เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 09:55



กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 09:55
ความบันดาลใจในการนำเสนอกระทู้นี้มาจากนิทรรศการภาพถ่ายโบราณสมัยรัชกาลที่ ๔ของจอห์น ทอมสัน ๒๔๐๘-๒๔๐๙ ซึ่งในงานนั้น สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุคส์ได้เปิดตัวหนังสือทรงคุณค่า ตีพิมพ์ทั้งภาคภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยผมเลือกซื้อเล่มภาษาอังกฤษไว้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 09:57
ความในหนังสือช่วงหนึ่งนำเสนอภาพถ่ายพระเมรุมาศ ๒ภาพอันคมชัด ยิ่งได้ชมภาพที่นำเสนอในนิทรรศการซึ่งมีขนาดใหญ่แล้ว ยิ่งน่าทึ่งในสถาปัตยกรรมที่สกุลช่างสมัยรัชกาลที่๔ได้รังสรรค์ไว้  ทำให้ความสะดุดตาเล็กๆในคำบรรยายภาพว่าเป็นภาพพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ถูกกลบไป


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 09:57
ในหน้่า ๗๗


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 09:58
และหน้า ๘๘


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 10:00
ครั้นนำหนังสือมาเปิดดูที่บ้าน จึงได้พบข้อความสะดุดตานั้นอีก พาให้คิดไปได้อีกหลายประเด็น โดยเฉพาะที่ทอมสันถูกข้อสงสัยว่าแอบอ้างภาพถ่ายของช่างภาพชาวสยามไปเป็นของตัวนั้น น่าจะมีเค้าที่ฝรั่งจะปฏิเสธไม่ออกเสียแล้ว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ม.ค. 15, 10:45
เข้ามาลงชื่อ  ขอนั่งแถวหน้าในห้องเรียนค่ะ
ยังไม่มีคำถาม นอกจากขอบอกว่าหนุ่มน้อยบนหน้าปกหนังสือ ในค.ห. ๑  หล่อมาก
ใครหนอ?


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 10:57
ในหนังสือเขียนบรรยายว่า YOUNG BOY ครับ
หนังสือภาษาไทยบางฉบับบรรยายว่า หนุ่มผู้ดีชาวสยาม


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ม.ค. 15, 11:13
ลงสีแล้วยิ่งหล่อขึ้น ;D

ฝีมือคุณหนุ่มสยาม ณ เรือนไทย


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 11:13
ก่อนอื่น ขอไหว้พระคุณครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาทางด้านสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ และพระเมรุต่างๆ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตั้งแต่ในสมัยประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันสมัย

ท่านแรกคือศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ ราชบัณฑิต ผู้เขียนหนังสือที่รวมรวมสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศและพระเมรุของสยามไว้เป็นเล่มแรก ในสมัยที่ท่านเป็นอธิบดีกรมศิลปากร
เล่มข้างล่างนี้ ท่านลงนามด้วยตนเองแล้วมอบให้ผมด้วยความเมตตาอย่างที่มิทันจะร้องขอ ซึ่งผมก็ได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือของท่านอย่างคุ้มค่าที่สุด ดังที่เห็น


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 11:22
ท่านที่สองคือศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ผู้ต่อยอดผลงานของท่านศาสตราจารย์สมภพอย่างวิจิตรพิศดาร ทั้งข้อมูลและภาพถ่ายซึ่งท่านเข้าถึงขั้นปฐมภูมิ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์จัดพิมพ์เป็นหนังสืออันทรงคุณภาพด้วยรูปเล่มและเนื้อหาที่คงจะทำให้ดีไปกว่านี้อีกไม่ได้แล้วในกาลข้างหน้า


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 11:26
ท่านที่สาม พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิก ศิลปินแห่งชาติและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร ผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระเมรุมาศสามองค์สุดท้ายในยุคปัจจุบัน


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 11:56
ขอเชิญในพินิจพิเคราะห์ความเหมือนและไม่เหมือนของพระเมรุมาศสององค์นี่ก่อนนะครับ

องค์ที่ ๑


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 11:57
องค์ที่ ๒


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 12:00
เปรียบเทียบให้ชัดๆ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 16:17
ถาพข้างบนผมจะยังไม่เฉลยก่อนว่าภาพใดเป็นพระเมรุองค์ใด แต่ถ้าดูในแบบสถาปัตยเรขานี้ จะแลเห็นข้อแตกต่างที่ชัดเจนที่บริเวณราชวัตร

ภาพบน จะเป็นแผนผังพระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพล่าง จะเป็นแผนผังพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 16:27
พระเมรุมาศทั้งสององค์มีความกว้างยาวเท่าๆกันคือ ๑๕๕ X ๑๕๕ เมตร ในพื้นที่สีแดงคือจุดแตกต่างในทุกทิศ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 19:33
ภาพบน จะเป็นรูปตั้งด้านหน้าพระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพล่าง จะเป็นรูปตั้งด้านหน้าพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 19:36
เปรียบเทียบอย่างนี้บ้าง

ซ้าย จะเป็นรูปตั้งด้านหน้าพระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขวา จะเป็นรูปตั้งด้านหน้าพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 19:37
ภาพบน จะเป็นรูปตั้งด้านข้างพระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพล่าง จะเป็นรูปตั้งด้านข้างพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ม.ค. 15, 19:38
ผมได้บอกความต่างของพระเมรุให้ทางเจ้าของสำนักพิมพ์ไปเมื่ออาทิตย์ก่อนแล้ว ซึ่งการสังเกตุพระเมรุระดับกษัตริย์มีหลักดูง่ายนิดเดียว ก็จะพบความต่างกัน  ;D


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 19:39
เปรียบเทียบอย่างนี้บ้าง

ซ้าย จะเป็นรูปตั้งด้านข้างพระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขวา จะเป็นรูปตั้งด้านข้างพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 19:57
ผมได้บอกความต่างของพระเมรุให้ทางเจ้าของสำนักพิมพ์ไปเมื่ออาทิตย์ก่อนแล้ว ซึ่งการสังเกตุพระเมรุระดับกษัตริย์มีหลักดูง่ายนิดเดียว ก็จะพบความต่างกัน  ;D

เอาครับ ผมจะหยุดคคห.ของผมไว้ตรงนี้ก่อนเพื่อหลีกทางให้ เชิญครับเชิญ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ม.ค. 15, 20:06
ผมได้บอกความต่างของพระเมรุให้ทางเจ้าของสำนักพิมพ์ไปเมื่ออาทิตย์ก่อนแล้ว ซึ่งการสังเกตุพระเมรุระดับกษัตริย์มีหลักดูง่ายนิดเดียว ก็จะพบความต่างกัน  ;D

เอาครับ ผมจะหยุดคคห.ของผมไว้ตรงนี้ก่อนเพื่อหลีกทางให้ เชิญครับเชิญ

เอาวิชาการให้จบก่อนเถิดครับ ของผมใช้ภาพพระเมรุประกอบจากของจริง ครับ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ม.ค. 15, 20:21
ไอ้ตัวนี้  ;D มาทีไร จังหวะเสียทุกที


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 07:14
เช้านี้อากาศแจ่มใสดี มีหมอกลงปานกลาง อากาศเย็นสบาย มาเริ่มเรื่องกันต่อครับ
เจตนาที่ผมเขียนเรื่องนี้ก็ไม่ถึงกับจะให้เป็นวิชาเกินวิชาการอะไร เพียงแต่ขอใช้แบบก่อสร้างเป็นตัวบ่งชี้อธิบายความแตกต่าง เพราะจะดูง่ายกว่า สามารถเปรียบเทียบในมุมมองเดียวกันแบบประกบกันไป สำนวนฝรั่งเรียกว่าเปรียบเทียบแอปเปิลกับแอปเปิล ไม่เหมือนเอาภาพถ่ายต่างมุมมาเปรียบเทียบ เพราะคล้ายกับเอาส้มมาเปรียบเทียบกับแอปเปิล

ความจริงจะบอกว่าพระเมรุมาศแบบดั้งเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาองค์ไหนเป็นของพระองค์ใดในกรณีย์นี้ง่ายมาก เพราะภาพถ่ายพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯมีอยู่ภาพเดียว คือภาพทีี่มีพระมหาพิชัยราชรถจอดอยู่ด้านหน้านั่นแหละ ในโลกนี้(จนถึงปัจจุบัน)ยังไม่พบภาพที่สอง ส่วนภาพพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนั้นมีหลายภาพอยู่ ดังนั้นภาพที่ไม่มีราชรถปรากฏก็ฟันธงไปได้เลยว่าเป็นของพระองค์ แต่อย่าไปฟันเอาพระเมรุมาศของสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินีเข้าล่ะ ให้สังเกตุลักษณะหลังคาที่ไม่เหมือนกัน ของพระราชินีหรือเจ้านายฝ่ายหญิงจะนิยมทำหลังคาเครื่องยอดทรงมณฑป หากแม้จะมียอดปรางค์แต่ก็วางบนหลังคาทรงมณฑปอยู่ดี


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 07:21
มาดูภาพแรก เปรียบเทียบพระปรางค์ของพระเมรุประธาน

ซ้าย พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานคอระฆังพระปรางค์มี ๔ชั้น
ขวา พระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานคอระฆังพระปรางค์มี ๕ชั้น ทำให้พระปรางค์จะดูเล็กและเรียวกว่า


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 07:38
ภาพที่สอง เปรียบเทียบฐานพระปรางค์บนยอดหลังคาของพระเมรุประธาน

ซ้าย พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คอระฆังต่อจากเดิมอีก ๒ชั้น จะถึงเชิงชายหลังคา
ขวา พระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว คอระฆังต่อจากเดิมอีกชั้นเดียว ก็ถึงเชิงชายหลังคา

สรุปจำนวนชั้นของคอระฆังของพระปรางค์จะเท่ากันทั้งสององค์ นี่เป็นเหตุให้การแยกข้อแตกต่างจากรูปถ่ายต่างมุมทำได้ยากมาก เพราะสังเกตุได้ไม่ชัดเช่นภาพลายเส้นนี้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 07:48
ภาพที่สาม เปรียบเทียบเฉพาะพระเมรุประธาน โดยตัดราชวัตรโดยรอบออก

ซ้าย พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขวา พระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน โปรดสังเกตุจตุรมุข ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะปรากฏภาพถ่ายในลักษณะมุมมองเช่นนี้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 07:59
ภาพที่สี่ เปรียบเทียบโดยมีราชวัตรล้อมรอบตามความเป็นจริง

ซ้าย พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขวา พระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความแตกต่างที่ชัดเจนก็คือยักษ์ที่ยืนเป็นทวารบาล ซึ่งพระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มี
อันนี้นำไปใช้ยืนยันสำหรับภาพถ่ายได้ดี


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:03
ภาพที่สีห้า เปรียบเทียบสุดปลายรั้วราชวัตรทั้งสี่ด้าน

ซ้าย พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขวา พระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ไม่เห็นความแตกต่างทั้งส่วนอาคารบริวารที่เป็นทิมต่างๆและพระที่นั่งทรงธรรม นอกจากยักษ์ที่ยืนเป็นทวารบาลดังว่า


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:04
ขอพักเพื่อทานอาหารเช้าครับ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:33
ต่อไปเป็นประมวลภาพถ่ายครับ

ภาพแรกคือพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่ามีอยู่หนึ่งเดียวในสยาม
ผมเข้าใจว่าภาพนี้ถ่ายก่อนออกพระเมรุ เพราะการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ พระมหาพิชัยราชรถที่จอดอยู่น่าจะเนื่องมาจากการซักซ้อมเตรียมการสำหรับพระราชพิธีจริงซึ่งจะมาถึง


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:39
พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างที่หลังหลายปี มีการถ่ายภาพไว้มากกว่า

แต่อย่างที่ผมบอกละครับ ถ้าเห็นยักษ์ก็ฟันธงไปได้เลย ไม่ต้องไปนับคอระฆังพระปรางค์


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:47
พระเมรุมาศพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ่ายโดยช่างภาพคนเดียวกันในมุมแคบด้วยเลนซ์ชนิด wide angle เพื่อเก็บภาพให้ได้มากที่สุดโดยยอมมีขอบมืดเป็นวงกลม


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:52
ภาพชุดนี้ไม่ได้มีเพียงสองรูปข้างต้นดังที่ปรากฏในนิทรรศการและหนังสือผลงานของทอมสัน แต่ยังมีอีกที่พบในเมืองไทยอีกเช่นภาพนี้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:53
ภาพนี้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 08:56
และภาพนี้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 09:02
ผมได้บอกความต่างของพระเมรุให้ทางเจ้าของสำนักพิมพ์ไปเมื่ออาทิตย์ก่อนแล้ว ซึ่งการสังเกตุพระเมรุระดับกษัตริย์มีหลักดูง่ายนิดเดียว ก็จะพบความต่างกัน  ;D

เอาครับ ผมจะหยุดคคห.ของผมไว้ตรงนี้ก่อนเพื่อหลีกทางให้ เชิญครับเชิญ

เอาวิชาการให้จบก่อนเถิดครับ ของผมใช้ภาพพระเมรุประกอบจากของจริง ครับ

ภาพนอกเหนือจากนี้(ถ้ามี) ผมไม่มี
ขอเชิญท่านผู้รู้มาต่อได้ แต่ขอร้อง ไอ้ตัว ;D ช่วยเอาไปไกลๆด้วย


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 25 ม.ค. 15, 09:08
ขอบคุณอาจารย์navarat.cครับ
คงต้องสถานิกเท่านั้นที่จะลึกได้ขนาดนี้
ดูเผินๆจากภาพแทบไม่ต่าง


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 09:18
^
ขอบคุณครับ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 25 ม.ค. 15, 09:25
Drawingsของพระเมรุมาศทั้งสององค์ เข้าใจว่าจัดทำขึ้นภายหลังหลายสิบปีโดยกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
เรียนถามอาจารย์ว่านอกจากภาพถ่ายเหล่านี้แล้ว มีอะไรให้อ้างอิงอีก (เพื่อวาดแบบของพระเมรุมาศทั้งสองที่มีความต่างกัน)


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 15, 09:50
ต่อไปเป็นประมวลภาพถ่ายครับ

ภาพแรกคือพระเมรุมาศพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่ามีอยู่หนึ่งเดียวในสยาม
ผมเข้าใจว่าภาพนี้ถ่ายก่อนออกพระเมรุ เพราะการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ พระมหาพิชัยราชรถที่จอดอยู่น่าจะเนื่องมาจากการซักซ้อมเตรียมการสำหรับพระราชพิธีจริงซึ่งจะมาถึง


ภาพหนึ่งจะเห็นเหมือนติดคนเดินที่มุมซ้ายมือเรา :-\


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 09:52
ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ อาจจะมีเอกสารอ้างอิงที่นำมาปะติดปะต่อกันหลายชิ้น(กระมัง)
อนึ่งผมขอโอกาสแก้คำศัพท์ที่ผมบรรยายว่าคอระฆังของพระปรางค์นั้น ที่ถูกต้องมีศัพท์เรียกเฉพาะว่าเชิงกลอนครับ โปรดรับทราบด้วย


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 09:54
อ้างถึง
ภาพหนึ่งจะเห็นเหมือนติดคนเดินที่มุมซ้ายมือเรา ลังเล

จะลังเลทำไม สายตาขนาดคุณหนุ่มรัตนะสยามจะมองไม่ออกเลยหรือว่าเป็นเงาสะท้อนจากกระจกกรอบรูปที่ถ่ายที่ใดสักแห่ง

 



 
 


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 10:06

ความจริงจะบอกว่าพระเมรุมาศแบบดั้งเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาองค์ไหนเป็นของพระองค์ใดในกรณีย์นี้ง่ายมาก เพราะภาพถ่ายพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯมีอยู่ภาพเดียว คือภาพทีี่มีพระมหาพิชัยราชรถจอดอยู่ด้านหน้านั่นแหละ ในโลกนี้(จนถึงปัจจุบัน)ยังไม่พบภาพที่สอง ส่วนภาพพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนั้นมีหลายภาพอยู่ ดังนั้นภาพที่ไม่มีราชรถปรากฏก็ฟันธงไปได้เลยว่าเป็นของพระองค์ แต่อย่าไปฟันเอาพระเมรุมาศของสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินีเข้าล่ะ ให้สังเกตุลักษณะหลังคาที่ไม่เหมือนกัน ของพระราชินีหรือเจ้านายฝ่ายหญิงจะนิยมทำหลังคาเครื่องยอดทรงมณฑป หากแม้จะมียอดปรางค์แต่ก็วางบนหลังคาทรงมณฑปอยู่ดี

ตามนี้ครับ แต่แรกนายช่างได้ออกแบบและจัดสร้างเป็นหลังคาทรงมณฑปไปเสร็จแล้ว แต่เมื่อเสด็จไปทอดพระเนตรแล้วไม่ทรงโปรด จึงรับสั่งให้รื้อลงทำเป็นยอดปรางค์ แต่เนื่องจากเวลาจำกัดจึงเปลี่ยนแปลงได้แต่เรือนยอดเท่านั้น


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 10:15
แต่นั่นแหละครับ กฏทุกข้อย่อมมีข้อยกเว้นได้
พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวีนารีรัตน์ในรัชสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็นพระเมรุมาศยอดปรางค์ตั้งแต่แรก รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆครบครัน

ถ้าเห็นยักษ์ทวารบาลอย่างเดียวโดยไม่ดูตาม้าตาเรือให้ดีแล้วฟันธงขวับไป ธงอาจหักบนเวทีแบบแพร่ภาพออกอากาศ สร้างความสะใจให้คนดูได้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 15, 10:16
ลักษณะยอดปรางค์ที่มีความแตกต่างกันสังเกตุง่ายๆ อันดับแรกคือ ยอดปรางค์ของพระเมรุมาศสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเพรียวแหลมกว่าพระเมรุมาศสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และจำนวนบัว ก็ซ้อนชั้นต่างกันคือ ๘ ชั้นและ ๗ ชั้น


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 15, 10:19
ปรางค์ทิศเล็กๆ ที่อยู่สันหลังคาทั้ง ๔ ด้าน มีการโครงสร้างที่ต่างกัน

พระเมรุมาศของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ยอดปรางค์ทิศเล็กๆ จะตั้งอยู่บนฐานเขียงที่สูงทับอยู่บนหลังคา

พระเมรุมาศของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยอดปรางค์ทิศเล็กๆ จะสร้างต่อสันหลังคา



กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 15, 10:24
และที่เป็นประจักษ์พยานสำหรับภาพถ่ายที่อยู่ในหีบไม้ของทอมสันคือ เมื่อขยายให้เห็นหน้าบันของพระเมรุมาศนี้ ปรากฎพระราชลัญจกรเป็นฉัตรขาวกระหนาบ มีพาน ๒ ชั้นและพระมหาพิชัยมงกุฎ

ซึ่งแสดงว่าพระเมรุมาศนี้ของรัชกาลที่ ๔ ไม่ใช่ของพระปิ่นเกล้าฯ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 15, 11:40
ส่วนใหญ่แล้ว คำถามจะมาจากภาพคู่นี้ ว่าพระเมรุมาศองค์ใดเป็นของพระจอมเกล้าฯ องค์ใดพระปิ่นเกล้าฯ และ สังเกตุได้ที่ไหน อย่างไร
ซึ่งผมเชื่อว่าท่านที่ติดตามกระทู้ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์ มาถึงตรงนี้ก็จะตอบได้แล้ว

หลังจากนี้ไปผมจะกล่าวถึงว่า แล้วกระจกต้นฉบับพระเมรุมาศสมเด็จพระจอมเกล้าไปอยู่กับทอมสันได้อย่างไร แล้วกลายมาบรรยายภาพกันเป็นพระเมรุมาศสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้อย่างไร


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 06:56
ประวัติของจอห์น ทอมสันเท่าที่หาได้ในเวปทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มีข้อความซ้ำๆกัน สำนักพิมพ์ ริเวอร์ บุคส์ นำมาลงไว้ว่า

เมื่อร้อยห้าสิบปีที่แล้ว มีช่างภาพท่านหนึ่งได้เดินทางเข้ามายังกรุงสยาม เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ พระมหากษัตริย์ ผู้คนและอื่นๆ ช่างภาพผู้นี้คือ นายจอห์น ทอมสัน (๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓) เป็นช่างภาพรุ่นบุกเบิกและนักผจญภัยชาวสกอต เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพคนแรกๆ ที่เดินทางไปมายังเอเชียในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๐๕ เขาได้ออกเดินทางมายังสิงคโปร์ อันเป็นการเริ่มต้นการเดินทางไปยังเอเชียและใชชีวิตที่นี่ในอีกสิบปีต่อมา โดยได้เดินทางไปทั่วเอเชีย ในขั้นต้นเขาได้ก่อตั้งร้านถ่ายภาพในสิงคโปร์

ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ เขาตัดสินใจเดินทางมายังสยามและถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๘ กันยายน จอห์นได้ติดต่อกับบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และเหล่าขุนนางต่างๆ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในระหว่างที่อยูในกรุงเทพฯ ไปกับการถ่ายภาพบุคคลสำคัญๆ มากมาย โดยการถ่ายภาพนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในเมืองสยามเวลานั้นและเป็นที่น่าตื่นตกตื่นใจของรัชกาลที่ ๔ พระบรมวงศ์และขุนนางคนสำคัญที่ได้รับการถ่ายรูปและการถ่ายภาพพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขณะทรงพระเยาว์และพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินและได้ไปเยี่ยมชมวัดวาอารามต่างๆ เขาได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากมายหลายพระอิริยาบถ ภายในพระบรมมหาราชวัง

ผลงานของเขานับเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทย เพราะขณะนั้นการถ่ายภาพเพิ่งจะอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกได้ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ……


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:02
ข้างบนเป็นหนังสือพิมพ์ออกในรัชกาลที่ ๔ของหมอบรัดเล ชื่อบางกอกรีคอร์ดเดอร์ ฉบับเดือนธันวาคม ๒๔๐๘ (ปีฉลู) ลงข้อความโฆษณาของช่างชักรูปชาวสยามซึ่งรับถ่ายภาพทั่วไป รวมถึงมิศเตอร์ทอมสันด้วย โดยขณะหนังสือวางตลาดนั้น ตัวเขาได้เข้ามายังกรุงเทพเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน และด้วยการติดต่อประสานงานของกงสุลอังกฤษ เพื่อขออนุญาตผ่านแดนไปถ่ายภาพนครวัต ทำให้ทอมสันได้เข้าเฝ้าและถวายการฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รวมถึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายภาพในพระบรมมหาราชวัง และบุคคลต่างๆทั้งเจ้านายและราษฎรทั่วไป

ก่อนที่เขาจะเดินทางออกจากกรุงเทพไปเขมร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เขาได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ในพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ณ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีฉลู สัปตศก  หลังจากนั้นแล้วในเดือนเดียวกันนี้ ทอมสันได้เดินทางออกจากกรุงเทพเพื่อไปทำงานของเขาต่อ โดยไม่ระบุวันที่ว่าจะเป็นก่อนหน้าหรือหลังการเสด็จสรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอุบัติในวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู ศกเดียวกัน


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:05
เดือนยี่คือมกราคม ฝรั่งเปลื่ยนศักราชแล้ว แต่ไทยยังเป็นปี ๒๔๐๘อยู่ (ศักราชใหม่จะเปลี่ยนในเดือนเมษายน) เลยเป็นเหตุให้เกิดความสับสน ในกรณีย์ที่เกี่ยวกับงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ

หลังเสด็จสรรคต ได้ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพระบรมศพบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่ปีเศษ ระหว่างนั้นก็ได้ดำเนินการสร้างพระเมรุมาศ จนเสร็จพร้อมแล้วจึงกำหนดการออกพระเมรุ  เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ในวันขึ้น ๑๔ค่ำเดือน ๓ ปีขาล

ปีขาลถ้านับปีแบบไทยจะเป็นพ.ศ. ๒๔๐๙ ถ้าคนเอาตัวเลข๕๔๓ไปลบออกเพื่อแปลงเป็นค.ศ. จะได้ = ๑๘๖๖ ปีที่ทอมสันบันทึกว่าตนยังอยู่ในสยาม   ผู้ที่ค้นพบรูปภาพพระเมรุมาศในกล่องของเขาเลยโมเมว่าทอมสันคงได้เห็นเหตุการณ์และถ่ายภาพพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไว้แน่จึงเขียนอธิบายไปอย่างนั้น ทั้งๆอันที่จริง ทอมสันได้ออกจากสยามไปก่อนงานออกพระเมรุเป็นปีแล้ว


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:08
ส่วนภาพพระเมรุมาศที่พบในกล่องของทอมสันเป็นพระเมรุมาศองค์ใดนั้น ไม่ต้องสงสัยเลย เป็นพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯแน่ แต่เขาจะได้มาอย่างไรนั้นก็สุดแต่จะเดากันไป อย่างไรก็ตามทอมสันเองก็ไม่ได้อ้างว่าตนเป็นผู้ถ่ายภาพสองภาพดังกล่าว เขาเก็บเอาไว้โดยเขียนอธิบายไว้แบบมั่วสุดๆว่า The cremation pyre of the King's son (Brir ?) คำในวงเล็บนี่ฝรั่งด้วยกันยังอ่านไม่ออก ตีความไม่ได้ว่าเขาต้องการเขียนว่ากระไร คนไทย(บางคน)ไปเดาว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโน่น

ภาษาของทอมสันสะท้อนระดับการศึกษาของเขา ถ้าเขาเขียนหนังสือได้ดีกว่านี้ เราคงจะได้อ่านเรื่องราวดีๆที่อยู่เบื้องหลังการเดินทางไปถ่ายภาพในหลายๆประเทศของเอเซีย และทำไมบางคนที่ตามศึกษาประวัติของเขาจึงบ่นว่า น่าผิดหวังมาก


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:10
ภาพเจาะรายละเอียดจากนิทรรศการภาพถ่ายของทอมสันคราวนี้

ยักษ์ทวารบาล รู้สึกจะผอมสูงหุ่นเป็นฝรั่งกว่ายักษ์วัดพระแก้วนะครับ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:12
หน้ารั้วราชวัตร มีศาล เหมือนศาลเจ้าที่เรียงรายอยู่ด้วย


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:17
ม่านกันแดดและฝนด้านทิศตะวันออก

โดยปกติน่าจะม้วนไว้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 07:41
ดูสภาพที่รกๆ มีคนปรากฏระเกะระกะทำให้น่าเชื่อว่าการถ่ายภาพชุดนี้น่าจะกระทำก่อนงานออกพระเมรุ ม่านที่ห้อยเพียงแค่จะบังแดดโดยไม่คำนึงถึงความสวยงามนี้ น่าจะมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อจะกางกั้นให้ช่างที่กำลังทำงานอยู่ภายในมากกว่า

งานออกพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนั้น มีขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๔๑๒ ซึ่งไม่ใช่ฤดูฝน


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 08:42
ในหนังสือที่ออกขายในงานนิทรรศการ มีภาพแผนผังพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ประกอบเพื่ออธิบายภาพถ่ายพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯที่อ้างว่านายทอมสันเป็นผู้ถ่ายด้วย

คงแก้ไขไม่ได้แล้ว น่าสงสารนักอ้างอิงรุ่นต่อๆไป


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 16:54
มีของแถมครับ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ การสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระเจ้าแผ่นดินจะยึดถือโบราณราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก  กล่าวคือ ช่างจะทำเป็นพระเมรุมาศขนาดสูงใหญ่ พระเมรุชั้นนอกจะทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์ครอบคลุมพระเมรุทองทรงบุษบกขนาดเล็กกว่าซึ่งตั้งอยู่ภายใน ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมโกศก่อนถวายพระเพลิง


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 16:55
ภาพถ่ายงานออกพระเมรุของกษัตริย์เขมร พระนโรดมสีสุวัติในปี ๒๔๗๐ จะเห็นพระเมรุสองชั้นที่สร้างตามแบบโบราณทั้งภายนอกและภายใน ใครจะเอาของใครมาไม่ทราบละ แม้พระเมรุมาศของสยามดูจะอลังการกว่าทั้งขนาดและรูปแบบสถาปัตยกรรม แต่เจตนาของผมที่นำมาให้ดูมิได้หมายที่เปรียบเทียบ เพียงแต่หาตัวอย่างของจริงจากภาพที่ถ่ายในเมืองไทยได้ไม่ตรงกับที่ต้องการ


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 16:56
ประเพณีการสร้างพระเมรุสองชั้นนี้มาเลิกเสียเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการสร้างแบบเดิมดังกล่าวเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและเป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีขนาดเล็กลง และเหลือเพียงพระเมรุมาศชั้นนอกเพียงชั้นเดียว

กล่าวกันว่าพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นองค์สุดท้ายที่ก่อสร้างตามแบบแผนโบราณนั้นแล้ว ก็จริงอยู่ถ้านับในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเมรุมาศที่สร้างตามโบราณราชประเพณีองค์สุดท้ายจริงๆคือเป็นองค์ที่สร้างเพื่อถวายพระเพลิงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ พระราชธิดาในคราวเดียวกันในเดือนมีนาคม ๒๔๒๓


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ม.ค. 15, 16:58
ลองเปรียบเทียบความอลังการและขนาดของสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ภาพที่ถ่ายภายในพระเมรุหลัก จะเห็นเบญจาที่ประดิษฐานพระโกศคู่กันของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ ราวกับสถิตย์อยู่ภายในท้องพระโรงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และการถวายพระเพลิงก็กระทำกันภายในพระเมรุนี้


กระทู้: ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 04 ก.พ. 15, 14:24
ขอบพระคุณอ.Navarat.C เจ้าค่ะ ตามมาติดตามกระทู้ได้ความรู้กลับไปอีกมากมาย