เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: หนอนบุ้ง ที่ 04 ต.ค. 07, 19:46



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 04 ต.ค. 07, 19:46
ป.ล. หนูหนอนบุ้ง ถ้าจะเข้ามาตอบ  ขอความช่วยเหลือจากหนูก่อน  กรุณารวบรวมเรื่องรัชกาลที่ ๖ ในกระทู้เก่าๆมาลงในกระทู้นี้ได้ไหมคะ    ดิฉัน search ไม่เจออีกแล้ว ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ไม่เป็นไรมิได้ค่ะ ตามบัญชา อาจารย์ท่านเรียกใช้ หนูบุ้งดีใจหน้าบานไม่รอช้าจัดให้ทันใจได้เป็นแผงดังนี้ค่ะ  ;D

ลิ้งค์เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๖ หนูค้นให้โดยใช้คีย์เวิร์ดต่อไปนี้ 
มงกุฎเกล้า / วชิราวุธ / พึ่งบุญ / รามราฆพ / อนิรุทธเทวา / ประวัติต้นรัชกาลที่๖ / เสือป่า / UP / V_MEE

ถ้าจะให้แฟร์นิดๆ ก็ใช้คีย์เวิร์ดเพิ่มเติม เช่น พระปกเกล้า 

ลิ้งค์ต้นๆ เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังคุยกันมากหน่อย ส่วนลิ้งค์ท้ายๆ ก็เกี่ยวน้อยหน่อยค่ะ 

กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ : สำหรับผู้อ่านเรือนไทยค่ะ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=226.0

๗๖ ปี วันมหาธีรราชเจ้า http://www.reurnthai.com/index.php?topic=820.0

พระราชพินัยกรรม ร.๖ เคยตีพิมพ์ที่ใดหรือไม่ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1815.0   

บันทึกเรื่องพระราชพินัยกรรมรัชกาลที่ ๖ "ฉบับเต็ม" http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2020.0

จดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรจนถึงสวรรคต
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1430.0   

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า vs สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1816.0   

Siamese volunteers force in the First World War
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1718.0   

มหาธีรราชานุสรณีย์ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1157.0   

เลิกธรรมเนียมนางร้องไห้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=438.0   

ในสมัยรัชกาลที่6 กองเสือป่า มียศไหมครับ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2121.0   

สงสัยเรื่อง ชื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2019.0   

อยากทราบข้อมูลและรูปเครื่องแต่งกายสมัยรัชกาลที่ ๖ ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2171.0     

หลักฐานนามสกุลพระราชทาน http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2134.0   

นามสกุลพระราชทาน http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1976.0   

รูปตราโรงเรียนวชิราวุธ (คคห ๓) http://www.reurnthai.com/index.php?topic=182.0   

งาน "เพชรรัตน-สุวัทนา สองราชนารีในรัชกาลที่ ๖" ณ พระราชวังพญาไท
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1534.0   

แบบเรียนของโรงเรียนมหาดเล็ก-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1772.0   

ดุสิตธานี http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1421.0   

การพระราชทานเครื่องสรงน้ำ-รดน้ำสงกรานต์
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1807.0   

สถานที่แห่งนี้คือที่ไหนค่ะ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1468.0   

100 ปี ม.ล.ปิ่น มาลากุล http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1149.0   

พระบรมวงศานุวงศ์ประทับอยู่ที่พระตำหนักหรือพระราชวังใดบ้าง (คคห ๓๕)
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1299.30   

ทำไมพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ถึงไม่ได้ครองราชย์คะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=127.0

มีคำนี้รึเปล่าครับ "กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา"
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1392.0   

อยากถาม คุณเทาชมพู ถึงตำแหน่งเหล่านี้ใน พระไอยการนาพลเรือน ทหาร หัวเมือง
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1487.0   

ภาษิตนักรบ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=49.0   

พระองค์เจ้าปฤษฎางค http://www.reurnthai.com/index.php?topic=174.0 

"หลวงยกกระบัตร" คือตำแหน่งอะไรครับ? http://www.reurnthai.com/index.php?topic=138.0

คำว่านิสิตและนักศึกษามีที่มาอย่างไร http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1173.0 

ภาพชีวิตสมัยพระปกเกล้าฯ (โบนัสจัดให้) http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1196.0   

เจ้าพระยามหิธร (โบนัสจัดให้) http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1190.0

อยากทราบเกี่ยวกับพระราชวังค่ะ (โบนัสจัดให้) http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1500.0

เอ็นจอยค่าาาาา  ;)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 04 ต.ค. 07, 19:49
ขอหนูร่วมแสดงความคิดเห็นนึดนึงค่ะ
อันว่าความสงสัยนั้น ทุกคนล้วนมีอยู่ในกมล
 
แต่เนื่องจากว่าบอร์ดนี้เป็นบอร์ดวิชาการ
หนูก็ขอเล่าประสบการณ์ความอยากรู้อยากเห็นเชิงวิชาการให้ฟังค่ะ

หนูเคยถามญาติผู้ใหญ่เกี่ยวกับเรื่องที่ใครๆก็สงสัย
คำตอบที่ได้รับคือท่านเจ้าคุณเป็นคนที่มี "charisma" ดีมาก
บุคลิกสง่าผ่าเผย อกผายไหล่ผึ่ง งดงาม
จะเดินเหิน พูดจา เนิบนาบ เป็นผู้ดี (ทั้งๆ ที่ท่านก็เป็นลูกแม่นมเท่านั้น)

นัยน์ตาและน้ำเสียงท่านมีพลัง บ่งบอกถึงความมีบารมี มีบ่าวไพร่มาก
ญาติผู้ใหญ่หนูใช้คำบรรยายว่า ท่านมี pleasant personality
ที่ใครๆ อยู่ใกล้ รู้สึกสบายใจ
อีกอย่าง ท่านเป็นคนพูดน้อย เป็นผู้ฟังที่ดี
ใครร้อนรนมา เจอท่าน กลายเป็นเย็นได้ในพลัน

คุณป้าหนูเป็นเพียงหลานคุณหญิง วิ่งเล่นในบ้านนรสิงห์
ติดใจว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ใจดี มีเมตตาบ่าวไพร่มาก


เอ... ที่หนูเขียนมาจะเกี่ยวไหมเนี่ยว่า ท่านได้รับพระเมตตาเลื่อนขั้นปีละ ๕-๖ ขั้น
อายุยังไม่เต็ม ๓๐ แต่ได้เป็นพลเอกซะแล้ว


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 07, 20:08
ขอบคุณมากนะจ๊ะ หนูบุ้ง   ถ้าหนูเอนจอยด้วย   ก็จะขอบ่อยๆ 
ที่เล่ามาเกี่ยวกับเจ้าคุณ ไม่ค่อยจะเป็นวิชาการเท่าไร  แต่ก็น่าฟัง   
ว่างๆหนูน่าจะตั้งกระทู้เล่าถึงพวกสุขุมบ้างจะดีไหม  เผื่อมีเกร็ดอะไรไม่ซ้ำกับในหนังสือ

ถ้าคุณป้าของหนูเคยวิ่งเล่นในบ้านนรสิงห์  ก็ย่อมจะวิ่งก่อน พ.ศ. 2484   จากนั้นบ้านกลายเป็นทำเนียบรัฐบาลไปแล้ว   ไม่มีสิทธิ์เข้าไปวิ่ง
คะเนจากอายุคุณป้า   เดาว่าตัวหนูเอง น่าจะเด็กมาก   ประมาณคุณ นิลกังขา  คุณ CrazyHOrse  หรืออาจจะรุ่นคุณพิพัฒน์ก็ได้  ;D


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 07, 22:16
มึนค่ะ ลำดับญาติไม่ถูก

สรุปว่า
๑)คุณลุงเป็นญาติฝ่ายคุณแม่ของหนูบุ้ง
๒)คุณป้าไม่ใช่ญาติหนูบุ้ง
๓)คุณป้ากับคุณลุงไม่ได้เป็นญาติกัน  แค่สนิทกันเฉยๆ
๔)คุณป้านามสกุลสุขุม
ก็น่าจะลบได้นะคะ  ถ้าไม่มีใครติดใจอยากถามอะไร

อ้อ เพิ่งนึกได้   อยากทราบว่าพระยาสุขุมนัยวินิต  ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ.ไหน และตำแหน่งงานสุดท้ายของท่านคืออะไร


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ต.ค. 07, 22:22
ในฐานะสมาชิกใหม่  ขอบคุณคุณหนอนบุ้งอีกครั้งสำหรับลิ้งค์กระทู้ต่างๆ


ใน ความคิดเห็นที่ ๓๑  เจ้าพระยารามราฆพ มิใช่เป็นแค่บุตรแม่นมนะคะ  บิดาท่านคือพระยาประสิทธิศุภการ(ม.ร.ว. ละม้าย)
เกิดเมื่อ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓

ตัวท่านเองได้รับยศของบิดาเมื่อท่านอายุได้ ๒๒(๒๗ ธันวาคม ๒๔๕๕)
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าพระยาเมื่อท่านอายุ ๓๑( ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๔)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 04 ต.ค. 07, 23:42
เสียดายจังครับ ผมเข้ามาอ่านความคิดเห็นที่ 35 ของคุณหนอนบุ้งไม่ทัน
ต้องขอบคุณ คุณหนอนบุ้งมากครับ สำหรับเรื่องน่าอ่านๆ และประมวลลิงค์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่คุณทำไว้ครับ



ปล. ถึงคุณ KoKoKo นะครับ
คนอย่างผมเองเมื่อก่อน (เอ๊า จนไม่กี่วันที่ผ่านมานี่ล่ะครับ) ก็ยังเป็นตัวป่วนในเรือนอยู่
เหมือนเด็กซนๆ แก่นๆ คอยยั่วแหย่แขกในเรือน (ทั้งๆที่บางท่านก็เป็นผู้ใหญ่กว่าผมมาก)
หลายครั้งทำไป ก็ต้องแอบไปกราบขอโทษอาจารย์เทาชมพูหลังไมค์ เพราะทราบดีว่าท่านคงไม่สบายใจกับพฤติกรรมแบบนี้

จนวันก่อน เห็นกระทู้ที่ท่านปักหมุดไว้ว่าบอร์ดนี้ ผู้พิการทางสายตาสามารถรับฟังข้อความได้
ขออนุญาตเล่าว่าความรู้สึกแรกที่รับรู้คือ "อึ้ง" และ "เสียดาย" อย่างบอกไม่ถูกซึ่งตามมาด้วย "ความรู้สึกผิด" ครับ
การอ่านด้วยตาของคน กับการฟังจากหู ความช้าเร็วมันต่างกันมากนะครับ

สมมุติว่าผมได้รับนวนิยายเรื่องเรือนมยุรามาเล่มนึง ผมมั่นใจว่าถ้าผมว่างๆอย่างทุกวันนี้ผมใช้เวลาอ่านวันเดียวจบได้
เพราะเราอ่านด้วยตา ความไวประมาณสามในสี่หน้าต่อนาที
(ที่พูดนี่หมายถึงอ่านแบบไวๆ เหมือนอ่านแฮรี่ พอตเตอร์ฉบับภาษาไทยทวนอีกทีหลังจากอ่านภาษาอังกฤษ นะครับ)

แต่กับผู้พิการทางสายตา ผมอยากรู้เหมือนกันว่าเขาจะรับฟังความเห็นในกระทู้ยาวๆได้ครบกระทู้ไหมถ้าเขานั่งฟังทั้งวัน ?
ลองคิดดูนะครับ ว่ากระทู้นึงเอายี่สิบหน้าพอ ผมก็ไม่มั่นใจว่าถ้าเขาไปเจอความคิดเห็นที่นี่เต็มเอี๊ยดด้วยคุณภาพหลายความคิดเห็นต่อหน้า เขาจะฟังได้หมดทั้งกระทู้หรือ ?
แล้วถ้าเขามาฟังขยะอย่างที่นายติบอทิ้งเอาไว้ จากการแอบเข้ามาป่วน มากวน มาชวนให้เขวไป..... จะเสียเวลาในการรับฟังของเขาไหม ?


ต่อแต่นี้ไป นายติบอ..... เออ...... พูดไม่ออกครับ แหะๆ ::)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 07, 07:34
ลบความเห็นของหนูบุ้งไปแล้ว    หนูเองก็คงรู้ว่าไม่สมควร ถึงได้บอกไว้ก่อน

เห็นด้วยกับหนูว่าไม่สมควร  คุณป้าไปตลาดอตก. หยอดเงินบริจาคให้เด็ก  แล้วยังบอกชื่อบอกนามสกุลตัวเอง
ไปเจอเด็กประหลาด     อ่านหนังสือหายากที่คนทั่วไปหาอ่านไม่ได้ ยังไม่พอ    ความจำดีเลิศ จำตอนไหนไม่จำ ไปจำตรงประโยคที่เอ่ยถึงพระนามเจ้านาย ด้วยพระนามเดิม  เหมือนเป็นเพื่อนฝูงกันมา   แล้วบอกคุณป้าประโยคนี้เป๊ะๆ   
เสียแรงเธอเป็นคนแสวงหาความรู้เรื่องเจ้านาย  ฝังอกฝังใจจนจำทุกคำได้  แต่ไม่ยักรู้ว่าอะไรควรมิควรในการพูดกับผู้ใหญ่ และในที่สาธารณะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: KoKoKo ที่ 05 ต.ค. 07, 17:13
         
        เมื่อหลายวันก่อนคุยกับเพื่อนคนไทยน่ะครับ ว่าเทศกาลไทยในญี่ปุ่นปีนี้จัดหลายรอบ เร็วๆนี้ก็เพิ่งจัดที่สวนสาธารณะอุเอะโนะมีการสร้างเรือนไทยไว้ด้วย เสียดายที่ฝนตกน่ะครับ เลยไม่ได้ไปร่วมงาน แต่ไปคอนเสิร์ตของไอซ์ ศรัญญู ที่คาบุกิโจะ มานะคับ สนุกดีนะครับ เทศกาลไทยสมัยก่อนจัดแค่สองที่ ก็คือที่สวนสาธารณะโยโยงิ และที่นาโงย่า หลังๆ จัดตามหัวเมืองใหญ่ ทั้งฮิโรชิมาโอซาก้า ฟุกุโอกะ เป็นต้น พูดถึงนาโงย่าเลยเกิดแว๊บขึ้นในหัว คุ้นๆเคยได้ยินวัดไทยในญี่ปุ่น ที่ค่อนข้างเก่า อยู่ที่นั่น เข้าไปหาในเวปสถานฑูตไทย ได้ประวัติที่น่าอ่าน เลยขออนุญาต หยิบมาให้อ่านกันน่ะคับ นอกจากนั้นแล้ว ยังสอบถามศาสตราจารย์กุ๊กเกิล ท่านเลยให้เวปที่มีรูปถ่ายสวยๆมาฝากน่ะคับ (เวปเป็นภาษาญี่ปุ่นน่ะครับ เนื้อหาคล้ายๆ กับของสถานฑูต แต่มีรูปถ่ายสวยครับผม)

ประวัติของวัดนิตไทยจิ (วัดไทย-ญี่ปุ่น) 覚王山日泰寺
เมืองนาโงยา ประเทศญี่ปุ่น

         เมื่อปีพ.ศ. 2441 นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดค้นโบราณสถานทางเหนือของอินเดียใกล้กับเนปาลแล้วค้นพบอัฐิธาตุของมนุษย์ บรรจุไว้ในโถซึ่งมีจารึกอักษรโบราณในสมัยหลังพุทธกาลราว 3 ศตวรรษ

           ครั้นถอดความได้สำเร็จ ปรากฏว่าข้อความนั้นยืนยันว่า อัฐิธาตุนั้นคือ พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จ พระบรมศาสดา ศากยมุนีพุทธเจ้า การค้นพบครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของเอเชีย เพราะเป็นการยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลที่มีอยู่จริง ยังผลให้ประวัติศาสตร์ที่เคยเชื่อกันในหลายวงการว่า พระพุทธเจ้ามิได้เป็นมนุษย์ในโลกนี้ เป็นอันสิ้นสุดไป

           โดยที่รัฐบาลอังกฤษที่ปกครองอินเดียอยู่ในเวลานั้น เห็นว่าพระบรมสารีริกธาตุที่แท้เช่นนี้ เป็นของมีค่าอย่างหาที่สุดมิได้สำหรับพุทธศาสนิกชน และเห็นว่าพระเจ้ากรุงสยามเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์เดียวที่เหลืออยู่ในโลกเวลานั้น เพราะประเทศสยามเป็นพุทธจักรที่เป็น เอกราชอยู่หนึ่งเดียวเท่านั้น รัฐบาลแห่งอินเดียจึงถวายพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงรับมาประดิษฐานไว้บนพระเจดีย์ที่ยอดของพระบรมบรรพต(ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ในกรุงเทพฯ

           ต่อมาได้มีสมณทูตจากประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น ขอส่วนแบ่งแห่ง พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปันพระบรมสารีริกธาตุไปยังประเทศนั้นๆ สำหรับญี่ปุ่นได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่พุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่นโดยรวม โดยไม่จำเพาะเจาะจงให้กับนิกายใดเป็นการเฉพาะ

           ฝ่ายพุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่นได้ส่งตัวแทนจากพุทธนิกายไปยังกรุงเทพฯ เพื่ออัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุมายังประเทศของตน และได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2443 โดยคณะสมณทูตได้กราบบังคมทูลว่า จะสร้างพระเจดีย์ขึ้นใหม่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการรวมนิกายต่างๆ และเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระพุทธรูปโบราณ และพระราชทรัพย์เพื่อสร้างวัดใหม่นั้นด้วย พระพุทธรูปองค์นี้งามวิจิตรพิศดาร และมีอายุเก่าแก่ ว่าเป็นศิลปะคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่งของประเทศสยามขณะนั้น

           เมื่อคณะสมณทูตญี่ปุ่นกลับมาจากประเทศสยาม ได้ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างต่างนิกาย แล้วตกลงเลือกสร้างวัดและพระเจดีย์ที่เมืองนาโงยา เพราะชาวเมืองเรียกร้องต้องการมากที่สุด จึงได้มีการก่อสร้างวัดนิตไทยจิ (วัดไทย-ญี่ปุ่น) ขึ้นที่เลขที่ 1-1 โฮโอโจ เขตจิคุซา เมืองนาโงยา จังหวัดไอจิ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน พ.ศ. 2447

        สถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั้น ศาสตราจารย์จูตะ อิโต แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวเป็นผู้ออกแบบและสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2461 พระสถูปศิลาองค์นี้ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของศาสตราจารย์อิโต และได้รับการยอมรับในประเทศญี่ปุ่นในเวลาต่อมาว่างดงามทางพุทธสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง

           พระวิหารซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งรับพระราชทานมาจากประเทศสยามนั้น ได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2527 เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูป ภปร. เพิ่มมาอีกหนึ่งองค์ พร้อมทั้งทรงเขียนลายพระราชหัตถ์เพื่อช่างจารึกลงบนป้ายไม้ด้วยลายจำหลักทองชื่อ “พระพุทธศากยมุนี” โดยมีพระปรมาภิไธยย่อของพระองค์เอง และของพระบรมอัยกาธิราชประกอบอยู่ 2 ด้านของแผ่นป้าย ป้ายดังกล่าวประดิษฐานอยู่เหนือประตูทางเข้าพระวิหารในขณะนี้

           วัดนิตไทยจิ หรือวัดไทยญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง และเป็นวัดที่มีเอกลักษณ์เป็นพิเศษทางพุทธศาสนาของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นวัดเดียวที่รวมนิกายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่ถือว่าสังกัดนิกายใดนิกายหนึ่ง เจ้าอาวาสของวัด ใช้ระบบสับเปลี่ยนให้ หัวหน้าสงฆ์จาก 19 นิกายดำรงตำแหน่งวาระ ละ 3 ปี

           โดยที่วัดนิตไทยจินี้ก่อตั้งขึ้นจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปให้กับพุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่น จึงถือได้ว่า มีความใกล้ชิดกับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชวงศ์ของไทยเป็นพิเศษ และราชวงศ์ของไทยหลาย พระองค์ได้เสด็จฯยังวัดแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จฯ ยังวัดนิตไทยจิ ในระหว่างการเสด็จฯ เยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ที่วัดนิตไทยจิ เมื่อปี พ.ศ. 2506 และเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในโอกาสเฉลิมฉลอง 100 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น วัดนิตไทยจิได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานที่บริเวณหน้าพระวิหาร ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ มาทรงเปิดแพรคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2530

         นอกจากนี้ ในวันปิยะมหาราช หรือตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เจ้าหน้าที่หน่วยงานไทย และชุมชนไทยในประเทศญี่ปุ่น จะร่วมกันถวายสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ณ วัดแห่งนี้ด้วย

          วัดนิตไทยจิได้ฉลองครบรอบ 100 ปี ของการได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และได้ฉลองครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งวัดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

ข้อมูลจากสถานฑูตไทย
http://www.thaiembassy.jp/rte0/content/view/293/202/

เวปไซต์ที่เกียวข้องและรูปถ่าย
http://www.a-namo.com/ku_info/chikisaku/pages_n/nittaiji.htm
http://ja.wikipedia.org/wiki/%E6%97%A5%E6%B3%B0%E5%AF%BA
http://www.kakuozan.com/top.html

ปล.
ขอบคุณ คุณหนอนบุ้ง นะครับ ผมเลยได้อ่านกระทู้เก่าๆ น่าสนใจทั้งนั้นนะครับ
ถ้าจะกวนกระทู้เก่าๆ ให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่ จะได้รึเปล่านะครับ คุณเทาชมพู


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ต.ค. 07, 17:43
ถ้ากระทู้นั้นสามารถโพสข้อความใหม่ได้  ไม่มีปัญหากับระบบ  ก็สามารถโพสข้อความได้ค่ะ
มันจะขึ้นมาอยู่หน้าแรกให้คนอื่นเห็นได้เอง


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 06 ต.ค. 07, 00:06
คนอย่างผมเองเมื่อก่อน (เอ๊า จนไม่กี่วันที่ผ่านมานี่ล่ะครับ) ก็ยังเป็นตัวป่วนในเรือนอยู่
.......................แล้วถ้าเขามาฟังขยะอย่างที่นายติบอทิ้งเอาไว้ จากการแอบเข้ามาป่วน มากวน มาชวนให้เขวไป..... จะเสียเวลาในการรับฟังของเขาไหม ?

ฮั่นแน่ เจอแล้ว ยังตะหงิดๆ ที่อาจารย์เทาชมพูเคยพูดไว้ในกระทู้นี้ การใส่รูปในกระทู้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2304.msg44415;topicseen#msg44415

คนที่เข้ามาเล่นเน็ตตามเวบบอร์ดต่างๆ  อาจไม่ใช่ปกติชนเสมอไป   บางครั้งคนพาลหรือคนมีอาการทางจิต ก็อาจพลัดเข้ามาได้   เพราะระบบสมาชิกไม่สามารถกลั่นกรองได้ว่า

อาจารย์ขา หนูจับขาคุณพี่ติบอไว้แล้วนะคะ อาจารย์จะให้ใส่ตะกร้าล้างน้ำ หรือ ถ่วงน้ำดีคะ

อิ อิ คุณพี่ติบอขา หนูบุ้งแอบช่วยป่วนให้หายพูดไม่ออกค่ะ แต่ก็ดีใจเหมือนกันที่คุณพี่คิดได้ หนูพลอยได้กระจ่างไปด้วย

เอ้า ฮุย เล ฮุย เหวี่ยงลงน้ำไปเล้ยยยยย  ;D





กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 06 ต.ค. 07, 00:39
อาจารย์ขา หนูจับขาคุณพี่ติบอไว้แล้วนะคะ อาจารย์จะให้ใส่ตะกร้าล้างน้ำ หรือ ถ่วงน้ำดีคะ


แง่ว..... คุณบุ้งจ๋า.......
นายติบอเป็นคนธรรมดาเน่อ
บ่ใจ้กลอย หรือแม่นาคดอก
อย่าล้างน้ำ ถ่วงน้ำ เลยน๊า......


บ่ฮักบ่ต้องฉงฉาน ข่อยสิไปตายเอาเมืองกุ่งเต๊บ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 07, 08:24
ขอบคุณคุณหนอนบุ้งสำหรับคำตอบ   ตรงบ้างไม่ตรงบ้างค่ะ
ยังไม่ทราบปีพ.ศ. ที่พระยาสุขุมนัยวินิตถึงแก่กรรม  คงต้องค้นหาต่อไป

ประวัติของตระกูลนี้มีผู้เขียนเอาไว้ละเอียดลออดีแล้ว ถึง ๒ เล่ม ค่ะ 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 06 ต.ค. 07, 08:46
เคยอ่านในจดหมายเหตุการเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร โดยวิถีรอบพิภพ ซึ่งพระยาศรีวรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์) เรียบเรียง จำได้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เคยเสด็จฯ ไปทรงปลูกต้นไม้ไว้ที่วัดพุทธในญี่ปุ่นวัดหนึ่ง ผมจำชื่อไม่ได้แล้วว่าวัดอะไร เมื่อเร็วๆ นี้ยังเห็นภาพในอินเทอร์เนตว่าต้นไม้ต้นนั้นยังอยู่ดี มีป้ายปักบอกประวัติไว้ด้วย แต่ตอนนี้หาภาพนั้นไม่เจอเสียแล้ว หากคุณ KoKoKo พอจะสืบหาและถ่ายภาพมาให้ชมได้บ้าง ก็จะเป็นพระเดชพระคุณมาก


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 06 ต.ค. 07, 11:21

       อ่านเรื่องเด็กที่อาจารย์เล่าต่อจากคห. หนูหนอนบุ้งแล้ว สงสัยว่าจะเป็นเด็กพิเศษ ออทิสติค ครับ

         เรื่องมุดใต้โต๊ะรับประทานอาหารจากผู้ใหญ่ ถ้าจำไม่ผิด ดูเหมือนเคยอ่านพบว่าอ.คึกฤทธิ์ ตอนท่านยังเล็กอยู่ ท่านก็เคยมุดอยู่ใต้โต๊ะเสวย
ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้รับประทานขาไก่พระราชทานจากพระองค์ท่าน

         ลองค้น google เจอแล้วครับ จากบทความ การวิจารณ์ศิลปะ-วรรณกรรมแนวหลังอาณานิคม นพพร ประชากุล

          กษัตริย์ของเราที่ท่านเป็นตะวันตกมากๆ ก็จะมีวิถีชีวิตด้านหนึ่ง ด้านเหนือโต๊ะก็เป็นตะวันตก แต่ด้านใต้โต๊ะเป็นพื้นเมือง
อันนี้ อ.คึกฤทธิ์เป็นคนเล่าเองว่า สิ่งที่ประทับใจเป็นบุญวาสนาในชีวิตคือเมื่อตอนอายุ ๑๓-๑๔ ขวบยังทันถวายการรับใช้รัชกาลที่ ๖ ด้วยการอยู่รับใช้ใต้โต๊ะ
นวดพระบาท อ.คึกฤทธิ์ก็เล่าอย่างตรงไปตรงมาว่า บนโต๊ะท่านก็คุยเรื่องฝรั่ง เชคสเปียร์ แล้วท่านก็เสวยขาไก่ เสร็จก็โยนลงไปใต้โต๊ะให้มหาดเล็ก
สมัยนั้นก็คือ อ.คึกฤทธิ์ รับประทานต่อของเหลือจากพระองค์ท่านก็เป็นสิริมงคลอย่างสูง

         


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ต.ค. 07, 12:10
เรื่องมุดใต้โต๊ะภวายงานนวดและปัดยุงสมด็จพระบรมโอรสาธิราช จำได้ว่า พล.โทประยูร ภมรมนตรีก็เล่าไว้
ในหนังสือ ๕ แผ่นดินของข้าพเจ้า  ว่าถวายอยู่งานพัดและนวด เวลาที่ทรงพระอักษรและเสวยหรือเมื่อทรง
ต้อนรับเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

ถึงตอนเสวยไอสครีมพระองค์ท่านมักจะโปรดเกล้า ส่งมาประทานใต้โต๊ะ

บางครั้งพระราชทานขาไก่   ตอนนี้มักเกิดเรื่องวิบาก เพราะย่าเหลสุนัขตัวโปรดเข้ามาแย่ง

ไม่เห็นคุณคึกฤทธิมีปัญหากับย่าเหล  ท่านคงพูดกับย่าเหลรู้เรื่องเป็นแน่...


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 07, 12:32
ค.ห.หลังๆนี้ออกนอกเรื่องความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นไปมากแล้ว  ถ้าคุณโคเจ้าของกระทู้ อยากจะแยกส่วนนี้ออกไปเพื่อให้เหลือเนื้อหาไทย-ญี่ปุ่นล้วนๆ  ก็ช่วยบอกด้วยค่ะ  ดิฉันจะทดลองแยกกระทู้ด้วยฝีมือผู้ไม่ชำนาญอีกครั้ง  ไม่อยากรบกวนคุณอาชาผยอง  ตอนนี้ไม่ค่อยสบาย

ถ้าใครสงสัยว่ามหาดเล็กไปมุดอยู่ใต้โต๊ะเสวยทำไม  หน้าที่อื่นๆดิฉันไมทราบ  แต่รู้อยู่อย่างหนึ่ง คือเรื่องแผลเป็นของพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ทรงเข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่ง    นายแพทย์เย็บแผลไม่เรียบร้อย  เกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ที่เบื้องล่างพระนาภีซีกขวา   
ลักษณะเป็นถุงกลมประมาณเท่าผลส้มเกลี้ยงขนาดใหญ่    ปูดออกมาจากผิวพระนาภี
พระเจ้าอยู่หัวต้องทรงใช้ผ้าแถบรัดบั้นพระองค์ขณะทรงสนับเพลาแพร    เพื่อรัดโยงแผลเป็นนั้นไว้   มิฉะนั้นจะถ่วงพระนาภีให้ไม่ทรงสบายพระวรกาย
แผลเป็นนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังมาตลอดรัชสมัย  คือพระอันตะ(ไส้)เลื่อนเข้าสู่ถุงนี้เมื่อเสวยเสร็จใหม่ๆ เพราะมีช่องเปิดอยู่    ทำให้ทรงอึดอัด   
เป็นหน้าที่มหาดเล็กอยู่งาน จะต้องค่อยๆ ช้อนถุงเนื้อนี้เบาๆ  ยกขึ้นข้างเหนือ แล้วเอียงให้เทคว่ำเข้าในพระนาภี  เป็นเสียง “จ๊อกๆ” ยาวๆ
แล้วจะทรงสบายหายอึดอัด ได้พักหนึ่ง ก่อนจะถึงเวลาเสวยครั้งต่อไป  ซึ่งก็จะวนเวียนอึดอัดอยู่อย่างนี้


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 06 ต.ค. 07, 12:51
พระมหากษัตริย์และเจ้านายในสมัยก่อน โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๖ เวลาประทับเสวยแบบฝรั่ง จะมีมหาดเล็กใต้โต๊ะคอยนวดพระบาทและพระชงฆ์ครับ จมื่นมานิตย์นเรศร์ (เฉลิม เศวตนันทน์) ท่านบันทึกไว้อย่างละเอียด อ่านสนุกมากในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของท่าน เสียดายผมไม่มีอยู่ในมือตอนนี้ ท่านว่าบางทีก็รับสั่งคุยกันสนุกสนานจนถึงกับทรงออกท่าออกทาง มหาดเล็กใต้โต๊ะเผลอโดนพระบาทเข้าแรงๆ ก็มี ก็มีรับสั่งขอโทษ หรือบางทีมหาดเล็กเกิดหิว ก็สะกิดขุนนางที่เมตตาผู้ร่วมโต๊ะเสวยอยู่ให้ช่วยหยิบอาหารแอบหย่อนลงมาใต้โต๊ะให้ได้รับประทานกันอยู่เนืองๆ

ส่วนที่ว่ามหาดเล็กกว่าสุนัขทรงเลี้ยงแย่งอาหารกันนั้น ผมก็ไม่ใคร่จะแน่ใจว่าเท็จจริงอย่างไร เพราะเท่าที่เคยได้ยินมา สุนัขที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเลี้ยงไว้นั้น ในระหว่างเสวย จะมีคุณพนักงานคอยป้อนอาหารเลี้ยงอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ปล่อยให้เพ่นพ่าน บางทีพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงแบ่งเครื่องเสวยมาให้สุนัขทรงเลี้ยงเหล่านั้น คุณพนักงานเล่าว่าสุนัขพวกนี้ฝึกมาดี มารยาทเรียบร้อยมากไม่มีเห่า หรือมูมมามเลย ค่อยๆ กินเป็นคำๆ ไม่ป้อนถึงปากก็ไม่กิน กินเสร็จคุณพนักงานยังต้องใช้กระดาษทิชชูเช็ดปากอีกแน่ะ

การนั่งหรือนอนใต้โต๊ะใต้เตียงสมัยก่อนก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ผู้ใหญ่ที่รู้จักที่เคยเป็นข้าหลวงในวังหลวงท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า ข้าหลวงที่เป็นลูกผู้ดี ก็จะมีคนรับใช้ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านด้วย ตกกลางคืนตัวข้าหลวงก็นอนบนเตียง ส่วนบ่าวของข้าหลวงคนนั้นก็นอนใต้เตียง เตียงใครเตียงมัน และใต้เตียงใครใต้เตียงมัน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ต.ค. 07, 13:23
เตียงโบราณคงสูงและโปร่งกว่าสมัยนี้มาก   นึกภาพเตียงทองเหลือง หรือเตียงไม้มีเสา     ถ้าเตี้ยเหมือนเตียงสมัยนี้  คงมุดเข้าไปนอนลำบากแถมอึดอัดหายใจไม่ออกอีกด้วย    ขนาดกวาดใต้เตียงยังลำบากเลย

ขอออกนอกแถวไปอีกไกลสักเรื่องนะคะ   เรื่องนอนใต้เตียงที่คุณ UP เล่า ทำให้นึกได้ถึงเรื่องจริงโรแมนติคที่อ่านพบในหนังสืออนุสรณ์งานศพเรื่องหนึ่ง
ขอเว้นชื่อผู้เล่าและสามีผู้ล่วงลับของท่านไว้

ผู้เล่าเล่าว่าเธอเป็นเด็กสาวไม่ประสีประสาเมื่อฝ่ายชายมาสู่ขอ    ผู้ชายแอบมาดูตัวก็ถูกใจ ให้ผู้ใหญ่มาสู่ขอ ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ตกลง
เจ้าสาวกลัวจนตัวสั่นเมื่อถึงคืนส่งตัว    เจ้าบ่าวดูออก ก็ไม่หักหาญน้ำใจ    ตกลงว่าอยู่กันไป แบบเจ้าบ่าวนอนบนเตียง  ส่วนเจ้าสาวไปนอนใต้เตียงทุกคืน
นอนอยู่อย่างนี้เป็นเดือนๆ  จนแม่เจ้าสาวจับได้   เรียกเสียงเขียวให้คลานออกมาจากใต้เตียง แล้วก็ให้โอวาทสารพัด
นอนร่วมห้องกันมาเป็นเดือนๆแบบนี้ทำให้เจ้าสาวตระหนักถึงน้ำใจประเสริฐของสามี    ถึงตอนนี้ก็เลิกกลัว กลายเป็นความรักกันแล้ว
เรื่องจึงจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง

ฝ่ายหญิงมารำลึกเรื่องนี้ในงานศพของสามีเธอ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 06 ต.ค. 07, 14:29
ขอบพระคุณคุณเทาชมพูที่เล่าเกร็ด "ใต้เตียง" ให้ฟังครับ นับเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการนอนใต้เตียงนั้นเป็นไปได้จริงๆ ในสมัยก่อน ถ้าเป็นสมัยนี้ คงหัวปูดหัวโนกันทุกวัน เพราะเตียงส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เตี้ยๆ

ไม่น่าเชื่อว่าจะมีรักแท้เกิดที่ใต้เตียง ไม่ว่าจะเป็นรักอย่างนายกับบ่าว หรือรักอย่างสามีกับภรรยา


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ต.ค. 07, 15:31
จมื่นมานิศย์นเรศ(เฉลิม เศวตนันทน์)เล่าเรื่องชีวิตเด็กๆของท่าน  ชีวิตเมื่อเป็นมหาดเล็กหลวง ท่านนั้นอยู่กองตั้งเครื่อง กรมมหาดเล็ก

ในเรื่องถวายอยู่งานใต้โต๊ะขณะกำลังเสวยก็น่าสนใจ   


ขอคัดหนังสือ การอนุสรณ์ "ศุกรหัศน์" เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพท่าน ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๑

หน้า ๒๙๔
"พวกเราเด็กๆเวลานั้นแต่งเครื่องแบบมหาดเล็ก คือรองเท้าหุ้มข้อหรือรองเท้าหุ้มส้นสีดำ  กางเกงขาวขายาว สวมเสื้อแบบราชการสีขาว  ดุมกาไหล่ทอง ๕ เม็ด ตราพระเกี้ยว  มีอินธนูหน้าจั่วสีบานเย็น
ประดับหมวกทรงหม้อตาลสีขาว กระบังดำ สายรัดสีทอง มีตราพระเกี้ยวกาไหล่ทองหน้าหมวก
แต่เพราะผู้เล่าเป็นบุตรตำรวจหลวง จึงโปรดเกล้าฯให้แต่งเครื่องแบบอย่างนายเวรตำรวจ  คือ เสื้อกางเกงหมวกรองเท้าเหมือนกัน แต่อินธนูเป็นอย่างทหาร มีขอบแต่ไม่มีกิมเช็ง คือดอกไม้ทองรอบ  ไม่มีดาวเป็นอย่างว่าที่  แต่มีรัตประคตเอวสีแดงแปลกอยู่ครเดียว  ดูจะผิดสีอยู่หน่อย  แต่เข้ากันได้ดี"


หน้า ๓๓๕
"รัชกาลที่ ๖  โปรดการนวดที่เรียกตามราชาศัพท์ว่าถวายอยู่งานมาก   มหาดเล็กต้องถวายอยู่เกือบทุกเวลา  เช่นเสวย  บางทีทรงพระอักษร คือเขียนหนังสือ   แต่ละคราวมหาดเล็กต้องใช้พลังงานอย่างหนักเสมอ  แต่ตอนไหนไม่ขลุกขลักเท่าเข้าถวายอยู่งานใต้โต๊ะกำลังเสวย  เพราะโต๊ะอาหารใครก็ทราบว่าไม่สูงนัก  และผู้อยู่งานจะต้องใช้หน้าตักของตนรองรับพระบาทไว้ เคลื่อนย้ายไม่สดวก 
ดังนั้นจึงต้องเลือกคุณมหาดเล็กผู้มีขนาดชนิดมะขามข้อเดียว และข้อแข็ง เพราะต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆสองชั่วโมงเต็ม 
แต่พวกเรามิได้เคยเบื่อหน่ายเพราะด้วยอยากให้ท่านเป็นสุข

คนเข้าใต้โต๊ะต้องได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ  เพราะบางทีอาจมีการปรึกษาข้อราชการที่ไม่ประสงค์ให้แพร่หลายนักด้วย"


ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เรื่องการไหว้ครู และคุณหลวงยงเยี่ยงครู ที่อยากจะนำมาเล่าในโอกาสอันควรต่อไป เมื่ือคุณเทาชมพูเห็นควร
เพราะเป็นเรื่องพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ เรื่องราวของพระแสงดาบตีนตวงที่ผู้เชิญต้องสวมเสื้อครุยทุกครั้ง  และการรำถวายอย่างสุดฝีมือสมชื่อว่า ยงเยี่่ยงครู



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 06 ต.ค. 07, 16:43
 อ่านเรื่องเด็กที่อาจารย์เล่าต่อจากคห. หนูหนอนบุ้งแล้ว สงสัยว่าจะเป็นเด็กพิเศษ ออทิสติค ครับ

อะไรคะ คุณพี่ SILA หมายถึงความเห็นไหนคะ

อันนี้ใช่มั้ย...........
ขอบคุณมากนะจ๊ะ หนูบุ้ง   ถ้าหนูเอนจอยด้วย   ก็จะขอบ่อยๆ 
ที่เล่ามาเกี่ยวกับเจ้าคุณ ไม่ค่อยจะเป็นวิชาการเท่าไร  แต่ก็น่าฟัง   
ว่างๆหนูน่าจะตั้งกระทู้เล่าถึงพวกสุขุมบ้างจะดีไหม  เผื่อมีเกร็ดอะไรไม่ซ้ำกับในหนังสือ

ถ้าคุณป้าของหนูเคยวิ่งเล่นในบ้านนรสิงห์  ก็ย่อมจะวิ่งก่อน พ.ศ. 2484   จากนั้นบ้านกลายเป็นทำเนียบรัฐบาลไปแล้ว   ไม่มีสิทธิ์เข้าไปวิ่งคะเนจากอายุคุณป้า   เดาว่าตัวหนูเอง น่าจะเด็กมาก   ประมาณคุณ นิลกังขา  คุณ CrazyHOrse  หรืออาจจะรุ่นคุณพิพัฒน์ก็ได้  ;D

หรือว่า............
มึนค่ะ ลำดับญาติไม่ถูก

สรุปว่า
๑)คุณลุงเป็นญาติฝ่ายคุณแม่ของหนูบุ้ง
๒)คุณป้าไม่ใช่ญาติหนูบุ้ง
๓)คุณป้ากับคุณลุงไม่ได้เป็นญาติกัน  แค่สนิทกันเฉยๆ
๔)คุณป้านามสกุลสุขุม
ก็น่าจะลบได้นะคะ  ถ้าไม่มีใครติดใจอยากถามอะไร

อ้อ เพิ่งนึกได้   อยากทราบว่าพระยาสุขุมนัยวินิต  ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ.ไหน และตำแหน่งงานสุดท้ายของท่านคืออะไร

หรือว่าอันนี้...............
ลบความเห็นของหนูบุ้งไปแล้ว    หนูเองก็คงรู้ว่าไม่สมควร ถึงได้บอกไว้ก่อน

เห็นด้วยกับหนูว่าไม่สมควร  คุณป้าไปตลาดอตก. หยอดเงินบริจาคให้เด็ก  แล้วยังบอกชื่อบอกนามสกุลตัวเอง
ไปเจอเด็กประหลาด     อ่านหนังสือหายากที่คนทั่วไปหาอ่านไม่ได้ ยังไม่พอ    ความจำดีเลิศ จำตอนไหนไม่จำ ไปจำตรงประโยคที่เอ่ยถึงพระนามเจ้านาย ด้วยพระนามเดิม  เหมือนเป็นเพื่อนฝูงกันมา   แล้วบอกคุณป้าประโยคนี้เป๊ะๆ   
เสียแรงเธอเป็นคนแสวงหาความรู้เรื่องเจ้านาย  ฝังอกฝังใจจนจำทุกคำได้  แต่ไม่ยักรู้ว่าอะไรควรมิควรในการพูดกับผู้ใหญ่ และในที่สาธารณะ


ที่คุณพี่ SILA สงสัยว่าจะเป็นเด็กพิเศษ ออทิสติค มาจากความเห็นอันไหนของอาจารย์กันแน่คะ หนูจะได้ตอบได้ถูก


งึม....งึม...งำ...งำ..... :( ใครอ่า ไม่เห็นมีใครเป็นออทิสติคซักคนนี่นา หนูบุ้งเริ่มงอนตัวขดหมดแล้ว
คุณพี่ขา วานบอกหน่อยเถอะค่ะ หนูกลัวเป็นตะคริว ยืดตัวไม่ออก   :-\



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ต.ค. 07, 22:32
คุณหนอนบุ้ง

ถามนิดนะคะ  เสร็จ state dinner   แล้วใครสัพพี
เห็นบอกถวายภัตตาหาร



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 06 ต.ค. 07, 22:44
เห็นบอกถวายภัตตาหาร

ภัตตาหาร?? จะเขียนว่าดินเนอร์ อังกฤษคำไทยคำ ก็กลัวพวกอนุรักษ์ไทยจะค่อนเอา

หนูเองก็แหม่งๆ อยู่คำนี้ ปล้ำคิดอยู่นาน อืมม์ เค้าเรียกว่าไงคะคุณพี่วันดีขา หนูแก้ไขแล้วค่ะ

แล้วหนูเขินจัง

สัพพี เอ้อ คือไรง่ะ
ขอเดาว่าเป็นคำสนธิ สารพี+ทัพพี ใช่ไหมคะ อิอิ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ต.ค. 07, 00:21
โถ คุณบุ้ง
"เด้กออทิสม์" ที่คุณ SILA ว่าไว้น่ะ
ผมสงสัยว่าผมเองครับ ฮี่ฮี่ :-X


อย่าเพิ่งกังวลไปนะครับ ;D


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: elvisbhu ที่ 07 ต.ค. 07, 08:50
ผมไม่เคยมีชีวิตที่ต้องแผ้วพานกับคนญี่ป่น จนมาเจอเพื่อนของญาติ เขาไปอยูปายแล้วครับ จากบ้านหรู อพาร์ทเมนต์แพงแต่งไทยที่สุขุมวิท ตอนนี้ไปปลูกผัก อยูปาย ทิ้งทุกอย่าง ..
กลับไปที่พื้นฐาน
ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของสองชาติ ชนิดเป็นเนื้อเป็นหนัง
คุณภูมิน่าจะเข้ามาเล่าบ้างนะครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: OBORO ที่ 07 ต.ค. 07, 09:04
นั่นสิครับ รออยู่เหมือนกันว่าเมื่อไหร่คุณภูมิจะเข้ามาพูดคุยในกระทู้นี้บ้าง....
รออยู่คร้าบบ.. ;D


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 07 ต.ค. 07, 11:08
        ต้องขอโทษหนูหนอนบุ้งด้วย ที่เข้ามาตอบช้าข้ามวันข้ามคืน
        เด็กพิเศษที่ว่านั้น หมายถึงเด็กที่อาจารย์ถ่ายทอดว่า เป็นเด็กที่อตก. ผู้ซึ่งได้อ่านหนังสือหายากแล้วก็ช่างจดช่างจำชื่อเดิม
ของบุคคลต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เรียกบุคคลนั้นด้วยชื่อเดิม ฯลฯ - ถ้าไม่ใช่เด็กพิเศษคงไม่ตั้งใจจดจำ ทำอย่างนี้
        เหมือนอย่างดัสติน ฮอฟแมน ใน เรน แมน ที่ท่องจำเรื่องราวสถิติสายการบินต่างๆ ได้มากมายเกินกว่าคนทั่วไปจะพึงจดจำ แบบว่า
... a restricted, stereotyped, repetitive repertoire of interests ...

       เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ ว่าน่าจะตัดตอนไปเปิดกระทู้ใหม่ถ้าคุณ Ko OK 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ต.ค. 07, 11:45
พระราชมรดกในพระมหาธีรราชเจ้า
ผมคิดว่า เราศึกษาพระราชกรณียกิจพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ น้อยเกินไป
แต่ผมก็ไม่ลงเนื้อเห็นด้วยกับความอัดอั้นใจของคุณ UP ที่ว่า ทรงครองราชย์ไม่นาน
15 ปี ไม่เรียกว่านานแล้วต้องรอกี่ปี ฮึ.....

ผมคิดว่า พระราชมรดกยิ่งใหญ่สุด ที่ทรงวางไว้คือเรื่องการศึกษา
เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว ก็ต้องขออภัย หากจะต้องแสดงความคิดที่แสลงใจหลายๆ ท่านว่า
ความล้มเหลวที่สุด ที่ทรงรับมาจากรัชกาลก่อน ก็คือเรื่องการจัดการการศึกษา
ซึ่งอาจจะมาจากการย้ายกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ จากอธิบดีการศึกษา มาเป็นเสนาบดีการปกครอง
แม้จะเพื่อพาประเทศให้รอดจากปากเหยี่ยวปากกา แต่สิ่งที่สูญไปนั้น สำคัญไม่แพ้เอกราชทีเดียว
คือการทำให้ชาวสยามมีความรู้เท่าทันโลก

และผมคิดเอาเองว่า กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ หากได้ทรงว่าการการศึกษาต่อไป ประเทศสยามคงไม่อับจนอย่างทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า ทรงเล็งเห็นปัญหาเรื่องการศึกษามาแต่เมื่อใด
นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย คงเล่ารายละเอียดได้....ขอเรียนเชิญ
และถ้าจะมีเวลา ก้ออยากให้เล่าถึงเจตจำนงแห่งการสร้างสถาบันการศึกษาแห่งนี้ ว่าต่างจากมาตรฐานทั่วไปอย่างไร

ผมจะเล่าแต่เรื่องที่ผมสนใจ คือศิลปะ
สิ่งที่ต่างไปจากพระราชนิยมรัชกาลที่ 5 คือการที่ทรงหวนกลับสู่รากเง่าของไทย
เปรียบเทียบกันแล้ว รัชกาลที่ 5 มีแต่ศิลปะสั่งเข้า
หนังสือที่สำนักพระราชวังพิมพ์ออกมาเมื่อหลายปีก่อน เป็นหลักฐานอย่างดีว่า สยามพลาดโอกาสไปมากเพียงใด
กับการที่องค์พระประมุข ทรงช๊อบปิ้งงานศิลปะตามพระราชนิยม
เมื่อเทียบกับการเลือกซื้อของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแอร์มิตาจ มิวเซียม

ใน "เที่ยวเมืองพระร่วง" ทรงเป็นผู้นำในการฟื้นฟูศิลปะของไทย
ทุกๆ หน้าจบบท จะต้องเลือกลายเส้นที่ถอดของโบราณสมัยสุโขทัยมาประดับ
การตกแต่งหน้ากระดาษ เริ่มตั้งแต่หน้าปกลงไป มาจากการ"ศึกษา" ลายกรอบและองค์ประกอบโบราณ
พระราชนิยมนี้ ทรงส่งเสริมในทุกๆ กิจกรรม ไม่เว้นกระทั่งแบบร่างสถาปัตยกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ที่ไม่ได้สร้างจริง)
และแม้แต่ที่ถูกปรับปรุงใหม่ ก็ยังกลายเป็นหมู่อาคารสมัยใหม่ ที่มีรากเง่าอันน่าทระนงองอาจ
เป็นหนึ่งในอาคารเรอเนซองค์ยุคใหม่ คือการฟื้นฟูสมบัติเดิมของชาติมามีลมหายใจอีกครั้ง ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบร้อยปี

ไม่ว่าจะนำไปเทียบกับประเทศใดก็ตาม


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 07 ต.ค. 07, 12:57
ฮึ..๑๕ ปีที่ผมหมายถึงนั้น ผมพยายามจะสื่อว่า แผนการทั้งปวงอาจมาลุล่วงแล้วเสร็จในรัชกาลต่อๆ มา หรือหากเวลาแห่งรัชสมัยเนิ่นนานไปกว่านี้ บางแผนที่ทรงก่อรากไว้แล้ว อาจได้รับการสานต่อจนลุล่วง และอาจนำพาประโยชน์อันใหญ่ชนิดพลิกแผ่นดินไม่แพ้รัชสมัยของสมเด็จพระบรมชนกาธิราช และสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชก็เป็นได้

ในเรื่องการศึกษานั้นผมขอยกไว้ก่อนยังไม่พูดถึง หากมีนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยท่านใดปรารถนาจะพรรณนาผมจะยินดียิ่ง แต่กระนั้นก็ขอเชิญพระบรมราโชบายที่พระราชทานไว้แก่การจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงตอนหนึ่ง มาเกริ่นไว้ ณ ที่นี้ว่า

"ข้าไม่ต้องการนักเรียนตัวอย่างที่สอบไล่ได้คะแนนขั้นเกียรตินิยมทุกๆ ครั้ง ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ข้าอยากได้ยุวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี ข้าจะไม่โศกเศร้าเลย ถ้าเจ้ามารายงานว่าเด็กคนหนึ่งเขียนหนังสือไม่คล่อง คิดเลขซ้อนไม่เป็น และไม่รู้วิชาเรขาคณิตเลย ถ้าข้ารู้ว่าเด็กคนนั้นได้ศึกษาพอที่จะรู้ว่า ความเป็นผู้ชายคืออะไร และขี้แยคืออะไร

ข้าไม่อยากได้ยิน ‘คนฉลาด’ บ่นอีกว่า ‘ปัญญาท่วมหัวเอาตัวไม่รอด’ สิ่งที่ข้าต้องการในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือให้การศึกษาเป็นเครื่องทำให้เด็กเป็นยุวชนที่น่ารัก และเป็นพลเมืองดี ไม่ใช่ทำลายบุคลิกภาพเสียหมดโดยบรรทุกหลักสูตร และระบบการต่างๆ ลงไป

ข้าต้องการให้การศึกษาเป็นสิ่งที่งดงาม จนทำให้เด็กที่ออกไปแล้ว หวนกลับมาคิดถึงในวันข้างหน้าด้วยความภาคภูมิใจ"


เรื่องมรดกความเป็นไทยนั้น ในรัชกาลที่ ๖ ทรงเรียนรู้จากประสบการณ์ว่าการรับวัฒนธรรมตะวันตกมาทั้งดุ้น อย่างชนิดที่คุณพพ.เรียกว่าเป็น "ศิลปะสั่งเข้า" นั้น เป็นผลที่ไม่ค่อยจะเป็นบวกนักต่อความเป็นไทยอย่างไร

ปฐมบทของแนวพระราชดำริที่จะแสดงเกียรติภูมิความเป็นไทยแก่สายตาชาวโลกนั้น เริ่มต้นแต่เมื่อแรกเสวยราชย์ครับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๔ และทรงเชิญพระราชวงศ์ และผู้แทนรัฐบาลนานาประเทศมาร่วมงาน นับเป็นครั้งแรกของสยามที่ได้รับเสด็จและต้อนรับบุคคลสำคัญจากประเทศมหาอำนาจจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ไม่เคยมีชาติใดในเอเชียได้รับเกียรติเช่นนี้มาก่อน นับเป็นพระบรมราชกุศโลบายอันแยบคาย ในการแสดงให้โลกได้ตระหนักในความเป็นอารยะของชนชาติไทย ผู้มีสิทธิ และศักดิ์ศรีเสมอหน้าอารยประเทศ ให้เห็นว่างานโคโรเนชั่นของชาติเรา ไม่ใช่เต้นระบำอุ้มกะๆ รอบกองไฟ นุ่งใบไม้ หรือฆ่าสัตว์บูชายัญอะไรอย่างที่ฝรั่งอาจจินตนาการโลกตะวันออกอย่างเพ้อพกไป หากแต่แต่ละขั้นแต่ละตอน แต่ละพิธีการ ล้วนมีความหมาย โอ่อ่า และสำแดงความเป็นไทยได้อย่างงดงาม

จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) เล่าถึงความอึดอัดพระราชหฤทัยประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ในหนังสือที่ท่านเรียบเรียง ผมไม่มีหนังสือนั้นอยู่ในมือ แต่จำได้ว่า ท่านเล่าว่าสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ไม่ทรงพระราชปรารถนาที่จะสร้าง "พระที่นั่งอนันตสมาคม" ให้มีรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งแท้ๆ เช่นนั้นเลยแม้แต่น้อย เพราะนอกจากจะต้องใช้ช่างฝรั่ง ใช้วัสดุนำเข้าซึ่งมีราคาแพงมหาศาลแล้ว ยังทรงพระราชดำริว่า พระที่นั่งองค์นี้ต่อไปก็คงเป็นได้แค่ของแปลกของงามในสายตาคนไทย แต่จะอวดสายตาชาวโลกโดยเฉพาะชาวยุโรปนั้นหาได้ไม่ พระที่นั่งองค์นี้จะงามก็งามได้เพียงเศษเสี้ยวของพระราชวังในเมืองฝรั่ง ตรงกันข้าม หากว่าพระราชทรัพย์ที่ทรงทุ่มไปในครั้งนี้ เป็นการสร้างพระที่นั่งแบบไทยๆ จะทรงโสมนัสพระราชหฤทัยไม่ใช่น้อยเลย เพราะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบไทยๆ นี่แหละที่จะอวดสายตาชาวโลกได้ ไม่มีใครทำได้เทียบเทียม ไม่เหมือนใคร ใช้ช่างไทย วัสดุไทยทุกอย่าง แต่กระนั้น ก็จำจะต้องทรงสร้างให้แล้วเสร็จตามแบบด้วยความกตัญญูกตเวที เพื่อเป็นการสนองพระราชปรารถนาของสมเด็จพระบรมชนกนาถที่ได้ทรงตั้งไว้ในตอนปลายรัชกาล

สิ่งที่ทรงกลัดกลุ้มพระราชหฤทัยอีกอย่างคือการรับเอาแบบอย่างฝรั่งมาครึ่งๆ กลางๆ แบบไม่รู้จริง หรือเลือกมาแต่เฉพาะด้านเสียๆ เช่นการกินเหล้าเมายา หรือมั่ววิถีตะวันตก อ้างว่าฝรั่งเขาทำ เช่น ในช่วงนั้น ตามบ้านเรือนขุนนางและคหบดีต่างๆ หลายบ้าน จะต้อนรับแขกเหรื่อด้วยสุรายาเมา นำวิสกี้โซดามาเลี้ยง พระองค์ทรงพระราชปรารภว่านี่เป็นการรับวัฒนธรรมมาอย่างผิดๆ เพราะเท่าที่ประทับอยู่ยุโรปมาเกือบสิบปี ไม่ทรงเห็นว่าบ้านไหนเขาจะยกวิสกี้มาเสิร์ฟให้แทนน้ำท่าอย่างปกติเลย แต่คนไทยก็มาตู่เอาว่า นี่ทำอย่างฝรั่งอารยะเขาทำกัน จนเป็นที่กล่าวกันว่าในรัชกาลที่ ๖ นั้นมีพระราชนิยมคือถ้าฝรั่งต้องฝรั่งแท้ ถ้าไทยก็ไทยแท้ ไม่ใช่มั่วๆ ซั่วๆ อ้างปะปนกัน แม้แต่เรื่องอาหารการกินก็ไม่โปรดให้ผิดแบบ

พระราชปรารภที่จะเชิญมาดังต่อไปนี้ ผมว่าคนไทยทั้งหลายพึงสังวร

“...ข้อเสียของคนไทยชั้นใหม่ที่มีอยู่ที่สำคัญ คือสิ่งใดที่เป็นของเก่าจะทิ้งเสียหมด แต่ของใหม่ก็ไม่มีมาแทน...การที่ประพฤติตนตามอย่างฝรั่งนั้น ถ้าประพฤติตามในทางที่ดีก็ไม่น่าติเตียน ที่เลือกประพฤติแต่เฉพาะในทางที่สะดวกแก่ตนอย่างเดียว ที่จะไม่สะดวกก็ไม่เก็บมาประพฤติตามบ้าง ฝรั่งเขารักชาติบ้านเมืองของเขา ทำไมเราไม่รักบ้าง จึงไปนิยมชาติอื่นภาษาอื่นของเขาทำไม ชาติของเราเลวทรามอย่างไรจึงรักไม่ได้ ขอให้เชื่อข้าพเจ้าเถิด ...คนไทยที่ไม่รู้จักรักชาติของตนเอง อย่าเผลอไปว่าชาวยุโรปเขาจะนับถือ มีแต่เขาจะดูถูกเท่านั้น...”


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ต.ค. 07, 13:42
ถ้าจะยกความเป็นขัตติยะออกจากพระองค์
แล้วพิจารณาท่าน อย่างเป็นมนุษย์เดินดินแล้ว ผมคิดว่า ทรงเป็นตัวอย่างของมนุษย์ที่พิศดารนัก
(ในทางที่ตรงกับความหมายดั้งเดิมของศัพท์นะครับ ไม่ใช่อย่างที่เราชอบใช้กัน)
คือทรงเป็นมนุษย์ที่บรรลุธรรมชั้นสูง แต่ก็ยังคงความเป็นปุถุชนไว้ด้วยพร้อมกัน

อันที่จริง หากมิได้ทรงเป็นกษัตริย์ เป็นแต่เพียงชนชั้นนำท่านหนึ่ง เราคงเอ่ยถึงภาระที่ทรงกำกับได้ล้ำลึกกว่านี้
ผมออกจะรำคาญทั้งคนเล่า และคนที่ชอบจำมาเล่าซ้ำ เรื่องมุดใต้โต๊ะถวายงาน....ฯลฯ อะไรพวกนั้น
รวมถึงที่ทรงโปรดคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษ ชอบกันจริ๊ง

เพราะเรื่องเหล่านี้ มาบดบัง"ของจริง" ที่ทรงดำเนินการจนเบลอไปหมด
อย่างเรื่องลูกเสือเป็นต้น ผมเห็นว่า เป็นอุบายอันแสนแยบคายที่จะพาเด็กๆ ของเราไปในทางที่ห่างไกลอบายภูมิ ชงัดนัก
เราก้อเอามาแผลงเสียจนกลายเป็นกิจกรรมประหลาด และปัจจุบันจะยังมีเหลืออยู่แค่ใหนก็อยากรู้เหมือนกัน

ตัวผมเองนั้น เมื่อสิบขวบต้นๆ เจอโจทย์ท้าทายว่า จงหุงข้าวด้วยไม้ขีดสามก้าน
ผมยังประทับใจมาจนทุกวันนี้ เป็นโจทย์ที่เหมาะกับจิตใจเด็กอย่างไม่มีอะไรจะเหมาะมากไปกว่า
มันฝังลึกจนทุกครั้งที่เห็นกลักไม้ขีต เป็นต้องนึกถึงโจทย์ไม้ขีดสามก้าน

ผมคิดว่า ทรงมีพลังจินตนาการที่เกินปกติชนไปมากๆๆๆๆๆๆๆ
รึว่าไงคุณ UP ...ฮึ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 07 ต.ค. 07, 13:58
ชอบมากค่ะ คุณUP ที่นำพระราชดำรัสมาลง..


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 07 ต.ค. 07, 15:07
ดิฉันอ่านความเห็นทุกท่านแล้วนึกถึงพระราชดำรัสของพระองค์ที่เคยเรียนในวิชาภาษาไทย  ทรงเปรียบเทียบแรง ๆ ในเรื่องฝรั่งมองเรา  เหมือนการที่เราเอ็นดูสุนัข  ถึงสุนัขจะทำท่านั่ง ท่าไหว้เลียนแบบคนได้เป็นที่น่าเอ็นดูอย่างไร  เราก็คงไม่ยกสุนัขขึ้นมาเป็นคนเสมอกัน  ดังนั้นการที่เราจะทำได้เช่นฝรั่งอย่างไร  ฝรั่งก็คงไม่ยกย่องเราเท่าฝรั่งก็ฉันนั้น  ดิฉันจำใจความได้เท่านี้แหละค่ะ  แต่จำได้ฝังใจทีเดียว  แล้วก็จำได้เรื่องที่ทรงใช้มหาดเล็กไปดูสุนัขคลอดลูก  ที่มหาดเล็กต้องวิ่งไปดูอยู่หลายรอบ  เป็นอุบายการสอนคนได้ฝังใจเช่นกัน

นอกจากนี้  เรื่อง "ดุสิตธานี" เมืองจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย  เรื่องการที่พระองค์ทรงใช้นามปากกาเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์  เพื่อให้ทุกคนวิพากษ์วิจารณ์ได้โดยไม่ต้องเกรงพระราชอาญา  เรื่องเช่นนี้ดิฉันไม่ได้ยินใครพูดถึง  ไม่มีให้อ่านนานแล้วนะคะ  รบกวนท่านผู้รู้อรรถาธิบายไว้ในกระทู้นี้เพื่อเป็นการเผยแพร่อีกทางหนึ่งเถอะค่ะ

ส่วนเรื่องใต้โต๊ะ  เรื่องที่เป็นข้อมูลแบบลับเฉพาะคล้ายว่าผู้เล่าจะเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รู้ลึกเหนือใคร  ก็ย่อมเป็นที่สนใจของผู้ฟัง และสมใจผู้เล่า เช่นนี้แหละค่ะ ทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่นิยมไม่เสื่อมคลายนะคะ  คุณpipatเห็นทีจะได้รำคาญตลอดไปแน่นอนค่ะ  อันนี้ดิฉันกล้ายืนยัน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ต.ค. 07, 15:37
อ้างถึง
ผมคิดว่า ทรงมีพลังจินตนาการที่เกินปกติชนไปมากๆๆๆๆๆๆๆ
คนที่มีอัจฉริยภาพและมีพรสวรรค์  คือคนที่ไม่ได้มีแค่พลังจินตนาการสูงเหนือคนทั่วไปมากๆ เท่านั้น แต่สามารถแปรจินตนาการออกมาเป็นชิ้นงาน หรือเป็นโครงการที่มีคุณค่าต่อสังคมด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องใต้โต๊ะเสวย หรือเกร็ดสิ่งละอันพันละน้อย  ก็เป็นเรื่องเอกซคลูสีฟที่กล่าวขวัญถึงด้วยความรู้สึกในทางบวก   แทรกมาบ้างในพระราชกรณียกิจ ซึ่งมักจะบรรยายกันอย่างเคร่งขรึมเป็นงานเป็นการ   มีอะไรเล็กๆน้อยๆคั่นบ้าง ก็เป็นรสเป็นชาติ
มายกมือสนับสนุนคุณ pakunค่ะ    เห็นจะต้องยอมให้คุณพิพัฒน์รำคาญไปอีกนาน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 ต.ค. 07, 16:00
ความรำคาญของผม ไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปได้อยู่แล้ว
แต่อาจจะทำให้คนที่พลอยรำคาญตามบ้าง หันมาแก้รำคาญด้วยการ"อ่าน" พระราโชบายที่ล้ำสมัย
เหมาะแก่ประเทศน่ารำคาญที่คนขี้รำคาญอย่างผม มาสร้างความรำคาญแก่ท่านผู้ทนความรำคาญสูง
นามว่าสยามประเทศเศษสวรรค์นั่นประลัย

น่าประหลาดที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น ท่านมองทะลุเปลือกของยุโรปแล้วพยายามทำให้คนไทย
ไม่หลงเปลือกนั้น
อนิจจาที่ทรงทำไม่สำเร็จ
แต่ที่ทรงทำไปนั้น ก็สร้างประโยชน์ล่วงหน้าไว้ไม่รู้จักเท่าไร แปลกตรงที่คนฉลาดๆ ไม่ยักรู้
เมื่อหลายวันก่อน ได้อ่านทรากเอกสาร เกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณกรรมแบบหลังอาณานิคม
(แปลว่าไรก้อม่ายรุ....) คนเขียนพูดโน่นพูดนี่ไปหลายกระบวนท่า แต่พอวกมาประเทศไทย ท่านลืมพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 ไปซะงั้น
ทั้งที่ทรงเป็นบุคคลแรกๆ ที่สร้างปฏิภาคแห่งอารยธรรมตะวันตกไว้ในภาษาไทย
ทั้งโดยการต่อต้าน การดัดแปลง ไปจนถึงการปรับเข้าสู่ความเป็นไทย มิได้สุดโต่งไปทางเดียวอย่างคนสิ้นคิดอื่นๆ

จำได้ว่าศาสตราจารย์เวลล่า เขียนเรื่องนโยบายชาตินิยมของพระองค์ไว้ในหนังสือชื่อ "ไชโย"
ผมไม่เคยอ่านตัวจริง ทราบแต่บทสรุป ทำนองว่าทรงทำไม่สำเร็จ
ที่จะปลูกฝังอุดมการณ์นี้แก่ประชาชนของพระองค์

ท่านผู้ใดจะมีเมตตาเล่าให้ฟังสักหน่อยได้บ่


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ต.ค. 07, 17:12
วรรณกรรมแบบหลังอาณานิคม แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Postcolonial literature หรือบางทีก็สะกดแบบนี้ค่ะ Post-colonial literature
เมืองไทยไม่มี เพราะเราไม่เคยเป็นอาณานิคมของใคร     จุดมุ่งหมายของการวิจารณ์วรรณกรรมแบบนี้ก็เพื่อสำรวจว่าในประเทศที่เคยเป็นอาณานิคม   กวีและนักเขียนมีอุดมการณ์ที่จะปลดแอกตัวเองให้พ้นจากการครอบงำของประเทศมหาอำนาจยังไง     ผ่านทางงานสร้างสรรค์   ในที่สุดหลังจากดิ้นรนจนต้องแลกด้วยเลือดเนื้อและชีวิต    ก็ได้อิสรภาพมา
วรรณกรรมที่แสดงออกถึงความกดดัน การแสวงหาตัวตนของตัวเอง การปลอดพ้นจากการครอบงำทางวัฒนธรรมนั่นแหละเป็นสิ่งที่มีค่าควรศึกษา  จึงจัดขึ้นมาเป็น Postcolonial literature
ไทยเราไม่มีประวัติในการต่อสู้เชิงปลดแอกแบบนั้นมาก่อน  จนทุกวันนี้คนไทยก็ยังไม่เดือดร้อนอะไรที่มีกระแสวัฒนธรรมอื่นไหลท่วมเราอยู่ไปมาเป็นประจำ  ตั้งแต่สมัยทวดมาจนถึงเหลน     ครั้งหนึ่งเมื่อร้อยปีก่อน เราเคยสนุกกับ"ความพยาบาท" ของมารี คอเรลลี่ยังไง   ทุกวันนี้เราก็สนุกกับแดจังกึมคล้ายๆกันยังงั้น  เพราะรู้ว่าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร คนไทยก็เป็นคนไทย

แต่ถ้าจะเอา Postcolonial literature  มาศึกษาให้ได้ เห็นจะต้องมองในแง่ที่กว้างและเบลอกว่านั้นคือมองว่ามีความพยายามจะ"ปลดแอก" อะไรในวรรณกรรมไทยบ้าง   
อย่างหนึ่งที่นึกได้คือวรรณกรรมเพื่อชีวิตเมื่อเกือบสี่สิบปีก่อน   พยายามปลดแอกศักดินาของไทยเรา  แต่ก็ไม่ได้ขัดข้องที่จะเดินไปตามทาง"สังคมนิยม" ซึ่งก่อกำเนิดมาจากรัสเซียและแพร่มาถึงจีน   ไม่ใช่ของไทยแต่ดั้งเดิมอยู่ดี

ถ้าพูดถึงความพยายามจะปลดแอกจริงๆแล้ว พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖หลายเรื่อง เช่นลัทธิเอาอย่าง  ก็พูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา    ทรงเห็นภัยการเลียนแบบฝรั่งจนไม่ภูมิใจในความเป็นไทย   ว่าจะมีผละเสียอย่างกว้างขวางหลายอย่างต่อคนไทย
ไม่ต้องอาศัยอาจารย์เวลล่ามาบอก  พวกเราก็บอกเองได้ค่ะ ว่าคนไทยจนทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ดำเนินรอยตามพระบรมราโชวาทกันเลย   รัฐบาลจอมพลป. พยายามในช่วงสั้นๆยุควัธนธัม ออกมาในรูปของชาตินิยมอย่างตกขอบ   
แต่เมื่อคนไทยไม่ได้คล้อยตาม นอกจากทำตามระเบียบเพราะถูกบังคับ     พอหมดชุดรัฐบาล นโยบายเรื่องนี้ก็หมดไปด้วยกัน

๑)ขออภัย   ออกนอกเรื่องไปเยอะ
๒)ดิฉันกับคุณ pakun(สงสัยว่าคำนี้ออกเสียงไทยว่าอะไร  ป้ากุน?) หลุดคำว่ารำคาญออกมาคำเดียว  คุณพิพัฒน์กระหน่ำกำนัลมาให้เสียนับไม่ถ้วน     กลัวแล้วค่า


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 ต.ค. 07, 17:37
เรื่องความอยากรู้อยากเห็นของชาวบ้าน (หรือเรื่องความรำคาญของ คุณpipat)
เป็นเหมือนเชื้อไฟน้อยๆ คอยเติมลงในสมองของคนที่ไม่เคยสนใจในตัวบทของประวัติศาสตร์
แล้วดึงเขาเข้ามาสู่ตัวบทนะครับ
(ดีกว่าปล่อยให้คนพวกนั้นกลายเป็น นั่งกินขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำหวาน ดูซีรีส์น้ำเน่าอยู่บ้าน..... แล้วกลายเป็น "มนุย์หัวมัน" เป็นไหนๆครับ)


เลยขอมายกมือสนับสนุนคุณ pakund (แบบช้าไปหน่อย) อีกคน ว่าผมก็ยังเห็นดีกับเรื่องแบบนี้อยู่
ถึงบางทีจะรู้สึก "เอือม" กับความไม่จริงที่ผู้กล่าวอ้างหลายคนใส่สีตีไข่ลงไปในเรื่องจำพวก "เรื่องน่ารำคาญ" ของ คุณpipat บ้างเป็นครั้งคราวครับ แหะๆ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 07 ต.ค. 07, 19:28
"ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้ ข้าอยากได้ยุวชนที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์สุจริต มีอุปนิสัยใจคอดี

“I do not want a walking school book. What I want are just mainly young men, honest, truthful, and clean in habits and thoughts.” 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 07 ต.ค. 07, 19:51
.


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 07 ต.ค. 07, 19:52
มายกมือสนับสนุนว่าเกร็ดเป็นเรื่องสนุกจำแม่น
ส่วนเรื่องหนักๆ ลืมเร็วค่ะ
คุณป้าเล่าเกร็ดในการทำอาหารเจ้านายให้ฟังไว้มาก
คงต้องย้ายไปคุยในกระทู้อาหารมังคะ

อ่านลิ้งค์นี้ไปพลางๆก่อนค่ะ
ราชสกุลใดบ้างคะ ที่มีชื่อเสียงในการทำอาหารทั้งคาว และหวาน
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/01/K4018415/K4018415.html


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 07 ต.ค. 07, 21:00
สยามประเทศ เศษสวรรค์ นั่นประลัย
นานเท่าไหร่ จักมองเห็น เป็นรำคาญ
นานเท่าที่ หลากเผ่าพันธ์ หลากสันดาน
ใจสำราญ จักมองเห็น เช่นนั้นเอง

กลอนพาไปค่ะ  กำลังอยากไปแจมกระทู้คุณจิตแผ้วอยู่พอดีเชียว

ป้ากุนใช่เลยค่ะคุณเทาชมพู


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ต.ค. 07, 11:19
         มุดอยู่ใต้โต๊ะยังหลบไม่พ้นกระสุนกราดมาจากคุณพพ. สงสัยต้องแปลงเป็น ขอมดำดิน ในตำนาน

         พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ผู้มีน่าที่เปนผู้ช่วยข้าพเจ้าในแพนกค้นพงษาวดาร
และตำนานต่างๆ ได้เปนผู้ทรงปรารภขึ้นว่า เรื่องในพงษาวดารเหนือมีดีๆ อยู่ แต่มีที่เสียสำคัญอยู่ที่ตรงว่า
จะเชื่อถือเอาเปนจริงแท้ไม่ได้เสียโดยมาก เพราะผู้แต่งพงษาวดารเหนือมักชอบเก็บแต่เรื่องแสดงอิทธิปาฏิหาร
เสียเปนพื้น ข้าพเจ้าได้เปนผู้กล่าวขึ้นว่า เรื่องทั้งปวงในพงษาวดารเหนือ เชื่อว่ามีความจริงเปนเค้ามูลอยู่ทุกเรื่อง
... กรมพระดำรงทรงเลือกเรื่องขอมดำดินมาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงได้แต่งเปนคำสันนิษฐานขึ้นตามแบบ
นักเลงโบราณคดี...



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 08 ต.ค. 07, 13:14
ขอบคุณป้ากุนครับ ทำเอาผมต้องเจียมถ้อยคำลงได้ชะงัด

อยากให้สังเกตต่อด้วยว่า พระองค์น่าจะเป็นคนแรกๆ ที่สนใจญี่ปุ่น ทั้งในระดับสยามประเทศหรือระดับโลกาภิวัฒน์
จึงทรง"เลือก" ที่จะเยือนประเทศนี้ อันเป็นเรื่องน่าสนใจนัก ว่าทรงเห็นอะไร
ในประเทศที่ใครๆ ก็ดูแคลนแห่งนี้


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ต.ค. 07, 13:59
ขอบคุณ คุณเทาชมพู ที่เมตตาแยกกระทู้ มาเป็นเกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๖


ชอบอ่านเรื่องเกร็ดประวัติศาสตร์   แทบทุกตอนก็จะตามหาอ่านรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม
บางตอนก็ตกตะลึงพรึงเพริดในรายละเอียดอันหาอ่านไม่ได้ง่ายๆ  เช่นเรื่อง พระอภัยมณีตอนสมบูรณ์ ที่สุนทรภู่แต่งนิดๆ
บางตอนข้อมูลเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่นเรื่องโครงกระดูกในตู้ นั้น  อ่านแล้วก็งงงันไปในความสนุกสนานและความรู้ที่ท่านผู้ใหญ่บันทึกไว้
ต่อมาเมื่อมีการโต้แย้งข้อมูลบางเรื่อง  ก็ยิ่งเป็นเรื่องรื่นเริงบันเทิงใจ  ได้เรียนรู้ว่า การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนั้น เป็นเรื่องประเทืองปัญญา
อ่านประวัติศาสตร์เข้าใจขึ้นเป็นอันมาก

ขอคัดย่อความบางตอน จาก หนังสือ "ศุกรหัศน์" เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ  เสวกโท  จมื่นมานิศตย์นเรศ(เฉลิม เศวตนันทน์) เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๑  หน้า ๑๙๒ - ๑๙๖
เป็นบทความรอบเมืองไทย  ที่ กรรมการส่งเสริมสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นฝ่ายอำนวยการจัดการ



"เรื่องการไหว้ครูละครหลวง  ถือกันว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่ส่วนหนึ่ง    คราวนั้นนับว่าเป็นงานใหญ่ที่สุด   มีนักรำเข้าพิธีมากทั้งโขลนหลวงละครหลวงทั้งหญิงและชายแล้ว ยังมีโขนสมัครเล่น
คือชุดที่ในหลวงทรงเองเข้าร่วมด้วย  เห็นจะจำนวนร่วมพันกระมัง  ดูเต็มโรงละครไปหมด
......................................
......................................


เมื่อเริ่มพิธีก็แสดงพระมหากรุณาบารมีเป็นคั่นแรก
คือ  ตามปกติเมื่อจะเริ่มพิธีไหว้หรือครอบองค์พระครูฤๅษีเก่า  จะต้องสมมติว่ามาก่อน  ซึ่งโดยเนื้อหาก็ได้แก่พระครูผู้เฒ่านั่นเอง

ในคราวนั้น  ท่านเจ้าคุณครูพระยานัฏกานุรักษ์แต่งกายนุ่งขาวห่มขาวรัดผ้าพันทะนาเรียบร้อย  สวมศีรษะพระครูฤๅษี  มือถือไม้เท้าประจำอันเป็นไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ 
ตามธรรมดาจะออกมาด้วยเพลงหน้าพาทย์  "พราหมณ์ออก"  หรือ บาทสกุณีเป็นอย่างสูง

แต่ครั้งนี้โปรดเกล้าให้ออกด้วยหน้าพาทย์องค์พระ  คือพระพิราพรอญ  ซึ่งครูเกรงกลัวกันนัก
มือหนึ่งถือใบมะยม  ดูเหมือนจะเป็นมือขวา
มือซ้ายทำท่าเหมือนนรสิงห์ซึ่งมีเล็บและกางนิ้ว   มือต้องสั่นอยู่ตามจังหวะ
ท่าทางน่าเกรงขามและเคารพ
เพลงหน้าพาทย์ก็มีสำเนียงและท่วงทำนองผิดกว่าเพลงทั้งปวง    มีลีลาน่าสยดสยองพองหัว

ศิิษย์ทุกคนถวายบังคมแล้วก้มหน้านิ่งอยู่


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 08 ต.ค. 07, 14:41
สิ่งหนึ่งที่ทรงประทับพระราชหฤทัยยิ่งในการเยือนญี่ปุ่น และเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างทันตาเห็นในแผ่นดินสยาม คือการศึกษาของสตรีในประเทศญี่ปุ่นครับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรกิจการของโรงเรียนสตรีในญี่ปุ่น (ผมจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว) ก็ทรงพอพระราชหฤทัยในวิธีบริหารจัดการ และการสอนให้สตรีรู้ศิลปวิทยาการควบคู่ไปกับการฝึกตนให้เพียบพร้อมอยู่ในจรรยามารยาทอย่างญี่ปุ่นๆ พอเสด็จพระราชดำเนินกลับสยาม ก็ทรงนำความเรื่องนี้มาทรงเล่าถวายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทันที สมเด็จพระพันปีฯ ก็ทรงรับเป็นพระราชธุระ ก่อกำเนิดเป็น "โรงเรียนราชินี" ซึ่งมีแนวนโยบายในการอบรมศิลปวิทยาการ ควบคู่ไปการฝึกจรรยามารยาทและวิธีจัดการดูแลเหย้าเรือนตามวิถีอย่างไทยๆ

นักเรียนเก่าราชินีผู้สนใจประวัติโรงเรียนคงทราบดีว่าได้ทรงจ้างครูมาจากประเทศญี่ปุ่น ๓ คน สอนภาษาอังกฤษ คำนวณ วิทยาศาสตร์ วาดเขียน เย็บปัก และการประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง ครูทั้งสามคนนี้อยู่ประจำโรงเรียน คนหนึ่งชื่อ มิสยาซูอิ เททสุ สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เป็นอาจารย์ใหญ่ท่านแรก

อีกกิจการที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรแล้วประทับพระราชหฤทัยคือโรงพยาบาลกาชาดญี่ปุ่นครับ ทรงเล็งเห็นประโยชน์ว่างานกาชาดจำเป็นต้องมีสถานพยาบาลเป็นของตัว จึงทรงสถาปนา "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" ขึ้นในสังกัดสภากาชาดไทย

นี่เป็นพระราชกรณียกิจที่เห็นได้ชัดๆ ส่วนที่เป็นนามธรรม เป็นพระบรมราโชบาย หรือแนวพระราชดำริ ขอติดไว้ ขออนุญาตไปสะสางภารกิจก่อน แล้วจะมาร่วมสนุกต่อ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 08 ต.ค. 07, 15:04
มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ขอมดำดิน" ปรากฏขึ้นในกระทู้นี้ ทำให้ผมนึกไปถึงแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ อีกทางหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในพระราชนิพนธ์ คือการที่ทรงพยายามดึงความงมงายเหนือธรรมชาติออกจากคติความเชื่อ

อย่างเรื่องขอมดำดิน เป็นตำนานเก่าแก่บุรมบุราณครับ แต่จะติดอภินิหารอยู่มาก ฉะนั้น ในตำนานเรื่องขอมดำดินของพระองค์จึงทรงตีความดัดแปลงให้ชะลอมใส่ส่วยน้ำที่พระร่วงทรงประดิษฐ์ขึ้นนั้น ไม่ได้บรรจุน้ำอยู่ได้เพราะวาจาสิทธิ์ หากแต่เป็นเพราะพระร่วงรู้จักกโลบาย สอนให้ชาวบ้านสานชะลอมตาถี่ๆ และหายามาชันอุดรอยรั่วทำให้ตักน้ำได้ หรือการดำดิน ก็หมายถึงการแอบมุดๆ หลบๆ ซ่อนๆ ไปอย่างลึกลับราวกับดำดิน ไม่ใช่มุดดำไปราวกับนักดำน้ำ การที่ขอมแปลงกายชะแว้บไป..อย่างไสยเวทหรือประตูล่องหนในโดราเอมอนนั้น ก็ทรงตีความให้กลายเป็นการปรับรูปพรรณการแต่งตัวให้ละม้ายอย่างพวกคนไทย อย่างการที่พระภิกษุร่วงเสกขอมให้กลายเป็นหินแหงแก๋ติดธรณี ก็ทรงพระราชนิพนธ์ให้กลายเป็นว่าพระร่วงเสด็จเข้าไปเรียกลูกศิษย์วัดมากลุ้มรุมจับตัวไว้จนกระดิกกระเดี้ยไปไหนไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น

คือไม่ทรงทิ้งตำนานเก่าของไทย แต่ทรงปรับให้เข้ากับแนวคิดวิทยาศาสตร์อย่างโลกตะวันตก พระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงของพระองค์จึงดำเนินโครงเรื่องตามตำนานดั้งเดิมของไทย และในขณะเดียวกันก็ไม่มอมเมาผู้อ่านให้ติดคิดเห็นเป็นเรื่องงมงาย

แล้วคุณ SILA ล่ะครับ เป็นขอมดำดินประเภทไหน ขอมแนวตำนานเก่า หรือขอมแนวพระราชนิพนธ์ใหม่


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ต.ค. 07, 15:41
"ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖  เมื่อทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการในพิธี ตลอดจนเทียนเงิน เทียนทอง เทียนกลเม็ด  เทียนธรณีสารแล้ว  ก็เสด็จประทับอยู่เหนือพระราชอาสถ์พระเก้าอี้  ทรงประทานพระราชหัตถ์

...พวกเข้าพิธีคือนักรำทุกคนต้องนุ่งผ้าแดงสวมเสื้อชั้นในผ้าสีขาว มีดุมคอหนึ่งเม็ด  ผู้หญิงก็เช่นเดียวกัน  และเหน็บชายเสื้อไว้ในเข็มขัดภายในผ้านุ่งทั้งชายหญิง  ห้ามเสื้อเชิร์ตโดยเด็ดขาด
ถ้าจะคาดผ้าคาดพุงต้องทิ้งชายไว้ข้างซ้าย และต้องเป็นผ้าขาว
...............................
..............................


ในคราวไหว้ครูคราวนั้น  ผู้มีชื่อของโขลนหลวงผู้หนึ่ง คือหลวงยงเยี่ยงครู  กำลังต้องรับพระราชทานอาญาส่วนพระองค์  ให้จำสนม 
ซึ่งไม่ใช่ความผิดร้ายแรงอะไรนัก  เป็นอย่างข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย  ลูกกับพ่อ ครูกับศิษย์
..........................ยังทรงพระมหากรุณาด้วยพระราชหฤทัยพระเมตตาเอ็นดูอยู่


ในพิธีนี้เรียกว่า ยัญญะการ  คือบูชายัญ
เจ้าหน้าที่กรมสนมพลเรือน มีพระยาอัพพันตริกามาตย์เจ้ากรม และพระอินทราทิตย์ พระจันทราทิตย์ปลัดกรม พร้อมด้วยขุนหมื่นทนายเลือก(อย่าสงสัย อ่านว่าทนายเลือก) ๔ คน คือ
หมื่นชุมสงคราม
หมื่นตามใจไท
หมื่นโอมใจอาจ
หมื่นฟาดเบื้องหน้า

ท่านทั้ง ๔ คนนี้แม้นมีบรรดาศักดิ์เพียงหมื่น  แต่ถือศักดินาสูงมากถึงคนละ ๘๐๐  ซึ่งเท่ากับบรรดาศักดิ์เป็นพระในสมัยนั้น
เพราะพวกนี้โดยหน้าที่เป็นเพชฌฆาตสำหรับทุบเจ้าด้วยท่อนจันทน์เมื่อเวลาเจ้ากระทำผิดต้องรับพระราชอาชญาถึงประหารชีวิต
..............................................
............................................

ท่านเจ้าพนักงานสนมพลเรือน ก็จับหลวงยงเยี่ยงครูไปมัดไว้ด้วยด้ายดิบ คือ ด้ายอย่างใช้ตราสังศพ  ที่เสาหลักกลางโรง  มัดอย่างแบบจะประหารชีวิต

.............................................
เมื่อคุณครูพระยานัฏกะนุรักษ์รำจบท่าแล้ว ก็พักบนก้นขันสาครใหญ่มีรูป ๑๒ นักษัตร์ คือรูปปีต่างๆตั้งแต่ชวด ฉลู ขาน เถาะถึงกุน  มีผ้าขาวปู



ขณะนั้นเองล้นเกล้าล้นกระหม่อมก็เสด็จลุกขึ้นประทับยืนด้วยพระอิริยาบถอย่างกริ้วกราดถึงขนาด
พระหัตถ์คว้าพระแสงดาบ  เข้าใจว่าจะเป็นพระแสงดาบตีนตวง หรือพระแสงสีซึ่งมีชื่อว่า
พระแสงดาบคาบค่าย ๑
พระแสงดาบใจเพ็ชร ๑
พระแสงดาบนาคสามเศียร ๑
พระแสงดาบอัษฎาพานร ๑
พระแสงดาบคาบค่ายนั้น ว่ากันว่าเป็นองค์ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคาบปีนค่ายพม่าในรัชสมัยของพระองค์
พระแสดงดาบใจเพ็ชรมีเพ็ชรฝังเป็นประจำยามที่ฝักตลอดทั้งสองข้างและที่ยอดด้ามและที่ปลายฝัก
พระแสงดาบนาคสามเศียร  ด้ามเป็นรูปพญานาคแผ่พังพานสามหัว
พระแสงดาบอัษฎาพานรลงยาสลักเป็รรูปพระยาวานรเสนาพระรามแปดตัว
..........................................
.......................................
หัวหมื่นมหาดเล็กผู้เชิญต้องสวมเสื้อครุยด้วยทุกครั้ง

ทุกองค์เป็นทองคำลงยาที่ด้ามและที่ฝักแถมประดับเพชร


พระองค์ท่านทรงเป็นนักกระบี่กระบองอยู่แล้ว  ทรงฝีกหัดเพลงดาบสองมือทั้งทางพื้นดินและทางหลังม้าอย่างช่ำชอง
จึงทรงทำท่าทางได้อย่างทรงเป็นที่น่าหวาดหวั่นในพระบารมี   พลางทรงประกาศก้องขึ้นว่า
หลวงยงเยี่ยงครูมีความผิด  จะทรงประหารชีวิตบูชายัญณบัดนี้

ใครๆทั้งหมดไม่เคยรู้เรื่องตลึงงันไปหมด  เงียบราวกับจะได้ยินเสียงหายใจและเสียงครางในลำคอของหลวงยง

หลวงยงคอตก  ตกจริงๆ


ทันใดนั้นก็ทรงพระแสงดาบแกว่งฉวัดเฉวียนด้วยท่าพรหมสี่หน้าอันเป็นท่าครู  แล้วก็ย่างสามขุมเข้าวงรำไม้  ครูปี่พาทย์ก็เริ่อมบรรเลงเพลงรำดาบ  เข้ากับเรื่อง

พอเปลี่ยนเป็นแปลง  ก็ทรงย่างเข้าไปจนถึงตัวหลวงยง  ทรงเงื้อดเงื้อพระแสงสุดพระพาหา    ทันใดนั้นทุกคนหัวใจแทบหยุด"


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ต.ค. 07, 15:59
"บัดนั้นเองเสียงมาจากเจ้าคุณครูว่า  "ช้า  ช้า  มหาบบพิตร  ทรงหยุดไว้ก่อน"

ทุกคนพากันถอนใจด้วยความโล่งอกจนได้ยินถนัด

ล้นเกล้าฯประทับยืนนิ่งด้วยพระพักตร์และพระอิริยาบถดุษณีย์   เสียงเจ่าคุณครูต่อไป  พร้อมด้วยเดินเข้าไปเฝ้าด้วยท่าทางอย่างมหาฤๅษี 
.........ขอพระราชทานอภัยโทษ
จักได้เป็นมิ่งขวัญอันศุภมงคลแก่พระราชพิธีต่อไป

ล้นเกล้ามีพระราชดำรัสตอบว่า
"พระคุณเจ้า  ผู้บรมครู  รูปขอถวายชีวิตมันผู้นี้แก่พระคุณ เพื่อบูชาคุณ ณ กาลบัดนี้"

ทรงผินพระพักตร์ไปทางหลวงยง  "มึงจงคิดถึงคุณครูตราบเท่าชีวิตของมึง  ราชมัณฑ์ปล่อยตัวเป็นอิสสระไปได้  และให้มันรำเพลงถวายครู"
แล้วพระราชทานพระบรมราโชวาทตามสมควร

พนักงานสนมพลเรือนแก้มัด  หลวงยงลงนั่งถวายบังคม แล้วร้องไห้ด้วยความยินดีแล้วคลานไปกราบที่เท้าเจ้าคุณครู

เจ้าคุณครูปลอบโยนให้โอวาทแล้วสั่งให้รำเพลงช้า


เมื่อพนักงานได้ประคบประหงมนวดทาแข้งขาด้วยน้ำมันตามสมควรแล้ว   หลวงยงก็ออกรำ
และรำได้อย่างสุดฝีมือ สมชื่อว่า "ยงเยี่ยงครู" ฉะนั้น"




กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ต.ค. 07, 18:17
          พระราชนิพนธ์  แถลงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี  ความว่า
         
          ส่วนข้อที่ว่า ดำดินมาจากเมืองขอมนั้น น่าจะมากเกินไป อันที่จริงคงจะยกเข้ามาตรงๆ ก่อน พระร่วงจึ่งได้ทราบเหตุ
และหลบไปบวชเสียที่สุโขทัย ถ้าขอมได้ดำดินมาแต่พระนครหลวง ที่ไหนพระร่วงจะได้รู้ตัวและหลบหนีไปได้
          มีพระราชวินิจฉัยว่า  ฝ่ายนายทหารขอมเมื่อมาใกล้ละโว้ ทราบว่าพระร่วงหนีไปแล้ว จะยกติดตามไปก็ไม่สะดวกเพราะ
สุโขทัยเปนราชอาณาจักร์ไทยอยู่นอกขอบขัณฑสีมา และทัพที่ยกมาก็เพียงพอรบละโว้ซึ่งเป็นเมืองเล็ก จึ่งต้องใช้อุบาย คือปลอมแปลงตัวเปนไทย
และไปโดยอาการลี้ลับประหนึ่งว่าแทรกแผ่นดินไป จึ่งเรียกว่าขอมดำดิน
          นอกจากนี้ยังทรงตีความว่า  ที่ว่าวาจาสิทธิ์นั้น น่าจะอธิบายได้ว่าพระร่วงเปนผู้ที่พลเมืองนิยมนับถือมาก จะมีบัญชาสั่งอะไรก็เปนไปตามบัญชาทุกประการ
         
          เป็นคนไทยเดินดินดีอยู่แล้ว แต่ในยามเกิดเหตุการณ์ปึงปัง เป็นขอมดำดินแบบตำนานเดิมได้ก็ดีครับ คุณ UP
และในระหว่างที่คุณ UP สะสางธุระ ได้นำบางส่วนจาก
       
          พระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗     มาแสดงครับ
 
              แท้จริงตั้งแต่แรกเรากลับมาจากการศึกษา ก็ได้มาแลเห็นสภากาชาดของเรา ซึ่งในเวลานั้นมีอาการแปลกกับที่ได้จัดขึ้นใหม่ในบัดนี้
คือยังจัดไปโดยหนทางดำเนิรการที่เข้าใจผิดอยู่ ตัวเราเองในครั้งนั้นได้รับภารช่วยเหลือฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระราชชนนีผู้เป็นสภานายิกา
จึ่งได้คิดถึงการที่จะแก้ไขระเบียบการในสภากาชาดให้ลงรอย และได้กราบทูลว่าควรมีโรงพยาบาลขึ้นโรงหนึ่ง เพื่อประสงค์ให้เป็นที่ฝึกหัด
นายแพทย์ฝ่ายทหาร และหัดคนพยาบาลให้ชำนิชำนาญ เราเข้าใจกันเสียว่าจะทำแต่ในเวลาสงคราม ถึงกระนั้นก็ดี ในการรักษาโรคก็ดี การพยาบาลก็ดี
ไม่ใช่คนหนึ่งคนใดสักแต่ว่าเป็นคนแล้วก็ทำได้ดั่งนั้นหามิได้ ต้องอาศัยการเล่าเรียน เพราะฉะนั้นไม่ว่าชาติใด จำเป็นต้องมีสถานที่ไว้เป็นที่ศึกษาของนายแพทย์
เมื่อถึงเวลาต้องการใช้ในการงานสงครามจะได้ไม่เสียงาน
             เมื่อเราผ่านมาทางเมืองญี่ปุ่น ได้เห็นโรงพยาบาลของสภากาชาดของเขา เป็นที่สง่างดงามมาก
ครั้นกลับเข้ามาถึงเมืองไทยจึ่งได้รู้สึกละอายใจว่า ในเมืองเรามิได้ทำไปให้เสมอหน้าเขา จึ่งได้คิดกันกับกรมหลวงนครชัยศรีช้านานมาแล้วในเรื่องนี้
แต่หากโอกาสยังไม่เหมาะและเป็นการต้องการทุนทรัพย์มากจึ่งต้องรอมา
   


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ต.ค. 07, 19:06
ขออภัยที่ทำเสียงซ้อนขึ้นมา  ขอประทานโทษคุณเทาชมพูค่ะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 07:23
ขณะนั้นเองล้นเกล้าล้นกระหม่อมก็เสด็จลุกขึ้นประทับยืนด้วยพระอิริยาบถอย่างกริ้วกราดถึงขนาด
พระหัตถ์คว้าพระแสงดาบ  เข้าใจว่าจะเป็นพระแสงดาบตีนตวง หรือพระแสงสีซึ่งมีชื่อว่า
พระแสงดาบคาบค่าย ๑
พระแสงดาบใจเพ็ชร ๑
พระแสงดาบนาคสามเศียร ๑
พระแสงดาบอัษฎาพานร ๑
พระแสงดาบคาบค่ายนั้น ว่ากันว่าเป็นองค์ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคาบปีนค่ายพม่าในรัชสมัยของพระองค์
พระแสดงดาบใจเพ็ชรมีเพ็ชรฝังเป็นประจำยามที่ฝักตลอดทั้งสองข้างและที่ยอดด้ามและที่ปลายฝัก
พระแสงดาบนาคสามเศียร  ด้ามเป็นรูปพญานาคแผ่พังพานสามหัว
พระแสงดาบอัษฎาพานรลงยาสลักเป็รรูปพระยาวานรเสนาพระรามแปดตัว

"พระแสงดาบตีนตวง" เข้าใจว่าผู้เขียนหมายถึง "พระแสงรายตีนตอง"

"พระแสงดาบคาบค่าย" ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชูปโภคหมวดพระแสงในพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นของสร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๑ ไม่ใช่พระแสงองค์เดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยทรง ซึ่งก็คงสูญหายไปนานแล้ว เพียงแต่ทรงสร้างขึ้นใหม่แล้วสถาปนามงคลนามตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร เพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่พระบรมราชวงศ์ครับ นอกจากพระแสงดาบคาบค่ายแล้ว บรรดาราชูปโภคอันมีนามเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยังมีพระมาลาเบี่ยง พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงขอตีช้างล้ม และพระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย อีกด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนสร้างขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 ต.ค. 07, 08:07
เรื่อง พระแสงรายตีนตอง  ไม่เคยอ่านพบเลยค่ะ
พระแสงดาบคาบค่ายสร้างขึ้นใหม่นั้น  ทราบอยู่

พระแสงดาบนาคสามเศียร และพระแสงดาบอัษฎาพานร  ก็ไม่เคยทราบรายละเอียด


เรื่องทนายเลือกก็ไม่เคยเห็นข้อมูล
หมื่นฟาดเบื้องหล้า  เข้าใจเองว่าคือคนที่ฟาดคนสุดท้าย
ไปนึกถึงตำรวจหลวงนั่งตักของคุณ ลาวัณย์ โชตามระ

เท่าที่เคยอ่าน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน  ก็ไม่เคยพบชื่อกรมสนมพลเรือน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 12:20
กรมสนมพลเรือน มีอยู่ในกระทรวงวัง ครับ ปัจจุบันเป็น ฝ่ายสนมพลเรือน อยู่ในกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 ต.ค. 07, 12:45
ขอมอบภาระงานให้คุณ UP โปรดมาเล่าเรื่องพระราชนิพนธ์ ธรรมา ธรรมะ สงคราม
แลแม้นว่ามีรูปประกอบด้วยได้

ก็จักเป็นบุญตาแก่คนตาถ้วอย่างผมอีกโสดหนึ่ง


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 13:40
บัดนี้ จะรับประทานวิสัชนาปรารภพระราชนิพนธ์เรื่องธรรมาธรรมะสงคราม สนองคุณประดับปัญญาบารมีมิตรบริษัททั้งหลาย อนุรูปปุจฉาแห่งคุณพิพัฒน์ เท่าที่เวลาและสติปัญญาจะอำนวย

"ธรรมาธรรมะสงคราม" คงเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่องที่หลายท่านคุ้นเคยกันดีนะครับ เพราะปัจจุบันได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษา เรื่องนี้มีข้อสรุปใหญ่ใจความก็คือ "ธรรมะย่อมชนะอธรรม" เสมอ ทรงใช้ "ธรรมาธรรมะสงคราม" เป็นเครื่องโน้มใจให้มหาชนได้รู้สึกว่า มหาสงคราม (ครั้งที่ ๑) ที่เกิดขึ้นในโลกขณะนั้นนั้น ปรากฏชัดว่ามีฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรมะ ซึ่งถึงกาลสมควรที่ไทยจะต้องเลือกสนับสนุนข้างธรรมะ จะวางอุเบกขานิ่งอยู่ให้ฝ่ายอธรรมรังแกอยู่ก็ไม่ควร ในขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเป็นทหารอย่างเสนาธิการผู้มองเกมการรบได้ขาด ย่อมจะทรงทราบว่าการส่งกองทัพไปร่วมรบกับฝ่ายที่ทรงมีมติว่าเป็นฝ่าย "ธรรมะ" นั้น ย่อมจะทำให้ชาติของเราได้รับเกียรติภูมิอย่างเต็มที่ และจะอำนวยประโยชน์มหาศาลแก่พวกเราชาวไทย ประเทศจ้อยร่อยในเอเชีย ให้มีเสียงต่อรองในเวทีโลกได้ในที่สุด

ถ้าจะพูดภาษาฝรั่ง ผมเห็นว่านี่คือการที่ทรงใช้วรรณศิลป์และชาดก Justify พระบรมราโชบายในการพระราชสงคราม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ตามนัยแห่งพระธรรมเทศนาของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งแสดงวิสัชนาถวายในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เกี่ยวกับธรรมชาดก เอกาทศนิบาต ซึ่งสามารถตีความให้สอดคล้องกับการส่งกองทัพร่วมมหาสงครามเพื่อต่อสู้อธรรมได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าในฉกามาพจรสวรรค์นั้น เทพทั้งปวงยังมีรักโลภโกรธหลงอยู่นะครับ ไม่ใช่เทวดาจะดีเสมอไป ในเรื่องนี้กล่าวถึงเทพบุตร ๒ องค์ คือ "ธรรมเทวบุตร" และ "อธรรมเทวบุตร"

วันหนึ่ง อธรรมเทวบุตร กับ ธรรมเทวบุตร ก็ชักรถประพาสโลกมาจ๊ะเอ๋กันกลางเวหน เอาล่ะสิ เกิดเรื่อง

เปิดฉากที่ฝ่ายธรรม

  ธรรมะเทวบุตร        ผู้พิสุทธิโสภา
สถิตอยู่ ณ กามา       พจรภพแผ่นดินสรวง
  ครองทิพยพิมาน     บริวารอมรปวง
ปองธรรมะบล่วง        ลุอำนาจอกุศล
  เมตตาการุญรัก       ษะพิทักษ์ภูวดล
ปรานีนิกรชน            ดุจดังปิโยรส
  ครั้นถึง ณ วันเพ็ญ   ที่เป็นวันอุโบสถ
เธอมุ่งจะทรงรถ        ประพาสโลกเช่นเคยมา
  เข้าที่สนานสรง       เสาวคนธธารา
แล้วลูบพระกายา       ด้วยวิเลปนารม
  ทรงเครื่องก็ล้วนขาว สวิภูษณาสม
สำแดงสุโรดม           สุจริต ณ ไตรทวาร
   ทรงเพชราภรณ์     พระกรกุมพระขรรค์กาญจน์
ออกจากพิมานสถาน  ธ เสด็จ ณ เกยพลันฯ


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงใช้ "สัญลักษณ์" เปรียบเทียบไว้อย่างงดงามเหลือเกินครับ ฝ่ายธรรมแต่งองค์ด้วยเครื่องขาว ใช้ม้าขาวงดงามเทียมรถ ทรงพระขรรค์สง่างาม เทพฝ่ายธรรมเสด็จมาโดยสถานทักษิณาวรรต คือเวียนขวา

  ขึ้นทรงรถทองผ่องพรรณ    งามงอนอ่อนฉัน
เฉกนาคราชกำแหง
  งามกงวงจักรรักต์แดง         งามกำส่ำแสง
งามดุมประดับเพชรพราย
  เลิศล้วนมวลมาศฉลุลาย     เทพประนมเรียงราย
รับที่บัลลังก์เทวินทร์
  กินนรฟ้อนรำร่ายบิน           กระหนกนาคิน
ทุกเกล็ดก็เก็จสุรกานต์
  งามเทวธวัชชัชวาล            โบกในคัคนานต์
แอร่มอร่ามงามตา
  พรั่งพร้อมทวยเทวเสนา      ห้อมแห่แหนหน้า
และหลังสะพรั่งพร้อมมวล
  จามรีเฉิดฉายปลายทวน      หอกดาบปลาบยวน
ยั่วตาพินิจพิศวง
  แลดูรายริ้วทิวธง                ฉัตรเบญจรงค์
ปี่กลองสนั่นเวหน
  อีกมีทวยเทพนฤมล           ฟ้อนฟ่องล่องหน
เพื่อโปรยบุปผามาลี
  ครั้นได้ฤกษ์งามยามดี         เคลื่อนขบวนโยธี
ไปโดยวิถีนภาจรฯ


เวลาเสด็จออกมาทอดพระเนตรนิกรชน ฝ่ายธรรมเทวบุตรเสด็จออกมา มหาชนก็ยินดีกราบไหว้เงยหน้าขึ้นชมพระบารมี

  ครั้นถึงชมพูดูสลอน             สล้างนิกร
ประชามาชมบารมี
  หยุดรถอยู่หว่างเมฆี             แลยังปัถพี
พระองค์ก็ยิ้มพริ้มพราย
 กษัตริย์พราหมณ์แพทย์ศูทรทั้งหลาย  ต่างมาเรียงราย
ระยอบบังคมเทวัญ
 ต่างคนปลื้มเปรมเกษมสันต์    ต่างคอยเงี่ยกรรณ
เพื่อฟังพระเทวบัญชา
  จึ่งธรรมเทพนาถา                ตรัสเผยพจนา
เพื่อแนะทำนองคลองธรรมฯ


ธรรมเทวบุตรสั่งสอนให้มนุษย์ทำแต่ความดี ทั้งกาย วาจา ใจ ให้บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา ถ้าใครทำเช่นนี้ จะมีแต่ความสุข ความเจริญ เมื่อสั่งสอนเสร็จแล้ว ธรรมเทวบุตร ก็กล่าวอวยพรให้มีอายุ วรรณ สุข พล แล้วให้ขบวนเวียนขวารอบชมพูทวีป

  ดูก่อนนิกรชน           อกุศลบทกรรม
ทั้งสิบประการจำ         และละเว้นอย่าเห็นดี
  การฆ่าประดาสัตว์      ฤ ประโยชน์บ่พึงมี
อันว่าดวงชีวี               ย่อมเป็นสิ่งที่ควรถนอม
  ถือเอาซึ่งทรัพย์สิน    อันเจ้าของมิยินยอม
เขานั้นเสียดายย่อม      จิตตะขึ้งเป็นหนักหนา
  การล่วงประเวณี        ณ บุตรและภรรยา
ของชายผู้อื่นลา-       มกกิจบ่บังควร
  กล่าวปดและลดเลี้ยว  พจนามิรู้สงวน
ย่อมจะเป็นสิ่งควร        นรชังเป็นพ้นไป
 ส่อเสียดเพราะเกลียดชัง  บ่มิยังประโยชน์ใด
เสื่อมยศและลดไม-    ตรีระหว่างคณาสลาย
  พูดหยาบกระทบคน   ก็ต้องทนซึ่งหยาบคาย
เจรจากับเขาร้าย         ฤ ว่าเขาจะตอบดี
  พูดจาที่เพ้อเจ้อ        วจะสาระบ่มี
ทำตนให้เป็นที่           นรชนเขานินทา
  มุ่งใจและไฝ่ทรัพย์    ยะด้วยโลภเจตนา
ทำให้ผู้อื่นพา            กันตำหนิมิรู้หาย
  อีกความพยาบาท     มนะมุ่งจำนงร้าย
ก่อเวรบ่รู้วาย             ฤจะพ้นซึ่งเวรา
  เชื่อผิดและเห็นผิด   สิจะนิจจะเสื่อมพา
เศร้าหมองมิผ่องผา    สุกะรื่นฤดีสบาย
  ละสิ่งอกุศล            สิกมลจะพึงหมาย
เหมาะยิ่งทั้งหญิงชาย สุจริต ณ ไตรทวาร
  จงมุ่งบำเพ็ญมา       ตุปิตุปัฏฐานการ
บำรุงบิดามาร-        ดรให้เสวยสุข
  ใครทำฉะนี้ไซร้      ก็จะได้นิราศทุกข์
เนานานสราญสุข      และจะได้คระไลสวรรค์
  ยศใหญ่จักมาถึง     กิตติพึงจักตามทัน
เป็นนิจจะนิรัน-       ดรย่อมจะหรรษาฯ


  ครั้นเสด็จประทานเทศนา  ฝูงชนต่างสา-
ธุเทิดประนตประนมกร
  ธรรมเทพจึงอวยพร         ให้ปวงถาวร
ในอายุวรรณสุขพล
  แล้วสั่งขบวนเดินหน         ประทักษิณวน
ชมพูทวีปมหาสถานฯ



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 13:51
ก่อนจะเปิดฉากฝ่ายอธรรมต่อไป ขอคั่นรายการว่าด้วยเรื่องภาพประกอบหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องนี้

ภาพประกอบหนังสือนี้ เป็นฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียนไว้ได้อย่างงามวิเศษเหลือเกินครับ งามสมกับวรรณศิลป์แห่งพระราชนิพนธ์ทุกประการ เทพทุกองค์มีแววตา มีอารมณ์ มีสีหน้าท่าทางบ่งบอกบุคลิกลักษณะได้อย่างเด่นชัด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ถึงกับทรงกล่าวชื่นชมว่าสมพระราชหฤทัย ไว้ในคำนำ

เสียดายที่ผมไม่มีหนังสือดังกล่าวในมือ และไม่มีสแกนเนอร์ด้วย ใครมี โปรดอนุเคราะห์ครับ

ใครที่สังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่า สมเด็จครู ทรงละเอียดถี่ถ้วนในการวาดภาพอย่างที่สุด แม้แต่ทิศทางลมและแสงเงา ก็ยังทรงคำนึงถึง ลองไปหาชมเป็นบุญตาเถิด ท่านทั้งหลายคงเคยสังเกตว่าภาพไทยสมัยก่อนๆ นั้น เทวดาท่านมีตานิ่งๆ ขวางๆ ไม่ค่อยเหล่ซ้ายเหลียวขวานัก แต่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ เทวดาทุกองค์มีการทอดสายตาและเพ่งไปต่างๆ กันอย่างมีอารมณ์ ภาพสมัยก่อน เทวดาจะเหินจะเหาะยังไง ผ้าผ่อนก็เรียบกริบไม่กระดิก แข็งราวกับลงแป้ง ในขณะที่สมเด็จครูทรงเขียนให้แต่ละภาพมีความพลิ้วไหว ลายผ้าก็ต่างๆ กัน ชายผ้าที่ปลิวพลิ้วไปก็พลิ้วปลิวไปในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกันพู่จามรีปลายทวน ตลอดจนเหล่าบุปผาสุมาลีที่โปรยปราย ไม่ใช่ลอยไปคนละทิศคนละทางตามใจฉัน

นับเป็นยอดฝีมือจริงๆ ครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 14:01
  ปางนั้นอธรรมะ         เทวบุตรผู้ใจพาล
เนาในพิมานสถาน       ณ กามาพจรสวรรค์
  ครองพวกบริวาร        ล้วนแต่พาลประดุจกัน
โทโสและโมหันธ์        บ่มิพึงบำเพ็ญบุญ
  เห็นใครน้ำใจซื่อ       สุจริตะการุญ
เธอก็มักจะหันหุน        เพราะพิโรธและริษยา
  ถึงวันที่จันทร์เพ็ญ     ธ ก็มักจะไคลคลา
ขับรถะยานมา            ณ ชมพูทวีปพลัน


มาแล้วครับ อธรรมตัวร้ายของเรื่องนี้ เปิดฉากมาน่าสยอนทีเดียว

  แต่งองค์ก็ทรงล้วน      พัสตระดำทุกสิ่งอัน
อาภรณ์ก็เลือกสรร-     พะสัมฤทธิ์และพลอยดำ
  หัตถ์สดำพระกำขวาน  อันมหิทธิกำยำ
จรจากวิมานอัม-         พรตรงมาทรงรถ


ตั้งแต่การแต่งองค์ทรงเครื่อง ฝ่ายอธรรมแต่งด้วยเครื่องดำ ใช้เสือสิงห์หมาหนูเน่าๆ น่าตาอัปลักษณ์ชักรถ ทรงขวานน่าสะพรึง เทพฝ่ายอธรรมเสด็จมาพร้อมด้วยกองทัพอมนุษย์น่าชัง โดยสถานอุตราวรรต คือเวียนซ้าย ฝ่ายอธรรมเสด็จออกมาก็เกรี้ยวกราดปึงปัง คนที่เห็นก็สยดสยองขนหัวลุก

   รถทรงกงกำทั้งหมด      ตลอดงอนรถ
ล้วนแล้วด้วยไม้ดำดง
  บัลลังก์มียักษ์ยรรยง      ยืนรับรองทรง
สลับกระหนกมังกร
  ลายสิงห์เสือสีห์มีสลอน  หมาไนยืนหอน
อีกทั้งจระเข้เหรา
  งอนรถมีธวัชตวัดร่า        สีดำขำน่า
สยดสยองพองขน
  แลดูหมู่กองพยุหพล      สลับสับสน
ล้วนฤทธิ์คำแหงแรงขัน
  กองหน้าอารักขะไพรสัณฑ์   ปีกซ้ายกุมภัณฑ์
คนธรรพ์เป็นกองปีกขวา
  กองหลังนาคะนาคา        สี่เหล่าเสนา
ศาสตราอาวุธวาวแสง
  พวกพลทุกตนคำแหง     หาญเหิมฤทธิ์แรง
พร้อมเพื่อผจญสงคราม
  พาหนคำรนคำราม          เสือสิงห์วิ่งหลาม
แลล้วนจะน่าสยดสยอน
  ให้เคลื่อนขบวนพลจร     ไปในอัมพร
ฟากฟ้าคะนองก้องมาฯ
  ครั้นถึงชมพูแดนประชา   ให้หยุดโยธา
ลอยอยู่ที่ในอัมพร
  เหลือบแลเห็นชนนิกร     ท่าทางสยดสยอน
อธรรมก็ยิ่งเหิมหาญ
  ทะนงจงจิตคิดพาล         ด้วยอหังการ
ก็ยิ่งกระหยิ่มยินดี
  เห็นว่าเขาเกรงฤทธี        จึ่งเปล่งพจี
สนั่น ณ กลางเวหน


ถึงตอนนี้ สมเด็จครูทรงวาดรูปเหล่ากษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ทั้งหลาย ล้มกลิ้งคุดคู้อุดหูปิดตาทำท่าสยดสยอนระยอบย่อไปหมด ได้อารมณ์ดีนักแล


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 14:13
  ดูราประชาราษฎร์    นรชาตินิกรชน
จงนึกถึงฐานตน         ว่าตกต่ำอยู่ปานใด
  ไม่สู้อมรแมน          ฤ ว่าแม้นปีศาจได้
ฝูงสัตว์ ณ กลางไพร  ก็ยังเก่งกว่าฝูงคน
  ทั้งนี้เพราะขี้ขลาด    บ่มิอาจจะช่วยตน
ต่างมัวแต่กลัวชน       จะตำหนิและนินทา
  ผู้ใฝ่ซึ่งอำนาจ         ก็ต้องอาจและหาญกล้า
ใครขวาง ณ มรรคา    ก็ต้องปองประหารพลัน
  อยากมี ณ ทรัพย์สิ่ง จะมานิ่งอยู่เฉยฉะนั้น
เมื่อใดจะได้ทัน-       มนะมุ่งและปราถนา
  กำลังอยู่กับใคร        สิก็ใช้กำลังคร่า
ใครอ่อนก้ปรา-         ชิตะแน่มิสงสัย
  สตรีผู้มีโฉม             ศุภลักษณาไซร้
ควรถือว่ามีไว้             เป็นสมบัติ ณ กลางเมือง
  ใครเขลาควรเอาเปรียบ  และมุสาประดิษฐ์เรื่อง
ลวงล่อบ่ต้องเปลือง     ธนะหากำไรงาม
  เมื่อเห็นซึ่งโอกาส     ผู้ฉลาดพยายาม
ส่อเสียดและใส่ความ   และประโยชน์ ณ ถึงตน
  ใครท้วงและทักว่า     ก็จงด่าให้เสียงอึง
เขานั้นสิแน่จึ่ง             จะขยาดและกลัวเรา
  พูดเล่นไม่เป็นสา-     ระสำหรับจะแก้เหงา
กระทบกระเทียบเขา    ก็สนุกสนานดี
  ใครจนจะทนยาก       และลำบากอยู่ใยมี
คิดปองซึ่งของดี          ณ ผู้อื่นอันเก็บงำ
  ใครทำให้ขัดใจ         สิก็ควรจะจดจำ
ไว้หาโอกาสทำ           ทุษะบ้างเพื่อสาใจ
  คำสอนของอาจารย์    ก็บุราณะเกินสมัย
จะนั่งไยดีไย               จงประพฤติตามจิตดู
  บิดรและมารดา          ก็ชราหนักหนาอยู่
เลี้ยงไว้ทำไมดู            นับจะเปลืองมิควรการ
  เขาให้กำเนิดเรา        ก็มิใช่เช่นให้ทาน
กฎธรรมดาท่าน           ว่าเป็นของไม่อัศจรรย์
  มามัวแต่กลัวบาป      ก็จะอยู่ทำไมกัน
อยากสุขสนุกนัน-      ทิก็ต้องดำริแสวง
  ใครมีกำลังอ่อน        ก็ต้องแพ้ผู้มีแรง
ใครเดชะสำแดง         ก็จะสมอารมณ์ปอง


ว่าแล้วอธรรมก็โม้พร่ำสอนประชาชนให้ประพฤติในทางอกุศลกรรมล้วนๆ อ่านแล้วแสบมั้ยล่ะครับอธรรมเทวบุตรของเรา ผมชอบพระราชนิพนธ์ที่ทรงกล่าวถึงฝ่ายอธรรมไว้เป็นอย่างยิ่ง เพราะทรงใช้ถ้อยคำที่กระทบกระเทียบกระแทกใจดีนัก

  พูดเสร็จแล้วเล็งแลมอง  เห็นคนสยดสยอง
อธรรมก็ยิ่งยินดี
  ตบหัตถ์ตรัสสั่งเสนี         ให้เริ่มจรลี
ออกเดินขบวนพลกาย
  ขบวนก้พลันผันผาย       เป็นแถวเรียงราย
เวียนซ้ายชมพูพนาลัย



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 09 ต.ค. 07, 14:14
วันนี้ติดไว้เท่านี้ก่อนนะครับ จะรอความเมตตาจากท่านผู้มีหนังสือ ช่วยสแกนรูปอันงามวิจิตรมาลงประกอบสักหน่อย จะเป็นพระคุณยิ่ง  :)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 ต.ค. 07, 14:44
ข้าพเจ้าจึ่งทูลขอให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
ทรงคิดประดิษฐภาพขึ้นประกอบเรื่อง,
เพราะเห็นว่าจะหาช่างใดในกรุงสยามที่เข้าใจความมุ่งหมายและความตั้งใจของข้าพเจ้าไม่ได้ดีเท่าเปนแน่แท้.
และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเข้าพระทัยความประสงค์ของข้าพเจ้าดีปานใด
ภาพทั้งหลายในสมุดนี้ย่อมเปนพยานปรากฏอยู่เองแล้ว

ข้าพเจ้าหวังใจว่า ท่านผู้ที่จะได้พบได้อ่านหนังสือนี้จะมีความพอใจ,
เพราะจะได้อ่านทราบความคิดความเห็นและภูมิธรรมของคนโบราณว่ามีสูงอยู่เหมือนกัน.
และจะได้มีโอกาศดูภาพอันวิจิตร์งดงาม เปนตัวอย่างอันดีแห่งภาพที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นโดยใช้ความพิจารณาอย่างดี,
ควรถือเปนแผนแห่งศิลปะของไทนเราได้โดยไม่ต้องน้อยหน้าชนชาติอื่นๆ.


พระราชนิพนธ์คำนำ
๑ ธันวาคม ๒๔๖๓

นี้คือตัวอย่างที่ศิลปิน เขียนถึงศิลปิน
ทรงโปรดเพียงใด ก็อาจสังเกตได้ว่า พระราชนิพนธ์คำนำนี้เกือบทั้งหมด
เป็นคำชมช่างเขียนโดยนัยอย่างแท้จริง
---------
อนึ่ง ผมก็มะมีสะแกนเนอร์เหมืยนกัล


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: KoKoKo ที่ 09 ต.ค. 07, 15:57
บทอธรรมเป็นบทที่ผมจำได้ขึ้นใจเลยทีเดียวครับ เพราะยิ่งอ่านยิ่งสนุก เสียดสีสุดๆ โดยเฉพาะตอนเรียนภาษาไทย ชอบแกล้งอาจาย์ท่านโดยบอกว่า "คำสอนของอาจารย์ก็บุราณเกินสมัย จะนั่งใยดีใยจงประพฤติตามจิตตู"  ;D


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 10 ต.ค. 07, 12:09
พรรณนาฝ่ายอธรรมไปแล้ว ใครอ่านแล้วเผลอคล้อยตามไปบ้างรึเปล่า

เมื่อนั้น เทวบุตรทั้งสองก็ทรงรถสวนกระแสทางมาปะกันพอดี เกิดเรื่องโกลาหล

ใครจะเจ๋งกว่าใคร เชิญติดตาม

   ขบวนสองเทพคลาไคล     เวียนขวาซ้ายไป
ประสบกันกลางเวหา
   ต่างกองต่างหยุดรอรา       อยู่กลางมรรคา
เพื่อคอยอีกฝ่ายหลีกทาง
   ต่างกองต่างยืนอยู่พลาง    จึ่งกล่าวคำไป
ด้วยถ้อยสุนทรอ่อนหวาน
   ดูราอธรรมมหาศาล          เราขอให้ท่าน
หลีกทางให้เราเดินไป
  อธรรมตอบว่าฉันใด          เราจะหลีกให้
เราก้ไม่หย่อนศักดิ์ศรี
   ธรรมะจึ่งว่าเรานี้              สิทธิย่อมมี
ที่ควรจะได้ทางจร
  เพราะเราชวนชนนิกร        ให้จิตสุนทร
บำเพ็ญกุศลจรรยา
  เราทำให้ชนนานา            ได้มียศฐา-
นะเลิศประเสริฐทุกสถาน
    สมณะอีกพราหมณาจารย์  สรรเสริญทุกวาร
เพราะเรานี้เที่ยงธรรมา
    อีกทั้งมนุษย์เทวา          น้อมจิตบูชา
ทุกเมื่อเพราะรักความดี
    อธรรมตอบว่าข้านี้          รี้พลมากมี
ไม่ต้องประหวั่นพรั่นใจ
   ไม่เคยยอมให้แก่ใคร      วันนี้เหตุไฉน
จักยอมให้ทางท่านจร
   ธรรมะว่าเราเกิดก่อน       ในโลกอัมพร
อธรรมเธอเกิดตามมา
   ตัวเราเก่ากว่าแก่กว่า       ยิ่งใหญ่ยศฐา
ผู้น้อยควรให้ทางจร
   อธรรมว่าคำอ้อนวอน       หรือพจนากร
อ้างเหตุสมควรใดๆ
   ไม่ทำให้เรานี้ไซร้           ยอมหลีกทางให้
เพื่อธรรมะเทพจรลี
   มาเถิดรบกันวันนี้            ใครชนะควรมี
สิทธิได้เดินทางไป
   ธรรมะว่าเออตามใจ         อันเรานี้ไซร้
ประกอบด้วยสรรพคุณา
   มีทั้งกำลังวังชา              เกียรติยศหา
ผู้ใดเสมอไป่มี
  ทั่วทิศบันลือฤทธี             อธรรมเธอนี้
จักเอาชำนะอย่างไร
   อธรรมยิ้มเย้ยเฉลยไป      ว่าธรรมดาไซร้
เขาย่อมเอาเหล็กตีทอง
   เอาทองตีเหล็กเป็นของ    ไม่สามารถลอง
เพราะเหตุว่าผิดธรรมดา
    แม้นเราฆ่าท่านมรณา       เหล็กก็จักน่า
นิยมประดุจทองคำ
   ว่าแล้วต้อนพลกำยำ         ตรูเข้ากระทำ
ประยุทธ ณ กลางอัมพร


รบกันแล้วครับ อธรรมกับธรรม ท่านจะเลือกข้างใด

 ::)




กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 10 ต.ค. 07, 12:28
สัประยุทธ์กันไปสักพัก ไม่ทันไร เดชะอานุภาพแห่งกุศลสมบัติก็ย่อมส่งผลดีเสมอครับ ฝ่ายอธรรมก็มีอันเป็นไปโดยธรรมไม่ต้องออกแรงมากนัก

  ฝ่ายทัพอธรรมราญรอน      ห้าวหาญชาญสมร
ฝ่ายธรรมอิดหนาระอาใจ
  ธรรมะสลดหฤทัย              คิดว่าตนไซร้
จะไม่ชนะดั่งถวิล
  จะต้องทนดูคำหมิ่น           และต้องยอมยิน
ให้ทางแก่ฝ่ายอธรรม
  แต่ว่าเดชะกุศลกรรม         มาช่วยฝ่ายธรรม
แลเห็นถนัดอัศจรรย์
   อธรรมหน้ามืดโดยพลัน     มิอาจนั่งมั่น
อยู่บนบัลลังก์รถมณี


ตุ้บ! เศียรปักทบท่าวดาวดิ้นแหงแก๋เลยครับ ถึงตอนนี้ สมเด็จครูทรงวาดเป็นรูปอธรรมเทวบุตรลอยเค้เก้จากอัมพร หล่นลงมาหัวปักดินสิ้นใจ โผล่มาแต่แขนขาบิดเบี้ยวไม่เป็นท่า คงจะหักกรอบหมดเรียบร้อยโรงเรียนมาร

  พลัดตกหกเศียรทันที        ถึงพื้นปัถพี
และดินก็สูบซ้ำลง ฯ
   ธรรมะมีขันตีทรง              กำลังจึ่งยง
แย่งยุทธะชิตชัยชาญ
    ลงมาจากกลางคัคนานต์   ฟาดฟันประหาร
อธรรมผู้ปราชัย
    แล้วสั่งเสนีย์ผู้ใหญ่         ฝังอธรรมไว้
ในพื้นผ่นดินบันดล
    กลับขึ้นรถทรงโสภณ       แล้วตรัสแด่ชน
ผู้พร้อมมาชมบารมี


ต่อไปนี้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจอ่านดีๆ ผมถือว่าบทพระราชนิพนธ์ต่อไปนี้คือ "พระบรมราโชบาย" และ "พระบรมราชานุศาสน์" จากฝีพระโอษฐ์ของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าโดยตรง

   ดูราประชาราษฏร์        ท่านอาจเห็นคติดี
แห่งการสงครามนี้           อย่าระแวงและสงสัย
   ธรรมะและอธรร-        มะทั้งสองสิ่งนี้ไซร้
อันผลจะพึงให้               บ่มิมีเสมอกัน
  อธรรมย่อมนำสู่            นิรยาบายเป็นแม่นมั่น
ธรรมะจำนำพลัน            ให้ถึงสุคตินา
   เสพธรรมะส่งให้          ถึงเจริญทุกทิวา
แม้เสพอธรรมพา            ให้พินาศและฉิบหาย
   ในกาลอนาคต            ก็จักมีผู้มุ่งหมาย
ข่มธรรมะทำลาย            และประทุษฐ์มนุษย์โลก
   เชื่อถือกำลังแสน-       ยะจะขึ้นเป็นหัวโจก
หวังครองประดาโลก       และเป็นใหญ่ในแดนดิน
   สัญญามีตรามั่น           ก็จะเรียกกระดาษชิ้น
ละทิ้งธรรมะสิ้น               เพราะอ้างคำว่าจำเป็น
   หญิงชายและทารก      ก็จะตกที่ลำเค็ญ
ถูกราญประหารเห็น         บ่มิมีอะไรขวาง
   ฝ่ายพวกอธรรมเหิม      ก็จะเริ่มจะริทาง
ทำการประหารอย่าง        ที่มนุษย์มิเคยใช้
   ฝ่ายพวกที่รักธรรม       ถึงจะคิดระอาใจ
ก็คงมิยอมให้                 พวกอธรรมได้สมหวัง
   จะชวนกันรวบรวม        พลกาจกำลังขลัง
รวมทรัพย์สะพรึบพรั่ง      เป็นสัมพันธไมตรี
   ช่วยกันประจัญต่อ        พวกอธรรมเสนี
เข้มแข็งคำแหงมี            สุจริตธรรมะสนอง
   ลงท้ายฝ่ายธรรมะ        จะชนะดังใจปอง
อธรรมะคงต้อง               ปราชัยเป็นแน่นอน
   อันว่ามนุษย์โลก          ยังโชคดีไม่ย่อหย่อน
อธรรมะราญรอน             ก็ชำนะแต่ชั่วพัก
   ภายหลังข้างฝ่ายธรรม   จะชำนะประสิทธิ์ศักดิ์
เพราะธรรมะย่อมรักษ์        ผู้ประพฤติ ณ คลองธรรม
  อันคำเราทำนาย            ชนทั้งหลายจงจดจำ
จงมุ่งถนอมธรรม              เถิดจะได้เจริญสุข
   ถึงแม้อธรรมข่ม            ขี่อารมณ์ให้มีทุกข์
ลงท้ายเมื่อหมดยุค          ก็จะได้เกษมศานต์
   ถือธรรมะผ่องใส          จึ่งจะได้เป็นสุขสราญ
ถือธรรมะเที่ยงนาน          ก็จะได้ไปสู่สวรรค์ฯ


ทุกวันนี้ ในกลุ่มชน ในสังคม ในประเทศ ในโลก มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ้างหรือไม่ มีหัวโจกแห่งอธรรมบ้างหรือไม่ มีใครกำลังต่อสู้เพื่อธรรมอยู่หรือไม่ ท่านทั้งหลายลองตรองดู


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 10 ต.ค. 07, 12:41
แฮปปี้เอนดิ้ง จบลงด้วยดี เป็นบทสรุปว่า "ธรรมย่อมชนะอธรรม" และ "ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"

ที่ผมเห็นว่าเป็นพระราชอัจฉริยภาพอีกสถานหนึ่งคือ "คำทำนาย" ที่ทรงพระราชปรารภไว้ในตอนท้าย ผมว่าโลกมนุษย์ของเรานี้ต่อมาจากมหาสงครามครั้งกระนั้น ก็มีพฤติการณ์อย่างที่ทรงกล่าวถึงไว้เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ

มองถึงชัยชนะของฝ่ายธรรมเทวบุตรนั้นแล้ว ก็มามองถึงชัยชนะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกันบ้าง ความกล้าหาญตัดสินพระราชหฤทัยส่งกองทัพสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับฝ่ายสัมพันธมิตร จนได้รับชัยชนะนั้น คือเครื่องพิสูจน์ว่าพระองค์คือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีวิสัยทัศน์อย่างแท้จริง นี่คือผลอันยิ่งใหญ่ที่สุดของพระราชอุตสาหวิริยภาพในการนำไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ เพื่อให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับนับถือ ชัยชนะครั้งนั้นทำให้สยามมีอำนาจต่อรองในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับต่างชาตินับตั้งแต่สัญญาเบาริงที่ทำกับอังกฤษตั้งแต่พุทธศักราช ๒๓๙๘ เป็นต้นมา จนกระทั่งประเทศในแดนตะวันตกแทบทั้งหมด มีเอกสิทธิ์และอภิสิทธิ์เหนือสยามจนเรียกได้ว่าไทยสูญเสียเอกราชไปส่วนหนึ่งโดยปริยาย แต่ในที่สุด ศาลไทยก็ได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและรัฐบาลไทยได้สิทธิในการจัดเก็บภาษีขาเข้ากลับคืนมา นับว่าประเทศไทยดำรงอยู่ด้วยเอกราชอันบริบูรณ์เต็มที่ได้ ก็ด้วยผลจากการตัดสินพระราชหฤทัยและการมองไกลของพระมหากษัตริย์จอมปราชญ์พระองค์นั้นโดยแท้

    ฝ่ายฝูงสิริเทพกัญญา         ก็โปรยบุปผา
มาเกลื่อน ณ พื้นปัถพี
   แล้วธรรมะเทพฤทธี           ตรัสสั่งเสนีย์
ให้เคลื่อนขบวนโยธา
   ลอยล่องฟ่องในเวหา         ดำเนินเวียนขวา
ไปรอบทวีปชมพูฯ


 :D

จบพระราชนิพนธ์เรื่องธรรมาธรรมะสงคราม

เอวํ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 10 ต.ค. 07, 23:25
กลับมาพูดถึง เกร็ดบางเรื่อง "ของบุคคล" ที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ ๖ กันต่อนะคะ
อ้อ ขอแทรก คำว่า “เกล็ด” เสียนิดหน่อยก่อนค่ะ
คำว่า "เกล็ด" ที่หนูรู้จักก็มี ขนมเกล็ด (ปลา) กระโห้ ต้นเกล็ดปลาหมอ และ ตำราการรบว่าด้วยเกล็ดมังกร

ส่วน “เกร็ด” นั้น เป็นเรื่องสนุกที่เด็กๆ ชอบตื้อผู้ใหญ่ให้เล่าให้ฟัง
หนูได้ยินมาก็มาเล่าต่อ ไม่ได้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่าตัวเองรู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้หรอกค่ะ
เพียงแต่อยากแบ่งปันสิ่งที่รู้เห็นมา (นะคะ คุณป้ากุนขา)
และอ่านประสบการณ์ของท่านอื่นมาบ้าง ถือว่าเป็นการเพิ่มพูนและต่อยอดความรู้

วันนี้หนูขอให้คุณป้าเล่าให้ฟังถึงชีวิตความเป็นมาใน “บ้านนรสิงห์” เพิ่มเติม
ภายหลังที่ล้นเกล้ารัชการที่ ๖ สวรรคต ความเป็นอยู่ของท่านเจ้าคุณก็เปลี่ยนไป
ท่านไม่ต้องไปเข้าเฝ้าแต่เช้าเหมือนแต่ก่อน

เวลาท่านจะไปไหนมาไหน เด็กๆ เช่น คุณป้า (และผู้ใหญ่ท่านอื่น)
ก็จะวิ่งไปดูหมาย (เป็นกระดานเล็กๆ ติดอยู่ข้างฝาผนัง) เพื่อดูว่าใครนั่งรถคันที่เท่าไร
ไปงานอะไร ต้องแต่งตัวอย่างไร

พาหนะของท่านเจ้าคุณคือรถโรลสรอย
ก่อนรถออก เจ้าคุณจะดูขบวนรถว่าใครนั่งคันไหน
เมื่อเห็นคุณป้านั่งคันที่สอง “เจ้าคุณอา” ก็จะเรียกคุณป้าให้มานั่งคันแรกกับท่าน
ผู้ใหญ่ไปไหนมักจะเหงา มีเด็กๆ นั่งไปด้วยท่านเจ้าคุณก็มีเพื่อนคุยหายเหงา

ท่านเจ้าคุณหลอกคุณป้าว่าถึงป้อมตำรวจที่สี่แยกหน้า ตำรวจจะจับเด็กฟันหลอ
คุณป้าในวัย ๖ ขวบ นั่งตัวแข็ง ไม่กระดุกกระดิก เม้มปากปิดสนิท
กลัวตำรวจจะมาจับจริงๆ

หนูถามคุณป้าว่าแล้วลูกท่านขณะนั้นไปไหนเสียเล่า
คุณป้าตอบว่า ลูกเมียหลวงยังไม่เกิด ส่วนลูกเมียบ่าวก็ยังไม่ให้เกิดเช่นกัน
(เอาไว้หนูจะกลับมาเล่าตรงนี้ต่อค่ะ เปรียบเทียบกับแม่พลอย ในสี่แผ่นดินค่ะ)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 11 ต.ค. 07, 11:59
สวัสดีครับทุกๆท่าน :)
เรื่อง ธรรมาธรรมะสงคราม นี่ ได้รับการบรรจุในแบบเรียนครั้งล่าสุดของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยครับ
ส่วนรายละเอียดนี้ เดี๋ยวผมกะจะไปค้นสักพักนะครับ (แต่อาจจะนานหน่อยครับ)

กาพย์ยานี 11 บทที่ อ.UPยกมานี้ ตรงกับหลายเหตุการณ์อย่างน่าประหลาด (แต่จะจบอย่าง สุขนาฏกรรม(Happy Ending) หรือไม่นี้ ตอบได้ยากยิ่ง แต่มักเป็นจริงแทบทุกครั้ง!)

   ดูราประชาราษฏร์        ท่านอาจเห็นคติดี
แห่งการสงครามนี้           อย่าระแวงและสงสัย
   ธรรมะและอธรร-        มะทั้งสองสิ่งนี้ไซร้
อันผลจะพึงให้               บ่มิมีเสมอกัน
  อธรรมย่อมนำสู่            นิรยาบายเป็นแม่นมั่น
ธรรมะจำนำพลัน            ให้ถึงสุคตินา
   เสพธรรมะส่งให้          ถึงเจริญทุกทิวา
แม้เสพอธรรมพา            ให้พินาศและฉิบหาย
   ในกาลอนาคต            ก็จักมีผู้มุ่งหมาย
ข่มธรรมะทำลาย            และประทุษฐ์มนุษย์โลก
   เชื่อถือกำลังแสน-       ยะจะขึ้นเป็นหัวโจก
หวังครองประดาโลก       และเป็นใหญ่ในแดนดิน
   สัญญามีตรามั่น           ก็จะเรียกกระดาษชิ้น
ละทิ้งธรรมะสิ้น               เพราะอ้างคำว่าจำเป็น
   หญิงชายและทารก      ก็จะตกที่ลำเค็ญ
ถูกราญประหารเห็น         บ่มิมีอะไรขวาง
   ฝ่ายพวกอธรรมเหิม      ก็จะเริ่มจะริทาง
ทำการประหารอย่าง        ที่มนุษย์มิเคยใช้
   ฝ่ายพวกที่รักธรรม       ถึงจะคิดระอาใจ
ก็คงมิยอมให้                 พวกอธรรมได้สมหวัง
   จะชวนกันรวบรวม        พลกาจกำลังขลัง
รวมทรัพย์สะพรึบพรั่ง      เป็นสัมพันธไมตรี
   ช่วยกันประจัญต่อ        พวกอธรรมเสนี
เข้มแข็งคำแหงมี            สุจริตธรรมะสนอง
   ลงท้ายฝ่ายธรรมะ        จะชนะดังใจปอง
อธรรมะคงต้อง               ปราชัยเป็นแน่นอน
   อันว่ามนุษย์โลก          ยังโชคดีไม่ย่อหย่อน
อธรรมะราญรอน             ก็ชำนะแต่ชั่วพัก
   ภายหลังข้างฝ่ายธรรม   จะชำนะประสิทธิ์ศักดิ์
เพราะธรรมะย่อมรักษ์        ผู้ประพฤติ ณ คลองธรรม

  อันคำเราทำนาย            ชนทั้งหลายจงจดจำ
จงมุ่งถนอมธรรม              เถิดจะได้เจริญสุข
   ถึงแม้อธรรมข่ม            ขี่อารมณ์ให้มีทุกข์
ลงท้ายเมื่อหมดยุค          ก็จะได้เกษมศานต์
   ถือธรรมะผ่องใส          จึ่งจะได้เป็นสุขสราญ
ถือธรรมะเที่ยงนาน          ก็จะได้ไปสู่สวรรค์ฯ



กระผมขอตัวทรรศนาจรก่อนนะครับ ถ้ามีโอกาสก็อาจจะแวะมาอีกครับ :D


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ต.ค. 07, 15:15
มีคำถามสำหรับคุณหนอนบุ้งค่ะ

๑.   โตขึ้นอยากเป็นอะไรคะ  คือสับสนว่าคุณหนอนบุ้งโตขึ้นจะเป็นบุ้งตัวโตๆ  หรือแปลงร่างเป็นอะไรซักอย่าง
๒.   คิดว่าคุณหนอนบุ้งอารมณ์ดี  ถ้าโดนจี้เอวคงดิ้นไปมา  แล้วหัวเราะเอิ้กอ๊าก  คงไม่สลัดขนออกต่อสู้(เพราะดิฉันคิดจะจี้ เอวคุณอยู่)

อยากฟังเรื่องทำนองแม่พลอยมาก  เกร็ดประวัติบุคคลที่เล่ามาน่าสนใจอย่างยิ่ง
เพื่อวัฒนธรรมอันดีงามของการสื่อสาร  คุณหนอนบุ้งคิดว่า จะเปลี่ยนคำ จากลูกบ่าว  เป็นลูกหม่อม  จะไหวไหมคะ
จำไม่ได้แน่ว่า  ภรรยารองของเจ้าพระยา  เรียกว่าหม่อม ใช่หรือไม่



(อ้างอิงตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ๑   ศิลปากรพิมพ์ครั้งแรก ๒๕๔๕  หนา ๔๒๑ หน้า)
(หน้า ๓๑๙)เกล็ดมังกร ที่ว่าเป็นตำราการรบนั้น  คงจะเป็น ตำราชื่อเกล็ดนาคากระมัง  เป็นตำราทำนายแบบหนึ่ง 
ใช้รูปนาคเป็นเครื่องกำหนดความหมายในการทำนายโชคเคราะห์ หรือเหตุการณ์ร้ายดี

มหาพิชัยสงครามมีเอ่ยเรื่องนาคไว้หลายแห่ง(อ้างอิงแล้ว  หน้า ๒๑๖ - ๒๑๗)เป็นเรื่องราวของทิศทางในการยกทัพ
   


ขนมเกล็ดปลากะโห้นั้น กินอร่อยดี มีแป้ง มีไข่ มีกะทิ  น้ำปูนใสนิดหน่อย  ไม่เห็นนานแล้ว


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 11 ต.ค. 07, 20:45
มีคำถามสำหรับคุณหนอนบุ้งค่ะ

๑.   โตขึ้นอยากเป็นอะไรคะ  คือสับสนว่าคุณหนอนบุ้งโตขึ้นจะเป็นบุ้งตัวโตๆ  หรือแปลงร่างเป็นอะไรซักอย่าง
๒.   คิดว่าคุณหนอนบุ้งอารมณ์ดี  ถ้าโดนจี้เอวคงดิ้นไปมา  แล้วหัวเราะเอิ้กอ๊าก  คงไม่สลัดขนออกต่อสู้(เพราะดิฉันคิดจะจี้ เอวคุณอยู่)

แอร๊ยยยย แหม คุณพี่ถามถูกใจ หวังใจว่าซักวันจะมีคนถาม หนูอยากอวดน่ะ อิ อิ  ;D

วงชีวิตของหนอนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (เมตามอฟอซีสไงคะ)
ออกมาเป็นไข่ จากนั้นกลายเป็นหนอนบุ้ง แล้วก็เป็นดักแด้ สุดท้ายทรานสฟอร์มเป็นตัวเต็มวัยที่สุดสวยด้วยล่ะ อิ อิ

หนอนบุ้ง ในการ์เดนของคุณพี่อาจจะแสบๆ คันๆ
แต่หนอนตัวนี้ รับรองว่าจะไม่สร้างความคันคะเยอ ทำตัวเหมือนสุนัขมุ่ยให้แก่ใครเป็นอันขาด
อย่างมากก็แค่จั๊กจี๋ จี๊ดจ๊าด กวนอารมณ์ นิดหน่อย แก้กระษัยจ้าาาา 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 11 ต.ค. 07, 22:43
กลับมาที่บ้านนรสิงห์

ช่วงที่ท่านกำลังจะขายบ้านนรสิงห์ ญี่ปุ่นสนใจขอซื้อ ท่านเรียกราคาไว้ ๒ ล้าน
ในขณะเดียวกัน ท่านได้ติดต่อกับรัฐบาลไทยว่าสนใจจะซื้อหรือไม่
ด้วยเหตุเพราะท่านได้รับพระราชทานบ้านจากล้นเกล้าฯ ร. ๖
ถึงบ้านจะเปลี่ยนมือ ก็อยากให้บ้านเป็นกรรมสิทธิ์ในมือของคนไทยมากกว่าอยู่ในอุ้งมือญี่ปุ่น
ในที่สุด พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลก็ซื้อบ้านนรสิงห์ ตัวท่านได้ย้ายไปอยู่บ้านริมเจ้าพระยา

สำหรับเจ้าคุณแพร ในสมัย ร. ๖ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคุณพระประยูรวงษ์
คุณป้าเล่าว่า ถึงแผ่นดิน ร. ๘ เจ้าคุณแพร (อาศัยอยู่ที่ตำหนักไหนสักแห่งอาจใกล้ๆ สวนสุนันทากระมัง)
ก็บอกว่า “เฟื้อ อาเหงา ขอไปอยู่ด้วย”

หนูซักว่า โถ โถ ระดับเจ้าคุณแพร ทำไมต้องไปอยู่บ้านคนอื่น
คุณป้าตอบว่า บ้านเจ้าคุณสนุกสนาน ผู้คนมากมาย กลางคืนก็ซ้อมละครกัน
เล่นเรื่องสังข์ทอง คนหนึ่งเป็นนางมณฑา ป้าเป็นนางรจนา เจ้าคุณแพรก็นั่งดู

มีอีกครั้งหนึ่ง เจ้าคุณแพรเหงาอีก ขอมาพักที่เรือนริมน้ำ ชื่อ “มัจฉานุ”
บังเอิญเรือนนี้เจ้าคุณให้คนอื่นอยู่ก่อนแล้ว
ท่านเจ้าคุณ เลยไปเอาเรือของท่านลำหนึ่งมาลอยลำให้เจ้าคุณแพรพักอาศัย
เรือนี้เหมือนเรือสำราญ มีเตียงนอน แท่นนั่ง ตั่งไว้เลื้อยทอดหุ่ยครบครัน

พอตอนหลัง แบ้งค์ชาติซื้อที่ดินแปลงนี้ไปทำโรงพิมพ์ธนบัตร
รื้ออาคารออกหมด คงไว้แต่เรือน “มัจฉานุ” ให้เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเจ้าของเก่า
***

คุณพี่วันดีคะ
ขอขอบพระคุณที่ตักเตือนการใช้ถ้อยคำของหนูค่ะ
หนูเรียก “เมียบ่าว” อิอิ เขิลลลล เป็นภาษาไพร่พูดกันกระมัง
หนูตั้งใจจะหมายถึง เมียเล็ก เมียน้อย อย่างที่เจ้าคุณพ่อของแม่พลอยก็มีไงคะ

เอ คุณพี่ขา หนูอยากจะเล่าเกร็ดในการไปทำอาหารของคุณป้าให้คนใหญ่คนโตชิม เช่น ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน

เราย้ายไปคุยกระทู้อื่น จะได้ตรงประเด็นหน่อยดีไหมคะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 11 ต.ค. 07, 23:16
คุณหนอนบุ้งจ๋า  ขอติดตามเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของคุณหนอนบุ้งด้วยคนนะคะ  แต่คุณหนอนบุ้งเล่าแบบกระปริบกระปรอยเหมือนแกล้งคนอ่านให้ติดตามแบบติดละครวิทยุอย่างไรอย่างนั้นเลยแหละ  และอยากขอบคุณคุณหนอนบุ้งด้วยที่อุตสาหะไปรวบรวมกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับ ร.6 มาไว้ที่นี่ด้วย  ไปทยอยตามอ่านมาจนหมด  ทำให้การอ่านกระทู้นี้ได้อรรถรสขึ้นอีกโขเลยค่ะ 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ต.ค. 07, 23:32
คุณหนู หนอนบุ้ง

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์  ท่านชื่อ แพ ค่ะ

อือ  ท่านนับญาติกับพระยาประสิทธิ์ศุภการ(ม.ร.ว. ละม้าย)ทางไหนหนอ
บารมีของเจ้าคุณทหารก็ล้นพ้น

เรื่อง อนุภรรยา ของเจ้าพระยา  พระยา นั้น  มิบังควรเหมารวมว่าเป็น เมียบ่าวไปหมด
จะยกตัวอย่างมาก็จะเลอะเทอะออกนอกเรื่องไป
ที่ทักไว้ก็เห็นว่า ข้อมูลที่ได้มา สามารถพัฒนาและสื่อออกไปได้อย่างระรื่นหู ไม่แบ่งชนชั้น
ลูกหลานท่านก็มากมี 


ถ้ามีเกร็ดใดๆเพิ่มเติมก็น่าสนใจ
เรื่องคุณป้าที่เป็นหลานสาวของเจ้าพระยาและผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คุณหนอนบุ้งจะฝอยเมื่อไร  ดิฉันก็ตามอ่านแน่นอน



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ต.ค. 07, 11:28
มีเกร็ด(ประเภทที่ทำให้คุณพิพัฒน์รำคาญ)มาเล่าอีกเรื่องหนึ่งค่ะ

เรื่องนี้เกิดขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๖   เมื่อสวนลุมพินีกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง ปรับพื้นที่  ปลูกดอกไม้ ให้เป็นอุทยาน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดที่จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ไปดูความคืบหน้า  แบบเงียบๆ ไม่เอิกเกริก    ก็เลยทรงขับรถพระที่นั่งยี่ห้อแวนเดอเรอไปด้วยพระองค์เอง
พอเลี้ยวรถถึงสวนลุมที่มีคนงานกำลังทำงานกันอยู่ ก็จอด  เสด็จพระราชดำเนินลงไป    โดยไม่มีใครในหมู่คนงานรู้ว่าเป็นพระเจ้าอยู่หัว   
ขณะเสด็จผ่านกองดินที่คนงานขุดขึ้นมา   เห็นกำลังทำงานกันอยู่ ก็ทรงหยุดไต่ถาม ว่า
"ได้ค่าแรงคนละเท่าไร"
" ได้วันละ ๓ สลึง นาย"
ทรงถามว่า
" พอกินรึ"
คนงานก็ตอบประสาซื่อ
" หลวงท่านจ่ายวันละบาท แต่นายชักเอาไว้สลึงหนึ่ง  เหลือให้พวกเราแค่ ๓ สลึง"
คนงานอีกคนก็เสริมว่า
" คนไหนเบิกแรงงานล่วงหน้า   แค่วันเดียว   นายเขาให้ขอยืมแต่คิดดอกเบี้ยวีคละ ๑ สลึง"
พระเจ้าอยู่หัวทรงถามว่า
" แล้วเจ้าคุณหัวล้านรู้หรือเปล่า"
คนงานก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่กล้าให้ท่านรู้   กลัวจะถูกกลั่นแกล้ง

พระเจ้าอยู่หัวกริ้ว  ทรงขับรถตรงไปที่บ้านเจ้าคุณซึ่งอยู่ใกล้ๆ    เจ้าคุณเจ้าของบ้านไม่รู้ตัวว่าจะเสด็จมา ก็ไม่ทันเตรียมตัว  ท่านกำลังรดน้ำต้นไม้ที่สนามอยู่
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากรถไปถึงตัวแล้ว  ทรงปฏิเสธที่จะเสด็จขึ้นบ้านอย่างทุกครั้ง  เจ้าของบ้านก็เลยต้องรับเสด็จที่สนามนั่นเอง
ท่านก็ทรงเล่าถึงนายงานที่โกงค่าแรงงานลูกจ้าง   แล้วให้เจ้าคุณหาตัวมาสอบสวนชำระความให้ได้

หลังจากนั้น คนงานก็ได้ค่าแรงเต็มเม็ดเต็มหน่วย  ไม่ถูกเบียดบังอีกต่อไป
*************************
เรียบเรียงจากหนังสือ "เล่าเรื่องเกร็ด ๗ แผ่นดิน" ของกันยาบดี


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 ต.ค. 07, 11:52
ที่อาจารย์เล่ามามิใช่เกร็ด หามิได้ เป็นแก่นของพลความทีเดียว
เรื่องอย่างนี้ ฟังไม่เบื่อ แล้วจาปัยหาฟามรำคาญมาแต่ใหนได้เล่า.....

เอาอีก เอาอีก....


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 07, 22:49
ขอเล่าเรื่องเกร็ดเล็กๆน้อยๆ  ที่พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี(สรวง ศรีเพ็ญ)บันทึกไว้ในหนังสือ "เล่าให้ลูกฟัง"  พิมพ์ในปี ๒๔๙๘
กระทรวงมหาดไทย ได้พิมพ์เป็นที่ระลึกในงาน พระราชทานเพลิงศพท่าน เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๒
อ่านแล้วนึกถึงท่านทั้งปวงที่ยังไม่ได้อ่าน  เพราะเป็นเกร็ดในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และในหลายโอกาสเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเสือป่า

เจ้าคุณสัจจาภิรมย์ มีบรรพบุรุษรับราชการเป็นอำมาตย์ราชเสนามาตลอด


คุณสรวงอาศัยอยู่กับย่า  เมื่อมารดาตายตอนคุณสรวงย่าง ๙ ขวบ  บิดาตายเมื่อคุณสรวงอายุ ๑๓  ตกอยู่ในสภาพยากจนอาศัยน้าอยู่
ต่อมาได้มาอยู่กับพี่ของมารดาได้เรียนหนังสือเพียงเล็กน้อยเพราะขาดผู้อุปการะ เที่ยวเล่นหยอดหลุม ทอยกอง เล่นว่าว
เมื่ออายุ ๑๕ ปีได้พบญาติทางบิดา จึงได้ไปทำงานเป็นเสมียนที่ที่ว่าการจังหวัดนครนายก เพราะท่านเป็นเจ้าเมือง
เวลานั้น ปี ร.ศ. ๑๑๗(พ.ศ. ๒๔๔๑)


เจ้าเมืองเวลามานั่งที่ศาลากลาง ปกตินุ่งผ้าโจงกระเบน  ใส่เสื้อกุยเฮง สวมหมวก ใส่เกือกแตะ ถือไม้เท้าเล็กๆ
พนักงานอื่นๆนุ่งโจงกระเบน เสื้อชั้นในแขนสั้น  ผ้าขาวม้าคาดพุง  ไม่มีเกือก
ชั้นเสมียนนุ่งกางเกงจีน โดยมากสีขาว บางทีนุ่งผ้าโจงกระเบน

ขอย่อความ ว่าด้วยความรักดี คุณสรวงได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนสอนการปกครอง  สมัครสอบ"ประโยคมณฑล"
สมัครประมาณ ๒๐๐  สอบได้ ๕ คน
ขอข้าม ชีวิตการต่อสู้ของท่านไปก่อนนะคะ  จะได้เล่าเกร็ดที่เกี่ยวกับ ร ๖ ซะที


(อ้างอิงแล้ว  หน้า ๙๕- ๙๗)
"ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่ค่ายหลวง
พวกเสือป่า่กินอาหารเช้าแล้วก็แยกออกไปตามท้องที่เป็นสองฝ่าย   ครั้นเวลาบ่ายสองโมงก็เสด็จโดยม้าพระที่นั่งออกไปยังท้องนาและป่าละเมาะหลังค่ายหลวงออกไปอีก ๓ - ๔ กิโลเมตร  ทรงตั้งเป็นกองรับ  พระองค์จะทรงบัญชาการเอง.......................

เจ้พระยาธรรมาธิกรณาธิบดีเสนาบดีกระทรวงวังตรงมาหาพ่อ  บอกว่ามีพระราชประสงค์จะใคร่ขึ้นดูข้าศึกฝ่ายรุกจากที่สูงๆ 
ท่านชี้คบไม้ต้นหนึ่งซึ่งอยู่ในที่นั้น โดยประมาณราวสามวาเศษ

พ่อกราบเรียนว่าพ่อจะทำเดี๋ยวนี้   พ่อถอยออกมาพ้นพระที่นั่งหน่อยหนึ่ง  มายังม้าชื่อแก้ว  พอรวบบังเหียนกดมือลงตรงที่ผมนกเอี้ยง  ม้าแก้วก็หมอบลง
พ่อขี่วิ่งตรงไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ห่างจากที่ประทับราวสามสี่เส้น    เรียกกำนันมาเกณฑ์คนตัดไม้ไผ่  ขนไปที่ที่ประทับพร้อมคนทำทันที
แล้วพ่อก็ขี่ม้าแก้วกลับมา  พ้นหน้าพระที่นั่งหน่อยพ่อก็รั้้งบังเหียนให้หยุดและกดมือลงที่ผมนกเอี้ยง  มันก็หมอบลงให้พ่อลง
คราวนี้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หัวเราะกัน  แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงแย้มสรวล

ครึ่งชั่วโมงแล้วก็เสร็จพร้อม  ตัดกิ่งสดๆผูกตามเสาและบันไดที่จะขึ้นเพื่อพรางตาช้าศึกไม่ให้รู้ว่าเป็นหอคอย 
เบื้องบนหอ  พ่อให้เอากิ่งไม้สดๆผูกทึบเพื่อป้องกันแสงแดด

พ่อไปกราบเรียนเจ้าพระยาธรรมมาให้ออกไปทดลองความมั่นคง  เพราะการทำคอคอยครั้งนี้ ก็เสมอกับทำคอให้อยู่กับบ่า 
ฉวยพลาดพลั้งอย่างไร คอพ่อก็หลุด

ท่านขึ้นไปบนหอคอยเขย่าดูหลายครั้งและโยกไปโยกมาอยู่ครู่หนึ่ง  ลงมาบอกว่าใช้ได้


พ่อไปกราบบังคมทูล  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อดูนาฬิกาที่ข้อพระหัตถ์แล้ว  ก็เสด็จตรงไปที่ขึ้นหอคอย พร้อมกับพระยาประสิทธิศุภการ

เวลานั้นพ่อเฝ้าอยู่ที่ข้างบันได

แล้วมีพระรับสั่งให้ส่งเก้าอี้ผ้าใบชนิดครึ่งนั่งครึ่งนอนขึ้นไปบนหอคอย

พ่อรู้สึกไม่ไว้วางใจเพราะพื้นหอคอยปูด้วยไม้ไผ่สับ  แต่ใต้ทับไขว้เป็นสองชั้นอยู่

แต่กระนั้นเพื่อความปลอดภัยของพ่อ  จึงร้องกับพระยาประสิทธิที่นั่งอยู่ที่พื้นรองบนหอคอยว่า  พื้นฟาก  ขอให้ระวังขาพระเก้าอี้

ทันใดนั้นมีพระราชดำรัสลงมาว่า  "ไม่เป็นไร"

เท่านั้นพ่อก็ดีใจ


เมื่อพระองค์ประทับอยู่บนหอคอยนานแล้ว จึงเสด็จลงมาอำนวยการซ้อมรบ   วันนั้นกว่าจะกลับมาถึงค่ายก็ราวทุ่มเศษ"


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 12 ต.ค. 07, 23:05
คุณหนอนบุ้งจ๋า  ขอติดตามเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของคุณหนอนบุ้งด้วยคนนะคะ  แต่คุณหนอนบุ้งเล่าแบบกระปริบกระปรอยเหมือนแกล้งคนอ่านให้ติดตามแบบติดละครวิทยุอย่างไรอย่างนั้นเลยแหละ 

ถ้ามีเกร็ดใดๆเพิ่มเติมก็น่าสนใจ
เรื่องคุณป้าที่เป็นหลานสาวของเจ้าพระยาและผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คุณหนอนบุ้งจะฝอยเมื่อไร  ดิฉันก็ตามอ่านแน่นอน

เอ้อ หนูก็เขียนตามเวลาที่พอจัดสรรได้ บวกกับเวลาที่หนูจะซอกแซกถามไถ่หาเรื่องต่างๆ มาเล่าสู่กันฟังได้ล่ะจ๊ะ ขอบคุณที่ติดตามเจ้าค่ะ

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์  ท่านชื่อ แพ ค่ะ
อุ๊บสสสส์ ขออภัยค่ะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 07, 23:12
(อ้างอิงเดิม  หน้า ๑๐๒ - ๑๐๓)

"เช้าวันที่ ๒๖  กรมกองเสือป่าต่างๆก็ออกไปตามสนามรบหมด  เพราะวันนี้เป็นวันที่กองเสือป่ามณฑลกรุงเทพฯ  จะยกเข้าตีกองหลวง
..................................................
เวลา ๓โมงเช้า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปยังสนามเพลาะแลทรงลงจากรถพระที่นั่ง  ประทับพระเก้าอี้ผ้าใบเล็กๆใต้ร่มไม้ที่มีสุมทุมพอบังแดดได้
สักครู่ก็รับสั่งกับเจ้าพระยาธรรมาฯ ว่า  ให้พ่อทำหอคอยสำหรับจะทอดพระเนตรแนวรบของข้าศึกอีก

คราวนี้พ่อได้ให้นายเนตรทำเตรียมไว้เสร็จแล้ว  พอพ่อสั่งนายเนตรโดยชี้ต้นไม้ให้เท่านั้น  ประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมงนายเนตรก็ทำเสร็จ
พร้อมทั้งตัดกิ่งไม้สดผูกพรางตาข้าศึกด้วย

แล้วพ่อก็เข้าไปกราบเรียนเจ้าพระยาธรรมาฯๆได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ


พอสักครู่หนึ่งก็เสด็จขึ้นไปประทับบนหอคอย  พระยาประสิทธิ์ก็ตามเสด็จขึ้นไปด้วย  ประทับอยู่สักครู่ใหญ่  นัยว่าข้าศึกฝ่ายรุกยังมาไม่ถึง 
ก็เสด็จลงมาประทับ ณ ที่ใต้ร่มไม้ข้างล่างนั้น

แล้วรับสั่งว่าทำการอย่างนี้ไม่สนุก  แต่มิได้กริ้วกราดอย่างใด"



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 12 ต.ค. 07, 23:43
โอย ฟังเกร็ดที่คุณพี่วันดีเล่า หนอนบุ้งใจหาย
หนูเอาใจช่วยกลัวว่าขาพระเก้าอี้จะตกลงไปในรอยแยกของฟาก
หากตกไปจริงๆ ละก็ สงสัยว่ากบาลพ่อต้องแยกตามฟากด้วย

กราบขอบคุณ คุณพี่มากที่ติติงเรื่องอนุภรรยา
หนูไปเช็คแล้ว เรียกอย่างที่คุณพี่เรียกจริงๆ
ขอขอบคุณอีกครั้งที่คุณพี่ทำหน้าที่โปลิซประจำบอร์ด เอ้ย พลเมืองดีค่ะ อิอิอิ

**อ้อ ลืมบอก ที่แสดงละครวันนั้น คุณมานนท์ เล่นเป็นสังข์ทองค่ะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ต.ค. 07, 23:57
เพิ่งนึกออกว่า มานนท์ ไหน

ชื่อคนโบราณนั้นเรียบง่ายและมีความหมายค่ะ
คุณแพ ท่านเกิดในแพ จึงชื่อแพ
พี่สาวคนหนึ่งของเจ้าคุณแพ  เกิดตอนครอบครัวอาศัยอยู่ในฉางข้าว  จึงได้รับชื่อว่าฉาง

เจ้าคุณอาของคุณป้าที่เป็นเพื่อนของคุณลุงทางคุณแม่ของคุณหนอน  ตั้งชื่อลูกๆเทียมเจ้านายเลยนะคะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 13 ต.ค. 07, 00:11
คุณแพ ท่านเกิดในแพ จึงชื่อแพ
มิน่าเล่าคะ
หนูก็แปลกใจที่เจ้าคุณแพ จู่ๆ พอชราขึ้นๆ แล้วนึกอยากอยู่บ้านริมน้ำขึ้นมาดื้อๆ

คุณวันดีคะ
ที่ว่าท่านเจ้าคุณตั้งชื่อลูกเทียมเจ้านายนั้น
หนูนึกไม่ออกว่าชื่อเจ้านายท่านไหนที่คล้ายบ้าง
คำ (เกือบ) พ้องที่นึกออก คือ อานนท์ สานนท์ มกรานนท์

ชื่อไหนเอ่ย?


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ต.ค. 07, 07:13
คนสมัยก่อนไม่นิยมตั้งชื่อลูกยาวๆค่ะ

ขออภัยที่ทำตัวเหมือน ขัดคอ คุณหนอนบุ้งอยู่ตลอด

ที่จริงสนใจมาก เพราะข้อมูลที่อ้างตัวแหล่งข่าวขนาดนี้  เป็นเรื่องน่าฟัง
จะไปหาฟังที่ไหน


แหม  มีความสงสัยหลายเรื่อง  เอามือข้างหนึ่งอุดปากตัวเองไว้ก่อนก็แล้วกัน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 13 ต.ค. 07, 08:06
ขออภัยที่ทำตัวเหมือน ขัดคอ คุณหนอนบุ้งอยู่ตลอด

หา หนูยังไม่ทันได้คิดไปถึงเรื่องขัดคอเลย

หนูกลับคิดว่าดีเสียอีก พอมีใครทัก ก็ได้หัวข้อไปซักต่อ ซึ่งบางเรื่องเองก็เป็นเรื่องหนูเองก็คิดไม่ถึงเหมือนกัน

คุณวันดีไม่ต้องคิดมากค่ะ ถามมาก รู้มาก คนอ่านก็พอได้เผื่อแผ่ไปด้วย

ถ้าคำไหน เรื่องไหนผิดพลาด มากไปน้อยไป ก็ขอให้บอกกล่าวกันเถอะ หนูยินดีจ้า


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 ต.ค. 07, 08:53
ห่างเหินจากเรือนไทยไปเสียนาน  มาพบอีกทีก็ถูกใช้ชื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง  เลยต้องรีบอ่านจนครบ
มีข้อมูลที่ข้อเรียนเพิ่มเติมคำตอบข้างต้นเป็นลำดับดังนี้

เรื่องขุนนางผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมโต๊ะเสวยเย็นเป็นประจำนั้นมี ๓ ท่าน คือ เจ้าพระยารามรามราฆพ  พระยาอนิรุทธเทวา  และพระยาอุดมราชภักดี (โถ  สุจริตกุล)  กล่าวกันว่า เวลาที่ทรงกริ้วพระยาอุดมฯ นั้นมักจะทรงกระทืบพระบาทแรงเป็นพิเศษ  ด้วยทรงถือว่าเป็นพระญาติสนิท  เพราะสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา ผู้ทรงเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ในพระองค์นั้นสกุลเดิมของท่าน คือ สุจริตกุล

เรื่องอินทรธนูพระตำรวจที่ศุกรหัศน์ท่านกล่าวถึงว่า เป็นอินทรธนูแบบทหารไม่มีกิมเช็งนั้น  ขอเรียนอธิบายว่า  อินทรธนูของทหารสมัยก่อนนั้น  เป็นรูปสี่เหลี่ยมปลายตัดที่จ้นคอทำเป็นรูปตัดแบบเดียวกับอินทรธนูตำรวจสมัยปัจจุบัน  มีแถบทองติดที่ขอบเว้นด้านปลายบ่า  และสำหรับกรมรักษาพระองค์จึงมีกิมเช็ง (เส้นไหมทอง) ขดเป็นวงที่ริมขอบอินทรธนู
แต่ถ้าเป็นกรมทหารทั่วไปที่ไม่ใช่กรมรักษาพระองค์ไม่มีเส้นไหมทองขดที่ขอบ  ถ้าจะเปรียบก็คือ อินทรธนูสำหรับหน่วยทหารทั่วไปจะเป็นอินทรธนูติดแถบทองเรียบๆ เหมือที่นายทหารใช้อยู่ในปัจจุบัน  แต่อินทรธนูของกรมรักษาพระองค์จะเป็นเหมือนอินทรธนูของนายร้อย นายพันตำรวจ  แต่เปลี่ยนแถบเงินเป็นแถบทอง

เรื่องเจ้าพระยายมราช  ก็มีข้อที่น่าคิดว่า ท่านได้รับพระราชทานพระมหากรุณาให้เป็น มหาอำมาตย์นายก ซึ่งเป็นยศพลเรือนชั้นสูงสุดเทียบเท่า จอมพล ของทหาร  และยศนี้มีผู้ได้รับพระราชทานพร้อมกันเพียง ๑ พระองค์ และ ๑ คน อีกพระองค์หนึ่งนั้น คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  ส่วนเรื่องที่ว่าล้นเกล้าฯ เสด็จฯ ไปทรงต่อว่าเจ้าพระยายมราชถึงที่บ้าน  และได้เฝ้าฯ กันที่สนามหน้าบ้านนั้น  ขอขยายความว่าตามที่เคยได้ยินมาว่า  ปกติท่านเจ้าคุณเป็นคนรักต้นไม้  ยามที่ท่านอยู่บ้านท่านมักจะลงดูแลสนามและต้นไม้ในบ้าน  วันหนึ่งมีคุณมหาดเล็กท่านหนึ่งไปพบท่านที่บ้าน  เห็นคนแก่กำลังนั่งดูแลต้นไม้อยู่ที่หน้าบ้าน  ก็คิดว่าเป็นคนสวน  จึงเข้าไปถามท่านว่า  ลุงๆ ท่านเจ้าคุณเจ้าของบ้านอยู่หรือเปล่า  ท่านก็บอกว่าอยู่  เดี๋ยวจะไปเรียนให้ทราบ  เชิญนั่งรอก่อน  สักครูท่านเจ้าคุณเจ้าของบ้านก็ออกมาพบคุณมหาดเล็ก  เล่นเอาคุณมหาดเล็กท่านนั้นแทบจับไข้ไปเลยทีเดียว

เรื่องเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ออกมาพำนักที่สวนสุนันทานั้น  ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ  ทราบแต่ว่า เมื่อพระยาอุดมราชภักดี ขายบ้านมนังคศิลาให้แก่รัฐแล้ว  ได้มาพำนักอยู่ที่บ้านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ที่ริมคลองสามเสน  ตรงเชิงสะพานข้ามคลองสามเสนที่ถนนราชสีมาเหนือในปัจจุบัน  ฝั่งตรงข้ามกับวังสวนปาริจฉัตต์  ที่ดินบริเวณริมคลองสามเสนนี้
เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนดุสิตที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซ์อไว้พร้อมกับพระราชวังดุสิต  และได้พระราชทานให้แก่พระราชธิดาและบาทบริจาริกา  จึงมีวังของเจ้านายพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ หลายวังเรียงรายมาแต่ริมถนนสามเสนมาจนถึงคลองเปรมประชากร


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ต.ค. 07, 09:07
ขอถามต่อนะคะ  เรื่องขัดคอ หรือเกิดความคิดเรื่องบุคคลชั้นสูงของประเทศต้องยืมของแต่งตัวจากญาติเพื่อรักษาเกียรติของตน เอาไว้ก่อนแล้วกัน
ถ้าจะนับญาติ ของสกุลทั้งสี่(ในแง่มุมประวัติความเป็นมาเป็นไปของสกุลทรงอำนาจของประเทศ)
บางท่านคงรำคาญดิ้นปัดๆไปแล้วก็ได้


คำถามมีว่า  อะแฮ้มๆๆๆ

สร้อยที่หายไปนี่  คงไม่ใช่สร้อยเพชรเม็ดแตงที่ ร.๖ พระราชทานคุณหญิงกระมัง


ขอบคุณ คุณ V_Mee  ค่ะ  คำอธิบายเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ความรู้นั้นพอหาได้  แต่คำอธิยายไม่ทราบจะเรียนรู้จากที่ใด
กราบขอบคุณค่ะ  ไม่มีข้อสงสัยอื่นใดมิได้


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 ต.ค. 07, 22:12
เพิ่งอ่านเจอครับ
ไม่ใช่เกร็ด เป็นแก่นแกนในทีเดียว
 Exhibition of Agricultural & Commerce  97 คนอ่าน   
 Report of the First and the Second Exhibition of Agricultural & Commerce, Bangkok 1910, 1911
---------------------------
ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๕๓ ปีสุดท้ายของรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดงาน “การแสดงกสิกรรมแลพาณิชยการ ครั้งที่ ๑” ขึ้น ณ สระปทุม หรือตำบลปทุมวัน ซึ่งเป็นทุ่งนานอกเมือง งานครั้งนั้นจัดอย่างมโหฬาร มีทั้งนิทรรศการ งานออกร้านของบริษัทห้างร้าน การประกวดพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร แปลงนาสาธิต รวมทั้งการทดลองเครื่องจักรกลการเกษตรแผนใหม่ เช่นรถไถนาพลังไอน้ำ มีผู้เข้าชมงานอย่างล้นหลาม ในปีต่อมา คือปี พ.ศ.๒๔๕๔ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดงานครั้งที่ ๒ ขึ้นอีก โดยอาศัยพื้นที่และอาคารเดิมจากงานหนแรก แต่ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

เกือบร้อยปีให้หลัง พื้นที่ทุ่งปทุมวันกลายเป็นที่รู้จักกันในนาม “เวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์” ไม่มีร่องรอยหลักฐานอะไรของงานนิทรรศการครั้งนั้นหลงเหลืออยู่เลย เว้นไว้เสียแต่หนังสือสูจิบัตร ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นอย่างงดงาม ทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเหลืออยู่เพียงในห้องสมุดไม่กี่แห่ง

ขณะที่สถาบันการศึกษาอีกหลายๆ แห่งซึ่งมีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับด้านประวัติศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ยังคงไม่ได้มีบทบาทอะไรในเรื่องทำนองนี้ ทางศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กลับเล็งเห็นถึงคุณค่าของหนังสือและความสำคัญของการต่ออายุความรู้ จึงได้นำรายงานการแสดงกสิกรรมแลพาณิชยการ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ฉบับภาษาอังกฤษ มาถ่ายเพลทตีพิมพ์รวมกันเป็นเล่มหนังสือปกแข็ง ใช้ชื่อว่า Report of the First and the Second Exhibition of Agricultural & Commerce, Bangkok 1910, 1911 ด้วยขนาดรูปเล่มและคุณภาพการพิมพ์ที่ทัดเทียมกับต้นฉบับ ทั้งยังรักษาส่วนปลีกย่อยของหนังสือเดิมไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาพประกอบ หน้าแจ้งความโฆษณา หรือแม้แต่แผนที่บริเวณงาน ซึ่งพิมพ์สี่สีแยกไว้ต่างหาก

นับเป็นเรื่องน่าชื่นชมยิ่ง !
-------------------------------------
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&new_topic=8&pagenum=12


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 07, 23:50
เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๖

(อ้่างอิง อนุสรณ์  "ศุกรหัศน์"  เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกโท จมื่นมานิตย์นเรศ(เฉลิม  เศวตนันท) เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๑)


หน้า ๕๐
"ผู้เล่าได้เริ่มเป็นนักเขียนตั้งแต่อยู่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง   โดยเขียนเรื่องลงในหนังสือ "พระมนูประสิทธิ์"  อันเป็นหนังสือของโรงเรียน 
จำได้ว่าเรื่องแรกที่เขียนคือโคลงกระทู้สุภาษิตว่า "ความ-ดี-มี-ชัย"  และยังเขียนอะไรต่อมาอีกหลายเรื่อง  ส่วนมากเป็นกวีนิพนธ์เพราะติดมาจากพ่อ

เคยเขียนกลอนละครรำเรื่องหนึ่งนึกชื่อไม่ออกเวลานี้   โดยใช้พระราชนิพนธ์เรื่องพระเกียรติรถเป็นครู
เขียนเสร็จลงพิมพ์แล้ว  ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ได้ทอดพระเนตร  ทรงพอพระราชหฤทัยมาก   
โปรดเกล้าฯให้สอบถามว่าใครเขียน
เมื่อทรงทราบแล้ว    ทรงแคะไค้และล้อเลียนผู้เขียนอยู่นานด้วยทรงพระมหากรุณาเป็นอย่างยิ่ง
ตรงไหนที่ทรงตำหนิ  ก็ทรงชี้แจง   นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ  ซึ่งแต่คนเล็กอย่างผู้เล่าก็ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่"


หน้า้่ ๔๕
"ปลายปี ๒๔๖๗  มาคราวนั้นประชวรพระนาภีและประชวรไข้  พระอาการค่อนข้างหนัก  จนเสด็จออกจากที่พระบรรทมไม่ได้

ผู้เล่าได้มีโอกาสถวายรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท  โดยการอ่านหนังสือถวายทุกคืนทุกวันกว่า ๓ เดือน  และมีหน้าที่ถวายอยู่งานทั้งพัดและนวด  อย่างหน้าที่มหาดเล็กห้องพระบรรทม
ทั้งๆที่ผู้เล่ามีตำแหน่งเพียงมหาดเล็กรับใช้กองตั้งเครื่อง  จึงนับเป็นหน้าที่พิเศษ"


หน้า  ๒๐
"หลังจากนั้น  ผู้เล่าก็ได้เป็นผู้มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในการอ่านหนังสือถวายอยู่ตั้ง ๖ - ๑๐ ชั่วโมงในวันหนึ่งก็มี
โปรดเกล้าให้อ่านบทกวีนิพนธ์เป็นส่วนมาก   และมักโปรดเกล้าให้อ่านพระราชนิพนธ์ที่ทรงรจนาขึ้นใหม่ เช่น มัทนะพาธาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ
เป็นการสอบทานและทรงฟังด้วย

คราวหนึ่งโปรดให้ผู้เล่าอ่านข่าวจากหนังสือบางกอกไทม์ถวาย  กริ้วเสียใหญ่โต  แต่ไม่ได้กริ้วผู้เล่า
ไปกริ้วครูซีเวลล์ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษของผู้เล่าว่า สอนภาษาอังกฤษให้เด็กไม่ดีพอ"



ได้เรียงบทความของ ศุกรหัศน์เสียใหม่ ให้พอเป็นเรื่องเดียวกัน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 15 ต.ค. 07, 06:45
เรื่องพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่พระราชทานแก่เด็กๆ นั้น  เพื่อนๆ ของ ศุกรหัศน์ ได้เล่าไว้อีกหลายเรื่อง อาทิ

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงนำเสือป่าและลูกเสือเดินทางไกลไปดอนเจดีย์  ในระหว่างการเดินทางวันหนึ่งเมื่อไปถึงที่พักแรมเกิดฝนตกหนัก  ก็โปรดให้ลูกเสือหลวงซึ่งเป็นเด็กๆ ได้เข้าไปพักแรมในกระโจมที่ประทับ  แล้วทรงม้าฝ่าสายฝนไปประทับแรมที่ศาลาวัดแห่งหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่ง คือ วันหนึ่งกำลังทรงพระอักษร  เด็กๆ ก็วิ่งเล่นส่งเสียงดังอยู่ที่ข้างที่ประทับ  สักครูมีคุณมหาดเล็กมาห้ามเด็กๆ มิให้ซุกซนเพราะเกรงว่า จะเป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาท  แต่คนที่ถูกกริ้วกลับเป็นคุณมหาดเล็กท่านนั้น  มีระราชกระแสว่า เป็นธรรมชาติของเด็กต้องเล่นซุกซน  คนที่ไปห้ามเด็กไม่ให้ซุกซนนั้นคือคนที่ไม่ปกติ 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ต.ค. 07, 15:43
การเดินทางไกลของนักเรียนมหาเล็กหลวงกับกองเสือป่า
(อ้างอิงแล้ว  หน้า ๔๕)

"ปีที่สำคัญที่สุดคือการเดินไปถึงดอนเจดีย์ อันเป็นที่ประดิษฐานพระราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร ณ บัดนี้
ในการเดินทางทุกปีนี้  มีลำบากลำบนที่สุด ก็คือถูกฝนที่บึงกระจับจวนจะถึงที่พักอยู่แล้ว
พอเข้าเขตขอบบึง  ฝนก็เทลงมาอย่างฟ้ารั่ว  ทำให้ขอบบึงที่แห้งผากอยู่กลายเป็นทะเลตมไปทันที
เสบียงอาหารมายังไม่ถึงเพราะเข้าไม่ได้  กระโจมก็กางไม่ค่อยอยู่ เพราะเป็นดินเลน

โปรดเกล้าฯให้ลูกเสือหลวงตัวเล็กๆรวมทั้งผู้เล่าด้วยเข้าไปนอนพักอยู่ในกระโจมพลับพลา ซึ่งก็เลอะเทอะเหมือนกัน
พอถึงเวลาเสวยพวกเราเลยได้รับส่วนแบ่งพระราชทาน

ท่านรับสั่งว่า "เอาลูกเขามาลำบากลำบนต้องดูแลมันให้ดี"  ดั่งนี้"




(พระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี  "เล่าให้ลูกฟัง"  พิมพ์ครั้งที่สองเมื่อ พฤศจิกายน ๒๕๐๒)
หน้า ๙๙
"พลับพลาเต๊นท์ที่ประทับ ณ ใกล้ที่ว่าการอำเภอโพธาราม  เต๊นท์ที่ประทับนี้เป็นเต๊นท์ขนาดใหญ่มาก  ภายในจัดเป็นห้องบรรทม  เข้าใจว่ามีทั้งห้องสรงลงพระบังคลเสร็จ
แต่พ่อไม่มีหน้าที่จะได้เข้าไปเห็นๆแต่ภายนอก  ซึ่งจัดเป็นท้องพระโรงโถง
ตั้งโต๊ะทรงพระอักษรและที่ประทับพระราชสำราญ  มีโต๊ะเก้าอี้สำหรับประทับเสวยอยู่กับพื้นดิน  ปูด้วยผ้าใบชนิดหนา  แล้วปูพรมอย่างดีเต็มในเต๊นท์นั้นทับลงไปอีกชั้นหนึ่ง"



พ.ศ. ๒๔๖๐
หน้า ๑๒๖ - ๑๒๘
ย่อความ  พ่อเอานักโทษในเรือนจำราชบุีรี ไปใช้ในการซ้อมรบเสือป่าราว ๓๐ - ๔๐ คน  เลือกแต่โทษเบาๆที่จะไม่หนี  มีผู้คุมสองคน  กำหนดบริเวณให้อยู่เฉพาะ

"นักโทษนั้นจะต้องนุ่งกางเกงและสวมเสื้อฝาดสีดินแดงหม่นๆ  ข้างหลังเสื้อมีอักษร ท  แปลว่านักโทษ 
ถ้าเป็นกองปราบสุนัขในค่ายหลวง ก็เพิ่มอักษร ม อีกตัวหนึ่ง  เขียนด้วยสีดำ ตัวโตมาก มองแต่ไกลก็เห็นถนัด

ครั้นมาตอนบ่ายข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่จะเข้าร่วมโต๊ะเสวยก็มาคอยเฝ้าอยู่ราวสัก ๑๐ กว่าคน  เจ้าพระยายมราชก็มาคอยเฝ้าอยู่ด้วย

ครั้นได้เวลาเสวยราวบ่ายสามโมง  พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จลงจากพระตำหนักเรือนต้นมายังพลับพลาเสวย 
โดยปกติสุนัขขนยาวเล็กๆ(ดูเหมือนจะไม่ใช่ย่าเหล)ตามติดพระองค์อยู่เสมอไม่ว่าจะเสด็จที่ใด

ภายในค่ายหลวง  เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากพระตำหนัก  เจ้าสุนัขน้อยนี้ก็ตามเสด็จด้วย 
ถ้าเห็นสุนัขอื่นผ่านมาก็มักจะเห่าและวิ่งตามไป   พวกมหาดเล็กก็วิ่งตามจับ 
มันก็ยิ่งวิ่งไล่หนักขึ้น  กว่าจะจับตัวได้มักต้องช่วยกันหลายคน   
ลักษณะเช่นนี้มีบ่อยๆ  พ่อจึงได้จัดตั้งกองปราบหมาขึ้น
คือไม่ว่าเวลาใด  ไม่ให้หมาใดๆเข้าไปในเขตค่ายหลวงทีเดียว  ถึงกระนั้นก็ไม่พ้นที่จะมีเล็ดรอดเข้าไปเสมอๆ

บังเอิญในวันนั้น  นักโทษกองปราบสุนัขนี้ได้เดินผ่านมาในค่ายหลวงตอนริมลำแม่น้ำ  ถือไม้พลองเสียด้วย
ยืนคอยระวังเกรงว่าหมาจะเดินย้อนมาขึ้นทางริมแม่น้ำ
ได้หันหลังให้พลับพลาที่ประทับ  ห่างราวเกือบเส้นหนึ่ง

ทอดพระเนตรเห็นเข้่า  รับสั่งแก่เจ้าพระยาธรรมาฯ  แล้วชี้พระหัตถ์ว่า นั่นอะไรของแก

เวลานั้นพ่อเดินอยู่ห่างจากที่ประทับ  เจ้าพระยาธรรมาเรียกพ่อเข้าไปถาม

พ่อเรียนว่าเป็นกองปราบสุนัข เพราะหลายคราวแล้วเจ้าสุนัขข้างนอกจะเล็ดรอดเข้ามารบกวนสุนัขของพระเจ้าอยู่หัว

เจ้าพระยาธรรมากลับไปบังคมทูล

พระเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล  ข้าราชการผู้ใหญ่ในที่นั้นก็หัวเราะกันทุกคน  พ่อคิดว่าพระเจ้าอยู่หัวคงทรงขบขัน"



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ต.ค. 07, 16:19
เกร็ดเกี่ยวกับสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จราชบุรี

(อ้างอิงพระยาสัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี)
หน้า ๑๑๙ - ๑๒๐

"ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๐  ภายหลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับ ณ ค่ายหลวงบ้านโป่งแล้ว
ก็ถึงวันที่สมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จถึงพลับพลาบ้านกล้วย ซึ่งท่านเทศาจัดรับเสด็จทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำราชบุรี

พ่อยืนรับเสด็จอยู่ในหมู่กรมการอำเภอและกำนันผู้ใหญ่บ้านทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำราชบุรี
ท่านเทศากับข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยนั้น  รับเสด็จอยู่ท้ายพลับพลาฝั่งตะวันตก

ขณะนั้นพอเรือกลไฟทหารเรือจูงเรือพระที่นั่งมาเหนือพลับพลาหน่อยหนึ่ง  ก็ปลดเรือพระที่นั่ง
เรือพระที่นั่งจะชื่ออะไรพ่อก็จำไม่ได้ 
เป็นชุดของฝ่ายในของรัชกลที่ ๕ เป็นต้นว่า  ยอดนัยนา  ฟ้าใจทึ่ง  หนึ่งในหมู่  คู่ชีวิต  พิศพาปลื้ม  แลลืมพริบ  อะไรพวกนี้แหละ

เป็นเรือบดขนาดใหญ่มีสองชั้น  ชั้นบนทำโปร่งๆ

เมื่อเรือพระที่นั่งถูกปลดจากเรือจูงก็ลอยลำตามน้ำมา
พลถ่อสามสี่คนจะถ่อเข้าริมฝั่งทางน้ำลึกไม่ทัน  เรือพระที่นั่งก็ขวางลำเข้ากับเกาะตื้นกลางน้ำเหนือพลับพลาเล็กน้อย

พ่อยืนดูอยู่บนฝั่งเห็นไม่ได้การ  ถ้าเรือพระที่นั่งถึงน้ำตื้นมากและน้ำตรงนั้นไหลมาจากที่ลึก  พอถึงน้ำตื้นก็ไหลแรงเป็นธรรมดา
พลถ่อจะยันกรานไว้ไม่อยู่

พ่อแลไปทางฝั่งท่านเทศาก็เห็นยืนกันนิ่งอยู่   พ่อคิดว่าปล่อยให้เรือพระที่นั่งถึงติดตื้นจะเข้าช่วยไม่ทัน  อาจล่มแน่

พ่อจึงนำพวกกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ยืนรับเสด็จอยู่นั้นประมาณ ๔๐ กว่าคน ลงน้ำทันที
เพราะทางฝั่งตะวันออกไม่ใช่ล่องน้ำ  ตื้นเพียงเอว

จึงบุกน้ำไปพร้อมกัน

พ่อสั่งให้เข้าแถวตั้งแต่หัวเรือพระที่นั่งจนท้ายเรือ   เข้าประคองยันเรือไว้พอดี
ีและโชคดีจริงๆพอพวกผู้ใหญ่บ้านและกำนันยันเรือพระที่นั่งไว้ได้  ก็พอดีท้องเรือพระที่นั้งครูดกับพื้นท้องน้ำ

พ่อร้องสั่งเสียงดังมากทีเดียวให้ประคองเรือพระที่นั่งเต็มแรงให้ตกน้ำลึกจงได้   เขาก็ทำตามคำสั่ง
เรือพระที่นั่งก็เคลื่อนออกได้ดังประสงค์

พลถ่อก็จัดการเอาเรือพระที่นั่งเข้าเทียบในพลับพลาที่จัดไว้เรียบร้อย

ส่วนพ่อก็กลับมาขึ้นฝั่งตะวันออกพร้อมด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้าน   แล้วก็กลับบ้านโป่ง  เพื่อไปปฏิบัติกิจการตามหน้าที่ต่อไป"



ยังมีเกร็ดเล็กๆน้อยอีกสองเรื่อง  แต่เห็นว่าเมื่อได้เล่าเรื่อง เจ้าเมือง กรมการอำเภอ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน พร้อมใจกันลงน้ำ ประคองเรือพระที่นั่ง สมเด็จพระพันปีหลวง
ก็คิดว่าไม่มีเรื่องใดจะประทับใจเท่า  เป็นเรื่อที่หาอ่านยากอยู่


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 15 ต.ค. 07, 18:50
พลับพลาเต๊นท์ที่ประทับ ณ ใกล้ที่ว่าการอำเภอโพธาราม  เต๊นท์ที่ประทับนี้เป็นเต๊นท์ขนาดใหญ่มาก  ภายในจัดเป็นห้องบรรทม  เข้าใจว่ามีทั้งห้องสรงลงพระบังคลเสร็จ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดูจะโปรดประทับเต๊นท์กระโจมนี้มาก  ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันมีบันทึกว่า เสด็จประทับกระโจมที่ท่าวาสุกรอยู่บ่อยๆ  รวมทั้งเมื่อทรงสร้างดุสิตธานีขึ้นที่ริมอ่างหยก  ในพระราชวังดุสิต  ก็โปรดให้กางเต๊นท์ดระโจมเป็นที่ประทับที่ริมอ่างหยก  จนโปรดให้สร้างพระตำหนักอุดมวนาภรณ์ขึ้นแล้ว  จึงเสด็จประทับพระตำหนัก  แต่เมื่อโปรดให้ย้ายดุสิตธานีไปปลูกสร้างที่วังพญาไท  ก็โปรดให้นำเต้นท์กระโจมนั้นไปกางเป็นที่ประทับที่ริมอ่างหยกในวังพญาไท  ก่อนที่จะโปรดให้ย้ายพระตำหนักอุดมวนาภรณ์มาปลูกสร้างใหม่  ในตอนปลายรัชกาลจึงโปรดให้ออกนามพระตำหนักองค์น้อยนี้ว่า พระตำหนักเมฆขลารูจี


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: หนอนบุ้ง ที่ 15 ต.ค. 07, 19:39
คุณวันดีคะ หนูเปิดกระทู้เรื่องเล่าจากคุณลุงและคุณป้าไว้

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2431.0

มีเวลาว่างเชิญเเวะไปต่อที่นั่น จะได้ไม่หลุดประเด็นของกระทู้นี้ค่ะ



กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ต.ค. 07, 08:13
ตามอ่านค่ะ  เล่าสลับกันทั้งบ้านเจ้าคุณยมราชด้วยนะคะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 07, 16:54
ขอเล่าเกร็ดอีกเรื่อง  คราวนี้เรื่องผี  คงจะมีคนในเว็บรู้จักเรื่องนี้กันบ้างแล้วนะคะ  เพราะเป็นเรื่องแพร่หลาย ตีพิมพ์ลงในหนังสือวชิราวุธานุสรณ์ แต่ที่เล่านี่   เผื่อคนที่ยังไม่รู้

เป็นเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล   วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘    พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์   
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพ  ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ซึ่งมีเฉลียงทั้งบนและล่าง เชื่อมต่อกับพระที่นั่งอัมพรสถาน 
มีอัฒจันทร์(บันได)หินอ่อนทอดลงไปที่ถนนสำหรับรถยนต์พระที่นั่งเข้าเทียบ
หากมีพระราชประสงค์จะเสด็จขึ้นลงจากตรงนั้นก็ทรงทำได้
แต่ปกติแล้วรถจะเทียบหน้าพระที่นั่งอัมพรสถาน   บรรดาราชองครักษ์และมหาดเล็กตามเสด็จก็จะไปรอรับเสด็จที่พระที่นั่งอัมพรสถาน


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 07, 17:04
วันนั้น พระเจ้าอยู่หัวเสด็จจากพระที่นั่งอุดร ตรงไปที่พระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อจะประทับรถพระที่นั่งจากตรงนั้น
ระหว่างเสด็จมาตามลำพังพระองค์เดียว เพราะผู้คนไปรอที่อัฒจันทร์ด้านพระที่นั่งอัมพรกันหมด   พอเลี้ยวจากอัฒจันทร์ชั้นบนจะลงมาที่ชั้นล่าง  ก็ทอดพระเนตรเห็นนายพันโทจมื่น ฤทธิ์รณจักร (กรับ โฆษะโยธิน)  ผู้บังคับการทหารรักษาวัง และราชองครักษ์เวร  มายืนเฝ้าถวายการเคารพอยู่ริมถนนเชิงอัฒจันทร์
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านไป ทรงรับความเคารพ ด้วยความแปลกพระทัยที่องครักษ์เวรมายืนเฝ้าอยู่ตรงนี้ตามลำพัง แทนที่จะไปรอเฝ้าที่หน้าพระที่นั่งอัมพรอย่างที่ควรทำ
แต่ก็ทรงนึกว่า หรือราชองครักษ์จะรอเฝ้าเพราะมีเรื่องกราบบังคมทูลเป็นส่วนตัว    แต่ท่าทีเขาก็ไม่เห็นจะถวายหนังสือหรือมีเรื่องกราบบังคมทูล
และที่แปลกพระทัยอีกอย่างคือ แทนที่จะแต่งเต็มยศขาวตามหมายกำหนดการ  จมื่นฤทธิ์ฯกลับแต่งเต็มยศใหญ่
จะทรงทักว่าแต่งผิด ก็เกรงว่าจมื่นฤทธิ์ฯจะตกใจ   จึงเสด็จผ่านไปเฉยๆ 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ต.ค. 07, 17:08
จนกระทั่งเสด็จกลับจากงานพระศพ  กลับมาที่พระที่นั่งอุดร   ทรงลืมเรื่องของจมื่นฤทธิ์ฯไปแล้ว
ทอดพระเนตรเห็นพานดอกไม้ธูปเทียนกราบถวายบังคมทูลลาตาย วางอยู่

เป็นระเบียบของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนข้าราชสำนัก จะต้องมีญาติพี่น้องทำหนังสือกราบบังคมทูลในนามผู้ตาย ถวายบังคมลาตายส่งไปที่กระทรวงวัง พร้อมดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปด้วย
เจ้าหน้าที่กระทรวงวังจะได้นำพานและหนังสือ ทูลเกล้าฯถวาย เพื่อทราบใต้ฝ่าละอองฯ
หลังจากนั้นสำนักพระราชวังก็จะจัดน้ำหลวงอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศส่งไปให้ผู้ถึงแก่กรรม

หนังสือลาตายที่ทรงเปิดทอดพระเนตร  เป็นหนังสือลาตายของนายพันโท จมื่นฤทธิ์รณจักรนั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ทรงระลึกได้ทันทีว่า บ่ายนี้ที่จมื่นฤทธิ์ฯมาเฝ้าในเครื่องแต่งกายเต็มยศใหญ่   ก็คงเป็นเพราะประสงค์จะมาถวายบังคมลาตายด้วยตัวเองนั่นเอง

เรื่องนี้ ทรงเล่าให้ข้าราชสำนักฟัง รวมทั้งพระยาบำรุงราชบริพาร ซึ่งนำเรื่องมาบันทึกลงไว้ในหนังสือในภายหลังค่ะ






กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ต.ค. 07, 09:02
มาดึงกระทู้ไว้ไม่ให้ตก

"The Screech Owl" เป็นชื่อหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เล่มแรก ที่ออกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ศึกษาอยู่ที่อังกฤษ
เป็นหนังสือรายสัปดาห์  มีเกร็ดเรื่องเล็กๆน้อยๆ สำหรับเยาวชน  พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ  ไม่ได้ขาย แต่แจกจ่ายอ่านฟรีในหมู่คนข้าราชบริพาร
เรื่องราวที่ลงพิมพ์เป็นพระราชนิพนธ์ทั้งหมด

ต่อมาทรงออกหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งชื่อ The Looker-on  เป็นหนังสือพิมพ์ประจำสมาคมนักเรียนไทยที่อังกฤษ ที่ทรงจัดตั้งขึ้น
พระราชทานนามสมาคมว่า "สามัคคีสมาคม"   ส่วนหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็เป็นที่มาของ "สามัคคีสาร" ในเวลาต่อมา


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 23 ต.ค. 07, 09:18
พูดถึง "สามัคคีสมาคม" ก็ต้องเอ่ยว่านี่คือสมาคมคนไทยในต่างประเทศสมาคมแรกครับ สมาคมไทยทั้งหลายที่บรรดาชาวไทยในต่างแดนทั้งหลายที่สรวลเสเฮฮามาร่วมกิจกรรมกันอยู่ ล้วนมีวิวัฒนาการมาจากรากฐานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อไว้ทั้งสิ้น

นักเรียนไทยในยุโรปยุคนั้นมีอาการหลายจำพวกครับ จำพวก Homesick คิดถึงบ้าน ง้องแง้งงอแงแบบเด็กอ่อนแอก็มี จำพวกลืมกำพืด ทำตัวเป็นฝรั่งจ๋า ไม่สนใจความเป็นไทยเลยก็มี จำพวกต่างคนต่างอยู่ ก้มหน้าก้มตาเรียนอย่างเดียว ไม่มีเพื่อนไม่มีฝูง ไม่เสวนากับใครเลยก็มี ไม่ต่างอะไรจากนักเรียนไทยในต่างแดนสมัยนี้หรอกครับ

วิธีทำให้บรรดานักเรียนไทยเหล่านั้นหายเหงา ไม่ลืมความเป็นไทย รู้จักสมานสามัคคี เห็นจะไม่มีทางใดดีไปกว่ารวบรวมเข้ามาเป็นสมาคม

"สามัคคีสมาคม" จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๔๔

 ถ้าจะบอกว่าสมาคมนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของแนวพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตย ของสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ก็คงจะไม่ผิดนัก ลองดูวิธีบริหารสิครับ

ตั้งแต่แรกเลยคือให้จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการอำนวยการให้เปลี่ยนกันเข้ามาบริหารงาน ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกอื่นมีโอกาสเข้ามารับผิดชอบสมาคม อันเป็นการฝึกคนจำนวนมากให้มีทักษะในการทำงานเพื่อส่วนรวม และเป็นการฝึกหัดการบริหารงานไปในตัว ที่เป็นประชาธิปไตยไฉไลขึ้นไปอีกก็ได้แก่การที่กรรมการทุกตำแหน่ง ได้แก่ สภานายก อุปนายก เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ นายทะเบียน ปฏิคม สนทนากรรมการ เกฬากรรมการ บันเทิงกรรมการ บรรณาธิการสามัคคีสาร และบรรณารักษ์ นั้นให้สมาชิกเลือกตั้งโดยตรง มิใช่กำหนดตำแหน่งแต่งตั้งกันเองภายหลัง ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงทดลองประชาธิปไตย และศิลปะในการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย ภายในขอบเขตของสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรขนาดเล็ก

พอมาอยู่ด้วยกันแล้ว ก็ต้องมีการประชุมประจำปีเรียกกว่า “มีตติ้ง” ในลักษณะผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกกับวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ นอกจากประชุมเรื่องกิจการของสมาคมแล้ว ยังมีการพบปะสังสรรค์กัน เป็นกิจกรรมต่อเนื่องหลายวัน สำหรับกิจกรรมต่างๆ นั้น ได้แก่ การแข่งขันกีฬา การเล่นดนตรี การเสวนาทางวิชาการ การโต้วาที ตลอดจนร่วมรับประทานอาหารและพำนักในสถานที่เดียวกัน เพื่อกระชับไมตรีในหมู่สมาชิก

มีการออก "สามัคคีสาร" แลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสาร และความคิดเห็นในหมู่คนไทยในยุโรป

กิจการของสามัคคีสมาคมเฟื่องฟูมากในยุครัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ครับ ยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี, สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ, พระนางเจ้าสุวัทนาฯ และเจ้านายอีกหลายพระองค์ เสด็จนิราศไปประทับที่อังกฤษ สามัคคีสมาคม ยิ่งเป็นปึกแผ่นมาก เพราะแต่ละงานก็มีเจ้านายเสด็จมาทรงร่วม เป็นกำลังใจ เป็นศูนย์รวมความภักดี

สมาชิกสมาคมนี้แหละครับ ที่รวมตัวกันเป็น "ขบวนการเสรีไทย" สายอังกฤษ ที่ทำให้ไทยรอดพ้นจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๒


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ต.ค. 07, 19:21
ข้อที่สะดุดตาสะดุดใจข้าพเจ้า ในเรื่องกบฎ ร.ศ. ๑๓๐ อีกอย่างหนึ่ง  คือมีผู้ตำหนิพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในเรื่องยศและตำแหน่งหน้าที่ของเสือป่า
โดยกล่าวว่า ผู้น้อยกลับได้รับแต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงทางเสือป่า   ชักตัวอย่างว่า  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเชี่ยวชาญวิชาการทหาร  กลับได้ทรงรับยศเสือป่า เป็นเพียงนายกองเท่านั้น
ข้าพเจ้าขอยืนยันจากประสบการณ์จริงๆว่า  "ทูลกระหม่อมพระองค์เล็ก" ไม่เคยเสด็จเข้ากรมกองอะไรเลย  ทรงได้รับยศแบบกิตติมศักดิ์เท่านั้น

ส่วนผู้อื่นที่เป็นผู้ใหญ่   กลับได้รับยศต่ำกว่าผู้น้อยนั้นมีจริง   แต่นั้นแหละ   ข้าพเจ้าจะปัญญาอ่อนไปอย่างไรก็ไม่ทราบ    ข้าพเจ้ากลับคิดว่า นั่นพระองค์ทรงทดลองประชาธิปไตยอีกแล้ว
คือทรงฝึกให้คนเห็นหน้าที่สำคัญกว่าบุคคล   และ ณ บัดนี้  เราก็เห็นกันอยู่แล้ว  ผู้น้อยระดับศึกษาธิการจังหวัดได้เป็นรัฐมนตรี  มีตำแหน่งหน้าที่เหนือปลัดกระทรวง  และอธิบดีก็มี

ถ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จกลับมายังประเทศสยามของพระองค์ได้ในวันนี้   อาจมีพระราชดำรัสว่า 
"ข้าฝึกไว้แล้ว   แต่มีเวลาฝึกน้อยไป  บ้านเมืองสยามจึงได้ยุ่งอยู่อย่างนี้"

จากหนังสือ "รำลึกถึงพระผู้"    ของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ปิ่ยมาลากุลวรานุสรณ์  ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๐


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 04 พ.ย. 07, 23:16
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/Y2572255/Y2572255.html
มีรูปภาพประกอบ ธรรมาธรรมะสงคราม ครับ แต่เป็นจิตรกรรมฝาผนังบนวิหารวัดครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 พ.ย. 07, 13:26
รูปที่นำลงประกอบในลิ้งค์นั้น เจ้าของกระทู้ไปเก็บมาจากหลายที่ครับ
ส่วนมากมาจากพระระเบียงคตวัดพระแก้ว

ทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับพระราชนิพนธ์เลย


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 06 พ.ย. 07, 11:57
ขออภัยอย่างสูงครับ ที่ไม่ได้ตรวจทานให้ดีก่อน
ผมลองหาโดยใช้ google แล้ว ก็ไม่เห็นมีภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม นอกเหนือจากในกระทู้นี้ครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:02
ภาพประกอบพระราชนิพนธ์เรื่อง ธรรมาธรรมะสงคราม เป็นฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ภาพที่ ๑


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:08
ภาพที่ ๒


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:09
ภาพที่ ๓


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:10
ภาพที่ ๔


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:11
ภาพที่ ๕


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:11
ภาพที่ ๖


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:12
ภาพที่ ๗


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:16
ภาพที่ ๘


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:17
ภาพที่ ๙


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:18
ภาพที่ ๑๐


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:18
ภาพที่ ๑๑


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 07 พ.ย. 07, 07:19
ภาพที่ ๑๒ (สุดท้าย)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 07 พ.ย. 07, 11:59
รอมานาน สมใจซะที ขอบคุณคุณ V_Mee ครับ

อ่านพระราชนิพนธ์แล้วดูรูป
สังเกตสายตาของธรรมเทวบุตรกับสารถีใน คห.ที่ ๑๐๔
สังเกตมิติของภาพใน คห.ที่ ๑๐๕
สังเกตการแรสีและแสงเงาในรูป ในคห.ที่ ๑๐๗
สังเกตอากัปกิริยาของคน ในคห.ที่ ๑๐๘
สังเกตทิศทางลม การปลิวของชายผ้าและธงทิว ประกอบท่าทีการเจรจาของเทวบุตรทั้งสองฝ่าย ในคห.ที่ ๑๐๙ และ ๑๑๐
ฯลฯ

แล้วท่านจะได้ตระหนักว่า ปราชญ์ทางศิลปะสองแขนง ทรงจรมาพบกัน ก่อกำเนิดงานศิลปะอันทรงค่าฝากไว้บนแผ่นดินอย่างไร


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 08 พ.ย. 07, 23:00
ขอบคุณด้วยคนครับ
หม่อมหลวงปิ่น ท่านให้พิมพ์จำลองขึ้นใหม่ มีสองขนาด
ไม่ทราบว่าจะพอหาได้อีกบ้างใหมหนอ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 09 พ.ย. 07, 20:02
ต้องลองถามที่หอวชิราวุธานุสรณ์ โทร 02 2823264 หรือ 02 2823419 ดูครับ  ไม่แน่ใจว่ายังเหลืออยู่หรือเปล่าครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 07, 21:24
พูดถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ข้าราชบริพารในรัชกาลที่ ๖ บันทึกไว้  มีหลายเรื่องเป็นเรื่องขำๆ    ขอเก็บที่เสวกโท  จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) เล่าไว้ค่ะ

" ในคราวเลี้ยงใหญ่   มหาดเล็กเดินโต๊ะต้องแต่งเต็มยศ  จัดเป็นพิเศษ  เสื้อสักหลาดสีน้ำเงิน แบบอีฟนิ่งเดรส   เชิร์ทอกแข็งคอลาร์บัตเตอร์ไฟล    กางเกงสักหลาดสีขาวรัดเข่า  มีโบเงินและดุมเงิน
ถุงเท้าแพรสีขาว  รองเท้าคาจชูหนังสีดำมัน     มีเข็มขัดเป็นลายดอกไม้ที่หลังเท้า   สวมถุงมือ มีลูกไม้ปลายแขนเสื้อและปกคอ
ติดเหรียญตรา   ตัวเสื้อมีลวดยันต์เงินเต็มไปหมด    สวยกว่าเครื่องเต็มยศธรรมดามาก
เมื่อเสร็จงานแล้ว  พวกเราเห็นเป็นโก้เต็มประดา    ก็แต่งชุดนั้นเดินฉุยฉายไปเที่ยวชมการตกแต่งโคมไฟบริเวณพระบรมมหาราชวัง ออกไปถึงข้างนอกด้วย  เจตนาก็เพื่ออวดแบบเบ่งๆหน่อยๆด้วย

บังเอิญเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปเห็นพวกเราเข้า    พอรุ่งขึ้นถูกเรียกตัวเข้าเฝ้า   โปรดเทศนาเสียกัณฑ์เบ้อเร่อ  ใจความสำคัญก็ว่าเครื่องแต่งตัวอย่างนี้   เมืองนอก โฮเต็ลใหญ่ๆมีทั่วไป   และไม่มีใครเขานำออกมาแต่งเดินเล่น 
เขาอายกัน เพราะสำหรับบ๋อยเซิฟโต๊ะเท่านั้น
ก้มกราบถวายบังคมด้วยความหน้าชา    แต่ได้ความรู้ใหม่   รอดตัวไป ที่ไม่ต้องถูกส่งไปอบรมทิมสนมพลเรือน"


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 16 พ.ย. 07, 22:18
แต่ได้ความรู้ใหม่   รอดตัวไป ที่ไม่ต้องถูกส่งไปอบรมทิมสนมพลเรือน"

ขออนุญาตขยายความครับ  "ถูกส่งไปอบรมทิมสนมพลเรือน" นั้นก็คือ ส่งไปขังไว้ที่คุกสำหรับข้าราชการในพระราชสำนัก  อยู่ที่ทิมหรือกองรักษาการณ์กรมสนมพลเรือนครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 07, 20:48
....จนวันรุ่งขึ้น ๒๕ พฤศจิกายน เมื่อเห็นว่าพระอาการก็ยิ่งทรุดลงเกินกว่าจะประคับประคองไว้ได้อีก    จนในที่สุดเจ้าคุณอัศวินฯ หรือ “หมอปัวส์” หันไปขอปรึกษาคณะแพทย์ เจ้าพระยายมราชและเจ้าพระยาธรรมาฯ    เพื่อหารือว่าควรจะนำพระราชธิดามาให้ทอดพระเนตร เพื่อความโสมนัสเป็นครั้งสุดท้าย   ทุกคนก็ตกลงเห็นชอบด้วย

นายแพทย์จึงเข้าไปกราบบังคมทูลข้างพระกรรณว่า “Your Majesty, do you want to see your baby?”

ในตอนนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงอ่อนเพลียเต็มทีแล้ว    แต่ก็ยังทรงได้ยิน  มีพระราชดำรัสตอบอย่างแผ่วเบาว่า
“Yes, sure”

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ จึงอุ้มเจ้าฟ้าแรกประสูติมาถึงห้องบรรทม    แล้วส่งให้เจ้าพระยารามฯ  เชิญเสด็จพระราชธิดาเข้าไปถวายถึงพระที่

พระเจ้าอยู่หัวทรงอ่อนพระกำลังลงเต็มทีแล้ว   พยายามจะยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสเจ้าฟ้า   แต่ทรงยกไม่ขึ้น   เจ้าพระยารามฯ จึงเชิญพระหัตถ์วางบนพระอุระพระราชธิดา
   
พระกิริยาในขณะนั้นเต็มไปด้วยความโสมนัสและโทมนัสระคนกันสุดซึ้ง   พระเนตรคลอพระอัสสุชล   ทรงถอนพระอัสสาสะยาวนาน ทำเอาผู้เฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นทั้งแพทย์พยาบาลและมหาดเล็ก ต่างพากันลำคอตีบตันน้ำตาแทบจะไหลไปตามๆ กัน

พอเจ้าพระยารามราฆพจะเชิญเสด็จพระราชธิดากลับ    พระเจ้าอยู่หัวทรงยกพระหัตถ์ซึ่งอ่อนแรงเต็มทีเป็นสัญญาณให้นำเสด็จกลับมาอีกครั้ง    ท่านก็เลยเชิญกลับมาให้ทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง  เป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้าย

หลังจากนั้นก็บรรทมหลับ นิ่ง และลึกลงทุกที ท่ามกลางคณะแพทย์หลวง และข้าราชบริพารที่เฝ้าพระอาการอยู่ไม่คลาดสายตา

***********************

กลางดึก ประมาณใกล้ตีสอง คืนวันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน   พ.ศ. ๒๔๖๘ ย่างเข้าสู่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ในความเงียบเชียบและมืดสลัวของพระที่นั่ง มีแต่แสงไฟอยู่เพียงมัวๆ ห่างกัน  ขุนนางใหญ่น้อยในราชสำนักพากันเฝ้าอยู่ข้างหน้าตามหน้าที่  จู่ๆ ก็ลุกฮือกันขึ้นมาด้วยความตกใจ  เมื่อเห็นแสงสว่างประหลาดส่องสะท้อนจับหลังคาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ราวกับเกิดไฟไหม้ขึ้นมา

ปรากฏว่าเป็นดาวตก ดวงโตเท่าลูกมะพร้าว   พุ่งจากท้องฟ้า  แดงสว่างจนสะท้อนจับหลังคามุงกระเบื้องเคลือบเป็นแสงจ้า    ขุนนางบางคนถึงกับวิ่งถลันออกมาถึงประตูย่ำค่ำ เพราะนึกว่าเกิดเหตุร้ายขึ้น

หลังจากนั้น  หลังเวลา ๑.๔๕ น.เพียงอึดใจ   เสียงร้องไห้ก็เริ่มระงมขึ้นทีละน้อย จากห้องที่ประทับ แผ่ซ่านออกมาสู่ภายนอก   เหมือนสายลมแห่งความโทมนัสพัดผ่านไปตามส่วนต่างๆ ของพระที่นั่ง

ไม่ว่าจะผ่านไปทางไหน เสียงร้องไห้คร่ำครวญก็ระงมขึ้นมา   กังวานก้องไกลอย่างที่ไม่เคยมีใครได้ยินมาก่อน

เทียนไขถูกจุดขึ้นสว่างเรืองขึ้นตามพระบัญชร       ในความมืดสลัวและเย็นยะเยียบของฤดูหนาว   เสียงแห่งความโศกศัลย์อาลัยยังคงแว่วให้ได้ยินกันอีกยาวนาน....

(ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า บทที่ ๑ ตอนที่ ๖ ร่มโพธิ์รอน)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 27 พ.ย. 07, 09:46

       ได้อ่านนสพ. เนชั่น ส่วนไลฟ์สไตล์ ของวันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๐  Ties that bind กล่าวถึงความสัมพันธ์อันยาวนาน
ระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น

        http://www.nationmultimedia.com/2007/11/18/lifestyle/lifestyle_30056378.php

       ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งเสด็จญี่ปุ่นหลังทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ
ทรงประทับอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานกว่า ๑ เดือน

         In December 1902, HRH Crown Prince Vajiravudh (later King Rama VI) visited Japan on his way back
to Siam after spending nine years studying in England. The Crown Prince spent more than a month in Japan
and was seen to be enjoying the culture.

       A photograph showing a mysterious woman in his bedroom led to rumours in the Siam royal court
of a love affair with a Japanese princess.

       Phraya Padipatphubal, who was assigned by King Chulalongkorn to accompany the Crown Prince in Japan,
apparently reported that Japan's palace affairs minister had told him the emperor would like the Crown Prince
to marry one of his three daughters.

       The three princesses were scheduled to visit a royal park and the emperor invited the Siamese prince
to choose one to be his wife.

        Phraya Padipat-phubal also wrote that the Crown Prince had refused to see the Japanese princesses,
adding that the Prince was afraid that if he were to marry a princess and a family conflict were to later arise,
her father would send warships to attack Siam.

        Charnvit [ historian Charnvit Kasetsiri of the Social Sciences and Humanities Textbooks Foundation ]
is not convinced by this story, explaining that the Japanese emperor would not have wanted his daughter
to marry the prince.

         "At the time, the Japanese regarded Siam as a second-class country," he insists.

         It later transpired that the mystery woman in the photograph was the Crown Prince himself clad in a kimono,
the traditional costume worn by Japanese women of the day.

         Other monarchs of Siam also pictured attired in Japanese traditional costume were King Prajadhipok and
his queen Rambhai Barni during their royal visit in April 1931.
 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ย. 07, 11:31
ขอบคุณคุณ V_Mee ที่มาขยายความให้เป็นวิทยาทานค่ะ
คุณ Sila  พระรูปนี้หายากมากค่ะ   น่าเสียดาย น่าจะมีขนาดขยายใหญ่กว่านี้   จะได้เห็นชัดๆ

พระราชนิพนธ์ โคลงโลกนิติจำแลง  ทรงดัดแปลงจากโคลงโลกนิติของเดิม มาเปลี่ยนตอนท้ายให้เป็นเรื่องขำขัน ยั่วล้อความเป็นไปในยุคสมัยนั้นบ้าง   เหน็บแนมทีเล่นทีจริงบ้าง
ขอยกมาเพียงบางบทค่ะ

กบเกิดในสระใต้           บัวบาน
ฤๅห่อนรู้รสมาลย์          หนึ่งน้อย
นั่นคือกบโบราณ          จึ่งโง่ ฉะนั้นแล
กบใหม่มันช่างผล้อย     พูดโอ้ปราชญ์งัน
(ผล้อย = พล่อย)

คบกากาโหดให้           เสียพงศ์
คบนกดีกว่าคง             สนุกด้วย
ข้าวต้มราชวงศ์            กินอิ่ม
แล้วจึ่งพากันย้วย         ยาตร์เข้าเคหา


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 30 พ.ย. 07, 10:09

        ลมหนาวพัดแรงทำให้นึกถึงบท   สักระวาน่าหนาว   โดย  ศรีอยุธยา
เลือกมา ๒ บทครับ

                                 บทที่ ๑ 

       สักระวาน่าหนาวชาวสยาม         ค่อยมีความปรีดิ์เปรมเกษมสันต์
ฤดูร้อนอ่อนแท้แพ้แรงครัน              ยามเหมันต์แรงทวีฤดีสบาย
พิศนภางค์เห็นสว่างกระจ่างแจ่ม        แสนอะแร่มเรืองอร่ามยามเดือนหงาย
ลมระรวยอวยกลิ่นผกากราย            แสนสบายทั่วหน้าประชา เอย

                                 บทที่ ๓

       สักระวาโบราณท่านย่อมว่า         แม้หนาวลมห่มผ้าก็อุ่นได้
หนาวน้ำฟ้าท่านว่าจงผิงไฟ                หนาวอารมณ์ห่มอะไรจึ่งจะวาย
หนาวอารมณ์โอ้ระทมระทดจิต           ไร้มิ่งมิตร์พิสวาทอันมาตร์หมาย
หนาวตลอดทรวงร้าวหนาวทั้งกาย        หนาวแทบวายชีวิตปลิดไป เอย


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 พ.ย. 07, 10:41
ทำให้นึกถึง"ลมหนาว"ในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ด้วยค่ะ  คุณศิลา

อ้าลมหนาวพัดอ้าวไม่ร้ายสู้
ความชั่วอกตัญญูของคนได้
ถึงพัดต้องกายเย็นไม่เป็นไร
เพราะมิได้เคยเห็นเป็นเพื่อนกัน

จาก "ตามใจท่าน"
ทรงแปลจากละคร As You Like It ของวิลเลียม เชคสเปียร์ 
Blow, blow, thou winter wind.
Thou art not so unkind
As man's ingratitude;
Thy tooth is not so keen,
Because thou art not seen,
Although thy breath be rude.


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 05 ธ.ค. 07, 23:28
บทของเชคสเปียร์ที่อาจารย์ยกมา ทำให้อยากกลับไปเรียนเชคสเปียร์ใหม่เสียแล้ว...


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ธ.ค. 07, 07:07
     อนิจจาโลกเราน่าเศร้าจิต
อันความงามสุจริตทุกสิ่งสรรพ์
กลับจะเป็นเครื่องประจญคนดีพลัน ฯ

ตามใจท่าน




กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 07, 07:38
บทที่คุณวันดียกมา ดิฉันพยายามหาบทภาษาอังกฤษ ยังหาไม่เจอค่ะ   ต้องรู้ก่อนว่าอยู่ในตอนไหนแล้วเอาหนังสือมาเทียบกัน
แต่มีตอนที่ขึ้นชื่อลือชาในพระราชนิพนธ์แปล "เวนิสวาณิช "จาก The Merchants of Venice มาฝาก

      ความเอยความรัก                                             เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
     เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ                       หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
     แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง                              อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
     ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี                             ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย

      ตอบเอยตอบถ้อย                                             เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
     ตาประสบตารักสมัครไซร้                                   เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
     แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร                                    เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
    ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน                             ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย

     ทรงแปลจาก
     Tell me where is fancy bred,                 
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bell


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 07, 07:48
ตอนนี้คุณศิลาคงรู้จัก    นำส่วนหนึ่งไปเป็นเพลงของสุนทราภรณ์

The quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heaven
Upon the place beneath: it is twice blest;
It blesseth him that gives and him that takes:
'Tis mightiest in the mightiest: it becomes
The throned monarch better than his crown;
His sceptre shows the force of temporal power,
The attribute to awe and majesty,
Wherein doth sit the dread and fear of kings;
But mercy is above this sceptred sway;
It is enthroned in the hearts of kings,
It is an attribute to God himself;
And earthly power doth then show likest God's
When mercy seasons justice. Therefore, Jew,
Though justice be thy plea, consider this,
That, in the course of justice, none of us
Should see salvation: we do pray for mercy;
And that same prayer doth teach us all to render
The deeds of mercy. I have spoke thus much
To mitigate the justice of thy plea;
Which if thou follow, this strict court of Venice
Must needs give sentence 'gainst the merchant there.

ทรงแปลมาเป็นภาษาไทย ที่จับใจยิ่ง

อันว่าความกรุณาปรานี              จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ     จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
เป็นสิ่งดีสองชั้นพลันปลื้มใจ        แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล
เป็นกำลังเลิศพลังอื่นทั้งสิ้น        เจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระกรุณา
ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์    เรืองจรัสยิ่งมงกุฎสุดสง่า
พระแสงทรงดำรงซึ่งอาชญา        เหนือประชาพสกนิกร   
ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์         ที่สถิตอานุภาพสโมสร   
แต่การุณยธรรมสุนทร                 งามงอนกว่าพระแสงอันแรงฤทธิ์
เสถียรในหฤทัยพระราชา             เป็นคุณของเทวาผู้มหิทธิ์   
และราชาเทียมเทพอมฤต            ยามบพิตรเผยแผ่พระกรุณา
ฉะนั้นยิว  แม้อ้างยุติธรรม            จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า
ในกระแสแห่งยุติธรรมา               ยากจะหาความเกษมเปรมใจ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 07, 07:56
อีกตอนหนึ่งจาก เวนิสวาณิช
เชคสเปียร์เขียนไว้ดังนี้ค่ะ

The man that hath no music in himself,
Nor is not moved with concord of sweet sounds,
Is fit for treasons, stratagems and spoils;
The motions of his spirit are dull as night
And his affections dark as Erebus:
Let no such man be trusted. Mark the music.

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงแปลว่า

ชนใดไม่มีดนตรีการ                  ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกคนใดฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ    เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก            มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี ,
และดวงใจย่อมดำสกปรก           ราวนรก ชนเช่นกล่าวมานี่
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้            เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 06 ธ.ค. 07, 10:23
         อีกตอนที่เป็นที่นิยมจาก ตามใจท่าน ครับ

      ทั้งโลกเปรียบเหมือนโรงละครใหญ่     ชายหญิงไซร้เปรียบตัวละครนั่น   
ต่างมียามเข้าออกอยู่เหมือนกัน               คนหนึ่งนั้นย่อมเล่นตัวนานา 

         จาก   As You Like It - Wlliam Shakespeare
 
         All the world's a stage,

And all the men and women merely players:

They have their exits and their entrances;

And one man in his time plays many parts,
 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 07, 19:03
จากพระราชนิพนธ์แปล โรมิโอ และจูเลียต  ของวิลเลียม เชคสเปียร์  ตอนนี้คือฉากเจรจารักระหว่างพระเอกนางเอก เป็นฉากเด่นสุดของเรื่อง
ทรงแปลได้งดงามมาก ขอยกมาเทียบกันนะคะ
ลักษณะการแต่ง เป็นกาพย์ยานี ๑๑ แต่ถ้อยคำนั้นบางทีต้องอ่านคร่อมวรรค มองเผินๆจะเหมือนอ่านร้อยแก้ว หรือกลอนเปล่า

หมายเหตุ คงตัวสะกดตามแบบเดิม ค่ะ

ROMEO
He jests at scars that never felt a wound
โรเมโอ. 
เฃาเย้ยซึ่งแผลเปน   เพราะมิเคยต้องบาดแผล. -

JULIET appears above at a window

But, soft! what light through yonder window breaks?
It is the east, and Juliet is the sun.
Arise, fair sun, and kill the envious moon,
Who is already sick and pale with grief,
That thou her maid art far more fair than she:
Be not her maid, since she is envious;
Her vestal livery is but sick and green
And none but fools do wear it; cast it off.
It is my lady, O, it is my love!
O, that she knew she were!
She speaks yet she says nothing: what of that?
Her eye discourses; I will answer it.

[ จูเลียตโผล่น่าต่างฃ้างบน.]
ช้าก่อน นั่นแสงใดสว่างใสจากช่องแกล?
นั่นบุรพาแน่, และจูเลียตคือตวัน ! -
ฃึ้นเถิด, ตวันงาม, ปรามอิจฉาแห่งดวงจันทร์,
ซึ่งไฃ้อยู่มากครันและผิวเผือดเพราะตรอมใจ,
ด้วยหล่อนผู้เปนฃ้างามกว่าเธอมากมายไซร้ :
เปนฃ้าเธออยู่ใย, เพราะเธอนั้นฃี้อิจฉา ;
เครื่องแต่งฃองพระจันทร์นั้นสีเฃียวซีดอยู่นา,
และมีแต่คนบ้าชอบแต่ง; หล่อนอย่าแต่งเลย. -
แน่แล้วนางแก้วพี่; โอ้, ที่รักฃองพี่เอย !
โอ้ ไฉนเจ้าทรามเชยจะรู้แจ้ง ณ ดวงใจ !
หล่อนพูด, แต่ไม่เผยพจีเลย : ก็เปนไร ? -
เนตร์นางสิฃานไฃ; ฃ้าจะตอบแม่นงเยาว์.

ถ้าอ่านแบบกาพย์ยานี ๑๑ จะแบ่งแต่ละบาท ได้ตามนี้

ช้าก่อน นั่นแสงใด         สว่างใสจากช่องแกล?
นั่นบุรพาแน่,              และจูเลียตคือตวัน ! -
ฃึ้นเถิด, ตวันงาม,        ปรามอิจฉาแห่งดวงจันทร์,
ซึ่งไฃ้อยู่มากครัน          และผิวเผือดเพราะตรอมใจ,
ด้วยหล่อนผู้เปนฃ้า        งามกว่าเธอมากมายไซร้ :
เปนฃ้าเธออยู่ใย,         เพราะเธอนั้นฃี้อิจฉา ;
เครื่องแต่งฃองพระจันทร์   นั้นสีเฃียวซีดอยู่นา,
และมีแต่คนบ้า               ชอบแต่ง; หล่อนอย่าแต่งเลย. -
แน่แล้วนางแก้วพี่;         โอ้, ที่รักฃองพี่เอย !
โอ้ ไฉนเจ้าทรามเชย        จะรู้แจ้ง ณ ดวงใจ !
หล่อนพูด, แต่ไม่เผย        พจีเลย : ก็เปนไร ? -
เนตร์นางสิฃานไฃ;         ฃ้าจะตอบแม่นงเยาว์


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ธ.ค. 07, 19:07
อีกตอนหนึ่งของโรมิโอและจูเลียต   เป็นคำคมที่เราอาจได้ยินคนยกกันมาอ้างบ่อยๆ 

นามนั้นสำคัญไฉน? ที่เราเรียกกุหลาบนั้น
แม้เรียกว่าอย่างอื่น ก็หอมรื่นอยู่เหมือนกัน;

ทรงแปลจาก
What's in a name? that which we call a rose
By any other name would smell as sweet;


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ธ.ค. 07, 10:07
         บทร้อยกรองของล้นเกล้าฯ ที่ทรงแปลจากภาษาตะวันตกอีกสองบทที่ประทับใจ ครับ

       ประวัติวีรบุรุษไซร้      เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์               เลิศได้
แลยามจะบรรลัย              ทิ้งซึ่ง
รอยบาทเหยียบแน่นไว้        แทบพื้นทรายสมัย

ทรงแปลเป็นโคลงมหาวิชชุมาลีจาก

        Lives of great men all remind us
We can make our lives sublime.
And departing leave behind us
Footprints on the sand of time.

                       Henry Wordsworth Longfellow

และ

         มะโนมอบพระผู้        เสวยสวรรค์
แขนมอบถวายทรงธรรม์         เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ             และแม่
เกียรติศักดิ์รักของข้า            มอบไว้แก่ตัว

จากภาษิตฝรั่งเศส

        Mon a^me a Dieu;         [ a^me - soul ]
mon bras au Roi,                   [ bras - arm ]
mon coeur aux dames;
l'honneur a moi.

       เมื่อลองค้นหาในกูเกิ้ล พบบางแห่งว่า mon corps [body] au Roi ครับ
   


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ธ.ค. 07, 12:17
         วานนี้ ได้อ่านนสพ.ฝรั่ง เรื่องสีประจำวันของไทย แล้วชวนให้นึกถึงเรื่องสี่แผ่นดิน ในช่วงแผ่นดินที่สอง - รัชกาลที่ ๖ ครับ

          แผ่นดินใหม่เป็นแผ่นดินของคนหนุ่ม บรรยากาศในพระราชสำนักก็เป็นบรรยากาศของความหนุ่มแน่น
คุณเปรมก็เปลี่ยนไปตามโดยไม่รู้ตัว การแต่งเนื้อแต่งตัวนั้น ดูพิถีพิถันเอาสวยเอางามกว่าแต่ก่อน ...
      ... คุณเปรมซื้อผ้าม่วงผ้าพื้นต่างๆ สีเป็นจำนวนมากมาย และตัดเสื้อที่ใช้ผ้าราคาสูงเป็นจำนวนมาก
จะไปไหนก็แต่งตัวอย่างประณีตบรรจงเหมือนกับว่าจะไปประกวดประขันกับใคร ....       

       วันหนึ่ง คุณเปรมจะไปในงานขึ้นบ้านใหม่ของข้าราชการกระทรวงเดียวกัน ที่ได้รับพระราชทานบ้านอยู่
.... คุณเปรมแต่งตัวเสร็จแล้วก็เดินออกมาจากในห้อง พลอยเหลียวไปดูสามี แล้วก็สะดุ้งสุดตัว ร้องขึ้นว่า
         "คุณเปรมจะไปไหนนั่นน่ะ ! แต่งตัวราวกับรับพระอังคาร !"

       วันนั้นเป็นวันอังคาร คุณเปรมแต่งตัวด้วยเครื่องสีชมพูทั้งชุด คือผ้าม่วงสีชมพู เสื้อชั้นนอกแพรสีชมพู ถุงเท้าแพรสีเดียวกัน
และรองเท้าหุ้มแพรต่วนสีชมพู แม้แต่หมวกสักหลาดที่คุณเปรมถืออยู่ในมือก็เป็นสีชมพู อย่างเดียวกับผ้าม่วงและเสื้อชั้นนอก
ของอย่างเดียวที่มิได้เป็นสีชมพูไปด้วย ก็คือไม้เท้าที่คุณเปรมถืออยู่ในมือ
         คุณเปรมหัวเราะชอบใจแล้วพูดว่า
         "ฉันแต่งอย่างนี้เป็นอย่างไรแม่พลอย สวยดีไหม"
         "ก็สวยดีหรอก" พลอยพูดอย่างเกรงใจ "แต่ทำไมมันเข้าชุดกันไปหมดอย่างนี้ ฉันไม่เคยเห็นแบบนี้ ยังบอกไม่ถูก"
         "เดี๋ยวนี้ผู้ชายแต่งตัวกันอย่างนี้แหละ" คุณเปรมอธิบาย "คนที่ไปงานวันนี้ ก็คงจะแต่งอย่างเดียวกันหมด"
         "มิสีชมพูโร่ไปทั้งงานหรือคุณเปรม" พลอยถามเพราะไม่รู้จะถามอะไรอีก
         "ส่วนมากก็คงจะเป็นอย่างนั้น" คุณเปรมตอบอย่างธรรมดา "และวันพรุ่งนี้เป็นวันพุธ แต่เขียวกันทั้งตัวอีก"
         "แล้ววันอาทิตย์เล่าคุณเปรม ทำอย่างไร"
         "แต่งแดง" คุณเปรมตอบหน้าตาเฉยๆ
         "แดงหมดตั้งแต่หมวกถึงเกือกทีเดียวหรือ" พลอยถาม
         "ก็ต้องอย่างนั้น ฉันมีหมดแล้วทั้งเจ็ดสี" คุณเปรมตอบ

     แต่ความจริงคุณเปรมแต่งกายด้วยสีเดียวกันทั้งชุด เป็นการทดลองดูเท่านั้น พอได้มีโอกาสแต่งไปจนครบเจ็ดชุดเจ็ดสีแล้ว
คุณเปรมก็ดูจะเนือยๆ ไป หันเข้าหาผ้าม่วงสีน้ำเงิน หรือผ้าพื้นสีน้ำเงินบ้าง สีเทาบ้าง และเสื้อนอกขาวๆ เรียบๆ อย่างแต่ก่อน

        ค้นกูเกิ้ลหารูปประกอบ ครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 11 ธ.ค. 07, 18:12
คุณ Sila ยกเรื่องคุณเปรมในสี่แผ่นดิน แต่งสีชมพูทั้งชุด  อ่านแล้วชวนให้คิดไปว่า ชายคึกฤทธิ์ คงจะเอามาจากเครื่องพระมหาพิชัยยุทธที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเมื่อคราวเสด็จฯ ไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  เมื่อเย็นวันอาทิตย์ที่  ๒๒  กรกฎาคม  ๒๔๖๐ เนื่องในการที่ทรงประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี  ในสงครามโลกครั้งที่ ๑

ในวันนั้นมีบันทึกในหมายรับสั่งกระทรวงวังว่า  สรงพระมุรธาภิเษกสนานในห้องสรง  พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)  แล้วทรงฉลองพระองค์อย่างน้อยสีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเคยทรงเวลาเสด็จไปในการพระราชสงครามไว้ภายใน  แล้วทรงพระภูษา  ฉลองพระองค์  ถุงพระบาทและฉลองพระบาทสัตามกำลังวัน  คือสีแดง  ทรงพระสังวาลย์พระนพเฉวียงพระอังสาขวา  พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบคาบค่าย  ดังพระบรมฉายาลักษณ์ที่อัญเชิญมานี้

การที่ทรงเครื่องตามสีกำลังวันนี้เท่าที่ปรากฏก็มีอยู่ครั้งเดียวเท่านั้น  เวลาปกติก็มักจะทรงพระภูษาโจงสีน้ำเงินแก่ที่เรียกว่า ผ้าม่วง  หรือสีตามกำลังวัน  ทรงฉลองพระองค์ขาว  เว้นแต่วันธรรมสวนะ หรือวันพระ จึงจะทรงพระภูษาแดงตามโบราณราชประเพณี  นอกจากนั้นยังมีเครื่องทรงลำลองในเวลาประทับในพระราชฐานนั้น  มักจะทรงฉลองพระองค์คอกลมผ้าป่านสีขาว  ผ่าด้านหน้าลงมาสัก ๖ นิ้ว ติดดุมเม็ดหนึ่ง  กับพระภูษาขาวอย่างที่เรียกกันว่า กางเกงจีน  แต่มีพระราชนิยมให้เรียกกางเกงไทย  โดยได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ว่า  คนจีนอยู่เมืองหนาวต้องนุ่งกางเกงขาแคบเพื่อเก็บไอตัวไว้ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  คนไทยเราอยู่เมืองร้อนต้องนุ่งกางเกงขากว้างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก  กางเกงตัวไหนถลกขากางเกงขึ้นมาปัสส่วะได้ให้เรียกว่ากางเกงไทย


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 11 ธ.ค. 07, 22:15
พระบรมรูปไม่ปรากฏ
คุณวี ตั้งรหัสเป็นภาษาไทยหรือเปล่าครับ
ต้องเป็นอักษรโรมันหรือตัวเลขอารบิค ระบบจึงตอบรับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 ธ.ค. 07, 10:11
พระบรมรูปทรงเครื่องพระมหาพิชัยยุทธ ครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 ธ.ค. 07, 12:05
มีเรื่องหนึ่งอ่านพบ แต่ไม่ได้จำว่ามาจากที่ใหน
คงไม่เกินความสามารถคุณวี จะช่วยแก้ความเขลาครับ

ท่านเล่าว่า ตอนจะลงพระปรมาภิไธย มหาดเล็กเชิญปากกาฝรั่งมาเทียบ
ทรงเอ็ดว่า ข้าจะประกาศสงคราม เอ็งเอาอะไรมาให้ข้าใช้

ต้องวิ่งหาปากกาที่เหมาะสมกันเดี๋ยวนั้น


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 13 ธ.ค. 07, 15:24
ขอต่อเรื่องแผ่นดินที่สองจากสี่แผ่นดินอีกครับ

       คุณเปรมชวนพลอยไปดูละครจากบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ เรื่อง โพงพาง ที่จะทรงออกโรงให้คนภายนอกเข้าชมได้
เพียงเท่านี้ก็หนักใจมากอยู่แล้วสำหรับพลอย แต่คุณเปรมยังบอกอีกว่า พระวรกัญญาฯ จะออกทรงละครด้วย อีกพระองค์หนึ่ง
         
       ถึงคืนวันที่จะไปดูละครหลวงกับคุณเปรม พลอยก็แต่งตัวเสียเต็มที่เหมือนกับจะเข้าเฝ้า ... ละครนั้นแสดงในพระราชฐานคือ
วังพญาไทอันเป็นที่ประทับในขณะนั้นหลังจากสมเด็จพระพันปีสวรรคตแล้ว ...

      เมื่อพระเจ้าอยู่หัวก็ปรากฏพระองค์บนเวที ในบทบาทพระเอกของเรื่อง ก็มีเสียงดังเหมือนเสียงอุทานเบาๆ ทั่วไปทั้งโรงละคร
พลอยใจหายวาบเมื่อแลเห็นพระองค์ ...
       "ช่างงามสง่าอะไรอย่างนี้" พลอยนึกอยู่แต่ในใจ "แลดูสว่างไปทั้งองค์ เหมือนกับมีไฟอะไร ฉายออกมาจากข้างใน
ผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญอื่นๆ"
    ...พลอยก็ต้องหลบสายตาลงต่ำ มิกล้ามองเต็มพระพักตร์ เพราะพระพักตร์ที่เบือนมานั้น ดูจากที่ไกลและในที่แสงสว่างของเวที
แลดูละม้ายคล้ายคลึงพระพักตร์สมเด็จพระพันปี ทำให้พลอยต้องสะดุ้งหลายครั้งด้วยความหวาดเกรง
      เมื่อพระวรกัญญาฯ  ทรงปรากฏบนเวที  ... "ก็งามดีหรอก" พลอยนึกในใจ ขณะเดียวกันก็อดนึกไปไม่ได้ว่า ตนเคยเห็นเจ้านาย
ข้างในบางพระองค์ที่งามกว่านั้น ...พลอยนั่งนึกชมพระวรกัญญาฯ อยู่ในใจว่า ทรงแสดงบทบาทละครพูดได้ตลอดไป ไม่มีขวยเขิน
..พลอยปักใจเสียแล้วว่า พระวรกัญญาฯ เป็น "ข้างใน" ฉะนั้นทุกครั้งที่ทุกคนที่เป็นผู้ชายเดินเฉียดเข้าไปใกล้บ้าง หรือยืนพูดจาด้วยบ้าง
พลอยก็ใจหายใจคว่ำ
       ภาพที่ติดตาพลอยอยู่ไม่มีวันลืม ก็คือตอนก่อนปิดม่านตอนจบ พระเจ้าอยู่หัวทรงสวมกอดพระวรกัญญาฯ ต่อหน้าคนทั้งปวงที่นั่งดูอยู่

ภาพจาก ละครพูดเรื่อง โพงพาง  ของ ศรีอยุธยา (จาก pantip คุณปริยวาทีแสดงไว้)
จากซ้ายไปขวา  1. พระวรกัญญาปทาน    2.  รัชกาลที่  6  3. พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ เมื่อครั้งยังทรงเป็น หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ 
                  4. เจ้าพระยารามราฆพ แต่ยังเป็นพระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ) 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 ธ.ค. 07, 19:06
คุณ Pipat ท่านส่งลูกมาให้แล้ว  เป็นกน้าที่ต้องทำทรัย (ศัพท์รักบี้ครับ) ต่อไปนะครับ

นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง จมิ่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม  สุนทรเวช) ผู้กรุณาฝากฝังให้กระผมรับเป็นธุระช่วยสืบสานเรื่องราวเกี่ยวกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้กล่าวไว้ในพระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๕ เรื่องเหตุผลที่ ร.๖ ประกาศสงครามว่า

"...วันที่  ๒๑  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๖๐  เป็นฤดูฝนแต่วันนั้นอากาศแจ่มใสดี  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับในพระบรมหาราชวัง ณ พระที่นั่งบรมพิมาน (ภาณุมาศจำรูญเดิม) อย่างที่เคยมา  บรรยากาศภายในพระราชสำนักเมื่อตอนหัวค่ำก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง  เวลาประมาณยามเศษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากห้องทรงพระอักษรข้างบนเข้าประทับโต๊ะเสวย  ตอนนี้ชักมีผู้คนมากหน้าหลายตามาคอยเฝ้า  เมื่อเสด็จขึ้นจากโต๊ะเสวยแล้ว  มิได้เสด็จขึ้นข้างบนอย่างเคย  แต่ประทับให้ข้าราชการบางคนเฝ้า ณ ที่ห้องรับแขกชั้นล่าง  ซึ่งติดต่อห้องอัฒจันทร์ใหญ่  บังเอิญผู้เขียนอยู่เวรวันนั้น  จึงคิยฟังราชการอยู่หน้าห้องที่ประทับข้างนอก  พอถึงเวลาเที่ยงคืน คือ ๒๔.๐๐ น.  ซึ่งมาทราบภายหลังว่า  เป็นเวลาตรงกับกำหนดนัดที่จะลงมือประกาศสงคราม  เจ้ากรมพระอาลักษณ์  จึงได้อัญเชิญคำประกาศกระแสพระบรมราชโองการขึ้นทูนเกล้าฯ ถวายพร้อมด้วยปากกาหมึกซึมด้ามดำยางแข็งที่เคยลงพระบรมนามาภิไธยอย่างที่เคยทรงใช้อยู่เป็นปกติ  เพื่อถวายการลงพระนาม  ทันทีผู้เขียนก็ได้ยินพระสุรเสียงดังออกมาว่า "อุวะ  ข้าจะประกาศสงครามสักที  เอาปากกาอย่างนี้มาให้ได้"  "ไปเอามาใหม่"  เสียงเงียบลงชั่วครู่  เข้าใจว่าทุกคนคงตกตะลึง  เพราะต่างก็ไม่รู้เหนือรู้ใต้ว่าต้องพระประสงค์ปากกาชนิดไหน  ในฉับพลัทันที  ก็ได้ยินพระสุรเสียงรับสั่งสำทับออกมาดังๆ อีกว่า "ปากกาด้ามทองซีวะ"  ทันใดนั้นมหาดเล็กกองราชเลขานุการคนหนึ่งซึ่งอยู่ในห้องนั้นด้วย  จึงได้สติวิ่งออกมาข้างนอกผ่านหน้าผู้เขียนไป  แล้ววิ่งขึ้นอัฒจันทร์พระที่นั่งตรงไปโต๊ะทรงพระอักษรข้างบน  เพื่ออัญเชิญปากกาด้ามทองลงมาทูนเกล้าฯ ถวาย  แต่ถึงอย่างไรก็ดีทุกคนที่กำลังเฝ้าอยู่ในขณะนั้น  รวมทั้งที่อยู่ภายนอกห้องรู้สึกว่าแปลกใจไปตามๆ กัน  ต่างคนตางมองหน้ากัน  ต่างพากันซุบซิบคำว่าประกาศสงครามที่ลั่นพระโอษฐ์ออกมานั้นก็ไม่คาดฝันมาก่อน  แล้วจึงรู้ว่าเป็นการประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี  สำหรับพระสุรสีหนาทที่ทรงแสดงนั้นเป็นการแสดงออกที่พวกเรามักจะใช้กันว่า "เอาเคล็ด"  ซึ่งประเพณีเก่าๆ ของเรามักนิยมใช้กัน..."

ที่ท่านผู้เล่ากล่าวว่า คอยฟังราชการอยู่นอกห้องประทับนั้น  เพราะเวลานั้นท่านผู้เล่าเพิ่งเรียนจบชั้นแปด (มัธยมบริบูรณ์) จากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  นับว่าเป็นชุดแรกที่สำเร็จการศึกษามัธยมปลายของประเทศไทย  และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกรับราชการเป็นมหาดเล็กกองตั้งเครื่องได้ราวครึ่งปีเท่านั้น  ส่วนมหาดเล็กกองราชเลขานุการที่วิ่งขึ้นไปเชิญปากกาด้ามทองมาถวายนั้นน่าจะเป็น นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) พี่ชายท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา  มาลากุล  ซึ่งเวลานั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้  มีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทตั้งแต่เสด็จออกจากห้องพระบรรทมจนถึงเวลาเสด็จเข้าห้องพระบรรทม  ท่านหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล เคยกล่าวถึงนายจ่ายวด ผู้เป็นพี่ภรรยาของท่านว่า  เป็นผู้ที่แคล่วคล่อง  ปฏิบัติราชการได้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยในล้นเกล้าฯ เป็นอย่างยิ่ง  ทั้งยังเป็นผู้หนึ่งที่ล้นเกล้าฯ ทรงสอนราชการและวิชาความรู้ต่างๆ ให้ด้วยพระองค์เอง  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายจ่ายวด  ซึ่ง้ทียบเท่ายศนายพันตรี ตั้งแต่อายุเพียง ๒๑ ปี  และเมื่อนายจ่ายวดประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเมื่ออายุเพียง ๒๒ ปี ล้นเกล้าฯ ก็ถึงกับมีพระราชกระแสขอซื้อรถจักรยานยนต์ของคูรมหาดเล็กดสียทั้งหมด  เพื่อมิให้เกิดอุบัติเหตุเช่นนั้นอีก

เริ่องพระราชอัธยาศัยในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ นั้น  เท่าที่ได้ยินได้ฟังจากพระบรมวงศ์และข้าราชบริพารมักจะกล่าวกันว่า ทรงมีน้ำพระทัยเปี่ยมล้นด้วยพระกรุณา  โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ทรงเลี้ยงไว้มักจะได้รับพระราชทานพระมหากรุณาเป็นพิเศษ  เช่นมีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งกำลังทรงพระอักษร  พวกนักเรียนมหาดเล็กหลวงกเล่นฟุตบอลกันอยู่ข้างที่ประทับ  คราวหนึ่งลูกฟุตบอลลอยเข้าไปในห้องทรงพระอักษร  เด็กๆ ทุกคนต่างตกใจเกรงจะต้องรับพระราชอาญา  กลับกลายเป็นว่า ทรงโยนลูกฟุตบอลนั้นกลับมาให้เด็กๆ  โดยไม่ทรงกริ้วแต่อย่างใด  หรืออีกคราวหนึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนมหาดเล็กหลวงตามเสด็จไปหัวเมือง  ระหว่างทรงพระอักษรเด็กๆ ก็วิ่งเล่นอยู่ใกล้ๆ ที่ประทับ  เกิดมีคุณมหาดเล็กผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมาปรามเด็กๆ ไม่ให้ส่งเสียงดังเกีงจะรบกวนเบื้องพระยุคลบาท  ผลก็คือคุณมหาดเล็กท่านนั้นโดนกริ้ว  เพราะมีรับสั่งว่าเป็นธรรมชาติของเด็กที่ต้องเล่นซุกซน  ผู้ใหญ่ที่ไปห้ามเด็กไม่ให้เล่นซุกซนสิที่เป็นคนไม่ปกติ

แต่ในยามที่ทรงกริ้วแล้ว  ก็ว่ากันว่า ทรงเด็ดขาดแบบทหารเลยทีเดียว 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 13 ธ.ค. 07, 21:26
ขอบคุณครับ
สมัยที่อ่าน ผมยังไม่คาดฝันว่า ชีวิตจะต้องมาเกี่ยวข้องกับหนังสือหนังหา
เห็นอะไรน่าสนใจ ก็หยิบอ่านเรื่อยเปื่อย

เรื่องนี้อ่านแล้วประทับในความจำ แต่บาปที่ไม่ได้จำนามผู้แต่ง
ขยับจะเล่าให้คนอื่นฟัง ก็ไม่กล้า เพราะจำได้ไม่ครบ
ข้อมูลคุณวี ทำให้เหมือนระเบิดภูเขาออกจากอก

หากจะบังอาจเดา ก็คาดว่า
จะทรงถือพระองค์เป็นทหารมากกว่าสถานะภาพอื่นใด
น่าเสียดายที่วิสัยทัศน์ทางทหารของพระองค์
ซึ่งช่วยปลดปล่อยบ้านเมืองจากแอกอันหนัก

คนปัจจุบันแทบจะไม่เอ่ยถึง


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 07, 23:00
อยากฟังคุณวีมี  เล่าเรื่องการซ้อมรบเสือป่าที่พระราชวังสนามจันทร์บ้างค่ะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 14 ธ.ค. 07, 06:06
ท่านอาจารย์กรุณาส่งลูกมาให้  ประจวบกัยเพิ่งมีการจัดงาน ๑๐๐ ปี พระราชวังสนามจันทร์ไปไม่กี่วันนี้  เครื่องกำลังร้อย  ขอน้อมรับข้อเสนอแนะของท่านอาจารย์ครับ

ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องเสือป่า  คงต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่ฝรั่งเศสเอาเรือปืนเข้ามาทอดสมอกลางแม่น้ำเจ้าพระยา  พร้อมกับเล็งปืนใหญ่เตรียมถล่มพระบรมมหาราชวัง  เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม  ถัดมาอีกเดือนหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี เสด็จออกไปทรงศึกษาที่อังกฤษ  เมื่อแรกเสด็จถึงอังกฤษทรงพระราชดำริว่าจะเสด็จไปเรียนวิชาการทหารเรือ  ตรงนี้สันนิษฐานว่า น่าจะมีผลมาจากกรณีร.ศ. ๑๑๒  แต่เมื่อทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในปีถัดมา  เลยต้องเปลี่ยนแนวทางไปทรงเรียนวิชาทหารบกและวิชาพลเรือนเป็นการเตรียมพระองค์ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ 

ในระหว่างที่ประทับทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  ขณะมีพระชนมายุเพียง ๒๐ พรรษา (ตอนนั้นทรงจบจากโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สท์  และได้ทรงศึกษาวิชาทหารเพิ่มเติมแล้ว  ยังขาดแต่วิชาเสนาธิการที่ยังไม่ได้ทรงเรียนและไม่ได้เรียนเพราะล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ มีพระราชกระแสว่าเรียนเยอะแล้ว  ให้รับกลับมาช่วยราชการบ้านเมือง)  ได้เสด็จประพาสประเทศเบลเยี่ยม  และได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรป้อมที่เมืองลิเอซ (Lieze) ซึ่งนักการทหารสมัยนั้นกล่าวกันว่า เป็นป้อมที่แข็งแรงที่สุดในโลก  เพราะในเมืองลิเอซนั้นมีป้อมอยู่ถึง ๑๔ ป้อม  แต่ละป้อมมีปืนใหญ่ภูเขาที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงมาก  เมื่อทอดพระเนตรแล้วได้มีพระราชวิจารณ์ถึงการตี้ป้อมดังกล่าวพระราชทานให้พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ท่านผู้นี้ได้ชื่อว่า เป็นนายทหารที่มีความเชี่ยวชาญในวิชายุทธศาสตร์และยุทธวิธีของกองทัพบกไทยเป็นอย่างยิ่ง  จนถึงกับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิไชยชาญยุทธ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ มณฑลราชบุรี  และแม่ทัพใหญ่ไปในการพระราชสงครามทวีปยุโรป (สงครามโลกครั้งที่ ๑) ได้ทราบ  พร้อมกับทรงทำนายไว้ว่า หากเยอรมันจะเข้าตีฝรั่งเศส  เยอรมันจะต้องยกกำงเข้าตีป้อมลิเอซทางช่องทางที่ทรงกล่าวไว้  แล้วจึงยกเข้าตีฝรั่เศลทางประเทศเบลเยี่ยม  ผลคือสิบสามปีจากที่รับสั่งไว้  เยอรมันทำตามที่รับสั่งทุกประการและสามารถยึดครองฝรั่งเศสไนเวลาไม่กี่วัน  ในทัศนะส่วนตัวเชื่อว่า นี่คือสาเหตุหนึ่งที่พระเจ้ายอร์ชที่ ๕ แห่งอังกฤษ ถวายพระยศพลเอกแห่งกองทัพบกอังกฤษแด่ล้นเกล้าฯ เมื่อเดือนกันยายน ๒๔๕๘

เมื่อเสด็จฯ นิวัติพระนครแล้ว  ก็ได้ทรงร่วมกับจอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช จัดวางกำลักองทัพบกไทยเป็น ๑๐ กองพลกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ คือ
กองพลที่ ๑  มณฑลกรุงเทพ
กองพลที่ ๒  มณฑลนครไชยศรี  ที่ตั้งอยู่ที่ต้นสำโรง  ปัจจุบันเป็นกรมการสัตว์ทหารบก
กองพลที่ ๓  มณฑลกรุงเก่า 
กองพลที่ ๔  มณฑลราชบุรี 
กองพลที่ ๕  มณฑลนครราชสีมา
กองพลที่ ๖  มณฑลนครสวรรค์ 
กองพลที่ ๗  มณฑลพิษณุโลก
กองพลที่ ๘  มณฑลพายัพ
กองพลที่ ๙  มณฑลปาจิณและจันทบุรี  มีกองบัญชาการกงพลอยู่ที่จังหวัดปราจิณบุรี
กองพลที่ ๑๐ มณฑลอุดรและมณฑลอุบล 

ดูการจัดวางกำลังแล้วจะเห็นได้ว่า  มีการจัดวางกำลังจากภาคเหนือลงมาภาคกลางเป็นลำดับ  แต่ภาคอีสานซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่กลับวางกำลังไว้น้อยกว่าภาคเหนือ คือมีกองพลที่ ๑๐ รับผิดชอบภาคอีสานทั้งหมด  ยกเว้นมณฑลนครราชสีมา ซึ่งเป็นปากทางเข้าสู่ภาคกลาง  มีดงพญาไฟเป็นปราการธรรมชาติ  ในขณะที่ภาคใต้มีสัญญาลับกับอังกฤศเมื่อคราวกู้เงินมาทำทางรถไฟสายใต้ว่า ประเทศสยามจะไม่จัดตั้งกองทหารในคาบสมุทรมลายูตั้งแต่บางสะพานน้อยลงไป  โดยให้ดินแดนนี้อยู่ในอากขาของอังกฤษเพื่อเป็นหลักประกันสัญญากู้เงินนั้น 

และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า กำลังทหารมากระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ อยุธยา  นครไชยศรี (นครปฐม) และราชบุรี  โดยเฉพาะกองพลที่ ๔ ที่ได้ชื่อว่า เป็นหน่วยทหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบเท่ากองพลที่ ๑ นั้นไปอยู่ที่ราชยุรีซึ่งเป็นด่านหน้าของดินแดนไทยเลยทีเดียว  และเมื่อย้นไปดู้หตุการณ์ที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒  ญี่ปุ่นมาทางเรือมายกพลขึ้นบหตั้งแต่หัวหินลงไปจนสุดเขตแดน ทำให้ประจักษ์ว่า ถ้าข้าศึกจะยกเข้ามาตีประเทศไทย  จุดอ่อนของประเทศไทยในเวลานั้นคือ ภาคใต้  จึงทรงวางยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศไว้ที่พระราชวังสนามจันทร์  โดยมีกองพลที่ ๔ เป็นกำลังหลักในการตั้งรับข้าศึกที่จะยกมาจากทางใต้  และมีกองพลที่ ๒ เป็นกำลังรักษาพื้นที่  มีกองพลที่ ๑ เป็นกำลังหลักในการป้องกันกรุงเทพฯ และเป็นกองระวังหลังให้พระราชวังสนามจันทร์ 

ถึงแม้จะจัดกำลังทหารเป็น ๑๐ กองพลดังกล่าว  แต่ทั้ง ๑๐ กองพลนั้นมีแต่โครงสร้าง  ไม่มีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะบรรจุลงให้เต็มอัตราเพราะขาดเงิน  อัตรากำลังที่มีอยู่ในเวลานั้นสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก (ผู้บัญชาการทหารบก) ในเวลานั้น เคยมีรับสั่งว่า เป็นกองพลกำมะลอ  เพราะอัตรากำลังที่มีอยู่จัดได้เพียง ๒ กองพลครึ่ง  รบกับอังกฤษ ๓ วันก็แพ้แล้ว 


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 14 ธ.ค. 07, 07:10
ด้วยข้อจำกัดทางด้านการทหารดังกล่าว  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริที่จะจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  แต่ยังไม่สามารถดำเนินการใดได้เพราะทรงเกรงจะถูกกล่าวหาว่า ทรงสะสมกำลังเพื่อเป็นกบฏ  จนถึงเดือนเมษายนปี ๒๔๕๔ ในระหว่างเสด็จประพาสชายทะเลจึงได้ทรงชักชวนข้าราชบริพารทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนจัดตั้งเป็นกองเสือป่าขึ้น  และได้โปรดให้ถือน้ำพระพิพัฒสัจยาเข้าประจำกองครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่  ๖  พฤษภาคม  ปีเดียวกันนั้น

เรื่องการจัดตั้งกองเสือป่านี้มีผู้กล่าวหาว่า ทรงตั้งข้อรังเกียจไม่ให้ทหาเข้าเป็นสมาชิก  เรื่องนี้น่าจะเป็นการเข้าใจผิดของผู้บอกเล่า  เพราะหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกองเสือป่า คือ นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น  แสง-ชูโต)  ท่านผู้นี้ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกองเสือป่าคนแรก  คือเป็นตำแหน่งองมาจากนายกเสือป่าคือล้นเกล้าฯ นั้นเอง  เหตุที่ไม่โปรดให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกเสือป่านั้นเพราะทหารมีหน้าที่ป้องกันประเทศอยู่แล้ว  แต่สือป่านั้นทรงมุ่งเน้นจะฝึกพลเรือนให้มีความรู้พื้นฐานทางทหารและเน้นฝึกหัดเรื่องการสอดแนม  หากทหารมาเป็นเสือป่าแล้ว  ยามมีศึกสงครามมาประชิดทหารต้องออกไปตั้งรับข้าศึกกันหมดล้วใครจะป้องกันรักษาบ้านเมืองในแนวหลัง  กองเสือป่าจึงถูกตั้งขึ้นเพื่ออุดช่องโหว่นี้  และหากเอาทหารมาป็นเสือป่าเวลาทหารไปรบกันหมดใครจะบังคับบัญชากองเสือป่า  จามบันทึกของกองเสือป่าเมื่อปีที่เสด็จสวรรคตทั่วประเทศมีกำลังพลเสือป่ากว่าหมื่นคน  ลองคิดดูว่าถ้าเป็นทหารจะต้องใช้งบประมาณมากมายขนาดไหน  แค่มีอยู่สองกองพลครึ่งยังใช้งบประมาณแผ่นดินไปถึงหนึ่งในห้า  ถ้าเสือป่าต้องใช้งบประมาณแผ่นดินด้วย  คงไม่เหลืองบประมาณมาพัฒนาประเทศเป็นแน่  แต่ด้วยพระปรีชาญาณทางการทหารในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทุกคนมองข้ามกันไปหมดเราจึงมีกำลังพร้อมรบกระจายกันอยู่ทั่วประเทศโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน  แต่สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  เพราะเสือป่าไม่มีเงินเดือน ใครอยากเป็นเสือป่านอกจากต้องเสียค่าบำรุงแล้วยังต้องตัดเครื่องแบบใช้เอง  ถึงเวลาฝึกซ้อมต้องมาฝึก  ฝึกเสร็จกลับบ้านของตน  หลวงไม่ต้องจ่ายเครื่องแบบไม่ต้องจัดหาที่พักและเลี้ยงอาหาร  แต่งบประมาณในการซ้อมรบประจำปีล้วนใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

พาไถลไปนอกเรื่องที่ท่านอาจารย์ตั้งกระทู้ไว้เสียไกล  ขอย้อนกลับมาถึงเรื่องพระราชวังสนามจันทร์กับการซ้อมรบเสือป่า

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๔๕๔ แล้ว  พอถึงเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้นก็ทรงนำเสือป่ากรมราบหลวงรักษาพระองค์และและลูกเสือหลวงมาที่พระราชวังสนามจันทร์  ทรงทำพิธีเข้าประจำกองของกองเสือป่ามณฑลนครไชยศรีที่พระราชวังสนามจันทร์  และได้พระราชทานธงพระมนูแถลงสารให้เป็นธงประจำกองลูกเสือหลวงในคราวเดียวกันนั้น  การที่ทรงนำเสือป่าและลูกเสือมาที่พระราชวังสนามจันทร์คราวนั้นเหมือนกับจะทรงชิมลางว่า ถ้าให้เสือป่าและลูกเสือมาประชุมพลพร้อมกันจะเป็นอย่างไร

พอย่างเข้าฤดูแล้ง  ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว  ก็ทรงนำทหรมหาดเล็ก  ทหารรักษาวัง เสือป่าและลูกเสือมาประชุมพลพร้อมกันที่พระชวังสนามจันทร์  เสือป่ากรมราบหลวงซึ่งเป็นข้าราชสำนักและลูกเสือหลวงที่ต้องมีหน้าที่ตามเสด็จเป็นการประจำอยู่แล้วนั้น  โปรดให้สร้างโรงนอนเป็นโรงยาวกระจายอยู่รอบนอกของพระราวัง  ส่วนเสือป่าและลูกเสือจากกรุงเทพฯ และมณฑลอื่นๆ นั้นโปรดไปกางเตนท์ที่พักอยู่ตรงที่ปัจจุบันเป็นสนามกีฬาเทศบาล  ถัดออกมาทางข้างพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์มีสนามหญ้าซึ่งโปรดให้ใช้เป็นสนามฟุตบอลคั่นอยู่

เมื่อเสือป่าและลูกเสือจากกรุงเทพฯ มาพร้อมแล้ว  พระราชวังสนามจันทร์ก็จะแปรสภาพจากพระราชวังมาเป็นค่ายหลวงพระราชวังสนามจันทร์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์นายกเสือป่าก็จะแปรพระราชฐานจากพระที่นั่งพิมานปฐมหรือพระที่นั่งวัชรีรมยามาประทับที่พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์  ซึ่งเป็นพระตำหนักองค์เล็กๆ  ชั้นบนมีห้องพระบรรทมกับห้องสรง  และห้องทรงพระอักษร  ชั้นล่างมีห้องเสวยเท่านั้น  เวลาที่เสด็จมาประทับที่พระตำหนักนี้คงมีแต่เพียงราชองรักษ์เสือป่าและนายเสทอป่ารับใช้ (ทำนองทหารรับใช้) คอยรับใช้แทนมหาดเล็กที่ไป้เข้าประจำกรมกองที่สังกัดกันหมด

การซ้อมรบเสือป่าแต่ละวันมักจะเริ่มขึ้นแต่เช่าตรู่  เป็นการซ้อมย่อยระหว่างหมวดหรือกองร้อย  ซ้อมกันไปเรื่อยจนถึงเวลากลางวันจึงหยุดพัก  ตกเย็นโปรดให้แข่งขันฟุตบอลในระหว่างกรมกองเสือป่า  พระราชทานถ้วยทองนักรบและถ้วยน้อยนักรบให้เป็นรางวัล  การที่ทรงนำกีฬาฟุตบอลมาให้เสือป่าเล่นกันนั้น  ทรงพระราชดำริว่าการที่คนหนุ่มมาอยู่รวมกันมากๆ  ย่อมมีโอกาสที่จะกระทำผิดเพราะความคึกคะนองได้  จึงต้องให้มีการเล่นกีฬาเพื่อผ่อนคลาย  และกีฬาที่จะเป็นประโยชน์คือ กีฬาที่เล่นเป็นทีมจึงทรงส่งเสริมให้เสือป่าเล่นฟุตบอล  ต่อมาจึงโปรดให้ทหารเล่นกีฬาฟุตบอลแทนยุทธกีฬา  ขออนุญาตออกนอกเรื่องนะครับ  กองทัพไทยในเวลานั้นเวลานั้นถือคตินิยมแบบกองทัพเยอรมัน  ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นกองทัพที่นายทหารเคร่งครัดวินัยเหลือหลาย  กีฬาที่เล่นในกองทัพเยอรมันคือยุทธกีฬาหรือกีฬาทางทหารเท่านั้น  ห้ามนำกีฒาชนิดิ่นเข้ามาเล่นในกองทัพ  กองทัพไทยเวลานั้นก็ถือเอายุทํกีฒาเป็นหลัก  ล้นเกล้าฯ ทรงพระราชดำริว่า ขืนให้เล่นแต่ยุทธกีฬานายทหารของเราจะเครียดเกินไป  เมื่อทรงทดลองให้เสือป่าเล่นฟุตบอลแล้ว  ต่อมาจึงโปรดให้นายทหารในกองทัพไทยได้เล่นกีฒาชนิดนี้เพื่อผ่อนคลาย  แล้วเลยมีกฬาชนิดต่างๆ ให้มหารเล่นสืบมาจนทุกวันนี้

ในตอนเย็นก็จะโปรดให้มีการเล่นละครเป็นการพักผ่อน  แต่ก่อนจะเข้านอนนั้นเสือป่าและลูกเสือจะต้องสวดมนตร์ไหว้พระตามระเบียบไหว้พระสวดมนตร์ที่ทรงกำหนดไว้  แล้วจบท้ายด้วยร้อง้พลงสรรเสริญพระบารมี  ซึ่งตอนท้ายร้องว่า ดุจถวายชัย ฉนี้  แต่เมื่อเสด็จฯ นำเสือป่าและลูกเสือเดินทางไกลไปบวงสรวงเจดรย์ยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์  ทรงหังเป็น ดึขถวายชัย ชนี  จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้เป็น ดุจถวายชัย ชโย  และในวันบวงสรวงพระเจดีย์นั้นได้ทรงเริ่ใช้คำว่า ไชโย เป็นครั้งแรก  คำนี้คงมาจาก ฮูเร ฮูเร ของฝรั่ง

การซ้อมรบเสือป่าแต่ละครั้งกินเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์  จากการซ้อมรบย่อยดังกล่าวมา  ถัดมาเป็นการซ้อมรบในระยะที่สอง  เป็นการซ้อมระหว่างกรมเสือป่าด้วยกัน  การซ้อมแต่ละครั้งจะมีคำสั่งสมมตให้ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายเขาตีอีกฝ่ายเป็นฝ่ายคั้งรับ  มีกรรมการซึ่งตั้งจากผู้บังคับบัญชาเสือป่าที่มิได้เข้าซ้อมรบครั้งนั้นเป็นผู้ควบคุมการซ้อมรบ  การซ้อมรบช่วงนี้มักกระทำตอนกลางคืน  รู้ผลแชนะในคืนเดียวนั้นเลย  เสร็จการซ้อมรบแล้วจะมีการประชุมติชมผลการซ้อมรบทุกครั้ง

ระยะสุดท้ายเป็นการซ้อมรบใหญ่  แบ่งดำลังเสือป่าและลูกเสือทั้งหมดเป็นสองฝ่าย  ในระยะแรกล้นเกล้าฯ จะทรงเป็นผู้นำทัพฝ่ายหนึ่ง  อีกฝ่ายหนึ่งมีเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นผู้นำทัพ  เช่นครั้งหนึ่งมีคำสั่งสมมตให้ฝ่าของล้นเกล้าฯ ตั้งรับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์  ให้เจ้าพระยายมราชนำกำลังเข่าตีจากทางพระปฐมเจดีย์  มีกรรมการซึ่งเป็นนายเสือป่าจากกรมเสนาธิการเสือป่าเป็นกรรมการกลาง  การซ้อมรบในช่วงนี้ใช้เวลาหลายวัน  รบกันไปจนกว่าจะทราบผลแพ้ชนะจึงจะยุติ  แล้วมีการประชุมพลรับฟังคำตชมจากกรรมการกลาง  แล้วจึงมีการสวนสนามหน้าพระที่นั่ง  คือเลิกซ้อมที่ไหนก็สวนสนามกันตรงนั้น  แล้วมีพระราชทานเลี้ยง  เป็นเสร็จการซ้อมรบประจำปี  ต่างคนก็แยกย้ายกันกลับต้นสังกัดของตน  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็จะเสด็จแปรพระราชฐานกลับไปประทับที่พระที่นั่งอภิรมย์ฤดีหรือวัชรีรมยา  หรือบางคราวก็เสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ

นอกจากการซ้อมรบที่พระราชวังสนามจันทร์แล้ว  บางปีก็โปรดให้เสือป่าเดินทางไกลไปค่ายหลวงบ้านโป่ง  และในระหว่างทางก็จะมีคำสั่งมาให้แปรขบวนซ้อมรบ  ดังเช่นท่านหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล เล่าว่า เคยได้รับคำสั่งให้เดินทางไหลจากค่ายหลวงพระราชวังสนามจันทร์ไปค่ายหลวงบ้านโป่ง  วันนั้นมัวแต่โอ้เอ้กัน  กว่าจะออกเดินทางก็สายแล้ว  ยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้า  กะว่าจะไปรับประทานพร้อมกับอาหารกลางวันกันที่ค่ายหลวงบ้านโป่ง  ระหว่างเดินทางไปตามถนนทรงพล  จู่ๆ กองเสือป่าพรานหลวงที่เดินมาด้วยกันเกิดหายไป  แล้วกลายเป็นข้าศึกยกมาโจมตีกองนักเรียนเสือป่าหลวงคือกองของท่านหม่อมหลวงปิ่น  กว่าจะไปถึงที่พักก็ค่ำแล้ว  สรุปแล้ววันนั้นได้รับประทานอาหารมื้อเดียว คือ มื้อค่ำ

เมื่อเสือป่มาชุมนุมกันที่ค่ายหลวงพระราชวังสนามจันทร์กันมาก  สิ่งสำคัญที่ตามมาคือเรื่องปากท้อง  มีเรื่องเล่าว่าโปรดให้จัดตลาดนัดขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์  ให้ชาวบ้านเอาพืชผักและหารมาขายเสือป่าที่มาซ้อมรบ  และมีอยู่รายหนึ่งเป็นพ่อค้าก๋วยเตี๋ยวชาวจีน  แกหาบก๋วยเตี๋ยวเข้ามาเลี้ยงเสือป่าและลูกเสือเป็นประจำ  ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ  ไม่ทราบว่าได้เสวยก๋วยเตี๋ยวเจ้านี้หรือเปล่า  เลนพระราชทานเข็มขัดที่ร้อยเศษสตางค์ (Coin) ต่างประเทศพระชทานให้เป็นรางวัลแก่พ่อค้าก๋วยเตี๋ยวรายนั้น  บัดนี้ทายาทของเจ้าขิงหาบก๋วยเตี๋ยวรายรั้นยังคงเก็บรักษาเข็มขัดพระราชทานที่คงจะมีอยู่เส้นเดียวในโลกไว้ด้วยความหวงแหน  ครั้งหนึ่งมีอาจารย?มหาวิทยาลัยศิลปากรไปขอชท  เจ้าของร้านซึ่งเป็นหลานปู่ของเจ้าของหาบก๋วยเตี๋ยวถึงกับต้องปิดร้านแล้วจึงเอาเช็มขัดนี้มาให้ชม


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 14 ธ.ค. 07, 14:03
เกร็ดต่างๆเหล่านี้ เพลินมากค่ะ กรุณามาต่อด่วนนะคะ คุณวี


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ธ.ค. 07, 21:11
ขอบคุณคุณ V ที่จัดตามคำขอได้เร็วทันใจ   มานั่งต่อจากคุณกุ้งแห้ง รอฟังเรื่องต่ออีกค่ะ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 ก.พ. 08, 12:22
พบข้อมูลในเนต
http://www.antiquemapsandprints.com/spy/SPY-1895.htm
ดูที่คำว่า THAILAND
พระรูปเจ้าฟ้าวชิราวุธ ในเวนิตี้แฟร์ เป็นเวบที่นักสะสมทำขึ้น ไม่มีรายละเอียด บอกเพียง
The Prince Royal. One of the few children depicting in Vanity Fair.
'A Prince Royal'. Born 1881. Came to England for private education 1893.
Shown seated. Coloured. Overall size c. 8x14 ins. By Spy.
(1895.04.25)

จำได้ว่าคุณวีเล่าเกี่ยวกับพระบรมรูปนี้ไปแล้ว
ถือว่าวันนี้ทำตัวเป็นพ่อค้ามะพร้าวห้าว มาขายของที่สวนวชิราวุธานุสาวรีย์
ถ้าจะมีอะไรใหม่ ก็คงเป็นความเห็นที่ว่า
รูปเด็กไม่ค่อยได้ขึ้นปกหนังสือระดับตำนานชื่อนี้ ถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติโดยอ้อมได้กระมัง


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 01 ก.พ. 08, 17:41
พระบรมรูปองค์นี้  ท่านหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล เล่าไว้ว่า เมื่อท่านนำคณะไปเจริญรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่ประเทศอังกฤษ  เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๒๘  และเป็นครั้งที่ท่านเดินทางไปต่างประเทศ  มีฝรั่งคนหนึ่งเอาพระบรมรูปองค์นี้มาขายให้ท่าน  คิดเป็นเงินไทยก็หลายพันบาทครับ  คนที่นำมาขายบอกว่าเขาสะสมจาก Vamiety Fair มาหลายปี  พอทราบว่ามีคณะมาจากเมืองไทย้ลยนำมาเสนอขาย  ท่านก็นำกลับมารักษาไว้ที่หอวชิราวุธานุสรณ์  และได้กรุณาเล่าให้ทราบว่า พระบรมรูปองค์เขียนขึ้นเมื่อพระชนมายุราว ๑๓ พรรษา  เมื่อครั้งที่ทรงรับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๓๗

ในคราวที่ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระยุพราชครั้งนั้น  ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการชุมนุมรื่นเริงเฉลิมพระเกียรติที่สถานอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน  กระแสพระราชดำรัสนั้น  สามัคคีสารซึ่งเป็นวารสารของสามัคคีสมาคมได้อัญเชิญไปลงพิมพ์ไว้เป็นภาษาอังกฤษในเวลาต่อมาว่า
"The Late King Rama VI, in His student days, made a memorial speech...in which He said, among other things, that "He would return to Siam more Siamese than He left it."  These words have left a host of meaning in their wake."

ข้อความนี้ หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล ได้สรุปไว้เป็นภาษาไทยว่า
     "พระมหาธีรราชเจ้าประกาศไว้   
ที่อังกฤษสมัยทรงศึกษา
ว่าเมื่อไรได้เสด็จกลับพารา
จะเป็นไทยยิ่งกว่าเมื่อไปเรียน"

หากได้ศึกษาพระราชกรณียกิจและพระราชจริยาวัตรในพระองค์แล้ว  คงจะได้เห็นว่า ทรงเป็นนักนิยมไทยโดยแท้

นอกจากพระบรมรูปองค์ที่คุณพิพัฒน์กรุณานำมาให้ชมกันแล้ว  ยังมีพระบรมรูปอีกองค์หนึ่งเมื่อคราวที่ทรงสมัครไปร่วมรบในสงครามบัวร์  ภาพนี้เคยเห็นจัดสดงอยู่ที่พระที่นั่งวิมานเมฆเมื่อนานมาแล้ว  เป็นภาพทรงเครื่องทหาร  มีธงรูปช้างอยู่ด้วย  รายละเอียดชักจะเลือนๆ แล้วครับ


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 ก.พ. 08, 00:58
คำว่าสมใจนึกคงเป็นอย่างนี้เอง
สงสัย ใคร่ถาม ถามปุ๊ป ตอบปั๊ป.....ขอบคุณอย่างสาหัสทีเดียว...ฮิฮิ

คุณวีมีเสนอประเด็นน่าสนใจจริงๆ คือทรงเข้าถึงความเป็นไทยได้อย่างไร
เมื่อเสด็จไปอังกฤษนั้น ต้องเรียกว่ายังเป็นเด็กเพิ่งรุ่น
ทรงใช้ช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ ที่เมืองฝาหรั่ง

ถามว่า ...แล้วใครถวายวิชาความรู้เรื่องไทยแก่พระองค์หนอ
เจ้าพระยายมราช ซึ่งเป็นครูประจำพระองค์ แม้ว่าจะเป็นอัจฉริยบุรุษ
แต่ดูเหมือนท่านจะเป็นรัฐบุรุษ ไม่เคยเห็นบทบาทของท่านในทางเป็นนักปราชญ์
พูดแบบปัจจุบันก็คือ เป็นนักบริหาร ไม่ใช่นักวิชาการ

หรือว่าในหอพักจะทรงมีห้องสมุดไทยอย่างดีเลิศให้ทรงค้นคว้า
อันนี้เรียนถามคุณวีมีตรงๆ เลยนะครับ
ไม่คิดว่าจะมีคนรุ่นเราไขปัญหานี้ได้

(จำได้เลาๆ ว่าพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เขียนรายงานภาษาไทยถวายเป็นประจำ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นดังนั้นหรือไม่)


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 03 ก.พ. 08, 15:21
พระอภิบาลที่ตามเสด็จไปอังกฤษมี ๒ คร คือ เจ้าพระยายมราช  ถวายการสอนหนังสือไทย  แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็มีคำสั้งเรียกตัวกลับเมืองไทย  แล้วไปเป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลนครศรีธรรมราช  แล้วเลื่อนเป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล  และกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ

บุคคลที่น่าจะมีบทบาทถวายความรู้เรื่องไทยน่าจะได้แก่พระยาวิสุทธสุริยศีกดิ์ (ม.ร.ว.เปีย  มาลากุล)  ที่โปรดให้ตามเสด็จออกไปตั้งแต่ยังเป็นพระมนตรีพจนกิจ  ท่านผู้นี้ได้เป็นทั้งพระอภิบาลและอัครราชทูตสยามประจำประเทศอังกฤษจนถึ ๒๔๔๑ เมื่อล้นเกล้าฯ เสด็จเข้าโรงเรียนนายร้อยแล้ว  ก็ภูกเรียกตัวกลับมาจัดทำโครงการศึกษาชาติ  ซึ่งเป็นแผนการศึกษาชาติฉบับแรก  แล้วได้เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ  สุดท้ายได้เป็นเจ้าพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ  ในระหว่างที่ทำหน้าที่เป็นพระอภิบาลอยู่นั้น  สมเด็จพระพีปีหลวงได้มีพระราชหัตถเลขาพระราชทานไปยังพระยาวิสุทธ  ทรงฝากฝังดวงตาของพระองค์ทั้งสองข้าง คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ กับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลก ไว้ดับพระยาวิสุทธฯ ด้วย

เรื่องที่ทรงพยายามที่จะเป็นไทยนั้น  น่าเชื่อว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ คงจะทรงปลูกฝังไว้ตั้งแต่ก่อนเสด็จออกไปอังกฤษ  เพราะมีหลักฐานว่า  ทรงได้รับพระราชทานสมุดไดอารีจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕  พร้อมมีพระราชกระแสให้ทรงจดบันทึก  จึงได้ทรงพระราชบันทึกประจำวันมาตั้งแต่พระชนมายุ ๘ พรรษา  ประกอบเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่เกิดขึ้นก่อนเสด็จออกไปอังกฤษไม่ถึง ๑ เดือน  น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทรงมุ่งมั่นพัฒนาการทหารของประเทศ 

ระหว่างที่ประทับทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษ  มีหลักฐานแต่เพียงว่า ทรงฝึกฝนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสจนทรงแตกฉานในภาษาทั้งสอง  ถึงขนาดทรงแปลบทประพันธ์ของเชตสเปียร์ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ  ที่แม้แต่ชาวอังกฤษก็บ่นว่ายาก  เป็นภาษาไทยโดยยังคงรักษาอรรถรสของเชคสเปียร์ไว้ได้โดยสมบูรณ์  นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษาละตินด้วย  แต่เรื่องภาษาไทยด฿จะไม่ค่อยได้ทรงเท่าไรนัก  เพราะในเวลานั้นหนังสือไทยส่วนใหญ่จะเป็นสมุดไทย  การพิมพ์หนังสือยังเป็นเรื่องใหญ่และราคาแพงมาก  นอกจากจะทรงฝึกฝนด้วยพระองค์เองแล้วก็ไม่เห็นช่องทางอื่นที่จะปลูกฝังความเป็นไทยในทางอื่นอีกเลย

อีกประเด็นอาจจะเป็นเพราะการที่ได้ทรงสมาคมกับชาวอังกฤษซึ่งเป็นชนชาติที่มีลักษณะนิสัยเชิงชาตินิยมสูง  และคงจะได้ทอดพระเนตรกิริยาที่ชาวอังกฤษเหยียดหยามพลเมืองในประเทศราช  รวมทั้งการที่ชาวประเทศราชของอังกฤษพยายามจะยกฐานะของตนให้เห็นว่ามีอารยธรรมเช่นชาวอังกฤษ  แต่กระนั้นพวกอังกฤษก็ยังคงดูถูกพวกประเทศราชนั้นอยู่ดี  นอกจากนั้นอาจจะเป็นเพราะการที่ได้เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ในยุโรปที่มีการนำเอาของเก่านั้นมาขายเก็บเงินเข้าประเทศได้เป็นจำนวนมาก  ในการพระราชพิธรบรมราชาภิเษกสมโภชจึงทรงยอมเสียพระราชทรัพย์เกือบ ๒ ล้านบาทจัดงานให้ยิ่งใหญ่เพื่ออวดวันธรรมและประเพณีของไทยเราให้พระราชอาคันตุกะจาก ๑๔ ประเทศได้มาเห็นว่า  แระเทศไทยเป็นชาติที่เก่าแก่มีอารยธรรมไม่แพ้ชาติตะวันตก  ซึ่งก็ได้ผลในแง่การส่งเสริมการท่องเที่ยว  เพราะพระราชอาคันตุกะทั้ง ๑๔ ประเทศนั้นต่างก็ได้ไปช่วยเผยแพร่เกียรติคุณของประเทศไทย  จนเป็นที่รู้จักมากขึ้น   


กระทู้: เกร็ดบางเรื่องเกี่ยวกับรัชกาลที่ 6
เริ่มกระทู้โดย: Natalee ที่ 03 ก.พ. 08, 22:44
เจ้าพระยายมราชตามเสด็จไปเป็นพระอภิบาลเจ้านายที่ยุโรปเป็นระยะเวลาไม่สั้นเท่าไรนะคะ

ตอนไปประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๙ กลับมาเป็นข้าหลวงทางใต้ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ร่วมๆ ๑o ปี
(แต่ในระหว่างนั้นกลับมาแต่งงาน และกลับไปอีกครั้งหนึ่ง)
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นข้าหลวงพิเศษที่สงขลาก่อน
พอปลายปี ได้เป็นสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช