เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 55699 สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 12 ส.ค. 07, 18:50

สุนทรภู่ไม่ใช่ผู้แต่งนิราศพระบาท

คนที่วินิจฉัยนิราศพระบาทล้วนแต่เกิดไม่ทันสุนทรภู่ รวมทั้งตัวผมเอง
ผมจึงขอยืมคำของกวีผู้แต่งนิราศพระบาท มาวินิจฉัยงานของท่าน
ดังนี้

1 วินิจฉัยเดิม
บอกว่าสุนทรภู่แต่งเรื่องนี้ในปี 2350 เมื่อตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ซึ่งผนวชเป็นพระภิดษุ ไปพระบาท
แต่งหลังจากนิราศเมืองแกลง และขณะนั้นทะเลาะกับแม่จันทร์

2 หลักฐานรองรับการวินิจฉัย
.......ไม่มี

3 วินิจฉัยใหม่
แต่งโดยมหาดเล็กกองระวังหน้าในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีขาล 2409

4 หลักฐานรองรับการวินิจฉัย
เพียบ(ครับ)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ส.ค. 07, 18:50

หลักฐาน 1
กวีบอกว่า.....
"ผนังในกุฎีทั้งสี่ด้าน โอฬาร์ฬารทองทาฝาผนัง
จำเพาะมีสี่ด้านทวารบัง ที่พื้นนั่งดาดด้วยแผ่นเงินงาม"
แปลว่า ผนังด้านในเป็นลายเขียนทองทั้งสี่ด้าน พื้นเป็นแผ่นเงิน
แปลว่า กวีไปเห็นผนังนี้อย่างเร็วสุดก็รัชกาลที่ 3 เพราะในรัชกาลที่ 1 ผนังยังเป็นลายชาด
ส่วนพื้นเงินนั้น มาปูแผ่นเงินในรัชกาลที่ 3 เช่นกัน หลังเกิดไฟไหม้มณฑปน้อย
(ดูตำนานพระบาท และพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์)
อนึ่ง พระยากษาปณ์ฯ ผู้สานเสื่อเงิน บอกไว้ในอัตชีวประวัติว่า ท่านเป็นผู้สานเสื่อเงินในรัชกาลที่ 3
แปลว่า เจ้าพระยาทิพากรวงศ์อาจจะจดผิด
ผมเชื่อคนสานมากกว่าคนที่นั่งแต่งพงศาวดารอยู่ที่บ้าน แต่จะเชื่อใคร ก็ต้องเชื่อว่าไม่มีพื้นปูแผ่นเงิน
และลายทองที่ผนังในรัชกาลที่ 1

หลักฐานที่ 2
กวีบอกว่า.....
"เจ้าเณรน้อยเสด็จมาดูน่ารัก พระกลดหักทองขวางกางถวาย
พี่เหลียวพบหลบตกลงเจียนตาย กรตะกายกลิ้งก้อนศิลาตาม"
ตำราเดิมบอกว่าเจ้าเณรน้อยคือกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ
แต่กระบวนเสด็จใหญ่โตสูงศักดิ์ขนาดนี้ ไม่ใช่ขบวนของเจ้าเณรระดับพระองค์เจ้ากระมัง
ที่สำคัญ ระบุว่าพระกลดเป็นชั้น"หักทองขวาง"
มีผู้ชำนาญการพระราชพิธีบอกว่า เป็นระดับเจ้าฟ้ารัชทายาทเท่านั้น

เจ้าเณรน้อยองค์นี้ จึงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งพระองค์ใดในไม่กีพระองค์
ที่จะทันไปนมัสการพระบาท ในวันที่ผนังเป็นลายทองและพื้นปูแผ่นเงิน

หลักฐานที่ 3
กวีบอกว่า
"กองคเชนทร์เกณฑ์ช้างยี่สิบเชือก มาจัดเลือกกองหมอขึ้นคอไส
ที่เดินดีขี่กูบไม่แกว่งไกว วิสูตรใส่สองข้างเป็นช้างทรง
แล้วผ่อนเกณฑ์กองช้างไว้กลางทุ่ง เวลารุ่งจะเสด็จขึ้นไพรระหง
ที่สี่เวรเกณฑ์กันไว้ล้อมวง พระจอมพงศ์อิศยมบรรทมพลันฯ"
ขบวนของกวีนี่ น่าจะเกินฐานันดรพระองค์เจ้าวังหลังไปมาก
ช้างยี่สิบเชือก....
มีสี่เวรล้อมวง....
สองข้อนี้ ที่ปรึกษาการราชพอธีของผมบอกว่า ทำพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ศีรษะกระเด็นได้ง่ายๆ
คำว่า"ล้อมวง" เป็นศัพท์เฉพาะนะครับ ใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น
สี่เวรก็เหมือนกัน
พระองค์เจ้าที่มีสี่เวร และมีล้อมวงได้
ทั้งประวัติศาสตร์ ก็เห็นจะมีแต่พระองค์เจ้าทับเท่านั้แหละครับ
และต้องมีตอนรัชกาลที่ 3 เท่านั้น อีกด้วย

หลักฐานที่ 3
เจ้าฟ้ารัชทายาทที่เสด็จพระบาทในปีขาลได้
มีพระองค์เดียวครับ
สามเณรเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตรประชานารถ

ใครจะค้านก็ขอเชิญครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 ส.ค. 07, 22:14

ยังค้านไม่ออกครับ

กลอนสุนทรภู่มีรูปแบบอุดมคติคือ OOXXYOYO ทุกบาท
ระหว่างคำที่สามและสี่ใช้สัมผัสอักษรหรือสัมผัสสระปะปนกัน ในขณะที่คำที่ห้ากับเจ็ด(บางทีเป็นหก)จะเป็นสัมผัสสระครับ

กลอนนิราศเกือบทุกเรื่องของสุนทรภู่ใช้รูปแบบตายตัวเช่นนี้มากกว่า 80% ครับ

แต่ นิราศพระบาท ดูจากหลุดจากอุดมคติมากกว่านิราศเรื่องอื่นๆครับ

กล่าวกันว่าเป็นเพราะเรื่องนี้แต่งตั้งแต่เมื่อสุนทรภู่ยังหนุ่ม

แต่เหตุผลนี้ดูชอบกลครับ เพราะนิราศเมืองแกลงที่แต่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ยังมีความเป็นกลอนอุดมคติของสุนทรภู่มากกว่านิราศพระบาทเยอะเลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ส.ค. 07, 08:26

แล้วจะอธิบาย" แม่จันทร์" ในเรื่องนี้ได้ยังไงคะว่าเป็นใคร
นางเอกในนิราศสุพรรณ ก็แม่จันทร์
หรือว่านางในนิราศจะชื่อจันทร์ซ้ำแล้วซ้ำอีก
ดิฉันยังติดใจข้อนี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 01:18

"ถึงบางซื่อชื่อบางนี้สุจริต เหมือนซื่อจิตที่พี่ตรงจำนงสมร
มิตรจิตขอให้มิตรใจจร ใจสมรขอให้ซื่อเหมือนชื่อบาง"

     
“ เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น     ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคราญครัน  ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล ”
     
“ โอ้กระแสแดวเดียวทีเดียวหนอ  มาเกิดก่อเกาะถนัดสะกัดหน้า
ต้องแยกคลองออกเป็นสองทางคงคา  นี้หรือคนจะมิน่าเป็นสองใจ “
     
“ อนิจจาธานินทร์สิ้นกษัตริย์  เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสนฑ์
แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน  จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง “
     
“ ถึงแม่ลาเมื่อเรามาก็ลาแม่  แม่จะแลแลหาไม่เห็นหาย
จะถามข่าวเช้าเย็นไม่เว้นวาย  แต่เจ้าสายสุดใจมิได้มา “

อืม... คุณ CH ครับ แต่ผมว่ากลอนที่ผมยกมานี่  ทางสุนทรภู่ทั้งนั้นเลยนะครับ  เหมือนฟังเพลงคาราบาว  แต่งสไตล์ใดก็เป็นคาราบาวครับ  การเล่นคำเล่นอักษรเล่นสัมผัส  อย่าบอกอีกนะครับว่าเป็นคนในสำนักท่านอีก .... เจ๋ง

ถึงพบเพื่อนที่รู้จักเคยรักใคร่    ก็เฉยไปเสียมิได้จะทักถาม
แต่คอยฟังเทวราชประภาษความ    เมื่อไรจะคืนอารามวัดระฆัง

ท่านกวีคนนี้เกี่ยวกับวัดระฆังแน่ๆ

ได้วันครึ่งถึงเวียงประทับวัด    โทมนัสอาดูรค่อยสูญหาย
นิราศนี้ปีเถาะเป็นเคราะห์ร้าย    เราจดหมายตามมีมาชี้แจง

นิราศนี้ผมคิดว่าปีเถาะครับ  คงไม่ใช่ปีขาล  แต่เป็นปีเถาะที่ พ.ศ.เท่าไหร่อันนี้คงต้องคิดต่อ  พอเห็นความเห็นคุณพิพัฒน์ทีไรผมเขวทุกที  เพราะเหตุผลคุณพิพัฒน์น่าคิดทุกที  ทำให้คิดว่ากลอนลักษณะประมาณนี้  ใครๆก็แต่งในสมัยก่อนแบบถ้าเป็นสมัยนี้  ก็เป็นแนวเพลงที่แพร่หลายอ่ะครับ  ก็ต้องขออ่านตามและแทรกบ้างนะครับ  ขอบพระคุณมากๆ  ทำให้ผมได้คิดเยอะเลย  เพราะแต่ก่อนเพียงแต่อ่านแล้วก็เชื่อไปตามที่ศึกษาจากครูบาอาจารย์......... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 02:42

ผิดพลาดไปหน่อย ขอบคุณที่ท้วง ผมพิมพ์เร็วเกินไป และสั้นเกินไป แถมไม่เปิดเท๊กส์
ปีขาล คือปีที่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงบรรพชาครับ
และอยู่ในสามเณรเพศหกเดือน เข้าปีเถาะ
ระหว่างนั้น ได้ตามเสด็จรัชกาลที่ 4 ขึ้นเหนือ พงศาวดารจดว่าทรงนมัสการพระพุทธชินราช
แต่จดไว้สั้นมาก แค่นั้นเอง มีรูปถ่ายเป็นการเพิ่มเติมอีกชุดหนึ่ง

กวีคนนี้ ไม่ใช่ทำหน้าที่อาลักษณ์
เป็นพลพาย ถึงนอนกลิ้งริมหาดทราย ด้วยความเหนื่อยที่อยุธยา
พอถึงพระบาท ก็เปลี่ยนไปเป็นกองระวังหน้า ไสช้าง เดินนำขบวนเสด็จ
แสดงว่าเป็นทหาร

เป็นทหารที่เก่งกลอนยิ่งยวด
ไม่มีตรงใหนกระมัง ที่ชี้ว่าสุนทรภู่จะเป็นพลพาย เป็นกองตระเวณ คือออกแนวบู้
อาชีวะผิดกันถึงเพียงนี้ จะยกทางกลอนมา เพียงเพื่อบอกว่าเป็นคนเดียวกัน
เห็นจะฟังไม่ขึ้น ยิ่งถ้าว่าตามสูตรของคุณเครซี่ฯ
สามารถวางแผนผังกลอนออกมาได้แน่วแน่อย่างนั้น
ทางกลอนแบบสุนทรภู่ก็เป็นของทำตามได้ไม่ยุ่งยาก

นิราศพระบาทนี้ มีพิรุธขนาดใหญ่ถึง เจ็ดแห่ง ผมขี้เกียจลากยาว
ขอฟันเปรี้ยงทีเดียว ไม่ให้ต่อว่าเป็นของรัชกาลที่ 4 ปีเถาะ 2409

มิเช่นนั้น จะต้องหาเจ้าฟ้ารัชทายาทที่เสด็จพระบาทในปีเถาะ มาให้ได้
ผมหามาหลายปีแล้วครับ

ไม่พบ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 11:40

เรื่องลีลากลอน วัดเชิงคุณภาพมันยากครับ บางคนฟังว่าดี อีกคนว่ายังไม่ถึง คุยกันก็จบยาก

กลอนสุนทรภู่มีลักษณะพิเศษ อย่างที่รู้ๆกันว่าสัมผัสในพราวพราย ดูด้วยตาบางทีแยกไม่ออก สู้วัดกันเชิงปริมาณเลยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่พอทำได้ครับ

เมื่อคืนผมนั่งนับนิราศพระบาทไปราว ๖๐ บท ได้ตัวเลขว่าสัมผัสคู่หน้า(คำที่ ๓ ไป ๔ หรือ ๕) ขาดสัมผัสถึงร้อยละ ๔๑ ในจำนวนนี้ราวครึ่งหนึ่งมีสัมผัสคำที่ ๒ ไป ๓ มาทดแทน อีกครึ่งหนึ่งหายไปเฉยๆ

ในขณะที่สัมผัสคู่หลัง (คำที่ ๕ ไป ๖ หรือ ๗ หรือ ๘) ขาดสัมผัสไปถึงร้อยละ ๑๗

* สัมผัสในที่นี้รวมทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรแล้ว

นับเรื่องอื่นแล้วจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป แต่คะเนด้วยสายตา เห็นว่าไม่มีเรื่องไหนขาดสัมผัสคู่หน้าเกินร้อยละ ๒๐ ครับ

เรื่องนี้คงไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่านิราศพระบาทไม่ใช่งานของสุนทรภู่ แต่ชี้ให้เห็นถึงความแปลกของนิราศเรื่องนี้ เพราะรูปแบบกลอนยังห่างจากกลอนอุดมคติของสุนทรภู่อยู่มาก ประวัติเดิมไม่ว่าสำนักใด ให้นิราศพระบาทแต่งไล่เลี่ยกับนิราศเมืองแกลง ก่อนหลังกันเพียงหนึ่งปี

ดูจะเป็นเวลาที่น้อยเกินไปสำหรับความเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ครับ

ถ้านิราศพระบาทเป็นของสุนทรภู่จริง ก็น่าคิดว่าเป็นเรื่องที่แต่งก่อนเรื่องอื่นๆนานมากครับ ขัดแย้งกับข้อมูลที่คุณ pipat ยกขึ้นมาอยู่ไกลโข
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 12:48

ถ้าจะพูดถึง"ทาง" กลอนอย่างที่คุณอาชายกมา   ขอวางระเบิดไว้อีกลูก แต่ยังไม่ถอดสลัก
ว่า ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงวิเคราะห์ว่าเป็นฝีมือสุนทรภู่  เพราะทรงดูจากลักษณะการแต่งกลอน
ถ้าเอา"ทาง"ของคุณอาชาฯไปจับ   โดยยึดหลักจากแบบแผนการแต่งกลอนนิราศหลายๆเรื่องของสุนทรภู่  พบว่าไม่ใช่" ทาง" ของสุนทรภู่

ลองอ่านดูนะคะ
ขุนแผนว่าจะอยู่ดูไม่ได้                     ในคุกใหญ่ยากแค้นมันแสนเข็ญ
เหมือนกับอยู่ในนรกตกทั้งเป็น            ไม่ว่างเว้นโทษทัณฑ์สักวันเลย
แต่พ่อนั้นท่านเจ้ากรมยมราช              อนุญาตให้อยู่ทับในหับเผย
คนทั้งหลายนายมุลก็คุ้นเคย               เขาละเลยพ่อไม่ต้องถูกจองจำ

สัมผัสในออกมาเป็นแบบนี้
000 0X 0X0                  000 0X 0X0
ส่วนนิราศเป็นแบบนี้
001 1X 0X0                  001 1X 0X0

แม้แต่ในบทละครรามเกียรติ์ที่ว่ากันว่าสุนทรภู่แต่งต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ  ก็ไม่มีแบบแผนตาม "ทาง"ของสุนทรภู่
ถ้าเทียบกับบทละคร "อภัยนุราช"แล้ว    "ทาง"ในละครเรื่องนี้เดินรอยกลอนเพลงยาวแบบสุนทรภู่
ถ้าในประวัติ ไม่บอกว่าเป็นสุนทรภู่แต่งกลอนรามเกียรติ์ต่อจากรัชกาลที่ ๒  อ่านแต่ตัวกลอนบทละคร จะไม่รู้เลยค่ะว่าเป็นฝีมือสุนทรภู่
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 13:17

กลอนสุนทรภู่จะยืดหยุ่นบ้างครับ ยิ่งสัมผัสคู่หน้า ใช้สัมผัสอักษรเป็นสัดส่วนค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับคู่หลัง และสัมผัสในจะใช้สัมผัสระหว่างสระสั้นกับสระยาวได้ครับ
ขุนแผนว่าจะอยู่ดูไม่ได้
ในคุกใหญ่ยากแค้นมันแสนเข็ญ
เหมือนกับอยู่ในนรกตกทั้งเป็น
ไม่ว่างเว้นโทษทัณฑ์สักวันเลย
แต่พ่อนั้นท่านเจ้ากรมยมราช
อนุญาตให้อยู่ทับในหับเผย
คนทั้งหลายนายมุลก็คุ้นเคย
เขาละเลยพ่อไม่ต้องถูกจองจำ

ขาดสัมผัสคู่หน้าไปสามแห่ง แต่สองแห่งในนั้นทดแทนด้วยสัมผัสอักษรคู่ ๒-๓ ครับ

ก็ต้องถือว่ามาก เมื่อเทียบกับมาตรฐานกลอนสุนทรภู่ แต่อาจจะต้องเอากลอนมาประมวลมากกว่านี้จึงจะใช้เป็นสถิติได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 13:26

ถ้าจะเถียง ก็ต้องเถียงว่า เสียงสัมผัสคู่หน้าที่คุณอาชาฯ ยกมา ก็ไม่ใช่ทางชัดเจนของสุนทรภู่อีกนั่นแหละ
ทางชัดเจนคือนิยมสัมผัสสระ มากกว่าพยัญชนะ สั้นก็สัมผัสสั้น  ยาวก็สัมผัสยาว ถ้าสัมผัสพยัญชนะ ก็ต้องอักษรตัวเดียวกัน

เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้         ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ        เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา                   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 13:38

ใช่อย่างที่อาจารย์ว่าครับ นิยมใช้สัมผัสสระมากกว่า

แต่ก็ยอมให้สัมผัสอักษร และสัมผัสสระสั้นยาวด้วยครับ ซึ่งถ้ารวมทุกอย่างหมด เรียกได้ว่ามีสัมผัสไม่น้อยกว่า 80-90% เลยครับ
ดูบทที่อาจารย์ยกมา ถ้ายึดแบบเคร่งครัดจะขาดสัมผัสคู่หน้าไปบาทหนึ่ง แต่ยึดเกณฑ์อะลุ้มอล่วยที่ว่า บาทนั้น "ที่" สัมผัสอักษรกับ "ธา" ครับ ถือว่าไม่ขาดสัมผัส

ผมไปอ่านกำเนิดพลายงาม เห็นว่าบางช่วงบางตอนชัดเจนว่าไม่ใช่กลอนแบบสุนทรภู่ ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนมาคือเสียงคำสุดท้ายของวรรคสอง กลอนแบบสุนทรภู่นิยมใช้เสียงจัตวาเท่านั้นครับ (เกือบ 100%)

มีผู้พิมพ์ออนไลน์ไว้บางส่วนที่นี่ครับ
http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=windchimedream&page=3&topic=3&Cate=6
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 13:58

ชวนคุณอาชาและท่านอื่นๆ มาดูกลอนบทละคร ๓ บทนี้เทียบกันดีกว่า    ดูจากสำนวนกลอน  ดูออกไหมคะว่าคนแต่งคนเดียวกัน

๑)นทีตีฟองนองระลอก                   คลื่นกระฉอกกระฉ่อนชลค่นขุ่น
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน      อานนท์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน
ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท       สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน
บดบังสุริยันตะวันเดือน                 คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา

๒)เห็นนางหนึ่งงามแฉล้มแช่มช้อย     นั่งร้อยดอกดวงพวงบุปผา
ทรงโฉมประโลมเลิศลักขณา         พักตราจิ้มลิ้มยิ้มแย้ม
ผิวเนื้อนวลละอองเป็นสองสี          โอษฐ์นางอย่างลิ้นจี่จีนแต้ม
ขอบขนงก่งเหมือนดังเดือนแรม      ทั้งสองแก้มเพียงพระจันทร์วันเพ็ง

๓)มานอนในไพรพนมต้องลมว่าว       อนาถหนาวน้ำค้างพร่างพฤกษา
หอมดอกกลอยสร้อยสนสุมณฑา    มะลิลาลมโชยมาโรยริน
ดอกไม้สดรสรื่นชื่นแช่ม                เหมือนกลิ่นแก้มแจ่มนวลชวนถวิล
หอมบุปผาสารพันลูกจันทน์อิน        ไม่เหมือนกลิ่นนุชเนื้อที่เจือจันทน์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 16:23

ยังไม่มีใครเข้ามาตอบ  เลยขอเดินหน้าไปก่อน
เอาหมุดมาอีก ๒ ดอก ช่วยปักหาเวลาให้คุณพพ.  ไม่ทราบว่าพอจะเป็นหมุดได้ไหม

๑)พินิจนางแม่ค้าก็น่าชม            ท้าคารมเร็วเร่งอยู่เซ็งแซ่
ใส่เสื้อตึงรึงรัดดูอัดแอ           พี่แลแลเครื่องเล่นเป็นเสียดาย
แม่ค้าไทยที่ตลาดขวัญ สมัยรัชกาลไหนสวมเสื้อรัดรูปกันคะ    ไม่ได้ห่มตะแบงมานหรอกหรือ

ส่วนตรงนี้ เจอสาวมอญที่สามโคก(ปทุมธานี)
๒)                                        เห็นมอญแต่งตัวเดินมาตามทาง
ตาโถงถุงนุ่งอ้อมลงกรอมส้น       เป็นแยบยลเมื่อยกขยับอย่าง
เห็นขาขาววาวแวบอยู่หว่างกลาง ใครยลนางก็เป็นน่าจะปรานี
มอญที่ว่า  ไม่แน่ใจว่าเป็นพวกมอญใหม่หรือเปล่าคะ ที่อยู่แถวสามโคก  การที่ยังนุ่งผ้าถุงตาโถงตามแบบมอญ ก็น่าจะอพยพมาไม่นานนัก
ในนิราศอีกเรื่องหนึ่ง  เล่าถึงมอญว่าตัดผมกันไรผมจับเขม่าเป็นสาวไทยกันหมดแล้ว   ก็คงเป็นยุคหลังละมัง


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 16:55

กลอนสามสำนวนนี้ สำนวนที่สามเป็นกลอนแบบสุนทรภู่ จะติดขัดบ้างก็ตรงวรรคแรกของบทที่สอง ดอกไม้สดรสรื่นชื่นแช่ม ใช้แค่สองคำในท่อนนี้ แต่โดยรวมแล้วก็ยังเป็นรูปแบบกลอนสุนทรภู่ เสียงกลอนก็เป็นเสียงกลอนแบบสุนทรภู่

สองสำนวนแรก การแบ่งวรรคตอนเป็นกลอนเสภาแบบดั้งเดิม ใช้โครงกลอนหกเติมคำตามความเหมาะสม ไม่ใช่รูปแบบกลอนของสุนทรภู่ แต่เรื่องแบบกลอนนั้นชี้ชัดไม่ได้ เพราะถ้ากวีต้องแต่งภายใต้การกำกับของผู้เป็นนาย ย่อมต้องแต่งตามแบบของนาย แต่เสียงกลอนเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เปลี่ยนไม่ได้ครับ

กลอนสองสำนวนแรก ผมไม่อยากจะเชื่อว่าเป็นงานของสุนทรภู่ เพราะเสียงกลอนไม่ใช่ครับ ขอเชิญลองพิจารณาดูเถิด
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ส.ค. 07, 17:13

มารอฟังความเห็นท่านอื่นๆค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 17 คำสั่ง