เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 09:19



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 09:19

อ่านมาจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม

เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม  ๒๕๐๗


งานและการศึกษาของสตรีในโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และ แหม่มโคลด์ ลิขสิทธิ์ของ ครูตาด  ประทีปเสน

นายอภัย  จันทวิมล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   เขียนไว้เมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗   


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 11, 09:50
อยากฟังเรื่องโรงเรียนวังหลัง จังเลยครับ  ;D


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 10:07
    


          หนังสืออนุสรณ์นอกจากประวัตินักประพันธ์แล้ว   แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ คือ  พวกที่ออกมาก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐  และหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐

ปัจจุบันหนังสือที่น่าอ่านหาได้ยากมาก เพราะมีคำสั่งซื้อจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย แบบไม่อั้น(หลังเยอรมัน  อเมริกา  และญี่ปุ่น)

คือไม่มีการเลือกว่าเป็นหนังสือเด่นทางประวัติท่านผู้วายชนม์  หรือเรื่องที่นำมาพิมพ์เป็นวรรณคดีหรือเรื่องหายาก

หนังสือที่เตรียมส่งต่างประเทศเหล่านี้  ผ่านการคัดเลือกมาแล้วระดับหนึ่ง  สภาพพอใช้ได้

หนังสือเหล่านี้ไม่มีการลงโฆษณา เพื่อการประมูลแต่อย่างใด  เพราะขายได้อยู่แล้วแน่นอน และได้ราคาสูงทุกเล่ม

เมื่อดิฉันผ่านไปดูหนังสืออื่นๆที่แตกมาจากกรุ  ก็จะกรีดเล่มดี ๆ ออกมาจากแถวที่จัดตั้งไว้ยาวประมาณสองศอกตามชั้น

เจ้าของร้านสบสายตาและบอกอ่อยๆว่า  เลือกไปเถอะครับทุกเล่มที่ต้องการ   ใจผมไม่อยากขายออกไปเลย

ราคาที่แจ้งก็ถูกกว่าราคาที่เขาได้อยู่แล้วประมาณ ๖๐ ถึง ๗๐ %


       หนังสือประวัติโรงเรียนกุลสตรีวังหลังและประวัติแหม่มโคลด์นั้น   ดิฉันเคยฝากฉบับพิมพ์ครั้งแรกไปให้ห้องสมุดของโรงเรียน

มาแล้วเพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กว่าอ่านแล้วเก็บไว้คนเดียว


       เมื่อได้อ่านประวัติคุณครูสุวรรณ   ที่นายอภัย  จันทวิมลเขียน  ในฐานะเพื่อนบ้านที่รู้จักคุณครูมาตั้งแต่เด็ก ๆ    รู้สึกว่าเป็นประวัติ

บุคคลที่น่าอ่าน  ได้ความรู้  และเข้าใจประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในเวลานั้นเพิ่มขึ้น       ท่านเขียนได้นุ่มนวลและจริงใจ

ถ้าสหายแถวนี้จะถามว่า  เขียนได้นุ่มนวลเป็นอย่างไร   ก็เขียนแบบคนที่รู้จักกันมาตั้งแต่คนเขียนอายุ ๕ ขวบบ้านอยู่ติดกันจำได้นั่นแหละ

และได้ไกวเปลบุตรชายของคุณครูสุวรรณมาแล้ว


       เรื่องนี้น่าจะคัดลอกมาเล่ากันได้ยาว  เพราะมีตอนสนุกหลายตอนค่ะ






กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 10:25


คุณหนุ่มสยาม      เรื่องคุณครูสุวรรณสนุกกว่าเรื่องโรงเรียนวังหลังอีกค่ะ

เรื่องที่หลายคนตื่นเต้นก็คือ  เจ้าของร้านยอมขาย  และขายในราคาไม่แพง

นักอ่านในเรือนไทยบางคนก็เดินคลองถมแล้วบ่นว่าไม่ค่อยมีหนังสือดีๆแล้ว

ไปเดินท่าช้างดีกว่า   หายไปจากเรือนไทยก็ไปเดินซื้อหนังสือ     นักอ่านหน้าใหม่

ก็อยากจะเก็บหนังสือเหลือเกิน  อยากจะไปแถวราบ ๑๑  ซึ่งเป็นโกดังเก็บหนังสือ

ไม่เปิดสาธารณะ   ดิฉันเป็นคนที่สองในเรือนไทยที่เขายอมให้ไปถึงโกดัง 

       คนขายหนังสือเก่าที่เก็บหนังสือด้วย    เจรจากันลำบากหน่อย



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 07 ก.ค. 11, 10:26
เคยอ่านประวัติท่านเมื่อสมัยเป็นนักเรียนมัธยม หนังสือรวบรวมประวัติครูเนื่องในโอกาสอะไรซักอย่างของกระทรวงศึกษาธิการ ท่านผู้ใดช่วยตอบผมได้มั้ยครับว่า ชื่อหนังสืออะไร...ขอขอบคุณ คุณwandee อีกครั้งที่ทำให้นึกถึง สตรีท่านนี้


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 07 ก.ค. 11, 10:33
นางสุวรรณ  วิภาชน์วิทยาสิทธิ์...


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 11:07


       คุณครูสุวรรณเกิดในสกุล สวัสดิลักษณ์   เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๑๔

เป็นปีที่ ๔ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่บ้านหลังวัดหงส์รัตนาราม  อำเภอบางกอกใหญ่  จังหวัดธนบุรี


บิดาคือ  นายเหมือน    มารดาชื่อเมือง


พี่น้องร่วมบิดามารดา ๘ คน  คือ

๑.  พระสมบัติบดี  (เจริญ  สวัสดิลักษณ์)

๒.  ท่านเจ้าของประวัติ

๓.  นางวงษ์  บุญเกษม

๔.  นางแวว  สามนเสน

๕.  นายเวียน  สวัสดิลักษณ์

๖.  นายวิน  สวัสดิลักษณ์

๗.  ขุนประมวลราชทรัพย์​(เวก  สวัสดิลักษณ์ฉ

๘.  นายวาด  สวัสดิลักษณ์



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 11:19


       ขุนประมวญราชทรัพย์  เล่าว่า 


       "คุณพ่อเป็นหลานพระยานครศรีธรรมราช  คุณแม่เป็นบุตรคุณยายแจ่มซึ่งเป็นหลานพระยาพัทลุง (ทองขาว) 

เป็นเชื้อแขกสุหนี่  สืบสกุลมาจากพระยาแก้วเการพ  เจ้าเมืองพัทลุง

คุณยายแจ่มเดิมอยู่จังหวัดพัทลุง  แต่ได้ย้ายมาอยู่ข้างงวัดราชโอรส (วัดจอมทอง)  อำเภอบางขุนเทียน  จังหวัดธนบุรี


ครั้งสุดท้ายได้ย้ายมาอยู่หลังวัดหงส์รัตนารามโดยได้รับพระราชทานที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์

บุตรของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนเกิดที่บ้านหลังวัดหงส์รัตนาราม"



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 11:51


       ท่านชู  ชาวสวนวัดหนังเป็นภริยาพระยาราชวังสัน  บ้านริมวัดหงส์    มีบุตรหญิง ๒ ท่านคือ


ท่านเพ็ง  เป็นภรรยาพระยานนทบุรี   มีบุตรีชื่อเรียม   ได้เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๒  และ พระราชชนนี ของ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ต่อมาได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุราลัย


ท่านปล้องเป็นภรรยาพระยาพัทลุง (ทองขาว)   

มีบุตรชื่อทับ  ต่อมาได้เป็นพระยาพัทลุงแทนบิดา



นายมา  คุณตาของคุณครูสุวรรณ  เป็นผู้มีความรู้ทางภาษาบาลี  และฝักใฝ่ในการศาสนาเป็นอันมาก

ได้มาที่วัดบวรนิเวศเนืองๆจนเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศ

ในตอนนั้นนายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ข้่างวัดราชโอรส  อำเภอบางขุนเทียน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระดำริเห็นว่า  บ้านอยู่ไกลนัก   จึงได้พระราชทานที่ดินหลังวัดหงส์รัตนารามให้เป็นกรรมสิทธิ์



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 11, 12:07


       ท่านชู  ชาวสวนวัดหนังเป็นภริยาพระยาราชวังสัน  บ้านริมวัดหงส์    มีบุตรหญิง ๒ ท่านคือ


ท่านเพ็ง  เป็นภรรยาพระยานนทบุรี   มีบุตรีชื่อเรียม   ได้เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๒  และ พระราชชนนี ของ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ต่อมาได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุราลัย


ช่างโชคดีมีบุญวาสนามหาศาล การได้ทรงเป็นถึงเจ้าจอมมารดา แสดงว่า มีการถวายตัวเข้าวังตั้งแต่ยังเยาว์ถูกไหมครับ คุณวันดี


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 13:15
เรียนคุณหนุ่มสยาม

       ได้ข่าวจากราชประสงค์มาว่า  กิจการวัฒนธรรมของท่านก้าวหน้ามาก 

ไม่กล้าแจ้งผู้ใดเลย  เกรงจะโดนไยไพ  เพราะปกติเดินเส้นรอบวงมหานคร   

ถ้าคุณหนุ่มว่างและหลบหลีกผู้บังคับบัญชาได้   โปรดแวะมาที่กองบัญชาการสูงสุดข้างท่าวาสุกรี

เราจักได้แย่งกันสนทนาสืบไป   




กรมสมเด็จพระศรีสุราลัยประสูติ  เมื่อ วันที่ ๒๘​ กุมภาพันธ์  ปีขาล  พุทธศักราช  ๒๓๑๓

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประสูติเมื่อ  วันที่ ๓๑ มีนาคม  ๒๓๓๐



ได้ทำราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ตั้งแต่เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเสด็จประทับอยู่บ้านหลวงเดิม

แห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก     ครั้นเมื่อเสด็จไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมก็ตามเสด็จลงไป


เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ  เสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวัง

ได้ดำรงที่พระสนมเอก  บังคับการห้องเครื่อง   

ชนทั้งปวงออกนามว่าเจ้าคุณ 


พระประวัติหาอ่านยาก    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าพรรณนาว่า  พระชนกของมเด็จพระศรีสุราลัย  นาม บุญจัน

ได้ทำราชการเป็นที่พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน   ตั้งเคหสถานในที่ซึ่งได้ทรงสถาปนาเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ ณ เมือง นนทบุรี

ภรรยาใหญ่ ชื่อ ท่านเพ็ง  มีพระธิดาองค์เดียวคือ กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย




กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 13:25


       ด.ญ. สุวรรณ  เป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง  ที่คณะมิชชันนารีอเมริกันได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ 

ที่หน้าโรงพยาบาลศิริราช  ตรงที่เป็นหอพักนักเรียนพยาบาล      ได้เข้าเรียนเมื่อปลายปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๒๔  อายุ สิบปี

ตอนนั้นเป็นเด็กที่สุดในโรงเรียน


ครูอเมริกันที่อยู่ประจำ ดูเหมือนจะเป็น มิสฮาตเเล  และ มิตรออมสะเต็ด

ครูคนไทยคือครูต๋วน   มารดาของนายต่วน  บุญอิต


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 13:34


       ในปี ๒๔๒๘  ครูต๋วนลาออก   มิสออมสะเต็ดก็ลากลับอเมริกาเพราะสุขภาพไม่ดี   มิสเอ็ดน่ะ เอส. โคล์  ย้ายมาจากเชียงใหม่

คุณครูตาดเล่าว่า  ได้เปลี่ยนแปลงวิธีรับนักเรียนประจำเล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนเสีย  และแถมเครื่องนุ่งห่ม

จัดโรงเรียนให้น่าอยู่  เสาะหาครูที่สามารถมา  คิดค่าเล่าเรียนและเลี้ยงดูเดือนละ ๕ บาทซึ่งนับว่าแพงมาก

ตอนนั้น ด.ญ. สุวรรณ อายุ ๑๕ ปีและอยู่ที่โรงเรียนมาแล้ว ๔ ปี


       มิสโคล์เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘  อายุ ๓๐ ปี



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 ก.ค. 11, 13:48
ท่าช้าง-หลังวัดมหาธาตุ ก็เดินซะปรุแล้ว คลองถมก็ไม่มีอะไรใหม่ๆ มา แล้วยังแพงเกินเหตุอีกต่างหาก

โกดังแถวราบ ๑๑ อยู่ตรงไหนครับ อยากจะไปแวะเยี่ยมเยียนดูบ้าง


http://www.wanglangwattana.org/taproot_mscoles_virtue.html







กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 14:18


เจ้าของร้านขายหนังสือมือสอง  ที่เก็บหนังสือเอง   เห็นดิฉันรวบหนังสือทีละตั้งออกจากชั้น  ร้องอ้อก

เวลากรุแตก  เขาจะขนมาให้เลือกทีละหลายลังเบียร์ที่บ้านเลยค่ะ

เปิดแต่สมาชิกชมรมนักอ่านหนังสือเก่าค่ะ  ราคาไมตรีสุด ๆ



ร้านที่มีหนังสือชั้นยอด  อยู่เชิงสะพานอรุณอัมรินทร์   แพงมาก  แต่คุ้มค่า
โฆษณาของร้านนี้ทำให้คนสลบมากันหลายคนแล้วค่ะ    แพงอย่างไม่มีใครคิดได้ว่าแพงขนาดนี้
และหนังสือส่วนมากขายออกไปแล้วก่อนนำมาลงโฆษณาอีก   เงินสดทั้งสิ้น



ร้านชั้นอ๋อง  อยู่ที่ถนนพัฒนาการ    ขายการ์ตูนบังหน้า   หนังสือล้ำเลิศไม่ขาย
ว่าจะเปิดขายหนังสืองานศพยอดหายากมาห้าปีแล้วยังจัดไม่เสร็จ
ดิฉันว่าจะย้ายไปอยู่กับเขาก่อนเขาเปิดขายหนังสือสักเดือน


ตอนนี้มีสิงห์วัยกลางที่กำลังจะเปิดกรุ  เพราะป่วย


กรุหนังสือประวัติศาสตร์นั้น  เจ้าของร้านยังไม่สามารถสร้างความไว้วางใจได้ค่ะ
เขานัดพบแล้วนำหนังสือมาให้กลางทาง
ยังไปไม่ถึงบ้าน


กรุแตกเมื่อไรดิฉันก็แวะซื้อกล้วยแขกหน้าวังกรมพระยาดำรง    ข้าวเหนียวมะม่วงแถวเสาชิงช้าไปเป็นเสบียงนั่งคอยเลือกค่ะ



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ก.ค. 11, 14:42
ท่าช้าง-หลังวัดมหาธาตุ ก็เดินซะปรุแล้ว คลองถมก็ไม่มีอะไรใหม่ๆ มา แล้วยังแพงเกินเหตุอีกต่างหาก

โกดังแถวราบ ๑๑ อยู่ตรงไหนครับ อยากจะไปแวะเยี่ยมเยียนดูบ้าง


เอ...ไม่ทราบว่า  คุณลุงไก่ไปเดินท่าช้าง-หลังวัดมหาธาตุ วันไหนบ้างครับ
เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี้  แหล่งข่าวใกล้ชิดรายงานว่า มีสมาชิกชมรมนักอ่าน
รุ่นเยาว์ท่านหนึ่ง  ออกเดินเยี่ยมเยือนร้านหนังสือแถวนั้น  แหล่งข่าวเล่าต่ออีกว่า
เห็นสมาชิกท่านนั้นหอบหนังสือทั้งเก่าทั้งใหม่หลายเล่มใส่ถุงพลาสติกหิ้วพะรุงพะรัง
พิจารณาจากสายตาคาดว่า  น่าจะซื้อไปด้วยเงินมิใช่น้อย  แต่คงไม่เกินเล่มละ ๒๐๐ บาท
ไม่ทราบว่า ลุงไก่พอจะทราบข่าวนี้บ้างหรือไม่ครับ  

โกดังราบ ๑๑  อย่าไปเลยครับ  ลึกลับ  ต้องมีบัตรสมาชิก สแกนม่านตาก่อน
ถึงจะเข้าเยี่ยมชมได้   สายข่าวรายงานมาอย่างนี้ไม่รู้จริงหรือเปล่า
ผมแนะว่าไปเดินจตุจักรดีกว่า  ไปเช้าๆ จะได้หนังสือดีๆ มาเป็นศอกกำศอกแบ
ถ้ารู้จักคนขายคุยสนุกคุยดี  รับรองอาจจะต้องขนใส่ท้ายแท็กซี่กลับทีเดียว



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ค. 11, 14:56


กรุแตกเมื่อไรดิฉันก็แวะซื้อกล้วยแขกหน้าวังกรมพระยาดำรง    ข้าวเหนียวมะม่วงแถวเสาชิงช้าไปเป็นเสบียงนั่งคอยเลือกค่ะ



ขอให้กรุแตก ไว ๆ ด้วยอยากทาน กล้วยแขกหน้าวังกรมพระยาดำรง บางเฉียบ แป้งกรอบ มีหลายสีให้เลือกด้วย ส่วนข้าวเหนียวเขี้ยวงู ก็อยากชิมอยู่ แต่กลัวอย่างเดียวคือ "กะทิ"


...กลัวหมด... ;D ;D


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.ค. 11, 15:05
มีเกี๊ยวหมูแดงอร่อยมากแถวนั้น

เลือกหนังสือแล้วเดินเรียงหน้าไปตามซอยเหมือนตอนไปหากำลังภายในอ่านที่ซอยกิ่งเพชรเลย

ก๊วยเตี๋ยวราดหน้า  และเป็ดพะโล้ใส่จานจิ๋วๆ หอมอร่อย

ที่กองบัญชาการสูงสุดก็มี ข้าวพองคลุกเนย กล่องละ ๓๕ บาท  กินดีมาก  สร้างไมตรีได้


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 10:35


       ในเวลาที่แหม่มโคล์มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่   โรงเรียนเหลือนักเรียน ๑๖​ คน

คุณครูสุวรรณมีโอกาสได้เรียนอย่างใกล้ชิดกับแหม่มโคล์

       ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑   ได้เรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนและได้เข้าเป็นครูที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง

       เป็นครูอยู่ที่โรงเรียน ๒๑ ปีกับ ๖ เดือน  จึงลาออกเพื่อไปสมรสกับขุนวิภาชวิทยาสิทธิ์ (สังข์  พุกกะเวส)


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 10:44


คุณครูตาด  ประทีปเสน  เล่าว่า

       "ในระหว่างเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวังหลังนั้น   นอกจากสอนประจำชั้นมัธยม ๖ บางวิชาแล้ว   

ยังสอนชั้นเด็กเล็กบางวิชา  คือ  ชั้นคืบอีกด้วย  เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ครูประจำชั้นเล็ก

มีการสอนผู้ใหญ่อีก  คือสอนครูสตรีอเมริกันที่เข้ามาประเทศไทยใหม่ ๆ ให้รู้ภาษาและหนังสือไทยบ้าง

นอกจากนั้นยังเป็นเลขานุการและผู้ช่วยสมุหบัญชีของโรงเรียนด้วย       ตอนปลสยยังมีหน้าที่อีกอย่าง 

คือเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "แสงอรุณ" (ซึ่งเป็นหนังสือของโรงเรียน)"



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ค. 11, 10:58


       ในเวลาที่แหม่มโคล์มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่   โรงเรียนเหลือนักเรียน ๑๖​ คน


อยากถามคุณวันดีว่า เหตุใดโรงเรียนวังหลัง จึงเหลือนักเรียน ๑๖ คน หรือครับ หรือว่าไม่ได้รับความนิยม หรือว่าค่าเทอมแพง ครับ แต่ภายหลังได้ย้ายไปแถวสุขุมวิท ในชื่อใหม่ว่า โรงเรียนวัฒนา ถูกไหมครับ


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 08 ก.ค. 11, 15:17


       ในเวลาที่แหม่มโคล์มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่   โรงเรียนเหลือนักเรียน ๑๖​ คน


อยากถามคุณวันดีว่า เหตุใดโรงเรียนวังหลัง จึงเหลือนักเรียน ๑๖ คน หรือครับ หรือว่าไม่ได้รับความนิยม หรือว่าค่าเทอมแพง ครับ แต่ภายหลังได้ย้ายไปแถวสุขุมวิท ในชื่อใหม่ว่า โรงเรียนวัฒนา ถูกไหมครับ

ขออนุญาตตอบนะครับ ถ้าข้อมูลไม่พลาด ชื่อว่าโรงเรียน กุลสตรีวังหลังวัฒนาวิทยาลัย อยู่ตรงอโศกครับ


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ค. 11, 15:27


       ในเวลาที่แหม่มโคล์มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่   โรงเรียนเหลือนักเรียน ๑๖​ คน


อยากถามคุณวันดีว่า เหตุใดโรงเรียนวังหลัง จึงเหลือนักเรียน ๑๖ คน หรือครับ หรือว่าไม่ได้รับความนิยม หรือว่าค่าเทอมแพง ครับ แต่ภายหลังได้ย้ายไปแถวสุขุมวิท ในชื่อใหม่ว่า โรงเรียนวัฒนา ถูกไหมครับ

ขออนุญาตตอบนะครับ ถ้าข้อมูลไม่พลาด ชื่อว่าโรงเรียน กุลสตรีวังหลังวัฒนาวิทยาลัย อยู่ตรงอโศกครับ

ขอบคุณที่เอ่ยชื่อโรงเรียนให้ทราบอย่างแจ่มแจ้งครับ ด้วยตอนเด็กๆ ที่โรงเรียนนี้มีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ รับเด็กเรียนว่ายน้ำระหว่างภาคปิดฤดูร้อน ข้าพเจ้าก็เรียนว่ายน้ำเป็นจากสระแห่งนี้ครับ


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 15:36
ตอนนั้นคุณครูต่วนลาออก  ท่านเป็นคุณครูและแม่บ้านมานาน  มีนักเรียนพากันออกตามไป

มิสโคล์เข้ามาปรับปรุงโดยเลิกค่าเล่าเรียนกินอยู่หลับนอนฟรี  เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มฟรี

เรียกค่าเล่าเรียนและเลี้ยงดูเดือนละ ๕ บาท

เทอมแรกผู้ปกครองส่วนมากไม่พอใจจึงมาลานักเรียนออกเสีย


โรงเรียนอยู่ในซอยวัฒนา  ทะลุออกถนนอโศกได้ค่ะ

ที่ปากซอยวัฒนาสมัยหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐  มีร้านบะหมี่และข้าวนึ่งไก่อร่อยมากเจ้าหนึ่ง

ไก่นั้นหั่นชิ้นใหญ่นึ่งไปกับข้าว  ใส่น้ำซุบไก่  นึ่งนานเชียว  เคาะออกมากินกับผักกาดดองเปรี้ยว ๆ

เกี๊ยวกรอบราดหน้าก็อร่อย   ก๊วยเตี๋ยวเนื้อสับก็ดี

บนถนนสุขุมวิทฝั่งตรงกันข้ามก็มีร้านอร่อยหลายร้าน



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ค. 11, 15:40
ขออนุญาตตอบนะครับ ถ้าข้อมูลไม่พลาด ชื่อว่าโรงเรียน กุลสตรีวังหลังวัฒนาวิทยาลัย อยู่ตรงอโศกครับ

เว็บทางการของโรงเรียนบอกว่าชื่อ "โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย"

วัฒนาวิทยาลัย                 เกรียงไกรด้วยเกียรติมานาน
สถานงดงามตระการ           โอฬารด้วยสีขาวแดง

ชื่อเดิมกุลสตรีวังหลัง          แหล่งปลูกฝังระเบียบวินัย
อบรมสตรีไทย                 ให้คงไว้ซึ่งคุณธรรม

วัฒนาวิทยาลัย                 เราภูมิใจในศักดิ์ศรี
ซื่อสัตย์สามัคคี                ร้อยกว่าปีไม่มีเสื่อมคลาย

เราเทิดทูนชาติศาสนา         กษัตราครูอาจารย์
ทั้งการเรียนวิชาการ           แต่โบราณเลื่องลือชื่อวัฒนา

http://www.wattana.ac.th/history/index.html


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ค. 11, 15:47

โรงเรียนอยู่ในซอยวัฒนา  ทะลุออกถนนอโศกได้ค่ะ

ที่ปากซอยวัฒนาสมัยหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐  มีร้านบะหมี่และข้าวนึ่งไก่อร่อยมากเจ้าหนึ่ง

ไก่นั้นหั่นชิ้นใหญ่นึ่งไปกับข้าว  ใส่น้ำซุบไก่  นึ่งนานเชียว  เคาะออกมากินกับผักกาดดองเปรี้ยว ๆ

เกี๊ยวกรอบราดหน้าก็อร่อย   ก๊วยเตี๋ยวเนื้อสับก็ดี

บนถนนสุขุมวิทฝั่งตรงกันข้ามก็มีร้านอร่อยหลายร้าน



ช่างเย้ายวนยั่วน้ำย่อย อะไรเช่นนี้ "ข้าวนึ่งไก่" อาหารประเภทไหน ไทยประยุกต์หรือขอรับ

เคยเห็นการนึ่งข้าวด้วยลังถึง ใส่ข้าวสารเพียงแผ่บางในขันน้ำทรงกระบอกเตี้ยๆ ทำด้วยอลูมิเนียม แล้วหยอดน้ำ นำเข้าลังถึง แล้วเคาะใส่จานให้ข้าวหลุดออกมา เป็นแบบนี้ใช่หรือไม่ครับ


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 16:01


ต่อมาร้านนี้ย้ายไปสุขุมวิทซอย ๘      ประชาชนก็ตามไปกิน

มีสะเต๊ะเนื้อไม้เล็ก ๆ   เย็นตาโฟร้านนี้ดีมาก  เครื่องเพียบ

ม้านั่งเป็นม้าไม้พนักสูง

คนสุขุมวิทล้วนรู้จักหน้ากัน  เห็นหน้าที่ร้านสุริยา   ปากซอยทองหล่อขายขนมไทยและขายความสวยของแม่ค้า

เอเชียบุ้ค   ร้านหนังสือของคุณสุช  สูงสว่างที่ติดกับสถานทูตฟิลิบปีนส์   สมัยโน้นนวนิยายรักหวานจ๋อยราคาสูงสุดเล่มละ

๑๖ บาท  ลดราคาเหลือ ๑๒ บาท   อ่านได้สองวันจบ


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 16:10


       เรื่องที่อยากเล่าก็คือว่าในงานต้อนรับซาร์เรวิชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔    ทรงโปรดเกล้า

คุณครูในโรงเรียนกุลสตรีวังหลังขึ้นไปที่พระราชวังบางปะอิน  เพื่อต้อนรับพูดจาภาษาอังกฤษกับ

แขกเมือง         คุณครูที่เป็นห้วหน้าไปคือ มิสลูซี่  ดันแลป

อีกครั้งหนึ่งที่ได้ทำหน้าที่นี้คือใน พ.ศ. ๒๔๔๑   ในงานต้อนรับเสด็จเคาต์ตูริน   คราวนี้คุณครูสุวรรณอายุ ๒๗ ปีเป็นหัวหน้่า

ผู้ที่ไปด้วยมี ครูแข  ครูมาลี  ครูแว่น  ครูพลอย  และครูเครือวัลย์   


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.ค. 11, 16:18
"เรื่องที่อยากเล่าก็คือว่าในงานต้อนรับซาร์เรวิชเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔"

งานครั้งนี้คงจะหมายถึง พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ เมื่อครั้งยังเป็นมงกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย เคยเห็นภาพถ่ายหมู่ล้นเกล้าฯ พร้อมด้วยพระเจ้าซาร์ฯ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช วชิรุณหิศ และเจ้านายฝรั่งและข้าราชกาไทย ถ่ายหน้าพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร (หลังแรกก่อนไฟไหม้) เป็นภาพที่งดงามมาก

การต้อนรับคงจะจัดใหญ่โต โอ่อ่าน่าดูนะครับ ถึงขนาดเกิดสำนวนในราชสำนักได้ คือ "รับใหญ่ราวกับรับเจ้าซาร์เรวิซ"


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ค. 11, 16:30
เคยเห็นภาพถ่ายหมู่ล้นเกล้าฯ พร้อมด้วยพระเจ้าซาร์ฯ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช วชิรุณหิศ และเจ้านายฝรั่งและข้าราชกาไทย ถ่ายหน้าพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร (หลังแรกก่อนไฟไหม้) เป็นภาพที่งดงามมาก

เชื่อว่าหลายท่านคงจำได้นะคะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14836;image)

พระพุทธเจ้าหลวงพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระบรมโอรสาธิราช เสด็จรับแกรนดยุกซาร์เรวิช  ณ พระราชวังบางปะอิน   พ.ศ. ๒๔๓๔  

คุณเทาชมพูพาไปนอกกรุงเทพฯ อีกแล้


 ;D


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 16:49

การต้อนรับตามธรรมเนียมไทย  โดยให้ชาวบ้านเข้าถวายของพื้นเมืองต่าง ๆ นั้น

พระราชอาคันตุกะโปรดปรานยิ่งนัก   


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 17:05


       ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓  คุณครูสุวรรณได้ออกจากโรงเรียนวังหลังไปอยู่กับสามีที่บ้านตำบลสะพานสว่าง  หัวลำโพง

มิสโคล์ได้เปิดโรงเรียนเยนเฮย์เมมโมเรียล  ที่ตำบลสะพานสว่าง    คุณครูได้เป็นครูใหญ่และทำการสอนด้วย


       งานสำคัญคือคุณครูได้ช่วยสามีเรียบเรียงแบบหัดอ่านหนังสือไทย  พิมพ์เป็นเล่มก่อนที่จะย้ายไปเป็น

ศึกษาธิการมณฑลจันทบุรี        แบบฝึกหัดภาษาไทยเล่มต้นพิมพ์แล้ว ๑๔ ครั้ง  เป็นจำนวน  ๙,๓๕๐, ๐๐๐ เล่ม

เล่มปลายพิมพ์ ๑๑ ครั้งเป็นจำนวน  ๓,๐๑๐,๐๐๐ เล่ม




กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ค. 11, 17:09

การต้อนรับตามธรรมเนียมไทย  โดยให้ชาวบ้านเข้าถวายของพื้นเมืองต่าง ๆ นั้น

พระราชอาคันตุกะโปรดปรานยิ่งนัก  

น้ำใสใจสยาม : การต้อนรับภาคพสกนิกร
 
“พระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้มีโอกาสต้อนรับพระราชอาคันตุกะที่ประเสริฐยิ่งนัก ฉะนั้นพวกเราจงพากันถวายการต้อนรับอย่างดีที่สุดเท่าที่จะสามารถแสดงออกมาได้”
 
ข้อความข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลสยามได้บอกกล่าวแก่คนในปกครองถึงการมาเยือนของมิตรต่างแดนคนสำคัญ และได้รับการบันทึกไว้ในรายงานการเดินทางชื่อ “การเสด็จมาเยือนประเทศสยามของพระเจ้านิโคลัสที่๒ แห่งรัสเซีย เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารรัสเซีย ค.ศ. ๑๘๙๐-๑๘๙๑” รจนาโดยเจ้าชาย อี ออค ทอมสกี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตามการเสด็จสู่ตะวันออกของมกุฎราชกุมารรัสเซีย เจ้าชายออคทอมสกี้ได้ทรงบันทึกถึงความประทับใจอย่างลึกซึ้งต่อการแสดงออกอย่างบริสุทธิ์และจริงใจของราษฏรไทยที่พากันมาถวายการต้อนรับกันอย่างคับคั่ง สิ่งละพันอันละน้อยที่ชาวบ้านติดไม้ติดมือมาถวายมหามิตรแห่งเจ้าเหนือหัวของตน เป็นสิ่งที่ชาวรัสเซียเห็นว่าเป็นของขวัญแท้ เพราะเป็นการให้สิ่งที่ดีที่สุดที่ตนมีจริง ๆ

 ....ราษฏรกระบวนแห่ประมาณสามพันคนเศษเดินเป็นตับ เป็นพวกกันตามชายหญิง มีของถวายซาร์ดวิตส์ คนละสิ่งสองสิ่งแปลก ๆ กันเป็นอเนกปริยาย ทั่วทุกคนคือกระบวนรวงเข้าทำเป็นฉัตรแลชะลอมบรรจุผลไม้แลกรงสัตว์ต่าง ๆ มีนกกระต่าย นกกินปลา แลอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งของใช้ เช่น หมอนขวาน โม่แป้ง เป็นต้นก็มี ตั้งเต็มไปทั้งลานพระที่นั่งแลในสนาม คนแห่ คนดูแน่นเบียดยัดกันอย่างยิ่ง... (สยามบันทึก)

 
มีฝูงชนชาวบ้านทั้งชายและหญิงอายุต่าง ๆ กัน พากันถือของขวัญเข้ามาถวายด้วยความจริงใจ บางคนก็มีกรงสัตว์หรือนก บ้างก็มีผลไม้หรือผักต่าง ๆ บางคนก็มีผ้าทอพื้นบ้าน บ้างก็มีหมอนที่มีรูปร่างเป็นเหลี่ยมเหมือนปิรามิด ประชาชนเหล่านี้เข้ามาอย่างเงียบสนิท ไม่มีเสียงอะไรเลยทั้ง ๆ ที่มีจำนวนราวสองพันคน เข้ามาอยู่ตรงหน้าเราเต็มไปหมด ต่อจากนั้นก็พากันก้มลงกราบถวายความเคารพ วางของถวายลงบนพื้นแล้วก็พากันนั่งราบด้วยอาการสงบ ทำให้คนที่มาทีหลังต้องรีบวางของของตนเองลงในที่อันจำกัด เท่านี้ก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับองศ์มกุฎราชกุมาร...ของที่ชาวบ้านนำมาถวายเป็นของพื้น ๆ แต่ด้วยการแสดงออกทำให้สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้มีค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้ ท่ามกลางสีสันต่าง ๆ ของบรรดาผ้าห่มผ้านุ่งของชาวบ้านนี้ และท่ามกลางรอยยิ้มอย่างจริงใจออกมาจากใบหน้าของพวกเขา ทำให้บรรดานกและสัตว์ทั้งหลายต่างมีความสำคัญขึ้นมาด้วยทีเดียว นกที่เขาเอามาถวายนั้นมีอยู่ชนิดหนึ่งนกตัวเล็ก ๆ มีขนหลากสี และขับได้เป็นเสียงต่าง ๆ มีหนูตัวเล็ก ๆ ไม่มีหาง นอนไม่กระดุกกระดิกอยู่ในกรง ซึ่งดูใหญ่กว่าตัวมันมาก นกแก้วสีเขียวที่ตรงจงอยปากมีลายพาดสีดำคล้ายหนวด ดูท่าทางพยายามจะบินออกไปหาอิสรภาพเหมือนกัน มีนกเค้าแมวกระพือปีกพึบพั่บหนีไปได้ ระหว่างนั้น บรรดาผู้คนที่จงรักภักดีต่างก็หมอบราบไม่ไหวติงอยู่รอบ ๆ เรา ช่างเป็นภาพที่น่าดูที่ไม่อาจลืมเลือนได้เลย (รัสเซียบันทึก)

http://j2.rtarf.mi.th/article/russia_final.htm


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ค. 11, 17:53
อ้างถึง
นกที่เขาเอามาถวายนั้นมีอยู่ชนิดหนึ่งนกตัวเล็ก ๆ มีขนหลากสี และขับได้เป็นเสียงต่าง ๆ

คุณเพ็ญชมพูคิดว่าเป็นนกอะไรคะ?


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.ค. 11, 20:43
นกแต้วแร้ว  (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=channoi&month=17-05-2006&group=4&gblog=43) (Pitta moluccensis) กระมัง ชื่อฟังดูโบราณไหม  ;D


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 22:52

เมื่อคุณพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์  และ คุณครูสุวรรณย้ายไปจังหวัดจันทบุรีในปั ๒๔๕๔ นั้น  เด็กผู้ชายยังไปเรียนหนังสือที่วัด

ส่วนเด็กหญิงก็เรียนกันตามบ้าน    คุณพระได้ทำเรื่องขอที่ดินของวัดกลางสำหรับสร้างโรงเรียน    ต่อมาโรงเรียนที่ได้สร้างขึ้นในบริเวณของวัดกลาง

คือโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลจันทบุรี  เบญจมราชูทิศ

โรงเรียนหญิงเปิดทำการสอนในปี ๒๔๖๑  ใช้ศาลารัฐบาลหลังเก่าที่ตั้งอยู่เหนือศาลาท่าหลวง

ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนศรียานุสรณ์ซึ่งสร้างใหม่


ในปี ๒๔๖๙  คุณพระออกจากราชการเนื่องจากดุลยภาพ

ท่านทั้งสองและบุตรชายจึงกลับมาพระนคร  ไปอยู่ที่บ้านสวัสดิลักษณ์หลังวัดหงส์รัตนาราม

คุณพระอายุเพียง ๕๑ ปีเศษ  ไปสอนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นเวลาสองปี  แล้วไปช่วยพระอาจวิทยาคม

(ดร. ยอร์ช  แมคฟาร์แลนด์) ทำพจนานุกรม ไทย -  อังกฤษ ที่บริษัทแมคฟาร์แลนด์ ถนนอุนากรรณ  จังหวัดพระนคร

ท่านถึงแก่กรรม ในปี ๒๔๘๐


คุณครูสุวรรณถึงแก่กรรม ในปี ๒๕๐๖   อายุได้ ๙๑ ปีกว่า


       คุณรำไพ  ลูกสใภ้ของท่านเล่าว่า   คุณแม่มีคำพูดที่เพราะเสมอ  พูดเบาๆ  ไม่ชอบพูดเสียงดัง

เมื่อหลาน ๆ กลับจากโรงเรียนก็เข้ามากราบคุณย่า   ในเวลานั้นท่านไม่สามารถจำอะไรได้แล้ว

่ท่านถามหลานว่าใคร   หลานก็บอกว่าตนชื่อนั้นชื่อนี้   เด็กๆก็ถามท่านว่าชื่ออะไร  ท่านก็เฉย ๆ

หลาน ๆ ก็ถามว่า "What is your name?"      ท่านก็จะยิ้มแล้วตอบทันทีว่า

"My name is  ครูสุวรรณ จ๊ะ"      หลาน ๆ ชอบใจกันใหญ่




กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.ค. 11, 23:18


เรื่องของกำเนิดการศึกษาในโรงเรียนกุลสตรีวังหลังนั้น   เป็นเรื่องยืดยาวและเกี่ยวพันกับหลายบุคคล

เหลือกำลังที่ดิฉันจะนำมากล่าวถึงได้   หนังสือพอหาได้ทั่วไป   สหายในเรือนไทยสองรายแจ้งมาเคยอ่านแล้ว


            จึงขอย่อความบางตอนที่อยากเล่าให้สหายทั้งหลายฟัง เพราะเป็นเรื่องที่ติดใจ  อ่านแล้วไม่ลืม  และเป็นเรื่องน่าอ่าน

คัดมาจากเรื่องของ คุณ ตาด  ประทีปะเสน  ที่เรียบเรียงไว้ใน พ.ศ. ๒๔๙๑

ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาด  เป็นความผิดของดิฉันแต่คนเดียว  กราบขออภัยต่อทายาทของท่านด้วย



"สตรีอเมริกันชื่อมิสแอนเดอร์ซันเป็นอาจารย์คนแรก   จัดการและสอนอยู่ปีเดียวก็แต่งงานกับ อาจารย์ อ.บ. นอยส์แล้วย้ายไปอยู่กวางตุ้ง

มิสซิสเฮ้าส์สุขภาพไม่ดี  ย้ายกลับเมืองไปกับสามี

มิสกริมสะเต็ด  มาอยู่ได้ปีเดียวต้องกลับอเมริกา

มิสคอแซนมาแทน  แต่งกับอาจารย์แมคคอลี่ในปีที่มา

สภามิชช้่นส่งมิสคอลด์เวลเข้ามา   โรงเรียนเจริญญแต่รายรับไม่ดี  เธอแต่งงานกับอาจารย์คัลเบิร์ตซันในไม่กี่เดือนที่มาถึง

มิสฮาตเวลกับมิสออมสะเต็ด มารับงานโรงเรียนต่อไป


       สิ่งที่เชิดหน้าชูตาคือนักเรียนหญิง ๓๐ คน  พูดภาษาอังกฤษได้ฟุตฟิตฟอตแฟต   ทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังทึ่งอยู่มาก ๆ ว่าเป็นเด็กฉลาด

คมคายหนักหนา"



กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: แพรว ที่ 01 พ.ย. 11, 01:23
 สวัสดีค่ะ แพรวเพิ่งสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ ขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ แพรวเป็นหลานทวดของครูสุวรรณค่ะ พอดีเห็นหัวข้อนี่เลยต้องแวะเข้ามาทักทายกันค่ะ กลางเดือนหน้านี้โรงเรียนวัฒนาจะมีการแสดงเกี่ยวกับประวัติโรงเรียน ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับคุณทวดด้วยค่ะ นาตาลี เจียรวนนท์แสดงเป็นคุณครูสุวรรณ ใครสนใจก็ขอเชิญนะค่ะ


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 11, 09:15
งานนี้กระมัง  ดอกไม้แห่งสยาม วังหลัง วัฒนา ๕ แผ่นดิน เดอะ มิวสิคัล (http://web.wattana.ac.th/pta53/NewsDetails.asp?nid=96)

มีภาพบุคคลอยู่ ๕ ท่าน

เป็นใครกับบ้าง มีภาพคุณทวดของคุณแพรวบ้างไหมเอ่ย

 ???


กระทู้: นางสุวรรณ วิภาชน์วิทยาสิทธิ์ (๒๔๑๔ - ๒๕๐๖)
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 01 พ.ย. 11, 10:34


       สวัสดีค่ะ  คุณแพรว

       ประวัติบุคคลที่ผ่านสายตา  กลายเป็น ตัวตนจริง ๆ ขึ้นมา

       เป็นเกียรติ์อย่างยิ่งที่ทายาทเจ้าของประวัติได้แวะมาอ่านเรื่องราวของคุณครูสุวรรณในเรือนไทย

       หนังสืออนุสรณ์ของประเทศเราเป็นเอกลักษณ์ไม่มีประเทศใดมีเหมือน

       ดิฉันพยายามจะสะสมหนังสืออนุสรณ์ไว้   โดยคัดจากบุคคลที่น่าสนใจ  โดยเฉพาะสุภาพสตรี

ไม่ได้มองที่คำนำหน้านาม หรือนามสกุลแต่อย่างเดียว      ประวัติและการดำเนินชีวิตของท่านบอกอะไรหลายอย่างกับพวกเราคนอ่านค่ะ

ความสำเร็จของฝ่ายสุภาพบุรุษย่อมมาจากการสนับสนุนอันเข้มแข็งของสุภาพสตรีทั้งสิ้น