เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:19



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:19

แหลมทองที่คนไทยเข้ามาครอบครองอยู่นี้เป็นถิ่นน้ำท่วม ถึงปลายฤดูฝนจะมีอีกฤดูหนึ่งก่อนจะเข้าหน้าแล้ง เรียกว่าฤดูน้ำหลาก เดี๋ยวนี้เขาไม่สอนกันเสียแล้ว มีแต่เด็กที่สนใจด้านประวัติศาสตร์เท่านั้นที่พอจะทราบว่า ฤดูน้ำหลากเป็นไม้ตายของกรุงศรีอยุธยาที่ทำให้พม่าข้าศึกพ่ายแพ้ ต้องถอยทัพกลับบ้านทุกครั้ง

คนไทยสมัยก่อน จึงต้องรู้จักสร้างบ้านเมืองแปงเมืองเพื่อจะหนีน้ำในฤดูน้ำหลากได้พ้น ฝรั่งเอง เมื่อมาเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยายังสังเกตุลักษณะจำเพาะตัวของบ้านคนไทยได้ ดูจากภาพเขียนของลาลูแบร์ข้างล่าง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:21
ผมขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมเล่นกระทู้ในหัวข้อดังกล่าว เพื่อสาระบันเทิงในระหว่างรอลุ้นว่า น้ำจะท่วมกรุงเทพคราวนี้แค่ไหน
 
ข้อความข้างล่างนี้ คุณหนุ่มรัตนะเขียนลงไว้ในวิกพันทิพนานแล้ว ขอยิ้มเอามาเป็นบทนำซะเลย ส่วนวิกนี้เรามีคุณหนุ่มสยามที่ฝีไม้ลายมือจัดจ้านพอจะเปรียบมวยกันได้ ผมขออนุญาตพาดพิงให้มาช่วยชี้แจงเพื่อนสมาชิกผู้มีเกียรติในสภาแห่งนี้ต่อ อย่าให้ต้องผิดหวัง และขออนุญาตท่านประธาน ให้ท่านลงมาเล่นข้างล่างกับพวกเราด้วย

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันก็มีดังนี้

น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว

น้ำท่วมเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2362 ในรัชกาลที่ 2 ข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2374 ในรัชกาลที่ 3 คราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2402 ในรัชกาลที่ 4 และเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 อีกคราวหนึ่งแต่เสียหายไม่มาก เพียงท่วมภายนอกกำแพงพระราชวังเท่านั้น

น้ำท่วมเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 น้ำท่วมเพียงประตูพิมานไชยศรี

น้ำท่วม พ.ศ. 2460 ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้าถึงกับมีการแข่งเรือกันได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:23
น้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2485 เริ่มท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 น้ำท่วมมากกว่าปี พ.ศ.2460 เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:25
น้ำท่วม พ.ศ.2518 เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2523เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

น้ำท่วม พ.ศ. 2526 น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม โดยวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2119 มม.


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:28
น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

น้ำท่วม พ.ศ. 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม.

น้ำท่วม พ.ศ. 2537ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 - 100 ซ.ม.

น้ำท่วม พ.ศ. 2539 มีระยะเวลาท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2539 ตั้งแต่หลังปี 2539 เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ

น้ำท่วม พ.ศ. 2541 น้ำท่วมเกิดจากฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วัดน้ำฝนได้สูงสุดที่สถานีดับเพลิงพญาไท 2451 มม. จุดที่น้ำในถนนแห้งช้าที่สุดที่ถนนประชาสงเคราะห์(จากแยกดินแดงยาวตลอดสาย) เขตดินแดงท่วมสูง 20 ซม. นาน 19 ชม. โดยท่วมสูงสุดที่ถนนเพลินจิต และถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ท่วมสูง 20 - 40 ซม. นาน 11 ชม.  



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 11:33
หมดเวลารอบแรก เชิญท่านต่อไปครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 12:07
เอาข้อมูลมาเสริมค่ะ
ในปี 2493  มีน้ำท่วมทั้งกรุงเทพ และจังหวัดทางเหนือ

ภาพน้ำท่วมเชียงใหม่ (http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/picture_trails_cate.php?cate_id=16)

น้ำท่วมอุตรดิตถ์


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 12:09
น้ำท่วมกรุงเทพในพ.ศ. 2493


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 14 ต.ค. 11, 12:56
ปัญหาของน้ำท่วม มันเกิดมากอะไรลองดูภาพนี้ได้ครับ
เป็นภาพเก่าในจังหวัดลำปาง
หลวงกำจรวานิช ได้บันทึกว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2463 น้ำนองใหญ่ (น้ำแม่วังท่วมใหญ่) ไม้ซุงไหลลอยมาติดอยู่ที่สะพานรัษฎาภิเศกและติดลามขึ้นไปถึงห้างหลุยส์เลียว โนเว็น ต้านน้ำขึ้นท่วมถนนตลาดจีนและท่วมถึงคุ้มเจ้าผู้ครองนครลำปาง จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2463 น้ำจึงแห้งทำเอาถนนตลาดจีนเสียหายไปมากจนรถมาเดินไม่สะดวก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 16:31
 
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 14 ต.ค. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบกับเหตุอุทกภัย และได้รับผลกระทบด้านต่างๆ เป็นวงกว้างและภัยพิบัติยังไม่สิ้นสุด
       
       ดังนั้น อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 3 เดือน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกาศ
       
       อย่างไรก็ตาม หลังจากมีเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ไป ในบ่ายวันเดียวกัน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)ได้เดินตรวจเยี่ยมการทำงานภายใน ศปภ.โดยเฉพาะฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศปภ.ที่รายงานสถานการณ์อุทกภัย การประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยจัดทำเป็นเอกสารข่าวแจกจ่ายให้สื่อมวลชนภายในศูนย์ ศปภ. เมื่อ พล.ต.อ.ประชา เห็นข่าวที่วางแจกให้กับสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานพิจารณาดูว่าข่าวใด ยังมีปัญหา ไม่เหมาะสมหรือยังไม่ผ่านการตรวจกรองของ ศปภ.ก็ให้เก็บออกไป ซึ่งข่าวสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเตือนภัย การแจ้งภัย การให้ความช่วยเหลือกับประชาชนที่เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นจะต้องสอบถามไปยังศูนย์เพื่อให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน และเอกสารใดๆที่เป็นคำประกาศของ ศปภ.จะต้องมีลายเซ็นของ พล.ต.อ.ประชา กำกับอยู่เท่านั้น
       
       ผู้สื่อข่าวได้ซักถาม พล.ต.อ.ประชา กรณีที่มีข่าวออกจาก ศปภ.ว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเป็นกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในเขต กทม.จำนวน 17 เขต พล.ต.อ.ประชา ได้ตอบว่า ยังไม่มีเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องสอบถามไปที่ ปภ.ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร ทั้งนี้ หากเป็นเรื่องสำคัญภายใน กทม.จะต้องมีการแถลงร่วมกันระหว่าง ศปภ.กับ กทม. แต่ขณะนี้จะมีทั้งทางข่าวจาก ศปภ.และ กทม.ซึ่งประชาชนต้องฟังจากทั้งสองส่วนประกอบกับข้อเท็จจริง เบื้องต้น กทม.จะดู กทม.ชั้นใน ส่วนศปภ.จะดูภาพรวม หากมีการแถลงข่าวที่ออกมาไม่สอดคล้องกัน ข้อเท็จจริงจะเป็นตัวชี้วัดว่าอันใดถูกต้อง สำหรับการทำงานร่วมกันนั้น ยืนยันว่ามีการประสานงานกันตลอด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม.ก็ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย แต่หากวันใดไม่มา รองผู้ว่าราชการ กทม.จะมาร่วมประชุมแทน จึงถือว่าการประชุมสมบูรณ์
       
       “กรณีข่าวที่ถูกเผยแพร่ออกจาก กทม.หากไม่เป็นเรื่องจริง กทม.จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่นเดียวกับ ศปภ.หากแถลงออกไปแล้วไม่เป็นความจริงก็จะต้องรับผิดชอบเหมือนกัน”พล.ต.อ.ประชา กล่าว
       
       ต่อมาในเวลา 14.19 น. วันเดียวกัน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ ศปภ.ได้ส่งอีเมล์ถึงสื่อมวลชนเพื่อขอความร่วมมือในการยุติการเผยแพร่ข่าวแจก จาก ศปภ.เรื่องกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่17 เขต กทม.เนื่องจากเกิดความผิดพลาด


แถลงข่าวแบบนี้  ใครหนอควรหลาบจำ? 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 21:30
คุณหนุ่มสยามของผมหายไปกับน้ำเสียแล้ว

ตามสถิติที่คุณหนุ่มรัตนะเอามานำเสนอไว้นั้น จาก๒๔๘๕ ก็ข้ามมาปี ๒๕๑๘เลย อาจจะเป็นเพราะว่า ถึงฤดูน้ำหลากทีไร เมืองไทยโดยเฉพาะกรุงเทพก็ท่วมทุกปี สมัยผมเป็นเด็กอยู่โรงเรียนประจำตั้งแต่๒๕๐๐ถึง๒๕๐๗ น้ำจะท่วมสนามสักครึ่งน่องอยู่ร่วมเดือน ไม่เว้นสักปี  แต่ก็เป็นช่วงที่สนุกมาก พวกผู้ใหญ่อาจไม่สนุกเพราะน้ำท่วมถนน แต่รถก็ผ่านไปมาได้ สักเดือนหนึ่งก็หายไปเป็นปกติ จึงไม่ค่อยจะบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ นอกจากคนมีกล้องจะถ่ายไว้แล้วบันทึกปีที่ถ่าย ผมรวบรวมมาจากเน๊ตได้พอประมาณแต่ไม่หมด ถ้าท่านผู้ใดเจออีกก็กรุณาเอามาลงไว้ด้วยเป็นหลักฐานด้วย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 21:31
ไม่ทราบว่าที่ไหน แต่คล้ายๆกับรูปของท่านประธาน น่าจะเป็นที่เดียว ปีเดียวกันทั้งสี่รูป


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 21:35
ปีฉลอง๒๕พุทธศตวรรษ และไม่นานจอมพลสฤษดิ์ก็ปฏิวัติจอมพลป.


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 21:42
น้ำท่วมเชียงใหม่ เมื่อ 2493 ค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 21:43
ปี๒๕๑๔ แม่น้ำโขงน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมหัวเมืองริมน้ำทั้งหมด ที่ราบลุ่มภาคกลางก็รับน้ำฝนไว้แยะ กรุงเทพจึงน้ำท่วมถนนบางสายอยู่นับเดือน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 11, 21:48
เชียงใหม่ก็เป็นเจ้าประจำสำหรับเมืองน้ำท่วมนะครับ

ถ้าเชียงใหม่ท่วม กรุงเทพก็รอดยาก

๒๕๒๑ น้ำท่วมใหญ่ที่ลพบุรี และกรุงเทพทางฝั่งธน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 22:25
น้ำท่วมในยุค 2500 กว่าๆ  เป็นน้ำท่วมชนิดลุย   ไม่ถึงกับพาย  ในร.ร.พอถึงหน้าฝน น้ำจะท่วมถนนขึ้นมาถึงขอบสนาม  แต่สองสามวันน้ำก็ลด ถนนแห้งเหมือนเดิม    ตามถนนรถราก็ยังวิ่งลุยน้ำไปได้    คนกรุงเทพก็เลยไม่ค่อยจะรู้สึกว่าน้ำท่วมเป็นพิเศษ  จนเดือดร้อน
แต่ถ้าอย่างภาพข้างล่างนี้ เป็นท่วมชนิดพาย    มีคำบรรยายว่าเป็นบางซื่อ  แต่ไม่ทราบว่าพ.ศ.ไหน   
คิดว่าเคยลงในกระทู้่ภาพเก่าเล่าเรื่องมาแล้วค่ะ  แต่หาไม่เจอ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 22:26
ภาพนี้ท่วมชนิดพาย   ไม่ทราบพ.ศ. และสถานที่ค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 22:33
แต่ถ้าอย่างภาพข้างล่างนี้ เป็นท่วมชนิดพาย    มีคำบรรยายว่าเป็นบางซื่อ  แต่ไม่ทราบว่าพ.ศ.ไหน   
คิดว่าเคยลงในกระทู้่ภาพเก่าเล่าเรื่องมาแล้วค่ะ  แต่หาไม่เจอ

^
^
บริเวณหน้าตลาดบางซื่อ น้ำจากคลองเปรมประชากรดันขึ้นมาบนถนนหน้าตลาด ชาวบ้านเลยจำเป็นต้องใช้เรือพายแทนรถ

กำลังจะบอกว่า ไม่ใช่ปี ๒๔๘๕ หรอก แต่เป็น พฤศจิกายน ๒๕๒๑

http://www.bwfoto.net/articles/079.php


 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 11, 22:47
^
ขอบคุณ  เร็วทันใจ    ;D

ชาวกรุงเทพและปริมณฑลกำลังตื่นตระหนกกับน้ำท่วม    เราลืมกันหรือยังว่า เมื่อเดือนมีนาคม  สุราษฎร์ธานีก็เผชิญปัญหาเดียวกัน
เข้าไปดูน้ำท่วมสุราษฎร์ธานี  (http://123.242.172.2/forums/index.php?topic=2774.0) ได้ที่นี่ ค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 15 ต.ค. 11, 09:37
วิกฤตการณ์ 2012  น้ำท่วมโลก ผมนะอ่านดูมาบ่างก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่พอมาเห็นปีนี้น้ำท่วมเยอะมาก เกือบทุกจังหวัดของประเทศไทยเราเลย ความคิดที่ว่าน้ำจะท่วมโลกนั้นอาจจะมีจริงก็เป็นได้
รูปแผนที่ประเทศไทยข้างล่าง น่าจะโดนน้ำท่วมจนเหลือประเทศไทยเท่ากับแผนที่ข้างล่างนี้ก็ได้ เพราะว่าจังหวัดที่หายไปในแผนที่นั้นตอนนี้น้ำท่วมกันทุกจังหวัดเลยใช่หรือเปล่าละครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 10:28
ขอบคุณ อ.NAVARAT.C ครับที่เอ่ยถึง

เข้าไปหยิบพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ เปิดออกมาอ่านอีกครั้งเรื่อง "น้ำมากข้าวแพง"

"ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ อสนีบาตลงต้องซุ้มประตูฉนวนพระราชวังบวร ฯ และลงยอดพระมหาปราสาทพระบรมมหาราชวังวันเดียวกัน

ในเดือน ๑๒ ปีนั้น น้ำมากลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว ข้าวกล้าในท้องนาเสียหายเป็นอันมาก บังเกิดทุพภิกขภัย ข้าพแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาราษฎรทั้งหลาย

ได้ความขัดสนดวยอาหารกัดดารนัก จึงมีพระราชโองการให้กรมนาจำหน่ายข้าวเปลือกในฉางหลวงออกแจกจ่ายราษฎรเป็นอันมาก"


เดือน ๑๑ ปรากฎฟ้าผ่า ควรอยู่ช่วงมรสุมกว่ามวลน้ำจะหลากมาก็เดือน ๑๒ ระบบการไหลหลากของน้ำมาจากทุ่งทิศเหนือ ได้เร็วกว่าปัจจุบันเนื่องจากไม่มีอุปสรรค์เรื่องถนน บ้านเรือนขวางทางน้ำ และออกทะเลไปในที่สุด


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 10:51
น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร

นำข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยา อธิบายเส้นทางการเกิดพายุ จัดให้จุดสีแดงของปี ๒๕๒๑ พายุเบส (Bess) ซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นตาพายุก่อนวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๑ และเริ่มมุ่งหน้าสู่เกาะใต้หวัน แทนที่ลมจะพัดพาพายุพัดไปยังมณฑลฟูเจี้ยนของประเทศจีน ลมเหนือคงมีประสิทธิภาพแรงพอดู ผลักพายุเบสให้เลือนลงกลับทะเลจีนใต้ไปใหม่ พายุก็พยายามจะวิ่งเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่อีกระรอก ก็ถูกลมเหนือตีผลักลงมาอีกระรอกสอง จะเห็นว่าเส้นทางการเดินของพายุเบสนั้นวกวนเต็มที

สถานภาพพายุแบบนี้ทำให้ศูนย์กลางพายุได้โอบอุ้มดื่มน้ำสะสมไว้ปริมาณมากแน่นอน จะเห็นว่าพายุอยู่ในทะเลจีนใต้ถึง ๓ วัน (๙-๑๒ สิงหาคม) คงจะอิ่มกับน้ำเต็มที่แล้วก็มุ่งหน้าพัดถล่มกรุงฮานอย ของเวียตนามและตอนเหนือของประเทศไทยบางส่วนก่อนที่จะสลายตัวไป

แต่แน่นอนว่าอิทธิพลหางพายุคงปั่นป่วนบริเวณภาคอีสานไม่มากก็น้อย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 11:00
และพายุต่อมาคือ "คิท" (Kit) ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๙ กันยายน ๒๕๒๑ พายุลูกนี้คงสร้างอิทธิพลที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพได้มากพอสมควร พายุก่อตัวตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์มุ่งหน้าทะเลจีนใต้ อันเป็นที่คลาสสิกของพายุและเริ่มก่อตัว จะขึ้นเหนือหรือลงใต้ก็แล้วแต่มวลอากาศร้อนหรือมวลอากาศเย็นที่จะผลักพายุ

แต่แล้วพายุก็เลือกที่จะเข้ากรุงฮานอย เวียดนามอีกครั้งแต่แทนที่จะเลยผ่านภาคเหนือไป พายุกลับถูกเลื่อนลงมาตีนครพนม ลงโคราช พัดออกไปทางจังหวัดตาก แบบนี้ทั้งตาพายุ ทั้งหางพายุ กลงคลุมพื้นที่ประเทศไทยอย่างเต็ม ๆ ครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ต.ค. 11, 11:15
น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว

ขอบคุณ อ.NAVARAT.C ครับที่เอ่ยถึง

เข้าไปหยิบพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ เปิดออกมาอ่านอีกครั้งเรื่อง "น้ำมากข้าวแพง"

"ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ อสนีบาตลงต้องซุ้มประตูฉนวนพระราชวังบวร ฯ และลงยอดพระมหาปราสาทพระบรมมหาราชวังวันเดียวกัน

ในเดือน ๑๒ ปีนั้น น้ำมากลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว ข้าวกล้าในท้องนาเสียหายเป็นอันมาก บังเกิดทุพภิกขภัย ข้าพแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาราษฎรทั้งหลาย

ได้ความขัดสนดวยอาหารกัดดารนัก จึงมีพระราชโองการให้กรมนาจำหน่ายข้าวเปลือกในฉางหลวงออกแจกจ่ายราษฎรเป็นอันมาก"


เดือน ๑๑ ปรากฎฟ้าผ่า ควรอยู่ช่วงมรสุมกว่ามวลน้ำจะหลากมาก็เดือน ๑๒ ระบบการไหลหลากของน้ำมาจากทุ่งทิศเหนือ ได้เร็วกว่าปัจจุบันเนื่องจากไม่มีอุปสรรค์เรื่องถนน บ้านเรือนขวางทางน้ำ และออกทะเลไปในที่สุด

ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ปีแรกที่สร้างกรุงเทพฯ เรียบร้อย พอกำแพงและพระราชวังเสร็จเรียบร้อย ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่

สนามหลวงสมัยนั้น คงยังไม่ถมดินให้สูงเหมือนสมัยนี้ มีคนวัดได้ว่าระดับน้ำลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว

ในพระบรมมหาราชวัง น้ำท่วมพื้นที่่ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน น้ำลึกวัดได้ ๔ ศอก ๘ นิ้ว ถึงกับเสด็จออกขุนนางไม่ได้ ต้องเสด็จย้ายไปว่าราชการบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพราะพื้นที่สูงกว่าน้ำถึง ๕ ศอกเศษ

พวกขุนนางและพระบรมวงศานุวงศ์ต้องลอยเรือเข้าเฝ้า จอดเทียบถึงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเข้าประชุมขุนนาง

ราชสำนักยุ่งยากลำบากขนาดนี้ ราษฎรยิ่งเดือดร้อนหนักกว่า ข้าวเสียสวนจม ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพง

ปรากฏในจดหมายเหตุว่า วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ น้ำมากข้าวแพง ราคาเกวียนละ ๘๐ บาท ถึง ๑๐๐ บาท พลเมืองได้รับความอดอยาก โปรดฯให้กรมนาขนข้าวเปลือกในฉางหลวงออกจำหน่ายจ่ายแจกราษฎร

ข้าวแพงอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๙

จากบทความ "กรุงเทพน้ำท่วม" โดย กิเลน ประลองเชิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 11:25
^
พายเรือเข้าวังได้ คงไม่ผิดกฎมณเฑียรบาล  ;D ;D

มาดูพายุที่แปลกอยู่ ๑ ลูก เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๔ ก่อตัวขึ้นที่ปลายแหลมญวน เข้าอ่าวไทย ซัดเข้ากรุงเทพ ฯ เต็ม ๆ เพียง ๓ วันเท่านั้น  ::)

ใคร่สนใจดูข้อมูลข้อมูลพายุหมุนเขตร้อน ๒๔๙๔ - ๒๕๕๓ ในคาบ ๖๐ ปีครับ (http://www.tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Ccyclones%5CTC_track_60y.pdf)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ต.ค. 11, 11:32
น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2374 ในรัชกาลที่ 3 คราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

ในรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๗๔ นั้น เกิดน้ำท่วมมากกว่าในรัชกาลที่ ๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า

ในปีเถาะนั้น...ปีนั้นน้ำมาก ทั่วพระราชอาณาจักร มากกว่าปีมะเส็งสัปตศก (พ.ศ.๒๓๒๘) แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คืบ ๑ บางคนก็สังเกตว่าที่หน้าพื้นวัดพนางเชิง (วัดพนัญเชิง) น้ำพอเปี่ยมตลิ่ง ไม่ท่วมขึ้นไปบนลานหน้าพระวิหาร ว่าเสมอกันกับน้ำปีมะเส็ง และประเทศทั้งพม่าทั้งญวนได้ข่าวว่ามากเหมือนกัน น้ำครั้งนั้นจะไปข้างไหนก็ลัดไปได้ ในกำแพงพระนครก็ต้องไปด้วยเรือ เล่นผ้าป่า มีเรือผ้าป่าตามธรรมเนียมสนุกมาก ข้าวปีนั้นน้ำท่วมเสีย ๖ ส่วนได้ ๔ ส่วน ราษฎรซื้อขายกันข้าวนาทุ่งเกวียนละ ๕ ตำลึงบ้าง เกวียนละ ๖ ตำลึงบ้าง เกวียนละ ๗ ตำลึงบ้าง ข้าวสารถังละ ๖ สลึง ๗ สลึง

อีก ๑๓ ปีต่อมา พ.ศ.๒๓๘๗ ในรัชกาลที่ ๓ นี้ เกิดข้าวแพงอยู่ ๕ วัน เพราะข้าวเก่าหมด ครั้งนี้ถึงเกวียนละ ๑ ชั่ง ปรากฏว่าข้าวแพงปี พ.ศ.๒๓๘๗ นี้ แพงชนิดราษฎรยากจนไม่มีเงินจะซื้อข้าว ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า ข้าวกำลังแพงอยู่นั้น โปรดให้จ่ายข้าวในฉางหลวงออกมาขายให้ราษฎรที่ยากจนถังละ ๑ สลึง

จากบทความเรื่อง เวียงรัตนโกสินทร์ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๗๓๖  ปีที่ ๕๓ ประจำวันอังคารที่ ๒๗  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 11, 11:40
^
แต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้หน้าวัดพนัญเชิง น้ำท่วมพ้นตลิ่งเมตรกว่า ๆ ถ้าไม่กั้นกระสอบทรายคงท่วมเข้าถึงพระวิหาร  ::)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 11:50
ขอบคุณทุกท่านมากเลยครับ

ข้อมูลของแต่ละท่านนั้น บอกได้คำเดียวว่า ไม่ผิดหวัง ๆ
(อ้าว บอกไปตั้ง๓คำ ถึง๒ที)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:32
ผมจะเข้าประเด็นที่ว่าคนไทยไม่เคยหลาบจำ โดยขอย้อนไปที่ความเห็นของคุณตั้ง ซึ่งเขียนไว้ในกระทู้ข้างเคียง และได้จุดต่อมความอยากที่จะคิดดังๆของผมออกมา

อ้างถึง
วิชาการนี้เรียกว่า Geomorphology ว่าด้วยเรื่องของสภาพภูมิประเทศและกระบวนการทางธรรมชาติที่ไปทำให้เกิดสภาพเช่นนั้น

ภูมิประเทศที่เราเห็นทั้งหลายนั้นเกือบทั้งหมดเกิดมาจากผลของการผุพัง (Weathering) การกัดกร่อน (Erosion) การทับถมของดินและหิน (Deposition) ที่เกิดบนพื้นผิวโลกทั้งบนดิน ใต้แอ่งน้ำและท้องทะเลมหาสมุทร และพลังงานต่างๆที่ยังสะสมอยู่ภายในโลกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน และรอยเลื่อนต่างๆ อันเป็นผลทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ

ตัวการที่ทำให้เกิดภูมิประเทศต่างๆและผลดังกล่าวนี้ ได้แก่ ลม น้ำ น้ำทะเล น้ำแข็ง และพลังงานในรูปแบบต่างๆของโลกที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่โลกกำเนิดมา (เช่น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ภูเขาไฟ ฯลฯ)

ความจริงพื้นฐานก็คือ พื้นผิวของผิวโลกในส่วนที่สูงจะถูกทำให้ต่ำลง ในขณะที่พื้นผิวบริเวณที่ต่ำจะเป็นแ่อ่งรับตะกอนสะสมให้สูงขึ้น จนในสุดท้าย ทั้งพื้นที่สูงและพื้นที่ต่ำปรับลงมาอยู่ในระดับเดียวกัน (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นได้เลยในโลก เพราะพลังงานภายในโลกได้ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวและทรุดตัวตลอดเวลา)

จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องของน้ำจืดที่ใหลอยู่บนผิวโลกเหนือพื้นดิน (Fluvial) และกระบวนการทำลายและการสร้างของมันเท่านั้นครับ

ตัดตอนอย่างสั้นๆ - น้ำฝนที่ตกลงมาในป่าเขาซึ่งเป็นพื้นที่สูง บางส่วนจะถูกดูดซึมลงใต้ดิน ส่วนที่ถูกดูดซึมไม่ทันก็จะไหลอยู่บนผิวดินลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า พร้อมอุ้มเอาดินทรายลงมาด้วย ดินทรายที่ถูกน้ำอุ้มนำพาลงมาด้วยนี้ก็เหมือนกระดาษทราย ขัดถูกัดกร่อนก้อนหินและเม็ดดินทรายอื่นๆ เมื่อน้ำอุ้มดินทรายไว้มาก ก็ขุ่นข้น ทำให้เนื้อของมวลน้ำนั้นมีมวลแน่นขึ้น ก็สามารถจะอุ้มดินทรายได้ก้อนใหญ่ขึ้น การกัดเซาะของน้ำในพื้นที่ลาดลันสูงนี้เป็นลักษณะในทางลึก บริเวณต้นห้วยหรือต้นลำน้ำต่างๆจึงมีลักษณะเป็นร่องลึก
น้ำที่ซึบซับลงดินนั้น หากมีมากเกินระดับหนึ่ง ก็จะทำให้ความสามารถในการยึดตัวของเม็ดดินลดลง เหมือกับเราเอาน้ำเทลงดิน หากไม่มากนัก ดินนั้นเราก็จะสามารถปั้นได้ แต่หากมากจนเกินไปก็จะกลายเป็นโคลน และมากไปมากๆก็จะกลายเป็นเลนเละๆ เป็นจุดเริ่มของดินโคลนถล่ม

ตัดตอนลงมาสู่ที่ราบ - การกัดกร่อนในทางลึกลดลงไปแต่ไปเพิ่มการกัดกร่อนในทางราบ ทางน้ำหรือแม่น้ำในพื้นที่ราบจึงคดโค้งและแกว่งตัวไปมา เมื่อน้ำมากเกินกว่าความสามารถของร่องน้ำจะนำพาลงไปสู่ที่ต่ำกว่าได้ทัน น้ำก็จะท่วมล้นฝั่ง แผ่ออกไปด้านข้าง เกิดเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง (Floodplain)

เริ่มเข้าประเด็นที่อยากจะเล่าตั้งแต่จุดนี้ไป ครับ

เมื่อน้ำล้นร่องน้ำไหลออกไปทางด้านข้าง ก็จะทำให้เกิดภูมิประเทศที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะ คือ อันแรก สันคันคลองตามธรรมชาติ (Natural levee) อันที่สอง ร่องแยกบนสันคันคลองนี้ (Cleavage) จนขยายกลายคลองธรรมชาติ (Channel) เชื่อมกับทางน้ำหลัก และอันที่สาม พื้นที่น้ำท่วม (Swamp)

สันคันคลองตามธรรมชาตินั้นปรากฎให้เห็นทั้งสองฝั่งตลอดแนวแม่น้ำตามธรรมชาติที่ไหลอยู่ในพื้นที่ราบ เกิดจากตะกอนดินทรายที่แม่น้ำพัดพามา เมื่อน้ำในแม่น้ำมากและไหลแรง มวลน้ำจะมีความสามารถในการอุ้มเม็ดดินทรายได้มากและก้อนใหญ่ (น้ำหนักมาก) เมื่อความเร็วของน้ำลดลงตะกอนดินทรายที่ก้อนใหญ่หรือมีน้ำหนักมากก็จะตกลงเป็นตะกอน สันคันคลองตามธรรมชาติก็เกิดจากกระบวนการนี้ คือ ในร่องน้ำ น้ำไหลแรง พอเอ่อล้นตลิ่ง ความเร็วของการไหลลดลง ตะกอนก็ตก
ดังนั้น สันคันคลองธรรมชาติจึงเป็นพื้นที่สูง เนื่องจากมีตะกอนดินทรายมาทับถมพอกพูนทุกครั้งที่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง

ร่องแยกบนสันคันคลองที่กลายเป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำ ร่องนี้คือร่องระบายน้ำจากแม่น้ำเมื่อน้ำเอ่อไหลท่วมสันคันคลอง น้ำจะเซาะทำให้เกิดเป็นทางน้ำไหลเป็นร่องที่ขยายกว้างขึ้นเรื่อบๆเพื่อนาพาน้ำลงสู่ที่ต่ำด้านหลังของสันคันคลอง ร่องน้ำนี้อาจจะมีสันคันคลองธรรมชาติได้แต่ไม่เด่นชัด

พื้นที่น้ำท่วม คือพื้นที่รับน้ำทีเอ่อล้นตลิ่ง เป็นที่ลุ่มมาก ชุมชื้นหรือชื้นแฉะมากกว่าพื้นที่ทั่วไป มีลำรางตามธรรมชาติอยู่มาก พื้นดินเป็นดินเนื้อละเอียดและอ่อน พื้นที่นี้อยู่ระดับต่ำกว่าสันคันคลองธรรมชาติ และในหลายกรณี ระดับอาจจะต่ำกว่าระดับท้องแม่น้ำก็ได้

คนโบราณเขาเลือกตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานอยู่บริเวณที่เป็นสันคันคลองตามธรรมชาติ บ้านเรือนเป็นแบบพื้นสูงให้น้ำที่เอ่อล้นรอดใต้ถุนไปได้ ปลูกไม้ยืนต้นในบริเวณนี้ ช่องต่อระหว่างสันคันคลองนี้กับพื้นที่น้ำท่วมก็ทำไร่ทำสวน พอลงไปในบริเวณพื้นที่น้ำท่วมก็ทำนา ไม่ปลูกบ้านอาศัย มีแต่เขียงนาเพื่อพักชั่วคราว

ปัจจุบัน เราไปปลูกบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมในที่ใช้ทำนา แถมยังปลูกบ้านติดพื้นดินอีก ไปพัฒนาเป็นพื้นที่นาให้เป็นสนามกอล์ฟและโรงงานอุตสาหกรรม เอาพื้นที่บนสันคันคลองไปทำถนน เอาร่องน้ำที่ธรรมชาติใช้ระบายน้ำเอ่อล้นกลับทิศทางเป็นทางระบายน้ำออกจากที่ต่ำ รวมทั้งขุดดินฝังท่อระบายน้ำโดยกำหนดระยะลึกจากผิวดินแทนที่จะกำหนดระยะลึกใ้ห้เสมอหรือลาดเอียงไปสู่ระดับน้ำในแม่น้ำ กลับทิศกันหมดเลย

การขยายเมืองขยายพื้นที่ชุมชนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทำย้อนธรรมชาติได้ตราบใดที่เราเข้าใจลักษณะของมัน และไม่ไปฝืนธรรมชาติมากจนเกินไป ทั้งหมดจะต้องพัฒนาไปบนหลักการของ Living in harmony with nature ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการสรรสร้างธรรมชาติรอบตัวให้สวยงามและดูเป็นธรรมชาติ แต่เป็นเรื่องของการอยู่อย่างเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติ และเมื่อเราหลีกไม่พ้นที่จะต้องอยู่ในสภาพนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องคำนึงถึง 4 เรื่อง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือรัฐ) คือ
เรื่องแรก คือ การจัดการล่วงหน้าเพื่อจะบรรเทาภัยและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น (Mitigation) เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ต้องเกิดเป็นปกติ ห้ามมันมิได้
เรื่องที่สอง คือ การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับมันหรือแก้ไขมันเมื่อมันเกิดเรื่องขึ้นมา (Preparedness) อันนี้เป็นเรื่องของพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ
เรื่องที่สาม คือ ความพร้อมที่จะผจญกับมันในทั้นทีเมื่อเกิดเหตุ (Response) อันนี้เป็นเรื่องทางใจ คือ พร้อมสู้และกระโจนเข้าแก้ไขทั้งส่วนยุคคลและส่วนรวม
ซึ่งหมายโดยเฉพาะถึงการทำให้ตนเองและผู้อื่นมีชีวิตอยู่ ไม่ตายหรือเจ็บไปตั้งแต่แรก และอยู่รอดตลอดช่วงของเหตุการณ์
และเรื่องที่สี่ คือ การกู้ภัย การกู้ความเสียหาย และการเยียวยาหลังจากการเกิดเหตุ (Salvation and Remedy)

ภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คงเห็นด้วยกันว่า เกือบทั้งหมด รัฐไปเตรียมการอยู่ในเรื่องที่สี่

ผมจะยังไม่ไปถึงบันได๔ขั้นของคุณตั้ง แต่จะย้อนไปขยายต้นเหตุวิบัติ ตั้งแต่เรื่องErosion หรือดินกร่อน ที่ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากน้ำ โดยเฉพาะฝน จะกร่อนด้วยลมบ้างก็เป็นส่วนน้อย

ในธรรมชาตินั้น ดินกร่อน เป็นเหตุนำให้เกิด ดินพัง Landslide แล้วดินก็จะละลายลงมาเป็นตะกอน Silt ใหลไปยังต้นน้ำลำธาร ออกสู่แม่น้ำและทะเลตามลำดับ ดินตะกอน Sediment ที่ละลายลงจากภูเขานี้ จะไปทับถมอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชนกับทะเล เกิดเป็นสันดอนขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปร้อยปี พันปี หมื่นปี สันดอนก็ทับทมสูงขึ้นกลายเป็นแผ่นดิน ว่ากันว่าสุวรรณภูมิเมื่อสองพันปีที่แล้ว สมัยที่คนอินเดียนั่งเรือมาขึ้นฝั่งเพื่อแผยแผ่อารยธรรมสมัยทวาราวดีนั้น นครปฐมยังเป็นทะเลอยู่เลย ผมเคยไปดูเขาขุดบ่อดินขายแถวหัวหมาก ลึกลงไปแค่ยี่สิบเมตรก็เจอเปลือกหอยแครงเต็มไปหมด ไม่ต้องสงสัยว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน

เริ่มต้นอย่างนี้เพื่อจะได้ไม่สงสัยว่า ชาวบ้านชาวเมืองที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางจะชาชินกับสภาพน้ำท่วมขนาดไหน และอย่างไร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:35
สมัยก่อนที่ความเจริญจะมาถึง เอาเป็นว่าสมัยอยุธยาก็แล้วกัน ตอนนั้นก็ยังไม่มีใครไปยุ่งกับป่ามากนัก ฝนมันก็ตกของมันอย่างนี้ น้ำก็ท่วมตามฤดูน้ำหลากทุกปี จะมากบ้างน้อยบ้างก็สุดแล้วแต่ ถ้าตกมากป่าอุ้มน้ำไว้หนักเกินกำลัง ก็พังลงมาดังที่มันเคยพังมาหมื่นชาติล้านชาติแล้ว
 
ดังนั้นอย่าคิดว่าน้ำท่วมเพราะป่าถูกทำลาย บางเวปมีการแสดงความเห็นว่าควรจะไล่คนลงจากภูเขาแล้วปลูกป่ากลับเข้าไปแทน ป่าจะได้ซับน้ำไว้ ทำให้น้ำไม่ท่วมเมืองอีก ซึ่งผิดประเด็นและไม่มีทางเป็นไปได้ ถึงป่าทึบยังไงก็รับปริมาณน้ำฝนมหาศาลของภูมิภาคส่วนนี้ของโลกไว้ไม่ได้ ต้องปล่อยลงมาหรือไม่ก็พังลงมาอยู่ดีครับ แต่…..มันมีแต่ ต้องขอเชิญติดตามกันต่อไป


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:36
พอความเจริญ อันหมายถึงจำนวนประชาชนมากขึ้น อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือทำงานทดแทนแรงงานได้รวดเร็วตกเข้ามาถึง คนก็เริ่มรุกรานป่า พอป่าในที่ราบหมด ก็ขึ้นไปบุกเบิกป่าบนภูเขาต่อ  กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ไปทำกันก็เป็นด้านเกษตร  จะเป็นบ้านเรือนหรือสถานที่ท่องเที่ยวก็นับว่ากระจ๊อยมาก ถ้านับไร่ต่อไร่แล้วไม่ถึง๕%ซะละมั้ง
การบุกเบิกของมนุษย์ เรื่มต้นที่การทำลายหน้าดิน ปกติดินที่มีพืชคลุมดินขึ้นอยู่ พืชจะเป็นตัวที่ป้องกันมิให้ดินถูกกัดกร่อนโดยน้ำฝน เมื่อถากถางเอาพืชดั้งเดิมที่ติดดินอยู่ออกเพื่อจะปลูกพืชตัวใหม่ที่คนกินได้หรือใช้ประโยชน์ได้  จะเกิดภาวะดินเปลือยขึ้นช่วงหนึ่งที่เป็นอันตรายยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม

รูปข้างล่างบอกว่า น้ำฝนแต่ละเม็ดที่ตกจากฟ้า ขณะกระทบผิวดินมีความเร็ว๖๐กม.ต่อชั่วโมง ถ้าไม่โดนใบไม้ปะทะไว้ก่อน หน้าดินจะฟุ้งกระจายออกมาเป็นฝุ่น ผสมปนเปลงไปในน้ำ ถ้าตะกอนดินเหล่านี้ไม่ค้างอยุ่กับหญ้า ก็จะไหลตามน้ำลงลำธารต่อไป


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:39
น้ำที่ไหลบ่าไปบนดินเปลือย ก็จะกัดกร่อนดินไปเรื่อย การกัดกร่อนนี้อาจารย์ฝรั่งแบ่งออกไว้เป็น๓ระดับคือ

Sheet Erosion หมายถึงกัดกร่อนแบบลอกผิวดินเป็นแผ่น

Rill Erosion  หมายถึงกัดเซาะลงมาเป็นร่องแล้ว

และ

Gully Erosion หมายถึงการกันเซาะทำลายขนาดเป็นหลุมเป็นหุบ ถ้าไม่หยุด จะขยายความรุนแรงเป็นดินถล่ม Landslide ต่อไป
 

นี่เป็นดินถล่ม Landslideประเภทต่างๆ ผมจะไม่ลงลึกละ ใครสนใจก็เอาศัพท์ในนี้ไปค้นกันเอง



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:41
Sheet Erosion หมายถึงกัดกร่อนแบบลอกผิวดินเป็นแผ่น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:42
Rill Erosion  หมายถึงกัดเซาะลงมาเป็นร่องแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:43
Gully Erosion หมายถึงการกันเซาะทำลายขนาดเป็นหลุมเป็นหุบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:45
Gully Erosion แบบน้องๆของ Landslide


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 17:55
มาขึ้นไปดูบนภูเขากัน เรามีพื้นที่การเกษตรที่มีปัญหาดินชะล้างอยู่ ๑๐๘.๘๗ ล้านไร่ ตามข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:00
พืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกเช่นข้าวโพด สับปะรด มันสำปะหลังเป็นต้น ทุกปีเมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ชาวไร่ก็จะทำการพรวนดิน โดยไม่เคยมีจิตสำนึกในเรื่องของตะกอนดินที่จะไหลไปกับน้ำฝน ซึ่งนอกจะพาโอชะของหน้าดินไปแล้ว ยังจะไปสร้างความวิบัติแก่สิ่งแวดล้อมที่อยู่ระดับต่ำกว่าด้วย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:06
หน้าดินที่ถูกพรวนขึ้นมา โดนน้ำก็กลายสภาพเป็นของเหลว ตรงไหนต่ำกว่าก็ไหลไปตรงนั้นตามธรรมชาติของมัน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:13
ส่วนใหญ่จากร่องน้ำ ก็ไปลำธาร เมืองไทยเดี๋ยวนี้พอถึงฤดูฝน จะหาลำธารน้ำใสยากยิ่งนักแล้ว จะใสก็เฉพาะที่ไหลออกมาจากเขตอุทยานแห่งชาติจริงๆ
และการที่น้ำในลำธารเหล่านั้นใส ก็เป็นหลักฐาน สมัยโบราณ น้ำหลากที่ไหลท่วมบ้านท่วมเมือง จะมิได้ขุ่นข้นเช่นยุคปัจจุบันอันทันสมัย(แต่ไร้กฏหมายที่จะควบคุม)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:26
เมื่อเข้าหน้าแล้ง ลำธารส่วนใหญ่ก็จะตื้นเขินจากตะกอนหนักที่ยังไม่ได้ไหลไปกับน้ำ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:29
แม้คลองขนาดใหญ่ที่เคยรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกชุกในอดีตได้ ก็กลายเป็นร่องน้ำเล็กๆ ที่เหลือเป็นตะกอนดินจากภูเขา เพียงฝนต้นฤดูปริมาณเล็กน้อย น้ำก็เอ่อล้นตลิ่งเสียแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:35
เมื่อใดปริมาณน้ำฝนถึงขนาด ตะกอนที่หมักหมมในลำธารบนภูเขาก็เหมือนฝายแตก มวลน้ำโคลนไหลกระแทกกันมาเป็นช่วงๆ จนเป็นปริมาณน้ำโคลนมหึมาโถมเข้าใส่หมู่บ้าน

เราคงสังเกตุได้ว่า น้ำท่วมทางชนบทภาคเหนือสมัยหลังๆนี้ จะเป็นน้ำโคลน แม้ว่าจะไม่ปรากฏว่ามีLandslideก็ตาม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 18:48
ยังไม่จบครับ แต่ขอพักยกก่อน

เดี๋ยวจะมาต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ต.ค. 11, 19:31
เข้ามาเพื่อบอกว่าตามฟังอยู่ครับ

คุณ NAVARAT_C กล่าวว่า

  ......ว่ากันว่าสุวรรณภูมิเมื่อสองพันปีที่แล้ว สมัยที่คนอินเดียนั่งเรือมาขึ้นฝั่งเพื่อแผยแผ่อารยธรรมสมัยทวาราวดีนั้น นครปฐมยังเป็นทะเลอยู่เลย ผมเคยไปดูเขาขุดบ่อดินขายแถวหัวหมาก ลึกลงไปแค่ยี่สิบเมตรก็เจอเปลือกหอยแครงเต็มไปหมด ไม่ต้องสงสัยว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน.....

ขอให้ข้อมูลสนับสนุนครับ
จากการเอาเปลือกหอยนางรมที่เจดีย์หอยที่ปทุมธานีไปตรวจหาอายุ (ด้วย Carbon 14) พบว่ามีอายุประมาณ 2350+/- ปี (ถ้าจำตัวเลขไม่ผิดนะครับ) ก็ยืนยันว่าแถวปทุมธานีเป็นปากอ่าว หอยนางรมไม่เกิดอยู่ในทะเลโคลน แถมที่พบก็เป็นหอยตัวใหญ่ ก็แสดงต่อไปว่าบริเวณนี้ต้องมีน้ำใส น้ำทะเลไหลหมุนเวียนดี จึงมีอาหารดี หอยจึงตัวใหญ่
แนวปากอ่าวจะเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ แต่แหล่งทรายที่ขุดเอามาถมที่แทบจะทั้งกรุงเทพฯที่จากแหล่งในเขต จ.นครปฐมนั้น แม้ว่าแหล่งทรายส่วนมากจะเป็นทรายที่แสดงว่ามาจากแม่น้ำ แต่หลายๆแหล่งเมื่อขุดลงไปจะพบว่าเป็นทรายน้ำเค็ม และในแหล่งทรายน้ำจืดเหล่านั้นก็พบซากกระดูกของสัตว์น้ำจืดหลายชนิด โดยเฉพาะพวกสัตว์ฟันแทะ  

ซึ่งเมื่อเอาข้อมูลจากการเจาะน้ำบาดาลมาผนวกด้วย ก็พบว่ามีรอยต่อระหว่างบริเวณตัว จ.นครปฐม กับ อ.สามพราน ในลักษณะภูมิประเทศที่เป็นขอบแอ่ง
และเมื่อเอาข้อมูลสมอเรือที่พบแถวๆพระปฐมเจดีย์มาผนวกอีกด้วย ก็ให้ภาพว่า คงจะต้องเป็นชายฝั่งทะเลเก่า
เมื่อเอาสองข้อมูลนี้มาผนวกกัน ก็ยืนยันว่าปากอ่าวไทยด้านตะวันตกนั้นอยู่แถวๆนครปฐม ส่วนกลางลึกเข้าไปก็อยู่แถวๆ อ.สามโคก ของปทุมธานี

ทรายที่มาทับถมกันจนเป็นแหล่งทรายต่างๆนั้น เชื่อกันว่าเป็นทรายของแม่น้ำด้านตะวันตก ซึ่งบ่งชี้ได้ในหลายนัย คือ Erosion ของป่าด้านตะวันตกนั้นต้องค่อนข้างจะรุนแรง หรือแม่น้ำค่อนข้างจะสั้น หรือคลื่นลมในบริเวณปากอ่างค่อนข้างจะแรง

  
 

 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 19:52
^
มันเคยเป็นทะเลมาแล้ว วันหนึ่งหากจะกลับเป็นทะเลอีก มันจะแปลกยังไง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 ต.ค. 11, 20:20
 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 20:56
ตะกอนที่มากับน้ำทางเหนือและทางอิสานนี่ น่าเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งคือ มันจะมาตกคลั่กอยู่ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้ปริมาตรความจุของเขื่อนต้องสูญเสียไป มิอาจกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้เต็มตามที่หวัง ได้ยินว่าเขื่อนภูมิพลที่สร้างมานานประมาณห้าสิบปีแล้ว จะมีตะกอนอยู่ใต้อ่างกว่า๓๐% การเก็บน้ำหรือการปล่อยน้ำของเขื่นก็มีผลต่อสภาวะน้ำท่วมของที่ราบลุ่มของภาคกลางโดยตรง

เขื่อนเล็กๆบางแห่งในหน้าแล้ง น้ำจะแห้งขอดแลไปเห็นแต่ตะกอนโผล่ทั่ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:00
อีกภาคหนึ่งที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำมากก็คือการก่อสร้าง ไม่ว่าจะบนภูเขาหรือในที่ราบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:07
ดินที่ถูกกัดเซาะ ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอาจจะไม่สนใจ หากเขายังไม่เดือดร้อนว่าดินจะถล่มลงมาทำให้เขาเสียหาย แต่ดินที่ละลายเพราะถูกน้ำกัดเซาะและพาไปนั้น จะออกไปทำความเสียหายแต่ประชาคมโดยรวม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:13
น้ำโคลนจากสถานที่ก่อสร้าง ก็จะระบายลงท่อน้ำสาธารณะ และทำให้ท่ออุดตัน ระบายน้ำไม่ทันยามฝนตกหนัก ผลคือน้ำท่วม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:16
ถนน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:25
แม้แต่การก่อสร้างของภาคราชการ ก็มิเคยคำนึงถึงน้ำดินน้ำโคลนที่จะลงไปสู่ลำน้ำ ดังเช่นการก่อสร้างสพานทั้งหลายเป็นต้น เรื่องอย่างนี้ ประเทศที่เจริญปัญญาแล้วเขาจะยอมไม่ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:35
ตะกอนดินที่ขวางห้วยหนองคลองบึงที่เคยเป็นที่ระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก ถ้ามีพลังมากกว่าน้ำก็ทำให้น้ำท้นขึ้นฝั่งขึ้นไปท่วมบ้านเรือน แต่ถ้าน้ำมีพลังมากกว่า ก็จะดันตะกอนออกไปยังแม่น้ำ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:37
แม่น้ำเจ้าพระยา ในต่างฤดูกาล


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:40
หลังจากแม่น้ำแล้ว น้ำโคลนเหล่านี้ไปไหน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ต.ค. 11, 21:45
บางทีคุณตั้งอาจจะบอกได้ว่า ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ปากน้ำชายทะเลอ่าวไทยสันดอนงอกออกไปเท่าไร และมีผลต่อระบบนิเวศน์ไหม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 09:02
ผมอยากจะสรุปเสียตอนนี้ทีหนึ่งก่อนว่า ภาคเหนือและภาคอิสาน น้ำท่วมในปัจจุบันจะรุนแรงกว่าสมัยโบราณเพราะเป็นน้ำโคลนที่ทะลักลงมาเหมือนฝายแตก โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมพืชไร่เป็นต้นเหตุเกือบจะร้อยละร้อย หลังจากทำให้บ้านเรือนเสียหายไปแล้ว น้ำสีแดงเข้มนี้จะไหลลงมาที่เขื่อน  ส่วนหนึ่งตกตะกอน สร้างปัญหาให้กับเขื่อนต่อ อีกส่วนหนึ่งที่มิได้ตกตะกอนหรืออยู่ใกล้ท่อระบายตะกอน ก็ออกไปตามแม่น้ำ

เกษตรกรรมบนพื้นที่ราบไม่ค่อยจะเป็นปัญหาแม้ว่าจะพรวนดินทุกปีเหมือนกัน แต่ตะกอนไม่ค่อยได้ไหลออกไปกับน้ำเนื่องจากถูกคันนา หรือคันดิน ท้องร่องสวนเป็นตัวกั้นไว้

ถ้าไร่บนภูเขาจะทำคันกั้นน้ำในลักษณะเดียวกัน ก็จะสามารถกักเก็บตะกอนได้ส่วนใหญ่ทีเดียว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 09:11
ของแถม

http://www.xzyte360.com/cmflood/


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 17:58
ส่วนข้อสรุปตอนแรกของโครงการก่อสร้างทั้งหลายที่ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมก็คือ การไม่มีกฏหมายที่มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพมาควบคุมมิให้น้ำตะกอนหรือน้ำโคลน ไหลจากพื้นที่ก่อสร้างลงไปในท่อระบายน้ำสาธารณะ หรือคู คลอง ที่อยู่ข้างเคียงต่างๆ

เพราะเมื่อฝนหนักมา น้ำระบายไม่ได้ก็จะท่วมชุมชนนั้นทันที แม้เจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก่อสร้างจะไม่เดือนร้อน แต่สาธารณะชนเดือดร้อน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 18:09
ในประเทศที่เขาเอาใจใส่ ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา เขามีกฏหมายหลายระดับเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำ และควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ให้มักง่าย ไปละเมิดปกติสุขของผู้อื่น

ประเทศไทยไม่มีกฏหมายที่ควบคุมเรื่องดังกล่าวโดยตรง แต่มีกฏหมายโบราณอยู่สองสามฉบับที่อาจจะนำมาต่อยอดได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 18:21
กฎหมายของอเมริกาให้อำนาจแก่รัฐต่างๆ ในการควบคุมตะกอนดินที่ละลายออกมาจากการหน้าดินที่ถูกเปิดออกเพื่อการก่อสร้าง และถูกน้ำฝนกัดกร่อน มิให้มิให้ไหลออกจากพื้นที่ของโครงการ มารังควานความสงบสุขของชาวบ้านข้างเคียง

แต่ละท้องถิ่นจะเริ่มต้นใช้บังคับทุกโครงการก่อสร้างที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑ เอเคอร์(๒.๕ไร่)ขึ้นไป
โดยผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับผิดชอบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 18:29
รัฐจะมีหนังสือคู่มือแนะนำการปฏิบัติให้ผู้รับเหมาเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แล้วยื่นแบบแผนผังว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ให้องค์การท้องถิ่นอนุมัติ

ถ้าผู้ตรวจสอบมาเจอว่าผู้รับเหมามิได้ปฏิบัติ และทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน จะโดนลงโทษรรุนแรง และไม่ละเว้น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 18:42
โทษปรับ เรื่มต้นที่ $๒๗๕๐๐ ต่อวัน คิดเป็นเงินบาท ง่ายๆเหรียญละ๓๐บาท ก็เท่ากับ ๘๒๕,๐๐๐.๐๐ บาท(แปดแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ครับพี่น้อง

ถ้าปล่อยออกมา๑๐วันก็คูณสิบเข้าไป ปล่อย ๓๗วันก็คูณสามสิบเจ็ด
นี่ยังไม่รวมออฟชั่นอย่างอื่น เช่นค่าเสียหายที่เกิดขึ้น  ประเภทค่าล้างท่อ ค่าขุดลอกคลองฯลฯ อ่วมแน่พระเดชพระคุณท่าน

เห็นไหมครับว่า เขามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียสขนาดไหน


อ้อ NPDES ย่อมาจาก National Pollutant Discharge Elimination System ครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 11, 21:14
มาคั่นโปรแกรม ก่อนเจ้าของกระทู้จะกลับมาเอาพื้นที่คืน
ไม่มีความรู้เรื่องตะกอนและหน้าดินถูกกัดกร่อนค่ะ   แต่กำลังนึกถึงคันกั้นน้ำ   นวนครจะไปจะอยู่ก็รู้กันคืนนี้ละ  ใจหายใจคว่ำแทน   
มองเห็นคันดินที่เราสร้างกันขึ้นมาแบบชั่วคราวแล้ว  นึกถึงคันกั้นน้ำในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างเนเธอร์แลนด์     ต่อไปเราเห็นจะต้องทำถาวรกันเสียละมัง

เนินหญ้าหลังบ้านชาวสามหลังนี้คือคันกั้นน้ำ   ด้านหลังเนินหญ้าคือทะเลที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 11, 21:21
คันกั้นน้ำ  หรือ dike/dyke  แบบต่างๆ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 11, 21:24
 :D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ต.ค. 11, 21:36
คนไทยที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มสมัยก่อน รู้จักสร้างคันกันน้ำรอบชุมชนเมืองอยู่แล้วครับ ลองพิจารณาภาพถ่ายทางอากาศของชุมชนเมืองเหล่านี้ ทำไมเขาทำกำแพงดินเป็นรูปวงรี ก็เพราะกำแพงโค้งจะรับแรงได้มากกว่ากำแพงตรงๆเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม

กำแพงดินโค้งๆเป็นวงรอบเหล่านี้ ใช้สำหรับต้านทานข้าศึกที่เป็นน้ำครับ ไม่ใช่คน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ต.ค. 11, 21:38
คันกั้นน้ำชั่วคราว ซึ่งน่าจะเอามาใช้ในเมืองไทยได้

ผลิตภัณฑ์ของ Hydrological Solutions จากสหรัฐอเมริกา ใช้มวลของน้ำช่วยลดแรงปะทะของกระแสน้ำท่วม เกิดการยืดหยุ่นไม่ปะทะรุนแรงจนพนังดินแตกเหมือนบ้านเรา

(http://www.hydrologicalsolutions.com/files/images/hydrobaffle.jpg)

(http://www.hydrologicalsolutions.com/files/images/AB/projects/dredging1Big.jpg)

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 09:13
aqua  barrier น่าจะใช้สะดวกและได้ผลดีกว่ากระสอบทราย   


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 09:14
 :)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 09:19
อ้างถึง
มาคั่นโปรแกรม ก่อนเจ้าของกระทู้จะกลับมาเอาพื้นที่คืน
ไม่มีความรู้เรื่องตะกอนและหน้าดินถูกกัดกร่อนค่ะ

ยังไงก็ต้องขอขอบพระคุณที่ยังตามอ่านนะครับ เรื่องตะกอนดิน(Sediment)และหน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion) เป็นเรื่องที่รู้กันในวงแคบ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านจะทรงจุดประกายขึ้น และทรงสอนให้ปลูกหญ้าแฝกนานแล้ว แต่ก็หาผู้ที่สนใจ และเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังน้อยมาก

บังเอิญโชคชะตานำผมให้ไปทำงานเกี่ยวขัองกับเรื่องยากๆนี้เข้า น้ำท่วมดินถล่มที่ไหนผมมีหน้าที่ต้องไปดู จึงได้เห็นปัญหาว่า น้ำโคลนที่ถล่มลงมาจากภูเขานั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างไร ก็เลยถือโอกาสเล่าสู่กันฟังในเวทีนี้ ซึ่งถึงแม้ว่าผู้อ่านถึงจะจำนวนน้อยกว่า แต่ก็มีคุณภาพและหลากหลายวงการ

การที่ผู้คนพากันโทษการตัดไม้ทำลายป่าว่าเป็นเหตุของน้ำท่วมนั้น ต้องดูประวัติศาสตร์ควบคู่ไปด้วย แต่โบราณกาลมาเรามีปีที่น้ำมาก น้ำปานกลาง และน้ำน้อย ตามศัพท์ของการเสี่ยงทายในพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และคนไทยในอดีตก็รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ตอนที่ป่ายังอุดมสมบูรณ์อยู่ น้ำก็ท่วม แต่น้ำที่ท่วมเป็นน้ำใส พาปลามาให้จับถึงใต้ถุนบ้าน เป็นฤดูกาลที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สนุกสนาน ถึงกับมีพิธีลอยกระทง การละเล่นเพลงเรือสักวา และการแข่งขันเรือยาว เป็นต้น

ในกระแสความรู้สึกของผู้คนเดี๋ยวนี้เข้าใจว่าน้ำท่วมเพราะการตัดไม้ทำลายป่า และจะไปเพ่งโทษเอากับพวกนายทุนที่ขึ้นไปทำรีสอร์ท อย่างกรณีย์วังน้ำเขียวเป็นต้น ผู้มีอำนาจตามหน้าที่ก็กำลังพยายามไปรื้อถอนอาคารลงมาโดยให้เหตุผลว่าจะเอาพื้นที่คืนให้ป่า คนระดับผู้ว่าฯบอกว่าจะได้มีน้ำไปเลี้ยงคนโคราช ถ้าเป็นเรื่องของการรักษากฏหมายแล้วผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ควรจะกระทำกับพวกนายทุนที่บุกรุกขึ้นไปทำเกษตรกรรมในป่าสงวนเช่นเดียวกันด้วย  อย่าได้ละเว้นให้เป็นสองมาตรฐาน เพราะพวกทำไร่นี่แหละที่เป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่ารีสอร์ทแยะ ไม่ว่าจะเชิงปริมาณพื้นที่ หรือเชิงปริมาณตะกอนดินที่ถูกชะล้างลงมาทุกฤดูฝน พวกทำรีสอร์ทจะสร้างผลกระทบแต่ในช่วงก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จก็จะปลูกพืชคลุมดินสวยงาม หมดปัญหาตะกอน พวกทำสวนไม้ผล ไม้ยืนต้นก็คล้ายกัน เมื่อพืชเหล่านั้นโตก็เหมือนป่า ทำหน้าที่ซับน้ำกรองน้ำได้ระดับหนึ่ง จะเห็นว่าน้ำฝนที่ไหลลงมาจากสวนยางพาราที่โตแล้วจะเป็นน้ำใส แต่พวกทำไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง พวกนี้สร้างปัญหาตะกอนดินละลายเป็นน้ำโคลนลงมาจากภูเขาทุกปี แล้วลองไปคุ้ยเบื้องหลังเจ้าของไร่ซีครับ ไม่ใช่แม้วใช่ขมุที่ไหน พวกนายทุนทั้งนั้น

ผมไม่ได้แอนตี้กระแสสังคมเศรษฐกิจ ขนาดจะเสนอให้หยุดกิจการที่เขากำลังทำกันอยู่ แต่ต้องการให้ท่านทั้งหลายเห็นปัญหาตัวจริงหากจะพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ผมต้องการให้รัฐมีมาตรการควบคุมตะกอนดิน(Sediment)และหน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion)ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่คนในประเทศจะได้ไม่เห็นว่าฤดูน้ำหลากคืออุทกภัยไปทุกครั้ง

คนไทยต้องอยู่กับน้ำได้เหมือนกับคนบางประเทศที่เขาอยู่กับภูเขาไฟ หรือซึนามิ หรือทอร์นาโด เพราะเราก็ไม่รู้จะหนีไปไหนได้เหมือนกัน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 10:23
กำลังรอคุณตั้งมาร่วมวงอยู่ค่ะ
ระหว่างนี้ก็ติวตัวเองไปพลางๆ ว่า หน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion) คืออะไร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 10:26
 :(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 11:53
ขอบคุณครับ

ผมจะขอผลัดว่าจะกล่าวถีงวีธิการควบคุมตะกอนดิน(Sediment)และหน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion) เช่นในภาพว่าจะทำอย่างไรไว้ทีหลัง ไหนๆท่านอาจารย์เทาชมพูก็ได้พูดถึงคันกันน้ำ (dyke) ขึ้นมาแล้ว และผมก็บอกว่า คนไทยโบราณก็รู้จักทำคันดินกันน้ำของชุมชนเมืองเหมือนกัน ที่เราเรียกว่ากำแพงดิน ก็อยากต่อประเด็นนี้ให้จบ

ผมเคยไปดูร่องรอยซากโบราณสถานเหล่านั้น มักจะได้รับคำอธิบายว่าเป็นกำแพงเมือง ทำให้ผมฉงนว่า กำแพงเมืองที่เป็นดินสูงแค่เนี้ยะมันจะไปป้องกันข้าศึกได้อย่างไร ข้างบนยอดก็แคบนิดเดียวจะไปรำหอกรำดาบคอยฟาดฟันศัตรูเดี๋ยวก็ไถลตกลงมาก่อนเสียเปล่า กว่าจะรู้ว่ากำแพงดินรอบเมืองที่เห็นคือdykeนั่นเอง

สมัยนี้เขาก็ทำวิธีที่ว่ากัน เรียกว่า Ditch and Dyke หรือคู(น้ำ)กับคัน(ดิน) พื้นที่ใหญ่ๆเป็นพันไร่ซึ่งไม่สามารถถมดินสูงได้เพราะจะสิ้นเปลืองมาก เช่นนวนครที่กำลังเป็นข่าว ธรรมศาสตร์รังสิต AIT และอีกหลายแห่ง จะสร้างคันดินให้สูงพอเพราะจะต้องทำหน้าที่กั้นน้ำ คูทำหน้าที่รับน้ำฝนที่ระบายจากพื้นที่ทั้งหมดลงมาพักไว้ก่อนจะใช้เครื่องขนาดใหญ่ สูบน้ำออกไปทิ้งข้างนอก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 12:10
ในขนาดที่ใหญ่กว่านั้น

ชุมชนเมืองในปัจจุบัน สถาปนิกผังเมืองจะวางถนนวงแหวนรอบเมืองไว้หลายแห่ง ถนนเหล่านั้นนอกจากจะผันรถที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปวุ่นวายในเมืองให้อ้อมไปเสีย ก็(ควรจะ)ทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นคันกั้นน้ำ(ท่วม)ในฤดูน้ำหลาก

แต่ถนนวงแหวนชนิดนี้จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ก็จะต้องประกอบด้วยประตูควบคุมน้ำ ตามคูคลองที่ตัดผ่าน และสถานีสูบน้ำ
เวลาปกติก็เปิดประตูให้น้ำระบายจากที่สูงไปที่ต่ำตามธรรมชาติของมัน แต่เข้าฤดูน้ำหลาก มีปริมาณมากก็จะปิดประตูน้ำ ไม่ให้น้ำไหลเข้าเมือง ส่วนน้ำในเมืองถ้าฝนตกลงมา ก็ใช้ปั้มสูบน้ำออกไป


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 12:23
^
คราวนี้มันจะมีปัญหาตรงที่ว่าพื้นที่ภายในวงแหวนเท่านั้นที่จะปลอดน้ำท่วม ส่วนที่อยู่ข้างนอกก็ตัวใครตัวมัน หากที่ดินของตัวเป็นที่ดอนก็รอดตัวไป แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มก็จบข่าว
ดังนั้นพื้นที่ๆน้ำจะท่วมแน่ๆทุกปีไม่มากก็น้อย สถาปนิกก็จะระบายสีเขียว กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรม หรือเหลือง คือเขตที่พักอาศัยหนาแน่นน้อยเอาไว้

แต่ทุกวันนี้เอาเข้าจริงก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะนักการเมือง ไม่ว่าระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นล้วนใหญ่กว่าสถาปนิก แถมบางทีก็ใหญ่กว่ากฏหมายด้วย จึงปรากฏว่ามีโครงการก่อสร้างที่ผิดประเภทเข้ามาอยู่ในพื้นที่ๆเขาต้องการให้เป็นนาข้าวมากมาย พอเดือดร้อนเข้าจริงๆก็จะโวยขอให้รัฐเข้าไปช่วยแก้ไข


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 12:30
นิคมอุตสาหกรรมทั้งหลายที่น้ำท่วมจนล่มไปนั้น  ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ควรเป็นแหล่งเกษตรกรรมหรือเปล่าคะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 12:34

มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะเราลงทุนทำระบบชลประทานที่ทุ่งรังสิตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ เพื่อจะปลูกข้าว
เคยพูดกันเรื่องGreen Belt of Bangkok นานแสนนานมาแล้ว แต่ไม่เคยเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันบริเวณนั้นทั้งหมดอยู่นอกเขตผังเมืองรวมครับ แปลว่าตัวใครตัวมัน



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 12:35
เมืองที่เป็นต้นแบบการวางผังเมืองที่ดีที่มักจะได้รับการยกตัวอย่างอยู่เสมอก็คือลอนดอน
 
นักการเมืองที่นั่นเขาเคารพนักวิชาการผังเมืองที่เห็นว่า เมืองไม่ควรจะโตออกไปโดยไร้ขอบเขต มิฉะนั้นจะสร้างภาระหนักยิ่งให้แก่รัฐในการนำระบบสาธารณูปโภคทั้งหลายเข้าไปสนองชุมชน จึงได้กำหนดเขตสีเขียวห้ามก่อสร้างอาคารใหญ่ทุกชนิดรอบเมืองหลวง เรียกว่า Green Belt of London

และกฏหมายที่นั่นก็ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ห้าหกสิบปีมาแล้วที่ผังเมืองนี้บังคับใช้ ท่านลองดูภาพ Green Belt of London ทุกวันนี้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 12:40
ญี่ปุ่นก็มี Green Belt of Tokyo ครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 12:56
กรุงเทพมหานคร มีผังเมืองรวมที่ระบุเขตเกษตรกรรมไว้ทั้งส่วนที่เห็นเป็นสีเขียว และสีเทาๆที่มีกฏเข้มข้นขนาดเกือบจะห้ามการก่อสร้าง

ด้านฝั่งตะวันตกก็บริเวณแถวบางบอน และทวีวัฒนา ฝั่งตะวันออกก็แถวๆหนองจอก มีนบุรี ตอนนี้น้ำก็ท่วมท้องที่ดังกล่าวตามที่คาดการณ์ไว้แล้ว ท่านที่อยู่อาศัยในบริเวณแถวนั้น เคยทราบหรือไม่ และท่านได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้อย่างไร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 13:41
มีการบ้านมาส่ง  ditch and dyke


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 13:45
^
แม่นแล้วขรับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 13:49
การขยายตัวของชานเมืองกรุงเทพด้านพุทธมณฑลออกไปจนถึงนครไชยศรี  เท่าที่มองเห็นคร่าวๆ ไม่ได้สำรวจละเอียดลออ  มองเห็นว่าพื้นที่การเกษตรแต่เดิมเป็นสวนและนา  เพราะดินดีมาก ปลูกอะไรก็งาม  
แต่ต่อมาเมื่อเมืองขยายตัวมาทางนี้   สวนกับนาก็กลายเป็นที่อยู่อาศัย   ตึกแถวและหมู่บ้านจัดสรรตามมากินเนื้อที่ของสวน     ทำให้ไฟฟ้า ประปา ถนน ตามมา
เมื่อถนนขยายกว้างขึ้น   เดินทางขนส่งสะดวก  โรงงานก็ตามไล่หลังมาอีกที  สนามกอล์ฟด้วย
เดี๋ยวนี้สวนเหลือน้อยแล้วค่ะ  


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 14:26
นั่นน่ะซีครับ

เราเอาที่ดินที่ดีที่สุดสำหรับทำการเกษตรมาสร้างมหานครที่มีประชากรมากที่สุด และมีปํญหามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
เราเอาที่ดินเลวที่สุดสำหรับก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ รับน้ำหนักมาก มาทำนิคมอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศ ทั้้งๆที่ควรจะไปอยู่ใกล้กับท่าเรือน้ำลึก ณ ภูมิประเทศที่ไม่ต้องตอกเสาเข็มยาวตั้ง๒๒เมตร

ตอนที่มีการอภิปรายกันว่าควรมีหรือไม่ควรมีGreen Belt of Bangkok มีคำถามจากบุคคลกลุ่มสำดัญว่า คุณรู้ไหม ที่ๆคุณจะเอาไว้ปลูกข้าวปลูกผักผลไม้น่ะ เดี๋ยวนี้ตารางวาละเท่าไหร่

ผมยังเด็กเกินไปกว่าที่จะกล้าแสดงความเห็น แต่ถ้ารัฐไม่ตัดถนนเข้าไป ไม่เดินไฟฟ้าให้ ไม่มีประปาใช้ ท่านคิดว่ามันควรจะมีราคาเท่าไหร่ละครั้บ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 14:39
ขอเอาข่าวล่าสุดของเวลานี้มาลงในกระทู้นี้ละกัน    หลักฐานภาพข้างล่างนี้ยืนยันคำพูดของคุณ Navarat.C ค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ต.ค. 11, 14:54
อ.NAVARAT.C พอจะมีข้อมูลเรื่อง King dyke บ้างไหมครับ ตอนผมเรียนมหาวิทยาลัย ก็ได้ไปดูงานระบบป้องกันน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานครและประตูน้ำต่าง ๆ และไปดู King Dyke บางส่วนด้วย แต่บัดนี้วันและเวลาทำให้ความจำกลบหายไปแล้ว  ;D :-[ :-[


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 16:30
^

ขอโทษด้วยครับ ผมไม่รู้จัก เพิ่งจะเคยได้ยินชื่อนี่เองแหละ
คุณหนุ่มสยามช่วยขยายความอีกนิดซิครับ ว่าเป็นถนนหรือคันกั้นน้ำที่ไหน สมัยใด


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ต.ค. 11, 16:44
^

ขอโทษด้วยครับ ผมไม่รู้จัก เพิ่งจะเคยได้ยินชื่อนี่เองแหละ
คุณหนุ่มสยามช่วยขยายความอีกนิดซิครับ ว่าเป็นถนนหรือคันกั้นน้ำที่ไหน สมัยใด

King Dyke คือ คันกั้นน้ำในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ;)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 17 ต.ค. 11, 17:27
ตามอ่านอยู่ครับ แล้วก็ถูกแหย่ให้เข้ามาร่วมวง

ตะกี้นี้เขียนไปแล้ว ด้วยเหตุทางเทคนิคบางประการ เลยส่งข้อความไม่ได้ จะพยายามเรียบเรียงใหม่ครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 17:40
อ้างถึง
King Dyke คือ คันกั้นน้ำในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 


แล้วได้ทำหรือเปล่าครับ

รูปข้างล่างนี้เป็น Dyke เหมือนกัน มีคนส่งมาให้ดูคลายเครียด


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ต.ค. 11, 17:49
ตามรอยมาได้แค่นี้ มีที่ทรงกล่าวถึงGreen Beltด้วย

สำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ

ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม

ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก

ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ

ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ

ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิท เป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

รุ้สึกว่า ผู้รับสนองพระราชดำริจะทำเพียงส่วนเดียวหรือเปล่า หรือถนนวงแหวนรอบนอกและรอบในจะคือ King Dyke ที่กล่าว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 18:12
ตามอ่านอยู่ครับ แล้วก็ถูกแหย่ให้เข้ามาร่วมวง
ตะกี้นี้เขียนไปแล้ว ด้วยเหตุทางเทคนิคบางประการ เลยส่งข้อความไม่ได้ จะพยายามเรียบเรียงใหม่ครับ

ถ้าคุณตั้งส่งข้อความไม่ไป   อย่าเพิ่งปิดหน้านั้นนะคะ ให้กดลูกศรมุมซ้ายบนของหน้า    มันจะพาย้อนกลับไปสู่ข้อความที่พิมพ์ไว้  แล้วลากเม้าส์ copy เอาไว้ เพื่อเซฟไว้ชั้นหนึ่ง    ก่อนจะลองส่งอีกครั้ง
ถ้ายังส่งไม่ได้อีก  ปิดหน้า แล้วเข้าไปในกระทู้ใหม่อีกครั้ง  copy and paste ข้อความลงในช่องข้อความค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 11, 19:01
http://www.youtube.com/watch?v=lgA3794AEFQ&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=5OcpqweZdgc&feature=related


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 10:49
ระหว่างที่รอคุณตั้งเรียบเรียงตัวพิมพ์ใหม่หลังจากที่ละลายกับสายน้ำไปแล้ว ผมเกิดความคิดขึ้นมาแวบหนึ่ง อยากจะเล่าเล่นๆเป็นการฆ่าเวลา

คือแต่ไหนแต่ไรมาผมมักจะตั้งคำถามกับตนเองว่า ทำไมคนไทยจึงดีแต่ซื้อของนอกตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้ว ไม่เคยประดิษฐ์คิดทำอะไรขึ้นมาใช้เองเลย ตั้งแต่อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี่สูงกว่าการทำหอกตีดาบ เช่นปืนใหญ่ปืนเล็กทั้งหลาย ทำให้ปัจจุบันเราไม่มี Technical Know-how ที่จะผลิตอาวุธที่ใช้ป้องกันประเทศ ต้องซื้อจากมิตรที่ชอบกลับกลายมาเป็นศัตรูอยู่ร่ำไป แม้แต่ของสำค้ญๆในปัจจัยสี่ นอกจากข้าวแล้ว อย่างอื่นๆนั้น เราซื้อของนอกเข้ามาทั้งสิ้น อย่างน้อยก็ซื้อ Know-howมาผลิตเอง

พอเห็นภาพหายนะของนิคมอุตสาหกรรมทั้งหลายในคราวนี้ จึงระลึกได้ว่า สมัยโบราณพอน้ำหลากก็มีแต่เกาะเมืองอยุธยาเท่านั้นที่น้ำไม่ท่วม บางปีน้ำก็ท่วมเข้ามาในกำแพงพระนครกรุงศรีฯ  สภาพการดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยให้กิจกรรมประเภทโรงงานหรือฐานการผลิตอะไรที่เป็นล่ำเป็นสัน เพราะมันจะอยู่ได้อย่างไรในปริมณฑลของเมืองหลวง จะหนีตั้งไปอยู่ในเมืองที่น้ำท่วมไม่ถึงหรือ พอพม่าเขมรยกทัพเข้ามาก็คงถูกกวาดต้อนไปหมด เพราะกำลังเมืองหลวงก็อาจให้ความคุ้มครองไม่ได้

คนไทยจึงไม่ชอบการผลิตทำนองอุตสาหกรรม จะมีก็แต่หัตถกรรมและงานด้านประณีตศิลป์เท่านั้นที่เก่ง เพราะมีเวลาที่ทำกันในเวลาว่างหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์จึงมุ่งแต่จะหาเงินตราต่างประเทศเฉพาะจากการค้าข้าว และของป่าซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ และทำพาณิชกรรมแบบพ่อค้าคนกลาง ระหว่างประเทศตะวันตกทั้งฝรั่งและเปอร์เซีย กับประเทศทางตะวันออกทั้งจีนและญี่ปุ่น ได้กำไรเหนาะๆมาจับจ่ายซื้อของที่ต้องการ สบายกว่าคิดจะเป็นผู้ผลิตเองให้ลำบาก



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 10:53
พออังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรม ตอนนั้นเราก็ล้าหลังญี่ปุ่นและจีนมากโข จริงอยู่ที่ไทยกับญี่ปุ่นส่งนักเรียนไปเรียนวิชาการต่างๆจากยุโรปพร้อมๆกัน แต่ผิดกันที่ญี่ปุ่นนั้นเขามีฐานรากด้านอุตสหกรรมอยู่ก่อนแล้ว นักเรียนนอกของเขาที่กลับไปก็ต่อยอดได้ทันที่ ในขณะที่สมัยรัชกาลที่๕ คนไทยเรายังไม่มีพื้นความรู้อะไรเลย นักเรียนนอกกลับมาก็ทำได้แค่เริ่มต้นให้การศึกษาแบบฝรั่ง ของอุปโภคทุกอย่างยังซื้อของนอกทั้งหมดต่อไป

ต้นราชวงศ์เมจิ ญี่ปุ่นซื้อเรือรบจากอังกฤษมาสร้างกองทัพเรือ ในปลายรัชกาลที่๕ ญี่ปุ่นใช้กองเรือรบนั้น ทำยุทธนาวีกับกองทัพเรืออันเกรียงไกรของรัสเซียที่ช่องแคบซึชิม่า และเป็นฝ่ายมีชัย หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ใช้ Knowhowจากภาคปฏิบัติจริง ถอดแบบอังกฤษมาสร้างเรือรบรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นเอง จนเป็นกองทัพเรือที่มีนาวิกานุภาพในอันดับต้นๆของโลก จนกองทัพเรือไทยเลิกซื้อเรือยุโรปหันไปซื้อญี่ปุ่น

ต้นรัชกาลที่๕ (ก่อนที่จะส่งคนไปเรียนนอก)ไทยเราซื้อปืนเสือหมอบ หรือปืนอาร์มสตรองจากเดนมาร์ก ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในโลกสมัยนั้นมาติดตั้งที่ป้อมพระจุลฯ และป้อมผีเสือสมุทร แต่คนไทยใช้ไม่เป็น คนคุมปืนจ้างฝรั่ง พลประจำปืนเป็นคนต่างด้าวเกณฑ์มาเรียกอย่างไพเราะห์ว่า ทหารปืนใหญ่ญวนอาสา เรือรบฝรั่งเศสผ่านสันดอนเข้ามา ปืนยิงได้ไม่กี่ตูม ลูกไปตกที่ไหนก็ไม่รู้

มีคนชอบพูดตำหนิโดยเปรียบเทียบไทยกับญี่ปุ่นหลังเปิดประเทศว่าไร้ความสามารถที่จะทันเขา ผมเห็นว่าไม่แฟร์ ญี่ปุ่นพร้อมกว่าเราในเรื่องคน ซึ่งคนของเราไม่พร้อมเท่าเขา เพราะคนไทยไม่เคยสนใจในเรื่องเทคโนโลยี่มาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว ดังเหตุผลที่ผมกล่าวตอนต้น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 11:17
มาจดเลกเชอร์  ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 11:19
มาถึงสมัยนี้เรามีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย จะไปบอกว่าไม่เหมาะกับคนไทยไม่ได้แล้ว แต่จะบอกว่าภูมิประเทศที่ตั้งผิด ก็ยังได้อยู่

นึกถึงประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงใช้ให้สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไปดูเมืองโคราช ซึ่งอาจจะย้ายพระนคร(หนีศึกฝรั่ง)ไปอยู่ที่นั่น สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านถวายรายงานว่าโคราชไม่เหมาะเพราะขาดแหล่งน้ำกินน้ำใช้ ทรงเสนอตำบลสีทา อยู่ในอำเภอแก่งคอยถัดจากสระบุรีไปนิดเดียว

ผมดูแผนที่น้ำท่วมในปัจจุบันแล้วพอจะเข้าใจ ถัดจากกรุงเทพแล้ว สระบุรีเป็นเมืองแรกที่อยู่ในเขตปลอดจากน้ำหลาก โรงงานที่โดนน้ำท่วมถ้าลงทุนกันใหม่เขาน่าจะหนีไปอยู่แถวนั้น
ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก คงจะไปอยู่แถวชลบุรี ระยอง ใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉะบัง

หลังจากนี้ที่ดินบริเวณแถวนั้นคงบูมแน่ เจ้าของที่ทั้งหลายเตรียมรับทรัพย์(อย่าลืมจดตรงนี้ด้วยนะครับ)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 11:53
(เริ่ม)ฝันกลางน้ำท่วม   ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 12:30
^
หรือจะเอาแปลงนี้ครับ

ซื้อที่แถมรถด้วยอีกหนึ่งฝูง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 12:45
ถึงอยู่ที่ดอน น้ำไม่ท่วมถนน  แต่มีเพื่อนบ้านแบบนี้ ก็ไม่เอานะคะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 12:53
ข่าวล่าสุดของวันนี้ จากนวนคร คือพล.อ.วิชา ศิริธรรม ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการพิเศษของบริษัทนวนคร จำกัด (มหาชน) ออกมาแถลงว่า ขณะนี้โรงงานภายในนิคมร้อยละ 90 ยังไม่เสียหาย เนื่องจากนิคมมีระบบป้องกันที่ทำมายาวนาน และพื้นที่ในนิคมมีระดับสูงต่ำแตกต่างกัน รวมถึงระดับน้ำยังไม่สูงมากนัก แต่ถ้าเมื่อใดที่ระดับอยู่ที่ 2.50 เมตร ความเสียหายจะเกิดขึ้น 100% ทันที อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทางนิคมนวนครจะพยายามต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่
ท่านยังขอร้องรัฐบาลให้เปลี่ยนวิธีการช่วยเหลือจากวิธีรอง มาเป็นวิธีหลัก ด้วยการเร่งระบายน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรมนวนครออกโดยเร็ว   ส่วนมาตรการป้องกันน้ำท่วมนั้น ทางนิคมฯ ได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารของทุกโรงงาน และมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี ซึ่งหลังน้ำลดอาจจะมีการสร้างเขื่อนขึ้นมา เพื่อป้องกัน

สรุปว่านวนครก็ยังพยายามสู้ศึกอยู่สุดฤทธิ์   ราวกับค่ายบางระจันขอความช่วยเหลือมายังกรุงศรีอยุธยา      เมื่อศึกผ่านพ้นไปแล้ว  นวนครคงไม่ย้ายหนีไปไหน   แต่อาจจะสร้างกำแพงค่ายคูประตูหอรบอย่างแข็งแกร่ง สูงหลายสิบเมตรขึ้นมารับศึกในปีต่อๆไป

ได้แต่เอาใจช่วยนวนคร    นึกอย่างอื่นไม่ออกนอกจากบอกว่า ช่วยตัวเองเถอะ  อย่ารอความช่วยเหลือจากกรุงศรีเลย เพราะกรุงศรีเองก็เจอข้าศึกจ่ออยู่ถึงรังสิตแล้ว 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 13:11
นิคมใหญ่ๆอย่างนวนคร เขาลงทุนเรื่องDitch and Dykeให้สูงและแข็งแรงพอ หมั่นตรวจตรา ถ้าชำรุดก็ซ่อมเสียก่อนน้ำจะท่วมก็คงได้ผลอยู่ และคุ้มค่ากับการลงทุน

แต่หมู่บ้านเล็กๆอย่างนี้ ผมไม่เข้าใจ ทั้งเจ้าของ ผู้ออกแบบ ผู้อนุญาตให้ก่อสร้าง และผู้ซื้อด้วยครับ ว่าไม่กลัวน้ำท่วมบ้างเลยหรือไร ที่คิดว่าระดับดินที่ถมลงไปนั้นจะทำให้อยู่รอดปลอดภัยตลอด


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 13:20
ภาพข้างบนของท่าน Navarat ไม่ทราบว่าหมู่บ้านแถวไหน    แต่อาจเป็นได้ว่าเจ้าของหมู่บ้านไม่ได้นึกว่าน้ำจะท่วมหนักขนาดปีนี้  ปีก่อนๆก็อยู่กันมาได้   หรือไม่ก็ไว้วางใจว่ารัฐบาลจะช่วยป้องกันไว้ได้

อ่านชะตากรรมที่เกิดกับหมู่บ้านชวนชื่นการ์เด้นวิลล์ ต.บางเดื่อ อ.เมือง จ.ปทุมธานี (http://www.oknation.net/blog/nard/2011/10/17/entry-1) แล้วใจหายไปกับเจ้าของบทความ   ก็ยังดีที่หลานๆปลอดภัยรอดตายมาได้
เหมือนเจอศึกสงครามเลยทีเดียว

หมู่บ้านชวนชื่นฯ ที่ว่านี่หมู่บ้านระดับเศรษฐี  บ้านสวยๆทั้งนั้น    บัดนี้รู้แล้วว่าน้ำหลากมอบความทั่วถึงให้หมด ไม่ว่าคนจนหรือคนรวย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 13:43
ผมกำลังเป็นห่วงฟาร์มจรเข้ที่สมุทรปราการอยู่ครับ ที่นั่นตัวขนาดพญาชาละวันก็เป็นร้อยเป็นพันแล้ว ถ้ารวมลูกเด็กเล็กแดงเห็นว่ามีกว่า๖๐,๐๐๐(หกหมื่น)ตัว ไอ้ที่ฟาร์มแตกแถวอ่างทองนั้นกระจิบจิ๊บจ๊อยมากหากฟาร์มที่นี่แตก

ในเวปมีคนปากน้ำเป็นห่วงเรื่องนี้กันแยะ แต่ทางฟาร์มก็ไม่มีการแถลงยืนยันความพร้อมรับมืออะไรออกมาเลย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ต.ค. 11, 14:02
ถูกแหย่อีกแล้ว เลยต้องรีบกลับมาเข้าวงครับ

ตามข่าวเรื่องน้ำท่วม เรื่องคันกั้นน้ำพัง และคำอธิยายที่บอกว่าพังเพราะทนแรงดันของน้ำไม่ไหว ก็เลยอยากจะขยายความ โดยขอวกเข้าเรื่องกระบวนการของธรรมชาติในเรื่องของการกัดกร่อนด้วยน้ำอีกครั้งหนึ่งครับ

หลักการสำคัญของกระบวนการกัดกร่อนด้วยน้ำบนผิวโลกนั้น คือ น้ำจะพยายามกัดกร่อนทุกสิ่งทุกอย่างลงไปจนกว่าจะถึงระดับที่เรียกกว่า Base level (คือประมาณระดับน้ำทะเล) สำหรับในพื้นที่สูงและลาดชันมาก พลังในการกัดกร่อนจะเน้นไปทางดิ่ง คือกัดเซาะผิวดินลึกลงไปเรื่อยๆ เมื่อความลาดชันลดน้อยลง พลังการกัดกร่อนในทางดิ่งจะลดลง แต่จะไปเพิ่มในทางราบ เมื่อเข้าสู่ที่ราบ พลังการกัดกร่อนทางดิ่งจะลดลงเหลือน้อยมาก แต่จะไปกัดกร่อนด้านทางราบเกือบทั้งหมด

ผลก็คือ ร่องน้ำบนเขาต่างๆจะแคบ ลึกและค่อนข้างตรง เมื่อลงสู่ที่ราบ ร่องน้ำจะกว้างและคดโค้งไปมา ซึ่งกระบวนการกัดกร่อนและผลที่ได้รับนี้ เกิดขึ้นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นที่กองดิน กองทราย ริมขอบถนน หรือแม้กระทั่งการสาธิตทดลองหยอดน้ำลงบนทรายทีใส่อยู่ในถาด

พลังของน้ำนี้มีอยู่ทั้งในตัวของมันเอง (ในระดับโมเลกุล) และในระดับที่มันมารวมตัวกันเป็นมวล
พลังที่อยู่ในตัวของมันเองเป็นเรื่องทางเคมี ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึง แต่พลังที่มันรวมตัวกันเป็นมวลนั้น มันมีทั้งพลังน้ำหนัก (เมื่ออยู่กับที่) มันมีพลังดันกระแทก (เมื่อมันเคลื่อนที่) มันมีพลังจากการเพิ่มและลดปริมาตรของมวลของมัน (เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนระหว่างร้อนและเย็น) มันมีความสามารถในการละลายเอาสารต่างๆเข้ามาไว้ในตัวมัน ทำให้มันมีสภาพเป็นกรดหรือด่าง และยังทำให้มันแปรตัวเองเป็นน้ำที่อยู่ในสภาพ Oxidation และ Reduction สุดท้ายมันยังมีความสามารถในการอุ้มของแข็งต่างๆได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักและความหนาแน่นให้กับมวลของมัน (น้ำยิ่งไหลแรงยิ่งสามารถผลักให้หินก้นใหญ่ให้กลิ้งไปได้ และสามารถอุ้มหินก้อนใหญ่ได้ ยิ่งมีมวลแน่นจากดินโคลน (น้ำขุ้นข้น) ก็ยิ่งสามารถอุ้มหินก้อนใหญ่ได้) และท้ายที่สุดมันยังสามารถย่อยขนาดของตะกอนให้เล็กลงได้อีกด้วย ด้วยการขัดถู การกระแทก กระเทาะ และการพาครูคไป
น้ำจึงเป็นตัวการสำคัญในการกัดกร่อน นำพาตะกอนออกไป แล้วเอาไปทิ้งไว้ไกลๆจากแหล่งเดิม

พลังของมันก็ขนาดนี้แหละครับ มันเป็นหนึ่งในตัวการทำลายที่สำคัญบนพื้นผิวโลกพอๆกับที่มันเป็นตัวการสร้างสรรความเจริญงอกงามของชีวิตและความสุขบนโลก การจะจัดการกับมันจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ครบ
 
ขออารัมภบทไว้เท่านี้ก่อน ว่าจะขึ้นหน้าใหม่ครับ

 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 14:22
ในที่สุดคุณตั้งก็ทนแรงคะยั้นคะยอไม่ได้  ต้องเข้ามาร่วมวง
ขอต้อนรับด้วยคลิปข่าวน้ำท่วมไทย จากข่าวรอยเตอร์

http://www.youtube.com/watch?v=0Z0iN_uAMJ8&feature=related



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 ต.ค. 11, 15:30
ลืมเรื่องพลังของน้ำไปอีกอย่างหนึ่ง
น้ำแทรกตัวไปได้เกือบจะทุกที่ที่มีช่อง ในดินทรายน้ำก็แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างเม็ดทราย หากเป็นชั้นหินหรือทรายที่มีน้ำแทรกอยู่ มันก็เป็นชั้นน้ำบาดาล เราก็สามารถเจาะลงไปดูดเอามันขึ้นมาใช้ได้ น้ำที่อยู่ในรูพรุนระหว่างเม็ดดินทรายนี้ มันมีแรงดันรอบตัวมันด้วย และแรงดันนี้ก็เชื่อมต่อกันไปเป็นวงกว้างอีกด้วย เมื่อเราเอาน้ำออกมาจากรูพรุนดินทรายก็จะยุบตัว ในทำนองเดียวกันหากเราเอาน้ำใส่เข้าไปในรูพรุน ดินทรายก็จะพองตัว คราวนี้ถ้าน้ำมันมากถึงระดับที่อิ่มจนแปร้แล้ว เราลองเขย่าดินทรายนั้ดูก็จะเห็นว่ามันไหลได้ เรียกกันว่า Liquefaction

การสร้างเขื่อนกักน้ำต่างๆนั้น ที่กลัวกันมากเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของ Piping คือ หากปล่อยให้มีน้ำซึมเป็นรูผ่านได้เมื่อไร น้ำจะกัดเซาะพาเม็ดดินทรายออกไปกลายเป็นรูใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเขื่อนก็รั่วและพัง
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ แรงดันของน้ำที่อยู่ในรูพรุนของสันเขื่อน มันมีแรงดัน เพราะฉะนั้นก็ต้องลดแรงดันของมัน ในอุโมงใต้เขื่อนหากเดินลงไปจะแฉะมากเพราะมีน้ำไหลออกมา หรือหน้าเขื่อนที่เห็นคราบขาวๆนั้นก็เพราะน้ำซึมออกมา เขาตั้งใจทำเพื่อลดแรงดัน ในทำนองเดียวกัน หากรูอุดตันแห้งเกินไปก็จะไม่สบายใจ เขื่อนก็อาจจะพังได้อีก สันเขื่อนที่แห้งสนิท ดินทรายก็จะไม่จับตัวกัน ก็อันตรายอีก ดังนั้นจึงอาจเป็นเรื่องแปลกที่เขื่อนจะต้องมีน้ำซึมให้ชื้นอยู่ตลอดเวลา ดูเหมือนกับมีการรั่วซึม หากระดับน้ำในเขื่อนต่ำอยู่ตลอดเวลา พอจะกักน้ำให้สูงขึ้นก็จะต้องค่อยๆทำ เพื่อให้สันเขื่อนปรับระดับความชุ่มชื้น เพื่อเขื่อนจะได้ไม่เป็นอันตราย ก็อาจเป็นเรื่องแปลกอีกเหมือนกันที่จะเห็นเขื่อนทำการกักเก็บน้ำแต่ก็ต้องระบายออกไปพร้อมๆกันด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาตัวเขื่อนและสภาพแวดล้อมในล้ำน้ำใต้เขื่อนให้คงที่ แรงดันของน้ำนี้มีมหาศาลมากพอที่จะยกเขื่อนบางแบบให้พลิกไำด้เลยทีเดียว การออกแบบเขื่อนจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก จึงมีเขื่องหลายแบบหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ธรณีวิทยา ราคา และวัตถุประสงค์
และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ กรณีน้ำเต็มจนล้นสันเขื่อน สันเขื่อนเป็นจุดที่เปราะบางมาก เป็นส่วนที่เล็กแคบที่สุด การออกแบบเขื่อนจึงมักจะทำให้มีทางระบายน้ำล้น (Spillway) ไม่ให้น้ำล้นข้ามตัวสันเขื่อน ยกเว้นเฉพาะที่ออกแบบเจาะลงให้น้ำไหลข้าม

ร่ายยาวมาพอสมควรก็เพียงเพื่อจะขยายความกรณีคันดินหรือกระสอบทรายที่เอามากั้นน้ำท่วมนั้น ว่าทำไมเอาไม่อยู่
มันก็มีสาเหตุหลายประการ แต่ละจุดแต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน คงพอจะนึกภาพออกแล้วนะครับ
การใช้คันดินทรายเอามาถมก็จะเหมาะสมสำหรับบางบริเวณ การใช้กระสอบทรายก็จะเหมาะสำหรับบางบริเวณ

น้ำท่วมคราวนี้จึงให้ข้อมูลสำคัญที่ต้องเก็บไว้เพื่อการสู้หรือป้องกันในอนาคต


 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 11, 16:35
เชิญบรรยายไปเรื่อยๆครับ ถึงตาผมจะจดเล็กเช่อร์มั่ง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 11, 16:47
^
ไม่แฟร์ค่ะ    ครูตั้ง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 09:51
สวัสดีตอนเช้าครับ

ครูตั้งว่าไปถึงไหนแล้วล่ะ อย่าเพิ่งWalkoutไปเสียนะครับ ผมตั้งใจอ่านอยู่


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 10:10
ระหว่างครูตั้งเข้าห้องพักครูไปยังไม่มา ผมขอกลับไปเรื่องตะกอนดินที่เป็นต้นเหตุวิบัติภัยจากพลังอันทรงอำนาจของน้ำใหม่

ภาพนี้เป็นประสพการณ์จริงในคราวหนึ่งที่ผมขึ้นไปค้างแรมบนเขา ใกล้ๆแคมป์มีร่องน้ำเล็กๆที่ปกติจะแห้ง แต่คนงานไปขุดบ่อน้ำซับไว้เพื่อเอาน้ำมาใช้

คืนนั้นฝนตกหนักทั้งคืน ใกล้รุ่งได้ยินเหมือนเสียงน้ำถล่มในร่องน้ำข้างล่าง โครมครามแล้วก็ค่อยๆเงียบไป จนเช้าแล้วฝนยังไม่หยุดตก ผมเลยถ่ายรูปบรรยากาศเซ็งๆไว้

ใกล้เที่ยงมั้งฝนจึงขาดเม็ด หลังจากนั้นไม่นานคนก็มารายงานว่า น้ำป่าถล่มฝายข้างบนแตก ร่องน้ำเป็นลำธารไปแล้ว ผมเดินไปดู เห็นเข้าแล้วเกิดความทึ่งว่า ร่องน้ำเล็กๆที่ว่านั่นเดิมเป็นลำธารขนาดดังในรูป แต่ถูกกลบด้วยตะกอนดินจนหมดสภาพดั้งเดิมของมัน แต่แล้ววันหนึ่งธรรมชาติก็เอาคืน ส่งน้ำมาล้างตะกอนดินหายไปหมด ดีแต่ว่าแคมป์อยู่สูงกว่า และตีนเขาก็เป็นแคว น้ำตะกอนก็ไหลลงไปโดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน

ยังนึกว่าถ้าเส้นทางไหลมันผ่านแคมป์  ผมและคนงานที่นั่นจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ได้เหมือนกัน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 10:35
^
ขยายภาพให้เห็นสภาพร่องน้ำ และลำธารของเดิมที่กลับมาใหม่
รอฟังเรื่องตะกอนดิน ต่อไปค่ะ

เกรงว่าคุณตั้งจะมัวขนของขึ้นชั้นบน  หรืออพยพออกห่างเส้นทางน้ำไปพักที่อื่นเสียแล้ว  จึงไม่ได้เข้ามาแวะเรือนไทย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 10:42
^
ขอบคุณครับ
.
.
พอดีผมได้ไปอ่านบทความของ รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ในเรื่องปัญหาการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ท่านที่สนใจลงลึกก็เข้าไปอ่านเอาเองตามนี้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316606565&grpid&catid=02&subcatid=0200

ส่วนผมจะยกเอามาเฉพาะตอนที่ผมกับท่านมีความเห็นเหมือนกัน ผมตะโกนบอกอย่างนี้มานานแล้วแต่ผู้หลักผู้ใหญ่เขาไม่ได้ยิน แต่อาจารย์ท่านนี้เขียนบทความนี้ขึ้นมาหนังสือพิมพ์เอาไปเสนอหลายฉบับ น่าจะเข้าหูเข้าตาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองบ้าง

น้ำท่วม...เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว

กรณีน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือ เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาฯลฯ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของคนไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้ ตัวอย่างปัญหาน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนจากสังคมของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขไปเป็นสังคมของความเห็นแก่ตัวอย่างสมบูรณ์ คนที่มีเงินหรือมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าก็สามารถเอาเปรียบคนยากคนจนได้(อย่างหน้าชื่นตาบาน) ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ

ตัวอย่างที่หนึ่ง การปล่อยปะละเลยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด   แสดงให้เห็นว่านักธุรกิจหรือผู้ที่มีอิทธิพลทั้งหลายไม่เคยสนใจเลยว่าการทำธุรกิจที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบนั้นได้นำมาสู่การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่ทำหน้าที่เป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ พื้นที่ต้นน้ำเหล่านี้ทำหน้าที่ชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและคลายน้ำที่อุ้มไว้ในฤดูแล้ง เมื่อนักธุรกิจไทยเลือกที่จะรุกรานพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกข้าวโพดทั้งที่รู้ว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศและเป็นต้นตอของปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของประเทศไทย ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของกลุ่มทุนเหล่านี้ทั้งสิ้น หลังจากที่นักธุรกิจค้าข้าวโพดได้กอบโกยผลประโยชน์จากการทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ เป็นที่พอใจแล้วก็แสดงความใจแคบโดยการทิ้งปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้คนยากคนจนในชนบทในภาคกลาง  


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 10:44
วังน้ำเขียว ผมว่ากรมป่าไม้เกาไม่ถูกที่คันยังไงไม่รู้ซี

http://www.google.co.th/#hl=th&sa=X&ei=pkieTq7VMY7KrAeWseieCQ&sqi=2&ved=0CBgQBSgA&q=%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94+%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%99&spell=1&bav=cf.osb&fp=1fbe6742bf89f9f0&biw=1280&bih=654

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000087814


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 11:01
หลังน้ำท่วมจะเห็นร่องรอยของมันแหละครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 11:17
คันดินกั้นน้ำ อาจกลายเป็นตะกอนดินได้ใช่ไหมคะ
การระดมสร้างคันดิน ช่วยอะไรได้บ้าง     ดิฉันเห็นหลายแห่งสร้างคันดินกันมากมาย แต่เมื่อเจอน้ำคันดินก็อ่อนตัวมิใช่หรือ   จะกันน้ำได้อย่างไร    กลับจะกลายเป็นผลเสียในภายหลังรึเปล่า
ที่ถามเช่นนี้ เพราะคิดว่าน้ำท่วมแบบนี้คงไม่ใช่หนเดียว  อาจมีอีกในปีหน้าปีโน้น     ถ้าหากว่าคันดินมีผลเสียมากกว่าผลดี ก็น่าจะพิจารณาหยุดสร้างได้แล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 11:48
คันดินมีสองลักษณะครับ

ถ้าเป็นคันดินตามระบบ Ditch and Dyke ซึ่งวิศวกรคำนวณขนาดและวิธีก่อสร้างดีแล้ว เช่นต้องบดอัดให้แน่นอย่างไรและทดสอบอย่างไร ความลาดชันเท่าไร คันพวกนี้จะแข็งแรงเมือนคันถนนที่ขาดแต่ผิวถนนข้างบนเท่านั้น และถ้าบนเชิงลาดนั้น มีการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชยึดดินให้ถูกต้อง ก็จะไม่เกิดErosion เมื่อน้ำมา นอกจากน้ำจะแรงจริงๆหรือคำนวณความสูงไว้ผิด หรือไม่ได้รับการดูแลรักษาดีพอ จึงจะพัง เมื่อพังแล้ว ใช่ครับ ดินส่วนหนึ่งจะละลายไปกับน้ำ

แต่ถ้าเป็นคันดินที่ทำขึ้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าทำไว้ดีและน้ำไม่แรงพอก็ต้านน้ำอยู่ โดยดินจะละลายไปเป็นตะกอนดินบ้าง
แต่ถึงจะต้านน้ำไว้ไม่อยู่ ดินถูกน้ำพังทะลายไปสิ้นเชิงก็ต้องช่างมันเถอะ น้ำลดก็ต้องล้างท่อ ล้างทางระบายน้ำเป็นการใหญ่อยู่แล้ว

ส่วนคันระบายน้ำชั่วคราวที่ดีๆหน่อย ดังเช่นที่เอามาโพส์ตในกระทู้ข้างเคียง ผมว่าหลังน้ำท่วมคราวนี้ คงจะต้องมีการพิจารณาซื้อมาตุนไว้ เพื่อนำมาใช้ในฤดูน้ำหลากปีหน้า



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 12:15
ชัดขึ้นไหมครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 12:47
ชัดค่ะ
แต่เรื่องตะกอนดิน ส่งการบ้านยากกว่าเรื่องหน้าดินถูกกัดกร่อน  ตอนนี้เข้าใจแล้วว่ามันคืออะไร แต่ยังไม่เข้าใจว่าจะหาทางป้องกัน หรือกำจัดไปอย่างไร ในกรณีน้ำหลากอย่างปีนี้
ตะกอนดินจากเขื่อน  เอาออกไปได้ด้วยวิธีไหน

ไปขออินทรเนตรให้ช่วย   ท่านหามาให้รูปเดียว  บรรยายว่า
Sediment Stored Behind Savage Rapids Dam


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 13:17
ผมจะกลับมาถึงวิธีควบคุมดินถูกกัดกร่อนและตะกอนดินเป็นชุดเลยนะครับ ขอเวลาทำการบ้านสักหน่อย

ถ้าไม่ใช่เรื่องยากจนทำไม่ได้ กฏหมายฝรั่งคงไม่ลงโทษปรับแรงขนาดนั้น
มันง่าย แต่ไม่ทำ เพราะความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวต่างหาก

แต่คนไทย ยังให้อภัยก่อนพราะยังไม่รู้ และไม่มีใครบอกว่าควรจะทำอย่างไร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 14:45
การบ้านยังไม่เสร็จ เข้ามาถเหลไถลก่อน
อ้างถึง
คันดินกั้นน้ำ อาจกลายเป็นตะกอนดินได้ใช่ไหมคะ
การระดมสร้างคันดิน ช่วยอะไรได้บ้าง ดิฉันเห็นหลายแห่งสร้างคันดินกันมากมาย แต่เมื่อเจอน้ำคันดินก็อ่อนตัวมิใช่หรือ จะกันน้ำได้อย่างไร กลับจะกลายเป็นผลเสียในภายหลังรึเปล่า
ที่ถามเช่นนี้ เพราะคิดว่าน้ำท่วมแบบนี้คงไม่ใช่หนเดียว อาจมีอีกในปีหน้าปีโน้น ถ้าหากว่าคันดินมีผลเสียมากกว่าผลดี ก็น่าจะพิจารณาหยุดสร้างได้แล้ว

อ้างถึง
ส่วนคันระบายน้ำชั่วคราวที่ดีๆหน่อย ดังเช่นที่เอามาโพส์ตในกระทู้ข้างเคียง ผมว่าหลังน้ำท่วมคราวนี้ คงจะต้องมีการพิจารณาซื้อมาตุนไว้ เพื่อนำมาใช้ในฤดูน้ำหลากปีหน้า

ส่วนตัวผมเห็นว่า แผงของอังกฤษแบบนี้เข้าท่าที่สุด ถ้าพิจารณาราคาและประสิทธิภาพ น่าจะดีกว่าพวกท่ออ่อนทั้งหลาย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 11, 18:00
^
เป็น aqua barrier แบบไหนคะ และหนักขนาดไหนถึงกันน้ำได้ 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:08
มันเหมือนกล่องพลาสติกที่ตำรวจเอามาวางบนถนนเพื่อกั้นจราจรน่ะครับ แต่ตรงปลายทั้งสองด้านจะมีตัวล๊อคเข้าด้วยกันโดยมียางเป็นวัสดุกันซึม ต่อไปเรื่อยๆได้เหมือนตัวLegoขนาดยักษ์

น้ำหนักตัวมันคงเบาเพื่อสะดวกในการขนย้าย แต่คงต้องมีช่องให้เติมน้ำเข้าไปเพื่อถ่วงน้ำหนักเวลาใช้งาน หลังจากนั้นก็เปิดท่อระบายทิ้งไปก่อนจะขนไปเก็บ

ไม่น่าจะแพง ทำในประเทศได้แน่นอน ถ้ารู้จักดัดแปลงก็อาจจะไม่ต้องเสียค่าสิทธิบัตร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:12
ส่งการบ้านมื้อก่อนอาหารครับ


ในสหรัฐนั้น ทุกรัฐจะทำเอกสารแนะนำ แนวทางที่จะป้องกันดินกัดเซาะและตะกอนดิน ให้เกษตรกรหรือผู้รับเหมานำไปปฏิบัติ สามารถเขียนไปขอหรือโหลดเป็น PDF File จากเวปของเขาได้ เช่น

http://www.epa.gov/region8/water/stormwater/pdf/Kentucky%20Erosion%20prevention%20field%20guide.pdf

ภาพข้างล่างที่เห็นเอามาจากเวปนี้แหละ เป็นของมลรัฐเคนตั๊กกี้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:13
รายละเอียดในนั้นสมบูรณ์มาก แต่ผมขืนเอามาทั้งดุ้นท่านผู้อ่านคงจะสลบไสล เอาเป็นรูปๆมาแสดงพอเป็นสังเขปก็แล้วกัน

อย่างในภาพแรกนี้ก็แสดงหลักการใหญ่ๆ คือให้รักษาสภาพป่าไว้บ้างเพื่อซึมซับน้ำฝน บริเวณที่เปิดหน้าดินไว้จะต้องทำคันดิน ผันน้ำที่จะหลากมาจากทางด้านสูงของที่ดินไปยังตำแหน่งต่ำที่เลือกไว้ ตรงนั้นอาจจะเป็นป่าละเมาะที่ยังจะรับน้ำตะกอนได้ หรือทำบ่อดักตะกอนเป็นพิเศษอีกทีหนึ่ง

น้ำฝนจากฟ้านั้นกันไม่ได้ แต่ก่อนน้ำโคลนจะออกไป จะต้องผ่านรั้วกรองตะกอน(Silt Fence) เสียก่อน ตรงนี้ในบ้านเราถ้าหาก้อนฟางไม่ได้จะใช้กองไม้ใบหญ้าที่ถางเอามาจากที่ มาวางเป็นตัวกรองก็ยังดีกว่าไม่มีเลย

ส่วนดินที่เป็นที่ลาดชันอาจถูกกัดเซาะรุนแรง ให้ทำทางระบายน้ำให้ไปลงรวมกันที่Slope Drain เป็นจุดๆไป ดินที่เปลือยจะต้องคลุมด้วยผ้าห่มดิน(Erosion Control Blanket) หรือเกษตรกรจะหาฟางหาหญ้าแห้งมาคลุมไว้จนกว่าพืชคลุมดิน(หญ้า)จะงอกขึ้นมาใหม่ก็ได้

ด้านล่างจะต้องป้องกันน้ำโคลนไหลลงท่อระบายด้วยการทำที่กรองน้ำ(เดี๋ยวจะมีรูปให้ดู) หรือขุดบ่อไว้ดักตะกอน ให้น้ำพักในบ่อนี้ก่อนที่จะระบายน้ำใสส่วนบนให้ล้นออกไป

พืชริมตลิ่งตามธรรมชาติมีหน้าที่ป้องกันตลิ่งพัง และกรองตะกอน อย่าไปรังเกียจมันแล้วไปตัดไปถางออก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:17
อ้างถึง
อย่างในภาพแรกนี้ก็แสดงหลักการใหญ่ๆ คือให้รักษาสภาพป่าไว้บ้างเพื่อซึมซับน้ำฝน บริเวณที่เปิดหน้าดินไว้จะต้องทำคันดิน ผันน้ำที่จะหลากมาจากทางด้านสูงของที่ดินไปยังตำแหน่งต่ำที่เลือกไว้ ตรงนั้นอาจจะเป็นป่าละเมาะที่ยังจะรับน้ำตะกอนได้ หรือทำบ่อดักตะกอนเป็นพิเศษอีกทีหนึ่ง


คันดินนี้ใช้แทรกเตอร์ดันดินขึ้นมาไม่นานก็เสร็จ มีประโยชน์ในการลดตะกอนออกไปสักครึ่งนึงแล้ว แต่ในเมืองไทยไม่คิดจะทำกัน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:36
อ้างถึง
น้ำฝนจากฟ้านั้นกันไม่ได้ แต่ก่อนน้ำโคลนจะออกไป จะต้องผ่านรั้วกรองตะกอน(Silt Fence) เสียก่อน ตรงนี้ในบ้านเราถ้าหาก้อนฟางไม่ได้จะใช้กองไม้ใบหญ้าที่ถางเอามาจากที่ มาวางเป็นตัวกรองก็ยังดีกว่าไม่มีเลย


Silt Fence ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ ทีมีลักษณะคล้ายมุ้งลวด เป็นผ้ากรองเอาตะกอนไว้ น้ำให้ผ่านไปได้ ฝรั่งมีผู้รับเหมาทำการติดตั้งรั้วชนิดนี้ด้วยอุปกรณ์พ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ ชั่วโมงหนึ่งทำได้เป็นกิโลเมตร

แต่บ้านเราก็มีวัสดุทดแทน ถ้าดักตะกอนก็ทำได้ ไม่ได้มีวิธีนี้วิธีเดียว
หรือถ้ามีกฏหมายว่าต้องทำ เดี๋ยวก็มีSilt Fenceขาย ราคาก็ไม่ได้แพงอะไร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:40
อ้างถึง
ส่วนดินที่เป็นที่ลาดชันอาจถูกกัดเซาะรุนแรง ให้ทำทางระบายน้ำให้ไปลงรวมกันที่Slope Drain เป็นจุดๆไป ดินที่เปลือยจะต้องคลุมด้วยผ้าห่มดิน(Erosion Control Blanket) หรือเกษตรกรจะหาฟางหาหญ้าแห้งมาคลุมไว้จนกว่าพืชคลุมดิน(หญ้า)จะงอกขึ้นมาใหม่ก็ได้

ผ้าห่มดิน(Erosion Control Blanket)เมืองไทยมีขายครับ

ผ้าห่มดินทำหน้าที่เหมือนหนังกำพร้าเทียม เหมือนคนเราถ้ามีเหตุให้เกิดแผลถลอก หนังลอกหลุดออกไป หมอจะปิดหนังกำพร้าเทียมให้จนกว่าธรรมชาติจะสร้างหนังกำพร้าขึ้นมาใหม่
ดินที่ถูกถากเอาพืชคลุมดินออกก็เช่นกัน โดนน้ำเซาะเมื่อไหร่ก็ละลาย ผ้าห่มดินจะทำหน้าที่รักษาหน้าดินไว้ก่อนที่เมล็ดหญ้าที่โรยไว้จะงอก และเจริญเติบโตขึ้นมารักษาหน้าดินต่อไปได้ ส่วนผ้าห่มดินซึ่งทำจากเส้นใยมะพร้าวก็จะย่อยสลายไปภายในสองสามปี


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 18:58
Slope Drain คือทำท่อระบาย หรือจัดร่องน้ำให้น้ำไหลลงผ่านที่ลาดชันเป็นจุดๆไป ไม่ใช่ไหลผ่านหน้าดินทั่วไปหมดจนพังลงมาได้ จุดที่ทำSlope Drainคือจุดที่ต่ำที่สุดที่จะต้องทำคันดินผันน้ำมาตรงนั้น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 19:18
อ้างถึง
ด้านล่างจะต้องป้องกันน้ำโคลนไหลลงท่อระบายด้วยการทำที่กรองน้ำ(เดี๋ยวจะมีรูปให้ดู) หรือขุดบ่อไว้ดักตะกอน ให้น้ำพักในบ่อนี้ก่อนที่จะระบายน้ำใสส่วนบนให้ล้นออกไป

รูปแรกคือการป้องกันท่อระบายน้ำสาธารณะ(ถ้ามี)ในบริเวณ

รูปที่สองและสาม บริเวณก้นกะทะที่จัดทำเป็นบ่อตกตะกอนของไร่แห่งหนึ่ง เขาผันน้ำโคลนตะกอนให้ลงไปที่นั่น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 19:45
อ้างถึง
พืชริมตลิ่งตามธรรมชาติมีหน้าที่ป้องกันตลิ่งพัง และกรองตะกอน อย่าไปรังเกียจมันแล้วไปตัดไปถางออก

ในภาพเป็นแนวแฝกที่ปลุกไว้ป้องกันตลิ่งโดยเฉพาะด้วย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 19:50
หลักการในการรักษาสิ่งแวดล้อมในเมืองของเขา ธรรมชาติและต้นไม้เป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญมาก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 19:52
เดี๋ยวมื้อหลังอาหาร ผมจะกล่าวถึงพวกโครงการก่อสร้างครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:21
ความจริง ถ้าเมืองไทยเราสามารถให้เกษตรกรทำคันดิน(คล้ายคันนา) ผันน้ำ(ไม่ใช่กั้นน้ำไว้เช่นการทำนา) เพื่อไม่ให้ตะกอนดินที่เกิดจาก Sheet Erosion ใหลออกมาข้างนอกไร่ได้น้อยลง ก็ดีถมไปแล้ว
 
รั้วกันตะกอน เอาไว้ทีหลังยังได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:28
รั้วกันตะกอน น่าจะนำมาใช้กับการก่อสร้างก่อน เช่นงานสร้างสะพานเพื่อกันไม่ให้ดิน โคลนลงไปสู่คลอง ทำให้เกิดการตื้นเขินดังที่ผมกล่าวไว้ตอนต้น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:34
อีกสิ่งหนึ่งที่เขายอมไม่ได้คือ การที่โคลนจะติดล้อรถบรรทุก(หรือรถอื่นใด)ออกมาจากสถานที่ก่อสร้าง แล้วนำไปตกหล่นบนถนน และในที่สุดจะลงไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ

กฏหมายของเขาจะบังคับให้มีการล้างล้อรถให้สะอาดก่อนทุกครั้ง ก่อนจะผ่านออกไปข้างนอก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:36
บ่อน้ำล้างล้อแบบนี้เป็นแบบสำเร้จรูป เสร็จงานที่นี่แล้ว รื้อไปใช้งานอื่นได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:44
ขอแนะนำให้รู้จัก หมอนกันดิน (Coir Log) ที่ทำจากใยมะพร้าวอัดแน่นเข้าไปในปลอกตาข่ายใยสังเคราะห์์ที่เหนียวเป็นพิเศษ

หมอนที่ยาวเหมือนหมอนข้างยักษ์นี้มีประโยชน์หลายอย่าง เพราะสามารถกรองน้ำกักเก็บตะกอนไว้ เหมือนรั้วกันตะกอน แต่ใช้งานได้หลากหลายกว่า

ดังเช่น

นำมาเป็นตัวกรองป้องกันตะกอนลงไปสู่ท่อระบายน้ำในสถานที่ก่อสร้าง ตามข้อบังคับของกฏหมาย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:46
นำมาล้อมกองดินกองทรายในสถานที่ก่อสร้างไว้ ไม่ให้ไหลนองไปเมื่อฝนตก

พวกนี้ กฏหมายบังคับให้ทำทั้งนั้น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 21:59
หมอนกันดิน และรั้วกันดิน เป็นทางเลือกในงานลักษณะเดียวกัน คือกันตะกอนดินจากสถานที่ก่อสร้างลาดชัน(ไม่มาก)ด้วย



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:03
เมืองไทยเคยมีการใช้แนวคิดลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน โดยใช้ไม้ไผ่ แต่ไม่ได้ผลเพราะมีช่องว่างระดับผิวดินแยะ

ไม่เหมือนหมอนกันดิน ที่อ่อน โค้งแนบกับดินได้สนืท และกักเก็บตะกอนได้จริง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:06
บทบาทของหมอนกันดินในงานก่อสร้าง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:09
และแม้ในไร่เกษตรกรรม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:14
การใช้งานหลังเกิดไฟป่า ผิวดินเปลือยไร้พืชคลุมดินพร้อมที่จะถูกน้ำฝนกันเซาะ หมอนกันดินจะกักเก็บตะกอนไว้ไม่ให้ไหลลงไปกับน้ำ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:25
ผ้าห่มดิน (Erosion Control Blanket)

จะใช้เมื่อต้องการปลูกหญ่้าลงบนพื้นที่ลาดชันให้ได้ผลดี และสม่ำเสมอ เพื่อที่จะเร่งให้พืชสามารถปกป้องหน้าดินไว้จากฝนได้เองโดยธรรมชาติ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:34
ปกติ จะใช้วิธีการหว่านเมล็ดหญ้าลงไป (หญ้ารูซี่ Ruzi เป็นหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ รากยาวยึดดินดี มีแหล่งเพาะเมล็ดขายที่ขอนแก่น) ติดตั้งผ้าห่มดินทับลงไป ตรึงด้วยหมุดไม้ให้ติดแน่นกับดิน แล้วรอฟ้ารอฝน ถ้าไม่แล้งจัด หญ้าจะงอกและจะรักษาหน้าดินได้ตามธรรมชาติภายในฤดูกาลเดียว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:37
หญ้าแฝกจะงอกงามและมีอัตราการอยู่รอดดีขึ้น หากชำลงบนผ้าห่มดิน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:43
แฝกเป็นพืชที่ดีมากในการป้องกันดินกัดเซาะและกักเก็บตะกอนดิน แต่ปัญหาก็คือ ในขณะที่ชำแฝกลงไม่ใหม่ รากยังไม่ยาวพอ หากมีฝนตกหนัก น้ำฝนจะชะจนแฝกหลุดลงมาได้

แต่แฝกที่ชำลงบนผ้าห่มดิน จะไม่เป็นเช่นดังกล่าว เพราะผ้าห่มดินจะชลอน้ำและช่วยยึดโคนแฝกไว้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 22:47
ผ้าห่มดิน และหมอนกันดิน หากใช้ด้วยกัน จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพื้นที่ลาดชันได้ดีขึ้นด้วย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ต.ค. 11, 23:00
คุณตั้งยังอยู่ไหมครับเนี่ย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ต.ค. 11, 08:28


ตอนนี้ฟังคุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร พูดล่าสุดนี่ดีกว่าครับ ฟังง่ายดี สรุปดี


บันทึกคลิปวีดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นกับกทม.และเขตรอบนอก ตอนที่ 3 วันที่ 19 ต.ค. 2554


http://www.youtube.com/watch?v=1gmzeltpo-Y


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ต.ค. 11, 08:43
^
^
http://www.youtube.com/watch?v=1gmzeltpo-Y

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ต.ค. 11, 10:38
คันดินที่หญ้าแฝกยึดดินไว้ได้เรียบร้อย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ต.ค. 11, 10:47
คุณตั้งยังอยู่ไหมครับเนี่ย
ถ้าคุณตั้งรับมือกับน้ำท่วมได้แล้ว ก็คงแวะเข้ามาค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ต.ค. 11, 12:15
เพิ่งเจอข่าวเรื่องทำนบกั้นน้ำพัง 
อุตรดิตถ์ - ชาวบ้านวังดินร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบทำนบกั้นน้ำมูลค่า 19 ล้าน หลังสร้างไม่ถึงปีพังเสียหาย แถมกักเก็บน้ำไม่ได้ โอดที่ผ่านมาหมู่บ้านประสบภัยแล้งต่อเนื่อง หลังมีทำนบกั้นน้ำหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่พอเห็นทำนบถึงกับอึ้ง เพราะนอกจากน้ำจะไม่มีแล้วดินทำนบยังยุบทั้งที่เพิ่งสร้างไม่นาน

นอกจากตัดไม้ทำลายป่า ปลูกไร่ข้าวโพด  ก็ยังมีปัญหาเรื่องทำทำนบไม่ได้ผลอีก
       
เข้าไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ
ชาวบ้านวังดินโวยทำนบกั้นน้ำพัง โอดเพิ่งทำไม่ถึงปีแถมไม่มีน้ำกักเก็บ

 (http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000133771)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ต.ค. 11, 10:58
คุณตั้งของผม เบี้ยวหายไปแล้ว

คุณตั้งคร้าบบบบ….คุณตั้ง

ห า ย ไ ป ห นา ย ย ย ย ย

 :(   :(   :(   :(  :(



ท่านที่คิดว่า ผมเอาตะกอนดงตะกอนดินอะไรมาพูดยามหน้าสิ่วหน้าขวาน น้ำจ่อคอหอยอยู่อย่างนี้แล้ว ก็จริงอยู่

บังเอิญปีนี้น้ำมันมามากเป็นพิเศษ จะไปวิจารณ์ว่าทำงั้ยถึงเป็นแบบนี้ เดี่ยวจะโดนกล่าวหาว่าไปโยงการเมือง ผมจะละไว้ก่อนก็แล้วกัน
แต่ว่าถ้าครั้งใด น้ำยังไม่ท่วม ฝนลงหนักชั่วโมงเดียวน้ำก็ท่วม นั่นให้สันนิฐานเลยว่าในท่อระบายน้ำมีตะกอนดินนอนก้นอยู่เต็ม ตะกอนดินนี้ส่วนใหญ่ทีเดียว ก็มาจากพื้นที่ก่อสร้างในบริเวณนั้นนั่นเอง

ปีหนึ่งๆ รัฐจะมีภาระมากในการลอกทำความสะอาดท่อน้ำเหล่านี้ แล้วเงินใครละครับ ก็เงินภาษีส่วนรวมที่ประชาชนเป็นผู้จ่าย โดยตัวต้นเหตุไม่รู้สีรู้สา ภาษาโบราณเขาว่า เหมือนสัตว์ไม่มีบาป (ไม่ใช่คำหยาบหรือคำด่านะครับ เป็นสำนวนกลางๆ คือเขาก็ไม่รู้จริงๆว่าควรจะทำอย่างไร เพราะไม่เคยมีใครไปแนะนำ)

ใครไม่เชื่อว่าเป็นภาระหนักของหน่วยงานรัฐ ก็ลองอ่านดู

กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำ มีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็นถนนสายหลักและถนนกรมทางหลวงซึ่งสำนักการระบายน้ำรับผิดชอบดูแลท่อระบายน้ำความยาวทั้งหมด 1,638 กิโลเมตร และสำนักงานเขตรับผิดชอบดูแลท่อระบายน้ำที่อยู่ตามซอยต่างๆ ระยะทาง 4,500 กิโลเมตร รวมความยาวของท่อระบายน้ำทั้งหมด ที่กรุงเทพมหานครดูแล 6,138 กิโลเมตร ซึ่งในงบประมาณปี 2553 สำนักการระบายน้ำได้จ้างเหมากรมราชทัณฑ์ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำระยะทาง 285 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ของสำนักงานเขตระยะทาง 1,596 กิโลเมตร รวมความยาวที่กรุงเทพมหานครจ้างเหมากรมราชทัณฑ์ทั้งหมด 1,881 กิโลเมตร สำนักการระบายน้ำจ้างแรงงานและรถดูดเลนระยะทาง 652 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ของสำนักงานเขตระยะทาง 1,525 กิโลเมตร รวมระยะทาง 2,177 กิโลเมตร ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการล้างท่อระบายน้ำรวมความยาวทั้งหมด 4,058 กิโลเมตร ส่วนความยาวที่เหลืออีก 2,080 กิโลเมตร เป็นท่อระบายน้ำที่มีดินเลนน้อยและไม่เป็นปัญหาต่อการระบายน้ำ อีกทั้งท่อระบายน้ำบางส่วนได้ล้างไปแล้วเมื่อปี 2552 ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการล้างท่อไปแล้วคิดเป็นผลงานประมาณ 15%

สำหรับการดำเนินการล้างท่อระบายน้ำจะทำให้การระบายน้ำได้สะดวกไหลลงสู่คูคลองและแม่น้ำได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครตามแผนการป้องกันน้ำท่วมที่กำหนดไว้ ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง จัดเก็บวัชพืช อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดทางน้ำให้น้ำไหลได้อย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ต.ค. 11, 12:12
เนื่องจากกระทู้นี้ผมได้บอกไว้แต่ต้นว่าผมขอคิดดังๆ(ไม่ใช่บ่นดังๆ) ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรอก แต่เป็นคนที่ครูบาอาจารย์สอนมาให้คิด และเห็นว่าใครก็มีสิทธิ์คิด ก็เอาประวัติศาสตร์ที่เคยทราบมาตรองประกอบ ว่าคนโบราณที่บ้านนี้เมืองนี้เขาอยู่กับน้ำหลากน้ำท่วมกันอย่างไรจึงไม่เดือดร้อน บ้านเมืองในพ.ศ.นี้จะเอาสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาของชาติมาประยุกติใช้ได้อย่างไร

ผมคิดว่า ถนนวงแหวนที่เป็นคันกั้นน้ำเช่นผังชุมชนเมืองสมัยโบราณ และดังโครงการพระราชดำริทั้งหลาย น่าที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นในทุกชุมชนที่อยู่ในแนวน้ำหลาก จะเริ่มจากวงเล็กวงใหญ่อะไรก็สุดแล้วแต่ ค่อยๆเริ่มค่อยขยายกันไป ถนนวงแหวน(ไม่ต้องกลมก็ได้นะครับ ขอให้วิ่งมาชนกันให้ครบวงก็แล้วกัน) จะทำหน้าที่ปกป้องชุมชนหนาแน่นอันเป็นศูนย์กลางของพาณิชยกรรมของเมือง ไม่งั้นน้ำท่วมกดATMไม่ได้เดือดร้อนตาย
แต่แน่นอน ผู้ที่อยู่ในวงแหวนนี้ ต้องจ่ายภาษีพิเศษ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีเงินไปทำนุบำรุงรักษาให้อยู่กันสบาย ในระหว่างที่คนรอบนอกเดือดร้อน

ผู้ที่มิได้อยู่ในวงแหวนก็ต้องทำใจ รอจนกว่าจะมีถนนวงแหวนรอบนอก หรือนอกของนอกต่อไปอีก ระหว่างนั้นก็ต้องหาความสนุกกับน้ำท่วมไป โดยยกพื้นเรือนให้สูงเข้าไว้ หวังว่าน้ำที่หลากลงมาจะไม่เป็นน้ำโคลน เพราะคนใหญ่คนโตเผอิญพลัดหลงเข้ามาอ่านกระทู้นี้ เขาเห็นปัญหาแล้วนำไปแก้ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ ปลาจะได้ว่ายเข้ามาใต้ถุนบ้านเหมือนสมัยผมเด็กๆ เห็นเขาเอาเบ็ดหย่อนลงไปก็ได้ปลาสลิดมาทำทอดแดดเดียวกินไม่มีขาด

ปีไหนนาจะล่มเพราะน้ำมามากก็ปล่อยให้มันล่ม ก็มันไม่ได้ล่มทุกปี เดี๋ยวนี้ยิ่งสบายเพราะระบบชลประทานเอื้อให้ทำนาได้ปีละสามครั้ง  รู้ว่าเดือนไหนน้ำท่วมทุกปีก็อย่าไปทำฤดูนั้น ยังเหลืออีกสองฤดูยังไงก็ได้กินได้ขาย ส่วนที่ขาดทุนไปบ้าง รัฐจะต้องชดเชยให้อย่างยุติธรรมและพอเพียง ก็เอาเงินประเภทเดียวกับที่เตรียมไว้จ่ายค่าเสียหายของเมือง ของภาคอุตสาหกรรมอย่างในปีนี้นั่นแหละมาจ่าย และการจ่ายชดเชยราคาข้าวก็ใช้เงินน้อยกว่ากันแยะมากกก ถ้าทำอย่างนี้ชาวนาก็อยู่ได้ไม่ลำบากสาหัสจนต้องออกมาโวยให้เกิดกลียุค

ข้างล่างไม่ใช่บางระกำโมเดลของรัฐบาลนะครับ(และผมก็หาไม่เจอว่าเขาจะทำอะไร อย่างไร) ผมเพียงแต่ลองSketchให้เป็นภาพประกอบเฉยๆ แต่ไม่สงวนความคิด และใครจะชมหรือจะด่าก็เชิญ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ต.ค. 11, 12:39
การทำถนนในประเทศนี้ก็สำคัญ ถนนที่สร้างตามแนวน้ำก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถนนที่สร้างขวางทางน้ำหลากนี่ ต้องคิดใหม่ทำใหม่แล้ว  

ถนนที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นคันกันน้ำ ก็อย่าไปกลายเป็นคันกั้นน้ำมิให้หลากลงได้โดยธรรมชาติ เกิดเป็นการขยายวงน้ำท่วมกว้างออกไป แล้วกลายสภาพเป็นน้ำท่วมขัง ตลอดจนน้ำเน่าในที่สุด

ที่พูดอย่างนี้มิใช่มิให้สร้าง ต้องสร้างครับ แต่ขอให้ทำสะพาน ทำท่อระบายน้ำลอดถนนให้ใหญ่ และให้พอกับจำนวนปริมาตรน้ำที่จะหลากมาทุกปี อย่าเขียม อย่าบอกว่าไม่มีงบประมาณพอ
การที่น้ำเขาโกรธเอาและทลายถนนลงอย่างนี้มันฟ้องนะครับ ว่าเราคิดผิดทำผิด สมควรทบทวนแก้ไข

น้ำเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอยากจะเดินทางจากที่สูงลงไปที่ต่ำ มนุษย์ผู้ต่ำต้อยอย่าบังอาจไปขวาง ต้องอำนวยความสะดวกให้ท่านดำเนินไปตามธรรมชาติของท่านให้เร็วที่สุด สะดวกที่สุด
มนุษย์อย่าผยองว่าจะเอาชนะธรรมชาติได้  ก็ได้อยู่หรอกครับ แต่ก็ชั่วคราว

วันหนึ่งท่านก็เอาคืนพร้อมดอกเบี้ยทบต้น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ต.ค. 11, 14:01
ถนนที่สร้างผ่านที่ลุ่ม หากเป็นถนนในแนวขวางน้ำคงต้องลงทุนทำถนนยกระดับ ไม่ต้องสูงเหมือนในกรุงเทพก็ได้ แต่พอให้น้ำลอดไปตามธรรมชาติของมัน

ถึงจะต้องใช้เงินลงทุนมาก ก็จำเป็นต้องทำ เพราะค่าเสียหายเวลาถูกธรรมชาติเอาคืนแล้ว มันมากกว่า


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ต.ค. 11, 14:08
เจอคลิป ธรรมศาสตร์โมเดล   เลยเอามาลงไว้ค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=JKCNcnK1JbI&feature=player_embedded#!


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ต.ค. 11, 10:24
22 ตค 54 , 20.59 น. คันดินป้องกันสถาบัน AIT แตก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ต.ค. 11, 10:46
^
ข่าวคันดิน ปฐมบทของ Ditch and Dyke สมัยใหม่ที่เอไอทีแตก ทำให้ผมสลดใจพอๆกับได้ยินข่าวการจากไปของครูบาอาจารย์ที่เคยประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้

เป็นไปได้อย่างไร สถาบันที่สอนวิชาการด้านวิศวกรรมระดับสุดยอดของอาเซียนจะคำนวณพลาด ข่าวเล็กๆที่ไม่มีการยืนยันกล่าวว่า อาจารย์ที่นั่นให้สัมภาษณ์ มีกลุ่มคนเอาจอบมาขุดทำลายเพราะคิดว่า การที่เอไอทีน้ำไม่ท่วมมันไม่ยุติธรรมสำหรับพวกเขา
เอไอทีแตก ธรรมศาสตร์รังสิตก็แตกเพราะหันหลังชนกัน

อย่างไรก็ตาม การออกแบบDitch and Dykeในอนาคตคงจะต้องใส่ Safty Factor มากกว่านี้
จะคิดว่างานวิศวกรรมขนาดใหญ่ปลอดภัย100%นั้น ไม่แน่เสมอไป
มี Safty Factorได้ ก็มี Unforeseen factor ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 11, 10:59
กำลังชื่นใจกับน้ำใจเสียสละของคนหนุ่มสาว ก็หดหู่ลงไปอีก  เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ตรงกับหัวข้อกระทู้นี้ ว่าคนไทยไม่เคยหลาบเคยจำจริงๆ

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=vvzqRVbxQHI


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ต.ค. 11, 11:11
^
โลกมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแล
.
.
อีกอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณากันต่อไปก็คือ ประตูกันน้ำเช่นนี้ที่จะต้องสร้าง ณ ที่ใดที่หนึ่งทางปากแม่น้ำที่น้ำจะใหลลงทะเล

ประตูแบบนี้จะปกติเปิดไว้ตลอดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ดั้งเดิม แต่เมื่อถึงยามคับขันจะเปิดและปิดตามเวลาที่จำเป็น
เช่น ตอนน้ำท่วมและน้ำทะเลหนุนสูง จะปิดไม่ให้น้ำเค็มไหลเข้ามาผสมร่วมกับน้ำท่วมในเมือง และเปิดตอนน้ำลง เพื่อให้น้ำส่วนเกินไหลลงทะเลได้

ดัชท์เป็นผู้คิดต้นแบบของประตูเช่นนี้ และอังกฤษเอาไปทำที่ปากแม่น้ำเทมส์ เพื่อป้องกันลอนดอน จากน้ำท่วมและ storm surge


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 24 ต.ค. 11, 11:26
เราต้องจัดการกับอะไรคะ

จัดการน้ำ
จัดการคน
จัดการผู้นำคน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 11, 11:38
ถูกทุกข้อ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 24 ต.ค. 11, 11:55
จัดการคนเลือกผู้นำด้วยไหมคะ

 :P


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ต.ค. 11, 12:04
ขั้นแรก ตามหาคนหายก่อนดีกว่าค่ะ
ใครเห็นช่วยส่งข่าวด้วย    มีประชาชนจำนวนมากคิดถึง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ต.ค. 11, 12:20
เอ้า...พอหอมปากหอมคอแล้ว ...ต่อครับ

ประตูกั้นแม่น้ำของแม่น้ำเทมส์ ลอนดอน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ต.ค. 11, 20:21
http://www.youtube.com/watch?v=tCMqF5RQwjM&feature=related


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:04
วันนี้ผมจะเอาพนังกั้นน้ำสำเร็จรูปที่ออกแบบได้ดีแบบหนึ่งเอามาให้ดูครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:11
คือว่า
บ้านเราน้ำท่วมกี่ปีกี่ชาติก็ทำเป็นแต่เอากระสอบทรายมากั้น การกั้นด้วยกระสอบทรายเป็นงานหนัก ใช้แรงงานเยอะ และได้ผลในระดับหนึ่งที่น้ำไม่แรงหรือสูงจนเกินไปเท่านั้น แต่ที่แย่ที่สุดคือหลังน้ำท่วม งานล้างทำความสะอาดเอาทรายที่แตกท่วมถนน ท่วมท่อ แทนน้ำออกไปนี่ซิครับ ยากลำบากกว่าตอนเอามากั้นมาก

ทั้งๆที่มีประสพการณ์เรื่องน้ำท่วมทุกปี ไม่จังหวัดนี้หรือจังหวัดโน้น คนไทยก็ไม่รู้จักคิดหาวิธีใหม่ๆมาทำแนวป้องกันน้ำที่จะใช้ชั่วคราว เอะอะก็จะทำแต่พนังคอนกรีตถาวร ทั้งๆที่ๆตรงนั้นมันอาจจะไม่ท่วมทุกปี
แต่เอาเถอะจะทำพนังคอนกรีตก็ทำไปผมไม่ว่า แต่ก็ต้องคิดทำพนังแบบน๊อคดาวน์ไว้ใช้ในที่จำเป็นอื่นๆบ้าง

ผมเอาตัวอย่างของเขามาให้ดู


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:12
กั้นรอบชุมชนก็ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:13
กั้นพื้นที่เดี่ยวๆก็ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:14
กั้นไปตามแนวถนนก็ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:17
พนังแบบนี้ทำไม่ยาก ไม่ต้องใช้กรรมวิธีการผลิตอันสลับซับซ้อน ยังไม่ใช้หรือใช้เสร็จก็เอาเก็บเข้าโกดังไว้ ข่าวน้ำจะมาที่ไหนก็ขนไปประกอบ
 
องค์ประกอบที่ใหญ่ๆก็มี โครงรับน้ำหนักที่ทำด้วยโลหะปลอดสนิม แผงผนังถ่ายน้ำหนักน้ำ และผ้าพลาสติกกันน้ำ และส่วนรายละเอียดปลีกย่อยในช่วงรอยต่อ หรือการติดตั้งบนพื้นต่างระดับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:17
Diagram


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:19
การติดตั้งในสถานที่จริง จะต้องทำได้ในทุกสภาพพื้นผิวดิน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:21
เสริม ยืดระดับความสูงได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:26
ตัวอย่างการติดตั้ง

ดูแล้วใช้คนไม่มาก เทียบกับพื้นที่กั้นน้ำ อย่างนี้พวกหนุ่มสาวจิตอาสาทั้งหลายคงบอกว่า ส บ า ย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:29
ด้านรับน้ำ สำคัญที่ตัวผ้าพลาสติก ต้องทอดตัวออกให้ได้ระยะ น้ำหนักน้ำที่ท่วมจะกดทับไม่ให้มวลน้ำแทรกผ่านผิวพื้นเข้ามาหลังพนังได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:32
ด้านหลัง

ผนังจะถ่ายน้ำหนักมวลของน้ำไว้ และถ่ายลงค้ำยัน ให้พนังอยู่นิ่งในระหว่างน้ำไหลอยู่ข้างนอก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:33
น้ำมาแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:44
ผมอยากเสนอให้หน่วยงานของรํฐ เช่นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ฯ ทำงานวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะไว้ต่อสู้กับวิบัติภัยที่เกิดซ้ำซากในประเทศนี้บ้าง และอยากให้รัฐส่งเสริมเอกชนที่ทำการวิจัยและผลิตของพวกนี้ออกสู่ตลาด

หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรม กอง ของกระทรวงใด จังหวัดเอง หรือ อบจ. อบต. กทม.ฯลฯ ควรมีของพวกนี้เก็บไว้ประจำคลังพัศดุ เพราะจะได้ใช้ทุกปี ปีไหนที่นี่ไปท่วมก็ให้ที่นั่นที่ท่วมขอยืมไปใช้ได้

หวังว่า ข้อเสนอนี้คงจะไม่ได้ขออะไรมากไปจนทำไม่ได้นะครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 08:57
ดูดีกว่ากระสอบทรายแยะเลยครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ต.ค. 11, 09:05
แบบนี้น่าจะติดตั้งและเก็บรักษาง่าย

คันกั้นน้ำชั่วคราว ซึ่งน่าจะเอามาใช้ในเมืองไทยได้

ผลิตภัณฑ์ของ Hydrological Solutions จากสหรัฐอเมริกา ใช้มวลของน้ำช่วยลดแรงปะทะของกระแสน้ำท่วม เกิดการยืดหยุ่นไม่ปะทะรุนแรงจนพนังดินแตกเหมือนบ้านเรา

(http://www.hydrologicalsolutions.com/files/images/hydrobaffle.jpg)

(http://www.hydrologicalsolutions.com/files/images/AB/projects/dredging1Big.jpg)

เสนอไว้พิจารณาอีกแบบหนึ่ง

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ต.ค. 11, 09:33
ผมอยากเสนอให้หน่วยงานของรํฐ เช่นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ฯ ทำงานวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะไว้ต่อสู้กับวิบัติภัยที่เกิดซ้ำซากในประเทศนี้บ้าง และอยากให้รัฐส่งเสริมเอกชนที่ทำการวิจัยและผลิตของพวกนี้ออกสู่ตลาด

หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรม กอง ของกระทรวงใด จังหวัดเอง หรือ อบจ. อบต. กทม.ฯลฯ ควรมีของพวกนี้เก็บไว้ประจำคลังพัศดุ เพราะจะได้ใช้ทุกปี ปีไหนที่นี่ไปท่วมก็ให้ที่นั่นที่ท่วมขอยืมไปใช้ได้

หน่วยงานของรัฐมักจะชักช้ากว่าเอกชน    กว่าจะวิจัย กว่าจะผลิต น้ำคงท่วมคราวหน้าไปก่อนแล้ว     เอกชนน่าจะหามาเองได้
อย่างน้อย หมู่บ้านจัดสรรควรจะมี barrier  ที่เคลื่อนย้ายสะดวกแบบนี้ไว้ใช้แทนกระสอบทราย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 25 ต.ค. 11, 10:29
Barrier ของเราน่าจะพัฒนามากขึ้นหลังจากนี้ ก่ออิฐ วางกระสอยทรายกันมาตั้งไม่รู้กี่สิบปีแล้ว ไม่เคยพัฒนาอะไรเลย
ทั้งที่อยู่กับน้ำมานาน  คงเหมือนปลาไม่รู้จักน้ำ  คนไม่รู้จักอากาศ



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ต.ค. 11, 11:01
คนไทยถนัดซื้อไงครับ กระเป๋าใหญ่ สมองลีบ ขี้เกียจคิด ซื้อเอาถูกกว่า กระทั่งกระสอบเอามาเรียงกันน้ำก็คิดจะไปซื้อญี่ปุ่น นี่โยนก้อนหินถามทางกันแล้ว


วันที่ 24 ต.ค.ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดร.ณพงศ์ นพเกตุ ที่ปรึกษาสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เดินทางมาเสนอเทคโนโลยีใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้แก่ กระสอบพองน้ำ (Hydro Bag) ที่จะนำมาใช้ในการป้องกันน้ำแทนกระสอบทราย โดย น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ดร.ณพงศ์เป็นอดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่นเห็นว่ากระสอบพองน้ำที่ญี่ปุ่นใช้ป้องกันน้ำท่วมนั้นน่าจะมีประโยชน์และประสิทธิภาพในการเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับประเทศไทย

กระสอบดังกล่าวในเวลาปกติจะคล้ายถุงผ้าหรือกระสิอบทั่วไป มีน้ำหนักเบาและพกพาสะดวก แต่เมื่อนำไปแช่น้ำเจลในกระสอบจะอมน้ำ ทำให้พองตัวมีคุณสมบัติคล้ายกระสอบทราย มีน้ำหนักและขนาดป้องกันน้ำได้ ซึ่งในญี่ปุ่นกระสอบพองน้ำนี้จะมีราคา 450 เยนหรือประมาณ 182 บาท แต่หากรัฐบาลไทยติดต่อขอเทคโนโลยีดังกล่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่น ก็จะทำกระสอบพองน้ำได้ในราคาที่ถูกกว่า หรือหากเอกชนรายใดสนใจจะซื้อมาบริจาคก็สามารถทำได้

นอ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า หากเปรียบเทียบในเรื่องของราคา แม้จะสูงกว่าทราย แต่ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ถึง 3 ครั้ง มีอายุใช้งานถึง 3 ปี อีกทั้งสารที่ใช้ก็ไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ เมื่อเลิกใช้ก็จะมีสารที่ทำให้กระสอบน้ำยุบตัวลงเหมือนเดิม จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งแม้น้ำท่วมครั้งนี้จะนำมาใช้ไม่ทัน แต่ในอนาคตก็น่าจะมีประโยชน์อย่างมาก  



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ต.ค. 11, 11:31
อายุใช้งาน 3 ปีนับว่าน้อยมาก  คงต้องตั้งงบประมาณกันใหม่อยู่เรื่อย ละมังคะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 ต.ค. 11, 21:46
พนังกั้นน้ำ ที่ท่านNAVARAT.C เสนอหน่วยงานรัฐบาลฯ  ดูจะเวิร์คที่สุดนะคะ... ;D
วิศวกรบ้านเราออกจะมากมาย ดูรูปปุ๊บน่าจะทำตามได้ปั๊บเลย...
วัสดุก็น่าจะถอดเก็บประกอบง่าย เก็บไว้ใช้ได้ยาวนานหลายปี เสริมความสูงได้ตามระดับการท่วมด้วย
เหมาะแก่การป้องกันโบราณสถานริมน้ำต่างๆ มากเลยค่ะ
เพราะท่วมทุกปี ท่วมซ้ำซาก ก็เห็นมีแต่กระสอบทรายทุกครั้ง
และก็ไม่เคยกันน้ำได้จริงสักครั้งเลย....


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ต.ค. 11, 09:28
ส่วนพนังคล้ายๆกับที่ผมเอารูปมาเล่าสู่กันฟัง ได้เคยใช้ที่วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา มาหลายปี ปีนี้บางส่วนพัง น้ำเลยเข้าได้
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า Concept ผิด ปีนี้น้ำแรงมาก และส่วนที่พังเฉพาะจุดอาจเป็น Installation error ตรงจุดนั้นก็ได้

อีกอย่างหนึ่ง พนังที่นั่น กรมศิลปากรออกแบบไว้เป็นเหล็ก หนักมาก คนไปดูงานในปีที่กั้นน้ำได้ เห็นแล้วยังท้อที่จะเอาแบบไปใช้มั่ง


พนังสำเร็จรูปต้องเบา แต่แข็งแรง เพื่อให้ใช้งานง่าย จัดเก็บง่ายด้วยครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ต.ค. 11, 10:13
ผมเอาพนังนี้ ไปเสนอความคิดไว้ที่พันทิป ในห้องหว้ากอ ถูกเกรียนคนหนึ่งเข้ามาถ่มถาม

อ้างถึง
ไอ้ที่มันคุ้มกะลาหัวคุณอยู่กันน้ำไม่ให้ท่วมนี่ละมันคือกระสอบทรายโง่ๆที่คุณดูถูกอยู่นี่แหละ

พนังเหล็กแบบนี้ เข้าได้ไหม ในพื้นที่เล็กๆ แถมเป็นโคลนริมตลิ่ง จะเอาอะไรยึดเกาะ และที่สำคัญ คุณมีปัญญากั้นแนวหลายกิโลหรือไง ที่คุณเห็น มันแค่กั้นสั้นๆ เจอน้ำ สองเมตร จะกั้นยังไงไหว ถ้าเป็นกระสอบทราย มันยังเสริมแนวได้ ไอ้นี่ มันจะเสริมแนวยังไง ขอถาม
จากคุณ   : ด่าง


ผมไม่ได้ตอบคุณด่างไป เพราะคิดว่าไร้ประโยขน์ ช่างเถอะตอนนี้บ้านเมืองมันวิปริตเต็มที

คือผมไม่ได้คิดว่ากระสอบทรายเป็นวัสดุที่ไร้ประโยขน์ ควรเลิกใช้ให้หมด ใครคิดอย่างนั้นก็โง่เต็มทน กระสอบทรายใช้งานบางอย่างได้ดี เช่นการนำไปใช้ในสถานที่คับแคบจำกัด การอุดพื้นที่ไม่กว้างใหญ่เกินไป หรือใช้วางทับช่องระบายของท่อต่างๆที่ไม่ต้องการให้น้ำไหลย้อน เพราะมันเล็กและสะดวก
แต่สถานที่ที่ไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว ดังในรูปถ่ายที่ผมนำมาให้ดูยังมีอีกแยอะแยะ จะยาวเป็นกิโลๆก็ยิ่งต้องคิดใหม่ทำใหม่

ในการต่อสู้กับข้าศึกนั้น ทหารต้องการอาวุธหลากหลายชนิด อย่างปืนก็ตั้งแต่ปืนใหญ่ ปืนเล็ก ไปจนปืนพก สำหรับใช้งานที่แตกต่างกัน ฉันใด การต่อสู้กับน้ำท่วม ก็ต้องการวัสดุและวิธีการ หลากหลาย ฉันนั้น

มีบางความเห็นบอกทำนองว่ากระสอบทรายเหมาะอยู่แล้ว เพราะพนังกั้นน้ำสำเร็จรูป จะถูกโขมย หรือถูกพังได้ง่าย

ผมก็อยากให้คิดทีละเรื่อง เราควรพูดกันเรื่องหลักการก่อน หากหลักการใช้ได้ ค่อยลงไปว่าในรายละเอียด
เรื่องนี้นั้น ควรจะรับหลักการไหมว่า ถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยควรจะคิดถึงระบบป้องกันน้ำสำเร็จรูป ใช้ง่ายเก็บง่าย สำหรับการนำมาใช้ทุกๆปี แทนที่จะก่อกระสอบทรายใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง

การใช้กระสอบทรายไปก่อพนัง ชนิดที่ทำทีเป็นหมื่นเป็นแสนลูก เกณฑ์คนมาบรรจุ และจัดเรียงเป็นร้อยเป็นพันคน ถ้ามันมีวีธีอื่นที่ในโลกเขาทำกันสำเร็จมาแล้ว เราจะไม่เปิดหูปิดตาดูเขาบ้างหรือ
หรือคิดว่าไม่ควร เพราะคนไทยขี้โขมย หรือบ้านนี้เมืองนี้ ผู้มีอำนาจรัฐไม่มีปัญญาจะป้องกันรักษาประโยชน์ส่วนกลางของประชาชนได้ ใครอยากมาทำลายก็ใช้กฏหมู่ยกพวกมากระทำได้ง่ายๆ ฉะนั้นเราจึงไม่ควรเปลืองสมองคิดอะไรใหม่ๆให้เสียเวลา กระนั้นหรือ ?


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 11, 10:37
พันทิปเป็นเว็บใหญ่ มีคนสารพัดแบบ  ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างเครียด  ถือว่านานาจิตตังค่ะ
คนที่เห็นประโยชน์ของกระทู้คุณ Navarat ก็มีไม่น้อย ในกระทู้นั้น   มีคนค้านคนเดียว และค้านด้วยอารมณ์  คนอื่นก็ไม่มีใครเห็นด้วยกับเขา

ดิฉันยังมีคำถามว่า พนังแบบที่คุณ Navarat หารูปมาให้ดู   สามารถต้านแทนแรงน้ำที่มีพลังมากๆ ได้มากน้อยแค่ไหนกว่ากระสอบทรายหนักๆคะ
เพราะดิฉันยังดูไม่ออกว่า แบบไหนสามารถกันน้ำที่มาแรงได้  กับแบบไหนกันน้ำที่ค่อยๆเอ่อท่วมขึ้นมาแบบท่วมขัง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ต.ค. 11, 10:41
ตามไปอ่าน

มาดูพนังกั้นน้ำสำเร็จรูป ติดตั้งง่าย เก็บง่าย ไม่ทิ้งความสกปรกไว้ ใช้ได้หลายปี  (http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11242887/X11242887.html)

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ต.ค. 11, 11:05
อ้างถึง
ดิฉันยังมีคำถามว่า พนังแบบที่คุณ Navarat หารูปมาให้ดู สามารถต้านแทนแรงน้ำที่มีพลังมากๆ ได้มากน้อยแค่ไหนกว่ากระสอบทรายหนักๆคะ
เพราะดิฉันยังดูไม่ออกว่า แบบไหนสามารถกันน้ำที่มาแรงได้ กับแบบไหนกันน้ำที่ค่อยๆเอ่อท่วมขึ้นมาแบบท่วมขัง

ผนังแบบนี้คงไม่เหมาะที่จะไปรับแรงปะทะของน้ำที่วิ่งมาชน อันนั้นบางทีคอนกรีตก็ยังรับไม่ไหว
 
แต่ถ้าน้ำท่วมเอ่อ  หรือน้ำวิ่งผ่าน ก็ขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำ  ผมคิดว่าสูงสุดที่น่าจะรับได้คงประมาณ๒เมตร
แต่คงต้องเสริมโครงสร้างตัวค้ำยันเพิ่ม ถ้าน้ำสูงกว่านั้น ควรรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว และไปตั้งรับในแนวที่ระดับน้ำจะไม่สูงกว่าที่พนังจะรับได้  นอกพนังก็ต้องยอมให้ท่วมไป

ในรูปนี้จะเห็นว่า ตัวขาที่พื้นยังมีร่องให้เสียบค้ำยันอีกมาก ถ้าระดับน้ำสูงกว่าที่คิด ก็สามารถไล่เสริมค้ำยันได้

แล้วเห็นไหมครับ เขาไม่ได้ไปทำในแนวต่ำติดตลิ่ง เขาถอยมาตั้งรับที่แนวสูงบนถนน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 11, 15:20
นี่เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ว่าทำไมประชาชนไม่ได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับน้ำท่วม  ที่จริงคือเขาสับสนว่าจะเดินไปทางไหนดีถึงจะรอดพ้น
เครดิต กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เราไม่ได้ขาดความรู้เรื่องน้ำ เราขาดผู้นำกำหนดยุทธศาสตร์
โดย กาแฟดำ

คนไทยที่เฝ้าติดตามข่าวสารเรื่องน้ำท่วมทางสื่อต่างๆ รวมทั้งการแถลงข่าวของ “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” หรือ ศปภ. ย่อมตัดสินใจได้เองว่าเชื่อหรือไม่เชื่อใครมากน้อยเพียงใด
ความเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น บ่อยครั้งคนรับสารก็แยกระหว่าง “หน่วยงาน” อย่าง ศปภ. กับ “ตัวบุคคล”
บางทีเชื่อคนแต่ไม่เชื่อองค์กรก็มี
เพราะเมื่อเป็นข้อมูลข่าวสารจาก “ทางการ” ที่ตรงกันข้ามกับที่ “ผู้รู้” ด้านเอกชนอธิบาย หรือแตกต่างไปจากภาพที่เห็นจากสื่อ ความน่าเชื่อถือของทางราชการก็เสื่อมถอยทันที
ยิ่งหากวิธีการนำเสนอของ ศปภ. ขาดความเป็นมืออาชีพ ไม่รวดเร็วทันกาล และใช้ภาษาที่ชาวบ้านทั่วไปฟังแล้วสับสนงุนงง ก็ยิ่งทำให้ผู้ติดตามข่าวสารขาดความเชื่อถือ
หรือไม่ก็กลายเป็นสภาพ "ทางการเตือนอะไร เราเชื่อตรงกันข้าม" ก็มี
ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ทำให้สถานการณ์ที่ย่ำแย่อยู่แล้วเสื่อมทรุดหนักหน่วงลงไปอีก
ยิ่งเมื่อหลายๆ คน ที่อยู่ในฐานะจะรู้อะไรมากกว่าชาวบ้านทั่วไป รวมถึงรัฐมนตรีบางท่านออกมาขอให้รัฐบาล “พูดความจริงทั้งหมด” กับประชาชน อย่า “แทงกั๊ก” ก็ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยว่าสิ่งที่รัฐบาลสื่อสารกับประชาชนนั้นเชื่อได้มากน้อยเพียงใด
ประชาชนจึงหันไปติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวเอกชนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการเพื่อจะให้รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง ที่ไหนจะท่วม  ท่วมเมื่อไร นานเท่าไร  และหากตนเองเจอสถานการณ์เช่นนั้น จะทำอย่างไร
 ต้องไม่ลืมว่าคนนครสวรรค์ อยุธยา อ่างทอง  ลพบุรี  ปทุมธานี  นนทบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ นั้นไม่ได้รับคำเตือนว่าจะต้องทำตัวอย่างไรล่วงหน้าจากสื่อทางการเพียงพอ การรับสถานการณ์จึงเป็นไปอย่างทุลักทุเลเต็มที
 หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยได้ฟังการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมจากผู้รู้ที่เป็นนักวิชาการซึ่งฟังแล้วน่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และทำให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
 ไม่ว่าจะเป็น คุณอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คุณปราโมทย์ ไม้กลัด คุณศศิน เฉลิมลาภ คุณเสรี ศุภราทิตย์ หรือ Team Group ที่เกาะติดข่าวสารเรื่องน้ำท่วมและเตือนคนไทยในภาคส่วนต่างๆ ว่า จะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้า
 แต่เราไม่อาจจะทราบได้ว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินทำหรือไม่ทำอะไรเกี่ยวกับการแก้ปัญหานี้ ด้วยการฟังการวิเคราะห์ของ “นักวิชาการอิสระ” เหล่านี้มากน้อยเพียงใด และแม้นายกฯ จะเชื่อตามนี้แล้ว จะสามารถสั่งการให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นหรือไม่
 เพราะมีข่าวออกมาตลอดว่า ณ ที่ทำการของ ศปภ. นั้น คลาคล่ำไปด้วยนักการเมืองจากหลายๆ ส่วนของรัฐบาลที่ต่างคนต่างก็สั่งการในด้านที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตน หรือไม่ก็สามารถจะขับเคลื่อนกลไกราชการด้วยบารมีส่วนตัว หรือความคุ้นเคยของตนกับหน่วยงานของรัฐ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 11, 15:21
อีกทั้งการประสานงานระหว่าง ศปภ. กับ กทม. ก็มีปัญหาความไม่ลงรอยกันหลายด้าน
เชื่อไหมว่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ที่แถลงเตือนประชาชนในหกเขตทางเหนือของ กทม. เมื่อกลางดึกวันอาทิตย์นั้นไม่สามารถจะออกทีวีทางการช่องไหนเลย ต้องเรียกนักข่าวไปแถลง และ “โฟนอิน” กับบางสถานีที่สนใจเท่านั้น
แสดงว่ากลไกการสื่อสารของทางการเป็นอัมพาตเสียอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
ซึ่งก็แปลว่าความรู้และการวิเคราะห์จากผู้รู้ที่ไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้นทางการเมืองนั้นไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่นั้น ไม่มีใครยืนยันได้
ผมฟังท่านผู้รู้ทางน้ำหลายๆ ท่านที่ได้เอ่ยชื่อมาแล้วก็มีข้อสังเกตว่า
เวลาไปนั่งออกอากาศกับ ศปภ. ทางช่อง 11 นั้น ท่านมีอาการเกร็ง พูดจาอธิบายความไม่ชัดถ้อยชัดคำเท่าไรนัก
ไม่เหมือนตอนไปออกอากาศกับทีวีเอกชนหรือคลื่นวิทยุทั้งหลายที่ฟังดูจะแจ้ง กล้าฟันธง เหมือนไม่ต้องเกรงใจใครที่มีตำแหน่งแห่งหนทำนองนั้น
แม้เมื่อนายกฯ กับผู้ว่าฯ กทม. “ควง” กันไปตรวจจุดน้ำท่วม กทม. หลายจุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าตรวจเสร็จแล้วท่านนั่งลงถกเรื่อง “ยุทธศาสตร์” บริหารมหามวลน้ำตรงกันหรือไม่อย่างไร...เพราะผมยังไม่เห็นท่านทั้งสองออกแถลงข่าวพร้อมๆ กันให้ประชาชนได้เห็นเป็นประจักษ์
ผมอยากเห็นนายกฯ ผู้ว่าฯ กทม. และ “ผู้เชี่ยวชาญน้ำ” ที่เสนอบทวิเคราะห์ผ่านสื่อหลายท่านออกแถลงข่าวกับสาธารณชนพร้อมกัน เพื่อบอกเราว่า “จะเอายังไงกันแน่”
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20111026/415719/news.html


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 11, 16:05
นี่ก็อีกความเห็นหนึ่งค่ะ

      ดร.วีระพันธ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ด้วยภูมิประเทศในกรุงเทพฯ เป็นแอ่งกระทะ คือพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกมีความสูงมากกว่าตรงกลาง ที่ผ่ากลางด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ดังนั้นการผันน้ำไปทางกรุงเทพฯ รอบนอกจึงทำได้อย่างล่าช้า ทางที่ดีที่สุดที่จะจัดการน้ำให้ไหลผ่านไปเร็ว ๆ คือการยอมให้น้ำผ่านเข้าตรงกลางกรุงเทพฯ และถ้าหากน้ำเข้ามาแล้วก็ต้องดูแลประชาชนให้เป็นอย่างดีด้วย

          ด้านนายคมสัน มาลิสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า การที่ กทม. เปิดประตูน้ำในคลองประเวศ ไหลผ่านลาดกระบังไปคลองพระโขนง ทำให้น้ำบริเวณลาดกระบังลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จุดสำคัญอยู่ที่คลองพระโขนง ถ้าหากสามารถผลักดันน้ำเข้าสู่ของพระโขนง ซึ่งเป็นคลองที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สุดได้เร็วที่สุด จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลง และไม่ควรให้น้ำขังที่คลองหกวามากเกินไป มิเช่นนั้นจะทำให้คันกั้นน้ำมีปัญหา ต้องสูบน้ำไปปล่อยลงแม่น้ำบางปะกง

http://www.oknation.net/blog/PRATUCHIANGMAI49/2011/10/26/entry-2


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 09:23
คลิปนี้ทำออกมาน่ารักมาก  ทำให้เข้าใจเรื่องน้ำท่วม ด้วยคำอธิบายอย่างง่ายๆ  ไม่สับสนเหมือนแถลงการณ์ก่อนหน้านี้

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=b8zAAEDGQPM


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 09:26
คลิป ตอนที่ 2

http://www.youtube.com/watch?v=LY7a88olbek&feature=youtu.be&hd=1


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ต.ค. 11, 11:53
นี่ก็ดีครับ

http://www.youtube.com/watch?v=qUJyxrN6s8c&feature=player_embedded


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: Thida ที่ 27 ต.ค. 11, 17:16
ขอบคุณนะคะ กระทู้นี้ให้ข้อมูลและให้ความรู้ดีมากๆ เลยค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ต.ค. 11, 17:31
ขอบคุณที่เข้ามาบอกครับ

ตอนนี้ติดน้ำจะท่วม ทำอะไรไม่ได้ก็อยากจะใช้เวลาให้มีเป็นประโยชน์บ้าง ดีกว่าอยู่เฉยๆ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:34
ไปเจอข้อเขียนใน Facebook ที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงค่ะ

ความเชื่อผิดๆ ในภาวะน้ำท่วม
1) ซื้อเสบียงมาแล้ว อยู่ได้เป็นเดือน โดนน้ำปิดทางเข้าออก ก็ไม่กลัว

หลายวันที่ผ่านมา ห้างค้าปลีกในกทม. มีแต่คนไปแย่งซื้อของ แย่งกันตุน
ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู ไข่ไก่ ผัก ผลไม้ มาม่า ปลากระป๋อง ข้าวสาร 
แน่นอนว่า การตุน ทำให้ทุกคนอุ่นใจ
มีมาม่า 3 โหล มี ปลากระป๋องพอกินได้เป็นเดือนๆ
สิ่งเหล่านี้แทบจะหมดค่าไป ถ้าที่อยู่อาศัยของคุณถูกการไฟฟ้าตัดไฟ
แล้วยังจะทำอะไรได้อีกครับ เจอแบบนี้?

ถ้าอยู่บ้าน ก็โชคดีหน่อย เนื้อหมู ไข่ไก่ ข้าว สามารถหุงหรือทำให้มันร้อน สุก ได้โดยใช้เตาแก้ส
แต่ถ้าอยู่คอนโด ชีวิตลำบากแล้วครับ เพราะนิติบุคคลคงไม่อนุญาตให้เราใช้เตาแก้สแน่นอน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
แทบจะหมดโอกาสต้มมาม่า หุงข้าว เลยนะครับ
อย่างมากก็เอาขนมขบเคี้ยวมากิน (แล้วมันจะอิ่มมั้ย กินมากๆอันตรายต่อร่างกายด้วยนะครับ มีแต่แป้งกับไขมัน จากน้ำมันที่ทอด ยิ่งพวกมันฝรั่งทอดนี่ตัวดี)
และอาจจะมีปลากระป๋องที่เปิดกินได้เลย ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีการปรุงอะไร

อ้อ!! อย่าลืมนะครับ ไม่มีไฟฟ้า ตู้เย็นก็ไม่ทำงาน เสบียงที่ตุนมา ไม่ช้าก็เน่าเสีย คาตู้เย็นน่ะแหล่ะ

และถ้าไฟดับ WiFi หรืออินเตอร์เน็ต ที่บ้านคุณก็ใช้ไม่ได้ทันที ทีวี วิทยุก็ใช้ไม่ได้
สิ่งที่คุณทำได้ คือ การใช้มือถือ หรือสมาร์ทโฟน ต่อเน็ต เพื่อเช็คข่าวสารต่างๆ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:35
ซักสองสามทุ่ม แบตมือถือก็หมดแล้วครับ จะชาร์จ ก็ชาร์จไม่ได้ เพราะไม่มีไฟฟ้าให้ชาร์จ
พอโทรศัพท์แบตหมด คุณก็จะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทันที
คุณไม่สามารถโทรหาใครได้ และไม่มีใครโทรติดต่อหาคุณได้เช่นกัน
ทีวี วิทยุ ก็ใช้ไม่ได้ คุณไม่มีโอกาสที่จะรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทุกอย่างในโลกใบนี้
นึกถึงความรู้สึกตอนแบตมือถือคุณหมดสิครับ หงุดหงิด รำคาญใจมากขนาดไหน
เล่น Facebook Twitter แก้เซ็งก็ไม่ได้ เพราะแบตมือถือหมดแล้ว แทบจะลงแดง
แน่นอนว่า ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น คุณจะอาการหนักกว่านั้นอีกหลายเท่า

การใช้ชีวิตกับความมืด อากาศก็ร้อน แม้แต่พัดลมยังใช้งานไม่ได้ ให้ลองนึกภาพเวลาไฟดับ แค่ 2 ชั่วโมง เราก็แทบจะขาดใจ อากาศจะหายใจยังไม่ค่อยมี ยังร้อนอีก
ใช้ชีวิตยากกว่าเดิม ลำบากกว่าเดิม หลายเท่า

และถ้าเลวร้าย ไฟดับเป็นอาทิตย์แบบแฟลตแถวดอนเมือง ที่ออกข่าวช่อง 3 ไป คิดว่าจะอยู่กันได้มั้ยครับ?
1 อาทิตย์ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำใช้ ท่ามกลางน้ำสูงระดับ เอว ไปไหนกันไม้ได้ทั้งแฟลตเลย ท่ามกลางน้ำเน่าที่ท่วมรอบแฟลต
ยิ่งถ้าถูกตัดน้ำ จะทำยังไงครับ?



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:37
น้ำต้องใช้กิน ใช้ประกอบอาหาร คุณอาจจะตุนน้ำดื่มไว้ สามโหล พอกินไปเป็นเดือนๆ
แต่น้ำที่ใช้อาบ ชำระร่างกาย หรือ เวลาขับถ่าย จะมีน้ำพอใช้รึเปล่า
เราอาจจะไม่อาบน้ำได้เป็นอาทิตย์ๆ แต่เราก็ยังต้องขับถ่ายปกติ
รู้มั้ยครับว่า การกดชักโครกที น้ำหายไป 6 ลิตร เป็นอย่างน้อย (นอกจากใช้รุ่นประหยัดสุดๆ 4 ลิตร) ถ้าถูกตัดน้ำ ก็ทำธุระส่วนตัวแค่ทีเดียว กดน้ำทีกดเกลี้ยงแล้ว ครั้งต่อไป คุณจะทำยังไง เอาน้ำดื่มที่คุณตุนมาราด ต้องเสียไปครั้งละ 6 ขวดลิตรเลยนะครับ?

ทางแก้ คือ ถ่ายใส่ถุงดำที่เตรียมไว้ แต่ถ้าหลายวัน จะทนได้เหรอครับ ไม่มีรถขยะมาเก็บขยะให้เราแล้วนะ
อย่าลืมว่า เพื่อนบ้านคุณ อาจจะไม่ได้ถ่ายใส่ถุงดำอย่างคุณ เค้าอาจจะใส่ถุงแล้วโยนทิ้งลงน้ำมาก็ได้ (ใครจะอยากเก็บไว้กับตัวเองล่ะ)
สิ่งเหล่านี้มันก็จะลอยตามน้ำมา และอาจจะหยุดอยู่ที่บ้านคุณ (แค่คิดก็สยองแล้ว)

จะสยองกว่านี้อีกครับ เพราะระบบการระบายของบ้านและคอนโด จะทำงานไม่ได้ เพราะมันเต็มไปด้วยน้ำมากมาย เกิดอาการทะลักของสิ่งปฏิกูลในบ้านและคอนโด เพิ่มเข้ามาอีก 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:38
2) น้ำมา ก็ขึ้นไปอยู่ชั้น 2 ได้ บ้านมีหลายชั้น

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า น้ำที่ท่วม ไม่ใช่น้ำใสๆครับ มันเป็นน้ำที่พัดมาจากไหนก็ไม่รู้ ทั้งดำทั้งเหม็น สิ่งปฏิกูลต่างๆก็อยู่ในนั้นแหล่ะ
ไหนจะยุง งู ตะขาบ จระเข้ ซากหนูตาย หมาแมวที่จมน้ำตาย สารพัดจะลอยมากับน้ำ
นึกภาพเราหนีไปอยู่ชั้น 2 หนีออกไปไหนไม่ได้ ชั้น 1 ที่ท่วม เป็นน้ำกึ่งๆเน่า เหม็นก็เหม็น จะอยู่กับมันได้มั้ยครับ?
และถ้ามันล้นขึ้นมาชั้นที่ 2 คุณจะยังมีชั้นที่ 3 ให้ขึ้นไปอยู่มั้ย ถ้าไม่มี แย่แล้วนะครับ เพราะถ้าล้นขึ้นมาอีก ตายสถานเดียว
 
    ลองดูน้ำท่วมที่ บางบัวทองครับ มิดหัวก็มี
    http://www.youtube.com/watch?v=2XuNCsban9g

     


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:40
3) ภัยจากน้ำ

หลายคนคงจินตนาการว่า น้ำท่วม ก็คือ มีแต่น้ำ จะอันตรายก็แค่จมน้ำ
คิดผิดถนัดเลยครับ
ในน้ำที่มาท่วมเนี่ย มีสัตว์เลื้อยคลานลอยตามมาด้วย สิ่งปฏิกูลสารพัด ก็ติดมาด้วย
นึกภาพคุณกำลังว่ายน้ำอยู่ในสระใสๆ แล้วอยู่ๆมีก้อนเหม็นๆลอยมา ผะอืดผะอม อ้วกแตกกันหมด
แต่น้ำที่มาท่วม หนักกว่านั้นเยอะครับ ไม่ต้องดม แค่เห็นหลายคนก็อาจจะแหวะ แล้วก็ได้
มีโรคเบสิคๆอย่างน้ำกัดเท้า
หรือโรคร้ายแรงอย่างโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ที่น่ากลัวมาก รุนแรงขนาดทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว ถึงตายได้เลยทีเดียว
ยังมีข่าวที่เราเห็นอยู่ทุกวัน คือ ข่าวคนโดนไฟดูดตาย
ไฟฟ้ากับน้ำ นี่ไม่ถูกกันอย่างแรง และไฟฟ้า เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยสายตาอย่างพวกจระเข้ งู นะครับ

 

น้ำที่ดูไม่มีอะไร แต่ถ้ามีไฟฟ้าเมื่อไหร่ ตายสถานเดียว ไม่มีใครช่วยคุณได้ (และก็เสี่ยงมากสำหรับคนที่จะเข้าไปช่วย)

 

 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:41
4) ไม่ได้อยู่ในเขตเสี่ยง อีกนาน อยู่กรุงเทพมาเป็นสิบๆปี คงไม่ท่วมหรอก

รู้มั้ยครับ แผ่นดินไหว 8.9 ริคเตอร์ ที่ญี่ปุ่น จนเกิดสึนามึขนาดยักษ์เข้าถล่มประเทศ พังทุกอย่างจนราบ
นั่นคือ แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด ครั้งแรก ในรอบ 300 ปี ของญี่ปุ่น
นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งที่จมอยู่ตอนนี้ ตั้งแต่สร้างมา ไม่เคยโดนน้ำท่วมเลยนะครับ ปีก่อน จังหวัดอย่างนครราชสีมาหรือโคราชซึ่งเป็นที่ราบสูงกว่า กทม.มาก  ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก ครั้งแรกในรอบ 100 ปี ก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ในช่วงชีวิตของเรา อาจจะไม่ได้เห็นภัยพิบัติ แต่ใช่ว่ามันจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลก
และถึงจะไม่เคยเห็นมาก่อน ใช่ว่ามันจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
ดังนั้น อย่าประมาทเด็ดขาด อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

    ดูคลิบของน้ำท่วมในหลายๆพื้นที่ได้ครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=ty_Wltu2bIw    

เจอคนชิวๆ ไม่เตรียมอะไร นึกถึงพวกตัวละครที่ตายก่อนเพื่อนในหนังภัยพิบัติทุกเรื่องอ่ะ จะต้องมีไอ้ตัวนี้เป็นเหยื่อ (via @art3t)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:43
5) รอน้ำมาก่อน ค่อยหนีก็ได้
เข้ากับสุภาษิตไทย "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา"
ความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่แสดงถึงความประมาทอย่างมากครับ น้ำท่วม มาที ไม่ใช่แค่ไหลๆซึมๆ จะให้เราขับรถหนีไปแบบชิลล์ๆได้
น้ำมันมาทีมันมาแบบทะลัก ไหลมาด้วยปริมาณมหาศาลครับ บางที 10 นาที ท่วมไปครึ่งล้อรถ คือ ครึ่งชั่วโมง ท่วมมิดหัว แบบที่อยุธยาก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ในเวลาแห่งความโกลาหล วินาทีวัดว่าจะตายหรือจะรอดเนี่ย คิดว่าจะมีเวลาเตรียมตัวอะไรมากมั้ยครับ น้ำมันไม่รอเราอยู่แล้ว
ถึงเราจะเร็วแค่ไหน เชื่อมั้ยครับ คนแถวบ้านคุณมีอีกเป็นร้อย เป็นพันครอบครัว แย่งกันขับรถออกมา คิดว่าจะไปไหนได้ไกลมั้ยครับ
ถ้าน้ำท่วมขนาดนั้น ขับรถเร็วไม่ได้ หรืออาจจะขับไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ
แถมเสี่ยงเครื่องยนต์ดับอีกต่างหาก (ซึ่งถ้ามันดับ คุณจะอยู่รอตายไปกับรถ เพราะเสียดายรถ หรือ จะทิ้งรถแล้วหนีเพราะเสียดายชีวิต)
ความโกลาหล จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการเอาชีวิตรอดครับ

ยิ่งถ้าคุณไม่ใช่ตัวคนเดียว มีลูก มีครอบครัว มีพ่อแม่ มีคนสูงอายุ มีหมาแมว ลองคิดดูครับ ว่าคุณจะหนียังไง
ปกติ คุณอาจจะมีรถเก๋งคันเดียว ไม่เคยมีคนนั่งไปครบสมาชิก ที่ต้องการความจุระดับรถตู้ ใครจะเป็นคนหนี แล้วคนที่เหลือทำยังไง คิดกันรึยังครับ?
ถ้าหวังความช่วยเหลือจากทางการ ที่อาจจะมาหรือไม่มาทันเวลาก็ได้ ปัญหาที่ผมได้ยินมา คือ รถ 6 ล้อของทหาร สูงมาก คนแก่ปีนขึ้นไม่ไหว ต้องใช้คนแบกขึ้นไป ไหนจะลูกเล็กๆ ตัวเปี๊ยกๆ อีกล่ะ?
ตัวคนเดียว หนีไม่ยากหรอกครับ แต่ต้องเป็นห่วงความปลอดภัยของชีวิตคนที่คุณรักด้วย

และบางทีอาจจะเป็นการสร้างความลำบากให้กับทีมผู้ช่วยเหลือ แทนที่เค้าจะไปช่วยเหลือคนอื่น ที่โอกาสเป็นตายเท่าๆกัน อาสาสมัครหลายคนต้องมาเสียเวลาช่วยแต่ครอบครัวคุณ
ปัญหาเหล่านี้ เกิดจากการตัดสินใจที่ช้าเกินไป ในการตัดสินใจของเรารึเปล่า ลองคิดดูให้ดีนะครับ
    ลองดูคลิบนี้นะครับ ดูว่าระดับน้ำเวลามันมา จะเป็นยังไง

    http://www.youtube.com/watch?v=-JPHOACy_HI

     


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:46
6) ก่อกำแพง กระสอบทรายหน้าบ้านแล้ว รอด
การแก้ปัญหาน้ำ ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ใช้วิธีแก้ไขที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ล้อมรอบ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ในการแก้ปัญหา
เราไม่ใช่ผู้รู้ขนาดนั้น รู้แค่ว่าจะกั้นไม่ให้มันเข้ามาบ้านยังไง แค่นั้นเอง ซึ่งไม่พอครับ
ทางที่น้าจะมา ไม่ใช่มีแค่หน้าบ้านเท่านั้นนะครับ รอบบ้านคุณป้องกันดีแค่ไหน
ที่สำคัญ น้ำมันจะทะลักมาทางท่อครับ ท่อระบายน้ำในบ้านของคุณ ไม่ใช่แค่ซึมๆนะครับ
แต่ในระดับ "ทะลัก" ซึ่งถ้าคุณไม่ได้ป้องกันไว้ บ้านคุณไม่เหลือแน่ ไม่มีทางป้องกันทัน เพราะมันจะเร็วจนตั้งตัวไม่ติด
และความดันน้ำที่มา มีพลังสูงมากครับ ที่เค้าเรียกกันว่า "มวลน้ำ"
ที่เห็นในข่าว นิคมต่างๆที่มีการป้องกันที่หนาแน่น คันป้องกันน้ำ มันพังได้ยังไง
มันพังได้ก็เพราะพลังจากแรงดันของน้ำ ที่จะคอยกัดเซาะ สิ่งที่กีดขวางมันอยู่ แค่ลำพังกระสอบทราย คงป้องกันได้ระดับนึงเท่านั้น
พวกนิคมต่างๆที่พัง เพราะ คันกั้นน้ำ อ่อนแอ (เพิ่งสร้าง คล้ายๆกับกำแพงที่เพิ่งก่อ ปูนย่อมไม่แห้งดี ประมาณนั้น)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 18:47
และการที่หยุดมวลน้ำเหล่านี้ไว้ด้วยวิธีกั้น มันจะสะสมพลังงานไว้ พอได้ระดับนึง ก็จะเซาะสิ่งที่ปิดกั้นมันพังได้ (ซึ่งการปล่อยระบายบางส่วน คือ การลดพลังงานที่สะสมไว้)
ขนาดนิคม ยังกั้นไม่ได้ อย่าได้คิดว่า แค่กระสอบทรายหน้าบ้านที่คุณกรอกเอง หรือซื้อเค้ามา จะช่วยอะไรได้นะครับ

    ลองดูคลิบนี้ได้ครับ "น้ำท่วมนวนคร" ทั้งการทะลักของน้ำ และความโกลาหลที่เกิดขึ้น

    http://www.youtube.com/watch?v=lgA3794AEFQ

     
ชีวิตทั้งชีวิตของเราและครอบครัว อย่าผูกมันไว้กับเงิน งาน ทรัพย์สินต่างๆ ไม่ต้องไปเสียดาย ไม่ต้องไปอาลัย ของแบบนี้ แม้ว่าจะดูพูดง่าย ตัดใจยาก แต่อย่าไปยึดติดนะครับ
    สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ผู้ล่วงลับ เคยกล่าวเอาไว้ว่า "เราจะรู้ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต ก็ต่อเมื่อเรากำลังจะตาย"
    ณ ช่วงวินาทีสำคัญของชีวิต
   สิ่งสำคัญที่สุดของคุณคือ "ความสำคัญของการมีชีวิตอยู"
   ไม่ใช่ รถ บ้าน ทรัพย์สินเงินทอง เหล่านี้
http://www.facebook.com/notes/marketing-hub/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1/267445096632832


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 27 ต.ค. 11, 20:43
นี่ก็อีกความเห็นหนึ่งค่ะ

      ดร.วีระพันธ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ด้วยภูมิประเทศในกรุงเทพฯ เป็นแอ่งกระทะ คือพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกมีความสูงมากกว่าตรงกลาง ที่ผ่ากลางด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ดังนั้นการผันน้ำไปทางกรุงเทพฯ รอบนอกจึงทำได้อย่างล่าช้า ทางที่ดีที่สุดที่จะจัดการน้ำให้ไหลผ่านไปเร็ว ๆ คือการยอมให้น้ำผ่านเข้าตรงกลางกรุงเทพฯ และถ้าหากน้ำเข้ามาแล้วก็ต้องดูแลประชาชนให้เป็นอย่างดีด้วย

          ด้านนายคมสัน มาลิสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า การที่ กทม. เปิดประตูน้ำในคลองประเวศ ไหลผ่านลาดกระบังไปคลองพระโขนง ทำให้น้ำบริเวณลาดกระบังลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จุดสำคัญอยู่ที่คลองพระโขนง ถ้าหากสามารถผลักดันน้ำเข้าสู่ของพระโขนง ซึ่งเป็นคลองที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สุดได้เร็วที่สุด จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลง และไม่ควรให้น้ำขังที่คลองหกวามากเกินไป มิเช่นนั้นจะทำให้คันกั้นน้ำมีปัญหา ต้องสูบน้ำไปปล่อยลงแม่น้ำบางปะกง

http://www.oknation.net/blog/PRATUCHIANGMAI49/2011/10/26/entry-2
ผมเพิ่งดูข่าวช่อง 3 เมื่อตอนเย็น รองผู้ว่า กทม. ดร.ธีรชน มีแผนที่จะผันน้ำออกมาทางตะวันออกโดยบอกว่าเป็นทางเดินของน้ำตามธรรมชาติและจะมีการเจาะถนนสองสายคือ Motor way กับบางนาตราดเพื่อให้น้ำลงสู่เจ้าพระยาเร็วขึ้น ผมฟังข้อมูลจากรองผู้ว่าแล้วดูเหมือนจะขัดกับข้อมูลของ ดร.ธีรพันธ์ เพราะฝั่งตะวันออกของกรุงเทพจะสูงกว่าตรงกลางทำอย่างไรจะผันน้ำมาได้และจะใช้เวลากี่เดือนที่จะส่งน้ำไปยังเครื่องสูบเพราะจากคลองหกวาไปถึงเครื่องสูบน้ำทางด้านใต้นั้นไม่มีเครื่องมือใดๆเลยคงอาศัยจากการไหลของน้ำเท่านั้นและผมเห็นว่าน้ำจะค้างอยู่ในทุ่งหนองจอก คลองสามวา มีนบุรีและลาดกระบังเป็นเวลานานและอาจไม่ได้ผล ผมเห็นตัวอย่างจากคลองระพีพัฒน์ที่ตั้งใจจะผันน้ำไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาและออกทางตะวันออกปรากฎว่าน้ำไหลลงทางประตูน้ำพระอินทร์เป็นจำนวนมากทำให้แถวรังสิตต่อเนื่องมาถึงดอนเมืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผมไม่เชื่อว่าทำแบบ กทม.จะได้ผลหรือได้ผลก็จะใช้เวลานานมากเพราะผมเห็นตัวอย่างมาแล้วที่คลองระพีพัฒน์จนป่านนี้นำยังขึ้นไม่หยุดและจะอยู่ในทุ่งรังสิตอีกนาน ใครมีความเห็นเช่นใดครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 27 ต.ค. 11, 21:05
4) ไม่ได้อยู่ในเขตเสี่ยง อีกนาน อยู่กรุงเทพมาเป็นสิบๆปี คงไม่ท่วมหรอก

รู้มั้ยครับ แผ่นดินไหว 8.9 ริคเตอร์ ที่ญี่ปุ่น จนเกิดสึนามึขนาดยักษ์เข้าถล่มประเทศ พังทุกอย่างจนราบ
นั่นคือ แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด ครั้งแรก ในรอบ 300 ปี ของญี่ปุ่น
นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งที่จมอยู่ตอนนี้ ตั้งแต่สร้างมา ไม่เคยโดนน้ำท่วมเลยนะครับ ปีก่อน จังหวัดอย่างนครราชสีมาหรือโคราชซึ่งเป็นที่ราบสูงกว่า กทม.มาก  ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก ครั้งแรกในรอบ 100 ปี ก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ในช่วงชีวิตของเรา อาจจะไม่ได้เห็นภัยพิบัติ แต่ใช่ว่ามันจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลก
และถึงจะไม่เคยเห็นมาก่อน ใช่ว่ามันจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
ดังนั้น อย่าประมาทเด็ดขาด อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

    ดูคลิบของน้ำท่วมในหลายๆพื้นที่ได้ครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=ty_Wltu2bIw    

เจอคนชิวๆ ไม่เตรียมอะไร นึกถึงพวกตัวละครที่ตายก่อนเพื่อนในหนังภัยพิบัติทุกเรื่องอ่ะ จะต้องมีไอ้ตัวนี้เป็นเหยื่อ (via @art3t)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 27 ต.ค. 11, 21:14
ผมขอเห็นต่างจากข้อมูลเรื่องนิคมอุตสาหกรรมว่าน้ำไม่เคยท่วมนั้น จริงๆแล้วพื้นที่ที่สร้างนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยานั้นเดิมเป็นที่ท้องนา สมัยก่อนน้ำท่วมทุกปีบางปีท่วมหนักมาก ปีที่สร้างถนนสายเอเซียนั้นในช่วงบางปะอินกับช่วงวังน้อยน้ำท่วมอย่างหนักแถวถนนโรจนะจนถึงวังน้อยผืนน้ำกว้างราวกับทะเล ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการเลือกทำเลจากการหาประโยชน์จากฝ่ายการเมืองมากกว่า


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ต.ค. 11, 21:24
"ดร.เสรี ศุภราทิตย์ "ค้านตัดถนน อ้างไม่มีประโยชน์ แนะรื้อกั้นน้ำคลอง 9-13 และเร่งระดมเครื่องสูงน้ำอย่างน้อย 10 ตัวน่าจะมีประโยชน์มากกว่า

ดร.เสรี ศุภราทิตย์  ผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติจากมหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และผู้จัดการใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร  ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่ให้ตัดถนนฝั่งตะวันออก 5 เส้นเพื่อระบายน้ำ เนื่องจากเข้าเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เนื่องจากน้ำฝั่งบางปะกง สูงกว่าฝั่งกรุงเทพ ดังนั้นทางออกที่ดีคือ รื้อกั้นน้ำตั้งแต่คลอง 9-13 และระดมเครื่องสูลน้ำอย่างน้อย 10 ตัว เพื่อสูบน้ำออกน่าจะมีประโยชน์ และแก้ปัญหาได้ตรงที่สุด

"เราต้องหาทางระบายน้ำ 50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ออกไป และการรื้อคันกั้นน้ำ และระดมเครื่องสูบน้ำ จะช่วยได้มากกว่า เพราะการเสนอตัดถนน ต้องพิจารณาระดับน้ำ ด้วย ภาคเอกชนที่เสนอให้ตัดถนน ต้องรับผิดชอบด้วยหากไม่ได้ผล" ดร.เสรี ให้สัมภาษณ์ TPBS เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา

 ทั้งนี้เมื่อช่วงเช้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและทรัพยากรน้ำชาวไทย นำโดย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายชูลิต วัชรสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ และนายทศพร ศรีเอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญด้านโยธา ได้เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเสนอแนวทางในการระบายน้ำในพื้นที่ตะวันออกของ กทม.
 
โดยเสนอให้ทำการขุดเจาะตัดถนนจำนวน 5 เส้น ทาง เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากพบว่าระบบระบายน้ำยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถผันน้ำเขาเครื่องสูบน้ำได้มากเพียงพอ

  5 เส้นทาง ได้แก่ ถ.ประชาร่วมใจ ถ.ราษฎร์อุทิศ ถ.สุวินทวงศ์ ถ.ร่วมพัฒนา และ ถ.นิมิตรใหม่ ซึ่งจะมีการเจาะผ่านถนนดังกล่าวประมาณ 5-6 เมตรต่อจุด โดยเราจะพยายามรวบรวมผู้รับเหมาก่อสร้างทางภาคเอกชนมาช่วยเหลือการขุดเจาะถนน โดยจะใช้เวลาเพียง 2-3 ชม.ก็ตัดเสร็จ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ต.ค. 11, 21:36
ผมเห็นด้วยกับการตัดเจาะถนนที่ขวางทางน้ำครับ

แต่

แต่ต้องให้ทหารช่างจากราชบุรีมาเตรียมทำสพานสนามไว้ให้พร้อม พอตัดเสร้จก็ให้วางทุ่นสร้างสพานเลย อย่าให้ระบบคมนาคมขาดครับ
จราจรช้าลงได้ แต่กทม.จะต้องไม่ถูกตัดขาดจากจังหวัดใกล้เคียง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ต.ค. 11, 09:41
เอามาลงไว้ให้จำ

ภาพถ่ายดาวเทียม GeoEye ที่เผยแพร่โดย NUS: National University of Singapore วันที่ 23 ตค.54

โดยเป็นพื้นที่บริเวณอยุธยา ตรงวัดพนัญเชิงวรวิหาร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ต.ค. 11, 09:43
23 ตค.54 โดยเป็นพื้นที่บริเวณอยุธยา ตรงวัดใหญ่ชัยมงคล


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 10:19
ภาพถ่ายจากดาวเทียม เห็นกระแสน้ำน่ากลัวมาก   :o

แบ่งคลิปวิดีโอจากกระทู้น้ำท่วมมาไว้ที่นี่บ้าง  ไว้เตือนใจในปีหน้า หากว่าเราจะต้องเผชิญน้ำเหนือไหลบ่าลงมาอย่างปีนี้อีก

http://www.youtube.com/watch?v=WoTktlTp7UQ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 13:54
นิด้าชี้ผังเมืองต้นเหตุน้ำท่วมสูญเสียหนัก แนะรัฐต้องกล้าจัดการผังเมืองใหม่    

นักวิชาการนิด้าเผยสาเหตุน้ำท่วมไทยหนัก ดินถล่มเกิดจากการใช้ที่ดินผิดอย่างไร้ทิศทาง เพราะนักการเมือง อดีตข้าราชการแสวงหาประโยชน์จนประเทศเสียหายจากน้ำท่วมมหาศาล มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร สิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ จ.อยุธยาถูกล้อมด้วยโรงงาน แนะจัดระเบียบผังเมืองใหม่ เชื่อจะทำให้ประเทศชาติประหยัดงบจำนวนมาก โดยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมควรตั้งใกล้เส้นทางขนส่งทางน้ำ เพื่อประหยัดค่าขนส่งและเอื้อต่อการส่งออก อีกทั้งคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินจากพื้นที่เศรษฐกิจที่ปลอดน้ำ จี้รัฐเร่งดำเนินการโยนทิ้งระบบอุปถัมภ์ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องก่อนประเทศสูญเสียมหาศาล...

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำแล้งและดินโคลนถล่มในประเทศไทย กำลังส่งสัญญาณสำคัญว่า ประเทศไทยจะปล่อยให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างไร้ทิศทางตามที่เศรษฐีต่างชาติ นักการเมือง หรืออดีตข้าราชการผู้ใหญ่สามารถใช้เงินวิ่งเต้นทำอะไรก็ได้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และให้ประเทศต้องรับภาระความเสียหาย กรณีน้ำท่วมประเทศไทยที่สร้างความสูญเสียมหาศาลและถูกอ้างเสมอว่าเกิดขึ้นเพราะฝนตกชุก

แต่แท้จริงแล้วต้นตอสำคัญของน้ำท่วม คือ การใช้ที่ดินผิดประเภทจากการแสวงหาประโยชน์ มีการใช้ที่ดินอย่างไร้ทิศทาง เช่น พื้นที่ชายเขากลายเป็นสวนยางพาราหรือไร่ส้ม ทำให้ชุมชนด้านล่างต้องเผชิญกับปัญหาดินโคลนถล่ม หรือกลุ่มทุนใช้พื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้ทำลายความสามารถของธรรมชาติในการทำหน้าที่เป็นฟองน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติ เพื่อดูดซับน้ำฝนและอุ้มน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง จนนำมาสู่ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 13:55
ขณะที่ที่ดินที่จัดไว้เพื่อเกษตรกรรมย่านรังสิตได้ถูกแปรสภาพไปเป็นหมู่บ้านจัดสรร และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา ถูกล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม มีการสร้างบ้านเรือนบุกรุกเข้าไปในทางไหลของน้ำ  มีการสร้างบ้านจัดสรร ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขวางทางน้ำ นิคมอุตสาหกรรมขยายตัวเข้าไปในพื้นที่กันชนหรือพื้นที่สีเขียว และมีโรงงานสร้างติดรั้วโรงเรียน ฯลฯ

"สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีบางคนในประเทศนี้ไม่เชื่อในเรื่องของการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เชื่อเรื่องการกำหนดโซนนิ่ง หรือการบังคับใช้ผังเมืองของประเทศนั่นเอง คนกลุ่มนี้เชื่อว่าเจ้าของที่ดินมีสิทธิส่วนบุคคลที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ความคิดเช่นนี้ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และที่สำคัญคือทำให้สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความเปราะบาง ไม่สามารถรองรับภัยธรรมชาติได้ ดังนั้นการที่ประเทศต้องจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นที่คนอยู่ ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน หรือการมีผังเมืองไทย จึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทยวันนี้ และเป็นบททดสอบสำหรับนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการต่างๆ ด้วยว่าจะสามารถตั้งใจทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตให้กับประเทศได้หรือไม่"

ทั้งนี้การมีผังเมืองไทยต้องจัดแบ่งให้เป็นสัดส่วนมีการกำหนดพื้นที่เกษตร นิคมอุตสาหกรรมควรอยู่จังหวัดไหน พื้นที่ป่าต้นน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติควรมีเท่าไหร่ ทางน้ำไหลมีเพียงพอแล้วหรือไม่ และจะให้น้ำส่วนเกินไหลไปทางใด ส่วนคนจะสร้างบ้านเรือนย่านใดและย่านธุรกิจจะอยู่ตรงไหน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ สร้างความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติ และที่สำคัญคือลดความขัดแย้งในสังคมไม่ให้เกิดปัญหา อย่างกรณีปัจจุบันที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งสร้างทำนบกั้นน้ำ ก็มีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งไปทำลายทำนบกั้นน้ำเป็นต้น      หากภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน โดยมีการกำหนดและบังคับใช้ผังเมืองไทยในระดับประเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้สูงและสมควรดำเนินการอย่างยิ่ง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 13:56
นอกจากนี้การจัดผังเมืองได้ก่อประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจ โดยพื้นที่ที่มีความได้เปรียบด้านการขนส่งทางเรือ ก็ควรจัดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง     ไม่ควรตั้งในพื้นที่ลุ่มหรือที่รับน้ำซึ่งได้ถูกน้ำท่วมอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ และจะสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าส่งออกของไทย เช่นเดียวกันกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชน หากมีการจัดให้ชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็จะทำให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน หรือระบบป้องกันน้ำท่วมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณของรัฐ ลดภาระหนี้ของประเทศ และลดภาระภาษีของประชาชน

ส่วนที่ลุ่มหรือพื้นที่รับน้ำควรจัดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ด้านการชลประทาน หากพื้นที่เกษตรกรรมอยู่อย่างกระจัดกระจายรัฐก็ต้องเสียงบประมาณสูงขึ้นในการลงทุนในระบบชลประทานในหลายๆพื้นที่ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เต็มตามศักยภาพจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการและแรงงานไทย ทั้งนี้การจัดผังเมืองไทยจะทำให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถวางแผนธุรกิจล่วงหน้าด้วยความมั่นใจ และจะทำให้นักธุรกิจทราบว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะไม่เป็นพื้นที่น้ำท่วมอีกต่อไป ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

จากการจัดพื้นที่ระหว่างพื้นที่รับน้ำกับผู้ที่อาศัยในพื้นที่ปลอดน้ำ รัฐบาลจะสามารถพัฒนาระบบการคลังสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรม โดยการเก็บภาษีที่ดินเพิ่มเติมจากเขตเศรษฐกิจที่ปลอดน้ำท่วม และนำเงินมาจ่ายชดเชยให้ประชาชนที่อาศัยในเขตรับน้ำ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้หากสามารถดำเนินการได้   มีการบังคับใช้ผังเมืองและประกาศชัดเจนว่าพื้นที่ใดทำบทบาทอะไร จะเป็นการช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 13:58
นอกจากนั้น การวางผังเมืองยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศไทยให้มีความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งการที่ประเทศไทยมีการรักษาระบบนิเวศต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่เป็นอ่างน้ำธรรมชาติ มีการสร้างทางไหลของน้ำให้เพียงพอ มีการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเขตเมืองหรือเขตนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในพื้นที่สูง หรือมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำฝนในยามจำเป็น จะทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ลดความเปราะบางของระบบนิเวศ และสร้างความสามารถในการรองรับกับภัยธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดความความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน รวมไปถึงงบประมาณของรัฐ

"แน่นอนการที่ประเทศไทยจะมีผังเมืองดังกล่าว จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งในเรื่องของข้อจำกัดของกฎระเบียบที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไทย การบริหารน้ำแบบแยกส่วนที่ให้ความสำคัญกับความเป็นกรมหรือจังหวัดมากกว่าการร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการป้องกันน้ำท่วมที่มีการเมืองและผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของคนส่วนใหญ่ และที่สำคัญคือระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้ไม่มีใครกล้าพูดความจริง และไม่กล้าพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งทุกวันนี้ การพัฒนาประเทศแบบผิดๆ ได้ทำให้น้ำกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตและนำความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศไทย ดังนั้นผังเมืองจึงเป็นการจัดระเบียบบ้านเมืองกันใหม่   เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความสอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้น รู้จักที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างชาญฉลาดดังเช่นเคยเป็นมาแต่ในอดีต".


http://www.thairath.co.th/content/eco/212329


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 19:12
สำหรับผู้ที่กำลังลังเลว่าจะอพยพ หรือไม่อพยพ  ลองพิจารณาอีกครั้ง

http://www.youtube.com/watch?v=f52Tf-pod7Y&feature=player_embedded


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 19:57
แต่ถ้าเจออย่างในข่าวนี้   ก็ไม่ต้องลังเลอีกแล้ว  อพยพได้เลย

ผงะ!จระเข้ 2 ตัวมากับ"มวลน้ำ"โผล่ใต้โทลล์เวย์ เตือนประชาชนระวังเป็นพิเศษ หวั่นเกิดอันตราย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง ว่า วันนี้ประชาชนในหมู่บ้านมณีกานต์ บริเวณถนนสรงประภาซอย 2 เขตดอนเมือง จำนวน 4 คน ที่ติดค้างอยู่ภายในหมู่บ้านได้ร้องขอความช่วยเหลือผ่านมูลนิธิกระจกเงา เพื่อให้ช่วยอพยพออกมาด้านนอก ซึ่งเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ทำการจัดส่งเรือและแพไม้ไผ่ สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 3 คน ออกไปช่วยเหลือ

ขณะที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และประชาชนในหมู่บ้านบางส่วนได้เจอจระเข้จำนวน 2 ตัว ที่หลุดมากับน้ำในบริเวณดังกล่าว จึงได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจได้รับอันตรายได้

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้ยินเสียงวิทยุสื่อสารของทหารว่า ได้รับเเจ้งมาเช่นกันว่ามีจระเข้หลุดในพื้นที่เขตดอนเมืองเช่นกัน

นอกจากนี้ ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานภายใน ศปภ. เคลื่อนย้ายรถออกจากลานจอดรถ เนื่องจากระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังมีน้ำเอ่อล้นออกมาตามท่อระบายน้ำ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่จะเดินมาปฏิบัติงานภายในศปภ.จะต้องใช้รถขนาดใหญ่หรือรถจีเอ็มซีของทหารเข้ามาแทน

ขณะที่เจ้าหน้าที่บางส่วนได้เริ่มเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าหากระดับเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อาจจะทำให้ไม่สามารถเดินทางออกไปจากศปภ.ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวโน้มของมวลน้ำที่ไหลอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างอยู่ในทิศทางที่น่าวิตก เพราะน้ำไหลเชี่ยวและแรงมาก ซึ่งอาจทำให้กระสอบทรายและคันกั้นน้ำอาจจะรับน้ำไม่อยู่ และไหลทะลักไปยังถนนลาดพร้าว ในช่วง 1-2 วันนี้ เพราะตอนนี้ถนนวิภาวดีรังสิตด้านหน้าดอนเมือง น้ำสูง 80 เซนติเมตรเเละไหลเเรงมาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20111028/416310/news.html


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ต.ค. 11, 20:54
ปลากรอบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 11, 22:04
"ตะเข้หัน"


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ต.ค. 11, 06:53
ต่อยอดความรู้

คลิปนี้ทำออกมาน่ารักมาก  ทำให้เข้าใจเรื่องน้ำท่วม ด้วยคำอธิบายอย่างง่ายๆ  ไม่สับสนเหมือนแถลงการณ์ก่อนหน้านี้

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=b8zAAEDGQPM

คลิป ตอนที่ 2

http://www.youtube.com/watch?v=LY7a88olbek&feature=youtu.be&hd=1

คลิป  ตอนที่ ๓

http://www.youtube.com/watch?v=cAKhNcAeYp0&feature=player_embedded

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ต.ค. 11, 08:38
^
กำลังหาคลิปที่ 3   คุณเพ็ญชมพูรวดเร็วทันใจชาวเรือนไทยมาก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ต.ค. 11, 17:42
อ้างถึง
นิด้าชี้ผังเมืองต้นเหตุน้ำท่วมสูญเสียหนัก แนะรัฐต้องกล้าจัดการผังเมืองใหม่   

นักวิชาการนิด้าเผยสาเหตุน้ำท่วมไทยหนัก ดินถล่มเกิดจากการใช้ที่ดินผิดอย่างไร้ทิศทาง เพราะนักการเมือง อดีตข้าราชการแสวงหาประโยชน์จนประเทศเสียหายจากน้ำท่วมมหาศาล มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร สิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ จ.อยุธยาถูกล้อมด้วยโรงงาน แนะจัดระเบียบผังเมืองใหม่ เชื่อจะทำให้ประเทศชาติประหยัดงบจำนวนมาก โดยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมควรตั้งใกล้เส้นทางขนส่งทางน้ำ เพื่อประหยัดค่าขนส่งและเอื้อต่อการส่งออก อีกทั้งคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินจากพื้นที่เศรษฐกิจที่ปลอดน้ำ จี้รัฐเร่งดำเนินการโยนทิ้งระบบอุปถัมภ์ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องก่อนประเทศสูญเสียมหาศาล...

กระทู้คล้ายข้างบนนี้ ถูกเกรียนในพันทิปรุมยำเละเทะ

http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U11257319/U11257319.html

นักวิชาการผังเมือง ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง เสนอก็ถูกด่า ไม่เสนอก็ถูกด่า เป็นอย่างนี้มาชาตินึงแล้วครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: TIRAV ที่ 29 ต.ค. 11, 21:03
ยังตามอ่านอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่น้ำเริ่มมา จนน้ำท่วมวอดวายแล้วก็ยังอ่าน และร่วมเผยแพร่ลิ๊งค์กระทู้นี้แล้วนะครับ


-ว.สิทธิญาโณ-


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ต.ค. 11, 21:47
ขอบคุณครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 11, 15:43
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกเหมือนกัน
น้ำท่วมดอนเมือง ศปภ.ต้องอพยพด่วน  ทิ้งของบริจาคไว้เกลื่อนดอนเมือง 
ยังมีผู้ประสบภัยติดค้างอยู่อีกประมาณ 600 คน

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=FkVUGKO9lX4#!


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ต.ค. 11, 17:48
^
กำลังหาคลิปที่ 3   คุณเพ็ญชมพูรวดเร็วทันใจชาวเรือนไทยมาก

มีตอนที่ ๔ มาเสนอคุณเทาชมพู

http://www.youtube.com/watch?v=9BmDfRqFnNQ

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 ต.ค. 11, 19:40
รอชมตอนต่อไปค่ะ... ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 08:48
ระวังตู้คอนเทนเนอร์ลอย  แล้วรถจะร่วง

 :o


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 08:50
ขอโทษ ย้ายความเห็นไปกระทู้ วิธีป้องกันรักษาเครื่องแอร์แล้ว ค่ะ    คุณเพ็ญจะย้ายคำตอบตามไปก็ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 15:14
คนไทยไม่กลัวน้ำท่วม

ภาพจากไทยโพสต์


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 15:30
เป็นข่าวน่าสลดหดหู่ ที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:13 น.  ข่าวสดออนไลน์

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeE9UazJOVEk1TlE9PQ==&sectioni

สลดหมา-แมวราคาแพงตายอืดคากรงเกลื่อนหมู่บ้าน เจ้าของทิ้งหนีน้ำท่วม

     เมื่อวันที่ 30 ต.ค. นางแสงเดือน ชัยเลิศ ประธานอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมภาคเหนือ กล่าวถึงการทำงานของมูลนิธิฯและอาสาสมัครจากนานาชาติที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงจากเหตุการณ์น้ำท่วมเป็นสัปดาห์ที่ 5 เริ่มจาก จ.นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา เรื่อยลงมาจนถึงเขต กทม. ปริมณฑล ซึ่งปักหลักช่วยเหลือสัตว์ในพื้นที่บางบัวทอง นนทบุรี รังสิต  ลำลูกกา คูคต ปทุมธานี เขตสายไหม และอีกหลายพื้นที่

     พบว่า มีเศรษฐีจำนวนมากทิ้งบ้าน และทอดทิ้งสุนัขราคาแพงและสัตว์เลี้ยงของตนเอง เช่น แมว นก กระต่าย อีกัวน่า ไว้ข้างหลัง มีบ้านเป็นจำนวนมากได้ขังสุนัขไว้ในกรง บางตัวจมน้ำตายลอยขึ้นอืด บางตัวเมื่อเห็นเรือเข้าไป ก็ร้องโหยหวนเพื่อขอความช่วยเหลือ    บางบ้านขังหมาหลายตัวไว้ในกรง  และน้ำท่วมจนเกือบมิดกรงสุนัข เหลือช่องอากาศไม่เกินสามนิ้ว และบางตัวว่ายน้ำกระเสือกกระสนวนไปมาอยู่ในกรงเพื่องับอากาศหายใจ เป็นภาพที่น่าหดหู่และสลดใจอย่างมาก

     ที่จ.นนทบุรี เขตบางบัวทอง และปทุมธานี ลำลูกกาคลอง พบว่าหมู่บ้านจัดสรรส่วนใหญ่กลายเป็นหมู่บ้านร้าง   เจ้าของบ้านปิดบ้านหนีน้ำท่วม ทอดทิ้งสัตว์ไว้ข้างหลัง   โดยได้ขังสัตว์เลี้ยงไว้พร้อมใส่น้ำอาหารทิ้งไว้   พอระดับน้ำสูงขึ้นทำให้สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จมน้ำตาย    พบแมวหลายตัวถูกขังไว้ในกรงแคบโดยบางตัวได้ตายคากรง       บางตัวป่วยอิดโรยและผอมโซ
     ส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากไม่ได้กินข้าวและถูกขังไว้เป็นเวลานาน   บางตัวร่างกายเปื้อนไปด้วยอึฉี่ของตัวเอง เจ้าของสัตว์ส่วนใหญ่ที่หนีไปอยู่ต่างจังหวัดและโทรมาขอความช่วยเหลือให้ไปรับสัตว์เลี้ยง        เมื่อทีมงานไปถึงพบว่าสัตว์ตายไปก่อนหน้านั้นแล้ว   
     สุนัขเช่น พันธุ์ร็อตไวเลอร์ พันธุ์ไทย บางแก้ว โดเบอร์แมน และเยอรมันเชพเพิร์ด เป็นสุนัขที่ทางทีมงานประสบกับปัญหาเข้าไปช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เจ้าของไม่ได้อยู่ด้วย เพราะสุนัขไม่ยอมให้คนแปลกหน้าเข้าใกล้ในขณะนี้อาสาสมัครชาวต่างชาติถูกสุนัขกัดไปแล้ว 6 คน

     เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา มีคนรับใช้ในบ้านเศรษฐีคนหนึ่งโทรมาขอความช่วยเหลือให้นำสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน3 ตัว ร็อตไวเลอร์ 2 ตัว พันธุ์ผสมลาบราดอร์อีก 7 ตัว ออกมาจากบ้าน   โดยอ้างว่าเจ้าของบ้านไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด    เมื่อทางทีมงานช่วยนำสุนัขเหล่านั้นออกมาไว้ในรถโมบาย   คนใช้บ้านหลังดังกล่าวได้หลบหนีไปทิ้งสุนัขไว้ โดยบอกว่าทางเจ้านายไม่อยากให้หมาตายในบ้านและไม่ต้องการสัตว์เหล่านั้นแล้ว อยากเรียกร้องให้เจ้าของสุนัขแสดงความรับผิดชอบด้วย

 สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อนำสัตว์ออกมา  และพบเห็นสุนัขจรจัดต้องการความช่วยเหลือติดต่อสายฮอตไลน์ช่วยเหลือสัตว์ได้ที่หมายเลข 087-1868804 , 085-1613988 และ 087-5776807

   *************************
อยากจะแช่งเจ้าของประเภทนี้ ให้ชาติหน้าเกิดมาอยู่ในกรงบ้าง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 15:38
ภาพชุดเดียวกันค่ะ
ไม่เข้าใจว่าคิดยังไง  ขังหมาแมวไว้ในกรง   ขณะน้ำท่วมบ้านจนตัวเองก็อยู่ไม่ได้  สัตว์เลี้ยงจะรอดได้ยังไง 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 31 ต.ค. 11, 15:44
หนูดีดี ร่วมแช่งด้วยค่ะ ขอประณามว่าเป็นคนเลวมาก ไร้หัวใจ... >:(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 11, 16:55
โดนใจ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 11, 17:41
เจอแล้วจ้า

ต้นตอที่ทำน้ำท่วม
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
v


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: TIRAV ที่ 31 ต.ค. 11, 21:34
รูปด้านบน จังหวะเซียนมาก ...


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 22:03
อย่างน้อย เราก็มีเพื่อนน้ำท่วมเหมือนกัน  เวนิสเองก็เคยเจอ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 22:11
(ต่อ)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 11, 22:17
Bangkok of the West


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 11, 22:44
ทำไมเขาไม่มีพนังกั้น    เขาปล่อยให้น้ำลงทะเลไปเองหรือคะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 พ.ย. 11, 05:22
เวนิสเป็นเกาะครับ

น้ำที่ท่วมไม่ใช่น้ำเหนือหลาก แต่เป็นฤดูที่น้ำทะเลหนุนสูง ไม่ใช่ทุกวี่ทุกวัน และตลอดเวลา

ที่ท่วมก็ช่วงน้ำขึ้น เหมือนแถวท่าพระจันทร์ตอนนี้ พอน้ำลงก็แห้ง

ไปทำพนังถาวรกั้น คงไม่มีพื้นที่จะทำได้ หรือทำได้ก็จะเสียเสน่ห์ของเมืองไป
จะหากินกับนักท่องเที่ยวก็ต้องทนไป คนที่ทนไม่ได้ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 11, 09:59
เขามีโครงการชื่อ MOSE Project  (http://en.wikipedia.org/wiki/MOSE_Project) สร้างทำนบยักษ์ เพื่อกั้น Venetian Lagoon จาก Adriatic Sea

ลากูนมีทางออกทะเล ๓ ทาง ทำนบจะสร้างที่ ๓ จุดนี้

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ee/Venedig-lagune.png/603px-Venedig-lagune.png)

ลักษณะของทำนบจะอยู่ใต้ทะเล และจะยกตัวขึ้นเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

(http://4.bp.blogspot.com/-OZLCs7Wg5GA/Tcad1XUsZDI/AAAAAAAAABM/4M_4GwiJC3M/s1600/Venice-Dams-web_1154740c.jpg)

http://www.youtube.com/watch?v=zUad2AyxhbA

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 11, 15:12
รอชมตอนต่อไปค่ะ... ;D

จัดให้ดังใจปรารถนา

http://www.youtube.com/watch?v=6Y5J1LApdpU&feature=player_embedded

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 10:48
ตอนนี้ เตือนเพื่อนทุกคนที่ยังปักหลักอยู่ในกรุงเทพว่า เธออย่าสวมรองเท้าฟองน้ำหรือรองเท้าอื่นใด เดินลุยน้ำเป็นอันขาด  ยกเว้นรองเท้าบู๊ต

เรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ในตอนนี้คือ น้ำที่ท่วมขึ้นมาในหลายเขต ไม่ใช่น้ำหลากจากเหนือมาท่วมบ้านและถนนหนทาง อย่างเดียว แต่เป็นน้ำที่ซอกซอนลงไปใต้ดิน แล้วอุ้มน้ำโสโครกจากท่อระบายน้ำทั่วเมือง ขึ้นมานองอยู่บนผิวถนน  เป็นน้ำเน่าเต็มไปด้วยเชื้อโรคสารพัดชนิด  
ชาวกรุงที่ไม่มีทางเลี่ยง ต้องลุยน้ำไปทำงาน หรือค้าขาย  ก็เท่ากับลุยไปในท่อน้ำครำทุกวัน   ถ้าคุณมีแผลที่เท้าและขาแม้แต่นิดเดียว  เชื้อโรคร้ายแรงอาจเข้าสู่ร่างกายให้ต้องเข้าโรงพยาบาลได้   แม้แต่ไม่มีแผล  ก็อาจรับเชื้อได้ทางผิวหนัง
เมื่อคืนดูข่าว เด็กอายุ 9 เดือนตายไปแล้วหนึ่งรายเพราะน้ำสกปรกนี่เอง
เป็นห่วงพระสงฆ์องค์เจ้าที่ท่านเดินลุยน้ำรับบิณฑบาต  เพราะท่านไม่สวมรองเท้า  ถ้าเหยียบขยะหรือของมีคมเป็นแผลขึ้นมา จะเป็นเหตุให้ได้รับเชื้อง่ายมาก  

นึกถึงคุณดีดี     เป็นห่วงว่าคุณจะลุยน้ำสกปรกออกไปทำงานทุกวันเช้าเย็นได้ยังไง อย่างปลอดภัย  ถ้าน้ำท่วมสูงเกินบู๊ตของคุณน่ะค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 14:43
ภาพนี้เป็นกำลังใจแก่ปวงประชา

“ข้าพเจ้าเข้าใจคนที่ลำบากน้ำท่วม บ้านข้าพเจ้าก็น้ำท่วม แต่ยังคิดว่ามีแรงเหลือมาช่วยพี่น้องประชาชน ส่งหน่วยแพทย์ดูแลสุขภาพประชาชนและสัตว์เลี้ยง ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะไม่ปั๊มน้ำออกจากบ้าน เพื่อให้บ้านน้ำแห้ง ข้าพเจ้ายอมจมน้ำเหมือนประชาชนทุกคน และเราจะแก้ปัญหาน้ำท่วมนี้ไปด้วยกัน ข้าพเจ้าได้สั่งแม่บ้านของข้าพเจ้า ให้ทำอาหารส่งหมู่บ้านที่ห่างไกล ทราบว่าแม่บ้านทำอาหารแจกชาวบ้านโดยรอบ 1,000 กว่ากล่อง ต่อวัน ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะกลับกรุงเทพฯ ทุกสัปดาห์ จนกว่าเข้าสู่ภาวะปกติ ขอให้ทุกคนสู้ อดทน และพวกเราจะฝ่าวิกฤตการณ์นี้ไปด้วยกัน...”

http://www.dhammagood.com/home/index.php?option=com_content&view=article&catid=2%3A2011-02-23-10-35-58&id=285%3A2011-10-28-01-56-39&Itemid=136


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 14:57
สื่อนอกยก รู้สู้ flood ให้ข้อมูลน้ำท่วม เจ๋งกว่ารัฐบาล (http://news.mthai.com/news-clips/138781.html)

สำนักข่าววอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้กล่าวชื่นชมคลิปวิดีโอแอนิเมชันสุดสร้างสรรค์ รู้สู้ flood ที่นำทีมการผลิตโดย นายธวัชชัย แสงธรรมชัย ผู้รวบรวมกลุ่มอาสาสมัครในแวดวงแอนิเมชันมาทำสื่อเพื่ออธิบายและปฏิบัติตัวรู้เท่าทันเรื่องน้ำท่วม ในชื่อ “กลุ่มรู้สู้ Flood” ว่า

เป็นคลิปวิดีโอที่ตอบโจทย์ และให้ข้อมูลน้ำท่วมกับผู้ประสบภัยได้อย่างครบถ้วนสมบรูณ์ ด้วยภาษา วิธีเล่าเรื่องที่สนุกสนาน อธิบายข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งยังรู้จักเปรียบเทียบปริมาณน้ำครั้งนี้เท่ากับ ๕๐ วาฬสีน้ำเงิน ล้านตัว ที่ดูน่ารักและเข้าใจง่าย

(http://news.mthai.com/wp-content/uploads/2011/11/500x267xDSC02273.jpg.pagespeed.ic.AxRZn1-oFt.jpg)

นอกจากนี้รายงานระบุด้วยว่า ข้อมูลที่กลุ่มดังกล่าวจัดทำขึ้น ชัดเจน และเชื่อถือได้มากกว่าของฝั่งรัฐบาลเพราะภาครัฐมีการรายงานข้อมูลกันไปคนละทิศคนละทาง จนประชาชนแทบจะไม่อยากรับฟังข่าวสาร และด้วยการที่มีข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจง่ายครั้งนี้ก็มีผู้ชมเข้าไปกด Like ในเฟสบุ๊คแล้วถึง ๗๘,๐๐๐ ครั้ง

ด้าน จอน รัสเซลล์ บรรณาธิการเอเชีย ที่ปักหลักในประเทศไทยของ “เดอะ เน็กซ์ เว็บ” (The Next Web) เว็บไซต์ข่าวสารเทคโนโลยีระหว่างประเทศ ให้เหตุผลที่วิดีโอชุดนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ว่า เป็นเพราะสามารถเติมเต็มความต้องการข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือให้แก่ประชาชนมากกว่ารัฐบาลที่บอกว่าเอาอยู่ ๆ แต่สุดท้ายก็ประกาศรับมือไม่ไหว สั่งเร่งอพยพในที่สุด

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 15:13
สับสนจริงๆ   
ตอนนี้มวลน้ำผ่านบ้านดิฉัน   ไหลไปยังท้องถิ่นที่ต่ำกว่าแล้ว   ฟังเหมือนนายกฯพูดว่าถ้าพ้นวันที่น้ำทะเลหนุนสูงแล้วก็ปลอดภัย
แต่พอไปดูแผนที่ทางอากาศ  เห็นมวลน้ำยังแผ่อยู่เหนือกรุงเทพและปริมณฑลอีกมาก    เลยไม่แน่ใจว่าเจ้าวาฬสีน้ำเงินยังแห่กันมาอีกกี่ตัว  ตัวสูงหรือตัวเตี้ยกว่าตัวที่ว่ายผ่านหน้าบ้านไปแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 15:23
คุณเทาชมพูเตรียมพร้อมรับเจ้าวาฬสีน้ำเงินแล้วหรือยัง

ขอแนะนำอย่างเดียวกับที่เคยให้คุณชูพงศ์และคุณนวรัตนไว้

มี ประสบการณ์จริง ๒๕ ข้อ จากคนที่นํ้าท่วมบ้านแล้ว (http://www.ceat.or.th/2010/images/stories/paper/54-56/25-27-54.pdf) โดยคุณสุเทพ เตมานุวัตร์ หมู่บ้านมณีรินทร์ ๓๔๕ มาเสนอ

คุณชูพงศ์และคุณนวรัตนคลิกเข้าไปอ่านได้เลย

อาจมีประโยชน์เมื่อภัยมาถึงตัว

ด้วยความเป็นห่วง

 :o


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 16:00
เตรียมแล้วค่ะ 
ถ้าหายหน้าไปจากเรือนไทยเมื่อไร แปลว่าอพยพไปนอกเขตอินทรเนตรแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ย. 11, 21:18
ข่าวจากผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139673

     วันนี้ (2 พ.ย.)นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า  จากการลงพื้นที่ฝั่งธนฯที่ผ่านมายอมรับว่าปริมาณน้ำมากเหลือเกิน โดยเฉพาะที่บริเวณปากคลองทวีวัฒนา ทำให้เกรงว่าสถานการณ์น้ำของฝั่งธนบุรีน่าจะหนักแน่ เพราะมีมวลน้ำอีกราว 2,500 – 3,000 ล้าน ลบ.ม.อยู่ที่ด้านนี้
     ผู้สื่อข่าวถามว่า พื้นที่ฝั่งธนฯมีพื้นที่ใดบ้างที่มีโอกาสรอดจากภาวะน้ำท่วม นายปลอดประสพ กล่าวว่า คงเป็นไปได้ยาก เพราะน้ำที่มาจาก จ.นนทบุรี ไหลมาทางนี้ทั้งหมด ดังนั้นไม่ว่าส่วนใดก็มีความเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่ริมคลอง แต่ดูรูปการณ์แล้วน่าจะโดนทั้งหมด ขอให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือ
   
    ก็ต้องเตรียมพร้อมอพยพแล้วค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 02 พ.ย. 11, 22:36
"


เพื่อนรุ่นน้อง อยู่แถวๆบ้านจันทร์ส่องหล้า ปิดบริษัท-ป้องกันเท่าที่ทำได้-แจกเงินเดือนลูกน้องล่วงหน้า-อพยพไปอยู่ชลบุรีตั้งแต่สองสัปดาห์ที่แล้ว
เขาตื่นตูม-ตระหนกเกินเหตุ-หรือวิเคราะห์ได้ถูกต้อง

ทำไมคันกระสอบทรายหน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯที่ถนนสีลม จึงสูงสองเมตร.............?
ทำไมชาวบ้านตาดำๆจึงต้องอพยพแบบฉุกละหุกแทบทุกบ้านและทุกที่....?

ระดับน้ำที่จะท่วมกทม. เฉลี่ย 1-2-3 เมตรกันแน่...?


อพยพทันที.?............ดีกว่าไหมครับอ.เทาชมพูและแก๊งค์ลูกน้ำทั้งหลาย......?


 :(


.


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 พ.ย. 11, 19:08
อ้างถึง
3 พย. 2554 17:14 น.


น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอที่ให้รัฐบาลทำฟลัดเวย์ ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า รัฐบาลจะน้อมนำกระแสรับสั่งในเรื่องของฟลัดเวย์ และจะนำเรื่องนี้ไปให้คณะกรรมการที่จะพิจารณาเรื่องการฟื้นฟูระบบน้ำอย่างถาวร แต่เบื้องต้นจะเร่งดูการบูรณะถนนหนทางต่างๆให้ใช้ได้โดยเร็ว


สาธุ สาธุ สาธุ

ขอให้จริง



ขอให้จริง




ขอให้จริง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 พ.ย. 11, 20:56
ขออัญเชิญมาไว้

ท่านที่อ่านกระทู้มาถึงตรงนี้ ต้องฟังพระราชกระแสรับสั่งตั้งแต่ ๒๕๓๘มาแล้ว
ไม่ทราบว่าคนทั้งหลายที่นั่งพยักหน้าหงึกหงักในจอทำอะไรกัน จนกระทั่งพ.ศ.นี้
http://www.youtube.com/watch?v=Uv5HO7nA5EQ&feature=related

ต่อไป คลิ๊ปนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ ถึงพระปรีชาสามารถในเรื่องน้ำที่หาใครในแผ่นดินนี้เทียบมิได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 11, 20:59
พระมหากรุณาธิคุณคุ้มเกล้าชาวไทยมาตลอด


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 11, 21:02
อ้างถึง
3 พย. 2554 17:14 น.


น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอที่ให้รัฐบาลทำฟลัดเวย์ ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า รัฐบาลจะน้อมนำกระแสรับสั่งในเรื่องของฟลัดเวย์ และจะนำเรื่องนี้ไปให้คณะกรรมการที่จะพิจารณาเรื่องการฟื้นฟูระบบน้ำอย่างถาวร แต่เบื้องต้นจะเร่งดูการบูรณะถนนหนทางต่างๆให้ใช้ได้โดยเร็ว

สาธุ ที่ท่านๆ รู้กันเสียทีว่าฟรีเวย์กับฟลัดเวย์  ไม่เหมือนกัน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 พ.ย. 11, 18:10
รู้สู้ flood ตอน ๖

http://www.youtube.com/watch?v=28h5i7Dz0bc&feature=player_embedded

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 พ.ย. 11, 08:10
เรื่องเก่า เอามาบันทึกฟ้องไว้ให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

เด็กทรท.รุมฉีกฟลัดเวย์ 10 บิ๊กอสังหารอส้มหล่น ( December 19, 2004 )


กลุ่มทุนอสังหาฯ-นักการเมือง ดิ้นอีกรอบ !ขอปรับสีผังที่ดินแนว"ฟลัดเวย์ " กว่าแสนไร่รอบสนามบินสุวรรณภูมิ วิ่งฝุ่นตลบ ล็อบบี้รัฐบาลทักษิณขอปรับสีผัง ระบุหัวโจกใหญ่ เป็นกลุ่มส.ส. พรรคไทยรักไทยเขตมีนบุรี "วิชาญ มีนชัยนันท์" ครอบครองที่ดิน กว่า1,000 ไร่ เผย10 บิ๊กนักพัฒนที่ดิน ตุนที่ดินในเขตเขียวลายเพียบ ไล่ตั้งแต่ "ประสงค์ เอาฬาร-หมอบุญ –ศุภาลัย-พฤกษา –แลนด์แอนด์เฮาส์-เค.ซี –บีแลนด์-ประภาวรรณกรุ๊ป รวมถึงตระกูลดัง"อัศวเหม" และอดีตเจ้าแม่อาวุธ "ราศี บัวเลิศ" พ้องเสียงผลักดันอยากปรับสีผังเป็นสีเหลือง ขณะที่ "วิษณุ" สั่งกทม.รื้อร่างผังเมืองใหม่ข้อ 38 อ้างให้อำนาจกทม.เกินขอบเขต พร้อมฟันธงเลื่อนประกาศใช้หลังเลือกตั้ง "อภิรักษ์"ผู้ว่ากทม.เสียงอ่อยแก้ไม่แก้สีผังแล้วแต่ครม.

สืบเนื่องจากหนังสือพิมพ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มนักการเมืองที่ได้ออกมาเคลื่อนไหว ขอแก้ไขผ่อนปรนร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(กทม.)ฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้แทนผังเมืองรวมกทม.ฉบับที่ 414ที่หมดอายุลงไปเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 และกทม.กำหนดที่จะประกาศใช้ในช่วงสิ้นปี 2547ไม่เกินเดือนมกราคม2548นั้น

ล่าสุดนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้ร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบตั้งแต่ช่วงปลายปี 2547 ที่ผ่านมา และ คาดว่าจะสามารถประกาศได้ในราวต้นปี 2548 แต่ยังไม่สามารถระบุว่าจะเป็นช่วงไหนขึ้นอยู่กับครม.จะพิจารณาแก้ไขหรือจะมีการเลื่อนการประกาศผังเมืองกทม.ใหม่ออกออกไป

ต่อข้อถามที่ว่าจะต้องมีการแก้ไขเนื้อหาสาระเพิ่มเติมหรือไม่ หากเอกชนเห็นว่าร่างผังดังกล่าวมีความเข้มงวดเกินไป นายอภิรักษ์กล่าวว่า ยอมรับว่าร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับที่จะออกมาบังคับใช้แทนผังเมืองฉบับเก่าที่หมดอายุลง เนื้อหาสาระน่าจะเหมาะสมแล้ว เพียงต้องการให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมทำความเข้าใจและวางแผนพัฒนาที่ดินตามผังเมืองในอนาคตมากกว่า อย่างไรก็ดีกรณีที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระของร่างผังเมืองรวมกทม.ตามที่มีการร้องเรียนให้แก้ไขหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับครม.ว่าจะเห็นสมควรอย่างไร

ในขณะที่ แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ทางสำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กำหนดจะนำร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่เข้าครม.เพื่อพิจารณาเห็นชอบภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือในการจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า ที่เชื่อว่ารัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะมีเสียงข้างมาก และเข้ามาบริหารประเทศต่ออีกสมัย

ทั้งนี้ทางสำนักนายกรฐมนตรี ได้ท้วงติงว่ากทม.ไปพิจารณาร่างผังเมืองข้อ 38 ใหม่ ที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในที่ดินรองหรือพื้นที่โควต้า10 % ของการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก อาทิ การอนุญาตให้พัฒนาเชิงพาณิชย์10 % ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งกำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเป็นหลักฯลฯ โดยตั้งข้อสังเกตุว่า ไม่จำเป็นต้องสอบถามจาก กทม. อีกว่าใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ได้ เพราะจะเกิดความล่าช้าและมอบหมายให้กทม.ไปหารือกับกฤษฎีกาว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไร

อย่างไรก็ดีตามข้อเท็จจริงแล้วกรณีที่มีการประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ล่าช้าออกไปแหล่งข่าวกล่าวยืนยันว่า เพราะ มีกลุ่มนักการเมืองหลายกลุ่มในพื้นที่ อย่างกรณีของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทย และพวกพ้อง เป็นแกนนำในการวิ่งล็อบบี้รัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อขอปรับสีผังบริเวณแนว "ฟลัดเวย์" หรือพื้นที่สีขาวทะแยงเขียวทั้งหมด ที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม โซนตะวันออก บริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน กว่าแสนไร่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณเขตมีนบุรี เขตหนองจอกบางส่วน เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา ที่ร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่กำหนดให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้นหากต้องการจัดสรรที่ดินเชิงพาณิชย์จะต้องมีขนาดแปลงที่ดินขนาด 1,000 ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ขึ้นไป จากผังเดิมกำหนดให้พัฒนาตั้งแต่ 100 ตารางวาขึ้นไปได้ โดยเสนอให้ปรับจากสีขาวทะแยงเขียวหรือเขียวลายเป็นเป็นพื้นที่สีเหลือง หรือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เพื่อสามารถพัฒนาได้ทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์

ทั้งๆที่บริเวณดังกล่าวเป็นแนวพระราชดำริ กำหนดให้เป็นแนวฟลัดเวย์หรือพื้นที่รับน้ำมาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากทางตอนเหนือของกทม.เพื่อระบายลงสู่อ่าวไทยเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ดังนั้นกทม.จึงไม่สามารถที่จะปรับตามที่เอกชนและนักการเมืองกลุ่มดังกล่าวต้องการได้

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้แล้วช่วงที่ผ่านมา มีนักลงทุน นักการเมืองได้พยายามยืมมือประชาชนเจ้าของพื้นที่ โดยร่วมกับกลุ่มพัฒนาที่ดิน ส่งเรื่องร้องเรียนมายังกทม.และสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดเสียงร้องเรียนจำนวนมากๆ เพื่อต้องการผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้องเพราะมีที่ดินอยู่ในแถบนั้นไม่ต่ำากว่า1,000 ไร่

ทั้งนี้จากปัญหาในเรื่องของการเรียกร้องการปรับสีผังแนวฟลัดเวย์ ดังกล่าว ทางกทม.จะร่วมกันหาทางออกกับกรมชลประทาน ด้วยการขุดคลองระบายน้ำใหม่ ขึ้นมาแทนที่แนวฟลัดเวย์ที่กำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำทั้งหมด ซึ่งจะสามารถปรับพพื้นที่แนวฟลัดเวย์ที่เหลือเป็นพื้นที่สีเหลืองในอนาคต ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้ เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ ราว 2 ปีนับจากนี้เป็นต้นไป แต่ขณะนี้กทม.ขอยืนยันว่าจะขณะนี้ไม่ปรับเปลี่ยนสีผังแต่อย่างเด็ดขาด"

จากการสำรวจของ "ฐานเศรษฐกิจ"พบว่ามีกลุ่มนักการเมืองและบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่มีที่ดินอยู่ในพื้นที่ขาวทะแยงเขียวจำนวนมาก อาทิกลุ่มของวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตมีนบุรี พรรคไทยรักไทย และพี่น้องที่เป็นทั้งสมาชิกสภากทม.(ส.ก.)และสมาชิกสภาเขต กทม.(ส.ข.) โดยมีที่ดินรวมกันประมาณ กว่า1,000ไร่ กลุ่มนายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริษัทเวชธานีกรุ๊ป มีที่ดิน ประมาณ 500 ไร่ ,นางราศรี บัวเลิศ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทแชลเลนจ์ กรุ๊ป มีที่ดินบริเวณย่ายสุวินทวงค์ จำนวน 600 ไร่ ,นายประสงค์ เอาฬาร กรรมการบริษัท ฟอร์ร่าวิล์ จำกัดและในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรมีที่ดินบริเวณสุวินทวงค์ จำนวน 300 ไร่ บริษัทศุภลัย จำกัด(มหาชน) ของนายประทีบ ตั้งมติธรรม มีที่ดินอยู่ย่านสุวินทวงค์ 50 ไร่

นอกจากนี้บริษัทพฤกษา จำกัด มีที่ดินประมาณ 300 ไร่ ของนายเจ้าพ่อบ่านราคาถูก นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ บริษัทเค.ซีกรุ๊ป ของนายอภิสิทธิ งามอัจฉริยะกุล มีที่ดินประมาณ 2,000 ไร่บริเวณคลองสามวา บริษัทแลนด์แอนเฮ้าส์จำกัด(มหาชน) ของนายอนันต์ อัศวโภคินมีทีดินจำนวน 50 ไร่ นาง เพียงใจ อัศวโภคคิน ซึ่งเป็นมารดาของนายอนันต์ มีที่ดินอยู่บริเวณเขตลาดกระบังใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 2 แปลงรวม 1,000 กว่าไร่ นายวันชัย ชูประภาวรรณ เจ้าของบริษัทประภาวรรณกรุ๊ปมีที่ดินย่านสุวินทวงค์ประมาณ 100-200 ไร่ บางกอกแลนด์ มีที่ดินหลายร้อยไร่ และยังพบว่าตระกูลดังเมืองปากน้ำ"อัศวเหม"เองก็มีที่ดินในย่านดังกล่าวหลายร้อยไร่เช่นเดียวกันกัน

ทางด้านนายวันชัย ชูประภาวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัทประภาวรรณ กรุ๊ป กล่าวว่า มีที่ดินบริเวณพื้นที่ขาวทะแยงเขียวย่านสุวินทวงค์ จำนวน 100 ไร่ แต่ที่ผ่านมาได้ทะยอยพัฒนาไปบ้างแล้วเพราะซื้อเก็บไว้นานแล้ว โดยได้ขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทิ้งไว้ ก่อนหน้าที่ผังเมืองรวมกทม.ฉบับปัจจุบันที่หมดอายุลง จะบังคับใช้ ดังนั้นจึงสามารถพัฒนาขนาดพื้นที่ 50-100 ตารางวาได้

อย่างไรก็ดีหากมีการชะลอใช้ผังเมืองฉบับใหม่ออกไป ก็จะเป็นผลดี เพราะพื้นที่ดังกล่าวกำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม หากจะทำจัดสรรต้องมีขนาดแปลง 1,000ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ขึ้นไป แต่ขณะนี้มีปัญหาว่าบ้าหรูในบริเวณรอบหนองงูเห่าเริ่มขายไม่ออกแล้ว ที่ผ่านมาตนพยายามอุทธรณ์ให้มีการปรับเปลี่ยนสีผังมาโดยตลอด และเห็นว่าส.ส.วิชาญ มีความตั้งใจจริงในการทำงานในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนมากกว่า

ในขณะที่นายแพทย์ บุญวนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท เวชธานีกรุ๊ป กล่าวเช่นกันว่า มีที่ดินอยู่ในพื้นที่ขาวทะแยงเขียว เขตมีนบุรี ประมาณ 400-500 ไร่ ซื้อมาเมื่อ 15 ปีก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถพัฒนาอะไรได้ คงจะต้องรอกทม.ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อน ที่ผ่านมาเอกชนก็เรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนี้แต่ก็ขึ้นอยู่กับกทม.ว่าจะดำเนินการอย่างไร

นอกจากนี้แล้ว นายประสงค์ เฮาฬาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ร่าวิลล์ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่าบริษัทมีที่ดินอยู่ย่านสุวินทวงศ์ 300 ไร่ ซึ่งเดิมทีได้พัฒนาโครงการมาแล้วส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยว 100 ตารางวา ตามผังเมืองฉบับเก่า

ทางด้านนาย อภิสิทธิ์ งามอัจฉริยะกุล ประธานกรรมการ บริษัท เค.ซี.กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า มีที่ดินอยู่ประมาณ 1,000 ไร่ ขณะนี้เหลือ 200-300 ไร่ บริเวณ เขตคลองสามวา โดยที่ผ่านมาได้ยื่นขออนุญาตจัดสรรไว้ก่อนเมื่อปี 2542 ช่วงผังเมืองฉบับเก่า ส่วนพื้นที่ที่เหลือก็ต้องรอต่อไป อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์ไปแล้วของปรับสีผังเป็นสีเหลือง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวควรยกเลิกแนวเฟลัดเวย์เพราะไม่เคยปรากฎว่ามีน้ำท่วม

นอกจากนี้แล้วในหลวงท่านให้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ ที่จังหวัดสระบุรี และแก้มลิง ซึ่งไม่น่าจะมีผลกระทบเกี่ยวกับน้ำท่วมอีกต่อไป ที่สำคัญทำเลดังกล่าวอยู่ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิกำลังจะเปิดใช้ในอีกไม่นานนี้ควรจะเปิดใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเฉพาะบ้านทาวน์เฮ้าส์อาคารชุดเพื่อรองรับกลุ่มคนทำงานย่านนี้ได้แล้ว อย่างไรก็ดีได้มีเอกชนและประชาชนได้ร้องเรียนผ่านนายวิชาญ ซึ่งเป็นส.ส.ในพื้นที่จำนวนมาก ดังนั้นก็เป็นธรรมดาที่จะเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ไขในเรื่องดังกล่าว

ทางด้านนายอิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่าเป็นเกมการเมืองที่จะยื้อประกาศใช้ผังเมือง รวมกทม.ฉบับใหม่ออกไป แม้ว่าที่ผ่านมา3 สมาคมบ้านฯ ได้แก่ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และสมาคมอาคารชุดไทย ได้เรียกร้องให้มีการผ่อนปรนการใช้ประโยชน์ที่ดินมาหลายครั้งแล้วก็ตามไม่ว่าจะ เป็นที่สภาผู้แทนราษฎร, กทม. ฯลฯ แต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคทั่วไป เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยราคาถูกในเขตกทม.ได้ แต่ขณะนี้ได้มีกลุ่มนักการเมืองที่มากกว่า 1-2 ราย ในพื้นที่ ต้องการวิ่งเต้นของแก้ไขผังบริเวณแนวฟลัดเวย์เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งมองว่าไม่น่าจะทำเช่นนั้น หากจะช่วยประชาชนจริงๆ ควรผลักดันเพื่อขอแก้ไข ทั้งหมดจะดีกว่า นอกจากนี้แล้วทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการสภาฯเพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากผลกระทบของร่างผังเมืองกทม.ฉบับดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงอีกด้วย

นายโชคชัย บรรลุทางธรรม นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยกล่าวว่า เชื่อว่าสาเหตุที่รัฐบาลได้เลื่อนการพิจารณาร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับใหม่ออกไป พิจารณาหลังการเลือกตั้งเนื่องจาก เล็งเห็นถึงความไม่พร้อมของร่างผังเมืองฉบับดังกล่าวมากกว่า โดยเฉพาะความเข้มงวดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะเป็นปัญหาอุปสรรคของเอกชนและประชาชนเจ้าของที่ดิน อย่างไรก็ดีสมาคมฯอาจจะจะอาศัยจังหวะนี้เข้าร้องเรียนต่อสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยผลักดันในการแก้ไขผังต่อไป

ที่มา http://www.reic.or.th/home_eng/news/news_detail.asp?nID=570&p=9&s=15&t=14
ข่าวเก่าจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 06 พ.ย. 11, 08:36
.


ขอบพระคุณท่าน NAVARAT C. ที่ยืนยันด้วยหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งว่า อทุกภัยครั้งนี้เป็น man-made disaster จริงๆ



.

 :(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 08:40
เส้นทางสายเทวดา

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=313923365291787&set=a.138865072797618.24784.100000223771854&type=1


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 09:15
^
แล้วจะเป็น "เส้นทางสายประวัติศาสตร์" ให้คนไทยจารึก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 15:43
อยู่ๆเห็นบิ๊กแบ๊กโผล่เข้ามาเป็นพระเอก   ไม่รู้ว่ามันคืออะไร  ดูจากรูป น่าจะเป็นอุปกรณ์กั้นน้ำชนิดหนึ่งเหมือนกระสอบทราย

http://www.youtube.com/watch?v=6QzwDExxWs8&feature=player_embedded

มีข่าวมติชนออนไลน์ ลงว่า
สุกำพล"ลั่นบิ๊กแบ๊กชะลอน้ำได้ผล"สุขุมพันธุ์"บอกเป็นจริงระบายน้ำกทม.ได้ใน2สัปดาห์

วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 08:45:00 น.

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ถึงการวางบิ๊กแบ๊กทางด้านเหนือของ กทม.เพื่อชะลอน้ำเข้าพื้นที่ กทม. ว่าการชะลอน้ำหลังการวางบิ๊กแบ๊กยาวกว่า 21.2 กิโลเมตร ทางด้านเหนือของ กทม.ถือว่าได้ผล เพราะสามารถชะลอน้ำได้ หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของ กทม.ที่จะต้องหาทางระบายน้ำที่ไหลเข้าพื้นที่ กทม.มาก่อนหน้าให้หมด เท่าที่ตนได้ฟังจากผู้เชี่ยวชาญ ได้มีการคาดการณ์กันเอาไว้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ กทม.ก็น่าจะระบายได้จนเกือบหมด

ทางด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หากบิ๊กแบ๊กสามารถชะลอมวลน้ำที่เข้ามายัง กทม.ได้สำเร็จ สถานการณ์จะดีขึ้น ถ้าไม่มีน้ำไหลเข้ามาภายใน 2 สัปดาห์ก็จะระบายน้ำในถนนสายหลักได้ พร้อมกับการเร่งระบายน้ำในซอยเล็กต่อไป และจะทำทุกวิถีทางไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่กทม.ทั้ง 50 เขต โดยให้กรมชลประทานเร่งสูบน้ำไปยังแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน และคลองมหาชัย

อยากทราบคุณสมบัติของบิ๊กแบ๊กว่ามันเหนือกว่ากระสอบทรายยังไงบ้างคะ
 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 07 พ.ย. 11, 16:25
คุณสมบัติของบิ๊กแบ๊กที่เหนือกว่ากระสอบทราย คือ ชาวบ้านแอบขโมยหรือรื้อทำลายไม่ได้ค่ะ.... ;D

แต่หนูดีดี อยากทราบว่า น้ำที่ถูกชะลอไว้ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ จะไปอยู่ที่ไหนคะ... ??? ก็ต้องยังคงอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ...
แล้วน้ำเหนือที่ยังจะทยอยไหลลงมาเรื่อยๆ เพราะไม่มีบิ๊กแบ๊กชะลอไว้ ก็จะมารวมกับน้ำที่ถูกชะลอไว้ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ
แล้วมันเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องแล้วเหรอค่ะ... ??? ??? ???

ทำไมไม่คิดหาวิธีให้น้ำออกทะเลไวๆ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 16:38
ก็มึนๆงงๆ  เหมือนกันค่ะ     ไหนว่าน้ำมาจากทั้งบนดินและใต้ดินไงล่ะ   บิ๊กแบ๊กยันไว้ได้แค่ไหน  เราสองคนรอคำเฉลยดีกว่าค่ะ คุณดีดี
ที่ว่าบิ๊กแบ๊กถูกทำลายไม่ได้   ไหนมีข่าวว่าโดนกรีดได้ไงล่ะคะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 19:01
นอกจากนี้ ความมุ่งมั่นของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และความไม่ดุดัน รับฟังข้อเสนอแนะของทุกฝ่าย ทำให้หลายข้อแนะนำได้รับการพิจารณาหารือ แม้ข้อเสนอเรื่องเจาะถนนจะไม่ได้รับการตอบสนอง แต่ข้อเสนอและการเริ่มปฏิบัติการของ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าฯกทม. และกลุ่มของ นายประเสริฐ สมะลาภา อดีตปลัดกทม. กลับดำเนินอย่างคืบหน้า โดย ดร.พิจิตต ได้นำ “บิ๊กแบ็ก” 4,000 ลูกมาวางขวางชะลอน้ำเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน “บิ๊กแบ็ก” จึงกลายเป็นความหวังของคนกรุง และเป็นความหวังหนึ่งของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยเช่นกันหากทุกปัญหาสามารถจบลงด้วยดี สามารถทำให้น้ำลดลงได้เร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ สามารถฟื้นฟูนิคมฯต่างๆได้เร็ว และสามารถกระตุ้นเยียวยาช่วยเหลือคนไทยให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้ ย่อมลดทอนกระแส “การเมือง” อันเชี่ยวกรากลงได้ หากรัฐบาลจบเกมน้ำท่วมได้ดี ย่อมเสมือนมี “บิ๊กแบ็ก” การเมืองช่วยชะลอกระแสปะทะชน,,, เสถียรภาพรัฐบาลขึ้นอยู่กับบรรดาสุดท้ายตอนปิดเกม

อ่านเพิ่มที่ : หนังสือพิมพ์มติชน หน้า 3 วันที่ 06/11/11

จากข่าวดังกล่าวนะครับ เรามาดูกันว่าบิ๊กแบ๊กคืออะไร และเขาทำกันอย่างไร

บิ๊กแบ๊กเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทแห่งหนึ่งในต่างประเทศที่คิดออกแบบผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทนกระสอบทรายที่ใช้กันอยู่ จะเห็นว่า หลักการของบิ๊กแบ๊กไม่ใช่ความใหญ่โตอย่างเดียว จุดอ่อนของการใช้กระสอบขนาดนี้ คือความยากในการนำมาจัดเรียงให้แนบสนิทพอที่น้ำจะไม่ทะลุช่องว่างเข้ามานั้น ถูกแก้ด้วยการทำให้มีผนังร่วมกัน ทำการจัดวางก่อนน้ำจะท่วม โดยวางถุงยักษ์นี้เปล่าๆลงไปก่อน แล้วเอารถตัก ตักทรายมาบรรจุกับที่


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 19:04
ถ้าทำได้อย่างนี้ ผมเชื่อว่ามันต้องป้องกันน้ำได้ดีแน่ แต่พอน้ำลดแล้ว การจัดเก็บและการทำความสะอาดทรายที่คงต้องเทออกจากถุงลงตรงนั้น   แลัวจะขนไปไหนไม่ให้เลอะเทอะหรือไหลไปลงท่อระบายน้ำ  ทำให้ผมไม่ค่อยศรัทธาเท่าไร เห็นรูปมันแล้วก็ผ่านไปมิได้นำมาขยายในกระทู้นี้ตั้งแต่แรก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 19:15
แต่บิีกแบ๊กของดร.พิจิตร มันเพียงแต่เอาชื่อเขามา แล้วเอาถุงที่ภาษาตลาดในเมืองไทยเขาเรียกว่า "ถุงจัมโบ้" มาอำเป็นนวัตกรรมใหม่

ถุงจัมโบ้นี้ เขาผลิตเขาใช้กันมานานแล้วในวงการอุตสาหกรรมเกษตรเมืองไทย เช่นใส่ข้าวสาร น้ำตาล อาหารสัตว์ ฯลฯ เพื่อความสะดวกในการลำเลียงขนส่ง ถุงที่ผ่านการใช้แล้ว จะมาขายเป็นถุงมือสองใบละ๘๐บาท จะเอากี่พันกี่หมื่นใบก็หาได้ตามร้านขายของเก่าทั้งหลาย ให้เครือข่ายของเขารวบรวมให้

ถุงจัมโบ้นี่แหละครับ ถูกจับมาแปลงกายเป็นบิ๊กแบ๊ก โปรดสังเกตุถุงจัมโบ้เมื่อบรรจุของลงไปแล้ว จะออกอาการอ้วน ผนังตรงกลางจะป่องออกมา เป็นอุปสรรคในการจะวางเรียงให้แนบชิดติดกัน แบบน้ำแทรกตัวเข้ามาไม่ได้

เดี๋ยวมาดูวิธีติดตั้งภายใต้การกำกับบทของทีมกทม.เก๋ากึ๊กนี้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 19:31
งานนี้รัฐบาลทุ่มทรัพยากรให้อย่างเต็มที่ แม้ว่าเจ้าเก่า คือน้องทหารของเราจะเป้นตัวยืน แต่ก็มีทัพเสริมจากหน่วยงานอื่นๆมากมายเป็นประวัติการณ์

เริ่มด้วยการใช้รถไฟ ขนถุงยักษ์นี้มาจากสายตะวันออก ได้ข่าวว่าส่วนหนึ่งให้ทหารทางเมืองชลบุรีบรรจุ แล้วจัดส่งมาทางรถไฟ ที่หมายคือดอนเมือง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 19:34
แต่ที่บางซื่อ ก็เป็นจุดชุมนุมพล มีกองหนุนมาช่วยทหารบรรจุทรายลงถุง อุปกรณ์เครื่องผ่อนแรงขนาดหนัก เพียบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 19:59
ที่บรรจุก็บรรจุไป พวกที่เอาถุงยักษ์ที่บรรจุแล้วไปติดตั้งก็คือน้องทหาร ที่สลับกันเหนื่อย ขบวนหนึ่งกลับมา อีกขบวนหนึ่งก็ออกไป ทั้งกลางวันกลางคืน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:08
รูปชุดนี้ถ่ายทำโดยคุณboykpc เอามาลงไว้ในพันทิป ผมขออนุญาตเอามาเผยแพร่ต่อนะครับ

คุณบอยออกไปแนวหน้าพร้อมทหารกับรถไฟขบวนสุดท้ายของคืนวันที่๔ พฤศจิกายน พอพ้นสถานีดอนเมืองออกไประดับน้ำบนรางแทบจะขึ้นถึงพื้นรถบขน.แล้ว

สักพักก็ถึงแนวถุงยักษ์ถูกทีมที่แล้ววางไว้ ทีมนี้จะต้องวางต่อ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:10
ขอท่านโปรดสังเกตุ  ถุงยักษ์ที่วาง ระดับน้ำยังเชื่อมต่อกันได้
แล้วมันจะไปกั้นอะไร


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:18
การติดตั้ง ทำโดยใช้รถแบคโฮว์ยกถุงยักษ์ขึ้นแล้วหน่อนลงไปตรงตำแหน่ง โดยมีทหารช่วยประคองให้เข้าที่ แต่ถุงมันหนักนะครับ พอสลิงหย่อน ถุงมันก็ต้องปลิ้นบ้าง คนเอาไม่ไหวหรอก ยิ่งยืนอยู่ในน้ำ เท้าเหยียบอะไรก็ไม่มั่น


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:26
ทรายที่บรรจุมาก็ไม่ค่อยจะมีมาตรฐาน สังเกตุถุงมันเหี่ยวๆไม่เหมือนบิ๊กแบ๊กตัวจริงที่ใส่ทรายเต็มพิกัด วางลงไปแล้วจมมิดน้ำก็มี

อย่างนี้บอกได้เลยว่าไม่ได้ผล ระดับน้ำด้านในแนวถุงยักษ์กับด้านนอกคงจะเท่ากันตลอดไปจนน้ำลด ลดก็ลดระดับเดียวกัน ยิ่งไปสูบน้ำสู้ยิ่งเปลืองเงิน น้ำที่สูบออกก็จะวนเข้ามาอีกตามช่องว่างระหว่างถุงนั่นแหละ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:31
ถุงสุดท้ายที่วางเสร็จเป็นเวลา ๐๓.๐๙น.ของวันใหม่



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:36
ทหารจะได้กลับไปนอนเอาแรงสำหรับงานที่หนักหนาอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น

ส่วนโปรเจกต์บิ๊กแบ๊กจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ พวกเขาทำดีที่สุดแล้ว

ส่วนคำถามเรื่องแรงดันน้ำใต้ดิน คงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์
รวมทั้งการบ่อนทำลาย พวกที่จ้องอยู่คงไม่ต้องเสี่ยงให้เหนื่อยยาก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 20:39
ดูเรื่องมีโอกาสได้ร่วมภาระกิจ BIG BAG เลยเอามาแชร์ โดย คุณboykpc เต็มๆได้ที่


http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11294744/X11294744.html


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 21:03
ใช้อินทรเนตรส่องหาบิ๊กแบ็ค ว่ากันน้ำไปถึงไหนแล้ว   พบข่าวจากวอยซ์ทีวี (วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554)
http://news.voicetv.co.th/thailand/22749.html

บินสำรวจ "บิ๊กแบ็ค"ยังรั่ว รอใช้ใบเล็กอุดซ้ำ

วอยซ์ทีวีขึ้นบินสำรวจ พบบิ๊กแบ็ควางเสร็จแล้ว 1 ชั้น แต่พบบางจุดยังรั่ว รอใช้กระสอบทรายใบเล็กอุดเสริม ส่วนระดับน้ำจากคลองรังสิตยังล้นข้ามแนวบิ๊กแบ็คอยู่เป็นช่วงๆ

วันนี้( 7 พ.ย) ทีมข่าววอยซ์ทีวี บินสำรวจแนวคันบิ๊กแบ๊คบริเวณเมืองเอก จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ริมทางรถไฟตำบลหลักหกยาวถึงสี่แยกไฟแดงสำนักงานตำรวจนครบาลดอนเมือง ยาว12กิโลเมตร พบว่า แนวคันบิ๊กแบ็คสร้างเสร็จเพียงชั้นเดียว ยังไม่มีการเสริมแนวกระสอบทรายเล็กทับเป็นชั้นที่ 2 แต่อย่างใด ทำให้บางจุดมีน้ำจากคลองรังสิตล้นแนวคันบิ๊กแบ็คเป็นช่วงๆ

หลังจากการสร้างแนวคันบิ๊กแบ็คทางรถไฟตำบลหลักหกยาวมาถึงดอนเมือง สามารถชะลอระดับน้ำที่ไหลเข้าสู่ถนนวิภาวดีได้ระดับหนึ่ง พบว่าระดับน้ำข้างในแนวบิ๊กแบ็คลดไปอีกประมาณ 12 เซนติเมตร ทั้งนี้ ตั้งแต่สร้างเสร็จทำให้น้ำในและนอกคันบิ๊กแบ็คมีระดับต่างกันเฉลี่ย 30 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม หากมีการน้ำแนวกระสอบทรายใบเล็กวางทับเป็นชั้นสองภายใน 24 ชั่วโมงนี้ จะสามารถช่วยชะลอน้ำที่จ่อเข้ากรุงเทพมหานครวันละ 10-20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันได้ และสามารถลดความเสี่ยงที่น้ำจะไหลทะลักเข้าอนุเสาวรีย์ ที่ขณะนี้มีความเสี่ยงสูง

ส่วนสถานการณ์น้ำที่บริเวณห้าแยกลาดพร้าวจากมุมสูง พบว่า  หัวน้ำบนถนนพหลโยธินยังอยู่ที่สี่แยกสะพานควาย โดยพบว่ามีปริมาณสูงขึ้น ส่วนน้ำจากถนนวิภาวดีรังสิตเริ่มไหลเข้าสู่แยกสุทธิสารอย่างช้าๆ โดยน้ำได้ไหลลงคลองระบายสองข้างทาง  ส่วนบริเวณถนนแยกลาดพร้าวตัดเข้ารัชดาหัวน้ำเข้าถึงโรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ขณะนี้คลองบางซื่อมีน้ำเต็มแล้ว ยากต่อการสูบน้ำเพื่อระบายสู่คลองแสนแสบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 21:17
อ้างถึง
หลังจากการสร้างแนวคันบิ๊กแบ็คทางรถไฟตำบลหลักหกยาวมาถึงดอนเมือง สามารถชะลอระดับน้ำที่ไหลเข้าสู่ถนนวิภาวดีได้ระดับหนึ่ง พบว่าระดับน้ำข้างในแนวบิ๊กแบ็คลดไปอีกประมาณ 12 เซนติเมตร ทั้งนี้ ตั้งแต่สร้างเสร็จทำให้น้ำในและนอกคันบิ๊กแบ็คมีระดับต่างกันเฉลี่ย 30 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม หากมีการน้ำแนวกระสอบทรายใบเล็กวางทับเป็นชั้นสองภายใน 24 ชั่วโมงนี้ จะสามารถช่วยชะลอน้ำที่จ่อเข้ากรุงเทพมหานครวันละ 10-20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันได้ และสามารถลดความเสี่ยงที่น้ำจะไหลทะลักเข้าอนุเสาวรีย์ ที่ขณะนี้มีความเสี่ยงสูง

หมายความว่า ขนาดน้ำล้นข้ามบิ๊กแบ็คเป็นช่วงๆ และสร้างแนวเพิ่งเสร็จไปชั้นเดียว ยังไม่มีชั้นสอง  บิ๊กแบ๊คก็สามารถกันน้ำให้ต่างกันได้ตั้ง 30 เซนติเมตร   


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 21:28
http://home.truelife.com/view/truelifetv/35725

ลองเข้าไปดูในคลิ๊ปนี้นะครับ

น้ำรั่วโพลกอย่างนั้น ระดับน้ำจะต่างกัน๓๐เซนต์ได้อย่างไร ผมพยายามหารูปที่ยืนยันก็ไม่มี



กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 21:41
^
ดิฉันเอาคลิปที่ท่านนวรัตนแนะนำมาลงให้ดูกัน

http://www.youtube.com/watch?v=5mUwlHunrxc&feature=player_embedded#!

ในกรณีบิ๊กแบ็คก่อเป็นกำแพงกันน้ำได้ผล อย่างพลออ.สุกำพลและดร.พิจิตต์ ว่า  ก็แปลว่าทัพน้ำจะออกันอยู่ฟากหนึ่งของกำแพง  ส่วนอีกฟาก  กทม.ก็ต้องเร่งสูบน้ำออกให้แห้งเข้าไว้   ทีนี้น้ำนอกบิ๊กแบ๊คไม่ใช้น้ำเอ่ออยู่เฉยๆ ยังมีทัพใหญ่จากเหนือไหลลงมาสมทบเรื่อยๆ    ก็แปลว่าระดับน้ำนอกบิ๊กแบ็คจะสูงขึ้นเรื่อยๆ งั้นหรือ   แล้วชาวบ้านที่เขาอยู่ในเขตนั้นๆล่ะจะทำยังไงล่ะคะ?
หรือว่าจะเร่งระบายกันยกใหญ่  ทั้งซ้ายทั้งขวาพร้อมกันด้วย   ผันน้ำออกทางตะวันตกและตะวันออกไปให้หมด?

แต่ดิฉันสงสัยว่ามันจะเป็นกรณีที่ 2  อย่างที่ท่านนวรัตนเอารูปมาให้ดู  คือกันไม่ได้  เพราะลักษณะของบิ๊กแบ็คจะทำให้อุดช่องว่างระหว่างถุงไม่ได้    น้ำก็รั่วลอดไปได้   หรือถ้าน้ำสูงเกิน  กระแสน้ำก็พัดบิ๊กแบ็คจมน้ำไปเลย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 21:44
วอยซ์ทีวีขึ้นบินสำรวจ พบว่าระดับน้ำในแนวบิ๊กแบ็กต่ำกว่าระดับภายนอก ๓๐ เซนติเมตร ตัวเลขเท่ากับรัฐมนตรีคมนาคมให้สัมภาษณ์ไม่ผิดแม้แต่เซนต์เดียว

รูปที่เห็นตามสภาพเช่นนี้ เราควรเชื่อหรือครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 พ.ย. 11, 21:52
ผมเลยสงสัยว่า วอยซ์ทีวีเป็นของใคร

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2becc9d6f6945888


จบข่าว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 11, 21:56
รมว.คมนาคมคุยบิ๊กแบ็คกั้นน้ำได้ผลดีคาด 2 สัปดาห์น้ำลด

7 พย. 2554 13:29 น.

    รมว.คมนาคม เผย บิ๊กแบ็ค กั้นน้ำได้ผลดี คาด 2 สัปดาห์น้ำลด เล็งวางอีกบางซื่อ-ตลิ่งชัน พร้อมชงครม.ขยายเวลางดเก็บค่าทางด่วน
    พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการวางแนวกระสอบทรายบิ๊กแบ็คด้านเหนือของกทม.เพื่อชะลอน้ำไหล ว่า การวางกระสอบทราย บิ๊กแบ็ค ได้ผลดี และปริมาณน้ำที่อยู่ในคั้นกั้นน้ำและนอกคันกั้นน้ำมีปริมาณลดลงประมาณ 30 ซม. แม้จะมีน้ำไหลซึมบ้างเล็กน้อย แต่ก็ได้นำกระสอบทรายเล็กไปอุดรอยรั่วระหว่างบิ๊กแบ็คเรียบร้อยแล้ว
    ส่วนที่ชาวบ้านไปกรีดถุงบิ๊กแบ๊คนั้น   ขณะนี้ได้เร่งนำบิ๊กแบ็คถุงใหม่ไปเปลี่ยนแล้ว ขณะที่การระบายน้ำที่เข้ามากทม.ทั้งหมด นั้นขึ้นอยู่กับกทม.ว่าจะจะมีการบริหารจัดการน้ำอย่างไร ทั้งนี้ตนไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าน้ำจะลดภายในกี่วันแต่เท่าที่ฟังจากดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คาดว่าอีกประมาณ 2 สัปดาห์น้ำจะลดลง
    นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดที่จะวางบิ๊กแบ๊คที่เขตบางซื่อและตลิ่งชัน แต่ไม่แน่ใจว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องขอไปศึกษาดูพื้นที่ก่อน เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีคลองบางกอกน้อยขวางอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถวางบิ๊กแบ็คได้ แต่ถึงวางได้ก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งนี้ตนต้องหารือกับทุกฝ่ายก่อน

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=537884  

อีก 2 สัปดาห์ น้ำจะลด หรือจะท่วมหมดทุกเขต คงได้รู้กัน  


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 พ.ย. 11, 08:28
Back to Basic


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 08 พ.ย. 11, 08:48
เรื่องตามข่าวน้ำทาง TV ดิฉันเลิ้กกกกแล้วค่ะ หนูเลิกกับเขาแล้วค่ะะะะะะ
 ตื่นเช้่ามา ออกไปหน้าบ้าน มองลงไปในรูท่อระบายน้ำ หากมันปริ่มก็เก็บของ ไปดีกว่า มะอาววววดีกว่า


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 08 พ.ย. 11, 09:29
.


ในความเป็นจริงแล้ว...............ส่วนใหญ่เครียดมาก เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี ข่าวแต่ละช่องทาง ขัดแย้งกันเองและมั่วไปหมด ผบ.ทบ.ท่านจึงท้วงว่า ต้องประเมินสถานการณ์เองให้เป็นแล้วจะรู้ว่าควรต้องทำอะไร
แต่ท่านเอ๋ย...............ใครจะประเมินไหวละคร๊าบบบบบบบบบบบบ


แต่ทุกท่านหายเครียดทันที เมื่อได้เห็นกะตาตนเองว่า..............บ้านตูท่วมแล้ววววว
โล่งอก.ไม่ต้องลุ้นแล้ว..........ส่วนใหญ่(ในข่าวที่ดู)เป็นเช่นนี้

บางคนเปรียบเทียบ กทม.ชั้นในว่าเป็นเหมือนสมบัติที่เก็บกองไว้ในกาละมังใบใหญ่ ที่ผุกร่อนรอบทิศทาง แล้วกาละมังใบนี้ก็ถูกกดวางไว้ในหนองน้ำขนาดมหึมา
ท้ายที่สุด ระดับน้ำในกาละมังก็เสมอกับน้ำในหนองน้ำ.....



งง............


 >:(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 08 พ.ย. 11, 09:41
"


เพิ่งทราบว่า BIG Mc .............เอ้ย......Big Bag ที่ดีต้องมีมาตรฐาน UN
ของเราเหมือเขาไหมหนอ?


http://yuhuliu.en.made-in-china.com/product/gbnJHRAKFtcE/China-Big-Bag-Tubular-.html

.


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 พ.ย. 11, 10:03

อ้างถึง
ในความเป็นจริงแล้ว...............ส่วนใหญ่เครียดมาก เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี ข่าวแต่ละช่องทาง ขัดแย้งกันเองและมั่วไปหมด ผบ.ทบ.ท่านจึงท้วงว่า ต้องประเมินสถานการณ์เองให้เป็นแล้วจะรู้ว่าควรต้องทำอะไร
แต่ท่านเอ๋ย...............ใครจะประเมินไหวละคร๊าบบบบบบบบบบบบ

เอ้าครับ เรามาซ้อมประเมินกันดู


ข่าว‘สุกำพล‘ยันอุดบิ๊กแบ็กเสร็จแล้ว

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การนำ บิ๊กแบ็ก ไปทำคันดินกั้นน้ำ ทางทิศเหนือของ กรุงเทพมหานคร ความยาว 22 กิโลเมตรได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยหลังจากนี้ จะมีการนำ บิ๊กแบ็ก ไปเสริมในจุดที่ยังต่ำอยู่ และนำถุงทรายขนาดเล็กไปอุดในจุดที่ยังรั่ว ทำให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร น้อยลง ส่วนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมอยู่แล้ว เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ที่จะเร่งระบายน้ำ ตนไม่สามารถตอบได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวน้ำจะแห้งเมื่อใด

แปลความว่า...ท่านบอกว่างานของท่านเสร็จแล้ว ต่อไปนี้ น้ำจะแห้งหรือไม่แห้ง เมื่อไหร่ อยู่ที่กทม.แล้วละ

ภาพประกอบ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 08 พ.ย. 11, 15:55
แล้วพวกที่อยู่นอก กทม. ล่ะคะ...จะประเมินว่าอย่างไร... ???


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 08 พ.ย. 11, 18:31
"

คน(ดูอยู่ข้าง)นอก กทม.ขอประเมินว่า.............

แก๊งค์บิ๊กแบ๊กเสร็จภาระกิจแล้ว.............โดยไม่ใส่ใจผลว่าจะเป็นเช่นใด........
คิวต่อไป..แก๊งค์สมอลแบ๊ก ไปรับผิดชอบกันเอาเอง


โถ..เห็นกันชัดๆว่า..........วางบิ๊กแบ๊กในน้ำนิ่ง.ยังไม่ทันครบถ้วน ก็รีบออกข่าวว่าน้ำลด....?
กรรมส่อเจตนา.........



รอดูกันต่อไป....ว่าผลจะเป็นเช่นใด.......................ท่วมถ้วนหน้า...ฟันธง


. >:(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 11, 18:56
ดูสภาพป้อแป้ของบิ๊กแบ็คปริ่มน้ำ  แล้วโหวตว่าไม่รอด
กด 1 ให้ท่านนวรัตน คุณร่วมฤดีและคุณศรีสยามรวดเดียว 3 คน
น้องน้ำใกล้ถึงพระราม 2 แล้ว  ถ้าเธอตัดเส้นทางนี้ขาดได้เมื่อไร   กรุงเทพกับภาคใต้ก็ต้องเลิกกันชั่วคราว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 11, 20:03
คลิปนี้น่าสนใจมาก

http://www.youtube.com/watch?v=MByPK207j4Q&feature=share


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 11, 10:12
ดร.เสรี ให้คำตอบเรื่องบิ๊กแบ็ค
จากมติชนออนไลน์

เมื่อเวลาประมาณ 18.09 น. ร.ศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์ สรยุทธ สุทัศนจินดา ในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ทางช่อง3 ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับการวางบิ๊กแบ็คทางตอนบนเพื่อชะลอน้ำเข้าเขตกรุงเทพชั้นในว่า

การวางบิ๊กแบ็คจะช่วยยื้อเวลาเท่านั้น วันนี้เราไปวัดจริงๆเลย ระดับเหนือบิ๊กแบ็คกับใต้บิ๊กแบ็คต่างกันแค่ 30 ซม.เท่านั้น ประเด็นคือมันเป็นการยื้อเวลาเฉยๆเพราะมวลน้ำมันไม่ได้หายไปไหน หมายความว่าเมื่อน้ำมาปะทะบิ๊กแบ็คน้ำก็ชะลอไว้

เพราะฉนั้นขณะนี้น้ำเหนือบิ๊กแบ็คมันสูงขึ้นกว่าน้ำใต้บิ๊กแบ็ค 30 ซม. ไม่ได้หมายความว่าน้ำใต้บิ๊กแบ็คลดลง แต่น้ำเหนือบิ๊กแบ็คมันเพิ่มขึ้น น้ำใต้บิ๊กแบ็คก็เท่ากับน้ำที่ลดที่รังสิตประมาณ10-15ซม. ก็คือมันเท่ากัน


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 11, 10:13
"เพราะฉนั้นบิ๊กแบ็คทำให้น้ำเหนือบิ๊กแบ็คมันสูงขึ้น ผมก็คิดว่า7วันเท่านั้นเองน้ำจะล้นบิ๊กแบ็คหมดและจะเข้ากรุงเทพ มวลน้ำก็จะกลับมาเหมือนเดิม อันนี้เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์"

ดร.เสรีกล่าวว่า ที่น่ากลัวที่สุดน้ำจากพหลโยธินคือน้ำจากคลองสองจะไหลมาทางด้านวิภาวดีรังสิตหมดเลย เพราะฉนั้นขณะนี้เองผมมีความเป็นห่วงว่า คนแถวนั้นตอนนี้มีเพรสเชอร์หรือแรงกดดันกับเขาแล้ว เพราะฉนั้นทำอย่างไรที่จะต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่องว่า เราจะต้องดูแลเขา

แน่นอนว่าเราจะปิดได้แค่ 7 วันน้ำก็จะต้องมาวิภาวดีรังสิต พหลโยธินเหมือนเดิมทุกอย่าง เพราะมันแค่เป็นการยื้อเวลาเท่านั้น แต่ข้อดีก็จะได้ให้กรุงเทพฯเขาหายใจได้ แต่หลังจากนี้กรุงเทพฯจะไม่มีเวลาหายใจ ตอนนี้กรุงเทพต้องเร่งระบายน้ำออก


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 11, 10:14
ส่วนกรณีที่ ศปภ.บอกว่าเมื่อกั้นบิ๊กแบ็คแล้วจะดันน้ำออกไปทางฝั่งตะวันออก ไปทางคลองหกวา ไปสูบออกทางคลอง 13 นั้น รวมถึงระบายน้ำลงเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งนั้น ดร.เสรีกล่าวว่า ถ้าดูจากภาพเฉยๆมันจะไปได้ แต่ในข้อเท็จจริงจากคลองหกวามารังสิตทางมันสโลป ความชันมันลงมา จากการวัดดูน้ำไม่ไป มันจะไปฝืนธรรมชาติไม่ได้ มันไหลลงมาวิภาวดีหมดเลย เพราะระดับมันต่างกันถึง 1 เมตร ต้องยกระดับน้ำสูงถึง 1 เมตรถึงจะไปได้

ส่วนจะให้ลงเจ้าพระยาได้น้ำในเจ้าพระยาจะต้องลดลง แต่ขณะนี้น้ำในเจ้าพระยาก็สูงกว่าในประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ คลองรังสิตก็เปิดไม่ได้อีก มันก็ไปไม่ได้ ถ้าจะให้ไปได้ต้องใช้เครื่องสูบน้ำอย่างเดียว

ดร.เสรีกล่าวว่า ตอนนี้กทม.อาจจะสูบได้ซึ่งเขาก็ระดมสูบได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคลองบางซื่อเขาสูบได้ 80 ลบ.ม./วินาที ก็น่าชมเชย แต่หลังจากนี้มันจะระดมมาเป็นหน้าด่าน ปัญหาที่ผมห่วงคือคุณสู้ไม่ได้หรอก น้ำจะมากว่า 100ลบ.ม.ขึ้นไป เพราะเมื่อน้ำล้นบิ๊กแบ็คแล้วมันจะมาเร็วกว่าน้ำที่มาตอนนี้อย่าลืมว่าน้ำที่ กทม.สูบทุกวันเป็นน้ำจากคลองเปรมประชากร ยังไม่มีบิ๊กแบ็คเข้ามา


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 11, 10:14
"เมื่อน้ำเข้ามาแล้วอีก 7 วันน้ำจะไปถึงอนุสาวรีย์แน่ เพราะมวลน้ำมีมาก ตอนนี้มวลน้ำทางฝั่งตะวันออกยังมีอยู่ 600 ล้านลบ.ม. เข้ามาแล้ว 300 ล้านลบ.ม. 600 ล้านลบ.ม.ต้องประเมินว่าเขาสูบได้เท่าไรถึงจะลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปได้ นั่นคือประเด็นว่าหลังจากนี้มันยากมากที่จะไม่ให้น้ำเข้ามา"

ส่วนกรณีที่จะเข้ากรุงเทพชั้นในหรือไม่นั้น กรุงเทพชั้นในของผมตอนนี้หมายถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพราะถ้าไปแล้วมันจะเข้าไปถึงราชเทวี อนุสาวรีย์ชัยจะไม่เข้าตรงๆ เพราะเวลาน้ำเข้าไปมันจะตีโอบไปทางจตุจักร กำแพงเพชร เพราะตอนนี้ถนนวิภาวดีฯมันเริ่มข้ามคลองบางซื่อแล้ว เราไปดูเราจะเห็นชัดเลย

"คืนนี้แถวๆสุทธิสารไปถึงแน่นอนคืนนี้ เพราะเราไปเห็นว่าน้ำผุดขึ้นมาจากท่อระบายน้ำแล้วไปท่วมบริเวณก่อนถึงแยกสุทธิสารสัก 20-30 เมตรเอง จากนั้นจะไปเจอถนนที่ต่ำก็จะไปราชเทวี จะไปรามคำแหง ถ.พระราม 9 ทางซ้าย ส่วนจะถึงสยามสแควร์หรือไม่ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมิน"ดร.เสรีกล่าว

ส่วนบางกะปิก็จะไปแน่นอน เพราะน้ำไม่ได้มาทางผิวดิน แต่มาทางใต้ดิน จนกว่าจะเห็นว่าผุดขึ้นมาจากท่อ ถ้าผุดขึ้นมาก็เห็นสัญญาณแล้วว่าทีนี้จะเร็วแล้ว เพราะมันเต็มท่อแล้ว ถ้าไปทางบางกะปิได้จุดที่น่าห่วงอีกทีหนึ่งคือถนนศรีนครินทร์


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 11, 10:17
ส่วนทางฝั่งตะวันตกที่คนห่วงว่าจะท่วมถนนพระราม 2 นั้น ตอนนี้น้ำจะยังไม่ข้ามพระราม 2 แต่จะมุดถนนพระราม 2 ไปก่อนแล้ว ตอนนี้เท่าที่ทราบน้ำได้มุดใต้พระราม 2 ไปแล้ว และจะไปโผล่ตามคลองต่างๆ เช่นคลองราชมนตรี คลองสนามไชย ตอนนี้มันรอเวลาหลังจากที่มุดไปแล้ว จะไปรวมกับน้ำในคลองดังที่กล่าวข้างต้นก็จะเอ่อล้นถนนพระราม 2

"ถ้าให้ประเมินจะท่วมถนนพระราม 2 ในอีกประมาณ 5-6 วัน" ดร.เสรีกล่าว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 09 พ.ย. 11, 18:25
ดิฉันเข้าใจว่า Big Bag มีไว้ชะลอน้ำเท่านั้นค่ะ ไม่ได้ลดระดับน้ำ
ชะลอให้ ก.ท.ม. มีเวลาสูบออก

แต่...เขาทำช้ามาก ช้าไปเป็นเดือน ทำให้น้ำทะลุรั่วเข้ามาก่อน Big Bag จะปฏิสนธิ
น้ำที่เข้ามานี้ จะไหลไปที่ต่ำกว่า ใน ก.ท.ม.ทุกแห่ง ไม่มีทางขวางได้หรอกค่ะ
มีแต่ สูบสู้รักษาระดับได้ไม่ให้ลึก ก็เก่งแล่ว
ขอให้เครื่องสูบอย่าเสีย
ขอให้น้ำท่าในแม่น้ำ ลดลงเร็ว ๆ น้ำทุ่งก็น่าจะหมดความเร็ว และก.ท.ม.ก็น่าจะสู้ไหวค่ะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 11, 22:23
สิ่งที่อยากเห็นในตอนนี้คือวิธีใดที่ทำให้ระบายน้ำออกได้เร็วที่สุด   มากกว่าหาวิธีกั้นน้ำหรือชะลอน้ำเอาไว้ค่ะ
เพราะชะลอน้ำเมื่อไร  ชาวบ้านเหนือน้ำก็เดือดร้อนมากขึ้น และนานขึ้นเมื่อนั้น
เป็นบทเรียนด้วยว่า คูคลองเล็กๆที่ยังเหลืออยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล  ควรจะถูกเหลียวมองเสียที  อย่าปล่อยให้ตื้นเขินหรือมีขยะ มีผักตบขวางกั้นอยู่  จนทุกวันนี้ก็ยังมีให้เห็นในข่าว

จำได้ว่าก่อนน้ำถึงกรุงเทพ  นายกฯมีคำสั่งให้ "ขุด" คลอง   ซึ่งความหมายจริงๆคือ "ลอก" คลอง 7 แห่งด้วยกัน    จากนั้นก็ไม่รู้ข่าวคืบหน้าทางด้านนี้อีก

น้ำท่วมเห็นจะไม่ได้มาหนเดียว     น้ำแห้งเมื่อไร ก็ภาวนาว่าอย่าลืมลอกคลองรับน้ำหลากปีหน้าด้วย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 11, 13:10
เข้าไปดูได้จากข้างล่างนี้ค่ะ
ภาพข่าวน้ำท่วมไทย จากรอยเตอร์
 (http://www.oknation.net/blog/supawan/2011/11/10/entry-1)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 11, 13:18
ข่าวดีจากกรมชลประทาน
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000143379

“กรมชลประทาน” เผยไม่มีน้ำมวลใหญ่เตรียมถล่มอีกระลอก ระบุมีแค่น้ำท่าที่เริ่มลดลง ส่วนน้ำค้างทุ่งที่กระจายอยู่ทางตอนบนของฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีแค่ 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ต้องเร่งระบายลงทะเล
       
       ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กรมชลประทาน เผยแพร่ข้อมูลชี้แจง กรณีที่มีกระแสข่าวว่า “มีน้ำเหนือค้างทุ่งจำนวนมหาศาลรอถล่มกรุง” ว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำน่าน ลดลงในระดับต่ำกว่าตลิ่งริมน้ำแล้ว ส่วนปริมาณน้ำท่าที่อยู่ในแม่น้ำต่างๆ ก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในลุ่มน้ำยมที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก คาดว่าจะลดลงอยู่ในระดับตลิ่งภายใน 7 วัน สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำท่าก็ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยที่อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่งภายในวันที่ 20 พ.ย.54 ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คาดว่าระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่งในวันที่ 27 พ.ย.54
       
       ส่วนปริมาณ “น้ำค้างทุ่ง” ซึ่งกระจายอยู่ในทุ่งทางตอนบนของพื้นที่ด้านฝั่งตะวันออก และตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 4,394 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยอยู่ในพื้นที่ทางด้านฝั่งตะวันออก 1,831 ล้านลูกบาศก์เมตร และในพื้นที่ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 2,563 ล้านลูกบาศก์เมตร (ข้อมูล วันที่ 9 พ.ย.54) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่ต้องบริหารจัดการด้วยการระบายออกทะเลผ่านระบบระบายน้ำ ของกรมชลประทานและกรุงเทพมหานคร โดยปริมาณน้ำดังกล่าวจะค่อยๆ ไหลลงมาสู่พื้นที่ทางตอนล่าง
       
มวลน้ำที่เห็นจากแผนที่ทางอากาศ หมดแล้วหรือคะ?


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ย. 11, 13:50
^
ที่เห็นสีฟ้าๆว่าเป็นน้ำในภาพนั้น บอกไม่ได้ว่าลึกเท่าไหร่ อาจจะเป็นน้ำตื้นๆที่ชาวนาเก็บไว้สำหรับการทำนาครั้งต่อไปก็ได้ครับ

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ามวลน้ำใหญ่ ถ้าไม่ผ่านไปแล้วก็น่าจะแผ่ไปทั่วเมืองทั้งหลายปากอ่าว หมดฤทธิ์ที่จะเอ่อขึ้นมาทะลวงทลายแบบที่เกิดที่นวนคร หรือธรรมศาสตร์ไปแล้ว โดยไม่เกี่ยวกับบิ๊กแบ็ก

ผมนำคลิ๊ปที่ถ่ายจากฮอลิคอปเตอร์มาให้ดู ผู้บรรยายได้กล่าวชัดเรื่องบิ๊กแบ็กที่ผมสงสัย ท่านลงชมแล้วใช้วิจารณญาณกันเอง


http://www.oknation.net/blog/semtele/2011/11/10/entry-1


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 11, 14:19
ถ้าระดับน้ำไม่สูงไปกว่านี้ ถือว่าคนกรุงเทพไม่เคราะห์ร้ายกว่านี้   จากนั้น ระดับน้ำก็จะค่อยๆลดลงตามการผันน้ำของกทม.   แค่ปลายเดือนพ.ย. ชาวเมืองที่อพยพสามารถกลับเข้าบ้านได้ ก็โชคดีแล้วค่ะ
ส่วนน้ำจะแห้งได้เมื่อใดกันแน่  ธันวาคม หรือว่าเลยปีใหม่ไปแล้ว   ยังไม่มีใครให้คำตอบ

บิ๊กแบ็คนั้นดิฉันเชื่อว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลหรือศปภ. ที่จะให้เห็นว่า เราทำงานกั้นน้ำไปแล้วนะ  ออกข่าวยืนยันด้วยว่าได้ผล  ระดับน้ำต่างกันตั้ง 30 ซ.ม.   ถ้าน้ำไม่ออกจากกรุงเทพก็เป็นเรื่องของกทม.ละทีนี้  ว่าทำไมทำไม่ได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 10:35
มันมากับน้ำท่วม !
สยองหลังน้ำลด !


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 13:59
มหาอุทกภัยครั้งนี้ ทุกคนทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีประเทศไทยมา แต่จริง ๆ แล้วน้ำท่วมครั้งนี้เป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น เพราะท่วมชั่วคราว ท่วมแล้วยังมีลด  อีก ๒๕ ปีข้างหน้าเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้คือน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ อย่างถาวร หากรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายเตรียมการป้องกันเรื่องนี้เสียแต่เนิ่น ๆ

เตือนอีก ๑๐ ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก ๒.๕ เมตร (http://www.rsunews.net/News/10Years.htm)

(http://www.rsunews.net/News/10Years/500x322.jpg)

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า จากผลการวิจัยผลกระทบต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก เมื่อปี ๒๕๕๑ คาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภายใน ๑๐ ปีตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี ๒๕๓๘ เพราะจากการคำนวณพบว่าทุก ๆ ๒๕ ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี ๒๕๖๓) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน ๒๕  ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมไม่ได้มีเพียงแค่กรณีเดียว แต่ประกอบด้วย ๔ ปัจจัยดังต่อไปนี้

๑. ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ ๕-๑๐ % ต่อปี
๒. การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ ๑๐๐ มม. แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ๑๐-๒๐ มม.
๓. ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ ๓ มม.
๔. ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า ๕๐ % เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพื้นที่รองรับน้ำ

รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อไปว่ากรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียนถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ ๑ กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่าแผ่นดินจมหายไป ๑ กิโลเมตร ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาทางการเมือง ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ำเหนือที่ไหลทะลักให้แยกออกเป็น ๒ ฝั่ง คือฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้

ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเสี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง ๑-๒.๕ เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.๙ เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี หากเราลงมือทำกันจริง ๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

วันที่ ๑๖/๐๗/๒๕๕๓

คุณเตรียมตัวรับมือเกี่ยวเรื่องนี้ไว้แล้วหรือยัง

 :o


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 14:11
คุณเพ็ญชมพูจำเมกะโปรเจคนี้ได้หรือไม่   เพิ่งพูดกันไปเมื่อเดือนสิงหาคมนี้เอง

จ้างบริษัทระดับโลกออกแบบ พัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ พร้อมทำความเข้าใจกับเอ็นจีโอ

7 ส.ค.2554  รายงานข่าวแจ้งว่า นโยบายการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ของพรรคเพื่อไทย หนึ่งในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจ็กต์ จะต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยให้ได้ หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษาและจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานนโยบายนี้อย่างเป็นทางการ โดยการลงทุนคาดว่าจะใช้รูปแบบพีพีพี หรือการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นหลัก

ทั้งนี้ ขั้นตอนการออกแบบเมืองใหม่ จะว่าจ้างบริษัทชื่อดังระดับโลกเข้ามาจัดทำให้ มองไว้แล้ว 2-3 แห่ง ยึดรูปแบบการดำเนินงานเหมือนเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์  เมื่อได้รายละเอียดนโยบายทั้งหมด จะเปิดประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย

ขณะเดียวกัน จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่า เมืองใหม่จะมีพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.6-1.8 ล้านล้านบาท ต้นทุนไร่ละ 6-8 ล้านบาท แต่ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำพื้นที่จำนวนนี้เปิดให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ใช้พื้นที่คืนกลับมาได้อีกเท่าตัวหนึ่ง หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม รูปแบบเมืองใหม่จะเป็นกรีนซิตี้ มีความพร้อมด้วยระบบผังเมืองและสาธารณูปโภคทุกชนิด นำธุรกิจอนาคตของประเทศไทยย้ายเข้าไปสู่เมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางทางการเงิน การรักษาพยาบาล เป็นศูนย์กลางสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติในภูมิภาคนี้ มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ได้สะดวก ผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง

ส่วนกระแสการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่และกลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะทำให้นโยบายนี้เกิดปัญหาได้ ซึ่งเมื่อได้รายละเอียดนโยบายชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้าง รัฐบาลจะรีบทำความเข้าใจกับสังคม เพื่อให้เกิดการยอมรับ เนื่องจากนโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อประเทศ โดยเฉพาะการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่เชื่อว่าภายในช่วง 20-30 ปีข้างหน้าจะต้องประสบปัญหาแน่

ข้อมูลจากมติชน
Mthai news


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 14:37
^
^
สร้างวิมานในทะเล

ถมทะเลบางขุนเทียนเร่งกทม.จมบาดาล (http://www.komchadluek.net/detail/20110731/104447/%E0%B8%96%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A5.html)

(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2011/07/31/a8f7bafkhba9bfd7ahcjd.jpg)

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร หนึ่งในนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ศึกษาวิจัยพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมานาน ฟันธงว่า การจะถมทะเลสร้างเมืองใหม่ไม่น่าจะคุ้มค่าการลงทุน!! พร้อมอธิบายว่า ตลอดแนวชายฝั่งบางขุนเทียนกินเนื้อที่ลึกลงไปในทะเล ๑๐ กิโลเมตร เป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รวมเนื้อที่ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือราว ๑.๘ แสนไร่ และหากต้องการถมเต็มพื้นที่ต้องใช้ทรายไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ล้านคิว คำนวณเป็นเม็ดเงินการลงทุนเฉพาะการถมทรายเพียงอย่างเดียวต้องใช้เงินทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๔ แสนล้านบาท

"เนื้อที่เกือบ ๒ แสนไร่ เทียบแล้วใหญ่โตเกินครึ่งของ จ.สมุทรสาคร การถมทะเลเพื่อสร้างเมืองใหม่เลียนแบบสิงคโปร์และดูไบนั้น ต้องถมให้สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย ๕ เมตร ซึ่งชายทะเลบางขุนเทียนห่างฝั่งไป ๑๐ กิโลเมตร มีความลึกอยู่ที่ ๖ เมตร หมายความต้องถมทรายสูงถึง ๑๑ เมตร ซึ่งต้องใช้ทรายไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ล้านคิวถึงจะถมได้หมด ที่สำคัญจะหาทรายจำนวนมหาศาลมาจากไหน ลำพังทรายที่มีอยู่ในประเทศคงไม่พอแน่" รศ.ดร.เสรีกล่าว

รศ.ดร.เสรียังอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพของดินบริเวณชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนว่า ดินบริเวณนี้เป็นดินโคลน เกิดจากตะกอนแม่น้ำ มีความอ่อนตัวสูง หากมีการถมดินก็จะเกิดการยุบตัวลงไปอีก โดยในแต่ละปีแม้ไม่มีการถมดินเพิ่ม ยังเกิดการยุบตัวอยู่แล้วเฉลี่ย ๕ เซนติเมตร หากนำทรายหรือดินจากพื้นที่อื่นมาถมจะยิ่งเพิ่มน้ำหนักเร่งให้เกิดการยุบตัวลงไปอีก มีการคาดการณ์กันว่าหลังถมพื้นที่แล้วน่าจะมีอัตราการยุบตัวสูงถึง ๑๐ เซนติเมตรต่อปี นั่นหมายความว่าหากมีการถมทะเลสร้างเมืองใหม่บริเวณนี้จริง ๆ จะต้องมีการถมทรายเสริมทุก ๆ ปี เฉลี่ยอย่างน้อยปีละ ๕ เซนติเมตร เท่ากับว่าต้องใช้ทรายอีกหลายร้อยล้านคิวต่อปี แล้วเงินทุนมหาศาลจะหามาจากไหน ?!!

ส่วนผลกระทบต่อระบบนิเวศของอ่าวไทยหลังถมทะเลแล้ว รศ.ดร.เสรี วิเคราะห์ว่า พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ มีคลองสำคัญถึง ๕ คลองที่ต้องไหลลงทะเล คือ คลองสนามชัย คลองสรรพสามิต คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ และคลองบางใหญ่ ซึ่งคลองเหล่านี้ถูกใช้ในการระบายน้ำเหนือลงทะเล หากมีการถมบริเวณนี้จริง ก็จะเป็นการขวางทางน้ำ จะเกิดปัญหาน้ำท่วมตามมา

"เมื่อถึงฤดูน้ำเหนือไหลหลากลงมา กรุงเทพมหานครและปริมณฑลก็ต้องจมบาดาล ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ถมทะเลก็จะไปขวางกระแสน้ำทะเล เกิดปัญหาสายน้ำเปลี่ยนทิศทางส่งผลกระทบกับพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนเหนือ ไล่ไปตั้งแต่ จ.สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ จ.จันทบุรี ส่วนทางใต้ไล่ตั้งแต่ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่ง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาในทะเลเสียหาย จะเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลจนประเมินค่าไม่ได้" รศ.ดร.เสรี วิเคราะห์

ขัดแย้งกับแนวคิดของการถมทะเลบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียน ซึ่งหวังจะใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาน้ำทะเลกันเซาะชายฝั่ง และแก้ปัญหาน้ำทะเลรุกท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น  รศ.ดร.เสรี ยืนยันว่า การถมทะเลสร้างเมืองใหม่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่ยังมีอีกหลายวิธี อย่างการแก้ปัญหาน้ำทะเลรุกผืนดิน ต้องมีการปลูกป่าชายเลน เพื่อสร้างระบบนิเวศชายฝั่งทะเลตามธรรมชาติให้ได้อย่างน้อยห่างฝั่งออกไป ๓๐๐ เมตร ซึ่งเมื่อมีป่าชายเลนมาขวางความแรงของกระแสคลื่นก็จะสามารถแก้ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งได้โดยไม่กระทบกับระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นด้วย

เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี หากเราลงมือทำกันจริง ๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

เล็ก ๆ (คันกั้นน้ำ) ไม่  ใหญ่ ๆ (เมืองในทะเล) จะทำ

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 15:26
ต้องรอดูว่าหลังน้ำแห้งแล้ว  รัฐบาลจะเดินหน้าถมทะเลต่อไปหรือเปล่า 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 11 พ.ย. 11, 16:19
การถมทะเล เพื่อสร้างเมืองใหม่ หรือการสร้างคันกั้นน้ำ ป้องกันกรุงเทพจมน้ำ ล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ฝืนธรรมชาติ...
ยิ่งจะทำให้ระบบนิเวศ เปลี่ยนแปลงไป ผลที่จะตามมา เคยมีการศึกษากันหรือยังว่าจะเลวร้ายขนาดไหน...ทำไมเราไม่ทำใจยอมรับและอยู่กับธรรมชาติให้ได้.......
แม้ว่าธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ก็เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสมดุลย์ให้กับโลก
ยิ่งมนุษย์ไปฝืนธรรมชาติมากๆ ธรรมชาติก็ยิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้เข้าสู่สมดุลย์ของตัวเอง
ตัวอย่างง่ายๆ การถมกระสอบทรายสร้างคันกั้นน้ำ กั้นยังไงก็ไม่ได้ เพราะธรรมชาติของน้ำ ต้องไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ
น้ำท่าน้ำทุ่ง ล้วนต้องไหลออกสู่ทะเล กั้นตรงนี้ก็ไหลเอ่อไปตรงโน้น ทั่วไปหมด ระยะเวลาที่น้ำหาทางลงทะเลยิ่งนานขึ้นอีก ความเสียหายก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา
สู้ไม่กั้นซะดีกว่า ปล่อยให้ไหลผ่านลงทะเลไป ใช้เวลาสั้นกว่ากัน ความเสียหายก็น้อยกว่ากัน...

เรื่องกรุงเทพ เมืองหลวงของเรานั้น แต่เดิมอาจจะเหมาะสม เพราะสมัยที่ตั้งเมืองใหม่ๆ ผู้คนยังมีน้อย เทคโนโลยียังไม่ดี ดังนั้นการตั้งเมืองจึงต้องอยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก จึงเลือกตั้งริมแม่น้ำ มีที่นากว้างขวางอุดมสมบูรณ์
แต่ปัจจุบัน สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เรามีประชากรเพิ่มมากขึ้น ที่อยู่อาศัยหนาแน่นขึ้นทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง
มีการใช้ที่ดินผิดประเภทมากขึ้น พื้นที่เกษตรถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรม ทางน้ำถูกเปลี่ยนเป็นถนน ทุกอย่างเกินลิมิตที่กรุงเทพจะรองรับได้แล้ว....

การย้ายเมืองหลวง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ หรือสร้างคันกั้นน้ำ
อย่าไปเลียนแบบสิงคโปร์ เพราะเขามีเนื้อที่น้อยเขาจำเป็น แต่เราไม่จำเป็นขนาดนั้น
ประเทศไทยยังมีพื้นที่อีกกว้างขวางมากมาย ที่เหมาะจะสร้างเมืองหลวง ศูนย์กลางเศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ใหม่ได้ไม่ยาก
เงินที่จะไปลงทุนถมทะเล เอามาสร้างระบบคมนาคม และระบบสาธารณูปโภค อย่างเริดๆ ได้สบายๆ

ก็แค่ความคิดเห็นเล็กๆ จากหนูดีดี ฝากไว้ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ได้ช่วยพิจารณากันค่ะ....


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 17:03
^


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 11, 20:41
ราวกับเรื่องน้ำท่วม ทำให้คนไทยสติแตกได้ไม่พอ    จึงมีข่าวแผ่นดิน(อาจ)ไหวแทรกเข้ามาอีก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=karnoi&month=11-11-2011&group=36&gblog=270

สมิทธ หวั่นอาจเกิดแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ต่อจากอุทกภัย จี้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรวมข้อมูลเข้าศูนย์กลาง เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้ารับมือภัยธรรมชาติ

ส่วนเรื่องการเตือนภัยอื่น ๆ นั้น ที่สำคัญมากก็คือการเตือนภัยแผ่นดินไหว เพราะเชื่อว่าในปีสองปีนี้มีสิทธิ์เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ เนื่องจากเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ที่บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับอิทธิพลจากแผ่นดินไหวใหญ่ที่ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า อีกทั้งขณะนี้พื้นดินใต้ประเทศไทยได้รับความเสียหาย เพราะถูกน้ำท่วมขังนาน และน้ำยังได้เข้าไปกัดเซาะมากขึ้นด้วย ดังนั้น หากไม่มีการรวมศูนย์ข้อมูลเพื่อเตือนภัย ก็มีสิทธิ์จะเกิดภัยพิบัติอีกครั้งในเมืองไทย


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 11, 12:18
ทำเลบ้านตามตำราซุนหวู่    (คอลัมน์เลียบวิภาวดี ในน.ส.พ.แนวหน้า)

ถ้าเปรียบการแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่นี้ รัฐบาลกำลังทำศึกกับอุทกภัย กลยุทธในการสู้ก็จะต้องงัดเอาตำราพิชัยสงครามของ "ซุนหวู่" มาต่อกร
หัวใจของการทำสงคราม นอกจากต้อง "รู้เขารู้เรา" คือรู้ศักยภาพการทำลายล้างของน้ำ และศักยภาพการผันน้ำลงทะเลของรัฐบาล ยังต้องรู้ "หลักการอันยิ่งใหญ่ของสงคราม" ที่ซุนหวู่ระบุไว้ "ต้องทำสงครามชนะคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็ว ห้ามปล่อยให้ยืดเยื้อเด็ดขาด เพราะความยืดเยื้อจะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล"
เหลียวมาดูการทำสงครามของรัฐบาล ก็พอจะเห็นแวว "รู้เขารู้เรา" อยู่บ้าง แต่กลับทิ้งหลักการ "ห้ามทำสงครามยืดเยื้อ"
เอาเถอะ จะสู้กับน้ำแบบมือสมัครเล่นแค่ไหนก็ไม่ว่ากัน สักวันน้ำก็จะลงทะเลไปเองอยู่ดี
หลังน้ำลด คนกรุงและคนในจังหวัดปริมณฑลที่บ้านช่องเคยจมน้ำถึงขั้นอยู่ไม่ได้ คงคะจิดขยับขยายหาทำเลใหม่อยู่ที่ไม่ถูกน้ำท่วมเหมือนตั้งทัพไม่ถูกข้าศึกโจมตีง่าย ๆ

ในตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่ไม่ได้อธิบายความหมายเอาไว้ แต่ "โจโฉ" จอมวางแผนการรบที่ยิ่งใหญ่ในยุคสามก๊ก ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ใช้ตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่เป็นคู่มือในการทำสงครามจนได้ชัยชนะในการรบนับครั้งไม่ถ้วนได้อธิบายไว้ โดยผมขอสรุปเป็นภาษาของตัวเองให้เป็นปัจจุบันตรงกับเหตุการณ์วันนี้อย่าง่สั้น ๆ ดังนี้

"บ่อสวรรค์" หมายถึงที่ตำมาก ฝนตกเกิดอุทกภัยทีไรกลายเป็นบ่อรับน้ำทีนั้น เช่น แถบบางบัวทอง และไทรม้า เป็นต้น

"กรงสวรรค์" ด้านหนึ่งถูกคลองปะปากั้นเอาไว้ อีกด้านถูกคลองเปรมประชากรขนาบข้าง หมู่บ้านชินเขต และประชานิเวศน์1 คือกรงสวรรค์ตามความหมายนี้

"กับดักสวรรค์" แม้โดยลักษณะทั่วไปเป็นพื้นที่ซึ่งน้ำไม่มีสิทธิ์ท่วมขังได้ยาวนาน แต่ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยจะต้องถูกนโยบายรัฐบาลกันให้เป็นเขตจมน้ำหลังกำแพงบิ๊กแบก เพื่อป้องกันกรุงเทพฯ ชั้นในให้พ้นหายนะ

"ตาข่ายสวรรค์" มองอย่างผิวเผินมีถนนออกได้ทุกทิศทางและสามารถสร้างกำแพงป้องกันทุกด้าน แต่ทันทีที่น้ำมา ก็ถูกน้ำถล่มรอบทิศ เช่น นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี รวมถึงหมู่บ้านสุดหรูบนถนนชัยพฤกษ์ เป็นต้น

"รอยร้าวสวรรค์" เห็นกันชัด ๆ ไม่ต้องอธิบาย    บริเวณรามคำแหงนั้นไซร้และรวมถึงซอยต่าง ๆ บนถนนลาดพร้าว ถ้าป้องกันได้ก็แล้วไป ป้องกันไม่อยู่เมื่อใด น้ำจะท่วมขังนานวันจนเหม็นเน่าเมื่อนั้น

สถานที่ที่ซุนหวู่ห้ามตั้งทัพนั้น ช่างปรับได้กับชาวกรุงและชาวบ้านจังหวัดใกล้เคียงห้ามไปตั้งบ้านด้วย
"ซุนหวู่" เขียนห้ามมาเกือบสามพันปีแล้ว

                                                                           กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 พ.ย. 11, 15:19
มหาอุทกภัยครั้งนี้ ทุกคนทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีประเทศไทยมา แต่จริง ๆ แล้วน้ำท่วมครั้งนี้เป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น เพราะท่วมชั่วคราว ท่วมแล้วยังมีลด  อีก ๒๕ ปีข้างหน้าเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้คือน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ อย่างถาวร หากรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายเตรียมการป้องกันเรื่องนี้เสียแต่เนิ่น ๆ

เตือนอีก ๑๐ ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก ๒.๕ เมตร (http://www.rsunews.net/News/10Years.htm)

(http://www.rsunews.net/News/10Years/500x322.jpg)



 :o




พม่าเพื่อนบ้านเรา...ย้ายเมืองหลวงแล้ว........
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=historyandphilosophy&date=29-06-2007&group=2&gblog=18


นักการเมืองไทยเรายังมองแค่ปลายจมูก....................แค่เรื่องงบประมาณ?
เราคงมีโอกาสย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลพบุรี ก็ต่อเมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้วเพิ่งสังเกตเห็นว่ากรุงเทพฯของเราจมน้ำไปแล้วสองเมตรครึ่ง(มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว)

หรือรอให้ท่วมแบบนี้ก่อนก็น่าจะพอทนกันได้..........เนาะ.........


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 พ.ย. 11, 15:22
มันมากับน้ำท่วม !
สยองหลังน้ำลด !


ภาพนี้บอกได้ว่า...มีความเป็นไปได้สูงมากที่โรคห่า...........จะกลับมาระบาดในเมืองไทยอีกครั้ง?


 :( :-[


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ย. 11, 21:00
^
คุณศรีสยามใช้คำไทยได้ตรงมาก
หลังน้ำลด   โรคติดเชื้อคงระบาดอยู่พักหนึ่ง เพราะมีน้ำเป็นสื่อ และมีพาหะนำโรค    ที่บ้าน ขนาดน้ำท่วมมาไม่ถึง ท่วมแต่ใกล้ๆ   ยังพบว่ายุงเริ่มเยอะผิดหูผิดตา


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 11, 09:33
รมว.คมนาคมคุยบิ๊กแบ็คกั้นน้ำได้ผลดีคาด 2 สัปดาห์น้ำลด


วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2554 ) " ผู้จัดการ" พาดหัวข่าวเรื่องบิ๊กแบ๊คเอาไว้ ค่อนข้างน่ากลัว

“บิ๊กแบ็ก” ระเบิดเวลา ทำน้ำบ่าท่วมเมือง
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144325


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 13 พ.ย. 11, 13:02
^
คุณศรีสยามใช้คำไทยได้ตรงมาก
หลังน้ำลด   โรคติดเชื้อคงระบาดอยู่พักหนึ่ง เพราะมีน้ำเป็นสื่อ และมีพาหะนำโรค    ที่บ้าน ขนาดน้ำท่วมมาไม่ถึง ท่วมแต่ใกล้ๆ   ยังพบว่ายุงเริ่มเยอะผิดหูผิดตา


คำไทยโบราณ................สื่อความหมายดีกว่าคำแขกหรือไม่ครับ อาจารย์?

http://www.sujitwongthes.com/2009/08/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/

 :(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 พ.ย. 11, 13:56
อ้างถึง
วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2554 ) " ผู้จัดการ" พาดหัวข่าวเรื่องบิ๊กแบ๊คเอาไว้ ค่อนข้างน่ากลัว

“บิ๊กแบ็ก” ระเบิดเวลา ทำน้ำบ่าท่วมเมือง


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 11, 14:11
ข่าวไอเอ็นเอ็น

ศปภ. แถลง น้ำกว่า 4 พันล้าน ลบ.ม. จะระบายลง กทม. ชี้ บางกะปิ, บึงกุ่ม จะมีน้ำท่วมสูง 30 ซ.ม. ระบุ คลองบางซื่อระบายได้ผลดี

ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ โฆษก ศปภ. พร้อมด้วย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แถลงสถานการณ์น้ำ ว่า มวลน้ำทั้งหมดที่ยังคงค้างอยู่เหนือพื้นที่ กทม.มีอยู่ประมาณ 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยจะมีการจัดการออก 3 ส่วนคือ จำนวน 1 ใน 3 ประมาณ 3-4 พันล้านลูกบาศก์เมตร จะถูกระบายไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางประกง และแม่น้ำท่าจีน ส่วนอีก 1 ใน 3 ก็จะเป็นน้ำที่ใช้ในประโยชน์ทางการเกษตรกรรม และอีก 1 ใน 3 จะถูกระบายลงมายังพื้นที่ของ กทม.ฝั่งตะวันตก และตะวันออก

ส่วนการจัดการน้ำในขณะนี้ได้ถูกระบายลงมายังคลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ และคลองสาขาต่างๆ ของ กทม. อาจจะทำให้บ้านเรือนประชาชนที่อยู่อาศัยตลอดแนวริมคลองดังกล่าวนั้น ได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งจะสอดคล้องกับ กทม.ที่มีการประกาศพื้นที่บางแขวงของเขตประเวศ เขตสะพานสูง ให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ขณะที่จะมีมวลน้ำบางส่วน ซึมเข้ามาในพื้นที่เขตมีนบุรี สะพานสูง บึงกุ่ม บางกะปิ จะมีน้ำท่วมสูงประมาณ 20-30 ซ.ม.

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการระบายน้ำของ กทม.ในพื้นที่เขตหลกสี่ ลาดพร้าว จตุจักร ดอนเมือง และสายไหม หลังจากที่การวางแนวชะลอน้ำบิ๊กแบ็ก ทำให้ปริมาณน้ำลดลง ซึ่งมีการผันน้ำลงในคลองบางซื่อ ได้ผลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะบนถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต และรัชดาภิเษก หากไม่มีเหตุการอื่นแทรกซ้อน คาดการณ์ว่าประมาณ 1-2 สัปดาห์ น้ำในพื้นที่ดังกล่าวจะลดลงได้ และพื้นที่ชั้นในของ กทม. น่าจะปลอดภัย

ชักห่วงอาจารย์ธงทองเสียแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 11, 17:46
ข่าวบิ๊กแบ็คตอนนี้ พลิกผันรวดเร็วจนห้ามกระพริบตาทีเดียว

นายกฯ บอกว่าไม่รื้อ   ศปภ.ก็แถลงว่าไม่รื้อ  แต่ชาวบ้านดอนเมืองรื้อบิ๊กแบ๊คแล้ว ยาว 20 เมตร  บอกว่าส.ส. ให้รื้อได้
http://lockerz.com/s/155799788
ใครอยู่ใต้ดอนเมืองลงมา มีสิทธิ์เจอระดับน้ำเพิ่มขึ้นอีกแล้ว


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 11, 18:11
ข่าวต่อมา วันนี้
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.มีมติให้รื้อแนวกระสอบทรายยักษ์ หรือ บิ๊กแบ็ก ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก เป็นระยะทาง 30 เมตร ซึ่งที่เปิดอยู่แล้ว 6 เมตร และได้มีน้ำบางส่วนไหลเข้ามาทางถนนวิภาวดีรังสิตบ้างแล้ว ในส่วนของการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่ในพื้นที่ จะเร่งส่งอีเอ็มบอลเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เพราะว่าน้ำเริ่มส่งกลิ่นเหม็น ส่วนการรื้อกระสอบทรายยักษ์ ทาง ศปภ.ระบุว่า จะทำการรื้อให้เสร็จภายในวันพรุ่งนี้เวลา 18.00 น.


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ย. 11, 10:19
อวสานบิ๊กแบ็ก  :(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 11, 12:55
เมื่อคืนนี้  ดูข่าวบ้านพิพิธภัณฑ์ของคุณเอนก นาวิกมูล ที่พุทธมณฑลสาย 4  บางแห่งน้ำลึกถึง 1.60 เมตร     คุณเอนกนั่งเรือกลับไปดูพิพิธภัณฑ์ ด้วยสีหน้าหดหู่
เดินย่ำน้ำเข้าไปดูข้าวของที่ยกหนีพ้นน้ำบ้าง   ไม่พ้นบ้าง  เห็นหนังสือลอยปริ่มๆน้ำ  ขาดเปื่อย   
ดิฉันเคยไปดูพิพิธภัณฑ์แห่งนี้    แล้วชมความอุตสาหะของคุณเอนกที่รวบรวมของใช้ประจำวันในอดีตมาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ดูกัน   ข้าวของหลายอย่างเคยมีอยู่ในบ้านของพวกเราเมื่อหลายสิบปีก่อน  แตกหักสูญหายไปตามกาลเวลา    เท่าที่ยังเหลือสภาพดี  คุณเอนกก็รวบรวมมาไว้ให้เห็นบรรยากาศเก่าแก่
บัดนี้ หมดสิ้นไปกับน้ำท่วม

คนที่ไม่เจอน้ำท่วมเข้ากับตัวเอง คงนึกรายละเอียดไม่ออกว่าเหตุการณ์วันอพยพ โกลาหลขนาดไหน   สภาพบ้านเมืองเหมือนกรุงเทพ  ข้าศึกไหลบ่ามาในพริบตาเดียว
ทุกคนแตกฉานซ่านเซ็น    ที่สู้ตายอยู่กับบ้านก็มีไม่น้อย แต่ในที่สุดก็จำต้องสละเรือนตาย

ขอเชิญอ่านบันทึกพิเศษของคุณปริทัศน์ กองเพียร  เล่าถึงบ้านของบิดา คุณนิวัติ กองเพียร  แล้วจะเห็นภาพและอารมณ์ของผู้สูญเสีย

http://niwatkongpien.com/flood_note001.php


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 พ.ย. 11, 13:29
นอกจากคุณเอนกและคุณนิวัติแล้ว ยังมีนักสะสมอีก ๒ ท่านที่เป็นผู้สูญเสียของรักของหวงในมหาอุทกภัยครั้งนี้

๓ คนหัวใจใหญ่ สุชาติ-เอนก-เจนภพ  (http://www.komchadluek.net/detail/20111116/115055/3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%9E.html)  โดย นันทพร ไวศยะสุวรรณ์

ข่าวพี่น้องร่วมชาติได้รับความทุกข์ยากในการดำเนินชีวิตช่วงมหาอุทกภัยว่ายากจะทำใจแล้ว  มารู้เรื่องศิลปินและนักเขียนต้องมาตกชะตากรรม สูญของสะสมมาตลอดทั้งชีวิตไป อีกยิ่งเศร้าใจหนัก

สมบัติที่มีค่าที่สุดสำหรับพวกเขา ไม่ใช่บ้านหรู รถราคาแพง หรือเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดัง
    
ทว่าเป็น หนังสือ แผ่นเสียง ลายมือต้นฉบับ โปสเตอร์ ภาพวาด แผ่นฟิล์ม และของเก่า ๆ ที่อาจไร้ค่าสำหรับคนทั่วไป
    
คราวก่อนคุยกับ คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เจ้าของฉายา "สิงห์สนามหลวง" ที่สูญหนังสือนับแสนนับล้านเล่มในคลังส่วนตัว ที่บ้านย่านเมืองเอก ทำให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของสะสมที่แกเก็บมาตั้งแต่สมัยเรียน จนอายุกว่า ๗๐ ปีในวันนี้
    
ยังมีบ้านพิพิธภัณฑ์ ของ คุณเอนก นาวิกมูล อีกคน ที่ตั้งอยู่ที่ซอยคลองโพ ๒ ถนนศาลาธรรมสพน์ ที่เชื่อมต่อจากปลายถนนพุทธมณฑลสาย ๒ ในเขตทวีวัฒนา ก็จมน้ำไปอย่างน่าเสียดาย ของเก่านานาชนิดที่สะสมไว้ เรียกว่ามากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้
    
ล่าสุดได้คุยกับ คุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ ที่สายน้ำกลืนกินพิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง ซึ่งเป็นบ้านพักของเขา ปริมาณน้ำที่สูงถึงเมตรครึ่ง ทำให้ไม่สามารถนำของใด ๆ มาได้เลย แม้แต่เสื้อลายดอกอันเป็นเอกลักษณ์ คว้าได้แค่เสื้อบอลเพียง ๒ ตัวเท่านั้น
    
ไม่เพียงตัวบ้าน แต่สถานีวิทยุเสียงศิลปิน ใกล้ ๆ บ้านที่แกจัดรายการประจำก็จมน้ำไปด้วย
  
แค่เอาชีวิตตัวเอง ภรรยา และลูก ๑ คน รวมทั้งหมาอีก ๑ ตัว ก็แทบจะไม่รอดแล้ว  
 
อย่าได้คิดถึงของสะสมเกี่ยวกับวงการลูกทุ่งที่เก็บมาตั้งแต่ปี ๐๘ เพราะมันไม่เหลืออะไรเลย
    
คุณเจนภพบอกเสียงเบา ๆ ว่า ไม่เหลือหลักฐานที่จะอ้างอิงอีกแล้ว ความทรงจำเพียงอย่างเดียวไม่อาจยืนยันประวัติศาสตร์ได้
    
สิ่งที่เหลือเพียงอย่างเดียว ก็คือ "คำถาม"!

พวกเขาคงอยากจะถามถึงสิ่งที่จมหายว่า คนในแวดวงเดียวกันจะช่วยกันกอบกู้ขึ้นมาอย่างไร
    
คำถามที่ว่า ทำไมคุณสุชาติถึงบ้าเก็บหนังสือไว้มากมาย และทำไมหนังสือส่วนใหญ่ถึงไม่มีในหอสมุดแห่งชาติ
    
คำถามที่ว่า ทำไมปล่อยให้คนอย่างสุชาติ เอนก หรือเจนภพ ต้องต่อสู้โดยลำพัง ประเทศเราคุ้มครองแต่เศรษฐกิจเท่านั้นหรือ  
    
คำถามที่ว่า คนในแผ่นดินนี้ ไม่สนใจราก ไม่ใส่ใจภูมิความรู้ ไม่ให้ความสำคัญแหล่งที่จะสร้างสติปัญญาเลยหรือ
    
พวกเขาเหมือนทั้งชีวิตจมน้ำไปหมดแล้ว  
    
ข่าวว่าหลังน้ำลด ทั้ง ๓ คน ตั้งใจจะจัดนิทรรศการที่มีชื่อว่า "ใจจะขาดรอน ๆ"

โดยเอาทุกอย่างใส่ตู้ปลาให้คนดู ให้รู้ว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาทำมาตลอดทั้งชีวิต!

 :'(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 11, 14:37
 :'(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 พ.ย. 11, 16:35
เศร้ากับคุณ เอนก คุณสุชาติ และ คุณเจนภพค่ะ :'( :'( :'(

บ้านลุงสมบัติ พลายน้อยละคะ หนังสือมากมายออกปานนั้น  มีใครได้ข่าวท่านบ้างไหมคะ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 พ.ย. 11, 16:42
เมื่อคืนนี้  ดูข่าวบ้านพิพิธภัณฑ์ของคุณเอนก นาวิกมูล ที่พุทธมณฑลสาย 4  บางแห่งน้ำลึกถึง 1.60 เมตร     คุณเอนกนั่งเรือกลับไปดูพิพิธภัณฑ์ ด้วยสีหน้าหดหู่
เดินย่ำน้ำเข้าไปดูข้าวของที่ยกหนีพ้นน้ำบ้าง   ไม่พ้นบ้าง  เห็นหนังสือลอยปริ่มๆน้ำ  ขาดเปื่อย   
ดิฉันเคยไปดูพิพิธภัณฑ์แห่งนี้    แล้วชมความอุตสาหะของคุณเอนกที่รวบรวมของใช้ประจำวันในอดีตมาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ดูกัน   ข้าวของหลายอย่างเคยมีอยู่ในบ้านของพวกเราเมื่อหลายสิบปีก่อน  แตกหักสูญหายไปตามกาลเวลา    เท่าที่ยังเหลือสภาพดี  คุณเอนกก็รวบรวมมาไว้ให้เห็นบรรยากาศเก่าแก่
บัดนี้ หมดสิ้นไปกับน้ำท่วม


เข้าใจในเหตุการณ์เช่นนี้ครับ ผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ไปร่วมวันเปิดบ้านพิพิธภัณฑ์ ไปยืนปรบมือให้กำลังใจเปิดแพรคลุมป้าย ยังนึงถึงบรรยากาศสภาพแวดล้อมได้ดี รอบ ๆ เป็นบ้านพักและสวนผัก แต่ตอนนี้เจ้าของต้องการกำลังใจอย่างหนัก บางส่วนเป็นของพลาสติก บางส่วนเป็นไม้ บางส่วนเป็นกระดาษที่ยกสูงแล้ว (แต่สูงไม่พอกับระดับน้ำที่ขึ้นมาถึงระดับหน้าอก)

ขอส่งกำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมไปให้ครับ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 11, 16:57
เศร้ากับคุณ เอนก คุณสุชาติ และ คุณเจนภพค่ะ :'( :'( :'(

บ้านลุงสมบัติ พลายน้อยละคะ หนังสือมากมายออกปานนั้น  มีใครได้ข่าวท่านบ้างไหมคะ

หนังสือของคุณสมบัติน่าจะรอดนะคะ  มูลนิธิอมตะ เข้ามาช่วยขนย้ายไปไว้ในที่ปลอดภัย     แถวบ้านคุณสมบัติที่คลองสาน น้ำไม่ท่วมไม่ใช่หรือ

(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554)

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน น.ส.พันชนะ วัฒนเสถียร ผู้จัดการมูลนิธิอมตะ ให้สัมภาษณ์ถึงการขนย้ายหนังสือจำนวน 155 กล่องของ นายสมบัติ พลายน้อย หรือ ส.พลายน้อย นักเขียนชื่อดัง จากบ้านเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและมีความเสี่ยงว่าน้ำอาจเข้าท่วมทำลายหนังสือ ไปยังอมตะ แคสเซิล ภายนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมว่า ได้แจ้งขอขนย้ายหนังสือ ไปที่บ้านของนายสมบัติเพราะเป็นนักเขียนที่มูลนิธิอมตะมอบรางวัลให้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงว่าจะถูกน้ำท่วม

ผู้จัดการมูลนิธิอมตะ กล่าวว่า พื้นที่ทุกตารางนิ้วภายในบ้านของนายสมบัติ อัดแน่นด้วยหนังสือนับแสนเล่ม ส่วนที่ขนย้ายนั้นเป็นหนังสือในตู้ที่มีความสูงน้อยกว่า 1.5 เมตรบริเวณชั้นหนึ่งของบ้าน หลังจากจัดหนังสือเป็นมัดใส่กล่องขนาดใหญ่รวม 155 กล่องแล้ว ส่งไปเก็บที่อมตะ แคสเซิล ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี ที่ปลอดภัยจากน้ำท่วมแน่นอน หากน้ำท่วมเข้าบ้านถึง 1 เมตร จะเข้าไปช่วยขนย้ายอีกครั้ง ทั้งนี้ ได้ทิ้งลังของสถาพรบุ๊คส์ไว้ที่บ้านเผื่อกรณีฉุกเฉิน จะได้เก็บหนังสือใส่ลังไว้ล่วงหน้า

น.ส.พันชนะกล่าวว่า ในสถานการณ์แบบนี้ไม่ควรเสี่ยง ไม่ควรรอให้น้ำท่วมแล้วค่อยขนย้าย กรณีหนังสือกว่าแสนเล่มของนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี จมน้ำที่บ้านย่านรังสิตเป็นตัวอย่างและบทเรียนที่ดี เพราะคุณค่าของหนังสือเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวเงิน แต่อยู่ที่ระยะเวลาและคุณค่าทางจิตใจ ประเมินค่าเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง กรณีของนายสุชาติเป็นเครื่องเตือนใจแก่คนรักหนังสือ ให้ป้องกันและขนย้ายหนังสือไปไว้ยังที่ปลอดภัยไร้ความเสี่ยง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320900205&grpid=&catid=08&subcatid=0804


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 พ.ย. 11, 18:02
.


เรายอมรับได้ในเฉพาะเรื่องที่มาจากธรรมชาติล้วนๆ............
แต่ปัญหาอยู่ที่ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันและแก้ปัญหา ต้องให้ความจริงแก่ประชาชนตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเขารู้ดีว่าจะบริหารจัดการน้ำอย่างไร
ทุกระดับของความสูงต่ำ(elevation)ของพื้นดิน มีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนในมือผู้รับผิดชอบ   แต่ทำไมไม่แจ้งเตือนล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ
ตัวอย่างง่ายๆ...............เขาปกป้องฝั่งตะวันออกของเจ้าพระยา(มาบประชัน-สุวรรณภูมิ)ด้วยการเบี่ยงมาตะวันตก(ท่าจีน-นครชัยศรีฯลฯ)

ไม่มีใครบอกเตือนแม้แต่น้อย ว่าปริมาณน้ำมหาศาลขนาดนั้นสามารถจะมาทำลายบ้านพิพิธภัณฑ์ของคุณเอนก-สวนส้มโอชั้นเลิศ-สวนกล้ายไม้ชั้นเยี่ยม ฯลฯ

อำมหิตมหากาฬ?
นักการเมืองของไทยเราไม่ได้รักประชาชนจริงๆดังที่เขาว่ากันกระมัง


สมควรที่ต้องมีผู้เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จึงขอแสดงความเห็นด้วยกับการที่ ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐฟ้องร้องรัฐบาลและผู้รับผิดชอบให้ชดใช้ผู้ประสบภัยพิบัติครั้งนี้



. :( >:(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 11, 08:20
ใช่ครับออกขุนหนุ่มสยาม  ผมพยายามหาคอมพิวเตอร์เพื่อแวะมาเรือนไทยให้ได้
แม้เพียงชั่วขณะก็ตาม  ได้ทราบว่า  มีสมาชิกเรือนไทยได้ทราบข่าวคราวของผม
เรื่องมหาอุทกมาโจมตีเคหสถานแตกไปเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
(แลปัจจุบันนี้  มหาอุทกก็ยังยึดพื้นที่เคหสถานแลโดยรอบอยู่ในระดับต้นขาอ่อน
มาได้หลายเพลาแล้ว  โดยเพิ่มขึ้นและลดลงตามระดับน้ำขึ้นน้ำลงในแต่ละวัน)

หลายท่านได้แสดงความเป็นห่วงใยแก่ผม  ซึ่งผมได้ทราบผ่านสหายท่านหนึ่ง
ได้แจ้งความให้ทราบมาเป็นระยะๆ  ก็รู้สึกชุ่มชื่นใจว่า  หลายท่านยังมีแก่ใจ
เป็นห่วงใยผมในยามที่มวลน้ำมายึดพื้นที่เคหสถานอย่างปัจจุบันทันด่วน
ผมขอขอบคุณทุกท่านที่เป็นห่วง   

แน่นอนว่า  มหาอุทกที่ทะลักทลายมากระทันหันในวันก่อนวันปล่อยผีของฝรั่งนั้น
ได้ทำอันตรายทรัพย์สินในเคหสถานไปหลายส่วน  โดยเฉพาะหนังสือต่างๆ
และเอกสารที่ผมใช้ในการค้นคว้า  ซึ่งไม่สามารถขนย้ายหนีมหาอุทกได้ทันการณ์
เพียงชั่วเวลาไม่กี่นาที   น้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  บ่าเข้าท่วมในเรือนถึงหัวเข่า
หนังสือและเอกสารจ่อมจมไปน้ำถึง ๘ ส่วน ใน ๑๐ ส่วน  โดยการประมาณการ
แม้ว่า ต่อมา ผมจะได้กอบกู้เก็บงมหนังสือและเอกสารขึ้นมาได้บ้าง
(ใช้เวลางมกู้ ๖- ๗ วัน วันละ ๓ ชั่วโมง) ก็หาได้ทรัพย์คืนมาครบถ้วนเท่าเดิมไม่
จำเป็นที่จะต้องทอดทิ้งหนังสือและเอกสารไปเป็นกองพะเนิน
(ตอนนี้ก็ยังกองทิ้งอยู่หลังเรือน  รอน้ำเข้าสู่ภาวะปกติ  จะได้ทำการฌาปนกิจต่อไป)
ที่งมกู้มาได้  ก็ใช่ว่าจะมีสภาพดังเดิม  หลายเล่มมีสภาพเหมือนทหารผ่านศึก
ที่พิการแขนขาขาด  เป็นโรคต่างๆ นานา  บางเล่มมีสภาพเหมือนศพลอยอืดพองเต็มที่
ต้องประคองอุ้มมาขึ้นขาหยั่งพาดผึ่งไม้ให้ของเหลวไหลตกจนหมด
หนังสือและเอกสารเหล่านี้  คงจะต้องผ่านการพิจารณาสังขารด้วยอสุภกรรมฐานต่อไป

คิดเป็นห่วงคุณหลวงอยู่เสมอ

ขอแสดงความเสียใจเรื่องหนังสือที่สูญเสียไปในมหาอุทกภัยครั้งนี้

เข้าใจถึงความรู้สึกผู้ประสบเหตุการณ์เยี่ยงนี้ ไม่ว่าจะเป็นคุณหลวง คุณสุชาติ คุณเอนก คุณเจนภพ คุณนิวัติ

อย่างไรก็ดี ขอให้คุณหลวงเข้ามาเยี่ยมเรือนไทยบ่อย ๆ

คิดถึงอยู่เสมอ

สู้ สู้

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 11, 13:46
เพื่อนร่วมชะตากรรมกับคุณหลวง

เปิดใจ“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” เมื่อคลังวรรณกรรมน้ำหมึกล้ำค่า มลายไปกับน้ำท่วมนับแสนเล่ม (http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1319557071&grpid=09&catid=no)

"สุชาติ สวัสดิ์ศรี"  นักเขียนเจ้าของนามปากกา "สิงห์สนามหลวง" อดีตบรรณาธิการนิตยสารวรรณกรรมช่อการะเกด , สังคมศาสตร์ปริทัศน์, โลกหนังสือ และบานไม่รู้โรย เปิดใจกับ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ หลังจากต้องอพยพพาครอบครัวออกจากบ้านย่านรังสิตที่น้ำท่วมสูงจนการอาศัยอยู่ต่อไปเป็นเรื่องแสนเข็ญ

แม้ทุกคนในบ้านจะปลอดภัย แต่ "สุชาติ" บุรุษผู้มีวรรณกรรมเป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต กลับต้องทอดทิ้งคลังหนังสือเก่าที่รัก สมบัติทางภาษาอันล้ำค่าจำนวนมากที่ยังกองพะเนินเทินทึกเต็มห้องจมกองน้ำ บางเล่มสำคัญที่น้ำหมึกอาจจางและเลือนหายไปกับน้ำเหนืออันเชี่ยวกราก

วันนี้สิ่งที่ทำได้คือรอความเป็นไปได้ ที่จะกลับไปเก็บผลงานที่เหลือ แต่ความหวังที่จะคืนชีวิตให้กรุหนังสือนับแสนเล่มช่างเป็นเรื่องที่เลือนลางและมิอาจหวังได้เช่นกัน

"สุชาติ"ในวัย ๖๖ ปี เล่าว่า ขณะนี้เขาและครอบครัวได้ย้ายมาพักอาศัยที่ทีวีบูรพา หลังจากบ้านที่เป็นทั้งที่อยู่ และเป็นที่เก็บหนังสือเก่านับแสนเล่ม ตั้งอยู่บริเวณทำนบหลัก ๖ รังสิต ประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเรือนบ้าน ๔ หลัง โดยมี ๓ หลังเป็นบ้านชั้นเดียวเก็บหนังสือเก่าที่สะสมมาในรอบ ๕๐ ปีตั้งแต่เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ เมื่อปี ๒๕๐๕ และ อีก ๑ หลังเป็นบ้าน ๒ ชั้น ซึ่งบนชั้น ๒ เก็บภาพเขียนจำนวนมาก โดยหวังว่า หากเป็นไปได้ ก็อยากจะกลับไปเก็บภาพเขียนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยังเหลืออยู่

เขาอธิบายถึงที่มาที่ไปของคลังวรรณกรรมที่กระจายอยู่ในบ้านทั้ง ๔ หลังว่า ใช้เป็นที่เก็บสะสมหนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ และนิตยสารรุ่นเก่า ที่ถูกตีพิมพ์ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ บางเล่มตีพิมพ์เมื่อปี ๒๔๖๘ ปี ๒๔๗๐ ปี ๒๔๗๕  มีหนังสือเก่าอาทิ “ประชามิตร” “เสียงใหม่” “อธิปัตย์” “ประชาธิปไตย” “หนังสือพิมพ์ประชาชาติ” นอกจากนั้น ยังมีหนังสือที่ตีพิมพ์สมัย ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ นวนิยายรุ่นเก่า หนังสืออภินันทนาการและงานปัจจุบันที่เก็บไว้ทั้งผลงานตัวเองและผลงานของ “ศรีดาวเรือง” ภรรยา และมีหนังสือกลุ่มที่เคยเป็นหนังสือต้องห้ามซึ่งเกี่ยวกับความคิดทางสังคมการเมือง นิตยสารบางเล่ม เคยเก็บใส่ถังฝังดินไว้เป็นสิบ ๆ ถังด้วยเหตุผลเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองในอดีต โดยมีบางส่วนจมไปและบางส่วนก็ยังเหลืออยู่จนกระทั่งผ่านเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙  หากนับจำนวนเล่มทั้งหมดก็น่าจะเป็นแสนเล่ม และมีภาพวาดอีกเป็นหมื่นภาพ

“ผมตั้งใจจะเก็บไว้ให้คนรุ่นต่อไป โดยจะมอบให้ห้องสมุดหรือสถาบันการศึกษา จัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีหนังสือการเมือง “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” “โลกหนังสือ” นิตยสารทั้งหลาย สารคดี ศิลปวัฒนธรรม ผมสะสมมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๕-๒๕๐๖ สมัยเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์”

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมสูงจนจมมิดบ้านทั้ง ๓ หลัง และอยู่ระหว่างรอลุ้นทรัพย์สินและสุนัขอีก ๒-๔ ตัว ที่อยู่บนชั้น ๒ ของบ้านอีกหลังหนึ่งนั้น

"สุชาติ" ผู้ผ่านการเป็นบรรณาธิการหนังสือมามากมายเกินครึ่งค่อนชีวิต เล่าถึงเหตุการณ์ที่ต้องปล่อยหนังสือล้ำค่าที่รักจมอยู่กับกระแสน้ำว่า ทั้งครอบครัวช่วยกันยกของขึ้นที่สูงไปบนชั้น ๒ ตั้งแต่ก่อนวันที่ ๒๑ ตุลาคม แต่ก็ประเมินผิด ไม่คิดว่าน้ำจะท่วมสูงและท่วมอย่างรวดเร็ว ถึงขนาดต้องใช้แกลลอนเปล่าในการพยุงตัวออกจากบ้าน ซึ่งน้ำขึ้นสูงถึง ๑ เมตรกว่า

"ผมกับภรรยาซึ่งว่ายน้ำไม่เป็นต้องใช้แกลอนผูกพยุงตัวลอยน้ำพร้อมกับลูกชายต้องเกาะต้นกล้วยออกมาด้วยกันพร้อมสุนัขตัวเล็กที่ว่ายน้ำตามมาด้วยอีก ๑ ตัว กระทั่งถึงฝั่ง จึงติดต่อเพื่อนที่ทีวีบูรพาและพักค้างคืนที่ทีวีบูรพาจนถึงขณะนี้"

อย่างไรก็ตาม "สุชาติ" เล่าว่าเขาได้กลับไปดูบ้านในเช้าวันรุ่งขึ้น (๒๒ ตุลาคม) พร้อมกับทีมงานรายการ “คนค้นคน” พบว่าน้ำขึ้นท่วมบ้านในระดับที่สูงขึ้นไปอีก และระหว่างนั่งเรือกลับออกจากบ้านพร้อมทีม “คนค้นคน” มีสุนัขอีก ๔ ตัว จากที่เลี้ยงไว้ทั้งหมด ๗ ตัว  ว่ายน้ำตามมาส่งด้วย โดย ๒ ตัว ว่ายหันหลังกลับไป ซึ่งไม่แน่ใจว่าทั้งคู่ว่ายน้ำกลับถึงบ้านหรือไม่ ส่วนอีก ๒ ตัว ว่ายน้ำมาถึงทางรถไฟ โดยขณะนี้ไม่ทราบชะตากรรมเป็นอย่างไรเมื่อน้ำสูงข้ามทางรถไฟแล้ว ส่วนอีก ๒ ตัวอยู่ชั้น ๒ ของที่บ้าน ตอนนี้ หากเป็นไปได้ ก็อยากจะมีเรือที่สามารถเข้าไปถึงบ้านได้ เพื่อเก็บภาพวาดที่เหลือพร้อมอุปกรณ์เท่าที่เป็นไปได้และนำสุนัขออกมาในที่ปลอดภัย    

“ผมอาจจะประมาท แต่ผมก็ไม่ทราบความเป็นจริง ว่าน้ำจะสูงขึ้นและรวดเร็วขนาดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการจัดการแทนที่จะระบายน้ำให้เฉลี่ยกันไป ๕๐:๕๐ แต่มีการมากักไว้บางบริเวณ และไม่ได้รับการแจ้งเตือนความเสี่ยง.. หนังสือที่จมไปแล้วตอนนี้ก็ช่างมัน จมไปหมดแล้ว ผมพยายามช่วยมัน แต่เราไม่รู้ความเป็นจริง ตอนนี้ถ้าเป็นไปได้ก็อยากกลับไปดูบ้าน ซึ่งยังมีสุนัขอยู่บนชั้น ๒ ผมอยากไปเก็บภาพเขียนและอุปกรณ์ หากจะมีอะไรพอเหลืออยู่ ดีกว่าไม่ได้เก็บอะไรกลับมาเลย”สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการแห่งโลกวรรณกรรม ผู้เป็นเจ้าของรางวัลศรีบูรพา พ.ศ. ๒๕๔๐ กล่าวทิ้งท้าย

ทำให้ต้องย้อนนึกถึงถ้อยประโยคหนึ่งที่เขาเคยกล่าวถึง "ภูเขาหนังสือ" ที่เรียงตัวอย่างแออัดในบ้านลอยขึ้นมาในความคิด

"ที่เห็นอยู่นี้เฉพาะหนังสือภาษาไทยนะ ยังมีหนังสือภาษาอังกฤษอยู่ชั้นล่างอีก ตายแล้วเกิดใหม่ก็ยังอ่านไม่หมด"

สัมภาษณ์โดย ฟ้ารุ่ง ศรีขาว ผู้สื่อข่าวนสพ.ประชาชาติธุรกิจ

 :'(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 11, 14:03
น้ำท่วม"บ้านพิพิธภัณฑ์"จม! เสียหายหนัก "เอนก นาวิกมูล" โวยไม่มีใครเหลียว จวกรัฐบาล"แย่มาก" (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321436709&grpid=01&catid=01)

นายเอนก นาวิกมูล นักวิชาการ นักเขียนสารคดี นักสะสมของเก่า ชื่อดัง ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งบ้านพิพิธภัณฑ์ และเป็นผู้ดูแลร่วมกับนายธงชัย  ซึ่งลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากน้ำท่วม พร้อมกัน เผยว่า ที่บ้านพิพิธภัณฑ์บริเวณชั้นล่างได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมหมด โดยก่อนที่น้ำจะเข้าท่วม ทางเจ้าหน้าที่บ้านพิพิธภัณฑ์ได้ทำการเคลื่อนย้ายข้าวของขึ้นบนชั้น ๒ ของบ้านไปบ้างแล้วบางส่วน  แต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากกำลังคนในการช่วยขนย้ายมีไม่มาก โดยน้ำได้เริ่มเข้าท่วมมาตั้งแต่วันที่  ๒๗ ตุลาคมแล้วกระทั่งตน และผู้ดูแลบ้านพิพิธภัณฑ์ได้เข้าไปสำรวจล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ระดับน้ำก็ยังไม่ลดสักที ซึ่งก่อนหน้านี้ แม้ทางบ้านพิพิธภัณฑ์จะทำการกั้นอย่างไร สุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถต้านทานระดับน้ำที่สูงแทบมิดศรีษะได้   จากนี้คงต้องรอให้ระดับน้ำลดลง จนแห้งสนิทเสียก่อน  จึงจะสามารถเข้าไปดูบ้านได้ว่ามีส่วนใดที่ได้รับความเสียหายและต้องซ่อมแซม โดยคาดว่าน่าจะประมาณหลายแสนบาท  พร้อมระบุตั้งแต่บ้านพิพิธภัณฑ์น้ำท่วมก็ยังไม่มีหน่วยงานที่ไหนเข้ามาดุแลหรือสอบถามเลย โดยเฉพาะการช่วยเหลือจากรัฐบาล

(http://www.matichon.co.th/online/2011/11/13214367091321437836l.jpg)

(http://www.matichon.co.th/online/2011/11/13214367091321437314l.jpg)

"อยากจะถามรัฐบาลว่าทำไมปล่อยให้น้ำท่วมมากมายขนาดนี้ เป็นการบริหารจัดการน้ำได้แย่มาก   ไม่ถูกต้อง   ไม่ควรเกิดเหตุการณ์เลวร้ายอย่างนี้  นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุ  ซึ่งไม่เพียงแต่บ้านพิพิธภัณฑ์เท่านั้นที่ได้รับความเสียหายบ้าเนรือนประชาชนรวมถึงพิพิธภัณฑ์สำคัญอีกหลายแห่งที่อยู่บริเวณนี้ก็จมน้ำไปหมดแล้วเช่นกัน  แล้วน้ำท่วมอย่างนี้ก็ไม่มีใครรับผิดชอบ  ไม่มีใครมาช่วยเหลือ เราต้องช่วยเหลือตัวเอง นี่คือความเสียหาย   จากนี้คงต้องนำเงินมาฟื้นฟูซ่อมแซมข้าวของที่ได้รับความเสียหายอีกมาก บ้านพิพิธภัณฑ์เป็นของสาธารณชน ทุกคนช่วยกันบริจาคมา แต่ต้องเสียโอกาสในการใช้ทุนที่ได้รับการบริจาคมาเพื่อมาซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น น้ำมาเยอะมาก  เกินจะกั้นแล้ว แทบมิดหัว  ขนาดบ้านข้างๆที่เป็นบ้านช่างไม้ ช่างปูน ก็ท่วมกันหมด อยากจะบอกว่า รัฐบาลผิดพลาดมาแต่ต้น อยู่ดี ๆ ปล่อยน้ำมาเยอะขนาดนี้ จริง ๆ มันไม่น่าจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ" นายเอนก เผยความอัดอั้นตันใจ

 :'(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 พ.ย. 11, 14:11
แล้วผม "เจนภพ จบกระบวนวรรณ" ก็เป็น...คนอพยพ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยไม่เต็มใจ (http://www.siamdara.com/ColumnDetail.asp?cid=11721)

ผมนึกไม่ถึงจริง ๆ ว่ากรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรจะกลายเป็นเมืองบาดาลไปได้ จะให้ผมโทษใครล่ะ?

โทษรัฐบาลหรือโทษผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
 
สงสัยว่าอาจจะต้องโทษทั้งคู่ที่ปล่อยให้ประเทศชาติและเมืองหลวงของเรากลายสภาพเป็นเมืองร้าง เมืองที่เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล เมืองที่หมดสง่าราศีไปในชั่วพริบตาเพราะใครก็ไม่รู้ ขี้เกียจพูดถึง
 
ขณะที่ผมเขียนต้นฉบับชิ้นนี้ ผมอยู่ในห้องเช่าขนาดที่พอให้คน ๔ คน หมาอีก ๑ ตัวอยู่ร่วมกันได้ที่ในตัวเมือง จังหวัดเพชรบุรี
 
กินข้าวพร้อมหมา กินน้ำขวดเดียวกับหมา ไปไหนมาไหนกับหมา นอนให้หมาหนุนแขน หายใจเอาอากาศเข้าปอดซึ่งเป็นลมหายใจเดียวกันกับหมา ครอบครัวเรากับหมาเสมอภาคกันครับ ไม่มีอะไรสองมาตรฐาน
 
เวลาเหงา ๆ ไม่รู้จะทำอะไรก็ได้แต่นั่งจ้องตากับหมา แล้วน้ำตาคนกับน้ำตาหมาก็ไหลออกมาพร้อม ๆ กันได้
 
ผมอพยพตัวเองกับครอบครัวออกพ้นจากพื้นที่เสี่ยงภัยมาได้ ๗-๘ วันแล้ว
 
ช่วง ๒-๓ วันแรก ผมนอนผวาทุกคืน พลิกตัวกระส่ายกระสับ นอนหลับได้ไม่เกิน ๑๐ นาที ก็สะดุ้งเฮือก ๆ ทุกครั้ง เป็นห่วงลูกคนโตที่ยังไม่ยอมอพยพตามพวกเราออกมา
 
ในยามที่ท้อแท้ให้นึกถึงหน้าพ่อ-แม่
 
ผมนึกถึงหน้าพ่อตัวเองแทบไม่ออกเพราะท่านตายจากไปนานมากแล้ว
 
แต่พอนึกถึงหน้าแม่ ผมก็ได้แต่สะอื้นในอก แม่ผมอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี แม่น้ำเล็ก ๆ ที่ต้องรองรับมวลน้ำมหาศาลที่เขาพยายามผันเอาน้ำมาลงโดยไม่เคยถามสักคำว่าคนนครชัยศรีเขาเต็มใจหรือไม่?
 
บ้านที่นครชัยศรีทั้งของแม่และของแม่ยายผม จมน้ำมิดไปนานแล้ว แม่ยายผมต้องอพยพหนีตายเข้าไปอยู่ที่เมืองนนท์ ส่วนแม่ของผมเอง ตอนแรกผมชวนท่านเข้าไปอยู่ใน ''พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง'' แต่ชวนได้ไม่ถึง ๒ วัน พิพิธภัณฑ์จมน้ำจนไม่เหลือที่ให้ซุกหัวนอน แม่ผมต้องตะเกียกตะกายไปอาศัยบ้านข้าง ๆ อยู่ โดยที่ผมช่วยเหลืออะไรแม่ยังไม่ได้เลย
 
ผมอพยพครอบครัวมาพึ่งชายคาเมืองเพชรบุรีหลายวันแล้ว
 
ไม่มีอะไรทำก็เข้าไปที่หมวดดุริยางค์ทหารบก มณฑลทหารบกที่ ๑๕ จังหวัดเพชรบุรี ติดสอยห้อยตามทหารนักดนตรีไปแสดงปลอบใจพี่น้องคนอพยพเหมือนกัน หัวอกเดียวกันตามศูนย์อพยพผู้พักพิงต่าง ๆ
 
ไปร้องเพลงลูกทุ่งเก่า ๆ ให้เพื่อนพี่-น้องคนไทยได้ฟัง ร้องไปร้องไห้ไปหัวเราะไปเหมือนคนบ้า!
 
๕ โมงเย็นถ้าไม่ได้ไปไหนก็ไปเตะฟุตซอลบ้าง เตะตะกร้อบ้าง ตีปิงปองบ้างกับทหาร
 
ทำอย่างนี้มา ๗-๘ วันแล้วครับโดยไม่รู้อนาคตว่าจะต้องทำอย่างนี้ไปอีกกี่วัน?
 
ไม่น่าเชื่อแต่ก็ต้องเชื่อ เมื่อวันก่อนนี้ผมไปปลอบขวัญพี่-น้องผู้อพยพที่แก่งกระจาน เมืองเพชรบุรี ที่อุทยานแห่งชาติซึ่งเราเพิ่งสูญเสียเฮลิคอปเตอร์ไป ๓ ลำ ที่นั่นมีผู้อพยพไปกางเต็นท์นอนอยู่มากกว่า ๔-๕๐๐ คน
 
แต่ไม่มีอาหารให้ผู้อพยพกินเลยแม้แต่มื้อเดียว!
 
นี่มันอพยพไปให้เขาอดตาย หรืออพยพไปเพื่อให้เขาเข้าป่าล่าสัตว์ตกปลากินกันเองหรืออย่างไร
 
จะหาคำตอบจากใครดีล่ะครับ ก็ผมก็เป็นคนอพยพเหมือนกัน!
 
 :'(


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ย. 11, 14:49
เห็นใจทุกท่านที่ตั้งตัวไม่ติดเรื่องเก็บข้าวของหนีน้ำ    เพราะไม่เคยเจอน้ำท่วมรวดเร็วและรุนแรงขนาดนี้มาก่อน      ชาวบ้านเกือบทุกบ้านที่น้ำท่วมเมตรกว่าขึ้นไป  ล้วนบอกว่าเก็บของหนีไม่ทัน    เอาชีวิตรอดมาได้ก็บุญแล้ว
ปัญหาคือน้ำท่วมแบบนี้เมื่อเกิดได้หนหนึ่ง  ก็มีสิทธิ์เกิดอีกต่อไป   ด้วยภาวะโลกร้อนและอากาศเมืองไทยที่อยู่ในโซนสุดขั้ว    ฝนหนักแล้งหนัก    ต้นปีหน้า น้ำลดเมื่อไรก็ต้องเตรียมตัวกันได้แล้วว่า ถ้าน้ำมาแบบนี้อีก  จะรับมือกันด้วยวิธีใด  ถือหลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน   อย่าหวังพึ่งหน่วยงานใดๆ เพราะในยามฉุกเฉิน  คนช่วยมีเป็นหมื่นก็จริง แต่คนรับความช่วยเหลือมีเป็นล้าน   เขาอาจจะมาช่วยเราไม่ทัน

อย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ สำหรับพวกเราที่รักหนังสือยิ่งกว่าของมีค่าใดๆ  คือ
1   คัดเลือกหนังสือเป็น 2  ส่วน   ส่วนที่ต้องเก็บไว้  และส่วนที่บริจาคไปได้    ตัดใจว่าเล่มไหนคงไม่ค่อยได้ใช้ไม่ได้อ่าน หรืออ่านแล้วไม่ได้ติดใจจะอ่านอีก   ก็บริจาคให้ผู้อื่นที่อาจใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า
2   เมื่อเหลือหนังสือที่คัดเลือกแล้วว่าต้องเก็บไว้แน่ๆ  ทิ้งไม่ได้   ก็ต้องเก็บไว้ในที่สูง ต่อให้น้ำท่วม 2-3 เมตรก็ยังปลอดภัย     
3   เล่มไหนสำคัญมาก  ทำเป็นไฟล์ให้หมด     (จะด้วยใช้เครื่องสแกนหรือถ่ายรูปไว้ก็ตาม)   ค่อยๆทยอยทำไปวันละเล็กละน้อย   เสร็จแล้วเอาลงคอมพ์ หรือลง external disk  ซึ่งเอาติดตัวไปได้ง่ายมากเวลาเจอภัยธรรมชาติ  หรือจะสร้างโฟลเดอร์เก็บไว้ในเมล์ก็ได้   เมล์บางตัวอย่าง gmail มีที่ให้เก็บเหลือเฟือ  ต่อให้คอมพ์ประจำตัวเสียหาย เราก็ไปเปิดดูจากคอมพ์เครื่องอื่นได้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 19 พ.ย. 11, 20:18
.


มีข่าวว่าในบางพื้นที่อาจมีน้ำท่วมขังนานมาก..........................เกือบปี.....?
ทำตลาดน้ำแบบสมัยก่อนซะเลยดีไหมเอ่ย?
แปลงวิกฤติเป็นโอกาสเสีย!


"
 :D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 พ.ย. 11, 22:05
ข่าวหนึ่งที่มักปรากฏซ้ำๆกันในเวลาน้ำท่วม คือข่าวชาวบ้านรื้อกระสอบทรายที่กั้นน้ำ   เพราะทนแช่ในน้ำเน่าต่อไปไม่ไหว ขณะที่เขตติดกันน้ำลดลงมากหรือแห้งไปแล้ว  แต่ทางเขตพวกเขา น้ำยังท่วมอยู่
ล่าสุด  ชาวบ้านลาดสวาย อ.ลำลูกกา กว่า 200 คน บุกรื้อแนวกระสอบทราย บริเวณคลองหกวา แต่ถ้าน้ำไหลผ่านแนวกระสอบทรายไปได้เมื่อไร  ก็จะไปท่วมบริเวณสายไหมที่อยู่ติดกัน   ชาวสายไหมก็ไม่ยอม
ตอนนี้ได้ข่าวว่าทางการยอมเปิดประตูน้ำ ระบายน้ำออกมากขึ้นแล้ว    เป็นอันระงับศึกลงไปได้

จำได้ว่าปี 38  แถวฝั่งธน น้ำท่วม ก็เกิดเหตุการณ์รื้อกระสอบนี้เหมือนกัน   เพราะอีกฟากหนึ่งถนนแห้งสนิท   พวกที่น้ำท่วมอยู่ทนไม่ไหวรื้อกระสอบที่กั้นข้างถนนออก   ผลคือสองฟากน้ำท่วมเท่ากัน  แต่ฝ่ายแรกน้ำไม่ยักลด เพราะเป็นน้ำที่ขึ้นสูงจากแม่น้ำเจ้าพระยา

อินทรเนตรบันทึกว่า ปี 2549 เมื่อน้ำท่วมจ.พระนครศรีอยุธยา ชาวบ้านหันตราประมาณ 900 ครัวเรือน ถูกน้ำท่วมหนักพากันไปรื้อกระสอบทรายกั้นน้ำบริเวณประตูน้ำวัดกระสังข์ ที่อ.อุทัยที่อยู่ติดกัน เนื่องจากไม่พอใจพื้นที่ของตน รวมทั้งอำเภออื่นๆของจังหวัดถูกน้ำท่วมหมด ยกเว้น อ.อุทัย ที่น้ำไม่ท่วม
 ผลคือน้ำทะลักท่วมเรือนจำ โรงงานผลิตชนวนระเบิด กองวัตถุระเบิด สรรพาวุธ กองทัพบก และศูนย์วิจัยข้าว ซึ่งมีข้าวที่กำลังตั้งท้องเนื้อที่กว่า 100 ไร่ แต่น้ำไม่ไหลเข้าพื้นที่ อ.อุทัย เนื่องจากมีการทำแนวป้องกันหลายชั้น

น้ำคงไม่ท่วมในปี 2554 เป็นครั้งสุดท้ายแน่นอน  คำถามคือปัญหารื้อกระสอบทราย   มีการป้องกันล่วงหน้าหรือยัง   หรือว่ารื้อทีก็เจรจากันที  แก้ไขกันที   ต่อไปครั้งแล้วครั้งเล่า



 


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:10
เพิ่งจะทราบถึงชะตากรรมของนักเขียนอีกท่านหนึ่ง คุณอาริตา (หรือพัดชา)  ขอแสดงความเสียใจด้วยกับการสูญเสียที่ล้ำค่ามหาศาล

คลังหนังสือนักเขียนเมื่อน้ำมาน้ำตาท่วม

“ยังไม่รู้จะทำอย่างไรกับชีวิตดี” เจ้าของนามปากกา อาริตา ตอบด้วยเสียงสั่นเครือ เมื่อถามถึงคลังหนังสือมหาศาลที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย

“เขียนหนังสือก็เขียนไม่ออก ได้บรรทัดสองบรรทัดก็ต้องหยุด นวนิยายที่เขียนส่งนิตยสารก็ต้องบอกบรรณาธิการว่า ต้องขอพักสัปดาห์สองสัปดาห์ก่อน ยังมึนอยู่กับเหตุการณ์ ยังทำอะไรไม่ได้”

“อาริตา” หรือ ทัศนีย์ คล้ายกัน เจ้าของสำนักพิมพ์ ลีลาบุ๊คส์ เป็นนักเขียนนวนิยายและเจ้าของสำนักพิมพ์ มหาอุทกภัยปี พ.ศ.2554 นี้ ทำให้เธอสูญหนังสือหลายหมื่นเล่ม แถมบ้านอีก 3 หลัง จมอยู่ในน้ำอย่างไร้ทางป้องกันใดๆ

ตัวเธอเองต้องกระหืดกระหอบหนีเอาตัวรอด ไปเช่าคอนโดฯ อยู่ในจังหวัดชลบุรี และยังอยู่ในสภาพอกสั่นขวัญหาย “น้ำมาเร็วมาก เร็วจนเราทำอะไรไม่ทัน คว้าได้แต่โน้ตบุ๊ก แล้วรีบพาแม่ออกมาจากบ้านเพื่อเอาตัวรอด”

บ้านของอาริตาหลังแรกที่น้ำจู่โจม อยู่ในหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี ตำบลประชาธิปัตย์ ตรงข้ามกับตลาดรังสิต “เพิ่งเก็บหนังสือมาจากงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เอามาเก็บไว้ในคลังทั้งหมด ชะตากรรมของหนังสือในงานก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นอย่างไร” อาริตาบอก พลางระบายลมหายใจอย่างอ่อนล้า

เธออธิบายว่า คลังหนังสือที่อยู่ในบ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีทั้งหนังสือใหม่และหนังสือเก่า หนังสือใหม่คือ หนังสือที่สำนักพิมพ์เพิ่งจัดพิมพ์ออกมา ทั้งผลงานของตนเอง ผลงานของนักเขียนคนอื่นๆ

“บางเล่มยังไม่ได้จ่ายค่าพิมพ์ เพิ่งจะพิมพ์ออกมา แล้วเข้าสต๊อกไว้ ยังไม่ทันได้ออกขายเลยสักเล่มเดียว จมน้ำไปหมดแล้ว”


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:11
ส่วนหนังสือเก่า “เป็นหนังสือวิชาการ หนังสืออ้างอิง และหนังสือเล่มโปรดที่เราซื้อเก็บไว้ บางเล่มหาซื้อที่ไหนไม่ได้ อีกแล้ว บางเล่มชอบมาก เอามาไว้ที่ที่นอนเลย”

อาริตาฉายภาพเหตุการณ์วันน้ำเข้าบ้านว่า ปกติฝนตกน้ำท่วมอย่างไรก็ตาม จะไม่เกิดปัญหาเพราะมีการป้องกันไว้เป็นอย่างดี แม้ระดับน้ำจะเหนือถนนประมาณ 1 เมตรก็สามารถกั้นอยู่ แต่คราวนี้ไม่อาจทำอย่างที่ผ่านมาได้

“น้ำทะลักเข้ามา เรากั้นไม่อยู่ น้ำค่อยๆ เข้ามาและสูงขึ้นๆ วันแรกเลยคือวันที่แนวกั้นน้ำที่นวนครแตก ระดับน้ำที่เข้ามา แค่วันแรกก็เอารถเข้าบ้านไม่ได้แล้ว”

หลังที่สองอยู่ที่บ้านภัสสร ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

บ้านหลังนี้ “ตัวบ้านใหญ่ใช้เก็บหนังสือ มีห้องทำงาน แรกๆ มีการวางแผนว่าจะไม่ย้ายออกไปไหน หวังเป็นที่อยู่ของคนในครอบครัวทั้ง 6 คน แต่เมื่อถึงวันที่ 20 ตุลาคม ระดับน้ำเพิ่มขึ้นมาอย่างน่าใจหาย สูงถึง 1 เมตร จึงต้องหนี”

บ้านหลังที่สามของอาริตา อยู่ริมถนนรังสิต-นครนายก “บ้าน หลังนี้ เก็บนวนิยายเก่าๆ ไว้มาก น้ำเข้าไปเป็นหลังล่าสุด มันจมไปอย่างรวดเร็ว ค่าของหนังสือเก่า เราประเมินค่าไม่ได้ แต่ถ้าคิดเฉพาะหนังสือใหม่ไม่ต่ำกว่าห้าล้านบาท นี่ไม่รวมความเสียหายอื่นๆ”


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:13
นาทีนี้คิดจะทำอะไรหรือ “เราไม่รู้เลยว่า น้ำจะท่วมเจ็ดวัน สิบห้าวัน หนึ่งเดือน หรือว่าสองเดือน ไม่มีโอกาสรู้เลยว่าจะท่วมขัง อยู่นานแค่ไหน และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับบ้าน เราเขียนนิยาย เรากำหนดเรื่องราวได้ แต่นี่เป็นเรื่องของธรรมชาติ มันเกินคาดคิด เราไม่สามารถกำหนดอะไรได้เลย” อาริตาบอก

ธรรมชาติเขียนบทชีวิตให้คนบ้างแล้ว

ชีวิตของอาริตาเคยพบน้ำท่วมหนักๆ มาแล้วอย่างน้อยก็ 2 ครั้ง คือเมื่อปี พ.ศ.2526 และ พ.ศ.2538 สองครั้งนั้นไม่เคยหวาดหวั่น ไม่เคยกลัวและไม่น่ากลัวแต่อย่างใด แต่คราวนี้ “เราต้องทิ้งบ้าน  รถเมล์ไม่วิ่ง อาหารการกินหาซื้อไม่ได้ เราไม่อาจใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติท่ามกลางน้ำท่วมได้เหมือนเมื่อปีก่อนๆ”

ท่วมครั้งก่อนๆ “เราเดินลุยน้ำไปจ่ายตลาดได้ โอภาปราศรัยกับเพื่อนบ้านได้ ทำงานที่บ้านได้ แต่ครั้งนี้เราต้องหนีออกจากบ้าน ได้มาแต่คอมพิวเตอร์และงานที่อยู่ในเครื่องบรรจุข้อมูลบางส่วนเท่านั้น อย่างอื่นต้องซื้อหาเอาข้างหน้าทั้งหมด”

การตัดสินใจหนีออกจากบ้าน “เราตัดสินใจถูกแล้วที่ออกมาเพราะระดับน้ำที่บ้านสูงมาก สูงขึ้นไปถึงที่นอนเลย ไม่รู้ชะตากรรมบ้านของตัวเองเหมือนกันว่า เดี๋ยวนี้ระดับน้ำเพิ่มไปถึงไหนแล้ว แต่ที่แน่ๆ คนในหมู่บ้านแทบไม่มีใครอยู่แล้ว”

สภาพปัจจุบัน “มันทำให้เราเกิดอาการจิตหลอน มันดราม่าสุดขีด ยิ่งกว่านวนิยายที่เราเขียนเสียอีก”

สาเหตุการท่วมขัง เธอมองว่า การบริหารจัดการน้ำไม่เป็นเอกภาพ การกักน้ำ การปล่อยน้ำไม่มีความสัมพันธ์กัน และย้ำว่า “อย่าคิดว่ารังสิต คลองหลวงเป็นท้องทุ่งนาสิ นักวิชาการบางคนคิดกันอย่างนั้น เดี๋ยวนี้ทุ่งรังสิต คลองหลวงเป็นหมู่บ้านหมดแล้ว การกักน้ำ การปล่อยน้ำต้องคิดถึงความเป็นจริงตรงนี้ด้วย”

และที่สำคัญ “การกักน้ำไม่ให้เข้ากรุงเทพฯ อย่างไม่เหมาะสมนั้น นับเป็นความเห็นแก่ตัว ถ้ามีการยอมกันบ้าง เสียสละกันบ้าง ความเดือดร้อนก็จะไม่หนักหนาอย่างนี้”


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:14
บรรดานักเขียนที่คลังหนังสือจมน้ำ มิใช่เพียง “อาริตา”ที่ยังช็อกอยู่กับเหตุการณ์เท่านั้น ยังมี ลันนา เจริญสิทธิชัย ที่อยู่บ้านบัวทอง หนังสือจมน้ำนับ 10,000 เล่ม ชีวี ชีวา หรือ จตุพล บุญพรัด ที่บ้านอยู่นนทบุรี และที่หนักหนาสาหัสสุดๆ เห็นจะเป็น สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการนิตยสารช่อการะเกด

บ้านสุชาติอยู่ข้างเมืองเอก เลยจากตลาดรังสิตเข้าไป ความเสียหายมีทั้งหนังสือ และภาพเขียน

สุชาติ นอกจากจะเป็นนักเขียน ศิลปินวาดภาพ ยังเป็นนักสะสมหนังสือตัวยง บ้านของสุชาติมีอยู่ 4 หลัง สร้างเป็นบ้านชั้นเดียวให้หนังสืออยู่ถึง 3 หลัง รวมหนังสือในบ้านกว่า 100,000 เล่ม เมื่อน้ำมาอย่างรวดเร็ว นอกจากจะนำหนังสืออะไรออกมาไม่ได้แล้ว ตนเองและครอบครัวก็หนีน้ำออกมาอย่างทุลักทุเล

การซับน้ำตานักเขียนที่คลังหนังสือถูกน้ำท่วมเสียหาย ไพลิน รุ้งรัตน์ อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย บอกว่า ชาวแวดวงน้ำหมึกน่าจะมีการช่วยกัน ถ้าไม่ใช่เรื่องเงินก็อาจเป็นแรง เพื่อเป็นการส่งแรงใจให้แก่กัน

การจะทำอะไรให้เป็นรูปเป็นร่างยามนี้ “ยังคิดไม่ออก เพราะมึนกับเหตุการณ์เหมือนกัน อาจจะเป็นการตั้งกองทุน หรือเพื่อการรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะมีต่อไป หรือเป็นห้องสมุดเพื่อให้นักเขียนได้นำหนังสือไปฝากไว้ในที่ปลอดภัยก็ได้”

วงการหนังสือในภาวะน้ำท่วม นอกจากนักเขียนถูกน้ำท่วมคลังหนังสือแล้ว สำนักพิมพ์ต่างๆ ยังผวาไปตามๆ กัน เพราะถ้าน้ำเข้าคลังได้เมื่อใด     เมื่อนั้นหนังสือราคาแพงๆจะกลายเป็นกระดาษเปียกน้ำอันไร้ค่าไปทันที.

ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
10 พฤศจิกายน 2554, 05:00 น.


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:19
คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สูญเสียหนังสือและงานเขียนจากน้ำท่วม  ใจหายและเข้าใจความรู้สึกของคุณศักดิ์ศิริ เมื่ออ่านข่าวนี้  แต่ก็ดีใจด้วยที่ยังมีกำลังใจจะลุกขึ้นมาอีกครั้ง
*****************
ที่พำนักเจ้าของกวีนิพนธ์ชื่อ “มือนั้นสีขาว” อันโด่งดัง ที่เคยใช้ชีวิตเรียบง่าย เขียนหนังสือ เขียนรูป แต่งเพลง นอนเปล และกวาดใบไม้ แต่ต้องอพยพย้ายครอบครัวระหกระเหินหนีน้ำท่วม เจ้าตัวบอกว่าเพิ่งกลับมาดูบ้านได้ 3 วันเท่านั้น ภาพเบื้องหน้าที่ปรากฏคือ เศษซากความฝันที่แตกสลาย

“บ้านผมที่นครสวรรค์นี่ถือเป็นด่านรับน้ำของแม่น้ำ 4 สาย ปิง วัง ยม น่าน จะไหลมาบรรจบที่นี่ แต่ปีนี้มันไม่ได้มาตามธรรมชาติ มันถูกกั้นไว้ปริมาณมากๆ ก็สะสม แล้วพนังกั้นมันก็ดันมาพังกะทันหัน พื้นที่เห็นแห้งๆ ก็มีน้ำไหลบ่ามาอย่างรวดเร็วจนถึงเอวแค่เพียงชั่วโมงเดียว รับมือไม่ทัน บ้านจมน้ำทุกหลัง”

ศักดิ์สิริ เล่าว่า แม้บ้านของเขาไม่หรูหราใหญ่โต สมบัติพัสถานก็ไม่ได้มีท่วมเป็นภูเขาเลากา มูลค่าที่ประเมินความเสียหายจึงไม่ค่อยเยอะนัก แต่คุณค่าทางจิตใจที่บอบช้ำต่างหากที่มากมายมหาศาล

“คนมักประเมินค่าความเสียหายกันที่ราคาค่างวดของสิ่งของ แต่สมบัติล้ำค่าของผมที่เสียหายมันประเมินไม่ได้ ตั้งแต่ต้นฉบับงานเขียนที่เขียนไว้ด้วยลายมือที่เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ อันเปรียบเสมือนประวัติการทำงาน เหมือนรอยเท้าที่เราฝากไว้ พอมันหาย ก็ไม่ต่างอะไรจากความทรงจำของเราได้พลาดพรายหายไปด้วย ความฝันของเราถูกน้ำท่วมไปแบบนี้ ไม่รู้จะตีราคาค่างวดได้ไหม

“นอกจากนั้นยังมีหนังสือที่มีลายเซ็นของเพื่อนนักเขียนประทับไว้ จดหมายโต้ตอบกับนักเขียนที่เรารักและเคารพนับถืออย่างกับสิงห์สนามหลวง ชมัยพร แสงกระจ่าง โปสต์การ์ดที่ใครฝากความคิดถึงส่งมาจากทางไกล หนังสือบางเล่มที่แม้หาซื้อใหม่ได้ในเวอร์ชันปกใหม่ แต่สำหรับเราปกเก่าๆ อันนั้นมันมีความหมายลึกล้ำ ส่วนสมบัติที่สำคัญที่สุดคือลายมือของอาจารย์จ่าง แซ่ตั้ง กวีที่ถือเป็นวีรบุรุษของเราที่เขียนไว้ว่าศิลปะคือการทำรูปธรรมของนามธรรมให้ปรากฏ และทำให้นามธรรมของรูปธรรมให้ปรากฏ มันเหมือนคติสอนใจเราในการทำงานมาทั้งชีวิต” น้ำเสียงของเขาฟังดูปล่อยวาง แต่ยังเจือด้วยความเศร้าซ่อนไว้ลึกสุดใจ

“คิดในแง่ดี น้ำท่วมกวาดทุกอย่างไปหมด บ้านก็โล่งดีเหมือนกัน ภาพเศษซากความเสียหายที่ทิ้งร่องรอยไว้ก็ไม่ได้ทำให้สลดหดหู่ คราบไคลความสกปรกนั้น เช็ดถู ทำความสะอาด ไม่นานก็จะลบล้างออกได้ ไม่เป็นไรหรอก”  

จากโพสต์ทูเดย์


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:27
อีกคนหนึ่งคือวิรัตน์ โตอารีย์มิตร  นักเขียนคอลัมนิสต์เจ้าของนามปากกา ญามิลา วนาโศก และปลาอ้วน
 
“อ่วมเหมือนกัน โดนเยอะ น้ำท่วมรอบนี้ยิ่งเสียกว่าน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2549 อีกที่เมืองอุทัยฯ โดนหนักๆ แค่ 3 วันเท่านั้น เมืองทั้งเมืองก็ท่วมเป็นอันเรียบร้อย” เสียงหัวเราะขันขื่นในลำคอ

“40 วันที่อยู่ในภาวะประสบภัยน้ำท่วมมันเหมือนฝันร้าย เครียดนะ ต้องคอยเฝ้าเครื่องสูบน้ำ ดูมันทำงาน แล้วก็ต้องเหนื่อย ทั้งขนย้ายหนังสือ คอมพิวเตอร์ ข้าวของต่างๆ ขึ้นชั้นบน ก่ออิฐบล็อก คอยวิดน้ำที่ซึมไหลมาจากพื้น ตอนนี้น้ำลดจนแห้งหมดแล้ว ยิ่งเครียดกว่า เพราะซากสกปรก ร่องรอยความเสียหายของเมือง อาคารบ้านเรือนหลังน้ำท่วม มันเป็นภาพที่ไม่น่าดูเลย” เขาบ่นพึมพำ

“เขียนคอลัมน์ให้นิตยสารและหนังสือพิมพ์ราว 67 เล่ม ก็โดนผลกระทบไปเต็มๆ บางเล่มก็ขอแคนเซิลไปเลย เขียนไม่ทัน บางเล่มต้องรีบเร่งปิดต้นฉบับ เพราะตอนนั้นน้ำกำลังจ่อเข้ากรุง ผมก็ต้องรีบปั่นต้นฉบับ สมาธิก็กระเจิดกระเจิง มัวพะวงอยู่กับการเฝ้าน้ำ เขียนไม่ค่อยสะดวก ไม่ไหลลื่นเท่าไหร่ แต่ก็เขียนเรื่องน้ำท่วมนี่แหละครับ”


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 พ.ย. 11, 13:35
รายชื่อนักเขียนที่ถูกน้ำท่วม ในครั้งนี้
รวบรวมโดย สื่อในเครือเนชั่น จำนวน 69 ท่าน

จังหวัดนครสวรรค์

          1.ศักดิ์สิริ มีสมสืบ

          2.ภาณุพงษ์ คงจันทร์

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

          1.นพดล ปรางค์ทอง

          2.สายฝน ตรีนาวงษ์

จังหวัดลพบุรี

          1.ปานศักดิ์ นาแสวง

จังหวัดปทุมธานี

          1.เจน สงสมพันธุ์ (สำนักพิมพ์นาคร)

          2.ทัศนีย์ คล้ายกัน (อาริตา)

          3.จรูญพร ปรปักษ์ประลัย

          4.นิวัติ กองเพียร

          5.ภาวินี อินเทพ

          6.พิชัย วาสนาส่ง

          7.สุมิตรา จันทร์เงา

จังหวัดนครปฐม

          1.นิวัต พุทธประสาท

จังหวัดนนทบุรี

          1.ขจรฤทธิ์ รักษา

          2.จตุพล บุญพรัด

          3.วัชระ สัจจะสารสิน

          4.บินหลา สันกาลาคีรี

          5.ธีร หนูทอง

          6.นิภา บางยี่ขัน

          7.ภูวนาถ เผ่าจินดา

          8.อาจินต์ ศิริวรรณ

          9.อนุสรณ์ ติปยานนท์

          10.พินิจ หุตะจินดา

          11.เพชรลดา เฟื่องอักษร

          12.สาโรจน์ มณีรัตน์

          13.อาริยา สินธุ

          14.ประดับเกียรติ ตุมประธาน

          15.ชาติณรงค์ วสุตตกุล

          16.ประพต เศรษฐกานนท์

          17.ประวิตร ว่องวีระ

          18.ทวีทรัพย์ ศรีวโล

          19.เสฐียรพงษ์ วรรณปก

กรุงเทพฯ

เขตดอนเมือง

          1.สุชาติ สวัสดิ์ศรี

          2.นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์

          3.พิสิฐ ภูศรี

          4 ฐนธัช กองทอง

          5.ศัลยา สุขนิวัตติ์

เขตหลักสี่

          1.อาจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์

เขตบางเขน

          1.คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ

          2.ปรีดา ข้าวบ่อ

เขตคันนายาว

          1.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

          2.พินิจ นิลรัตน์

          3.วาสนา ชูรัตน์

เขตสายไหม

          1.เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

          2.เริงชัย ประภาษานนท์

เขตลาดพร้าว

          1.ธิดา บุนนาค

          2.หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ

เขตจตุจักร

          1.มาลีรัตน์ แก้วก่า

เขตคลองสามวา

          1.วันทนีย์ วิบูลย์กีรติ

เขตบางแค

          1.ประภัสสร เสวิกุล

          2.ประชาคม ลุนาชัย

          3.ศ.ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์

เขตภาษีเจริญ

          1.อาจารย์รื่นฤทัย สัจจะพันธุ์

          2.เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ

          3.ศรีโสภา วงศาโรจน์

          4.วรรณา-อเนก นาวิกมูล

          5.เจนภพ จบกระบวนวรรณ

          6.นายจรัล พากเพียร

          7.อัศศิริ ธรรมโชติ

เขตบางพลัด

          1.อโณชา ปัทมดิลก

          2.จิรภัทร อังศุมาลี

          3.ทองแถม นาถจำนง

เขตหนองแขม

          1.จรัญ ยั่งยืน

          2.จิตติ หนูสุข

          3.สุนันท์ พันธุ์ศรี

เขตทวีวัฒนา

          1.รสนา โตสิตระกูล

          2.เรืองเดช จันทรคีรี

เขตตลิ่งชัน

          1.ศักดา วิมลจันทร์




กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 13:40
ได้ข่าวว่าคุณทองแถมอพยพครอบครัว ลี้ภัยไปอยู่ราชบุรี ค่ะ
คงไม่สะดวกที่จะเข้ามาสนทนาในเรือนไทย  ช่วงนี้


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 พ.ย. 11, 16:12
ขอแสดงความเสียใจต่อนักเขียนทุกท่าน (หลายท่านเป็นนักเขียนในดวงใจ)

 :'(

ขออนุญาตต่อตอนที่ ๗ และ ๘

รู้สู้ flood ตอน ๖

http://www.youtube.com/watch?v=28h5i7Dz0bc&feature=player_embedded

http://www.youtube.com/watch?v=P7xSgSuzh_U&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=CK9PeajWzaw&feature=player_embedded

 ;D


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: jotbot1414 ที่ 22 พ.ค. 12, 14:00
เอาใจช่วยนะๆ


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 15, 09:22
น้ำท่วมในฤดูแล้ง

ฝนหลงฤดูถล่มกรุงเทพฯ น้ำท่วมถนนหลายสาย การจราจรเป็นอัมพาตทั่วกรุง โดยผู้สื่อข่าวรายงานช่วงสายวันที่ ๒๔ มีนาคม เกิดฝนตกหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ทำให้น้ำระบายไม่ทันเอ่อท่วมถนน การจราจรติดขัด อย่างหนัก เช่น ถนนสุขุมวิท โดยที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา พบชั้นใต้ดินที่เป็นห้างท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต (สาขาโรบินสันสุขุมวิท) เกิดน้ำดันขึ้นมาจากท่อระบายน้ำพุ่งขึ้นท่วมขังสูงราว ๓๐ ซม. ทำให้ชั้นวางสินค้าได้รับความเสียหาย ทางห้างต้องสั่งปิดให้บริการในส่วนชั้นใต้ดิน และประสานงานหน่วยบรรเทาสาธารณภัย กทม. มาร่วมสูบน้ำออกและนำถุงทรายมาทับปากฝาท่อน้ำไว้ ส่วนรอบ ๆ ห้างช่วงถนนอโศกที่อยู่ไม่ไกลมากนัก มีน้ำท่วมขังบนท้องถนนราว ๒๐-๓๐ ซม. ต้องเร่งระบายลงคลองแสนแสบ

ข่าวจาก ไทยรัฐ (http://www.thairath.co.th/content/488957)

http://www.youtube.com/watch?v=nowwcVS8BYE#ws (http://www.youtube.com/watch?v=nowwcVS8BYE#ws)


กระทู้: น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มี.ค. 15, 09:41
นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

จากกรณีฝนตกหนักในกทม.วานนี้ และได้มีการแชร์ภาพน้ำท่วมสูงในซอยอสมท. ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจนบางรายต้องนำเรือออกมาพายเพื่อสัญจรไปมา ล่าสุด ที่เฟซบุ๊ก หนุ่ม สรรเสริญ เรืองฤทธิ์ ของ นายสรรเสริญ เรืองฤทธิ์ วิศวกรไฟฟ้า(สื่อสาร) ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ระบุสาเหตุที่น้ำท่วมสูงในซอยดังกล่าวว่า...

"แจ้งทุกท่านทราบครับ
กรณีภาพน้ำท่วมหลายคันที่จอดในซอย อ.ส.ม.ท. เนื่องจากฝนตกหนักช่วงบ่ายวันที่ 24 มีนาคม 2558 นั้น พื้นที่แถบนั้นมีฝนตกหนักมากจริงๆ ครับ มากกว่า 60 มม. พื้นที่ซอยดังกล่าวเป็นที่ต่ำมาก ท่อระบายน้ำขนาดเล็ก (30-40 ซม.) และที่สำคัญเป็นที่ของเอกชน ซึ่งกรุงเทพมหานคร เคยทำหนังสือเพื่อขอเข้าไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงและดูแลระบบท่อระบายน้ำบริเวณดังกล่าว แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของร่วมของพื้นที่นั้น จึงทำได้เพียงการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณปากซอยด้านถนนพระราม 9 เพื่อช่วยระบายน้ำหากมีปัญหาฝนตกหนัก (แต่ก็ระบายได้ช้าเพราะท่อระบายน้ำมีขนาดเล็ก)

ภาพน้ำท่วมที่เห็นจะเป็นบริเวณในซอยลึกเข้าไปด้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ ส่วนบริเวณปากซอยใกล้ๆ เครื่องสูบน้ำระดับน้ำจะไม่สูงมาก เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจครับ"

http://news.sanook.com/1769145/ (http://news.sanook.com/1769145/)