เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 4007 สืบเนื่องจากกระทู้ พระยาทรงสุรเดช
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 21:22

ขอชัดๆอีกที ฝ่ายเจ้านั้น คุณหมายถึงฝ่ายพระองค์บวรเดชที่พยายามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลคณะราษฎร หรือคณะรัฐมนตรีของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาที่ถูกคณะราษฎร์ปฏิวัติออกจากอำนาจ หรือทั้งคู่ครับ
ทั้งคู่ครับ รวมถึงกบฏพระยาทรงสุรเดช
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 30 ม.ค. 16, 22:33

ก่อนอื่นผมคิดว่าการที่คุณเหมาว่าฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎรคือฝ่ายเจ้านั้น ไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงครับ

การที่คณะราษฎรประกาศยอมรับว่าประเทศชาติยังจะคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่เปลี่ยนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ก็ไม่เห็นแตกต่างกับกลุ่มอื่นๆที่คุณถามมา เพราะก็มีจุดยืนเช่นเดียวกัน

ถ้าคณะราษฎรประกาศตัวเป็นสาธารณะรัฐ ไม่ว่าจะสังคมนิยมหรือเสรีนิยมสิ จึงอาจเรียกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยตรงนี้ว่าเป็นฝ่ายเจ้าได้
ผมเห็นว่า พวกที่ชอบสร้างวาทะกรรม เรียกผู้ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่เหมือนตนว่าเป็นฝ่ายเจ้านั้น ไม่ว่าจะสังกัดพรรคไหน อดีตหรือปัจจุบัน คือพวกที่นิยมสาธารณรัฐทั้งสิ้น แต่ไม่กล้าพูดตรงๆ  
และไม่ใช่ทั้งหมดของผู้ก่อการคณะราษฎรจะเป็นพวกที่ผมว่านี้ด้วย เพราะไม่ทันไร พอแอะออกมา คณะราษฎรจึงได้แตกไงครับ

ผมจะบอกให้อีกประการหนึ่งว่า การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์หรือไม่มี ในที่สุดก็จะจบลงที่การจัดสรรผลประโยชน์ในทุกระดับขั้น ถ้าลงตัวรัฐบาลก็อยู่ได้ ถ้าไม่ลงตัวรัฐบาลก็อยู่ยาก
ผมจึงเชื่อเหมือนคุณKoratianที่ว่า สำหรับเมืองไทยนั้น เรื่องประชาธิปไตยหลัง 2475 ยังเป็นแค่ภาพฝัน ในทุกกรณี

จึงขอบอกว่าคุณเข้าใจผิดในคำที่กล่าวเอาเองว่า
ตรงนี้ดูเหมือนจะเข้าใจตรงกันว่าฝ่ายเจ้าเป็นประชาธิปไตยทางนิตินัย ส่วนคณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย

คือผมไม่คิดว่า คณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัยครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 06:22

ติดตามอ่านความเห็นของคุณนัทชามาหลายความเห็น  อย่างน้อยพอมองออกว่า คุณนัทชามีแนวโน้มนิยมบุคคลใด
แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงขมุกขมัวช่น ยุค ๒๔๗๕ นี้  ควรจะต้องวางความนิยมในตัวบุคคลลงทั้งหมด  แลัวศึกษาบุคลิกลักษณะของตัวละครที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นพื้นฐานเสียก่อน  แล้วพยายามอ่านให้มากๆ  ยกเว้นวิกิพีเดียที่เชื่อถือได้ยาก

ประเด็นหนึ่งที่ถกกันมา คือ เรื่องพระองค์เจ้าบวรเดชซึ่งเป็นทั้งนายทหารและเป็นเจ้านายเพียงพระองค์เดียวที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕  และเมื่อก่อความไม่สงบใน พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลในเวลานั้นก็เปิดช่องให้หนีไปช้ชีวิตที่ไซ่ง่อน  จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๙๒  พระองค์เจ้าบวรเดชจึงกลับมาใช้ชีวิตอย่างสงบในประเทศไทย 

ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผมกังขามาตลอด  จนได้อ่านเอกสารจดหมายเหตุและงานนิพนธ์ของหลายๆ ท่าน  จึงพอจะปะติดปะต่อเรื่องราวได้ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งดุสิตธานีนั้น  เนื่องจากไม่มีผู้ใดรู้เรื่องเลือกตั้งจึงทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  คราวต่อๆ มาจึงทรงขอให้พระยาราชเสนา ซึ่งเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยมาจัดการเลือกตั้งแทน  จนราว พ.ศ. ๒๔๖๕ จึงมีรับสั่งให้เจ้าพระยายมราชซึ่งโปรดให้ไปศึกษาเรื่อง Municipality แล้วไปจัดการร่างกฎหมายประชาภิบาลเตรียมไว้  เมื่อประชาชนเรียกร้องการปกครองตนเองเมื่อไรจะได้ประกาศใช้ได้ทันที  แต่ในปีนั้นมีการยุบรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย  เรื่องนี้จึงไปค้างอยู่ที่มหาดไทยจนถึงต้นรัชกาลที่ ๗  มหาดไทยจึงเสนอเรื่องให้อภิรัฐมนตรีสภาพิจารณา  และผ่านความเห็นชอบจากอภิรัฐมนตรีตั้งแต่ปี ๒๔๗๓  แล้วเรื่องไปค้างอยู่ที่กรมร่างกฎหมายซึ่งใครก็ไม่ทราบเป็นรองเจ้ากรม  จนเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงหยิบกฎหมายนั้นมาปัดฝุ่นเสนอเข้าสภาในนาม พรบ.เทศบาล  แล้วกลายเป็นผลงานของรัฐบาลคณะราษฎรและรองเจ้ากรมร่างกฎหมายคนนั้นไป

ย้อนมากล่าวถึงเรื่องพระองค์เจ้าบวรเดช  หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงเล่าไว้ในงานนิพนธ์ส่วนพระองค์ว่า  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พระองค์เจ้าบวรเดชไปยื่นคำขาดกับรัชกาลที่ ๗ ขอให้พระราชทานรัฐธรรมนูญ  ในหลวงก็รับสั่งว่ากำลังทรงศึกษาอยู่  และจะพระราชทานอยู่แล้ว  แต่เมื่อมาเร่งรัดเช่นนี้ทรงขอเวลาไปร่างที่หัวหิน  กลับมาจะพระราชทานให้  พระองค์เจ้าบวรเดชจึงยื่นคำขาดว่า จะรอจนถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๗๕  แต่แล้วเพียง ๗ วันก่อนวันกำหนดก็เกิดการยึดอำนาจแบบฉุกละหุกเกิดขึ้น 

หรือกรณีการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  ที่ในความเป็นจริงไทยเราได้เจรจาและได้รับเอกราชทางการศาลจากประเทศคู่สัญญามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖  มาแล้วเสร็จสมบูรณ์ในตอนต้นรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๖๙  ซึ่งในวันนั้นโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๔ ๕ ๖ ออกประดิษฐานในงานพระราชทานเลี้ยงฉลองความเสมอภาคของกรุงสยามที่พระที่นั่งอัมพรสถาน  ในวันดังกล่าวรัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ชัดว่า ความสำเร็จนั้นเป็นพระบรมราชวิเทโศบายของในหลวงทั้ง ๓ รัชกาล และการทำงานหนักของข้าราชการผู้ใหญ่หลายคน  หากแต่การแก้ไขสนธิสัญญาคราวนั้นยังมีผลผูกพันให้สยามต้องประกาศใช้ประมวลกฎหมายให้ครบทั้ง ๔ ฉบับ  เมื่อประกาศใช้ครบแล้วจึงให้ถือว่าสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั้นสิ้นสภาพโดยสมบูรณ์  ฉะนั้นเมื่อสยามประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบทั้ง ๔ ฉบับและเลิกศาลต่างประเทศไปในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘ แล้ว  จึงมีการทำสัญญากันใหม่เพื่อรับรองการสิ้นสุดของสัญญาเดิม  ซึ่งเมื่อทำสัญญาใหม่ครบทุกประเทศแล้วนอกจากจะมีการฉลองความสำเร็จของรัฐบาลประชาธิปไตยกันยกใหญ่  ยังมีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีสรรเสริญเกียรติคุณหนึ่งในคณะราษฎรที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  ว่าการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหมดนั้นเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ของรัฐมนตรีคนนั้นโดยไม่กล่าวถึงพระราชดำรัสในรัชกาลที่ ๗ เลย

จากตัวอย่างทั้งหมดนี้หากติดวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ช่วง ๒๔๗๕ ที่ไม่มีการบันทึกไว้  แล้วชั่งน้ำหนักดู  จะเห็นพฤติกรรมและแนวคิดของแต่ละบุคคลได้ชัดเจน 
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 17:54

ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ผมขอถามคุณนวรัตอีกครั้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ เห็นคุณตอบว่า
เป็นเรื่องผลประโยชน์ ช่วยถกเถียงกันในประเด็นนี้ด้วยครับ และถ้าแรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยาสงสัยไหมครับว่าทำไมกบฏพระยาทรงฯ
ถึงมีโทษรุนแรง และเกี่ยวเนื่องกับรัฐประหาร 20 มิ.ย.2476 ไหมครับ ใครอ่านเจอบ้างครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 18:04

ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ดิฉันอ่านสำนวนภาษาของคุณไม่รู้เรื่องเลย  ช่วยอธิบายเป็นไทยให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 18:43

ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ดิฉันอ่านสำนวนภาษาของคุณไม่รู้เรื่องเลย  ช่วยอธิบายเป็นไทยให้เข้าใจง่ายกว่านี้ได้ไหมคะ
ขอบคุณที่ติดตามครับ ผมยอมรับว่าบางทีก็ลอกสำนวนในหนังสือมาเลยเพราะรีบอยากทราบคำตอบ
โดยหวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจบ้าง และไม่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ อีกอย่างเดี๋ยวจะยาวครับ ส่วนที่ไม่รู้เรื่อง
คือเรื่องการวิวัฒนาการของสังคม ไม่ทราบว่าคุณเทาชมพูเคยสนใจอ่านหนังสือของฝ่ายซ้ายบ้างหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 18:51

ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีละค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 19:39

"ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ "

ความเห็นข้างบนไม่ทราบจะสื่อความหมายอย่างไร?  แต่การศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในความเห็นผม คือ การทำความจริงให้กระจ่างตามหลักฐานที่สามารถราบรวมได้  เพราะในแต่ละช่วงเวลาบริบทของสังคมและความคิดของบุคคลย่อมแตกต่างกัน  ตัวอย่างคำกล่าวที่ว่า "ตรงนี้ดูเหมือนจะเข้าใจตรงกันว่าฝ่ายเจ้าเป็นประชาธิปไตยทางนิตินัย ส่วนคณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย"

ฝ่ายเจ้าภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองคือใครครับ?  ถ้าหมายถึงพระองค์เข้าบวรเดชก็ดังที่ผมกล่าวไว้ในความเห็นก่อนหน้า  แต่ถ้าหมายถึง "เจ้า" อื่นๆ  ก็ขอให้กลับไปทบทวนใหม่ว่า เมื่อเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  เจ้าที่มีบทบาททางทหารและมีอำนาจในมือล้วนต้องลี้ภัยออกไปต่างประเทศทั้งสิ้น  ยิ่งในหลวงรัชกาลที่ ๗ ยังไม่มีแม้ทหารมหาดเล็กที่ทำหน้าที่รักษาพระองค์เลย  ต้องทรงใช้ทหารรักษาวังซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงวังมีกำลังอยู่เพียง ๒ กองร้อยทำหน้าที่แทนทหารมหาดเล็ก  ดังนี้จะว่าเจ้ามีกำลังจะไปต่อกรกับฝ่ายรัฐบาลได้หรือ?

ถ้าจะกล่าวเฉพาะกรณีกบฏบวรเดช  ถ้าได้อ่านบันทึกของพระยาสุพันธ์เสนี (อิ้น  บุนนาค) อดีตสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี  ก็จะเห็นได้ว่า ข้าราชการและราษฎรในต่างจังหวัดยังคงนิยมเจ้าแต่ก็มิได้ขัดขวางหรือสนับสนุนฝ่ายกบฏหรือรัฐบาล  ทุกคนวางตัวเป็นกลาง  แต่พอเหตุการณ์สงบกลับกลายเป็นพวดที่วางตัวเป็นกลางนั้นถูกตามไล่ล่าเสียยิ่งกว่าเป็นกบฏเสียเอง

ผลพวงจากกรณีกบฏบวรเดชอีกประการ คือ การยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล  เพราะในระบบเทศาภิบาลนั้น  สมุหนเทศาภิบาลมีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหาในมณฑลได้ในระดับหนึ่ง  รัฐบาลกลางจึงหวาดระแวงว่า ถ้าสมุหเทศาภิบาลจะแข็งข้อกับรัฐบาลกลางขึ้นมาวันใด  รัฐบาลจะไม่สามารถใช้กำลังเข้าจัดการได้  เมื่อตระหนักดังนั้นหลังจากปราบกบฏบวรเดชเสร็จไม่ถึง ๒ เดือนรัฐบาลก็จัดการยุบเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล  ให้จังหวัดขึ้นตรงกับส่วนกลางที่กรุงเทพฯ  ผลก็คิงานยิบย่อยที่เคยตัดสินใจสั้งการเสี็จที่มณฑลก็ทะลักเข้าสู่กรุงเทพฯ  จนต้องเกิดระบบราชการบริหารส่วนภูมิภาคขึ้นมากรองงานยิบย่อยนั้นเสียชั้นหนึ่ง  แล้วมาวันนี้ก็มีเสียงนักวิชาการออกมาร้องว่า ราชการบริหารส่วนภูมิภาคไม่เป็นประชาธิปไตย  ควรจะให้ตังหวัดและท้องถิ่นจัดการตนเอง 

ปัญหาเรื่องราชการบริหารส่วนภูมิภาคนี้มิใช่ผลพวงของการจัดสิบใจของรัฐบาลประชาธิปไตยที่ทำอะไรก็ถูกไปหมดทุกเรื่องหรือ?  และที่อ้างว่า "คณะราษฎรจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย" นั้น  คุณนัทชาอาจจะไม่เคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านเล่ากันว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ประชาชนชาวไทยสมัยนั้นเข้าใจกันว่า "รัฐธรรมนูญ คือ โอรสของพระยาพหลฯ"
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 20:40

เข้าไปห้องกบฏบวรเดชเมื่อกี้ ก็นึกถึงวลีที่เคยได้ยิน ที่คนสมัยก่อนเค้าเคยพูดกัน "รัฐธรรมนูญคือลูกพระยาพหล"
ก็พอดีอาจารย์V_Meeเข้ามาอ้างวลีนั้นในคห.นี้ตรงใจผมพอดี แต่ของอาจารย์เป็นลูกชายของพระราชาเลยทีเดียว
รัฐธรรมนูญ ที่เป็นสัญลักษณ์อันศักสิทธิ์ของระบอบประชาธิปไตย ที่คณะราษฎรปกป้องสุดชีวิตผู้ใดจะกล้ำกรายมิได้
แต่ก็ด้วยความเหมาะสม บางช่วงเวลา ลูกพระยาพหลต้องกลายเป็นเด็กดองที่ถูกดองอยู่นานถึงสิบกว่าปีเลยทีเดียว
ขณะนี้รัฐธรรมนูญมาถึงเวอร์ชั่นที่๑๙แล้ว กำลังเห็นเวอร์ชั่นที่๒๐เป็นเงาๆอยู่
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 21:36


แหะๆ ตอนนี้รัฐธรรมนูญน่าจะเป็นลูกคุณมีชัยครับ
วางแผนคุมกำเนิดกันยาวหน่อย
(มีชัยเดียวกันหรือเปล่า?)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 21:50

กระทู้ดีๆกำลังจะออกนอกเรื่องไปไกล
ผมขอความกรุณาให้ช่วยแยกกระทู้นี้ออกไปตั้งเป็นอีกกระทู้หนึ่งตั้งแต่ คคห.ที่ 662 ครับ
บันทึกการเข้า
นัทชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 22:35

ผมขอความกรุณาอย่าทำเช่นนั้นเลยครับ คุยกันด้วยเหตุผลและมีเสรีภาพทางวิชาการ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 ม.ค. 16, 22:55

แยกกระทู้ก็คุยได้เหมือนเดิมค่ะ  เพียงแต่ตั้งชื่อใหม่ เท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12605



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 06:17

ให้ลิงก์กระทู้ต้นเรื่องไว้เพื่อความต่อเนื่อง  ยิงฟันยิ้ม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3363.660

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 ก.พ. 16, 08:50

ผมทราบว่าทุกท่านมีอุดมคติทางการเมืองของตนเอง และควรได้แสดงผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ในยุคไร้พรมแดนที่จะเกิดการระเบิดใหญ่ทางความรู้ในที่สุด ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์สังคมและกำลังทดลองความถูกต้องตามหน้า
ประวัติศาสตร์มากกว่าจะอ่านประวัติศาสตร์อย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ผมขอถามคุณนวรัตอีกครั้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ เห็นคุณตอบว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ ช่วยถกเถียงกันในประเด็นนี้ด้วยครับ


เอาครับเอา แค่หอมปากหอมคอนะครับ

ถ้าว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์สังคม ในเรื่องการเมืองนั้นสามารถมองย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์  เมื่อมนุษย์มาอยู่ด้วยกันมากขึ้นและเริ่มฉลาดเกินที่จะหากินร่วมกันไปวันหนึ่งๆเช่นฝูงสัตว์ จึงเริ่มทำการเพาะปลูก หาอาหารสำหรับปากท้องของตนเอง ครอบครัว ขยายไปถึงพรรคพวก และเผ่าพันธุ์ จากน้อยคนเป็นมากคน เมื่อใดอาหารไม่เพียงพอก็จะเริ่มเกิดปัญหาจะแบ่งสรรกันอย่างไร หรือจะรวมกันไปปล้มสดมภ์คนเผ่าพันธุ์อื่นมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องพวกของตนอย่างไร และในทางกลับกัน จะเก็บออม และป้องกันรักษาทรัพยากรอาหารอย่างไรจึงจะพอเพียงที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตของตนเอง ครอบครัว ขยายไปถึงพรรคพวก และเผ่าพันธุ์ พฤติกรรมมนุษย์ในเรื่องนี้เป็นจุดกำเนิดของการเมืองการปกครอง

เมื่อทรัพยากรของมนุษย์มีมากหมวดขึ้นมิได้จำกัดแค่อาหาร การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นในทุกลำดับ จนโลกพัฒนามาจนถึงจุดที่ระบบสังคมเศรษฐกิจใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยนและสะสมทรัพยากร  มนุษย์ก็แข่งขันแสวงหาเงินตรา ปัจเจกมนุษย์จนถึงชาติพันธุ์มนุษย์จึงต่อสู้กันหาผลประโยชน์ ทั้งในระดับสังคมเล็กไปถึงสังคมระดับชาติ และโลก ซึ่งทั้งหมดถูกกำหนดกฏเกณฑ์โดยการเมืองและนักการเมือง ทั้งนักการเมืองท้องถิ่น พรรคที่บริหารประเทศ และรัฐบาลของชาติมหาอำนาจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง