เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6756 ขอรบกวนผู้รู้เรื่องผ้าไหมมัดหมี่ไทยหน่อยนะคะ
ปุยฝ้าย
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


 เมื่อ 02 ม.ค. 06, 19:58

เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ...ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะๆ

คือหนูต้องทำการวิเคราะห์เรื่องผ้ามัดหมี่ใน2จังหวัดที่ได้ไปชมมาค่ะ...

รูปแรกคือที่อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
บันทึกการเข้า
ปุยฝ้าย
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ม.ค. 06, 19:59


อีกที่นึงคือที่กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ค่ะ
เป็นผ้าที่ได้รับวัฒนธรรมเขมรมาด้วย
บันทึกการเข้า
ปุยฝ้าย
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ม.ค. 06, 20:01

 อยากจะให้ช่วยรบกวนวิเคราะห์ความแตกต่างทางด้านลวดลาย แบบว่าเช่น รูปหลังดิฉันทราบมาว่าใช้ 3 ตะกอ แต่รูปแรกนี่ไม่ทราบค่ะ555

ความแตกต่างด้านลวดลายอะไรก็ได้ค่ะ เช่น เทคนิควิธีการมัด เป็นต้น


ขอขอบพระคุณล่วงหน้ามาอย่างสูงค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ม.ค. 06, 21:26

 ดูไปพลางๆก่อนนะคะ เดี๋ยว จขกท. เขาจะแวะมาช่วยเองค่ะ

ลายที่เปลี่ยนไปตามวันเวลาของผ้ามัดหมี่
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=34533  
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 08:52

 ที่ผมไปดูเขาทอทางภาคเหนือ ที่ร้านนั้นเขาบอกว่าคนทอไม่ใช่คนออกแบบ คนออกแบบคือคนที่ย้อมเส้นนอนที่ทอแล้วออกมาเป็นลาย สงสัยว่าคนย้อมจะต้องมีความสามารถมาก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 09:19

 ออกตัวก่อนล่ะครับ ว่าถึงผมจะเปิดกระทู้เรื่องผ้าไปกระทู้นึงแล้วแต่ผมก็ยังศึกษาไปไม่ถึงไหนหรอกคนะครับ ที่ตอบก็เดาๆเอาครับ

ผืนแรก นาโพธิ์น่าจะได้อิทธิพลของวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายลาว มามากพอสมควร การมัดย้อมใช้วิธีการค้นด้ายกับหลักไปตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเท่าที่ผมเดาดูคงย้อมสีรวดเดียวไล่สีจากแก่ไปอ่อน ซึ่งสีแก่จะมีอิทธิพลของสีอ่อนทับอยู่ด้วย

ผืนที่สอง อย่างที่คุณปุยฝ้ายเข้าใจครับ เป็นอิทธิพลเขมร ลายผ้าลักษณะนี้ (ก็เท่าที่ดูแล้วเดาเอาอีกเช่นกัน) เป็นลายที่มีการมัดย้อมแยกสีทีละสี (จะเห็นว่าสีเขียว หรือ แดง จะไม่มีอิทธิพลของสีตรงกันข้าม หรือสีดำซึ่งมีอยู่บนผืนผ้าทับกันอยู่เหมือนในผ้าของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายลาวหลายผืน - อย่างผืนข้างล่างนี่เป็นต้นครับ)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 09:24


ที่จริง ในหลายเขตอำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์ เช่นอำเภอ นาโพธิ์ที่คุณปุยฝ้ายไปชมมา มีผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ชนิดหนึ่ง ใช้วิธีการมัดหมี่ให้เชิงของผ้าเป็นสีแดง และเปลี่ยนด้ายเส้นยืนที่สืบไว้ในฟืมให้เป็นสีแดงเพื่อให้สีของเชิงผ้าเป็นสีแดงชัดขึ้น เรียกซิ่นแบบนี้เป็นภาษาปากกันว่า "ซิ่นตีนแดง" ไม่รู้คุณปุยฝ้ายได้ไปชมมาฝากชาวบอร์ดหรือเปล่าครับ


ผมเอาภาพซิ่นตีนแดงมาฝากรูปนึงนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 09:29

 เท่าที่ผมพอจะนึกออกก็มีแค่นี้ล่ะครับ ถ้าคุณปุยฝ้ายสงสัยตรงจุดไหนก็ลองถามดูครับ เพราะบอร์ดนี้ก็มีคนสนใจผ้าไทยหลายคนครับ


ปล. เอาภาพผ้าสมปักปูมซึ่งเป็นของพระราชทานไปยังประเทศสหรัฐอเมริกามาฝากผืนนึงครับ ทางสถาบันสมิธโซเนียนเรียกได้ว่าเก็บรักษาไว้ได้ดีมากครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 09:36

 ภาพหลุดครับ (รู้สึกว่าแปลงให้รูปเล็กลงนิดหน่อยจะทำให้ขนาดไฟลล์โตขึ้นครับ)

งั้นก็อธิบายภาพประกอบนิดหน่อยแล้วกันครับ ว่าส่วนประกอบของลายผ้าจะเริ่มจากแนวสังเวียนลาย ซึ่งขนาบปิดด้านบนและล่างของลาย (ในรูปจะอยู่ทาง ซ้าย- ขวาและปิดระหว่างท้องลายกับกรวยเชิงครับ) หรือที่เห็นเป็นแถบลายจุดๆด้านบนในความเห็นที่ 1 ของคุณปุยฝ้ายครับ

ส่วนถัดจากสังเวียนเข้ามาและอยู่ก่อนถึงท้องลาย เรียกว่า "ช่องแทงท้อง" ซึ่งจะเป็นลายช่อ (ที่เรียกกันว่าบัวหางยาว) แทงลายเข้าหาท้องลายของผ้าเสมอ (ถ้าเป็นในความเห็นที่ 1 ช่อแทงท้องในภาพคือแนวแถบสีแดงนะครับ)

และส่วนสุดท้ายคือ "ท้องลาย" ซึ่งในภาพของผมเป็นดอกกลาง ส่วนในความเห็นที่ 1 ของคุณปุยฝ้ายเป็นดอกใหญ่ครับ
บันทึกการเข้า
ปุยฝ้าย
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 12:31

 โอ...ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ  ได้ไอเดียเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย

รบกวนถามคุณติบออีกซักหน่อยนะคะ...อยากจะทราบว่า ผ้ามัดหมี่ที่ได้อิทธิพลมาจากประเทศลาวเนี่ยะน่ะค่ะ  มีลักษณะเด่นอย่างไรบ้างคะ..เช่นอย่างของเขมรนี่ก็จะมีส่วนประกอบผ้าต่างๆ เช่นกรวยเชิง หัวซิ่น ตีนซิ่นอะไรอย่างนี้อะค่ะ...ไม่ทราบว่าของลาวนี่มีส่วนประกอบอะไรเช่นนี้บ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 16:49

 ถามง่ายแต่ตอบยากจัง ผมก็เกิดไม่ทันยุคใช้ผ้าซิ่นซะด้วยสิครับ (แล้วก็กลัวจะมีรุป *_* เหมือนตอนผมตอบคุณหยดน้ำเรื่องผ้าลายพุ่มข้าวบิณฑุ์อีกจัง แหะๆ)

ที่จริง เท่าที่ได้เห็นมา ผ้านุ่งที่ทอในกลุ่มชาวไทยเชื้อสายลาวเองจะมีเอกลักษณ์หลายอย่างที่เห็นแล้วสามารถแยกได้ทันทีว่าเป็นชาวไทยเชื้อสายลาวหรือเปล่านะครับ

(ก่อนอื่นขออนุญาตเรียกว่า "ชาวไทยเชื้อสายลาว" ก่อน เพราะคำว่า "ประเทศลาว" ในความรู้สึกของผมถูกกำหนดขึ้นเรียกผืนแผ่นดินส่วนหนึ่งบนแผนที่ ไมใช่เรียกกลุ่มคนนะครับ และชาวไทยเชื้อสายลาวเอง อาจจะอยู่ในประเทศไทยแต่เดิมมาก่อน-เช่น มณฑลลาวพวน หรือมาจากส่วนต่างๆของประเทศลาว เช่น ชาวลาวเวียง ที่ถูกเทครัวเข้ามาในประเทศไทย หรือ อาจจะอยู่ในประเทศเวียดนามในปัจจุบันก็ได้ เช่น ชาวไทแดงซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองซำเหนือแขวงหัวพัน เป็นต้นนะครับ)

ชาวไทยเชื้อสายลาวเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์ของผ้าที่ต่างจากชาวไทยเชื้อสายเขมรแน่ๆครับ

เริ่มจากการสาวไหม ซึ่งชาวไทยเขมรจะนิยมการใช้ไหมเส้นเล็ก ละเอียด มีการคัดแยกเนื้อไหมจากส่วนต่างๆของรังไหมออกจากกัน ทำให้ได้ผ้าที่นุ่ม ละเอียด และมีน้ำหนักมากกว่า (เนื่องจากเส้นไหมละเอียดกว่าจึงสามารถทอแบบสามตะกอได้)

ส่วนชาวไทยเชื้อสายลาวจะนิยมสาวไหมรวมกันเรียกเป็นภาษาปากว่าไหมรวด หรือไหมลืบก็ได้ครับ ทำให้ขนาดของเส้นไหมที่ได้ค่อนข้างใหญ่และหยาบกว่า (ซึ่งขนาดของเส้นไหมจะดูดีขึ้นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีแรงผลักดันของตลาดเข้ามามากขึ้น)



เอาภาพผ้าของชาวไทยเชื้อสายลาว - ชาวภูไท ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์มาให้ชมกันครับ



.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 17:37

 ส่วนเรื่องสีนั้น ชาวไทยเชื้อสายลาวจะนิยมย้อมสีในครั้งเดียว เหมือนที่ผมเล่าเอาไว้แล้วในความเห็นที่ 5 นะครับ

ส่วนเรื่องหัวซิ่น ตีนซิ่น ผมไม่อยากให้ใช้มาแบ่งกลุ่มไทยทั้งสองกลุ่มออกจากกัน เพราะคนไทยลาวเองก็ใช้ตีนซิ่นและหัวซิ่นซึ่งนำมาเย็บประกอบกับผ้าผืนกลางเหมือนที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรใช้ เพียงแต่หน้าตาของหัวและตีนซิ่นอาจต่างกันออกไปบ้างตามลักษณะลวดลายที่นิยมในแต่ละท้องถิ่น หรือเนื้อไหม-สีย้อมที่ใช้กัน

อยากให้คุณปุยฝ้ายมองภาพผ้าทั้งหมดรวมๆกันเหมือนความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นร่วมกันของชาวเอเชียอาคเนย์แต่มีความนิยม ความสามารถของแต่ละที่ที่แตกต่างกันมาแบ่งของจากแต่ละถิ่นแยกออกจากกันมากกว่าการแบ่งแยกแต่ละถิ่นออกจากกันตั้งแต่แรกนะครับ

ถ้ายังไงลองค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมดูก็ได้ครับ



ปล. ถ้าเคยอ่านในกระทู้ของผมที่พี่นุชนายกมา ผมจะเขียนไว้ว่าชาวไทยเชื้อสายเขมรเอง นอกจากจะมีวิธีมัดย้อมเส้นไหมรวดเดียวแล้ว ยังมีวิธีการมัดย้อมแยกแต่ละลำไหมออกจากกันเป็นอิสระด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้นำผ้าเก่าจำนวนหนึ่งมาศึกษาดูอย่างละเอียด ผมพบว่าลักษณะการมัดย้อมแบบดังกล่าวอยู่ในผ้าที่ทอมาจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชาวไทยที่ถูกเทครัวไปไว้ที่ทะเลสาบอินเลย์ หรือผ้าที่ทอมาจากเมืองหลวงพระบางด้วย ซึ่งเป็นไปได้ว่าลักษณะการทอดังกล่าวอาจมีอยู่ในกลุ่มชนทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้วแต่เสื่อมความนิยมลงไปเนื่องจากเป็นกรรมวิธีที่ยุ่งยาก

แต่เรื่องนี้ไม่ยืนยันนะครับ ผมขอเวลาศึกษาเพิ่มเติมก่อนล่ะครับ



เอาภาพมาฝากกันอีกซักภาพครับ
บันทึกการเข้า
ปุยฝ้าย
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 19:11


ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยค่ะ

เอ...แต่ยังสงสัยว่า การค้นลายมัดหมี่อะค่ะ มีผลต่อลวดลายที่จะออกมาของผ้ามัดหมี่อย่างไรบ้างคะ เช่น ค้นลายต่อเนื่องกันตลอดผืน กับค้นแบบหมี่โฮล์อะค่ะ

ว่าแต่ ดิฉันยังไม่แน่ใจเลยค่ะว่า คำนิยามของคำว่า "ค้นด้าย" จริงๆแล้วคืออะไร..รบกวนหน่อยนะเพคะ


ขอตอบแทนเล็กน้อยๆด้วยการเอาผ้ามาฝากค่ะ
อันนี้ของสุรินทร์นะคะ เป็นผ้าลายสัตว์ต่างๆ
มี 1 repeat ของมัดหมี่ใหญ่มาก  จึงต้องมีมัดหมี่ถึง 300 ลำทีเดียว  ทำเป็นปีเลยค่ะผืนนี้
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 19:28

 นั่นสิ พูดเป็นต่อยหอยเลย สุดท้ายก็ลืมว่าค้นด้ายคืออะไรเลยผม

ค้นด้าย ก็คือการนำด้ายแต่ละเส้นมาพันกับหลักกลับไปกลับมาจากหลักที่ 1 ไปจนหลักสุดท้ายครับ เหมือนอย่างในภาพจากความเห็นที่ 12 ที่คุณปุยฝ้ายยกมา คนมัดหมี่ก็ต้องค้นด้ายจากหลักที่ 1 ไปจนหลักสุดท้ายเหมือนกัน (เรียกว่าตาปลิ้นก็คงได้ เพราะถ้าคนค้นด้ายสติไม่อยู่กับเนื้อกับตัวลายก็จะเพี้ยนไปมากทีเดียว เช่น ยีราฟในรูปของคุณปุยฝ้ายอาจจะมีคอที่จยาวเกินไป ไปชนกับขาหลังและมีท้องตีบๆได้ เนื่องจากค้นด้ายตลอดกันไปทั้งผืนไงครับ)

แต่การค้นด้ายลำละกระสวย คนทอจะทำงานได้คุณภาพดีกว่างานทอที่ค้นด้ายไปตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น นับลำที่ค้นตกๆหล่นๆไปลำสองลำ การค้นแบบทีละกระสวยจะยังสามารถทอผ้าต่อไปได้ตามปรกติ เนื่องจากลายแต่ละลำเป็นอิสระจากกันพอทอเสร็จ 1 ลำก็เด็ดด้าย 1 ทีก่อนเปลี่ยนกระสวยใหม่ไงครับ

พอนึกออกมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ม.ค. 06, 19:34

 ถ้าตอบตรงไหนไม่เคลียร์แอดมาทาง MSN ก็ได้ครับ
คืนนี้ผมคงแวะเข้าๆออกๆเรื่อยๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง