เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 12, 12:19



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ส.ค. 12, 12:19
ลองเอาภาพแผนที่ทางหลวงประเทศไทย ทำด้วยปูนมาให้ชมดีกว่า ผมว่าตอนเด็ก ๆ ผมเคยเห็นแถวถนนพหลโยธินนะครับ  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 22 ส.ค. 12, 16:58
ลองเอาภาพแผนที่ทางหลวงประเทศไทย ทำด้วยปูนมาให้ชมดีกว่า ผมว่าตอนเด็ก ๆ ผมเคยเห็นแถวถนนพหลโยธินนะครับ  ???

อยู่ใกล้ๆ นี่เอง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 12, 17:13
คิดว่าแผนที่ทางหลวงลักษณะนี้มีหลายแห่ง  จำได้ว่าเคยเห็นที่แถว ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิแห่งหนึ่ง

อันนี้ของลุงไก่ ภาพจากคุณกุ๊ก

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 12, 17:17
ภาพชัด ๆ

ป้ายทางซ้ายมือเขียนว่า "หลักกิโลเมตรที่ ๐"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ส.ค. 12, 17:20
ที่ป้ายเขาเขียนอะไรไว้บ้าง

 (http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2011/01/E10120058/E10120058-2.jpg)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 22 ส.ค. 12, 21:01
คิดว่าแผนที่ทางหลวงลักษณะนี้มีหลายแห่ง  จำได้ว่าเคยเห็นที่แถว ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิแห่งหนึ่ง

อันนี้ของลุงไก่ ภาพจากคุณกุ๊ก

 ;D

ผมไม่กล้ายืนยันและไม่แน่ใจว่าจะมีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิหรือไม่

ตอนไปนั่งทานก๋วยเตี๋ยวเรืออนุสาวรีย์ฯ เมื่อก่อนโน้น ก็ไม่เคยสังเกตซะด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 23 ส.ค. 12, 21:12
เมื่อนานมาแล้ว เคยเห็นที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้วยค่ะ
อยู่ตรงมุมถนนพหลโยธิน ที่ไปสนามเป้า เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่ายังอยู่หรือไม่?

แต่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตรงมุมสตรีวิทย์ ที่คุณเพ็ญชมพูบอก ยังอยู่แน่นอนค่ะ
ทรุดโทรมอย่างที่เห็นนั่นแหละค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ส.ค. 12, 22:56
ภาพของวัดอะไรครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ส.ค. 12, 06:42
คุณหนุ่มว่าเป็นวัดในอยุธยา

เป็นวัดใน จ.อยุธยาครับ ตามที่มูโอต์ได้บรรยายไว้ เป็นภาพลายเส้นด้วย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=23263;image)

แต่ยังไม่สรุปว่าชื่อวัดอะไร

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ส.ค. 12, 08:29
ภาพนี้ของ Wilhelm Burger
ตอนแรกคิดว่าเป็นวัดโพ แต่ไม่ใช่

เป็นของวัดพระพุทธบาท สระบุรี ได้ไหม?
ถ้ายังบอกไม่ได้  คงรอผู้รู้ต่อไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ส.ค. 12, 08:50
 ;D



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ส.ค. 12, 10:21
คุณเพ็ญชมพู---

ภาพนี้ถ่ายร้อยกว่าปีแล้ว
สภาพตอนนี้คงเปลี่ยนไปมากจากที่เราเห็นในรูป
หรืออาคารถูกรื้อเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ตามแนวถนัดคนไทย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ส.ค. 12, 10:51
ภาพของวัดอะไรครับ

ผมลองเอาภาพนี้ลงในเฟสบุค มีผู้รู้ให้ความเห็นหลากหลาย แต่มีอยู่วัดหนึ่งในคำตอบที่น่าสนใจคือ "วัดบพิตรพิมุข" หรือ วัดเชิงเลน

ซึ่งน่าจะเริ่มเข้าเค้าครับ ผมได้ทวนตำแหน่งหอระฆัง และซุ้มประตูทางเข้าพระวิหารและพระอุโบสถเป็นตำแหน่งใกล้เคียงกับแผนที่มากที่สุด

เป็นไปได้ว่า ภาพนี้คือ วัดเชิงเลน กระมัง ฦ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 24 ส.ค. 12, 20:24
ภาพของวัดอะไรครับ

ผมลองเอาภาพนี้ลงในเฟสบุค มีผู้รู้ให้ความเห็นหลากหลาย แต่มีอยู่วัดหนึ่งในคำตอบที่น่าสนใจคือ "วัดบพิตรพิมุข" หรือ วัดเชิงเลน

ซึ่งน่าจะเริ่มเข้าเค้าครับ ผมได้ทวนตำแหน่งหอระฆัง และซุ้มประตูทางเข้าพระวิหารและพระอุโบสถเป็นตำแหน่งใกล้เคียงกับแผนที่มากที่สุด

เป็นไปได้ว่า ภาพนี้คือ วัดเชิงเลน กระมัง ฦ

ครับ ... วัดบพิตรภิมุข ... Evening Walk จากวังบูรพา มาพาหุรัด ลัดเข้าข้างศาลรัฐธรรมนูญ มาเบิ่งหามุมตามภาพ

ถูกต้องของคุณหนุ่มครับ วัดเชิงเลน ปากคลองโอ่งอ่าง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 11:13
ลุงไก่  ถ้าเกิดผ่าน ( ถ้า-นะ ) ไปทางนั้นลองจับภาพมุมเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 11:50
ลุงไก่  ถ้าเกิดผ่าน ( ถ้า-นะ ) ไปทางนั้นลองจับภาพมุมเดียวกัน

ก็คิดอยู่เช่นกันครับ แต่ต้องขึ้นไปบนตึกชั้นที่ ๓ หลังพระอุโบสถ
ตอนนี้พื้นที่ในวัดไม่โล่งเหมือนในภาพแล้วสิคุณณล มีแต่ตึกเต็มไปหมด
หลังวิหารก็เป็นตึกเรียนของบพิตรภิมุข สูงลิบข่มพื้นที่วัดหมด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 12:00
กล่องโลหะนี้ติดตั้งอยู่เหนือประตูอาคารเก่าย่านสี่แยกพระยาศรี ถนนเฟื่องนคร ถามคนแถวนั้น ไม่มีใครรู้จัก?




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 12:03
ตุลาคมนี้ ก็จะครบวาระ ๓๙ ปีของเหตุกรณ์ฯ คุณหนุ่มลองมองหาสิว่าลุงไก่ยืนอยู่ตรงไหน?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 25 ส.ค. 12, 12:41
กล่องโลหะนี้ติดตั้งอยู่เหนือประตูอาคารเก่าย่านสี่แยกพระยาศรี ถนนเฟื่องนคร ถามคนแถวนั้น ไม่มีใครรู้จัก?


เรียนคุณลุงไก่

ช่วยถอยออกมาให้เห็นสถานที่ติดตั้งหน่อยนะคะ จะช่วยพิจารณาด้วยค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 12:59
อยากถามผู้รู้ว่าภาพต่อไปคือที่ไหน
 อย่าหาว่าโง่เลย ไม่รู้จริงว่าที่ไหน
มีบ้านอยู่กลางถนนหลังหนึ่งด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 13:31
ถ้าเป็นกรุงเทพ   ดูจากสถานที่ตั้งกล้องถ่ายที่สูงเกินหลังคาบ้านขึ้นไปมาก     มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ใกล้ๆ   มองเห็นยอดไม้
เดาว่าถ่ายจากภูเขาทอง  ทิวไม้ลิบๆอาจเป็นสนามหลวงก็ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 13:44
อาจารย์เทาชมพู  อาจจะถ่ายจากหอกลองที่สวนเจ้าเชต ? เป็นไปได้ไหม
ภาพนี้ของ Wilhelm Burger สมัย ร 4 ยุคนั้นมีแต่ภูเขาทองที่สูง
ที่อื่นก็ หอกลอง ที่สวนเจ้าเชต
หรือ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย ซึ่งอยู่ในพระราชวัง(คงจะเข้าไปไม่ได้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 13:46
หอนาฬิกา ในพระราชวัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 13:55
ถ้าเป็นกรุงเทพ   ดูจากสถานที่ตั้งกล้องถ่ายที่สูงเกินหลังคาบ้านขึ้นไปมาก     มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ใกล้ๆ   มองเห็นยอดไม้
เดาว่าถ่ายจากภูเขาทอง  ทิวไม้ลิบๆอาจเป็นสนามหลวงก็ได้

แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ใช่ภาพในกรุงเทพฯ และไม่ใช่ประเทศไทยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 14:02
ขยายบางส่วนให้เห็นกัน
เมืองจีน ?  ปีนัง? สิงคโปร์?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 14:06
เป็นไปได้เพราะแกผ่านมาทางสิงคโปร์ ไปจีน ไปญี่ปุ่น
ถ้าความเป็นไปได้น่าจะเป็นญี่ปุ่นมากที่สุด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 14:09
ผมให้น้ำหนักไปทางญี่ปุ่นครับ สังเกตจากกระเบื้องมุงหลังคา และประตูรั้วทางด้านมุมล่างซ้ายของภาพ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 14:10
คร็อพมาให้ดูอีกมุมหนึ่งของภาพค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 14:13
ขอบคุณ อาจารย์ และ ลุงไก่
จะได้จบกันอีกภาพ QED


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 15:02
ตุลาคมนี้ ก็จะครบวาระ ๓๙ ปีของเหตุกรณ์ฯ คุณหนุ่มลองมองหาสิว่าลุงไก่ยืนอยู่ตรงไหน?

ลุงไก่ก็ควรยืนที่โดมกรมโยธาเก่าไงครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 15:05
อยากถามผู้รู้ว่าภาพต่อไปคือที่ไหน
 อย่าหาว่าโง่เลย ไม่รู้จริงว่าที่ไหน
มีบ้านอยู่กลางถนนหลังหนึ่งด้วย
ภาพกลุมบ้านพวกนี้ไม่ใช่กรุงสยาม เป็นภาพถ่ายเมืองแห่งหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 15:14
มาดูภาพสามมิติกันบ้าง ผลงานของ Wilhelm Von Burger

คำบรรยายภาพบอกว่าเป็นภายในพระบรมมหาราชวัง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 15:16
มาดูภาพสามมิติกันบ้าง ผลงานของ Wilhelm Von Burger

คำบรรยายภาพบอกว่าเป็นภายในพระบรมมหาราชวัง


ใช่ครับภาพพระที่นั่งเก๋งและกรงสกุณวันงามครับลุงไก่ ปัจจุบันเป็นสนามหญ้าข้างพระที่นั่งจักรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 15:17
ไม่ต้องใช้แว่นตาสีน้ำเงิน-แดง ทำตาเหล่ๆ หน่อยก็ได้เห็นแล้ว


 ;D



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 15:18
มาให้ทายบ้างค่ะ
รับรองว่าอยู่ในกรุงเทพ  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 15:21
ขออนุญาต admin นะครับ ขอบัตรผ่านหน่อย แต่งกายไม่สุภาพ

 8)    :P    ;)





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 15:24
ขออนุญาต admin นะครับ ขอบัตรผ่านหน่อย แต่งกายไม่สุภาพ

 8)    :P    ;)




ภาพชายชาวญี่ปุ่นถ่าโดยเบอรเกอร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 15:33
บัตรผ่าน ประทับตราให้โดยดีไม่มีปัญหาค่ะ     แต่กระทู้นี้ไปตั้งชื่อจำกัดเสียแล้ว   แค่ "เมืองบางกอก"  
ถ้าจะตั้งกระทู้ใหม่ที่ขยายวงออกไปถึงเมืองอื่นๆ หรือคนชาติอื่นๆ   เชิญคุณลุงไก่เป็นคนตัดริบบิ้นตั้งกระทู้ใหม่ ในห้องหน้าต่างโลก  หรือประวัติศาสตร์โลก  ดีไหมคะ  
ดิฉันจะมาร่วมวงด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 15:42
มาให้ทายบ้างค่ะ
รับรองว่าอยู่ในกรุงเทพ  ;)

อีกมุมหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 15:44
วัดเทพศิรินทราวาสคร้าบบบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ส.ค. 12, 15:55
ทำไมไม่รู้จักทายผิดมั่งนะ... >:(


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 17:39
ถ้าเป็นภาพแถวบ้านนอกบ้าง
ใต้ภาพบรรยายว่าเป็นสวนผลไม้เมืองพิมาย
จริงๆแล้วเป็นที่ไหนกันแน่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 20:01
มาให้ทายบ้างค่ะ
รับรองว่าอยู่ในกรุงเทพ  ;)
ขอลงรายละเอียดสักนิดหน่อยว่า อาคารที่เห็นนี้ตั้งอยู่ภายในวัดเทพศิรินทราวาสนี้สร้างโดย พระยานรรัตนราชมานิต(โต) ที่บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนสำหรับพระและเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 12, 20:06
ถ้าเป็นภาพแถวบ้านนอกบ้าง
ใต้ภาพบรรยายว่าเป็นสวนผลไม้เมืองพิมาย
จริงๆแล้วเป็นที่ไหนกันแน่

เคยเห็นลงไว้ว่าเป็นตลาดเมืองปากเกร็ด ๑ และ ตลาดเมืองอยุธยา ๑


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ส.ค. 12, 20:53
คุณหนุ่มฯครับ  
ถ้าดูขนาดความกว้างของแม่นํ้า น่าจะเป็นอยุธยามากกว่า
แต่ไม่ใช่เป็นเมืองสวนผลไม้

ถ้าเป็นปากเกร็ดแม่นํ้าเจ้าพระยาต้องกว้างมากกว่านี้
(ผมก็ไม่รู้ เดาทั้งนั้น)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ส.ค. 12, 21:28
ทำไมไม่รู้จักทายผิดมั่งนะ... >:(

Encyclopedia of Siam History



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 26 ส.ค. 12, 08:39
จำไม่ได้แล้วว่าเคยคุยกันในเรื่องนี้แล้วหรือยัง?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ส.ค. 12, 19:48
ทำไมไม่รู้จักทายผิดมั่งนะ... >:(

Encyclopedia of Siam History



คุณหนุ่มสยาม แกเป็นคนนี้ต่างหากล่ะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 06:04
ภาพจากเวปที่ผมไปลอกมาเขาบอกว่าตึกศรีจันทร์ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นอาคารใด

คงต้องรอ "ยักษ์ในตะเกียงวิเศษ" มาให้คำตอบ




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 06:59
ภาพจากเวปที่ผมไปลอกมาเขาบอกว่าตึกศรีจันทร์ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นอาคารใด

คงต้องรอ "ยักษ์ในตะเกียงวิเศษ" มาให้คำตอบ




ภาพนี้เคยอ้างถึงแล้ว เป็นที่ทำการไฟฟ้าวัดเลียบ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ส.ค. 12, 10:56
ประธานาธิบดี lubke เยอรมันมาเยี่ยมไทย 1962
พอจะมองออกไหมครับว่า รถวิ่ง อยู่แถวไหนของ กทม.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 11:53
ช่างยากนัก  :o

ราวปลายเดือนพฤศจิกายนประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันพร้อมภริยาเยือนประเทศไทยและเชียงใหม่ มีการเลี้ยงรับรองที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพร้อมกับมีการแสดงนาฏศิลป์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ ก่อนจะนั่งเครื่องบินไปเชียงใหม่ ท่านพำนักอยู่ในกรุงเทพราว ๒ - ๓ วัน (ควรจะพำนักที่พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งจัดไว้เป็นที่ประทับสำหรับแขกเมือง)

แต่รถวิ่งไปถนนไหนนี่ซิ ยากกกกก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 12:14
ถนนสิบสามห้างตัดถนนพระสุเมรุ บางลำพู



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ส.ค. 12, 12:34
ส่วนตัวตอนแรกมองไม่ออกเลย

เชื่อลุงไก่ไว้ก่อนตอนนี้ จนกว่าจะมีเหตุผลอื่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ส.ค. 12, 12:35
บังเอิญชำนาญเรื่องกุ้งเต้น

แขกบ้านแขกเมืองจะผ่านแยกนี้ไปจอดที่ผ่านฟ้า หน้าโลหะปราสาทเพื่อกระทำพิธีกล่าวต้อนรับและนายกเทศมนตรี(ผู้ว่ากทม.) มอบกุญแจเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ส.ค. 12, 12:39
ร้านกุ้งเต้นบ.ฝ่านฟ้าย้ายไปแล้ว ผมตามอยู่ยี่สิบกว่าปีจึงพบว่าไปเปิดอยู่แถวตลิ่งชัน ใครเป็นสาวกร้านนี้ก็หลังไมค์เข้ามาขอลายแทงได้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ส.ค. 12, 12:57
คุณนวรัตน์ ท้ายรถชี้ไปตามถนนราชดำเนิน ใช่หรือไม่  55 เพิ่งเห็นตัวหนังสือที่พื้นถนน ---ใช่

แถวนี้ผมเคยไปรักษากับคุณหมอวีกิต วีรานุวัตต์ ร้านแกอยู่ขวามือก่อนถึงกุ้งเต้น??


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 13:29
บังเอิญชำนาญเรื่องกุ้งเต้น


ไปทำอะไรที่ร้านกุ้งเต้น  ::) อิอิ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 14:06
แหะ แหะ ...




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ส.ค. 12, 14:26
เกือบได้ไปเทียวดูฝรั่งถนนข้าวสาร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 14:39
ซุ้มรับเสด็จของกระทรวงนครบาล บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

ออกแบบแนวคิดประตูจีน ลายเหรียญ กิมจี๋ น้ำเต้า และปลามังกรบนสันหลังคา ด้านล่างแขวนโคมจีนใหญ่ ๒ ใบ เขียนอักษรจีนว่า "โอรสสวรรค์ หมื่นปี" และโคมด้านข้างอีกอย่างละดวง

ตรงกลางประตูเขียนอักษรไทย "ยินดีรับเสด็จ" พร้อมเจาะช่องที่ตัวอักษรใส่ไฟประดับไว้ยามค่ำคืน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 14:48
ต้นฉบับฝรั่งเขาบอกไว้ว่า Chinatown ปี 1940



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ส.ค. 12, 15:42
ความเห็น---ยัง งง จับอะไรไม่ถูก สรุปไม่รู้ว่าคือที่ไหนเช่นเดิม
ต้อง identify สะพานให้ได้  อาจจะรู้
อาคารหลังคาไทย ด้านในขวา เป็นวัด หรือ อะไร

คลองนี้อาจจะเป็นคลองผดุงกรุงเกษม ??
หรือเป็นคลองคูเมืองเดิม ที่เป็นต้นของถนนหลายสาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 16:20
ไปสำรวจเปรียบเทียบกับแผนที่เก่าของคุณหนุ่ม คงจะเป็นถนนจักรวรรดิ์ และเป็นวัดบพิตรภิมุข อีกหละกระมัง?
แต่ไม่น่าจะใช่ เพราะถ้าเป็นถนนจักรวรรดิ์ จะต้องมีแนวรถรางให้เห็นทางฝั่งขวาของถนนด้วย

ต่อด้วยภาพต่อไป ต้นฉบับบอกว่าที่ไหน ... ของถนน .... (รอคุณหนุ่มมาเฉลย)








กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 17:10
กล่องโลหะนี้ติดตั้งอยู่เหนือประตูอาคารเก่าย่านสี่แยกพระยาศรี ถนนเฟื่องนคร ถามคนแถวนั้น ไม่มีใครรู้จัก?


เรียนคุณลุงไก่

ช่วยถอยออกมาให้เห็นสถานที่ติดตั้งหน่อยนะคะ จะช่วยพิจารณาด้วยค่ะ


ตามนี้ครับ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 27 ส.ค. 12, 18:20
ไม่แน่ใจในคำตอบนะคะ คุณลุงไก่
อยากจะตอบว่า เป็นสัญญาณเตือนภัยของโบราณที่ตัดวงจรทิ้งค่ะ
แต่ก่อนเคยเห็นร้านเพชรแถวบ้านหม้อจะมีสัญญาณไฟติดตั้งที่กันสาด หากมีเหตุเช่น ขโมย เจ้าของร้านจะกดสวิทช์ให้สัญญาณดังพร้อมไฟสว่างที่หน้าร้าน เป็นการช่วยกันภายในชุมชน
ตอนหลังคงรวนบ่อย แถมยังมีไฟชอร์ต เพราะไม่ได้กันน้ำไว้ เลยยกเลิกไปค่ะ

แต่ที่น่าสนใจมากกว่า น่าจะเป็นแผงป้ายที่จารึกไว้ด้านหน้าตามที่วงไว้นะคะ
เคยไปยืนอ่าน เกี่ยวกับเรื่องที่ดินอะไรบางอย่าง จำไม่ได้แล้ว

ภาพจากกูเกิ้ลค่ะ




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 18:46
ไปสำรวจเปรียบเทียบกับแผนที่เก่าของคุณหนุ่ม คงจะเป็นถนนจักรวรรดิ์ และเป็นวัดบพิตรภิมุข อีกหละกระมัง?
แต่ไม่น่าจะใช่ เพราะถ้าเป็นถนนจักรวรรดิ์ จะต้องมีแนวรถรางให้เห็นทางฝั่งขวาของถนนด้วย

ต่อด้วยภาพต่อไป ต้นฉบับบอกว่าที่ไหน ... ของถนน .... (รอคุณหนุ่มมาเฉลย)


ภาพถนนตรีเพชร ซ้ายมือภาพคือวัดราชบุรณะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 21:04
ภาพความเห็นที่3333 ที่กล่าวว่า china town เทียบแล้วไม่ใช่ถนนเยาวราช/ถนนวรจักร/ถนนเจริญกรุงช่วงเยาวราข แต่ติดที่วัดอะไรหนอ??  ช่องแสงหน้าต่างปรุได้งามมากอาจจะค้นหาตึกแถวเก่าที่ยังคงเหลือ เป็นแนวทางชี้นำได้

ส่วนสะพานกว้างใหญ่ดี ควรข้ามคลองโอ่งอ่างก็ดูสมกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ส.ค. 12, 21:21
ไหนๆคุยกันเรื่องวัด เอาวัดในกรุงเทพในภาพนี้มาถามบ้าง เคยเห็นบ้างหรือไม่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ส.ค. 12, 21:28
ภาพวัดนี้้ห็นมานานแล้วขอรับ เห็นตะแกรงเหล็กน่ากลัวมากทั้งหมดนี้เป็นสภาพวัดสระเกศพร้อมนกแร้งครับ

บรรยากาศหน้าภาพมีโลงไม้ ตะแกรงเหล็กนำศพขึ้นเผากรณีศพอนาถา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ส.ค. 12, 22:15
ครับเมรุปูนวัดสระเกศ ไว้เผาพระศพเจ้านายกับศพคนระดับขุนนาง แต่เห็นอีแร้งเกาะเต็มหลังคา หลอนมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ส.ค. 12, 22:41
ครับเมรุปูนวัดสระเกศ ไว้เผาพระศพเจ้านายกับศพคนระดับขุนนาง แต่เห็นอีแร้งเกาะเต็มหลังคา หลอนมาก

ผมอ่านพบในราชกิจจานุเบกษาว่ามีการนำศพมาทางคลองโอ่งอ่างแล้วขึ้นที่ "ท่าเรือวัดสระเกศ" มีถนนตัดตรงมายังเมรุปูน

พอจะมีภาพบ้างไหมครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 06:47
ภาพถ่ายทางอากาศของทอมสันคงจะเป็นภาพเก่าที่สุดที่จะค้นหาคำตอบ เพราะเมรุปูนยังเห็นอยู่ ส่วนท่าเรือวัดสระเกศที่คลองโอ่งอ่าง ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 06:48
มาชมกันเป็นชุดไปเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 06:54
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 06:59
มุมมองไปทางสพานผ่านฟ้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 07:04
ยังงงๆกับภาพนี้อยู่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 07:20
ครับเมรุปูนวัดสระเกศ ไว้เผาพระศพเจ้านายกับศพคนระดับขุนนาง แต่เห็นอีแร้งเกาะเต็มหลังคา หลอนมาก

ผมอ่านพบในราชกิจจานุเบกษาว่ามีการนำศพมาทางคลองโอ่งอ่างแล้วขึ้นที่ "ท่าเรือวัดสระเกศ" มีถนนตัดตรงมายังเมรุปูน

พอจะมีภาพบ้างไหมครับ


ให้ภาพลายเส้นท่าเรือวัดสระเกศ ทั้งนี้เมรุปูนนั้นตั้งอยู่ไกลจากวัดสระเกศมาก เรียกว่าอยุ่หลังวัดก็ไกลพอสมควร เมื่อถนนบำรุงเมืองตัดผ่าน ทำให้ส่วนของเมรุปูนแยกขาดจากตัววัด ซึ่งปัจจุนับนี้นริเวณเมรุปูนกลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนช่างกลครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 07:21
ช่างกลไหนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 07:31
ช่างกลไหนครับ

โรงเรียนสารพัดช่างพระนคร ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 07:34
งั้นเมรุปูนในชุดข้างบน คงสร้างทีหลัง ดูแล้วอยู่บริเวณที่เป็นฌาปนสถานในปัจจุบันนั่นเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 07:45
งั้นเมรุปูนในชุดข้างบน คงสร้างทีหลัง ดูแล้วอยู่บริเวณที่เป็นฌาปนสถานในปัจจุบันนั่นเอง

ภาพที่เมรุใหญ่หลังคาคลุม พร้อมสำส้าง และระทาที่แนบประกอบนี้ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อโปรดเกล้าพระราชทานให้กับเจ้านายที่ไม่สามารถสร้างเมรุกลางเมืองได้ อีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องสร้างเมรุด้วยไม้ แต่สร้างด้วยปูนไว้แทน ภายหลังเมรุปูนทรุดโทรมลง เจ้านายต่าง ๆ ก็มีเมรุวัดอื่นให้เลือกไม่จำเป็นต้องใช้เมรุปูนที่วั้ดสระเกศอีกต่อไป.

ส่วนเมรุปูนเล็ก ๆ ที่ อ.NAVARAT C. ชี้ไว้ในภาพวิลเลี่ยมฮันท์ 2489 เมรุเล็กมากครับ ไว้ขึ้นไปถ่ายภาพกันนะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ส.ค. 12, 07:56
รูปทรงเมรุในภาพของ william hunt  ไม่เหมือนในภาพแรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 08:01
เมรุปูนสมัยรัชกาลที่๓ ตามแผนที่ที่คุณหนุ่มหามา(เยี่ยมมาก) อยู่ตรงลูกศรชี้นี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 08:15
เมรุปูนสมัยรัชกาลที่๓ ตามแผนที่ที่คุณหนุ่มหามา(เยี่ยมมาก) อยู่ตรงลูกศรชี้นี้ครับ

ถูกต้องแล้วครับ หวังว่าคงจะหายงง แล้วนะครับสำหรับเมรุปูนวัดสระเกศ ที่สี่แยกถนนบำรุงเมืองจึงยังคงมี "สี่แยกเมรุปูน" ตั้งอยู่ครับเพื่อเป็นที่ระลึกในการดังกล่าว และจากที่ตั้งเมรุนี้เองก็เป็นที่นำศพออกมาจากประตูเมือง ก็สองดคล้องกับ "ประตูผี" ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 08:47
จากภาพถ่ายของ Dr. Karl Dohring ชาวดัตช์ที่ตีพิมพ์ในปี ๒๔๖๗ สมัยรัชกาลที่๖ เมรุปูนในวัดสระเกศหน้าตาดังนี้

มางงต่อว่าอยู่ตรงไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 08:56
จากภาพถ่ายของ Dr. Karl Dohring ชาวดัตช์ที่ตีพิมพ์ในปี ๒๔๖๗ สมัยรัชกาลที่๖ เมรุปูนในวัดสระเกศหน้าตาดังนี้

มางงต่อว่าอยู่ตรงไหน

ก็ยังคงอยู่ที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้แนบแผนที่ พ.ศ. ๒๔๖๗ ประกอบ จะเห็นว่ามีการซ่อมแซมเมรุปูนให้งดงามขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 12, 09:47
^
หมดข้อสงสัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ส.ค. 12, 10:16
เคลียร์ไปอีกปัญหา
ต่อไปภาพถนนเจรฺญกรุง คุ้นๆกับตรงแยกสุรวงศ์ (ไม่เห็นป้ายห้างขายยาบอมใบ)
ใช่หรือไม่ หรือว่า เป็นแถวหน้าเวิ้งนาครเขษม?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 11:31
เคลียร์ไปอีกปัญหา
ต่อไปภาพถนนเจรฺญกรุง คุ้นๆกับตรงแยกสุรวงศ์ (ไม่เห็นป้ายห้างขายยาบอมใบ)
ใช่หรือไม่ หรือว่า เป็นแถวหน้าเวิ้งนาครเขษม?

ภาพตึกคล้ายถนนเจิรญกรุงห้างขายยาบอมใบ แต่ไม่ใช่ครับ ตรงนี้เป็นถนนเจริญกรุงเช่นกันแต่เป็นช่วงขนานกับเยาวราช สิ่งก่อสร้างประตูฉลุลายเป็นทางเข้าโรงหนังครับ

ทางรถรางถนนเจริญกรุงหากมองมุ่งหน้าออกไปนอกเมือง รถรางจะอยู่ทางขวามือเรา แต่ในภาพเป็นการมองย้อนเข้าไปหาเมือง ดังนี้แล้วจะพูดอีกอย่างก็คือ ยกตัวอย่างว่า ฝั่งซ้ายภาพเป็นฝั่งถนนแปลงนาม ฝั่งขวามือภาพเป็นฝั่งวัดมังกรกมลาวาศ เป็นต้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ส.ค. 12, 12:46
ลวดลายโค้งเป็นประตูเวิ้งนาครฯได้ไหม คุณหนุ่มฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 28 ส.ค. 12, 13:17
ลวดลายโค้งเป็นประตูเวิ้งนาครฯได้ไหม คุณหนุ่มฯ

ไม่ใช่เวิ้งนครเขษมครับ เพราะว่าทางรถรางจะอยู่ด้านเวิ้งนครเขษม

ยกภาพนี้มาให้พิจารณากันใหม่อีกครั้ง ... ตามได้แล้วว่าเป็นถนนเจริญกรุงแน่นอน ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ... แต่เป็นถนนช่วงไหน?




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 13:37
ลวดลายโค้งเป็นประตูเวิ้งนาครฯได้ไหม คุณหนุ่มฯ

เป็นซุ้มโรงหน้งพัฒนากร ครับ ไม่ใช่เวิ้งนาครเขษม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ส.ค. 12, 13:39
ลวดลายโค้งเป็นประตูเวิ้งนาครฯได้ไหม คุณหนุ่มฯ

ไม่ใช่เวิ้งนครเขษมครับ เพราะว่าทางรถรางจะอยู่ด้านเวิ้งนครเขษม

ยกภาพนี้มาให้พิจารณากันใหม่อีกครั้ง ... ตามได้แล้วว่าเป็นถนนเจริญกรุงแน่นอน ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ... แต่เป็นถนนช่วงไหน?




ถนนที่เห็นฝูงชนมามายนี้ เป็นสี่แยกที่มีสัญลักษณ์จราจรตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง ด้านขวามือเป็นซอยแปลงนาม มองมุ่งหน้าไปทางนอกเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ส.ค. 12, 14:12
ใช่ครับรางต้องอยู่ด้านเวิ้ง
ภาษาจีนอ่านได้ไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 28 ส.ค. 12, 16:45
เข้าที่เข้าทาง ... สี่แยกแปลงนาม ถนนเจริญกรุง ... จุดก่อสร้างสถานรถไฟฟ้าใต้ดินมหานคร ... สถานีวัดมังกร

เหตุการณ์ในภาพ ... งานทิ้งกระจาดของศาลเจ้ากวางตุ้ง ที่ติดกับโรงพยาบาลกว๋องสิว เมื่อปี ๒๔๙๓



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ส.ค. 12, 20:23
สรุปว่าตามคุณหนุ่มฯ
เป็นภาพถนนเจริญกรุงแถวโรงหนังพัฒนากร ทิศทางมองเข้าหาในเมือง

ตั้งหลักหาภาพต่อไปอีก  :D :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 28 ส.ค. 12, 21:32
ลวดลายโค้งเป็นประตูเวิ้งนาครฯได้ไหม คุณหนุ่มฯ

เป็นซุ้มโรงหน้งพัฒนากร ครับ ไม่ใช่เวิ้งนาครเขษม

ถ้าคุณหนุ่มบอกว่าเป็นบริเวณหน้าโรงหนังพัฒนากรหรือสิริรามา ดังนั้น

๑ คือ ทางเข้าโรงหนังพัฒนากรหรือสิริรามา ปัจจุบันกลายเป็นลานที่จอดรถไปแล้ว
๒ คือ ตัวตึกโรงพยาบาลกว๋องสิวในปัจจุบัน
๓ คือ บริเวณหน้าศาลเจ้ากวางตุ้ง
๔ คือ สี่แยกแปลงนาม



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 12, 05:40
ลวดลายโค้งเป็นประตูเวิ้งนาครฯได้ไหม คุณหนุ่มฯ

เป็นซุ้มโรงหน้งพัฒนากร ครับ ไม่ใช่เวิ้งนาครเขษม

ถ้าคุณหนุ่มบอกว่าเป็นบริเวณหน้าโรงหนังพัฒนากรหรือสิริรามา ดังนั้น

๑ คือ ทางเข้าโรงหนังพัฒนากรหรือสิริรามา ปัจจุบันกลายเป็นลานที่จอดรถไปแล้ว
๒ คือ ตัวตึกโรงพยาบาลกว๋องสิวในปัจจุบัน
๓ คือ บริเวณหน้าศาลเจ้ากวางตุ้ง
๔ คือ สี่แยกแปลงนาม



อ้ะ .. ลืมใส่ภาพประกอบการชี้แจงจนได้ ...



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 07:31
^
เทียบกับภาพในปัจจุบัน (ภาพจากกูเกิ้ล)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 07:35
ภาพนี้งามไหมครับ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 10:25
คมชัดดี แม้ทำ sharpened มาแล้ว  8)
เอาลายนํ้าออกได้ไหม  หางานทำยามว่าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 11:06
ภาพอาคารในหนังสือคุณอเนก
สร้างเมื่อ ร๕ รื้อไปเมื่อ ปี ๒๔๙๐


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 11:31
ภาพอาคารในหนังสือคุณอเนก
สร้างเมื่อ ร๕ รื้อไปเมื่อ ปี ๒๔๙๐

ภาพอาคารตลาดเสาชิงช้า ปัจจุบันกลายเป็นลานคนเมือง หน้าวัดสุทัศน์เทพวรารามฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 12:51
ไม่มีภาพไหนที่จะคุณหนุ่มฯไม่รู้     8)

 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 13:48
ไม่มีภาพไหนที่จะคุณหนุ่มฯไม่รู้     8)

 

เอาภาพสาวน้อยชาวสยาม สมัยรัชกาลที่ ๔ มาให้ชมครับ การตกแต่งองค์ประกอบมีพานหมาก ซองพลู แจกันดอกไม้ และพานโถปริก เป็นเครื่องชุดสำอางค์ งามแท้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 14:01
ตรงที่มีเคราเป็นความนิยมที่ประหลาด
ผู้หญิงมีเคราคงมีน้อย หรือเป็นความเทห์

ภาพนี้คงจะเป็นเจริญกรุงเหมือนกัน มีรถรางแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 14:15
^
ควรอยู่ช่วงยานนาวา - ถนนตก ผมมีภาพชัด ๆ เลยจัดขยายด้านขวามือให้ดู เป็นการตากแผ่นขาว ๆ หนา ๆ ไม่รู้อะไร (ยางพารา ?, แป้ง ?) ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 14:18
สาวน้อยที่คุณ siamese จูงมาให้คุณ visitna เกิดความทึ่ง ไม่ได้มีเคราค่ะ  ส่วนที่อยู่ข้างแก้มต่ำกว่าจอนหูคือผมทัด  เป็นแฟชั่นสมัยรัชกาลที่ ๔    ดูได้จากรูปขวา    
สาวน้อยของคุณ siamese คงอายุสัก 13 โกนจุกได้ไม่นาน  ผมบนศีรษะยังบางอยู่มาก   ผมทัดเลยยังไม่ยาว   ไม่เหมือนคนขวาที่เป็นสาวเต็มตัว ผมหนาและไว้ผมทัดยาวแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 14:28
สาวน้อยของผมงามน่ารักไหมครับ อ.เทาชมพู  ;D

ขยายภาพไรผมครับ ไรผมจะไล้ด้วยมุหน่าย หรือ น้ำมันตานี แข็งมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 14:35
คุณ siamese ชวนให้ดูแป้ง   ดิฉันกลับไปสะดุดตากับหนุ่มจีนที่เดินผ่านกล้องพอดี    
เห็นแต่ด้านหลัง  นุ่งกางเกงแพรปังลิ้นสีดำ   เสื้อขาว (ขอเดาว่าเป็นผ้าป่าน)  เก็บชายเสื้อไว้ในกางเกงอย่างเรียบร้อย   ไว้ผมเปียยาวแต่พันไว้เรียบกริบบนศีรษะ   มองเท้าก็เห็นสวมรองเท้าคัทชูหุ้มส้น     ความสำอางแบบนี้เดาว่าไม่ใช่อาตี๋ธรรมดา  แต่น่าจะเป็นระดับเถ้าแก่หนุ่ม    คงมีกิจการอยู่แถวนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 14:46
สาวน้อยของผมงามน่ารักไหมครับ อ.เทาชมพู  ;D

ขยายภาพไรผมครับ ไรผมจะไล้ด้วยมุหน่าย หรือ น้ำมันตานี แข็งมาก

สาวน้อยหวานใจของคุณ siamese หน้าใสมากค่ะ  ดูเป็นคุณหนูมากๆ  เจ้าคุณพ่อน่าจะหวง

ขอแก้ความเข้าใจเล็กน้อยค่ะ  ไรผม ไม่ใช่เส้นผมนะคะ  แต่เป็นส่วนของหนังศีรษะที่ผมถูกถอนออกไปแล้ว เห็นเป็นวงขาวกลมอยู่รอบกระหม่อม   เหมือนรอยแสกสมัยนี้น่ะค่ะ
เมื่อเด็กผู้หญิงโกนจุก ตัดจุกทิ้ง รอยรอบจุกที่ถอนผมอ่อนๆออกยังทิ้งไว้เช่นเดิม เรียกว่าไรผม    เป็นแฟชั่นมีมาแต่สมัยอยุธยาตามที่เจ้าฟ้ากุ้งทรงพรรณนาว่า "ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร" คือแม้ปล่อยผมจนยาวประบ่าแล้ว แต่รอยวงกลมบนหัวนั้นยังปล่อยไว้ ใช้แหนบถอนผมอ่อนๆที่ขึ้นออก   ไม่ให้มาขึ้นเกะกะบนไรผม

สาวน้อยของคุณ siamese ยังไว้ไรผมอยู่ค่ะ
ส่วนผมที่ห้อยยาวข้างแก้มเรียกว่าผมทัดค่ะ    ถ้าจะให้เก๋  สาวชาววังก็เอาไว้พันดอกจำปี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 29 ส.ค. 12, 14:47
แผ่นกลม ๆ ขาว ๆ นั่นคือ แผ่นก๋วยเตี๋ยวค่ะ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ส.ค. 12, 14:58
ผมทัด มีอะไรเชื่อมโยงกับ เอา(อะไรมา)ทัดหู หรือเปล่าครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 15:02
ขยายให้ดูไรผม ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 15:03
แผ่นกลม ๆ ขาว ๆ นั่นคือ แผ่นก๋วยเตี๋ยวค่ะ 

คุณกะออม มาทีไร ฟันธงได้ทุกครั้ง ขอบคุณครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 15:05
ผมทัด มีอะไรเชื่อมโยงกับ เอา(อะไรมา)ทัดหู หรือเปล่าครับ

ภาพสตรีมีน้ำนวลขึ้นมาหน่อย ทัดดอกไม้ ส่งให้ อ. NAVARAT.C ครับ

(ภาพสตรีในราชสำนักกัมพูชา เทียบแล้วต้นรัชกาลที่ ๕)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 15:07
อยากจะเชื่อว่าคุณกะออมเป็นเจ้าของยานเวลา   เดินทางย้อนอดีตได้ค่ะ    ;D

ตอบ คุณ NAVARAT.C     ได้ยินมาว่าผมทัด เอาไว้ทัดหูค่ะ  แต่ยังหารูปไม่เจอว่าทัดกันแบบไหน ยังไง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 18:07
น่าเป็นเทรนด์นิยมสมัย ร๔
ทรงอย่างนี้เริ่มมาจากยุคไหน?
อาจจะเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ภาพนี้ต้องไฮไลท์ดำเพราะโชว์เกินความจำเป็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 18:09
พอถึง ร๕ ภาพเจ้าจอมแอบ เจ้าจอม ก๊กออ ทรงผมไปอีกแบบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 18:55
ผมของเจ้าจอม..จำไม่ได้ว่าเจ้าจอมเอิบหรือเจ้าจอมอาบ (แต่ไม่ใช่เจ้าจอมแอบแน่ๆค่ะ ;)) เป็นทรงผมที่พัฒนามาจากผมทรงดอกกระทุ่มข้างล่างนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 18:57
ทรงผมเจ้าจอมม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ เป็นทรงที่พัฒนาจากทรงดอกกระทุ่ม คือด้านหลังยังตัดสั้นแค่ต้นคอ    ปล่อยผมด้านบนให้ยาว แล้วหวีเสยเรียบด้วยขี้ผึ้ง ใช้เหมือนเจลแต่งผมในปัจจุบัน     
ถ้าผมใครไม่หนาพอก็ใช้ช้องหรือหมอนเล็กๆหนุนข้างใต้ผมอีกที


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 19:12
เอารูปเก่ามาลงบ้าง 

รถไฟยุคแรกของไทย
ไม่ทราบว่าสถานีรถไฟในรูปคือที่ไหนค่ะ    ขอเวลาถูตะเกียงวิเศษก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 19:24
พอถึง ร๕ ภาพเจ้าจอมแอบ  เจ้าจอม ก๊กออ ทรงผมไปอีกแบบ

เจ้าจอมก๊กออ มีแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน  ไม่มีเจ้าจอมแอบ  ;)

ภาพนี้ฝรั่งบรรยายว่า Lady Aab Bunnag in the kitchen of Ruen Ton residence at Dusit. (http://quod.lib.umich.edu/t/tap/7977573.0002.202?rgn=main;view=fulltext)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 12, 19:26
สถานีรถไฟบางกอกน้อยหรือชื่อเดิมสถานีรถไฟธนบุรีครับ

สร้างก่อนสถานีรถไฟหัวลำโพงหรือชื่อเดิมสถานีรถไฟกรุงเทพตั้งสิบปี

สถานีรภไฟหัวลำโพงแต่เดิมเป็นชื่อของสถานีรถไฟสายปากน้ำ

หมายเหตุ - เปรียบเทียบกับภาพสถานีรถไฟธนบุรีในหนังสือเกิดวังปารุสก์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 19:39
พอถึง ร๕ ภาพเจ้าจอมแอบ  เจ้าจอม ก๊กออ ทรงผมไปอีกแบบ

เจ้าจอมก๊กออ มีแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน  ไม่มีเจ้าจอมแอบ  ;)

ภาพนี้ฝรั่งบรรยายว่า Lady Aab Bunnag in the kitchen of Ruen Ton residence at Dusit. (http://quod.lib.umich.edu/t/tap/7977573.0002.202?rgn=main;view=fulltext)

 ;D


ขออภัยอย่างยิ่ง อ่านมาจากภาษาอังกฤษแบบคุณเพ็ญชมพูว่า ไม่ทันพิจารณาให้รอบคอบ
ดีครับยังไงความผิดพลาด    ก็ไม่ผ่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายอยู่แล้ว   :-X


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 12, 19:43
ค้นภาพมาถาม ... ถามภาพไหนๆ  ... อาลาดินหนุ่มสยามตอบได้หมด ...

เฮ้อ ...

งั้น .. ถามภาพนี้บ้าง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 19:54
สถานีนี้เห็นภาพบ่อย ไม่รู้เหมือนกันว่าที่ไหน
สำหรับลุงไก่เคยวิ่งแถวนี้สมัยเป็นเด็ก คงจะจำได้

ชอบดูภาพเก่า ดูรู้บ้างไม่รู้บ้าง
การ identify เป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกัน ต้องมีประสบการณ์ รู้เห็นมาก
ตอนนี้กำลังอยู่ในระยะ training หลักสูตร น่าจะประมาณเกิน ๑๐ ปี  ;D

ได้ครูดีที่นี้หลายคน เช่นคุณหนุ่ม คุณนวรัตน์ ลุงไก่ คุณเพ็ญชมพู อาจารย์เทาชมพู ฯลฯ
ปักหลักเรียนที่โรงเรียนนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 20:19
ถ้าใครบอกว่า     ไม่รู้ที่ไหน   ผมไม่เชื่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 20:23
^


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 12, 20:32
สำหรับภาพที่อาจารย์เทาชมพูนำมาประกอบภาพของคุณ visitna นั้น ครั้งแรกผมก็เชื่อตามที่เขาเขียนอธิบาย
แต่เมื่อพิจารณาบรรยากาศและสถานที่โดยรอบแล้ว ชักไม่มั่นใจว่าจะเป็นที่เดียวกัน หากพิจารณาเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศที่เห็นกันบ่อยๆ

ผมมีความเห็นว่าภาพของอาจารย์ฯ ไม่ใช่ที่สะพานพระรามหกครับ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ทราบเช่นกันว่าเป็นที่ไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 20:40
ได้มาจากเว็บกาญจนาภิเษกค่ะ คุณลุงไก่
http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/art/lab3/pt054_01.html

มีคำบรรยายว่า
                                                                สะพานพระรามที่ ๖
    เป็นภาพประวัติศาสตร์ของเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิกใหม่ ๆ ทรงฉายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2489 ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินผ่านสะพานพระรามหกที่ชำรุดเพราะถูกระเบิดทำลาย
    เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพระรามที่ 6 ได้ถูกระเบิดทำลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ พอสงครามสงบ รัฐบาลจึงดำเนินการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน โดยจัดสร้างทางเบี่ยงขนานกับแนวสะพานเดิม เพื่อให้ยวดยานผ่านไปมา ซึ่งพอจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลงได้บ้าง
    5 มีนาคม 2489 เสด็จพระราชดำเนินผ่านไปบนสะพานเบี่ยง พอได้ทอดพระเนตรเห็นซากสะพานจึงทรงบนทึกไว้ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ทรงไว้นี้ กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะต่ไปเมื่อสะพานซ่อมสร้างเรียบร้อยแล้ว หากมีใครอยากรู้ว่าสะพานพระรามที่ 6 เมื่อครั้งถูกทำลาย มีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะดูได้จากภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ภาพนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 20:56
ภาพของอาจารย์เทาชมพู ใช้ SmillaEnlarger ขยาย
โปรแกรมนี้ฟรี มีโปรแกรมที่เสียเงิน 160 เหรียญน่าจะคมชัดกว่านี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ส.ค. 12, 21:03
เปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศของ William Hunt

สภาพของสะพานพระรามหกก่อนการซ่อมแซม เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างเหล็กตัวสะพานว่าไม่เหมือนกัน

ลักษณะภูมิทัศน์ในภาพก็แตกต่างกัน

จะลองค้นดูใน รจ หน้าข่าวในพระราชสำนักว่าในวันดังกล่าว มีกำหนดการเสด็จฯ ที่ใดบ้าง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 21:05
ดิฉันใช้ ACDSee ปรับรูปของคุณ visitna ให้สว่างขึ้นนิดหน่อย  ค่ะ  เผื่อคุณลุงไก่อาจเห็นจุดสังเกตมากกว่านี้ พอจะเล่าสู่กันฟังได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 21:09
มีการซ่อมหลายจุดไหม? ในภาพเหมือนกับไม่ใช่กลางสะพาน
เป็นการซ่อมฐานสะพาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 21:37
รถไฟมาเป็นชุดเลย....รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตำรวจ อิอิ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ส.ค. 12, 21:54
สวัสดีครับคุณหนุ่มฯมาช่วงดึก
ผมต้องไปทำธุระการงานนิดหน่อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ส.ค. 12, 22:04
สวัสดีครับคุณหนุ่มฯมาช่วงดึก
ผมต้องไปทำธุระการงานนิดหน่อย

สนทนากันเมื่อว่างครับยินดีครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 12, 22:05
ถ้าไม่ใช่สะพานพระราม 6 จะเป็นสะพานที่ไหนได้อีกคะ  
มันเป็นสะพานที่เห็นชัดว่าสร้างสำหรับรถไฟ  ไม่ใช่รถยนต์หรือให้คนเดินข้าม    ด้านข้าง เป็นแม่น้ำ ไม่ใช่คลอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 ส.ค. 12, 07:04
สะพานพระราม ๖ ในภาพข้างบนนั้นเป็นสะพานเดิมที่สร้างในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ มาแล้วเสร็จในตอนต้นรัชกาลที่ ๗
จากภาพการวางโครงสร้างสะพานของวิศวกรฝรั่งเศสที่เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  พบว่าเมื่อก่อสร้างสะพานนั้น
ใช้วิธีสร้างตอม่อขึ้นก่อน  แล้วจึงประกอบโครงเหล็กจากทั้งสองฝั่ง  แล้วจึงเลื่อนโครงเหล็กที่ประกอบเสร็จแล้วออกไป
บรรจบกันที่กลางแม่น้ำ (ภาพนี้มีสำเนาแสดงไว้ที่พระบรมราชะประทรรศนีย์รัชกาลที่ ๖  ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ชั้น ๓)
อาจจะเป็นเพราะโครงเหล็กนี้คงจะถักเชื่อมกันทั้งสะพาน  เมื่อส่วนหนึ่งถูกทำลายจึงต้องรื้อโครงสะพานเหล็กลงทั้งหมด
แล้วสร้างขึ้นใหม่ในรูปลักษณ์ที่ต่างจากเดิมดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้

ในภาพที่ท่านอาจารย์ใหญ่กรุณานำมาลงพร้อมคำบรรยายว่าเป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์คราวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร
สะพานพระราม ๖ นั้น  โปรดสังเกตที่ด้านขวาของภาพจะเห็นตอม่อสะพานพระราม ๖ ส่วนที่อยู่ริมตลิ่งครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ส.ค. 12, 07:33
การเปิดสะพานพระราม ๖ เปิดใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อสะพานได้ทำการบูรณะเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ออกจากพระราชวังสวนดุสิต ไปยังสถานีรถไฟสวนจิตรลดา เสด็จรถไฟไปยังสะพานพระราม ๖ แล้วเสด็จลงไปยังพลับพลาหลังจากนั้นเป็นพิธีการเปิดสะพานและเสด็จกลับไปยังสถานีธนบุรี และประทับรถพระที่นั่งกลับพระราชวังสวนดุสิต

ที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/077/5227.PDF


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ส.ค. 12, 08:38
มองภาพเห็นอย่างนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ส.ค. 12, 09:11
เคยมีผู้พยายามค้นหาตำแหน่งที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าอยู่ตรงไหนในปัจจุบัน แต่ยังหาไม่พบ  :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 12, 09:33
น่าจะอยู่ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์  ที่ใดที่หนึ่งใต้ห้องด้านซ้ายชั้นล่าง    


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ส.ค. 12, 11:41
อาจารย์เทาชมพูบอกชื่ออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ไม่ค่อยคุ้นชื่อ
คิดว่า คงจะเป็นอีกฝั่ง   ของหอสมุดกลางสมัยก่อน ฝั่งที่เป็นตึกเรียน

เคยเห็นภาพกรมพระยาดำรงฯอ่านรายงานการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างตึกต่อ ร5
สร้างโดยบริษัทชื่อฝรั่ง  (จำชื่อไม่ได้)
ใจความที่พอจะจำได้คือ ร5ท่านยกที่ดินพันกว่าไร่
มีเขตทิศเหนือตั้งแต่ถนนสระปทุมจดพระราม4
อีกด้านทิศตะวันตกตั้งแต่คลอง?จด?(จำไม่ได้)
ให้เป็นของสถานศึกษานี้หวังว่าจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยต่อไป

ลองไปหาอีกทีไม่เจอแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 ส.ค. 12, 11:50
น่าจะอยู่ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์  ที่ใดที่หนึ่งใต้ห้องด้านซ้ายชั้นล่าง    

น่าจะเป็นที่ตึก ๑ ทางด้านคณะวิศวะฯ นะครับอาจารย์ ที่ชั้นบนเคยเป็นหอสมุดกลางน่ะครับ

คุณพี่ visitna กลับไปดูภาพแผนที่ ที่กระทู้เรื่องศาลเทพารักษ์ได้ครับ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 ส.ค. 12, 18:08
ภาพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงวางศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร.นั้น  มีท่านผู้รู้ คือ คุณสัญชัย  หมายมั่น
อดีตนิสิตสถาปัตย์จุฬาฯ และสถาปนิกกรมศิลปากรผู้ฟื้นฟูปราสาทหินพนมรุ้งจนกลับตืนสู่สภาพสมบูรณ์  ซึ่งเมื่อเสร็จงานบูรณะ
ปราสาทหินพนมรุ้งแล้วท่านได้โอนมารับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แลพได้ใช้ประสบการณ์จากการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง
มาวัดแสงวัดมุมจนสามารถพิสูจน์ทราบได้ว่า มุมที่ทรงวางศิลาพระฤกษ์นั้นคือห้องปีกด้านตะวันออก (ด้านถนนอังรีดูนังต์) ชั้นล่าง
ของตึกบัญชาการซึ่งปัจจุบันชื่อว่า อาคารมหาจุฬาลงกรณ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 12, 20:02
อาจารย์เทาชมพูบอกชื่ออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ไม่ค่อยคุ้นชื่อ
คิดว่า คงจะเป็นอีกฝั่ง   ของหอสมุดกลางสมัยก่อน ฝั่งที่เป็นตึกเรียน

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ก็คือตึกเรียนคณะอักษรศาสตร์ ที่หันด้านหลังไปทางคณะวิศวกรรมศาสตร์นั่นละค่ะ

ภาพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงวางศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร.นั้น  มีท่านผู้รู้ คือ คุณสัญชัย  หมายมั่น
อดีตนิสิตสถาปัตย์จุฬาฯ และสถาปนิกกรมศิลปากรผู้ฟื้นฟูปราสาทหินพนมรุ้งจนกลับตืนสู่สภาพสมบูรณ์  ซึ่งเมื่อเสร็จงานบูรณะ
ปราสาทหินพนมรุ้งแล้วท่านได้โอนมารับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แลพได้ใช้ประสบการณ์จากการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง
มาวัดแสงวัดมุมจนสามารถพิสูจน์ทราบได้ว่า มุมที่ทรงวางศิลาพระฤกษ์นั้นคือห้องปีกด้านตะวันออก (ด้านถนนอังรีดูนังต์) ชั้นล่าง
ของตึกบัญชาการซึ่งปัจจุบันชื่อว่า อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

แปลกใจมากเลยค่ะ  เพราะเข้าใจตลอดมาว่าภาพที่ว่านี้ ถ่ายในห้องชั้นล่างด้านตะวันตก(คือทางด้านหันไปทางหอประชุมจุฬา)  เพราะเคยอ่านคำบรรยายใต้ภาพว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  ทรงฉายพระรูปในห้องที่ต่อมาเป็นห้องเรียนหมายเลข 10  สมัยดิฉันเรียน     ส่วนห้องปีกตะวันตกนั้นไม่ได้ใช้เรียน  เป็นห้องกิจกรรม ที่ดูธรรมดามากๆ แบ่งเป็น 2 ห้องเล็กๆ  ปัจจุบันเป็นห้อง 105 ที่ใช้สัมมนาทางวิชาการ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ส.ค. 12, 20:25
ลุงไก่จำหอสมุดกลางไม่ได้
หอสมุดกลางอยู่ด้านใน
อยู่ชั้นบนของตึก
ผมไปยืมหนังสืออ่านหลายครั้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 ส.ค. 12, 20:36
ข้อที่ชวนให้สับสนคือ เดิมประตูหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ทางถนนอังรีดูนังต์หรือด้านทิศตะวันออกเหมือนโรงเรียนวชิราวุธครับ
มาเปลี่ยนเป็นประตูด้านทิศตะวันตกหรือประตูด้านถนนพญาไทในยุคท่านผู้นำเป็นอธิการบดี  แล้วสร้างหอประชุมหันหน้าไปทางทิศตะวันตกนั่นแหละครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ส.ค. 12, 20:44
ภาพนี้น่าจะเป็นพิธีการวางศิลาฤกษ์
พอมองออกบ้างไหมว่าอยู่ที่ห้องไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 ส.ค. 12, 21:09
ได้มาจากเว็บกาญจนาภิเษกค่ะ คุณลุงไก่
http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/art/lab3/pt054_01.html

มีคำบรรยายว่า
                                                                สะพานพระรามที่ ๖
    เป็นภาพประวัติศาสตร์ของเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เลิกใหม่ ๆ ทรงฉายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2489 ขณะที่เสด็จพระราชดำเนินผ่านสะพานพระรามหกที่ชำรุดเพราะถูกระเบิดทำลาย
    เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพระรามที่ 6 ได้ถูกระเบิดทำลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ พอสงครามสงบ รัฐบาลจึงดำเนินการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน โดยจัดสร้างทางเบี่ยงขนานกับแนวสะพานเดิม เพื่อให้ยวดยานผ่านไปมา ซึ่งพอจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลงได้บ้าง
    5 มีนาคม 2489 เสด็จพระราชดำเนินผ่านไปบนสะพานเบี่ยง พอได้ทอดพระเนตรเห็นซากสะพานจึงทรงบนทึกไว้ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ที่ทรงไว้นี้ กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เพราะต่ไปเมื่อสะพานซ่อมสร้างเรียบร้อยแล้ว หากมีใครอยากรู้ว่าสะพานพระรามที่ 6 เมื่อครั้งถูกทำลาย มีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะดูได้จากภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ภาพนี้

ขออนุญาตกลับมาเรื่องสะพานพระรามหกอีกครั้งนะครับ ภาพถ่ายทางอากาศของ William Hunt ที่นำมาอ้างถึง ระบุว่าถ่ายเมื่อวันที่ 12 Mar 46 คือวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๘๙ แต่ในเวปกาญจนาภิเษกบรรยายว่าทรงฉายภาพเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๘๙ เวลาต่างกันเพียง ๗ วัน ครับ

เพิ่มเติม - ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ ต้องเผชิญหน้ากับการถูกทิ้งระเบิด ของฝ่ายสัมพันธมิตร ตามสถานที่จุดยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น หัวลำโพง เขตสี่พระยา สีลม รวมทั้งสะพานพระราม 6 ซึ่งเสียหายอย่างมาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จึงว่าจ้างบริษัทของอังกฤษ ให้มาดำเนินการซ่อมแซมสะพาน ในปี พ.ศ.2493-2496

สะพานพระราม 6 ที่ได้รับการซ่อมแซมใหม่ แตกต่างจากสะพานเดิม โดยดัดแปลงมาจาก สะพานรูปวอร์เรน (Warren Type with Posts & Hangers) ตัวสะพานมีความยาว 442.08 เมตร กว้าง 10 เมตร และสูงจากระดับน้ำทะเล 10 เมตร ซึ่งเรือขนาดธรรมดา สามารถลอดผ่านได้อย่างสบาย โดยบนสะพานมีเส้นทางแบ่งเป็น 2 สาย คือ รถไฟ 1 สาย และทางหลวง 1 สาย สร้างด้วยถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีทางเท้าคนเดิน 2 ฟาก ปูด้วยไม้อยู่นอกโครงสะพาน ด้านเหนือและด้านใต้ โดยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนิน เปิดสะพานพระราม 6 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2496


 



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 12, 21:38
ตอบคุณ visitna
เข้าใจมาตลอดว่าเป็นห้อง 10 ชั้นล่างทางทิศตะวันตกของตึกเทวาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์ค่ะ   เคยอ่านพบในหนังสือคณะเช่นนั้น   ลักษณะห้องก็เหมือนกันคือมีประตูยาวเป็นช่วงๆทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้าต่าง    
แต่พออ่านที่คุณ V_Mee เล่า ก็นึกได้ว่าทางปีกด้านตะวันออกของตึก ห้องก็มีลักษณะแบบเดียวกันเช่นกัน  

ดูรูปข้างล่างนี้ทั้งสองรูป แล้วเทียบกับห้อง ก็ยังเทียบไม่ถูก  
ดูรูปทางขวา
ถ้าหากว่าตั้งสมมุติฐานว่าห้องนี้คือห้อง 10  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่ต่อมาเป็นหน้าชั้นเรียน  (คือตรงพื้นที่อาจารย์ยืนสอนนิสิต)    ห้องนี้ก็จะเป็นห้อง 10 ไปไม่ได้  เพราะส่วนที่เป็นด้านนอกอาคารต้องอยู่ทางขวาของพระองค์ท่าน  ไม่ใช่ทางซ้าย
แต่ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นท้ายห้องในปัจจุบัน  หรือตรงหลังชั้นเรียน   ห้องนี้ก็เป็นห้อง 10 ได้  เพราะด้านนอกของอาคารจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

เอาใหม่นะคะ
ทีนี้กลับมาดูแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง   ถ้าหากว่ารูปนี้ถ่ายตอนเช้าหรือสาย   แสงแดดจะต้องส่องเข้ามาทางทิศตะวันออก   ห้องนี้ก็ต้องเป็นห้องทางด้านถนนอังรีดูนังต์  ไม่ใช่ห้อง 10 ทางด้านหอประชุม

แต่ถ้าการวางศิลาฤกษ์เริ่มในตอนบ่าย    แดดส่องมาทางทิศตะวันตก    ห้องนี้ก็คือห้อง 10  ซึ่งหันด้านข้างไปทางหอประชุมจุฬา

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่แม่นอีกนั่นแหละค่ะ    เพราะดูจากภาพซ้าย ตึกเพิ่งจะก่อสร้างเพียงห้องเดียวเท่านั้น    แดดอาจส่องเข้ามาได้ทั้งเช้าและบ่ายในห้องเดียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 ส.ค. 12, 21:39
ภาพที่ทรงฉายตามที่เวปกาญจนาภิเษกอ้างถึง อาจจะเป็นภาพนี้ครับ แต่ัวันที่ระบุ อาจจะไม่ใช่วันที่อ้างถึง คงจะต้องค้นคว้าหากันต่อ

ภาพนี้ผมก็ได้จากเวปกาญจนาภิเษกเช่นกัน และระบุวันเวลาเดียวกับภาพที่อาจารย์นำมาอ้างถึง





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 ส.ค. 12, 21:43
ตอบคุณ visitna
เข้าใจมาตลอดว่าเป็นห้อง 10 ชั้นล่างทางทิศตะวันตกของตึกเทวาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์ค่ะ   เคยอ่านพบในหนังสือคณะเช่นนั้น   ลักษณะห้องก็เหมือนกันคือมีประตูยาวเป็นช่วงๆทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้าต่าง    
แต่พออ่านที่คุณ V_Mee เล่า ก็นึกได้ว่าทางปีกด้านตะวันออกของตึก ห้องก็มีลักษณะแบบเดียวกันเช่นกัน  

ดูรูปข้างล่างนี้ทั้งสองรูป แล้วเทียบกับห้อง ก็ยังเทียบไม่ถูก  
ดูรูปทางขวา
ถ้าหากว่าตั้งสมมุติฐานว่าห้องนี้คือห้อง 10  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่ต่อมาเป็นหน้าชั้นเรียน  (คือตรงพื้นที่อาจารย์ยืนสอนนิสิต)    ห้องนี้ก็จะเป็นห้อง 10 ไปไม่ได้  เพราะส่วนที่เป็นด้านนอกอาคารต้องอยู่ทางขวาของพระองค์ท่าน  ไม่ใช่ทางซ้าย
แต่ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นท้ายห้องในปัจจุบัน  หรือตรงหลังชั้นเรียน   ห้องนี้ก็เป็นห้อง 10 ได้  เพราะด้านนอกของอาคารจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

เอาใหม่นะคะ
ทีนี้กลับมาดูแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง   ถ้าหากว่ารูปนี้ถ่ายตอนเช้าหรือสาย   แสงแดดจะต้องส่องเข้ามาทางทิศตะวันออก   ห้องนี้ก็ต้องเป็นห้องทางด้านถนนอังรีดูนังต์  ไม่ใช่ห้อง 10 ทางด้านหอประชุม

แต่ถ้าการวางศิลาฤกษ์เริ่มในตอนบ่าย    แดดส่องมาทางทิศตะวันตก    ห้องนี้ก็คือห้อง 10  ซึ่งหันด้านข้างไปทางหอประชุมจุฬา

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่แม่นอีกนั่นแหละค่ะ    เพราะดูจากภาพซ้าย ตึกเพิ่งจะก่อสร้างเพียงห้องเดียวเท่านั้น    แดดอาจส่องเข้ามาได้ทั้งเช้าและบ่ายในห้องเดียว

เปรียบเทียบกับภาพที่ผมนำมาเสนอในความเห็นที่ ๓๔๑๘

ภาพแนวต้นไม้จะอยู่ในทิศตะัวันออกด้านถนนอังรีดูนังค์และทิศใต้ด้านตึกคณะวิศกรรมศาสตร์ อาจารย์ลองสังเกตแนวต้นไม้ในภาพที่อาจารย์นำมาแสดงสิครับ

เหตุการณ์ในภาพซ้ายและภาพขวา เหตุการณ์ใดควรจะเกิดขึ้นก่อนและหลัง?

แก้ไขเพิ่มเติม - เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๕๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ส.ค. 12, 21:46
อ้างถึง
ภาพที่ทรงฉายตามที่เวปกาญจนาภิเษกอ้างถึง อาจจะเป็นภาพนี้ครับ

ขออนุญาตเพิ่มแสงหน่อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 12, 22:50
อ้างถึง
ภาพแนวต้นไม้จะอยู่ในทิศตะัวันออกด้านถนนอังรีดูนังค์และทิศใต้ด้านตึกคณะวิศกรรมศาสตร์ อาจารย์ลองสังเกตแนวต้นไม้ในภาพที่อาจารย์นำมาแสดงสิครับ
ถ้าไม่มีต้นไม้ทางทิศตะวันตก    มีแต่ทางทิศตะวันออก    ห้องนี้ก็ต้องอยู่ตรงกันห้อง 105 ในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 ส.ค. 12, 22:57
ตอบคุณ visitna
เข้าใจมาตลอดว่าเป็นห้อง 10 ชั้นล่างทางทิศตะวันตกของตึกเทวาลัยหรือคณะอักษรศาสตร์ค่ะ   เคยอ่านพบในหนังสือคณะเช่นนั้น   ลักษณะห้องก็เหมือนกันคือมีประตูยาวเป็นช่วงๆทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้าต่าง    
แต่พออ่านที่คุณ V_Mee เล่า ก็นึกได้ว่าทางปีกด้านตะวันออกของตึก ห้องก็มีลักษณะแบบเดียวกันเช่นกัน  

ดูรูปข้างล่างนี้ทั้งสองรูป แล้วเทียบกับห้อง ก็ยังเทียบไม่ถูก  
ดูรูปทางขวา
ถ้าหากว่าตั้งสมมุติฐานว่าห้องนี้คือห้อง 10  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่ต่อมาเป็นหน้าชั้นเรียน  (คือตรงพื้นที่อาจารย์ยืนสอนนิสิต)    ห้องนี้ก็จะเป็นห้อง 10 ไปไม่ได้  เพราะส่วนที่เป็นด้านนอกอาคารต้องอยู่ทางขวาของพระองค์ท่าน  ไม่ใช่ทางซ้าย
แต่ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ตรงส่วนที่เป็นท้ายห้องในปัจจุบัน  หรือตรงหลังชั้นเรียน   ห้องนี้ก็เป็นห้อง 10 ได้  เพราะด้านนอกของอาคารจะอยู่ทางเบื้องซ้าย

เอาใหม่นะคะ
ทีนี้กลับมาดูแสงที่ส่องเข้ามาในห้อง   ถ้าหากว่ารูปนี้ถ่ายตอนเช้าหรือสาย   แสงแดดจะต้องส่องเข้ามาทางทิศตะวันออก   ห้องนี้ก็ต้องเป็นห้องทางด้านถนนอังรีดูนังต์  ไม่ใช่ห้อง 10 ทางด้านหอประชุม

แต่ถ้าการวางศิลาฤกษ์เริ่มในตอนบ่าย    แดดส่องมาทางทิศตะวันตก    ห้องนี้ก็คือห้อง 10  ซึ่งหันด้านข้างไปทางหอประชุมจุฬา

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่แม่นอีกนั่นแหละค่ะ    เพราะดูจากภาพซ้าย ตึกเพิ่งจะก่อสร้างเพียงห้องเดียวเท่านั้น    แดดอาจส่องเข้ามาได้ทั้งเช้าและบ่ายในห้องเดียว

คัดลอกจากวิกิไทย ประวัติคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ หรือที่เรียกติดปากว่า "เทวาลัย" เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2457 ให้เป็นตึกบัญชาการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ออกแบบโดย ดร. คาร์ล โดริง (Dr. Karl Dohring) นายช่างชาวเยอรมัน ซึ่งรับราชการในกระทรวงมหาดไทย และนายเอดเวิร์ด ฮีลีย์ (Mr. Edward Healey) นายช่างชาวอังกฤษ ซึ่งรับราชการในกระทรวงธรรมการ โดยนำศิลปะไทยโบราณที่สุโขทัยและสวรรคโลกมาคิดปรับปรุงขึ้นเป็นแบบของอาคาร

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนที่กำลังก่อสร้างเพื่อทรงวางศิลาพระฤกษ์ หลังจากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

อาคารดังกล่าวใช้เป็นสำนักงานบริหารและเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า "ตึกบัญชาการ" ต่อมาอาคารดังกล่าวก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ตึกอักษรศาสตร์ 1" และ "อาคารมหาจุฬาลงกรณ์" โดยลำดับ

http://203.172.205.25/ftp/intranet/ChulalongkornUniversityHistory/history/dist/stone_th.htm

จากเวลาที่ทรงประกอบพิธีในเวปที่อ้างถึง คือ ๑๖.๐๗ น. และจากทิศทางของแสง ในเดือนมกราคม พระอาทิตย์จะเบนไปทางทิศตะัวันตกเฉียงใต้

ตำแหน่งของหลุมศิลาฤกษ์น่าจะอยู่ทางทิศใต้ของอาคาร ... ผมสันนิษฐานอย่างนี้นะครับ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 05:08
ตำแหน่งของหลุมศิลาฤกษ์น่าจะอยู่ทางทิศใต้ของอาคาร ... ผมสันนิษฐานอย่างนี้นะครับ


ขอแก้ไขเป็นทิศตะัวันออกเฉียงใต้ของอาคารครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ส.ค. 12, 06:47

ในภาพ 3430  จะเห็นเสาใหญ่ที่สุด  ซึ่งเป็นเสาสุดท้าย
คงจะวางตรงแนวนอกสุดหรือใกล้แถวผนังอาคาร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 08:19
จากภาพเขียนที่คุณพี่ visitna นำมาประกอบเรื่อง ความเห็นของผมคือ ตรงห้องที่อยู่ตรงบันไดขึ้นตึกนั่นแหละครับ

จะเป็นห้องเลขที่เท่าไร ต้องให้อาจารย์ฯ ท่านบอกให้ทราบ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ส.ค. 12, 08:38
ขออนุญาตแก้ไขข้อมูลจากคุณวิกี้ที่คุฯลุงไก้อ้างถึงว่า ผู้ที่ออกแบบตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ คาร์ล ดอร์ริง และเอดเวิร์ด ฮีลี่นั้น
ที่ถูกคือ ดอร์ริงเสนอราคามาสูงมาก  สภากรรมการจึงเลือกแบบของฮีลี่  และผู้ที่ออกแบบลวดลายไทยที่ไม่มีใครพูดถึงน่าจะเป็น พระสมิทธเลขา (ปลั่ง  วิภาตะศิลปิน)
ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาจินดารังสรรค์ สองท่านนี้เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างหอสวดและหอนอนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ซึ่งสร้างขึ้น
พร้อมๆ กัน  วางศิลาพระฤกษ์ในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา ๑ มกราคม ๒๔๕๘ เหมือนกัน

นอกจากตำแหน่งที่เสด็จฯ วางศิลาพระฤกษ์แล้ว  ใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่านได้โปรดสังเกตที่หน้าบันของอาคารนี้ที่เป็นงานปูนปั้นชั้นครู  มุขกลางของอาคารทำเป็นมุขลด 
มุขหน้าเป็นลายปูนปั้นรูปพระเกี้ยวหรือตราแผ่นดิน(จำไม่ได้) มีความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดการอุดมศึกษาไทย
หน้าบันอีก ๖ หน้าบัน ล้วนเป็นรูปพระครุฑพ่าห์  ที่รัดอกประดับด้วยตราจักรกับตรี  มีลายกนกหัวนาคขนาบ ๒ ข้างๆ ละ ๓ ตัว  ซึ่งพอจะอธิบายความได้ว่า
มุขทั้ง ๖ นั้น หมายถึงอาคารนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๖
พระครุฑพ่าห์มีตราจักรกับตรีประดับที่อก  หมายถึงพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรีทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งสถาบันการศึกษานี้
ลายกนกก้านขดหัวพญานาค ๒ ข้างๆ ละ ๓ ตัว  ตรงกับ "๓รอบ มโรงนักษัตร"  และกนกก้านขดในแต่ละหน้าบันนับรวมกันได้ ๖ ตัว  รวม ๖ หน้าบัน
เท่ากับ ๓๖ ตัว  จึงมีความหมายว่าอาคารนี้สร้างขึ้นในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา ๓ รอบใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครบ ๓ รอบ
ในวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๕๙  และเมื่อมีนักเรียนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ๒๔๕๙  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน
โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร.ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นพระบรมราชานุสรณ์ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมายุครบ ๓ รอบมโรงนักษัตร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 12, 09:18
ตึกมหาจุฬาลงกรณ์หรือตึกอักษรศาสตร์  มีตึกแฝดที่สร้างขึ้นภายหลังอยู่ตรงกันข้าม  มีระเบียงยาวเชื่อมตึกทั้งสองเข้าด้วยกัน    ตึกแฝดเมื่อก่อนเรียกว่าตึกหอสมุด   ชั้นสองเป็นห้องสมุดที่คุณ visitna เคยขึ้นไปอ่านหนังสือ     แม้ว่าโครงสร้างอาคารทำแบบเดียวกัน  แต่ตึกอักษรศาสตร์มีรายละเอียดที่ประณีตงดงามกว่าก็ตรงหน้าบันที่มีลวดลายสัญลักษณ์ อย่างที่คุณ V_Mee รวบรวมมาให้อ่านกันนี่ละค่ะ

ส่วนคำถามของคุณลุงไก่ทำให้ดิฉันงงหนักเข้าไปอีก    ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าศิลาฤกษ์ไม่ได้อยู่ในห้องทางทิศตะวันออกด้านถนนอังรี ดูนังต์ อย่างที่คุณสถาปนิกสัญชัย หมายมั่นคำนวณมา  แล้วคุณ V_Mee นำมาถ่ายทอดให้อ่านกันอีกที
แต่อยู่ในห้องหมายเลข 10 ทางทิศตะวันตกด้านหอประชุมจุฬา  อย่างที่ดิฉันอ่านพบในหนังสือคณะมา

ถ้าแนวต้นไม้ในภาพที่คุณลุงไก่เอ่ยถึง อยู่ในทิศตะวันออกด้านถนนอังรีดูนังค์และทิศใต้ด้านตึกคณะวิศกรรมศาสตร์     ห้องนี้ก็ต้องอยู่ทางทิศตะวันออก คือห้อง 105 ในปัจจุบัน    เพราะถ้าเป็นห้อง 10 ทางทิศตะวันตก จะไม่สามารถมองเห็นแนวต้นไม้ทางถนนอังรี ดูนังต์ใกล้ๆขนาดนั้นได้  เพราะมันไกลกันมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 09:29
เรียนอาจารย์ฯ ครับ

ตามที่ผมอธิบายหมายถึงอาคารด้านตะวันออก ด้านถนนอังรีดูนังค์ครับ

ด้านเฉียงใต้ หมายถึงมุมอาคารด้านที่หันไปทางด้านโรงอาหารของคณะวิศวฯ ครับ

ลุงเทียมมี่แกจะจอดรถเข็นขายผลไม้สดและดองตรงมุมตึกนี้ประจำ ก่อนที่จะเข็นต่อเข้าไปทางโรงอาหารของคณะอักษรฯ ด้านตึก ๔ น่ะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 12, 09:48
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=35468;image)

จากภาพเขียนที่คุณพี่ visitna นำมาประกอบเรื่อง ความเห็นของผมคือ ตรงห้องที่อยู่ตรงบันไดขึ้นตึกนั่นแหละครับ

จะเป็นห้องเลขที่เท่าไร ต้องให้อาจารย์ฯ ท่านบอกให้ทราบ

งั้นคุณลุงไก่เข้าใจผิดแล้วค่ะ  ภาพเขียนที่คุณ visitna นำมาแสดงคือภาพห้องทิศตะวันตก หันไปทางหอประชุมจุฬา  ห้องตรงบันไดขึ้นตึกคือห้องเลขที่ 10
ดิฉันยังหาภาพห้องด้านตะวันออกไม่ได้   แต่นึกออกว่าคุณลุงไก่หมายถึงห้องกิจกรรมนิสิตในอดีตสมัยดิฉันเรียน   ปัจจุบันคือห้อง 105 ที่จัดสัมมนาทางวิชาการ    หันไปทางถนนอังรี ดูนังต์  พอเข้าประตูใหญ่ด้านนี้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสู่ทางคณะวิศวฯ ก็จะผ่านห้องนี้ละค่ะตรงริมสุดของตึกอักษรศาสตร์(หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 12, 09:51
"การสร้างตึกอนุสรณ์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์นั้นเมื่อแรกสร้างได้เพียงปีกเดียว เนื่องจากแค่สร้างปีกเดียวนี้เงินก็แทบจะหมดงบแล้ว ความทราบถึงพระองค์ท่านก็โปรดให้หาเงินทุน โดยปลูกห้องตึกแถวให้เช่าเมื่อได้เงินมาแล้วก็ทะยอยสร้างตึกอีกปีหนึ่ง และหอกลางต่อไป อาคารนั้นหันด้านหน้าไปถนนสนามม้า...." หม่อมเจ้าปิยะรังสิต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 12, 09:53
พักสายตาด้วย "ศิลปะนูนสูง ประติมากรรมครุฑยุคนาค หน้าอกครุฑทำปูนปั้นตราจักรี" ตาดี ๆ ช่วยกันมอง ประดับอยู่ที่ใด ?  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 10:16

ดิฉันยังหาภาพห้องด้านตะวันออกไม่ได้   แต่นึกออกว่าคุณลุงไก่หมายถึงห้องกิจกรรมนิสิตในอดีตสมัยดิฉันเรียน   ปัจจุบันคือห้อง 105 ที่จัดสัมมนาทางวิชาการ    หันไปทางถนนอังรี ดูนังต์  พอเข้าประตูใหญ่ด้านนี้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสู่ทางคณะวิศวฯ ก็จะผ่านห้องนี้ละค่ะตรงริมสุดของตึกอักษรศาสตร์(หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์)

[/quote]

ห้องด้านตะวันออก น่าจะเป็นในภาพนี้นะครับอาจารย์

ถามต่อเลย ... บุคคลในภาพคือ?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 31 ส.ค. 12, 10:32

เมื่อยังมุงจาก ตึกอักษรหันไปด้านใด 

รูปครุฑอยู่ที่หน้าบันใช่หรือไม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 12, 12:20
ตอบคุณลุงไก่
ใช่ค่ะ ห้องด้านตะวันออก  คือห้อง 105 ในปัจจุบัน
นิสิตหนุ่มปั่นจักรยานผ่านห้องนี้ไปคือหนึ่งในนิสิตเก่าดีเด่นของคณะอักษรศาสตร์ ศ. ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน

ตอบคุณกะออม    
เมื่อแรกสร้าง ตึกอักษรศาสตร์หันหน้าไปทางทิศเหนือ คือทางตึกบรมราชกุมารีในปัจจุบันค่ะ
รูปครุฑอยู่ที่หน้าบัน ใช่แล้ว  มี ๖ แห่งด้วยกัน  

เข้ามาแก้ไขคำตอบ
ผิดเสียแล้ว   ถ้าดูจากรูปนี้ว่านี่เป็นการถ่ายหน้าตึกอักษรเมื่อแรกสร้าง    หน้าตึกอักษรต้องหันไปทางทิศใต้ คือด้านคณะวิศวกรรมศาสตร์
ปีกซ้ายในภาพ  ห้องชั้นบนคือห้องเรียนรวมของนิสิตปี 3 (สมัยดิฉันเรียน)  ชั้นล่างเป็นห้องทำงานของภาควิชาภาษาฝรั่งเศส ศ.คุณหญิงจินตนานั่งทำงานอยู่ในห้องชั้นล่างนี้
ปีกขวาในภาพ   ห้องชั้นบนคือห้องเรียนรวมของพวกปี 2    ส่วนห้องด้านล่าง  แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่เห็นน่าจะเป็นห้องของฝ่ายธุรการ  และด้านหลังเป็นห้องกิจกรรมนิสิต

ถ้าการก่อสร้างตึกเริ่มจากทางด้านนี้     การวางศิลาฤกษ์ก็น่าจะทำในห้องชั้นล่าง    แต่ต่อมาเมื่อมีการสร้างตึกอีกหลังหนึ่งขึ้นมาคู่กับตึกอักษรศาสตร์  ที่เรียกว่าตึกหอสมุด   การเชื่อมต่อด้านหลังตึกอักษรศาสตร์ไปยังตึกใหม่  ทำให้ด้านนี้กลายเป็นด้านหลังของคณะอักษรศาสตร์   และด้านหลังกลายเป็นด้านหน้าไป เพราะใช้งานมากกว่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 12:25

ดิฉันยังหาภาพห้องด้านตะวันออกไม่ได้   แต่นึกออกว่าคุณลุงไก่หมายถึงห้องกิจกรรมนิสิตในอดีตสมัยดิฉันเรียน   ปัจจุบันคือห้อง 105 ที่จัดสัมมนาทางวิชาการ    หันไปทางถนนอังรี ดูนังต์  พอเข้าประตูใหญ่ด้านนี้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสู่ทางคณะวิศวฯ ก็จะผ่านห้องนี้ละค่ะตรงริมสุดของตึกอักษรศาสตร์(หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์)


มองจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ... เสาไฟฟ้าด้านหลัง ...ริมถนนอังรีดูนังค์


[/quote]


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 12:31
อาคารด้านทิศตะวันตก ... มองจากทิศตะวันตกเฉียงใต้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 12, 12:34
ตอบปาดหน้าคุณลุงไก่ไปแล้วนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ส.ค. 12, 12:44
เอาภาพ 3444 มาขยายให้ดูอีกที
ทางขวามือของภาพ คือที่ตั้งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน
ทางซ้ายของภาพ คือตึกหอสมุดซึ่งยังไม่ได้สร้าง
ห้องชั้นล่างที่ลูกศรชี้คือห้องทิศตะวันตก  ต่อมาคือห้องหมายเลข 10
คนถ่ายภาพนี้ปักกล้องอยู่ตรงปีกด้านข้างของหอประชุมจุฬา ซึ่งยังไม่ได้สร้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 12:46
ขออนุญาตแย้งอาจารย์เรื่องตำแหน่งของผู้ถ่ายภาพครับ .. ผู้ถ่ายภาพน่าจะอยู่ทางด้านตึกจักรพงษ์หรือตรงสามแยกปากหมามุมตึก ๓ คณะวิศวฯ ครับ

ผมไม่ถนัดเรื่องงานศิลปกรรมนะครับ

คุยเรื่องตึกกันจนเหนื่อย ... ย้ายมาคุยกันเรื่องเสาธงบ้าง

เสาธงจุฬาฯ มีมาตั้งแต่เมื่อใด



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 31 ส.ค. 12, 14:02
น่าจะถ่ายจากสนามหญ้าด้านข้างหอประชุมครับ จากตึกจักรพงษ์มองไม่เห็นตึกนี้ครับ ถูกตึก 3 คณะวิศวฯ บังครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 14:56
น่าจะถ่ายจากสนามหญ้าด้านข้างหอประชุมครับ จากตึกจักรพงษ์มองไม่เห็นตึกนี้ครับ ถูกตึก 3 คณะวิศวฯ บังครับ

ผมหมายถึงว่าถ่ายภาพมาจากมุมนี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ส.ค. 12, 15:02
เรื่องเกี่ยวกับเสาธงไม่รู้จะไปหาข้อมูลที่ไหน
ที่บ้านไม่มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
มีรูปถ่ายหน้าเสาธง ลุงไก่เคยเห็น
คงไม่เอามาโชว์อีกแล้ว--กลัวคนเบื่อหน้า    ;D

เกี่ยวข้องกับอาจารย์ภิญโญบ้างไหม? 
พอจำได้ว่าสมัยหนึ่งแกมีนามสกุลว่าเสาธง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 12, 15:08
ขออนุญาตแย้งอาจารย์เรื่องตำแหน่งของผู้ถ่ายภาพครับ .. ผู้ถ่ายภาพน่าจะอยู่ทางด้านตึกจักรพงษ์หรือตรงสามแยกปากหมามุมตึก ๓ คณะวิศวฯ ครับ

ผมไม่ถนัดเรื่องงานศิลปกรรมนะครับ

คุยเรื่องตึกกันจนเหนื่อย ... ย้ายมาคุยกันเรื่องเสาธงบ้าง

เสาธงจุฬาฯ มีมาตั้งแต่เมื่อใด



เราเริ่มเคารพเพลงและธงชาติไทย ก็เมื่อนั้นแหละท่าน ยุคคำสั่งสร้างชาติของ จอมพล ป. น่าจะมีผลถึงกันไม่มากก็น้อย เพราะภาพเก่า พ.ศ. ๒๔๙๘ มีธงชาติอยู่หน้าหอประชุมแล้ว ทั้งนี้วัสดุที่ก่อสร้างก็เป็นวัสดุอย่างดีด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ส.ค. 12, 15:32
ไม่ต้องรอให้คุณหนุ่มขัดตะเกียง ....


เกี่ยวข้องกับอาจารย์ภิญโญบ้างไหม? 
พอจำได้ว่าสมัยหนึ่งแกมีนามสกุลว่าเสาธง

555 ดร. ภิญโญ สาธร แต่หนังสือพิมพ์ตั้งเปลี่ยนนามสกุลใหม่ให้ท่านว่า ดร. ภิญโญ เสาธง  สมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
กับนโยบายก่อสร้างเสาธงที่สูงที่สุดในประเทศไทย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 12, 15:38
ไม่ต้องรอให้คุณหนุ่มขัดตะเกียง ....


เกี่ยวข้องกับอาจารย์ภิญโญบ้างไหม? 
พอจำได้ว่าสมัยหนึ่งแกมีนามสกุลว่าเสาธง

555 ดร. ภิญโญ สาธร แต่หนังสือพิมพ์ตั้งเปลี่ยนนามสกุลใหม่ให้ท่านว่า ดร. ภิญโญ เสาธง  สมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
กับนโยบายก่อสร้างเสาธงที่สูงที่สุดในประเทศไทย

ขอบคุณครับลุงไก่ ... ตั้งธงไว้รอนานแล้วกระมัง  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ส.ค. 12, 15:40
หยอดภาพสามมิติลงไป เป็นกลุ่มภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นตึกใหญ่ยาว ๒ ชั้น ชั้นล่างมีกำแพงปรุกระเบื้องฉลุ ด้านข้างมีศาลา ที่ไหนกันหนอ  ???

วังหน้าหรือไม่  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ส.ค. 12, 17:55
ภาพเก่าตั้งแต่ ร๔  หรือไม่?
ลองหาๆดูไม่มีที่ไหนใกล้เคียง
ดูของฮันท์   ที่วังหน้า     ไม่มีอาคารลักษณะใกล้เคียง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ส.ค. 12, 19:31
น่าจะเป็นวังหน้า ส่วนที่ถูกรื้อไปก่อนนายฮันท์จะบินถ่ายภาพ

ภาพข้างล่าง ผู้บรรยายภาพบอกว่าเป็นทหารวังหน้า คงเป็นพวกคนต่างด้าวทั้งหลาย ไม่ทราบอาสาจามหรือเปล่า แต่คงไม่ใชอาสาญวน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.ย. 12, 09:35
น่าจะเป็นวังหน้า ส่วนที่ถูกรื้อไปก่อนนายฮันท์จะบินถ่ายภาพ

ภาพข้างล่าง ผู้บรรยายภาพบอกว่าเป็นทหารวังหน้า คงเป็นพวกคนต่างด้าวทั้งหลาย ไม่ทราบอาสาจามหรือเปล่า แต่คงไม่ใชอาสาญวน

สิงโตหินนั้น ตั้งอยู่ที่พระที่นั่งคชกรรมฯ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.ย. 12, 12:23
ภาพหน้าเวิ้งนาครฯ
ผ่านกรรมวิธีสามโปรแกรม
ทำให้ชัดกว่านี้ไม่ได้แล้ว

ภาพมีลิขสิทธิ์ วางให้ผู้สนใจดูเก็บไว้

วางชั่วคราว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 12, 14:02
พระที่นั่งคชกรรมประเวศ ในวังหน้า    ที่ถูกรื้อไปแล้ว
คนละแห่งกับรูปสามมิติของคุณ siamese  ???
แต่แห่งเดียวกับรูปในค.ห. 3456 ของคุณ NAVARAT.C


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ก.ย. 12, 08:32
ภาพเก่าตั้งแต่ ร๔  หรือไม่?
ลองหาๆดูไม่มีที่ไหนใกล้เคียง
ดูของฮันท์   ที่วังหน้า     ไม่มีอาคารลักษณะใกล้เคียง

อ่านผ่านตาไปเมื่อคืนนี้เองว่าอาคารส่วนใหญ่ที่วังหน้าถูกรื้อถอนลงใสมัยรัชกาลที่ ๖ (น่าจะใช้พื้นที่) เพื่อจัดตั้งกรมทหารขึ้น (กรมทหารราบที่ ?)

จากนั้นในสมัยประชาธิปไตย พื้นที่นี้จึงมาเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ย. 12, 10:10
น่าจะเป็นวังหน้า ส่วนที่ถูกรื้อไปก่อนนายฮันท์จะบินถ่ายภาพ

ภาพข้างล่าง ผู้บรรยายภาพบอกว่าเป็นทหารวังหน้า คงเป็นพวกคนต่างด้าวทั้งหลาย ไม่ทราบอาสาจามหรือเปล่า แต่คงไม่ใชอาสาญวน

ภาพที่ยกมาเห็นภาพทหารเฝ้าอยู่นั้น มาจากการตัดบางส่วนของภาพซึ่งจัดภาพใหญ่ให้เต็ม จะได้รับชมกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 14:21
อาคารที่้เห็นในรูปนี้ เรียกว่าอะไรคะ  ปัจจุบันอยู่ตรงไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ย. 12, 15:19
พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท อยู่ด้านตะวันออก ของพระราชวัง
อยู่ริมถนนสนามไชย



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%84%E0%B8%98%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 02 ก.ย. 12, 16:24
กรมทหารที่คุณลุงไก่ถามถึง คือ กรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ครับ
เมื่อเกิดกบฏบวรเดชใน พ.ศ. ๒๔๗๖ แล้ว  รัฐบาลในขณะนั้นได้ตระหนักว่า จำจะต้องมีหน่วยทหารไปตั้งประจำรักษาอยู่ที่ชายพระนคร
เพื่อเป็นนวระวังด่านป้องกันกองทหารจากหัวเมืองยกเข้ามาโจมตีกรุงเทพฯ อีก  จึงได้ย้ายกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ออกจากพื้นที่
ท่าพระจันทร์ไปอยู่ที่ทุ่งบางเขน  ส่วนพื้นที่ท่าพระจันทร์นั้นก็เลยกลายเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองไป  เพราะเดิม
ผู้ประสาธน์การท่านเลือกจะไปตั้ง มธก. ที่พระราชนิเวศนืมฤตทายวัน  แต่เนื่องจากไกลจากกรุงเทพฯ  เมื่อ ร.๑๑ ร.อ. ย้ายออกไปแล้ว
กรมยุวชนทหารที่ตอนแรกก็ตั้งอยู่ที่ท่าพระจันทร์เหมือนกันเลยต้องย้ายตามออกไป  แล้ว มธก.ก็เข้าใช้พื้นที่ท่าพระจันทร์มาจนถึงทุกวันนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 04 ก.ย. 12, 13:32
ด้วยความขอบคุณคุณพี่สมชัยฯ ที่ช่วยอนุเคราะห์บอกสถานที่ให้ จึงดั้นด้นไปถ่ายทำไว้เป็นที่ระลึก

เอ้า .. อยู่ถัดบ้านคุณพี่ไปนิดเดียวเอง ... วัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 04 ก.ย. 12, 13:36
กรมทหารที่คุณลุงไก่ถามถึง คือ กรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ครับ
เมื่อเกิดกบฏบวรเดชใน พ.ศ. ๒๔๗๖ แล้ว  รัฐบาลในขณะนั้นได้ตระหนักว่า จำจะต้องมีหน่วยทหารไปตั้งประจำรักษาอยู่ที่ชายพระนคร
เพื่อเป็นนวระวังด่านป้องกันกองทหารจากหัวเมืองยกเข้ามาโจมตีกรุงเทพฯ อีก  จึงได้ย้ายกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ออกจากพื้นที่
ท่าพระจันทร์ไปอยู่ที่ทุ่งบางเขน  ส่วนพื้นที่ท่าพระจันทร์นั้นก็เลยกลายเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองไป  เพราะเดิม
ผู้ประสาธน์การท่านเลือกจะไปตั้ง มธก. ที่พระราชนิเวศนืมฤตทายวัน  แต่เนื่องจากไกลจากกรุงเทพฯ  เมื่อ ร.๑๑ ร.อ. ย้ายออกไปแล้ว
กรมยุวชนทหารที่ตอนแรกก็ตั้งอยู่ที่ท่าพระจันทร์เหมือนกันเลยต้องย้ายตามออกไป  แล้ว มธก.ก็เข้าใช้พื้นที่ท่าพระจันทร์มาจนถึงทุกวันนี้


ผมไปค้นใน รจ ได้ความว่าเป็น กรมทหารราบที่ ๔ ครับ ไม่ใช่กรมทหารราบที่ ๑๑
และเวนคืนพื้นที่กรมทหารราบที่ ๔ ด้านที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและกรมคลังแสงด้านที่ถัดเข้ามาจนถึงถนนหน้าพระลานให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ก.ย. 12, 13:37
ด้วยความขอบคุณคุณพี่สมชัยฯ ที่ช่วยอนุเคราะห์บอกสถานที่ให้ จึงดั้นด้นไปถ่ายทำไว้เป็นที่ระลึก

เอ้า .. อยู่ถัดบ้านคุณพี่ไปนิดเดียวเอง ... วัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์




หลงคิดว่าเป็นถนนตรีเพชร ด้วยมีเจดีย์เหมือนกันเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ย. 12, 16:59
เจ้านายน้อยๆพระองค์นี้น่ารักน่าเอ็นดู   ไม่รู้ว่าพระองค์ไหน
ภาพโดย Wilhelm Birger


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 04 ก.ย. 12, 19:36
คือชื่อกรมทหารนั้นมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายครั้งครับ
กรมทหารราบที่ ๑๑ นั้น  เดมเรียกว่า กรมทหารล้อมวัง  แล้วเปลี่ยนมาเป็นกรมทหารบกราบที่ ๒
เมื่อจัดระเบียบเป็น ๑๐ กองพลในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อต้นรัชกาลที่ ๖  เปลี่ยนเป็นกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
พอยุบรวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ ๗  มีการเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรจำไม่ได้ครับ
ครั้นเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว  มีการแปรสภาพกรมทหารอีกครั้งโดยยุบกองพล และกรมทิ้งไปหมด
คงเหลือแต่หน่วยระดับกองพัน  ตอนนี้ละครับที่ชื่อหน่วยเปลี่ยนเป็นกองพันอะไรต่อมิอะไรวุ่นวายไปหมด
กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. ก็ถูกแปรสภาพมาเป็น ร.พัน ๙ ในคราวนี้

ถึงสงครามอินโดจีนมีปัญหาในการสนธิกำลังเข้าปฏิบัติการสนาม  จึงมีการตั้งกองพลและกลับขึ้นมาใหม่
และหน่วยที่ย้ายไปจากท่าพระจันทร์ไปอยู่ที่บางเขนก็กลับได้ชื่อว่า กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
ตามประวัติศาสตร์ของหน่วยครับ  ส่วนกองพันทหารราบที่ ๑ ที่สวนเจ้าเชตุที่เดิมเคยเป็นกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑
มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. ก็กลับคืนสถานภาพเดิม  ส่วน ร.พัน ๙  ก็กลายมาเป็นกองพันที่ ๓  กรมทหารราบที่ ๑
มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร. ด้วยประการฉะนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 12, 11:50
เจ้านายน้อยๆพระองค์นี้น่ารักน่าเอ็นดู   ไม่รู้ว่าพระองค์ไหน
ภาพโดย Wilhelm Birger

พระองค์เจ้านารีรัตนา ครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 12, 12:10
คำตอบจากคุณหนุ่มจินนี่ ณ ตะเกียงวิเศษทำให้ต้องรีบไปค้นพระประวัติพระองค์เจ้านารีรัตนามาอ่าน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2468 พระชันษา 65 ปี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาดวงคำ ซึ่งเป็นหลานปู่ของ เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองนครเวียงจันทน์ แต่เป็นหลานตาของ เจ้าอุปราชด้วย
เมื่อเจ้าอนุฯ ก่อการวุ่นวายขึ้นในรัชกาลที่ 3 เจ้าอุปราชไม่ได้ร่วมด้วย ได้พาครอบครัวเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เจ้าจอมมารดาดวงคำจึงเกิดที่กรุงเทพฯ
พระองค์เจ้านารีรัตนา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2468 พอดีสิ้นรัชกาล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ย. 12, 12:12
ขออีกภาพเถอะค่ะ คุณหนุ่มสยาม
พระรูปนี้ มีคำอธิบายว่าเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์   ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
ใช่ท่านไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ย. 12, 13:33
ขออีกภาพเถอะค่ะ คุณหนุ่มสยาม
พระรูปนี้ มีคำอธิบายว่าเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์   ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
ใช่ท่านไหมคะ

ถูกต้องครับเป็นภาพพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 12, 14:18
ขอบคุณค่ะ  ตอนทรงพระเยาว์ น่ารักมาก ดูฉลาดเฉลียว  พระบุคลิกภาพมีสง่าราศีผิดกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน

มีอีกรูปมาถามค่ะ  อยากทราบว่าวัดพระเชตุพนหรือเปล่าคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.ย. 12, 16:16

มีอีกรูปมาถามค่ะ  อยากทราบว่าวัดพระเชตุพนหรือเปล่าคะ

ภาพถ่ายจากวัดอรุณราชวรารามไปยังท่าเตียน เห็นวัดพระเชตุพนฯ และชุมชนท่าเตียน ใน่วนของวัดจะเห็นการก่อสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔ ยังคงก่อสร้างไม่เสร็จ ด้านหน้าเห็นประตูเมืองสามเหลี่ยมสีขาวสะอาดตา ซึ่งเป็นการดัดแปลงประตูเมืองจากประตูไม้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูเมืองแบบมีหอรบในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถัดกำแพงเมืองไปทางขวามือเราจะเห็นหลังคาป้อมพระนคร "ภูผาสุทัศน์" ด้านหน้าเป็นย่านชุมชนท่าเตียนซึ่งพัฒนาเป็นตลาดท่าเตียนในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 28 ก.ย. 12, 21:40
ภาพนี้ใช่ ขุนฉายาสาทิศกร หรือเปล่าครับ

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00932.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 ก.ย. 12, 21:47
คงไม่ใช่ สวมชุดครุย น่าจะเป็นผู้พิพากษามากกว่า  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 28 ก.ย. 12, 21:53
คงไม่ใช่ สวมชุดครุย น่าจะเป็นผู้พิพากษามากกว่า  ;)
ขอบคุณครับพี่หน้าแตกเลยเรา  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 29 ก.ย. 12, 20:52
น่าจะเป็น ๑ ใน ๒๘ ตุลาการที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้จำหลักชื่อไว้ปลายพระแท่นในคราวคดีพญาระกา
ซึ่งในชั้นนี้พอจะตัดออกไปได้ ๑ รายคือ เจ้าพระยามหิธร (ลออ  ไกรฤกษ์) คงเหลืออีก ๒๗ รายที่จะต้องลองค้นกันดู
ที่สามารถยืนยันได้ว่าเป็น ๑ ใน ๒๗ ตุลาการที่ไม่รวมเจ้าพระยามหิธรนั้น  เพราะเสื้อครุยที่ท่านสวมเป็นเสื้อครุยดำแบบ
ตะวันตกที่เสด็จในกรมราชบุรีฯ ทรงนำมาให้ศิษย์ในพระองค์ที่สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยามตามหลักสูตรที่ทรงจัดแล้ว
เมื่อทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดียุติธรรมในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ แล้ว  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์ใหม่ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริแบบ
เสื้อครุยเนติบัณฑิตให้ใหม่  จากนั้นจึงได้ทรงพระราชดำริเสื้อครุยเนติบัณฑิตให้ใหม่เป็นเสื้อครุยแบบไทย  ซึ่งต่อมาได้
เป็นต้นแบบของเสื้อครุยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งใช้กันมาถึงปัจจุบัน  ส่วนเสื้อครุยดำนั้นก็เลิกใช้ไป 

จนเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านว่ากันว่า (ไม่ทราบว่าท่านไหน) เสื้อครุยอย่างแบบไทยนั้นไม่ทน  เพราะเป็นผ้าโปร่ง 
การที่สวมบ่อยๆ ทำให้ขาดง่าย  ท่านเลยเปลี่ยนมาเป็นครุยดำแบบฝรั่งเศส  แล้วเอาแถบสำรดที่ขอบเสื้อครุยแบบไทยนั้น
ไปทำเป็นผ้าพาดบ่าแทน  แต่เหตุผลจริงๆ น่าจะเป็นเพราะเสื้อครุยแบบไทยนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นของพระราชทาน
พอถึงรัชกาลที่ ๗ ผู้ที่สอบไล่ได้ต้องตัดเอง  แล้วแถบทองที่สำรดริมขอบเสื้อครุยนั้นเป็นแถบดิ้นทองแท้  ราคาเสื้อครุย
ต่อตัวจึงค่อนข้างสูง  กอปรกับเวลานั้นมีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นมาแล้ว  และธรรมศาสตร์บัณฑิต
จาก มธฏ.นั้นท่านให้ใช้เสื้อครุยดำแบบฝรั่งเศส  เมื่อสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตก็เพียงแต่เปลี่ยนผ้าพาดบ่าอันทำให้ประหยัด
ไปได้หลายเงินทีเดียว
   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 07:15
น่าจะเป็น ๑ ใน ๒๘ ตุลาการที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้จำหลักชื่อไว้ปลายพระแท่นในคราวคดีพญาระกา
ซึ่งในชั้นนี้พอจะตัดออกไปได้ ๑ รายคือ เจ้าพระยามหิธร (ลออ  ไกรฤกษ์) คงเหลืออีก ๒๗ รายที่จะต้องลองค้นกันดู
ที่สามารถยืนยันได้ว่าเป็น ๑ ใน ๒๗ ตุลาการที่ไม่รวมเจ้าพระยามหิธรนั้น  เพราะเสื้อครุยที่ท่านสวมเป็นเสื้อครุยดำแบบ
ตะวันตกที่เสด็จในกรมราชบุรีฯ ทรงนำมาให้ศิษย์ในพระองค์ที่สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยามตามหลักสูตรที่ทรงจัดแล้ว
เมื่อทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดียุติธรรมในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ แล้ว  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพระองค์ใหม่ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริแบบ
เสื้อครุยเนติบัณฑิตให้ใหม่  จากนั้นจึงได้ทรงพระราชดำริเสื้อครุยเนติบัณฑิตให้ใหม่เป็นเสื้อครุยแบบไทย  ซึ่งต่อมาได้
เป็นต้นแบบของเสื้อครุยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งใช้กันมาถึงปัจจุบัน  ส่วนเสื้อครุยดำนั้นก็เลิกใช้ไป 

จนเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านว่ากันว่า (ไม่ทราบว่าท่านไหน) เสื้อครุยอย่างแบบไทยนั้นไม่ทน  เพราะเป็นผ้าโปร่ง 
การที่สวมบ่อยๆ ทำให้ขาดง่าย  ท่านเลยเปลี่ยนมาเป็นครุยดำแบบฝรั่งเศส  แล้วเอาแถบสำรดที่ขอบเสื้อครุยแบบไทยนั้น
ไปทำเป็นผ้าพาดบ่าแทน  แต่เหตุผลจริงๆ น่าจะเป็นเพราะเสื้อครุยแบบไทยนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นของพระราชทาน
พอถึงรัชกาลที่ ๗ ผู้ที่สอบไล่ได้ต้องตัดเอง  แล้วแถบทองที่สำรดริมขอบเสื้อครุยนั้นเป็นแถบดิ้นทองแท้  ราคาเสื้อครุย
ต่อตัวจึงค่อนข้างสูง  กอปรกับเวลานั้นมีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นมาแล้ว  และธรรมศาสตร์บัณฑิต
จาก มธฏ.นั้นท่านให้ใช้เสื้อครุยดำแบบฝรั่งเศส  เมื่อสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตก็เพียงแต่เปลี่ยนผ้าพาดบ่าอันทำให้ประหยัด
ไปได้หลายเงินทีเดียว
   

ขอบคุณครับพี่สุดยอดจริงๆ มีอีกสองสามภาพถามต่อเลยนะพี่และพี่ๆทุกคน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 07:20
เขาเป็นใครกัน ;D

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00944.jpg)

----------------------------------------------------------------------------------------------

ด้านหลังรูปเป็นทรงชาติช้างภาพด้านหน้าโดนน้ำเสียไปล้วครึ่งเสียดายมากครับ

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00941.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 18:25
ขุนหลวงพระยาไกรสี (เทียม บุนนาค) ถูกไหมครับ ;D

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00940.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 ก.ย. 12, 18:57
ดูจากลายมือชื่อในความเห็น 3482 ลงไว้ว่า "ศรีธรรมสาสน"  และที่ตอนล่างของภาพระบุว่า ฉายที่ปารีส
บุคคลในภาพนั้นจึงน่าจะเป็น พระยาศรีธรรมสาสน (ทองดี  สุวรรณศิริ) ซึ่งท่านผู้นี้ตามประวัติกล่าวว่า
เคยเป็นอุัครราชทูตสยามที่กรุงเบอร์ลิน  และอาจจะเคยรับราชการที่สถานทูตสยามที่ปารีสด้วย  ท่านผู้นี้
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำเรอภักดิ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 21:09
ดูจากลายมือชื่อในความเห็น 3482 ลงไว้ว่า "ศรีธรรมสาสน"  และที่ตอนล่างของภาพระบุว่า ฉายที่ปารีส
บุคคลในภาพนั้นจึงน่าจะเป็น พระยาศรีธรรมสาสน (ทองดี  สุวรรณศิริ) ซึ่งท่านผู้นี้ตามประวัติกล่าวว่า
เคยเป็นอุัครราชทูตสยามที่กรุงเบอร์ลิน  และอาจจะเคยรับราชการที่สถานทูตสยามที่ปารีสด้วย  ท่านผู้นี้
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำเรอภักดิ์

ได้ความรู้เต็มๆ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 21:48
รูปภาพนี้ถ่ายที่ไหนครับ

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/999.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 12, 21:59
รูปภาพนี้ถ่ายที่ไหนครับ


เห็นต้นโพธิ์ประกอบบนภาพ ควรจะถ่ายในวัดแห่งหนึ่งครับ ลักษณะคนนุ่งขาวทั้งนั้นเลย ในปรัมพิธี เห็นตั้งเครื่องบางอย่างไว้ มีดอกไม้ในแจกัน ซ้ายและขวา วางไว้ข้างหีบ ดังนี้แล้วภาพนี้เป็นงานศพ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 22:01
รูปภาพนี้ถ่ายที่ไหนครับ


เห็นต้นโพธิ์ประกอบบนภาพ ควรจะถ่ายในวัดแห่งหนึ่งครับ ลักษณะคนนุ่งขาวทั้งนั้นเลย ในปรัมพิธี เห็นตั้งเครื่องบางอย่างไว้ มีดอกไม้ในแจกัน ซ้ายและขวา วางไว้ข้างหีบ ดังนี้แล้วภาพนี้เป็นงานศพ ครับ
ชอบคุรครับมีอีกครับ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 22:06
ภาพนี้ถ่ายที่ร้านถ่ายรูปที่แรกของไทย แลัวผู้หญิงคนนี้เป็นใครกัน  ;D ;D ;D

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00930.jpg)

(http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00924.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 30 ก.ย. 12, 22:26
รูปหมดแล้วครับแล้วจะหามาให้พวกพี่ๆทายกันนะครับ 2ท่านนี้มีนามว่า......... ???

1. (http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/DSC00933.jpg)

2. (http://i792.photobucket.com/albums/yy202/kachachai21/899900936.jpg)




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 16:02
ยังไม่มีใครทายภาพข้างบนนี้ได้เลยค่ะ
มาดึงกระทู้ขึ้นอีกครั้ง ด้วยภาพที่ไม่ต้องทาย
ถนนเยาวราชตรงสี่แยกเฉลิมบุรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 16:04
กระทรวงพาณิชย์ (พิพิธภัณฑ์สยาม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 16:06
คำบรรยายใต้ภาพว่า เป็นสี่แยกบ้านหม้อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 16:10
คำบรรยายใต้ภาพว่า ถนนมหาไชย  วังบูรพาภิรมย์  และป้อมมหาไชย ก่อนจะถูกรื้อ  ตามรับสั่งของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ฯเมื่อ 25 ธะนวาคม  พ.ศ. 2468


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 16:13
สะพานมหาดไทยอุทิศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 16:14
ท่าเรืออีสเอเชียติค ใกล้โรงแรมโอเรียนเต็ล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 17:05
ดูรูปคนที่อาศัยในบางกอกสมัยก่อน

ไม่มีกางเกง,ใช้แต่ผ้านุ่งเหมือนชาติข้างบ้าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 17:10
บรรยากาศที่เย็นสบาย  ตามลำคลอง  เป็นชีวิตที่น่ารื่นรมย์

ผมเก็บภาพตามลำคลองไว้ดูเสมอ     

สมัยเด็กเวลาปิดเทอมต้องไปเที่ยวบ้านยายที่อยู่ติดลำคลอง

เอาแต่เล่นนํ้า พายเรือกันทั้งวันเป็นเดือน จนกว่าจะเปิดเทอมใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 17:12
ภาพจากเล่มนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 17:21
ไม่ทราบว่าคลองอะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 17:32
^
สงสัยจะเป็นคลองสาน    ต้องถามคุณ siamese อีกทีค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 18:40
ชอบภาพนี้

ดูกลุ่มเรือนไทยสวยงามเหมือนฉากละคร
มีคลองโอ่งอ่างตัดจากขวาไปซ้าย

มองเห็นคลองหลอดวัดราชนัดดา(ด้านขวาของกลุ่มเรือนไทย)ที่มีสะพานข้าม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 18:44
สวยจริงๆ  โดยเฉพาะเรือนไทยสีขาวทางซ้ายมือ
ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช่ไหมคะ
ถ้าเป็นปัจจุบัน จะตรงกับส่วนไหนของคลองโอ่งอ่าง นึกแผนที่ไม่ออก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 19:01
ไม่แน่ใจว่าเป็นภาพฝีมือใคร
ตัวโบสถ์คือวัดเทพธิดาราม สร้างสมัย ร3
อาจจะเป็นภาพยุคแรกๆ สมัยร4 ก็เป็นไปได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ต.ค. 12, 19:32
^
สงสัยจะเป็นคลองสาน    ต้องถามคุณ siamese อีกทีค่ะ

ภาพนี้มีการถ่ายเป็นชุดต่อกันเลยทำให้ทราบว่าสถานที่นี้อยู่บริเวณตลาดผลไม้ ซึ่งอยู่แถวสะพานขาว-โรงหนังปารีส ประมาณนี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ต.ค. 12, 20:17
สวยจริงๆ  โดยเฉพาะเรือนไทยสีขาวทางซ้ายมือ
ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช่ไหมคะ
ถ้าเป็นปัจจุบัน จะตรงกับส่วนไหนของคลองโอ่งอ่าง นึกแผนที่ไม่ออก

จัดมุมมองแบบปัจจุบันมาให้เทียบกัน คือถ่ายภาพจากบนภูเขาทอง มองเข้ามายังพระนคร ตามลูกศรสีขาวครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 20:42
ต้องหมุนขวาอีกที ถึงจะพอดูออกว่าตรงไหน ขอบคุณมากค่ะ

ชอบเรือนไทยที่คร็อปมาให้ดูมาก    ดิฉันรู้จักแต่เรือนหมู่อย่างเรือนทับขวัญ    มาเห็นเรือนในรูปแล้วสงสัยว่า
1  บ้านที่คร็อปมา 5 หลังที่เรียงกันเป็นตับจากหน้าไปหลัง เหล่านี้เป็นบ้านที่แยกกันเป็นหลังๆ  ของแต่ละครอบครัว  ไม่เกี่ยวกัน  
หรือว่าอยู่รวมกันเป็นหมู่ในครอบครัวเดียวกันคะ
2  เรือนสีขาวหลังหน้าติดกับคลอง มีเรือนสีขาวติดกันอีกหลังหนึ่งเหมือนเรือนแฝด   แสดงว่าเป็นบ้านเดียวกันแต่แยกเป็น 2 เรือนหรือเปล่า  
3  ส่วนที่เชื่อมกันระหว่างเรือนสีขาวหลังหน้ากับเรือนหลังคือนอกชานใต้หลังคาใช่ไหมคะ
4  ดิฉันรู้สึกว่าเรือนหลังหน้าสุด ไม่ได้สร้างบนพื้นดิน แต่เหมือนกับยื่นมาเหนือคลองด้วย   เป็นเรือนแพหรือเปล่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 21:59
รายละเอียดต้องถามท่านสถาปนิกใหญ่

เรือนนอกสุดเป็นเรือนแพหรือไม่ คิดว่าไม่น่าจะใช่ ???

เป็นแต่นอกชานโผล่ลงในนํ้า  เพื่อให้จอดเรือได้


---------------------------------

เดือนนี้อ่านประวัติศาสตร์ไทยด้านสังคม ของอาจารย์ชัย เรืองศิลป์

ท่านว่า   เรือนแพ รอบเกาะสมัยอยุธยามีจำนวนถึงสองหมื่นกว่าหลัง

ในสมัยกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง มีเรือนแพในบริเวณกรุงแค่เจ็ดพันกว่าหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ต.ค. 12, 22:22
^
ท่าราชวรดิฐ ใช่ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 12, 22:24
อาจารย์ครับ คงจะใช่

เรือนแพจึงเป็นวิธีชีวิตที่สำคัญของคนไทยยุคเก่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 12, 07:19
เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่ประกอบเข้าด้วยกันจะเห็นลักษณะเด่น ๆ ที่เห็นชัดได้ด้งนี้

หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งคลองโอ่งอ่าง

หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งคลองวัดเทพธิดาราม ที่วิ่งผ่านออกไปยังแถวพระแม่ธรณีบีบมวยผมได้

หมายเลข 3 คือ แนวกำแพงเมืองกรุงเทพฯ

หมายเลข 4 คือ ตำแหน่งของหมู่เรือนไทย

หมายเลข 5 คือ วัดเทพธิดาราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 12, 07:58
ขอบคุณครับคุณหนุ่ม 
..........แจ่มแจ้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ไตรวุธ ที่ 31 ต.ค. 12, 09:33
ขอแจมรูปนึงมุมคล้ายๆกันแต่อาจคนละเวลา
(http://img211.imageshack.us/img211/9250/sm01.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 12, 09:44
ขอแจมรูปนึงมุมคล้ายๆกันแต่อาจคนละเวลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 12, 15:48
ห้างขายยาสมัยก่อน
ทำไมต้องทำลายขวางเหมือนร้านตัดผมสมัยนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ต.ค. 12, 16:53
เมื่อวิเคราะห์จากแผนที่ประกอบเข้าด้วยกันจะเห็นลักษณะเด่น ๆ ที่เห็นชัดได้ด้งนี้

หมายเลข 1 คือ ตำแหน่งคลองโอ่งอ่าง

หมายเลข 2 คือ ตำแหน่งคลองวัดเทพธิดาราม ที่วิ่งผ่านออกไปยังแถวพระแม่ธรณีบีบมวยผมได้

หมายเลข 3 คือ แนวกำแพงเมืองกรุงเทพฯ

หมายเลข 4 คือ ตำแหน่งของหมู่เรือนไทย

หมายเลข 5 คือ วัดเทพธิดาราม


มองอดีต .. แล้วก็มามองปัจจุบัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ต.ค. 12, 17:03
ฝากภาพไว้ที่นี่นะ คุณณล .. เจดีย์วัดชัยชนะสงคราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ต.ค. 12, 17:12
ห้างขายยาสมัยก่อน
ทำไมต้องทำลายขวางเหมือนร้านตัดผมสมัยนี้

ปัจจุบันตรงสถานที่นี้เป็นร้านเพชรไปแล้ว ที่หัวมุมสี่แยกพระยาศรี ถนนบ้านหม้อตัดถนนเจริญกรุง





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 12, 17:55
ลุงไก่ครับ

ร้านขายยา ตาม 3514 น่าจะอยู่ที่ท่าเตียน
ในหนังสือคุณอเนก เคยบอกชื่อเจ้าของ ผมลืมไปแล้ว
ส่วนห้างขายยาที่สี่กั๊กพระยาศรีน่าจะเป็นร้านเดียวกันหรืออีกร้านผมไม่แน่ใจ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 12, 17:59
อาจจะเป็นร้านเดียวกัน แต่ทำไมตั้งชื่อว่าท่าเตียน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 12, 18:15
ภาพสวยงาม ถนนเจริญกรุง? อีกสักภาพ
ลุงสรศัลย์ แพ่งสภา บอกว่าถนนเจริญกรุงตอนแรกสร้างกว้างแค่สามเมตร
ปูด้วยสันอิฐเป็นรูปก้างปลา ตรงริมถนนทำเป็นคูนํ้า   กว้าง30 ซม.  ลึก50 ซม.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ต.ค. 12, 20:42
ลุงไก่ครับ

ร้านขายยา ตาม 3514 น่าจะอยู่ที่ท่าเตียน
ในหนังสือคุณอเนก เคยบอกชื่อเจ้าของ ผมลืมไปแล้ว
ส่วนห้างขายยาที่สี่กั๊กพระยาศรีน่าจะเป็นร้านเดียวกันหรืออีกร้านผมไม่แน่ใจ

ใช่ครับ ร้านเดิมอยู่ที่ตลาดท่าเตียน แต่เมื่อมีถนนเจริญกรุง และห้างร้านฝรั่งเริ่มเปิดทำการที่ถนนเจริญกรุงแถบสี่กั๊กพระยาศรี ร้านขายยาท่าเตียนจึงย้ายมาเปิดที่นี่ด้วยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ต.ค. 12, 20:51
ภาพสวยงาม ถนนเจริญกรุง? อีกสักภาพ
ลุงสรศัลย์ แพ่งสภา บอกว่าถนนเจริญกรุงตอนแรกสร้างกว้างแค่สามเมตร
ปูด้วยสันอิฐเป็นรูปก้างปลา ตรงริมถนนทำเป็นคูนํ้า   กว้าง30 ซม.  ลึก50 ซม.

ถนนเจริญกรุง สายแรกสร้างนอกกำแพงเมืองเมือง จากสะพานดำรงค์สถิตย์ข้ามคลองโอ่งอ่างไปสุดที่ถนนตก มีความกว้างสี่วาครับ ภายหลังขยายถนนเป็นหกวา
ถนนเจริญกรุง สายในกำแพงเมืองสร้างทีหลัง จากหัวมุมวัดโพ ถนนสนามไชย ไปสุดที่เชิงสะพานดำรงสวัสดิ์ข้ามคลองโอ่งอ่าง มีความกว้างเดิมหกวา ภายหลังขยายเป็นแปดวาครับ
รางระบายน้ำของเดิมเป็นรางเปิด กว้างหนึ่งศอก ลึกประมาณสองศอก รายละเอีดโครงสร้างจำไม่ค่อยได้ ผมพบแล้วจะนำมาแจ้งให้ทราบครับ
มาสร้างเป็นท่อปิดโดยก่อหลังท่อเป็นแนวโค้งด้วยอิฐดินเผา ผมถ่ายภาพเอาไว้ แล้วจะนำมาลงให้ชมกันครับ

ในภาพเป็นสี่แยก เอส เอ บี - ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนวรจักร ซอยที่เห็นในภาพอยู่ตรงข้ามเวิ้งนครเขษม ตัดตรงเข้าวัดพระพิเรนทร์ด้านข้างวัด หลังพระอุโบสถ
ตามภาพ น่าจะอยู่ในช่วงกำลังขยายถนนเจริญกรุง ไม่ทราบปี พ.ศ. จากสภาพเดิมผิวถนนที่เป็นหินบดอัดแน่น เป็นการลาดด้วยแอสฟัลต์ (Asphaltic Pavement)




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 31 ต.ค. 12, 20:57
อาจจะเป็นร้านเดียวกัน แต่ทำไมตั้งชื่อว่าท่าเตียน

ช้างในภาพนี้ คือพลายมงคลครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 12, 21:24
ภาพสวยงาม ถนนเจริญกรุง? อีกสักภาพ
ลุงสรศัลย์ แพ่งสภา บอกว่าถนนเจริญกรุงตอนแรกสร้างกว้างแค่สามเมตร
ปูด้วยสันอิฐเป็นรูปก้างปลา ตรงริมถนนทำเป็นคูนํ้า   กว้าง30 ซม.  ลึก50 ซม.

ถนนเจริญกรุง สายแรกสร้างนอกกำแพงเมืองเมือง จากสะพานดำรงค์สถิตย์ข้ามคลองโอ่งอ่างไปสุดที่ถนนตก มีความกว้างสี่วาครับ ภายหลังขยายถนนเป็นหกวา
ถนนเจริญกรุง สายในกำแพงเมืองสร้างทีหลัง จากหัวมุมวัดโพ ถนนสนามไชย ไปสุดที่เชิงสะพานดำรงสวัสดิ์ข้ามคลองโอ่งอ่าง มีความกว้างเดิมหกวา ภายหลังขยายเป็นแปดวาครับ
รางระบายน้ำของเดิมเป็นรางเปิด กว้างหนึ่งศอก ลึกประมาณสองศอก รายละเอีดโครงสร้างจำไม่ค่อยได้ ผมพบแล้วจะนำมาแจ้งให้ทราบครับ
มาสร้างเป็นท่อปิดโดยก่อหลังท่อเป็นแนวโค้งด้วยอิฐดินเผา ผมถ่ายภาพเอาไว้ แล้วจะนำมาลงให้ชมกันครับ

ในภาพเป็นสี่แยก เอส เอ บี - ถนนเจริญกรุงตัดกับถนนวรจักร ซอยที่เห็นในภาพอยู่ตรงข้ามเวิ้งนครเขษม ตัดตรงเข้าวัดพระพิเรนทร์ด้านข้างวัด หลังพระอุโบสถ
ตามภาพ น่าจะอยู่ในช่วงกำลังขยายถนนเจริญกรุง ไม่ทราบปี พ.ศ. จากสภาพเดิมผิวถนนที่เป็นหินบดอัดแน่น เป็นการลาดด้วยแอสฟัลต์ (Asphaltic Pavement)




ขอเสริมว่า เส้นทางรถรางนั้น จะเห็นว่าพื้นผิวถนนยังไม่ได้ลาดยางแอสฟัลท์ ยังเป็นดินอัดแน่น การสัญจรเดินทางของรถลาก ผู้คน และฝนตก ทำให้ดินไหลกลบไปในรางของรถราง จึงเกิดอาชีพหนึ่งคือ "อาชีพครูดดินออกจากแนวรถราง" ส่วนมากเป็นชาวจีน จะถือเหล็กยาวเมตรกว่า จำนวน ๒ แท่ง เดินตามเส้นทางรถรางแล้วให้เหล็กยาวแซะดินออกจากรถราง

นอกจากนี้แล้วตัวรถรางเอง สมัยก่อนก็บรรทุกน้ำใส่แกลอนไว้ด้านหน้า คอยรดน้ำตลอดสายไม่ให้ฝุ่นขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ย. 12, 09:09
มีภาพมาให้คลำทางกันครับ  8)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ย. 12, 09:51
ข้างหลังนั่นยอดพระปรางค์วัดอรุณใช่ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ย. 12, 10:29
ต้องมา differential กัน

วัดแรกที่คิดถึงเลยคือ วัดกัลยานิมิตร
คิดถึงวิหารที่ใหญ่มาก  คือวิหารหลวงพ่อโตที่สร้างในรัชกาลที่สาม
เพื่อให้สวยงามใหญ่เท่าหลวงพ่อวัดพนัญเชิง ในกรุงเก่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ย. 12, 10:29
ข้างหลังนั่นยอดพระปรางค์วัดอรุณใช่ไหมคะ

อิอิ ไม่ใช่ครับ  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ย. 12, 10:30
ต้องมา differential กัน

วัดแรกที่คิดถึงเลยคือ วัดกัลยานิมิตร
คิดถึงวิหารที่ใหญ่มาก  คือวิหารหลวงพ่อโตที่สร้างในรัชกาลที่สาม
เพื่อให้สวยงามใหญ่เท่าหลวงพ่อวัดพนัญเชิง ในกรุงเก่า

ถูกต้องครับ  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ย. 12, 10:35
นำภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ ถ่ายโดยโรเบิร์ตเลนซ์ เป็นภาพถ่ายมุมเดียวกับภาพบนก่อน แต่เยื้องมาทางซ้ายมือเล็กน้อย เห็นแนวถนนบำรุงเมืองอันสวยงาม ประตูผี ประตูยอดตัด โรงก๊าซ (กำลังมองหาเสาชิงช้า ว่าตั้งอยู่ที่เก่าหรือทีใหม่)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ย. 12, 12:52
ภาพสมัยที่ยังไม่มีสนามหลวงขนาดใหญ่
พิธีพระราชทานเพลิง สี่เจ้าฟ้า 1888

ไม่ทราบว่าถ่ายจากตำแหน่งไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ย. 12, 13:02
อีกภาพ  เห็นเมรุปูนทางซ้าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 01 พ.ย. 12, 13:26
ข้างหลังนั่นยอดพระปรางค์วัดอรุณใช่ไหมคะ

อิอิ ไม่ใช่ครับ  ;)


เช่นนั้นคงเป็นพระปรางค์วัดพิไชยฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ย. 12, 16:40
ข้างหลังนั่นยอดพระปรางค์วัดอรุณใช่ไหมคะ

อิอิ ไม่ใช่ครับ  ;)


เช่นนั้นคงเป็นพระปรางค์วัดพิไชยฯ

ถูกต้องครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ย. 12, 16:46
ภาพสมัยที่ยังไม่มีสนามหลวงขนาดใหญ่
พิธีพระราชทานเพลิง สี่เจ้าฟ้า 1888

ไม่ทราบว่าถ่ายจากตำแหน่งไหน

ภาพสนามหลวงนี้ บางตำราอ้างเป็นงานพระเมรุเจ้านาย บางตำราอ้างเป็นงานเทศกาลจัดงาน Exhibition ขึ้นเมื่อพระนครครบ ๑๐๐ ปี เนื่องจากมีองค์ประกอบหลักที่เห็นคือ เวทีต่าง ๆ พร้อมระทา ซึ่งระทานั้นใชักับงานมงคลก็ได้เช่นกัน ภาพนี้ถูกถ่ายขึ้นที่โดม ซึ่งเป็นหอสูงแห่ง "ศาลสถิตย์ยุติธรรม" ซึ่งเป็นหอนาฬิกา และเป็นหอที่ไว้กลองซึ่งนำมาจากหอกลองมาไว้ที่หอแห่งนี้

ดังนั้นภาพถ่ายในงานพระเมรุ จะมีอยู่ไม่กี่พระเมรุที่ขึ้นถ่ายภาพจากหอแห่งนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ย. 12, 23:23
ภาพนี้เป็นโรงหนังอะไร  อยู่ในกรุงเทพ?
นักพากย์ที่ชื่อ อุดม ละม่อม  คือใคร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 พ.ย. 12, 05:42
เห็นชื่อเรื่องในภาคภาษาอังกฤษ The Prisoner of Zenda นักเรียนรุ่นคุณพี่ Visitna คงได้ทันเรียนในชั้นมัธยมปลาย ที่กระทรวงศึกษาธิการจัดให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา








กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ย. 12, 07:18
ลุงไก่..............
มีให้เลือกอ่านหลายเล่ม
เรื่อง  prisoner of Zenda นี้เป้นอีกเล่ม

ที่จำได้โรงเรียนผมเลือกอ่านเรื่อง  คานธี กับ  six physicists  ชักเลือนๆแล้ว

เมื่อคืนไปได้หนังสือเล่มใหม่
เป็นประวัติของท่าน เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลัง ยัคมินส์)
เล่มละ 300 บาท มีรูปสวยๆหลายรูปแต่เป็นรูปเล็กๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ย. 12, 07:40
ภาพวันทำพิธีเปิดศาลาเฉลิมกรุง

เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่จัดฉาย คือ "เรื่องมหาภัยใต้ทะเล"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ย. 12, 07:42
คราวที่ในหลวงเสด็จ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ย. 12, 20:47
วัดหนัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ย. 12, 20:48
วัดหนังเมื่อวันวาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ย. 12, 21:24
^
ประมาณพ.ศ. 2520 ได้ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ย. 12, 21:38
อาจารย์ครับ  

ผมเอาภาพเก่ามาจากเวป british pathe  ประมาณ คศ.1970 พศ 2513

ส่วนภาพแรกยุคปัจจุบันเอามาจากกูเกิล

ที่จำชื่อวัดหนังได้ จากพงศาวดาร กล่าวว่าสร้างในรัชกาลที่หนึ่ง

ต่อมา ร3 ได้บูรณะใหม่อีกครั้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 06:52
สังเกตุแนวเสาชิงช้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 06:57
สังเกตุภาพต่อมาเสาชิงช้าเคลื่อนมาอยู่กลางถนน
เป็นเพราะเหตุใด หรือแค่ภาพลวงตา หรือจับมาจากคนละด้าน

ในปี 2416 หรือปีไหนจำไม่ได้มีการปรับแนวถนนบำรุงเมือง
ทำเป็นตึกสองชั้น (จากเดิมเป็นชั้นเดียว?หรือเป็นอะไร?)
หรือเป็นเพราะเหตุการณ์นี้

เวลาในเรือนไทยช้าไปหนึ่งชั่วโมง ขณะนี้ เวลา 6.59


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ย. 12, 08:06
เวลาในเรือนไทยช้าไปหนึ่งชั่วโมง ขณะนี้ เวลา 6.59

สาเหตุจากสิ้นสุดเวลาออมแสงที่อเมริกา

เรือนไทยอิงการปรับเวลาที่อเมริกา เพราะมี server อยู่ที่นั่น  (http://www.seekwebsite.com/reurnthai.com.html)

ปีนี้ที่อเมริกา เวลาออมแสงจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๑๑ มีนาคม และจะสิ้นสุดลงเวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๔ พฤศจิกายน

"เวลาออมแสง" คุณรู้จักหรือไม่ !!! (http://board.postjung.com/521269.html)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 08:31
ขอบคุณครับที่ช่วยไขปัญหา
ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องพวกนี้



มีลูกเรียนที่ แอลเอ สองคน แถวฝั่งตะวันตกไม่ค่อยปรับเวลา???ไม่เห็นเขาเล่าให้ฟัง

ที่จำได้เช่นของเราสามโมงเช้า 9.00 ของแอลเอ ราว 19 .00 นาฬิกา

(เอาแค่จำว่าต่างกันสองชั่วโมงแต่เช้ากลับเป็นบ่าย ของเรากลางวันของเขากลางคืน )

เช่นตอนนี่ที่แอลเอ 18.27

จำว่าของเขาเลข  9 ของเราเลข  7  ตอนนี้ต้องจำใหม่ว่าของเราเป็นเลข 6


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 04 พ.ย. 12, 08:38
สังเกตุแนวเสาชิงช้า

" ... พราหมณ์ นาลิวัน ชื่อพระครูพราหมณ์สิทธิชัย (กระต่าย) ชาวเมืองสุโขทัย ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณนั้นจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้า พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 ต่อมาได้มีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้น ณ ที่ ตั้้งเสาชิงช้าเดิม ทำให้มีการย้ายเสาชิงช้าจากตำแหน่งเดิมมาตั้งยังอยู่หน้าวัดสุทัศน์ฯใน ปัจจุบัน ... "

 ... ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ บริเวณเสาชิงช้ารกรุงรัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงบริเวณนั้นด้วยการรื้อเสาชิงช้าลงแล้วให้สร้างตลาดขึ้นในบริเวณนั้น ในการนี้ทรงมีพระรชปรารภในที่ประชุมเสนาบดีว่า เมื่อรื้อเสชิงช้าลงแล้วสมควรจะย้ายไปตั้งที่ไหนหรือว่าจะเลิกพระราชพิธีตรียัมพวายหรือพระราชพิธีโล้ชิงช้า ถ้าเห็นควรว่าให้เลิกก็จะได้ไม่ต้องสร้างเสาชิงช้าขึ้นมาอีก
    ที่ประชุมเสนาบดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าไม่สมควรให้เลิก เพราะเป็นประเพณีมาแต่โบราณ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นมาใหม่ ซึ่งเสาชิงช้าที่สร้างใหม่นี้อยู่ห่างจากที่เก่ามาเล็กน้อย คือที่ตั้งในปัจจุบัน เสาชิงช้าที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ ใช้ไม้ของบริษัทหลุยทีเลียวโนเวน บริษัทฯ ถวายไมุ้ซุงสักขนาดใหญ่และยาวมาก ๒ ต้น ให้ทำเสาชิงช้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 09:10
ลุงไก่ครับ
ตกลงว่าย้ายเสาชิงช้า  (น่าจะง่ายกว่าปรับถนน)

แต่ปรับถนนคิดว่ามีเช่นกัน.....จากหนังสืออาจารย์ชัย เรืองศิลป์
อาจารย์ชัย  ข้อมูลแน่นจริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 04 พ.ย. 12, 09:26
ภาพในความเห็นที่ 3545 เป็นภาพมุมสูง ถ่ายจากหอนาฬิกา ตึกกรมยุทธนาธิการทหารบกหรือตึกกระทรวงกลาโหม ตรงสะพานช้างโรงสี
ภาพในความเห็นที่ 3546 เป็นภาพในแนวราบถ่ายจากบริเณสี่กั๊กพระยาศรีครับ

ขอยืมภาพของคุณณล หนุ่มสยาม มาประกอบ ตำแหน่งเดิมของเสาชิงช้าก่อนย้าย จะสังเกตว่าตำแหน่งเสาชิงช้าเดิม จะอยู่หน้าเทวสถานพอดี






กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 10:40
สี่กั๊กเสาชิงช้า หรือ สี่กั๊กพระยาศรี ?
 

ลุงไก่ซื้อเล่มนี้แล้วยัง ภาพยังไม่คมชัดเท่าไหร่
อย่างของอเมริกาใช้เนกกาทีฟแผ่นกระจก 8x10 นิ้ว ภาพคมชัดจริงๆ
อย่างในเวป     http://www.shorpy.com/


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 04 พ.ย. 12, 11:13
ขอบคุณรับพี่ที่ท้วงติง  .. ที่ถูกต้องคือสี่กั็กเสาชิงช้าครับ

หนังสือเล่มนี้ตอนลดราคาเหลือไม่ถึงพัน ผมยังไม่ซื้อ .. พออยากจะซื้อ เขากระดกราคากลับไปเป็นราคาตามหน้าปกครับ พันครึ่ง .. ก็รอกันต่อไป

ผมไปพบภาพถนนบำรุงเมืองจากพระบรมมหาราชังมายังเสาชิงช้า เป็นภาพเขียนของ เหม เวชกร สวยงามมาก แล้วจะสแกนภาพมาให้ชมครับ





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 20:25
สะพาน ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 พ.ย. 12, 20:31
สะพาน ?

สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3181.0;attach=8552;image)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 12, 21:23
ใช่ครับอีกสะพานที่ต้องพ่ายแพ้ให้กับความเจริญ

หมายเลข 17



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 พ.ย. 12, 06:30
ผ่านย่านสยามเมื่อสัปดาห์ก่อน สายตามองไปที่ราวสะพานเฉลิมเผ่า ๕๒ ตรงทางออกของสยามพารากอน

อนิจจา .. ป้ายชื่อสะพานที่ได้เคยเห็น ถูกมือบอนทุบทิ้งไปหมดแล้ว ด้านหลังยังเห็นแนวคลองอรชร สภาพเป็นคูน้ำเล็ๆ กว้างสัก ๒ เมตรกระมัง ปลายคลองอีกด้านอยู่ข้างรั้วสถานทูตอินโดนีเซีย ริมถนนเพชรบุรี

ตอนยุคเผาบ้านเผาเมืองเมื่อ ๒ ปีก่อน เขายังไม่มายุ่งกับสะพานประวัติศาสตร์แห่งนี้เลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ย. 12, 08:58
ข้อความโดย: ลุงไก่
อ้างถึง
" ... พราหมณ์ นาลิวัน ชื่อพระครูพราหมณ์สิทธิชัย (กระต่าย) ชาวเมืองสุโขทัย ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณนั้นจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้า พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 ต่อมาได้มีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้น ณ ที่ ตั้้งเสาชิงช้าเดิม ทำให้มีการย้ายเสาชิงช้าจากตำแหน่งเดิมมาตั้งยังอยู่หน้าวัดสุทัศน์ฯใน ปัจจุบัน ... "


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 พ.ย. 12, 14:16
^
เสาชิงช้าต้นเดิมไม่มีเสาตะเกียบด้านข้าง เมื่อเทียบกับแผนที่แล้วน่าจะตำแหน่งเดียวกัน

ขอบุกอยุธยาเล็กน้อย ...จากภาพลายเส้นพระเจดีย์ ที่เรียงกัน ๓ องค์ ทำให้หนังสือหลายเล่มระบุผิดว่าเป็น เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่พระเจดีย์องค์ประธาน หากแต่เป็นวัดไหน ลองช่วยกันค้นหา เนื่องจากเจดีย์องค์ขวาสุด มีลักษณะปูนปั้นเป็นริ้วอย่างสวยงาม ภาพลายเส้นถูกแกะด้วยสิ่วอย่างงดงาม เทียบกับภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต้นฉบับ ตีพิมพ์ลงในการเดินทางของ อองรี อูโมต์ พ.ศ. ๒๔๐๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 05 พ.ย. 12, 16:46
เสาชิงช้านี่ปกติเป็นซุงท่อนเดียวหรือเปล่าครับ พึ่งนึกขึ้นได้เมื่อดูรูป แล้าเราเคยเปลี่ยนเสากันบ้างไหมครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ย. 12, 18:03
หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง---คงไม่ใช่วัดใหญ่ชัยมงคล

เห็นแต่เจดีย์ไม่มีพื้นที่รอบๆ ไอเด็นติไฟ ยาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 พ.ย. 12, 16:28
^

ขอบุกอยุธยาเล็กน้อย ...จากภาพลายเส้นพระเจดีย์ ที่เรียงกัน ๓ องค์ ทำให้หนังสือหลายเล่มระบุผิดว่าเป็น เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่พระเจดีย์องค์ประธาน หากแต่เป็นวัดไหน ลองช่วยกันค้นหา เนื่องจากเจดีย์องค์ขวาสุด มีลักษณะปูนปั้นเป็นริ้วอย่างสวยงาม ภาพลายเส้นถูกแกะด้วยสิ่วอย่างงดงาม เทียบกับภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต้นฉบับ ตีพิมพ์ลงในการเดินทางของ อองรี อูโมต์ พ.ศ. ๒๔๐๘

ฝากคุณหนุ่ม พิจารณา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ย. 12, 06:52
^

ขอบุกอยุธยาเล็กน้อย ...จากภาพลายเส้นพระเจดีย์ ที่เรียงกัน ๓ องค์ ทำให้หนังสือหลายเล่มระบุผิดว่าเป็น เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่พระเจดีย์องค์ประธาน หากแต่เป็นวัดไหน ลองช่วยกันค้นหา เนื่องจากเจดีย์องค์ขวาสุด มีลักษณะปูนปั้นเป็นริ้วอย่างสวยงาม ภาพลายเส้นถูกแกะด้วยสิ่วอย่างงดงาม เทียบกับภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต้นฉบับ ตีพิมพ์ลงในการเดินทางของ อองรี อูโมต์ พ.ศ. ๒๔๐๘

ฝากคุณหนุ่ม พิจารณา


กล่าวคือ ลักษณะภาพถ่ายเก่าพระเจดีย์ ๓ องค์สมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์มีความแตกต่างกัน องค์หนึ่งเห็นลักษณะของบันลังก์ทำย่อมุม ส่วนพระเจดีย์อีกองค์ยอดปลีเป็นลูกแก้วหนาซ้อนกัน อีกทั้งองค์ระฆังเป็นปูนปั้นริ้วสายบัว หรือ ริ้วกาบกล้วย ซึ่งเทียบกับพระเจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญแล้วมีความต่างกัน (แม้ว่าจะถูกบูรณะใหม่ในลักษณะขาวโพลน ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม) อีกทั้งพระเจดีย์ในภาพเก่ามีความสูงและเรียงตัวใกล้ชิดกันมากครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 พ.ย. 12, 08:08
สังเกตพระเจดีย์องค์กลางทะลายลงไป เหลือแต่ฐาน องค์ซ้ายยังคงพอเห็นลวดลายอยู่ .. เปรียบเีทียบกับพระเจดีย์องค์ขวาในภาพของมูโอท์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 19:08
รูปนี้บรรยายว่าเป็นโรงรับจำนำในกรุงเทพ   ดูไม่ชัดว่าสิ่งที่อยู่ในตู้กระจกคืออะไร  พระพุทธรูป โกศ เชิงเทียน  ?
ที่น่าสังเกตคือของพวกนี้ใส่ตู้เอาไว้ง่ายๆ    ประตูหน้าร้านก็ไม่มี   ดูไม่ออกว่าใครดำเนินกิจการ คุณยายในรูปน่ะหรือคะ

ดูอีกที เสมียนโรงจำนำน่าจะเป็นอาตี๋หางเปียยาวที่ยืนมาดกวนๆ  ถืออะไรอยู่ในมือ เหมือนกำลังประเมินราคาสินค้า   ส่วนคุณยายเห็นจะเป็นลูกค้าที่มาจำนำของซึ่งอยู่ในมืออาตี๋เสียละมัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 20:37
ภาพนี้บรรยายว่าเป็นละครนอก  เห็นเจ้าเงาะนั่งอยู่ข้างล่าง   ก็รู้ว่าเป็นเรื่องสังข์ทอง
ถ้างั้นตัวพระตัวนางทั้งหมดในรูปนี้ก็ผู้ชายทั้งหมดน่ะซีคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 พ.ย. 12, 20:37
 คห ๓๕๖๕ - อาจารย์บอกว่า(ต้นฉบับบรรยายว่า)เป็นโรงรับจำนำ แต่ในภาพบอกชัดว่าเป็นร้านขายพระเครื่อง พระบูชา ธรรมดาๆ นี่เองครับ

คห ๓๕๖๖ - คงเป็นดังนั้นครับ





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 21:34
ภาพนี้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษว่า pawn shop ค่ะ   กลับไปหาอีกที ไม่เจอแล้วว่าเว็บไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ย. 12, 21:36
รูปนี้บรรยายว่าเป็นโรงรับจำนำในกรุงเทพ   ดูไม่ชัดว่าสิ่งที่อยู่ในตู้กระจกคืออะไร  พระพุทธรูป โกศ เชิงเทียน  ?
ที่น่าสังเกตคือของพวกนี้ใส่ตู้เอาไว้ง่ายๆ    ประตูหน้าร้านก็ไม่มี   ดูไม่ออกว่าใครดำเนินกิจการ คุณยายในรูปน่ะหรือคะ

ดูอีกที เสมียนโรงจำนำน่าจะเป็นอาตี๋หางเปียยาวที่ยืนมาดกวนๆ  ถืออะไรอยู่ในมือ เหมือนกำลังประเมินราคาสินค้า   ส่วนคุณยายเห็นจะเป็นลูกค้าที่มาจำนำของซึ่งอยู่ในมืออาตี๋เสียละมัง

ภาพนี้เป็นภาพจากหนังสือที่ตีพิมพ์ในรัชกาลที่ ๖ เขียนโดย Prince Wilson ผู้ซึ่งเป็นแขกส่วนพระองค์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเจ้าชายได้เสด็จนมัสการภูเขาทอง พร้อมกับบรรยายภาพร้านค้าเช่าพระนี้ประกอบด้วยกัน จะเห็นว่าในตู้เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ เป็นพระหล่อและปิดทองคำเปลว ซึ่งพระเหล่านี้ปัจจุบันเล่นหาในวงการพระเครื่องจัดอยู่ในประเภทพระบูชาศิลปะรัตนโกสินทร์ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 21:41
ภาพนี้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษว่า pawn shop ค่ะ   กลับไปหาอีกที ไม่เจอแล้วว่าเว็บไหน

ภาพจาก http://www.picsof.asia/oldpicture/thailand-old-photos.html

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 21:44
ภาพนี้เป็นภาพจากหนังสือที่ตีพิมพ์ในรัชกาลที่ ๖ เขียนโดย Prince Wilson ผู้ซึ่งเป็นแขกส่วนพระองค์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเจ้าชายได้เสด็จนมัสการภูเขาทอง พร้อมกับบรรยายภาพร้านค้าเช่าพระนี้ประกอบด้วยกัน จะเห็นว่าในตู้เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ เป็นพระหล่อและปิดทองคำเปลว ซึ่งพระเหล่านี้ปัจจุบันเล่นหาในวงการพระเครื่องจัดอยู่ในประเภทพระบูชาศิลปะรัตนโกสินทร์ครับ
Prince Wilson เป็นเจ้าชายจากประเทศไหนคะ  ดิฉันหาที่มาไม่เจอ 

คุณเพ็ญชมพูมีวิธีหาเว็บที่มาของรูปได้ยังไงกันน่ะ  :o


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 21:47
คุณเทาชมพูลองเข้าไปค้นดูจดหมายหัวข้อ "มือใหม่ไขความลับ" ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๓๘ น.

จะทราบความลับทั้งหมด

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ย. 12, 21:47
ภาพนี้เป็นภาพจากหนังสือที่ตีพิมพ์ในรัชกาลที่ ๖ เขียนโดย Prince Wilson ผู้ซึ่งเป็นแขกส่วนพระองค์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ซึ่งเจ้าชายได้เสด็จนมัสการภูเขาทอง พร้อมกับบรรยายภาพร้านค้าเช่าพระนี้ประกอบด้วยกัน จะเห็นว่าในตู้เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ เป็นพระหล่อและปิดทองคำเปลว ซึ่งพระเหล่านี้ปัจจุบันเล่นหาในวงการพระเครื่องจัดอยู่ในประเภทพระบูชาศิลปะรัตนโกสินทร์ครับ
Prince Wilson เป็นเจ้าชายจากประเทศไหนคะ  ดิฉันหาที่มาไม่เจอ 

คุณเพ็ญชมพูมีวิธีหาเว็บที่มาของรูปได้ยังไงกันน่ะ  :o

จากประเทศสวีเดน ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 21:54
น่าจะเป็น Prince Wilhelm นะคะ ตามลายพระหัตถ์  ตรงกับชื่อ William ของอังกฤษ


คุณเทาชมพูลองเข้าไปค้นดูจดหมายหัวข้อ "มือใหม่ไขความลับ" ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๓๘ น.

จะทราบความลับทั้งหมด

 ;D
หาจากกูเกิ้ลแล้วไม่เจอค่ะ   ช่วยทำลิ้งค์ให้หน่อยได้ไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 21:55
รูปนี้ถ้าเคยนำมาลง   ขอออกตัวว่าลืมแล้ว   พอทราบไหมคะว่าคลองไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ย. 12, 21:58
น่าจะเป็น Prince Wilhelm นะคะ ตามลายพระหัตถ์  ตรงกับชื่อ William ของอังกฤษ


http://www.flickr.com/photos/boston_public_library/6123315677/สวีเดนครับ Prince Wilhelm of Sweden and Norway (1884-1965) 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ย. 12, 22:27
http://www.flickr.com/photos/boston_public_library/6123315677/สวีเดนครับ Prince Wilhelm of Sweden and Norway (1884-1965)
มิได้สงสัยเรื่องสัญชาติของพระองค์ท่านค่ะ      ตั้งใจจะบอกว่าชื่อฝรั่งนั้น ชื่อเดียวกัน แต่ถ้าไปอยู่คนละประเทศ ก็กลายเป็นอีกชื่อ
จึงมีการเปรียบเทียบชื่อให้รู้  ถ้าหากว่าแปลเป็นอีกภาษา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=37247;image)

ในพระรูปนี้ ด้านล่างเขียนว่า Prince William of Sweden  หมายความว่าพระนามวิลเฮล์มนั้น  ถ้าเป็นอังกฤษจะตรงกับชื่อวิลเลียม
ทำไมถึงต้องบอกกัน ก็เพราะข่าวสาร  ประวัติศาสตร์  และวรรณคดีของชาติหนึ่ง ถ้าไปแปลเป็นอีกภาษาหนึ่ง  เขาไม่ได้แปลเฉพาะเนื้อเรื่อง  บางทีเขาก็เปลี่ยนชื่อคนเป็นภาษาเขาด้วย    อย่างชื่อวิลเลียม(อังกฤษ) เยอรมัน (รวมสวีเดนด้วย) เรียกว่าวิลเฮล์ม   ถ้าไปฝรั่งเศส หรือสวิสฝรั่งเศส  ก็กลายเป็นกีโยม (Guillaume)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 พ.ย. 12, 07:17
^
ขอรับ อ.เทาชมพู เข้าใจแล้วครับ  :-[

ตอนนี้จะขอนำภาพเรือโดยสาร ๒ ชั้นมาให้ชมกัน ภาพนี้เป็นเรือโดยสารที่คลองรังสิต ชวนให้นึกถึงคุณร่วมฤดี ซึ่งเคยถามถึงไว้ว่า เรือโดยสารแบบสองชั้นในเรื่อง "หลายชีวิต" บทประพันธ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช มีหน้าตาเป็นเช่นไร .... หลายชีวิตซึ่งบางสิ่งหรือชะตากรรม ที่นำพวกเขามารวมกันที่เรือลำนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 พ.ย. 12, 09:21
ภาพนี้ควรจะถ่ายก่อนเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ เพราะยังเห็นชื่อ "ยาทันใจ" ที่ข้างเรือติดโฆษณาอยู่  หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นชื่อ "ยาทัมใจ"

ทั้งนี้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐  (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2510/A/101/7.PDF) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มาตรา ๘๓ (๓)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ย. 12, 11:03
เรือที่คุณ siamese เอามาให้ดูเป็นเรือวิ่งระยะสั้น

เรือสองชั้นที่ผมเคยนั่ง-นอนตลอดคืน จะใหญ่กว่านี้

ลำตัวเรือกว้างกว่าสี่เมตร

เวลานอนขวางสองคนยังมีที่เดินตรงกลางได้

คล้ายเรือที่เกาะเสม็ดตามรูป  (จะไม่มีเก้าอี้ พื้นเรือเรียบเปิดท้องเรือใส่ของใต้ท้องได้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 พ.ย. 12, 12:47
ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เอามาให้ดูเป็นการศึกษานะครับ

http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=726


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 พ.ย. 12, 13:01
ลำนี้ดูเหมือนจะเป็นเรือเมล์แดง คู่แข่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 08 พ.ย. 12, 21:52
  ที่ท่าน้ำวัดท่าซุง อุทัยธานี ยังมีให้เห็นครับ  ลองผ่านไปชมได้ครับ เดี๋ยวจะจมเสียหมด
เพราะดูเหมือนว่าขาดการดูแล ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 12, 22:11
ดูจากทรงผมดัดหยิกไปทั้งหัว ยาวประบ่า  และแฟชั่นนุ่งผ้าถุงของแม่ค้าทั้งสาม   เดาว่าเป็นยุค 2490s ต้นๆค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 12, 22:12
สงสัยอีกอย่างว่าเรือสองชั้นพวกนี้ น่าจะใช้เวลานานหลายชั่วโมงในการเดินทาง บางทีอาจข้ามคืน    เขามีห้องส้วมอยู่ตรงไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 พ.ย. 12, 05:48
ห้องส้วมอยู่ท้ายเรือครับ สังเกตจากภาพในความเห็น 3580 เป็นห้องเล็กๆ ภายในเป็นไม้กระดานพาด ๒ แผ่น สำหรับเท้าเหยียบ มีร่องตรงกลาง มองลงไปก็เห็นคลื่นน้ำที่ใบจักรเรือผลักน้ำ

นึกถึงส้วมหลุมครับ เหมือนกัน .. ผมเคยนั่งเรือ ๒ ชั้นไปวัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรีสมัยยังเด็ก แต่จะเป็นเรือเขียวหรือเรือแดง ไม่ทราบครับ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ย. 12, 11:51
แบบลุงไก่ว่าไว้

ที่ผมเคยเห็นตอนเด็ก เป็นห้องสี่เหลี่ยม ราวหนึ่งตรม.
ห้อยอยู่นอกท้ายเรือ
ด้านหน้าเปิดเป็นทางเข้า ปิดด้วยผ้ากระสอบป่าน
เคยได้ฟังคนเล่าสนุกๆว่ามีคนนั่งใช้บริการอยู่ ส้วมดันหลุดจากเรือตอนนั้นพอดี
อันนี้คงจินตนาการเป็นเรื่องสนุกๆ

การเดินทางด้วยเรือคุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เขียนไว้ในหนังสือหลายเล่ม
เช่นแม่นํ้ายามศึก หรือในเรื่องเกี่ยวกับประวัติตัวเอง
สมัยเด็กคุณอาจินต์เดินทางในแม่นํ้านครชัยศรีบ่อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: benzene ที่ 13 พ.ย. 12, 00:09
ภาพนี้บรรยายว่าเป็นละครนอก  เห็นเจ้าเงาะนั่งอยู่ข้างล่าง   ก็รู้ว่าเป็นเรื่องสังข์ทอง
ถ้างั้นตัวพระตัวนางทั้งหมดในรูปนี้ก็ผู้ชายทั้งหมดน่ะซีคะ


ภาพนี้ละครผู้ชาย ของหลวง ในสมัยรัชกาลทีี ๖ ครับ เรื่องสังข์ทอง ตอน เลือกคู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: benzene ที่ 13 พ.ย. 12, 00:16
ภาพนี้เป็นโรงหนังอะไร  อยู่ในกรุงเทพ?
นักพากย์ที่ชื่อ อุดม ละม่อม  คือใคร

ละม่อม นี่น่าจะเป็นคุณครูละม่อม อิศรางกูร นะครับ รุ่นน้องผมทำ ศิลปนิพนธ์เรื่องนี้อยู่ เคยฟังท่านร้อง และพากย์ละครวิทยุ เสียงดีมาก ร้องเพลงไทยเดิมสุดยอดมากๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ย. 12, 11:55
วัดอะไร?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 พ.ย. 12, 13:33
^
เสาโคมประทีป น่าจะเป็นวัดโปรดเกศเชษฐาราม สมุทรปราการ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ย. 12, 15:04
ดูรูปปัจจุบันวัดโปรดเกศฯ
ที่หน้าบันโบสถ์ไม่มีช่อฟ้าใบระกา
ไม่น่าจะเป็นวัดเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ธ.ค. 12, 09:16
(http://www.reurnthai.com/rtimages/RW2031x44.jpg)

ไม่แน่ใจว่าวัดไหน

วัดไหนเอ่ย

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ธ.ค. 12, 09:22
^
เป็นส่วนของสุสานหลวง ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ธ.ค. 12, 09:24
กามนิตหนุ่มมาเอง

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ธ.ค. 12, 10:19
ถูกกามนิตปาดหน้า   มัวไปหารูปให้เจ้าหนี้อยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ธ.ค. 12, 10:31
คำถามต่อไป

ใครเป็นผู้ถ่ายรูปข้างบน

 ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ธ.ค. 12, 09:26
คำตอบ

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ธ.ค. 12, 09:47
^
องค์ประกอบงามนะครับ โรเบิร์ตเลนซ์ เป็นช่างภาพมืออาชีพ จนกระทั่งเข้ารับใช้เบื้องพระยุคลบาทได้  ภาพนี้เห็นรายละเอียดหลักคือ เหล่าเจดีย์เป็นประธานของภาพ ซ้ายมือมีรถเจ็กเป็นโฟกัสอีก และส่วนของลำเรือบนผิวน้ำนิ่ง ช่วยเสริมบรรยากาศความเป็นชาวสยามได้มากเลยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ธ.ค. 12, 21:14
คำตอบ

 ;D

ยืนยันว่าภาพนี้ไม่ได้ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕ แน่ๆ ครับ แต่น่าจะถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๘

เพราะตึกที่อยู่ด้านหลังปรางค์ด้านซ้ายมือของภาพ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๖ ชื่อ ตึกภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์ ๑ เป็นอาคารเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดราชบพิธ









กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ธ.ค. 12, 21:47
เรียนถามลุงไก่ว่า อาคารหมายเลข (๑), (๒) และ (๓) ชื่อว่าอะไรบ้าง

 ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ธ.ค. 12, 21:49
มาลัยเฟื่อง ลายปูนปั้นบนองค์ระฆังหายไป  ???

ส่งอีกรูป ให้คุณเพ็ญฯ เทีบบกัน เอาให้ลุงไก่ มึนไปเลย  8)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ธ.ค. 12, 21:55
ภาพนี้ชัดเจนขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ธ.ค. 12, 22:19
เสียท่าปล่อยไก่อีกแล้วเรา ..

อาคารหมายเลข ๑ .. ตำหนักของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า พระอรุณนิภาคุณากร พระผู้ก่อกำเนิดโรงเรียนวัดราชบพิธ ใช้ชั้นล่างของตำหนักเป็นอาคารเรียน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ มาก่อสร้างเป็นอาคารภุชงค์ ๑ เมื่อปี ๒๔๘๕

หมายเลข ๒ .. พระอุโบสถวัดราชบพิธ

หมายเลข ๓ .. อาคารเรียนตึกภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์ ๑ หลังใหม่ เป็นอาคาร ๓ ชั้น  อาคารหลังเดิมเป็นอาคาร ๒ ชั้น ขนาด ๖ ห้องเรียน มีบันไดขึ้นชั้นบนปลายอาคาร ๒ บันได
ห้องเรียนชั้นบนมี ๓ ห้อง ฝาห้องเป็นบานพับไม้สามารถเปิดโล่งเป็นห้องเดียทั้งชั้นได้ ทางเดินชั้นบนไม่มี จะเข้าไปเรียนห้องกลาง ต้องเดินผ่านห้องริมก่อน
ชั้นล่างก็เช่นเดียวกัน ฝาห้องเป็นบานพับไม้สามารถเปิดโล่งเป็นห้องเดียวกันทั้งชั้นได้

ตึกภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์ ๒ เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียน อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ใกล้ตึกภุชงค์ฯ ๑ มีบันไดขึ้นด้านเดียว ฝาแบ่งห้องเรียนเป็นฝาบานพับเช่นเดียวกับตึกภุชงค์ ฯ ๑

ตึกภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์ ๓ เป็นอาคารตึกชั้นเดียว อยู่ด้านถนนเฟื่องนคร เดิมใช้เป็นห้องสมุดของโรงเรียน ปัจจุบันก่อสร้างใหม่เป็นตึก ๒ ชั้น

และยังมีตึกเรียนอีก ๒ ตึก คือ ตึกสัมฤทธิวิทยากร อยู่ริมถนนเฟื่องนคร เป็นตึก ๒ ชั้น ๒ ห้องเรียน ปัจจุบันรื้อตึกเก่าแล้ว กำลังก่อสร้างตึกใหม่อยู่

และตึกชินวรศรีธรรมวิทยาคารหัวมุมวัดด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตึก ๒ ชั้น ๒ ห้องเรียน ใช้เป็นตึกห้องพักครู ฝั่งตรงข้ามของตึกนี้ด้านถนนเฟื่องนคร คือ โรงพิมพ์ของ กศร. กุหลาบ ในอดีต















กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ธ.ค. 12, 09:18
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ซ้าย - ฝีมือถ่ายภาพของนายปีเตอร์  วิลเลี่ยมส์  ฮันท์ (Peter  Williams  Hunt) พ.ศ.๒๔๘๙

ขวา  - ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙

 ;D 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: mutita ที่ 23 ต.ค. 13, 16:11
เมื่อวานตามอ่านตามชมตั้งแต่เช้าจนค่ำได้ถึงหน้าที่ เก้าสิบสาม แล้วก็หลุดออกไปเข้าว็บอีกไม่ได้เลย วันนี้มาติดตามดูรูปสวยๆต่อ

เหลืออีกเป็นร้อยกว่าหน้า ไม่ได้ทำอะไรอีกแน่ๆวันนี้  :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: mutita ที่ 24 ต.ค. 13, 03:06
ไม่จบอีกจนได้ วันนี้ไปได้ถึงกระทู้ที่ 193 ไว้พรุ่งนี้มาต่อใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: mutita ที่ 25 ต.ค. 13, 02:35
เย้...ในที่สุดก็จบจนได้ ขอบพระคุณทุกๆท่านมากๆสำหรับรูปภาพงามๆและความรู้มากมายนะคะ :)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 13, 17:31
รื้อกระทู้ขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้งค่ะ

ท่านทั้งหลายพอจะบอกอะไรเกี่ยวกับรูปนี้ได้บ้างคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ธ.ค. 13, 17:32
ขยายรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ม.ค. 14, 14:36
รูปนี้ เลเบล ว่า คลองมหานาค  เป็นคลองมหานาคจริงหรือไม่
มีสะพานหกอยู่ตอนบนของภาพด้วย
มียอดภูเขาทองเห็นด้านขวาบน? เลือนๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ม.ค. 14, 18:43
ตามนี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ม.ค. 14, 19:52
ภาพนี้มั่ง พ่อหนุ่ม สะพานเป็นแบบเปิดให้เรือผ่านได้ด้วย
แถมแผนที่ให้ด้วย ๑ ภาพ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ม.ค. 14, 20:37
ตรงกับ วงกลมเบอร์ ๓ ครับลุงไก่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ม.ค. 14, 21:42
ดูที่รั้วริมคลองเหมือนภาพอื่นของคลองคูเมืองเดิม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ม.ค. 14, 11:59
ก่อนจะพัฒนาเป็นสัญญาณไฟเขียวเหลืองแดง
เราเคยมีสัญญาณป้ายอย่างนี้
ไม่รู้ว่าเราคิดเองหรือเอาแบบมาจากไหน?

หุ่น จ่าเฉย  ประเทศเราคงคิดเอง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ม.ค. 14, 13:40
ขยายให้เห็นภาพมุมกว้าง

นี่คืออีกรูปนึงครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3175.0;attach=12421;image)

ถ่ายเมื่อปี 1950 +543=2493 พื้นที่แถวเยาวราชครับ ตรวจสอบดูแล้วปีนั้นจะมีสงครามเกาหลี และเปิดเซ็นทรัล เยาวราช ครับ  ส่วนแท่งปูนที่ตั้งน่าที่จะเป็นที่ยืนทำการของตำรวจจราจรครับ

ถนนเจริญกรุง ตัดกับถนนแปลงนาม ตรงแยกที่ต่อกับถนนพลับพลาชัย ค่ะ ;D
น่าจะเรียกว่า สี่แยกแปลงนาม


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=15786;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ม.ค. 14, 18:06
หน้าศาลาเฉลิมกรุง ก็เคยมีหลักไฟเขียว แดง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ม.ค. 14, 08:01
ขอเปลี่ยนเรื่องบ้าง

ภาพใช้รถถังปิดถนนเพื่อป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงและก่อการจลาจล สาเหตุมาจากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๐ ไม่โปร่งใส

เครดิตภาพ  facebook คุณ 77PPP


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ม.ค. 14, 08:09
สามล้อยุคพ.ศ. 2503  ณ ถนนเจริญกรุง
เด็กน้อยในสามล้อ ในพ.ศ. 2556  ป่านนี้คงอยู่ในวัยเกือบเกษียณ     ส่วนคุณลุงคนถีบสามล้อคงขึ้นสวรรค์ไปหลายสิบปีแล้ว

รูปนี้มีเพลงประกอบย้อนยุคด้วยนะคะ  เสียงร้องของคุณเสน่ห์ โกมารชุน

http://www.youtube.com/watch?v=WrM-2meJKe0


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 04 ม.ค. 14, 10:03
ตลาดปากน้ำ เมืองสมุทรปราการ ยังมีให้ผู้สนใจอยากย้อนยุคมาใช้บริการได้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ม.ค. 14, 11:27
:D
เราเคยมีเบียร์เสือด้วยหรือนี่?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 04 ม.ค. 14, 12:21
ถนนที่ปากน้ำโล่งดีนะครับคุณลุงไก่ น่านั่งสามล้อชมเมือง

ดูจากสภาพรถแล้ว น่าจะมีอายุ40ปีอัพ คิดว่าคงไม่มีการผลิตสามล้อแบบนี้อีกแล้ว

เสื้อของโชเฟอร์สีฟ้าสดใสใหม่เอี่ยม ตัดกับสภาพอานที่นั่ง

ที่น่าสนใจก็คือคนขี่ใช้สายรัดนิรภัยด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ม.ค. 14, 12:49
โชเฟอร์กิตติมศักดิ์หรือเปล่าคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ม.ค. 14, 12:20
ภาพตำรวจยืนในป้อมกลางแยกโบกจราจร ดูจากคลิปแล้ว ตำรวจแกว่งแขนไปมาเท่านั้น เพราะรถน้อย ขับระวังกันเอง ภาพนี้ พ.ศ. ๒๔๖๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ม.ค. 14, 13:40
การผลิตสามล้อ ที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช พศ 2494



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ม.ค. 14, 16:02
เสาหลักจราจรที่คุณหนุ่ม ว่าอยู่หน้าเฉลิมกรุง

ในยุดก่อน   ที่ ตจว ก็มีเหมือนกัน
คืออยู่ที่  สี่แยกท่าวัง  อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช
คิดว่ามีอยู่แค่หลักเดียว
เพราะสี่แยกท่าวังเป็นจุดที่เจริญที่สุดในจังหวัด เป็นแหล่งการค้าสำคัญ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ม.ค. 14, 07:17
เสาจราจรที่ท่าวัง ไม่มีแท่นให้ตำรวจยืนอย่างในกรุงเทพ    ตำรวจต้องยืนให้สัญญาณอยู่บนพื้นถนน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ม.ค. 14, 08:54
เสาหลักจราจรที่คุณหนุ่ม ว่าอยู่หน้าเฉลิมกรุง

ในยุดก่อน   ที่ ตจว ก็มีเหมือนกัน
คืออยู่ที่  สี่แยกท่าวัง  อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช
คิดว่ามีอยู่แค่หลักเดียว
เพราะสี่แยกท่าวังเป็นจุดที่เจริญที่สุดในจังหวัด เป็นแหล่งการค้าสำคัญ

ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Traffic Bollard ใช้ทำอะไร ก็เลยยกต้นฉบับภาษาอังกฤษจากวิกิมาให้อ่าน

 Traffic bollards[edit]
Permanent bollards intended for traffic-control purposes may be mounted near enough to each other that they block ordinary cars, for instance, but spaced widely enough to permit special-purpose vehicles and bicycles to pass through. Bollards may also be used to enclose car-free zones. Bollards and other street furniture are used to control overspill parking onto sidewalks and verges.[6]


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ม.ค. 14, 11:56
เคยเห็นป้าย Keep Left - Keep Right สีเหลือง สีขาวตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ตอนเด็ก ๆ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ม.ค. 14, 13:35
ศาลาที่อาจารย์เทาชมพูพูดถึงน่าจะเป็นแบบนี้ ที่ฝรั่งเรียก KIOSK

ด้านไหนเป็นเจริญกรุง ด้านไหนเป็นสี่พระยา ต้องเรียนถามผู้รู้

สองรูปนี้  คงเป็นที่เดียวกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ม.ค. 14, 13:48
^
ถนนเจริญกรุง พ.ศ. 2455 ช่วงต้นรัชกาลที่ 6   กรุงเทพน่าอยู่มาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 14, 14:35
^
อีกรูปหนึ่ง

รูปนี้น่าจะตอบง่ายว่าที่ไหน
และตรงลูกศรชี้ คืออะไร

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=20591;image)

เบื้องหลังคือ การประปา สาขาแม้นศรี ครับผม ส่วนลูกศรชี้คือ แท่นเพื่อให้ตำรวจจราจรไว้โบกรถ โดยยืนบนแท่นครับ

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ม.ค. 14, 14:47
อดีต - ปัจจุบัน  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ม.ค. 14, 15:03
ศาลาที่อาจารย์เทาชมพูพูดถึงน่าจะเป็นแบบนี้ ที่ฝรั่งเรียก KIOSK

อดีต - ปัจจุบัน  ;D

ท่านผู้อ่าน จำแม่นจริงๆ  คนถามลืมไปนานแล้วว่าเคยถามอะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ม.ค. 14, 17:04
ศาลาที่อาจารย์เทาชมพูพูดถึงน่าจะเป็นแบบนี้ ที่ฝรั่งเรียก KIOSK

ด้านไหนเป็นเจริญกรุง ด้านไหนเป็นสี่พระยา ต้องเรียนถามผู้รู้

สองรูปนี้  คงเป็นที่เดียวกัน
ไม่คุ้นกับรูปศัพท์นี้เลยค่ะ    ดูจากรูปน่าจะเป็นของนำเข้า แต่ไม่รู้ว่าจากยุโรปหรือเอเชียแถวอินเดีย   ไปถามครูกู๊กได้ความว่าศัพท์ที่คุณ visitna บอกหมายถึงกระโจม หรือศาลาเล็กๆที่เปิดโล่งทุกด้าน
ในภูฏานก็มี KIOSK สำหรับตำรวจจราจรเหมือนกัน
    


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ม.ค. 14, 06:59
ศาลาที่อาจารย์เทาชมพูพูดถึงน่าจะเป็นแบบนี้ ที่ฝรั่งเรียก KIOSK

ด้านไหนเป็นเจริญกรุง ด้านไหนเป็นสี่พระยา ต้องเรียนถามผู้รู้

สองรูปนี้  คงเป็นที่เดียวกัน




ผู้ถ่ายรูปยืนบนถนนเจริญกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ม.ค. 14, 14:02
คุณหนุ่ม .........ยอดตึกนายเลิศ คงโดนป้อมบังพอดี ทำให้ไม่เห็นในภาพนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ม.ค. 14, 15:56
คุณหนุ่ม .........ยอดตึกนายเลิศ คงโดนป้อมบังพอดี ทำให้ไม่เห็นในภาพนี้

ตึกยังไม่สร้างครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ม.ค. 14, 16:11
ขอบคุณมาก
ลืมนึกถึงประเด็นนี้ไปเลย
พยายามหาตึกนี้เพราะเป็นคำตอบเรื่องทิศได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ม.ค. 14, 20:44
ภาพนี้มองจากท่านํ้า  (ทุกอย่างมีกาลเวลาเป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญ)

เสียดาย ภาพไม่ค่อยชัด



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ม.ค. 14, 09:18
คุณหนุ่ม .........ยอดตึกนายเลิศ คงโดนป้อมบังพอดี ทำให้ไม่เห็นในภาพนี้

ตึกยังไม่สร้างครับ

ตึกนายเลิศ

ก่อนสร้าง - หลังสร้าง

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ม.ค. 14, 15:18
ภาพนี้ เขียนว่า ตะพานเหล็ก สมัยก่อนบางคนอาจจะออกเสียง ส เป็น ต

สะพานเหล็กเห็นอยู่กลางภาพไกลๆ สี่แยกใกล้ๆคือ สามยอด

ห้างขายยาที่อยู่ขวามือคือ ห้างขายยาศรีจันทร์ ของหมอเหล็ง ศรีจันทร์ ที่น่าจะเปิดประมาณ ก่อน ปี 2460 (ภาพนี้บอกเขียน 2460)

หลังจากที่พ้นโทษคดีขบถ รศ 130   (พศ 2455)
 
ข้ามไปฝั่งตรงข้าม(ด้านสะพาน)ที่เป็นตึกใหญ่  เคยเป็นห้างนิยมไทย , การไฟฟ้าสยาม, และห้างบีกิมแอนด์โก

ส่วนด้านซ้ายมือ เดินเลี้ยวไปอีกนิดเคยเป็น โรงออกหวย กข ของยี่กอฮง

ข้อดีภาพวาดคือ  มีสีให้เห็นตามความจริง (ภาพถ่ายเป็น ขาวดำ)  เราจะรู้ว่าสีจริงของบรรยากาศรอบๆเป็นสีอะไรบ้าง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 11 ม.ค. 14, 19:38
หมอเหล็ง  ศรีจันทร์ พ้นโทษคดีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 17:34
เคยเข้าไปดูรูปของ Dmitry Kessel ที่เข้ามาประเทศไทยปี 2493
ดูมีภาพมาก แต่วันหลังเข้าไปหาไม่เจอแล้ว
ช่างภาพคนนี้เดินทางไปแทบทุกที่ในโลกนี้ เก็บภาพสวยๆไว้มาก

ถ่ายภาพอาจารย์ผมไว้ด้วย  คือ อาจารย์บุญเลี้ยง  ตามไท





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 17:37
เก็บภาพจอมพล ป. ไว้ด้วย   คนที่อยู่ด้านซ้ายมือ ในเครื่องแบบไม่ทราบว่าเป็นใคร



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 17:40
เจ้าของวังสวนผักกาด



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 17:50
เคสเซล ถ่ายภาพตอนถวายพระเพลิง ร8 ด้วย
เก็บภาพไว้ ให้หนังสือไลฟ์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ม.ค. 14, 17:56
เก็บภาพจอมพล ป. ไว้ด้วย   คนที่อยู่ด้านซ้ายมือ ในเครื่องแบบไม่ทราบว่าเป็นใคร

พล.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล อธิบดีกรมตำรวจครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ม.ค. 14, 19:25
เคยเข้าไปดูรูปของ Dmitry Kessel ที่เข้ามาประเทศไทยปี 2493
ดูมีภาพมาก แต่วันหลังเข้าไปหาไม่เจอแล้ว
ช่างภาพคนนี้เดินทางไปแทบทุกที่ในโลกนี้ เก็บภาพสวยๆไว้มาก


พอจะ save ไว้ได้ทัน  ;D เมื่อสองวันก่อนเข้าไปหา ก็ไม่ค่อยเจอแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 20:37
ขอบคุณ คุณNAVARAT.C และ คุณหนุ่มสยาม

ช่างภาพยิ่งใหญ่จะต้องเป็นนักเดินทาง

ตา เคสเซล แกบอกว่า    การจะได้ภาพที่ดีเป็นเรื่องบังเอิญ

-------------------------------------------------------

ช่างภาพอีกคนที่ผมชอบอีกคนคือ  Elliott Erwitt

กลับบอกว่า การได้ภาพที่ดีเป็นเรื่องของโอกาส จังหวะ

และช่างภาพที่ดีต้องมีคุณสมบัติสำคัญสองประการ คือ มีมนุษยธรรม และ มีอารมณ์ขัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 20:47
ปั๊มน้ำมันตราม้าบิน โมบิลแก๊ส   มาก่อนหรือหลังปั๊มสามทหารคะ?
ถนนโล่งหารถไม่ได้สักคัน ทั้งๆเป็นเวลากลางวัน  น่าจะประมาณพ.ศ. 2500


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 20:50
ถนนเจริญกรุง?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 20:55
อยากทราบชื่อถนน ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 21:04
คุณ visitna เอ่ยชื่อ Dmitri Kessel ทำให้ดิฉันไปค้นหารูปของเขาเพิ่มได้อีกหลายรูป    อาจจะซ้ำกับที่เคยลงบ้าง  มันเยอะเหลือเกินจนจำไม่ได้
รูปเหล่านี้ถ่ายในพ.ศ. 2493  ให้กับนิตยสาร ไลฟ์ ค่ะ
สามล้อในยุคนั้นเต็มเมืองจริงๆด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 21:05
อาจารย์ครับ

อาจจะอยู่บนถนนเจริญกรุงหรือพระราม4  ถนนใดถนนหนึ่ง

ใกล้สะพานเจริญสวัสดิ์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 21:08
ช่างภาพมืออาชีพ ถ่ายแต่ละช๊อต กดเป็นชุดติดต่อกัน

จะเห็นภาพใกล้เคียงกันหลายๆอริยาบท อย่างภาพของอาจารย์กับ ของผมจะใกล้เคียงกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 21:09
ขอบคุณค่ะ ที่คิดว่าเป็นถนนเจริญกรุง สังเกตจากประตูร้านค้าน่ะค่ะ
รูปนี้คือน้ำท่วมกรุงเทพเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๓  ถนนสายนี้มองเห็นวัดอยู่ไกลๆ  แต่ดูไม่ออกว่าถนนสายไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 21:13
ภาพนี้ใกล้เคียงกับของอาจารย์

แถวหน้าวัดโพธิ์ ออกมาที่ถนนมหาราช



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 21:16
ช่างภาพมืออาชีพ ถ่ายแต่ละช๊อต กดเป็นชุดติดต่อกัน

จะเห็นภาพใกล้เคียงกันหลายๆอริยาบท อย่างภาพของอาจารย์กับ ของผมจะใกล้เคียงกัน
ใช่แล้ว สองรูปนี้ห่างกันไม่กี่นาที
รูปซ้าย  หนูน้อยในเสื้อกระโปรงผ้าดอก อยากได้ลูกโป่ง แม่ซื้อให้  รูปขวา เธอได้ลูกโป่งสมใจ เดินกลับ แม่กำลังเก็บเงินทอนเหน็บเข้าเอว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 21:20
พ.ศ. 2493 หนูน้อยนั่งกินขนมอะไรจากแม่ค้าอยู่นะคะ ? ดูในกระจาด น่าจะเป็นฟักทอง
ฟักทองแกงบวดหรือ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ม.ค. 14, 22:08
เห็นแต่ส้มโอปลอกเปลือก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ม.ค. 14, 22:11
น่าจะเป็นส้มโอจริงๆด้วย  :-[
งั้นที่เด็กๆกินอยู่ ไม่เกี่ยวกับสินค้าของแม่ค้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 15 ม.ค. 14, 06:41
คลายข้อสงสัยให้อาจารย์เทาฯ

คห ๓๖๕๒ โมบิลแก๊สเป็นกิจการน้ำมันของบริษัทเอ๊กซอนจากสหรัฐอเมริกา ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลยุคจอมพลสฤษดื์ ธนะรัตน์ วางนโยบายพลังงานของประเทสขึ้นใหม่ จัดตั้งองค์การเชื้อเพลิงขึ้น และตั้งปั๊มน้ำมันขึ้นใช้ตรสามทหาร จากนั้นก็พัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับจนเป็น ปตท ในปัจจุบัน

คห ๓๖๕๓, ๓๖๕๖, ๓๖๕๗ บริเวณเชิงสะพานเจริญสวัสดิ๋ ๓๖ ด้านถนนกรุงเกษม (ฝั่งตรงข้ามคลองกับสถานีรถไฟหัวลำโพง)

คห ๓๖๕๔ ทางลงท่าโรงโม่ ถนนท้ายวังหัวมุมพระบรมมหาราชวังกับวัดพระเชตุพนฯ เห็นวิหารพระนอนอยู่ข้างหลัง

คห ๓๖๕๘ ถนนหลวง มองจากสี่แยกถนนหลวงตัดถนนเสือป่า หัวมุมโรงพยาบาลกลาง มองผ่านย่านวรจักร มองเห็นหลังคาพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามอยู่ลิบๆ (ได้รับคำอธิบายภาพมาจากอาจารย์เสลา แห่งพันทิปดอทคอม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ม.ค. 14, 07:00
ช่างภาพมืออาชีพ ถ่ายแต่ละช๊อต กดเป็นชุดติดต่อกัน

จะเห็นภาพใกล้เคียงกันหลายๆอริยาบท อย่างภาพของอาจารย์กับ ของผมจะใกล้เคียงกัน
ใช่แล้ว สองรูปนี้ห่างกันไม่กี่นาที
รูปซ้าย  หนูน้อยในเสื้อกระโปรงผ้าดอก อยากได้ลูกโป่ง แม่ซื้อให้  รูปขวา เธอได้ลูกโป่งสมใจ เดินกลับ แม่กำลังเก็บเงินทอนเหน็บเข้าเอว

ถ้าเห็นภาพนี้ก็ร้องอ๋อ เลยว่า ถ่ายจากถนนกรุงเกษมริมคลอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ม.ค. 14, 07:06
แก๊งค์ไอติมเย็น นั่นเองครับ  ;D

จุดถ่ายภาพอยู่หน้าร้านแห่งหนึ่ง ถ่ายไปทางขวามือก็เจอร้านไอติมใส่เครื่อง  แพนกล้องไปทางขวาเจอแม่ค้าขายส้มโอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ม.ค. 14, 07:11
มีถังใส่ไอศกรีม ข้าวเหนียว ขนมปัง ราดนม ส่วนชุดหาบตู้กระจกนั้น ดูเหมือนจะขายอาหารของคาว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 ม.ค. 14, 08:48
เคสเซลได้ถ่ายภาพสำคัญที่แสดงถนนสีลมเมื่อ   ปี 2493  ไว้ด้วย

คือภาพร้านสีลมโฆษณา ที่แสดงถนนสีลมส่วนหนึ่ง เห็นสะพานไม้ข้ามคลองและรถราง

เสียดายแกไม่ได้ถ่ายด้านตรงกันข้ามของร้านนี้

อาจารย์ประทุมพร เจ้าถิ่นถนนสีลม ที่เขียนเรื่อง รื่นรมย์บนถนนสี่ สอ

ก็ไม่ได้เอ่ยถึงร้านนี้ว่าอยู่ตรงไหนของถนนสีลม



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 08:55
รูปข้างบนนี้เคยลงมาแล้วในอดีต หากันมาแล้วว่าที่ไหน
ดิฉันสงสัยว่าอาจจะเป็นซอยแยกที่เชื่อมระหว่างสีลมกับสาทร ซอยใดซอยหนึ่งค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 09:01
สถานที่เดียวกันแต่คนละเวลา

ย้อนเอารูปเก่ามาฝากดีกว่า  เขาบอกว่าสีลมโฆษณา อยู่ตรงไหนของสีลมก็ไม่ทราบ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14608;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 09:18
^
คำขวัญประจำวันนี้

v
v


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 09:38
ช่างภาพมืออาชีพ ถ่ายแต่ละช๊อต กดเป็นชุดติดต่อกัน

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ม.ค. 14, 11:53
เคสเซลได้ถ่ายภาพสำคัญที่แสดงถนนสีลมเมื่อ   ปี 2493  ไว้ด้วย

คือภาพร้านสีลมโฆษณา ที่แสดงถนนสีลมส่วนหนึ่ง เห็นสะพานไม้ข้ามคลองและรถราง

เสียดายแกไม่ได้ถ่ายด้านตรงกันข้ามของร้านนี้

อาจารย์ประทุมพร เจ้าถิ่นถนนสีลม ที่เขียนเรื่อง รื่นรมย์บนถนนสี่ สอ

ก็ไม่ได้เอ่ยถึงร้านนี้ว่าอยู่ตรงไหนของถนนสีลม



ขอเดาว่า น่าจะเป็นหัวมุมถนนสุรศักดิ์ เนื่องจากเข้าไปดูในแผนที่ ๒๔๗๕ พบว่าเรือนไม้หักมุมหัวถนน มีเพียงแห่งเดียวบนนถนนสีลม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 12:09
^


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 12:33

คห ๓๖๕๘ ถนนหลวง มองจากสี่แยกถนนหลวงตัดถนนเสือป่า หัวมุมโรงพยาบาลกลาง มองผ่านย่านวรจักร มองเห็นหลังคาพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามอยู่ลิบๆ (ได้รับคำอธิบายภาพมาจากอาจารย์เสลา แห่งพันทิปดอทคอม)
ขอบคุณค่ะ   คุณลุงไก่
เดาว่าภาพซ้ายข้างล่างคงจะเป็นถนนเดียวกับภาพขวา    ซึ่งเป็นภาพในค.ห. ๓๖๕๘ ข้างบนนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 12:42
เยาวราชในอดีต    ประมาณพ.ศ. 2493


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 12:46
ภาพนี้มีคำบรรยายว่า
แนวเส้นทางรถราง บริเวณเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ ใกล้สถานีหัวลำโพง
กรุงเทพมหานคร | Bangkok ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1950 (พ.ศ.๒๔๙๓)
Photographer: Dmitri Kessel  Image Source: LIFE magazine


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 12:46
ภาพของ  Dmitri Kessel เช่นกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 13:06
พ.ศ. ๒๔๙๓  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 14:09
"ตะกร้อลีลา เมื่อคุณย่ายังสาว" ผลงานของ  Dmitri Kessel  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 9
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ม.ค. 14, 21:17
คุณย่าน่าจะเป็นนักตะกร้อหญิงมืออาชีพ   เห็นชุดที่เธอแต่งแล้ว คิดว่าเป็นชุดใช้ในการแสดง  เนื้อผ้ามันระยับตาเชียว

ภาพนี้ฝีมือ Dmitri Kessel อีกภาพหนึ่ง  หนูน้อยกำลังปล่อยนกที่ซื้อมาจากวัด  นกบินปร๋อออกจากกรงสู่อิสรภาพ
สถานที่- ในพ.ศ. 2493 ดูเหมือนสนามชานเมือง  ปัจจุบันอาจจะเป็นกลางเมืองไปแล้วก็ได้