ชัยนาม กลับมารับหน้าที่ข้าหลวงประจำจังหวัดศรีสะเกษตามเดิม และทรงมอบภาระให้สะสมเสบียง เกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร หล่อกระสุนปืนส่งให้มณฑลลาวกาว ปรากฏว่าภาระกิจที่ท่านได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง
              ในปี พ.ศ. 2438 ท่านได้กลับเข้ามารับราชการในกรุงเทพมหานครในหน้าที่ตุลาการ เป็นผู้ช่วยกรรมการกองที่ 3 พิจารณาความอาญาที่คั่งค้าง
              พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง
              พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลพิษณุโลก
              พ.ศ. 2445 โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประชาปริวัตร
              พ.ศ. 2449 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา
              พ.ศ. 2454 โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โท
              พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นพระวิสดารวินิจฉัย
              พ.ศ. 2464 โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นอำมาตย์เอก
              พ.ศ. 2466 โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอุภัยพิพากสา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ   
              พ.ศ. 2435 เหรียญรัชดาภิเษก
              พ.ศ. 2439 ตราเบญจมาภรณ์ช้างเผือก
              พ.ศ. 2440 เหรียญประพาสมาลา
              พ.ศ. 2444 เหรียญเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
              พ.ศ. 2447 เหรียญทวีธาภิเษก
              พ.ศ. 2450 เหรียญรัชมงคล
              พ.ศ. 2451 เหรียญรัชมังคลาภิเษก
              พ.ศ. 2454 เหรียญบรมราชาภิเษก ร.6
           พ.ศ. 2456 ตราจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
              พ.ศ. 2461 ตราจัตุถาภรณ์ช้างเผือก
              พ.ศ. 2462 เหรียญจักรพรรดิมาลา
              พ.ศ. 2475 เหรียญเฉลิมพระนครครบ 150 ปี

              ในปี พ.ศ. 2468 นายเกลื่อน ชัยนาม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 เนื่องจากสุขภาพทรุดโทรม อายุ 62 ปี ท่านรับราชการมานาน 42 ปี หลังจากที่ท่านลาออกจากราชการแล้ว ท่านใช้ชีวิตด้วยความสงบทำบุญรักษาศีลอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้กว้างขวาง เป็นที่รักใคร่เคารพนับถือของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเจ้านายผู้ใหญ่เสด็จไปอยุธยา มักจะเรียกหาตัวท่านมาสอบถามสนทนาด้วยเสมอ ๆ ท่านช่วยเหลืองานราชการอย่างเต็มความสามารถ
              นายเกลื่อน ชัยนาม ป่วยด้วยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2487 เวลา 13.05 น. ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิริรวมอายุได้ 80 ปี และได้เชิญศพมาไว้สุสานวัดมกุฎฯเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำอาบศพและหีบทองลายสลัก พร้อมฉัตรเบญจา 4 คันเป็นเกียรติยศ โปรดเกล้าฯได้รับพระราชเพลิงศพเที่เมรุพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ก.พ. 12, 10:18
^
^
๒๘.พระยาอุภัยพิพากสา(เกลื่อน ชัยนาม)
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/klaen.htm (http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/klaen.htm)

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 09 ก.พ. 12, 12:55
พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ(แอบ  รักตะประจิต) อดีตนักเรียนฮาร์วาร์ดรุ่นแรกของไทย และอดีตราชบัณฑิต 2485

ประวัติ

พลโทพระยาศัลวิธานนิเทศ นามเดิม แอบ  รักตะประจิต

เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ.2435

ถึงแก่อนิจกรรม 2532

สิริอายุ 97 ปี

คู่สมรส ท่านผู้หญิงศัลวิธานนิเทศ(เลื่อม  รักตะประจิต:2437 - 2532 สิริอายุ 95 ปี)

การศึกษา
  -โรงเรียนเบญจมบพิตร โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ
  -ปริญญาตรี วิชาแผนที่และวิชาสำรวจรถไฟ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  -ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

การเข้ารับราชการ
   -ประจำกรม กรมแผนที่ทหาร
   -หัวหน้ากองศึกษา กรมแผนที่ทหาร
   -ผู้ช่วยเจ้ากรมแผนที่
   -เจ้ากรมแผนที่

..............................................
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://hof.sc.chula.ac.th/hof02.htm
  


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: chatchawan ที่ 09 ก.พ. 12, 19:19
กรุณาใส่ตัวเลขด้านหน้าชื่อท่านเจ้าคุณแต่ละท่านด้วยนนะครับ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ก.พ. 12, 11:07
๕๕. พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)
 
ศิลปวัฒนธรรม - วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 26 ฉบับที่ 05

ภาษา-หนังสือ

หลง ใส่ลายสือ

จันทร์ จิตรกร ศิลปินคู่พระทัยรัชกาลที่ ๖

คนที่นิยมชมชอบหนังสือเก่า น่าจะเห็นพ้องต้องกันว่า หนังสือ "ปกสวย" คือหนังสือพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ มีเอกลักษณ์เป็นลายไทย ลายเถา พิมพ์ทองบนหน้าปก มีความประณีตงดงาม ยากที่หนังสือรุ่นอื่นๆ จะเทียบได้

ส่วนหนึ่งของหนังสือ "ปกสวย" นั้น เป็นฝีมือของพระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ผู้ที่รับสนองพระราชกระแสรับสั่งเขียนภาพต่างๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภาพประกอบในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ เช่น ลิลิตนารายน์สิบปาง เป็นต้น มีภาพประกอบเทวดา นางฟ้า ยักษ์ ลิง อย่างงดงาม ตามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์คำนำ ในหนังสือลิลิตนารายน์สิบปาง ฉบับพิมพ์ปี ๒๔๖๖ ว่า "ส่วนภาพที่เขียนขึ้นใหม่สำหรับหนังสือเรื่องนี้เปนฝีมือจางวางตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จัน จิตรกร), และข้าพเจ้าขอขอบใจฃ้าราชการผู้นี้ที่ได้ช่วยประดับหนังสือนี้ด้วยฝีมือ."

ท่านผู้นี้จึงถือได้ว่าเป็น "ศิลปินคู่มือ" คนสำคัญคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมควรที่จะบันทึกประวัติและผลงานให้คนไทยได้รู้จัก พระยาอนุศาสน์จิตรกร ซึ่งเป็นทั้งคนเขียนภาพประกอบ จิตรกร และช่างภาพ คนสำคัญของไทยไว้พอสังเขป

น่าเสียดายที่ขณะนี้ยังไม่พบหนังสืองานศพของท่าน พบแต่หนังสืองานศพของบุตรสาวท่าน คือคุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน สุนทรเวช) ซึ่งได้รวบรวมประวัติชีวิตและผลงานของ "พ่อ" ไว้ส่วนหนึ่ง

หนังสือพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน สุนทรเวช) มีขนาด ๘ หน้ายก ปกสีฟ้า หนา ๑๒๘ หน้า พิมพ์ขึ้นในปี ๒๕๒๔ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนประวัติและอนุสรณ์คุณหญิงบำรุงราชบริพาร ส่วนที่สองเป็น "ฝีมือพ่อ" คือประวัติและผลงานของพระยาอนุศาสน์จิตรกร ส่วนสุดท้ายเป็น "ฝีปากลูก" เป็นคำอภิปรายในวาระต่างๆ ของนายสมัคร สุนทรเวช

คุณหญิงบำรุงราชบริพาร นามเดิมคือ อำพัน จิตรกร สมรสกับพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) มีบุตรธิดา ๙ คน หนึ่งในนี้เป็นที่รู้จักกันดีคือนายสมัคร สุนทรเวช

ประวัติโดยย่อของพระยาอนุศาสน์จิตรกรตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ คือท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๑๔ ตำบลวัดราชบูรณะ อำเภอพระนคร เข้าศึกษาวิชาการชั้นต้นที่วัดสังเวชวิศยาราม สำนักพระอาจารย์เพชร และพระอาจารย์สังข์ และวิชาการอื่นๆ จากครูพุด ยุวะพุกกะ

ต่อมาในปี ๒๔๓๖ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ด้วยทรงเห็นว่า "มีฝีมือทางช่าง" จึงทรงนำเข้าเฝ้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการตำแหน่งช่างเขียนในพระบรมมหาราชวัง

จากนั้นในปี ๒๔๔๘ ได้รับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นที่หลวงบุรีนวราษฎร์

ปี ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานยศชั้นหัวหมื่นมหาดเล็ก เป็นจางวางกรมช่างมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุศาสน์จิตรกร ต่อมาในปี ๒๔๕๙ ได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมช่างมหาดเล็ก และในปี ๒๔๖๒ เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ และในสมัยรัชกาลที่ ๗ ปี ๒๔๖๙ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี

ผลงานทางช่างของพระยาอนุศาสน์จิตรกร นอกจากหนังสือ "ปกสวย" แล้ว ยังมีงานด้านจิตรกรรมตามวัดวาอารามต่างๆ อีกมาก เช่น ภาพชาดกในพระวิหารหลวงจังหวัดนครปฐม ภาพตัดขวางแสดงพระปฐมเจดีย์องค์เดิม ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ภาพเรื่องรามเกียรติ์ ในพระที่นั่งบรมพิมาน และระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพเขียนสีน้ำมันบนกุฏิสมเด็จฯ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น

ด้วยความสามารถทางการเขียนภาพนี่เอง ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "จิตรกร"

นอกจากความสามารถทางด้านจิตรกรรมแล้ว พระยาอนุศาสน์จิตรกรยังเป็นผู้สร้างฉาก และออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับบทละครเรื่องต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดง รวมถึงความสามารถในการถ่ายภาพจนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการร้านถ่ายรูปฉายานรสิงห์ ซึ่งเป็นร้านถ่ายภาพหลวง พระยาอนุศาสน์จิตรกรจึงเป็นช่างภาพประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ และการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ

แต่ผลงานชิ้นเอกที่ทำให้คนไทยรู้จักมากที่สุดเห็นจะเป็นภาพพงศาวดาร การกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวร ในวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากท่านลงนาม "พระยาอนุศาสนจิตรกร" ไว้ใต้ภาพทุกภาพ ต่างจากงานเขียนภาพประกอบในหนังสือที่จะมีตรา "จ" อยู่ในวงกลมเล็กๆ ลักษณะคล้ายลายประจำยามที่มุมภาพ

วัดสุวรรณดารารามที่พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้เขียนภาพไว้นั้น เป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์จักรี เนื่องด้วยเป็นวัดที่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้สร้างไว้ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก เดิมวัดนี้ชื่อวัดทอง และมีการปฏิสังขรณ์ในฐานะวัดสำคัญประจำราชวงศ์เรื่อยมา

จนในสมัยรัชกาลที่ ๗ ระหว่างปี ๒๔๗๓-๒๔๗๔ มีพระราชกระแสรับสั่งให้พระยาอนุศาสน์จิตรกรไปเขียนภาพพระราชพงศาวดาร ประวัติสมเด็จพระนเรศวร เกี่ยวกับการกอบกู้เอกราช ตามประวัติการเขียนภาพนี้ พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ค้นคว้าและจินตนาการด้วยตนเอง โดยเมื่อร่างแบบขึ้นมาแล้วก็จะนำขึ้นถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อทรงพิจารณาก่อนจะนำไปเขียนจริงทุกครั้ง

นอกจากนี้ยังมีเกร็ดประวัติการเขียนภาพของพระยาอนุศาสน์จิตรกรบันทึกไว้ในหนังสืองานศพคุณหญิงบำรุงราชบริพาร ดังนี้

"สำหรับภาพเขียนที่วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ใช้เวลาวาดภาพเกือบ ๒ ปีเต็ม โดยรับพระราชทานให้นำแพไปจอดที่หน้าวัด ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาแพเกิดจมลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงได้พระราชทานเรือ "ปิคนิค" ให้พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ใช้แทนแพ จนกระทั่งวาดภาพเสร็จสมบูรณ์

ในตอนที่ไปวาดรูปพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ พระยาอนุศาสน์จิตรกรเคยเล่าให้ลูกๆ ฟังว่า เมื่อเขียนถึงพระเนตรของสมเด็จพระนเรศวรเป็นครั้งแรก ตัวเองเป็นลมตกลงมาจากนั่งร้านถึง ๓ หน จึงต้องมีพิธีบวงสรวง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจึงสามารถเขียนได้สำเร็จ"

อย่างไรก็ดีแม้ภาพชุดนี้จะเป็นชุดที่โด่งดังที่สุดของ "จันทร์ จิตรกร" แต่สัดส่วนของคนนั้น ยังไม่งดงามเท่ากับเมื่อเขียนภาพประกอบหนังสือ อาจจะเป็นเพราะขณะเขียนภาพชุดพระราชประวัตินี้ ท่านมีอายุถึง ๖๐ ปีแล้ว สุขภาพไม่ดีถึงขั้นเป็นลมอยู่บ่อยๆ ไม่ "สด" เหมือนเมื่อเขียนภาพประกอบถวาย หรืออาจจะเป็นเพราะต้องเขียนงานขนาดใหญ่กว่างานเขียนภาพประกอบหลายเท่า หรืออาจจะเป็นเพราะงานเขียนภาพประกอบของท่านที่งดงามนั้นเป็น "ทางไทย" ส่วนภาพชุดพระราชประวัติที่วัดสุวรรณดารารามนี้เป็นการเขียนอย่าง "ฝรั่ง" จึงทำให้สัดส่วนผิดไปหลายแห่ง

พระยาอนุศาสน์จิตรกร เสียชีวิตในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๒ เมื่อมีอายุได้ ๗๘ ปี งานชิ้นสุดท้ายไม่ใช่งานจิตรกรรม แต่เป็นงานประดับมุกพานแว่นฟ้า ที่มีลวดลายวิจิตรบรรจงอย่างยิ่ง นอกจากนี้ท่านยังมีทายาทที่ได้ "เลือดพ่อ" อีก ๑ คน คือนางดรุณาทร (ผิว กัลยาณมิตร) ที่มีฝีมือทางการวาดเขียนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ถนัดทางสีน้ำมากกว่า


พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์  จิตรกร) จางวางกรมช่างมหาดเล็ก แต่งเครื่องแบบเต็มยศกรมมหาดเล็ก  ยศชั้น จางวางตรี (เทียบนายพลตรี)  สวมครุยเสนามาตย์ชั้นเอก

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4921.0;attach=28454;ima)ge

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 ก.พ. 12, 17:16
ขอเพิ่มเติมเรื่องของพระยาบุรีนวราษฐ จากที่คุณเพ็ยชมพูได้กล่าวถึงครับ

เมื่อท่านเจ้าคุณมารับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบุรีนวราษฐ ตำแหน่งเป็นปลัดกรมขอเฝ้าฯ ในสมเด็จพระบรมฯ  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘  ทรงตั้งนามแฝงพระราชทานหลวงบุรีนวราษฐ ว่า "ลุงจารย์" หรือ "ท่านอาจารย์"  เมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้ว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงบุรีนวราษฐ เป็นพระยาอนุศาสน์จิตรกร เลยทีเดียว 

ผลงานสำคัญของท่านเจ้าคุณที่ฝากไว้นอกจากงานเขียนภาพประกอบในบทพระราชนิพนธ์  และภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้ว  ท่านเจ้าคุณยังเป็นแม่กองปั้นหล่อรูปพระมนูแถลงสารซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ตึกวชิรมงกุฎ  ภายในวชิราวุธวิทยาลัย  และเป็นผู้รับสนองพระราชดำริจัดสร้างธงประจำกองลูกเสือหลวง  ธงประจำกองลูกเสือมณฑลต่างๆ  ธงประจำกองเสือป่า และธงประจำตัวนายกองนายหมู่เสือป่าอีกร่วม ๑๐๐ ธง

ตัวอย่างธงประจำตัวนายกองหมู่เสือป่าที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ  และท่านเจ้าคุณอนุศาสน์สนองพระราชกระแสจัดสร้างเป็นผืนธง

ธงปราการเชียงใหม่  พระราชทานเป็นธงประจำตัว พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน  สิงหเสนี)
บุรีนวราษฐ  มีความหมายว่า  เมืองเชียงใหม่




กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 ก.พ. 12, 17:38
.




ภาพยุทธหัตถี ฝีมือ จันทร จิตรกร ที่คุ้นตากันดี......................วัดสุวรรณดาราราม


 :)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 ก.พ. 12, 18:46
๕๖. เสวกเอก พระยาวาระศิริศุภเสวี (เอวัน  วาระศิริ) ท.จ., ต.ม., บ.ช., ว.ป.ร.๔, ร.ด.ม.(ศ)
บุตรนายตื้อ  วาระศิริ  เกิดวันที่  ๔  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๒๕ 
พ.ศ. ๒๔๔๔  รับราชการเป็นล่ามกรมสุขาภิบาล  แล้วไปเป็นล่ามกรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการ
พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นเลขานุการ
พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นผู้ช่วยการต่างประเทศมณฑลภูเก็ต
พ.ศ. ๒๔๕๖ ย้ายไปเป็นอาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นขุนสนธิ์วิชากร
พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นปลัดบัญชาการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร  เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นหลวงในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๘ เลื่อนยศขึ้นเป็นจ่า
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นผู้ช่วยราชการโรงเรียนพรานหลวง  เปลี่ยนนามบรรดาศักดิ์เป็นหลวงนนทพิทย์พิลาศ
พ.ศ. ๒๔๖๐ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม  เป็นปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่ง  เปลี่ยนนามบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐ์ไพเราะ
พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นรองหัวหมื่น
พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นเจ้ากรมดนตรีฝรั่งหลวง  เลื่อนยศเป็นหัวหมื่น
พ.ศ. ๒๔๖๕ ประจำกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก  เป็นพระยาวาระศิริศุภเสวี
พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
พ.ศ. ๒๔๖๙ ออกจากราชการเพราะยุบเลิกตำแหน่งราชการ
   
พระยาวาระศิริศุภเสวี ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ  ถึงอนิจกรรม  วันที่  ๑๗  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๗๑

ผลงานสำคัญของท่านผู้นี้ คือ การจัดการสอนวิชาดนตรีสากล (หรือดนตรีฝรั่ง) ในโรงเรียนพรานหลวง  ซึ่งได้สร้างครูดนตรีมีชื่อไว้หลายคน  อาทิ ครูโฉลก  เนตรสูตร,  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน,  ครูนารถ  ถาวรบุตร ฯลฯ  และเป็นผู้ปลุกปั้นกองเครื่องสายฝรั่งหลวงจนขยายกิจการได้เลื่อนฐานะเป็นกรมดนตรีฝรั่งหลวงก่อนที่จะส่งให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ  วาทยกร) รับช่วงต่อ 


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 ก.พ. 12, 18:47
๕๗. เสวกเอก พระยาจินดารังสรรค์ (ปลั่ง  วิภาตะศิลปิน) ต.ม., จ.ช., ว.ป.ร.๔, ร.ด.ม.(ศ), ร.จ.พ.
บุตรขุนรองปลัด (มา  วิภาตะศิลปิน)  เกิดวันที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๐๗

พ.ศ. ๒๔๓๙  รับราชการเป็นช่างเขียนกองแบบอย่าง  กรมโยธา  กระทรวงโยธาธิการ
พ.ศ. ๒๔๔๒  เป็นสรวัด
พ.ศ. ๒๔๔๔  เป็นนายเวร
พ.ศ. ๒๔๔๖  รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนสมิทฑิเลขา
พ.ศ. ๒๔๔๙  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๔  รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก 
พ.ศ. ๒๔๕๕  เป็นกรมแผนกโยธาใหญ่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัง  และเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี
พ.ศ. ๒๔๕๖  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นผู้ช่วยตรวจการกรมโยธาแผนกใน
พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นเสวกโท  หัวหน้าแผนกช่าง
พ.ศ. ๒๔๖๑  เป็นพระยาจินดารังสรรค์
พ.ศ. ๒๔๖๓  เป็นเสวกเอก
พ.ศ. ๒๔๖๙  ปลดออกจากราชการ  รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ  เหตุยุบเลิกตำแหน่งราชการ

พระยาจินดารังสรรค์ป่วยด้วยโรคชรา  ถึงแก่กรรม  เมื่อวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๗๐

ผลงานการออแกแบบชิ้นสำคัญ คือ ร่วมกับนายเอดเวิร์ด  ฮีลี่ ออกแบบหอสวดและตึกนอนนักเรียนรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ตึกมหาจุฬาลงกรณ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)  และศาลาการเปรียญวัดราชาธิวาส


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: ขนมครกยุคมืด ที่ 13 ก.พ. 12, 08:36
สวัสดีคะ มีแต่คนเก่ง ๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ อยากรู้จังว่า พระยา คงเป็นตำแหน่งโบร้าน โบราณ เทียบเท่ากับนายกไหมคะ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ก.พ. 12, 09:08
สวัสดีคะ มีแต่คนเก่ง ๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ อยากรู้จังว่า พระยา คงเป็นตำแหน่งโบร้าน โบราณ เทียบเท่ากับนายกไหมคะ

ยินดีต้อนรับคุณขนมครกยุคมืดเข้ากระทู้ครับ 
ข้าราชการบรรดาศักดิ์พระยานั้นมีหลายระดับชั้นครับ

ถ้าเป็นข้าราชการตามกระทรวง ถ้าเป็นพระยาก็มักมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรม
ขึ้นไปจนถึงปลัดกระทรวงหรือเสนาบดีกระทรวง

ถ้าเป็นหัวเมืองหรือส่วนภูมิภาค ข้าราชการระดับชั้นพระยา
ก็ต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าเมือง ข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นต้น

นอกจากนี้  ถ้าเป็นข้าราชการสูงอายุตามกรมต่างๆ
สมัยโบราณเมื่อจะโปรดเกล้าฯ ให้อยู่นอกราชการ
ก็พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาด้วยเหมือนกัน
กินตำแหน่งจางวาง (ที่ปรึกษาหรือผู้กำกับดูแล(ห่างๆ)ราชการกรมนั้นๆ)

นอกจากนี้ ก็มีพระยาในกรณีอื่นๆ อีก  สำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เป็นตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายบริหาร  ถ้าเทียบกับตำแหน่งพระยาก็คงไม่พอ
ต้องเทียบตำแหน่งกับเจ้าพระยานาหมื่นหรือสมเด็จเจ้าพระยา
เพราะตำแหน่งของนายกฯ เทียบเท่าอัครมหาเสนาบดี


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: ขนมครกยุคมืด ที่ 13 ก.พ. 12, 09:44
ขอบพระคุณคะ คุณลวงเหล็ก ที่ให้คำชี้แนะ  ;)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: ขนมครกยุคมืด ที่ 13 ก.พ. 12, 10:20
อย่าว่าหนูโง่ นะคะ คือว่า ใครได้เป็นพระยาคนแรกในประเทศไทยหรอคะ อีกอย่างนะคะ ลองท่องคำว่า พระยา พระยา พระยา พระยา ซ้ำกันเกิดอาการงงคะ  ???

เลยอยากรู้ว่า พระ + ยา หรือคะ

ขอบคุณนะคะ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 12, 20:04
๕๘. ประวัตินาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ ร.น. (เลื่อน  ศราภัยวานิช)


ประวัติของนาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์  โดยย่อมีดังนี้

นาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ เป็นบุตรนายโซว  เทียนโป๊  และนางกี๋  
เกิดเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์  ๒๔๓๒  ที่จังหวัดนครสวรรค์

สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรตามหลักสูตรชั้น ๕ โรงเรียนอัสสัมชัญ

อุปสมบทที่วัดอรุณราชวราราม

ได้ประกาศนียบัตร จาก School of Journalism   ออสเตรเลีย

ปี ๒๔๗๐ ไปศึกษาดูงานพลาธิการทหารเรือที่ยุโรปเป็นเวลา  ๑ ปี ๔ เดือน

ชีวิตการรับราชการทหาร
๒๔๕๒  เกณฑ์ทหาร
๒๔๕๔ เป็นเลขานุการและล่ามของพลเรือตรี ยอน  ชไนเลอร์  ที่ปรึกษาราชการทหารเรือ
๒๔๕๖ เป็นเลขานุการของจอมพลเรือ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช  จเรทหารทั่วไป
ตั้งแต่ปี ๒๔๕๘  เป็นนายเวรวิเศากระทรวงทหารเรือ (เลขานุการเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ)
๒๔๖๔ รั้งตำแหน่งเสมียนตรากระทรวงทหารเรือ  และในปีเดียวกันได้เป็นเลขานุการสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ
๒๔๖๕  เป็นเลขานุการสภาธุระการทหาร
๒๔๗๔ เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม
๒๔๗๕ เป็นเจ้ากรมเสมียนตรากระทรวงกลาโหม

ออกจากราชการเป็นนายทหารรับบำนาญ ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕



การรับและเลื่อนยศ

๑ พ.ย. ๒๔๕๑  เป็น ว่าที่นายเรือตรี
๑๔ พ.ค. ๒๔๕๒ เป็น นายเรือตรี
๗ พ.ค. ๒๔๕๕ เป็น นายเรือโท
๒๔ มี.ค. ๒๔๕๗ เป็น นายเรือเอก
๑๐ พ.ค. ๒๔๖๑ เป็น นายนาวาตรี
๒๙ มี.ค. ๒๔๖๓ เป็น นายนาวาโท
๑๑ เม.ย. ๒๔๖๖ เป็น นายนาวาเอก

การรับและเลื่อนบรรดาศักดิ์

๒๖ พ.ค. ๒๔๖๐ เป็น หลวงวิเศษสรนิต
๒๔ มี.ค. ๒๔๖๔ เป็น พระนเรนทรบดินทร์
๑ เม.ย. ๒๔๗๒ เป็น พระยาศราภัยพิพัฒน์

งานอื่นๆ

๒๔๙๐ เป็น ส.ส.จังหวัดธนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์  และปีเดียวกันได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๒๔๙๔ เป็น ส.ว.
๒๕๐๓ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ

งานพิเศษ

๒๔๗๖ เป็น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (ภาษาอังกฤษ)
๒๔๙๔ เป็นกรรมการอบรมนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศ
๒๔๙๗ เป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนนายเรือ
๒๕๐๕ เป็นกรรมการมูลนิธิวิชาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ข้อมูลจากกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพ ความเห็นที่ ๑๒๖-๑๒๗


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ก.พ. 12, 20:08
๕๙. ประวัติมหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)

มหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)
เป็นบุตรของนายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์  และนางเพิ่ม  อาลาบาสเตอร์

เกิดเมื่อ ๒๒ มิ.ย. ๒๔๒๒ ที่บ้านพักใกล้พระบรมมหาราชวัง

เริ่มศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและงกฤษ ที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ท่านสอบไล่ได้ประโยค ๒ (จบหลักสูตรสูงสุด) วิชาหนังสือไทย ได้คะแนนสูงเป็นที่ ๑
เมื่อ ๑๗ เม.ย. ๒๔๓๗

จากนั้นไปศึกษาวิชาแผนที่ และสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ เมื่อ ๒๔๓๙

ได้ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  สำเร็จเมื่อ ๒๔๔๕

อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ เมื่อ ๒๔๕๐

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ เพิ่มเติม โดยทุนทรัพย์ตนเอง  สำเร็จ เมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นสมาชิกในลินเนียนโซไซเอตี้  ประเทศอังกฤษ ๒๔๕๗

ประวัติการได้รับยศและบรรดาศักดิ์
๒๔๔๘ เป็นหลวงวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๔ เป็นรองอำมาตย์เอก
๒๔๕๕ เป็นพระวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๖ เป็นอำมาตย์ตรี
๒๔๕๙ เป็นอำมาตย์โท
๒๔๖๐ เป็นอำมาตย์เอก และเป็นพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๖๓ เป็นมหาอำมาตย์ตรี

ชีวิตการทำงาน

๑ ธ.ค. ๒๔๓๗ เป็นนักเรียนกรมแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๖ มี.ค. ๒๔๔๓ ย้ายมารับราชการกระทรวงมหาดไทย
๒๔๔๔ - ๒๔๔๕ ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  
๑ เม.ย. ๒๔๔๖ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์
จากนั้น ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้นครลำปาง  แพร่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำพูน
และกลับมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ที่ลำพูนอีกเมื่อ ๒๔๕๒

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ กลับมาเมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นปลัดกรมป่าไม้  ย้ายไปประจำที่จังหวัดกันตัง
ไปจัดตั้งกองป่าไม้ มณฑลภูเก็ต  นครศรีธรรมราช และปัตตานี

๒๔๕๙ ย้ายจากกันตังไปสงขลา
๒๔๖๐ ย้ายมากรุงเทพฯ
๒๔๖๕ เป็นผู้บำรุงป่าไม้ตอนใต้  
๒๔๗๐ ย้ายจากกรุงเทพฯ กลับไปที่สงขลา
๒๓ มิ.ย. ๒๔๗๗ อายุ ๕๕ ปี  ออกรับพระราชทานบำนาญ

เจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ มีพี่น้องร่วมท้อง ๑ คน
คือมหาอำมาตย์ตรี  พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย  เศวตศิลา)
ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๓๐ ธ.ค. ๒๔๗๔

เจ้าคุณวันพฤกษ์มีบุตรธิดากับคุณหญิงวันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค)
และกับภรรยาอื่นๆ รวม ๑๕ คน  มีพลอากาศเอก สิทธิ  เศวตศิลา องคมนตรี
และนางสมจิตต์  อาสนจินดา  ภรรยาของ ส.อาสนจินดา เป็นต้น

ข้อมูลจากกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพ ความเห็นที่ ๑๒๙-๑๓๑


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 16 ก.พ. 12, 20:47
อย่าว่าหนูโง่ นะคะ คือว่า ใครได้เป็นพระยาคนแรกในประเทศไทยหรอคะ อีกอย่างนะคะ ลองท่องคำว่า พระยา พระยา พระยา พระยา ซ้ำกันเกิดอาการงงคะ  ???

เลยอยากรู้ว่า พระ + ยา หรือคะ

ขอบคุณนะคะ


พระยาเป็นตำแหน่งที่มีมาแต่ในสมัยโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
มีปรากฏในพระอัยการนาพลเรือนและนาทหาร (ชำระสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์)

ไม่มีผู้ใดในบรรณพิภพนี้ที่รู้ว่าใครคือพระยาคนแรกของประเทศไทยหรอกครับ  ;)

ส่วนคำว่าพระยามีที่มาจากคำใดต้องรอให้ใต้เท้าพระกรุณาช่วยเฉลยให้หายฉงน  :D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.พ. 12, 14:55

ส่วนคำว่าพระยามีที่มาจากคำใดต้องรอให้ใต้เท้าพระกรุณาช่วยเฉลยให้หายฉงน  :D


ไม่ตอบครับ  เชิญทุกท่านฉงนฉงายกันต่อไปตามสมควรเถิด 8)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 12, 15:16
มาช่วยเพิ่มความฉงนฉงาย

พระยา   พญา   ออกญา

คำไหนหนามาก่อนกัน

 ???



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ก.พ. 12, 15:27
มาช่วยเพิ่มความฉงนฉงาย

พระยา   พญา   ออกญา

คำไหนหนามาก่อนกัน

 ???



คำถามนี้  วิสัชนาได้หลายประการ

ประการที่ ๑  ถ้าว่าตามที่คุณเพ็ญฯ เขียนมา  คำว่าพระยาเขียนไว้ลำดับแรก  ก็มาก่อนคำทั้งสองที่เหลือ

ประการที่ ๒ ถ้าว่าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับล่าสุด  คำว่า พญา ย่อมมาก่อนคำที่เหลือ

ประการที่ ๓ ถ้าว่าตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นภาษาไทย  พญา ดูจะมาก่อนคำว่า ออกญา และพระยา
จากนั้น  ก็น่าจะตามมาด้วยออกญา  และพระยาเป็นหลังสุด   ทราบมาว่า  ทางราชสำนักของพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี
ได้บรรดาศักดิ์ว่าออกญานี้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต้นๆ รัชกาลปัจจุบัน


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 12, 19:32
ถามต่อ

คำว่า "ออก" ในบรรดาศักดิ์ ออกญา ออกพระ ออกหลวง ออกขุน ออกหมื่น ออกพัน มีความหมายว่ากระไร

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 21 ก.พ. 12, 17:00
ถามต่อ

คำว่า "ออก" ในบรรดาศักดิ์ ออกญา ออกพระ ออกหลวง ออกขุน ออกหมื่น ออกพัน มีความหมายว่ากระไร

 ;D

คงต้องให้คุณเพ็ญฯ ยกตัวอย่างขุนนางที่มีชั้นยศออกทั้งหลายว่า  มีออกอะไรบ้าง พร้อมระบุตำแหน่งหน้าที่
มาให้ทัศนาสัก ๒๐-๓๐ ตัวอย่าง เผื่อจะสรุปได้ว่า ออก..หมายความว่าอะไร


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ก.พ. 12, 17:39
มาช่วยเพิ่มความฉงนฉงาย

พระยา   พญา   ออกญา

คำไหนหนามาก่อนกัน

 ???



ขอเพิ่มความฉงบฉงายต่อจากคุณเพ็ญด้วยครับ 
นอกจาก พระยา  พญา  ออกญา แล้วยังมีคำว่า "เพี้ย" ที่หมายถึงบรรดาศักดิ์พระยาอีกคำครับ 
คำนี้พบในหนังสือของพระวิภาคภูวดล (เจมส์  แมคคาร์ธี)  เวลาพูดถึงพระยาท่านใช้คำว่า "Pia" ตลอดเลยครับ
คำว่าเพี้ยนี้ทีแรกเข้าใจว่าเป็นบรรดาศักดิ์ทางล้านช้างที่เทียบเท่าพญาของล้านนา  แต่เมื่อคุณพระท่านกล่าวถึงพระยาของสยามท่านก็ใช้เพี้ยเหมือนกัน


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 ก.พ. 12, 17:47
ตัวละครในขุนช้าง ขุนแผน มีเอ่ยถึง... ;D
เพี้ยกวาน เพี้ยกวานขนานอ้าย เพี้ยปราบพระยาเมืองแมน เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ (เชียงใหม่)

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้อธิบายว่าตำแหน่งที่มีคำว่า "เพี้ย" นำหน้าทางภาคเหนือที่เราพบ อยู่ในหนังสือพงศาวดารเสมอนั้น ความจริงก็ตรงกับคำว่า "พระยา" ของภาคกลางนั่นเอง


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 12, 19:12
ลา ลูแบร์ เขียนไว้ว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรดาศักดิ์มีทั้งหมด ๗ ชั้นคือ พระยา, ออกญา, ออกพระ, ออกหลวง, ออกขุน, ออกหมื่น และออกพัน แต่ออกพันในสมัยนั้นเลิกใช้แล้ว

คำว่า "ออก" หมายความคล้ายกับว่า "หัวหน้า" เพราะมีบรรดาศักดิ์อีกอย่างที่ไม่มีตำแหน่งคือ ออกเมือง ซึ่งดูเหมือนจะแปลว่า "หัวหน้าเมือง" บุคคลต้องได้รับแต่งตั้งเป็นออกเมืองเสียก่อน จึงจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง

ลา ลูแบร์ เข้าใจว่าคำว่า "ออก" ไม่ใช่ภาษาสยาม เพราะมีคำว่า "หัว" ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "หัวสิบ" ซึ่งเป็นตำแหน่งนายท้ายช้าง  "หัวพัน" คือผู้เชิญธงมหาราชในเรือพระที่นั่งทรง

ผู้ที่มียศศักดิ์สูงกว่าจะไม่ใช้คำว่า "ออก" เรียกผู้ที่มียศศักดิ์น้อยกว่าตนเลย เช่นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งกับออกพระพิพิธราชา ก็ตรัสแต่ว่า พระพิพิธราชา เฉย ๆ เท่านั้น บุคคลผู้กล่าวถึงบรรดาศักดิ์ของตนเอง ก็งดกล่าวคำว่า "ออก" เป็นการถ่อมตัวโดยมรรยาท และประชาชนพลเมืองซึ่งเป็นส่วนน้อยก็ละเลยไม่ใช้คำว่า "ออก" เช่นเรียกออกญายมราชว่า ญายมราช ออกหมื่นไวยว่า หมื่นไวย ดังนี้เป็นต้น

ลา ลูแบร์ยังกล่าวถึงบรรดาศักดิ์ในประเทศลาวว่า พญา (เพี้ย), หมื่น และพระก็ยังใช้กันอยู่ บางทีคงมีบรรดาศักดิ์อย่างอื่นอีกที่เหมือนกัน โดยทำนองเดียวกับตัวบทกฎหมายกระมัง

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 22 ก.พ. 12, 07:11
คุณเพ็ญกล่าวไว้ในความเห็นข้างบนว่า "คำว่า "ออก" หมายความคล้ายกับว่า "หัวหน้า""

เรื่องนี้มีข้อเปรียบเทียบเป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางล้านนาที่เรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำคือ  พญา  แสน  ท้าว 
บรรดาศักดิ์ชั้นพญา  ยังแยกเป็น "พญาหลวง" ที่เป็นหัวหน้าเหนือ "พญา" ทั่วไป
แสนก็แบ่งเป็น "แสนหลวง" และ "แสน" เหมือนกัน


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.พ. 12, 09:50
บรรดาศักดิ์ในประเทศราช สมัยรัชกาลที่ ๔

กฎหมายคำนำหน้าชื่อ รัชกาลที่ ๔ จากบล็อกของคุณกัมม์ (http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=11-04-2007&group=2&gblog=56)

ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ

มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า คนในพระราชอาณาจักรมิใช่จีนมิใช่ฝรั่ง แขก ญวน พม่า มอญ ซึ่งมาแต่เมืองจีน เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองญวน เมืองพม่า เมืองมอญ แลมิใช่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชีพ่อพราหมณ์ หลวงญวน หลวงจีน บาดหลวงฝรั่ง โต๊ะแขก รูปชี แพทย์หมอ แลครูอาจารย์สอนหนังสือก็ดี ยกเสียแต่ข้าราชการที่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่หมื่นขึ้นไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาแลเจ้าพระยาก็ดี แลยกเสียแต่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ แลเจ้าประเทศราช แลเจ้าซึ่งเป็นบุตรหลานพี่น้องของเจ้าประเทศราช ตลอดลงไปจนท้าวเพี้ยในเมืองลาว พระยาพระในเมืองเขมร ตองกูตวนเจะในเมืองมลายู จ่ากังในพวกกระเหรี่ยงก็ดีแล้ว

...................................................................

ประกาศมา ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ หรือวันที่๓๗๗๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

 ;D


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.พ. 12, 14:07

ลา ลูแบร์ เข้าใจว่าคำว่า "ออก" ไม่ใช่ภาษาสยาม เพราะมีคำว่า "หัว"
ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "หัวสิบ" ซึ่งเป็นตำแหน่งนายท้ายช้าง  "หัวพัน" คือผู้เชิญธงมหาราชในเรือพระที่นั่งทรง


เคยได้ยินคำว่า  หัวปาก  ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญพอทราบไหมว่าแปลว่าอะไร


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.พ. 12, 14:45
 
ผมคิดต่อไปเล่นๆ ว่า  จ่าหมื่น เท่ากับ แสน  ของล้านนาหรือเปล่า
ถ้าเท่ากัน  จ่าหมื่น  ก็คือ ยศแสนของไทยฝ่ายใต้  
และยศ  หัวสิบ หัวปาก หัวพัน  (พัน) หมื่น  แสน  อาจจะเป็นยศที่ตั้งขึ้น
เพื่อกำหนดลำดับสูงต่ำของชั้นยศโดยเอาหลักของตัวเลขจำนวนนับมาใช้
เหมือนกันกับ นาย ขุน หลวง พระ  พระยา  เจ้าพระยา  ก็ได้กระมัง
ดดยที่อยุธยาเป็นไทยใต้ที่รวมเอาวัฒนธรรมต่างๆ เข้าผนวกไว้ด้วยกัน
เลยมีลำดับชั้นยศที่เป็นทั้งตัวเลขและไม่ใช่หลักตัวเลข

หัวปากอยู่ระหว่างหัวสิบและหัวพัน จึงไม่ยากที่จะเดาว่าคำว่า "ปาก" หมายถึง "ร้อย"

รอยอินท่านว่า "ปาก" นี้มาจากภาษาจีนว่า "ปัก หรือ "แป๊ะ" แปลว่า "ร้อย"

น่าแปลกที่ภาษาจีนเข้ามาอยู่ในชั้นยศของไทยได้อย่างไร

 ???
 


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.พ. 12, 16:29
๖๐.ประวัติพระสุวรรณรัศมี (ทองคำ  สีหอุไร) หรือ พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ  สีหอุไร)

เกิดเมื่อ วันจันทร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน๑๒ ปีขาลตรีณิศก จ.ศ. ๑๒๐๔
เป็นบุตรนายทองดี  นายทองดีเป็นบุตรขุนคชสิทธิ์ฯ นาค/บุนนาค กรมคชบาลในรัชกาลที่ ๓ มีนิวาสสถานที่แพหน้าวัดมหาธาตุ


นายทองคำอายุได้ ๘ ปี นายทองดีบิดาถึงแก่กรรม  
หม่อมแพ ผู้เป็นอาว์ ให้คนไปรับมาอยู่ที่วังพร้อมกับมารดา

นายทองคำอายุ ๑๓ ปี ทำพิธีตัดจุกเปีย  แล้วบวชเป็นสามเณรในวันนั้น
และได้อยู่ในสำนักพระครูวิสุทธิสมโพธิ (เที่ยง) (ต่อมาเป็นพระมงคลมุนี)
วัดพระเชตุพน  เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม หนังสือไทยขอม ตลอดจนวิชาการต่างๆ
มีวิชาช่างเขียน และช่างอังกฤษ เป็นต้น

ต่อมาลาสิกขาแล้ว ไปเรียนกระบี่กระบอง มวยปล้ำ

ปีวอกโทศก ๑๒๒๒  เป็นมหาดเล้กขอเฝ้าในกรมสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
(เมื่อยังทรงดำรงพระยศเป็นพระนางเจ้า) ได้รับเบี้ยหวัด ๖ บาท

ปีกุนเบญจศก ๑๒๒๕ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระเชตุพน  บวชอยู่นาน ๑ พรรษา
เมื่อลาสิกขาแล้ว ได้เป็นปลัดเวรและนายเวรมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ (รัชกาลที่ ๕)  

ปีมะเส็ง ยังสัมฤทธิศก ๑๒๓๐ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ จ่าผลาญอริพิษ ในกรมพระตำรวจใหญ่ขวา  
ศักดินา ๖๐๐  และได้เป็นนนายด้านทำพระพุทธรัตนสถาน  มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลฯ เป็นแม่กอง  
ในครั้งครั้งเมื่อทำเสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกระจกผนังด้านในออก  
แล้วสะปูนผนังเขียนประวัติพระพุทธบุยรัตน์เป็นการรีบเร่งเพื่อให้ทันกับการทรงพระผนวช

ในปีเดียวกัน เกิดเพลิงไหม้ที่ตำหนักพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระอัครราชเทวี
จ่าผลาญอริพิษ ได้ไปช่วยดับเพลิง  จนได้รับรางวัลความชอบเป็นตราภัทราภรณ์

ปีระกา เบญจศก ๑๒๓๕  ได้เลื่อนเป็นที่จมื่นไชยาภรณ์  ปลัดกรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย ศักดินา ๘๐๐  
กับได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเขื่อนเพชรฐานเหนือพระพุทธรัตนสถาน นาว ๒๒ ห้อง  
หลังคาตัด  เพื่อเป็นที่พักพระเถระเมื่อมาร่วมพิธีทรงผนวชพระ

จากนั้นได้เป็นข้าหลวงออกไปสักข้อมือคนจีนที่เมืองชลบุรี เมืองพนัสนิคม
ต่อจากนั้นได้เป็นข้าหลวงกำกับโรงเตาสุรากรุงเทพฯ ได้รับผลประโยชน์เดือนละ ๘๐ บาท

ปีฉลูนพศก  ๑๒๓๙ ได้เลื่อนเป็นที่ พระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหารขวา  ศักดินา ๑๖๐๐  
ในคราวนั้นได้ขึ้นไปชำระความผุ้ร้ายปล้น ๕ ตำบลที่เมืองสุพรรบุรีและได้ว่าราชการที่เมืองนั้นด้วย
เพราะเจ้าเมืองถึงแก่กรรม  และได้นำกรมการเมืองสุพรรณบุรีไปเข้าเฝ้าฯ ในคราวเสด็จฯ ไปพระแท่นดงรัง แขวงเมืองราชบุรี

ในครั้งนั้น ได้รับพระบรมราชโองการให้ไปตามจับตัวผู้ร้ายตองซู่ ๔ คนที่ฆ่าหมื่นอาจ บ้านจระเข้สามพันตาย  
จึงได้จับพวกตองซู่ที่เที่ยวซุ่มซ่อนลักซื้อขายโคกระบือไม่มีตั๋วฎีกา  แล้วล่องลงมาพระนคร    
เมื่อมาถึงไม่นานได้เป็นผู้ชำระความมรดกตกค้างและคดีมโรสาเร่ต่างๆ  ต่อมาได้รับพระราชทานโต๊ะทอง กาทอง เป็นเกียรติยศ  
กับได้เป็นข้าหลวงขึ้นไปชำระความผู้ร้ายยิงกันตายที่เมืองนครลำปาง ซึ่งโจทก์จำเลยเป็นคนในร่มธงอังกฤษ
ชำระคดีในเมืองนครเชียงใหม่อีก ๒ คดีตามที่เจ้าราชวงศ์กล่าวโทษบุตรข้าหลวงใหญ่เมืองนครเชียงใหม่
ได้กลับลงมากรุงเทพฯ

เมื่อเสร็จกิจที่หัวเมืองเหนือแล้ว  พระพรหมบริรักษ์ได้รับรับสั่งให้เดินทางกลับมากรุงเทพฯ

ครั้นมาถึงกรุงเทพฯ ได้รับพระมหากรุณา โปรดเกล้าฯ ซื้อที่บ้านเมืองนนท์พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์พร้อมหนังสือพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น  

จากนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายด้านทำพระเมรุทรงยอดปรางค์สำหรับการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง
พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ณ ท้องสนามหลวง  ได้รับพระราชทานที่ชาและครอบแก้วมีรูปสัตว์ทองคำภายในเป็นรางวัล

ต่อจากนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้ทำโรงเอ็กซหิบิชั่นที่ท้องสนามหลวง เนื่องในการฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี  
มีการขุดสระขังจระเข้ใหญ่ให้คนดู และมีการต่อสายโทรศัพท์จากสนามหลวงไปที่ปากน้ำสมุทรปราการ  
ให้ชาวมอญทดลองร้องทะแยส่งเสียงไปตามสาย  แล้วให้ชาวมอญปลายสายโทรศัพท์ที่ปากน้ำร้องทะแยตอบกลับมา
ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ชาวมอญผู้ทดลองโทรศัพท์ครั้งนั้น

เมื่อสิ้นการฉลองพระนครแล้ว ได้เกิดศึกปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ  ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงจัดเจ้าพนักงานรับส่งหนังสือบอกราชการกองทัพ
ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย และจากหนองคายไปทุ่งเชียงคำ แต่การส่งข่าวครั้งนั้นกินเวลาไปกลับของหนังสือ
 ๓๐ วัน คือ ๑๑ วันบอกไป ๑๑วันตอบมา  ๘ วันเขียนตอบ   แต่การศึกครั้งนั้นก็เป็นอันระงับไป เพราะแม่ทัพ
พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธุ์) ถูกลูกปืนที่หน้าแข้งบาดเจ็บ จึงได้ล่องกลับมาพระนคร

ปีจออัฐศก  ๑๒๔๘  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระพิเรนทรเทพบดีศรีสมุห  เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย  ศักดินา ๒๐๐๐  
กับได้รับหน้าที่ทำพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ ณ วัดราชบพิธ  แต่การยังไม่แล้วเสร็จ  
โปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ขึ้นรักษาราชการเมืองนครราชสีมา ในเวลาจวนจะตั้งการพระราชพิธีลงสรงสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  
ครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ถอดพระยาโคราช (อิ่ม) ออกจากราชการ  ขึ้นไปรักษาราชการที่เมืองนครราชสีมา
เป็นเวลานาน ๕ ปีเศษ  ในระหว่างนั้นได้จัดการทำบุญกุศลกับชาวเมืองหลายประการ

หลังจากรั้งราชการที่เมืองนครราชสีมาได้นาน ๕ ปีแล้ว  จึงได้ทำใบบอกราชการมากราบบังคมทูล
ขอพระราชทานทรงพระมหากรุณาแต่งตั้งข้าราชการผู้อื่นขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ไปรั้งราชการต่อ  

ครั้งนั้นได้โปรดเกล้า ฯ พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  เสด็จขึ้นไปรั้งราชการแทน  
และต่อได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาประสิทธิ์ศัลการ (สอาด  สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงรั้งราชการสืบต่อจากเสด็จในกรม  
เมื่อเสด็จในกรมเสด็จกลับกรุงเทพฯ พระพิเรนทรเทพจึงได้เดินทางกลับลงมาด้วย  

เมื่อกลับมาแล้วได้ไปเฝ้าฯ ที่เกาะสีชัง  และได้ถือโอกาสกราบบังคมทูลลากลับบ้าน  ด้วยว่านางเสงี่ยม  ภรรยา  
มีอาการป่วยไข้หนัก  เมื่อกลับบ้านแล้ว พยาบาลภรรยาสุดความสามารถแล้ว  นางเสงี่ยม ภรรยา อายุได้  ๕๐ ปี
ถึงแก่กรรม ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพภรรยาแก่ท่าน

ครั้นต่อมาได้รับรับสั่งให้สร้างตึกดินดิบอย่างตึกโคราช  ที่เกาะสีชัง  แต่ยังไม่ได้ทำ
เกิดเหตุบาดหมางระหว่างสยามกับฝรั่งเศส  จึงได้ระงับการก่อสร้างไป

๒๐ เม.ย. ๑๑๒  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระยามหามนตรี  ศรีองครักษสมุห  
เจ้ากรมพระตำรวจในขวา  ศักดินา  ๒๐๐๐  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ว่าที่จางวางในกรมนั้นด้วย

เมื่อคราวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน  โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกโรงทิมดาบ
เพื่อใช้ประชุมข้าราชการสำหรับเตรียมการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๒๕ ปี  รัชฎาภิเษก  
และได้ร่วมจัดการพระราชพิธีรัชฎาภิเษกครั้งนั้นด้วย

เดือน ๑๒ ปีเดียวกันนั้น ได้รับพระราชทานพานทองและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

๒๖  ก.ย. ๑๑๓  โปรดเกล้าฯให้เป็นที่พระยาอนุชิตชาญไชย   จางวางกรมพระตำรวจขวา  ศักดินา ๓๐๐๐
และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรี และองคมนตรีที่ปรึกษาราชการด้วย  ต่อมาได้เป็นกรรมการศาลที่ ๑  ทำหน้าที่ชำระตัดสินความค้างในศาลนครบาล

ถัดจากนั้นได้เป็นกรรมการศาลฎีกา  และได้รับพระราชทานเหรียณและเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายอย่าง

ปี ๑๑๙  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่พระยาสีหราชฤทธิไกร  อภัยพิริยปรากรมพาหุ  เจ้ากรมอาสาใหญ่ซ้าย
ศักดินา ๑๐๐๐๐ และยังเป็นกรรมการศาลฎีกาอยู่

ปี ๑๒๑  ได้เป็นมรรคนายกวัดพระเชตุพน

ปี ๑๒๒  ทำหนังสือขอพระราชทานกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานหยุดพักราชการ
เพื่อรักษาตัวด้วยโรคภัยเบียดเบียนมาก  พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พักราชการได้ โดยมีผู้อื่นรั้งราชการแทน

๑ เม.ย. ๑๒๓  ได้เฝ้าฯ ที่พระราชวังสวนดุสิต กราบบังคมทูลขอพักราชการเป็นการถาวร
หลังจากรับราชการมานาน ๔๐ ปีเศษ  ทรงพระกรุณษโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการ  
และได้พระราชทานเบี้ยเลี้ยงชีพเดือนละ ๓๘๐ บาท   ท่านได้เอาเงินนั้นทำบุญกุศลต่างๆ
โดยจัดให้มีประชุมธรรมสากัจฉาที่บ้านเดือน ๔ ครั้ง  (วันขึ้น ๒ ค่ำ แรม ๒ ค่ำ ขึ้น ๑๐ ค่ำ แรม ๑๐ ค่ำ)

ปี ๑๒๖  เดินทางขึ้นไปร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมสิริราชสมบัติที่กรุงเก่า  (พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก)  
การครั้งนั้น  ท่านได้แต่งกาพย์เล่าเหตุการณ์ที่ได้ไปในการครั้งนั้นด้วย

พระยาสีหราชฤทธิไกร  มีบุตร ๑๑ คน เป็น ชาย ๗ คน หญิง ๔ คน
บุตรนั้นถึงแก่กรรมไป ๖ คน คงเหลือเติบโตมา  ๕ คน  เป็นชาย ๔ คน หญิง ๑ คน  
บุตรที่เหลือนั้น รับราชการ ๒ คน บวชเป็นภิกษุ ๑ รูป  (พระภิกษุบุญ  ๑  นางเทียม ๑  
ขุนเทพวิหาร  สวาสดิ์ ๑  หลวงประกอบธนากร สวัสดิ์ ๑  และนายอ่อน ๑)


วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๑๒๙  เวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต  
ทันทีที่ได้ทราบข่าวสวรรคต  เจ้าคุณสีหราชเป็นลมหมดสติ

เมื่อใกล้การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
พระยาสีหราชฯ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลลาบวชเป็นสามเณรเพื่อฉลองพระเดชพระคุณ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ  
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บวชได้

ในวันที่  ๑๖  มีนาคม ๒๔๕๓  เชิญเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังราชเจ้า ทรงกระทำการบรรพชาให้

เวลา ๗ ทุ่มเศษวันนั้น  พระยาอัพภันตริกามาตย์ ส่งคนมาตามไปถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง   เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว ความอิ่มเอิบในบุญกุศลที่ได้
ทำถวายฉลองพระเดชพระคุณ  ทำให้ไม่รู้สึกหิวอาหาร  และนอนไม่หลับนาน ๓ วัน

อีก ๗ เดือนต่อมา  ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังราชเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาย์ให้  ครั้งนั้น  ได้แต่งนิราสออกบวชไว้เป็นอนุสรณ์ในการบวชครั้งนั้นด้วย  


๑ มกราคม ๒๔๖๖  ได้รับสัญญาบัตรและพัดยศเป็นที่พระสุวรรณรัศมี  พระราชาคณะยก

พ.ย. ๒๔๗๐ เริ่มป่วยด้วยอาการท้องร่วงเรื้อรัง

๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐  ๗ นาฬิกา หลังเที่ยง ๔๕ นาที  มรณภาพด้วยอาการสงบ  อายุ ๘๗ ปี  พรรษา ๑๗

จากกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพ ความเห็นที่ ๒๕๑-๒๕๙


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.พ. 12, 11:30
๖๑.เสวกเอก พระยาสุเทพภักดี (ดี  สุเดชะ)

เกิด  ๑๔  กรกฎาคม  ๒๔๑๙

บิดา  หลวงประมวลมาศก (บุตร  สุเดชะ)

มารดา  นางประมวลมาศก (สุ่น  สุเดชะ)

เรียน  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เรียนถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๓๔
แล้วลาออกเข้ารับราชการในกรมส่วย (หอรัษฎากรพิพัฒน์) กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

๑ ก.พ. ๒๔๓๖  ย้ายมารับราชการที่กรมพระคลังข้างที่

๑๕  พ.ค. ๒๔๓๗  เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕
ดำรงตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษเวรศักดิ์

๑  มี.ค. ๒๔๓๙  ย้ายไปรับราชการที่กรมบัญชาการมหาดเล็ก
ทำหน้าที่เขียนคำตัดสินฎีกา  และได้เข้าศึกษาต่อในสำนักกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม

๑ ส.ค. ๒๔๔๐  ทำหน้าที่ตรวจการศาลโปรีสภาที่ ๑

๑ ธ.ค. ๒๔๔๑  มีการจัดระเบียบกรมมหาดเล็กใหม่  ได้รับเลือกให้เข้ารับราชการ
เป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์   

พ.ค. ๒๔๔๒  ได้เป็นที่รองหุ้มแพร  นายรองเสนองานประพาส

๑ มิ.ย. ๒๔๔๒ ย้ายไปรับราชการที่แผนกห้องเครื่องฝรั่ง

๑ ธ.ค. ๒๔๔๓  ย้ายไปรับราชการกองคลังเครื่องโต๊ะ

๒๒ ม.ค. ๒๔๔๖  ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร ที่นายเสนองานประพาส  นายเวร

๒๗ ต.ค. ๒๔๔๙  ย้ายจากกองคลังเครื่องโต๊ะ (วรภาชน์) มารับราชการ
ที่มหาดเล็กเวรศักดิ์ประจำแผนกพระภูษา

๑๒ มิ.ย. ๒๔๕๓  รับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประจำกรมรับใช้

๔ ก.ค. ๒๔๕๔  ได้เป็นที่นายจ่ารง

๓ มิ.ย. ๒๔๕๕  เป็นที่รองหัวหมื่น  หลวงเดช  นายเวร

๓๐ มิ.ย. ๒๔๕๖  เป็นที่จมื่นเทพดรุณาการ

๑ ส.ค. ๒๔๕๘  รับพระราชทานยศหัวหมื่น

๔ ส.ค. ๒๔๖๑  เป็นที่พระยาสุเทพภักดี

๑ ธ.ค. ๒๔๖๙  รับราชการที่ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กเวรศักดิ์

๑๑ ต.ค. ๒๔๗๔  ลาออกจากราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ

๒๔  ธ.ค. ๒๕๐๑  ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา  ฯ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 เม.ย. 12, 16:12
๖๒.พระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะ (ศุข โชติกเสถียร)

เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔

เปนบุตรเจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) ๆ เปนบุตรพระยาโชดึกราชเศรษฐี (เถียน) ผู้ต้นสกุลโชติกเสถียร

ได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กแต่ยังเด็ก ตามประเพณีผู้ที่อยู่ในสกุลข้าหลวงเดิม แล้วไปเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนวัดบพิตรภิมุข
จนสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยค ๑

เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยารณไชยชาญยุทธเปนพระพี่เลี้ยงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ขณะนั้นพระยารณไชยฯ อายุได้ ๑๒ ปี

ต่อมาเมื่อปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓ พระราชทานสัญญาบัตรเปนนายบำเรอบรมบาท

ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๓๕ ได้เลื่อนเปนนายกวด หุ้มแพรมหาดเล็กต้นเชือก

ปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ เลื่อนเปนนายจ่ายง

เมื่อจัดหัวเมืองเปนมณฑลเทศาภิบาล จะจัดตั้งมณฑลนครไชยศรี ตำแหน่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทสาครว่าง
จะหาตัวผู้ซึ่งสมควรเปนผู้ว่าราชการจังหวัด จัดการปกครองตามแบบที่ตั้งใหม่ทรงพระราชดำริห์ว่า
นายจ่ายงหลักแหลมอยู่คน ๑ ในข้าราชการชั้นหนุ่ม จึงพระราชทานสัญญาบัตร
ตั้งเปนพระสมุทสาครานุรักษ์ออกไปเปนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทสาคร เมื่อปีระกา พ.ศ.๒๔๔๐

ออกไปอยู่ไม่ช้าก็ปรากฎ คุณวุฒิข้อสำคัญของพระยารณไชย ฯ อย่าง ๑ คือที่สามารถอาจจะทำให้กรมการ
ตลอดจนราษฎรมีความนิยมนับถือทั่วไป คุณวุฒิอันนี้เปนเหตุอย่างสำคัญที่พระยารณไชย ฯ ทำการงานสำเร็จได้ผลดี
มีความชอบมาแต่ไปว่าราชการจังหวัด สมุทสาครครั้งนั้น และในที่อื่น ๆ ซึ่งพระยารณไชย ฯ ได้รับราชการต่อมาจนตลอดอายุ

พระยารณไชย ฯ ว่าราชการจังหวัดสมุทสาคร อยู่ ๔ ปี ปรากฎว่าคุณวุฒิควรจะรับราชการในตำแหน่งสำคัญกว่านั้นได้
จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเปนพระยาศิริไชยบุรินทร์ ย้ายมารับราชการในตำแหน่งปลัดมณฑล
ซึ่งมีน่าที่ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มณฑลนครไชยศรี เมื่อปี ฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ รับราชการในตำแหน่งนี้อยู่จนตลอดรัชกาลที่ ๕

ถึงรัชกาลที่ ๖ ในปีแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ว่าง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์

แล้วพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะถือศักดินา ๑๐๐๐๐
พระราชทานพานทองเปนเกียรติยศ รับราชการในตำแหน่งนั้นต่อมาจนตลอดอายุ

ขณะที่เปนสมุหเทศาภิบาลขึ้นไปอยู่มณฑลนครสวรรค์ พอไปถึงในหมู่นั้นเองก็ได้พระแสงศรกำลังรามมาทูลเกล้าฯ ถวาย
แด่รัชกาลที่ ๖ เปนศิริมงคล แลต่อมาไม่อิกกี่เดือนก็ได้พระยาช้างเผือก คือพระเสวตรวชิรพาหะมาถวายเพิ่มภูลพระบารมี

เครื่องราชอิศริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานเปนอย่างสูงในเวลาเมื่อถึงอนิจกรรม คือ
รัตนวราภรณ์
มหาสุราภรณ์ มงกุฎสยามชั้นที่ ๑
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
นิภาภรณ์ ช้างเผือกชั้นที่ ๓
รัตนาภรณ์ ว. ป. ร. ชั้นที่ ๓
เข็มพระชนมายุสมมงคลรัชกาลที่ ๕
เข็ม ว.ม. ชั้นที่ ๑ พระราชทานแต่ในรัชกาลที่ ๕
เข็ม ว.ป.ร. ชั้นที่ ๑

พระยารณไชยชาญยุทธได้แต่งงานกับท่านหุ่นมีบุตรธิดาด้วยกัน คือ

๑ ธิดาชื่อสร้อย เปนภรรยาพระชวกิจบรรหาร ( เลื่อน ณ ป้อมเพ็ชร)
๒ บุตรชื่อนายส่าน ถวายตัวเปนมหาดเล็ก ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ไปเรียนวิชาอยู่เมืองอังกฤษ
๓ นายโสดถิ์ คนเล็ก เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน

พระยารณไชยชาญยุทธถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ คำนวณอายุได้ ๔๕ ปี

(ดัดแปลงตัดทอนและปรับปรุงจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 พ.ค. 12, 13:40
๖๓.มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)
 

-เป็นบุตรพระยาอภัยพิพิธ (เสพ  สุรนันทน์) กับคุณหญิงเปลี่ยน

-เกิดปีระกา เดือน ๔ วันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ  (๒๔ เมษายน ๒๔๐๓)

-เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนโรงละครหลังวัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง
สอบไล่ได้ชั้นพิศาลการันต์ อันเป็นหลักสูตรสูงสุดในขณะนั้น เมื่อปี ๒๔๑๙

-อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์
ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท

-๒๔๒๑  เป็นมหาดเล้กรับใช้ในพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร  เบี้ยหวัด ๑๖ บาท

-๒๔๒๗ ได้เบี้ยหวัดเพิ่มเป้น ๔๐ บาท

-๒๔๒๙ เป็นนายรองพิจิตรสรรพการ  เบี้ยหวัด ๖๐ บาท เงินเดือน ๕ บาท

-๒๔๓๐ เป็นผู้ดูแลเก็บรักษาเครื่องทรงพระอักษรของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เบี้ยหวัด ๘๐ บาท

-๒๔๓๑ เงินเดือนขึ้นเป็น ๑๐ บาท

-๒๔๓๓ เป็นนายสนิท หุ้มแพรนายยามเวรศักดิ์  เบี้ยหวัด ๑๒๐ บาท

-๒๔๓๔ เบี้ยหวัดเพิ่มเป็น ๑๖๐ บาท เงินเดือน ๓๐ บาท

-๒๔๓๖ เป็นนายจ่าเรศ  ปลัดเวรฤทธิ์ และรับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร  เงินเดือน ๖๐ บาท

-๒๔๔๑  เป็นเลขานุการในกองบัญชาการ กรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๑๒๐ บาท

-๒๔๔๒  เป็นหลวงเดช นายเวรเวรเดช  เงินเดือน ๑๖๐ บาท

-๒๔๔๗  เป็นผู้ดูแลโรงเรียนราชกุมาร  เงินเดือน ๒๐๐ บาท

-๒๔๔๙ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล้ก  เงินเดือน ๓๐๐ บาท

-๒๔๕๒ โปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้ากรมหลวงนครราชสีมา  เงินเดือน ๓๔๐ บาท

-๒๔๕๓ เป็นพระยาบำรุงราชบริพาร  จางวางมหาดเล็ก เงินเดือน ๔๐๐ บาท

-๒๔๕๕  รับราชการในกองทะเบียน กรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๖๐๐ บาท

-๒๔๕๖  ได้ยศจางวางตรี  ในกรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๗๐๐ บาท

-๒๔๕๘  เป็นปลัดบาญชี  กรมมหาดเล็กรับใช้

-๒๔๖๓  โปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานบำนาญเนื่องจากสูงอายุและรับราชการมานาน
รับบำนาญปีละ ๔๒๐๐ บาท

-๒๔๗๐ เป็นพระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล

-สมรสกับคุณหญิงแฝง  ธิดาพระยาอร่ามมณเฑียร (โหมด  หงสกุล) เมื่อ ๒๔๒๒

-มีบุตรธิดา  ๔  คน  ๑  บุตรไม่มีชื่อถึงแก่กรรมแต่เยาว์  ๒  คุณหญิงบุนนาค พิทักษ์เทพมณเฑียร
๓  พระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณสิศยานุสรรค์   ๔  พระภูมีสวามิภักดิ์ (เกริ่ม  สุรนันทน์)

-๒๔๖๕  ป่วยเป็นอัมพาต  เดินไม่ได้

-๑๑ เมษายน ๒๔๘๐  ถึงแก่อนิจกรรม  อายุ ๗๖ ปี ๑๑ เดือน ๑๗ วัน



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 30 พ.ค. 12, 09:52
ประวัติเจ้าคุณสุรนันทน์ ฯ มีรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่หลานของท่านเขียนไว้ (ตามภาพ)

แต่ที่น่าศึกษาเพิ่มเติมคือ ในข้อมูลมี่คุณ Luanglek นำมาลง (น่าจะมาจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพฯ ) ระบุว่า -อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์ ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท แต่ ทายาท เขียนไว้ว่า บิดาเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ท่านอายุ ๑๔ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ลม้าย - ม.ร.ว. ละม้าย พึ่งบุญ บิดาเจ้าพระยารามราฆพ)ทำขึ้นถวายตัว 

อีกหนึ่งเรื่องที่ผมยังค้างคาใจคือ ในกระทู้ ว่าด้วยหนังสือพิมพ์โรงเรียนราชกุมาร ระบุว่า

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)

ตามประวัติทั้งของคุณหลวง และของทายาท ไม่ได้ระบุว่า ท่านเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "หลวงราชบุตรบำรุง"  ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชนายเวร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒ และคงบรรดาศักดิ์นี้ จนปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร โดยไม่ผ่าน "คุณพระ"  และบรรดาศักดิ์ "บำรุงราชบริพาร" เป็นตำแหน่งสำคัญในพระราชสำนัก เมื่อกราบบังคมทูลฯ ออกจากราชกาลแล้ว ก็น่าจะเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาสุรนันทน์นิวัธนกุล คงไม่ได้ยึดบรรดาศักดิ์นี้ไปจนปีพ.ศ. ๒๔๗๐ กระมังครับ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 30 พ.ค. 12, 09:58
คุณ Wandee

หาชื่อลูกศิษย์ หมอสมิท ได้อีกคนแล้วครับ (เข้าใจแล้วว่า เหตุใด บ้านนี้ถึงมีหนังสือหมอสมิท หมอบรัดเลย์ เป็นตู้ๆ )  ......... แล้วครู บาบู รำซำอี นี่ ใครหรือครับ โปรดชี้แนะ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 พ.ค. 12, 10:23


       คุณปิยะสารณ์ที่นับถือ

       กำลังโรยพริกไทยขาวไปตามชั้นหนังสือทั้งบ้านเลยค่ะ        ฝนลงแล้วตัวแมลงก็ตามมา

คุณถัดท่านก็เรียนหนังสือจากบาบูนะคะ   ตอนนี้ยังหาอ้างอิงไม่ได้ค่ะ

สหายให้หนังสือมาเล่มหนึ่ง   คิดว่าคงเป็นที่สนใจ     จะเก็บไว้ให้ดูนะคะ  แมงกินเกือบครึ่งเล่มแล้วค่ะ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 30 พ.ค. 12, 11:20
ประวัติเจ้าคุณสุรนันทน์ ฯ มีรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่หลานของท่านเขียนไว้ (ตามภาพ)

แต่ที่น่าศึกษาเพิ่มเติมคือ ในข้อมูลมี่คุณ Luanglek นำมาลง (น่าจะมาจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพฯ ) ระบุว่า -อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์ ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท แต่ ทายาท เขียนไว้ว่า บิดาเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ท่านอายุ ๑๔ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ลม้าย - ม.ร.ว. ละม้าย พึ่งบุญ บิดาเจ้าพระยารามราฆพ)ทำขึ้นถวายตัว 

อีกหนึ่งเรื่องที่ผมยังค้างคาใจคือ ในกระทู้ ว่าด้วยหนังสือพิมพ์โรงเรียนราชกุมาร ระบุว่า

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)

ตามประวัติทั้งของคุณหลวง และของทายาท ไม่ได้ระบุว่า ท่านเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "หลวงราชบุตรบำรุง" 
ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชนายเวร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒ และคงบรรดาศักดิ์นี้
จนปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร โดยไม่ผ่าน "คุณพระ" 
และบรรดาศักดิ์ "บำรุงราชบริพาร" เป็นตำแหน่งสำคัญในพระราชสำนัก เมื่อกราบบังคมทูลฯ ออกจากราชกาลแล้ว
ก็น่าจะเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาสุรนันทน์นิวัธนกุล คงไม่ได้ยึดบรรดาศักดิ์นี้ไปจนปีพ.ศ. ๒๔๗๐ กระมังครับ

คุณปิยะสารณ์  ผมได้ลงแก้ไขไว้แล้วในกระทู้นั้น

ขอแก้ไขข้อมูลเล็กน้อย

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พระยาเทเวศร์วงษวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน)
พระอาจาริย์มอแรนต์
เจ้าหมื่นไวยวรนารถ
นายจ่ายง
นายจ่าเรศ บาญชีเงิน (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์))

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (ชื่อ เนตร  ยังไม่ทราบนามสกุล)
มิสเตอร์ เชยมส์  อาจาริย์
มิสเตอร์ เลวิส  อาจาริย์
มิสเตอร์ โรล์ฟ  อาจาริย์
ขุนบำนาญวรวัจน์  อาจาริย์
ขุนบัญญัติวรวาท  อาจาริย์
นายนกยูง  อาจาริย์  (ใช่นายนกยูง ที่แปล "ความพยาบาท" หรือเปล่า?)



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 พ.ค. 12, 12:00
ครู บาบู รำซำอี ก็คือ บาบู รามสวามี ครับ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 พ.ค. 12, 13:04


อา...กราบขอบพระคุณค่ะ


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 พ.ค. 12, 13:11

ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชนายเวร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒ และคงบรรดาศักดิ์นี้ จนปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร โดยไม่ผ่าน "คุณพระ"


ในสมัยรัชกาลที่ ๖

ดูจะเป็นพระราชนิยมกระมั้ง (ต้องเรียนถามคุณวีมี) ว่าผู้ที่ได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นหลวงนายเวร (ศักดิ์,สิทธิ์,ฤทธิ์,เดช)

จะเทียบบรรดาศักดิ์ชั้นเดียวกับ "พระ" และมียศเป็น "รองหัวหมื่น"

เมื่อจะเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นก็ต้องเลื่อนเป็น "พระยา" และมียศเป็น "หัวหมื่น" แทบทุกรายไป
และส่วนใหญ่จะย้ายไปรับราชการที่กรมอื่นๆ นอกกรมมหาดเล็ก แต่ยังคงอยู่ในกรมมหาดเล็ก ( ??? ???)
บางรายอาจย้ายไปอยู่กระทรวงวังโน้นเลยทีเดียว

ซึ่งการเลื่อนแบบนี้ ไม่ต่างจากบรรดาศักดิ์อื่นๆ ในกรมมหาดเล็ก

"นายรอง หุ้มแพร" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง"
เช่น นายรองฉัน หุ้มแพร (อรุณ ภมรบุตร) เป็น หลวงอุดมภัณฑาภิรักษ์

"หุ้มแพร" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง" หรือ "พระ"
เช่น นายฉันหุ้มแพร (ทิตย์ อมาตยกุล) เป็น พระพฤกษาภิรมย์ , นายบำเรอบรมบาทหุ้มแพร (ผัน อรชุนะกะ) เป็น หลวงอมรสารถี

"จ่า" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระ"
เช่น นายจ่าเรศ (ทับทิม อมาตยกุล) เป็น พระมาตลีรถาทร

"หลวงนาย" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา"
เช่น หลวงเดชนายเวร (กริ่ม สุรนันทน์) เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร

"เจ้าหมื่น" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา"
เช่น เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (ม.ร.ว. จิตร สุทัศน์) เป็น พระยาศรีวรวงศ์


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 มิ.ย. 12, 08:59
๖๔. ประวัติสังเขป อำมาตย์เอก พระยาคำนวณคัคณานต์ (ศรี  ปายะนันทน์)

เกิด  วัน ๓ เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะแม ๑๒๒๑
บุตรลำดับที่ ๓ ของพระสามภพพ่าย (ติ่ง) จางวางกรมทหารช่างในขวา ในรัชกาลที่ ๔  และนางหนู

๒๔๑๑  อายุ ๙ ขวบ  เรียนหนังสือที่สำนักวัดราชสิทธาราม  ธนบุรี  กับอาจารย์เผือก

อายุ ๑๑ ขวบ  บิดานำเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นมหาดเล็กวิเศษ  สังกัดเวรสิทธิ์

กันยายน ๒๔๑๕  ย้ายไปรับราชการเป็นพลทหารราบ  มหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๑๗  เป็นพลทหารม้ามหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๑๘  เป็นกอปอราล ในกรมทหารม้ามหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๓  เป็นซายันต์ ในกรมทหารม้ามหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๔  เป็นซายันต์เมเยอร์ ในกรมทหารราบมหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๕  สอบได้เป็นที่ ๑ ในการศึกษาวิชาแผนที่ ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
ทรงจัดให้มีขึ้น ณ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๖  เป็นสับลุตเตแนนต์ ในกรมทหารมหาดเล้กรักษาพระองค์  และรับราชการในกรมแผนที่
กับได้ไปราชการทัพปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ  เมืองเชียงขวาง  ได้ไปทำแผนที่พระราชอาณาเขตทางนครหลวงพระบางด้วย
ภายหลังกลับมาได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาเป็นบำเหน็จ

๒๔๒๗ เป็นลุตเตแนนต์ และมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงคำนวณคัคณานต์  ปลัดกรมแผนที่
กับได้เดินทางไปทำแผนที่พระราชอาณาเขตที่นครหลวงพระบาง เมืองสุย  เมืองเชียงแดด  ลาวฝ่ายเหนือ
เมื่อกลับมาคราวนั้น ได้รับพระราชทานโต๊ะกลมและกาถม

๒๔๒๘  เปลี่ยนยศทหารเป็นแบบไทย  ไปราชการสงครามปราบฮ่อ  ได้รับคำสั่งแม่ทัพให้คุมกองทหาร
ไปสำรวจตรวจทางและทำแผนที่สำหรับเดินทัพใหญ่  ในแขวงเมืองอ่าวและเมืองออม  ขึ้นแก่เมืองเขียงขวาง

๒๔๓๐  เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม) แม่ทัพปราบฮ่อ  มอบหมายให้แบ่งปันเส้นเขตแดนร่วมกับฝ่ายทัพฝรั่งเศสที่มาปราบฮ่อ
ได้เดินทางไปถึงเมืองลาวกายและเมืองไลเจา

๒๔๓๒  เดินทางไปราชการทำแผนที่พระราชอาณาเขตที่เมืองอุบลราชธานี  เมืองนครจำปาศักดิ์  เมืองเชียงโฮม 
เมืองผาบาง  เมืองพิ่น  เมืองตะโปน  เมืองสาละวัน  เมืองอัตตะปือ  เมืองแสนปาง  ซึ่งอยู่ต่อกับเมืองญวน

๒๔๓๕  เดินทางไปราชการทำแผนที่พระราชอาณาเขตด้านหัวเมืองล้านนาที่ต่อแดนกับเมืองพม่าของอังกฤษ

๒๔๓๖  คุมทหาร ๑๐๐ นาย ทำการรักษาพระนครที่ประตูสามยอด เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ทิพยาภรณ์ และเหรียญรัชฎาภิเษก

๒๔๔๑  ได้รับเหรียญประพาสมาลา

๒๔๔๒  ได้เหรียญปราบฮ่อ มีโลหะเงินประดับ ๓ ขีด

๒๔๔๔  เป็นพระคำนวณคัคณานต์  ปลัดกรมแผนที่ซ้าย  และได้ไปราชการสอบสวนกรณีพิพาท
เรื่องพระราชอาราเขตด้านเมืองขุขันธ์ เมืองกะพงธม  และเมืองพรหมเทพ ทางเมืองพระตะบอง
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายฝรั่งเศส

๒๔๔๖  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภูษนาภรณ์  และเหรียญทวีธาภิเษก ทองคำ

๒๔๔๗  เป็นพระยาในบรรดาศักดิ์เดิม และตำแหน่งเดิม

๒๔๕๐  ได้รับเหรียญรัชมงคล

๒๔๕๓  โอนจากกรมแผนที่มาสังกัดกรมรังวัดที่ดิน กระทรวงเกษตราธิการ

๒๔๕๔  รับพระราชทานยศ อำมาตย์ตรี  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มัณฑนาภรณ์

๒๔๕๖  เป็นเจ้ากรมกรมรังวัดที่ดิน  กระทรวงเกษตราธิการ

๒๔๕๗  รับพระราชทานยศ อำมาตย์เอก

๒๔๕๘  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ตริตาภรณ์ช้างเผือก

๒๔๖๓  กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ  รับพระราชทานเบี้ยบำนาญเลี้ยงชีพ

๒๔๘๓  อายุได้ ๘๑ ปี  ถึงแก่อนิจกรรม

มีภรรยาคนแรก ชื่อ นางหนู อยู่ด้วยกัน ๑๗ ปี (๒๔๒๐-๒๔๓๖) ถึงแก่กรรม  มีบุตรชายหญิง ๕ คน

ได้ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อ นวม อยู่ด้วยกัน ๑๒ ปี (๒๔๓๗-๒๔๔๘) ถึงแก่กรรม  มีบุตรชายหญิง ๒ คน

ได้ภรรยาคนที่ ๓ ชื่อ หม่อมราชวงศ์มนัส  อยู่ด้วยกัน ๑ ปีครึ่ง  (๒๔๔๙-๒๔๕๑) ถึวแก่กรรม  ไม่มีบุตร

ได้ภรรยาคนที่ ๔ ชื่อ อุ่น  อยู่ด้วยกัน ๓๒ ปี (๓๑/๑๐/๒๔๕๑-๗/๗/๒๔๘๓) มีบุตรด้วยกัน ๒ คน
คุณหญิงอุ่น  คำนวณคัคณานต์ เกิด วัน ๑ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีเถาะ ๑๒๕๓  ถึงแก่กรรม ๖/๑/๒๔๙๐ อายุ ๕๖ ปี



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 มิ.ย. 12, 17:08
๖๕. ประวัติมหาเสวกตรี พระยาราชอักษร (ใช้ อัศวรักษ์)

จากหนังสือ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4979.0;attach=33256;image)



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 มิ.ย. 12, 17:10
*


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 มิ.ย. 12, 18:30
**


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 มิ.ย. 12, 19:11
จากประวัติพระยาราชอักษรชี้ให้เห็นว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยเสด็จเยาวราช
แต่จะเป็นครั้งเดียวกันกับที่ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงกล่าวไว้ใน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ว่า
ในระหว่างที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้นได้เสด็จฯ ไปพระราชทานพรในการสมรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ที่บ้านเจ่าสาวที่สำเพ็ง
เป็นการส่วนพระองค์ทั้งที่เจ้าภาพมิได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ  เพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวรเบื้องพระยุคลบาท

ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดพอจะมีข้อมูลเรื่อง หม่อมเจ้าจุลดิศทรงสมรสเมื่อปีใดจะกรุณามาขยายความจะเป็นพระคุณยิ่ง 


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 21 มิ.ย. 12, 23:06
จากประวัติพระยาราชอักษรชี้ให้เห็นว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยเสด็จเยาวราช
แต่จะเป็นครั้งเดียวกันกับที่ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงกล่าวไว้ใน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ว่า
ในระหว่างที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้นได้เสด็จฯ ไปพระราชทานพรในการสมรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ที่บ้านเจ่าสาวที่สำเพ็ง
เป็นการส่วนพระองค์ทั้งที่เจ้าภาพมิได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ  เพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวรเบื้องพระยุคลบาท

ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดพอจะมีข้อมูลเรื่อง หม่อมเจ้าจุลดิศทรงสมรสเมื่อปีใดจะกรุณามาขยายความจะเป็นพระคุณยิ่ง 

ต้องค่อยๆ แกะ ทีละนิดๆ

๑. หม่อมเจ้าจุลดิศ ประสูติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ถ้าจะทรงสมรสก็ต้องมีพระชนมายุประมาณ ๑๘-๒๕ ก็ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๕๙

๒. ในประวัติเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์ กล่าวถึงงานแต่งของหม่อมเจ้าจุลดิศ ว่า
"มาได้เห็นพิธีนั้นเป็นครั้งแรกเมื่อแต่งงานหม่อมเจ้าจุลดิศลูกชายใหญ่ของข้าพเจ้ากับนางสาวแช่ม เปาโรหิต (น้องเจ้าพระยามุขมนตรี(อวบ))
ทั้ง ๒ ฝ่ายพร้อมใจกันเชิญพระยาพฤฒาธิบดี (ปลอด) กับคุณหญิงหนูพฤฒาธิบดี อายุกว่า ๖๐ ปีแล้ว  ทั้ง ๒ คนเป็นผู้ปูที่นอนบ่าวสาว"

๓. พระยาพฤฒาธิบดี (อ่อน โกมลวรรธนะ) ได้เป็น "พระยาพฤฒาธิบดี ศรีสัตยานุรักษ์" ตำแหน่งผู้กำกับการถือน้ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕
แสดงว่าพระยาพฤฒาธิบดี (ปลอด) ต้องเสียชีวิตก่อนหน้านั้น แต่ไม่ก่อน พ.ศ. ๒๔๓๖ เพราะมีพระยาพฤฒาธิบดี (ชา)


กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 22 มิ.ย. 12, 07:58
ขอบพระคุณ คุณ art47

หม่อมเจ้าจุลดิศประสูติ ๒๔๒๔  พระชันษาใกล้เคียงกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่พระราชสมภพใน พ.ศ. ๒๔๒๓ และคงจะทรงคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนเสด็จไปศึกาาต่างประเทศ
หม่อมราชวงศ์สังขดิศ  ดิศกุล ทายาทของท่านชายเคยเล่าให้ฟังว่า  ล้นเกล้าฯ ทรงสนิทสนมกับท่านชายมาก  บางเวลาประทับรถม้าพระที่นั่งผ่านสถานที่ที่ท่านชายกำลังหัดทหาร
ถึงกับโปรดให้หยุดรถพระที่นั่ง  รับสั่งว่า หยุดดูจุลดิศหัดทหาร



กระทู้: ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เริ่มกระทู้โดย: sathanupan ที่ 23 มิ.ย. 17, 16:45
๖๖. ประวัติมหาเสวกตรี  พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ( นาค  สถาณุวัต )


      มหาเสวกตรี  พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์  ( นาค  สถาณุวัต )  ตจว. ตช. ตม. วปร ๓. รจพ. เกิดวันที่ ๑๖ มกราคม ปี ขาล พ.ศ. ๒๔๐๙  เป็นบุตรพระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงคราม ( ยัง  สถาณุวัต )  เมื่อปีวอก  พ.ศ. ๒๔๑๗  อายุ ๑๙ ปี  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รับราชการเป็นมหาดเล็กวิเศษอยูในเวรศักดิ์  ต่อมาถึง  พ.ศ. ๒๔๒๙  ไปรับราชการอยูในกรมราชเลขานุการ   ได้เป็นเสมียนตรี. โท. เอก  โดยลำดับ  ถึง  พ.ศ. ๒๔๓๔  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น  นายเวร  หัวหน้ากรมสรรพการ  แลได้พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์  เป็น  นายประสิทธิวรรณลักษณ์ หุ้มแพร มหาดเล็กวิเศษ  ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  หลวงประสิทธิวรรณลักษณ์  ถึง พ.ศ. ๒๔๔๓  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น  ปลัดกรมสรรพการ  ถึง พ.ศ. ๒๔๔๖  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้ากรมสรรพการ  พ.ศ. ๒๔๔๗  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระประสิทธิวรรณลักษณ์  และเป็นผู้ช่วยราชเลขานุการใน  พ.ศ. ๒๔๔๙  ต่อมา
            ถึง  รัชชกาลที่ ๖ ได้ พระราชทานยศเป็นรองเสวกเอก  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ และเลื่อนเป็นเสวกตรี ใน พ.ศ. ๒๔๕๕
      ถึง  พ.ศ. ๒๔๕๙  ได้เลื่อนยศเป็นเสวกโท  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์  ถึง  พ.ศ. ๒๔๖๑  ได้เลื่อนยศเป็นเสวกเอก  ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔  ได้เป็นตำแหน่งเจ้ากรมกองฎีกา  ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘  เลื่อนยศเป็น มหาเสวกตรี  พ.ศ. ๒๔๖๗  ย้ายไปเป็นตำแหน่งเจ้ากรมกองบัญชาการ
      ในระหว่างที่ พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ รับราชการอยู่ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นบำเหน็จความชอบหลายครั้ง  คือ 
      ในรัชชกาลที่ ๕ ได้ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้  พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕  เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๓๖  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามเลื่อนขึ้นเป็น ชั้นที่ ๔   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔
      ในรัชชกาลที่ ๖ ได้ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖  ได้  พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๓  ตริตาภรณ์   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔  ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๓  ตริตาภรณ์   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
      นอกจากนี้พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ยังได้พระราชทานเหรียญและเข็มที่ระลึกต่างๆ อีกหลายประการ คือ
      ในรัชชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานเหรียญรัชฎาภิเษก,  เหรียญราชินี, เหรียญประพาสยุโรป (ร.ศ. ๑๑๖) , เหรียญราชรุจิ, เหรียญทวิธาภิเษก
      ในรัชชกาลที่ ๖ ได้พระราชานเหรียญราชรุจิกาไหล่ทอง, เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓, เหรียญบรมราชาภิเษก, เหรียญที่ระลึกงานเฉลิมพระชนม์พรรษาสมเด็จพระพันปีหลวง, เข็มข้าหลวงเดิม, เข็มโอราพต, เข็มพระบรมนามาภิธัย ชั้น ๒, ดุมทองคำลงยาอักษร พระบรมนามาภิธัย ย่อ วปร. ชั้น ๑, เสมาอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อทองคำลงยา, เหรียญจักรพรรดิมาลา
      ในรัชชกาลที่ ๗ ได้ พระราชทานเหรียญบรมราชาภิเษก, เหรียญศารทูลมาลา
      พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์เป็นสมาชิกเสือป่าได้ พระราชทานยศตั้งแต่เป็นนายหมู่ตรี ขึ้นมาจนเป็น นายกองตรี  นอกจากนี้ยังได้เป็นตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยสาราณิยกร ในหอพระสมุดวชิรญาณในรัชชกาลที่ ๕  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ด้วย
      พระยาประสิทธิวรรณลักษณ์ ทำงานสมรสกับ คุณหญิงประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ( ห่วง )  ตั้งแต่ยังรับราชการเป็นเสมียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒
คุณหญิงประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ( ห่วง )  เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ปีมะเมีย  พ.ศ. ๒๔๑๓  เป็นธิดาจางวางถมยาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าอินทนิล  มารดา ชื่อ อ่อน  ทำงานสมรสกับพระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ป่วยเป็นดรคภายในถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ อายุได้ ๔๙ ปี
      พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์รับราชการตั้งแต่รัชชกาลที่ ๕ จนรัชชกาลปัจจุบันนี้รวมเวลา ๔๓ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ เข้าเขตต์ชรา จึงกราบถวายบังคมลาออกรับพระราชทานเบี้ยนำนาญ อยู่ต่อมาได้อีกปี ๑ ถึงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑  ป่วยเป็นโรคลมถึงแก่กรรมคำนวณ อายุได้ ๖๒ ปี
      พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์มีบุตรธิดากับคุณหญิง ห่วง ๗ คน คือ
      ที่ ๑ ธิดาชื่อเพฑาย เกิดวันที่ ๑๕ กันยายน ปีมะโรง  พ.ศ.๒๔๓๕  ได้ทำงานสมรสกับขุนจิตรอักษร      ( สมบูรณ์  โกกิลกนิษฐ์ ) เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ป่วยเป็นโรคภายในถึงแก่กรรม  เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ คำนวณอายุได้ ๓๗ ปี
      ที่ ๒ บุตรชื่อไพฑูรย์
      ที่ ๓  ธิดาชื่อกมล
      ที่ ๔  ธิดาชื่อสุรีย์
      ที่ ๕  บุตรชื่ออุไทย
      ที่ ๖  ธิดาชื่อวิเชียร
      ที่ ๗  ธิดาชื่อประเทือง
....................................................