เรือนไทย

General Category => ชั้นเรียนวรรณกรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Wu Zetian ที่ 04 ส.ค. 16, 15:27



กระทู้: การชมเด็กทารกแรกเกิดว่าหน้าตาน่าเกลียดน่าชัง จัดว่าเป็นภาพพจน์วาทศิลป์ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 04 ส.ค. 16, 15:27
การชมเด็กทารกแรกเกิดว่าหน้าตาน่าเกลียดน่าชัง ทำให้คำว่า "ชม" ใช้คู่กับคำว่า "หน้าตาน่าเกลียดน่าชัง"
แท้ที่จริงแล้วคำว่า "น่าเกลียดน่าชัง" ต้องใช้คำว่า "ติ, ตำหนิ"
ผมจึงสงสัยว่า ข้อความที่ว่า
"ในสังคมไทยมักจะสอนว่าให้"ชม"เด็กทารกแรกเกิดว่า"หน้าตาน่าเกลียดน่าชัง"
ข้อความดังกล่าวจัดว่าเป็นวาทศิลป์ในภาษาไทยไหมครับ
กรณีนี้จะเหมือนกับคำว่า "น้ำผึ้งขม" กับคำว่า "เศรษฐีเงินผ่อน" ในภาษาไทยที่จัดเป็น
ภาพพจน์วาทศิลป์ (Rhetorical Figure) ประเภทปฏิพจน์ (Oxymoron) หรือเปล่าครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ


กระทู้: การชมเด็กทารกแรกเกิดว่าหน้าตาน่าเกลียดน่าชัง จัดว่าเป็นภาพพจน์วาทศิลป์ไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 16, 16:06
เป็น  ปฏิพจน์ (Oxymoron) ค่ะ   หรือเรียกว่า paradox ก็ได้
ที่ใช้คำว่า "ชม" เพราะดูที่เจตนาผู้พูด  ผู้พูดไม่ได้ต้องการติหรือตำหนิเด็กทารก
คำ "น่าเกลียดน่าชัง" ในที่นี้มีความหมายว่า "น่ารักน่าเอ็นดู" ถือเป็นปฏิพจน์ หรือคำที่มีความหมายตรงกันข้าม