เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: sigree ที่ 15 ม.ค. 13, 16:05



กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 15 ม.ค. 13, 16:05
(http://f.ptcdn.info/182/001/000/1358076215-serambi01-o.jpg)
เนื่องในงานสถาปนิกทักษิณประจำปีนี้ ซึ่งจะจัดที่ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มอ หาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 31 มค - 3 กพ 2556
ทาง ภาคีสถาปัตย์ฯปัตตานีและสมาคมสถาปนิกทักษิณได้เชิญ Prof. Dato' Dr. Othman Yatim จาก UNIVERSITY OF MALAYA (UM) มาบรรยายพิเศษเรื่อง Trangganu Architecture
ซึ่งจะบรรยายในวันเปิดงานคือวันที่ 1 กพ 2556 เวลา 14:00 - 16:00 น.
ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษา เราจะจัดล่ามเพื่อการบรรยายครั้งนี้ด้วย

จึงแจ้งเพื่อทราบโดยทั่วกัน

จาก https://www.facebook.com/groups/PattaniArchitecture/

เรือนตรังกานู เรือนที่มีลักษณ์คล้ายเรือนไทยจงแทบแยกไม่ออก  เชื่อกันว่าเป็นต้นแบบของจั่วแบบหางปลาในภาคกลาง  เนื่องจากจั่วหางปลามักสร้างในเรือนมุสลิม  ซึ่งอาจถูกเทครัวจากทางมลายูที่ใกล้ชิดกับตรังกานู
(http://f.ptcdn.info/182/001/000/1358076984-b13p28c-o.jpg)


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ม.ค. 13, 16:18
บ้านของเขาสวยมากจริงๆครับ


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 13, 07:09
แอบเห็นลายสลักไม้บนช่องเหนือหน้าต่าง อยากเห็นชัด ๆ คงสวยงามไม่น้อยเลยทีเดียว


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 22 ม.ค. 13, 23:22
เปลี่ยนวันเวลาบรรยาย

บรรยายใน วันที่ 3 กพ 2556 เวลา 14:00 - 16:00 น.


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 22 ม.ค. 13, 23:36
เรือนอีกแบบที่เหมือนเรือนตรังกานูมาก คือเรือนกลันตัน
(http://1.bp.blogspot.com/_4sbD12QYZ0s/S72kCQzsLnI/AAAAAAAAAIo/z6kV4OYDudU/s1600/DSCN5448.JPG)
เราแยกความต่างมันที่รายละเอียดผนัง

ผนังลายสลับตั้งนอนคือกลันตัน ผนังที่มีแต่เส้นตั้งคือตรังกานู


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 22 ม.ค. 13, 23:41
รายละเอียดผนังฉลุ
(http://2.bp.blogspot.com/_saJWlibSZGQ/TGqaEI2BufI/AAAAAAAAAO4/hU5HjTCemPg/s1600/DSC05310.JPG)
ช่องลม
(http://4.bp.blogspot.com/_saJWlibSZGQ/TGqaJ1NAWvI/AAAAAAAAAPA/mVdqF0MJz8I/s1600/DSC05305.JPG)

(http://3.bp.blogspot.com/_saJWlibSZGQ/TGqaSehVAEI/AAAAAAAAAPI/x0UKpDipavk/s1600/DSC05306.JPG)

(http://3.bp.blogspot.com/_saJWlibSZGQ/TG9wdMp92HI/AAAAAAAAATA/dwfWUn4eXtQ/s1600/DSC05308.JPG)

(http://4.bp.blogspot.com/_saJWlibSZGQ/TG9xWNiK_2I/AAAAAAAAATg/c8Dj8Xnpgvw/s1600/DSC05286.JPG)


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 22 ม.ค. 13, 23:57
จุดเด่นอีกอย่างที่ต่างจากเรือนไทยชัดๆคือบันได
(http://4.bp.blogspot.com/_saJWlibSZGQ/TIUx9QrjhTI/AAAAAAAAAVI/Fvfk7yVK1AE/s1600/DSC05467.JPG)


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.พ. 13, 13:42
เปลี่ยนวันเวลาบรรยาย

บรรยายใน วันที่ 3 กพ 2556 เวลา 14:00 - 16:00 น.

หากคุณ sigree ช่วยสรุปคำบรรยายในวันนั้น คงมีประโยชน์มาก

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: แจ้งเรื่อง บรรยายพิเศษ Trangganu Architecture โดย Prof. Dato' Dr. Othman Yatim
เริ่มกระทู้โดย: sigree ที่ 07 ก.พ. 13, 22:02
จริงหลังบรรยายมีหลายเรื่องที่ผมต้องกลับมานั่งค้นต่อพอสมควรครับ  เพราะหลายๆอย่างใหม่มาก

ประเด็นน่าสนใจคือ ท่านเชื่อว่าสถาปัตยกรรมแบบตรังกานูนั้น  ได้รับอิทธิพลจาก ปัตตานี โดยท่านอ้างอิงถึงฮิกายัต(พงศวดาร)ตรังกานูที่กล่าวถึงการสร้างเมืองว่า สุลต่านท่านแรกของตรังกานูได้นำช่าง(และผู้รู้?)จำนวน 80 ครอบครัวมาสร้างเมืองขึ้น

ประวัติศาสตร์รัฐตรังกานู ได้บันทึกว่า สุลต่านซัยนาลอาบีดิน (Sultan Zainal Abidin) ซึ่งครองราชย์ระหว่าง 1725-1733 ได้แต่งงานกับนางรูกายะห์ (Nang Rugayah)ลูกพี่ลูกน้องสุลต่านแห่งปัตตานี โดยได้บุตร 4 คน คือ ตนกูวังสา ตนกูอาลี ตนกูอิสมาแอล และตนกูมันซูร ซึ่งต่อมาตนกูมันซูร์ ได้เป็นสุลต่านมันซูร์ชาห์ที่ 1 (1733-1793)(อ้างอิงจาก Rogayah A. Hamid &Mariyam Salim.2006.Kesultanan Melayu Terengganu. Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur)การขึ้นปกครองรัฐตรังกานู ของสุลต่านซัยนาลอาบีดิน

 มีผลทำให้มีผู้ติดตามชาวปัตตานีเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในรัฐตรังกานูด้วย เจ้าเมืองปัตตานีจึงส่งตุนซัยนาลอาบีดิน พร้อมชาวปัตตานีเป็นจำนวน 80 ครอบครัวไปยังตรังกานู (อ้างอิง Sejarah Terengganu Dewan Bahasa dan Pustaka, Kuala Lumpur )

สำหรับชาวปัตตานีที่อพยพมาพร้อมตุนซัยนาลอาบีดินตั้งถิ่นฐานอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งจนถึงปัจจุบันเรียกว่า หมู่บ้านปัตตานี (อ้างอิง Abdullah Zakaria Ghazali.1984..Terengganu Dahulu dan Sekarang.Perbadanan Muzium Negara Malaysia, Kuala Lumpur)

อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ถกเถียงพอสมควรในกลุ่มคนที่สนใจ

ท่านได้อธิบายเพิ่มถึงบ้านแบตรังกานูว่ามีลักษณ์หลังคาและวัสดุที่พิเศษมาก อาจกล่าวได้ว่าได้อิทธิพลมาจากไทย  ซึ่งหากว่าตามท่านใกล้ที่สุดที่จะได้อิทธิพลนี้คือ สงขลา

ซึ่งผมได้เช็คโครงสร้างแล้ว หากตัดปั้นลมทิ้งไปมีลักษณ์คล้ายๆอาคารเรือนไทยแบบสงขลามาก

จึงเกิดคำถามใหม่ตามมา  เหตุใดเรือนแบบนี้ไม่แพ่รในปัตตานีแต่ไปโผล่ที่ตรังกานูเลย?

หรือ

เมื่อก่อนแพ่รหลายแต่ผู้คนที่ทำเป็นได้ถูกกวาดต้อนเข้า กทม

หรือ

มีพัฒนากาลที่จะสร้างงานแนวใหม่ ปั้นหยา Lima

ส่วนปั้นลมที่คล้ายๆหางปลาของไทยนั้น สอบถามท่านนอกรอบท่านแจ้งว่าน่ามีตั้งแต่ยุค ศตวรรตที่ 17 หรือชาวปัตตานีเข้ามาตั้งถิ่นฐาน

สำหรับปลายปั้นลมท่านเชื่อว่ามาจากทรงของหางเป็ด(แย้งกับตำราที่ผมมี ตำราของผมเขียนว่าพัฒนาจากหัวพญานาค)

อย่างไรก็ดีท่านแจ้งว่าเอกลักษณ์เด่นของเรือนแบบนี้จริงๆคือระบบ 3 เรือน  เรือนแม่(เรือนหลัก) เรือนบุรุษ และ ครัว

สำหรับเรื่องทางช่าง ผมวางแผนว่าปลายปีจะไปตามเอง