เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ค. 22, 20:19



กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ค. 22, 20:19
สืบเนื่องจากกระทู้ ตุ๊กตาหินโบราณ
คุณตั้งรู้จักหิน  agalmatolite ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก หินฮ่วยเส่งง้ำ ไหมคะ  ในแหล่งอ้างอิงบอกว่าเป็นหินสีเขียวอมเทา มีมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น   
ลักษณะพิเศษของหินคือ เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ เนื้อยังอ่อน   สามารถแกะสลักได้ง่าย  แกะแล้วทิ้งตากแดดตากลมไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะแข็งตัวเป็นหินเนื้อแข็ง  ผ่านไปเป็นร้อยปีก็ยังไม่แตกพัง

อยากทราบเรื่องหินชนิดนี้ค่ะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ค. 22, 20:20
พวงลิ้นจี่ข้างบนนี้ แกะสลักจากหิน agalmatolite ค่ะ  ไม่เห็นเป็นสีเขียวอมเทาเลยนี่คะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 19 ก.ค. 22, 16:19
Agalmatolite เป็นแร่คนละชนิดกับ ฮวยเส่งง้ำ ครับ

.....


อะแกลมาโตไลต์ (Agalmatolite) คือแร่อะลูมิเนียมซิลิเกต ที่แปรมาจากแร่ Talc
ปฏิกิริยาทางธรณีวิทยาเปลี่ยนสภาพทำให้ธาตุอลูมิเนียมเข้าไปแทนที่ธาตุแมกนีเซี่ยมของทอล์ก

ธาตุอลูมิเนียมทำให้หินที่เคยอ่อนแตกง่ายแกร่งขึ้น มีสีสันสวยงามหลากหลาย ทั้งขาว ชมพู แดง เขียว... และมันก็โปร่งแสง .
ชื่อสามัญของ อะแกลมาโตไลต์  คือหินสบู่ จีนเรียก 冻石 ( หินเยือกเย็น )

อะแกลมาโตไลต์ ที่ขุดจากฮกเกี้ยนมักจะมีสีสวยงาม คนจีนชอบนำมาแกะทำเครื่องประดับ เครื่องตั้งหรือใช้แกะเป็นด้ามดวงดราประทับ มีชื่อเรียกในวงการว่า หยกฮกเกี้ยน หรือ  寿山石 ( หินอายุวัฒนะ )

...


ฮวยเส่งง้ำ มาจากชื่อจีนว่า 火成岩 แปลว่า หินอัคคนี ครับ


คนจีนนิยมใช้แกรนิตที่มีสีออกเขียวเหลื่อบๆ ในการแกะสลักสิงโต หรือ เครื่องประดับเรือน ไปกระทั่ง วัด และ วัง

หินฮวยเส่งง้ำ จึงมีชื่อในวงการแกะสลักหินว่า 青石 ( หินเขียว ) ครับ

.


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 19 ก.ค. 22, 16:26
Agalmatolite มีค่าความแข็ง ประมาณ 2 ใบมีดเหล็กกล้า แกะได้ครับ

ค่าความแข็งเป็นคุณสมบัติเฉพาะ มันไม่ได้แปรเปลี่ยนไปกับเวลาครับ

ส่วนหินแกรนิตความแข็งประมาณ 6 หรือกว่านั้น ต้องใช้สิ่ว ใช้ค้อนเคาะ แกะสลักครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ค. 22, 18:35
คำนิยาม

จาก Dictionary of Gems and Gemology (https://link.springer.com/referenceworkentry/10.1007/978-3-540-72816-0_255)

agalmatolite  a soft, waxy, silica-rich and compact mineral or stone such as painite, pyrophyllite, and steatite of a greenish, grayish, yellowish, and brownish colors. RI: 1.552–1.600. SG: 2.80–2.90. H: 1–1½. Consequently, it has a greasy touch. Used by Chinese for carving small images, miniature pagodas, and other objects. Some agalmatolites are steatite (or talc) Mg3Si4O10(OH)2 or pyrophyllite Al2Si4O10(OH)2. Synonym: figure stone, pagodite, lardite, pagoda stone, lard stone, figured stone. Sometimes loosely called soapstone or soap rock.

จาก อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา (http://mapsurvey.rid.go.th/th/wp-content/uploads/2022/01/อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา-เล่ม-1-A-K-กรมทรัพยากรธ.pdf)

agalmatolite  (แอ๊ะเกิลแม′เทอไล้ทฺ) หินมีเนื้อค่อนข้างอ่อน คล้ายขี้ผึ้ง เช่น พีไน้ท (pinite) ไพโรฟิไล้ท (pyrophyllite) หรือ สตีไท้ท (steatite) มีเฉดสีเทา เขียว เหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งชาวจีน มักใช้ทำเป็นหยกเทียมสาหรับแกะสลักภาพขนาดเล็ก แกะสลัก เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก และรูปเหมือนอื่น ๆ คำพ้อง : pagodite (เพอโก′ได๊ท); lardite (ลารฺ′ได๊ทฺ); lard stone (หลารฺด สโตน′); pagoda stone (เพอโก′เด้อ สโตน′)

หินสบู่ (steatite) จึงเป็นเพียงหนึ่งในหิน agalmatolite


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.ค. 22, 18:35
ว่าด้วยเรื่องหินสบู่

สตีไทต์ (steatite) หรือ หินสบู่ (soapstone) เป็นหินแปร ที่มีองค์ประกอบของแร่ทัลก์เป็นหลัก โดยอาจมี แร่คลอไรต์ ไพรอกซีน ไมกา แอมฟิโบล แร่คาร์บอเนต และแร่ชนิดอื่น ๆ เพราะมันประกอบไปด้วยแร่ทัลก์เป็นหลักจึงมักจะนุ่มมาก หินสบู่มักจะมีสีเทา สีน้ำเงิน สีเขียว สีชมพู รวมถึงสีน้ำตาลซึ่งมักจะแตกต่างกันไป หลายครั้งเมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่ามันเนียนนุ่ม จึงมักเรียกมันว่า "หินสบู่" และมักถูกใช้ในงานแกะสลักส่วนใหญ่ โดยประติมากรรมที่เป็นที่รู้จักที่แกะสลักจากหินสบู่ เช่น รูปปั้นกริชตูเรเดงโตร์ หรือ พระคริสต์ผู้ไถ่บาป (Christ the Redeemer) ที่ตั้งอยู่บนยอดเขากอร์โกวาดู  เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล

เมื่อดูสัดส่วนโดยมวลแล้ว แร่สตีไทต์ที่ "บริสุทธิ์" นั้นมีซิลิกา ๖๓.๓๗%, แมกนีเซีย ๓๑.๘๘% และน้ำ ๔.๗๔% มันมักจะมีปริมาณออกไซด์ของแร่ชนิดอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น แคลเซียมอ๊อกไซด์ (CaO) หรือ อลูมินา (Al₂O₃)

หินสบู่จะค่อนข้างนิ่มเนื่องจาก มันมีปริมาณของทัลก์ (talc) สูง และเนื่องจากทัลก์มีค่าความแข็งเท่ากับ ๑ ในระดับความแข็งของโมส (Mohs hardness scale) โดยปริมาณของทัลก์ที่อยู่ในหินสบู่ไม่คงที่ ความแข็งของหินสบู่แต่ละแหล่งจึงไม่เท่ากัน และยิ่งมีปริมาณทัลก์เยอะจะทำให้สัมผัสรู้สึกนุ่มกว่าคล้ายกับสบู่ ปริมาณของทัลก์ในแต่ละแหล่งมีค่าแตกต่างกันอย่างมากจากตั้งแต่ ๓๐% จะถูกใช้เป็นเกรดสำหรับงานสถาปัตยกรรม เช่น ใช้แกะสลักเป็นเคาน์เตอร์ จนถึงมีมากถึง ๘๐% จะถูกใช้ในงานแกะสลักรูปปั้นต่าง ๆ
 
หินสบู่นั้นง่ายต่อการแกะสลักและยังมีความทนทานต่อความร้อนและค่อนข้างเป็นฉนวน ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้แกะสลักเป็นเครื่องครัวหรืออุปกรณ์สำหรับการปรุงอาหาร และฉนวนในอุปกรณ์ทำความร้อนมานับเป็นพัน ๆ ปี

หินสบู่สามารถเปลี่ยนรูปเมื่อถูกความร้อนถึงอุณหภูมิ ๑,๐๐๐–๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส องค์ประกอบทางเคมีจะทำให้เเร่เปลี่ยนร่างเป็นแร่เอนสเตไทต์ (Enstatite) และ แร่คริสโตแบไลต์ (Cristobalite) โดยสามารถสังเกตได้จากค่าความแข็งในระดับโมร์ที่เพิ่มขึ้นเป็น ๕.๕-๖.๕

จาก pwsalestone.com (https://www.pwsalestone.com/category/220/สตีไทต์steatite-หรือ-หินสบู่soapstone)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ค. 22, 10:35
ว่าด้วยเรื่อง หินฮ่วยเส่งง้ำ

火成岩 หั่ว เฉิง เหยียน เป็นภาษาจีนกลาง ส่วนภาษาแต้จิ๋ว อ่านออกเสียง ฮ่วย เส่ง ง้ำ (หรือ 其他名称:岩浆岩;岩浆岩(magrnatic rock)) สรุปถามเพื่อนชาวจีนแล้ว คือหินอัคนี ซึ่งตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวไว้แล้วว่าเป็นตระกูลหินอัคนี คือ กลุ่มหินแกรนิต หินไนซ์ ซึ่งมีหลายสี หลายแบบ เหมาะแก่การแกะสลักครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3557.0;attach=15087;image)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ค. 22, 15:02
หินฮ่วยเส่งง้ำ ในเมืองสยามที่มีคุณภาพดีก็คงไม่พ้นครกหินอ่างศิลาครับ มีทั้งสีดำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักคือ หินแกรนิต (ประเภทหินอัคนี) และหินไนส์ (หินแปรจากอัตนี) เนื้อจะมีความละเอียดออกสีเขียวเทา


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ค. 22, 15:03
หินฮ่วยเส่งง้ำ ที่ผลิตขายกันในเมืองจีนในช่วงรัชกาลที่ 1-3 ทางการสยามซื้อหากันที่เมืองหนิงโป ใต้เมืองเซี่ยงไฮ้ครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Rangson Boontham ที่ 20 ก.ค. 22, 20:30
สวัสดีครับ ขอบคุณที่มีทั้งคำภาษาอังกฤษและคำศัพท์ภาษาจีนเขียนด้วยภาษาไทยกำกับ ได้ความรู้มากครับ
เห็นรูปครกหินอ่างศิลา ในฐานะคนเมืองชลบุรีโดยกำเนิดอดภูมิใจไม่ได้  ;D
พูดถึงหินสบู่ (Soapstone) แล้วก็นึกถึงหินแกะสลักรูปยอดปรางค์กับเจดีย์บนกำแพงแก้วล้อมพระมณฑป ที่วัดพระพุทธบาทฯ จ.สระบุรี ไปกราบสักการะมาเมื่อ 2 เดือนก่อน ขอนำรูปมาฝากครับ  :-[


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ค. 22, 11:35
งามแท้หนอ  ;D

หินสบู่แกะสลักอันงามรอบกำแพงแก้วพระมณฑปพระพระพุทธบาทสระบุรีนี้  เชื่อกันว่าเดิมคงประดับเป็นหัวเสากำแพงแก้วรอบพระปรางค์วัดไชยวัฒนารามมาแต่ครั้งกรุงเก่า ซึ่งสง่างามถึงขีดสุด

เมื่อกรุงแตกก็ถูกทิ้งร้างไป ต่อมาจึงขนย้ายมาถวายวัดพระพุทธบาทสระบุรีอันได้บูรณะใหม่ ฝีมือแกะสลักหินสบู่ของช่างหลวงกรุงเก่าสมัยอยุธยาตอนปลายยังคงเรืองโรจน์โดดเด่นอยู่ที่นี่

จาก เฟซบุ๊กของคุณวัชระ ตันติดลธเนศ (https://www.facebook.com/763339281/posts/pfbid0GD5F4QZcfRLb9VZWjtdwxsnY6gbJ4cWjDoZBUYfKN7dfCh1iE3yR26pLde9r9H71l/?d=n)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 21 ก.ค. 22, 12:31
       ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ หินสบู่ จาก การแกะแม่พิมพ์หินสบู่ - กรมศิลปากร
ที่     https://www.finearts.go.th/storage/contents/2021/07/detail_file/JNH8xu8bxfKg0QtWLg7p9NMepQX94ZFgKpkdsYA1.pdf


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ค. 22, 09:26
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบค่ะ
ที่หายหน้าไป2-3 วันเพราะป่วย   (แต่ไม่ใช่โควิด)  ต้องค่อยๆไล่อ่านทำความเข้าใจไปก่อนค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 22, 10:19
ก่อนอื่นขอทักทายคุณนามแปลง  Namplaeng และคุณหนุ่มสยาม Siamese ที่แวะเข้ามาให้ความรู้เรื่องหินค่ะ  นานๆเข้ามาที แต่ก็ให้ความรู้เต็มเพียบ  จนดิฉันไม่มีคำถามอีกแล้ว
ไปหาอาจารย์กู๊ก ขอดู   冻石 ( หินเยือกเย็น ) ของคุณนามแปลง  เจอรูปเยอะมากจนไม่รู้อะไรเป็นอะไร
เลยเซฟเอามารูปหนึ่ง น่าจะใช่นะคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 22, 10:31
(ต่อ)
ส่วน หยกฮกเกี้ยน หรือ  寿山石 ที่คุณนามแปลง บอก    ดิฉันก็ไปหารูปมาดูเหมือนกัน 
พบว่าเกือบทั้งหมดเป็นหยกขาวกับแดง   ไม่เห็นมีหยกเขียวอย่างที่เราคุ้นเคยกันว่าหยกจะเป็นสีเขียว
ตอนไปจีนเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว   ซื้อตัวเผยเย้า( ไกด์จีนออกเสียงแบบนี้ ไม่รู้สะกดยังไง) มาคู่หนึ่ง  สีขาว  ในร้านมีเผยเย้าสีขาวและแดงปนกันในตัวเดียว    แต่ไม่ชอบสองสีค่ะ   น่าจะเป็นหินแบบนี้มั้งคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 27 ก.ค. 22, 12:24
สวัสดีครับอาจารย์ _/\_

หินสบู่ หรือ 冻石 ( จีนสำเนียงแต้จิ๋วจะออกเสียงประมาณ ตั้ง เจียะ) ไม่ใช่ รูปนี้ครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/27/X3Onxf.md.png)

ผมเดาจากริ้วหินว่าน่าจะเป็น หินอ่อน ที่แปรมาจากหินปูนครับ
หินอ่อนที่เกิดในธรรมชาติปกติ จะไม่ขาวอย่างที่เมื่อก่อนบ้านเราสั่งซื้อจากอิตาลี
หินอ่อนจากอิตาลีเกิดภายใต้เงื่อนไขทางธรณีวิทยาที่ต่างกัน จึงมีเนื้อหินสีขาวหรือโทนสีอ่อนครับ
ถ้าจะให้แน่ใจก็ต้องลองเอามีดเหล็กกล้าขูดทดสอบ
และ หยดทดสอบด้วยกรดครับ  หินอ่อนจะเกิดเป็นรอยด่าง....
สมัยที่ผมเรียนวิชาธรณีวิทยา การพิสูจน์ทราบเป็นเรื่องสนุกสนานมากครับ

ผมลองใช้คำว่า 冻石 ค้นหาภาพบ้าง จะได้ภาพมาเป็น

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/27/X3CIq2.png)

พวก 冻石 จะทน ไม่สะทกสะท้านกรดครับ

แต่เราสามารถใช้มีดเหล็กกล้าแกะแต่งได้สบายครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/27/X3Or6a.th.png)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 27 ก.ค. 22, 12:43
ส่วนตัว ผมมีความเห็นว่า คุณสมบัติของหินสบู่จากบางแหล่งหินในเมืองจีน

ที่มีคุณสมบัติเนื้อเนียน สีสม่ำเสมอดูเป็นเนื้อเดียวและโปร่งแสง ผิดจากหินธรรมชาติที่พบในบ้านเรา
ประกอบกับสมบัติที่หินสบู่ใช้มีดเหล็กกล้า แกะสลักหินได้ง่ายอย่างชี้ผึ้งแข็งๆ

จะเป็นที่มาของความเชื่อเรื่อง ศิลาเทียม หรือ เรื่องการหล่อศิลาเทียม ในเอกสารเก่าครับ.


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ค. 22, 13:38
คุณนามแปลงอธิบายเรื่องหิน ชวนให้อยากถามต่อไปเรื่อยๆ
ศิลาเทียม คืออะไรคะ

ขอถามอีกนิด คืออาจจะอธิบายกันแล้วในกระทู้นี้ แต่ดิฉันเป็นคนไม่มีหัวเรื่องหิน  ต้องฟังซ้ำหลายครั้งถึงจะเข้าใจ
ขอถามว่ายักษ์วัดโพธิ์ข้างล่างนี้ ทำด้วยหินอะไร   ใช้แกะสลักจากหินแท่งเดียวเลยหรือคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 27 ก.ค. 22, 16:07
อาจารย์ครับ ผมขอสารภาพก่อนว่า ผมไม่ได้สนใจเรื่องตุ๊กตาหินมาแต่แรกครับ

ด้วยเห็นมีครูอาจารย์ท่านศึกษาอยู่แล้วหลายท่าน

ชาวบ้านอย่างผมรู้ไป พูดไป เค้าก็ไม่ฟัง เขียนอะไรไปรางวัลก็ไม่มี

ซ้ำยังมีประสบการณ์ที่คนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยมาลอกไปเป็นผลงานวิชาการ
แล้วยังประกาศว่าตัวเองรู้จริงอย่างไร้ยางอาย  ทั้งที่อายุก็ไม่น้อยแล้ว....

เหตุนี้ผมจึงไม่ได้ใส่ใจครับ

( ขอโทษนะครับ ที่เสียมารยาท ปล่อยระบายไป... )

......

สมัยที่ผมพบคำว่า ศิลาเทียม ครั้งแรก ผมนึกไปถึง พลาสติก ครับ

แต่พอไปตามประวัติพลาสติก ก็พบว่า Alexander Parkes ท่านเพิ่งจะทดลองพบวิธีการสังเคราะห์พลาสติกในห้องทดลองได้เมื่อ ปี 1862 ซึ่งกว่าจะปรับวิธีการรายละเอีดจนมาผลิตทางอุตสาหกรรมก็คงอีกหลายปี และก็คงยังมาไม่ถึงบ้านเรา

ประกอบกับหากพิจารณาวิธีทางอุตสาหกรรม ที่การหลอมพลาสติกต้องมีโมลด์ หรือแม่พิมพ์
ที่จะคุ้มต่อเมื่อมีการหล่อซ้ำจำนวนมากเท่านั้น เป็นอ้นว่า
ผมตัดเรื่องพลาสติกหล่อตุ๊กตาหินเทียมเพียงตัวเดียวออกจากหัวเลยครับ

พอตัดเรื่องพลาสติกออก ก็มาเรื่องขี้ผึ้ง(แท้) ที่ไม่เสถียร จะหลอมเหลวล้มเมื่อใดก็ไม่รู้...

สุดท้ายผมจึงมาจบเรื่อง ศิลาเทียม

ที่ผมเข้าใจเองว่า น่าเป็นการทำ ตุ๊กตาหิน ที่ผลิตจากหินสบู่ดังที่เรียนข้างต้นครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 27 ก.ค. 22, 16:23
ยักษ์ตัวใหญ่ ที่เป็นทวารบาลของวัดโพธิ์ เป็นหินแกรนิต ครับ

คนจีนท่านเลือกใช้แกรนิตที่เกรน หรือเนื้อหินแทรกชนิดเม็ดเล็ก และก้อนหินแลออกเหลื่อมเขียวๆ
ท่านเรียก ชิงสือ ( 青石 = หินเขียว) ครับ

ทวารบาลตัวใหญ่ที่วัดโพธิ์ จะเห็นรอยต่อ 2 - 3 รอย หรือเป็นหินมาต่อกัน 3 - 4 ชิ้นครับ

และส่วนใหญ่อาวุธประจำกาย จะเป็นหินต่างหากที่นำมาสอดใส่ช่องที่มือเอาภายหลังครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.ค. 22, 17:55
สวัสดีครับ
 
ต้องขออภัย อ.เทาชมพู และสมาชิกทุกท่านด้วยครับ   ไม่ได้เข้ากระทู้เลยด้วยไม่มีความพร้อมทางเทคนิคเพียงพอครับ

เพิ่งกลับมาจาก ตจว.  หลบไปหาความสุขกับความเรียบง่ายของการดำเนินชีวิตในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงมาครับ ได้กินอาหารแบบพื้นๆ สดใหม่ ซื้อเขาบ้าง ทำกินเองบ้าง  ได้นอนหลับสบายกับความเงียบ หรือกับเสียงฝนฟ้า และเย็นสบายกับสภาพอากาศที่ไม่ต้องใช้แอร์   

ไปคราวนี้ก็ได้เรียนรู้วิถีชาวบ้านยุคปัจจุบันที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย ก็จะหาช่องเล่าสู่กันฟังครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ก.ค. 22, 19:10
ผมเห็นว่า ความต่างๆที่ได้ขยายผ่านนมาของกระทู้นี้ นั้น  ได้ให้ข้อมูลและความรู้ที่น่าสนใจต่างๆอยู่มากพอสมควรเลยทีเดียว  ผมจะขอขยายความเพิ่มเติมอีกเพียงเล็กน้อย

จากคำถามแรกของกระทู้ ว่า "agalmatolite ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก หินฮ่วยเส่งง้ำ ไหมคะ  ในแหล่งอ้างอิงบอกว่าเป็นหินสีเขียวอมเทา มีมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น   
ลักษณะพิเศษของหินคือ เมื่อขุดขึ้นมาใหม่ๆ เนื้อยังอ่อน   สามารถแกะสลักได้ง่าย  แกะแล้วทิ้งตากแดดตากลมไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะแข็งตัวเป็นหินเนื้อแข็ง  ผ่านไปเป็นร้อยปีก็ยังไม่แตกพัง"

ชื่อ Agalmatolite นี้สะดุดหูผมตั้งแต่ครั้งยังอยู่ญี่ปุ่น เพราะปรากฎอยู่ในคำบรรยายสินค้าบางอย่างของเกาหลี  ก็ด้วยที่มีคำที่ลงท้ายด้วย " ite" ซึ่งมักจะหมายถึงชื่อแร่ จึงไปค้นหาความรู้เพิ่มเติม ก็เลยได้รู้ว่ามันเป็นชื่อของแร่ดิน (Clay minerals) อย่างหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติเนื่ออ่อน มีความแข็งน้อยกว่าเล็บมือ มีผิวลื่น  ซึ่งแร่หรือหินที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ พวกนักธรณีฯพวกที่ทำงานประเภทการสำรวจ  นิยมจะเรียกชื่อรวมๆแต่แรกพบว่า หินสบู่ (soap stone) ก่อนที่จะนำตัวอย่างกลับไปวิเคราะห์ว่าเป็นแร่ดินตัวใดกันแน่   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 27 ก.ค. 22, 20:46
อุ้ย....

ขอโทษครับ.  Clay mineral หมายถึงแร่อยู่ใน สถานะของ Clay หรือ ดิน  ครับ

ดิน ที่เปียกน้ำก็จะเหนอะหนะ  แต่เวลาแห้งก็จะจับตัวเป็นก้อนที่พร้อมจะแตกร่วนครับ

ท่านนิยามดิน ไว้ว่า

Clay is a very fine-grained geologic material that develops plasticity when wet, but becomes hard, brittle and non–plastic upon drying.

Clay mineral  ไม่มีสถานะของหินครับ.

.



กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ค. 22, 09:05
สวัสดีค่ะ คุณตั้ง
ขอต้อนรับกลับมาเรือนไทยอีกครั้ง  หายไปนานจนดิฉันนึกว่าไม่สบาย   พบว่าสุขสบายดี ได้ไปเที่ยวและพักผ่อนก็ดีแล้วค่ะ
คุณตั้งจะตั้งกระทู้ใหม่ คุยกันเรื่องหิน ก็ได้นะคะ
อยากรู้ว่าหินที่เขาเอามาทำสิ่งต่างๆในประเทศไทยมีอะไรบ้าง  ประเภทงานศิลปะ นอกจากตุ๊กตาหินสบู่ในวัดพระแก้ว  มีอะไรอีกไหม


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ก.ค. 22, 18:40
อยากรู้ว่าหินที่เขาเอามาทำสิ่งต่างๆในประเทศไทยมีอะไรบ้าง  ประเภทงานศิลปะ นอกจากตุ๊กตาหินสบู่ในวัดพระแก้ว  มีอะไรอีกไหม

ในส่วนของหินอ่อน หินทรายแดง หินทรายขาว หินชนวน หินอ่อน นำมาสลักเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปได้ และใบเสมาครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ค. 22, 19:16
สวัสดีคุณหนุ่มสยาม ค่ะ   นานๆจะมีเวลาแวะมาสักที   
ดิฉันอ่านของคุณข้างล่างนี้
ในส่วนของหินอ่อน หินทรายแดง หินทรายขาว หินชนวน หินอ่อน นำมาสลักเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปได้ และใบเสมาครับ
แล้วอยากจะเห็นพระพุทธรูปหินอ่อน  เลยไปค้นกูเกิ้ล เจอแต่ประกาศขายพระใหม่เต็มไปหมด
เลยอยากรู้ว่าพระพุทธรูปของเก่าที่ทำจากหินอ่อนมีไหมคะ    ไม่ต้องเก่าถึงอยุธยา  เก่าสัก 100 ปีก็พอ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ก.ค. 22, 19:40
คำนิยามของคำว่า clay ที่กล่าวถึงนั้น เป็นการอธิบายในด้านของขนาดของวัสดุที่ประกอบกันเป็นตัวเนื้อดิน วัสดุเหล่านั้นเกือบทั้งหมดจะเป็นแร่หรือหินขนาดเล็กมากๆ ซึ่ง   หนึ่งในวัสดุที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเหล่านั้น ก็คือแร่กลุ่มหนึ่งที่ทำให้ดินแต่ละแห่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เช่น การบวมน้ำ (เพราะมีแร่ในกลุ่ม Smectite โดยเฉพาะแร่ Montmorillonite ผสมอยู่มาก)  เนื้อแน่นเหนียวที่เรียกว่า ball clay (เพราะมีแร่ในกลุ่ม Kaolin โดยเฉพาะแร่ Kaolinite ผสมอยู่มาก) หรือมีโครงสร้างที่สามารถอุ้มธาตุที่เป็นอาหารของพืชบางอย่างได้ดี (แร่ Illite ?)     ดินในพื้นที่ต่างๆจะมี Clay minerals หลายชนิดผสมรวมกันอยู่ในสัดส่วนมากน้อยต่างกันไป    

Clay minerals เป็นชื่อเรียกอย่างหลวมๆของแร่กลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างการจับตัวของอะตอมในลักษณะเป็นแผ่นเรียงทับกัน (Phyllosilicate minerals)   ที่เรียกกันเช่นนี้ก็คงจะเป็นเพราะว่า ในเนื้อดินนั้นจะมีแร่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ในปริมาณมาก  แล้วก็อาจจะด้วยเพราะว่า ดินนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับวิถีชีวิตของมนุษย์และสัตว์โลก ก็จึงมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับ Clay minerals ค่อนข้างมาก ก็มากพอที่ห้องสมุดจะจัดแยกงานทางวิชาการเกี่ยวกับ Clay minerals ออกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ และจำแนกออกเป็นเรื่องๆไป เช่น เรื่องของการกำเนิดและการสะสมตัวกันเป็นแหล่งทรัพยากร  เรื่องขององค์ประกอบของธาตุในตัวเนื้อแร่ที่ส่งผลบวกหรือลบต่อการนำไปใช้งาน  เรื่องของการปรับหรือแปรดินนั้นๆให้สามารถสนองการใช้ประโยชน์ได้ ฯลฯ

ด้วยความหลากหลายของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดิน ก็เลยตามมาด้วยชื่อเรียกกันที่มีลักษณะเป็นสมหุหนามอย่างหลากหลาย มักจะสื่อความหมายให้แต่ละคนเข้าใจต่างกันไป


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Namplaeng ที่ 28 ก.ค. 22, 20:00
ถ้า คุณ naitang ยืนยันว่า Agalmatolite เป็นเรื่อง Clay mineral

ผมคิดว่าผมไม่มึความรู้พอ

ขอโทษครับที่ด่วนเข้ามาแสดงความเห็น ตื้นเขิน

ขอคืนกระทู้ให้คุณ naitang และ อาจารย์สนทนาเรื่องหินสบู่ หรือหินอื่นๆ กันต่อเลยครับ. :)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ค. 22, 20:27
อย่าเพิ่งรีบร้อนไปเลยค่ะ คุณนามแปลง 
ดิฉันไปค้นความหมายของ  agalmatolite  มาจากพจนานุกรม หลายแห่ง

Merriam-Webster  ให้คำจำกัดความว่า   a soft compact stone of a grayish, greenish, or yellowish color, sometimes stained, carved into images or miniature pagodas by the Chinese


Collins English Dictionary   บอกว่า a soft, greenish, greyish or yellowish mineral, thought to be a variety of pinite, known particularly for its use by the Chinese for carving 
ยังบอกด้วยว่า เรียกอีกชื่อว่า pagodite 

บางแห่งระบุว่า เป็นหิน  บางแห่งก็เรียกว่า เป็นแร่   

ส่วน CLAY MINERALS แปลเป็นไทยว่า แร่ดิน 

เดี๋ยวรอคุณตั้งมาอธิบายดีกว่าค่ะ




กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 ก.ค. 22, 20:45
คำนิยามจาก อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา (http://mapsurvey.rid.go.th/th/wp-content/uploads/2022/01/อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา-เล่ม-1-A-K-กรมทรัพยากรธ.pdf)

agalmatolite (แอ๊ะเกิลแม′เทอไล้ทฺ) หินมีเนื้อค่อนข้างอ่อน คล้ายขี้ผึ้ง เช่น พีไน้ท (pinite) ไพโรฟิไล้ท (pyrophyllite) หรือ สตีไท้ท (steatite) มีเฉดสีเทา เขียว เหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งชาวจีน มักใช้ทำเป็นหยกเทียมสาหรับแกะสลักภาพขนาดเล็ก แกะสลัก เป็นเจดีย์ขนาดเล็ก และรูปเหมือนอื่น ๆ คำพ้อง : pagodite (เพอโก′ได๊ท); lardite (ลารฺ′ได๊ทฺ); lard stone (หลารฺด สโตน′); pagoda stone (เพอโก′เด้อ สโตน′)

clay mineral (เคล มิ′เนอเริ่ล) แร่ที่เกิดในขนาดเท่าตะกอนเคลในชั้นดิน สารแขวนลอย หรือหิน ด้วยมีความเข้าใจว่า ขนาดเป็นตัวกำหนดลักษณะทางกายภาพ และทางเคมี เช่น มีคุณสมบัติของการเร่งปฏิกิริยาและยืดหยุ่น อย่างไรก็ตาม แร่ต่าง ๆ ที่มีลักษณะเช่นน้ี ส่วนใหญ่จะมีไฮเดริส เออะลูเมอโนสิเลอเขทส (hydrous aluminosilicates) หรือฟิโลสิเลอเขทส (phyllosilicates) ๑:๑ หรือ ๒:๑ กับส่ิงยกเว้นท่ีส้าคัญ เช่น ไฮเดรเถิด อ็อกไซดส (hydrated oxides) ของเหล็ก และเออลูเมอเนิ่ม ซีเออไล้ท และอื่น ๆ อีก ๒-๓ ประการ แร่ดินที่ส้าคัญ ได้แก่แร่ในกลุ่มคลอไร้ท (chlorite) อิไล้ท (illite) เคเออเลิ่น (kaolin) หรือ สเม็คไท้ท (smectite) หรือเป็นช้ันผสมกันของแร่ดินท่ีเกิดจาก ส่วนประกอบเหล่านี้


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ค. 22, 10:28
สวัสดีคุณหนุ่มสยาม ค่ะ   นานๆจะมีเวลาแวะมาสักที    
ดิฉันอ่านของคุณข้างล่างนี้
ในส่วนของหินอ่อน หินทรายแดง หินทรายขาว หินชนวน หินอ่อน นำมาสลักเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปได้ และใบเสมาครับ
แล้วอยากจะเห็นพระพุทธรูปหินอ่อน  เลยไปค้นกูเกิ้ล เจอแต่ประกาศขายพระใหม่เต็มไปหมด
เลยอยากรู้ว่าพระพุทธรูปของเก่าที่ทำจากหินอ่อนมีไหมคะ    ไม่ต้องเก่าถึงอยุธยา  เก่าสัก 100 ปีก็พอ

พระหินอ่อนพบหลายองค์ที่รัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากกรุงศรีอยุธยาประดิษฐาน ณ ​พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังมีพระพุทธเทววิลาส วัดเทพธิดาราม ที่รัชกาลที่ 3 อัญเชิญจากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานที่วัดครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 22, 11:04
ไปหารูปมาดูเลยค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ก.ค. 22, 19:12

......บางแห่งระบุว่า เป็นหิน  บางแห่งก็เรียกว่า เป็นแร่   
 

จะเรียกว่าอะไรก็ถูกทั้งหมดครับ  ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุตัวนี้  หากมองในเชิงของวัสดุที่สามารถเอาออกมาได้เป็นก้อนและใช้ประโยชน์จากมันได้เลย ก็คงหนีไม่พ้นจากการเรียกมันว่า เป็นหิน แต่หากต้องเอามันมาทุบแต่งแยกเอาส่วนที่ไม่ใช่ตัวมันออกไป หรือต้องเอามาแปรสภาพรูปร่างของมันก่อนที่จะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ก็คงจะต้องเรียกมันว่า แร่

ในมุมทางวิชาการ  บนข้อเท็จจริงว่า เนื้อของหินต่างๆจะประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ  ซึ่งแร่ธาตุเหล่านั้นต่างก็จะแปรเปลี่ยนไปทั้งในด้านองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างภายใน รูปทรง และคุณสมบัติต่างๆ กลายไปเป็นแร่ชนิดอื่น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  เป็นการแปรไปตามสภาพของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะจากผลของ temperature, pressure, pH, Eh, น้ำแร่ร้อน (hydrothermal)    ซึ่งทำให้แร่หลายตัวในเนื้อหินได้ถูกแปรไปเป็นแร่ชนิดอื่นๆที่ต่างไปจากเดิม บ้างก็เกิดเป็นพื้นที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งหากรวมกันใหญ่มากพอจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ก็จะกลายเป็นแหล่งแร่ในมุมมองของความเป็นทรัพยากร   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ก.ค. 22, 19:23
dickite เป็นแร่ดินชนิดหนึ่งในกลุ่มแร่ดิน Kaolinite  พบและมีการทำเหมืองในพื้นที่รอยต่อ อ.บ้านนา จ.นครนายก กับ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี  มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าและอีกด้านหนึ่งในทางศิลปกรรมการแกะสลักหิน

ประเด็นน่าสนใจก็คือ บรรดาหินแกะสลักที่วัดพระพุธบาท อ.พระพุธบาท จ.สระบุรี นั้น มาจากแหล่งใด   อ่านพบอยู่ว่ามีการย้ายมาจากอยุธยาในสมัย ร.7  และว่าเป็นของทำขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เคยตั้งอยู่ที่วัดไชยวัฒนาราม ต.บ้านป้อม ในเขตเมือง จ.อยุธยา

เลยลองโยงไปถึงแหล่งแร่ Talc ที่เรียกว่า หินสบู่ อยู่ที่ บ.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์  ซึ่งก็เป็นสถานที่ๆมีวัดเก่าแก่ชื่อวัดคุ้งตะเภา นัยว่าสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา และมีการสถาปนาโดยพระเจ้าตากสิน

ก็ยังอ่านไปพบว่า บางพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง ก็พบงานแกะสลักที่ใช้หินประเภทนี้ประกอบอยู่ด้วย

ก็เลยทำให้เกิดปุจฉาอยู่หลายๆเรื่องในประเด็นต่างๆ เช่น ในเรื่องของสินค้าระหว่างไทย-จีน  เรื่องของหินอับเฉาเรือ  เรื่องของการพบและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติของเราในอดีต ....ฯลฯ


   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 22, 18:24
การจะติดตามว่าหินที่เป็นพวกแร่ดินที่เอามาแกะสลักเหล่านั้นว่าควรจะมาจากแหล่งใด เป็นงานที่ไม่ยากและก็ไม่ง่ายจนเกินไป เพราะว่าแหล่งที่มีในปริมาณที่ค่อนข้างมากพอที่จะไปขุดเอามาทำประโยชน์ได้นั้น ค่อนข้างจะมีเงื่อนไขทางธรณีฯที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้สามารถใช้เทคนิควิธีการ เช่น การเทียบเคียงอายุของตัวแร่หินนั้น องค์ประกอบทางเคมีหลักและ Trace elements ต่างๆ  คุณสมบัติทางฟิสิกส์  รวมทั้งตัวบ่งชี้อื่นๆ  เหล่านี้ เมื่อเอาผลมาเทียบเคียงกับแหล่งที่มีการดำเนินการในอดีตกาลหรือที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน ก็พอจะบอกอะไรๆได้   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 22, 18:48
ในเว็บของ mindat.org ได้ให้ข้อมูล (ที่ไม่ยืนยันในความถูกต้อง) ว่า พบแหล่งแร่/หิน Agalmatolite ในกัมพูชา ในพื้นที่จังหวัด Kampong Chanag และที่ตำบล Trasey ในจังหวัด Pursat

ก็น่าทราบไว้เป็นข้อมูลดิบ เผื่อจะมีประโยชน์ หรือมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในภายหน้า


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 22, 20:03
ขอตอบ อ.เทาชมพู ก่อนที่จะลืมไป    หินที่เอามาแกะสลักในไทยนั้น อีกอย่างหนึ่งที่ใช้กัน ก็คือ หินสี หรือแร่ Fluorite  แหล่งสำคัญอยู่ในพื้นที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน  จึงทำให้พบเห็นพระพุทธรูปแกะจากแร่นี้ค่อนข้างมากในพื้นที่  ที่รู้แน่ๆก็คือดูจะเป็นของรุ่นใหม่เกือบทั้งนั้น  แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีที่เป็นของโบราณจริงๆอยู่เช่นกัน  หินสีหรือแร่ฟลูออไรต์นี้มีความแข็งประมาณ 4 น้อยกว่าเหล็กที่มีความแข็งประมาณ 5 ของมาตรา Moh 

เคยแต่เห็นพระองค์เล็กขนาดประมาณนิ้วมือ ที่เขาว่าเป็นของเก่าแก่แต่โบราณ  พบในกรุสมัยเชียงแสนก็มี ในสมัยลำพูนก็มี    ก็ได้เคยสัมผัสและพิจารณาตามความรู้เท่าที่มี(หน้างาน) คิดว่าน่าจะแกะมาจากแร่ Quartz  ที่เรียกว่า 'โป่งข่าม' ซึ่งเป็นของที่ดูจะพบมากในย่านนั้น (อ.เถิน จ.ลำปาง)   

หากเป็นของเก่า และใช้แร่ Quartz แกะสลักจริงๆ  ก็น่าสนใจต่อไปอีกถึงเครื่องมือและวิธีการทำ   แร่หรือหิน Quartz นี้มีความแข็งประมาณ 7 มากกว่าเหล็ก การจะทำเป็นรูปทรงใดๆน่าจะหนีไม่พ้นการใช้ทรายละเอียด (ขนาด Silt sized) ในการขัดแต่ง

หินอีกอย่างหนึ่งที่นำมาใช้กันก็คือ Tufa (Calcium carbonate ที่ตกตะกอนใหม่)   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ก.ค. 22, 20:35
มาตรา Moh

ว่าด้วยเรื่อง มาตราวัดความแข็งของโมส (Mohs hardness scale)

https://youtu.be/xZUgWzRpA-4


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 22, 18:23
นานๆเชียนเลยกลายเป็น Moh ไม่มี s  ขออภัยครับ   

Mohs scale of hardness นี้เป็นเรื่องแรกๆที่ต้องจำในการเรียนวิชาแร่ (Mineralogy)   หลักการก็คือ ของที่มีความแข็งกว่าจะสามารถขีดข่วนให้เกิดร่องรอยบนของที่มีความแข็งน้อยกว่า โดยที่มาตรนี้ใช้ความแข็งของผลึกแร่ที่เกิดตามธรรมชาติเป็นมาตรฐานอ้างอิง       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ส.ค. 22, 19:20
กระโดดมาเรื่องปฏิมากรรมที่ใช้หินแกรนิต 

ต้องบอกล่าวแต่แรกว่า  โดยส่วนตัวแล้วได้เห็น/สัมผัสน้อยมากกับหินที่เป็นปฏิมากรรมรวมทั้งหินที่ใช้ปูพื้นสถานที่  เกือบจะไม่เคยให้ความสนใจลึกลงไปในเชิงของวิชาการทางหิน (Petrography) ที่เรียกว่าหินแกรนิตเหล่านั้น    สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะทำไม่ได้ หากจะทำก็คงจะต้องถูกห้าม หรือไม่ก็ถูกมองว่าการกระทำนั้นๆเป็นไปในทางที่ไม่ดี  เพียงลูบๆคลำๆและใช้กล้องส่องพระ (hand lens) แนบส่องเนื้อแร่ประกอบหิน ก็คงเห็นเป็นผู้มีสติเฟื่องไปแล้ว   แต่ก็เชื่อว่าในทางราชการ  ในทางประวัติศาสตร์/โบราณคดี  น่าจะได้เคยมีการแสวงหาข้อมูลลึกลงไปมากกว่าการใช้แต่เพียงคำว่า หินแกรนิต    ปฏิมากรรมต่างๆดูจะมีทั้งหินที่เรียกว่า Granite,  Andesite และ Diorite  และก็อาจจะมีหินอื่น ? อีกด้วย   

ประเด็นน่าสนใจสำหรับผมก็คือ ลักษณะของเนื้อหิน แร่ประกอบหิน ....ฯลฯ ของหินประเภทนี้ น่าจะพอบอกได้ถึงแหล่งหิน แหล่งผลิต ....ฯลฯ   

ยังนึกไปถึงปฏิมากรรมรูปยักษ์ด้วยว่า จีนก็มีวรรณกรรมเรื่องเกี่ยวกับยักษ์มากพอที่จะแกะสลักรูปทรงตัวแทนยักษ์ ? 

ขออภัย หากจะสติเฟื่องมากเกินไป ครับ  ;D 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 22, 09:17
ค้นหาประติมากรรมแกะสลักจากหินแกรนิต  ไปเจอหน้าประธานาธิบดี 4 คนของอเมริกาที่เขา Rushmore รัฐ South Dakota ค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 22, 18:54
หินแกรนิต เป็นหินอัคนีที่เกิดมาจากการเย็นตัวของหินหลอมละลายส่วนบนใต้ผิวโลก  เนื้อหินประกอบไปด้วยเม็ดแร่ Quartz (แร่เขี่ยวหนุมาณ สีขาวใส) และแร่ Feldspar (หินฟันม้า สีขาวขุ่นหรือสีชมพู) เป็นหลัก  มีแร่อื่นปนอยู่ด้วยในปริมาณต่างๆกัน เช่น แร่ Mica (Muscovite สีขาว ฺBiotite สีดำ), แร่ Hornblende (สี Greenish brown เข้ม) และอาจมีแร่อื่นๆปะปนอยู่ประปราย เช่น แร่ Garnet (โกเมน)  แร่ Apatite  แร่ Zircon (เพทาย)

หินแกรนิตตามธรรมชาติมีได้หลายสี ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของแร่ที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อหิน เช่น ออกเป็นโทนสีขาว เพราะแร่ Feldspar เป็นชนิด Plagioclase    ออกเป็นสีชมพูหรือแดง เพราะแร่ Feldspar เป็นชนิด Orthoclase   หรือออกเป็นสีเขียว เพราะปริมาณแร่ Hornblende ....

ตัวอย่างของความยุ่งยากในการเรียกชื่อ ก็เช่น หากในเนื้อหินมีสัดส่วนของ Plagioclase feldspar มากกว่า Orthoclase feldspar ก็จะเรียกชื่อหินนั้นว่า Granodiorite   ???  :(

แถมหินที่มีองค์ประกอบของแร่เหมือนๆกัน หากมีกระบวนการกำเนิดต่างกัน (เกิดเหนือผิวโลก หรือเกิดใต้ผิวโลก) ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก ดังภาพ
(http://)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 22, 19:03
ภาพไม่ไปครับ ลองอีกครั้ง

(http://)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ส.ค. 22, 19:34
ไม่เป็นไรครับ  เพียงเพื่อจะใช้ประกอบการให้ความเห็นว่า  ชื่อที่เราใช้เรียกอะไรต่างๆนั้น มักจะมีลักษณะในเชิงของ collective noun ร่วมอยู่ด้วยเสมอ  ดังนั้น หากเราได้ทำความรู้จักลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว เราก็น่าจะพอรู้ได้ถึงตัวตนที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ และแหล่งที่มาของมัน   ในกรณีของวัตถุตามธรรมชาติ เราก็มีโอกาสและความสามารถที่จะตามไปถึงต้นตอที่อยู่ของมันได้   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ส.ค. 22, 19:35
หินแกรนิต เป็นหินอัคนีที่เกิดมาจากการเย็นตัวของหินหลอมละลายส่วนบนใต้ผิวโลก  เนื้อหินประกอบไปด้วยเม็ดแร่ Quartz (แร่เขี้ยวหนุมาณ สีขาวใส) และแร่ Feldspar (หินฟันม้า สีขาวขุ่นหรือสีชมพู) เป็นหลัก  มีแร่อื่นปนอยู่ด้วยในปริมาณต่างๆกัน เช่น แร่ Mica (Muscovite สีขาว Biotite สีดำ), แร่ Hornblende (สี Greenish brown เข้ม) และอาจมีแร่อื่นๆปะปนอยู่ประปราย เช่น แร่ Garnet (โกเมน)  แร่ Apatite  แร่ Zircon (เพทาย)

ภาพจาก geologyin.con (https://www.geologyin.com/2015/11/what-is-granite-and-how-is-it-formed.html?m=1)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ส.ค. 22, 19:22
ขอบคุณมากครับ คุณเพ็ญชมพู  สำหรับภาพประกอบ

หินแกรนิตมีความหลากหลายทั้งด้านสี (จากสัดส่วนของชนิดแร่ที่เป็นองค์ประกอบ)  ด้านเนื้อ หยาบหรือละเอียด (จากขนาดของผลึกแร่ประกอบหินที่เกิดภายใต้อุณหภูมิและความดันต่างๆกัน)   ความยากง่ายในการกระเทาะ  ความมันของผิว(เมื่อขัดมัน)  ความคงทนและความทนทานของในการใช้งาน ซึ่งทั้งมวลเหล่านี้เป็นผลจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Alteration และจากการผุพัง Weathering ของหินที่นำมาใช้ 

ปฏิมากรรมที่ทำด้วยหินแกรนิตในที่ต่างๆแต่เก่าก่อนโน้น หากสังเกตก็พอจะเห็นว่า ที่อยู่ในที่แจ้งนั้น ส่วนมากแล้วเม็ดแร่ในเนื้อหินจะออกไปทางขนาดประมาณหัวไม้ขีดไฟ  จะเป็นพวกเนื้อหินที่มีสีที่คละเคล้ากันระหว่างแร่สีเข้มกับแร่สีอ่อนในสัดส่วนประมาณเท่าๆกัน (โดยรวมแล้วมีโทนสีออกไปทางสีเข้ม)    แล้วก็น่าจะพอสังเกตเห็นว่า พวกที่เนื้อหินออกไปทางโทนสีชมพูหรือแดง หรือสีอื่นๆนั้น ส่วนมากจะพบอยู่ในพื้นที่ร่ม   ส่วนพวกหินที่เอามาปูพื้นนั้น ก็จะมีคละกันทั้งในด้านของความหยาบและความละเอียดที่มีปะปนกันอยู่ในเนื้อหิน
เหตุที่เป็นเช่นนั้น นอกจากในเรื่องของความสวยงามแล้ว ก็ดูจะเป็นด้วยเรื่องของความทนทานต่อลักษณะของการใช้ที่ต่างกัน           


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ส.ค. 22, 20:34
สีสวยๆของหินแกรนิตได้มาจากสีของแร่ประกอบหินแกรนิตที่มิใช่แร่ Quartz   ซึ่งแร่เหล่านั้นล้วนมีความแข็งน้อยกว่าแร่ Quartz   ก็หมายความว่า มันสามารถจะถูกขูดขีดหรือถูกขัดออกไปได้ด้วยแร่ Quartz     ก็คงจะเป็นด้วยเหตุว่า ดินทรายและฝุ่นต่างๆประกอบไปด้วยวัสดุซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นเม็ดแร่ Quartz ขนาดต่างๆ (sand, silt, clay) เป็นส่วนประกอบสำคัญ  ก็เลยไม่เคยเห็นว่ามีการใช้หินแกรนิตสีต่างๆมาวางปูเป็นพื้นทางเดินหรือทางสัญจรปกติต่างๆ   

อีกเรื่องหนึ่ง หินแกรนิตที่เอามาวางปูพื้นถนนหรือทางเดินนั้น จะเป็นการใช้หินที่มีลักษณะเป็นแผ่น   การจะต้องสกัดหินแกรนิตให้อยู่ในลักษณะเป็นแผ่นที่มีหน้าด้านหนึ่งราบเรียบนั้นมิใช่เรื่องง่ายเอาเสียเลย    โชคดีที่หินแกรนิตในบางแห่งมีการผุพังทำลายในลักษณะ  Exfoliation weathering  คือการแตกออกเป็นแผ่นๆ คล้ายกับการกระเทาะเปลือกไข่แล้วปอกเปลือกออกมาเป็นชิ้นๆ  เพียงการสกัดให้เป็นชิ้นๆทรงสี่เหลี่ยมก็พอจะใช้งานได้แล้ว

ก็น่าจะเป็นเรื่องน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งในเรื่องของแหล่งที่มาหรือแหล่งผลิตหินปูพื้นเหล่านี้  หินรูปทรงแบบนี้ เป็นไปได้ทั้งใช้เป็นอับเฉาเรือ หรือเป็นตัวสินค้าที่ค้าขายกัน  แล้วก็อาจจะเป็นของที่ต้องขึ้นจากเมืองท่าเรือที่ขึ้น-ลงสินค้าต่างประเภทต่างกันไป ??? 

คิดเฟื่องต่อไปอีกแล้วครับ  ;D 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 22, 17:01
รูปสลักหินอ่อน  ชื่อ  Amenaide, The Operatic Heroine
(White Marble)
ประติมากร เป็นชาวอิตาเลียน ชื่อ Victorio Caradossi  (1861-1918,)
เอามาลงให้คุณตั้งดูค่ะ   เล่าเรื่องหินแกรนิตจบแล้ว อยากให้เล่าถึงหินอ่อนด้วย 
ชนิดที่เป็นแผ่นปูพื้น กับที่สลักเป็นรูปสวยๆแบบนี้ อย่างเดียวกันหรือเปล่า


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 22, 17:09
ที่ชอบมากคืองานชิ้นนี้ค่ะ  ชื่อ The Veiled Virgin ในประวัติบอกว่าเป็นหินอ่อน Carrara โดยประติมากรชาวอิตาเลียนชื่อ Giovanni Strazza (1818–1875)
หินอ่อนชนิดนี้จำได้ว่าเป็นชนิดเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม 
ชอบฝีมือของประติมากรที่สลักหินทั้งแท่งออกมาเป็นผ้าคลุมหน้าเบาบางได้
มีรูปสลักหินอ่อนแบบนี้อีกหลายชิ้นด้วยกัน   แต่ชอบชิ้นนี้ที่สุดค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 22, 17:10
ขยายใหญ่ขึ้น


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 22, 17:15
นี่อีกชื้ืนหนึ่ง ชื่อ The Veiled Vestal Virgin ฝีมือประติมากรอิตาเลียน(ตามเคย) ชื่อ Raffaele Monti (1818–1881)
สงสัยว่าหินก้อนใหญ่ทั้งแท่ง เขาแกะยังไงถึงออกมาประณีตขนาดนี้    เป็นหินแท่งเดียวใช่ไหมคะ
ถ้าแกะผิดไปนิดเดียว คงต้องโยนทิ้งทั้งแท่งเลยหรือเปล่า
หินแข็งขนาดไหนถ้าเทียบกับแกรนิต


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 22, 17:18
ดูใกล้ๆ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 22, 18:58
ต่อเรื่องหินแกรนิตอีกหน่อยนึงครับ

ก็มีหินที่มีหน้าตาคล้ายหินแกรนิตอยู่อย่างหนึ่ง  คือ หิน Gneiss เป็นพวกหินแปร (Metamorphic Rock)  ข้อสังเกตสำคัญก็คือ จะเห็นมีลายในเนื้อหิน ซึ่งมาจากเม็ดแร่ต่างชนิดกันแยกเรียงตัวกัน  หิน Gneiss นี้มีเนื้อเหนียวแน่น สกัดยาก   ครกหินของอ่างศิลาแต่ดั้งเดิม ดูจะทำมาจากหิน Gneiss  ในปัจจุบันใช้หินแกรนิต ซึ่งมีทั้งแบบที่มีสีออกไปทางขาว-ดำ และที่ออกไปทางสีชมพู-ครีม  ทั้งหมดพอจะดูออกว่าเอาหินแกรนิตจากแหล่งอื่นมาทำ  ครกที่มีสีออกไปทางชมพู-ครีมนั้น มีราคาสูงมากกว่าพวกที่มีสีออกไปทางขาว-ดำ  ก็มีทั้งเหตุผลด้านของความสวยงาม ด้านของคุณภาพเนื้อหินที่มีความเหนียวแน่น และความหายาก(ในปัจจุบัน)     ก็จะขอไม่ขยายความต่อไป

ครกหินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียดที่เป็นของใช้แต่เก่าก่อน ที่นำเข้ามาจากเมืองจีนนั้น ดูจะทำมาจากหิน Diorite  ซึ่งเป็นหินที่มีหน้าตาคล้ายกับหินแกรนิตเนื้อละเอียด  ต่างกันออกไปที่หิน Diorite จะมีเนื้อหินออกไปทางสีเขียวขี้ม้า   เรามักจะเห็นก้นครกพวกนี้เว้าลึกลงไปมาก และมักจะไม่ค่อยเห็นสากที่อยู่คู่กับมัน จะเป็นการใช้กรวดแม่น้ำก้อนใหญ่เอามาทำเป็นสาก  เครื่องแกงและน้ำพริกต่างๆที่ใช้ครกพวกนี้ตำจะไม่รู้สึกเลยว่ามีทรายละเอียด   ก็จัดเป็นประเภทของเก่าน่าเล่น  เอามาใช้งานจริงๆก็ได้ เพราะทนทานมาก หรือจะเอามาเป็นของสะสมเป็นของเก่าเก็บไว้ก็ได้              


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 22, 19:16
ครกหินไดออไรต์ แบบนี้ใช่ไหมคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 22, 19:59
นึกถึงของใช้อีกชิ้นหนึ่ง ครับ  คือ โม่ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นทั้งหมดจะทำด้วยหินแกรนิดเนื้อละเอียด เป็นของใช้ประจำบ้านของคนเในเอเซียตะวันออก  รูปร่างของอุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเหมือนๆกัน ที่เคยเห็นโดยส่วนมากจะมีขนาดของตัวหินที่ใช้โม่กว้างระหว่างประมาณ  20-30 ซม.  น้ำหนักของและขนาดของความกว้างของหินโม่จะมีผลต่อความละเอียดของๆที่เราต้องการจะได้   ในหลายประเทศใช้โม่ใบยาสูบ เพื่อเอามาทำยานัตถ์ุ  ในประเทศแถบบ้านเรานิยมเอามาโม่ข้าว หรือถั่ว หรือ... พร้อมไปกับน้ำ แล้วเอาใส่ของที่ได้มาจากการโม่นั้นมาใส่ถุงผ้าดิบ แขวนให้สะเด็ดน้ำ ก็จะได้แป้งเอามาทำของกินต่างๆ  

เลยนึกถึงต่อไปว่า สูตรขนมต่างๆของไทยแต่เก่าก่อนนั้น ใช้แป้งที่ยังคงมีความชื้นเหล่านั้น  ต่างกับปัจจุบันที่ใช้แป้งที่เกือบจะไม่มีความชื้นในการทำ ก็เลยทำให้ได้ขนมที่มีความแตกต่างกันมากระหว่างของที่ทำแบบรุ่นเก่ากับที่ทำในปัจจุบัน    แป้งที่ได้จากการโม่มานั้น มาจาก grains ที่ยังคงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มากกว่าแป้งที่ได้มาจาก grains ที่มีการคัด การขัด และการแยกส่วนประกอบก่อนจะเอาไปบดละเอียด  


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ส.ค. 22, 20:15
ครกหินไดออไรต์ แบบนี้ใช่ไหมคะ

ลักษณะเนื้อหินบ่งว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น ครับ   เป็นการทำโดยใช้เครื่องมือขัดแต่ง  ความมันของผิวได้มาจาการเคลือบสารบางอย่าง   แท้จริงแล้ว เมื่อใช้นานไปมันก็จะมีผิวมันไปเอง เพราะถูกเคลือบด้วยไอไขมันต่างๆจากการทำครัว     เดาเอาว่า น่าจะเป็นครกที่ทำขายในพื้นที่แถบ จ.ลำปาง จ.ตาก ครับ (น่าจะในพื้นที่ลำปางมากกว่าตาก)   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ส.ค. 22, 18:05
ก็มาถึงเรื่องของหินอ่อน

หินอ่อนก็คือหินปูนที่เกิดจากการตกตะกอนของสารประกอบ Calcium carbonate (CaCO3) ที่ถูกความร้อนและความดันทำให้เนื้อหินเดิมแปรไปเป็นผลึกแร่เล็กๆ (แร่ Calcite ซึ่งก็คือ CaCO3)ในรูปผลึก) มีลักษณะของเนื้อคล้ายเม็ดทรายจับตัวกันแน่นเป็นมวลใหญ่ (ภูเขา)  มีชื่อเรียกกัน 2 อย่างว่า เป็นหิน Crystalline limestone ในกรณีที่เนื้อหินไม่สวยงาม ไม่เหมาะที่จะเอาไปใช้งานบางประเภท  และอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Marble (หินอ่อน)  คำว่า หินอ่อน ดูจะใช้ในนัยที่เกี่ยวข้องกับงานเชิงศิลปะ         

แต่สารประกอบในน้ำที่จะตกตะกอนเป็นหินชั้นก่อนที่จะถูกแปรเป็นหินอ่อนนั้น มิได้มีเพียงสารประกอบเดียวเท่านั้น  มีได้ทั้งพวก clay sized particles ต่างๆ  และพวกสารประกอบทางเคมีของธาตุอื่นๆ จึงทำให้ได้หินที่มีสีต่างๆเมื่อถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นหินแปร ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในลักษณะเป็นหย่อมๆหรือเป็นทั้งมวลหินของเขานั้นๆ 

ธาตุ Calcium (Ca) และธาตุ Magnesium (Mg) นั้น สามารถจับตัวอยู่ร่วมกันเป็นผลึกได้  ที่เรียกว่าหินปูนนั้นจึงมี Mg ในปริมาณหนึ่งอยู่ด้วยเสมอ หากมีมากจนเด่นออกมา ก็จะเรียกว่า หิน Dolomite  ซึ่งจะมีความแข็งมากกว่า 

เหล่านี้ก็ล้วนส่งผลให้คุณสมบัติของหินอ่อนแต่ละแหล่งแตกต่างกันไป  ทั้งในเรื่องของสี ลาย ความมันของผิว ความแข็งของหิน .....   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ส.ค. 22, 18:48
หินอ่อนมีชื่อเรียกต่างๆกันไป  มีทั้งในลักษณะที่เกี่ยวกับแหล่งผลิต แหล่งขาย ลักษณะจำเพาะ กระทั่งผู้ผลิต ฯลฯ   ชื่อบางชื่อถูกใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบในการซื้อขาย เช่น ชื่อ Carrara มีการใช้ บ้างก็ในลักษณะของแหล่งผลิต บ้างก็ในเรื่องของสี  บ้างก็ในเรื่องของคุณภาพ   ในเรื่องของสีเองก็ยังแยกออกไป เช่น White Carrara เป็นต้น 

หินอ่อนของไทยเราก็มีชื่อที่ใช้เรียกต่างกันไป เรียกแหล่งผลิต+ลักษณะเฉพาะตัวก็ เช่น นครสวรรค์ กำแพงเพชร สระบุรี   หากเรียกว่าหินอ่อนสระบุรี บางทีก็หมายถึงผลผลิตของหินอ่อนของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง

หินอ่อนสระบุรี เป็นหินอ่อนที่ใช้ปูพื้นวัดจมน้ำในอ่างน้ำเขื่องเขาแหลม(วัดวังก์วิเวการาม _วัดหลวงพ่ออุตมะ)   และที่ใช้ในอาคารสำนักงานธนาคารชาติที่แยกบางขุนพรหม     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ส.ค. 22, 19:28
ปฎิมากรรมจากการแกะสลักหินอ่อนทั้งหลายในยุโรปจะใช้หินอ่อนสีขาวสะอาดที่มีเนื้อแน่นเนียน มาจากแหล่งผลิตในย่านเมือง Carrara ซึ่งอยู่ไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง Florence ในอิตาลี   ส่วนหินอ่อนที่นำมาใช้ในการปูพื้นจะนิยมเป็นพวกที่มีลาย ก็มาจากย่านเดียวกัน  ที่ดูจะแปลกก็คือ หินปูพื้นที่มีลายนี้เป็นที่ต้องการมากและมีราคาสูงมากกว่าหินอ่อนขาวโพลน ซึ่งเท่าที่ีพอรู้มาก็เกี่ยวข้องกับปริมาณที่มีจำกัด     ก็ดูจะขัดกับความรู้สึกของเราๆว่าหินอ่อนควรจะมีสีขาวโพลน ไม่ว่าจะเอามาใช้ในลักษณะใดก็ตาม     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ส.ค. 22, 18:37
มีหินที่เราเรียกว่า หินอ่อน อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชื่อเรียกที่ถูกต้องคือ Travertine   ก็คือหินปูนที่เกิดในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจืด  จัดเป็นหินตะกอน (ยังไม่ถูกแปรเปลี่ยนไปหินแปรดั่งหินอ่อน) หินพวกนี้เกือบทั้งหมดจะมีสีออกไปทางสีครีม หรือในโทนสีน้ำตาลอ่อนๆ   เนื้อหินมีได้หลายลักษณะ แต่ส่วนมากจะเห็นลายเส้นเป็นชั้นๆ หรือมีรูพรุน   

หิน Travertine ก็มีการนำมาใช้ในการแกะลักเช่นกัน  ปฏิมากรรมส่วนมากที่เห็นอยู่คู่กับน้ำพุต่างๆในอิตาลี รวมทั้งที่เห็นตามโบสถ์ต่างๆในยุโรป  น่าจะเกือบทั้งหมดล้วนใช้หินชนิดนี้   หิน Travertine ยังเป็นที่นิยมใช้ในงานทางด้าน Fixtures ต่างๆ  เช่น ใช้ในห้องน้ำ ใช้แต่งผนังห้องต่างๆในอาคาร....ฯลฯ   ไทยเราก็มีแหล่งหินชนิดนี้และมีการทำเหมืองขุดเอาใปตัดเป็นแผ่น หรือรูปทรงต่างๆ   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ส.ค. 22, 19:15
ปฎิมากรรมแกะสลักหินอ่อนที่ อ.เทาชมพู นำรูปมาโชว์นั้น สวยจริงๆครับ เป็นสุดยอดของฝีมือเป็นอย่างยิ่งในการแกะและการขัดผิวให้ดูนุ่มเนียนและพริ้ว  ผมมีความเห็นว่า ปฏิมากรผู้นั้นต้องใช้เวลานานในการเลือกหินเพื่อให้สามารถผสมผสานเข้ากันได้กับลักษณะงานทางศิลปะที่แสดงออกถึงความนุ่มนวลต่างๆ  เดาว่าหินที่ทำเป็นปฏิมากรรมนั้น อาจจะเป็นหิน Travertine ที่คัดมาเป็นพิเศษ  หรือไม่ก็เป็นหินอ่อนที่คัดเลือกมาใช้เป็นพิเศษเช่นกัน   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ส.ค. 22, 08:25
ตื่นขึ้มากลางดึก นอนคิดอะไรเรื่อยเปื่อย บังเอิญไปนึกถึงคำว่า ปฏิมากรรม ปฏิมากร ประติมากรรม และ ประติมากร  เลยรู้ตัวว่าเขียนผิด เป็นที่น่าอาย  :-[   ต้องขอภัยครับ   

กำลังจะไปกล่าวถึงพระที่แกะสลักจากหิน  ไม่ทราบว่าองค์พระควรจะต้องใช้คำว่า ปฏิมากรรม หรือ ปฏิมากร ตามความหมายในภาษาบาลี หรือใช้คำว่า ประติมากรรม ตามพจนานุกรม    สำหรับผู้ทำที่มีทั้งความสามารถและความรู้ลึกทางศิลปะนั้น ควรจะต้องใช้คำว่าอะไรดี  คงไม่น่าที่จะใช้ภาษาไทยตามปกติ คำว่า ช่างแกะสลัก หรือ ภาษาเหนือตามปกติ คำว่า สล่า 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ส.ค. 22, 10:35
คำนิยาม จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

ปฏิมา, ปฏิมากร  = รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียกย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร (บาลี)

ประติมากร     = ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก

ประติมากรรม  = ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ (สันสกฤต ปฺรติมา + กรฺม; บาลี ปฏิมา + กมฺม)

ปฏิมากรรม (บาลี ปฏิมา + สันสกฤต กรฺม) ไม่มีบัญญัติไว้ในพจนานุกรม แต่เมื่อเทียบกับคำว่า "ปฏิมา" และ "ปฏิมากร" อาจหมายถึง งานปั้นหรือแกะสลักพระพุทธรูป อาจแยกกับคำว่า "ประติมากรรม" โดยหมายถึงงานปั้น หรือแกะสลักนอกเหนือจากพระพุทธรูป หรือเป็นรูปปั้นธรรมดาทั่วไป โดยอนุโลม


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ส.ค. 22, 18:57
ขอบคุณครับ 

ก็ยังมีคำที่ผมอาจจะใช้สลับสับสน  คำว่า แกะสลัก กับคำว่า สกัด    แกะสลัก ดูเหมาะที่จะใช้กับงานบนของที่ทำให้เป็นรูปทรงหรือลวดลายได้ง่าย และที่ต้องการแสดงออกในเชิงศิลปะ (ประติมากรรม)    ส่วนคำว่า สกัด ดูจะจำกัดอยู่ในเรื่องของงานที่ต้องใช้วิธีการกระเทาะเพื่อให้ได้รูปทรง  แต่ก็ใช้ได้ถึงงานทางศิลปกรรม    ในมุมนี้ ประติมากรรมหินอ่อนจึงควรใช้คำว่า สกัด  ส่วนประติมากรรมหิน Travertine ก็ดูเหมาะกว่าที่จะใช้คำว่า แกะสลัก     หินอ่อนและหิน Travertine มีความต่างกันในด้านของความแข็งและความเหนียวแน่นของเนื้อหิน  แม้จะต่างกันเพียงไม่มาก แต่ก็มีผลในด้านการนำมาใช้งาน


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ส.ค. 22, 20:32
พระพุทธรูปที่ทำด้วยหินอ่อนของพม่า มีแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่บ้าน Sagyin ห่างจากเมืองมัณฑาเลย์ไทางตะวันออก ประมาณ 20+ กม.  หินอ่อนที่นั่นมีเนื้อละเอียด สีขาว (ออกไปทาง Pale Bluish)  ผมเคยได้มีโอกาสเดินทางไปดูแหล่งหินอ่อนที่นั่นอยู่ครั้งหนึ่ง น่าจะประมาณเกือบ 30 ปีมาแล้ว  พระพุทธรูปที่ทำกันดูจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือแบบลอยตัว มีแผงที่เศียร นัยว่าเป็นทรงพระพุทธรูปแบบเก่า กับแบบลอยตัวทั้งตัวซึ่งนิยมกันในปัจจุบัน    พระพุทธรูปพระประธานในอุโบสถของวัดวังก์วิเวการามที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ก็ใช้หินจาก Sagyin แต่จะสกัดแต่งเป็นพระพุทธรูปที่ใดไม่ทราบ แต่ใช้เส้นทางขนย้ายด้วยรถยนต์ผ่านเจดีย์สามองค์ไปสู่วัดเดิมก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดในปัจจุบัน   

ก็มีเรื่องเล่ากันในหมู่ผู้คนที่ช่วยกันขนย้ายองค์พระว่า เมื่อใกล้จะถึงเจดีย์สามองค์ รถที่ใช้ขนได้บีบแตรด้วยความยินดี ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการขนนั้นถึงกับตกใจ ต้องรีบกันช่วยกันอย่าง panic เพราะเกรงว่าฝ่ายพม่าจะได้ยิน  ก็คงพอจะแสดงว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นความลับ ผู้กระทำการทั้งหมดตั้งแต่การสร้างพระพุทธรูปไปจนถึงกระบวนการขนย้าย ล้วนแต่ศรัทธาหลวงพ่ออุตตมะเป็นอย่างยิ่ง   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 22, 09:04
พระพุทธรูป พระประธานในอุโบสถของวัดวังก์วิเวการาม


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ส.ค. 22, 11:35
พระพุทธรูปที่ทำด้วยหินอ่อนของพม่า มีแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่บ้าน Sagyin ห่างจากเมืองมัณฑาเลย์ไทางตะวันออก ประมาณ 20+ กม.  หินอ่อนที่นั่นมีเนื้อละเอียด สีขาว (ออกไปทาง Pale Bluish) 

ที่วัดเจ้าดอยี เมืองย่างกุ้ง มีพระพุทธรูปหินอ่อนที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อว่า พระโลกจันทราอภัยลาภมุนี (Lawka Chantha Abhaya Labha Muni) ประดิษฐานอยู่ในครอบแก้วทั้งองค์ นัยว่าเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ  

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5798.0;attach=44722;image)

มีภาพวาดแสดงขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูป ภาพล่างเป็นขั้นตอนนำหินอ่อนมาจากมัณฑะเลย์ซึ่งแกะสลักเป็นโครงพระพุทธรูปแล้ว ล่องมาตามแม่น้ำอิรวดี  ภาพบน เมื่อมาถึงย่างกุ้งจึงชักลากขึ้นมา และแกะสลักโดยช่างฝีมือชาวมัณฑะเลย์ 

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5798.0;attach=44724;image)

จากกระทู้ พม้า พม่า (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5798.msg128152#msg128152)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ส.ค. 22, 18:20
หลวงพ่ออุตตมะเป็นพระเถระที่น่าเคารพนับถือยิ่งท่านหนึ่ง ผมได้มีโอกาสพบท่านสองสามครั้งในช่วงที่ยังทำงานสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ระวางทะวาย (Tavoy) และระวางเย (Ye)  ได้พบและสนทนากับท่านบ้างทั้งในช่วงที่วัดยังอยู่ที่เดิม และในช่วงแรกๆของการย้ายวัดไปอยู่สถานที่ปัจจุบัน เคยเห็นจริยาวัตรทั้งวันของท่าน เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการหยั่งรู้ของท่านและก็เคยประสบเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง (โดยเฉพาะในเรื่องหยั่งรู้) 

เครื่องรางของขลังต่างๆ (สร้อยประคำ เหรียญ)  ก็ล้วนแต่มีคนทำมาให้ท่านปลุกเสก (มิได้คิดจะสร้างเอง) ที่เห็นด้วยตนเองก็มีทำใส่กล่องกระดาษบ้าง ใส่เข่งบ้าง นำไปให้ท่านปลุกเสก เห็นวางเป็นกองอยู่หน้าพระประธาน การปลุกเสกของท่านก็ไม่มีพิธีอะไร เห็นแต่เพียงท่านสวดมนต์โดยมีพระอีก 2 รูปนั่งเยื้องอยู่ด้านซ้ายและขวา  ทราบจากพระที่นั่งอยู่ทั้ง 2 รูปนั้นว่า พลังของหลวงพ่อนั้นแรงมาก พระ 2 รูปนั้นต้องนั่งคู่เพื่อสะท้อนพลังนั้นกลับไป เวลาสำหรับการปลุกเสกของท่านก็ไม่จำกัด บางวันก็หลังเพล (ที่เคยเห็น) บางวันก็เช้า บางวันก็เย็น  เพียงแต่จะต้องครบ 3 ครั้งเท่านั้น 

หลวงพ่ออุตตมะฉันเพลเพียงมื้อเดียว ฉันด้วยมือในบาตร  ดูท่านจะเลือกฉันแต่น้ำพริก ผักแนมก็เป็นใบอ่อนของต้นไม้/ยอดไม้สดๆ ฉันพริกเผากับนำพริกก็มี             


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ส.ค. 22, 19:09
หินอีกอย่างหนึ่งที่เอามาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ต่างๆเรียกว่า Alabaster ซึ่งก็คือ แร่ Gypsum ที่เกิดในรูปแบบหนึ่ง  มีเนื้อละเอียด มีทั้งสีนวลทึบแสงและโปร่งแสง   

กล่าวถึงแต่หินอ่อนและ Travertine ที่ใช้นำมาใช้ในงานประติมากรรมต่างๆ    ลืมไปเลยครับ (เฒ่าจัด  :(  ;D) ว่าประติมากรรมที่เราได้เห็นตั้งวางแสดงอยู่เหล่านั้น ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยที่ทำจากหินที่เรียกว่า Alabaster    งานที่มีรายละเอียดมากๆ ที่ให้ความพริ้วและนุ่มนวลมากๆ ทั้งหลายน่าจะใช้หินขนิดนี้เหมือนกัน       

'ดูแต่ตา มืออย่าต้อง ก็ต้องเดา'   ;D   ก็เดาไปบนฐานของ Hardness   เพราะ Calcite มีความแข็งมากกว่าเล็บมือ ส่วน Gypsum นั้นจะมีความแข็งประมาณเล็บมือ    ความแข็งของหินปูนนั้นเมื่อถูกกระทบ ลักษณะของการถูกกระทบ จะออกไปทาง บิ่น หรือ กระเทาะ   ในขณะที่ความแข็งของ Alabaster หากถูกกระทบจะออกไปทาง ยู่ ยุบ หรือเป็นแผลที่ไม่มีคม 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ส.ค. 22, 20:05
Alabaster ถูกนำมาใช้ในเรื่องของๆใช้ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง (Decorative items)  ทำเป็นโคมไฟติดผนังบ้าง  ทำเป็นผอบ  ทำเป็นถ้วยใส่เทียน ...ฯลฯ    จะใช้คำว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะออกไปในแนว Hallucinate ก็น่าจะพอได้ ??


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 09:35
ไม่รู้ว่าหิน Alabaster ภาษาไทยเรียกว่าอะไร   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า " หินขาว" ค่ะ  ใครทราบช่วยบอกด้วย

ตัวอย่างหินขาวที่เอามาทำข้าวของต่างๆ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 09:36
โคมหินอลาบาสเตอร์


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 09:42
ประติมากรรมชิ้นนี้น่าสนใจมาก  เลยนำมาให้คุณตั้งดู
คือหัวกับตัวทำจากหินคนละชนิด    ตัวเป็นหินอลาบาสเตอร์ ส่วนหัวน่าจะเป็นหินอ่อน
หินอลาบาสเตอร์ในรูปนี้ มันวาวราวกับพลาสติกเชียวนะคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 10:35
ไม่รู้ว่าหิน Alabaster ภาษาไทยเรียกว่าอะไร   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า " หินขาว" ค่ะ  ใครทราบช่วยบอกด้วย

รัชกาลที่ ๖ ทรงแปล "Alabaster" ว่า "เศวตศิลา" (หินขาว)

เศวตศิลา พระราชทาน พระวันพฤกษ์พิจารณ (ทองคำ) ปลัดกรมป่าไม้ กับพระกรุงศรีบริรักษ์ (ทองย้อย) ปลัดมณฑลกรุงเก่า กระทรวงมหาดไทย เป็นบุตรนายเฮนรี อาลบาสเตอร์ (แปลนามสกุลเป็น "หินขาว")


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 10:35
หินอีกอย่างหนึ่งที่เอามาแกะสลักเป็นเครื่องใช้ต่างๆเรียกว่า Alabaster ซึ่งก็คือ แร่ Gypsum ที่เกิดในรูปแบบหนึ่ง  มีเนื้อละเอียด มีทั้งสีนวลทึบแสงและโปร่งแสง   

กล่าวถึงแต่หินอ่อนและ Travertine ที่ใช้นำมาใช้ในงานประติมากรรมต่างๆ    ลืมไปเลยครับ (เฒ่าจัด  :(  ;D) ว่าประติมากรรมที่เราได้เห็นตั้งวางแสดงอยู่เหล่านั้น ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยที่ทำจากหินที่เรียกว่า Alabaster    งานที่มีรายละเอียดมากๆ ที่ให้ความพริ้วและนุ่มนวลมากๆ ทั้งหลายน่าจะใช้หินขนิดนี้เหมือนกัน 
 

คำนิยามจาก  อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา เล่ม ๑ (http://mapsurvey.rid.go.th/th/wp-content/uploads/2022/01/อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา-เล่ม-1-A-K-กรมทรัพยากรธ.pdf) และ  อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา เล่ม ๒ (http://mapsurvey.rid.go.th/th/wp-content/uploads/2022/01/อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา-เล่ม-2-L-Z-กรมทรัพยากรธ.pdf)

alabaster (แอะ′เลอแบส′เต้อร)

(๑) จิ๊พเซิ้มเน้ือแน่นละเอียด และมีขนาดใหญ่มักเป็นสีขาวและโปร่งแสง แต่บางครั้งมีโทนสีอ่อนของสีเหลือง น้ำตาล แดง ส้ม หรือเทา ใช้เป็นหินตกแต่งภายใน (เช่นสำหรับแกะสลัก) และสำหรับประติมากรรม
(๒) onyx marble (ออ′หนิกสฺ มาร′เบิ้ล) มารเบิ้ลเน้ือแน่น มีแถบ โปร่งแสง (โดยทั่วไปประกอบด้วยผลึกแคลไซ้ท ไม่ใช่เออแระเกอไน้ท (aragonite)) ดูคล้ายออหนิกส โดยเฉพาะพวกแทระเวอทีนท่ีมี แถบขนาน สามารถนํามาขัด และใช้ทําเป็นวัสดุตกแตรงหรืองาน ด้านสถาปัตยกรรม มักทับถมจากสารละลายน้ําเย็น ในรูปหินงอก หินย้อยในถ้ำ

travertine (แทระ′เวอรทีน หรือ แทระ′เวอรเทิ่น)

(๑) การตกตะกอน ทางชีววิทยา และ / หรือการตกตะกอนของแคลเซี่ยมคารเบอเหนท (ส่วนใหญ่เป็นแคลไซ้ทฺ (calcite) และเอแระ′เกอไน้ทฺ (aragonite) ตกตะกอนจากน้ําบาดาล น้ําพุร้อนที่แทรกขึ้นมา และ / หรือน้ําที่อุณหภูมิปกติ ถ้าเป็นชนิดที่มีรูพรุนมาก หรือมี ช่องว่างมาก เรียกว่าา tufa (ทู′เฟ่อ), ดูเพิ่มเติม : onyx marble (ออ′หนิกสฺ มารฺ′เบิ้ล) คําพ้อง  : calcareous sinter (แคลเค′เรียส ซิน′เท่อรฺ) ; calc-sinter (แค้ลค ซิน′เท่อรฺ)
(๒) คําที่บางครั้งนําไปใช้กับการเกิดเป็นหินงอกหินย้อยในถ้ำของแคลเซี่ยมคารเบอเหนท
(๓) คําท่ีใช้อย่างไม่เหมาะสม เป็นคําพ้องของ kankar (แค้งค่าร) รากศัพท์ : ภาษาอิตาลี "travertino" มาจากภาษาภาษาละติน "lapis, tiburtinus - หินของ Tibur (Tivoli)"


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 11:16
ตัวอย่างหินขาว
ไปเจอรูปสลักแบบนี้หลายรูปในกูเกิ้ล  ดูลักษณะเหมือนทำเพื่อประดับสุสาน เหนือที่ฝังศพ   นอกจากหินอ่อนที่รู้จักกัน  ตามสุสานอาจมีหินขาวรวมอยู่ด้วย 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 14:17
รูปข้างบนนี้ทำให้นึกถึงงานศิลปะหินประเภทหนึ่ง  แกะสลักขึ้นเพื่อวางเอาไว้ในสุสานโดยเฉพาะ  คืออยู่เหนือหลุมศพของผู้ตาย       มีทั้งรูปเทพเจ้านางฟ้า หรืออย่างอื่นที่มีความหมายสำหรับเจ้าของหลุมศพนั้น    บางครั้งก็เป็นรูปแกะสลักจำลองของผู้ตายเอง
งานศิลปะเหล่านี้มีฝีมืองดงามน่าชมมาก     ถ้าหากว่าไม่กลัวผี   เดินชมสุสานโดยเฉพาะในยุโรป  จะเพลิดเพลินกับหินสลักไม่แพ้เดินในพิพิธภัณฑ์
ภาพข้างล่างบอกเรื่องราวที่แสนเศร้า   คนที่สั่งทำหินแกะสลักบนหลุมศพชิ้นนี้ น่าจะเป็นตัวสามีของหญิงในภาพ  เขาสูญเสียทั้งภรรยาและลูกน้อยไปในการคลอด


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 14:24
หินอีกแบบที่พบในสุสาน (และข้างนอกก็มี) คือหินสีเขียว ไม่ทราบชื่อ
ต้องขอรบกวนคุณตั้งอีกครั้งค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 14:34
นี่ก็หินสลักสีเขียวบนโลงศพ ของ Charles Pigeon กับภรรยา  อยู่ที่ปารีส   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 22, 16:32
ในโบสถ์เก่าแก่ของยุโรป  คุณตั้งคงเคยไปชมมาแล้ว   คงเห็นหินสลักรูปคนนอนอยู่เหนือโลง  ร่างในโลงเป็นใคร ลูกหลานก็สลักหินรูปบรรพบุรุษคนนั้นเอาไว้บนฝาโลงให้เห็นกัน   บางทีก็เป็นพระชั้นผู้ใหญ่ของโบสถ์  บางทีก็สามีภรรยานอนคู่กัน
ยิ่งโบสถ์เก่าเท่าไร   รูปหินเหล่านี้ยิ่งวางกันเยอะ   ถ้าเดินชมวัดตอนเย็นๆใกล้ค่ำ   ควรจะหาเพื่อนมาเดินกันหลายๆคนยิ่งดี  เพราะบรรยากาศวังเวงดีนัก   ดีไม่ดีจะรู้สึกว่าหินพวกนี้ดูมีชีวิตจิตใจเหมือนจะลุกขึ้นทักได้


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ส.ค. 22, 20:19
หินอีกแบบที่พบในสุสาน (และข้างนอกก็มี) คือหินสีเขียว ไม่ทราบชื่อ
ต้องขอรบกวนคุณตั้งอีกครั้งค่ะ

ให้ความเห็นไม่ได้ครับ  :D

โดยพื้นฐาน  สีของหินได้มาจากปริมาณของแร่ประกอบหินที่ที่มีสีนั้นๆ(สีประจำตัวของมัน)กระจายตัวอยู่ในปริมาณค่อนข้างมาก  หรือได้มาจากแร่ประกอบหินบางชนิดที่ตามปกติมีสีหนึ่ง แต่เกิดไปตกผลึกแบบมีธาตุบางตัวอยู่ในเนื้อของตัวเองมากกว่าปกติ  หรือได้มาจากแร่ประกอบหินดั้งเดิมที่ถูกแปร(องค์ประกอบทางเคมี)ไปเป็นแร่อีกอย่างหนึ่งที่มีสีต่างออกไป จากการกระบวนการสลับสลับสับเปลี่ยนธาตุที่เป็นองค์ประกอบของแร่แต่ละตัว (หรือจากกระบวนการ Alteration) หรือเป็นเพียงสีที่ผิว ที่เกิดมาจากกระวบการผุพัง (weathering) สีอาจจะไม่ลึกลงไปในเนื้อมาก
 
หินชนิดเดียวกันอาจจะมีได้หลายสี  หินแกรนิต มีสีได้ทั้งในโทนสีขาว สีดำ สีครีม สีชมพู สีแดง สีเขียว... และก็ยังอาจมีประไปด้วยจุดวาวสะท้อนแสงด้วย   หินอ่อนและ Travertine ก็เช่นกัน    หินที่มีสีออกไปในโทนสีเขียวเป็นหลัก ไม่ค่อยมีสีอื่น ก็เช่นหิน Diorite

เมื่อเดาเอาจากความนิยมในการใช้หินในการแกะสลักสำหรับบุคคลทั่วไปในศตวรรษหลังๆ ก็จึงคิดว่าน่าจะเป็นหินแกรนิต   หากเป็นของเก่าแก่แต่ก่อนโน้น ในสมัยที่สังคมและการปกครองยังอยู่ในอิทธิพล Byzantine หินเหล่านั้น ก็เดาว่าน่าจะเป็นพวกหินอ่อนและ Travertine 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 22, 08:35
ทั้ง ๒ รูปนี้ ไม่ใช่รูปสลักหิน แต่เป็นรูปหล่อโลหะประเภททองแดง หรือ สัมฤทธิ์ (bronze = ทองแดง + ดีบุก) ที่เห็นเป็นสีเขียวคือสนิมทองแดง (copper patina) ;D


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 22, 10:34
อ้าว เป็นทองแดง ไม่ใช่หินอย่างที่คิด
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพู
แปลกใจว่า รูปคุณตาคุณยายที่นอนบนเตียง ทำไมใช้ทองแดง ตั้งตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้ง   ไม่กลัวฟ้าผ่าลงมาหรือไร
เทวดาข้างล่างนี่ก็เหมือนกัน  ถ้าเป็นทองแดงก็ตากแดดตากฝนเฝ้าหลุมศพมาเป็นสิบๆร้อยๆปี


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 22, 10:35
สนิมเขียวเกิดขึ้นได้อย่างไร

https://youtu.be/1J_NpX0gVgo


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 22, 18:22
ในประเทศจีนมีผาหรือภูเขาหินที่มีวัด หรือวิหารน้อยๆอยู่บนยอด  ให้ชมกันหลายแห่ง  ดูภาพจากโดรนแล้วยังสงสัยว่าช่างขนหินหรืออิฐหรือปูนขึ้นไปสร้างอย่างไรจนสำเร็จ 
เอารูปมาฝากคุณตั้งค่ะ   ในนี้เรียกว่า grotto  แปลว่าถ้ำหรืออุโมงค์   อยากรู้ว่าเขาสร้างทางขึ้นไปได้ยังไง เอาอะไรตอกติดผนังหิน  ภูเขาชนิดนี้น่าจะมีหินหลายชนิดประกอบกัน   เจาะหรือตอกยากหรือง่ายขนาดไหน


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 22, 18:31
 :)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ส.ค. 22, 19:06
ทั้ง ๒ รูปนี้ ไม่ใช่รูปสลักหิน แต่เป็นรูปหล่อโลหะประเภททองแดง หรือ สัมฤทธิ์ (bronze = ทองแดง + ดีบุก) ที่เห็นเป็นสีเขียวคือสนิมทองแดง (copper patina) ;D

Bronze (สัมฤทธิ์) = ทองแดง+ดีบุก     Brass (ทองเหลือง) = ทองแดง+สังกะสี     Sterling silver = ทองแดง+เงิน    นาก = ทองแดง+ทอง+เงิน (เป็นส่วนผสมของเหรียญเงินตรา เลยเรียกว่า Coin Metal หรือ Coinage Metal)    Alpaca = ทองแดง+สังกะสี+นิเกิล     Pewter = ดีบุก+ทองแดง+พลวง+เงิน   และ(โลหะ)ขันลงหิน ซึ่งคือสัมฤทิธิ์อย่างหนึ่งที่โลหะอื่นๆผสมลงไป ....ฯลฯ      

ผลของการหลอมโลหะเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ดูจะไม่ใช่ในกรณีของตัวโลหะธาตุมันย้ายไปอยู่ในบ้านเดียวกันแบบสร้างบ้านใหม่ (Compound)   หากแต่จะเป็นการอยู่ร่วมกันแบบคละกัน / คลุกเคล้ากัน (Mixture)   ก็จะเห็นว่า เมื่อสัดส่วนปริมาณของโลหะที่เอามาผสมกันเปลี่ยนไป เมื่ออุณหภูมิของการหลอมรวมไม่เหมือนกัน หรือเมื่อระยะเวลาและสิ่งแวดล้อมในการเย็นตัวของชิ้นงานไม่เหมือนกัน ก็ย่อมจะได้เนื้อของโลหะผสมที่แสดงออกมาทางกายภาพไม่เเหมือนกัน โดยเฉาะในเรื่องของความเสมอต้นเสมอปลาย ความละเอียดเนียนของเนื้อและสีของโลหะผสมที่เป็นผลผลิตออกมา    ซึ่งลักษณะเหล่านั้นจะถูกนำไปพิจารณาในด้านของคุณภาพของชิ้นงานและของช่างฝีมือ        


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ส.ค. 22, 19:52
สงสัยตัวเองว่าใช้คำใดถูกต้อง โลหะสำริด หรือ โลหะสัมฤทธิ์

พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ที่เรียกว่า 'พระแสนแซ่' นั้น  สำหรับตัวผมเห็นว่าเป็นสูดยอดของช่างฝีมือทั้งในด้านเทคนิคและศิลปะ คือ เป็นพระพุทธรูปที่ประกอบไปด้วยโลหะหล่อ 7 ชิ้น (อาจจะจำผิด) เอามาต่อรวมกันเป็นองค์พระพุทธรูปด้วยหมุด ซึ่งแสดงออกถึงความสามารถทางช่างในทุกๆด้าน เช่น ความถูกต้อง ความแม่นยำของชิ้นงาน (precision accuracy)  ความรู้ทางด้านการหล่อโลหะ (ส่วนผสม การทำแม่พิมพ์ ...) และอื่้นๆ  โลหะที่หล่อขึ้นมาแต่ละชิ้นนั้นค่อนข้างบางมาก


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ส.ค. 22, 20:13
สงสัยตัวเองว่าใช้คำใดถูกต้อง โลหะสำริด หรือ โลหะสัมฤทธิ์

คำนิยาม จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

สำริด (คำโบราณ) = สัมฤทธิ์

สัมฤทธิ์  = โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด (สันสกฤต สมฺฤทฺธิ; บาลี สมิทฺธิ)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ส.ค. 22, 17:21
ขอบคุณครับ  ต่อไปผมจะได้เลือกใช้ สัมฤทธิ์  จะได้ทันสมัยหน่อย  ;D


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ส.ค. 22, 17:44
พระพุทธรูปสม้ยเก่าๆ เมื่อหงายพระองค์ท่านก็จะเห็นวัสดุที่ใช้เป็นปั้นเป็นรูปแบบ (mold) อยู่ภายในองค์พระ ถูกความร้อนจนใหม้สีดำและขาว คล้ายกับดินผสมฟางข้าวที่เผาในระดับความร้อนที่ไม่สูงมากนัก (sinter)   พระพุทธรูปหล่อรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เกือบจะไม่เห็นเศษของว้สดุที่ใช้ทำ mold ตกค้างอยู่เลย 

ก็เป็นสิ่งที่เคยเห็น คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้าง ก็เลยขยายความออกมา   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ส.ค. 22, 18:17
ในประเทศจีนมีผาหรือภูเขาหินที่มีวัด หรือวิหารน้อยๆอยู่บนยอด  ให้ชมกันหลายแห่ง  ดูภาพจากโดรนแล้วยังสงสัยว่าช่างขนหินหรืออิฐหรือปูนขึ้นไปสร้างอย่างไรจนสำเร็จ 
เอารูปมาฝากคุณตั้งค่ะ   ในนี้เรียกว่า grotto  แปลว่าถ้ำหรืออุโมงค์   อยากรู้ว่าเขาสร้างทางขึ้นไปได้ยังไง เอาอะไรตอกติดผนังหิน  ภูเขาชนิดนี้น่าจะมีหินหลายชนิดประกอบกัน   เจาะหรือตอกยากหรือง่ายขนาดไหน

เมื่อเห็นภาพหน้าผาที่มีงานแกะสลักหรือมีการสกัดให้เป็นที่พำนัก ที่มีอายุเก่าแก่ทั้งหลาย  ก็พอจะเดาได้แต่แรกเลยว่าจะเป็นทำงานกับหน้าผาเขาหินทราย หรือไม่ก็หน้าผาของเขาหินปูน  แต่โดยส่วนมากแล้ว จะเป็นการทำกับหน้าผาของเขาหินทราย     สำหรับกรณีสิ่งก่อสร้างบนส่วนที่เป็นยอดแหลมยอดใดยอดหนึ่งในพื้นที่ป่าเขานั้น ก็พอจะเดาได้เหมือนกันว่า ตรงนั้นเป็นยอดหนึ่งในหลายๆยอดของเขาหินปูน

สำหรับคำว่า   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ส.ค. 22, 18:44
ในประเทศจีนมีผาหรือภูเขาหินที่มีวัด หรือวิหารน้อยๆอยู่บนยอด  ให้ชมกันหลายแห่ง  ดูภาพจากโดรนแล้วยังสงสัยว่าช่างขนหินหรืออิฐหรือปูนขึ้นไปสร้างอย่างไรจนสำเร็จ  
เอารูปมาฝากคุณตั้งค่ะ   ในนี้เรียกว่า grotto  แปลว่าถ้ำหรืออุโมงค์   อยากรู้ว่าเขาสร้างทางขึ้นไปได้ยังไง เอาอะไรตอกติดผนังหิน  ภูเขาชนิดนี้น่าจะมีหินหลายชนิดประกอบกัน   เจาะหรือตอกยากหรือง่ายขนาดไหน

เมื่อเห็นภาพหน้าผาที่มีงานแกะสลักหรือมีการสกัดให้เป็นที่พำนัก ที่มีอายุเก่าแก่ทั้งหลาย  ก็พอจะเดาได้แต่แรกเลยว่าจะเป็นงานที่ทำกับหน้าผาเขาหินทราย หรือไม่ก็กับหน้าผาของเขาหินปูน  แต่โดยส่วนมากแล้ว จะเป็นการทำกับหน้าผาของเขาหินทราย    

สำหรับกรณีสิ่งก่อสร้างบนส่วนที่เป็นยอดแหลมยอดใดยอดหนึ่งในพื้นที่ๆมีภูมิประเทศเป็นป่าเขานั้น ก็พอจะเดาได้เหมือนกันว่า ตรงนั้นเป็นยอดหนึ่งในหลายๆยอดของเขาหินปูนในพื้นที่นั้นๆ

สำหรับคำว่า Grotto นั้น ดูจะมีข้อจำกัดในการใช้อยู่เหมือนกัน  คำนี้ ภาษาไทยหมายถึง ถ้ำหรืออุโมงค์ ดังที่อาจารย์ว่า    ผมเห็นว่าน่าจะใช้คำว่า หลืบหิน หรือโพรงหิน (ตื้นๆ) หรือชะง่อนหิน(ที่มีส่วนเว้าเข้าไปในหน้าผา)...  ที่มีการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์  


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ส.ค. 22, 20:03
กรณี Maiji Grottoes  เป็นเรื่องเกี่ยวกับหินทราย

หินทรายจัดเป็นหินตะกอน เกิดจากการตกตะกอนของวัสดุขนาดเม็ดทราย ซึ่งส่วนมากจะเป็นเม็ดแร่ Quartz  เป็นหลัก มีเม็ดแร่อื่นๆในปริมาณน้อยถึงน้อยมากๆๆๆ   

หากนึกถึงสภาพของปริมาณน้ำที่ผันแปรไปในแต่ละสภาพการณ์ต่างๆ ก็จะเห็นว่า เมื่อน้ำมาก ใหลแรง ก็จะพัดพาทรายเม็ดขนาดใหญ่หน่อย+เม็ดเล็กได้มาก หากน้ำน้อยก็จะได้ทรายเม็ดเล็ก   เม็ดทรายเหล่านั้นจะตกตะกอนเป็นชั้นๆสลับกันด้วยเนื้อในที่แตกต่างกันไปตามสภาพการณ์    เมื่อผ่านกระบวนการทางธรณีฯต่างๆยกตัวขึ้นมาเป็นภูเขา แล้วถูกกระบวนการผุพังทำลาย (weathering & erosion) ชั้นทรายที่มีความคงทนต่างกันก็จะถูกทำลายหายไปต่างกันไป ให้สภาพคล้ายกับการวางเรียงกระดาษทับกันโดยที่ยังไม่ตบให้เข้าที่  ก็จะมีสภาพของหลืบ ของชะง่อน...ต่างๆ   ซึ่งหากมองจากด้านบนลงมา ก็จะเห็นภาพในบางบริเวณคล้ายลักษณะที่เรียกว่าหน้าผาแบบตั้งตรง หรือแบบมีลาดชันสูงมาก  แล้วก็จะเห็นว่ามันก็มีระนาบที่สามารถเชื่อมต่อระดับที่ต่างกันได้  ก็น่าจะพอนึกภาพออกได้ว่าเมื่อแรกเริ่มนั้นเขาสามารถจะขึ้นไปทำงานได้่อย่างไร  ก็เป็นความเห็นของผมในเบื้องแรกนะครับ

 

     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ส.ค. 22, 18:23
ลงลึกไปอีกนิดนึง     ทรายที่ตกตะกอนในแอ่งนั้น จะจับตัวกันแน่นเป็นชั้นด้วยสารประกอบที่แห้งกรัง ที่ตกผลึกมาจากน้ำในแอ่งที่มันตกตะกอน หรือจากความชื้นในชั้นทรายเหล่านั้น เรียกว่า cementing materials ซึ่งส่วนมากจะเป็น Silica (แร่ Quartz) สีขาวใสระหว่างเม็ดทราย   หรือ Carbonates (ปูน) สีขาวขุ่นระหว่างเม็ดทราย  หรือ Iron Oxides สีแดง (แร่เหล็ก Hematite _ Fe3O4).....     

หากหินทรายนั้นๆยังอยู่ในสภาพของความเป็นหินตะกอน กรณีที่สารเชื่อมประสานเม็ดทรายเป็น Silica ก็นิยมเรียกว่า Quartzitic sandstone   กรณีตัวประสานเม็ดทรายเป็น Carbonates ก็นิยมเรียกว่า Calcareous sandstone   แต่หากเป็นพวกเหล็กอ๊อกไซด์ ก็อาจจะเรียกในองค์รวมว่าพวก Red beds

ตะกอนทรายในแอ่งสะสมตะกอน (Deposition basin) ที่ถูกยกตัวขึ้นมาเป็นเนินหรือสูงเป็นภูเขา จะผ่านสภาพของการแปร (metamorphose) ในสักษณะที่รุนแรงมากหรือแบบไม่รุนแรงนัก  กรณีที่มันอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ถูกแปรอย่างรุนแรง เม็ดทรายที่ประกอบกันเป็นเนื้อของมันจะหลอมเชื่อมกัน กลายเป็นหินที่เหนียวและแข็งมากๆ เรียกชื่อว่า Quartzite   ไม่สามารถจะใช้ในงานสกัดหรือแกะสลักในทางศิลปะได้   หินพวกนี้ มีการสกัดออกเป็นก้อนเอาไปใช้ในงานเชิงงานโยธา  หากมีเนื้อเนียนก็อาจจะเอาไปทำหินลับมีด    เป็นหินที่มนุษย์ยุคก่อนใช้ทำเครื่องมือหิน       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ส.ค. 22, 18:40
เมื่อประมวลจากความที่ขยายมา ก็พอจะเห็นว่า Meiji Grotto นั้น น่าจะเดาว่าเป็นงานทางศิลปะวัฒนธรรมบนหน้าผาของเขาหินทรายชนิดเม็ดทรายเชื่อมกันด้วยปูน (Calcareous sandstone) ซึ่งเป็นหินที่ถูกแปรไปในระดับที่ไม่มาก (slightly metamorphosed calcareous sandstone) 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 ส.ค. 22, 19:59
กรณีวิธีการดำเนินการ

ความเห็นของผมก็คือ (ด้วยการเดาอีก)โดยปกติแล้ว หน้าผาต่างๆตามภาพที่เราเห็นว่าสูงชันตั้งเด่นั้น มันเป็นภาพลวงตา (3D distortion) ที่เกิดขึ้นได้จากตำแหน่งที่เรามอง  จาก focal length ของเลนซ์ที่ใช้ถ่ายภาพ  จากตำแหน่ง+มุม+focal length ของก้องและเลนซ์  และจากการตั้งใจสร้างภาพนั้นๆให้เกิดขึ้น      ซึ่งจะต่างกับในพื้นที่จริงที่หน้าผาต่างๆตามเขาที่มิใช่เขาหินปูนนั้น เกือบทั้งหมดจะไม่เป็นในรูปของผนังที่ตั้งฉากกับพื้นราบส่วนล่าง  ซึ่งเมื่อเข้าใกล้หรือไปอยู่ที่ตีนผาแล้วก็จะเห็นว่า หน้าผานั้นมันมีความเอียงอยู่พอสมควร

กรณีที่ชั้นหินวางทับกันแบบราบๆ ด้านที่เป็นขอบชัน โดยนัยจะใช้คำว่า cliff ด้านผิวบนที่วางทับกันราบๆจะใช้คำว่า Plateau     หากเป็นการวางทับกันที่เอียงเทไปด้านใดด้านหนึ่ง ด้านที่เอียงเทลงไปจะใช้คำว่า dip slope ด้านที่เป็นขอบชันจะเรียกว่า escarpment slope    หากหินถูกกระบวนการผุพังทำลายไปจนเหลือลักษณะเป็นแท่ง จะเรียกว่า pinnacle       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 ส.ค. 22, 20:35
ถ้ำหินแกะสลักไมจีซาน - 麦积山石窟  - Maijishan grottoes

https://www.facebook.com/chai9651/videos/369498564724683/


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 22, 18:52
หากหน้าผาไม่มีความสูงมากนัก การจะไปขึ้นไปยืนทำอะไรๆที่ผิวของหน้าผา ก็คงจะเป็นการใช้วิธีตั้งร้านด้วยไม้ไผ่ ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยตั้งพิงกับหน้าผา มีโครงค้ำยันไม่ให้มันล้ม เช่นเดียวกับที่ช่างทาสีบ้านเขาทำกัน   หากจะต้องมีการยึดโครงสร้างกับผังของผา ก็ใช้วิธีการเจาะรูเข้าไปในผนังหินให้ลึกพอประมาณและในทิทางที่ขัดต่อการเลื่อนไหล ใช้ไม้เสียบเข้าไปแล้วเอาสิ่งที่ต้องการยึดเหนี่ยวผูกให้แน่น 

วิธีการเจาะรูแล้วเอาไม้เสียบเข้าไปนี้ หากทำในระดับเดียวกัน ในระยะที่ไม่ห่างกันนัก เมื่อเอาไม้วางพาดเชื่อม 2 จุด ก็จะกลายเป็นนั่งร้าน หากทำต่อๆกันก็จะกลายเป็นทางเดิน   ผมไม่รู้คำศัพท์(อังกฤษและไทย)ที่ช่างใช้เรียกวิธีการทำแบบนี้     

ภาพที่เห็นตามคลิปของคุณเพ็ญชมพูนั้น จะเห็นทางเดินหรือระเบียงที่เป็นคอนกรีตยื่นออกมาจากหน้าผา สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ทำขึ้นมาโดยใช้หลักการดังที่กล่าวมา  แต่โดยตัวคานที่ยื่นออกมาทำด้วยคอนกรีตที่ยึดติดกับหน้าผาตามรูที่เจาะลึกเข้าไปในผนังหิน เรียกว่า Rock bolt ??   วิธีการนี้ใช้กันอย่างมากในการเย็บรอยแตกของมวลหินที่คิดว่ามีโอกาสจะขยับตัว โดยเฉพาะในงานสร้างอุโมงค์ต่างๆ     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 ส.ค. 22, 19:16
ชิ้นงานประเภทเลาะหน้าผานี้ ของไทยเราก็มี เช่น เส้นทางวัดภูทอก (วัดเจติราคีรีวิหาร) จ.เลย ? หรือ บึงกาฬ ?     ที่ทำเป็นรางส่งน้ำสำหรับใช้ฉีดแร่ในการทำเหมืองแร่ดีบุกก็มี ที่จำภาพได้ก็ในพื่นที่เหมืองปิล็อก อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี เป็นงานทำกับหินแกรนิต


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ส.ค. 22, 19:54
วัดภูทอก


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ส.ค. 22, 18:59
ผมไม่มีโอกาสเดินทางไปในพื้นที่ๆอยู่ในเส้นทางสายไหม  เพียงแต่เคยดูสารคดีต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสิ่งที่ตกค้างอยู่ตามเส้นทางนี้  ก็เดาเอาจากภาพที่เห็นเช่น grotto และศิลปกรรมทั้งแบบลอยตัว นูนต่ำ หรือนูนสูง  เมื่อดูจากลักษณะของความสึกหรอ ความมนของเหลี่ยมมุมต่างๆจากการใช้งาน...  เห็นว่าล้วนเป็นงานที่เกี่ยวกับหินทรายเกือบทั้งหมด

ในบ้านเรา ก็มีการใช้หินทรายในการสร้างสรรค์งานต่างๆ  ที่เด่นชัดก็คือปราสาทหินต่างๆในพื้นที่อิสาน  ซึ่งล้วนมีการเลือกใช้หินทรายที่มีเนื้อหินต่างกันสำหรับงานที่ต่างกัน เช่นสำหรับงานทางโครงสร้าง(แนวตั้ง แนวนอน) หรือสำหรับงานแกะสลักต่างๆ   แหล่งผลิตหินสำหรับงานสร้างปราสาทแหล่งหนึ่งอยู่บนเส้นทาง สระบุรี-โคราช (ระหว่าง กม.206-207)

ผมมีโอกาสน้อยมากๆในการท่องไปในพื้นที่อิสาน จึงไม่มีช่วงระยะเวลามากพอที่จะเก็บสะสมข้อมูลทั้งแบบหยาบหรือแบบละเอียด  แถมยังลืมไปตามความเฒ่าอีก  :D  ก็เลยเล่าความต่อไปไม่ได้ ครับ  ;D


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 ส.ค. 22, 19:18
ก็ยังมีหินอีกอย่างหนึ่งที่แต่ก่อนนั้นมีการนำมาใช้ในงานทางวิศวกรรมและงานทางศิลปกรรม ก็คือ ศิลาแลง (Laterite)    ในปัจจุบันนี้ ดูจะเอามาใช้แต่เพียงในเรื่องของการจัดสวน
ปูทางเดิน และการตกแต่งกำแพง  ยังนึกไม่ทันว่ามีที่นำไปใช้ในงานทางศิลปกรรมแบบสมัยโบราณที่ใดบ้าง   

คงนึกออกนะครับว่า งานในสมัยโบราณที่ใช้ศิลาแลง ปรากฎอยู่ที่ใดบ้าง


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ส.ค. 22, 19:35
ในบ้านเรา ก็มีการใช้หินทรายในการสร้างสรรค์งานต่างๆ  ที่เด่นชัดก็คือปราสาทหินต่างๆในพื้นที่อิสาน  ซึ่งล้วนมีการเลือกใช้หินทรายที่มีเนื้อหินต่างกันสำหรับงานที่ต่างกัน เช่นสำหรับงานทางโครงสร้าง(แนวตั้ง แนวนอน) หรือสำหรับงานแกะสลักต่างๆ   แหล่งผลิตหินสำหรับงานสร้างปราสาทแหล่งหนึ่งอยู่บนเส้นทาง สระบุรี-โคราช (ระหว่าง กม.206-207)

https://youtu.be/htKo4DXeHSs


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 22, 20:36
นี่คือรูปสลักหินที่วัดสุทัศน์ค่ะ  เอามาฝากคุณตั้ง   เป็นศิลาแลงหรือหินทรายคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ส.ค. 22, 10:35
นี่คือรูปสลักหินที่วัดสุทัศน์ค่ะ  เอามาฝากคุณตั้ง   เป็นศิลาแลงหรือหินทรายคะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7310.0;attach=78525;image)

ภาพสลักหินสมัยทวารวดี ตอนบนเป็นเรื่องโปรดพุทธมารดาบนดาวดึงส์ ส่วนตอนล่างเป็นเรื่องแสดงยมกปาฏิหาริย์ มีขนาดสูง ๒.๔๐ เมตร กว้าง ๐.๙๕ เมตร  

ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการปิดทองทับ ปัจจุบันได้ลอกทองออกทำให้เห็นลวดลายชัดเจน


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 22, 18:44
นี่คือรูปสลักหินที่วัดสุทัศน์ค่ะ  เอามาฝากคุณตั้ง   เป็นศิลาแลงหรือหินทรายคะ

ขอให้ความเห็นเรื่องนี้ก่อนที่จะกลับไปขยายความต่อเรื่องของหินศิลาแลงนะครับ

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูที่ได้นำภาพขยายใหญ่ของแผ่นหินสลักชิ้นนี้ทั้งในสภาพที่มีทองปิดอยู่และในสภาพที่ล้างทองออกไปแล้ว  เลยพอจะทำให้แสดงความเห็นได้บ้าง  ก็จะเป็นการเดาอีกนะครับ   หินที่ใช้ในงานประติกรรมชิ้นนี้ มิใช่หินศิลาแลง   ลักษณะที่เด่นออกมาของเนื้อหินแสดงว่าเป็นหินเนื้อละเอียดที่มีสีออกไปทางสีดำหรือเทาดำเข้มๆ ซึ่งเป็นลักษณะประจำตัวของหินชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Shale 

ชื่อ Shale นี้ เราๆน่าจะเคยได้ยินที่พ่วงท้ายด้วยคำว่า oil ..Shale oil..    แต่มิใช่ว่าหิน Shale ทั้งหลายจะต้องมีน้ำมันอยู่ในเนื้อนะครับ มีอยู่เพียงบางแห่งในโลก (ซึ้งก็อาจจะถูกจัดไปอยู่ในประเภททรัพยากรทางด้านความมั่นคงหรือทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และสถานการณ์ต่างที่เกิดในโลก)

หิน Shale ก็เป็นหินตะกอนชนิดหนึ่งที่มีเนื้อประกอบไปด้วยตะกอนเนื้อละเอียดยิบ  ขนาดเม็ดของเนื้อหินก็คงประมาณผงฝุ่นที่เราได้จากการกวาดบ้าน 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ส.ค. 22, 19:07
shale คือ หินดินดาน อ่านในเฟซบุ๊กบางท่านบอกว่าเป็น หินโคลน (mudstone)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ส.ค. 22, 19:34
ผมประเมินว่าเป็นงานสลักบนแผ่นหิน Shale ด้วยเหตุผลจากการพิจารณาความละเอียดของเนื้อหิน   แต่ก็อาจจะเป็นประติมากรรมบนแผ่นหินทรายเนื้อละเอียดก็ได้     ฐานคิดของความเห็นที่ต่างกันก็มีอยู่ 2 ประเด็น   ประเด็นแรก ว่าหากในการปิดทองแต่เดิมนั้นเป็นการกระทำโดยตรงบนเนื้อหินโดยใช้กาวธรรมชาติ..กระเทียม  กรณีนี้ ก็น่าจะเป็นหิน Shale    แต่หากเป็นการลงยางรักก่อนการปิดทอง  กรณีนี้อาจจะเป็นหินทรายเนื้อละเอียดก็ได้ เพราะยางรักอาจจะทำให้ผิวหน้าของแผ่นหินนั้นดูเรียบและเนียนดี

ที่เห็นว่าน่าจะเป็นหิน Shale (หินดินดาน ?) ในอีกเรื่องหนึ่งนั้นก็เพราะว่า (ตามที่เคยอ่านเจอ) ประติมากรรมที่ทำกับหินชนิดนี้ที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธก็มีพบอยู่ตามเส้นทางสายไหม  และสุดท้ายก็เพราะหิน Shale มีเนื้อที่ละเอียดมากพอที่จะสามารถสร้างงานที่มีความละเอียดได้ง่ายด้วยการแคะแกะด้วยกำลังของแขนของมือของตนเอง

ก็เป็นความเห็นนะครับ ลองพิจารณาดูครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 22, 11:46
เอารูปสลัก แม่พระคงคาของอินเดีย ด้วยหิน shale มาให้คุณตั้งดูค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 22, 11:54
ฝากคำถามใหม่มาให้คุณตั้งค่ะ

ทับทิมเป็นหินหรือเปล่าคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ส.ค. 22, 18:10
shale คือ หินดินดาน อ่านในเฟซบุ๊กบางท่านบอกว่าเป็น หินโคลน (mudstone)

หินตะกอนหรือหินช้ันเนื้อละเอียดนี้ มีการจำแนกองค์ประกอบของเนื้อแล้วก็กำหนดชื่อให้ต่างๆกันไป   แรกทีก็จะกล่าวถึงชื่อทั้ง Shale และ/หรือ Mudstone  แต่ไม่ต้องการจะขยายความต่อไปอีก ก็เลยใช้แต่ชื่อ Shale ซึ่งเป็นคำกลางๆที่นิยมใช้กัน   ความต่างกันที่สำคัญระหว่าง Shale (หินดินดาน) กับ Mudstone (หินโคลน ?) ก็คือ เมื่อกระเทาะหินดินดาน ชิ้นหินที่กระเทาะออกมาจะมีลักษณะคล้ายการหัก Cream cracker คือแตกออกเป็นชิ้นที่ยังแสดงถึงความเป็นแผ่นเป็นชั้น เรียกว่าแตกแบบ fissile    ในขณะที่หินที่กระเทาะออกมาของหินโคลนไม่แสดงลักษณะดังกล่าว   

มี Mudstone (หินโคลน ?) แล้วก็ต้องมี Claystone (ภาษาไทย ??)  ซึ่งนิยามอย่างหนึ่งก็ว่า  Mudstone เป็นหินที่มีส่วนประกอบผสมกันของเม็ดตะกอนขนาด Silt และ Clay   ส่วน Claystone นั้นมีเม็ดตะกอนขนาด Clay sized particles มากกว่าครึ่งในส่วนผลม   บางนิยามก็ว่าเป็นพวกหินปูนที่มีเม็ดตะกอนปนอยู่ในเนื้อ (Carbonate rock)     แล้วก็มีชื่ออื่นๆอีก เช่น Wacke  Wackestone  Graywacke    ชื่อต่างๆของหินในกลุ่มหินหินโคลนนี้ ส่วนมากจะใช้กันในยุโรป แล้วก็ดูค่อนข้างจะใช้จำกัดอยู่กับหินของเทือกเขา Alpine-Himalayan 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ส.ค. 22, 19:23
ย้อนกลับไปเรื่องศิลาแลงนะครับ

ศิลาแลงก็คือหินที่เกิดจากการผุพังด้วยกระบวนการทางเคมี  มักพบได้เป็นปกติในพื้นที่ๆมีอากาศร้อนชื้น บริเวณที่เกิดมีความชื้นและแห้งสลับกันไปมา   

หากเคยเห็นการขุดบ่อน้ำของชาวบ้าน ก็น่าจะเคยเห็นภาพตามผนังบ่อที่ขุดลงไป คือมักจะเห็นชั้นดินอยู่ชั้นหนึ่งที่มีสีแดงเหลือง มีความแข็งมากกว่าดินชั้นบน(และล่างของมัน) ซึ่งในทางปฎพีวิทยา (Soil science) เรียกดินชั้นนี้อย่างหลวมๆกันว่า B layer   ดินชั้นนี้เมื่ออยู่ใต้ผิวดินที่มีความชื้น ในสภาพธรรมชาติ จะมีเนื้ออ่อน  แต่หากขุดออกมาวางตากแดดแห้ง มันก็จะจับตัวเป็นก้อนแข็ง  ก็เป็นลักษณะของดินที่เรียกว่า ลูกรัง ที่เป็นความต้องการใช้ในการบดอัดทำถนน     

ข้ามเรื่องศิลาแลงมาเพียงเพื่อให้เห็นสภาพของศิลาแลงในมุมของการเกิดและสภาพที่สามารถขุดออกมาใช้ได

ศิลาแลงที่มีการนำไปประโยชน์ในงานโยธา ตกแต่ง และงานทางศิลปะนั้น มาจากแหล่งหินที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเป็นแหล่งที่หินมีความหนา และซึ่งเมื่อขุดลึกจากผิวลงไป หินจะยังคงมีความอ่อนพอที่จะสกัดตัดแต่งให้เป็นรูปทรงต่างๆได้

ในบ้านเราก็มีการใช้มาแต่โบราณ เช่น โบราณสถานสุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ลำพูน(พระบาทตากผ้า)   แหล่งศิลาแลงของกำแพงเพชร ก็อยู่ไม่ไกลจากโบราณสถาน บนเส้นทางกำแพงเพชร-สุโขทัย   ของอุตรดิตถ์ก็บ้านนาอิน อ.พิชัย บนเส้นทางพิษณุโลก-อุตรดิตถ์  สำหรับของโบราณสถานของสุโขทัยก็แถว บ้านนาขุนไกร อ.ศรีสำโรง       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 ส.ค. 22, 19:57
พูดถึงแหล่งศิลาแลง ก็เลยนึกไปไกลถึงแหล่งผลิตศาสตราวุธของไทยแต่โบราณ  แหล่งวัตถุดิบสำหรับเหล็กคุณภาพดีก็น่าจะอยู่ในพื้นที่บริเวณหนึ่งบริเวณใดในพื้นที่ๆมีศิลาแลง หรือรอบๆแหล่งหินนั้น 

นึกถึงข้าวตอกพระร่วง ของสุโขทัย 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 22, 08:09
ส่วนไหนในภาพที่เป็นศิลาแลงคะ?


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ส.ค. 22, 08:35
ว่าด้วยเรื่องศิลาแลง

https://youtu.be/ZJaYSkEuy6I

https://youtu.be/NI_A4I1HzUw

https://youtu.be/-iRe_zC1HyY

https://youtu.be/KpLicMA4CjA


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ส.ค. 22, 17:55
ส่วนไหนในภาพที่เป็นศิลาแลงคะ?

ก็คือส่วนที่เป็นหินก้อนสี่เหลี่ยมหรือทรงกลมที่วางหรือตั้งซ้อนทับกันอยู่  กำแพงแก้ว พื้นอาคาร บันได...     ผิวหน้าของหินมีความหยาบมาก มีลักษณะเป็นเบ้า เป็นรูพรุน  สีของหินประไปด้วยสีแดง ดำ เหลือง หรือส้ม   หินศิลาแลงนี้นำไปใช้ทั้งในรูปที่เป็นไปตามลักษณะตามธรรมชาติของมัน และใช้ในลักษณะที่เป็นโครงภายในของรูปทรงที่จะแต่งเติมต่อไปด้วยการโบกปูนปิดทับให้ดูสวยงาม ครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ส.ค. 22, 19:10
สำหรับการเกิดและการมีอยู่ของศิลาแลงนี้ คลิปจากคุณเพ็ญชมพูดูจะให้ข้อมูลครบถ้วนในระดับหนึ่ง แล้ว   

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อทราบว่า  ศิลาแลงไม่ได้เกิดและพบที่ใดๆใด้ง่ายนัก  การอธิบายการกำเนิดด้วยกระบวนการเกิดของชั้น B layer ในเรื่องของชั้นดินนั้นก็เป็นกระบวนการหนึ่ง  ในอีกระบวนการหนึ่งก็จะเป็นการเกิดมาจากระบวนการผุพังและกระบวนการทำลาย (Weathering & Erosion) ของหินที่ปกคลุมอยู่บนพื้นผิว  ซึ่งจะรู้ได้ก็ด้วยการนำหินมาวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อหาธาตุต่างๆที่มีอยู้ในตัวหินของแหล่งหินนั้นๆ     

สรุปอย่างง่ายๆก็คือ อย่างหนึ่งเกิดจากการขยับขึ้นลงของระดับน้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน (water table) แล้วเกิดการสะสมของสารละลายทางเคมีที่แห้งกรังของเหล็ก ซิลิก้า และอะลุมินา (B layer) ...    อีกอย่างหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบทางเคมีของแร่ประกอบหินแต่เดิม แล้วมีการถูกชะล้าง (leaching) มีการจับตัวกันใหม่  แต่ก็ด้วยกลไกของการขึ้นลงของระดับน้ำใต้ผิวดิน (water table) เช่นเดียวกันกับการเกิด B layer     ซึ่้งแบบหลังนี้มักจะมีธาตุบางอย่างสะสมอยู่ในปริมาณมากกว่าปกติ จนอาจจะกลายเป็นแหล่งแร่สำคัญก็ได้ เช่น แหล่งแร่โลหะ Aluminum หรือที่เอามาทำสารส้ม  หรือเป็นแหล่งแร่โลหะ Nickle  เป็นต้น   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ส.ค. 22, 20:14
ก็นำพามาสู่ความน่าสนใจอยู่สองสามเรื่องในความเห็นของผม

เมืองเก่าที่สำคัญของไทยเราดูจะตั้งอยู่ในพื้นที่ๆมีแหล่งหินศิลาแลง เช่น  ลำพูน  สำปาง  อุตรดิตถ์  สุโขทัย  พิษณุโลก กำแพงเพชร ...    แหล่งหินศิลาแลงล้วนอยู่ในพื้นที่ๆไม่ไกลจากศูนย์กลางของเมือง  มีการนำมาใช้ในงานทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา   เรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับอิทธิพลความเชื่อใดหรือไม่ หรือในเรื่องอื่นใด   

มีเรื่องของสุขภาพใดๆที่ปรากฎเด่นออกมาในบันทึกทางประวัติศาสตร์บ้างใหม   เพราะศิลาแลงโดยทั่วไปจะมีสารประกอบของธาตุแมงนีสในปริมาณค่อนข้างมาก แมงกานีสมีผลต่อสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว

อิฐก็มีการทำและใช้ในงานต่างๆมานานมากๆ มีกระบวนการทำที่ง่ายกว่า แต่เหตุใดจึงมีการใช้ศิลาแลงเป็นส่วนประกอบของงานนั้นๆ ซึ่งต้องไปหาแหล่ง ต้องสกัดแต่ง หนัก และต้องขนส่งไกล 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 22, 15:52
ใครจะตอบคุณตั้งได้บ้างคะ
เอารูปปราสาทนางรำมาประกอบค่ะ ชอบที่นี่มาก


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ส.ค. 22, 18:19
นอกจากศิลาแลงจะมีแมงกานีสสูงแล้ว ก็มีเหล็กในรูปของสนิมเหล็ก (Fe2O3)ในปริมาณสูงอีกด้วย  น้ำที่อยู่ในบริเวณที่มีศิลาแลงนี้จะมีกลิ่นคาวและมีฝ้าสนิมเหล็กลอยอยู่ที่ผิวหน้า   

ก็วิธีการแก้ไขง่ายๆเพื่อลดหรือกำจัดกลิ่นคาวและฝ้าสนิมเหล็กที่ลอยอยู่ ด้วยการทำให้ทุกส่วนของมวลน้ำนั้นๆได้สัมผัสกับอากาศ เช่น ให้น้ำไหลผ่านฝักบัว (การ aerate น้ำ) เพื่อทำให้พวกสนิมเหล็กตกตะกอน แล้วให้ผ่านถ่านไม้เพื่อการดูดซับกลิ่น ไม่จำเป็นจะต้องไปใช้ถ่านกัมมันต์ที่มีราคาสูง เพียงเลือกใช้ถ่านไม้ที่มีขายกันทั่วไป เลือกก้อนที่มีน้ำหนักมากหน่อย เพราะมีปริมาณเนื้อ Carbon มาก  (ผมเองก็ใช้วิธีนี้)

ผมเห็นว่า บางเรื่องที่เราเห็นว่าเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมแจนกลายไปเป็นวัฒนธรรมประจำถิ่นของชาวบ้านนั้น หลายๆเรื่องก็อาจจะมีเหตุผลบางอย่างซ่อนอยู่ เช่นในกรณีการตักน้ำใส่ตุ่ม การมีสระน้ำในบริเวณโบราณสถาน ในแง่คิดหนึ่ง ก็มิใช่วิธีการที่แยบยลในการกำจ้ดตะกอนหรือกลิ่นใดๆหรือ ??  นอกเหนือไปจากการนำมาเก็บไว้เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก     ก็คิดไปเรื่อยเปื่อยนะครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ส.ค. 22, 19:26
ในอีกมุมหนึ่งก็มีเรื่องน่าสนใจว่า ศิลาแลงบางแหล่งที่เกิดจากกระบวนการผุพังทำลาย อาจจะมีปริมาณธาตุโปแตสเซียมอยู่ในตัวสูง (K _Potassium)  ซึ่ง K ก็คือหนึ่งในธาตุที่พืชต้องการในด้านของดอกผล และในแหล่งศิลาแลงเองก็อาจจจะมีซิลิก้าในบางรูปในปริมาณสูง (amorphous silica) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นในกระบวนการหากินและเจริญเติบโต    เมื่อธาตุเหล่านี้ถูกนำพาไปสะสมกันอยู่ในพื้นที่ๆต่ำกว่า ก็จะทำให้ผืนดินนั้นๆมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าที่อื่น   
     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ส.ค. 22, 18:57
ฝากคำถามใหม่มาให้คุณตั้งค่ะ

ทับทิมเป็นหินหรือเปล่าคะ

ทับทิมเป็นชื่อเรียกรัตนชาติในตระกูลแร่ Corundum ที่มีสีแดง    ทับทิมที่เอามาทำเป็นเครื่องประดับมีอยู่ 2 ชนิด คือพวกที่มีเนื้อโปร่งใส สีแดงเข้ม (เช่นที่เรียกว่าทับทิมสยาม)  และพวกที่มีเนื้อทึบแสง สีแดงเข้มหรือสีชมพู (เช่นที่เรียกว่าทับทิมพม่า)

เลยลองไล่เรียงการใช้คำต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องของรัตนชาติ ก็น่าสนใจดีครับ    คำว่า Stone ที่ใช้กับรัตนชาติ มีอยู่หลายความหมาย   แรกก็คือ stone ใช้กับก้อนกรวดที่เป็นขุดได้มาจากผืนดินที่ดูว่าสามารถเอามาทำเป็นเครื่องประดับได้ (ornamental stone)   เมื่อดูว่าสามารถเอามาขัดแต่งหรือเจียรนัยให้มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวได้ ก็จะเรียกว่า precious stone  ซึ่งหมายรวมถึงความเป็นสินค้าที่สามารถค้าขายกันได้    หากผลของการเจียรนัยได้ของที่มีความสวยงาม เด่นออกมาเป็นของตัวเอง ก็จะเรียกชื่อรัตนชาตินั้นๆตามชื่อแร่ประจำตัวมัน   เมื่อเอามันไปประกอบเป็นของใช้ในการแต่งกาย (สายสร้อย เข็มกลัด...) หรือเอารัตนชาติหลากหลายที่เจียรนัยแล้ว เอามาจัดอยู่รวมกัน ก็เรียกว่า jewelry    แล้วก็กลับมาใช้คำว่า genuine stone อีก เพื่อแสดงว่ามันเป็นของที่เกิดในธรรมชาติโดยแท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงของจากธรรมชาติอื่นๆที่มีสีแสงเหมือนกันกับตัวแร่ชนิดที่มีเอกลักษณ์ประจำตัวนั้นๆ เลยเหลือคำว่า stone ตัวเดียว    แล้วก็เพื่อแยกออกจากของเลียนแบบ (imitation) ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นมาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหรรม (synthetic)  หรือปลอมขึ้นมาจากวัสดุอื่นๆเช่นจากแก้วสี (fake) 
   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ส.ค. 22, 19:08
เอามาฝากค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=_BU3aNEuc3Q


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ส.ค. 22, 19:35
ว่าด้วยเรื่องทับทิม

https://youtu.be/jaC1y684Dvw


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 ส.ค. 22, 20:02
ภาพที่แสดงประกอบคำถามของ อ.เทาชมพู นั้น  มีองค์ประกอบต่างๆ (โดยเฉพาะรูปทรงของผลึกแร่) บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นแร่ Garnet (โกเมน)  

Garnet เป็นกลุ่มแร่กลุ่มหนึ่งที่มีการนำมาใช้เป็นรัตนชาติอย่างหลากหลายตั้งแต่โบราณโน้น เป็นแร่ที่มีหลากสี (แดงเข้ม เขียว ขี้ม้าอ่อน สีน้ำล้างถุงกาแฟ...)  เกิดได้ในหลายกระบวนการทางธรณีฯ  สีที่คุ้นเคยกันก็คือสีแดง เป็นแร่ Pyrope   แร่ตัวนี้มีความใกล้เคียงกับทับทิม (Ruby)ในเชิงของคุณสมบ้ติทางกายภาพที่ปรากฎออกมา  

ท่านที่ไปเที่ยวประเทศเช็ค (Czech) แล้วมีโปรแกรมไปชมเมืองเก่าชื่อ Cesky Krumlov   หากมีช่องเวลาก็น่าจะลองแวะชม Garnet สีแดง มีขายอยู่ในร้านต่างๆในเมืองนั้น   ประเทศเช็คมีแหล่ง Garnet ที่ใหญ่มากทีเดียว  


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ส.ค. 22, 11:24
รูปที่นำมาประกอบคำถาม ดิฉันนึกว่าเป็นทับทิมเสียอีกค่ะ  กลายเป็นโกเมน
เคยเห็นว่าเป็นพลอยสีแดงแก่   ไม่สดเหมือนทับทิม  ราคาก็ย่อมเยากว่าด้วย  จัดอยู่ใน semi-precious stone คำนี้ต้องถามคุณตั้งอีกเหมือนกันว่าหมายถึงอะไร   หมายถึงพลอยที่ราคาไม่แพงใช่ไหมคะ
รูปข้างล่างนี้เขาบอกว่าเป็นแหวนโกเมนของเก่า  สมัยวิคตอเรียน  มีโอปอล์ประดับด้วยค่ะ
โอปอล์ก็เป็นเรื่องที่น่าถามอีกเรื่องหนึ่ง ว่ามันเป็นหิน หรือเป็นแร่  ใช่ไหมคะ  ทำไมสีสันราวกับประดิษฐ์ขึ้นมา


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ส.ค. 22, 18:38
รูปที่นำมาประกอบคำถาม ดิฉันนึกว่าเป็นทับทิมเสียอีกค่ะ  กลายเป็นโกเมน
....


เป็นเรื่องปกติครับ  ยิ่งเป็นของที่เจียรนัยแล้ว ก็จะยิ่งยากที่จะจำแนกได้ แม้แต่ตัวผมเองที่เรียนวิชาแร่วิทยา(Mineralogy)มา มีฐานความรู้พอสมควรก็ยังผิดพลาดได้ง่ายๆ หรือตอบไม่ได้เลย   ในกรณีตามภาพนี้ ผมแยกได้จากรูปทรงของผลึกและลักษณะตัวหินที่ติดอยู่กับมัน   หากเป็นของที่เจียรนัยแล้ว ก็จะต้องขอจับขึ้นมาส่องกับแสงแดดเพื่อดูสีด้านข้าง หากมีสีที่เปลี่ยนไปก็อาจจะต้องบอกว่าเป็นทับทิม   

Garnet เป็นแร่ที่มีโครงสร้างของผลึกในระบบ Isometric system (แกนนอนยาวเท่ากัน 2 แกน แกนตั้งยาวเท่าแกนนอน 1 แกน ทำมุม 90 องศาซึ่งกันและกัน)   ส่วน Ruby เป็นแร่ที่มีโครงสร้างของผลึกในระบบ Trigonal System (แกนนอนยาวเท่ากัน 3 แกน ทำมุม 60 องศา  แกนตั้ง 1 แกนทำมุม 90 องศากับแกนนอน)   ลงลึกมาทางวิชาการเล็กน้อยเพื่อจะขยายความว่า แสงขาว(แสงอาทิตย์)ที่ส่องผ่านไปในแนวแกนที่มีความยาวเท่ากัน แสงที่โผล่ออกมาก็จะเหมือนๆกัน   แต่หากส่องผ่านแกนตั้งที่ยาวไม่เท่ากันกับแกนนอน(แกนตั้ง)  แสงที่โผล่ออกมาของบางความถี่จะโผล่ออกมาในเวลาที่ไม่เท่ากัน  ซึ่งจะทำให้สังเกตเห็นว่าสีของพลอยนั้นๆต่างกันเมื่อมองจากด้านบนหรือด้านข้าง     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ส.ค. 22, 19:06
ไปหารูปโกเมนกับทับทิมมาเปรียบกัน  เจอภาพนี้ แต่อ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยชัดเจน  ต้องรอคุณตั้งอธิบายค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ส.ค. 22, 19:08
แยกไม่ออกเลยค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ส.ค. 22, 19:58
ส่วนชิ้นนี้เป็นเข็มกลัดทับทิม ของห้าง Van Cleef & Arpels  ในปี 1950


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ส.ค. 22, 20:14
เรื่อง Opal ของ อ.เทาชมพู  ทำให้นึกขึ้นได้ว่าลืมไปอีกคำครับ     Gem และ Gemstone  ซึ่งดูจะหมายถึงหินใดๆหรือแร่ใดๆที่เอามาขัดแต่งแล้วสามารถทำเป็นเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์และดูมีราคา ยกระดับ/ยกฐานะให้กับตัวมันเองและผู้สวมใส่ ??

Opal มีความสวยงามในเรื่องของการเล่นกับแสงแล้วสะท้อนสีต่างๆออกมา  เนื้อแท้ของมันก็คือ สารประกอบ Silica ในรูปแบบที่มีโมเลกุลของน้ำอยู่ในตัว  

ขอพักสำหรับวันนี้ครับ    acute office syndrome กำลังบุกรุกครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 22, 10:04
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง

พักผ่อนมากๆนะคะ   ยังไม่ต้องตอบกระทู้ก็ได้ค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ส.ค. 22, 17:48
ขอบคุณมากๆในความห่วงใยครับ   ก็เป็นมาระยะหนึ่งแล้วครับ   แก้เองด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดตามที่มีแพร่หลายอยู่ในเว็ปสุขภาพต่างๆครับ  ก็ได้ผลดี จะมีบางครั้งที่เกิดการวางตัวอยู่ในตำแหน่งที่ผิด มันก็จะปวดและจี๊ดขึ้นไปบนศีรษะ     วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ผมทำร่วมไปด้วยหลังการทำกายภาพแล้ว คือการนั่งในตำแหน่งที่สบาย ตำแน่งที่ทำให้ไม่รู้สึกมีอาการใดๆ  ทำการหายใจเข้าลึกๆแล้วค่อยๆหายใจออกจนสุดแล้วหยุดนิ่งๆนิดนึง แล้วจึงค่อยๆหายใจเข้าแบบเบาๆ-ค่อยๆหายใจออกแบบเบาๆ  กำหนดใจให้นิ่ง แล้วค่อยๆผ่อนคลายกล้ามเนื้อต่างๆที่รู้สึกว่ามีการเกร็ง เช่น การปล่อยใหล่ให้ห่อ ตกลงไป  การปล่อยมือให้กางออกเป็นธรรมชาติ(มิใช่การกางมือ) ...  ประมาณสองสามนาทีก็จะรู้สึกคล้ายทุกอย่างหยุดนื่ง รู้สึกสบาย รู้สึกเบา และเริ่มเข้าอาการหลับใน  หากรู้สึกอยากจะหลับไปตามที่ใจกำลังเพลิดเพลินเรื่องอะไรๆอยู่ก็ปล่อยไป  หรืออยากจะออกจากอาการใกล้หลับในนั้น ก็ออกได้เลย คือใช้กำลังภายในทางจิตใจเข้าช่วย  ;D 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 22, 18:46
น่าสนใจค่ะ  ท่านผู้อ่านเรือนไทยลองทำอย่างคุณตั้งดูบ้าง ก็ผ่อนคลายดีนะคะ :)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 21 ส.ค. 22, 19:28
Opal เป็นแร่หรือเป็นหิน  มันมีปัญหาครับ

Opal เป็นสารประกอบทางอนินทรีย์เคมีที่ไม่เป็นผลึก ไม่มีโครงสร้างของเนื้อในอยู่ในสังกัดใดๆในระบบของความเป็นแร่   อาจจะพอเปรียบเทียบได้กับขนมที่อบยังไม่สุกเต็มที่ ยังนิ่มเหลวอยู่ ถูกวางไว้จนแข็งตัว แต่ไม่เป็นทรงดังที่มันควรจะเป็น    

Opal เป็นสารประกอบ SiO2nH2O ซึ่งก็คือสารประกอบแบบแร่ Quartz ที่ยังมีโลเลกุลของน้ำติดตัวอยู่  เรียกว่า Amorphous hydrated silicon oxide  หรือ Amorphous Quartz   แต่มันเกิดโดยธรรมชาติ ก็เลยจัดให้มันเป็นพวก Mineraloid  ตัวอย่างของพวกนี้ที่เขาจัดกันก็เช่น ถ่านหิน (ก็เลยเรียกกันว่าเป็น Mineral fuel)   Tektite (ศัพท์บัญญัติเรียกว่า อุลกมณี  แต่เรียกกันทั่วไปว่า เศษอุกกาบาต ?)    Obsidian (แก้วภูเขาไฟ ?)  ....


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 22, 20:21
 :)
โอปอล์ในธรรมชาติ  ใช่หรือเปล่าคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 22, 20:24
ไหนๆก็ถามถึงโอปอล์แล้ว  ขอเลยไปถึงหินอีกชนิดที่มีสีสันสวยงามคล้ายๆกัน คือโป่งข่าม  เห็นบางคนบอกว่าเป็นหินควอตซ์ หรือหินเขี้ยวหนุมาน
ใกล้เคียงกันโอปอล์มากน้อยแค่ไหนคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 22, 20:30
ซ้ายคือโอปอล์ ขวาคือโป่งข่าม ค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ส.ค. 22, 19:28
นึกออกว่าพอจะอธิบาย Opal ได้อย่างไร   มวลเนื้อของมันพอจะเปรียบเทียบได้กับถาดที่ใส่ลูกแก้วลูกเล็กๆที่แต่ละลูกมีความใสต่างกัน หรือมีมลทินไม่เท่ากัน  เมื่อเอาถาดลูกแก้วนี้ไปวางภายใต้แสงต่างๆ ก็จะเห็นสีที่สะท้อนออกมาที่ผิวหน้าไม่เป็นสีที่ออกไปทางกระดำกระด่าง

Opal อาจพบในธรรมชาติได้ใม่ยากนักในลักษณะที่จุดเล็กจุดน้อยตามร่องรอยแตกในกลุ่มหินทรายพวกหนึ่ง พบในบางจุดของไม้กลายเป็นหินก็มี   แต่ที่พบมาก เป็นชิ้นใหญ่พอที่จะตัดแต่งแยกเอามันออกมาทำเป็นเครื่องประดับได้นั้น อยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐ South Australia         


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ส.ค. 22, 20:02
:)
โอปอล์ในธรรมชาติ  ใช่หรือเปล่าคะ
จากความเห็นที่ 136     

พืจารณาดูแล้ว ใช่ครับ  แต่ไม่ใช่ประเภทที่เอามาต้ดเป็นชิ้นสวยๆได้ ประเภทนี้มมักจะขายเป็นของที่ระลึกราคาถูกๆ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ส.ค. 22, 08:52
จากหินกลายเป็นเครื่องเพชรไปแล้วค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ส.ค. 22, 08:55
ชิ้นนี้ คาเทียร์เอามาทำจี้ห้อยคอ ตั้งแต่ปี 1847  กลายเป็นเครื่องเพชรล้ำค่า


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ส.ค. 22, 18:42
จาก คห.ที่ 136, 141, 142     

นั่นแหละครับ ของที่ดูจะไม่มีทั้งราคาและคุณค่ามากนัก  แต่หากรู้จักตัวของมันอย่างลึกมากพอในเชิง 3D  ก็อาจจะสามารถแปลงโฉมและทำให้มันมีทั้งราคาและคุณค่าขึ้นมาอย่างมาก   

ผมเคยไปเข้าอบรมหลักสูตรหนึ่งที่ออสเตรเลีย หนึ่งในความรู้ของหลักสูตรนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องของทรัพยากรประเภทที่สามารถเอามาทำเป็นเครื่องประดับต่างๆได้ ช่วงสุดท้ายก่อนกลับก็เป็นการไปเรียนรู้เรื่อง Opal จากผู้ประกอบการโดยตรง  จึงได้รู้ถึงเรื่องของเครื่องประดับ Opal ที่ทำเแบบ Doublet และแบบ Triplet   อีกทั้งทั้งในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้ราคา Opal มีความแตกต่างกันแบบก้าวกระโดด 

ได้เห็น Opal สวยๆ อยากจะซื้อมาฝากภรรยา ดูราคาแล้วไม่มีปัญญาจะจ่ายได้ ราคาแต่ละชิ้นอยู่ในหลักร้อยหรือหลายร้อยดอลล่าออสเตรเลีย  สำหรับพวกที่ทำแบบ Doublet หรือ Triplet ก็ดูจะไม่เหมาะ เพราะมีพลาสติก (มากกว่าเนื้อ Opal) เข้าไปช่วยปรุงแต่ง (enhance) ให้มันสวยงาม   ก็เลยเลือกที่จะชื้อแบบที่ยังเป็นไปตามธรรมชาติที่ขุดหามาได้ ดูแล้วว่าน่าจะเป็นพวก Black Opal ที่ฝรั่งเขาขอบกัน ราคาก้อนละเหรียญเดียว  บอกผู้ขายว่าจะเอาไปตัดที่เมืองไทย  เขาดูหินก้อนนั้นแล้วบอกว่าให้ช่างของเขาตัดจะดีกว่า เพราะมีความชำนาญมากว่า ราคางาน 70 เหรียญ  ผมก็ตกลงให้เขาตัดออกมาเป็น 2 ชิ้นสำหรับทำตุ้มหู  เจ็ดวันต่อมาก็ได้ชิ้นงานสุดสวย ในราคาประเมินเกือบ 200 เหรียญของร้านนั้นเอง  เอาของมาล้อมทองทำเป็นตุ้มหูที่เมืองไทย ก็ยังเป็นที่เตะตา ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ส.ค. 22, 19:14
วาดภาพว่าภรรยาคุณตั้งใส่คงสวยมาก คนสวมก็สวยมากอยู่แล้ว
ไปหารูปว่า black opal เป็นแบบไหนยังไง เจอหลากหลาย  ทั้งสีดำ น้ำเงิน และเหลือบสีต่างๆ   พอดีเจอต่างหู
เลยนำมาลงให้ท่านผู้อ่านเรือนไทยดูเป็นตัวอย่างค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ส.ค. 22, 20:11
ก่อนจะขยายความลงลึกไปในเรื่องใดๆจากนี้ไป ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า คำอธิบายต่างๆที่ผ่านมาและที่จะต่อไปนั้น ตั้งอยู่บนหลักหรือที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานโดยทั่วๆไปที่พึงจะเป็น    ที่เป็นอยู่ในธรรมชาติจริงๆนั้น ด้วยที่มันอยู่ใน Open system ก็มีตัวแปรอย่างมากมายและหลายหลาย ทั้งจากภายในตัวมันเอง สภาพแวดล้อมในพื้นที่รอบตัวมันเอง  ทั้งในสภาพที่มันเกิด การเปลี่ยนแปลงของมันทั้งภายในและภายนอกที่เกิดขึ้นในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ   จึงมีคำที่ใช้จำแนกต่างๆตามมา เช่น Group, Category, Type, Variety, Variation.... ชักแปลเป็นไทยที่สื่อความได้ดีๆไม่ค่อยออก ซึ่งก็ไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่า ศัพท์คำใดใหญ่กว่าคำใด ?    ;D


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 24 ส.ค. 22, 19:30
เหตุผลที่ตัดสินใจให้เขาตัด Opal ให้นั้น ก็คือจะได้ของแท้ๆจากก้อนหินที่พบในธรรมชาติเลย ดีกว่าที่จะซื้อของที่ทำเป็นเครื่องประดับสำเร็จรูปแล้ว  ด้วยพอจะรู้ว่า นอกจาก Doublet และ Triplet แล้ว  ก็พอรู้ว่าเริ่มมี Opal สังเคราะห์ในตลาดบ้างแล้ว

ในปัจจุบันนี้ดูจะมี Synthetic Opal ขายอยู่มากมายตามร้านเพชรพลอยต่างๆ   ตัว Opal ที่ได้มาจากการทำขึ้นมานั้นมีเนื้อของมันเหมือนกับที่เกิดมาตามธรรมชาติ แล้วก็มีกระบวนการตัดแล้วใช้กาวประกบเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สีและการเล่นแสงตามต้องการ    ของที่เกิดตามธรรมชาติก็เลยต้องมีอีกคำหนึ่งมากำกับ คือ genuine stone 

ในความรู้ที่มีของผม ผมเห็นว่า Opal ที่เกิดตามธรรมชาติจริงๆที่มีเนื้อเป็นตัวมันทั้งก้อนหรือเกือบทั้งก้อนและมีขนาดใหญ่นั้น ค่อนข้างจะพบได้ยากมาก   Opal ที่เห็นเป็นเม็ดนูน บนเคื่องประดับต่างๆที่มีความสวยงามและเป็นของที่เกิดในธรรมชาติของจริงนั้น น่าจะพอสังเกตเห็น Irregularity และ flaw ต่างๆบ้าง   สำหรับพวกที่สวยแบบไร้ที่ติและราคาไม่สูงนัก คงจะต้องพึงระวังไว้ก่อน (น่าจะตรงกับคำว่า Artificial ??)

ไทยเราก็ดูจะมีการผลิต (และอาจจะเป็นแหล่งผลิตรายสำคัญ) Synthetic Opal อยู่เหมือนกัน ??       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ส.ค. 22, 19:37
ไปเปิดกูเกิ้ลจะหารูปมาประกอบคำอธิบายของคุณตั้ง
เจอโอปอล์แท้ และโอปอล์สังเคราะห์   แต่ดูแต่รูป แยกไม่ออก  ต้องอาศัยสังเกตราคาเอาค่ะ
ีรูปซ้าย  แท้  รูปขวา สังเคราะห์


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ส.ค. 22, 18:16
ไหนๆก็ถามถึงโอปอล์แล้ว  ขอเลยไปถึงหินอีกชนิดที่มีสีสันสวยงามคล้ายๆกัน คือโป่งข่าม  เห็นบางคนบอกว่าเป็นหินควอตซ์ หรือหินเขี้ยวหนุมาน
ใกล้เคียงกันโอปอล์มากน้อยแค่ไหนคะ

โป่งข่ามก็คือแร่ Quartz  แต่จะเรียกว่าเป็น หิน..เขี้ยวหนุมาน ก็ไม่ผิด (ในกรณีที่เป็นก้อนกรวดเก็บมาจากห้วยหรือในพื้นที่ๆเป็นตะพักลำน้ำ_River terrace)   

ภาพที่อาจารย์เทาชมพูนำมาแสดง ที่มีหลายก้อนวางอยู่ด้วยกันนั้น  บอกได้เลยว่าน่าจะเป็นพวกที่ได้มาจากสภาพเดิมที่เป็นก้อนกรวด เอามาขัดมันโดยวิธีการที่เรียกว่า Tumbling (นึกถึงการคั่วลูกเกาลัดในกระทะ  ได้ลูกเกาลัดที่มีผิวเรียบและมัน)  เรียกกันว่า Tumbling stone  ซึ่งนิยมนำไปใช้ในการทำเครื่องประดับ ทั้งในรูปแบบผสมผสานกันหลากหลายวัตถุดิบ เช่น ทำเป็นสร้อยลูกปัดที่มีหลากสี หลากรูปทรง...    การเอาไปใส่รวมในภาชนะ (ขัน ถาด ...) เพื่อตั้งโชว์    หรือทำเป็นชิ้นงานเดี่ยวๆ เช่น จี้ห้อยคอ เข็มกลัดเหน็บ ...

วัตถุดิบที่เอามาทำเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยวิธีการทำแบบ Tumbling นี้  มีทั้งที่เป็นก้อนหิน ก้อนแร่ และก้อนหิน+รัตนชาติ ...       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 22, 18:59
พวกนี้ Tumbling stone ใช่ไหมคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ส.ค. 22, 20:00
Quartz มีส่วนประกอบทางเคมีง่ายๆ - Silicon dioxide (SiO2)   เกิดตามธรรมชาติได้ทั้งในรูปแบบของการเป็นแร่ประกอบหิน (ส่วนประกอบของเนื้อหิน)  และในรูปของความเป็นตัวตนเอง ซึ่งในรูปของการแยกตัวเด่นออกมาเป็นตัวเองนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์นำไปใช้ประโชน์มากที่สุด เช่น เอาไปทำแก้ว (ทรายแก้ว)  เอาไปทำเป็นเครื่องประดับ (เครื่องเพชรพลอย)  เอาไปใช้ในการก่อสร้าง (ทราย)...

สารประกอบ SiO2 นี้ สามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม โดยการเอาวัตถุดิบ(ซึ่งก็คือตัวมันเอง)ที่พบอยู่ในธรรมชาตินั้นมาสลายแล้วหลอมรวมให้เป็นอีกตัวตนหนึ่ง    ก็หมายความว่า Silicon dioxide หรือ Quartz นั้น เราสามารถสร้างมันขึ้นมาให้มันมีความบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ หรือปรุงแต่งให้มันเป็นเช่นใดก็ได้
 
ซึ่งก็พอจะหมายความต่อไปได้ว่า สามารถที่จะสร้างรัตนชาติ(เทียม)ที่ดูเผินๆแล้วไม่ต่างไปจากรัตนชาติที่เป็นของที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนประกอบและคุณสมบัติเหมือนกัน แต่ไม่ครบ          


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ส.ค. 22, 20:18
Tumbling stone  ใช่ครับ

ก้อนหินเหล่านั้นอาจจะดูไม่มีราคา แต่หากซื้อเอามาทำเป็นเครื่องประดับก็อาจจะมีราคาที่สูงได้   เช่น เลือกเอาก้อนสีแดง(ในรูป)ที่มีรูปทรงดีๆ เอาเม็ดที่ไม่มีตำหนิ เอามาล้อมด้วยเพชรเทียม ก็อาจทำให้งานชิ้นนี้มีราคาสูงมากขึ้นได้มากๆ    เพราะว่าราคาของเครื่องประดับจะสูงหรือต่ำ หรือจะถูกหรือแพง ส่วนหนึ่งมันขึ้นอยู่กับความถูกใจในชิ้นงาน ความพอใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และอาจรวมไปถึงข้อพิจารณาในเชิง Sentimental value ของทั้งสองฝ่าย (จากการโน้มนำก็ได้ หรือจากเรื่องอื่นใดก็ได้)   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 22, 09:52
หินที่นำมาเป็นเครื่องประดับ เพิ่มราคาอีกหลายเท่า


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ส.ค. 22, 18:39
Quartz มีความแข็งพอๆกันกับกระจก มีระดับความแข็งมากพอที่จะทนต่อการขีดข่วนจากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวัน  สามารถพบตัวมันในลักษณะที่เป็นมวลใหญ่ หรือเป็นก้อนกลมที่ผ่าออกมาแล้วเห็นเนื้อเป็นวงสี หรือเป็นแท่งผลึก

มันมีสีสวยงามจากธาตุอื่นที่อยู่ในส่วนผสมของมัน (มี impurities) เช่น Amethyst สีม่วง  Citrine สีเหล้าวิสกี้   Rose quartz สีชมพู   Agate _โมรา   หรือมีของอื่นๆที่แยกออกมาเห็นได้ชัดเจนอยู่ในตัวของมัน (มี inclusions) เช่น มีเส้นเข็มสีน้ำตาลจากแร่ Rutile_(Titanium oxide_TiO2)  มีลายตะไคร่น้ำ จากเหล็กและแมงกานีส...



กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 22, 18:52
แบบนี้ใช่ไหมคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 22, 18:54
 :)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ส.ค. 22, 19:33
ของตามกล่าวมาเหล่านั้น ก็มีทั้งของที่เกิดในธรรมชาติเอง  ของที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีไปทำกับของที่เป็นธรรมชาติเหล่านั้น   ของที่สังเคราห์ขึ้นมา  และของที่ใช้เทคโนโลยีไปทำกับของที่ได้สังเคราะห์ขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง   ซึ่งของเหล่านั้นก็ล้วนแต่มีเนื้อและโครงสร้างภายในเหมือนกันกับของที่เกิดตามธรรมชาติ    อีกทั้งก็ยังมีของที่มีเนื้อในที่ต่างไปจากของในธรรมชาติโดยสิ้นเชิง มีแต่เพียงการแสดงออกมาในความเหมือนกันในรูปลักษณ์เท่านั้น  

น่าสนใจดีนะครับ    


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 22, 20:48
จากรูป  ดูไม่ออกจริงๆค่ะ ว่าอะไรหินแท้ อะไรทำขึ้นมา


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 26 ส.ค. 22, 20:55
Quartz มีความแข็งพอๆกันกับกระจก มีระดับความแข็งมากพอที่จะทนต่อการขีดข่วนจากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆในชีวิตประจำวัน 


นาฬิกาควอทซ์ทำจาก Quartz นี่หรือเปล่าคะ 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ส.ค. 22, 19:23
นาฬิกาควอทซ์ทำจาก Quartz นี่หรือเปล่าคะ 

ใช่ครับ  เป็นผลึกควอทซ์สังเคราะห์ (เพาะในห้องปฏิบัติการให้ผลึกโตขึ้นมา)  ผลึกควอทซ์มีคุณสมบัติเกี่ยวกับการสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่คงที่ค่าความถี่หนึ่ง  คุณสมบัตินี้เรียกว่า Piezoelectric  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นได้กับสารประกอบทั้งที่เป็นสารประกอบทางอินทรีย์เคมี (ว้ตถุในธรรมชาติ) และทางอินทรีย์เคมี (สิ่งมีชีวิต)  อธิบายอย่างง่ายๆได้ว่า เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น(ในตัว)สารประกอบสืบเนื่องมาจากการถูกกดดัน เช่น จากแรงกด จากความร้อน.... 

การใช้ประโยชน์คุณสมบัติทาง Piezoelectric สำหรับสิ่งที่เป็นสารประกอบทางอนินทรย์เคมี ก็เช่น การใช้หิน Flint สองก้อน เอามาต่อยกันจนเกิดเป็นประกายไฟ ใช้จุดกองไฟ   Flint ก็คือหินที่มีส่วนประกอบเกือบทั้งมวลเป็นควอทซ์    ในกรณีของนาฬิกาควอทซ์นั้นผมพอจะมีความรู้ลึกเพียงว่า  ผลึกควอทซ์นั้นจะปล่อยคลื่นความถื่แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic frequency) ที่คงที่ออกมา แล้วใช้กระบวนการทาง Electronics ไปกำหนดการทำงานทาง Mechanics เพื่อไปหมุนเข็มนาฬิกา

คุณสมบัติทาง Piezoelectric ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ก็เช่น คลื่นไฟฟ้าที่พบในการเต้นของหัวใจ  สมอง  เส้นประสาท   ที่มีอยู่ในสัตว์ตามธรรมชาติก็ เช่น ปลาไหลไฟฟ้า หิ่งห้อย

ก็ต้องถามคุณหมอว่า ถูกต้องใหมครับ   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 ส.ค. 22, 20:03
กระจกหน้าป้ดนาฬิกาก็เป็นอีกเรื่องที่ใช้คำว่า Quartz, Quartz glass หรือ Quartz crystal...  จะเป็นของจริงจากธรรมชาติ หรือเป็นเพียงกระจกที่มีคุณสมบัติหนึ่ีง

พรุ่งนี้ค่อยว่ากันครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ส.ค. 22, 18:13
หน้าปัดนาฬิกาที่ว่าเป็นควอทซ์นั้น  หากเป็นนาฬิกาเก่าแก่ที่มีราคาสูงแต่ก่อนนั้น ก็น่าเชื่อได้ว่ามีการใช้ผลึกแร่ควอทซ์ที่มีความใสมากๆที่หาได้ในธรรมชาติ  ส่วนพวกรุ่นหลังๆมานั้น ผมเชื่อว่าเป็นการใช้แก้วที่ทำขึ้นในลักษณะที่คุณสมบัติของความแข็งและความใสเป็นการเฉพาะ   

เรียกว่า แร่ Quartz   โดยชื่อก็บอกว่าเป็นของที่เกิดในธรรมชาติ   เมื่อเป็นการทำให้มันเกิดขึ้นมาด้วยการสังเคราะห์ โดยที่มีส่วนประกอบของเนื้อในเหมือนกับของในธรรมชาติ ก็คงจะต้องตัดคำว่าแร่ออกไป เหลือแต่คำว่า Quartz     แต่พอเอาทรายที่ประกอบไปด้วยเม็ดทรายที่เป็นแร่ Quartz เกือบ 100%  เอามาหลอมให้มันละลาย แล้วทำให้ของที่หลอมละลายนั้นเย็นตัวโดยเร็ว (Quenching)  ก็จะได้แก้ว (Glass) ที่มีรูปทรงตามภาชนะที่ใส่เพื่อให้มันเย็นตัวลง  ก็จะได้ผลผลิตที่สามารถจะเอาไปตัด เอาไปขัด เอาไปเจียรนัยให้เป็นรูปทรงอะไรก็ได้ตามต้องการ   ทั้งนี้ หากทำให้มันมีความบริสุทธิ์มากที่สุด มันก็จะเป็นแก้วใสของสารประกอบ Silicon dioxide ที่เหมือนกันกับแร่ Quartz ที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งชื่อเรียกว่า Quartz glass หรือ Silica glass ก็ดูน่าจะสื่อความหมายที่ถูกต้อง     

ในกระบวนการทำก็ยังสามารถใส่ส่วนผสมอื่นๆเพื่อให้มันเกิดมีสีหรือคุณสมบัติอื่นๆ หรือใช้วิธีการ Quenching ทำให้มันมีความแข็ง มีความเนียว ...  ทำให้มีชื่อเรียกตามวัตถุประสงค์ของการผลิตมันขึ้นมา เลยเหลือแต่คำว่า Glass ที่มีคำที่แสดงถึงคุณสมบ้ติของมันกำกับไว้ข้างหน้า  เช่น Tempered glass (แตกกระจุยแบบกระจกรถยนต์)  Annealed glass (พวกแก้วทนไฟ)  Float glass (พวกแก้วที่ใช้ทำกระจกหน้าต่าง)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 ส.ค. 22, 18:56
จะซื้อเครื่องประดับกายที่อยู่ในกลุ่มของ Quartz ตามภาพที่ อ.เทาชมพู นำมาแสดงใน คห.ที่ 155 ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้ต้องเกิดความกังวลใจ   หากต้องการของที่มาจากธรรมชาติแท้ๆ ก็คงจะต้องสนทนากัน ต้องซักกันอย่างมาก    ที่ได้ขยายความมานั้นคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องและคำที่ใช้ในการสนทนากันที่ควรจะต้องมีในระหว่างการตัดสินใจซื้อขาย ซึ่งทั้งมวลก็ควรจะต้องสื่อความหมายที่ตรงกันเพื่อการตัดสินใจของเรา

ที่ดูจะมีความเป็นจริงอยู่เรื่องหนึ่งก็คือพวก Quartz ในธรรมชาตินั้นดูจะมีความแข็งมากกว่าแก้วหรือพวกที่สังเคราะห์ขึ้นมา ก็คือ ของธรรมชาติจะขีดแก้วให้เป็นรอยได้   และก็มีที่เขาว่ากันว่าของธรรมชาตินั้น เมื่อเอามาแนบแก้มหรือริมฝีปากจะรู้สึกถึงความเย็น จะรู้สึกเย็นมากกว่าของที่สังเคราะห์ขึ้นมา 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ส.ค. 22, 19:18
เห็นคำบรรยายว่าเทพธิดาสีชมพูนี้ ควอตช์ของจริง  แต่ไม่แน่ใจค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ส.ค. 22, 17:47
ผมเห็นว่าเป็นของจริงครับ เพราะว่าการสังเคราะห์ผลึกแฝดให้มีขนาดใหญ่ได้ปานนั้นน่าจะยังทำได้ไม่ง่ายนัก  และอีกประการหนึ่ง การเกิดผลึกแฝดกัน (twinning) ในลักษณะนั้น เป็นเรื่องปกติของแร่ที่เกิดในธรรมชาติ   สำหรับคำว่า twin ที่ใช้ในเรื่องของแร่นั้น มิได้หมายความถึงการแฝดสองตามความหมายปกติที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน หากแต่หมายถึงการเกิดผลึกหลายผลึกพร้อมๆกันที่ต่อติดกัน รวมกันเป็นมวลแร่ก้อนเดียวกัน    ในภาษาไทยคำว่าแฝดดูจะใช้ในความหมายของความเหมือนกัน หรือใช้กับของที่เกิดมาพร้อมๆกัน  ในภาษาไทยเราก็เลยมีแฝดได้ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ก็เลยดูจะมีความหมายไปในทางเดียวกับคำว่า twinning ในความหมายทางวิชาการแร่วิทยา (Mineralogy)

ภาพผลึก Rose Quartz นี้หากจะมีข้อที่อยากจะคิด ก็คงจะมีเพียงเรื่องของการทำสีเท่านั้น   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 22, 19:14
หมายความว่าเทพธิดาควอตซ์ อาจถูกย้อมสีชมพูหรือคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ส.ค. 22, 19:21
ผมใช้คำว่าการทำสีก็เพราะว่า การเปลี่ยนสีของพวกก้อนหินหรือแร่ที่เอามาทำเป็นเครื่องประดับนั้น กระทำได้ 2 วิธี  ด้วยวิธีการย้อมสี (Dyed treatment)  ด้วยวิธีการใช้ความร้อน (Heat treatment)  

กำลังเข้าไปในเรื่องของศาสตร์ทางอัญมณีวิยา ? (Gemology)  ซึ่งผมไม่มีความรู้มากพอที่จะขยายและขมวดความอย่างง่ายๆให้ดีพอ   รู้เพียงว่าการย้อมสีนั้นทำได้แม้กระทั่งใช้สีย้อมผ้าและทำได้ด้วยตัวเอง   หลักการหนึ่งที่ใช้กันก็คือ ใช้วิธีการทำให้มันเกิดรอยร้าว (cracks หรือ shattered ??) ด้วยกระบวนการทำให้มันร้อนแล้วเย็นตัวเร็ว (Quenching) เหมือนกับที่เราทำแก้วร้าวด้วยการใส่น้ำร้อน เทออก แล้วใส่น้ำเย็นลงไปในทันที   แช่น้ำสี เมื่อแห้งแล้วก็ขัดผิวให้สะอาด ใช้น้ำมันที่มีดรรชนีการหักเหของแสง (Refractive index) ที่เหมาะสม เคลือบผิว มันก็จะไปกลบเกลื่อนร่องรอยแตกทั้งหมด (ทำให้ไม่เห็น)  

สำหรับวิธีการใช้ความร้อนนั้น เรียกกันว่า การเผาพลอย  เป็นการเผาเพื่อให้ได้สีของพลอยตามต้องการ  ความหมายของคำว่าพลอยนี้ มืได้เจะจงลงไปว่าจะต้องเป็นพลอยในตระกูล Corundum (เพื่อให้ได้ไพลินสีเข้มสวย _Blue Sapphire หรือให้ได้สีแดง _Ruby จัด)    แร่ Quartz ก็มีการเอามาเผาเช่นกัน เช่น การเอา Quartz สีม่วง (Amethyst) มาเผาเพื่อให้เป็น Citrine สีเหลืองคล้ายบุษราคำ (Topaz) หรือคล้ายพลอยน้ำบุษ (Yellow sapphire) ...  


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 29 ส.ค. 22, 19:54
หมายความว่าเทพธิดาควอตซ์ อาจถูกย้อมสีชมพูหรือคะ

ไม่หรอกครับ  คงผ่านการตรวจสอบโดยละเอียดมาหลายรอบแล้ว   Quartz สีชมพูที่เป็นผลึกแฝดที่สมบูรณ์จัดอยู่ในเกณฑ์ที่พบได้ยาก ครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 22, 09:16
เอาเครื่องประดับควอตช์สีชมพูมาให้ดูอีกค่ะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 22, 09:44
จำได้ว่าคุณตั้งพูดถึงอุลก(ะ)มณี  tektite    อยากฟังค่ะว่าเป็นหินหรือแร่ชนิดไหน   ที่ว่าเป็นอุกกาบาต จริงหรือไม่คะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ส.ค. 22, 17:58
เอาเครื่องประดับควอตช์สีชมพูมาให้ดูอีกค่ะ

ทั้งสองชิ้นนี้เป็นของจริงที่สวยงามมาก  รู้ได้เลยว่าเป็นของจากธรรมชาติแท้ๆ โดยดูจากความขุ่นของเนื้อของมัน ครับ       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ส.ค. 22, 18:36
จำได้ว่าคุณตั้งพูดถึงอุลก(ะ)มณี  tektite    อยากฟังค่ะว่าเป็นหินหรือแร่ชนิดไหน   ที่ว่าเป็นอุกกาบาต จริงหรือไม่คะ

Tektite จัดเป็นหิน ครับ

เป็นวัตถุที่เกิดจากการที่มีวัตถุแปลกปลอมจากอวกาศตกกระทบผิวโลกดวยความแรงมากๆ มากจนทำให้เกิดการหลอมละลายของหินบนผิวโลก ณ จุดที่มันตก  ของเหลวร้อนที่เกิดจากหินหลอมละลายเหล่านั้นได้กระเด็นลอยขึ้นไปในอากาศ เป็นก้อนๆ คล้ายกับการเอาก้อนหินปาลงไปในน้ำหรือในดินโคลน ทำให้น้ำหรือดินกระเด็นลอยขึ้นมาแล้วตกเป็นวงรอบจุดที่หินกระทบโคลน ของเหลวที่เกิดมาจากการหลอมละลายของหินดินทรายนั้นเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วในอากาศ ก็ตกกลับลงมาสู่พื้นโลกในลักษณะเดียวกัน     เนื้อของ Tektite ก็จึงมีลักษณะเป็นแก้วเพราะเกิดมาจากกระบวนการ Quenching  (เสมือนการเอาทรายไปหลอมจนละลายเหลวแล้วทำให้มันเย็นตัวโดยเร็วเพื่อทำให้เป็นแก้วหรือกระจก)


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ส.ค. 22, 19:27
Tektite เป็นหิน แต่เมื่อเอามาตัด เอามาขัด เอามาเจียรนัย ทำเป็นเครื่องประดับ Tektite ส่วนมากจะมีเนื้อเป็นสีดำ แต่ที่มีสีออกไปทางสีเขียวขี้ม้าก็มี  ก็เลยมีชื่อเรียกว่า อุลกมณี  แต่ก็มีการเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น สะเก็ดดาว และอื่นๆ   

ในไทยเรา หิน Tektite ส่วนมากจะพบในพื้นที่อิสานใต้ย่าน จ.อุบลฯ บุรีรัมย์ สุรินทร์    Tektite ในไทยเป็นของที่เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 7-8 แสนปีที่แล้ว

ผมมีความเห็นในมุมหนึ่งว่า  Tektite นี้ อาจจะเป็นของที่น่าจะเป็นประเภทของสะสมได้ในมุมของๆหายาก  โดยสะสมในด้านของรูปทรงต่างๆที่มันเกิดมาตามธรรมชาติ   


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 22, 08:56
แหวนอุลกมณีแบบไม่ได้เจียระไน


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ส.ค. 22, 18:29
ย้อนกลับไปที่ คห.155 

จะเห็นชื่อแร่ในตระกูลแร่ควอทซ์ชนิดต่างๆ บ้างก็เรียกชื่อตามสีที่ปรากฏ บ้างก็มีชื่อเป็นการเฉพาะตัว  ทั้งหมดล้วนเป็นสารประกอบ Silicon dioxide เหมือนๆกัน ต่างกันไปที่มีธาตุอื่นใดอยู่ในเนื้อบ้าง (impurities)  วิธีการเกิดบ้าง (ในโพรง ในรอยแตก...)  ระบบของผลึกบ้าง   การเกิดผสมระหว่างระบบของผลึกบ้าง  หรือขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมจำเพาะทางธรณีวิทยา 

ตามภาพนั้น มีชื่อรัตนชาติที่มีชื่อไม่ค่อยจะคุ้นหูนัก คือ Prasiolite (green quartz), Mtorolite (green chalcedony), และ Aventurine (สีเขียวจากแร่ไมก้า)    ก็เชื่อว่าในอนาคตจะยังมีชื่อแร่และอัญมณีชื่อแปลกๆปรากฏขึ้นมาอีก         


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ส.ค. 22, 19:23
เกิดความสงสัยในการใช้ภาษาขึ้นมาจากกรณีข้อขยายความเมื่อวานนี้ที่ว่า อุกกาบาตตกมากระทบผิวโลกด้วยความเร็วและแรงจนเกิดหินหลอมละลายกระเด็นขึ้นไปในอากาศก่อนจะตกลงมายังผิวโลก    ควรจะใช้คำใดดีระหว่างคำว่า ตกลงมากระทบ กระแทก หรือชน

อีกเรื่องหนึ่ง สภาพที่หินหลอมละลายลอยขึ้นไปในอากาศ  ควรจะใช้คำลักษณะนามเช่นใดจึงจะเหมาะสม  กระเด็น กระเซ็น หรือกระจาย
 


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 22, 20:01
ดิฉันไปหารูปหินแร่ที่คุณตั้งเอ่ยถึงมาให้ดูกัน   เพื่อจะได้เห็นภาพชัดๆ   ถ้าผิดพลาด  ขอให้คุณคั้งช้วยแก้ไขให้ด้วยนะคะ
อย่างแรกคือ green chalcedony  ภาษาไทยเรียกว่าอะไรไม่ทราบ   บางเว็บก็ทับศัพท์ไปเลย

รูปนี้คือหินธรรมชาติ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 22, 20:01
รูปนี้ เมื่อหินถูกนำมาขัดแต่งแล้ว


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 22, 20:02
รูปนี้คือเจียระไนแล้วค่ะ
ดูในรูป สีสันและผิวเหมือนหยกเลยนะคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 22, 08:26
Aventurine


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 22, 18:42
Cat Eyes, Tiger eyes (หรือ Hawk Eyes) ที่จัดเป็นรัตนชาติหนึ่งชนิดในกลุ่มอัญมณีประเภทที่มีเนื้อเป็นควอทซ์นั้น  จัดเป็นหินที่พบอยู่ในร่องรอยแตกหรือเป็นสายแร่ในมวลหินประเภทหนึ่ง แต่เป็นหินประเภทที่เกิดจากควอทซ์เข้าไปแทนเนื้อในของแร่เดิมโดยที่ไม่ทำลายรูปทรงของแร่เดิม (Pseudomorph) คือเข้าไปสวมแทนความเป็นตัวตนทางลักษณะภายนอกของผู้อื่น   ไม้กลายเป็นหิน (Petrified woods) ก็เกิดจากกระบวนการนี้

อัญมณีในกลุ่มนี้ ก็มีการทำปลอมขึ้นมา  ผมมีความเห็นว่า หากชอบและอยากจะเก็บสะสมของที่มาจากธรรมชาติจริงๆ ก็น่าจะเลือกซื้อพวกที่เป็น Tumbling stone มากกว่าที่จะเลือกของประเภทที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับแล้ว  เห็นว่าโอกาสที่จะได้ของจริงมีสูงมากกว่า       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 ก.ย. 22, 19:29
นึกถึงเรื่องของสีและการเล่นแสงของอัญมณี เผื่อว่าอาจจะมีความสนใจ    ขอตั้งหลักสักนิดนึงครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 22, 19:44

Tiger's Eye


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 22, 09:41
มีพลอยชนิดหนึ่งจัดอยู่ในหนึ่งในเก้าของนพรัตน์ ชื่อไพฑูรย์    หรือ cat's eye
ไม่ทราบว่าเป็นหินแร่เดียวกันหรือต่างชนิดคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ก.ย. 22, 18:48
ขออภัยที่ขยายความไปไม่ครบถ้วนครับ  ;D

Cat eyes เป็นขื่อเรียกลักษณะที่แสดงออกมาจากการเล่นแสงของอัญมณี  คำเรียกเต็มๆในภาษาปกติคือ Cat eyes effect  ในภาษาทางวิชาการใช้คำว่า Chatoyancy property   คุณสมบัตินี้ เกิดได้กับแร่ที่เอามาทำเป็นอัญมณีหลายชนิดและจากความสามารถของผู้เจียรนัย  นอกจากแบบตาแมวที่คุ้นตากันแล้ว ก็มีเช่นการเห็นขาของพลอยสตาร์ (Star Ruby) หรือการเห็นเลือบแสงของอัญมณีมุกดา (Moonstone)    สำหรับแร่ที่เป็นต้นตอของคำว่า Cat eyes จริงๆนั้นคือแร่ Chrysoberyl ซึ่งไม่ไช่แร่ควอทซ์  แต่เกิดจากการที่น้ำแร่ควอทซ์แข้าไปแทนที่เนื้อในของแร่ในกลุ่มแร่ Amphibole ชนิดหนึ่ง (แร่ใยหินแบบหนึ่ง)     ในภาษาเต็มๆที่ใช้พูดถึง Cat eyes ทั้งสองนี้ คือ cat's eye Chrysoberyl และ cat's eye Quartz   

สับสนวุ่นวายนะครับ  ขยายความมายืดยาวก็เพียงเพื่อจะโยงไปถึงคำถามของ อ.เทาชมพู


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 22, 19:17
ขอบคุณค่ะคุณตั้ง
star (ที่อยู้ใน) ruby   เป็นภาษาปัจจุบัน  โบราณเรียกว่า "สาแหรก"  เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครรู้จักคำนี้กันแล้วค่ะ
ถือเป็นของหายาก ทำให้ทับทิมมีราคาสูงกว่าเม็ดที่ไม่มีสาแหรก


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 ก.ย. 22, 20:13
คงจะต้องพิจารณาด้วยการจับลักษณะความเรื่องอัญมณีที่สื่อออกมาเป็นบทกลอนนพเก้าของระบำเพลงนพรัตน์ ที่แต่งโดย ครูมนตรี ตราโมท    

        แก้วไพฑูรย์ขุ่นฉวีสีไม้ไผ่สังวาล
     ไหมสาแหรกผ่านประสานสาย
     บันดาลชัยชนะหมู่ศัตรูร้าย
     แผ่กำจายเสน่ห์ติดจับจิตเอย

เมื่อดูความบรรทัดแรกและบรรทัดที่สองแล้ว ดูว่า ไพฑูรย์ จะคล้อยไปในทางเป็น Chrysoberyl cat eye มากกว่าที่จะเป็นแบบ Quartz cat eye สีเข้มๆที่เราคุ้นกัน  


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 22, 20:51
star cat's eye  หรือสาแหรกของไพฑูรย์


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ก.ย. 22, 18:24
วันนี้ได้ไปเดินตลาดจตุจักร ได้เห็นอัญมณีอยู่สองชิ้นที่ถูกใจ ดูแต่แรกก็พอจะรู้ว่าน่า่จะเป็นของจากธรรมชาติแท้ๆ พอรู้ว่ามีใบรับรองที่เรียกกันว่าใบเซอร์ (Certificate) กำกับด้วย ก็เลยสนใจราคาซื้อขาย   เม็ดหนึ่งเป็นไพฑูรย์ ที่เป็น Chrysoberyl cat eye จากแหล่งในศรีลังกา  อีกเม็ดหนึ่งเป็น ไพลิน ของไทย   ทั้งสองเม็ดมีขนาดประมาณเล็บนิ้วก้อย  เมื่อรู้ราคาแล้วก็ต้องเลิกความคิดที่จะหาทางเอามาเป็นเจ้าของ  ไพฑูรย์เม็ดนั้นมีราคาค่อนไปทางสองแสนบาท   ไพลินมีราคาอยู่ที่หนึ่งแสนบาท   ผมสนใจกับไพลินเม็ดนั้น ดูว่าน่าจะเป็นของจาก อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี  เป็นของเก็บที่ถูกปล่อยออกมา    ไพลินของ อ.บ่อพลอย จะมีสีเข้มและเล่นไฟอย่างพราวแพรว (?) / แพรวพราว (?) เป็นความทรงจำจากการเห็นของจริงๆในพื้นที่เมื่อครั้งยังทำงานอยู่ในพื้นที่อยู่หลายปี

ก็อย่าเชื่อผมนะครับ ดูด้วยตาเปล่ามีผิดพลาดเกิดขึ้นได้มาก


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ย. 22, 19:24
ไม่มีความรู้เรื่องพลอยค่ะ   ไปค้นรูปมาประกอบ  แต่ไม่รู้ว่าแท้หรือเปล่า


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ย. 22, 19:27
รู้จักไพลินแค่แหวนหมั้นของไดอาน่า   ที่ตกทอดมาเป็นแหวนหมั้นของเคท มิดเดิลตัน  ราคาดูเหมือน 12 ล้านบาทไทย


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ย. 22, 19:28
วงเดียวกัน


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ก.ย. 22, 18:58
ไพลินน้ำหนึ่งของ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ก็มีสีและความสวยเด่นดังภาพขยายนั่นเลย ครับ   

พลอยสีน้ำเงิน (Blue Sapphire) และพลอยสีแดง (Ruby) ล้วนมีความงามเด่นออกมาอย่างถึงที่สุดเมื่อล้อมด้วยเพชร   ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า Sapphire มีความสวยงามมากกว่า       Blue sapphire ให้ความรู้สึกไปในทางที่มีแต่ความสะอาด เรียบง่าย สดใส โล่ง โปร่ง   ส่วน Ruby ดูจะให้ความรู้สึกออกไปทางของการแสดงออกของความเป็นยอด ความมีระเบียบ เคร่งขรึม อำนาจ อึดอัด         


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ก.ย. 22, 19:24
ก็พอจะมีเรื่องเล็กน้อยๆให้พอสังเกตและพึงพิจารณาในการเลือกซื้ออัญมณี ซึ่งเป็นมุมมองบนฐานของความรู้ที่พอจะมีทางแร่วิทยาและทางธรณีฯเกี่ยวกับเรื่องแร่และหิน ซึ่งก็จะต่างกันกับมุมมองของ Gemologists (นักอัญมณีศาสตร์ ?)   รวมทั้งก็จะต่างกันกับฝ่ายผู้ที่ทำธุรกิจด้านนี้       


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ย. 22, 16:18
คุณตั้งจะตั้งกระทู้ใหม่ คุยเรื่องอัญมณี  ดีไหมคะ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.ย. 22, 17:53
เรื่องที่จะเล่ามีอยู่นิดเดียวครับ  และในกรณีที่จะตั้งเป็นกระทู้แยกออกไปเป็นเรื่องอัญมณีโดยตรงก็ไม่ไหวครับ ด้วยตัวเองมีกระสุน(ข้อมูลและความรู้)สะสมอยู่ไม่มากพอที่จะเดินเรื่อง   ความต่างๆที่ได้ขยายมาเหล่านั้นก็เป็นความรู้ทางวิชาแร่เท่าที่จำได้ที่เรียนมาเมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว   อีกประการหนึ่ง เทคโนโลยีในด้านอัญมณีได้พัฒนาไปมากจนตามไม่ทัน ครับ 

 ;D     


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ย. 22, 18:35
คุณตั้งจะตั้งกระทู้ใหม่ คุยเรื่องอัญมณี  ดีไหมคะ

เคยมีกระทู้เกี่ยวกับอัญมณีของคุณตั้งอยู่กระทู้หนึ่ง "ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ" (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5014.msg182035#msg182035) คุณตั้งน่าจะเล่าต่อในกระทู้นี้ได้ ;D


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.ย. 22, 20:03
ข้อกังวลใจในการซื้ออัญมณีต่างๆ  เรื่องแรกๆเลยก็คือ แท้ หรือ เทียม

คำว่า 'แท้' ของฝ่ายผู้ซื้อ โดยนัยจะหมายถึงหินหรือแร่ที่เกิดตามกระบวนการของธรรมชาติ และเป็นของที่ได้มาจากแหล่งที่มีการขุดพบกัน   แต่คำว่า 'แท้' ที่เป็บคำตอบจากอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่ใช่คำตอบตามนัยที่เราหมายถึงตามการความประสงค์ของเรา จะด้วยการบอกความไม่หมด หรือด้วยตัวเองก็ไม่รู้ หรือด้วยเป็นการโกหก ก็เป็นได้ทั้งนั้น

สำหรับคำว่า 'เทียม' นั้น  โดยนัยของฝ่ายผู้ซื้อมักจะหมายถึงของที่ทำเลียนแบบขึ้นมา (เช่น แก้ว พลาสติก ...)  ดูจะไม่คิดไปไกลถึงกรณีที่มันก็เป็นของที่พบในธรรมชาติ แต่เป็นของมีการมีการนำมามาเข้ากระบวนการแปรเปลี่ยนเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนสี ทั้งในเชิงของโทนหรือของความเข้ม  อาทิ ด้วยการใช้กระบวนการเผา (ที่อาจจะใส่สารอื่นใดลงไปในถ้วยเผาด้วย)  ด้วยกระบวนการการย้อมสี   หรือด้วยการใช้กระบวนการทางรังสีวิทยา (Radiology) ...

เรื่องแท้หรือเทียมนี้ คงจะหาความเป็นจริงอย่างเป็นที่ยุติได้จากการนำไปให้หน่วยงานหรือสถาบันที่สามารถออกใบรับรองที่สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบคดีความตามกฎหมายได้   หรือไม่ก็ต้องซื้อของชิ้นที่มีใบรับรองของสถาบัน(ทาง)อัญมณีหนึ่งใด  

ไม่แน่ใจว่า ในเรื่องของพลอยนั้น มีระบบการประเมินราคาเช่นเดียวกับเพชรหรือไม่ ??    ก็เป็นเรื่องชวนให้คิดว่า ราคาของอัญมณีประเภทพลอยนั้นตั้งอยู่บนความพอใจของปัจเฉกบุคคล คือเป็นเรื่องทางใจมากกว่าเพชรที่ตั้งอยู่บนเรื่องทางกายภาพของวัตถุ (ขนาด น้ำหนัก...)
  


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 ก.ย. 22, 20:07
จริงๆครับ ลืมไปเลย   ;D

แล้วค่อยต่อกันวันพรุ่งนี้ ครับ


กระทู้: ถามคุณตั้งเรื่องหิน
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 06 ก.ย. 22, 16:48
ว้นนี้ได้ย้ายเรื่องราวไปขยายต่ออยู่ในกระทู้เก่า 'ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ' ครับ