เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 107001 'เสด็จ' ในเรื่องสี่แผ่นดิน
Package
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 11:23

 เสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ ถ้าเสด็จจะเสด็จ เสด็จก็จะเสด็จด้วยเพคะ ... ผมจำได้คับว่าคำพูดนี้เคยนำไปออกข้อสอบสอบเข้า ที่ โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์คับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 11:23

 คุณ vun ต้องเพิ่ม พระราชโอรส(พระบรมวงศ์ชั้น 4)ที่ทรงพระชนม์ชีพจนถึงปัจจุบันด้วยอีก 1 พระองค์ครับ ได้แก่  สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ครับ(ไม่มีพระรูปมาให้) เพราะพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี 2490
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 12:33

 การออกพระนามเจ้านายอย่างลำลอง  โดยปกติแล้วมีธรรมเนียมดังนี้ครับ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  +  เจ้าฟ้าชั้นเอก  =  ทูลกระหม่อม

พระอัครมเหสี  +  เจ้าฟ้าชั้นโท  =  สมเด็จ

พระองค์เจ้า  ที่เป็นพระราชบุตร  พระราชบุตรีของพระเจ้าแผ่นดิน  =   เสด็จพระองค์ฯ   และถเทรงกรมก้จะออกพระนามว่า  "เสด็จในกรม"

พระองค์เจ้า  ที่เป็นพระเจ้าหลานเธอของพระเจ้าแผ่นดิน  =  พระองค์  เช่น  พระองค์จุลฯ  พระองค์ภาฯ  เป็นต้น  ในหนังสือเกิดวังปารุสก์ฯ  ของพระองค์จุลฯ  ทรงเขียนไว้ว่า  เจ้านายชั้นนี้จะเรียกเสด็จก็ๆด้

พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้า  =  ท่านพระองค์  เช่น  ท่านพระองค์มาริศฯ  เป็นต้น

หม่อมเจ้า  =  ท่าน

สำหรับพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์  พระวรชายาฯ  ทราบมาว่าสมเด็จพระบรมฯ  โปรดให้ข้าราชบริพารในวังศุโขทัยออกพระนามว่า  "เสด็จพระองค์หญิง"  เช่นเดียวกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ  ที่ข้าราชบริพารในพระองค์จะออกพระนามว่า  "เสด็จพระองค์หญิง"  แต่โดยทั่วๆ  ไปก้จะออกพระนามว่า  "พระองค์ศรีรัศมิ์"  หรือ  "พระองค์โสม"


การออกพระนามเจ้านายชั้น  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  ว่า  "เสด็จ"  นั้น  เนื่องจากในในช่วงหลังๆ  มานี้เจ้านายชั้น  "เสด็จ"  เหลือน้อยพระองค์  จึงได้มีผู้ออกพระนามเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่มีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลก่อนๆ  ว่า  "เสด็จ"  เช่น  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ก็มีผู้ออกพระนามว่า  เสด็จฯ  ผู้สำเร็จราชการบ้าง  เสด็จอาทิตย์บ้าง  หรือพระองค์อาทิตย์เฉยๆ  ก็ได้  และอีกพระองค์หนึ่งที่ได้ยินกันบ่อยก็คือพระเจ้าวรวงศ์เอ  พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล  ทีมทักออกพระนามว่า  "เสด็จพระองค์ชายใหญ่"  ครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 11 ต.ค. 05, 12:54

 คุณเทาชมพูครับ

เรื่องคุณท้าวนั้น  ผมคิดว่าคุณชายคึกฤทธิ์  ท่านน่าจะหมายถึง  "ท้าววรคณานันท์  (ม.ร.ว. ปั้ม  มาลากุล)"  มากที่สุดครับ

เพราะในสมัยรัชกาลที่  6  คุณท้าวท่านนี้ท่านมีอำนาจรองลงมาจากคุณท้าววรจันทร  ได้บังคับบัญชาราชการในวังหลวง  มีที่บังคับบัญชาราชการอยู่ในที่บน  เป็นคนโปรดและได้ถวายการรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จพระพันปีหลวง  จึงนับได้ว่าท่านเป็นคุณท้าวที่เรืองวาสนาในวังหลวงมากคนหนึ่งครับ

เพราะในความเป็นจริงแล้วคุณชายคึกฤทธิ์  มีโอกาสได้เห็นและใกล้ชิดกับราชสำนักฝ่ายในในสมัยรัชกาลที่  6  มากที่สุด  ในขณะที่ท่านไม่เคยเห็นราชสำนักในรัชกาลที่  5  มาก่อน  ท่านอาจจะมีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศในวังหลวงในขณะที่สมเด็จพระพันปีหลวง  ทรงเข้าไปประทับในวังหลวงอยู่ระยะหนึ่ง  ผมจึงเข้าใจว่าราชสำนักฝ่ายในในสมัยรัชกาลที่  5  จากนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน  ได้รับอิทธิพลของราชสำนักในรัชกาลที่  6  มาค่อนข้างมากเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 12 ต.ค. 05, 09:09

 ขอบคุณคุณหยดน้ำที่ให้ข้อมูลเพิ่มค่ะ

ไปหารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับท้าววรคณานันท์ มาดู
พบเพียงสั้นๆว่า ท่านคือเจ้าจอมปั้ม  ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นปราบปรปักษ์  มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าท้าวนางชั้นสูงสุดในทำเนียบข้าราชบริพารฝ่ายใน ในรัชกาลที่ 6

หมอสมิธ แพทย์ประจำพระองค์สมเด็จพระพันปีฯ เล่าถึงคุณปั้ม และคุณปุยผู้น้องสาว ว่า
" น้องชายของท่านทั้งสองรับราชการอยู่ในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง   (หมายถึงเจ้าพนะยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล)
ทั้งคุณปั้มและคุณปุย มีนิสัยร่าเริง  มีลักษณะท่าทางง่ายๆสบายๆ และมีรูปร่างอ้วนท้วนเหมาะสมแก่ฐานะ
ท่านทั้งสองเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถ   คุณปั้มผู้พี่มีหน้าที่ควบคุมดูแลข้าราชสำนักโดยทั่วไป
เป็นผู้ถือพระราชทรัพย์  ดูแลห้องเครื่อง และรับผิดชอบงานทุกอย่างยกเว้นเฉพาะหน้าที่ภายในห้องพระบรรทม
สำหรับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาอาจจะมองว่าท่านเป็นผู้ที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย    แต่เนื่องจากสมเด็จพระพันปีหลวงทรงเป็นเจ้านายที่ช่างพิถีพิถัน    ดังนั้นการที่จะควบคุมข้าราชสำนักให้ปฏิบัติตามพระราชประสงค์ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องเข้มงวดกวดขันเป็นเรื่องธรรมดา

อ่านแล้ว  นึกถึงคุณสายค่ะ     ถามตัวเองว่าม.ร.ว. คึกฤทธิ์ จำลองภาพบางส่วนมาใส่ไว้ในตัวคุณสาย ใน"สี่แผ่นดิน" หรือเปล่านะ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 12 ต.ค. 05, 16:41

"...ถ้าเป็นการเฝ้าสมเด็จโดยเฉพาะแล้ว เสด็จมักจะเสด็จขึ้นทางบันไดด้านตะวันออก ข้างที่มีดาดฟ้าและร้านดอกไม้  แต่พลอยก็ได้ส่งเสด็จเพียงอัฒจันทร์ข้างล่างและนั่งรออยู่จนกว่าจะเสด็จกลับ  เพราะการที่จะขึ้นบันไดไปชั้นบนนั้น จะต้องผ่านห้องที่นั่งของคุณท้าวผู้ซึ่งมีคนยำเยงเกรงวาสนาทั้งวัง..."



พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์  มีทางขึ้นอยู่ตั้งอยู่เยื้องกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  (ด้านตะวันออก)  เป็นอัฒจรรย์หินอ่อนกว้างประมาณ  3  เมตร  สูงจากพื้นดินราว  1  เมตร  ก็จะเป็นชานชาลาหินอ่อนสี่เหลี่ยมมีประตูเหล็กโปร่งลวดลายสวยงาม  2  บานใหญ่สำหรับปิดทางขึ้นอัฒจันทร์นี้ได้เวลาต้องการปิดเมื่อเสด็จอยู่  (น่าจะหมายถึงอัฒจันทร์ข้างล่างที่พลอยพูดถึง)  พ้นชานชาลานี้เข้าไป  ตัวอัฒจันทร์จะแยกออกขึ้นไปสู่บนพระที่นั่งได้  2  ทาง  ทางซ้ายขึ้นพระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์  (น่าจะเป็นส่วนที่มีดาดฟ้าและร้านดอกไม้)  และทางขวาพระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร


อัฒจันทร์นี้ใช้เป็นที่สำหรับเจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์  เจ้าจอม  คุณพนักงานที่มีหน้าที่ขึ้นเฝ้าฯ


ใต้  "ที่บน"  ซึ่งอยู่ตรงทางชานชาลาหน้าอัฒจันทร์  ที่มีประตูเหล็กอยู่  แบ่งออกเป็นห้องต่างๆ  หลายห้อง  ได้แก่  ห้องเก็บเครื่องใช้ประจำวันของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาฯ  ห้องของพระพี่เลี้ยง  พระนมในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  บางห้องเคยใช้เป็นที่ประทับของพระบรมวงศ์  เช่น  ห้องเสด็จพระองค์สร้อยฯ  และห้องของหม่อมเจ้าหญิงในอุปการะ  ตลอดจนห้องเก็บพัสดุภัณฑ์  และของมีค่าของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาฯ  ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าจอมหม่อราชวงศ์ปั้ม  (คุณใหญ่)  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม  (คุณห้องทอง)  แห่งราชสกุลมาลากุล  ผู้มีหน้าที่ประจำ


หนังสือสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ  ของอุทุมพร  เขียนเกี่ยวกับราชสำนักสมเด็จที่บนไว้ว่า

"...เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  ทรงได้รับสถาปนาพระอิสสริยยศขึ้นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี  ...  บรรดาเจ้านายที่ทรงรักใคร่ต้องพระอัธยาศัยกันมาย่อมเข้ามาถวายความภักดีร่วมอยู่ในพระบารมีเป็นคณะพระราชสำนักสมเด็จที่บน  หลายพระองค์  อาทิ  พระองค์เจ้าศรีนาคสวาสดิ  พระองค์เจ้าแขไขดวง  พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์  และพระองค์เจ้านารีรัตนา  เป็นต้น  นอกจากเจ้านายหลายพระองค์ดังกล่าวแล้วก็ยังมีพระสนมที่เป็นผู้อยู่ในราชตระกูลอันนับเป็นเชื้อพระวงศ์  คือ  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้น  ...  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม  ...  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม  ...  เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว  มาลากุล  พระธิดาในกรมหมื่นปราบปรปักษ์ซึ่งทั้ง  ๔  ท่านนี้เป็นข้าหลวงคนสนิทที่สมเด็จทรงโปรดปรานไว้วางพระราชหฤทัยมอบให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์มีอำนาจว่ากล่าวดูแลคนทั้งปวงโดยสิทธิ์ขาด..."


จากข้อความนี้ช่วยสนับสนุนประเด็นที่ว่า  "เสด็จในสี่แผ่นดิน"  น่าจะถูกสมมติเป็น "พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ"  มากขึ้น  (หากไม่พิจารณาเรื่องลักษณะนิสัย)  เพราะทั้งวันสิ้นพระชนม์  และความเกี่ยวพันกับสมเด็จที่บนค่อนข้างใกล้เคียงกับในเรื่องสี่แผ่นดินครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 12 ต.ค. 05, 16:52

 ส่วนเรื่องลักษณะนิสัยของท้าววรคณานันท์  (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม  มาลากุล)  เห็นด้วยกับคุณเทาชมพูอย่างยิ่งครับผม  อย่างไรก็ดีคุณท้าวที่แม่พลอยบอกว่า  "...ผู้ซึ่งมีคนยำเกรงวาสนาทั้งวัง..."  ผมยังเข้าใจว่าคุณชายคึกฤทธิ์  ท่านหมายถึงท้าววรคณานันท์  ในสมัยรัชกาลที่  6  มากกว่าจะเป็นท้าววรจันทร  หรือท้าววรคณานันท์ในสมัยรัชกาลที่  5  จริงๆ  ครับ  (คือสมมติให้ท้าววรคณานันท์  (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม  มาลากุล)  ในสมัยรัชกาลที่  6  ไปเป็นคุณท้าวผู้ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่  5 ตามที่ท่านได้พบเห็นครับ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 13 ต.ค. 05, 09:29

 ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยทำให้กระทู้นี้มีรสชาติเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ    จากความรู้ที่ช่วยถ่ายทอดเป็นวิทยาทานให้ค่ะ

ขอย้อนไปถึงบ้านคลองบางหลวง ที่พลอยอยู่มาตั้งแต่เกิด ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ บรรยายว่า
เป็นตึกทันสมัยสำหรับระยะเวลาระหว่างพ.ศ. 2425 ถึง พ.ศ. 2435
เป็นตึกก่ออิฐ ฉาบด้วยปูนขาว  หลังคามุงกระเบื้องจีนเป็นลูกฟูก   หน้าตึกเป็นบันไดขึ้นสองข้างมาบรรจบกัน
ตรงกลางเป็นชาลาย่อมๆ แล้วจากนั้นก็มีบันไดตรงขึ้นไปชั้นบนของตึก บนตึกมีเฉลียงเดินได้รอบ  ลูกกรงมีลูกมะหวดกระเบื้องสีเขียวแก่
พ้นจากเฉลียงเข้าไปก็มีห้องใหญ่ๆ 3 ห้อง

ตอนอ่าน ก็นึกไม่ออกว่าบ้านเจ้าคุณพ่อของพลอยเป็นแบบไหน  จนกระทั่ง วันหนึ่งไปเห็นบ้านเก่าแก่ที่เจริญพาสน์
เป็นบ้านของพระยาราชานุประพันธ์( ทุ้ย บุนนาค) ซึ่งตกทอดมาถึงบุตรี  คุณหญิงอายุยืน ภรรยาพระยาอรสุมพลาภิบาล( เด่น บุนนาค)
ลูกหลานยังอยู่ในบ้านนี้มาจนปัจจุบัน
จึงพอนึกภาพออกว่าบ้านใน "สี่แผ่นดิน" คล้ายแบบนี้เอง

ภาพนี้อาจมองไม่ชัดนัก แต่คงพอสังเกตได้ว่า บันไดทางขึ้นอยู่นอกตัวบ้าน  ตามความเชื่อไทยโบราณว่าบันไดไม่ควรอยู่ในตัวบ้านจะไม่เป็นมงคล  
เป็นบันไดสองข้างทอดขึ้นไปบรรจบที่ชานตรงกลาง แล้วพอเลี้ยวเข้าไปก็เป็นเฉลียงชั้นบน  
ในภาพ เฉลียงอยู่ด้านหลังของลูกกรง ที่มีหน้าต่างบานเกล็ด  จากเฉลียงก็เห็นประตูใหญ่ๆ 3 บาน เปิดเข้าไปในห้อง 3 ห้อง เหมือนในหนังสือ
หลังคาบ้านนี้เป็นกระเบื้องลูกฟูก  เหมือนในหนังสืออีกเช่นกัน

เห็นบ้านคล้ายๆอย่างนี้อีกหลังหนึ่ง เป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดบุรณศิริ  ซึ่งอยู่ใกล้ท้องสนามหลวง ถัดโรงแรมรัตนโกสินทร์ไปทางถนนอัษฎางค์   สภาพค่อนข้างชำรุดทรุดโทรม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 13 ต.ค. 05, 09:41

 บ้านของคุณเปรม ที่พลอยไปอยู่หลังแต่งงาน   ในเรื่องบอกว่าอยู่ริมคลองพ่อยม
คลองพ่อยม คือคลองสาทร  ปัจจุบันไม่เหลือแล้ว
ชื่อถนนสาทร มาจากหลวงสาทรราชายุกต์ หรือเจ้าสัวยม    ท่านบริจาคที่ดินบริเวณนี้ให้ตัดเป็นถนนสาทร
ชื่อถนนสะกดผิดกันมาหลายสิบปี  เพิ่งแก้ไขให้ถูกต้องไม่กี่ปีนี้เอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 09:47

 งานโสกันต์ หรืองานโกนจุกเจ้านายระดับเจ้าฟ้าและพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้า  มีเขาไกรลาสจำลอง เป็นที่สรงน้ำหลังโสกันต์
สร้างจากโครงไม้ไผ่สาน  หุ้มดีบุกแล้วทาสีให้เหมือนศิลา สร้างมณฑปใหญ่บนยอดเขา และบุษบกที่สรงน้ำ  
ใส่ต้นไม้ และต่อน้ำพุในเขา  กั้นราชวัตรปักฉัตรโดยรอบบริเวณ
ภาพนี้คือภาพเขาไกรลาส อย่างในเรื่องสี่แผ่นดินค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 09:54


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 09:57


สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช  กรมหลวงสงขลานครินทร์ ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 09:59


ผู้ใหญ่ช่วยแต่งกายให้เด็กที่เข้าพิธีโกนจุก
ในภาพเป็นเกศากันต์ของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 10:19

 ดิฉันขอเรียนถามอาจารย์ค่ะว่า ทำไมเด็กชายและเด็กหญิงถึงเข้าพิธีโกนจุกอายุไม่เท่ากัน หวังว่าอาจารย์คงไม่ตอบว่า that’s just  the way it is เหมือนที่ดิฉันได้รับมาเมื่อถามเพื่อนๆค่ะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 19 ต.ค. 05, 16:25

 เท่าที่เคยได้ยินจากผู้ใหญ่  เด็กชายและหญิงเป็นหนุ่มสาวเร็วไม่เท่ากันค่ะ  
เด็กผู้หญิงอายุครบ ๑๑ ย่าง ๑๒  จะเริ่มมีหน้าอก      พอพ้นโกนจุกก็ถึงเวลาห่มผ้า(แถบ หรือสไบ)ได้แล้ว แสดงว่าพ้นวัยเด็ก รูปร่างเริ่มเปลี่ยนแปลง ประจำเดือนเริ่มมา
แต่เด็กผู้ชายยังโตช้ากว่าผู้หญิง มีความเปลี่ยนแปลงช้ากว่า ก็เลยโกนจุกช้ากว่า ประมาณ ๑๓ ปี  
ถ้าท่านใดมีเหตุผลอื่นนอกจากนี้ ช่วยเล่าให้ฟังด้วยนะคะ
ยังงี้จะเรียกว่า Just the way it was  ได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง