เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 14:47



กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 14:47


       ยังมีหนังสืออนุสรณ์อีกประมาณ สิบกว่าเล่ม  ที่สหายมอบให้แล้ววางไว้ในห้องรับแขก

สหายที่เดินผ่านกระจกของกาลเวลาก็นำมาทิ้งไว้ให้อ่านอีกหลายเล่ม

อ่านแล้วอ่านเล่าด้วยติดใจประวัติของท่านผู้วายชนม์  หรือเรื่องที่นำมาพิมพ์เป็นเรื่องที่มีประโยชน์น่ารู้

พยายามคัดเล่มที่น่าสนใจนำมาฝากค่ะ


หนังสืออนุสรณ์ เล่มนี้  พิมพ์โคลงนิราศท้าวสุภัตติการภักดี (นาก)  เป็นพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าภัทรายุวดี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗

การพิมพ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่หก


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 14:58

เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

ณ  วัดมงกุฏกษัตริยาราม      เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม  ๒๕๑๓


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 15:06

กรมศิลปากร  เมื่อวันที่ ๓  มีนาคม ๒๕๑๓   อธิบายว่า


       "ทรงพระราชนิพนธ์เป็นอย่างข้าราชการฝ่ายในแต่งเมื่อตามเสด็จมณฑลราชบุรี

ในปีระกา  พ.ศ. ๒๔๑๖    ทำนองจดหมายเหตุระยะทาง

มีคุณค่าทางโบราณคดี  ทำให้ทราบถึงโบราณสถานและเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วเกือบร้อยปี

ยังจัดว่ามีอรรถรสไพเราะทางวรรณคดี"



กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ค. 11, 15:52
ขอเข้าผ่านประตูแห่งกาลเวลา ด้วยครับ


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 15:57
       พล.ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์​(ตาบ  ศิลปี)  เกิดเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม  ๒๔๓๙

ที่ตำบลชนะสงคราม  อำเภอพระนคร  จังหวัดพระนคร

บิดาคือ  มหาเสวกโทพระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์(น้อย  ศิลปี)  และคุณหญิง วิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์(ยิ้ม  ศิลปี)

มีพี่น้องร่วมท้อง  ๘ คน

๑.  ขุนวิธานเลขกิจ (เสาร์​​  ศิลปี)

๒.  ขุนท่อง  ท่องนทีศรี (หยุด  ศิลปี)

๓.  หลวงจิตต์เจนสาคร(ตุ๋ย  ศิลปี)

๔.  คุณหญิงเสนีณรงค์ฤทธิ์​(ทองย้อย  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

๕.  พล.ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์​(ตาบ  ศิลปี)

๖.  นายเติม  ศิลปี

๗.  นายเนิ่น  ศิลปี

๘.  นางสาวเนียน  ศิลปี



กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ค. 11, 16:01
สหายที่เดินผ่านกระจกของกาลเวลาก็นำมาทิ้งไว้ให้อ่านอีกหลายเล่ม

เข้าทางกระจกแบบนางเอกของคุณทมยันตีก็น่าจะดี

 ;D


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 16:03
น้องต่างมารดา  เกิดกับคุณหญิงวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ (เน้ย  ศิลปี)

๑.   นายตุลย์  ศิลปี

๒.   นางกานดา  สุนทรวร

๓.   นายนักขัติฤกษ์   ศิลปี

๔.   นางทัศนียา  สุทัศน์​ ณ ​อยุธยา

๕.   นายชาลี   ศิลปี


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 16:09


       เมื่ออายุ ๖ ปี  ได้เข้าเรียนในชั้นมูลศึกษา  ณ โรงเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์

อายุ ๑๑ ปี  เรียนจบชั้นปฐมสามัญ

อายุ ๑๒  เข้าเรียนโรงเรียนราชวิทยาลัย(ภาษาอังกฤษ)

อายุ ๑๔ ปี  เข้าโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง

อายุ  ๑๕ ปี  เข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง    เลขที่ประจำตัว  ๕๒


จบชั้นสูงสุดของโรงเรียนเมื่ออายุ ๑๙​ ปี


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 16:20

ได้สมรสกับ นางสาวตาบทิพย์  ตัณฑกุล   บุตรีนายเลี่ยงบั๊ก  และ นางเล็ก  ตัณฑกุล
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๖๒

มีบุตรชายหญิงดังต่อไปนี้


๑.   เด็กชาย   (ถึงแก่กรรม)

๒.   นางเต็มศิริ  บุณยสิงห์   สมรสกับ นาย ครุย   บุณยสิงห์

๓.   นางมานี  ศิลป์ประสิทธิ์  สมรสกับนายเทพ  เสมถิติ

๔.   ด.ช. อัมพร

๕.  ด.ช. อภัย

๖.  นายอำพน  ศิลป์ประสิทธิ์  สมรสกับนางสาวอรศรี  ชนานพ


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 16:25



หลานปู่หลานตาของท่านคือ

๑.  นายคลี  บุณยสิงห์

๒.  นายคมสรรพ์  บุณยสิงห์

๓.  นางสาวมาลินี  เสมถิติ

๔.  นายวรินทร   ศิลป์ประสิทธิ์

๕.  นาย อภิชาติ   ศิลป์ประสิทธิ์

๖.  นาย  ธีติ   ศิลป์ประสิทธิ์




กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 16:28


คุณหลวงถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๕​  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๑๒  ด้วยโรคเส้นโลหิตหัวใจอุดตัน

คำนวณอายุได้  ๗๒ ปี  ๑๑ เดือน  กับ  ๒๓ วัน


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ค. 11, 16:35
กราบคุณหญิงเต็มศิริ  บุณยสิงห์ อย่างงดงาม บ้านท่านหมายเลข ๑ ถนนพระสุเมรุ เข้าตรอกไก่แจ้ ประตูบ้านโบราณสีฟ้า

คุณหญิงเคยเรียกเข้าชมบ้าน ชมความงามแห่งนิวาสสถานอันมีค่า มากมาย คุณหญิงแต่งชุดไทยได้สวย จึงชมด้วยความประทับใจ
ว่าแต่งชุดไทยได้สวย ท่านตอบกลับสำนวนโบราณขนานแท้ "อย่ามาเจ้าจู้กับคนแก่เลย" ยังประทับใจไม่ลืมเลือน

 


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 16:45


       หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล  เล่าไว้ว่า    รักและนับถือ พลตำรวจตรี หลวงศิลป์ประสิทธิ์​(ตาบ  ศิลปี)

หาผู้เเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

ท่านบอกว่าเต็มใจให้ เต็มสิริ  ที่มิใช่ญาติ    เรียกท่านว่า "คุณอา"  อยู่คนเดียว  เพราะถ้าท่านได้เป็นน้องของคุณตาบจริง ๆ  

ก็จะเป็นเกียรติและอบอุ่นมาก


((อ่านอย่างรวดเร็วมาถึงตอนนี้    ดิฉันก็ถึงบางอ๋อว่า  กำลังอ่านเรื่องของคุณพ่อของอาจารย์เต็มสิริ  แห่ง
โรงเรียนมัธยมประสานมิตร  อยู่     จึงตั้งใจมองหาเกล็ดในชีวิตของท่านมาเล่าต่อ))


ขอบคุณท่านผู้อ่านที่ส่งภาพมาลง   ส่วนท่านใดจะมาทางใดนั้น  ดิฉันไม่ขัดข้องจิต
ท่านที่มาทางกระจกนั้นน่าจะเป็นบุคคลที่โปร่งใสอยู่
ท่านที่จะเข้าทางประตูก็แสดงออกถึงความกว้างขวางของจิตใจ





กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 17:02


มีดองผู้หนึ่ง  เป็นนักเรียนของอาจารย์เต็ม    ดองเล่าว่าในการประชุมจัดงานทางวัฒนธรรมครั้งหนึ่ง

อาจารย์เต็มนั่งเป็นฝ่ายค้านอยู่บนเวที    ท่านปักหลักค้าน  จนไม่มีใครกล้าสู้ (ด้วยความเคารพ  เกรงบารมีและเหตุผลของท่าน)

ดองของดิฉันซ่อนตัวอยู่บริเวณสถานที่ประชุม

ในที่สุดประธานก็จำต้องเรียกผู้เสนอขึ้นมาพูดอธิบาย

ผู้เสนอก็เดินหลังค่อม  คลานเข้าไปแถวหน้า  ก้มลงกราบอาจารย์เต็ม  (เขาไม่เรียกคุณหญิงนะคะ) บนตัก
ทำตัวเหมือนเป็นนักเรียนเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา

อาจารย์ฟังเหตุผลของนักเรียนโค่ง  หรืออดีตนักเรียนของท่านแล้ว  ก็เปลี่ยนแปลงการลงคะแนนใหม่

ทุกคนก็โล่งใจ

ดองของดิฉันก็ยืดได้อีกมาก  ในฐานะลูกศิษย์อาจารย์เต็ม        เรื่องตำแหน่งและซีนั้น  ไม่มีใครนึกถึง




กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ก.ค. 11, 17:05
๒.   นางเต็มศิริ  บุณยสิงห์   สมรสกับ นาย ครุย   บุณยสิงห์

ประวัติคุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์ (http://khunyingtemsiri.exteen.com/page)
 
คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์ เกิดในตระะกูลศิลปี เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๓๔๖๔ ที่บ้านซอยต้นสน ถนนเพลินจิต ซึ่งเป็นบ้านของคุณปู่ พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ อดีตองคมนตรีและเจ้ากรมมหรสพ ซึ่งต่อมาเป็นกรมโขน และกรมศิลปากรในปัจจุบัน ท่านเป็นธิดาของ พล.ต.ต.หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) และนางตาบทิพย์  มีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน ๖ คน ด้านครอบครัว ได้สมรสกับ ดร.ครุย บุณยสิงห์  ใน พ.ศ. ๒๔๙๐  และมีบุตรชาย ๒ คน คุณหญิงเต็มสิริ เดิมชื่อ “สมถวิล”  ใช้มาจนถึงมัธยม ๘ เกิดเจ็บป่วย จึงต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์และเปลี่ยนชื่อเป็น “เต็มสิริ” เปลี่ยนให้โดยพระยาสุขุมนัยพินิต    

ท่านได้เริ่มการศึกษาระดับประถมศึกษาในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ที่โรงเรียนอนุศึกษา มัธยมต้นที่โรงเรียนมหาพฤฒาราม ต่อมาบิดาได้ย้ายไปปฏิบัติราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้ติดตามบิดาไป และศึกษาต่อจนจบมัธยม ๘  ที่โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ  และความภาคภูมิใจของท่านคือ “ในปีการศึกษาสุดท้ายของมัธยม ๘ ท่านสอบได้เป็นลำดับที่ ๑ ของมณฑลพายัพ  ซึ่งเป็นอันดับที่ ๗ ของประเทศไทย”  

พ.ศ. ๒๔๘๔  ท่านได้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และได้ศึกษาปริญญาครุศาสตรบัณฑิต อีก ๑ ปีจนจบสำเร็จการศึกษา ในขณะที่ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ท่านได้รับความกรุณาจาก หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งเป็นนักการศึกษาที่สำคัญมากของประเทศไทย เป็นผู้ปกครอง  และหลังจากนั้นท่านยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารการศึกษาและแนะแนวจาก Western Washington Collage of Education

ท่านเริ่มรับราชการใน พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นเวลา ๑๐ ปี  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มารับตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ซึ่งเป็นโรงเรียนสาธิตแผนกฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศ  และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมสาธิตประสานมิตร ด้วยมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงโรงเรียนกลางทุ่งนาของกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนสาธิตของวิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร  ซึ่งในขณะนั้นจะเป็นโรงเรียนสาธิตที่มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นโรงเรียนกลางทุ่งนา หลังคาจาก และมีไม้แฝกเป็นฝาห้อง

พ.ศ. ๒๕๑๑  ท่านเป็นผู้ริเริ่มทดลองทำโรงเรียนมัธยมแบบผสมแห่งแรกของเขตกรุงเทพฯ  คือมีการเรียนสายสามัญและสายอาชีพในโรงเรียน  ต่อจากนั้นท่านไปตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสาธิตและทดลอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร จนเกษียณราชการในปี พ.ศ. ๒๕๒๕

นอกเหนือจากบทบาทของการเป็นครู เป็นนักการศึกษา ท่านยังเป็นนักพูดชั้นนำของประเทศ  งานด้านการพูดในอดีตที่สำคัญ เช่น “โต๊ะกลมการเมือง” ของรายการโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม ในขณะนั้น ท่านเป็นผู้ควบคุมและดำเนินรายการ  และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เยาวชนของชาติในบทบาทของนักพูด สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการด้านสตรีและเยาวชน   และมีภารกิจมากมายในด้านวัฒนธรรม ประเพณี จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ และยังเป็นนักเขียนหนังสือ ท่านได้เขียนตำรา บทความ ต่าง ๆ ตลอดมา

 ;D                        
            


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 17:17

ขอบคุณ  คุณเพ็ญชมพูค่ะ

มีผู้มาร่วมด้วยช่วยกัน    นับว่ามีหน้ามีตานัก(ขอยืมวลี  มาจากพงศาวดารจีนสักเรื่องหนึ่ง)


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 ก.ค. 11, 17:39

กลับไปอ่านที่ ม.ล. ปิ่น  เขียนนะคะ


       "ข้าพเจ้ารู้จักคุณตาบมา ๕๕ ปีเศษแล้ว    ตั้งแต่เราเป็นนักเรียนมหาดเล็กเด็กในหลวงมาด้วยกัน   

ตั้งแต่คุณตาบเพิ่งพ้นจากความเป็นเด็กชายมาใหม่ ๆ       ส่วนข้าพเจ้ายังเป็นเด็กเล็ก   

รักษาตัวของตัวเองก็ยังไม่ค่อยจะได้   คุณตาบเรียนอยู่สูงกว่าข้าพเจ้าหลายชั้น

       เป็นเคราะห์ดีของข้าพเจ้าและเด็ก ๆ รุ่นข้าพเจ้า  ที่โรงเรียนแต่งตั้งให้คุณตาบเป็นหัวหน้านักเรียน 

เพราะท่านผู้นี้มีจิตใจสูง  คอยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คุ้มครองเด็กเล็กดียิ่งนัก   แนะนำสิ่งที่ควรทำและห้ามสิ่ง

ที่ไม่ควรทำ  ทั้งนี้ไม่เฉพาะขณะเมื่ออยู่ที่โรงเรียน   แต่ตลอดไปจนกลางทุ่งกลางนา   ในยามวิกาล 

ที่เราไปซ้อมรบเสือป่าด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า   ให้ข้าพเจ้า

ไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณ  ในหน้าที่มหาดเล็กรับใช้   คุณตาบก็ได้เป็นผู้ถือสำเนาคำสั่งของ

กรมมหาดเล็กมาให้ข้าพเจ้าถึงบ้าน   ข้าพเจ้ายังจำได้ว่ามายืนชี้แจงอยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 01 ก.ค. 11, 19:18
เมื่อสักสี่ปีก่อนได้พาคณะครูโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพจากเชียงใหม่  ไปกราบคุณหญิงที่บ้านตรอกไก่แจ้  คุณหญิงยังคงเป็นคุณครูที่น่ากราบเหมือนเดืม  แม้ความจำจะเริ่มเลือนลง  แต่วันนั้นคุณหญิงยังเล่าถึงชีวิตนักเรียนวัฒโนทัยพายัพเมื่อหลายสิบปีก่อนให้คณะได้รับฟังเหมือนท่านเพิ่งจากโรงเรียนนั้นมาไม่นาน


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ก.ค. 11, 09:25

ม.ล.ปิ่น  มาลากุล  เล่าถึงคุณตาบด้วยความผูกพันและอาลัย   ท่านใช้คำว่ารักและนับถือไว้ด้วย


       คุณตาบรับราชการอยู่ในพระราชสำนักไม่นาน  ก็โอนย้ายไปกรมตำรวจ  นักเรียนมหาดเล็กและมหาดเล็ก

ก็ตามไปรบกวนพึ่งพาอาศัยคุณตาบไม่หยุดหย่อนโดยเฉพาะที่สถานีตำรวจสามแยก   ซ่อมจักรยานยนต์ไม่ได้

ก็พากันไปหาคุณตาบ  ทั้งๆที่ทำเทียนไขหล่นในถังน้ำมันเพราะอยากจะทราบว่าในถังน้ำมันมีน้ำมันเหลือเท่าใด

ตอนนั้นรถดับเพลิงของกรมตำรวจมีอยู่คันเดียว  อยู่ที่โรงพักสามแยก   ม.ล.ปิ่นเห็นคุณตาบทำประโยชน์

อย่างฝ่าอันตรายคือนำรถดับเพลิงออกปฏิบัติงาน    ท่านเล่าว่าเคยลองหมุนรถดับเพลิงคันนั้นหนักมาก   หมุนไม่ไหว


       เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว  และก็ทำงานต่างสังกัด  จึงไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก   เมื่อม.ล.ปิ่นอยู่กระทรวงศึกษาธิการ

ไปตรวจราชการที่จังหวัดเชียงใหม่และได้ไปค้างอยู่บนดอยสุเทพ     คุณตาบเป็นผู้บังคับบัญชาตำรวจอยู่ที่นั่น

ได้ขึ้นไปกางเต็นท์อยู่ใกล้ที่พัก    เชิญเข้าไปนอนในอาคารก็ไม่ยอม     

"ทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่ข้าพเจ้าเหมือนเมื่อ

ข้าพเจ้าเป็นเด็ก ๑๐ ขวบอยู่นั่นเอง    บุคคลเช่นนี้มีอยู่คนเดียว"



กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ก.ค. 11, 09:36


       "ในวันบำเพ็ญกุศลที่วัดมกุฎกษัติยารามคืนหนึ่ง   ข้าพเจ้าพบ ม.จ. ตุลภากร  วรวรรณ

ท่านรับสั่งเป็นข้อสังเกตว่า   คุณตาบเป็นที่พึ่งของพวกเรามาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว   พวกเราสิ

เป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา  ก็มิได้ให้การอุปการะแก่คุณตาบเลย


       ข้าพเจ้ารับว่าเป็นความจริง   คุณตาบช่วยเพื่อนฝูง   ช่วยมนุษย์ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด   

และไม่อยากรบกวนให้ใครต้องเดือดร้อน   ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่ามีอยู่คนเดียว  เป็นผู้ที่ข้าพเจ้าทั้งรัก 

ทั้งนับถือ  และอาลัยอย่างยิ่งเมื่อจากไป"


กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ก.ค. 11, 09:47

ลำดับการรับราชการโดยย่อ

๒๔๕๘                มหาดเล็กวิเศษ   กองตั้งเครื่องกรมมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

๒๔๕๙                รับราชการในกระทรวงนครบาล

๒๔๖๐                นายร้อยตำรวจตรี

๒๔๗๓               นายร้อยตำรวจเอก

๒๓๗๔               รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศิลป์ประสิทธิ์

๒๔๘๒               นายพันตำรวจตรี

๒๔๙๒               นายพันตำรวจเอก

๒๔๙๖               นายพลตำรวจจัตวา

๒๔๙๘               นายพลตำรวจตรี



กระทู้: พล ต.ต. หลวงศิลป์ประสิทธิ์ (ตาบ ศิลปี) ท.ช., ท.ม.
เริ่มกระทู้โดย: Dullataj S. ที่ 29 ต.ค. 19, 21:42
Family Tree ครับ