เรือนไทย

General Category => วิเสทนิยม => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 15:56



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 15:56
อาหารจานนี้ของโปรตุเกศ  ถ้ามีถ้วยน้ำพริกกะปิวางเคียงเสียหน่อย จะเหมือนน้ำพริกปลาทูทอดของเรามาก
มันคือปลาซาร์ดีนย่างค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 15:58
ซุปน้ำข้นของโปรตุเกศ   เหมือนอาหารอย่างไหนของเรา?


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 19:33
อาหารจานนี้ของโปรตุเกศ  ถ้ามีถ้วยน้ำพริกกะปิวางเคียงเสียหน่อย จะเหมือนน้ำพริกปลาทูทอดของเรามาก
มันคือปลาซาร์ดีนย่างค่ะ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4360.0;attach=18716;image)

อ้างถึง
ที่สามปลา ปลานั้นยาวกว่าปลาทูหน่อย พอพาดปากจาน ทอดหนังกรอบเนื้อนุ่มไม่พบก้าง
ทรงเทียบกับปลาทู แต่ยาวกว่า เลยนึกถึงปลา mackerel 
ถามคุณเพ็ญชมพูหรือคุณ DD ว่าภาษาไทยเรียกว่าปลาอะไรคะ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4290.0;attach=18078;image)

ปลาแมกเคอเรล (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A5) เหมือน ปลาซาร์ดีน (http://en.wikipedia.org/wiki/Sardine) อยู่อย่างหนึ่งคือไม่ใช่ชื่อของปลาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของปลาทะเลหลายวงศ์ (family)  ปลาทูก็เป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า Short-bodied mackerel ส่วนปลาที่รัชกาลที่ ๕ เสวยอาจเป็น Mediterranean horse mackerel  (http://www.fishbase.org/summary/speciessummary.php?id=1278) เพราะมีชุกชุมในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(http://pecesdelmarmediterraneo.com/Peces/slides/9.jpg)

ถ้าปลาตัวข้างบนกับตัวข้างล่างของคุณเทาชมพู เป็นชนิดเดียวกัน

ก็ไม่ใช่ปลาซาร์ดีน แต่เป็นปลาแมกเคอเรล

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 19:47
ซุปน้ำข้นของโปรตุเกศ   เหมือนอาหารอย่างไหนของเรา?

เหมือนต้มยำกุ้ง (แบบน้ำข้น) เลยครับ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 20:14
ในรูปที่ดิฉันเอามาให้ดูบรรยายว่าเป็นปลาซาร์ดีนค่ะ   


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 20:20
ซุปข้นของโปรตุเกศ รสชาติคงไม่เหมือนต้มยำกุ้งน้ำข้น  แต่หน้าตาเหมือนมาก  ;D
มีอาหารอีกอย่างของโปรตุเกศเอามาให้ดู    มันก็ข้าวผัดนี่แหละ    ทิ้งคำถามไว้ว่า ข้าวผัดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้มาจากห้องเครื่องของท้าวทองกีบม้าหรือเปล่า


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 20:42
^
ต้องเทีบบเคียงจาน ด้วย "ข้าวผัดปู" อย่างจีน  :D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 24 เม.ย. 11, 20:59
ต้องรอคนแถบบ้านฝรั่งกูฏีจีนมาอธิบาย

แถบนั้นน่าจะมีร่องรอยอยู่เยอะกว่า


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 21:02
นี่ก็อีกจานหนึ่ง    แต่อ่านภาษาโปรตุเกศไม่ออก เลยไม่รับรองว่าเป็นจานเด็ดของเขาแต่ดั้งเดิม หรือว่าคนทำมาเที่ยวเมืองไทยแล้วเอากลับไปทำบ้าง
 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 21:03
นี่ก็อาหารโปรตุเกศเหมือนกัน


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 21:23
คุณ siamese ถามถึงของคาวของโปรตุเกศ ก็เลยไปหาอาหารโปรตุเกศมาให้ดู   
มีซุปที่คล้ายๆต้มยำน้ำใสของเราด้วย     ใส่มะนาว และพริก  กับใส่เนื้อสัตว์คือไก่หรือหมู

ขอพักแค่นี้ก่อน   ถ้าหากหาขนมสัมปันนีได้จะเอารูปมาลงในกระทู้นี้ค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 21:46
คุณ siamese ถามถึงของคาวของโปรตุเกศ ก็เลยไปหาอาหารโปรตุเกศมาให้ดู   
มีซุปที่คล้ายๆต้มยำน้ำใสของเราด้วย     ใส่มะนาว และพริก  กับใส่เนื้อสัตว์คือไก่หรือหมู

ขอพักแค่นี้ก่อน   ถ้าหากหาขนมสัมปันนีได้จะเอารูปมาลงในกระทู้นี้ค่ะ

ขอบคุณครับ


ขนมไทย ทำจากพืชที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น แป้งจากพืชตระกูลหัว เช่น เผือก ท้าวยายม่อม และแป้งจากเมล็ดข้าว เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า
ส่วนแป้งสาลี สมัยก่อนไม่นำมาทำขนมไทย


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:07
ชุมชนไทยเชื้อสายโปรตุเกสในปัจจุบันกระจัดกระจายอยู่ในเขตพระนครศรีอยุธยา และที่กรุงเทพมหานคร มีทั้งที่เป็นชุมชนดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอยุธยา และชุมชนใหม่ที่ผู้คนอพยพเข้ามายังกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ สมัยรัตนโกสินทร์  จะขออธิบายถึงชุมชนที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่มากกว่าเสียก่อน หลังจากนั้นจึงย้อนไปกล่าวถึงชุมชนหมู่บ้านโปรตุเกสที่อยุธยาซึ่งมีอยู่ค่อนข้างน้อย

ที่กรุงเทพฯ  มีชุมชนไทยเชื้อสายโปรตุเกสตั้งรกรากกันอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชุมชนกระแสหลักในปัจจุบัน โดยอพยพเข้ามาครั้งแรก แยกออกเป็น ๔ กลุ่มหรือ ๔ สายด้วยกันคือ

กลุ่มที่ ๑ สมัยกรุงศรีอยุธยา ชุดที่บาทหลวงหลุยส์ ลาโน ชาวฝรั่งเศส ได้ขอพระราชทานที่ดินจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อสร้างโบสถ์สำหรับชาวคริสตังเข้ารีตเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๗๙  ณ บริเวณที่เป็นวัดคอนเซ็ปชัญในปัจจุบัน

กลุ่มที่ ๒ สมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี ค.ศ. ๑๗๖๗ ชาวโปรตุเกสผู้จงรักภักดีและกล้าหาญ ได้เข้าร่วมเป็นทหารอาสากู้เอกราชกับพระเจ้าตาก ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว ทรงตอบแทนบุญคุณความดีแก่ชาวโปรตุเกสและครอบครัว จึงได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งรกราก ในบริเวณที่เรียกว่าชุมชนกุฎีจีน

กลุ่มที่ ๓ สมัยกรุงธนบุรี ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส อพยพเข้ามาเพิ่มเติมตามลำพังภายหลังการเสียกรุงปี ค.ศ. ๑๗๖๗ หรือก่อนหน้านั้นไม่นาน เดินทางเข้ามาสมทบกับชุมชนโปรตุเกส ซึ่งตั้งชุมชนได้แล้วในกรุงธนบุรี รวมทั้งชาวญวนเข้ารีตจากจันทบุรีอีกจำนวนหนึ่ง

กลุ่มที่ ๔ สมัยกรุงเทพฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอกฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ชาวไทยคริสตังที่หนีไปอยู่เมืองเขมรระหว่างสงครามกับพม่า และคนเขมรเข้ารีตอีกรวมกันประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ คน ซึ่งลี้ภัยจากบ้านเกิดกลับเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือวัดราชาธิราช ภายหลังการสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ใน ค.ศ. ๑๗๘๒ บางทีก็เรียกชุมชนบ้านเขมร

ดังนั้นชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่กรุงเทพฯ ก็คือ ผู้ที่ตั้งรกรากมาแต่เดิมสมัยอยุธยาหรืออพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ รวมเวลาไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี หรือประมาณ ๖ ชั้นอายุขัยขึ้นไป และมีถิ่นที่อยู่ชัดเจนตรงตามประวัติการตั้งชุมชน อนึ่งศูนย์การของชุมชนโปรตุเกสซึ่งยังคงเป็นสัญลักษณ์ถาวรของชุมชนล้วนมีเอกลักษณ์เหมือนกันหมด อันได้แก่ “โบสถ์” ที่ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาของคนในชุมชน โบสถ์ของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่ยืนหยัดคู่ชุมชนไทยเชื้อสายโปรตุเกสมาจนบัดนี้ มีอยู่ด้วยกัน ๓ โบสถ์คือ โบสถ์ของวัดคอนเซ็ปชัญ, วัดซางตาครู้ส และวัดกาลหว่าร์ ซึ่งเมื่อสืบประวัติของผู้คนในอดีตของชุมชนทั้งสามแห่งนี้ก็พบว่าพวกเขาล้วนมีบรรพบุรุษเป็นชาวโปรตุเกสทั้งสิ้น

ดังนั้นแล้วทรัพยากรด้านการทำอาหารคาวแบบโปรตุเกส ก็ต้องปรับตัวตามพืชพรรณท้องถิ่น ผสมกับ การทำอาหารท้องถิ่น ผสมกันออกมาเป็นหน้าตาใหม่ๆ

ฝากขนมฝรั่งกุฎีจีนให้เพื่อนสมาชิกที่แวะเวียนเข้ามาได้อร่อยกัน + น้ำชาร้อนๆสักแก้วนะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 22:11
คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AA) เล่าเรื่องอาหารของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ไว้ว่าเป็นอาหารที่ได้รับตำรับจากโปรตุเกส แต่ได้ผสมผสานกับไทยไปไม่น้อยเช่นกัน  อาหารที่สำคัญๆของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสได้แก่

แกงเหงาหงอด ซึ่งคล้ายกับแกงส้มแต่มีกรรมวิธีต่างออกไป สมัยก่อนเมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะมีการจับปลาสังกะวาดมาทำแกง แต่ปัจจุบันหายาก จึงใช้ปลาเนื้ออ่อนแทน ก่อนอื่นต้องล้างเมือกออกจากตัวปลา แล้วขัดด้วยแกลบจนหนังขาว เอาไส้ออกแล้วหั่นเตรียมไว้ พริกแกงตำแบบแกงส้ม โดยใช้ทั้งพริกแห้งและพริกสดสีเหลืองตำกับหัวหอมมากหน่อย และใส่กระเทียมด้วย แต่ใส่กะปิและกระชาย เวลาแกงมาละลายน้ำกรองด้วยผ้าขาวบาง เอาแต่น้ำไปต้มจนเดือดจึงใส่ปลา ปรุงรสด้วยเกลือ มะนาว ไม่ใส่มะขามเปียก และไม่ใส่น้ำตาล แกงจะออกรสเค็มและเปรี้ยว ก่อนเสิร์ฟใส่ใบโหระพาเป็นอันเสร็จ

ต้มมะฝาด คล้ายต้มจับฉ่ายของคนจีน โดยมีลูกผักชี ยี่หร่า ใบกระวาน กานพลู รากผักชี กระเทียม และขมิ้นตำจนละเอียด หั่นกะหล่ำปลี ผักคะน้า หัวไชเท้า ต้นหอม ผักชี เรียงลงในหม้อ จากนั้นใส่หมู เป็ด ไก่สดลงไปบนผัก หรือจะใส่เนื้อวัวด้วยก็ควรต้มให้นิ่มก่อน วางสลับกันเป็นชั้นอย่างนี้ไปเรื่อยพร้อมกับโรยเครื่องปรุงที่ตำไว้แล้วลงบนผักและเนื้อ ใส่น้ำแกงพอสมควร แล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปีบ และน้ำส้มสายชู ต้มเคี่ยวจนผักเปื่อยเนื้อนุ่มก็รับประทานได้น้ำแกงสีเหลืองสวยจากขมิ้นคล้ายกับแกงเหลืองของภาคใต้

เนื้อแซนโม เป็นอาหารพิเศษกินกันในครอบครัวช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ วิธีทำเริ่มจากการหาเนื้อสะโพกมาตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ให้หนาราว ๒ นิ้ว กว้างราว ๑๖ นิ้ว แล้วนำมันหมูแข็งที่หั่นเป็นชิ้นยาวมาคลุกเคล้ากับพริกไทย เกลือ และหอมแดงที่บุบผสมเข้าไป พร้อมกับนำเนื้อชิ้นดังกล่าวไปคลุกกับพริกไทย เกลือ และหอมแดงบุบ ก่อนนำไปทอดในน้ำมันพอเหลืองหอมไม่ต้องถึงสุก จึงนำไปต้มอีกทีในน้ำแกงที่ผสมหัวหอม เกลือ ซอสแม็กกี้ และซีอิ้วดำ ซึ่งเหยาะเพียงแค่นิดหน่อยเพื่อให้สีสวย พร้อมกับห่อผ้าขาวที่ใส่เครื่องเทศมีลูกกระวาน กานพลู พริกไทย และอบเชย เวลากินเสิร์ฟเหมือเนื้อตุ๋น แต่ต้องนำชิ้นเนื้อมาหั่นเป็นแว่นๆ จะเห็นมันหมูเป็นไส้ข้างใน กินกับข้าว หรือขนมปังก็ได้ ปัจจุบันในชุมชนเหลือคนทำเนื้อแซนโมได้น้อยคน เนื่องจากหลายขั้นตอน และเสียเวลามาก

ขนมจีนไก่คั่ว หรือที่บางคนเรียกว่าขนมจีนน้ำยาไก่ จะทำกันในงานฉลองพระแม่ไถ่ทาส เดเมย์เซเดย์ หรือที่ชาวบ้านคอนเซ็ปชัญเรียกว่า พระแม่ขนมจีน และงานมงคลอย่างงานแต่งงานเท่านั้น เวลาปกติไม่ค่อยมีใครทำเนื่องจากขั้นตอนและวิธีการทำยุ่งยาก ผู้สูงอายุก็หวงวิชาเก็บไว้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน แม้แต่ลูกหลานบางคนก็ยังไม่ได้รับความรู้นี้เลย คนที่ทำขนมจีนไก่คั่วได้จึงเหลือไม่กี่คน และขนมจีนไก่คั่วหากินยาก มีเฉพาะบ้านคอนเซ็ปชัญเท่านั้น และคาดว่าคงจะเป็นอาหารดั้งเดิมของโปรตุเกส ส่วนประกอบก็มี ถั่วตัดสับละเอียด เนื้อไก่สับหรือบด พริกเหลืองและพริกแดงตำละเอียด เครื่องในไก่ เลือดไก่ และต้นหอมผักชี วิธีการทำคือ นำเครื่องแกงลงไปผัดกับกะทิให้หอม แล้วใส่เนื้อไก่ยีให้เข้ากัน ใส่กะทิ ส่วนพริกเหลืองพริกแดงให้ผัดกับกะทิต่างหาก ใช้ประกอบสำหรับคนทานเผ็ด เวลาทานก็โรยต้นหอมผักชี คนเฒ่าคนแก่บางคนว่ากันว่า ขนมจีนขนานแท้ต้องใส่กระดูกไก่สับละเอียดลงไปด้วย เวลารับประทานก็เคี้ยวกรุบ ๆ เพิ่มรสชาติในการับประทานอาหาร

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:14
^
ชีวิตนี้จะไม่กินปลาสังกะวาด เลยครับ บ้านยายผมอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง เป็นปลาที่คนไม่นิยมกินกัน จึงมีมากมายเต็มท้องน้ำ โดนเงี่ยงก็ปวดแสบไม่น้อยยามตกเบ็ดเล่น  ;) ;) เป็นปลาที่ทานของถ่ายทุกข์จากเรา  :)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 22:23
นี่คือไส้กรอกโปรตุเกศ

(http://2.bp.blogspot.com/_uj67IzndTCI/SRiNkch-8BI/AAAAAAAAANo/6xYFIxB3MKw/s400/Chourico-and-Potatoes.jpg)

เห็นแล้ว  นึกถึงไส้กรอกปลาแนม

(http://news.phuketindex.com/wp-content/uploads/2009/11/153.jpg)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 22:23
นี่คือซุปใส ใส่มะนาว และพริก ของโปรตุเกศค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:27
"ทาร์ตไข่"

เป็นของหวานของโปรตุเกส ที่คิดค้นขึ้นโดยแม่ชีคอนแวนต์ ที่ Jerónimos Monastery เรียกขนมนี้ว่า Pastel de nata ทำจากแป้งกรุเป็นขอบแล้วเท ไข่ผสมน้ำตาลหยอดลงในตัวขนมแล้วนำไปอบ  ซึ่งได้แพร่ไปยังมาเก๊า ประเทศจีน นิยมกันมาก เป็นอาหารในชุดติ่มซำด้วย  ต่อมาไม่นานนี้ร้านขายไก่ทอดชื่อดังได้นำมาขายในประเทศ ทำให้วัยรุ่นกินกันมากขึ้น


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:30
เหมือน ข้าวตังหน้าหมู จังเลยครับ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 22:37
"ทาร์ตไข่"

ต่อมาไม่นานนี้ร้านขายไก่ทอดชื่อดังได้นำมาขายในประเทศ ทำให้วัยรุ่นกินกันมากขึ้น

ไม่ใช่วัยรุ่นก็ชอบรับประทาน

อร่อยดี

 ;D  ;D  ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:39
"แกงคั่วหมู แกงคั่วกุ้ง" วัฒนธรรมจากโปรตุเกส

อาหารนั้นชื่อว่า Molio ทางมะละกาล, ชวา ปรุงอาหารนี้ด้วยกะทิ + สัปปะรด + กุ้ง

http://bloggers.com/post/local-portuguese-cuisine-kumiria-di-portuges-di-malaca-cozinha-de-portuges-de-malaca-924566


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:42
สัปปะรด มาจากโปรตุเกส เอามาเผยแพร่ให้ชาวเอเซียปลูก

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/03/K10293201/K10293201.html


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 22:44
"ทาร์ตไข่"

ต่อมาไม่นานนี้ร้านขายไก่ทอดชื่อดังได้นำมาขายในประเทศ ทำให้วัยรุ่นกินกันมากขึ้น

ไม่ใช่วัยรุ่นก็ชอบรับประทาน

อร่อยดี

 ;D  ;D  ;D

วัยรุ่นคนนี้บอกว่า มันค่อนจะออกหวาน + มันเนยมากเกินไป  ;D ;D อยากไปลองกินแบบต้นฉบับที่โปรตุเกส เห็นได้ข่าวว่าเวลาซื้อต้องต่อคิวยาวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 22:47
ช่วยเก็บเอาเทมปุระของคุณไซอามีสมาเก็บไว้เป็นที่เป็นทาง

เพิ่งรู้ว่า นอกจากขนมแล้วยังมีของคาว ที่ญี่ปุ่นรับวัฒนธรรมมาคือ "เทมปุระ" ดัดแปลงโดยโปรตุเกส ...หันมามองเครื่องคาวของไทย คุณเพ็ญชมพูคิดออกไหมว่า วัฒนธรรมการทำอาหารของคาวที่โปรตุเกสส่งให้กับครัวไทย มีบ้างไหม  ???

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4360.0;attach=18715;image)

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 22:54
อาหารโปรตุเกสซึ่งเป็นที่มาของเทมปุระชื่อว่า Peixinhos da horta (http://www.google.co.th/search?hl=th&q=Peixinhos%20da%20horta&gbv=2&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&biw=1579&bih=685)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/ac/Peixinhos_da_horta.jpg/800px-Peixinhos_da_horta.jpg)

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 23:02
ขนมโปรตุเกศชนิดนี้ชื่อ Sonhos  เป็นแป้งปั้นใส่ไส้คัสตาร์ด
เหมือนขนมอะไรของไทยคะ  หน้าตาคุ้นๆ

(http://buttercupsweets.files.wordpress.com/2010/11/5-sonhos-little-dreams.jpg?w=448&h=336)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 10:32
คล้ายไข่หงส์ มั้งคะ
หรือ จะคล้าย ขนมหัวเราะ  ???


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 10:55
ขนมไข่หงส์ หรือเดิมเรียกว่าไข่เหี้ย  เป็นขนมประดิษฐ์โดยฝีมือเจ้าจอมแว่น หรือคุณเสือ พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑    ไม่น่าจะใช่ขนมจากโปรตุเกส
ขนมในรูปที่ดิฉันนำมา อาจคล้ายขนมอย่างอื่นของไทย ที่เป็นแป้งก้อนกลม มีไส้หวานคล้ายๆคัสตาร์ด    ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าขนมอะไร 


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 11:01
สองรูปนี้คือ  Caldo Verde  เป็นซุปผักของโปรตุเกศ   หน้าตาเหมือนแกงจืดของไทยจังเลย


(http://i349.photobucket.com/albums/q371/d-k-photos/caldo-verde-recipe14.jpg)

(http://i349.photobucket.com/albums/q371/d-k-photos/caldo-verde-recipe10.jpg)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 11:05

ขนมในรูปที่ดิฉันนำมา อาจคล้ายขนมอย่างอื่นของไทย ที่เป็นแป้งก้อนกลม มีไส้หวานคล้ายๆคัสตาร์ด    ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าขนมอะไร 

ขนมทองพลุ หรือเปล่าคะ คล้ายเอแคร์ มีทั้งใส้เค็ม และใส้หวานค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 11:08
นั่นซีคะ  อาจเหมือนทองพลุก็ได้    แบบเดียวกับเอแคลร์
ส่วนรูปนี้คือทาร์ตคัสตาร์ดของโปรตุเกศ

(http://farm3.static.flickr.com/2172/2389762112_ee718279e3.jpg)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 11:18
นี่คือ  Bacalhau ค่ะ  จานนี้เรียกว่า  bolinhos de bacalhau ทำด้วยปลาค้อดเค็ม ( salted cod) ปั้นเป็นก้อนทอด     เป็นอาหารดั้งเดิมของโปรตุเกศ   นิยมทำกันในโอกาสพิเศษเช่นในงานฉลองคริสต์มาส
หน้าตาเหมือนทอดมันปลากรายไหมคะ



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 11:22
ส่วนรูปนี้คือทาร์ตคัสตาร์ดของโปรตุเกศ

(http://farm3.static.flickr.com/2172/2389762112_ee718279e3.jpg)

"ทาร์ตไข่"

ต่อมาไม่นานนี้ร้านขายไก่ทอดชื่อดังได้นำมาขายในประเทศ ทำให้วัยรุ่นกินกันมากขึ้น

ไม่ใช่วัยรุ่นก็ชอบรับประทาน

อร่อยดี


 ;D  ;D  ;D

วัยรุ่นคนนี้บอกว่า มันค่อนจะออกหวาน + มันเนยมากเกินไป  ;D ;D อยากไปลองกินแบบต้นฉบับที่โปรตุเกส เห็นได้ข่าวว่าเวลาซื้อต้องต่อคิวยาวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 11:45
Flat chargrilled chook เขาบอกว่าเป็น Portuguese charcoal chicken

เหมือน ไก่ย่าง ทานคู่ส้มตำเลยค่ะ ฮิฮิ... ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 12:04
ส่วนจานนี้ชื่ออะไร อ่านไม่ออก หน้าตาคล้าย กะหรี่ปั๊บ หรือ ปั้นสิบ นะคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 12:19
กะหรี่ปั๊บ  ในภาษาไทย มาจาก  Karipap ในภาษามาเลย์    อังกฤษเรียกว่า curry puff   เป็นของว่างพื้นเมืองของมาเลย์และสิงคโปร์
ตามประวัติบอกว่าพวกโปรตุเกศนำเข้ามา ตั้งแต่ค.ศ. 1511  สมัยที่มีอำนาจเหนือมะละกา   ชื่อเดิมของมันคือ   Empanada หน้าตาเป็นงี้ค่ะ

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRxAHCZPk-bKE1h1nDzGZNCYVE7jadHKg8yH6EFiV5j__BXr1_IHw)

ขอสมนาคุณ  คุณ DD  ด้วย empanada ๑ จานพูนๆ

(http://empanadatime.com/images/empanadas%20criollas.jpg)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 12:27
^ ขอบพระคุณค่ะ  ;D
คิดถึง กะหรี่ปั๊บ มวกเหล็ก สระบุรีนะคะ แค่เดินชิม ก็อิ่มแล้ว ฮิฮิ....

เรียนถามอีกชื่อนะคะ ขนมมัสกอด ค่ะ

"มัสกอดกอดอย่างไร....................น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ.................ขนมนามนี้ยังแคลง"
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน)

ชื่อของขนม มีที่มาอย่างไรค่ะ
  หน้าตาเป็นอย่างไร และมาจากขนมอะไรของชาติไหนคะ 
บางที่บอกว่ามาจากโปรตุเกส บางที่บอกว่ามาจากสกอตต์แลนด์

ดูรูปจากเน็ต เหมือน cup cake มีหน้าด้วยค่ะ น่าจะเพี้ยนไปเยอะนะคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 12:48
มัสกอด ดิฉันเข้าใจว่ามาจากเมืองแขกค่ะ   รอคุณเพ็ญชมพูและคุณ siamese มาเฉลยดีกว่า
cup cake เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน  ไม่น่าจะมีในเมืองไทย


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 13:25
ไปเจอตำราทำขนมมัสกอด ในเว็บบอกว่าเป็นขนมจากโปรตุเกศ    ส่วนเรื่องที่ว่าขนมชนิดนี้มาจากสกอตแลนด์ คงเอามาจากชื่อ มั(สกอด) ละมัง

มัสกอด
ส่วนผสม: มะพร้าวขาว ๒ ขีด คั้นแล้วเคี่ยวให้เป็นขี้โล้ ๑/๔ ถ้วย, น้ำตาลทรายขาว ๑ ถ้วย, ไข่ไก่ ๓ ถ้วย, แป้งเค้ก ๒ ถ้วย, ไข่ขาวสำหรับแต่งหน้า ๒ ฟอง, น้ำมะนาว ๑ ช้อนชา, น้ำตาลทรายป่นละเอียด ๑ ถ้วย, สีผสมอาหารสีชมพู ฟ้า เขียว เหลือง
วิธีทำ: ตีไข่ให้ขึ้น แล้วค่อยๆ ใส่น้ำตาลลงไปเรื่อยๆ จนขึ้นฟู ใส่แป้งลงในไข่ที่ตีขึ้นแล้ว โดยใช้ไม้ตีไข่ คนตะล่อมไปทางเดียวกันให้เข้ากัน อย่าคนมากนักขนมจะยุบ ทาพิมพ์ด้วยน้ำมันขี้โล้ให้ทั่ว อบพิมพ์ให้ร้อน แล้วตักแป้งที่ผสมแล้วใส่ลงไป ๓/๔ พิมพ์ นำไปเข้าเตาอบ อบทั้งไฟบนและล่างใช้ไฟอ่อน ความร้อนประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ องศาฟาเรนไฮด์ ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที (สังเกตให้ขนมพอเป็นสีนวล) นำออกจากเตาแล้วรีบแกะออกจามพิมพ์ ถ้าทิ้งไว้ให้เย็นจะแคะยาก ตีไข่ขาวให้ฟู ใส่น้ำตาลทรายป่นลงไป ตีเรื่อยๆจนขึ้นฟูแข็ง แบ่งใส่สีต่างๆตามต้องการ นำไปทาหน้าขนมจนทั่ว อบเฉพาะไฟบน ๓-๕ นาทีหรือจนกว่าหน้าขนมจะเป็นสีนวล จึงใช้ได้  ถ้าจะรับประทานกับมะพร้าวทึนทึก ต้องขูดมะพร้าวหยาบๆ แล้วโรยลงไปบนไข่ขาวที่ทาหน้าขนมแล้ว จึงนำไปอบ พอเหลืองนวลเช่นกัน

http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=9651.0

ดูจากวิธีทำ  เหมือนทำขนมเค้ก มีหน้าเค้กเป็นน้ำตาลไอซิ่งด้วย     แต่มะพร้าวขูดไม่น่าจะเป็นของโปรตุเกศ  น่าจะเป็นของไทยนี่เอง


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 13:46
มัสกอด ดิฉันเข้าใจว่ามาจากเมืองแขกค่ะ   รอคุณเพ็ญชมพูและคุณ siamese มาเฉลยดีกว่า

คุณเทาชมพูเข้าใจถูกต้องแล้ว

จากบทความเรื่อง ตามรอย สำรับแขกคลองบางหลวง  (http://www.sarakadee.com/feature/2001/04/klong_bang-luang.htm) โดย ธีรนันท์ ช่วงพิชิต นิตยสารสารคดี  ฉบับที่ ๑๙๔ เดือน เมษายน ๒๕๔๔

มัศกอดกอดอย่างไร     น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ    ขนมนามนี้ยังแคลง

อ่านกาพย์บทนี้จบแล้ว อดรู้สึกคล้อยตามไม่ได้ โดยเฉพาะวรรคสุดท้ายที่ว่า "ขนมนามนี้ยังแคลง" ด้วยนึกสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมขนมชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "มัศกอด" เมื่อสอบถามเรื่องนี้ กับคุณย่าคุณยาย ท่านเล่าว่า "มัศกอด" ก็คือ "ฮะหรั่ว" ชนิดหนึ่ง นอกจากฮะหรั่วขาว และฮะหรั่วแดงที่เล่ามาแล้ว ยังมีฮะหรั่วอีกประเภทหนึ่ง ที่เวลากวน ใช้น้ำมันเนยแทนกะทิ กวนค่อนข้างยาก เมื่อจวนสุกจะใส่ "มะด่ำ" หรือเมล็ดอัลมอนด์บุบ ปนไปในเนื้อขนมด้วย รสชาติจะหอมเนยเป็นพิเศษ เรียกฮะหรั่วชนิดนี้ว่า "ฮะหรั่วเนย" หรือ "ฮะหรั่วมัศกอด" บางคนเรียกว่า "ฮะหรั่วมัสกัด"

ชื่อ มัศกอด นั้น มาจากชื่อเมือง มัสกัต (Muscat) เมืองท่าบริเวณปากอ่าวโอมาน ในอดีต หากจะเดินทางจากประเทศเปอร์เชีย (อิหร่านในปัจจุบัน) จะต้องเดินทางโดยทางเรือ ผ่านอ่าวเปอร์เชียออกอ่าวโอมาน จอดเรือพักที่เมืองมัสกัต แล้วจึงออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

ขนมนี้ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็ตาม เสน่ห์ของมันอยู่ที่เวลากิน จะต้องห่อด้วยแผ่นลุดตี่ ซึ่งยังเล่าค้างอยู่อีกชนิดหนึ่ง ที่ต้องกินควบกับฮะหรั่ว

"ลุดตี่" ที่ว่านี้ทำจากแป้งข้าวเจ้าเช่นกัน โดยนำน้ำแป้งมาเกรอะ หรือทับน้ำออกให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง นำมานวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำก้อนแป้งนี้ไปต้มในน้ำเดือดพอสุก จากนั้นนำมานวดอีกครั้ง จนเนื้อแป้งเนียนนุ่ม แบ่งแป้งออกเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดพอเหมาะ แล้วบดด้วยไม้บดแป้ง ที่ทำจากปล้องไม้ไผ่สั้น ๆ แผ่เป็นแผ่นกลม สมัยปู่ย่าตายาย จะแผ่แป้งบนก้นขันลงหินที่คว่ำอยู่ รองแป้งด้วยใบตอง คลึงแผ่แป้งจนได้ขนาดเท่ากับก้นขันลงหิน แล้วจึงนำไปปิ้ง บนกระทะร้อนจนสุกเสมอกัน เราเรียกแผ่นแป้งชนิดนี้ว่า "ลุดตี่" นำมาห่อฮะหรั่ว ก็จะได้ขนมที่รสกลมกล่อมไม่หวานเกินไป

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 13:47
ขอบคุณค่ะ  ;D
ตาม link ไปอ่านมาแล้วค่ะ มีอาหารตามพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน อีกเพียบเลยค่ะ ใครสนใจลองตามไปอ่านดูนะคะ

ขนม มัสกอด มีปรากฏในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
แสดงว่า เตาอบ ที่เราพูดถึงกันในกระทู้ของเสวยในรัชกาลที่ 5 ก็มีมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 2 เหรอคะ ???

เรียนถามอีกนิดค่ะ ทำไมอาจารย์เขียนโปรตุเกส ด้วย ศ คะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 13:57
เมื่อสอบถามเรื่องนี้ กับคุณย่าคุณยาย ท่านเล่าว่า "มัศกอด" ก็คือ "ฮะหรั่ว" ชนิดหนึ่ง นอกจากฮะหรั่วขาว และฮะหรั่วแดงที่เล่ามาแล้ว ยังมีฮะหรั่วอีกประเภทหนึ่ง ที่เวลากวน ใช้น้ำมันเนยแทนกะทิ กวนค่อนข้างยาก เมื่อจวนสุกจะใส่ "มะด่ำ" หรือเมล็ดอัลมอนด์บุบ ปนไปในเนื้อขนมด้วย รสชาติจะหอมเนยเป็นพิเศษ เรียกฮะหรั่วชนิดนี้ว่า "ฮะหรั่วเนย" หรือ "ฮะหรั่วมัศกอด" บางคนเรียกว่า "ฮะหรั่วมัสกัด"

แล้วฮะหรั่วคืออะไร

ฮะหรั่ว คือขนมกวนทุก ๆ ชนิดของชาวเปอร์เชีย คล้าย ๆ กับแยม (jam) ของฝรั่ง ถ้าจะให้ใกล้ตัวสักหน่อย ก็จะต้องบอกว่า ฮะหรั่วที่กำลังพูดถึงนี้ คือต้นตำรับของขนม "อาลัว" ที่พวกสาว ๆ ชอบซื้อกินกันนั่นเอง

ฮะหรั่วทำจากแป้งข้าวเจ้า ที่ได้จากการนำข้าวสารไปแช่ น้ำที่เจือผสมเวลาโม่ ใช้น้ำอบดอกมะลิ ดอกกระดังงา และควันจากเทียนอบ เมื่อได้น้ำแป้งแล้ว ก็นำมากวนกับกะทิ และน้ำตาลในกระทะทองเหลือง ถ้าใช้น้ำตาลทรายขาวผสม ก็จะต้องใช้กะทิคั้นจากมะพร้าวขาว ที่ปอกผิวแล้ว เรียกว่า "ฮะหรั่วขาว" แต่ถ้าใช้น้ำตาลปึกกวน จะใช้กะทิจากมะพร้าวที่ไม่ได้ปอกผิว สีสันที่ได้จะออกไปทางสีน้ำตาล เรียกว่า "ฮะหรั่วแดง" เวลาทำบุญ ต้องทำทั้งสองชนิดคู่กัน

ฮะหรั่วทั้งสองแบบ บางทีก็เรียกรวมว่า "ฮะหรั่วกะทิ" เวลากวนจะใช้ไฟไม่แรงมาก ไม่เช่นนั้นขนมจะติดกระทะและไหม้ กวนจนข้นขึ้นมันเงา แป้งกับกะทิจับตัวเป็นลูก เทลงถาดขณะร้อน ๆ พอขนมเย็นตัวจะนุ่มตึงมือ ตัดเป็นชิ้นพอคำ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ฮะหรั่วกะทิไม่หวานแหลม แต่เน้นให้มีกลิ่นหอมนำ หวานตาม ที่สำคัญขนมจะต้องนุ่ม

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 14:03
ภาพขนม อาลัว ที่วางขายอยู่ในปัจจุบันค่ะ
ข้างนอกกรอบๆ ข้างในเป็นแป้งเละๆ หวานๆ ค่ะ

ลุดตี่ น่าจะมาจากคำว่า โรตี นะคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 14:30
ขอบคุณค่ะ  ;D

เรียนถามอีกนิดค่ะ ทำไมอาจารย์เขียนโปรตุเกส ด้วย ศ คะ

ไม่ได้เช็คว่ารอยอินให้สะกด ส หรือ ศ ค่ะ  เข้าใจว่าสะกด ศ   เหมือนคำว่า พุทธเกศ   ซึ่งเป็นคำที่คนไทยเรียกคนโปรตุเกส
เพิ่งไปเช็ค  รอยอินให้สะกด ส


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 14:33
มัสกอด ดิฉันเข้าใจว่ามาจากเมืองแขกค่ะ   รอคุณเพ็ญชมพูและคุณ siamese มาเฉลยดีกว่า
cup cake เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน  ไม่น่าจะมีในเมืองไทย

เห็นคุณเพ็ญชมพูได้อธิบายหมดแล้ว มาพร้อมด้วยวิธีการกิน ซึ่งอยากจะกินมาก ไม่รู้ว่าที่ใดมีขายบ้างหนอ  ???

ถ้าบอกว่ากินกับ "ลุดตี่" ก็เป็นแบบโรตีใช่ไหม คงไม่ใช่แบบ "นาน" แน่เลย

จัดสำรับคาว - หวานกันไปมา เริ่มเห็นว่า เรารับวัฒนธรรมหลายจาน หลายแกงนะครับ นี่ขนาดไม่รวม จีน เปอร์เซีย มอญ พม่า


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 14:37
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเขียนถึงของกินของโปรตุเกศไว้ ดังนี้

" ผู้เขียนเรื่องนี้เคยกินกับข้าวโปรตุเกส  เขายกเนื้อย่างมาให้กิน   ในจานมีอะไรเหลืองๆกองอยู่    ใส่ปากเข้าไปก็ได้ความว่าเป็นฝอยทองเรานี่เอง    ครั้นเอะอะถามขึ้นมา เขาก็ตอบว่า
  โปรตุเกสกินเนื้อย่างกับฝอยทองมากี่พันปีแล้วก็ไม่รู้
  ต้องขอร้องให้เขาแยกกันออกเป็นพิเศษ      เพราะฝอยทองนั้นคนไทยกินคนละทีกับของคาว     กินด้วยกันรู้สึกเหมือนฉันสำรวมไม่เข้าทีนัก   สังขยาก็อีกอย่างหนึ่งที่เห็นจะมาจากฝรั่ง    กะละแมนั้นมาจากขนมฝรั่งที่เรียกกันว่าคาราเมลแน่     ส่วนขนมบ้าบิ่นก็มาจากขนมโปรตุเกสที่เรียกว่า "บาร์ บิลล์" เช่นกัน   ขนมโคมนัส คือขนมโคโคนัต      ส่วนทองพลุนั้นก็มาจากเอแคลร์เป็นแน่"

ฝากการบ้านไว้ให้คุณ siamese  จะได้ไม่อยู่ว่าง  ที่ข้ออื่นคุณเพ็ญชมพูทำไปหมดแล้ว     ขนมโคมนัสคืออะไรคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 14:50
ขนมโคมนัส หาไม่เจอค่ะ เจอแต่ขนมโสมนัส ค่ะ น่าจะอันเดียวกันเพราะทำด้วยมะพร้าวค่ะ

ท่านsiamese คงจะอ่านรามเกียรติ์อยู่มังคะ หนูดีดี นำเสนอขนมโสมนัส แทนนะคะ
จาก http://forum.onnud20.com/forum/viewthread.php?tid=21622 ค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 14:54
โสมนัส ร้อนๆ ค่ะ
ดูจากวิธีทำและส่วนประกอบแล้ว คล้าย ขนม เมอแรงค์ (Meringue) นะคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 15:04
ภาพบน ขนมโสมนัส ค่ะ
ภาพล่าง Coconut Meringues ค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 15:07
ฝากการบ้านไว้ให้คุณ siamese  จะได้ไม่อยู่ว่าง  ที่ข้ออื่นคุณเพ็ญชมพูทำไปหมดแล้ว     ขนมโคมนัสคืออะไรคะ

ผมก็ตีวุ่นดังเล่นลูกฆ้องวง  ;) แวะไปตองอูขุดคลอง กลับไปหาโคลงรามเกียรติ์ เสร็จแล้วไปปลูกต้นไม้สักหน่อย นี่ก็กำลังหาขนมจากชุมชนกุฎีจีนมาเสริมทัพให้ขอรับ  ;)

ขนมโคโคนัน ต้องมีมะพร้าวเป็นพื้นอย่างที่คุณดีดี กล่าวไว้


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 15:08
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเขียนถึงของกินของโปรตุเกศไว้ ดังนี้

" ผู้เขียนเรื่องนี้เคยกินกับข้าวโปรตุเกส  เขายกเนื้อย่างมาให้กิน   ในจานมีอะไรเหลืองๆกองอยู่    ใส่ปากเข้าไปก็ได้ความว่าเป็นฝอยทองเรานี่เอง    ครั้นเอะอะถามขึ้นมา เขาก็ตอบว่า
  โปรตุเกสกินเนื้อย่างกับฝอยทองมากี่พันปีแล้วก็ไม่รู้
  ต้องขอร้องให้เขาแยกกันออกเป็นพิเศษ      เพราะฝอยทองนั้นคนไทยกินคนละทีกับของคาว     กินด้วยกันรู้สึกเหมือนฉันสำรวมไม่เข้าทีนัก   สังขยาก็อีกอย่างหนึ่งที่เห็นจะมาจากฝรั่ง    กะละแมนั้นมาจากขนมฝรั่งที่เรียกกันว่าคาราเมลแน่     ส่วนขนมบ้าบิ่นก็มาจากขนมโปรตุเกสที่เรียกว่า "บาร์ บิลล์" เช่นกัน    ขนมโคมนัส คือขนมโคโคนัต      ส่วนทองพลุนั้นก็มาจากเอแคลร์เป็นแน่"

ส่วนขนมบ้าบิ่นก็มาจากขนมโปรตุเกสที่เรียกว่า "บาร์ บิลล์" เช่นกัน 

ขออนุญาตแก้ไขความเข้าใจผิด

ขนมไทย ที่มาจากขนมโปรตุเกส

(http://nongza.exteen.com/images/sweet/p7.jpg)

ภาพจาก http://nongza.exteen.com/20090520/entry/page/2


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 15:12
^
พวกชุมชนคนไทยเชื้อสายโปรตุเกส เรียกบ้าบิ่น ซึ่งเพี้ยนมาจาก "ขนมไบเบิ้ล" ครับ ;)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 15:17
"ขนมไข่ - ขนมฝรั่งกุฎจีน"

ทั้งสองขนมนี้ ไม่เหมือนกันนะครับ แยกให้ดีๆ แต่ที่เหมือนคือ มีการนำแป้ง + ไข่ เหมือนกัน แต่อัตราส่วนของแป้งต่างกัน

ขนมไข่ - ที่จริงแล้วทางโปรตุเกสทำขึ้นในช่วงอีสเตอร์ ทำกินเองที่บ้าน เรียกว่า "Pao De Lo" (เปา ดือ ลอ) หน้าไม่เรียบและไม่แห้งกรอบ เห็นแล้วเหมือนเค้กเมืองตรังไหม  ;) ที่ทำตรงกลางกลวงเนื่องจากต้องการให้ตรงกลางสุก

ส่วนภาพล่างเป็น เปา ดือ ลอ แบบต้นฉบับที่ทำกันในคอนแวนต์ จะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 15:21
^
พวกชุมชนคนไทยเชื้อสายโปรตุเกส เรียกบ้าบิ่น ซึ่งเพี้ยนมาจาก "ขนมไบเบิ้ล" ครับ   ;)


"ขนมแม่เอ้ย" หนังสือรวบรวมสาระเรื่องราวขนม โดย ส.พลายน้อย อธิบายว่า ขนมนี้เมื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยมีคนเขียนไปถาม ก.ศ.ร.กุหลาบ เอดิเตอร์หนังสือสยามสมัยประเภท ว่าทำไมจึงเรียกขนมชนิดนี้ว่าขนมบ้าบิ่น ก.ศ.ร.กุหลาบตอบว่าที่เรียกว่าอย่างนี้ เพราะเมื่อก่อนนั้น "ป้าบิ๋น" แกเป็นคนทำขึ้น เลยเรียกว่า "ขนมป้าบิ๋น" ต่อมาเลยเรียกเพี้ยนเป็น "ขนมบ้าบิ่น"

ขณะหนังสือซองคำถามของสารคดี อธิบายความโดยนำคำสัมภาษณ์ คุณยายเป้า (ประสาทพร) มณีประสิทธิ์ ซึ่งเป็นชาวกุฎีจีน ชุมชนนานาชาติย่านฝั่งธนบุรี (คำว่า กุฎี หรือ กุฏิ หมายถึงเรือนที่อยู่อาศัยของนักบวช ส่วนที่คนทั่วไปเรียกกันว่า กุฎีจีน จริงแล้วคือวัดซางตาครู้ส เป็นชุมชนที่สืบเชื้อสายมาจากชาวโปรตุเกส) คุณยายเป้ายืนยันว่าบ้าบิ่นเป็นขนมที่คิดขึ้นในเมืองไทย เกิดมีขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ท่านว่าญาติผู้ใหญ่ของมารดาชื่อ "แม่บิ่น" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำขนมนี้ขึ้น แต่เดิมคงเรียกว่า "ขนมป้าบิ่น" แต่แล้วอย่างไรกลายเป็นขนมบ้าบิ่นไปก็ไม่ทราบ อาจเป็นเพราะคนถนัดปากกับคำบ้าบิ่นมากกว่า

ที่มาของชื่อ "บ้าบิ่น" อีกสายมาจาก ไพโรจน์ บุญผูก นักเขียนสารคดี ซึ่งให้ความเห็นแย้งว่า ขนมบ้าบิ่นที่เคยได้ยินคนพูดว่าชื่อมาจากคุณป้าบิ่นต้นตำรับ ฟังดูแล้วเป็นคำอธิบายที่ง่ายเกินไป ไม่ค่อยอยากจะเชื่อ เพราะดูจากลักษณะของขนมบ้าบิ่นแล้วน่าจะได้มาจากต่างประเทศ จึงค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต พบว่าที่โปรตุเกสมีขนมชื่อ "เกลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา" (Queijadas de Coimbra) ซึ่งใช้เนยแข็ง ส่วนบ้านเราใช้มะพร้าวแทน

ชื่อ บ้าบิ่น จึงน่าจะมาจากคำว่า bra อันเป็นคำท้ายสุดของ Queijadas de Coimbra ไทยคงจะเรียกสั้นๆ ว่า ขนมบ้า แล้วก็เติม บิ่น เข้าไป กลายเป็นชื่อขนมบ้าบิ่น มาจนทุกวันนี้

และในงาน นิทรรศการขนมนานาชาติ จัดโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2541 ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน ขนมหม้อแกง ขนมไข่ กะหรี่ปั๊บ และมีหลักฐานพบว่าในโปรตุเกส ขนมที่ชื่อ ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxos das caldas) คือต้นตำรับทองหยิบ ขนม Fios de Ovos คือฝอยทอง และขนม เกลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา เป็นต้นตำรับขนมบ้าบิ่น

ที่มา:รู้ไปโม้ด มติชน


ที่มาของชื่อ "ขนมบ้าบิ่น" มีหลายเรื่องเล่า

คุณเชื่อเรื่องไหน

 ;)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 15:31
ขนมฝรั่งกุฎีจีน

มาจากขนมไข่ที่อบจนกรอบ วิธีการอบด้วยความร้อนที่มีการอบด้วยไฟบน และไฟล่าง เหมือนของขนมดั้งเดิมทุกประการ เพียงแต่ไทยประยุกต์เพิ่มผลไม้อบแห้งเข้าไป ของต้นฉบับจะเป็นหน้าเรียบๆ ที่เรียกว่า Que Que (กือ กือ)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 15:41
ขนมกุสรังและขนมกวยตัส

“ขนมในช่วงเทศกาลคริสต์มาสจะมีขนมทอด ซึ่งจะมีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้ง ไข่ น้ำตาล นม ส้ม อบเชย ซึ่งเป็นส่วนผสมที่หาได้ง่ายทั่วไปในครัวเรือน และมีขนมลักษณะเดียวกับขนมกุสรัง คือนำแป้งมาตัดเป็นเส้นๆ แล้วนำมาจับเป็นรูปกลมๆ คล้ายดอกไม้ เป็นขนมในเทศกาลคริสต์มาสเช่นเดียวกัน ชื่อขนมภาษาโปรตุเกสเรียกว่า Filhos (ฟีลยอช) การทอดจะทอดในน้ำมันมะกอก แล้วโรยน้ำตาล (Modesto 1999 : 263) ซึ่งชุมชนกุฎีจีนคงจะดัดแปลงขนมกุสรังมาจากขนมชนิดนี้”

“สำหรับขนมกวยตัส นั้นไม่ปรากฏในเอกสารของโปรตุเกส เข้าใจว่าจะเป็นขนมลูกผสมของอังกฤษกับจีน ไม่ใช่ขนมโปรตุเกสดั้งเดิม และเป็นขนมที่ไม่มีไข่เป็นส่วนผสมด้วย”


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 15:49
ขนม Filhos (ฟีลยอช)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 25 เม.ย. 11, 15:49
ของดีชุมชนกุฎีจีน ค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 17:08
ฝอยทองของโปรตุเกสนอกจากกินเป็นของหวาน ประดับหน้าเค้กแล้ว ยังกินเป็นส่วนประกอบของคาว  อย่างที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าไว้ในค.ห.ก่อนหน้านี้    โปรตุเกสเขาจัดฝอยทองและผลไม้กระป๋องให้กินในจานเดียวกับไก่งวงวันคริสต์มาส     ก็เลยไปหารูปมาให้ดูกัน

เนื้อสัตว์ที่กินแกล้มกับอะไรหวานๆลงกระเพาะไปพร้อมกันแบบนี้   ทำให้นึกถึงไก่งวงคริสต์มาสกินกับเยลลี่แครนเบอรี่   และเนื้อแกะกินกับเยลลี่มิ้นต์สีเขียว   ลิ้นคนไทยกินไม่อร่อยเท่าไร   เพราะอาหารไทยเรา ให้กินของคาวจบก่อน  แล้วค่อยกินของหวานตอนท้าย    ไม่เอามาปนกันอยู่ในปาก    ถ้าไม่เชื่อลองสั่งไก่ย่างโคราชมากินพร้อมกับทองหยิบดูก็ได้ค่ะ 


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 17:25
ส่วนจานนี้เป็นปลาทูน่า กับมะเขือเทศและฝอยทอง  อาหารโปรตุเกสอีกเหมือนกัน


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 19:34
รูปนี้ไม่เกี่ยวกับอาหารไทยนะคะ     แต่เอามาฝาก เพราะถือว่ายังอยู่ในหัวข้อกระทู้   
หลังจากค้นหาอาหารโปรตุเกสอยู่พักใหญ่   ก็พบว่าสเต๊กเนื้อวัวของโปรตุเกส เขากินพร้อมกับไข่ดาว


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 19:47
เนื้อวัวสำหรับทำสเต๊กของโปรตุเกส เรียกว่า bife   จานนี้ชื่อ  Bife de Chorizo   ดูไม่ออกว่าที่ราดอยู่บนสเต๊กคือถั่วหรืออะไร แต่หน้าตามันน่ากินดี  ก็เลยเอามาฝากคุณดีดี คุณ siamese และคุณเพ็ญชมพู  ที่ช่วยกันลากยาวกระทู้นี้มาได้ถึง 60


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 20:45
เนื้อวัวสำหรับทำสเต๊กของโปรตุเกส เรียกว่า bife   จานนี้ชื่อ  Bife de Chorizo   ดูไม่ออกว่าที่ราดอยู่บนสเต๊กคือถั่วหรืออะไร แต่หน้าตามันน่ากินดี  ก็เลยเอามาฝากคุณดีดี คุณ siamese และคุณเพ็ญชมพู  ที่ช่วยกันลากยาวกระทู้นี้มาได้ถึง 60

ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู  ที่เห็นราดบนเนื้อ ผมเห็นเป็น "เห็ดแชมปิฌอง" ครับ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 20:59
ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู  ที่เห็นราดบนเนื้อ ผมเห็นเป็น "เห็ดแชมปิฌอง" ครับ

น่าจะใช่ค่ะ  รูปนี้สเต๊กกับเห็ด champignon


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 เม.ย. 11, 21:16
เรียนสมาชิกเรือนไทย

               ข้าพเจ้าได้เห็นภาพกะหรี่ปั๊บแล้วเกิดความสงสัยอีกนิดหน่อย โปรดถือว่ายังอยู่ในหัวข้อของอาหารโปรตุเกสก่อนละกัน

               ในเมืองจีนจะมีขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า "โหย่ว เจียว" (油角: you jiao)แปลว่า "เขาน้ำมัน" เขาในที่นี้หมายถึงเขาสัตว์ไม่ใช่ภูเขา จะเป็นขนมที่จะทำกินกันในช่วงตรุษจีนของแถบกวางตุ้ง (广东:guang dong) ไม่ใช่ของทำไหว้เจ้า แต่เป็นของทำกินเล่นช่วงตรุษจีน ใช้ส่งเป็นของขวัญให้ปวงญาติสนิทมิตรสหาย หรือแขกที่มาเยี่ยมเยือน เป็นขนมโบราณดั้งเดิมในแถบกวางตุ้งแ้ล้ว (ซึ่งในที่นี้ก็รวมไปถึงเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งบรรพชนชาวจีนในไทยส่วนมากจากมา)

               ขนมชนิดนี้ในกวางตุ้งช่วงตรุษจีนจะยากดีมีจนอย่างไรก็ต้องทำ เพราะว่าถือเป็นขนมมงคล รูปของขนมจะแทนสัญลักษณ์ของกระเป๋าเงิน ส่วนน้ำมันที่ใช้ทอดขนมในช่วงตรุษจีนนี้จะเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรือง เฟื่องฟู ชุ่มโชกไปด้วยโชคลาภ ดั่งหม้อน้ำมันเดือดๆที่ใช้ทอดขนม (ฟังแล้วดูน่าตกใจดี)

              รสชาติขนมดังกล่าวจะมีรสหวาน ตัวแป้งประกอบด้วยแป้งสาลี ไข่ไก่ น้ำมัน น้ำตาล และน้ำเปล่า น้ำส่วนผสมทั้งหมดมานวดผสมกันจนเป็นก้อน (ต้องทิ้งไว้ ๓๐ นาทีก่อนจึงจะนำมาห่อได้) ตัวไส้จะประกอบด้วย ถั่วลิสงบด งาคั่วหอม น้ำตาล และมะพร้าวขูด วิธีทำคือเอาส่วนผสมทั้งหมดมาผัดรวมกันจนเข้ากันดี

             ที่มามาจากเว็ปไซด์ต่อไปนี้ http://baike.baidu.com/view/4428928.html?wtp=tt#sub4428928

             ฟังไปคล้ายปั้นสิบในไทยอย่างไรก็ไม่รู้  แต่ไม่รู้ว่าจะคล้ายกับกระหรี่ปั๊บหรือเปล่า

             ขนมดังกล่าวนี้ปรากฎอีกในมาเลเซียโดยใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในช่วงตรุษจีน ซึ่งต่างจากเมืองจีนเพราะนี้ไม่ใช่ขนมไหว้เจ้า แต่เป็นขนมทำกินช่วงตรุษจีน

             ข้อมูลขนมไหว้เจ้าของชาวจีนในมาเลเซียมาจากเว็ปไซด์ดังนี้ http://www.got1mag.com/blogs/kimcherng.php/2007/02/24/aooa_ya_es_c

             ที่ยกขึ้นมาเพราะส่งสัยว่าตกลงกระหรี่ปั๊บในไทยนี้เป็นอิทธิพลจากจีน หรือโปรตุเกส

             หรือว่าโหย่วเจียวคืออาหารจีนที่ส่งอิทธิพลมาเป็นปั้นขลิบแบบไทย

             ส่วนกระหรี่ปั๊บเป็นของโปรตุเกสส่งอิทธิพลมายังไทย

             สวัสดี 
           


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 เม.ย. 11, 21:18
รูปต่อไปนี้เป็นโหย่วเจียวของจีน

ที่มาคือเว็ปไซด์ http://baike.baidu.com/view/4428928.html?wtp=tt#sub4428928


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 เม.ย. 11, 21:21
ส่วนนี้คือรูปโหย่วเจียวในมาเลย์เซีย

ที่มามาจากเว็ปไซด์ดังนี้ http://baike.baidu.com/view/4428928.html?wtp=tt#sub4428928


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 25 เม.ย. 11, 21:25
เนื้อวัวสำหรับทำสเต๊กของโปรตุเกส เรียกว่า bife   จานนี้ชื่อ  Bife de Chorizo   ดูไม่ออกว่าที่ราดอยู่บนสเต๊กคือถั่วหรืออะไร แต่หน้าตามันน่ากินดี  ก็เลยเอามาฝากคุณดีดี คุณ siamese และคุณเพ็ญชมพู  ที่ช่วยกันลากยาวกระทู้นี้มาได้ถึง 60
หน้าตาดีนะครับ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 25 เม.ย. 11, 21:27
ทั้งนี้ทั้งนั้น...พอจะมีอะไรคล้ายๆกับขนมสัมปันนีไหมครับ

สงสัยมานานแล้ว

รบกวนทุกๆท่านด้วย


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 21:36

หน้าตาดีนะครับ

ขอต้อนรับเข้าร่วมวงของกินโปรตุเกสค่ะ อาจารย์
จนบัดนี้ยังไม่เจอขนมสัมปันนีเลยค่ะ  


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 21:41
เนื้อวัวสำหรับทำสเต๊กของโปรตุเกส เรียกว่า bife   จานนี้ชื่อ  Bife de Chorizo   ดูไม่ออกว่าที่ราดอยู่บนสเต๊กคือถั่วหรืออะไร แต่หน้าตามันน่ากินดี  ก็เลยเอามาฝากคุณดีดี คุณ siamese และคุณเพ็ญชมพู  ที่ช่วยกันลากยาวกระทู้นี้มาได้ถึง 60

เพิ่งรับประทานอาหารเย็นมา

ขออนุญาตเก็บเอาไว้รับประทานเป็นมื้อกลางวันพรุ่งนี้ก็แล้วกัน

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 เม.ย. 11, 22:01
แถมของหวานให้ด้วย      จานนี้ชื่อ Sericá  เขาบอกว่าเป็นของหวานดั้งเดิมของโปรตุเกส ทำด้วยไข่  น้ำตาล นมและอบเชย(cinnamon)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 07:14
กระหรี่ปั๋บจากอเมริกาใต้ รับมาจากสเปน และโปรตุเกส

ขนมเอ็มปานาดา
คือขนมสเปนและโปรตุเกสที่ต่อมาถูกพัฒนามาเป็น Curry puff (เคอร์รี่ พัฟ) หรือกะหรี่พัฟใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คำว่ากะหรี่พัฟเพี้ยนมาจากคำว่า เคอร์รี่พัฟ) เอ็มปานาดาของชิลีสามารถมีไว้ได้หลากหลายไส้ โดยพื้นฐานจะมีอยู่ 2 ไส้ คือ 1. ปิโน (คล้ายเนื้อบดละเอียด) 2. อาหารทะเลต่างๆ

http://historyclubsite.forumotion.com/t56-topic


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 07:33
Fios de Ovos e Trouxas de Ovos

ขนมนี้ตระกูลเดียวกับทองหยิบ ทองหยอด ทำจากไข่แดงหยอดลงในน้ำเชื่อม แต่ขนมนี้บางกว่าแล้วม้วนห่อ โรยด้วยผลไม้แห้ง



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 07:37
การทำฝอยทองในบ้านเรา ใช้ใบตองม้วนเป็นรูปกรวย หยอดน้ำไข่แดงใส่กรวยแล้วโรยลงในกะทะทองเหลืองที่มีน้ำตาลเชื่อม ขนาดเส้นฝอยทองใหญ่ เล็ก ขึ้นกับการม้วนกรวยใบตอง แต่ที่โปรตุเกสเขาใส่ภาชนะทรงนี้ แล้วหยอดเลยครับ (รูปร่างเหมือนแม่วัวรีดนม)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 07:58
ขนม Papo-de-Anjo ของผสมเหมือนทองหยอด แต่ต้นฉบับมีแป้งเยอะกว่ามาก

Ingredientes:

6 xícaras de açúcar น้ำตาล (ส่วนของตัวขนม)

4 xícaras de água (น้ำเปล่า)

1 colher (de chá) de essência de baunilha (ผงฟู)

1 colher (de chá) de fermento em pó 24 gemas (แป้ง)


ส่วนของน้ำเชื่อม
1k de açúcar (น้ำตาล)

24 ovos (ไข่แดง)

Essência de baunilha (ผงฟู)





กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 08:26
ได้อ่านบทความเรื่อง บทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมการกินอยู่ของชุมชนชาวโปรตุเกสในประวัติศาสตร์ไทย  (http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/02/blog-post.html) ของคุณพิทยะ ศรีวัฒนสาร พูดถึงเรื่อง ขนมไทย-ขนมโปรตุเกส น่าสนใจดี

ขออนุญาตยกมาให้อ่าน เพื่อจะได้ย่อยวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อไป   ;D

ดังจะอธิบายได้จากองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ใน "นิทรรศการขนมนานาชาติ" ซึ่งจัดโดยภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน หม้อแกง ขนมไข่ กะหรี่ปั๊ป (ซึ่งชุมชนย่านโบสถ์คอนเซ็บชัน สามเสนยังทำอยู่แต่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขนมปะแตน) มีคำอธิบายถึงแหล่งกำเนิดของขนมบางอย่าง เช่น ในประเทศโปรตุเกส ขนม ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxas das caldas) เป็นต้นตำหรับของขนมทองหยิบ ขนมเกวชาดาช ดึ กูอิงบรา (Queljadas de coimbra) เป็นต้นตำหรับของขนมบ้าบิ่นของไทย ซึ่งในโปรตุเกสจะมีเนยแข็งเป็นส่วนผสมแต่ในไทยใช้มะพร้าวแทน ลูกชุบ(Massapães) เป็นขนมประจำท้องถิ่นของแคว้นอัลการ์ฟ (Algarve) ในโปรตุเกส มีเม็ดอัลมอนด์เป็นส่วนผสมสำคัญแต่ในไทยใช้ถั่วเขียวแทน ผู้รู้กล่าวว่าในอดีตบาทหลวงและแม่ชีในประเทศโปรตุเกส ได้รับการยอมรับว่าเป็นเจ้าตำหรับของการประดิษฐ์คิดค้น และมีการทำขนมหวานชนิดใหม่ ๆ ออกมาเผยแพร่เสมอ การชี้ให้เห็นถิ่นกำเนิดของขนมโปรตุเกส ที่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองพระนครศรีอยุธยา ทำให้ทราบว่าสมาชิกของชุมชนโปรตุเกสส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์กับบรรพบุรุษ ซึ่งเดินทางมาจากอัลการ์ฟ และกูอิงบราเป็นต้น

ในสมัยอยุธยาหลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวถึงตลาดขายขนมชนิดต่าง ๆ อาทิ ถนนย่านป่าขนม ถนนย่านขนมจีน ย่านตำบลหัวสาระพา และถนนหน้าวัดมหาธาตุ ถนนย่านขนมนั้น

" …ชาวบ้านย่านนั้นทำขนมขาย แลนั่งร้านขายขนม ชะมดกงเกวียน สามเกลอ หินฝนทอง ขนมกรุบ ขนมพิมพ์ถั่ว ขนมสำปะนี แลขนมแห้งต่าง ๆ ชื่อตลาดป่าขนม"

ส่วนถนนย่านขนมจีน มีหลักฐานกล่าวว่า

" …มีร้านโรงจีน ทำขนมเปีย ขนมโก๋ เครื่องจันอับ ขนมจีนแห้ง ขายเป็นร้านชำชื่อตลาดขนมจีน…"

ย่านตำบลหัวสาระพา มีโรงทำเครื่องจันอับและขนมแห้งของพ่อค้าจีน ส่วนถนนหน้าวัดมหาธาตุมีพ่อค้าจีนมาคอยเอาข้าวพอง ตังเมมาแลกของต่าง ๆ นอกจกขนมเหล่านี้แล้ว ยังมีการทำขนมลอดช่องส่งขายให้แก่ชาวเมืองบริเวณบ้านกวนลอดช่องอันเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแขกตานี หรือแขกมุสลิมจากเมืองปัตตานี จนถึงกับทำให้ย่านนี้ได้ชื่อว่าบ้านกวนลอดช่อง หรือบ้านลอดช่องมาจนถึงปัจจุบัน

เป็นที่เข้าใจกันดีว่า ขนมเปีย ขนมโก๋ เครื่องจันอับและขนมจีนแห้ง เป็นขนมที่ชาวจีนทำขึ้น ส่วนขนมข้าวพองและตังเมนั้น แม้ผู้นำมาแลกของจะเป็นพ่อค้าจีน แต่หนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ ก็อธิบายว่า เป็นขนมไทยทั้งสองชนิด และขนมลอดช่องนั้นเดิมทีเป็นของชาวมุสลิม เนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำตาล กะทิ แป้งและใบเตย อันเป็นสินค้าส่วนหนึ่งที่นำมาจากหัวเมืองทางปักษ์ใต้ ประเด็นสำคัญคือ ขนมซึ่งชาวบ้านในย่านป่าขนม "ทำขายและนั่งร้านขาย" นั้น หากมองอย่างผิวเผิน อาจจะเห็นว่าล้วนเป็นขนมไทยทั้งสิ้นได้แก่ขนมชะมด กงเกวียน สามเกลอ หินฝนทอง กรุบ พิมพ์ถั่ว และสำปะนี ขนมดังกล่าวมักเป็นส่วนหนึ่งของขนมในงานพิธีมงคล อาทิ งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ งานบุญวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ และงานฉลองเลื่อนชั้นยศ เลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น แต่เมื่อกล่าวถึงขนมไทยแท้ๆ จากการศึกษาได้พบว่า ส่วนประกอบหลักของขนมไทย มักหนีไม่พ้นของสามสิ่ง คือ แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว นำมาคลุกเคล้าผสมผสาน ดัดแปลงตามสัดส่วนที่เหมาะสม ด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ ต้ม นึ่ง ทอด จี่ ผิง ฯลฯ ก็จะได้ขนมไทยมากมายหลายชนิด และมีคำอธิบายของผู้ใหญ่สูงอายุชี้ว่า สมัยโบราณ คนไทยไม่ได้กินขนมกันทุกวัน หากแต่จะได้กินก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่กินกับน้ำกะทิ และทำเลี้ยงแขกในงานบุญเสมอก็คือ ขนมสี่ถ้วย ซึ่งหมายถึง ไข่กบ(เม็ดแมงลัก) นกปล่อย(ลอดช่อง) มะลิลอย(บัวลอย) และอ้ายตื้อ(ข้าวเหนียวน้ำวุ้น)  ส่วนขนมที่ใช้เลี้ยงในงานมงคลต่าง ๆได้แก่ ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฏ ขนมกง ขนมสามเกลอ ขนมชะมด ขนมบ้าบิ่น ขนมหม้อแกง ขนมปุยฝ้าย ขนมถ้วยฟู ขนมเทียนแก้ว ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมทองพลุ ขนมทองเอก ขนมทองโปร่ง ขนมทองม้วน ขนมฝอยทอง เป็นต้น ขนมบางชนิดไม่เพียงแต่จะประกอบด้วยแป้ง และน้ำตาลเท่านั้น ยังมีส่วนผสมสำคัญของขนมไทยนั้นๆ ผู้เชี่ยวชาญการทำขนมท่านหนึ่งเชื่อว่า นางมารี ปินา ดึ กีมาร์ (Marie Pena de Guimar หรือ Guiomar) ภรรยาชาวโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ท้าวทองกีบม้า" ตำแหน่งเวิเศสกลาง ถือศักดินา ๔๐๐ ได้เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานเป็นผู้นำมาเผยแพร่ กล่าวคือ

" ท่านท้าวทองกีบม้าผู้นี้เป็นต้นสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวานคือ ขนมทองหยิบ ทองหยอ ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมขิง ขนมไข่เต่า ขมมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง เป็นต้นเหตุเดิมที่ท้าวทองกีบม้าทำและสอนให้ชาวสยาม… "

ดังนั้นแม้ว่าหลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมจะมิได้บอกว่า บรรดาขนมทั้งหลายซึ่งถูก "ทำขาย" และ "นั่งร้านขาย" ในตลาดย่านป่าขนม อันได้แก่ ขนมชะมด ขนมกง ขนมเกวียน ขนมสามเกลอ ขนมหินฝนทอง ขนมกรุบ ขนมพิมพ์ถั่ว ขนมสำปะนี และขนมแห้งต่างๆ เป็นขนมชื่อไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกส แต่ส่วนผสมหลักของขนมเหล่านี้อันได้แก่ แป้งถั่วเหลือง แป้งมัน และไข่แดง เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็ยที่มาดั้งเดิมของขนมดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยขนมกงเกวียน ทำจากแป้ง ถั่ว คลุกน้ำตาล ปั้นเป็นรูปดั่งรูปกงเกวียน มีฝอยทองคลุม ฝอยดังกล่าวทำจากแป้ง ถั่ว ผสมไข่แดง ทอดน้ำมันโรยเป็นฝอย ขนมกงขนมเกวียน จึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับขนมฝอยทอง (fios de ovos) ทองหยิบ ทองหยอด และทองม้วน ของชาวโปรตุเกส ขนมชะมด ขนมสามเกลอ และขนมหินฝนทองต่างก็มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลทอดน้ำมันหรือ คั่วให้สุกก่อนจะปั้นแต่งให้มีรูปลักษณะตามชื่อขนม ขนมกรุบนั้นอาจจัดอยู่ในกลุ่มขนมขนมกรอบเค็ม ซึ่งโปรตุเกสเรียกว่า "Coscorões" ส่วนขนมพิมพ์ถั่วอาจหมายถึงขนมซึ่งหมอบรัดเลย์เรียกว่า "ขนมตบตี" ทำโดยเอาแป้งถั่วเหลืองมาคั่วให้สุก คลุกเข้ากับน้ำตาลให้หวานแล้วพิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ

การที่หลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมระบุว่า พ่อค้าจีนเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายขนมแบบวัฒนธรรมจีน อาทิ ขนมโก๋ ขนมเปีย และขนมจันอับ อาจเชื่อมโยงไปถึงการตีความว่าผู้ค้าขนมแบบโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยาว่าน่าจะเป็นชาวบ้านจาชุมชนโปรตุเกสได้ด้วย แต่เนื่องจากหลักฐานคำให้การฉบับนี้ได้บันทึกชื่อขนมดังกล่าวเป็นคำเรียกภาษาไทยอย่างชัดเจนแล้ว แสดงให้เห็นว่าขนมดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนพัฒนาการ การผสมผสานและการเปลี่ยนผ่านทางวัฒนธรรมระหว่างสยามกับโปรตุเกสมาเป็นเวลานานพอสมควร จึงทำให้เชื่อว่าผู้ขายขนมไทยอิทธิพลโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นกลุ่มคนที่อาจมีความสัมพันธ์กับชุมชนโปรตุเกสเป็นอย่างดี โดยอาจเป็นการโยงใยสายสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการทำขนมเหล่านั้นมาจากชุมชนโปรตุเกสผ่านทางราชสำนัก ดังได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การที่หลักฐานคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม มิได้กล่าวถึงขนมไทยประเพณี หรือขนมไทยแท้แต่ดั้งเดิม อาทิ ข้าวเหนียวแดง ข้าวต้มผัด ข้าวเม่าคลุก ขนมต้มต่างๆ รวมไปถึงขนมสี่ถ้วย (คือไข่กบ นกปล่อย มะลิลอย อ้ายตื้อ)ฯลฯ คงจะมีสาเหตุมาจากขนมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิต ของชาวสยาม ซึ่งแต่ละบ้านแต่ละเขต แขวงสามารถทำกินกันเองได้โดยไม่ต้องซื้อหา ขณะที่การทำขนมแบบจีนต้องทำโดยชาวจีน ขนมแบบโปรตุเกสก็จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ความรู้และความชำนาญพิเศษซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาส ฝึกฝนจนสามารถทำขายได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ขนมอิทธิพลทางวัฒนธรรมโปรตุเกส จึงถูกกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ในฐานะสิ่งพิเศษในสังคมเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะต้องซื้อด้วยเงินจึงจะมีโอกาสได้ลิ้มรสขนมดังกล่าว

หลักฐานจดหมายของบาทหลวงฝรั่งเศสชิ้นหนึ่ง อาจบ่งบอกถึงความ มีระดับ ความมีหน้ามีตา และความมีรสนิยม ในการบริโภคขนมหวานของชุมชนโปรตุเกสได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วย แม้แต่ราชสำนักสยาม ยังต้องเกณฑ์ขนมหวานจากพวกเข้ารีตโปรตุเกส เข้าไปบริโภคในพระราชวัง เนื่องในโอกาสนักขัตฤกษ์ทีละมาก ๆ ได้ กล่าวคือ

" ในเวลานี้ได้เกิดการลำบากขั้นในการที่พวกเข้ารีตบางครัวต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดินในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตเหล่านี้ทำของหวานเป็นอันมากอ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่าสำหรับงานพิธีล้างศรีษะช้างซึ่งถือกันว่าเป็นพระเจ้าองค์หนึ่ง หรือสำหรับงานไหว้พระพุทธบาทดังนี้ ครั้นพวกเข้ารีตได้รับคำสั่งให้ทำของหวานตามรับสั่ง พวกนี้ก็ตอบว่าเขาไม่เข้าใจว่าช้างอะไร แต่ก็คงทำตามคำสั่งหาขัดพระราชโองการไม่ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าที่เขาตอบดังนี้จะเป็นด้วยความโง่เขลาหรืออย่างไร แต่ข้าพเจ้าเองก็ไม่เห็นด้วย"

แม้ว่าครอบครัวที่ถูกเกณฑ์ไปทำขนมหวานจะไม่ใคร่พอใจต่อการถูกเกณฑ์เท่าใดนัก แต่ก็ไม่อาจขัดพระราชโองการได้ จดหมายข้างต้นเป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดีว่านอกจากท้าวทองกีบม้า ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์จะได้รับราชการเป็นนางต้นห้องเครื่องหวาน หรือวิเศสกลางแล้วยังอาจมีหญิงเชื้อสายโปรตุเกส จากชุมชนโปรตุเกส ติดตามเข้าไปรับราชการในราชสำนักสยาม สืบต่อ ๆ กันมาด้วยก็ได้ เห็นได้จากตำแหน่งวิเศสกลาง นอกจากท้าวทองกีบม้าแล้ว ยังมีท้าวทองพยศอีกผู้หนึ่ง ที่ได้ว่าของหวาน ในกรมวิเศสกลาง ตามหลักฐานในทำเนียบพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และลูกมือทำขนมหวานก็คือคนจากชุมชนโปรตุเกสนั่นเอง การมีชื่อเสียงในเรื่องการทำอาหารเครื่องหวานอันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติโปรตุเกส เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าชุมชนโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยา น่าจะเป็นกลุ่มคนที่บริโภคน้ำตาลมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในขณะนั้น



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 เม.ย. 11, 08:56
ขนมเจาะหู ของชาวใต้ในงานบุญเดือนสิบ หน้าตาคล้าย ขนม Papo-de-Anjo ของท่าน siamese ไหมคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 10:15
กำลังจะเล่าเรื่องขนมลูกชุบของโปรตุเกส     แต่อ่านตัวอักษรชื่อขนมชนิดนี้ไม่ออก   ไม่รู้ว่าตัวแรกคืออะไร
กรุณาถอดให้ทีนะคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 10:17
ลูกชุบ (Massapães) เป็นขนมประจำท้องถิ่นของแคว้นอัลการ์ฟ (Algarve) ในโปรตุเกส มีเม็ดอัลมอนด์เป็นส่วนผสมสำคัญแต่ในไทยใช้ถั่วเขียวแทน

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 10:30
อยากรู้ว่าตัวอักษร ข้างหน้า _ _ assapdes  น่ะ   มันตัวอะไรคะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 26 เม.ย. 11, 11:15
เมื่อก่อน ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ไม่ค่อยมีคนทำขายมากนักและจะเห็นกันตอนมีงานใหญ่ๆ เช่น ทำบุญ งานบวช ฯลฯ คนทำขนมพวกนี้เป็นคงมีไม่มาก จำได้ว่า  ครั้งหนึ่ง มีงานทำบุญ ที่บ้านต้องไปจ้างคนแถว ตำบลสำเภาล่ม อยุธยา ซึ่งเป็นชุมชนโปรตุเกส ดั้งเดิมมาทำขนม ทองหยอด ฝอยทอง 


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 11:25
อยากรู้ว่าตัวอักษร ข้างหน้า _ _ assapdes  น่ะ   มันตัวอะไรคะ


ตามคุณเพ็ญชมพูเลยครับ....Massapães ครับ เลยจัดหาลูกชุบไส้อัลมอนด์ มาเสริฟ  :)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 11:27
ขนมเจาะหู ของชาวใต้ในงานบุญเดือนสิบ หน้าตาคล้าย ขนม Papo-de-Anjo ของท่าน siamese ไหมคะ

ขอบคุณครับ นี่ถ้าแป้งขึ้นฟูสักหน่อยนี่ เป็นโดนัท ได้เลยนะ  ;D ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 11:42
มาแถมเพิ่ม จากคุณ siamese  ว่า ขนมลูกชุบก็มาจากโปรตุเกส  ชื่อในภาษาเดิมคือ  maçapão
ตัวอย่างอย่างในรูปนี้ค่ะ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4360.0;attach=18713;image)
 

ลูกชุบในภาษาเดิมนั้นมีหลายหลากชื่อ

maçapão, massapan, marzipan, massepain

เรียกอย่างไรก็ได้ไม่ผิด

คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Marzipan) ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องชื่อของลูกชุบในภาษาฝรั่งชาติต่าง ๆ ไว้ดังนี้

The origin could be from the Latin term "martius panis", which means bread of march. However, the ultimate etymology is unclear; for example, the Italian word derives from the Latin words "Massa" (itself from Greek Μάζα "Maza") meaning pastry and "Pan" meaning bread, this can be particularly seen in the Provençal massapan, the Portuguese maçapão (where 'ç' is an alternative form for the phoneme 'ss') and old Spanish mazapan - the change from 'ss' to 'z' in Latin words was common in old Spanish and the 'r' appeared later.

 ;D



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 เม.ย. 11, 11:58
ลูกชุบโปรตุเกส หน้าตาคล้ายกับดินน้ำมันปั้นนะคะ  
ของไทยเอาไปชุบวุ้นดูแววาวน่าทานกว่า
ช่างเก่งจริงนะ บรรพบุรุษของเรา...ภูมิใจจัง...  ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 12:03
คุณวิกกี้พูดถึงที่มาของลูกชุบ ไว้น่าสนใจว่าอาจจะมีการเดินทาง ดังนนี้

ตะวันออกกลาง  --> จีน --> ยุโรป

Other sources establish the origin of marzipan in China, from where the recipe moved on to the Middle East and then to Europe through Al-Andalus.

คุณหาญเคยเห็นลูกชุบในจีนหรือเปล่า

 ???


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 เม.ย. 11, 12:07
เรียนสมาชิกเรือนไทย

               อาจจะมี แต่ผมไม่เคยเห็นครับ คงต้องค้นคว้าดูก่อน


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 12:24
ลูกชุบฝรั่ง


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 12:31
ใครกินลูกชุบพวกนี้ลงบ้างคะ?

(http://1.bp.blogspot.com/_mBHO1-XY1cM/S9pcvCC0D4I/AAAAAAAAQSc/0o62fZx6Zto/s1600/marzipan-babies1.jpg)

(http://2.bp.blogspot.com/_mBHO1-XY1cM/S9pcurf_cII/AAAAAAAAQSM/D2Oz8yTilx4/s1600/marzipan-babies3.jpg)

(http://www.hoax-slayer.com/images/marzipan-babies2.jpg)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 12:34
แป้งลูกชุบหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ   ในประเทศจีนอาจจะมีขนมที่แป้งเป็นแบบนี้ก็ได้


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 12:35
แป้งปั้นเด็กน้อย เป็น Art มากกว่าที่กินลง  ::)

ระหว่างรอคุณหาญ


ขอแนะนำ ถังหู่ลู่ - ซานจา ของหวานเคลือบน้ำตาล ที่เคยไปกินมาแล้วครับ แต่ที่จีนเขาใช้ผลไม้รสเปรี้ยวมาเคลือบด้วยน้ำตาลเข้าไปเลย ไม่ใช่ถั่วปั้นเคลือบวุ้น

ผมเคยลงกระทู้เก่าไว้ ลองเข้าไปอ่านเล่นๆดูนะครับ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/04/K7800785/K7800785.html


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 เม.ย. 11, 12:38
คงต้องลองดูส่วนผสมแป้งลูกชุบครับ

ว่าเป็นอย่างไร

แล้วคงไปค้นๆดูได้

อนี่ง

ขนมทองเอก นี้เดิมใช้อะไรทำครับ

ตอนนี้คนไทยในจีนกำลังเถียงกัน (เพราะเราจะนัดกันทำขนมไทยในวันหยุดยาวที่กำลังจะถึงนี้) ว่าทองเอกนี้ใช้แป้งสาลี หรือถั่วเขียวเลาะเปลือกที่เรียกว่าถั่วทองทำเป็นแป้ง

ผมค้นมาแล้วเขาใช้แป้งสาลี แต่อีกฝ่ายเถียงใหญ่เลยว่าเป็นถั่วเขียวเลาะเปลือก

เลยขอความเมตตาท่านที่อยู่เมืองไทยบอกเรื่องแป้งหน่อยได้ไหมครับ เพราะอุตส่าห์สั่งพิมพ์ไม้มาโดยเฉพาะเพื่อการณ์นี้

สวัสดีครับ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 เม.ย. 11, 12:40
อันขนมชนิดนั้นมีขายทั่วไป อะไรๆก็เอามาชุบ หวานนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

แต่สาวๆคนไทยชอบกิน (แต่สกปรกนะ เพราะว่าเขาวางขาย หิ้วขายตามข้างทาง ฝุ่นเกาะน้ำตาลไปเท่าไรแล้วก็ไม่รู้)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 12:49
ขนมไทยดั้งเดิมไม่น่าจะใช้แป้งสาลี  เพราะเรากินข้าวเจ้าเป็นหลัก  ไม่ใช่ข้าวสาลี   จึงน่าจะหาแป้งสาลียากกว่าแป้งข้าวเจ้า    แต่เห็นสูตรขนมทองเอกในสมัยนี้มีหลายสูตร  บางสูตรก็ใช้แป้งสาลี
ไปเจอสูตรนี้ น่าจะเป็นแบบไทยดั้งเดิมนะคะ

ส่วนผสม
       แป้งข้าวเจ้า 2 ขีด
       น้ำตาลทราย 2.5 ขีด
       หัวกะทิ 2.50 ขีด
       ไข่ไก่ 20 ฟอง
       น้ำ 1.75 ขีด
       ***ทำขนมทองเอกได้ประมาณ 70-80 ชิ้น
       
       วิธีทำนั้นไม่ยากอย่างที่คิด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้นำน้ำกะทิและน้ำตาลคนให้เข้ากันแล้วพักไว้ ส่วนที่2 นำแป้งข้าวจ้าวและน้ำนวดให้เนียนไม่ให้แป้งแข็งเป็นก้อน เสร็จแล้วตอกไข่ใส่กะละมังแล้วบรรจงรีดเอาเฉพาะไข่แดง ผสมกับแป้งแล้วนวดไว้ให้เข้ากัน
       
       แล้วจึงนำส่วนผสมที่ 1ไปเคี่ยวไฟปานกลาง 15 นาทีโดยลดไฟให้อ่อนที่สุดเสร็จแล้วพักไว้ 5 นาที แล้วใส่ส่วนผสมที่ 2 ลงไป กวนโดยใช้ไฟอ่อน 30 นาทีแล้วจึงเร่งไฟขึ้นกวนต่ออีก 30 นาที ให้เนื้อเนียนละเอียดแล้วจึงเอาขึ้นพักไว้ให้อุ่น เสร็จแล้วจึงนำมาใส่แม่พิมพ์ แต่ถ้าไม่มีสามารถปั้นเป็นรูปหัวใจหรือรูปอะไรก็ได้ตามต้องการ เสร็จแล้วตกแต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแท้ก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ถ้าใครมีเทียนหอมอบขนมก็นำขนมทองเอกไปอบควันเทียนให้หอมได้
       
http://www.fwdder.com/topic/14774


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 12:52
ถ้าเป็นสูตรแป้งสาลี ก็อ่านได้ที่นี่

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2008/08/D6884642/D6884642.html


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 11, 14:35
เพื่อนที่แสนดีสนทนากันจากเซี่ยเหมิน ทางใต้ของจีน ช่วยหาข้อมูลให้ได้สิ่งนี้มาให้ชม "绿豆水果拼盘" แปลว่ารวมผลไม้ที่ทำจากถั่วเขียว

(แต่คิดว่าทำเลียบแบบ เพราะส่วนมาขนมทำจากถั่วเขียวจะอัดในแม่พิมพ์แบบขนมไหว้พระจันทร์)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 15:36
แป้งลูกชุบหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ   ในประเทศจีนอาจจะมีขนมที่แป้งเป็นแบบนี้ก็ได้

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4366.0;attach=18845;image)

เจอแป้งสำหรับทำลูกชุบในจีน คิดว่าทำจากเมล็ดอัลมอนด์บด  ???

คุณหาญกรุณาช่วยแปลภาษาด้วย

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 16:00
ผลงานศิลปะจากแป้งข้างบน 杏仁膏

(http://pic.pimg.tw/carolyoung/6e1de908411409b1c8f4a05517b47033.jpg) 

มีผลงานให้ชมอีกหลายชิ้น

http://carolyoung.pixnet.net/album/set/15492863

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 26 เม.ย. 11, 16:26
"ขนมไข่ - ขนมฝรั่งกุฎจีน"

ทั้งสองขนมนี้ ไม่เหมือนกันนะครับ แยกให้ดีๆ แต่ที่เหมือนคือ มีการนำแป้ง + ไข่ เหมือนกัน แต่อัตราส่วนของแป้งต่างกัน

ขนมไข่ - ที่จริงแล้วทางโปรตุเกสทำขึ้นในช่วงอีสเตอร์ ทำกินเองที่บ้าน เรียกว่า "Pao De Lo" (เปา ดือ ลอ) หน้าไม่เรียบและไม่แห้งกรอบ เห็นแล้วเหมือนเค้กเมืองตรังไหม  ;) ที่ทำตรงกลางกลวงเนื่องจากต้องการให้ตรงกลางสุก


เจอภาพอุปกรณ์ในการทำ "Pao De Lo" (เปา ดือ ลอ) ของโปรตุเกสค่ะ
คล้ายกับเครื่องปั้นดินเผาของไทยเลยนะคะ...


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 26 เม.ย. 11, 22:06
杏仁膏 (xing ren gao) อ่านว่า "ซิ่งเหรินเกา" 

杏仁 แปลว่า เมล็ดอัลมอนด์

膏แปลว่า ไขมัน ขี้ผึ้ง หรือครีม

แปลร่วมๆว่าแป้งครีมอัลมอนด์เห็นจะได้

คนไทยเรียกแป้งแบบนี้ว่าแป้งโดว์ (doll) กระมังครับถ้าจำไม่ผิด

น่าจะมาจากฝรั่งมากกว่า เพราะตัวแป้งนี้ใช้ทำคุ๊กกี้อัลมอนด์ คุ๊กกี้ เรื่อยไปจนทำตุ๊กตาแต่งหน้าเค้ก

ขนมแบบจีนแท้ๆไม่ทราบว่าใช้หรือเปล่า ที่ผ่านมาไม่เคยพบ



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 22:18

เจอแป้งสำหรับทำลูกชุบในจีน คิดว่าทำจากเมล็ดอัลมอนด์บด  ???

คุณหาญกรุณาช่วยแปลภาษาด้วย

 ;D

มีคำว่า marzipan ประทับอยู่   แป้งสำหรับทำลูกชุบแน่นอน     คำนี้คือลูกชุบในภาษาอังกฤษ   ในอังกฤษสะกดว่า marchpane
เราใช้ถั่วเขียว  แต่ฝรั่งเขาใช้เมล็ดอัลมอนด์
มีแป้งทำลูกชุบฝรั่งอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า persipan  แทนที่จะใช้เมล็ดอัลมอนด์บดซึ่งราคาแพง  ก็ลดต้นทุนด้วยการหันไปใช้เมล็ดลูกท้อ ( peach) หรือแอปริคอท แทน   


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 22:30

คนไทยเรียกแป้งแบบนี้ว่าแป้งโดว์ (doll) กระมังครับถ้าจำไม่ผิด

น่าจะมาจากฝรั่งมากกว่า เพราะตัวแป้งนี้ใช้ทำคุ๊กกี้อัลมอนด์ คุ๊กกี้ เรื่อยไปจนทำตุ๊กตาแต่งหน้าเค้ก

ขนมแบบจีนแท้ๆไม่ทราบว่าใช้หรือเปล่า ที่ผ่านมาไม่เคยพบ

น่าจะหมายถึงแป้ง dough  ที่ใช้ทำขนมฝรั่ง อย่างโดนัท

(http://4.bp.blogspot.com/__jOLk1hvF14/TLUk825kKHI/AAAAAAAAACI/L_Z6ciWctIY/s1600/pizza-dough.jpg)


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 11, 22:53
คุณรสสุคนธ์ มกรมณี เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับลูกชุบฝรั่งในบทความเรื่อง ลูกชุบฝรั่ง..มาร์ซะแพน  (http://gotoknow.org/blog/rose/239949)

ลูกชุบ.. เป็นของหวานที่คนไทยรู้จักกันดี  และติดกลุ่ม “ขนมไทยโบราณ”  อันเป็นข้อยืนยันเอกลักษณ์ความเป็นไทย

แต่แล้ววันหนึ่ง  ฉันก็พบว่ามีขนมหน้าตาเป็นฝาแฝดกับลูกชุบของเรา วางขายอยู่ที่ซีกโลกอีกฟากหนึ่ง  ฝีมือปั้นผลไม้และผักชิ้นเล็ก ๆ งามกระร่อยกระริบไม่แพ้กัน  มีให้เลือกมากมายหลายแบบ   แถมยังมีผลงานปั้นแบบสร้างสรรค์พิสดารมากมายยิ่งกว่าให้ซื้อหาอีกด้วย
          
ชิมแล้วรสชาติก็คล้ายคลึงกันซะอีก  เมื่อถามว่าทำมาจากอะไร คำตอบคือถั่วอัลมอนด์บดผสมกับน้ำตาลป่น  อ้าว! ของเราเป็นถั่วเขียวบดกวนกับน้ำตาล  เข้าทางเดียวกันอีก

ไม่รู้เหมือนกันว่าใครเกิดก่อน ?!?

ครั้นสาวฮังการีผู้ขายบอกว่าลูกชุบของเธอเรียก มาร์ซะแพน หรือ มาร์ซิแพน (Marzipan) เท่านั้น  ฉันก็อึ้งสิคะ เพราะเคยรู้จักมาร์ซะแพนเฉพาะที่นำมาแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ หุ้มเค้ก  แบบว่าเป็นไอซิ่งสำหรับแต่งหน้าเค้ก  เจอบ่อย ๆ ในเค้กแต่งงานกับเค้กวันคริสต์มาสของฝรั่ง  ไม่ใช่หน้าตาเป็นลูกชุบอย่างนี้!

มาร์ซะแพนนิยมนำมาแต่งหน้าเค้กเพราะมีคุณสมบัติคล้ายแป้งดินเหนียวที่เด็กเล่น  ปั้นเป็นรูปร่างได้สารพัด  ทำให้สามารถตกแต่งประดับประดาเค้กให้เลิศหรูอลังการอย่างไรก็ได้ และทำเก็บไว้ล่วงหน้าก่อนใช้งานได้หลายวันโดยไม่เสีย

แต่หน้าเค้กแข็ง ๆ แบบมาร์ซะแพนไม่ถูกรสนิยมคนไทยเท่าแบบครีมนุ่ม ๆ  จึงไม่ค่อยได้เห็นวางขายในบ้านเรา
 
ห้องด้านในของร้านนี้ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์มาร์ซะแพนค่ะ มีงานศิลป์สารพัดแบบสวยงามวิจิตรบรรจง เช่น ภาพติดฝาผนังรูปพระแม่มารี สถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของโลกในขนาดย่อส่วน  เครื่องเรือน  ของใช้ ฯลฯ  ผลงานเลียนแบบของจริงทำได้เหมือนมาก ๆ จนแทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นของที่กินได้  

ไม่มีใครยืนยันที่มาของมาร์ซะแพนนั้นได้แน่นอน  แต่ฮังการีอ้างว่าตนเป็นผู้ให้กำเนิด  บางกระแสบอกว่ามาจากเปอร์เซีย  ส่วนอิตาลีและสเปนก็เถียงว่าเป็นประเทศของตนต่างหาก    สำหรับประเทศที่ทำมาร์ซะแพนจริงจังจนเป็นอุตสาหกรรมคือเยอรมนี
  
อิตาลี โปรตุเกต สเปน และประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา มีธรรมเนียมการกินขนมลูกชุบฝรั่ง..มาร์ซะแพน ที่ปั้นเป็นรูปผลไม้หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ  ในเทศกาลวันคริสต์มาส   หลายประเทศใช้มาร์ซะแพนเป็นขนมสำหรับเทศกาลวันขึ้นปีใหม่   จะกินเปล่าๆ หรือเสิร์ฟเป็นขนมสำหรับกินกับเครื่องดื่มร้อน ๆ ก็ได้ค่ะ
 
สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ขนมมาร์ซะแพนใช้สีระบายตกแต่งให้สวยงามอย่างเดียวกับการทำลูกชุบ  บางครั้งก็ผสมสีเข้าไปในเนื้อแป้ง   ฉะนั้น ก่อนกินก็ขอให้แน่ใจนะคะว่าสีที่ใช้เป็นสีผสมอาหาร.. เพื่อความปลอดภัยค่ะ

          



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: Baitoey ที่ 26 เม.ย. 11, 23:39
เรียน คุณเพ็ญและคุณหันปิง

ลูกชุบมีขายที่มาเก๊า แถวร้านขายทาร์ตไข่ ไม่ไกลจากวัดอาม่าค่ะ
ที่ร้านเบเกอรี่แถวด่านกงเป่ย ก็เคยเห็นค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 เม.ย. 11, 06:09
เรียนสมาชิกเรือนไทย

           เรื่องลูกชุบที่มาเก๊านี้ด้วยยังไม่เคยลงไปเที่ยวแถบนั้นเลยไม่เคยเห็น จึงตอบไม่ได้ว่าภาษาจีนเีรียกว่าขนมอะไร

           แต่ถ้าส่วนผสมของแป้งคล้ายแป้งลูกชุบไทยที่สุดในขนมในจีน ที่มาเก๊ามี เรียกว่า "ซิ่งเหรินปิง" (杏仁饼: xing ren bing) แปลง่ายๆว่าคุกกี้อัลมอนด์ เป็นของขึ้นชื่อของที่นั้น

          ขนมชนิดนี้มิได้ผสมอัลมอนด์ทำแต่อย่างเดียว หากใช้ถั่วเขียวผสมด้วย (และผสมเยอะพอสมควร) บางครั้งมีการใส่ไส้เป็นเนื้อแห้งก็มีเสร็จแล้วปั้นใส่พิมพ์คล้ายๆขนมไหว้พระจันทร์ จริงๆแล้วคล้ายกับหน้าตาขนมโก๋แต่ไม่ใช่

          ไม่ทราบว่าที่คุณใบเตยพบหน้าตาเป็นแบบไหน เป็นแบบลูกชุบไทยหรือ หรือเป็นตามภาพต่อไปนี้


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 เม.ย. 11, 06:12
ที่มาของภาพมาจากเว็ปไซด์ http://www.zhongshantour.com.cn/static/2010-04-15/1271318339865292.html

ในเว็ปไซด์นี้มีวิธีทำน่ากินมาก

แต่ว่าคิดไปมันก็เอาไปอบ...ดูไม่ใช่ลูกชุบเท่าไร


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 11, 06:25
เรียนสมาชิกเรือนไทย

           เรื่องลูกชุบที่มาเก๊านี้ด้วยยังไม่เคยลงไปเที่ยวแถบนั้นเลยไม่เคยเห็น จึงตอบไม่ได้ว่าภาษาจีนเีรียกว่าขนมอะไร

           แต่ถ้าส่วนผสมของแป้งคล้ายแป้งลูกชุบไทยที่สุดในขนมในจีน ที่มาเก๊ามี เรียกว่า "ซิ่งเหรินปิง" (杏仁饼: xing ren bing) แปลง่ายๆว่าคุกกี้อัลมอนด์ เป็นของขึ้นชื่อของที่นี่

กำลังทำกันอยู่เลย

(http://farm5.static.flickr.com/4030/4383722664_8136b314f0.jpg)

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 เม.ย. 11, 15:10
ไหนๆก็ไหนๆ

เผื่อว่าจะมีคนอยากทำกินบ้าง

วิธีทำคุ๊กกี้อัลมอนด์แบบมาเก๊ามีดังนี้

๑ แป้งถั่วเขียว ๓๕๐ กรัม ทั้งนี้แป้งถั่วเขียวในจีนกับในไทยไม่เหมือนกัน เพราะในไทยมันคือแป้งถั่วทอง ที่ทำจากถั่วเขียวปอกเปลือกแล้ว จะไม่มีกลิ่นถั่วแรงเท่าไรนัก แต่ของจีนนี้ไม่ปอกเปลือก เขาทำเป็นแป้งเลย กลิ่นถั่วเขียวสะใจมากๆ สีเขาก็เขียวๆ ถ้าไม่ชอบหรือหาไม่ได้ ใช้แป้งถั่วทองไทยธรรมดาๆนี้แหละดีแล้ว

๒ น้ำตาลป่น ๒๐๐ กรัม

๓ น้ำมันหมู (ถ้าไม่ชอบเอาน้ำมันเนยแทนก็ได้) ๑๕๐ กรัม

๔. อัลมอนด์คั่วแล้วป่นปริมาณพอเหมาะ คือใส่แล้วให้มันได้กลิ่นๆอวนๆ

๕ หมูแผ่น ปริมาณพอเหมาะที่จะเอามายัดไส้ ทั้งนี้หมูแผ่นก่อนใช้ ให้เอาไปแช่เหล้ากับน้ำตาลไว้ข้ามคืนก่อน พอจะใช้ให้เอามาลวกให้น้ำร้อนแล้วผึ่งไว้ให้แห้ง

ต่อไปนี้คือภาพประกอบ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 เม.ย. 11, 15:12
วิธีการทำก็คือเอาของทุกอย่างมาผสมกัน

ยกเว้นหมูแผ่น เพราะว่าจะมาเอาทำไส้


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 เม.ย. 11, 15:14
นำแป้งที่ผสมแล้วปั้นเป็นก้อน

นำมาใส่พิมพ์ขนมครึ่งหนึ่ง

แล้วก็วางหมูแผ่นที่แช่เหล้ากับน้ำตาลไว้ข้ามคืน และเอามาลวกน้ำร้อนอีกรอบพร้อมผึ่งให้แห้งใส่ลงไป

ส่วนท้ายนำแป้งอีกส่วนมาปิด กดแน่นๆให้เป็นเนื้อเดียวกัน

เคาะออกจากพิพม์


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 27 เม.ย. 11, 15:19
เอาเข้าเตาอบเป็นเวลา ๒๕ นาที ใช้อุณหภูมิ ๑๕๐ องศา

เขาว่า ขณะอบให้เปิดฝาเตาไว้ครึ่งหนึ่ง เนื่องจากจุดประสงค์เพียงให้คุ๊กกี้แห้งลงสักหน่อยก็พอแล้ว

อันนี้ไม่เคยลองทำ ผู้ใดทำคุ๊กกี้เป็นประจำน่าจะทำได้

ข้อมูลทั้งหมดนำมาจากเว็ปไซด์ต่อไปนี้ http://baike.baidu.com/view/606419.htm

ส่วนภาพประกอบนำมาจากเว็ปไซด์นี้ http://www.zhongshantour.com.cn/static/2010-04-15/1271318339865292.html

และนี้คือภาพขณะอบ ส่วนภาพสำเร็จแล้วได้น้ำแสดงไปแล้ว


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 เม.ย. 11, 06:41
สัปปะรด มาจากโปรตุเกส เอามาเผยแพร่ให้ชาวเอเซียปลูก

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/03/K10293201/K10293201.html


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4366.0;attach=18739;image)

ภาพข้างบนมาจากหนังสือของ ลา ลูแบร์ ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ

ในต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสน่าจะเป็น L'ananas ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสว่า ananás (มาจากภาษาของชนพื้นเมืองในอเมริกาใต้อีกที) คำนี้ตกค้างอยู่ในภาษามาเลย์ว่า "nanas-น่าน้ส" ขึ้นมาอยู่ในภาษาใต้ของไทยว่า "ยาหนัด" กระโดดไปอีสานว่า "บักนัด" และขึ้นไปเหนือว่า "มะขะหนัด"

มีแต่ภาคกลางเท่านั้นที่ไม่ใช้ชื่อที่มาจากภาษาโปรตุเกส แปลงเป็น สรรพรส ---> สับปะรด

 ;D



กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 11, 16:24
ขอนำอาหารโปรตุเกสในปัจจุบัน ซึ่งไม่เกี่ยวกับสยาม  มาให้รู้จักกันบ้าง
อย่างแรกคือสับปะรดโปรตุเกส  ใส่เหล้าพอร์ตไวน์  เรียกว่า Ananas Em Porto Com Hortela Picada กินเป็นของหวานค่ะ


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 11, 16:29
ส่วนขนมชนิดนี้ ชื่อ  Pão de Castela  เป็นต้นตำรับของเค้กญี่ปุ่น kasutera cake


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 11, 09:17
Molotoff หรือ Molotov pudding
ทำจากแป้งข้าวโพด น้ำตาล ไข่ขาว  ใส่อัลมอนด์    เวลารับประทานก็ราดคาราเมลอีกที


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ค. 11, 19:15
อาหารจานนี้ไม่มีชื่อ   บอกแต่ว่าเป็นเนื้อหมูกับหอยกาบ (clam) ผัดกับถั่วลันเตาและหัวหอม    มีปลาค้อดเค็มอยู่ในจานนี้ด้วย   กินกับมันฝรั่งบด
ถ้าเปลี่ยนจากมันบดมาเป็นข้าว  เปลี่ยนปลาเค็มเป็นน้ำปลา  ก็น่าจะกินได้สำหรับคนไทย


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ค. 11, 19:22
จานนี้เป็นซี่โครงหมูใส่ซอสเห็ด  มีมันฝรั่งหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆใส่มาด้วย   กินกับพอร์ตไวน์


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 11, 18:55
สตูแบบโปรตุเกส  ใช้หมูเคี่ยวกับหอยกาบและหอยแมลงภู่ ใส่ผักอย่างมะเขือเทศ หอม กระเทียม โหระพา และพริกหยวก โรยหน้าด้วยผักชี
ปรุงรสด้วยซอสพริก  และมีของเคียงคือขนมปังกระเทียม


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 พ.ค. 11, 15:31
อาจจะตกขอบกระทู้เป็นควันหลงนะครับ แต่ได้อ่านกระทู้เกี่ยวกับโปรตุเกสมาหลายวันแล้ว ความรู้อัดแน่นจริงๆครับ ขอบคุณที่มีเวปดีๆอย่างนี้ครับ

ิเห็นภาพขนมกุสรังแล้ว นึกถึงตอนเป็นเด็กๆ ช่วงคริสต์มาสที่บ้านจะทำขนมนี้ ไม่ได้ทำเป็นรูปกลมๆ แต่จะตัดเป็นแผ่นเหลี่ยมๆ ขอบเป็นหยักๆ คล้ายๆราวิโอลี ทอดแล้วชุบน้ำตาล มันก็คือครองแครงดีๆนี่เองครับ

ส่วนขนมที่คล้ายๆกะหรี่ปั๊บ ที่บ้านก็มีทำ (แต่ไม่ได้ทำนานแล้ว) เรียกว่า ปาสแตนครับ ดูสำเนียงแล้วออกฝรั่งเศสจังเลย ก็น่าจะแปลว่าแ้ป้งนั่นแล

นอกจากนี้ก็มีอาหารแปลกๆที่ไม่ค่อยได้กินแล้ว ปลาสังกะวาดก็เคยได้กิน รสชาติอร่อยดี แต่ไม่เคยรู้ว่ามันกินของเสียที่ตกลงไปในแม่น้ำ นอกจากนี้ก็มีขนมอีกอย่าง ที่เล่าต่อๆกันว่า เรียกว่าขนมหันตรา ไม่รู้หน้าตาเป็นยังไง พ่อเล่าว่าเป็นถั่วชุบแป้งแล้วโรยหน้าด้วยฝอยทอง พอได้ยินชื่อก็นึกขึ้นมาถึง "ทุ่งหันตรา" ที่กรุงเก่าเลย (แต่พ่อผมเขาไม่รู้จักว่าชื่อนี้มีความหมายอยู่)

ส่วนขนมบ้าบิ่น เคยคุยกับคนโปรตุเกสที่มาทำสารคดีที่วัดคอนเซ็ปชัญ เขาก็ออกเสียงว่า "บับบิ่ม" หรืออะไรทำนองนั้นครับ

 


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 พ.ค. 11, 15:48
นอกจากนี้ก็มีขนมอีกอย่าง ที่เล่าต่อๆกันว่า เรียกว่าขนมหันตรา ไม่รู้หน้าตาเป็นยังไง พ่อเล่าว่าเป็นถั่วชุบแป้งแล้วโรยหน้าด้วยฝอยทอง พอได้ยินชื่อก็นึกขึ้นมาถึง "ทุ่งหันตรา" ที่กรุงเก่าเลย (แต่พ่อผมเขาไม่รู้จักว่าชื่อนี้มีความหมายอยู่)
 

หน้าตาของ ขนมหันตรา (http://folklore.culture.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=97:2010-01-28-14-13-49&catid=67:2009-11-21-07-28-12&Itemid=66)

(http://folklore.culture.go.th/images/stories/articlephoto/Mid/m_e10.jpg)

มีความเป็นมาอย่างไร หาอ่านได้ในลิ้งก์ข้างบน

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 พ.ค. 11, 17:11
ว้าว มีจริงๆด้วยครับ เห็นภาพเลยครับ ขออภัยนิดนึง นึกขึ้นมาได้ว่าเป็นถั่วชุบไข่ทอด โรยฝอยทอง


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 พ.ค. 11, 21:10
ส่วนขนมบ้าบิ่น เคยคุยกับคนโปรตุเกสที่มาทำสารคดีที่วัดคอนเซ็ปชัญ เขาก็ออกเสียงว่า "บับบิ่ม" หรืออะไรทำนองนั้นครับ
ในกระทู้โปรตุเกสเข้าเมือง  มีขนมโปรตุเกสชนิดหนึ่งเรียกว่า bebinca 
ตอนแรกที่ค้นหาขนมบ้าบิ่น ก็มาเจอชื่อนี้เหมือนกัน  แต่ดูหน้าตามันไม่เหมือนขนมบ้าบิ่นเอาเลย  ก็เลยมองข้ามไป
ขนม bebinca ทำจากกระทิ ผสมกับแป้ง น้ำตาล จันทร์เทศ   กระวาน ไข่ขาว และน้ำมันเนย (ฆี)  ทำเป็นชั้นๆเหมือนขนมชั้น


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 พ.ค. 11, 14:31
ได้อ่านบทความเรื่อง บทบาทในการเผยแพร่วัฒนธรรมการกินอยู่ของชุมชนชาวโปรตุเกสในประวัติศาสตร์ไทย  (http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2011/02/blog-post.html) ของคุณพิทยะ ศรีวัฒนสาร พูดถึงเรื่อง ขนมไทย-ขนมโปรตุเกส น่าสนใจดี

ขออนุญาตยกมาให้อ่าน เพื่อจะได้ย่อยวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อไป   ;D

ดังจะอธิบายได้จากองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ใน "นิทรรศการขนมนานาชาติ" ซึ่งจัดโดยภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน หม้อแกง ขนมไข่ กะหรี่ปั๊ป (ซึ่งชุมชนย่านโบสถ์คอนเซ็บชัน สามเสนยังทำอยู่แต่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขนมปะแตน) มีคำอธิบายถึงแหล่งกำเนิดของขนมบางอย่าง เช่น ในประเทศโปรตุเกส ขนม ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxas das caldas) เป็นต้นตำหรับของขนมทองหยิบ ขนมเกวชาดาช ดึ กูอิงบรา (Queljadas de coimbra) เป็นต้นตำหรับของขนมบ้าบิ่นของไทย ซึ่งในโปรตุเกสจะมีเนยแข็งเป็นส่วนผสมแต่ในไทยใช้มะพร้าวแทน

เห็นอาจารย์พิทยะอยู่ในกระทู้ ขออนุญาตถามว่า bebinca ของคุณเทาชมพูมีสิทธิ์เป็นบรรพบุรุษของขนมบ้าบิ่นได้หรือไม่

 ???


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ค. 11, 13:48
อ้าว อาจารย์กลับมาแล้ว
มีเรื่องโปรตุเกสจะเล่าสู่กันฟังกับชาวเรือนไทยอีกไหมคะ   กระทู้นี้ยังไม่จำเป็นต้องจบ

มีคนคิดถึงอาจารย์อยู่หลายคนเชียว

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 พ.ค. 12, 19:21
คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AA) เล่าเรื่องอาหารของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ไว้ว่าเป็นอาหารที่ได้รับตำรับจากโปรตุเกส แต่ได้ผสมผสานกับไทยไปไม่น้อยเช่นกัน  อาหารที่สำคัญๆของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสได้แก่

เนื้อแซนโม เป็นอาหารพิเศษกินกันในครอบครัวช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ วิธีทำเริ่มจากการหาเนื้อสะโพกมาตัดแบ่งเป็นชิ้น ๆ ให้หนาราว ๒ นิ้ว กว้างราว ๑๖ นิ้ว แล้วนำมันหมูแข็งที่หั่นเป็นชิ้นยาวมาคลุกเคล้ากับพริกไทย เกลือ และหอมแดงที่บุบผสมเข้าไป พร้อมกับนำเนื้อชิ้นดังกล่าวไปคลุกกับพริกไทย เกลือ และหอมแดงบุบ ก่อนนำไปทอดในน้ำมันพอเหลืองหอมไม่ต้องถึงสุก จึงนำไปต้มอีกทีในน้ำแกงที่ผสมหัวหอม เกลือ ซอสแม็กกี้ และซีอิ้วดำ ซึ่งเหยาะเพียงแค่นิดหน่อยเพื่อให้สีสวย พร้อมกับห่อผ้าขาวที่ใส่เครื่องเทศมีลูกกระวาน กานพลู พริกไทย และอบเชย เวลากินเสิร์ฟเหมือเนื้อตุ๋น แต่ต้องนำชิ้นเนื้อมาหั่นเป็นแว่นๆ จะเห็นมันหมูเป็นไส้ข้างใน กินกับข้าว หรือขนมปังก็ได้ ปัจจุบันในชุมชนเหลือคนทำเนื้อแซนโมได้น้อยคน เนื่องจากหลายขั้นตอน และเสียเวลามาก

คุณ Abilio ถามมาว่า

เนื้อแซนโม คุณช่วยอธิบายใหม่หน่อยได้ไหมครับ ผมคงตรงเนื้อหนา 2 นิ้ว กว้าง 16 นิ้ว กว้างที่ว่าคือความยาวเหรอครับ ?
 แล้วเรื่องมันหมูแข็งมาคลุกกับพริกไทย เกลือ หอมแดงบุบ แล้วเอาเนื้อมาคลุก คือคลุกกับมันหมูเหรอครับ ? หรือยังไง ให้เอาเนื้อหมูห่อมันหมู หรือยังไงครับ
ขอบคุณครับ


เนื่องจากสูตรการทำอาหารดังกล่าว เอามาจากคุณวิกกี้อีกต่อหนึ่ง ทั้งยังไม่เคยทำเนื้อแซนโมแม้แต่น้อย จึงไม่สามารถให้ความกระจ่างได้

คงมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารโปรตุเกสมาช่วยตอบสักคนหรอกน่า

 ;D


กระทู้: อาหารโปรตุเกส
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ค. 12, 10:16
ระหว่างรอผู้เชี่ยวชาญ ขอเดาจากคำอธิบายว่า เนื้อหนา 2 นิ้วขนาดยาวตั้ง 16 นิ้ว  คงจะห่อม้วนมันหมู(ที่หมักกับส่วนผสมเรียบร้อยแล้ว)ได้    มันหมูกลายเป็นไส้ในของเนื้อชิ้นยาวใหญ่
ตุ๋นเสร็จก็หั่นเป็นแว่นๆ  จึงเห็นมันหมูอยู่ข้างใน

มีรูปมาประกอบค่ะ 
http://natski13.wordpress.com/2012/03/03/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1-ola-siao/