เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: SRISOLIAN ที่ 12 ก.ค. 11, 09:45



กระทู้: ภาพวาดแสดงการสักเลกไพร่ในสมัยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: SRISOLIAN ที่ 12 ก.ค. 11, 09:45
เคยได้ยินมาว่ามีหลักฐานที่เป็นภาพวาดเกี่ยวกับการสักเลกของไพร่ในสมัยอยุธยา  จึงอยากทราบว่ามีปรากฎอยู่ในที่ใดบ้างครับ 


กระทู้: ภาพวาดแสดงการสักเลกไพร่ในสมัยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ค. 11, 16:05
เอาหลักฐานเป็นตัวหนังสือมาแสดงได้ไหม   ;)

หนังสือ "คนไท (เดิม) ไม่ได้อยู่ที่นี่" โดย บี.เจ. เทอร์วีล, แอนโทนี ดิลเลอร์ และ ชลธรา สัตยาวัฒนา  มีตอนหนึ่งเขียนถึง "การสักในระบบราชการ" โดย บี.เจ. เทอร์วีล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสักในระบบราชการของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงรัตนโกสินทร์ ดังนี้

หลักฐานในสมัยอยุธยาได้บันทึกไว้ว่าการสักข้อมือของชายไทยเป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่งทางราชการ

ซีมอง เดอ ลา ลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาอยุธยาใน พ.ศ. ๒๒๓๐ และ พ.ศ. ๒๒๓๑ ได้บันทึกไว้ว่า

".....ข้าราชการแต่ละคนจะมี  Pagayaus เป็นเครื่องหมายประจำกรมกองปรากฎอยู่บนข้อมือด้านนอก โดยการใช้แท่งเหล็กร้อนตราลงไปและกดทับด้วยสมอเหล็ก ผู้รับใช้ประเภทนี้เรียกว่า "บ่าว"

ลา ลูแบร์ นั้นเห็นจะไม่คุ้นเคยกับการสัก ทั้งยังไม่เข้าใจวิธีการลงสีที่ใต้ผิวหนังจึงเรียกการสักว่าเป็นการ "ตราด้วยแท่งเหล็กร้อน" บันทึกของชาวเปอร์เซียในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ได้กล่าวถึงเรื่องการสักที่ถูกต้องเอาไว้ว่าไม่ใช่ การประทับตรา และยังอธิบายขยายความถึงความแพร่หลายของระบบการสักไว้ดังนี้

"......พวกเขาจะได้รับการสักเป็นข้อความต่าง ๆ ด้วยตัวหนังสือของพวกเขา เปรียบได้กับที่พวกเตอร์ก และพวกอาหรับเผ่าเบดูอินตกแต่งร่างกายด้วยการทำจุดและเส้นเป็นลวดลายบนผิวหนัง เหล่าข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดที่ทำหน้าที่ในการจับกุม ประหารและทรมานบางพวก ก็มีรอยสักบนแขนขวา บางพวกก็สักบนแขนซ้าย  ส่วนพวกที่ทำหน้าที่ส่งข่าวสารและกำกับเส้นทาง ต่างก็มีลายสักเฉพาะของตน หน้าที่ทางราชการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นตำแหน่งที่ต้องสืบต่อจากบิดาไปยังบุตรชาย"

ตามหลักฐานข้างต้นจะเห็นว่าการสักนับเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการบริหารงานราชการสมัยอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ รอยสักซึ่งใช้เพื่อการบริการราชการนั้น ได้พัฒนาจนเป็นเครื่องหมายและสัญลักษณ์ในรูปของรหัส ซึ่งเพียงแต่เหลือบมองก็ทราบว่า ผู้มีรอยสักอย่างนั้น ๆ มีหน้าที่ทางราชการในหน่วยใด การสักข้อมือขวาหรือข้างซ้าย น่าจะสืบเนื่องมาจากการจัดระบบราชการในสมัยโบราณที่แบ่งเป็นกรมต่าง ๆ ซึ่งแยกไปสังกัดในกรมขวา หรือกรมซ้าย

การสักนับเป็นเครื่องมือของทางราชการที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมไพร่หลวง หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ และเกิดศึกแย่งชิงอำนาจกันขึ้น สิ่งที่สำคัญมากในเวลานั้นก็คือ ผู้ชายทุกคนต้องมีเครื่องหมายเพื่อแสดงว่า เป็นสมัครพรรคพวกของใคร ช่วงตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ราชการส่วนกลางได้จัดส่งคณะเจ้าหน้าที่ไปทำการสักและขึ้นทะเบียนชายไทยทุกคน การสักได้ใช้ในระบบราชการไทยเรื่อยมาจนตลอด ๔ รัชกาลต้นของราชวงศ์จักรี เพิ่งจะมายกเลิกในปลายรัชการที่ ๕ เมื่อมีการประกาศให้เลิกการเกณฑ์แรงงาน

การสักซึ่งทำโดยราชการนี้นับได้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของไทย ในการศึกษาตามแนวประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์นี้เราจะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การสักชนิดนี้ได้พัฒนาขึ้นมาในหมู่ชนชาวสยามเท่านั้นมิได้หมายรวมถึงรัฐไทอื่น ๆ เมื่อชนชาติสยามได้แผ่อำนาจทางการปกครองไปยังนครเวียงจันทน์ในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ ๒๔ รัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสักคนลาวเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นพลเมืองของประเทศสยาม ปรากฏว่าคนลาวได้ต่อต้านและตอบโต้อย่างรุนแรง

 ;D