เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ภูมิ ที่ 11 มิ.ย. 01, 04:41



กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 11 มิ.ย. 01, 04:41
จาก กระทู้ "สืบจากกระทู้ "หนูขา" ของคุณ Little Sun"  :-)
เห็นว่าคนละเรื่องเลยมาตั้งกระทู้ใหม่

ที่คุณนกข.พูดมาว่ารู้สึกขัดหูอย่างยิ่ง เวลาเห็นความสับสนระหว่างคะ กับ ค่ะ
ผมก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีความหมายต่างกันทั้งสองคํา

แต่คําว่า เท่าไร เมื่อไร  ~ไร ทั้งหลาย ในกรณีที่ออกเสียงว่า ไหร่
ไม่ทราบว่าควรเขียนลงไปตรงๆดี หรือ เขียนตามภาษาเขียนดี
และจริงๆแล้วควรออกเสียงว่าอะไร

เวลาอ่านออกเสียง  ผมก็พยายามออกเสียงตามตัวอักษร แต่ก็รู้สึกขัดๆ


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 05 พ.ค. 01, 11:09
เรื่อง คะ กับ ค่ะ นั่น ดิฉันคิดว่าคุณ นกข รำคาญที่เรายังผันวรรณยุกต์กันไม่ถูก  เวลาเขียนคำที่ดูจากประโยคและเสียงที่ควรพูดแล้ว  ควรสะกดว่า คะ ก็ไปเขียนว่า ค่ะ   หรือสลับกัน  

ดิฉันเลยขอคุยถึงประเด็นนี้ตรงที่  เคยมีฝรั่งที่เรียนภาษาไทยที่ดิฉันได้คุยด้วย  ก็งุนงงสงสัยเป็นยิ่งนัก  ว่าเวลาเค้าไปถามคนไทยเรื่องการผันวรรณยุกต์ว่า  มีกฏอย่างไร  แม้กระทั่งคนไืทยที่เรียนจบมหาวิทยาลัยได้ปริญญามาแล้ว  ก็ยังนึกไม่ออกบอกไม่ถูกเลยว่า  กฎการผันวรรณยุกต์นั้นเป็นอย่างไร  ทั้งๆที่เรื่องนี้  ควรสอนกันในชั้นประถมเสียด้วยซำ้  พอดิฉันอธิบายว่า  สำหรับอักษรต่ำคำเป็น รูปเอก-เสียงโท รูปโท-เสียงตรี และอักษรตำ่คำตาย รูปสามัญ-เสียงตรี รูปเอก-เสียงโท เท่านั้น  เค้าก็ร้อง โอ้มาก๊อดกันเลยว่า  เคยเรียนภาษาไทยมาเป็นปี  ไม่เคยมีใครบอกเค้าเลยว่า  การผันวรรณยุกต์มีแยกกันเรื่องรูปเรื่องเสียงเสียอีก   เค้าก็ว่าไม่เห็นลึกลับซับซ้อนตรงไหน  น่าจะสอนเด็กให้คล่องตั้งแต่ ม ต้นกันได้แล้ว  ก็รู้สึกเขินๆเหมือนกัน  แต่มันก็จริงของเค้านะคะ  

ดิฉันมานั่งนึกดูว่า  ได้เรียนเรื่องหลักการผันวรรณยุกต์เมื่อไหร่  ก็นึกไม่ออกว่าเคยเรียนตอนเด็กๆหรือเปล่า   จนกระทั่งเข้ามาเรียนกรุงเทพในชั้น ม ปลาย แล้วน่ะค่ะ  ก็มีบุญได้อาจารย์ภาษาไทยที่ดีมาก  ท่านเคี่ยวเข็ญเด็กวิทย์อ่อนภาษาไทยอย่างพวกดิฉันอย่างไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก  จนจำได้แม่น  ขืนเขียนไม่ถูกสิ่  ท่านหาวิธีมาล้อเลียนให้ได้อายได้อย่างไม่ซำ้แบบกันเลยค่ะ

แต่ก็งงเหมือนกันนะคะว่า  กฎที่ว่านี้ก็ไม่ยากเลย  กับการใส่วรรณยุกต์  หากรู้จักการจัดหมวดหมู่อักษร สูง กลาง ตำ่  แต่มานึกๆดู  การเียนการสอนภาษาไทยที่ได้รับมาด้วยตัวเอง  ก่อนที่จะมาเจออาจารย์ผู้ประเสริฐท่านนั้นแล้ว  ดิฉันไม่เคยได้เรียนกับครูอาจารย์คนไหน  ที่ชี้ให้เห็นถึงหลักภาษาด้วยการวิเคราะห์หรือเรียกอย่างฝร่ังว่า  analytical approach โดยจัดให้เป็นระบบระเบียบ  แทนที่จะท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองกันลูกเดียวมาก่อนเลย  

ใครจะเป็นห่วงเรื่องการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ดิฉันไม่ว่า  เป็นห่วงอยู่อย่างเดียว  คือการสอนภาษาไทยของเราเองนั่นแหละค่ะ  รู้ให้มันดีไว้ซักภาษานึงก่อน  แล้วค่อยไปว่ากันเรื่องวิชาอื่นที่อาศัยการสื่อภาษามาสอนกันทีหลังก็ยังทันกันนะคะ

ส่วนแระเด็นที่สองนั้น  ดิฉันว่า  การเขียนภาษาพูด  อย่างที่เราคุยกันนี้  ควรผันตามการออกเสียงค่ะ  เช่น ในรูปประโยคที่ตั้งใจให้อ่านเป็นร เมื่อไหร่ ก็เขียนเช่นนั้น  เขียนภาษาเขียนก็ไว้เขียนบทความที่มันเป็นเรื่องเป็นราวไป  แต่หากคุยกันอย่างนี้  ก็เป็นหลักการส่วนตัวเท่านั้นแหละค่ะ  ว่าจะเขียนตามเสียงอ่าน  จากประสบการณ์ที่เขียนบทความมาบ้าง  หากเขียนให้ัมันเป็นภาษาเขียนอย่างเคร่งครัดแล้ว  คนอ่านแล้วง่วงนอนค่ะ  จุดประสงค์ของดิฉันคือ  เขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง  และไม่ผิดวิธีการใช้คำไทย  เมื่อคนอ่านด้วยวิธีไหนที่เข้าใจได้ดีกว่า  ก็จะใช้วิธีนั้นค่ะ  หึหึ เลิกเขียนให้หลายที่มาแล้ว  เพราะตกลงกันไม่ได้เรื่องการผันวรรณยุกต์นี่แหละค่ะ


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: อุ้ยครับ ที่ 07 พ.ค. 01, 08:18
อุ้ยเห็นด้วยกะพี่พวงฯครับ...แบบว่าเราคุยกันในบอร์ดใช่มะครับ เวลาพิมพ์มะเห็นจำเป็นจะต้องพิมพ์ให้มันเป็นภาษาเขียนอะครับ คุยไงก็พิมพ์ไปงั้น ตะว่าผู้เฒ่าผู้แก่บางคนเค้ารับมะได้ครับ

อย่างอุ้ยเนี่ย เรื่องวรรณยุกต์คอยสังเกตอยู่ครับ แบบว่าเคยต้องอ่านเรื่องสามก๊กให้ย่าฟัง ตอนนั้นก็ตาเหล่มาทีละครับ เลยอยากฝากว่าถ้าอยากผันวรรณยุกต์แม่นๆให้ไปอ่านหนังสือจีนอะครับ

แหะๆๆ..หวังว่าคงมะค่อยมีคนรำคาญกะสำนวน และตัวสะกดของอุ้ยมากนักนะคร้าบบบบบ


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 08 พ.ค. 01, 12:39
เท่าที่ผมจําได้กฎการผันเสียงวรรณยุกต์ สําหรับคําเป็น เรียนตั้งแต่ประถมแล้ว
ส่วนคําตายเรียนตอนมัธยม
ทําไมต้องแยกกันก็ไม่รู้


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: คนชื่นชอบนิยาย ที่ 03 มิ.ย. 01, 23:46
เรื่องผันวรรณยุกต์บางครั้งก็สับสนในการใช้เหมือนกันคะ อย่าง คำว่า  "คะ" กับ "ค่ะ" ใช้แตกต่างอย่างไร ไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือไม่น่ะค่ะ....


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 01, 08:36
เรื่องใช้  คะ หรือ ค่ะ  ขอให้สังเกตง่ายๆ เวลาเราพูดเองซิคะ ว่าลงท้ายด้วย คะ หรือ ค่ะ
แล้วเขียนไปตามเสียงพูด

อย่างดิฉันจะเรียกคุณ ก็เรียกว่า
คุณคนชื่นชอบฯ คะ  
ไม่ออกเสียงว่า
คุณคนชื่นชอบ ฯ ค่ะ


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: แจ้ง ใบตอง ที่ 04 มิ.ย. 01, 20:03
ค่ะ กับ คะ ใช้แตกต่างกันอย่างไร

สำหรับผมเองไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ เพราะว่าใช้ครับอย่างเดียว ถ้าโดนเรียกใช้งานก็ "ครับผม"

คุณคนชื่นชอบนิยายลองสังเกตอย่างนี้ซิครับ (ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ แต่ไม่เสมอไป)

ประโยคไหนที่เป็นคำถามจะใช้เสียงตรี "คะ"
ประโยคไหนที่เป็นบอกเล่าส่วนมากจะใช้เสียงโท "ค่ะ"
ประโยคไหนที่ออดอ้อนใช้เสียงจัตวา "ขา"

แต่ถ้าจะให้แม่นจริงๆ ต้องอย่างที่คุณเทาชมพูบอกครับ เขียนเลียนเสียงที่เราพูดออกมาเลยรับรองไม่ผิด

คำว่า "ค่ะ" นี่ย่อมาจาก "เพคะ"  "มังคะ"  "พะย่ะค่ะ" หรือเปล่าครับ พอต่อๆ มาก็กร่อนลงเหลือคำว่า "ค่ะ" กับ "คะ"
อ่านหนังสือนิยายย้อนยุค บางทีผู้ชายก็ใช้คำว่า "ย่ะ" เหมือนกัน

เช่นเดียวกับคำว่าครับ น่าจะมาจาก "ขอรับ" "ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม" หรือเปล่า ผมว่าน่าจะใช่

วกมาถึงเรื่องกร่อนคำนิดนึงครับ คำสมัยนี้จะถูกกร่อนให้สั้นลง บางทีเป็นที่นิยมกันมาก ทำให้การเขียนผิดไปด้วย
ผมเคยเห็นหนังสือราชการเขียน "มหาวิทยาลัย" เป็น "มหาลัย" บ่อยมากๆ

จะลองยกตัวอย่างคำที่กร่อนจากคำเดิมนะครับ...

มหาวิทยาลัย เป็น มหาลัย หรือ มหาทลัย
คณะรัฐมนตรี เป็น ครั้มตรี
พิจารณา เป็น พิณา

บางคนก็เห็นเป็นว่าภาษามีวิวัฒนาการ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ผมยังเห็นว่ามันทำ
ขาดความสละสลวยทางภาษาไปครับ


กระทู้: การเขียนคําไม่ตรงเสียงอ่าน
เริ่มกระทู้โดย: BA ที่ 11 มิ.ย. 01, 16:41
อย่างคำพวก น้ำ ช้ำ
แม่น แม้น
น้อง ก้อง
และอื่น ๆ อีกมาก ผมว่าก็น่าสนใจนะ
ทำไมรูปสะกดไม่มีความแตกต่างเลยว่าคำไหนสระเสียงยาว คำไหนสั้น
แล้วคุณ ๆ คิดว่าเราควรเขียนคำพวกนี้ให้ตรงเสียงอ่านหรือเปล่า
โบราณเราเคยมีนะครับ ด้วยการใส่ไม้ไต่คู้ลงไปในคำเสียงสั้น
แต่เดี๋ยวนี้ท่านไม่ให้ใส่ไม้ไต่คู้ซ้ำซ้อนกะรูปวรรณยุกต์