เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 24796 พระสมุทรเจดีย์ เมื่อพระมหาเจดีย์ไม่อยู่กลางน้ำ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 ม.ค. 08, 14:59

ภาพถ่ายทางอากาศ ๕๕ ปีต่อมา (ปี พ.ศ. ๒๕๐๕)

เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ อยู่ริมแม่น้ำ
ด้านล่าง คือ โรงเรียนนายเรือ หน้าโรงเรียนเดิมมีทางรถไฟสายปากน้ำ (เลิกกิจการปีนั้นพอดี)



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 ม.ค. 08, 15:14

ผมยิ่งลงไปศึกษา ก็ยิ่งมีเรื่องราวน่าสนใจ และตกใจ
เพราะตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ได้สุ่มคำถามชาวปากน้ำที่รู้จักว่าพระสมุทรเจดีย์ไปอยู่ริมน้ำได้อย่างไร?

ปรากฏว่า ๓๕% เชื่อสนิทใจตามที่มีผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า ถูกน้ำทะเลซัดจากกลางน้ำไปติดฝั่ง
ในตำราเรียนเขียนว่า สันนิจฐาน ว่าเคยเป็นเกาะมาก่อน

ใครที่มีความรู้เรื่องชายฝั่งริมแม่น้ำ และพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยกรุณาเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ
 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 17:36

(ขอบพระคุณ คุณอรัญญา พิรุณ จากอำเภอพระสมุทรเจดีย์ กรุณาส่ง EMAIL มา แจ้งว่า)

   มีบันทึกในหนังสือ “เปิดกรุภาพเก่า” โดยคุณเอนก นาวิกมูล อ้างอิงข้อความในหนังสือสวนกุหลาบวิทยาลัย ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑๒ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ (ปลายสมัยรัชกาลที่ ๖) หน้า ๗๕๑ กล่าวว่า เมื่อคณะลูกเสือของโรงเรียนไปเที่ยวที่นี่ พระสมุทรเจดีย์ในสมัยนั้นกลายเป็นที่รกร้าง ขนาดมีลิงป่ายกพวกมารื้อกระเบื้องมุงหลังคาเล่น และยังมีผู้ร้ายพาผู้หญิงมาทำอนาจาร ภายในพระวิหารหลวงเต็มไปด้วยค้างคาว ช่างไม่เหลือภาพความงามขององค์พระเจดีย์กลางน้ำอย่างภาพที่เห็นใน ส.ค.ส. และไปรษณีย์บัตรที่ถ่ายไว้ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกเลย

   ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ชาวบ้านทั้งสองฝั่งปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เกิดความเสียดายความเป็น “พระเจดีย์กลางน้ำ” พยายามที่จะกู้ความเป็นเกาะขององค์พระสมุทรเจดีย์กลับคืนมา มีผู้ยกที่ดินในบริเวณใกล้เคียงให้พระสมุทรเจดีย์ ทางราชการจึงได้จัดงบประมาณในการปรับปรุงภูมิทัศน์และขุดคู โดยรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ถมดินบริเวณฐานองค์พระเจดีย์เพื่อป้องกันน้ำท่วม  สร้างท่าน้ำ ศาลาหน้าวิหาร ก่อฐานต้นโพธิ์ใหม่  ใช้เวลา ๑ ปีจึงแล้วเสร็จจนเกิดเป็นพระเจดีย์กลางน้ำอีกครั้ง เพื่อให้ทันงานสมโภชองค์พระสมุทรเจดีย์ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗  จนกระทั่งวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ พระสมุทรเจดีย์ และองค์ประกอบต่างๆจึงได้รับการขึ้นบัญชีโบราณสถาน และศิลปะวัตถุ ภายใต้ระเบียบและการดูแลของกรมศิลปากร

   เป็นที่น่าเสียดาย สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒  มีพระราชกฤษฎีกา ยุบจังหวัดสมุทรปราการไปขึ้นกับนครบาลกรุงเทพธนบุรี และมีประกาศตั้งเป็นจังหวัดสมุทรปราการอีกครั้งเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๙ ช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกาะองค์พระสมุทรปราการขาดผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษา สภาพทั่วไปรอบเกาะจึงถูกละเลยทอดทิ้งจนกระทั่งเกิดการทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 17:42

(ต่อ)

          พระสมุทรเจดีย์ หมดสิ้นความเป็นเกาะลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดการเปลี่ยนทิศทางการไหล ก่อให้เกิดแผ่นดินตลิ่งงอกอย่างรวดเร็วจนถึงตัวเกาะ แม้จะมีความตั้งใจที่จะป้องกันไม่ให้ตลิ่งงอกออกมาจนถึงองค์พระเจดีย์อีกครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งครั้งนี้ ถือเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะคงความเป็นเกาะขององค์พระเจดีย์เอาไว้ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ด้วยเพราะดินตะกอนจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจากการไหลเชี่ยวมากขึ้นของลำน้ำเข้ามากองบนคูที่ขุดไว้อย่างรวดเร็ว

   คุณลุงเชือน ดีสุคนธ์ อายุ ๘๖ ปี ชาวบ้านสาขลา ตำบลนาเกลือ (เขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์) ผู้ที่อาศัยเดินทางระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มาตั้งแต่จำความได้ กล่าวด้วยความเสียดายว่า
 
“……หลังจากที่ทางการได้เริ่มขุดร่องน้ำเจ้าพระยาเพื่อให้เรือใหญ่สามารถล่องผ่านสันดอนตรงปากอ่าวไทย เข้าสู่ท่าเรือกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓  ดินเลนตรงก้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไม่เคยมีเรือใหญ่กินน้ำลึกแล่นไปรบกวนมาก่อน จึงถูกคุ้ยให้ขุ่นกระจายเป็นตะกอน ประกอบกับกระแสน้ำเจ้าพระยาได้ไหลออกสู่ทะเลเร็วและเชี่ยวกรากทันตา เปลี่ยนทางเดินของดินตะกอนเข้ามาทับถมประชิดเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์กันวันต่อวัน นั่นหมายความว่า วันใดที่มีชาวบ้านช่วยกันขุดรอกดินออก ภายในเวลาเพียงข้ามวัน ก็จะมีตะกอนดินกลับเข้ามากองจนเต็มรอบเกาะองค์พระเจดีย์……”

(ปรับข้อความให้เข้าใจง่ายขึ้น ขออนุญาติคุณอรัญญา พิรุณ แล้ว)
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 17:49

ภาพ โดยความอนุเคราะห์จาก คุณเอนก นาวิกมูล
(ถ่ายระหว่างสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงช่วงต้นสมัยรัชกาลที่ ๕)

ภาพไม่ค่อยคุ้น เพราะเป็นภาพเดียวที่ถ่ายจากด้านหลังเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์
ไม่ทราบว่าบรรพบุรุษทั้งสองที่แจวเรืออยู่ จะคิดอย่างไร ถ้าทราบว่าบริเวณที่แจวเรืออยู่นี้
ปัจจุบัน ถูกถมเป็นลานจอดรถไปแล้ว





บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 17:54

ภาพถ่ายทางอากาศ จาก google

พื้นที่สีแดง ก็คือ พื้นที่เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ดั้งเดิม



บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 19:45

ขอบคุณคุณปากน้ำเจ้าพระยาที่อุตสาหะค้นคว้าเรื่องนี้มาแบ่งปันกันครับ

รูปข้างล่างนี้ capture มาจาก www.pointasia.com นะครับ

ดูจากรูปจะเห็นได้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนี้เป็นช่วงหัวโค้งพอดี โดยธรรมชาติเมื่อน้ำไหลมาแรงจะพุ่งเข้าปะทะด้านนอกโค้ง กัดเซาะตลิ่งเข้าไปทำให้แม่น้ำกว้างขึ้น

การที่แม่น้ำกว้างขึ้นนั้น ส่งผลให้ด้านในโค้งมีอัตราการไหลของน้ำช้าลง ซึ่งการที่น้ำไหลช้านี่แหละครับทำให้เกิดการตกตะกอนในบริเวณนั้น การเกิดขึ้นของเกาะพระสมุทรเจดีย์เป็นสัญญาณบอกเหตุอยู่แต่แรกแล้วว่าพื้นที่ตรงนี้จะต้องตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดินไปในที่สุด ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของสายน้ำครับ

ดังนั้นถ้าต้องการให้คงสภาพเกาะจริงๆต้องแก้ที่ต้นเหตุครับ ลำพังขุดลอกคลองที่คั่นระหว่างเกาะกับแผ่นดินอย่างที่เคยทำกันมานั้นไม่เพียงพอ ต้องสร้างเขื่อนล้ำขึ้นไปในแนวแม่น้ำเพื่อแบ่งน้ำให้ไหลลงมาเข้าคลองนี้บางส่วนครับ ถ้าเป็นสมัยก่อน ทำเป็นเขื่อนดินคงเอาไม่อยู่ แต่เทคโนโลยีปัจจุบัน เขื่อนคอนกรีตผมว่ารับมือเรื่องนี้ได้ครับ

อยู่ที่ว่าเราจะต้องการอย่างนั้นหรือไม่เท่านั้นเอง


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 ม.ค. 08, 22:09

ผมเห็นด้วยกับคุณ CrazyHOrse ครับ

ยังมีอีกเหตุผลนึง ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นเหตุที่เร่งให้ความเป็นเกาะพระสมุทรเจดีย์หายไปเร็วยิ่งขึ้น นั่นคือ ชาวบ้านในเขตรอบเกาะ ที่อาศัยจังหวะแผ่นดินงอกตามธรรมชาติ รุกล้ำถมที่ลงแม่น้ำทีละน้อย ก็ไม่ทราบเหมือนกันเมื่อครั้งที่มีการบริจาคที่ดินให้ช่วยบูรณะเกาะ ที่ดินเหล่านั้น เคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาแท้ๆ เขาได้มาอย่างไร

ที่ผมตั้งข้อสังเกตไปที่ชาวบ้านรอบเกาะ ก็เพราะเหตุที่ยังมีเกาะคู่พระสมุทรเจดีย์ คือ เกาะป้อมผีเสื้อสมุทร (อยู่ด้านซ้ายของแม่น้ำตามภาพของคุณ CrazyHOrse) ปรากฏว่ายังคงสภาพเกาะอยู่ได้ ทั้งที่อยู่ช่วงโค้งเดียวกันกับพระสมุทรเจดีย์ ทั้งนี่ก็ด้วยป้อมผีเสื้อสมุทรเป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของกองทัพเรือ ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปยุ่ง ผมจึงพอ (ทึกทัก) สรุปเอาว่า ถ้าเกาะพระสมุทรเจดีย์ อยู่ในเขตพื้นที่ทหารเหมือนกัน เหตุการณ์อาจไม่เกิดรวดเร็วอย่างนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 00:12

ดิฉันว่าสาเหตุมาจากทางภูมิศาสตร์กายภาพ และทางสังคมค่ะ
ทางกายภาพ เนื่องจากดิฉันเกิดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่คุณแม่บอกว่าฝั่งโน้นทรุด ฝั่งนี้งอก..สำหรับดิฉัน ไม่เห็นมันจะงอกตรงไหน
เรือสันดอนแล่นผ่านบ้านเราทุกวัน ขุดลอกสันดอนจนสัตว์น้ำ กุ้งก้ามกรามตัวโตๆค่อยๆสูญไป และอีกอย่างน้ำเสียจากกรุงเทพไหลลงมาเรื่อยๆ
วิถีชีวิตเปลี่ยน เรือสัญจรสบายๆเรือพาย เรือยนต์กลายเป็นเรือหางยาวนรก..
ตลาดน้ำ หรือเรือกาแฟ เรือปลาทู เรือกับข้าว เรือข้าวโพดคั่ว ล้มหายตายจากไปช้าๆ..พายดีไม่ดี โดนคลื่นนรกซัดที ต้องคัดท้ายไต่ลอนคลื่นให้อยู่ในร่องบ่อยๆ
เรือหางยาวสวยๆงามๆรุ่นก่อนขับดีๆก็หยุดกลางคัน เพราะถุงพลาสติคพันใบพัด จอดแกะกันกลางแม่น้ำ
พระเจดีย์กลางน้ำคือจุดรวมศรัทธาของคนพระประแดงและพระสมุทรเจดีย์ คุณยายทันได้เห็นพระเจดีย์กลางน้ำ ...ส่วนคุณแม่เล่าว่า ไปเที่ยวงานสมโภชพระเจดีย์กลางน้ำตอนสาวๆกับคุณป้า แล้วเข็ดไม่ไปอีกเลย เพราะมีพวกโรคจิตเยอะ..
..........
ปัญหากายภาพและสังคมผสมๆกันค่ะ
ผ่านแม่น้ำไปทางนั้นทีไร ปลงจริงๆ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 31 ม.ค. 08, 22:25

ดูท่าว่า บ้านเกิดคุณกุ้งแห้งเยอรมัน จะไม่ห่างจากบ้านผมนักนะครับ

เมื่อตอนเย็นนี้เอง ผมได้แวะเข้าไปคุยกับท่านเจ้าอาวาสวัดมหาวงษ์ (พระจารย์เปี๊ยก) วัดที่อยู่ฝั่งตรงข้ามพระสมุทรเจดีย์ ท่านได้เล่าเรื่องครั้งเมื่อขุดสันดอน เปิดร่องน้ำเจ้าพระยาใหม่ๆ เหมือนกันครับว่า

"เวลาเรือใหญ่เข้ามาแต่ละที จะคล้ายกับสึนามิ เพราะเรือใหญ่จะดูดน้ำจากฝั่งจนแห้งเข้าไปใต้ท้องเรือกลางแม่น้ำ จากนั้นอีกไม่นาน ก็จะเกิดคลื่นซัดกลับรุนแรงจนเรือเล็กคว่ำไม่เป็นท่า จานชามที่ล้างตากไว้ก็ล้มละเนละนาด คลื่นกระทบลึกเข้าไปในคลองมหาวงษ์เป็นกิโลเมตรเลยตรับ"

ที่แปลกอีกอย่างท่านเจ้าอาวาสบอกว่า เป็นครั้งแรกที่ท่านเห็นแมงกระพรุนเข้ามาที่ปากน้ำ แสดงว่าไม่เฉพาะเรือใหญ่ที่เข้ามานะครับ น้ำทะเลก็ใหลเข้ามาอย่างรวดเร็วเหมือนกัน ชาวบ้านในคลอง เดิมมีอาชีพทำสวน ไม่นานก็ต้องเลิกเพราะน้ำเค็มเกินไป
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 ก.พ. 08, 09:21

บ้านเกิดดิฉันขึ้นด้วยบาง....ค่ะ.. เห็นเรือใหญ่เข้าออกทุกวัน สีสันสดใส บางวันมีลุ้น พุ่งเข้าบ้านป้าใหญ่ ป้าใหญ่วิ่งจุดธูปปักแทบไม่ทัน คุณพระช่วย.. ลูกเรือเอาสมอลงทัน
มีดงลำพู .. มีหิ่งห้อย ที่เราเด็กๆชอบจับเข้ามาใส่มุ้ง ปิดไฟมืดตื๋อ ให้วับๆในมุ้งเราเล่น สวยดี
หน้าน้ำ มีสวะกอเขียว ไสว สด ส่วนที่พองๆมาหั่นเล่นขายของ ส่วนที่เป็นเหมือนสายบัวมาหั่นเล่นใส่กระทง สวะมามากก็กั้นด้วยไม้รวก และว่างๆก็เขี่ยลงไปให้บ้านอื่นเขี่ยต่อออกปากน้ำ
มีน้ำขึ้นน้ำลง .. น้ำแห้ง
เดี๋ยวนี้ไม่มีหน้าน้ำแห้งค่ะ งงๆว่า มันแย่ขนาดนั้นแล้วนะเนี่ย
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 19:22

ภาพ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ไม่ทราบผู้ถ่ายภาพ)

วิถีชีวิตชาวปากน้ำฝั่งตรงข้ามพระสมุทรเจดีย์ ปากคลองโพงพาง (ชาวบ้านกำลังอาบน้ำ)
ปัจจุบัน เป็นซุ้มขายของที่ก่อสร้างค่อมคลองไว้ สภาพนั้นไม่ขออธิบาย (กลัวคุณกุ้งแห้งเยอรมันจะยิ่ง งงๆ อีก)
เพราะชาวบ้านตั้งฉายาคลองนี้กันติดปากว่า "คลองน้ำเน่า"



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 ก.พ. 08, 19:35

ภาพ เกาะนี้อยู่หน้าท่าน้ำวัดอรุณฯ เห็นมีศาลา ไม้พวกปาล์ม ไทร (ดูแล้วคิดถึงการ์ตูน "ขายหัวเราะ" ที่มักใช้เป็นมุขคนติดเกาะ)

ภาพนี้น่าจะถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๔ เพราะสมัยรัชกาลที่ ๕ เกาะนี้ก็หายไปแล้ว ส่วนสาเหตุจะแตกต่างจากเกาะพระสมุทรเจดีย์ที่แผ่นดินงอกมาติดเกาะ เพราะเกาะนี้ถูกแรงเซาะของแม่น้ำเจ้าพระยา จนค่อยๆหายไป



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 10:43

         ติดตามอ่าน ดูมาตลอด ครับ อ่านไป ฮ้มเพลง ลาทีปากน้ำไป
เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงสุนทราภรณ์ที่ดังมากๆ เมื่อเกือบสี่สิบปีมาแล้ว
บันทึกการเข้า
Natalee
อสุรผัด
*
ตอบ: 37



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 03 ก.พ. 08, 22:15

จากความคิดเห็นที่ ๔๒ อาจจะเป็นต้นอินทผาลัม ตามที่เคยมีใครอธิบายไว้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง