เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 28 พ.ค. 07, 03:50



กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 28 พ.ค. 07, 03:50
บุเรงนอง กะยอดินนรธา ที่คนไทยรู้จักนั้นมีผู้ออกเสียงไว้หลายแบบเพื่อให้ใกล้เคียงกับภาษาพม่ามากที่สุด เช่น บาเยงนอง(จอเดงนรธา) บายิ่นหน่อง บุริงหน่อง(จอถิงนรธา) บยิ่นเนาว์ ฯลฯ เพราะคำพม่านั้นยากที่จะถอดออกเสียงออกเขียนมาเป็นอักษรไทยได้ โดยสะกดในอักษรโรมันว่า Bayinnaung Kyaw Htin Nawratha

พระนามเดิม

Cha Thet = จะเต็ต หรือ จะเต๊ะ / (ไทย)จะเด็ด = เจ้าปลวกไต่
จะ=ปลวก, เต็ต=ไต่
ได้นามนี้เมื่อแรกเกิด
เพราะมีตำนานว่าเมื่อยังเป็นทารกมีปลวกไต่เต็มตัวแต่ไม่ได้รับอันตราย

Shin Ye Tut = เชงเยทุต = เจ้าผู้ยอดกล้า
เชง=เจ้า, เย=กล้าหาญ, ทุต=(ในบริบทนี้ควรจะแปลว่า)ยอด
ได้นามนี้ในวัยเยาว์
เพราะเป็นขุนพลผู้กล้าหาญ ตัวอย่างเช่น เมื่ออายุแค่ ๑๕ ตามเสด็จตะเบงชะเวตี้พร้อมด้วยทหารเพียง ๕๐๐ เพื่อทำพิธีเจาะพระกรรณและเกล้ามวยผม(แสดงว่าเป็นผู้ใหญ่ ประเพณีไทยคือโสกันต์(โกนจุก)) ที่พระธาตุมุเตา(ชเวมอดอ)อันอยู่ชานกรุงหงสาวดีข้าศึก(ขณะนั้นยังไม่ได้เป็นของพม่า) ท่ามกลางวงล้อมทหารมอญมากมาย และต้องฝ่าวงล้อมเพื่อกลับตองอู

ราชทินนาม/บรรดาศักดิ์/ยศศักดิ์

Kyaw Htin Nawratha = จอเดงนรธา /(ไทย)กะยอดินนรธา
=กฤษฎานุรุทธ์??? แปลว่า ผู้มีกฤษฎาภินิหาร, ผู้ทรงเดชา???
ได้ราชทินนามนี้ภายหลังพระเจ้าตะเบงชเวตี้ขึ้นครองราชย์(พ.ศ. ๒๐๗๔) และได้อภิเษกสมรสกับตะเกงจีพระพี่นางของพระเจ้าตะเบงชเวตี้แล้ว(ขณะนั้นบุเรงนองอายุ ๑๙ ประมาณพ.ศ. ๒๐๗๗???)

Bayinnaung = บาเยงนอง /(ไทย)บุเรงนอง /(โปรตุเกส)Braginoco
บาเยง=เจ้าเมือง, นอง=พี่
บาเยงนอง = พระเชษฐา(ผู้เป็นเจ้าเมือง)
ได้รับภายหลังแสดงวีรกรรมที่สมรภูมินองโย(พ.ศ. ๒๐๘๒) คราวยกทัพติดตามพระเจ้าสการะวุตพีกษัตริย์มอญ ที่หนีจากหงสาวดีไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้านรบดีกษัตริย์เมืองแปร เป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของบุเรงนองในยุคแรก จนถึงกับมีการแต่งวรรณกรรมถึงชัยชนะครั้งนี้ และรับพระราชทานให้ขึ้นรั้งเมืองลาย (Hling) เป็นรางวัล พร้อมทั้งนาม “บาเยงนองดอ” (พระเชษฐาธิราช) ในฐานะที่เป็นพี่ร่วมนม???และพี่เขย ซึ่งตำแหน่งนี้เทียบเท่ามหาอุปราชา

นับตั้งแต่นั้นนาม “บาเยงนอง” หรือ “บาเยงนอง จอเดงนรธา” (บุเรงนอง กะยอดินนรธา) ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วในทุกชนชาติ จนแม้บุเรงนองขึ้นครองราชย์แล้ว พระนามนี้ก็เป็นที่รู้จักมากกว่าพระนามอื่นๆ จนมาถึงปัจจุบันนี้

พระนามภายหลังครองราชย์
พระนามอย่างเป็นทางการเมื่อขึ้นครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๒๐๙๔ คือ พระเจ้า สิริตรี ภวนาทิตยา ปวรปัณฑิต สุธรรมราชา
( สิริตรีภวนาทิตยาปวระปัณฑิตาสุธรรมะมหาราชาธิบดี , ศรีตรีภวนาทิตยาบวรบัณฑิต สุธรรมราชามหาธิบดี , สิริตรี ภวนา ดิทา บวร บัณฑิต สุธรรมราช??? )

เรียกโดยย่อว่า สิริสุธรรมราชา

มีสมัญญามากมาย เช่น

พม่า
หานตาวดีเซงพยูมยาเชง Hanthawady Hsinbyu-myashin (หานตาวดีเซงพยูมยาตะเกง, หานตาวดีเซงพยูเชง Hanthawady Hsinbyshin)
อันแปลว่า "พระเจ้าหงสาวดีช้างเผือก"

เซงพยูเชงนีมยาตะเกง ภวเชงเมงตยาจีพะยา=พระมหาธรรมราชาพระเจ้าช้างเผือกแลช้างเนียม
(Min=เมง=กษัตริย์, ตยา=ธรรม, เชง (Shin), ตะเกง, =กษัตริย์, เซงพยูมยา=มีช้างเผือก(หลายเชือก หรือหลายปะเภทก็ได้), Hanthawady=หานตาวดี=หงสาวดี)

Min Ekaraj
เมง เอกเระ = พระเจ้าเอกราช ผู้เป็นใหญ่ในชมพูทวีป

มอญ
Tala Nah Jamnah Duih Cah
ตะละพะเนียเทอเจาะ = พระเจ้าชนะสิบทิศ (สมญาที่รู้จักกันแพร่หลาย)
Tala Nah=เจ้า,Jamnah=ผู้ชนะ.Duih=ทิศ,Cah=สิบ

พงศาวดารมอญ-พม่า ที่แปลเมื่อพ.ศ. ๒๔๐๐ เรียก พระเจ้าฝรั่งมังตรี

 

 
 


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 28 พ.ค. 07, 04:19
สมญา "ผู้ชนะสิบทิศ" นั้นพึ่งจะมีขึ้นเมื่อยาขอบนำเรื่องของบุเรงนองมาแต่งเป็นนิยาย โดยแผลงมาจาก "พระเจ้าชนะสิบทิศ"

คุณมาลัย ชูพินิจ เป็นผู้ตั้งชื่อผู้ชนะสิบทิศให้ ผู้ชนะสิบทิศตีพิมพ์ครั้งแรกลงใน นสพ.ประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ในตอน " ความรักครั้งแรก " ฉบับพิมพ์รวมเล่มใช้ชื่อ "ลูกร่วมนม" สร้างชื่อเสียงให้ยาขอบได้แจ้งเกิด จนกลายเป็นกระแสไปทั่วทุกเพศทุกวัย ว่ากันว่าแม้แต่บรรพชิตก็ยังอ่านอย่างไม่กลัวอาบัติ (โดยเคยพิมพ์เป็นเรื่องสั้นชื่อยอดขุนพลมาก่อนในปีพ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งได้กลายเป็นตอนต้นของผู้ชนะสิบทิศในฉบับรวมเล่ม)

สันนิษฐานว่าที่ใช้ชื่อว่าผู้ชนะสิบทิศเพราะ
๑. ชื่อนี้น่าจะติดหูมากกว่าพระเจ้าชนะสิบทิศ ที่ฟังดูเป็นพงศาวดารมากกว่า
๒. ช่วงนั้นเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กระแสนิยมสามัญชนเพิ่มมากขึ้น การใช้ชื่อผู้ชนะสิบทิศจะทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมมากกว่าเพราะ "จะเด็ด" ก็ไต่เต้าจากสามัญชน เป็นการแสดงให้เห็นว่าสามัญชนก็สามารถเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ได้
ชื่อ"ผู้ชนะสิบทิศ"ทำให้ดูเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่า"พระเจ้าชนะสิบทิศ"ที่ดูเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเรื่องไกลตัวสำหรับสามัญชน


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 28 พ.ค. 07, 04:24
ทั้งหมดนี้มาจากพงศาวดาร ตำนาน และวรรณกรรม จึงอาจมีข้อผิดพลาดได้ เพราะแม้แต่ตำราประวัติศาสตร์ที่ชำระขึ้น ก็อาจมีข้อผิดพลาด (คัดลอกผิด, อคติ) หรือมีการตีความแตกต่างกัน ทั้งมักมีหลักฐานใหม่ๆ รวมถึงข้อโต้แย้งต่างๆ (เช่น บุเรงนองเป็นลูกไพร่หรือลูกเจ้า)
ดังนั้นถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 28 พ.ค. 07, 20:34
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกระทู้ บุเรงนอง กะยอดินนรธาhttp://www.reurnthai.com/index.php?topic=2235.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2235.0)


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 01 มิ.ย. 07, 02:15
ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเอ่ยนามพระเจ้าหงสาวดี ๓ องค์
๑ พระเจ้าหงสาปังเสวกี (ตะเบงชเวตี้)
๒ พระเจ้าหงสานิพัตร (บุเรงนอง)
๓ พระเจ้าหงสางาจีสยาง (งะสุทายะกะ คือ นันทบุเรง)

ในพงศาวดารที่ชำระในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เรียกพระองค์ว่า
สมเด็จพระเจ้ากรุงหงสาวดีลิ้นดำ??? (โดยหมายถึงทั้งตะเบงชะวเตี้และบุเรงนอง เพราะในสมัยนั้นคิดว่าเป็นองค์เดียวกัน)
สมเด็จพระเจ้าชนะสิบทิศ

พงศาวดารโยนก เรียก เจ้าฟ้าบยินนอง

สังคีติยวงศ์เรียกว่า เอโก ราชา หงสานคร รชชํ แปลว่า "พระเจ้าเอกราช"ผู้ครองราชสมบัติในหงสานคร (พระเจ้าเอกราช คือ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองทวีปเดียวคือชมพูทวีป)
ความหมายเดียวกับ เมง เอกเระ ที่อธิบายไว้ตอนตั้งกระทู้


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 01 มิ.ย. 07, 03:00
<table cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tr><td><img src=" rtimages/RW1748x1.jpg">
 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเล่าว่า

ต้นตระกูล(ทางฝ่ายชาย)ของราชวงศ์จักรี เป็นชาวเมืองหันสวัตตี  หรือที่บิชอปปาเลอกัวส์เรียกเพี้ยนไปว่า "หงสาวดี"  เมืองหลวงของอาณาจักรพะโค

Pegu ก็คือพะโค หรือมอญ

ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง หรือ Jumna ti cho (ออกเสียงอย่างมอญ)

(คำนี้ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์(พร บุนนาค) ผู้ถอดความพระราชหัตถเลขา ท่านถอดออกมาว่า ยุมนาติโช 

ส่วนดิฉันเข้าใจว่า Jumna ถ้าสะกดด้วยอักษรโรมัน(ไม่ใช่อังกฤษ) อ่านว่า ชุมนะ หรือชำนะ 

ส่วน ti cho อ่านว่า ติโช   หรือบาลีเรียกว่า เตโช   ไทยเราเรียกว่า เดช)

เรียกว่าพระเจ้าเดชชำนะ ก็คงได้...ถ้าถอดออกมาได้ถูก


คำต่อมาคือ  Dusadisawijay  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ออกเสียงว่า ดุษดีวิชัย  ส่วนดิฉัน อ่านว่า ทุศทิศวิชัย  (หรือทศทิศวิชัย แปลว่าผู้ชนะสิบทิศ)อันเป็นสมญาของพระเจ้าบุเรงนอง  (ยาขอบก็ใช้คำนี้) </td></tr></table>


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 01 มิ.ย. 07, 05:02
ในจารึกบนระฆังที่บุเรงนองให้สร้างขึ้นออกพระนามว่า
สิริปรมมหาธัมมราชา
และพระอัครมเหสี(พระพี่นางตะเบงชเวตี้)ว่า
สิริอัคคมหาธัมมราชเทวี


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 15 พ.ย. 08, 00:04
มีเรื่องของ พระเจ้าอนอกแพะลุน พระเจ้าหลานเธอใน พระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง

ที่กระทู้ด้านล่างนี้นะครับ

พระเจ้ามหาธรรมราชา อนอกแพะลุน (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2703.0)


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 01 ธ.ค. 08, 11:59
ขออนุญาตแจ้งข้อมูลที่ได้รับ เมื่อมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวเมืองหงสาวดีเมื่อต้นปี มัคคุเทศก์ชาวพม่าเล่าให้ฟังว่า

หงสาวดีเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง โปรดให้สร้างพระราชวังของพระองค์ที่ชื่อ กัมโพชธานี ซึ่งนับเป็นพระราชวังใหญ่โตมีประตูทางเข้าออกถึง 10 ประตู ทิศเหนือห้าประตูทิศใต้ห้าประตู สร้างโดยเกณฑ์ข้าทาสจากเมืองขึ้นต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นมีเมืองเชียงใหม่และอยุธยารวมอยู่ด้วย ทุกครั้งที่ทรงชนะศึกจะเสด็จนำทัพกลับเข้าประตูเมืองที่จะต้องไม่ซ้ำประตูเดิม แล้วจะทรงตั้งชื่อประตูตามชื่อเมืองที่ทรงตีได้ (ประตูโยเดียก็เป็นหนึ่งในนั้น) พระเจ้าบุเรงนองทรงพระปรีชาสามารถยกทัพไปตีเมืองต่างๆได้จนกระทั่งทรงตั้งชื่อประตูตามชื่อเมืองขึ้นต่างๆได้จนครบ ๑๐ ประตูทั้งทางทิศเหนือและทิศใต้ จนมีผู้เรียกพระองค์ท่านว่า ผู้ชนะสิบทิศ



 


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: พระยาสุเรนทร์ ที่ 01 ธ.ค. 08, 19:38
ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ


กระทู้: ว่าด้วยนามของผู้ชนะสิบทิศ
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 04 ต.ค. 09, 01:30
ความคิดเห็นที่ 6   

บุเรงนอง  เป็นชื่อที่เรียก แบบไทย  จนเป็นที่นิยมใช้แล้ว

เสียงภาษาพม่า  คือ "บะ-ยิ่ง-เหน่าง์"
อาจารย์บางท่าน ออกเสียง "เหน่าง์"  ง่าย ๆ ว่า  "หน่อง"

แต่ขอให้ลองออกเสียง "เหน่าง์" ให้เสียง ง  ขึ้นจมูกดู
จะกังวานกว่าเสียง "หน่อง" มาก

ขออภัย ลืมแก้คำผิดในภาพประกอบจาก "ยิ่น" เป็น "ยิ่ง"
เสียง ง กับ น สะกด บางทีใช้สลับกันได้ เพราะเป็นเสียงนาสิกเหมือน n,m ของฝรั่งเศส


"บะยิ่ง" ที่เขียนมี จุด พินทุ ข้างล่าง แปลว่า "ของพระราชา"
ถ้าไม่มี จุดข้างล่าง กลายเป็นเสียง "บะหยิ่ง" แปลว่า "พระราชา"
"เหน่าง์" แปลว่า "พี่ชาย"  (แต่จริง ๆ บุเรงนอง  เป็น พี่เขย)


ส่วน พระเจ้า Anaukpetlun ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าบุเรงนอง  เป็นกษัตริย์อังวะที่จับ ฟิลิปเดอบริโต ได้
เสียงภาษาพม่า คือ " อะเน่าก์แพะหลุ่นมิง"
แปลตามตัวคือ "พระราชาแห่งทิศตะวันตก"
เพราะ "อะเน่าก์" แปลว่า "ทิศตะวันตก" , "แพะ" แปลว่า "ด้าน,ฝ่าย,ข้าง"
"หลุ่น" เป็นเสียง น นาสิก


จากคุณ : นายช่างปลูกเรือน    - [ 11 พ.ย. 51 11:29:39 ]

(ที่มา http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K7194744/K7194744.html)