เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ปิ่น ที่ 20 มิ.ย. 15, 12:36



กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 20 มิ.ย. 15, 12:36
สวัสดีค่ะ อยากทราบข้อมูลว่าในอดีต ช่วงสมัยรัชกาลที่5 ถ้าคนที่เดินทางด้วยเรือจากเรือเหนือ เวลามาถึงกรุงเทพแล้ว โดยมากเขาขึ้นที่ท่าน้ำไหนคะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มิ.ย. 15, 15:30
สงสัยจะเอาไปเขียนนิยายย้อนยุค
ฝากคำถามนี้ต่อถึงท่านผู้รู้ในเรือนไทย    ดิฉันเองนึกถึงท่าพระจันทร์   
ถัดจากท่าพระจันทร์ มีท่าน้ำเก่าแก่ติดๆกันอีกแห่ง  เคยไปนั่งกินอาหารอยู่ในร้านติดกับท่านี้แหละค่ะ นึกชื่อไม่ออกแล้ว  แต่ไม่ใช่ท่าช้างนะคะ  ใครนึกออกบ้าง?


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 20 มิ.ย. 15, 15:59
ใช่แล้วค่ะอาจารย์ เดาถูกเป๊ะเลยค่ะ ท่าน้ำท่าเรือก็ไม่รู้จัก เห็นท่าน้ำเก่าแก่มีหลายท่า ทั้งท่าเตียน ท่ามหาราช แต่ไม่รู้ว่าท่าไหน รบกวนเพื่อนสมาชิกด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มิ.ย. 15, 16:07
ท่าเตียน ท่าช้าง ท่ามหาราช ท่าพระจันทร์ล้วนแต่เป็นท่าน้ำเก่าแก่ ในรัชกาลที่ 5 มีมาแล้วแน่ๆ
มันขึ้นกับว่า สถานที่ที่ตัวละครจะไป มันอยู่ใกล้ท่าน้ำไหนด้วยค่ะ

ถ้าหากว่าพระเอกล่องเรือมาจากทางเหนือ จะไปหานางเอกที่บ้านอยู่ท้ายวัดโพธิ์  ขึ้นที่ท่าเตียนก็ถูกต้องแล้ว  ดีกว่าไปขึ้นท่าพระจันทร์แล้วเดินทางผ่านถนนพระจันทร์ ออกสนามหลวงมาอีกไกลกว่าจะถึง
แต่ถ้านางเอกมีบ้านอยู่แถวถนนราชดำเนิน   ขึ้นท่าพระจันทร์ก็ได้นะคะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 มิ.ย. 15, 18:44
ถ้าเป็นช่วงก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก  ขบวนเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะมาเทียบท่าแถวๆ วังหลัง  เพราพเรือนพักรับรองที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้อยู่ใกล้บ้านหมอบรัดเล  ที่ฝั่งธนบุรี

ช่วงหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกและมีการสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว  เปลี่ยนมาขึ้นท่าพายัพที่ศรีย่านครับ  เพราะโปรดให้สร้างบ้านพักรับรองเจ้านายฝ่ายเหนือไว้ที่สี่แยกศรีย่าน  และพระราชทานที่ดินให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลดนพรัฐ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี) สร้างวังก็ริมถนนพายัพทางลงท่าพายัพฝั่งทิศใต้ครับ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 20 มิ.ย. 15, 19:31
 
ถ้าเป็นช่วงก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก  ขบวนเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะมาเทียบท่าแถวๆ วังหลัง  เพราพเรือนพักรับรองที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้อยู่ใกล้บ้านหมอบรัดเล  ที่ฝั่งธนบุรี

ช่วงหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกและมีการสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว  เปลี่ยนมาขึ้นท่าพายัพที่ศรีย่านครับ  เพราะโปรดให้สร้างบ้านพักรับรองเจ้านายฝ่ายเหนือไว้ที่สี่แยกศรีย่าน  และพระราชทานที่ดินให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลดนพรัฐ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี) สร้างวังก็ริมถนนพายัพทางลงท่าพายัพฝั่งทิศใต้ครับ

รบกวนคุณวีมีช่วยบอกรายละเอียดชื่อท่าน้ำบริเวณวังหลังและเรือนรับรองใกล้บ้านหมอบรัดเลได้ไหมคะ ขอบพระคุณมากค่ะ ข้อมูลตรงนี้ไม่เคยเห็นเลยค่ะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 20 มิ.ย. 15, 19:37
ท่าเตียน ท่าช้าง ท่ามหาราช ท่าพระจันทร์ล้วนแต่เป็นท่าน้ำเก่าแก่ ในรัชกาลที่ 5 มีมาแล้วแน่ๆ
มันขึ้นกับว่า สถานที่ที่ตัวละครจะไป มันอยู่ใกล้ท่าน้ำไหนด้วยค่ะ

ถ้าหากว่าพระเอกล่องเรือมาจากทางเหนือ จะไปหานางเอกที่บ้านอยู่ท้ายวัดโพธิ์  ขึ้นที่ท่าเตียนก็ถูกต้องแล้ว  ดีกว่าไปขึ้นท่าพระจันทร์แล้วเดินทางผ่านถนนพระจันทร์ ออกสนามหลวงมาอีกไกลกว่าจะถึง
แต่ถ้านางเอกมีบ้านอยู่แถวถนนราชดำเนิน   ขึ้นท่าพระจันทร์ก็ได้นะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ เป็นข้อมูลให้ดิฉันได้ไว้อ้างอิงเลยค่ะ เนื่องด้วยไม่ได้อยู่ฝั่งพระนครจึงไม่รู้ภูมิศาสตร์ทางนู้น


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มิ.ย. 15, 20:23
ถ้านิยายของคุณเกิดก่อนพ.ศ. 2442   ถนนราชดำเนินยังไม่มีนะคะ  นางเอกต้องอยู่ที่อื่น


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: prahnmongkol ที่ 20 มิ.ย. 15, 20:31
ติดตาม


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 20 มิ.ย. 15, 20:38
ถ้านิยายของคุณเกิดก่อนพ.ศ. 2442   ถนนราชดำเนินยังไม่มีนะคะ  นางเอกต้องอยู่ที่อื่น

2428 เป็นต้นไปค่ะอาจารย์


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มิ.ย. 15, 20:54
 2428 เป็นปีที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้ายเสด็จทิวงคต 


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: พีรศรี ที่ 20 มิ.ย. 15, 23:56
ในพ.ศ. ๒๔๓๐ ทางการมีแผนจะซ่อมแซมท่าน้ำสองฝั่งแม่น้ำ รวม ๑๓ แห่ง ดังนี้ครับ
ฝั่งตะวันออก (ฝั่งพระนคร) : ท่าช้างวังหน้า / ท่าพระ / ท่าเตียน / ท่าวัดจักรวรรดิ / ท่าศาลเจ้าเก่า / ท่าวัดสัมพันธวงศ์ / ท่าศาลเจ้าปุนเถ้าก๋ง
ฝั่งตะวันตก (ฝั่งธนบุรี) : ท่าวัดดุสิดาราม / ท่าข้างบ้านเจ้าเชียงใหม่ / ท่าวัดระฆังโฆสิตาราม / ท่าวัดอรุณ / ท่าวัดกัลยาณมิตร / ท่าปากคลองสาน
จำนวนท่าน้ำจริงๆ มีมากกว่านี้แน่นอน อันนี้แค่ท่าน้ำที่สภาพทรุดโทรม ควรซ่อมแซม นะครับ
ที่มา : หจช.ร.๕ น.๑.๑/๕


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มิ.ย. 15, 10:46
สวัสดีค่ะ อยากทราบข้อมูลว่าในอดีต ช่วงสมัยรัชกาลที่5 ถ้าคนที่เดินทางด้วยเรือจากเรือเหนือ เวลามาถึงกรุงเทพแล้ว โดยมากเขาขึ้นที่ท่าน้ำไหนคะ
ขึ้นอยู่กับว่าเรือเหนือบรรทุกสิ่งอะไรมาค้าขายครับ และหากเป็นเรือขุนนาง ข้าราชการก็จะต่างกันไป แต่ในภาพเก่าเคยเห็นกลุ่มเรือหางแมงป่องจอดท่าอยู่บริเวณฝั่งทางบ้านเจ้าเชียงใหม่ คงเป็นชุมชนชาวเหนือพี่คุ้นเคย

แค่สำหรับท่าเรือทางแถวท่าพระจันทน์นั้นเคยทราบว่า ท่าเรือแถวนี้เดิมเป็นท่าเรือของชาวมุสลิมที่ซ่อนตัวอยู่ด้วย


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 21 มิ.ย. 15, 12:15
การเดินทางจากหัวเมืองทางเหนือมายังพระนคร ช่วง พ.ศ. ๒๔๒๘ แล้วแต่ว่ามาด้วยกิจใด
หากมากับคณะหมอสอนศาสนา ก็อาจจะขึ้นที่ท่าโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง
หากมากับหมู่เรือเจ้าทางเหนือ ก็ยังไม่มาขึ้นท่าเจ้าเชียงใหม่ที่วังหลัง เพราะบ้านเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ปลูกสร้างที่นั่น
หากมากับพวกค้าไม้ น่าจะมีปลายทางแถวโรงเลื่อย เช่น แถบบางอ้อ เช่น ท่าน้ำวัดละมุด แถบล่าง คลองสานลงไปถึงถนนตก
หากเดินทางเนื่องจากกลับจากราชการ หรือ ทำการค้าอื่น ก็น่าจะขึ้นที่ท่าน้ำบ้านของผู้เดินทาง ทั้งท่าน้ำริมแม่น้ำและในคลอง


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 21 มิ.ย. 15, 15:07
สวัสดีค่ะ พอดีเมื่อคืนลองค้นข้อมูลจาก จดหมายเหตุรายวัน ในรัชกาลที่ 5 ช่วงปีพ.ศ. 2429 มีพิธีฉลองการสถาปนาของพระบรมโอรสาธิราช พระองค์แรกของสยาม ตอนแรกค้นข้อมูลเข้าใจว่า พระเจ้าเชียงใหม่เดินทางมาพร้อมกับเจ้าดารารัศมีมาร่วมพิธีและถวายเจ้าดารารัศมีให้เข้ารับราชการในวังหลัง แต่ปรากฏพระนาม พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งแต่ก่อนพิธีจริงในวันจันทร์ แรม๒ค่ำ เดือน๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘

หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นพิธี วันพุธ ขึ้น๑๐ค่ำ เดือน๓ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ ปรากฏข้อมูลในจดหมายเหตุว่า "พระยาศรีนำเจ้าราชวงศ์เมืองเชียงใหม่... ซึ่งลงมาในการราชพิธีลงสรงไม่ทัน...เข้าเฝ้า" ตรงนี้ ไม่แน่ใจว่า เจ้าราชวงศ์ที่กล่าวถึง คิดว่าน่าจะเป็น เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ ณ เชียงใหม่) ในหม่อมคำ มากกว่าเป็น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ใน เจ้ารินคำ นะคะ เพราะเวลาไม่ตรงกัน ขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องว่า "เจ้าน้อยสุริยะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "เจ้าราชบุตร" เมื่อปี พ.ศ. 2432[1] เป็น "เจ้าราชวงศ์" ในปี พ.ศ. 2436 และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น "เจ้าอุปราช" ในปี พ.ศ. 2441 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษ์เกษตร์ วรฤทธิ์เดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐสัตยธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่"

จดหมายเหตุ วันพฤหัส ขึ้น ๑๑ค่ำ เดือน๓ ปีจอ อัฐศก ๑๒๔๘ ได้กล่าวถึงเจ้าดารารัศมีว่า "วันนี้เจ้าดารารัศมี ธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระเจ้าเชียงใหม่ถวาย โปรดให้เรือหลวงไปรับ"

จากข้อมูลที่ได้มา ก็เลยไม่แน่ใจว่า เจ้าเชียงใหม่กับเจ้าดารารัศมีเดินทางมากรุงเทพพร้อมกัน หรือว่า เจ้าดารารัศมีเดินทางมาพร้อมเจ้าราชวงศ์ พี่/น้องชายต่างมารดา หรือเจ้าดารารัศมีเสด็จมาองค์เดียว

พอดีเรื่องทีเขียนจะกล่าวถึงขบวนเสด็จของเจ้าดารารัศมีคราวมาร่วมพิธีลงสรงของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง คงจะต้องเลี่ยง เดี๋ยวผิดขึ้นมาจะแย่


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มิ.ย. 15, 15:13
ถ้าคุณ V_Mee เข้ามาอ่าน น่าจะไขข้อข้องใจได้ค่ะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 21 มิ.ย. 15, 16:53
สำหรับชีวิตชาวบ้านร้านตลาด แนะนำอ่านหนังสือเรื่อง เด็กบ้านสวน มีเขียนไว้บทท้ายๆ หรือไม่ก็อ่าน ฟื้นความหลังของพระยาอนุมานฯ มีแทรกอยู่ตลอดเรื่องครับ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 มิ.ย. 15, 18:10
เรื่องพระราชชายาฯ ลงมาถวายตัวทำราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  เจ้าแก้วนวรัฐฯ ผู้เป็นเชษฐาได้เรียบเรียงไว้ในพระประวัติพระราชชายาฯ ที่ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชชายาฯ ว่า

"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย

เรื่องนี้อธิบายได้ว่า การเดินทางขึ้นล่องกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ในยุคนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก  เพราะหนทางไกลและต้องผขญโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นชิงทรัพย์สินในระหว่างเดินทางอยู่เนืองๆ 

ส่วนเจ้าราชวงศ์ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนั้น  ไม่แน่ใจว่าจะใช่เจ้าน้อยขัติยะหรือไม่  เพราะพบในเอกสารจดหมายเหตุหลายฉบับเหมือนกันที่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเรียกเจ้าน้อยขัติยะว่า เจ้าราชวงศ์  อาจจะเป็นการที่พระเจ้าเชียงใหม่ออกประทวนตั้งให้เป็นเจ้าราชวงศ์แล้ว  แต่ในเวลานั้นยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชวงศ์  จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงมีบันทึกว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าราชบุตร (น้อยขัติยะ) เป็น เจ้าราชวงศ์  และในคราวนั้นได้ำระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าสุริยวงศ์ (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชบุตร 

เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัติยะ) คงว่าที่อุปราชนครเชียงใหม่มาจนถึงอนิจกรรมในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕  แล้วต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าราชบุตร (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชวงศ์  แล้วเลื่อนเป็นเจ้าอุปราช ผู้รั้งเจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๐  เลื่อนเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๔


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 21 มิ.ย. 15, 22:47
เรื่องพระราชชายาฯ ลงมาถวายตัวทำราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  เจ้าแก้วนวรัฐฯ ผู้เป็นเชษฐาได้เรียบเรียงไว้ในพระประวัติพระราชชายาฯ ที่ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชชายาฯ ว่า

"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย

เรื่องนี้อธิบายได้ว่า การเดินทางขึ้นล่องกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ในยุคนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก  เพราะหนทางไกลและต้องผขญโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นชิงทรัพย์สินในระหว่างเดินทางอยู่เนืองๆ 

ส่วนเจ้าราชวงศ์ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนั้น  ไม่แน่ใจว่าจะใช่เจ้าน้อยขัติยะหรือไม่  เพราะพบในเอกสารจดหมายเหตุหลายฉบับเหมือนกันที่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเรียกเจ้าน้อยขัติยะว่า เจ้าราชวงศ์  อาจจะเป็นการที่พระเจ้าเชียงใหม่ออกประทวนตั้งให้เป็นเจ้าราชวงศ์แล้ว  แต่ในเวลานั้นยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชวงศ์  จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงมีบันทึกว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าราชบุตร (น้อยขัติยะ) เป็น เจ้าราชวงศ์  และในคราวนั้นได้ำระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าสุริยวงศ์ (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชบุตร 

เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัติยะ) คงว่าที่อุปราชนครเชียงใหม่มาจนถึงอนิจกรรมในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕  แล้วต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าราชบุตร (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชวงศ์  แล้วเลื่อนเป็นเจ้าอุปราช ผู้รั้งเจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๐  เลื่อนเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๔

ขอบคุณมากค่ะ แต่ดิฉันยังสงสัยค่ะ คือดิฉันเจอข้อความ ลงวันที่เป็น วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ กล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆมาเข้าเฝ้าในช่วงที่มีการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับวันที่ที่คุณ V_Mee แจ้งมานะคะ

ไม่แน่ใจว่า มีความคลาดเคลื่อนหรือเปล่าคะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 21 มิ.ย. 15, 23:11
ดังข้อความที่ยกมาข้างต้นค่ะ พอมาเจออีกที่นึงก็เลยงงว่า ที่ให้จัดเรือหลวงไปรับ คือรับจากที่ไหน แล้วได้เสด็จลงมากรุงเทพฯพร้อมกันหรือไม่



กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 15, 06:26
มีเพียงภาพเรือที่ใช้เดินทางไปตอนเหนือ
คือเรือหางแมงป่องหรือเรือลาว
เราเคยเรียกกลุ่มตอนเหนือว่าลาวเฉียง

เป็นภาพเรือลาวจากเหนือมาจอดจริงๆประมาณปี ๒๔๓๐ (+-)
ตำแหน่งที่จอดดูไม่ออกว่าตรงไหน
เป็นแถวฝั่งธนบุรีอาจจะอยู่ข้างศิริราช ตามแผนที่วังเจ้าลาว
คงจะก่อนที่จะย้ายบ้านรับรองเจ้าทางเหนือไปอยู่แถวท่าเขียวไข่กา

เป็นท่าเฉพาะของเจ้าทางเหนือ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 22 มิ.ย. 15, 06:31
ที่ไม่ตรงกันก็เพราะ พระราชชายาฯ ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ นั้น ออกเดินทางจากเชียงใหม่ในวันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ (ปฏิทินทางเหนือเจะเร็วกว่าปฏิทินเมืองใต้ไป ๒ เดือน  เช่น วันลอยกระทงวันเพ็ญเดือน ๑๒  ทางเหนือจะตรงกับวันยี่เป็ง หรือวันเพ็ญเดือนยี่)  ซึ่ง
ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ

แต่จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนั้นจดบันทึกตามปฏิทินกรุงเทพฯ  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงอธิบายว่า ทางเหนือนั้นลืมนับอธิกมาศไป ๒ ปี  เดือนจึงเคลื่อนกันไป ๒ เดือน  ฉะนั้นที่จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันระบุว่า พระราชทานเรือหลวงไปรับเจ้าดารารัศมีในวันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีจอ อัฐศก  จึงตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๙ (สมัยนั้นยังเปลี่ยนปีกันในวันที่ ๑ เมษายน)


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 15, 07:01
อ้างถึง
"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย"
๑๙  พฤศจิกายน  ๒๔๒๙ ออกเดินทางจากเชียงใหม่ไงครับ ขาล่อง เรือตามน้ำมาใช้เวลาน้อยกว่าขาขึ้นมาก ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ พระเจ้ากาวิละ นำขบวนเรือเครื่องบรรณาการ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ล่องไปตามแม้น้ำปิง ใช้เวลา ๒๐ วัน จึงถึงกรุงเทพ ถ้าเที่ยวนี้ใช้เวลาเท่ากัน ก็มาถึงก่อนวันเข้าเฝ้าทันอย่างฉิวเฉียด

อ้างถึง
ขอบคุณมากค่ะ แต่ดิฉันยังสงสัยค่ะ คือดิฉันเจอข้อความ ลงวันที่เป็น วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ กล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆมาเข้าเฝ้าในช่วงที่มีการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับวันที่ที่คุณ V_Mee แจ้งมานะคะ
วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๓๐ เป็นวันที่พระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว  ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่อาจารย์วรชาติเขียนไว้ดีนี่ครับ ทำไมหรือ ?

อ้างถึง
ดังข้อความที่ยกมาข้างต้นค่ะ พอมาเจออีกที่นึงก็เลยงงว่า ที่ให้จัดเรือหลวงไปรับ คือรับจากที่ไหน แล้วได้เสด็จลงมากรุงเทพฯพร้อมกันหรือไม่
วันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธุ์  ๒๔๓๐ วันนี้เจ้าดารารัศมี ธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โปรดให้จัดเรือหลวงไปรับ ก็รับจากจวนที่พระเจ้าเชียงใหม่พาธิดามาพำนักที่กรุงเทพ แถวๆโรงพยาบาลศิริราชเดี๋ยวนี้ไงครับ  ไม่ได้ไปรับถึงเชียงใหม่หรอก


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 22 มิ.ย. 15, 07:09
แผนที่ข้างบน มีทางรถไฟสายใต้แล้ว จึงไม่ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๓
บ้านเจ้าเชียงใหม่ ปลูกสร้างหลัง พ.ศ. ๒๔๓๕ จำปีแน่ๆ ไม่ได้ 
เมื่อพระราชชายาเสด็จลงมากรุงเทพฯ บ้านพักเจ้าทางเหนือไม่ได้อยู่ที่ศิริราช
เคยอ่านพบนานแล้ว ตอนนี้จำไม่ค่อยได้ ถ้าจำไม่ผิดอยู่บริเวณบางยี่ขัน (ไม่แน่ใจ)

หากร่วมสมัยกับหมอบรัดเลย์ หมอมีบันทึกว่าพักอยู่แถววัดอรุณ แต่ก็ช่วงเวลาห้างกันมาก


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 22 มิ.ย. 15, 07:10
แนบภาพบ้านเจ้าเชียงใหม่ที่บริเวณศิริราชมาให้ชม


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 22 มิ.ย. 15, 09:28
คตินิยมของชาวสยามและล้านนาในอดีต  คนต่างบ้านต่างเมืองที่มาเยี่ยมเยือนกันนั้นจะให้พำนักอยู่นอกกำแพงเมือง  กรณีเจ้าเชียงใหม่นี้มีบันทึกของศาสนาจารย์แมคกิลวารีว่า เวลาพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ลลงมาเฝ้าฯ นั้น  โปรดให้จัดเรือนหลวงรับรองที่บางยี่ขัน บริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งสะดวกในการจอดเรือ

ส่วนข้าราชการสยามที่ไปประจำที่เชียงใหม่นั้น  พระเจ้าอินทวิชยานนท์ก็จัดที่ใกล้กับข่วงเมรุ (ลานเผาศพเจ้านายเมืองเชียงใหม่) ริมแม่น้ำปิงให้เป็นที่พำนักของข้าราชการไทย


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 22 มิ.ย. 15, 09:57
อ้างถึง
"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย"
๑๙  พฤศจิกายน  ๒๔๒๙ ออกเดินทางจากเชียงใหม่ไงครับ ขาล่อง เรือตามน้ำมาใช้เวลาน้อยกว่าขาขึ้นมาก ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ พระเจ้ากาวิละ นำขบวนเรือเครื่องบรรณาการ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ล่องไปตามแม้น้ำปิง ใช้เวลา ๒๐ วัน จึงถึงกรุงเทพ ถ้าเที่ยวนี้ใช้เวลาเท่ากัน ก็มาถึงก่อนวันเข้าเฝ้าทันอย่างฉิวเฉียด

อ้างถึง
ขอบคุณมากค่ะ แต่ดิฉันยังสงสัยค่ะ คือดิฉันเจอข้อความ ลงวันที่เป็น วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ กล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆมาเข้าเฝ้าในช่วงที่มีการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับวันที่ที่คุณ V_Mee แจ้งมานะคะ
วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๓๐ เป็นวันที่พระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว  ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่อาจารย์วรชาติเขียนไว้ดีนี่ครับ ทำไมหรือ ?

อ้างถึง
ดังข้อความที่ยกมาข้างต้นค่ะ พอมาเจออีกที่นึงก็เลยงงว่า ที่ให้จัดเรือหลวงไปรับ คือรับจากที่ไหน แล้วได้เสด็จลงมากรุงเทพฯพร้อมกันหรือไม่
วันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธุ์  ๒๔๓๐ วันนี้เจ้าดารารัศมี ธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โปรดให้จัดเรือหลวงไปรับ ก็รับจากจวนที่พระเจ้าเชียงใหม่พาธิดามาพำนักที่กรุงเทพ แถวๆโรงพยาบาลศิริราชเดี๋ยวนี้ไงครับ  ไม่ได้ไปรับถึงเชียงใหม่หรอก


ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์อธิบายได้กระจ่างมากเลยค่ะ

ถ้าไม่ได้มาตั้งกระทู้ก็คงไม่รู้รายละเอียดมากขนาดนี้ คงจะยังงมเข็มแบบงูๆปลาๆอยู่ในมหาสมุทรา

ต้องขอบคุณ อาจารย์เาทชมพู อาจารย์V_Mee อาจารย์นวรัตน์ รวมถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่กรุณาให้ความช่วยเหลือให้ข้อมูลด้วยนะคะ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 22 มิ.ย. 15, 12:05
จากเอกสารที่อาจารย์ V_Mee ได้กล่าวถึงในกระทู้ ว่าด้วย พระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เรียบเรียงโดยเจ้าแก้วนวรัฐ นั้น ดิฉันได้ค้นเจอ เอกสารออนไลน์ หนังสือหายากของทางหอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงของลงลิงค์ไว้ เผื่อผู้พบเห็นในกระทู้นี้สนใจศึกษาค่ะ

http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book/av_00115/ (http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book/av_00115/)


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 มิ.ย. 15, 12:12
ถ้าคุณจะเขียนถึงเจ้าดารารัศมี ในกระทู้เก่าๆก็เรือนไทยก็มีเอ่ยถึงอยู่บ้างค่ะ    ส่วนรายละเอียดนั้น ท่านผู้รู้ในเรือนไทยมีอยู่หลายท่าน
ถ้าท่านว่างก็คงจะมาตอบคำถามคุณได้อีก

ดิฉันรู้เรื่องเจ้าดารารัศมีน้อยมาก   ความทรงจำเท่าที่นึกได้คือ จำเจ้าพรรณพิสิฐพระญาติของท่านได้   ท่านชราแล้วในตอนนั้น รูปร่างผอมบาง ท่านเล่าว่าเคยอยู่ในคุ้มของเจ้าดารารัศมี    แต่ที่เจอท่านคือเจอในกรุงเทพ


กระทู้: อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 22 มิ.ย. 15, 12:33
กำลังอ่านพระประวัติฯออนไลน์ที่ค้นได้ค่ะ อ่านถึงช่วงพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ที่ส่งไปให้พระราชชายาฯ เรียกง่ายๆว่าจดหมายรักนั้น อ่านไปอมยิ้มไป ทรงบ่นว่า "จดหมายทวนน้ำไม่ทันใจเลย"