เรือนไทย

General Category => ชั้นเรียนวรรณกรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Wu Zetian ที่ 22 มิ.ย. 16, 00:03



กระทู้: คำว่า "ความหมายโดยนัย" กับ "ความหมายโดยนัยยะ" เหมือนกันไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 22 มิ.ย. 16, 00:03
ตัวอย่างข้อความ "พระสมเด็จ มีความหมายโดยนัยยะเป็นพระเครื่องที่หาได้ยากที่สุด  ราคาสูงที่สุด   เป็นของมีค่ายิ่งกว่าเครื่องเพชร"

ผมไม่เข้าใจภาษาไทยที่ว่า "ความหมายโดยนัย" หมายถึงอะไรครับ จึงขอถามว่า
ความหมายโดยนัย ในข้อความข้างต้น แปลว่า
1.ความหมายที่แฝงไว้, ความหมายที่ซ่อนไว้ต้องตีความตามบริบทจึงจะเข้าใจ
2.ความหมายสำคัญ, ความหมายหลัก

ผมเลือกคำตอบคือ ข้อ 1 ถูกต้องไหมครับ

ขอบพระคุณครับ
 



กระทู้: คำว่า "ความหมายโดยนัย" กับ "ความหมายโดยนัยยะ" เหมือนกันไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มิ.ย. 16, 08:33
ถูกต้องค่ะ


กระทู้: คำว่า "ความหมายโดยนัย" กับ "ความหมายโดยนัยยะ" เหมือนกันไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 มิ.ย. 16, 10:33
"นัยยะ" คำนี้ยังเขียนไม่ถูกต้อง คำที่ถูกคือ "นัย" ซึ่งท่านรอยอินบอกว่าออกเสียงได้ ๒ อย่าง คือ ไน และ ไนยะ

โดยทั่วไปเมื่อใช้ในเชิงวิชาการจะออกเสียงว่า "ไนยะ" เช่น ความหมายโดยนัย นัยสำคัญทางสถิติ แต่คำพูดที่ใช้กันทั่วไปออกเสียงว่า "ไน" เช่น บอกเป็นนัย ๆ


กระทู้: คำว่า "ความหมายโดยนัย" กับ "ความหมายโดยนัยยะ" เหมือนกันไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: Wu Zetian ที่ 22 มิ.ย. 16, 20:36
ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูและท่านอาจารย์เพ็ญชมพูเป็นอย่างสูงครับ ที่ให้ความกระจ่าง


กระทู้: คำว่า "ความหมายโดยนัย" กับ "ความหมายโดยนัยยะ" เหมือนกันไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มิ.ย. 16, 09:06
ดิฉันเขียนนัยยะ ตามการออกเสียงค่ะ