เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ศรีปิงเวียง ที่ 27 ส.ค. 05, 15:12



กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 27 ส.ค. 05, 15:12
 ความจริงแล้วเรื่องนี้ควรจัดอยู่ในกระทู้ราชสกุลเสียด้วยซ้ำ แต่เมื่อคิดดูแล้ว จึงคิดว่าควรตั้งกระทู้ขึ้นมา เพื่อเรียบเรียงพระประวัติเจ้าฟ้าพระองค์นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเรียนนอกตัวอย่าง เพราะพระองค์ทรงมีส่วนในการก่อตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นมา เนื่องด้วยเอกสารที่เรียบเรียงค่อนข้างเก่า ผู้ที่แวะเวียนอาจจะสงเคราห์บ้างเล็กน้อยก็ได้ครับ แต่ในขณะนี้ขอตัวไปเรียบเรียง(เท่าที่ทำได้) ให้สำเร็จครับ
ป.ล. ยังหาเว็บไซต์ที่มีพระประวัติทูลกระหม่อมติ๋วไม่ค่อยจะเจอครับ หากเนื้อหาผิดพลาดก็ขออภัยมาด้วย เพราะไม่มีโอกาสเสวนาผู้ใกล้ชิดพระองค์ท่านเลยครับ    


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ก.ย. 05, 11:20
 คุณศรีปิงเวียงยังเรียบเรียงไม่เสร็จ
หรือว่าเปลี่ยนใจแล้วก็ไม่รู้
เห็นหายเงียบไป

ดิฉันขอนำภาพพระตำหนักประถม
ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังเพชรบูรณ์มาลงให้ชมกัน
ตำหนักนี้อยู่ที่นนทบุรี
เปิดให้เข้าชมด้วยค่ะ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ปังปอนด์ ที่ 09 ก.ย. 05, 15:21
 ภูมิใจคะที่ได้จบจากวิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย ภูมิใจมากที่สุดเลยคะ ได้อ่านประวัติของท่านแล้ว และก็เสียดายที่ไม่ได้รับใบประกาศจากลูกสาวของท่านนะคะ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 11 ก.ย. 05, 09:57
 ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า พระประวัติของพระองค์มีผู้กล่าวถึงน้อยมากครับ จึงต้องใช้เวลาหน่อยครับ
รายละเอียดของพระตำหนักประถม ดูได้ที่เว็ปไซต์
 http://www.tat.or.th/thai/travel_place.php?province=56&region_id=2  มีรายละเอียดที่น่าสนใจครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: เป็นหนึ่ง ที่ 11 ก.ย. 05, 12:38
 จบจากวิทยาลัยพณิชยการอินทราชัยเหมือนกันครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 02 ต.ค. 05, 11:03
 " สีชังชื่อเกาะนั้น......เยียไฉน
ชังพี่ฤาชังใคร...........ใคร่รู้
ความรักหนักแหนงใน.ใจเจ็บ จริงนา
เสียรักเสียแรงสู้.........คิดไว้หวังชม "
(พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
 http://www.arri.chula.ac.th/Sichang/introduce_sichang.htm
" สีชังชังชื่อแล้ว.........อย่าชัง
อย่าโกรธพี่จริงจัง.......จิตข้อง
ตัวไกลจิตก็ยัง...........เนาแนบ
เสน่ห์สนิทน้อง...........นิจโอ้อาดูร "
(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว)
" ถิ่นสุขกายสุขด้วย......ถิ่นดี
จิตโปร่งปราศราคี.........ชุ่มชื้น
สองสุขแห่งชาวสี.........ชังเกาะ นี้แฮ
อายุย่อมยืนพื้น............แต่ร้อยเรือนริม "
(พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
จากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่าพระองค์โปรดในการเสด็จฯ ประพาสเกาะสีชังอยู่เนือง ๆ พระองค์เสด็จฯประพาสเกาะสีชังรวมแล้ว 3 ครั้ง แต่ในครั้งที่ 3 นี้พิเศษกว่าครั้งอื่น จะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไปหลังสอบเสร็จครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 02 ต.ค. 05, 21:41
 สีชังชังชื่อแล้ว.........อย่าชัง
อย่าโกรธพี่จริงจัง.......จิตข้อง
ตัวไกลจิตก็ยัง...........เนาแนบ
เสน่ห์สนิทน้อง...........นิจโอ้อาดูร "

พระราชนิพนธ์นี้เป็นตอนหนึ่งในบืเห่ชมชายทะเล  ในบทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อคราวเสด็จเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. ๒๔๕๗  ได้พระราชทานไปลงพิมพ์ครั้งแรกในสมุทสารฉบับที่ ๑ หรือ ๒ (ผมจำไม่ได้แน่) ซึ่งเป็นวารสารของราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  
กาพย์เห่เรือชุดนี้มีทั้งชมเรือรบ  ชทเครื่องคาวหวาน  ชมชายทะเล  ชมพระตำหนักที่ประทับ  
ขอเพิ่มเติมไวเด้วยว่า ในการเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลครั้งนั้น  นอกจากกองทัพเรือจะจัดให้มีการสวนสนามทางเรือถวายพระเกียรติยศอันเป็นการสวนสนามทางเรือครั้งแรกของทัพเรือไทยแล้ว (ทรงพระราชวิจารณ์ว่า ยังไม่สมบูรณ์ตามรูปกระบวนนัก  เพราะเรือรบเรายังมีน้อย)  การเสด็จฯ ครั้งนี้ได้เป็นมูลเหตุให้ทรงพระราชดำริที่จะเรี่ยไรเงินเพื่อจัดซื้อเรือรบหลวงพระร่วงมาประจำการ  และยังได้มีพระบรมราชโองการให้สวนพื้นที่ชายฝั่งทะเลาตหีบมิให้ผู้ใดเข้าครอบครองตราบจน พ.ศ. ๒๔๖๕ กระทรวงทหารเรือ โดยนายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสนาธิการทหารเรือ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ดินนั้นไปจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือสัตหับ  ได้มีลายพระราชหัตถ์ทรงตอบว่า
"การที่จะเอาสัตหีบเป็นฐานทัพเรือนั้น  ก็ตรงตามความปรารถนาของเราอยู่แล้ว  เพราะที่เราได้สั่งหวงพื้นที่นั้นไว้ก็ด้วยความตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น  แต่เมื่อเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ  จะไม่อยากให้โจทย์กันวุ่น  จึงได้กล่าวไว้ว่าจะต้องการที่ไว้ทำวัง  สำหรับเผื่อจะมีผู้จับจอง  ฝ่ายเทศาภิบาลจะได้ตอบไม่อนุญาตได้โดยอ้างเหตุว่า "พระเจ้าอยู่หัวต้องพระราชประสงค์"  เมื่อบัดนี้ทหารเรือจะต้องการที่นั้นก็ยินดีอนุญาตให้"


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 08 ต.ค. 05, 16:01
 ขอขอบพระคุณคุณV_Mee เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ครับ
หลังจากสอบเสร็จมาเรียบร้อยแล้ว (แต่ภาระยังคงอยู่ กระทู้นี้คงไม่จบง่าย ๆ เสียแล้วครับ) ผมก็พบบทกลอนและโคลงที่เกี่ยวกับเกาะสีชังอีกแล้วครับ มีดังนี้
มุ่งเห็นละล่ายน้ำ.....ตาตก แม่ฮา
เกาะสระชงงชลธี...โอบอ้อม
มลากเห็นไผ่รยงรา..เกาะไผ่ พ้นแม่
ขยวสระดื้อล้ำย้อม.....ยอดคราม

โคลงบทที่ 78 ในกำสรวญศรีปราชญ์
เหลียวเห็นเกาะสีชังนั่งพินิจ      เฉลียวคิดถึงนุชที่สุดหวัง
ให้นึกกลัวน้องหญิงจะชิงชัง                  ถ้าเป็นดังชื่อเกาะแล้วเราะห์กรรม

มาเข้าเรื่องดีกว่าครับ
จากความเห็นที่ 5 ที่ว่าครั้งที่นี้พิเศษ ก็เพราะว่า นอกจากพระองค์พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ (บางพระองค์)และคณะตามเสด็จจะประพาสที่นี้แล้ว สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวีซึ่งทรงพระครรภ์ได้ตามเสด็จฯ ด้วย อันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระหน่อประสูติบนเกาะแห่งนี้ ทรงมีพระราชประสงค์ในการสร้างพระราชฐานเพื่อใช้เป็นที่ประทับในคราวต่อไป โดยทรงให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภานุพันธุวงศ์วรเดชทรงเป็นแม่กองในการคุมงานดังกล่าว
และหลังจากที่รอคอยมานาน สมเด็จพระอัครมเหสีก็ได้มีพระประสูติกาลพระราชโอรส ณ พระตำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง ซึ่งตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๑ เวลา ๘ ทุ่ม ๕๓ นาที (ถ้าเทียบเวลาแล้วก็น่าจะตรงกับเวลา ๐๒.๕๓ น.) และได้มีพระราชพิธีสมโภชพระกุมารครบ ๓ วันบนเกาะแห่งนั้นด้วย
วันนี้พอเท่านี้ก่อนครับ ไว้ถ้ามีโอกาส ก็จะเพิ่มเนื้อหาอีกครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 17 ต.ค. 05, 10:51
 http://chula.ac.th/history/chudadhuj_th.html
http://61.19.220.3/heritage/nation/tour/sichang.htm
http://61.19.220.3/heritage/nation/tour/sichang1.htm
เว็ปไซต์เกี่ยวกับพระจุฑาธุชราชฐาน


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 22 ต.ค. 05, 10:27
 คุณสะใภ้จ้าว เขียนเรื่องพระจุฑาธุชราชฐานไว้ใน
เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวังและพระที่นั่งต่างๆ
สามารถหาอ่านเอาได้ครับ
ต่อมาเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้มีพระชนมายุได้ 1 เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพิธีสมโภชเดือนขึ้น ซึ่งได้มีการพระราชทานพระนามพระราชกุมาร,พระราชฐานที่พระราชกุมารประสูติ (พระราชทานนามว่า พระจุฑาธุชราชฐาน เพื่อให้พ้องกับพระนามพระราชโอรสตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริดังกล่าว) และพระราชทานนามพระที่นั่งที่ก่อพระฤกษ์ในคราวเดียวกันนี้ว่า พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ (ต่อมาได้ยุติการสร้าง และรื้อนำไปปลูกเป็นพระที่นั่งวิมานเมฆ)

ขออภัยมาล่วงหน้าครับ พิมพ์ได้เท่านี้เพราะลืมจดพระนามเต็ม ๆ ของพระองค์ท่านครับ เอาไว้คราวต่อไป(ซึ่งคงอีกนาน)ครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 08 พ.ย. 05, 20:39
 คุณหญิงมณี สิริวรสาร เล่าว่า เมื่อสมเด็จพระพี่ยาเธอฯทิวงคตและไม่มีทายาท สมเด็จพระปกเกล้าฯ
ทรงมีพระราชดำริว่าในบรรดามรดกทั้งหลายควรตกแก่หลาน  (พระองค์จุลฯ และพระองค์วรานนท์ธวัช
โอรสของเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ฯ )  แต่เนื่องจากหลานพระองค์แรกทรงมีทรัพย์มากอยู่แล้ว
และองค์หลังทรงจนกว่ามาก จึงทรงตัดสินให้พระองค์หลังเป็นผู้รับแต่เพียงผู้เดียว ผู้แต่งใช้คำว่า "ไม้เบื่อไม้เมา"
บรรยายความสัมพันธ์ของอา-หลาน

1. แล้วหลานหญิงซึ่งได้แก่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธิสิริโสภา (พระธิดาของกรมขุนเพชรบูรณ์ฯเหมือนกัน)
ทำไมไม่อยู่ในข่าย แล้วใครเป็นผู้รับมรดกวังนี้หรือค่ะ

2. ในระบอบสมบูรณาญาฯ พระมหากษัตริย์ทรงสามารถหักด้ามพร้า หรือ ruled out อะไรๆก็ได้หรือค่ะ
บังเอิญมาอ่านประวัติวังเพชรบูรณ์ อยู่ในทำเลหัวกระเด็นเสียด้วย เนื้อที่เฉียด 30-40 ไร่
อย่างนี้ไม่จนนะคะ ขอบคุณค่ะ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: หยดน้ำ ที่ 09 พ.ย. 05, 07:59
 ขออนุญาตตอบคุณ Nuchan ในข้อ  2  ครับ


ช่ายครับในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะยกเลิกพระพินัยกรรมของพระบรมวงศานุวงศ์ได้  อย่างเมื่อครั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช  เจ้่าฟ้าฯ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทิวงคต  ทรงมีพระพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้กับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส  และเป็นผู้ดูและพระองค์จุล  แต่รัชกาลที่  6  ก็ทรงใช้พระราชอำนาจที่ทรงสามารถกระทำได้ยกเลิกพระพินัยกรรมฉบับนั้น  โปรดให้หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสออกจากวังปารุสก์ไปประทับที่วังจักรพงษ์ที่ท่าเตียน  เข้าใจว่าทรงเรียกวังปารุสก์เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  พระองค์จุลย้ายจากพระตำหนักใหญ่ไปประทับที่ตำหนักจิตรลดาแทน  และเมื่อหม่อมเจ้าหญิงชวลิตฯ  ทรงเสกสมรสใหม่  รัชกาลที่  6  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้คืนทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่พระองค์จุล  ครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 10 พ.ย. 05, 09:27
 ขอบคุณ คุณหยดน้ำค่ะ

จาก 2) คุณแน่ใจไหมค่ะว่าเป็นพระราชวินิจฉัยของ ร. 6 บางกระแสบอกว่าเป็นเพราะ
กรมหมื่นจันทรบุรีฯ ตั้งเงื่อนไขว่าหาก ม. จ. ชวลิตโอภาสจะทรงเสกสมรสกับโอรสท่านได้
ก็ต่อเมื่อได้คืนทรัพย์ทั้งหมดให้พระองค์จุลฯเสียก่อน

ถึงตรงนี้อดคิดแบบสู่รู้เรื่องคนอื่นไม่ได้นะคะ คนโบราณทำพินัยกรรมประหลาดๆ กรมหลวงราชบุรีฯ
ก็ทรงยกให้องค์โตหมด ของทูลหม่อมเล็กก็ทรงยกให้ ม.จ. หญิงชวลิตฯหมด ทั้งๆที่ทรงอยู่กัน
แบบหม้อข้าวยังไม่ทันดำ ถ้าหากตอบว่าเป็นความพอทัยส่วนองค์ ใครก็คงวิจารณ์ไม่ได้

อย่างไรแล้ว อยากทราบคำตอบข้อ 1 ด้วยค่ะ หลานหญิงไม่อยู่ในข่ายขึ้นครองราชย์พอเข้าใจได้
แต่ถ้าไม่อยู่ในข่ายรับมรดก ยังไม่เคยได้ยินค่ะ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: N.P. ที่ 17 พ.ย. 05, 15:38
 แสดงว่าพระองค์เจ้าวรานนท์ก็อาจอยู่ในข่ายสืบราชสมบัติ แต่เคยอ่านในกระทู้ "เจ้าวังปารุสก์" ว่า "ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชไปเสีย" เหตุผลเพราะเรื่องมารดา ขอความกรุณาทราบรายละเอียดมากขึ้น หรือบอกรายชื่อหนังสือที่ค้นหาได้ จะขอบคุณมากครับ เพราะอยากทราบที่มาของการสืบราชสมบัติต่อจาก ร.7


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: หยดน้ำ ที่ 18 พ.ย. 05, 14:09
 เรื่องลำดับการสืบสันตติวงศ์ในสมัยรัชกาลที่  6

สายสมเด็จพระพันปีหลวง

รัชทายาทลำดับที่  1  สมเด็จพระอนุชาธิราช  เจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  ทิวงคต

รัชทายาทลำดับที่  2  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงพิษณุโลก  กับหม่อมคัทริน  แต่เมื่อรัชกาลที่  6  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ออกพระราชกฤษฎีกาตั้งพระรัชทายาท  ได้ทรงให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงพิษณุโลกฯ  ปฏิญาณว่าจะไม่ยกพระองค์จุลฯ  เป็นรัชทายาท  พระองค์จึงทรงถูกข้ามไป  (หาอ่านได้จากหนังสือ)

รัชทายาทลำดับที่  3  สมเด็จพระอนุชาธิราช  เจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงนครราชสีมา  ทิวงคต

รัชทายาทลำดับที่  4  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าฯ  กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย  สิ้นพระชนม์

รัชทายาทลำดับที่  5  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช  ขณะนั้นมีพระยศเป็นหม่อมเจ้า  เป็นพระโอรสของลำดับที่  4  รัชกาลที่  6  ทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้ามเสีย  เพราะทรงเกรงว่าเจ้านายพระองค์นี้มีพระมารดาเป้นสามัญชน  พระบรมวงศานุวงศ์จะไม่เคารพนับถือ

รัชทายาทลำดับที่  6  สมเด็จพระจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา  ขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่  7  และถือว่าสิ้นสุดสายพระพันปีหลวง



ลำดับผู้สืบสันตติวงศ์ในสมัยรัชกาลที่  7

สายสมเด็จพระพันวัสสา

รัชทายาทลำดับที่  1  สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ  เจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงสงขลานครินทร์  สิ้นพระชนม์

รัชทายาทลำดับที่  2  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอานันทมหิดล  เป็นพระโอรสของลำดับที่  1  กับหม่อมสังวาลย์  ขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่  8

รัชทายาทลำดับที่  3  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าภูมิพล  เป้นพระโอรสลำดับที่  1  กับหม่มสังวาลย์  เป็นพระอนุชาธิราชของลำดับที่  2  ขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่  9

รัชทายาทลำดับที่  4  สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ  เจ้าฟ้าฯ  กรมพระนครสววรค์วรพินิต

...
กฎมณเฑียรบาลที่ตราขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่  6  ระบุว่า  "เจ้านายที่ถูกข้ามไปแล้ว"  จะไม่มีสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: N.P. ที่ 19 พ.ย. 05, 10:26
 ขอบคุณครับ แต่ เอ่อ...สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ท่านก็เคยเป็นสามัญชนมาก่อน แสดงว่าคงต้องแตกต่างจากกรณีพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชประการใดประการหนึ่ง ซึ่งผมไม่ทราบข้อแตกต่างนั้นจริงๆ อยากให้ขยายความในกรณีนี้ด้วย ขอบคุณครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 19 พ.ย. 05, 14:05
 สมเด็จพระศรีนครินทรา ท่านเป็นสะใภ้หลวงค่ะ จำได้ว่าทูลกระหม่อมมหิดล (กรมหลวงสงขลาฯ)
ทรงขอพระราชานุญาตเสกสมรส จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
"สุขหรือทุกข์เป็นเรื่องของหม่อมฉัน" อะไรทำนองนี้

รอมืออาชีพเข้ามาช่วยตอบก็ดีค่ะ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: หยดน้ำ ที่ 20 พ.ย. 05, 13:25
 ครับก็อย่างที่คุณ   Nuchan   บอกอ่ะครับ  ฐานะของหม่อมสังวาย์  ค่อนข้างเป็นที่ยอมรับจากราชสำนัก  แม้จะมีพระชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  แต่ก็ไม่ได้เป็นลูกชาวบ้านธรรมดาทั่วไป  เคยได้รับการอบรมให้เป็นกุลสตรีมาอย่างดีเมื่อถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงเพชรบุรีราชสิริธร  ทั้งยังมีความสามารถทางการศึกษาจนเป็นที่ประจักษ์  ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อตอนที่ทรงอภิเษกสมรสนั้น  รัชกาลที่  6  ก็ทรงเสด็จมาพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ด้วยพระองค์เองที่วังสระปทุมครับ

และในกรณีท่านพระองค์วรานนท์  ก็เป็นพระราชดำริส่วนพระองค์ของรัชกาลทื่  6  ทีทรงพระราชสิทธิ์และราชพระราชอำนาจที่จะเลือกนายพระองค์ใดก็ได้เป็นพระรัชทายาท  แต่เมื่อในสมัยรัชกาลที่  7  อาจจะทรงมองปัจจัยของผู้ที่จะเป็นพระรัชทายาทแตกต่างออกไปจากรัชกาลที่  6  เพราะพระองค์เองก็ได้แสดงพระราชประสงค์ไว้อย่างชัดเจนว่าพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ  เจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงสงขลาฯ  ควรจะได้เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไปครับ

อ่อคุณ   Nuchan   เรื่องมรดกวังเพชรบูรณ์ผมเองก้ไม่ค่อยรู้เรื่องมาก  ทราบแต่ว่าวังนี้เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมขุนเพชรบูรณ์ฯ  สิ้นพระชนม์  วังเพชรบูรณ์ก็ตกอยู่หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร  ชายา  และทรงปกครองวังนี้ต่อมาจนสิ้นชีพิตักษัยครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: N.P. ที่ 20 พ.ย. 05, 16:04
ขอบคุณครับ ทราบถึงตอนนี้แล้วอยากรู้เรื่องราวของทูลกระหม่อมติ๋วต่อจัง จะคอยติดตามอ่านนะครับ ขอมีส่วนร่วมด้วยการแทรกพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 20 พ.ย. 05, 17:24
 ขอบพระคุณทุกความเห็นครับ
วันนี้ขอต่อจากความเห็นที่ 9 ครับ
พระนามเต็มของพระองค์ คือ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร
เช่นเดียวกับพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่น พระองค์ก็ทรงมีผู้อภิบาลพระองค์เช่นเดียวกัน ได้แก่
1. หม่อมใหญ่ (ในสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ) เป็นพระนมในช่วงแรก ๆ และได้รับการยกย่องจาก ร. 5 ว่าทำให้พระวรกายสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชแย็งแรงขึ้น
2. พระนมอิน ศิริสัมพันธ์ (ธิดาพระยาอาหารบริรักษ์<พิน ศิริสัมพันธ์>)
3. พระพี่เลี้ยงมรกต ชูโต
4. พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน ทรงรับพระราชภาระในการอภิบาลพระองค์
ในช่วงต้น ๆ พระองค์ทรงประทับที่พระที่นั่งเทพดนัยนันทนากร ต่อมาเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ทูลไปรับถวายอภิบาลโดยประทับที่วังกรมพระยาเทววงศ์ฯ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนราชินี) ครับ
ป.ล. ถ้ามีโอกาสก็จะเล่าเรื่องภายหลังพระองค์สิ้นพระชนม์ครับ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: Dominio ที่ 10 ธ.ค. 05, 21:15

ตำหนักจุฑาธุช ที่เกาะสีชัง สถานที่ตากอากาศฤดูร้อน


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: Dominio ที่ 11 ธ.ค. 05, 12:34
 ขอขยายความ ค.ห. 9
เผอิญอ่านพบจาก วาทะเล่าประวัติศาสตร์ เมื่อแรกเสด็จประทับ ณ พระราชวังดุสิต (1/12/48)...

จากนั้นจึงมีพระราชดำริสร้างพระที่นั่งเป็นที่ประทับถาวร เริ่มจากพระที่นั่งองค์แรก
ซึ่งโปรดให้รื้อพระที่นั่งไม้สักทองมันตธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชัง ที่โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๓๕ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็พอดีเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ขึ้นเสียก่อน
ไม่สะดวกที่จะเสด็จเกาะสีชังอีก จึงโปรดให้รื้อมาสร้าง ณ สวนดุสิต พระราชทาน
นามใหม่ว่าพระที่นั่งวิมานเมฆ


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 15 ก.พ. 06, 22:53

.
สะพานอัษฏางค์สะพานโรแมนติกแห่งเกาะสีชัง

เยือน"เกาะสีชัง" ยลมนต์ขลังถิ่นประวัติศาสตร์
 http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000020909  


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ก.พ. 06, 10:19
 ขออนุญาตแสดงความเห็นแย้งความเห็นข้างต้นครับ

เรื่องลำดับการสืบสันตติวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

สายสมเด็จพระพันปีหลวง

รัชทายาทลำดับที่ 1 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทิวงคต

รัชทายาทลำดับที่ 2 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลก กับหม่อมคัทริน แต่เมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชกฤษฎีกาตั้งพระรัชทายาท ได้ทรงให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกฯ ปฏิญาณว่าจะไม่ยกพระองค์จุลฯ เป็นรัชทายาท พระองค์จึงทรงถูกข้ามไป (หาอ่านได้จากหนังสือ)

ตรงนี้ข้อแย้งครับ  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ไม่เคยถูกกำหนดไว้ในลำดับวืบราชสันตติวงศ์เลยครับ  เพราเหตุมีมารดาเป็นนางต่างด้าว  ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระราชบันทึกไว้ว่า เมื่อจะทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นรัชทายาทเมื่อต้นรัชทายาทนั้นได้ทรงให้ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า จะมิให้พระโอรสคือ พระองค์จุลฯ ทรงรับรัชทายาทต่อไป

หลักในการสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากรัชกาลที่ ๕ ลงมานั้น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ว่า  เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  ได้พระราชทานพระราชกระแสว่า ให้ทรงรักษาไว้  เมื่อพระชนม์ชีพหาไม่แล้วให้ตกไปสู่พระอนุชาร่วมพระราชชนนี คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุรังษีสว่างวงศ์ ตามลำดับ  และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ ก็มีพระราชดำริที่จะพระราชทานแก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร  แต่เผอิญสมเด็จพระบรมฯ พระองค์ใหญ่สวรรคตเสียก่อนจึงมิได้โปรดพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใด  จนเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจเฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร คือ รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากอังกฤษ (หลังจากที่พระบรมฯ พระองค์ใหญ่สวรรคตแล้ว ๘ ปี)  จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระชัยนวโลหะนี้แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ พร้อมกับมีพระราชกระแสดำรัสสั่งให้ตกทอดไปในสายของสมเด็จพระพันปีหลวงจนกว่าจะสุดแล้วจึงส่งกลับคืนสู่พระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔  ด้วยพระราชประเพณีและพระราชกระแสดังกล่าว  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงวางลำดับพระรัชทายาทไว้ตามเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รักษาพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ ตามเกณฑ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ทรงกำหนดไว้  (โปรดอ่านรายละเอียดในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ อีกครั้งครับ)

เรื่องมรดกวังเพชรบูรณ์ผมเองก้ไม่ค่อยรู้เรื่องมาก ทราบแต่ว่าวังนี้เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์ฯ สิ้นพระชนม์ วังเพชรบูรณ์ก็ตกอยู่หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชายา และทรงปกครองวังนี้ต่อมาจนสิ้นชีพิตักษัยครับ

เรื่องนี้เท่าที่ทราบมาจากท่านผู้ใหญ่ท่านว่า ที่ดินแปลงที่เป็นวังเพชรบูรณ์นี้เป็นพระราชมรดกเดิมมาแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และตกทอดเรื่อยมาจนถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย จะออกวังนั้น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดพระราชทานที่ดินแปลงนี้ให้เป็นที่ตั้งวังเพชรบูรณ์  ทีนี้ตอนที่พระราชทานที่ดินนั้นในพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินระบุว่า พระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วลูกหลาน  แต่มิได้ระบุว่าได้พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์  ฉะนั้นทูลกระหม่อมติ๋ว (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์ฯ) จึงมิได้ทรงโอนโฉนดไปเป็นพระนาม  โฉนดที่ดินแปลงนี้จึงออกในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (การออกโฉนดที่ดินในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ ๕  การออกโฉนดที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มาเสร็จเอาในตอนต้นรัชกาลที่ ๖)  ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ๒๔๗๕  มีการออกกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้ทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่นพระบรมมหาราชวังหรือเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์นั้นเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ซึ่งหมายรวมถึงทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ได้มาในระหว่างที่ทรงดำรงสิริราชสมบัติซึ่งมิใช่ทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงมาแต่ก่อนครองสิริราชสมบัติให้ตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย  เมื่อโนดที่ดินวังเพชรบูรณ์ออกในพระปรมาภิไธยรัชกาลที่ ๖  จึงต้องตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  เช่นเดียวกับที่ดินแปลงอื่นๆ ที่เป็นพระราชมรดกมาแต่เดิมหากออกโฉนดเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ถูกตีขลุมว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จนหมด  แต่เมื่อมีพระบรมราชโองการพระราชทานให้ทรงใช้เป็นที่อยู่ไปชั่วลูกหลานจนกว่าจะไม่มีผู้สืบสายสกุล  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา  และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช จึงได้ทรงครอบครองวังนี้เรื่อยมา  จนเมื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีโครงการจะพัฒนาที่ดินแปลงนี้เป็นศูนย์การค้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สินจัดเงินถวายพระทายาททั้งสองพระองค์เป็นการชดเชยจำนวนหนึ่ง


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ก.พ. 06, 10:39
 ขอต่อประเด็นเรื่อง  ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะยกเลิกพระพินัยกรรมของพระบรมวงศานุวงศ์ได้ อย่างเมื่อครั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้่าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทิวงคต ทรงมีพระพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้กับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส และเป็นผู้ดูและพระองค์จุล แต่รัชกาลที่ 6 ก็ทรงใช้พระราชอำนาจที่ทรงสามารถกระทำได้ยกเลิกพระพินัยกรรมฉบับนั้น โปรดให้หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสออกจากวังปารุสก์ไปประทับที่วังจักรพงษ์ที่ท่าเตียน เข้าใจว่าทรงเรียกวังปารุสก์เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระองค์จุลย้ายจากพระตำหนักใหญ่ไปประทับที่ตำหนักจิตรลดาแทน และเมื่อหม่อมเจ้าหญิงชวลิตฯ ทรงเสกสมรสใหม่ รัชกาลที่ 6 จึงโปรดเกล้าฯ ให้คืนทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่พระองค์จุล

เรื่องที่ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ เสกสมรสกับ ม.จ.ชวลิตโอภาส นั้น  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์ในสมัยนั้นไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย  เพราะเป็นการสมรสระหว่าง อา กับ หลาน  ซึ่งถ้าอ่านจากประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ จะเห็นว่า ไม่ทรงเห็นด้วยเลยที่พี่กับน้องจะแต่งงานกันเอง  ทั้งยังจะมีผลเสียหายทางด้านพันธุกรรมด้วย  และโดยที่การเสกสมรสระหว่งทูลกระหม่อมจักรพงษ์กับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสก็มิได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสกสมรสตามพระราชประเพณี  จึงไม่ทรงรับเป็นสะใภ้หลวง  ส่วนการที่โปรดให้พระองค์จุลฯ ย้ายไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดานั้น  ขอเรียนว่า ในบริเวณวังปารุสกวันนั้นมี ๒ ตำหนัก คือ พระตำหนักจิตรลดา (องค์ที่อยู่ตรงมุมพระลานพระบรมรูปทรงม้า) ซึ่งเป็นที่ประทับเดิมในรัชกาลที่ ๖ ภายหลังทรงแลกกับที่ดินของทูลกระหม่อมจักรพงษ์  และตำหนักปารุสฯ ซึ่งเป็นที่ประทับของทูลกระหม่อมจักรพงษ์มาแต่เดิม  เมื่อทูลกระหม่อมจักรพงษ์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น  ประทับที่ตำหนักปารุสฯ มาตลอด  ส่วนพระจำหนักจิตรลดานั้นทรงใช้เป็นที่รับแขก  การที่รัชกาลที่ ๖ โปรดให้พระองค์จุลฯ ทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดาจึงอาจจะเพื่อมิให้ทรงเศร้าพระทัยที่จะชวนให้รำลึกถึงทูลกระหม่อมและหม่อมคัทริน

ส่วนประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินวังปราสุกวันนั้น  ที่ดินผืนนี้เดิมเป็นทรัพย์สินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อมาด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นส่วนของพระราชวังดุสิตทั้งหมด  และได้ทรงแบ่งพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระงค์ คือ
พระตำหนักจิตรลดา  -  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
วังปารุสกวัน - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ
วังสวนกุหลาบ - สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา
และอาจจะสืบเนื่องมาจากที่ที่ดินแปลงนี้ทั้งหมดนับรวมเป็นพระราชวังดุสิต  ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเหมารวมว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว  จึงต้องตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งหมด


กระทู้: พระประวัติ (แบบเรียบเรียง) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 01 พ.ค. 06, 10:47
 หลังจากที่มัวไปยุ่ง และปั่นกระทู้อื่นมานานนม คราวนี้กลับมาแล้วครับ
ขออภัยคุณ N.P.ครับ ที่ผมมิได้มาสานต่อ
และขอขอบพระคุณทุก ๆ ความเห็นครับ
ต่อจากความเห็นที่ 19 ครับ
ที่ว่า ต่อมาเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ทูลไปรับถวายอภิบาลโดยประทับที่วังกรมพระยาเทววงศ์ฯ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนราชินี)
ขอเพิ่มเติมว่า
ต่อมาเมื่อพระชันษา 5 พรรษา เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมทูลไปรับถวายอภิบาลโดยประทับที่วังกรมพระยาเทววงศ์ฯ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนราชินี) และเมื่อสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสด็จประทับ ณ วังบริเวณสะพานถ่าน พระองค์ได้ตามเสด็จและทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่นั่นครับ
หลังจากนั้น พระองค์ทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนราชกุมาร(ตั้งอยู่ริมประตูพิมานไชยศรีด้านตะวันตก ในพระบรมมหาราชวัง)เมื่อวันที่ 6 ก.พ. พ.ศ.2444 (ปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2545)ร่วมกับสมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช,สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์,พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช,ม.จ.รัชฎาภิเษก โสณกุล และนายเต็ม บุนนาค(พระอดิศักดิ์อภิรัตน์) โดยมีนายบัว วิเศษกุล,หลวงเสรีวัชรินทร(อาจ)และพระราชทรัพยพิสิษฐ(องุ่น กมลยบุตร)เป็นอาจารย์สอน
ทูลกระหม่อมติ๋ว ทรงสนพระทัยด้านศิลปะมาแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ว่ากันว่าพระองค์มักจะเก็บพระองค์ทรงงานเกี่ยวกับศิลปะเป็นส่วนมากครับ
ถ้ามีโอกาส จะมาสานต่อใหม่ครับ