เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: หนอนต้อม ที่ 06 ก.ย. 00, 12:00



กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: หนอนต้อม ที่ 06 ก.ย. 00, 12:00
ผมเคยอ่าน งานเขียนซึ่งกล่าวถึงสมัยนั้น อย่างเช่น พล นิกร กิมหงวน หรือ สี่แผ่นดิน  ต็รู้สึกขำเหมือนกันครับ  แต่สองเรื่องนี้ต่างกันเห็นชัดมากนะครับ คือ มรว.คึกฤทธิ์ แต่งสี่แผ่นดิน อย่างรู้สึกขำเหมือนผม แต่ป.อินทรปาลิต ไม่ได้แต่งด้วยอารมณ์ขำเลย  ค่อนข้างสนับสนุนด้วย ซึ่งจริง ๆ นโยบายรัฐนิยมก็มีอะไรหลายอย่างที่ถ้าสืบต่อมาถึงตอนนี้คงจะดีไม่น้อย เช่นการเลี้ยงไก่ ปลูกผักสวนครัวในบ้าน เข้ากับเศรษฐกิจพอเพียงในยุคนี้ได้ดีเลย


กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: หนอนต้อม ที่ 06 ก.ย. 00, 00:00
มองอีกแง่ ยุคนั้นถือเป็นยุคปฏิวัติการศึกษาของไทยเราเหมือนกัน วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ประเทศไทยพัฒนาตามอย่างตะวันตก  สมัยหนึ่งประเทศญี่ปุ่นก็เคยมีความคิดอย่างนี้ ทำให้เกิดการแปลตำรับตำรามากมาย ออกมาเป็นภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้คนญี่ปุ่นได้เรียนรู้ และพัฒนาตามตะวันตก  ทั้งสองประเทศมีวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่มองคนละมุม วิธีการต่างกัน และผลที่ได้ก็ต่างกันด้วย เฮ้อ...  


กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 00, 00:00
เคยอ่านพบว่า การที่จอมพลป.ปติวัติภาสาไทย ก็เพราะยี่ปุ่นมีนโยบายให้คนไทยเรียนภาสายี่ปุ่น จอมพลป.ไม่เห็นด้วย จึงหาทางออกด้วยการอ้างว่า คนไทยต้องเรียนภาสาไทยแบบไหม่  ยังไม่สามาถจะเรียนภาสายี่ปุ่นได้จ้ะ



กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: หนอนต้อม ที่ 07 ก.ย. 00, 00:00
อืมม์ อันนี้ไม่เคยอ่านเจอมาก่อนครับ แต่ถ้าให้เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่สองทำไมต้องหลีกเลี่ยงด้วยหล่ะ เรายังเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองได้เลย  คิดว่าญี่ปุ่นคงไม่ได้มาบังคับให้เราใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาประจำชาติหรอกนะ ไม่งั้นข้ออ้างของจอมพล ป. ก็ฟังไม่ขึ้นเหมือนกัน


กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 00, 00:00
ถึงบอกว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องคลุมเครือยังไงล่ะคะ  หลักฐานถ้ามาก แทนที่จะชัดเจนกลับทำให้คลุมเครือหนักขึ้นก็มี    
คนสองคนในเหตุการณ์เดียวกัน บางทีก็บันทึกกันไปคนละทาง  เชื่อกันไปคนละเรื่อง  ไม่รู้เรื่องไหนเป็นเรื่องจริงที่เพิ่งจะเปิดเผย เรื่องไหนเข้าใจผิดกัน
อย่างเรื่องเสรีไทยที่เพิ่งเขียนเสร็จ    ได้ยินมาว่าจอมพล ป.เองก็เป็นเสรีไทยด้วย ก็มีเหมือนกันค่ะ


กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: ทิด ที่ 07 ก.ย. 00, 00:00
ในยุคนั้นวัฒนธรรมของชาติอย่างหนึ่งที่ต้องเกิดอาการหยุดชะงัก
ทั้งๆที่กำลังอยู่ในช่วงรุ่งโรจน์และกำลังพัฒนาก็คือ "ดนตรีไทย" ครับ
ช่วงก่อนหน้านั้นเป็นช่วงที่วงการดนตรีไทยมีอัจฉริยะหลายท่าน
มีการประพัธ์เพลงไทย (เดิม) ขึ้นใหม่มากมายนับร้อยๆเพลง
มีการประยุกต์เครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับดนตรีไทย
ตัวอย่างเครื่องดนตรีที่เห็นได้ชัดเจนก็มี อังกะลุง กับขิมนะครับ
หลายท่านนำเอาเทคนิกการเล่นของดนตรีตะวันตกเข้ามาผสมผสาน
จนเกิดเป็นรูปแบบ สำเนียง และวิธีการเล่นแบใหม่ๆ ขึ้นมา
............
แต่หลังจากที่บ้านเราเดินเข้าสู่ยุค "วัธนธัม" ถึงแม้จะเป็นเวลาไม่กี่ปี
แต่ระหว่างนั้นดนตรีไทยคือ "สิ่งล้าหลัง" และ "ผิดกฏหมาย"
ใครเล่น ใครร้อง ถือว่ามีความผิดอย่างมาก ต้องถูกจับเข้าคุก
นักดนตรีหลายๆ ท่านต้องหลบๆ ซ่อนๆ ตามสวน ตามเรือเพื่อเล่นดนตรี
ถึงแม้จะผ่านช่วงเวลา "ร้ายกาจ" ของนักดนตรีไทยยุคนั้นมาได้
แต่กระบวนการการพัฒนา และสืบทอดมรดกของชาติก็ชะงักตั้งแต่นั้นมา
ด้วยค่านิยมที่คนหนุ่มสาวในยุคนั้นถูกปลูกฝังโดย "ท่านผู้นำ"
ดนตรีตะวันตก ค่อยๆเข้ามาแทนที่ดนตรีไทยได้อย่างรวดเร็ว
หลังจากช่วงนั้นเพลงไทยหลายๆ เพลงได้สูญหายไปเป็นอันมาก
การสืบทอด สั่งสอนก็เปลี่ยนจากการ "สร้างใหม่" เป็น "รักษาของเก่า" แทน
และแนวทางการสืบทอดในลักษณะนี้ก็กลายมาเป็นค่านิยมไปโดยปริยาย
จนกลายเป็นคำถามให้คนรุ่นใหม่หลายๆ คน ตั้งข้อสงสัยว่า
ทำไมครูดนตรีไทยถึงเอาแต่สอนให้จำเพลงเก่า ไม่สอนให้แต่งเพลงใหม่
หรือทำไมถึงห้ามไม่ให้บรรเลงแตกต่างไปจากรูปแบบเดิม ฯลฯ
...............
นี่เป็นผลพวงอย่างหนึ่งของการ "ปติวัติวัธนธัม" ของชาติไทยยุคนั้นครับ
 


กระทู้: ว่าด้วย... ยุคไม่ขำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 00, 00:00
น่าสนใจมากค่ะคุณทิด ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง
ไม่เคยทราบเรื่องการห้ามดนตรีไทยเลย   ดิฉันเข้าใจว่าจอมพลป. สนับสนุนชาตินิยม  นึกว่าจะชอบดนตรีไทยเสียอีก
อ่านพบอีกอย่างว่า รำวงมาตรฐานเกิดขึ้นในยุคนี้ ระหว่างสงคราม  ข้าราชการจะต้องไปรำวงมาตรฐานทุกบ่ายวันพุธหรือไงนี่แหละ  เป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง
สมัยนั้นมีเพลงชวนให้สวมหมวกด้วยนะคะ แต่จำได้กะท่อนกะแท่น
"เชิญซิเชิญกันร่วมมาสวมหมวก
ทั้งสะดวกสบายด้วยทั้งสวยหรู
ชูใบหน้าให้สง่างามน่าดู
อีกเชิดชูอนามัยให้มั่นคง"
วรรคสุดท้ายคิดอยู่นานว่าแปลว่าอะไร   ทำไมสวมหมวกแล้วอนามัยดี
คงหมายความว่าสวมหมวกแล้วไม่ร้อน ทำให้ไม่เป็นไข้(มั้งคะ)