เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 40870 สี่ห้าวันกับการตามรอยศิลปะอยุธยา
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:58

ธรรมาสน์หลังนี้เป็นธรรมาสน์ฝาแฝดของธรรมาสน์หลังก่อน อยู่คนละวัดแต่เหมือนกันมาก
ราวกับช่างชุดเดียวกันทำ เหมือนกันถึงขนาดในจุดที่ขัดๆกันก็ทำให้รู้สึกคล้ายกันอยู่
เหมือนกันอย่างไรก็ต้องลองชมกันครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 20:59

แต่จากลวดลายการประดับตกเต่งดูเหมือนว่าธรรมาสน์หลังนี้ ฝีมือจะอ่อนกว่าเล็กน้อย
และรูปแบบจะต่างกันมากๆตรงลายที่เพดาน ซึ่งพลาดไม่ได้ถ่ายรูปชัดๆมา  เหอะๆ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:00

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:01

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:01

...


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:24

งงมากว่า เดิมเข้าใจว่าของวัดนี้(ตามรูป) เพราะช่วงล่างเหมือนกันหมดแล้วที่อาจารย์ น ณ.ปากน้ำว่าไว้คือวัดนี้นี่ครับส่วนที่น้องเนว่าธรรมมาสน์ฝาแฝด ช่วงล่างนะเหมือนกันแบบก๊อปปี้เลยแต่ตอนบนวัดน้องเนนี้ด้านบนไม่มีกระทงลวดลายข้างธรรมมาสน์ก็ไม่เหมือนกันแล้วลวดลายตอนบนดูยังไงก็ไม่ใช่อยุธยาเป็นรัตนโกสินทร์ชัดๆ?ลือข้างบนจะทำใหม่ทีหลัง!



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:40

อ้อ เข้าใจแล้วอันแรกนี่ของที่อาจารย์ น ณ.ปากน้ำ บอก แต่มันก็ไม่เหมือนกันอยู่ดีอย่างที่พี่บอก เพราะช่วงบนลายมันผิดไปจากเดิมจากที่อาจารย์ น ถ่ายไว้เลยนิ และลวดลายที่พี่บอกว่า ตัวพระตัวนักสิทธ วิทยาธรนี่มันรัตนโกสินทร์ชัดๆแล้วกระทงรอบก็ไม่มี ส่วนวัดหลังนี่คงใช้ช่างไปลอกแล้วทำขึ้นใหม่แต่ฝีมือช่างไม่ดีเท่าแต่ลายคนที่แกะจะคล้ายกับที่อาจารย์ น ถ่ายไว้(ดังรูป) แต่ของน้องเนทำไมกลายเป็นเทวดาหรือตัวพระแบบนั้น งง?


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:45

เป็นวัดนั้นแหละครับพี่เพียงแต่กระทงชั้นบนไม่มีอยู่ ส่วนแผงที่ข้ออ้อย?ฝั่งในรูปของพี่ยีนส์
ผมถ่ายตกหล่นไปครับ ...  เศร้า


ส่วนไอ้อันที่เป็นแฝดก็ดูเหมือนแปลกๆ เหมือนมาซ่อมใหม่อีกที??
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 21:47

ตรงเทวดานั่นแหละครับดูแล้วมันเหมือนคนละยุค แปลกใจอยู่มากเหมือนกันครับ
เข้าใจว่าคงเอามาซ่อมกันอีกทีหนึ่ง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 22:57

ถ้าเท่าที่จำได้ไม่ผิดนะครับ วัดแรกของคุณvirain ตรงกับอาจารย์ น.
แต่ดูเหมือนว่าคุณจะถ่ายแผงกั้นมาไม่ครบ อย่างที่คุณบอกไว้
เพราะธรรมาสน์องค์นี้แต่ละฝั่ง เขาแกะลายที่แผงไม่เหมือนกัน
(เข้าใจว่าคุณ virain เรียกส่วนนี้ว่า "แผงข้ออ้อย" ?)

องค์ที่ 2 ซ่อมไปหลายส่วนครับ ส่วนที่น่าจะโดนซ่อมน้อยที่สุด.. คือดาวเพดาน
(แอบเสียใจด้วยคน เพราะว่าจะทำธีสิสเรื่องนี้อยู่)


ธรรมาสน์อีก 3 องค์ ที่อายุไล่เลี่ยกับชุดนี้และพอหาชมได้
2 องค์อยู่ในอยุธยา คือวัดครุฑาราม และวัดศาลาปูนวรวิหาร
วัดครุฑ ถ้าจะไปแนะนำให้เปิดหนังสือ "มหาธาตุ" ดูก่อน
เพราะรูปถ่ายเก่าที่นั่นเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดเท่าที่ผมค้นเจอ

ส่วนวัดศาลาปูน ขอให้ไปนัดกับหลวงพ่อเสียก่อน
เพราะถ้าหลวงพ่อไม่อยู่ส่วนที่เก็บธรรมาสน์จะเปิดไม่ได้
แต่กระทงที่วัดศาลาปูนก็หายไปแล้วเหมือนวัดแรกของคุณ
และมีรอยโดนแงะให้เห็นชัดเจนเสียด้วย


อีกองค์ที่น่าสนใจ มาจากวัดเสาธงทอง
อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ วังนารายณ์ ครับ





ส่วนองค์อื่นๆ หาได้ในจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพิษณุโลก
ผมก็ยังไม่ได้ตามไปค้นดูให้ละเอียดซะที ว่ายังอยู่ดีมีร้ายประการใด
แต่สงสัยว่าจะเปลี่ยนจากไม้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ไปเยอะแล้ว







ปล. แอบถอนใจโล่งอกแทนคุณ virain ที่ขอหนังสือถ่ายภาพไปก่อน
ไม่งั้นโดนนักมวยปล้ำหญิงจับทุ่มไม่รู้ด้วยนา หิ.. แลบลิ้น


ปล. 2 กำลังสงสัยอยู่ ว่าคุณvirain แอบตื่นเต้นเวลาถ่ายรูปอยู่หรือเปล่า ?
เพราะผมก็เคยเป็นแบบนี้เหมือนกันครับ (ที่จริงทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่มากครับ.. เหอๆ)
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 23:24

ประกี้ก็จะพูดถึงธรรมมาสน์ที่วัดครุฑเหมือนกัน แต่ที่วัด พ...ผ...นั้นแปลกใจเหมือนกันว่าทำไมอาจารย์ น.ก็ไม่เห็นถ่ายด้านเดียวกับน้องเนเลยแล้วคุณติบอเห็นด้วยกับผมมั๊ยครับไอ้ด้านที่น้องเนถ่ายนี่มันรัตนโกสินทร์ชัดๆ แหม๋แต่ชอบจริงกับคำว่าเปลี่ยนจากไม้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้ว แต่ธรรมมาสน์ที่ผมตามหาอีกองค์นี่ซิไม่รู้อยู่ไหน นั่นคือธรรมมาสน์วัดปรางค์หลวง กำลังค้นหาฟิล์มเก่าๆอยู่ว่าถ่ายรูปมารึเปล่า ยังไม่เจอเลย ใครเคยเห็นธรรมมาสน์ที่นี่เหมือนผมบ้าง เพราะถามที่วัดดันบอกไม่เคยมี องค์เบ้อเร่อหายไร้ร่องรอย!
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 13 พ.ย. 09, 23:55

ขอบพระคุณ คุณจีนส์ครับ ที่ชวนผมคุย
พอคุณจีนส์พูดขึ้นถึงนึกขึ้นได้ เรื่องธรรมาสน์วัดปรางค์หลวง
ว่ามีคนเคยเล่าให้ฟัง แต่โดยส่วนตัวยังจำได้ไม่ติดตา
ขออนุญาตตอบว่าไม่เคยเห็นก่อนดีกว่าครับ...
ผมติบอความจำเสื่อมครับผม!!


พนักธรรมาสน์วัด พผ. ของคุณจีนส์ มีรูปถ่ายเก่า
เป็นฟิล์มขาวดำ (เข้าใจว่าถ่ายราวๆ 2518 - 2525 - ผมจำปีที่แน่นอนไม่ได้)
อยู่ในหนังสือมหาธาตุอีกเช่นกันครับ แต่มาแค่ 2 พนัก
คือฝั่งที่เป็นรูปภิกษุณี กับนางกษัตริย์

ส่วนฝั่งที่เป็นวิทยาธรใครพิมพ์แล้วบ้างผมก็ยังไม่คุ้นตาเหมือนกันครับ
แต่เข้าใจว่าถ้าเปิดหาดูในหนังสือ "ลวดลายสมัยอยุธยา"
น่าจะได้รูปส่วนประกอบอื่นๆของธรรมาสน์องค์นี้อีกหลายส่วนอยู่
บางส่วนก็อาจจะเป็นของซ่อมใหม่สมัยรัตนโกสินทร์แล้วก็มีครับ





จะว่าไป ศิลปะแถวๆนนทบุรี ก็มีอะไรน่าสนใจอีกหลายชิ้นนะครับ
ถ้าพูดถึงธรรมาสน์ ผมเข้าใจว่า องค์สวยที่สุด และติดตาคนดูมากที่สุด อยู่ที่ พช. พระนคร
มาจากวัดค้างคาว(เฉพาะองค์ธรรมาสน์ยกเว้นช้างที่เชิงกระได)
ถ้าจะคุยกัน น่าจะมีเรื่องให้คุยกันได้อีกแยะเชียว...
แต่ชมรมของคุณจีนส์อาจจะเหนื่อยอีกมากโขเลยครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 02:34

นอนไม่หลับครับ เลยลุกขึ้นมาค้นตำรา ตอบกระทู้ดีกว่า
เพราะโดยส่วนตัวก็ยังสงสัยเรื่องธรรมาสน์วัด พผ. อยู่เหมือนกันครับ
จากหนังสือ "วิวัฒนาการลายไทย" ของอาจารย์ น.
ภาพที่ 137 หน้า 125 (โชว์ภาพกษัตริย์ที่สงสัยกันอยู่)
ผมขออนุญาตแก้ครับ ว่าเป็นเหล่ากษัตริย์ เพราะมีทั้งผ้านุ่ง ญ. และ ช.

ธรรมาสน์วัด พผ. อยุธยา เข้าใจว่าอย่างต่ำอยู่ในสมัยพระไชยราชาธิราช
หรืออายุสูงไปกว่านี้ เพราะธรรมาสน์สมัยพระมหาจักรพรรดิ์เริ่มใช้ตัวกระจังแล้ว
แต่ที่นี่ยังเป็นกระทงอยู่แบบเดียวกับธรรมาสน์วัดศาลาปูน
ส่วนกาบพรหมศรยังเป็นกาบไผ่แข็งที่แข็งทื่ออยู่
มีรูปจำหลักชาวอยุธยาสมัยพระไชยราชาธิราช
อยู่ที่แผงไม้เหนือกระทงธรรมาสน์ด้วย
สังเกตว่าธรรมาสน์สมัยนี้ทำเป็นกระทงซ้อนเป็นชั้นไป
ทีท่าจะเลียนแบบมาจากกระทงดอกบัวที่ซ้อนเป็นชั้น


ส่วนหน้า 126 ภาพที่ 137 ก. เป็นด้านที่คุณจีนส์นำมาให้ชม

กลายเป็นว่า อ. น. แกตีซะว่าเป็นอยุธยา
โดยส่วนตัวยังไม่เชื่อครับ ออกจะเห็นด้วยกับคุณจีนส์มากกว่า
ว่ากระเดียดมาทางรัตนโกสินทร์แล้ว...
แต่ไม่แน่ใจครับ ว่าช่างจะเคยผ่านกรุงเทพมั้ย ?
เพราะสายช่างอยุธยาแนวเขาก็แข็งของเขาเองอยู่หลายที่ครับ




ถ้าธรรมาสน์องค์นี้ลายเหมือนชุดวัดศาลาปูนผมจะไม่แปลกใจเท่าไหร่
เพราะอะไรๆจะให้เป็นอยุธยาตอนกลางล่ะพอยอมรับได้
แต่องค์นี้ดูแล้วบอกไม่ถูกครับ...
เท่าที่เห็นของจริงมา มิติลายทั้งองค์ก็ต่างจากชุดวัดศาลาปูน - เสาธงทองไปมากแล้ว
แต่ดันไปเท่าๆกับพระยานมาศองค์ที่ พช. พระพุทธชินราช พิษณุโลก

ที่สำคัญมงกุฏยอดสูงเป็นไม้เรียวหวดฟ้าแบบนี้
ให้ผมกำหนดอายุเองน่ะราชวงศ์บ้านพลูหลวงลงมาด้วยซ้ำ...





ปล. 1 ผมออกชื่อหนังสือมา ถ้ายังไม่มีอย่าเพิ่งไปหาซื้อมาอ่านนะครับ
(ถ้ามีแล้วก็เก็บๆเข้าตู้ไว้ก่อนก็ได้ อย่าเพิ่งไปอ่านมากเดี๋ยวติด)
เล่มนี้พอใช้ดูได้แค่รูป กับแหล่ง เพราะเรียงวิวัฒนาการได้สับสนมาก
แต่ที่สำคัญ ขนาด "พอใช้ได้" ก็ติดคำบรรยายผิดฝาผิดตัวไปหลายฝาแล้วครับ

ปัญหาการคิดตามแนวคิดของอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ที่เห็นอยู่หลายครั้ง
คือ อาจารย์มักไม่ค่อย grouping ชิ้นงานแล้วทำความเข้าใจก่อน
แล้วค่อยมากำหนดอายุ หรือเทียบกับประวัติศาสตร์เอาทีหลัง
ในขณะที่ไม้มันผุมันพัง หรือถูกแกะถูกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา...
ปิดทองให้ดูใหม่ซะหน่อยก็พรางตาไปได้แล้ว

แต่ท่านมักจะกำหนดอายุจากประวัติศาสตร์เลยเบ็ดเสร็จ
พอไปพลาดชิ้น key stone เข้า..... arch ก็ถล่มไปหลายโค้งครับ




ปล. 2 ยังไม่ลืมเรื่องชั้นเบญจาของคุณ virain นะครับ
แต่ขออนุญาตออกตัวก่อน ว่าไม่กล้าอธิบายเรื่องศัพท์ช่างเอง
เพราะยังอ่อนด้อยกับเรื่องนี้อยู่มาก... ขออนุญาตค้นหนังสือเพิ่มซักพัก(เล็กๆ)
พักใหญ่เดี๋ยว "คืนนี้" จะยาวเท่า 1 เดือนมนุษย์อีก

หรือระหว่างนี้ถ้าคุณจีนส์ หรือคุณยุทธพอมีเวลาว่างบ้าง
จะอนุเคราะห์ความรู้ลงกระทู้(ให้ผมด้วย)ไปก่อน ก็จะขอบพระคุณมากครับผม
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 11:30

คุณติบอนี่คุยสนุกแฮะ เหมือนคุญกะอินเดียน่า โจนส์ 55555555555  ผมชื่อยีนส์ครับ อย่าเรียกตามสำเนียงฝรั่งว่าจีนส์ก็ไม่เป็นไรอนเตอร์ดี อิอิ เรื่องอาจารย์ น.นั้นผมว่าท่านก็เหมือนหลายๆท่านละครับ นักประวัติศาสตร์ศิลป์นักโบราณคดีมักไม่มีใครเกิดทันทั้งนั้น จึงเกิดการคาดเดา ตั้งสมมุติฐานขึ้นมากมาย ถูกหรือผิดไม่มีใครฟันธง มักจะอาศัยพวกมากลากไป บางครั้งหลักฐานชัดเจนยังไม่ค่อยจะเชื่อเลย อย่างพ.ศ2277ที่เขียนไว้ที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธารามนักวิชาการหลายท่านยังเคยวิเคราะห์ไว้ว่าเขียนเติมทีหลัง ส่วนเรื่องรูปเหล่ากษัตริย์ที่ข้างธรรมมาสน์ที่ผมไปเรียกเป็นเทวดานั้น ไอ้กระผมไม่ทันได้ดูรายละเอียดเท่านั้นดูแต่เครื่องทรงก็เลยเรียกเป็นเทวดา เพราะมันก็ใส่เครื่องทรงเหมือนๆกันนั่นแหละ ธรรมมาสน์วัดปรางค์หลวงผมยืนยันว่ามี พยายามหารูปมาให้ได้ จำได้ว่าดาวเพดานส์ธรรมมาสน์นั้นประดับกระจกเล็กละเอียดมากและบางหยั่งกับกระดาษ สมัยนั้นมีผู้บอกผมว่าเป็นสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ถ้าพิจารณาแล้วตัวธรรมมาสน์มีกระจังโดยรอบแล้วน่าจะเป็นตอนปลายแล้ว ซึ้งคงต้องสืบค้นต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 14 พ.ย. 09, 20:48

แฮ่.... ผมเป็นลูกเจ๊ก สัญชาติไทยครับคุณยีนส์
จะให้เป็น "อินเดีย" แถม "หน้าโจร" คงรับไม่ไหว
เพิ่งจะได้บรรพบุรุษอยู่เมืองเขมรมามะตะกี้นี้
ว่างๆคงต้องหาธูปแพเทียนแพไปกราบถึงนครวัดซะหน่อย....

เห็นด้วยกับคุณยีนส์อีกเช่นเคยครับ ว่าทุกอย่างเป็นการสันนิษฐาน
ก็ต้องว่ากันไปด้วยทิดสะดี๋ครับผม


ปล. ถ้าผมชวนคุณยีนส์คุยกันมากไป...
แล้วคุณvirain หงุดหงิด ก็บอกได้นะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง