เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 31016 เพชรบุรี บนรอยทางมรดกอยุธยา (ทริปย่อย)
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:14

ศาลาการเปรียญวัดใหญ่ฯ ถือเป็นส่วนหนึ่งและเป็นชิ้นสุดท้ายที่หลงเหลือมาจาก พระบรมมหาราชวัง
ของกรุงศรีอยุธยาครับ นับเป็นสถาปัตยกรรมจากวังหลวงอยุธยาชิ้นสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบที่สุด
สันนิษฐานกันว่าเป็นท้องพระโรงหลวงหรือพระตำหนักหลวง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:16

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:18

กระจังปฏิญาณสมัยอยุธยากับกรอบหน้าต่าง โดยมีนายแบบเทียบขนาดให้ครับ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:21

ลายทองบนเสาไม้แปดเหลี่ยมของศาลาการเปรียญครับ ทำลายเป็นคู่ๆต่างกันไปทุกคู่งดงามมากครับ

อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ เคยเขียนชื่นชมในหนังสือ "จิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม" เอาไว้ว่า
       
"ลายเฟื่องกับลายที่เสาแปดเหลี่ยมคู่ในศาลาการเปรียญแห่งนี้ เป็นงานอันงามชนิดหนึ่งไม่มีเสมอสอง การเปลี่ยนลาย
แต่ละคู่เต็มไปด้วยความชาญฉลาดยิ่งนัก นับว่าเป็นความสมบูรณ์อย่างสูงสุดของศิลปะการผูกลายสมัยอยุธยา
ไม่มีสมัยใดจะรุ่งเรืองเท่า ความคิดในการยักย้ายเปลี่ยนตัวลายโดยให้อยู่ในกรอบแบบแผนของตัวลายเดิม กล่าวคือเมื่อดูผาดๆ
ทุกอย่างจะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวอยู่ในชุดแถวแนว ไม่แตกฝูงออกมาแต่ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนยักย้ายด้วยชั้นเชิง
ของผู้มีฝีมือ เชี่ยวชาญอย่างถึงขนาด..."

       


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:22

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:23

"หลังพระอุโบสถตรงแนวเดียวกัน มีการเปรียญยาว เสาแปดเหลี่ยมเขียนลายรดน้ำ ลายไม่ซ้ำกันทุกคู่
ฝากระดานปะกนข้างนอกเขียนลายทอง ข้างในเขียนลายน้ำกาว บานประตูสลักซับซ้อน ซุ้มเป็นคูหางามเสียจริง
ข้อซึ่งคิดจะเอาอย่างสร้างการเปรียญวัดราชาธิวาสก็เพราะรักการเปรียญวัดใหญ่ นี้ มีธรรมาสน์เทศน์และสังเคต
พระสวดของเก่า งามเหลือที่พรรณนา แต่คงไม่มีใครชอบ เขาเห็นบุษบกเหมือนพุ่มเข้าพรรษางามกว่าจึงได้สร้าง
ขึ้นใหม่พึ่งจะแล้ว ราคาหลายสิบชั่ง"
พระราชวิจารณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:26

ธรรมาสน์สวด(ธรรมาสน์ยาว)ของวัดใหญ่สุวรรณาราม ที่ทรงชมว่างามเหลือพรรณานั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงขอไปตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงปัจจุบันครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:31

ธรรมาสน์เทศน์ เป็นธรรมาสน์สมัยอยุธยา มีขนาดเล็กกะทัดรัด แกะไม่มีลายประณีตมากเท่ากับธรรมาสน์สวด
ดูจะเป็นงานคนละครั้งกัน ถ้ามองในสายตาผมคิดว่าเก่ากว่าธรรมาสน์สวดครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:35

แต่คุณติบอคิดว่าอาจไม่เก่าแก่ไปกว่า แต่อย่างไรก็ดีธรรมาสน์เทศน์หลังนี้ก็เคยปรากฏบันไดรูป
สัตว์ประหลาดๆ แต่หายสาบสูญไปแล้วไม่รู้อยู่ที่ไหน สามารถค้นรูปดูได้ในหนังสือวิวัฒนาการลายไทย
ของอาจานย์ น ณปากน้ำได้ครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:38

แต่ก็อย่างที่คุณติบอเคยบอกไว้ครับว่า งานช่างที่อยู่ไกลเมืองหลวงการจะคะเนอายุทำได้ไม่ง่ายนัก
แต่ถ้าจะดูรูปแบบแนวคิดของช่างแล้วนับว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะหลังนี้เป็นรูปแบบธรรมาสน์ที่
มีลักษณะเฉพาะตัวหลังหนึ่งครับ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 12:39

...


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 13:00

"ที่เพ้อพรรณนาถึงเรื่องวัดใหญ่ลงไว้นี้ เพราะเหตุที่เห็นไม่มีผู้ใดชอบฝีมือละเอียดชนิดนี้แล้ว เห็นเป็นอย่างเก่าเร่อร่าไป
คงไม่มีผู้ใดสามารถที่จะคิดปฏิสังขรณ์ จึงได้ว่าไว้เสียพอให้มีจดหมายลงไว้ ว่าของดีมีอยู่ในวัดนั้น ได้ถวายเงินไว้สำหรับ
ปฏิสังขรณ์ ๒๐ ชั่ง ครั้งก่อนก็ได้เคยออกช่วยมากๆเช่นนี้ พระวัดนี้อยู่ข้างจะถือเอาเป็นผู้อุปการะของวัดแต่จะกล่าวได้ว่า
ถ้าผู้ใดออกมาเมืองเพชรบุรี มีน้ำใจที่จะดูการช่าง ไม่ใช่เพียงแต่เที่ยวถ้ำ เที่ยวเขา จะหาที่อื่นดูให้ดีไปกว่าวัดใหญ่เป็นไม่มี"

จากพระราชหัตถเลขาในพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 13:14

ศิลปะอันงดงามของบรรพบุรุษ คือการแสดงออกทางแนวคิด อารมณ์ ความประทับใจ อุดมคติเอาไว้ในผลงานอย่างทรงคุณค่า
เป็นภาพความประทับใจที่ชนรุ่นหลังมาเรียนรู้ผ่านงานศิลปะเหล่านั้น ได้รู้ว่าเขาอยู่กันอย่างไร คิดกันอย่างไร และรู้สึกอย่างไร
มองไปเรื่อยๆก็มีมุทิตายินดีไปด้วย เลยอยากบอกว่ารักมากมาย 555


         ... Nothing and Everything ...

อ้างอิง  : http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/petchaburi7.htm
         : http://thairecent.com/Entertainment/2009/65097/


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 16:30

รอชมยังไม่จบ น่าเสียดายที่ไม่ได้ไป แต่อยากรู้ว่ารูปมันมีมากว่านี้หรือไม่ มันน่าจะมีเด็กว่านี้นะ อย่างที่วัดเกาะ ถ่ายยักษ์เหาะท่าซุปเปอร์แมนมารึเปล่า วัดกุฎิยังไม่เห็นรูปพระอุโบสถแกะสลักเลย คนอื่นที่ไปถ่ายรูปกันมาบ้างมั๊ยเอามาอวดหน่อย
บันทึกการเข้า
ohm md
มัจฉานุ
**
ตอบ: 87



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 17:02

สะพานที่คุณเนไปนั่งกินข้าวริมน้ำเพชร ร้านไรอ่ะคับ
ถ้าร้านระเบียงริมน้ำ ชื่อสะพานจอมเกล้า (ไม่มีคำว่า พระ , จริงๆนะคับ55)
อีกอันนึงชื่อสะพานลำไย หรือสะพานปู่เย็น
เอ้อ แล้วได้ไปถ่ายรูปวัดใหม่ๆตามแนวถนนหน้าตลาดมั่งหรือป่าวคับ
เช่น วัดพระทรง วัดสนามพราห์มณ์ มากมายติดกันเป็นสิบๆวัด ข้างในก้อมีธรรมาสน์หลายๆอย่าง
หลายๆแบบกันไป

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง