เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:06



กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:06
พระอุโบสถมหาเตงดอ-กยี(Ma Ha Thein Taw Gyi) อยู่ในบริเวณสำนักสงฆ์มหาเตงดอ-กยี เขตเมืองสะกาย สหภาพเมียนม่าร์(พม่า)เป็นพุทธสถานที่ยังคงใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาอย่างต่อเนื่อง และมีร่องรอยการบูรณะอย่างสมำเสมอ ความสำคัญของอุโบสถหลังนี้เป็นที่ประจักษ์จากบทความเรื่อง"An Ayutthayan Connection in Sagaing"ของRujaya Abhakorn จาก Myanmar Historical Commission Conference Proceedings part3 เมื่อพ.ศ.2548 และเป็นที่รู้จักแพร่หลายอีกครั้งผ่านหนังสือ พบหลักฐานสำคัญช่างอยุธยาฝากฝีมือไว้ในพม่าที่เมืองสะกาย โดย ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ และม.ร.ว.รุจนา อาภากร


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:20
อุโบสถหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสะกาย อันเป็นเมืองใหญ่คนละฝั่งแม่น้ำอิระวดีกับเมืองมัณฑเลย์ ชาวพื้นถิ่นมักเรียกอโบสถแห่งนี้ว่า"ยูน(ยวน)จองเตง(Yun Kyaung Theinx)ตั้งอยู่ในเขต"กา นา ดอ ยับ,กอนนยินตองยวา"(Ka Na Taw Yap,Gon Hnyin Htong Ywar) อันมีความหมายว่า"หมู่บ้านคุก,เขตคุกหรือที่อยู่เฉลย เห็นแล้วใกล้เคียงกับบ้านเราที่บริเวณที่ตั้งวัดสุวรรณารามในปัจจุบันเคยเป็นที่ประหารนักโทษพม่ามาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี(รูปประกอยเป็นภาพบุษบกที่ประทับของพระพุทธเจ้าสประดับส่วนฐานด้วยลายกระจัง เทพพนม ครุฑและสิงห์ขนาบด้วยเครื่องสูง)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:23
ตำแหน่งภาพดังกล่าวอยู่เหนือประตูทางเข้าพระอุโบสถ(ผนังด้านสกัดหน้า)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:26
ลายประกอบฐานบุษบกชั้นต่างๆ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:28
ภาพพระอดีตพุทธเจ้า ผนังด้านข้างทิศตะวันตก


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:34
ภาพหลังคาตัวอาคาร(ไม่ปรากฎตัวอาคาร)ใต้ภาพอดีตพุทธเจ้า จะเห็นว่าช่วงล่างของผนังก็ประสบปัญหาเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังในเมืองไทย คือชำรุดทั้งสิ้น ส่วนนี้ผมคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องพุทธประวัติ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 21:38
ภาพส่วนยอดปรางค์และนภศูล ใต้ภาพอดีตพุทธเจ้า ส่วนนี้เองผมคิดว่าเป็นส่วนแสดงให้เห็นชัดเเจนว่าเป็นฝีมือช่างชาวไทย เพราะสถาปัตยกรรมแบบพระปรางค์นี้ไม่มีปรากฎมีในพม่าประเทศหมื่นเจดีย์เป็นแน่


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 มิ.ย. 09, 22:10
ปิดท้ายด้วยรูปภาพบนผนังสกัดหลังลายก้านดอกคดโค้งคล้ายคลึงกับลวดลายที่ปรากฎในปรางค์ทิศวัดไชยวัฒนารามสมัยพระเจ้าปราสาททองมากๆ
ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดจากบทความเรื่อง ตามรอยจิตรกรรมอยุธยาที่เมืองสะกายในพม่า โดย อรวินท์ ลิขิตวิเศษกุล นิตยสารเมืองโบราณปีที่33ฉบับที่3(กรกฎาคม-กันยายน 2550)
วันนี้เดิมตั้งใจจะเข้าไปวัดราชสิทธารามแต่เนื่องด้วยช่วงเช้าได้เข้าไปที่เพาะช่างเพื่อขอความร่วมมือในการตั้งชมรมอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและศิลปะไทยโดยภาพถ่าย ได้พูดคุยในหลายๆเรื่องแลกเปลี่ยนทัศนคติกับอาจารย์บรรเจิดหัวหน้าแผนกจิตรกรรมไทยซึ่งเป็นรุ่นน้อง โดยอนาคตอันใกล้การทำชมรมของผมน่าจะสำเร็จด้วยดีครับ ใครสนใจจะเข้าร่วมชมรมกันบ้าง หรือมีแนวคิดดีๆอย่างไรจะนำเสนอก็เข้ามาพูดคุยกันครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 25 มิ.ย. 09, 10:40
ตั้งกระทู้ใหม่แล้วเงียบเหงาจังเลยครับ ผมว่าศิลปะไทย มีคนสนใจน้อยลงทุกวัน มิน่าคนที่ร่ำเรียนทุกวันนี้ จึงมีจำนวนน้อยลงมาก อีกทั้งผู้รู้แจ้งเห็นจริงก็เริ่มน้อยลงทุกวัน อีกหน่อยก็คงจะถูกวัฒนธรรมอื่นค่อยๆกลืนไปจนไม่สามารถหากระพี้ของศิลปะไทยได้อีกต่อไป คงจะคิดกันแค่ว่ามีเกิดก็มีเสื่อมเป็นสัจจธรรม เอาเป็นว่าผมบ้าอยู่คนเดียวก็แล้วกัน(รูปประกอบจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเลียบ(ราษฎร์บูรณะ)ตรงข้ามเพาะช่าง สกุลช่างรัชกาลที่1ถูกระเบิดทำลายพระอุโบสถจนราบเป็นหน้ากลองเมื่อปี2488เหลือเพียงภาพถ่ายอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติฝีมือจะเป็นรองก็เพียงแค่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เล็กน้อยเท่านั้น ว่ากันว่าผนังบางตอนเป็นฝีมือพระอาจารย์นาคที่เขียนที่หอไตรวัดระฆังอยู่ด้วย)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 25 มิ.ย. 09, 10:44
อีกหน่อยรูปถ่ายที่ผมถ่ายก็คงมีคุณค่าเป็นภาพเล่าอดีตเหมือนรูปที่วัดเลียบชุดนี้แหละครับ ตอนนี้ก็มีอยู่หลายภาพแล้วที่ของจริงสิ้นสูญไปแล้ว


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 25 มิ.ย. 09, 20:37
ขอบคุณข้อมูลดีๆนะครับพี่ยินส์


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 25 มิ.ย. 09, 20:42
รูปวัดเลียบผมมีแค่รูปเดียวครับพี่ถ้าพี่ยีนส์มีรูปอื่นผมขอข้อมูลทางเมล์แบบละเอียดได้ไหมครับ  เท่าที่เคยเห็นมีบางรูปเป็นรูปพระจันทร์และพระอาทิตย์ทรงรถแต่ผมหาที่หอจดหมายเหตุเจอรูปนี้รูปเดียวครับขอบคุณล่วงหน้าครับพี่


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 มิ.ย. 09, 01:42
เห็นภาพจากวัดเลียบแล้วน่าสะเทือนใจมากครับ  ทำไมงานศิลปกรรมบ้านเราถึงมีกรรมเช่นนี้
การเขียนภาพเครื่องบนอาคารงดงามเป็นพิเศษมากครับ  ถ้าไงก็ขอไฟล์ภาพเช่นกันนะครับ

วันนี้ผมลองเขียนภาพไทยดู  ตามจริงก็เขียนเพื่อฝึกฝนแต่เขียนแล้วมองดูทำให้ผมนึกว่า
ทำไมภาพเขียนเก่าๆนั้นถึงได้มีคุณค่าและมีความลึกล้ำมากมายนัก ทั้งๆที่ภาพเขียนไทยรุ่นใหม่ๆในสมัยนี้
ใช่ว่าฝีมือจะไม่ดี เท่าที่เห็นบางภาพก็มีความสวยงามไม่น้อย  แต่เมื่อเอาไปวางเทียบกับภาพเก่าๆแล้วกลับสู้ไม่ได้
ทั้งที่เรื่องสีสันและเส้นสมัยนี้รู้สึกจะเป็นต่อด้วยซ้ำ

ภาพนี้เป็นภาพฉากบังเพลิง (รึเปล่า) จากงานของสมเด็จย่าผมถ่ายมาจาพพิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เป็นภาพเขียนสีใหม่มีความสวยงามไม่น้อยเลย


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 มิ.ย. 09, 01:50
ผมเลยมีข้อข้องใจอยู่ว่าทำอย่างไรภาพเขียนของเราถึงจะมีคุณค่าเทียบเท่าภาพเขียนโบราณได้
อันที่จริงผมไม่ได้เก่งถึงขนาดคิดไกลจะวัดรอยเท้า แต่ผมแ่ค่สงสัยว่าภาพที่วาดขาดอะไรไป
คือความคิเห็นและข้อสงสัยส่วนตัวนะครับ ผมรับผิดชอบคำพูดคนเดียวแบบไม่มีทฤษฎีรองรับ


จากภาพใน คคห ที่แล้วเมื่อเทียบกับภาพนี้(วัดใหญ่ฯ) ส่วนตัวนะครับผมมองว่าภาพนี้สวยกว่า


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 26 มิ.ย. 09, 03:22
ผมขอเอาความรู้อันน้อยบอกพอที่ผมจะบอกได้นะครับคุณวิเรน
๑.โครงสร้างงานสมัยใหม่ไม่ได้   ผิดเพี้ยนดูหนาและหนักไม่สง่างามเเละเพรียวเหมือนวัดใหญ่
๒.ความสัมพันธ์ของเส้นไม่มี  ไม่ลื่นไหล  เส้นขัดกันไปหมดการออกแลื่นไหลบบลายประกอบไม่พริ้วไหวดูหนัก   ไม่เบาลอยพริ้วไหวเหมือนงานโบราณ
๓.ผู้เขียนไม่มีความรู้ในการเขียนภาพ   เนื่องจากลองสังเกตลายผ้านุ่งกับชายไหวชายเเครง  เป็นลายคนละแบบกัน  ความจริงการนุ่งผ้าแบบอยุธยานั้นผ้านุ่งกับชายไหวชายแครงเป็นผืนเดียวกันเพราะฉะนั้นลายผ้าจะเป็นสีและลายเดียวกัน  ดูจากงานวัดใหญ่ได้ครับ
๔.การใช้สีฝุ่นโบราณซึ่งมีนำ้หนักไม่เท่ากัน  ทำให้งานมีระยะไม่ทึบตันเหมือนสีสมัยใหม่ครับ
๕.ไม่มีความรู้เรื่องการตัดเส้นคือตัดเเล้วไม่กลม   ดูแบนๆ งานไทยนั้นเป็นงานที่งามด้วยเส้นถ้าตัดแล้วดูแล้วไม่รู้สึกกลมจะไม่งาม  อีกอย่างหนึ่งคือการเน้นเส้นขอบอันนี้เข้าใจผิดอย่างมากว่าต้องมีเส้นใหญ่เส้นเล็ก
บางครั้งทำให้งานดูหนักและแข็งกระด้างด้วยซ๊ำไปดูฉากบังเพลิงเป็นตัวอย่าง
ส่วนภาพด้านล่างที่นำมาให้ดูเป็นงานของเพื่อนผมครับ เป็นรูปแบบรัชกาลที่๓เขียนไม่นานมานี้  เอามาประกอบหลักฐานว่างานที่งามนั้นจะต้องเรียนรู้การดูงานให้เป็นรู้สุนทรียภาพและคติค่านิมยมของศิลปกรรมไทยครับ   ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่เขียนงานไทยพอเขียนได้นิดหน่อยก็คิดว่าเก่งแล้วเรียนหมดแล้ว   มหาลัยก็สอนให้ประยุกต์งานหารูปแบบใหม่  ของเก่ามันเชยไม่พัฒนาสร้างสรรค์   ความคิดแบบนี้เป็นความคิดของคนบ้องตื้น  โข่เขลา  ไม่รู้คุณค่าของครูโบราณที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี่เป็นสาเหตหนึ่งที่งานไทยหมดลงทุกวัน   ผมเองศึกษางานไทยมายิ่งเรียนยิ่งรู้ว่ามีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมาก  ยิ่งเรียนยิ่งเห็นว่าสิ่งที่เราเรียนรู้จากครูโบราณมีอีกมากครับ  ผมจึงบอกว่าการร่วมกลุ่มกันโดยเอาความรู้ที่รู้มาแลกเปลื่ยนสรูปถกกันโดยมีใจเป็นกลางทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆคงสืบต่อลมหายใจของงานไทยได้บ้าง   ส่วนความรูขั้นสูงๆลึกๆคงต้องให้พี่ ยีนส์มาเสริมให้ครับ  อ้อแล้ววันไหนไปดูวัดผมอาจจะมีเพื่อนไปสักคนสองคนนะครับ   ราตรีสวัสดิ์ครัับพี่ยีนส์ น้องวิเรน   และคุณสวัสดีบางกอกแล้วเจอกันครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 26 มิ.ย. 09, 09:41
สวัสดีทุกคนคะ

รู้สึกเหมือนกันคะ ว่าของใหม่ดูแข็ง ไม่มีอารมณ์เท่ากับของเก่า แล้วทำไมช่างสมัยใหม่ ไม่ทำแบบเก่าหล่ะคะ หรือเพราะต้องการสร้างความแตกต่าง
 


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 11:43
รูปที่คุณvirainนำมาประกอบกระทู้นั้นก็เป็นไปตามที่คุณยุทธนาวิจารณ์ไว้แหละครับ แต่ผมขอเสริมเรื่องการวาดภาพไทยของช่างเขียนในปัจจุบันที่ยึดถือคติแบบโบราณแล้วทำไมดูฝีมือไม่เทียบเท่าของโบราณ อันนี้ต้องบอกว่ารูปแบบของจิตรกรรมไทยได้ผ่านวิวัฒนาการมาจนถึงจุดสูงสุดแล้วในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นร.3พอสมัยร.4ที่เริ่มเอาอิทธิพลของตะวันตกเข้ามาทำให้ศิลปินบางส่วนเห็นว่ามันเริ่มสู่ยุคเสื่อมของจิตรกรรมไทยที่นิยมเขียนแบบคตินิยม ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากในปัจจุบัน ที่บางคนชื่นชอบผลงานของอ.จักรพันธุ์ บางคน ชอบของอ.เฉลิมชัย จนเรียกกันว่าเป็นแบบสไตล์ใครสไตล์มันหรือเป็นเอกลักษณ์นั่นเอง สำหรับคนที่ยึดคติการเขียนแบบโบราณนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไรเพียงแต่ว่าการเขียนในปัจจุบันจะหาผู้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการอย่างโบราณแท้หาได้ไม่ อีกทั้งในสมัยโบราณการสร้างงานนั้นมักเกิดจากศรัทธาเป็นที่ตั้ง อามิสสินจ้างเป็นส่วนรอง การทำงานจึงบอกได้ว่าเกิดจากใจ การทำงานของช่างเขียนในปัจจุบันจึงไม่อาจเทียบได้กับงานโบราณ อีกทั้งส่วนนึงของผู้มองที่พอจะมีภูมิ ย่อมจะมองการเขียนของช่างเขียนในปัจจุบันนั้นเป็นแต่เพียงการลอกเอาอย่างโบราณเท่านั้น ให้เขียนดีเท่าไหร่ ก็ไม่อาจเทียบโบราณได้อยู่ดี ดังนั้น ถ้ามองอย่างเป็นกลาง การเขียนให้ดีเทียบเท่าโบราณนั้นก็ต้องมีพื้นฐานในการทำงานได้อย่างโบราณ รู้ซึ้งถึงเทคนิควิธีการอย่างโบราณ และต้องแม่นในเรื่องตัวภาพ(สัดส่วน เครื่องทรง ภูษาทรง)และองค์ประกอบอื่นๆเช่นการเขียนต้นไม้ โขดหิน เขามอ สิงห์สาราสัตว์และเนื้อเรื่องที่จะเขียนโดยละเอียด ซึ่งมิใช่เรื่องง่ายๆต้องใช้ระยะเวลาและการฝึกฝนเป็นอย่างสูงจนทำให้ดูเป็นเรื่องยากไปเลย ศิลปินในปัจุบันจึงมุ่งเน้นไปสร้างงานอย่างสมัยใหม่ซึ่งทำได้ง่ายกว่าซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร นอกจากไม่ถูกใจในพวกหัวอนุรักษ์อย่างพวกเราก็เท่านั้น(รูปประกอบผลงานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ของผม)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 12:06
สำหรับภาพเขียนที่วัดเลียบนั้น ผมสแกนมาจากหนังสือเมืองโบราณซึ่งต้นฉบับก็ไม่ชัดนักครับ ก็ว่าจะเข้าไปที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเหมือนกัน คุณยุทธนาเคยเข้าไปแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
สำหรับการเดินทาง เนื่องจากมีคนจะเดินทางกันไปหลายคน ผมว่าน่าจะใช้รถตู้นะครับ แต่มันจะมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าเช่ารถค่าน้ำมัน แต่มันสะดวกตรงที่ไปรวมกันได้ เพราะถ้าต่างคนต่างไปก็จะต้องมานั่งรอกันนะครับ โดยส่วนตัวผมมีญาติขับรถตู้อยู่ราคามาตราฐาน สะดวกตรงที่เป็นญาติกัน ไปไหนจะได้ไม่มีบ่นครับ เห็นด้วยหรือติดขัดอย่างไรไม่บอกกันมาเลยครับ เพราะเงินก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกันยิ่งหายากอยู่ด้วย 555555555 สำหรับน้องฉันรักบางกอกให้ข้อมูลเรื่องวัดในอยุธยาไปแล้วนะทางเมลล์ได้ความอย่างไรก็บอกกันบ้าง


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 มิ.ย. 09, 16:10
ไปรถตู้ก็น่าจะดีเหมือนกันครับ สมาชิกท่านอื่นๆว่าอย่างไรผมก็ว่าตามนั้นล่ะครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้มาครับทั้งคุณยุทธนาและพี่ยีนส์  แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่คงต้องฝึกดูสักพัก
ตอนแรกผมก็สงสัยอย่างที่คุณฉันรักบางกอกสงสัยว่าทำไมไม่ทำแบบช่างโบราณ  ทั้งๆที่ขนาดผมยังดูรู้ว่างามกว่า
แต่พอพี่ยีนส์อธิบายผมก็พอเข้าใจ  อีกอย่างคนที่เขียนภาพโบราณก็ไม่อยู่แล้วประวัติก็ไม่มีสมุดร่างเก่าๆก็ไม่ปรากฏ
ทำให้การศึกษางานโบราณกระท่อนกระแท่น

ผมไม่ค่อยเข้าใจบางอย่างจากคำอธิบายของคุณยุทธนา คำว่าตัดเส้นแล้วไม่กลมผมยังนึกภาพไม่ออกน่ะครับ
เรื่องสีนี่ผมไม่ค่อยมีความรู้เลย แต่การจัดระเบียบสีในภาพเขียนสมัยนี้สู้โบราณไม่ได้หรือครับ
อย่างเช่นภาพเขียนอยุธยานั้นสีน้อยก็เขียนอย่างหนึ่งให้ภาพออกมาดูงาม
ภาพรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้สีมากและดูแรงๆก็เขียนออกมาดูงามแบบหนึ่งเหมือนกัน

ผมเคยเปิดดูหนังสือเกี่ยวกับภาพเขียนของ RAPHAEL เขามีภาพจริงและก็ภาพจากสมุดร่างตัวจิงให้ดู
เปรียบเทียบลายเส้นก่อนลงสี การร่างแบบกายวิภาค ถ้าเรามีแนวทางการรวบรวมข้อมูลของภาพเขียนโบราณให้ดีๆ
ผมว่าก็น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยอย่างคุณยุทธนาบอก ว่าภาพไทยที่แท้จริงจะมีผู้สนใจสืบทอดต่อ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 18:30
การจะฝึกเขียนลายไทยให้ดีให้เก่งก็คงต้องใช้เวลาศึกษาและลองปฏิบัติจริงมากๆนะครับ อย่างโบราณท่านคงไม่ได้มีทฤษฏีสีให้ร่ำเรียนอย่างปัจจุบัน และอุปกรณ์การทำงานก็ไม่ได้ไปหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนเป็นแต่การจัดทำขึ้นมาเองส่วนสีนั้นแต่สุโขทัยอยุธยาที่เขียนสีเป็นแบบเอกรงค์นั้นก็เพราะสมัยนั้นมิได้มีสีให้ใช้มากมายอย่างปัจจุบัน เป็นแต่การทำสีใช้จากธรรมชาติ ต่อเมื่อมีการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน จึงเริ่มมีสีมาใช้มากขึ้น ซึ่งอันนี้มันเกี่ยวเนื่องกับประว้ติศาสตร์เลยละ ถ้าเล่าละก็ยาว ส่วนเรื่องที่คุณยุทธนาใช้คำว่าตัดเส้นแล้วไม่กลม ผมว่าโบราณเค้าใช้คำว่าตัดเส้นไม่ขาด(กระทบเส้นไม่ขาด หมายถึงไม่มีนำหนักและความมั่นใจ ทำให้เส้นดูไม่ต่อเนื่องหรือมีนำหนักเท่ากันไปหมดดูไม่มีมิติ ซึ่งลักษณะนี้เป็นเทคนิคการใช้ภูกันสร้างมิติมนภาพเขียนของช่างโบราณนะครับ*คำว่ามิติคงไม้ได้ใช้กันในโบราณแต่อธิบายแบบสมัยใหม่เพื่อความเข้าใจ*ลองดูการกระทบเส้นในรูปประกอบครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 18:40
ถ้าสังเกตจะเห็นน้ำหนักของสีที่ใช้ตัดเส้นจะมีน้ำหนักอ่อนเข้มอยู่ด้วยมิได้เท่ากันหมด การตัดเส้นก็เป็นไปอย่างชำนาญและสวยงาม การทำงานของช่างที่ชำนาญแล้วอาจไม่ต้องใช้การร่างเลยก็ได้ แต่เท่าที่มีหลักฐานที่พบเช่นสมุดข่อยภาพร่างตัวภาพต่างๆเช่นที่วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี ที่ลูกของช่างเขียนยังเก็บผลงานไว้(ภาพประกอบ สมุดภาพไทย(ร่างภาพของอาจารย์ เลิศ พ่วงพระเดช )


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 18:53
คุณvirainดูการตัดเส้นของครูคงป๊ะในภาพมโหสถวัดสุวรรณซิครับเจ้าตำรับภู่กันหนวดหนู ฝีมือการเขียนเส่นอย่างอิสระทั้งรูปแบบทั้งน้ำหนักในการเขียนอีกร้อยปีจะมีคนมีฝีมืออย่างนี้รึเปล่ายังไม่รู้


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 19:01
ส่วนรูปนี้ภาพรามเกียรติ์ในกรอบกระจกเหนือหน้าต่างพระอุโบสถวัดสุทัศน์ สวยเหลือเกินครับ(ภาพตอนองคตจับสี่เสนา)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 26 มิ.ย. 09, 19:07
ผมสังเกตว่ากระทู้ผมก็มีคนเปิดดูพอสมควรแต่ทำไมมีคุยกันอยู่แค่4คน ท่านอื่นๆที่เปิดดูทักทายกันบ้าง หรือมีอะไรอยากรู้อยากถามก็โพสต์กันได้นะครับ จะได้เปิดโลกทัศน์ด้วยกัน(ปิดท้ายด้วยรูปรามเกียรติ์อีกสักรูป)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 มิ.ย. 09, 22:20
วันนี้ดีจริงๆเลย  ได้ชมภาพงามๆทั้งจากพี่ยีนส์และคุณยุทธนา
ภาพแต่ละภาพงามจับใจจริงๆเลยครับ  โดยเฉพาะวันนี้ได้เห็นภาพองคตจับสี่เสนาแล้วทึ่งใจมาก
วันไหนคงต้องรบกวนพี่พาผมไปดูของจริงนะครับ

สำหรับเรื่องเส้นนั้นผมคงต้องศึกษาอีกมากมายจริงๆ  ต้องไปนั่งดูภาพเนมิราชกับมโสถชาดกที่วัดสุวรรณฯนานๆล่ะ

ท่านอื่นๆที่มีความรู้หรือข้อคิดเห็น ยินดีต้อนรับเช่นกันครับ
จะขอติดตามประเด็นบ้าง




กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 27 มิ.ย. 09, 21:08
คงหาคนมีความรู้ความสามารถทางด้านนี้ยากเต็มทน เลยไม่มีใครเข้ามาพูดคุย นี่แหละครับ สาเหตุของการเสื่อมสลายของศิลปะไทย ที่ขาดผู้รู้ผู้เอาใจใส่อย่างจริงจัง ไอ้เราก็ทำได้แค่นี้หารูปมาเปิดประเด็นไปเรื่อยๆ อย่างรูปนี้ใครเคยเห็นบ้างว่าเป็นตอนอะไร


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 27 มิ.ย. 09, 22:08
คล้ายๆสหัสเดชะเลยครับ  แต่คงไม่ใชรามเกียรติ์
ถ่ายที่ไหนหรือครับ มีตัวช่วยไหมครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 27 มิ.ย. 09, 22:44
ขอตอบว่า


ไม่ทราบคะ

แต่มาตอบให้กำลังใจพี่ๆ แหะๆๆๆๆ

ขอบคุณพี่jean1966 สำหรับความกระจ่าง และแนะนำวัดที่อยุธยานะคะ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 มิ.ย. 09, 10:31
เฉลยรูปดังกล่าวคือตอน พระอุปคุตทรมานพญามารจิตรกรรมฝาผนัง วัดประตูสาร สุพรรณบุรี
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี ณ  นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย)  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช (พระเจ้าอโศกมหาราช)  ได้ผ่านพิภพมไหสวรรค์ราชสมบัติ  พระองค์ทรงเลื่อมในในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  ได้ทรงสถาปนาสร้างพระวิหารและพระสถูปนัยว่าถึงแปดหมื่นสี่พันแห่งทั่วชมภูทวีป  และได้ทรงขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง  เมื่อได้ทรงขุดค้นรวบรวมหมดแล้ว ก็อัญเชิญไปสู่นครปาตลีบุตร  ทรงกระทำการสักการะสัมมานะโดยเอนกประการ  แล้วทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือเข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่อีก ๑  องค์สูงถึงกึ่งโยชน์ที่ฝั่งแม่น้ำคงดา ใกล้นครปาตลีบุตร  แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่นั้นและก็ทราบว่ามีบางส่วนที่ส่งไปบรรจุไว้ในต่างแคว้น

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสีพันองค์นั้น  เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  ในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้การฉลองสมโภชเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค  จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพที่ทรงอิทธิฤทธิ์  เป็นผู้คุ้มครองงานให้ปราศจากการรบกวนจากมาร้ายต่าง ๆ

พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร  ไม่มีองค์ใดที่จะรับเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้  โดยเฉพาะพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย  พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ องค์  ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์  ซึ่งจำพรรษาอยู่กลางมหาสมุทรมาช่วยรักษาความปลอดภัยในงานมิให้งานสมโภชองค์พระสถูปเจดีย์พบอุปสรรค  ให้ดำเนินไปโดยตลอดปลอดภัยทุกประการ

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์จากผู้แทนพระสงฆ์เมืองปาตลีบุตรแล้ว  ก็เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น  พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบ  ผู้จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์  พระสงฆ์แนะนำพระอุปคุตเถระให้ทรงทราบ  เมื่อพระองค์ทรงทรงทราบผู้จะมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในงานแล้ว  ก็ทรงนึกแคลงพระทัย  เนื่องจากพระอุปคุตเถระมีลักษณะอ่อนแอร่างกายผ่ายผอมเกรงจะทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

รุ่งขึ้นวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชใคร่จะทดสอบดูฤทธิ์พระเถระ  จึงทรงปล่อยช้างซับมัน ( ช้างตกมัน )  ให้เข้าทำร้ายพระเถระพระมหาอุปคุตเห็นดังนั้นจึงสะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาให้ยุดอยู่กับที่  ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส  จึงเสด็จไปขอขมาโทษพระเถระ ที่ได้กระทำการล่วงเกิน โดยเจตนาจะทดลอง  พระมหาอุปคุตเถระ ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชและพญาคชสาร  พญาศรีธรรมาโศกมหาราชทรงพอพระทัย  ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง  ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์  ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคาสว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้  บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพและพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดพุทธศาสนิกชน  ทั้งในนครปาตลีบุตรและต่างแดนจากจตุรทิศ  ได้เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน  ต่างก็มีเครื่องสักการะบูชาอยู่ในมือเพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์  และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ท่ามกลางบรรดานักแสวงบุญ ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงานนั้น  พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร  ( เทพบุตรที่เป็นมาร ) ได้โอกาสงามเช่นนี้  ก็แปลงร่างจากปรนิมมิตตะวัสสวดีเทวโลก อันเป็นที่อยู่ของตน  ปนเปกับนักบุญทั้งหลายเพื่อทำลายพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่นั้น

ในขณะนั้นพระมหาเถระอุปคุต  ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในบริเวณงานทั้งหมด  หยั่งทราบด้วยญาณอันวิเศษ ถึงมหาภัยที่กำลังคุกคามอยู่เบื้องหน้า  ที่ปลอมมาในรูปของนักบุญจึงเนรมิตร่างสุนัขเน่าที่กำลังขึ้นหนอน  อธิฐานให้เข้าไปคล้องไว้กับคอพญามารแล้วอธิฐานว่า  แม้เทพดามหาพรหมยมยักษ์ภูตผีปีศาจที่มีฤทธิ์เข็ดขลัง  ก็อย่าสามารถนำร่างสุนัขเน่านี้ออกจากคอพญามารได้  แล้วขับพญามารหนีออกจากบริเวณงานทันทีพญามารพยายามแก้ร่างสุนัขเน่าด้วยฤทธานุภาพอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ออกได้

พญาวัสสวดีมาร ยอมแพ้แก่พระอุปคุตเถระผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ไข  ก็ยอมออกจากบริเวณงานโดยดีแต่ขอร้องให้มหาอุปคุตเถระแก้ร่างสุนัขเน่าออกจากคอของตน  เพราะทนต่อกลิ่นเหม็นไม่ได้พระมหาอุปคุตป์ก็อนุโลมตามแต่ไม่ไว้ใจพญามารสนิทนัก  เพราะเกรงพญามารอาจคิดกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง  จึงอธิษฐานประคตเอวให้เป็นดังโซ่เหล็กผูกพญามารติดไว้กับเขาลูกหนึ่งนอกบริเวณงาน  แล้วบอกแก่พญามารว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว  จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ

เมื่องานฉลองสมโภชมหาเจดีย์ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  สิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย พระมหาเถระจึงได้ไปหาพญามารที่เขานอกเมือง  เพื่อสังเกตดูว่าพญามารจะสิ้นพยศหรือยัง  ก็ทราบว่าสิ้นพยศแล้วทั้งยังกล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าว่า “  สมเด็จพระพุทธชินสิห์” องค์ใด ทรงมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่  ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล  ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้นเป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง  ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์  ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้  สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย  กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งถ้าหากว่า  ข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต”

เมื่อพระอุปคุตเถระ  ได้ยินคำกล่าวสดุดีพระพุทธคุณและแสดงความเสียใจของพญามารออกมาเช่นนั้น  ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่เหล็กออก  ปล่อยให้พญามารเป็นอิสสระอีกครั้งหนึ่ง

พระอุปคุตนั้น เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๑๘  ปี เราไม่ทราบภูมิเดิมของพระมหาเถระอุปคุตละเอียดเท่าที่ควร  ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร ที่ไหน  เท่าที่สันนิษฐานตามตำนานพระเถระอุปคุตน่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร  เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ  จนสามารถแสดงอภินิหารได้ร่ำลือมาจนทุกวันนี้ ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่  มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตรเรือนแก้ว  ( กุฎแก้ว ) ขึ้นในท้องทะเลหลวง ( สะดือทะเล )  แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฎแก้วตลอดเวลา  และคงจะขึ้นมาบิณฑบาตที่นครปาตลีบุตรเป็นประจำ  เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ เมื่อ  มีผู้นิมนต์ท่านก็ขึ้นช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ  เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน  สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก  เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 มิ.ย. 09, 22:20
ฝากรูปจิตรกรรมฝาผนัง ที่ผมเพิ่งได้ไปพบ จะว่าโดยบังเอิญก็ได้ เป็นวัดในกรุงเทพไม่ใกล้ไม่ไกล ฝีมือเข้าขั้นช่างหลวงแม้ไม่ถึงก็จัดเป็นช่างพื้นถิ่นที่มีฝีมือมาก ใครเคยเห็นบ้างลองทายดูว่าวัดไหน เท่าที่ผมดูจิตรกรรมฝาผนังมา ยังไม่เคยพบมีหนังสือเล่มไหนกล่าวถึงวัดนี้ ลองดูครับแล้วทายกันเล่นๆว่าอยู่ที่ไหน


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 มิ.ย. 09, 22:29
แถมอีกรูปวันนี้จริงๆไปทำธุระ แต่เผอิญมันอยุ่ใกล้แลว้มีเวลาเลยลองแวะไปดูเท่านั้นได้เรื่องเลยครับ ถ่ายไป620รูป4ช.ม. ดูอีกรูปครับ ภาพการเล่นสะกาการละเล่นโบราณของตัวละครอะไรทายกันดูอยู่ในทศชาติ ไม่ค่อยมีปรากฎมีวาดตอนนี้ในจิตรกรรมฝาผนังมากนักเรียกว่าแทบไม่มีเลยดีกว่า เพราะยังนึกไม่ออกว่ามีวัดไหนอีก


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 มิ.ย. 09, 22:37
แถมอีกรูป ชาดกนอกทศชาติที่มีหลายวัดนำไปเขียนประกอบในจิตรกรรมฝาผนัง ลองทายกันดูว่าเรื่องอะไร มีเขียนตอนนี้อยู่ไม่กี่วัด วัดนี้ก็เป็นวัดนึงที่เพิ่งเจอครับ วันนี้ใครไปวัดกันมาบ้างมาเล่ากันหน่อย คุณยุทธนาไปไหนมารึเปล่า คุณฉันรักบางกอก ไปอยุธยาถ่ายรูปมารึเปล่า คุณvirainละไปไหนมามาเล่ากันฟังเร็วครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 28 มิ.ย. 09, 22:42
พระประธานวัดนี้พระพักตร์งดงามมาก วันนี้แค่นี้ก่อน ไปอาบน้ำนอนแล้วครับ พรุ่งนี้มีงานแต่เช้าครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 มิ.ย. 09, 13:41
คนดูก็มีนะเนี่ย แต่ไม่เข้ามาคุญด้วยเลย ไม่เป็นไรครับ มาดูแต่รูปก็ยังดีครับ แต่ถ้าอยากรู้อยากถามก็จะได้ต่อยอดความรู้กันนะครับ ดูอีกรูปเป็นปริศนาต่อไปสำหรับวัดนี้ครับ รอไว้มีคนตอบแล้วค่อยเฉลย(ดูรูปแหม่มอุ้มลูก)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 มิ.ย. 09, 13:56
ดูอีกรูป ออกแนวเชิงสังวาส


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: yutthana ที่ 29 มิ.ย. 09, 17:40
ภาพพระบฏพระพุทธเจ้า


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 มิ.ย. 09, 19:21
อ้าวคุณยุทธมาโพสต์รูปแล้วไม่คุยอะไร แล้วพระบฏที่ไหนเป็นมายังไงไม่บอกรู้สึกภาพจะถ่ายเอียงด้านข้างมา ยังไงมาบอกรายละเอียดหน่อยนะครับ ช่วงเย็นนี้เพิ่งซวยโดนสาวมาขับรถปาดหน้าชนซะกันชนฉีก หมดรมณ์เลยครับ ว่าแต่จะไม่มีใครเข้ามาคุยเลยเหรอยอดผู้ชมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนี่ย หรือเบื่อกันแล้วครับ(ภาพประกอบเชิงสังวาสอีกสักภาพ วัดเดิม)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 29 มิ.ย. 09, 20:12
มาแล้วค่ะ...แอบเฝ้ากระทู้มาตั้งแต่บ่าย ว่าจะโพสต์แล้วหล่ะคะ แต่ว่าไปข้อมูลเพิ่มเติม ย่อรูป ปรับสี เลย..กว่าจะได้เวลา

เมื่อวานไปอยุธยามาคะ แต่ว่าไม่ได้ทำตามคำแนะนำ เพราะพอไปอีเมลล์แล้ว ไม่ได้รับคะ
ก็เลยลุย และหลง ตามเคย 555 แผนที่ ที่มี ก็ไม่ค่อยถูกใจ หนังสืออยุธยา ที่มีก็ไม่ได้อยู่กับตัว

คราวนี้เลยไป วัดราษฎร์บูรณะ วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร วัดเชิงท่า วัดพุทไธสวรรย์ แล้วก็วัดมเหยงคณ์ ตอนเริ่มมืด(แอบน่ากลัว)

สรุปแล้ว ถ่ายภาพจิตรกรรมมาแค่วัดเดียว คือ วัดพุทไธสวรรย์ ในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  และก็ถ่ายในบริเวณกรุวัดราษฎร์บูรณะ



กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 29 มิ.ย. 09, 20:16
พี่ยีนส์คะ หนูขออนุญาตลงภาพขั้นจังหวะนิดนึงนะคะ...

คาดว่า คงจะเคยไปกันแล้ว ขอสรุปข้อมูลตำหนักฯที่หามาได้

ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใช้เป็นกุฏิของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น  กว้างประมาณ ๕.๗๐ เมตร  ยาวประมาณ ๑๘.๓๒ เมตร

ช่องหน้าต่างและประตูทุกช่องมีลักษณะพิเศษ  คือ ทำเป็นโค้งยอดแหลมตามลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
      ผนังชั้นบนทั้งสี่ด้านเขียนภาพจิตรกรรม  ผนังด้านทิศตะวันออกเป็นภาพพระพุทธโฆษาจารย์ลงเรือสำเภาเดินทางไปกรุงลังกา พบพระพุทธทัตตเถระกลางทะเล  ภาพขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค  เพื่อเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทและภาพพระเจดีย์ที่มีมนุษย์และเทพมาชุมนุมสักการะบูชา
      ผนังด้านทิศตะวันตก  เป็นภาพเรื่องทศชาติชาดก
      ผนังด้านทิศเหนือ  เป็นภาพเรื่องไตรภูมิ
      ผนังด้านทิศใต้  ช่องบนเป็นภาพมารผจญ  ใต้ลงมาเป็นภาพพระสาวก  ช่วงล่างเป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์
      หลังบานประตูและหน้าต่าง เป็นภาพเขียนสีทวารบาล  เป็นภาพชาวต่างประเทศ ๑๒ ภาษา


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 29 มิ.ย. 09, 20:19
ไว้ไปตั้งกระทู้ของตัวเองดีกว่า...

ส่วนภาพที่พี่ยีนส์โพสต์ทิ้งท้าย ... อยู่ที่วัดไหนหรอคะ จะได้ไปดูของจริงบ้าง อิๆๆ



กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 29 มิ.ย. 09, 20:32
เอาเลยครับตั้งกระทู้เลยครับ ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ ไม่ได้เข้าไปดูนานแล้ว ว่าแต่ไปแล้วเข้าง่ายมั๊ย เล่าให้ฟังด้วย แต่ดูจากรูปถ่าย ได้ผ่านการบูรณะแล้ว และดูว่าจะเละอีกตามเคย ยังไงลงรูปให้ดูเยอะๆหน่อยนะครับ ส่วนรูปของผมเป็นวัดแถวฝั่งธนยังไม่เฉลยชื่อวัด รอเข้ามาตอบเยอะๆก่อนครับ 555555555555(อ้อการลงรูปในกระทู้ผม ไม่เรียกขัดจังหวะครับ เรียกว่าช่วยกันอนุรักษ์โยภาพถ่าย เหมือนชื่อชมรมเราดีกว่า)


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 29 มิ.ย. 09, 23:52
เข้าไม่ยากเลยคะ แถมไม่ทราบเสียด้วย หลวงพี่ชวนคุย แล้วก็แนะนำว่าเข้าชมได้ พอไปถึงตัวตำหนัก ทางขึ้นก็ไม่ได้มีป้ายบอกด้วยคะว่าเปิดเข้าชม เป็นบันไดไม้ เก่าๆ ก้าวไปก็กลัวว่าจะถล่มด้วยน้ำหนักตัว แต่ดีคะ ข้างบนก็สะอาดเรียบร้อยดี ต้องไปเสาร์อาทิตย์คะ ตำหนักถึงเปิด

....

ภาพข้างบนกะไว้แล้วเชียวว่าต้องเป็นวัดฝั่งธนฯ แต่ก็นึกไม่ออกอยู่ดีว่าที่ไหน อิๆๆ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 01 ก.ค. 09, 20:14
สวัสดีครับ ที่ผ่านมาไข้ขึ้นหนักเลยหายเงียบไป 
ตอนนี้ก็ยังเพิ่งฟื้นไข้  ไม่ค่อยสบายตัวเท่าไร
ไปดูภาพเขียนที่วัดสุวรรณมาเลยได้เรื่องเลยกลับมาป่วย  ไปดูได้สักพักฟ้าก็คริ้มๆในพระอุโบสถมืด

มีข้อมูลให้อ่านเยอะแยะเลยครับแต่มึนๆ  อ่านไม่ค่อยไหว
เอาเป็นว่าขอตอบ ภาพใน ความคิดเห็นที่30 เป็นตอนพระวิฑูรบัณฑิต
และภาพในความคิดเห็นถัดมาเป็นเรื่องอะไรผมจำไม่ได้จำได้แต่ว่าเอานางอะไรสักอย่างมาย่างกิน

เดาว่าเป็นวัดทองธรรชาติแล้วกันครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 01 ก.ค. 09, 20:46
พี่ยีนส์ครับ พอดีคุณจารุวรรณเจ้าหน้าที่กรมศิลป์เขามาเปิดดูกระทู้
ตอนที่พี่ลงเรื่องวัดไชยทิศ  เขาเห็นแล้วไม่ค่อยสบายใจน่ะครับ
พี่เขาโทรมาคุยกับผม บอกว่าพี่เขาก็ไม่รู้เรื่องเพราะตอนนั้นเขาก็ไม่ได้รับรู้เรื่องตรงนั้นเลย
แต่ไปมีชื่อพี่เขาอยู่พี่เขาก็เลยไม่ค่อยสบายใจน่ะครับ

ผมเองก็ไม่ค่อยสบายใจ  แต่ก็ไม่รู้จะแก้ไขยังไง


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 01 ก.ค. 09, 21:09
เอาอย่างนี้น้องvirain ข้อมูลที่พี่อ้างถึงคุณจารุวรรณอาจเป็นเพราะพี่ทราบมาว่าหน่วยงานนั้นทางคุณจารุวรรณเป็นผู้ดูแลอยู่ เลยเข้าใจว่าหัวหน้าที่พูดคุยด้วยคือคุณจารุวรรณ ไอ้เราด้วยอารามโกรธก็ไม่ได้ถามชื่อมัวแต่โต้เถียงกันอยู่ เอาอย่างนี้ได้มั๊ยรบกวนเป็นธุระถามคุณจารุวรรณให้ทีว่าสะดวกจะให้พี่โทรไปเรียนสายหรือน้องvirainจะให้เบอร์พี่กับคุณจารุวรรณก็ได้ พี่จะได้ขอโทษและเล่าเรื่องราวให้ฟัง เพราะเจตนาของผมมิได้มีความคิดใดๆที่จะทำให้หน่วยงานของกรมศิลป์เสียหาย มีแต่จะยินดีที่มีผู้เสียสละทำงานในจุดนี้อีกทั้งเพื่อนฝูงหลายคนก็ทำงานและข้องเกี่ยวกับที่นี่ ย่อมไม่มีทางเลยที่ผมจะไปโจมตีเพื่อให้เสียเพื่อนและหน่วยงานของครูบาอาจารย์ผม
สำหรับรูปจิตรกรรมไทยที่ผมทาย คือวัดกำแพงบางจาก อยู่ ซ.เพชรเกษม20 ฝั่งธนนี่เอง สำหรับตอนที่ย่างกินเนื้อมนุษย์เป็นตอนนึงในเรื่องจุลปทุมชาดกครับ


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ilili_tuka_ilil ที่ 04 ก.ค. 09, 20:30
ตามมาอ่านอีกกระทู้ค่ะ ... ชอบมาก.. ขอบคุณทุกท่านเลยค่ะ  มีโอกาสอยากร่วมทางศึกษาการถ่ายภาพ ด้วยนะคะ ;D


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 04 ก.ค. 09, 21:43
พรุ่งนี้เลยครับอยุธยา นัดเจอกันที่โลตัสอยุธยาก่อนเข้าตัวเมือง10โมงเช้า


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ilili_tuka_ilil ที่ 04 ก.ค. 09, 22:44
 :-\ อยากไปมากเลย แต่ลูกชายไม่สบายค่ะ ตัวร้อนจัด วันนี้พาไปโรงพยาบาล เพราะที่โรงเรียนเขามีเคส 2009 ถึง 5 ราย  ดีที่คุณหมอบอกว่า เป็นแค่ทอมซิลอักเสบเฉียบพลัน เสียดาย จังค่ะ  ทริปนี้เลยต้องขอ บาย  ..  รอดูรูปแล้วกันนะคะ  ..


กระทู้: จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
เริ่มกระทู้โดย: ilili_tuka_ilil ที่ 04 ก.ค. 09, 22:47
อ้าว ... รูปกระทู้โน้น ไง๋มาออกกระทู้นี้  ...  :-[