เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Miss Candela ที่ 10 มิ.ย. 11, 23:21



กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับการแพทย์ - พยาบาลสมัยสงครามเอเชียบูรพา
เริ่มกระทู้โดย: Miss Candela ที่ 10 มิ.ย. 11, 23:21
ดิฉันได้อ่านเกี่ยวกับช่วงสมัยสงครามเอเชียบูรพา แล้วนึกติดใจสงสัยอยู่เรื่องหนึ่งนั้นก็คือว่า ตอนนั้น มีการจัดแพทย์หรือพยาบาล ออกไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทิ้งระเบิดด้วยหรือไม่ แล้วนักเรียนในสมัยนั้น ศึกษาวิชาการแพทย์หรือการพยาบาลที่สถานศึกษาใด ใครที่มีความรู้ในเรื่องนี้หรือได้เคยศึกษามาก่อน กรุณาช่วยไขข้อข้องใจให้หน่อยนะค่ะ จะขอบคุณเป็นอย่างสูง

 :D


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับการแพทย์ - พยาบาลสมัยสงครามเอเชียบูรพา
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มิ.ย. 11, 08:18
อ้างถึงผลงานของศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทด้านวงการแพทย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนี้

การวิจัยสมุนไพร อาจารย์เริ่มงานวิจัยตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๔๘๑ ความมุ่งหมายเพื่ออย่างน้อยให้รู้ฤทธิ์สำคัญของยาแต่ละอย่าง สำหรับเป็นแนวทางของนักวิจัยอื่น ๆ ต่อไปได้รับรองสรรพคุณของเมี่ยง (๒๔๘๑) , พิษในหัวกวาวขาว (๒๔๘๔) , พิษของกลอย (๒๔๘๕) , สรรพคุณระบายของชุมเห็ดเทศ (๒๔๘๔) สำหรับสมุนไพรรักษาไข้จับสั่น ได้ศึกษาผลทางคลีนิคของยาพื้นเมือง ๓๐ ขนานที่อ้างอิงว่า มีสรรพคุณรักษาไข้จับสั่น พบว่ามีเพียง ๗ ขนานที่ให้ผลลการรักษามากกว่า ๕๐% และพอจะชี้ได้ว่า ภูมิคุ้มกันมีส่วนช่วยอย่างมาก ในช่วงปี ๒๔๘๔ ที่ไปปฏิบัติราชการที่โรงพยาบาลทหารเรือสัตหีบ ก็ได้ใช้สมุนไพรรักษาไข้จับสั่นและโรคบอดในกลุ่มทหาร เพราะในระยะนั้นมีการขาดแคลนยาอย่างมาก อาจารย์เป็นผู้ริเริ่มการสอนและการวิจัยทางด้านเภสัชวิทยา ได้สนับสนุนให้มีการก่อตั้ง "ชมรมนักเภสัชวิทยา" ซึ่งต่อมาก็คือ "สมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทย" นักเภสัชวิทยาทั้งหลายเห็นพ้องต้องกันว่าอาจารย์เปรียบเสมือน "บิดาแห่งนักเภสัชวิทยาไทย"

การผลิตน้ำเกลือฉีดเข้าหลอดเลือดใช้เอง เริ่มทดลองใช้ พ.ศ. ๒๔๘๙

แต่เดิมนั้นประเทศไทยทำยาฉีดไม่ได้เลย ทุกอย่างต้องสั่งจากต่างประเทศ รวมทั้งน้ำเกลือที่ใช้สำหรับฉีดเข้าทางหลอดเลือด ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ยาทุกอย่างรวมทั้งน้ำเกลือขาดแคลน และราคาก็แพงมาก แผนกศัลยศาสตร์ซึ่งมีความต้องการน้ำเกลือมากกว่าผู้อื่น ได้เสนอคณะให้มอบหมายอาจารย์ศึกษาหาวิธีผลิตน้ำเกลือให้ใช้ได้ (โดยฉีดให้ผู้ป่วยแล้วไม่มีอาการหนาวสั่น) อาจารย์เริ่มต้นด้วยเครื่องกลั่นน้ำเล็กๆ ที่ปรับปรุงขึ้น ต่อมาได้สร้างเครื่องกลั่นขนาดใหญ่ ปรับปรุงขึ้นเองตามหลักวิชาและความชำนาญภายใน ๓ ปี ผลิตเพิ่มจากวันละ ๔-๕ ลิตร จนถึง ๑๐๐ ลิตร และผลิต " น้ำยาฉีด" อื่นๆ เพิ่มขึ้น ออกแบบสร้างตู้อบฆ่าเชื้อด้วยความร้อนขนาดใหญ่ และเครื่องมืออัด ( autoclave ) ใช้บุคลากรเพียง ๘ คน ภายใน "โรงงาน" เนื้อที่รวมประมาณ ๖๐ ตารางเมตร พบว่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๐๐ " หน่วยน้ำเกลือ " ประหยัดรายจ่ายให้ศิริราชไม่น้อยกว่า ๔ ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินมิใช่น้อยเมื่อสามสิบกว่าปีมาแล้ว


สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ คนไทยไม่นิยม และยังไม่ยินยอม บริจาคโลหิตกัน เมื่อโรงพยาบาลจำเป็นต้องใช้โลหิตรักษาคนไข้ จะต้องเจาะจากญาติคนไข้ หรือไม่ก็มี การซื้อขาย


กระทู้: อยากทราบเกี่ยวกับการแพทย์ - พยาบาลสมัยสงครามเอเชียบูรพา
เริ่มกระทู้โดย: Miss Candela ที่ 12 มิ.ย. 11, 19:20
ขอบคุณ คุณ siamese ค่ะ  :) ที่กรุณาช่วยหาคำตอบมาให้