เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: chounws ที่ 06 พ.ย. 11, 10:14



กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 06 พ.ย. 11, 10:14
เนื่องจากน้ำท่วมบ้างแถวบางบัวทอง :'( จึงต้องอพยพมาอาศัยอยู่ศรีราชา ความทุกข์ทางกายมีเล็กน้อยแต่ทางใจนั้นเหนือจะกล่าว
ยังดีที่ขนอุปกรณ์ถ่ายภาพของรักติดตัวมาได้ เลยพอที่จะใช้เวลาว่างอันเหลือเฝือเสาะหาว่ามีภาพเขียนฝาผนังแถวๆชลบุรีที่ใดบ้าง
ก็พบว่าในวัดอ่างศิลามีภาพเขียนอยู่ด้วย จึงบันทึกไว้และนำลงในเว็บที่ลิงค์นี้ครับ...http://www.pbase.com/chounws3/wat_ang_sila
ดูตัวอย่างกันครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 06 พ.ย. 11, 10:15
ลงภาพภายใน


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 06 พ.ย. 11, 10:19
เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลโดยรวมของภาพเขียนว่าเขียนในสมัยใด ต้องรบกวนท่านผู้รู้ครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 06 พ.ย. 11, 14:52
ดูจากรูปแบบสถาปัตย์และรูปแบบจิตรกรรมน่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่๔ลงมาครับ     ขออนุญาติเก็บข้อมูลสำหรับการศึกษานะครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 06 พ.ย. 11, 16:25
ด้วยความยินดีครับ แล้วจะทะยอยลงรูปที่เหลือต่อไป
ขอให้ปลอดภัยจากน้ํากันนะครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 พ.ย. 11, 16:35
ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 08 พ.ย. 11, 15:14

วัดนี้พระอุโบสถเป็นแบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่3คือไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ เท่าที่ทราบภาพเขียนเขียนเมื่อปีพ.ศ.2368หลังรัชกาลที่3ครองราชย์มา1ปี ช่างเขียนเป็นช่างจาดวัดจักรวรรดิ์(วัดสามปลื้มกรุงเทพ) ชื่อนายปลื้มกับนายแดงเป็นผู้เขียน ฝีมือปัจจุบัน เป็นฝีมือที่ซ่อมสมัยรัชกาลที่4-5ซึ่งยังคงมีความงดงามอยู่มาก ข้าพเจ้าเคยไปชมมากว่า26ปีที่แล้วแล้วก็ไมได้ไปมาอีกเลย ขอขอบคุณคุณchounws ที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมแล้วยังมีน้ำใจไปถ่ายภาพมาให้ชม


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 08 พ.ย. 11, 20:00
ด้วยความยินดียิ่งครับ คุณ Jean กายไม่ลำบากมากนัก แต่ใจค่อนข้างแย่ เลยจับกล้องที่ขนออกมาได้ออกหาว่ายังมีวัดไหนบ้างที่มีจิตรกรรมฝาผนังสวยๆ ก็นับว่าโชคดีที่พบวัดอ่างศิลาแห่งนี้ครับ
ภาพขนาดใหญ่ไปดูตามลิงค์ในโพสแรกนะครับ นำไปใช้ได้ครับ
ภาพผนังฝั่งตรงข้ามพระประฐาน


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 08 พ.ย. 11, 20:04
อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ได้ติดออกมาด้วยอย่างเช่นขาตั้งกล้อง เลยทำให้ต้องถ่ายภาพโดยใช้แฟลชตัวเล็กๆตัวเดียว ถ้ายังอยู่นานอาจจะหาทางหาขาตั้งกล้องและถ้าน้ำยังไม่ลดจะกลับไปทีวัดนี้ใหม่ครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 08 พ.ย. 11, 20:09
สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตุคือตำแหน่งที่ตั้งของวัดและพระอุโบสถอยู่ในที่สูงมาก ไม่มีร่องรอยของน้ำ เช่นน้ำท่วมมาทำลายสภาพของภาพเขียนเลยครับ ดีมาก และแสดงว่าถ้ามีการรักษาดีๆแล้วภาพเขียน
แบบไทยเราก็สามารถคงทนได้ขนาดนี้ เป็นข้อมูลใหม่สำหรับผมครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 09 พ.ย. 11, 12:07
ที่ตั้งของวัดนี้เดิมเป็นของคหบดีชั้นสูงของเมืองชล ท่านคงเลือกทำเลที่ดีในการสร้างที่อยู่นะครับ สำหรับจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติส่วนที่บานประตูนั้นเป็นปริศนาธรรม อิทธิพลของภาพเขียนร.3ยังมีอยู่มากเช่นจีวรองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีการเขียนลายทองแบบผ้าแพรจีนที่มีการนำเข้ามาในสมัยนั้น มีตัวอย่างให้เห็นชัดเจนที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดโพธิ์


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 พ.ย. 11, 19:44
เข้ามาชมวัดอ่างศิลา วัดแห่งนี้ได้ยินชื่อมานานแล้วในวงการพระเครื่อง คือ เจ้าคุณศรี (2414-2510) ได้สร้างพระปิดตาอันเป็นสายตะวันออกได้อย่างลือชื่อมากครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 09 พ.ย. 11, 21:58
ขอนอกเรื่องจากวัดอ่างศิลาหน่อยครับ เพราะในเมื่ออยู่ในเมืองชลฯก็เลยอยากจะหาโอกาสไปบันทึกภาพที่วัดอินทราราม ในตัวเมืองชลฯบ้าง มีท่านใดพอจะแนะนำพระคุณเจ้าหรือท่านใดที่จะไปขออนุญาติเข้าชมได้บ้างหรือไม่ครับ หรือมีข้อมูลวัดอื่นในบริเวณ ชลบุรี ระยอง ขอคำแนะนำด้วยครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 10 พ.ย. 11, 12:32
ลองติดต่อคุณเน(Amarain)โทร 0816527680เพราะน้องเป็นคนชลบุรีเคยไปถ่ายที่วัดใหญ่อินทาราม บอกว่ามาจากพี่ยีนส์ ถ้าได้ไปขอให้ถ่ายทั้งที่อุโบสถและวิหารและพระมณฑปนะครับ ถ่ายเผื่อผมด้วย โดยเฉพาะในวิหารค่อนข้างชำรุดเกือบหมดแล้ว ที่ชลบุรียังมีวัดต้นสนที่อยู่ใกล้วัดใหญอินทาราม และวัดราษฎร์บำรุง วัดตาลล้อมที่อยู่อำเภอเมืองและวัดใต้ต้นลาน วัดโบสถ์ ที่พนัสนิคม ส่วนที่ระยอง มีที่วัดเขาโบสถ์ อำเภอเมือง วัดไตรรัตนารามอำเภอแกลงวัดสุวรรณรังสรรค์ วัดสระแก้ว วัดชลธาราม วัดภูดรนิ่มเสนาะ วัดเนินกระบอก (ทั้งหมดอยู่อำเภอบ้านฉาง) ทั้งหมดนี้ผมไม่แน่ใจว่าภาพเขียนจะสวยแค่ไหน สมัยไหน แต่ทั้งหมดเป็นข้อมูลสำรวจจิตรกรรมของกรมศิลป ถ้ามีโอกาสไปสำรวจและถ่ายภาพก็ลองไปดูครับ
และอีกวัดที่อยากให้ไปคือวัดโขดทิมธาราม(อ่านรายละเอียดดู)
 
วัดโขดทิมธาราม
               วัดโขด (วัดทิมธาราม)มีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ อาทิเช่น วัดโขด (ทิมราชธาราม) หรือ วัดโขด (ทิม ทราราม) กล่าวกันว่าที่ได้ชื่อเช่นนี้ เพราะพระยาระยอง ผู้เป็นเจ้าเมืองนั้นมีนามเดิมหรือนามจริงว่า “ทิม” เป็นผู้สร้างวัดนี้ แต่ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกกันสั้นๆว่า “วัดโขด” อันเนื่องมาจากวัดนี้มีที่มาจากที่ตั้งที่อยู่บนโขดทรายติดกับแม่น้ำระยอง ตอนท้ายเมืองหรือแถบชานเมืองในสมัยก่อน อยู่คู่กับเมืองระยองมากกว่า 500 ปีมาแล้ว จากปากคำที่บอกเล่าสืบกันมา แจ้งว่าวัดโขดนี้สร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2007 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2031) แต่มีพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งบอกว่า ทางกรมศิลปากรแจ้งว่าวัดโขดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2113 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระบรมราชชนกในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกปีหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าอาศัยสิ่งใดเป็นหลักฐานอ้างอิง อย่างไรก็ตาม วัดนี้ก็มีอายุไม่น้อยกว่า ศตวรรษแล้ว โดยทางวัดขาดการดูแลรักษา ถูกทิ้งรกร้างปล่อยให้ปรักหักพัง จนถาวรวัตถุเก่าแก่คู่กับวัดมาแต่เดิมแทบไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่เลย ประกอบกับอุโบสถเก่าทั้งเล็ก คับแคบ และทรุดโทรม จนไม่สามารถทำสังฆกรรมได้ ต้องสร้างใหม่ขึ้นเมื่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2518 (แล้วเสร็จบริบูรณ์ในปี 2528) ศาลาการเปรียญที่ใหญ่โต โอ่อ่า และบรรดากุฏิเสนาสนะทั้งหลายเป็นของสร้างใหม่ทั้งหมด จนเป็นเสมือนวัดใหม่สร้างขึ้นบนพื้นที่ของวัดเก่าจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถหลังเก่าวัดโขดภายในวัดโขด (ทิมธาราม) นี้ มีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเขียนสีโบราณล้ำค่าอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า ที่อยู่ทางทิศตะวันออกมุมใต้สุดของวัด ไกลออกไปจากศาลาและโบสถ์หลังใหม่ ปัจจุบันมิได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมใดๆ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดโขดหลังเก่านี้น่าจะเป็นฝีมือของจิตรกรท้อง ถิ่น เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นภาพทศชาติ ชาดกที่ผนังด้านนอกหน้าอุโบสถด้านทิศตะวันออก ตรงหน้าพระประธาน มีภาพปางมารวิชัยเขียนไว้ด้วย แต่เลือนรางมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดโขด (ทิมธาราม) นี้ พระนคร สนฺตินคโร อายุ 78 ปี ผู้ดูแลอุโบสถหลังเก่าแจ้งว่ากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่จะ ต้องอนุรักษ์ไว้แล้ว

สมุดภาพจิตรกรรม

              สมุดภาพจิตรกรรมเก่าแก่ เป็นสมบัติทางศิลปกรรมล้ำค่าอีกสิ่งหนึ่งของวัดโขด มีลักษณะเป็นสมุดข่อยหรือสมุดไทยแบบโบราณ ภายในมีภาพลายเส้นของตัวพระ นาง ลิง ยักษ์ มีอยู่ทั้งหมดด้วยกันรวม 7 เล่ม เป็นภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยา 2 เล่ม และสมัยรัตนโกสินทร์อีก 5 เล่ม เข้าใจว่าน่าจะเป็นสมุดภาพตำราเกี่ยวกับนาฏศิลป์ โขน ละคร และการฟ้อนรำ




กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 10 พ.ย. 11, 18:38
ขอบคุณครับได้ข้อมูลมากเลยวันเสาร์ว่าจะเข้าไประยอง
จะต้องไปให้ได้ครับ


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: ืnontree ที่ 22 พ.ย. 11, 13:46
ไม่ทราบว่าไปวันเวลาอะไรครับที่ให้เข้า ผมเคยไป  ปิดสนิท


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 23 พ.ย. 11, 14:30
การที่วัดปิดพระอุโบสถ เป็นเรื่องปกติ ของวัดส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เพราะทางวัดอาจขาดบุคลากรดูแลในเวลาที่ไม่ได้ประกอบสังฆกรรม แล้วก็เป็นการปลอดภัยต่อผู้ไม่หวังดีที่จะเข้าไปโจรกรรมของมีค่าต่างๆในพระอุโบสถ ดังนั้นหากไปวัดไหนแล้วโบสถ์ไม่เปิด ก็ให้ติดต่อเจ้าอาวาสกราบเรียนจุดประสงค์ว่าต้องการอะไร ท่าจะอำนวยความสะดวกให้ได้หรือไม่ ถ้ามีหนังสือไปแจ้งก็จะเป็นอันดีทำให้ดูมีเครดิตน่าเชื่อถือมากขึ้นครับ
ถามถึงคุณchounwsว่า ได้ไประยองถ่ายภาพมารึยังเอามาอวดบ้างครับอยากดู


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: chounws ที่ 24 พ.ย. 11, 16:26
พลาดโอกาส ไประยองครับ เพราะต้องกลับมาใกล้บ้านเนื่องจากงานการที่ยังต้องทำครับ
แต่กำลังจะประชดการที่ยังกลับเข้าบ้านไม่ได้มา 36 วันแล้ว โดยจะไปเที่ยวอิสานใต้ กะว่าวัดแรกที่จะเข้าชมและบันทึกภาพคือ วัดทุ่งศรีเมืองที่ อุบล ครับ
และเนื่องจากค้นหาข้อมูลได้ว่ายังมีวัดในแถบอิสานค่อนมาทางใต้ที่มีภาพเขียนตามข้อมูลของ ไพโรจน์ สโมสร อยู่ถึง แต่เนื่องจากสำรวจไว้นานแล้วจึงไม่ทราบว่าท่านใดมีข้อมูลที่ทันสมัยหรือไม่ว่า
ยังคงสภาพและเข้าชมได้หรือไม่ เพราะต้องเดินทางไปไกลที่เดียว ผมตัดแปะข้อมูลตามนี้ครับ

จากการศึกษาสำรวจฮูปแต้มตามวัดในภาคอีสานของไพโรจน์ สโมสร และคณะ พบว่ามีฮู
ปแต้ม 74 วัด สามารถจำแนกตามเนื้อเรื่องที่ปรากฏได้สองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเรื่องทางศาสนา ได้แก่
พุทธประวัติ พระมาลัย ไตรภูมิ อรรถกถาชาดก ปริศนาธรรม กลุ่มที่สองเรื่องทางวรรณกรรมท้องถิ่น
ได้แก่ สินไซ พระลัก-พระลาม สุริวงศ์ กาละเกด ปาจิตต์อรพิมพ์ (ไพโรจน์ สโมสร และคณะ. 2532 :
39-41)
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่างแต้มอีสานมีความนิยมสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังสิมจำนวน
มาก เช่น จิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกและรอยพระพุทธบาท วัดหน้าพระธาตุ บ้านตะคุ อำเภอ
ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยฝีมือช่างพื้นบ้าน (เสมอ อนุรัตน์วิชัยกุล. 2536 : 32)
ไพโรจน์ สโมสร และคณะ ได้ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังอีสาน พบว่า สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.
2394-2411) ช่างแต้ม อีสาน สร้างผลงานจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดก พุทธประวัติ จุลปทุม
ชาดก ปาจิตตกุมารชาดก ที่วัดทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จิตรกรรมฝาผนัง สิมวัด
ไตรภูมิคณาจารย์ บ้านตากแดด อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดมหาสารคาม (พ.ศ.2400) จิตรกรรมฝาผนัง
สิมวัดบรมคงคา ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ.2408) ในสมัยรัชกาลที่5
(พ.ศ.2411-2453) มีการสร้างจิตรกรรมเป็นภาพวิถีชีวิตชาวบ้าน บนฝาผนังสิมวัดมหาธาตุ อำเภอเชียง
คาน จังหวัดเลย (พ.ศ.2437) จิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ พระมาลัย เวสสันดรชาดก และสินไซ บนฝา
ผนังสิมวัดท่าเรียบ ตำบลหนองหว้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ (พ.ศ.2455) สมัยรัชกาลที่ 6
(พ.ศ.2453-2468) ช่างแต้ม อีสาน สร้างผลงานจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดก สินไช บนฝาผนัง
ด้านนอกสิมวัดพุทธสีมา บ้านฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (พ.ศ.2462) จิตรกรรมฝาผนัง
เรื่องพุทธประวัติ และเวสสันดรชาดก ที่ผนังสิมวัดกลางอุดมเวทย์ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
(พ.ศ.2461) สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2477) ช่างแต้มอีสาน สร้างผลงานจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง
เวสสันดรชาดก ที่ผนังสิมวัดบ้านเปลือยใหญ่ ตำบลเปลือยใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
(พ.ศ.2471) จิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ พระรามชาดก และสินไซ บนฝาผนังด้านนอกและด้านในสิม
วัดสระแก้ว บ้านวังคูณ ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองส


กระทู้: ภาพเขียนฝาผนังในวัดอ่างศิลา
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 25 พ.ย. 11, 14:27
เป็นอีกวัดหนึ่งที่ยากไปจริงๆครับ เขียนจิตรกรรมเสียเต็มเกือบทุกตารางนิ้ว ช่างขยันจริงๆ ;D