เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 11:35



กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 11:35
เมืองจีนใครเห็นผู้นำจีนเวลาแต่งตัวออกงาน มักจะเห็นชุดคล้ายๆชุดราชปะแตนไทย ต่างกันตรงที่มีกระเป๋าสี่ใบ ไม่ใช่สอง ชุดนี้เขาเรียกว่าชุดจงซานจวง  (中山装) แปลตรงๆคือชุดแบบดร.(ซุน)ยัดเซ็น ซึ่งชื่อภาษาจีนกลางคือ ซุน จง ซาน (孙中山)

ภาพประธานาธิบดีสีจินผิงแต่งชุดจงซานจวง


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 11:47
ชุดนี้มีตำนานที่มาเยอะมาก พอจะแย่งได้เป็นสี่อย่างดังนี้

๑. ดร.ซุนยัดเซ็นได้อิทธิพลเสื้อสูตรแบบคอกลมที่นิยมในหมู่จีนโพ้นทะเลแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อไปเยือนประเทศต่างๆยามขอแรงปฏิวัติจึงได้เห็น ชุดนี้ว่ากันว่าเริ่มเมื่อปี ๑๙๐๒ ครั้งซุนยัดเซ็นไปเวียดนามเมืองฮานอย เห็นสม เลยให้ช่างตัดชุดตัดออกมา

ภาพขณะดร.ซุนยัดเซ็นเดินทางไปที่สิงคโปร์เพื่อขอความช่วยเหลือในการปฏิวัติ ปี ๑๙๐๗

ดูภาพอื่นๆเพิ่มเติมได้จาก

http://photo.gmw.cn/2011-10/11/content_2765940_4.htm (http://photo.gmw.cn/2011-10/11/content_2765940_4.htm)


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 11:52
๒. เอาชุดจีนธรรมดาๆที่ใส่ในเมืองจีนเป็นเสื้อคลุม มาปรับปรุง โดยเอาแบบเสื้อคลุมที่นิยมในแถบกวางตุ้งบ้านเกิดตนเอง แล้วใส่แนวสูทของฝรั่งลงไปหน่อยๆ ผลิตครั้งแรกในปี ๑๙๑๖

ชุดเสื้อคลุมจีน ที่เรียกว่าหม่ากว้า


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 11:57
๓. เอาชุดแบบทหารอังกฤษ เอาไปให้ช่างที่เซี่ยงไฮ้แก้แบบ หรือบางตำนานหนักกว่า คนจีนรับไม่ได้ นั้นคือ เอาชุดทหารญี่ปุ่นไปให้ช่างเซี่ยงไฮ้แก้แบบ เลยได้ผลเช่นนี้มา โดยเริ่มทำครั้งแรกในปี ๑๙๑๒

ภาพทหารอังกฤษในเซี่ยงไฮ้ และชุดทหารอังกฤษ

กับ

ชุดทหารญี่ปุ่น


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 12:02
แต่ไม่ว่าจะแบบไหนมา ชุดนี้ก็กลายเป็นชุดประจำชาติของทางการจีนไปแล้ว ยิ่งในยุคเหมาเจ๋อตุง เอะอะอะไรต้องใส่ชุดนี้เท่านั้น แถมต้องเป็นสีเขียวขี้ม้าด้วย

ปัจจุบันนี้ก็ยังถือเป็นชุดทางการของจีนที่ใส่ออกหน้าออกตาได้สำหรับข้าราชการทั่วไป รวมไปจนถึงผู้นำ

ภาพประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ประธานเหมาเจ๋อตุง และประธานาธิบดีสีจินผิงในชุดจงซานจวง


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 12:03
อย่างไรก็ตาม เกร็ดเสริมที่สำคัญของชุดดังกล่าวนี้ คือ เป็นเสื้อผ้าที่แฝงความหมายไว้ข้างใน อาทิ กระดุมมีสามรู แทนลัทธิไตรราษฎร์ กระเป๋ามีสี่ใบ แทนคุณธรรมทั้งสี่


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 12:08
แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังยุค ๑๙๑๑ ชุดนี้ก็เป็นที่นิยมเรื่อยมา และชาวจีนโพ้นทะเลก็เอามาใส่ด้วยสิ นึกภาพไม่ออก ให้นึกภาพ ชุดนายเหมืองของชาวภูเก็ต

นั้นแหละ

ภาพงานลอยกระทงย้อนยุคที่บางมะรวนภูเก็ต ปี ๒๕๕๕ กับชุดนายเหมืองของท่านวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร

http://www.siangtai.com/new/index2.php?name=hotnews&file=readnews&id=12029 (http://www.siangtai.com/new/index2.php?name=hotnews&file=readnews&id=12029)


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 12:15
ชุดจงซานจวงนี้ดูๆไปก็คล้ายๆชุดราชประแตนของไทยพอดู แต่เห็นว่าของไทยได้จากตัวอย่างเสื้อสูทของอินเดีย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชทรงทอดพระเนตรเห็นที่กรุงกัลกัตตา


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 เม.ย. 15, 13:46
ชุดนี้มีตำนานที่มาเยอะมาก พอจะแย่งได้เป็นสี่อย่างดังนี้

๑. ดร.ซุนยัดเซ็นได้อิทธิพลเสื้อสูตรแบบคอกลมที่นิยมในหมู่จีนโพ้นทะเลแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อไปเยือนประเทศต่างๆยามขอแรงปฏิวัติจึงได้เห็น ชุดนี้ว่ากันว่าเริ่มเมื่อปี ๑๙๐๒ ครั้งซุนยัดเซ็นไปเวียดนามเมืองฮานอย เห็นสม เลยให้ช่างตัดชุดตัดออกมา

ภาพขณะดร.ซุนยัดเซ็นเดินทางไปที่สิงคโปร์เพื่อขอความช่วยเหลือในการปฏิวัติ ปี ๑๙๐๗

ดูภาพอื่นๆเพิ่มเติมได้จาก

http://photo.gmw.cn/2011-10/11/content_2765940_4.htm (http://photo.gmw.cn/2011-10/11/content_2765940_4.htm)


ดร.ซุนยัดเซ็น ก็เข้ามาเมืองไทยอยู่แถวเยาวราช และสำเพ็งมาพอสมควร ช่วงเวลานั้นข้าราชการชาวสยาม ก็นุ่งผ้าม่วงสวมเสื้อราชประแตน ท่าน ดร.ซุนยัดเซ็น คงมองเห็นไม่มากก็น้อย


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 เม.ย. 15, 13:54
คุณหาญ ลองดูเวปนี้สิ เขาให้ความคิดเห็นของการพัฒนาเสื้อจงซาน ว่าเป็นการผสานกันระหว่าง ๓ วัฒนะคือ
1 เครื่อบแบบนักเรียนญี่ปุ่นสมัยรัฐบาลเมจิ
2 เครื่องแบบทหาร
3 สูทแบบตะวันตก


http://www.powerhousemuseum.com/hsc/evrev/republican.htm (http://www.powerhousemuseum.com/hsc/evrev/republican.htm)


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 01 เม.ย. 15, 14:49
รบกวนสอบถามเพิ่มครับ

ชุดคลุมแบบยาว ๆ ที่สุภาพบุรุษชาวจีนนิยมใส่กัน อย่างเช่นชุดในภาพยนต์อิงประวัติศาสตร์ของ อ. เยี่ย เหวิน

(http://www.martialartsmoviejunkie.com/wp-content/uploads/2013/10/Donnie.jpg)


อย่างนี้เรียกชุดนี้ว่าอย่างไรครับ  ขอบคุณครับ


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 01 เม.ย. 15, 15:27
ชุดยาวกรอมเท้าประหนึ่งกระโปรงของชายชาวจีน โดยมากทั่วโลกจะรู้จักกันในนามเสื้อ Cheongsam

คำว่า Cheongsam มาจากคำภาษาจีนกลางว่า ฉางซาน (长衫:chang shan) แปลว่าเสื้อคลุมยาว เป็นเสื้อคลุมยาวชิ้นเดียวจรดข้อเท้า

การออกเสียงว่า Cheongsam มาจากคำภาษาจีนสำเนียงกวางตุ้ง สันนิษฐานว่าฝรั่งโบราณคงติดต่อค้าขายกับกวางตุ้งเป็นหลัก ประกอบกับจีนกวางตุ้งก็เป็นจีนที่ออกไปโพ้นน้ำโพ้นทะเลถึงแดนยุโรปดังนั้นการออกเสียงภาษาจีนฝรั่งจึงยึดแบบกวางตุ้ง

อย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ คำว่าฉางซาน นี้สามารถสื่อได้ทั้งเสื้อ่คลุมชายและหญิง แต่ว่าหลังแต่การปกครองแผ่นดินโดยพรรคคอมมิวนิสต์ คำว่า ฉางซานจะใช้เฉพาะเสื้อคลุมยาวของเพศชาย แต่ว่าเพศหญิงจะใช้คำว่ากี่เพ้า หรือออกเสียงจีนกลางว่า ฉีเผ่า (旗袍:qi pao) คำว่า "ฉี" นี้แปลเป็นไทยง่ายๆคือ "ธง" ส่วนคำว่า "เผ่า" แปลว่า "เสื้อคลุม" ที่เขาเรียกว่า "เสื้อคลุมธง" ไม่ใช่เพราะรูปร่างหน้าตาคลายธง แต่เป็นการสื่อนัยยะว่า เป็นเสื้อของพวกแมนจู ซึ่งได้เข้ามาปกครองจีน และได้แบ่งสายตระกูลการปกครองเป็นแปดกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็เรียกว่า "กองธง" นั้นเอง

ดังนั้น ปัจจุบันนี้ ก็ยึดหลักว่า เสื้อยาวๆที่เราเห็นในละคร เรียกว่าเสื้อ "ฉางซาน" ครับ

ส่วนเห็นเป็นเสื้อคลุมข้างนอกเรียกว่า "หม่ากว้า" (马褂)

ท่านใดสนใจชุดสตรี อ่านได้จากหัวข้อกระทู้นี้

    ชุดสตรีจีนสมัยราชวงศ์ชิง

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6037.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6037.0)


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 เม.ย. 15, 16:05
รบกวนคุณหาญ อีกสัก ๑ ชุด จะเห็นชุดที่คุณพ่ออุ้มลูกชาย ชุดนี้ดูเหมือนจะนุ่งกันหลายชั้นเพราะหนาว เสื้อแบบสวมนี้เหมือนป้ายด้านข้างแล้วกลัดด้วยกระดุมผ้า แต่ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร

เลยทำให้สงสัยว่าการแต่งกายในภาพ กับการแต่งกายแบบ Cheongsam พลเมืองจีนเหนือ กับจีนใต้ใส่ต่างกันไหม ???


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 01 เม.ย. 15, 17:20
ชุดยาวกรอมเท้าประหนึ่งกระโปรงของชายชาวจีน โดยมากทั่วโลกจะรู้จักกันในนามเสื้อ Cheongsam

คำว่า Cheongsam มาจากคำภาษาจีนกลางว่า ฉางซาน (长衫:chang shan) แปลว่าเสื้อคลุมยาว เป็นเสื้อคลุมยาวชิ้นเดียวจรดข้อเท้า

การออกเสียงว่า Cheongsam มาจากคำภาษาจีนสำเนียงกวางตุ้ง สันนิษฐานว่าฝรั่งโบราณคงติดต่อค้าขายกับกวางตุ้งเป็นหลัก ประกอบกับจีนกวางตุ้งก็เป็นจีนที่ออกไปโพ้นน้ำโพ้นทะเลถึงแดนยุโรปดังนั้นการออกเสียงภาษาจีนฝรั่งจึงยึดแบบกวางตุ้ง

อย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ คำว่าฉางซาน นี้สามารถสื่อได้ทั้งเสื้อ่คลุมชายและหญิง แต่ว่าหลังแต่การปกครองแผ่นดินโดยพรรคคอมมิวนิสต์ คำว่า ฉางซานจะใช้เฉพาะเสื้อคลุมยาวของเพศชาย แต่ว่าเพศหญิงจะใช้คำว่ากี่เพ้า หรือออกเสียงจีนกลางว่า ฉีเผ่า (旗袍:qi pao) คำว่า "ฉี" นี้แปลเป็นไทยง่ายๆคือ "ธง" ส่วนคำว่า "เผ่า" แปลว่า "เสื้อคลุม" ที่เขาเรียกว่า "เสื้อคลุมธง" ไม่ใช่เพราะรูปร่างหน้าตาคลายธง แต่เป็นการสื่อนัยยะว่า เป็นเสื้อของพวกแมนจู ซึ่งได้เข้ามาปกครองจีน และได้แบ่งสายตระกูลการปกครองเป็นแปดกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็เรียกว่า "กองธง" นั้นเอง

ดังนั้น ปัจจุบันนี้ ก็ยึดหลักว่า เสื้อยาวๆที่เราเห็นในละคร เรียกว่าเสื้อ "ฉางซาน" ครับ

ส่วนเห็นเป็นเสื้อคลุมข้างนอกเรียกว่า "หม่ากว้า" (马褂)

ท่านใดสนใจชุดสตรี อ่านได้จากหัวข้อกระทู้นี้

    ชุดสตรีจีนสมัยราชวงศ์ชิง

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6037.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6037.0)

ขอบคุณครับ

แล้วโดยปกติ เขาจะเปลี่ยนกันแต่เสื้อสีขาวด้านในอย่างเดียวหรือเปล่าครับ ?



กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 เม.ย. 15, 08:02
อดีตผู้นำจีนทั้ง ๒ ท่านคือ เหมาเจ๋อตุง และ โจวเอินไหล


กระทู้: จงซานจวง (中山装) ชุดแบบดร.ซุนยัดเซ็น
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 03 เม.ย. 15, 15:48
ชุดยาวกรอมเท้าประหนึ่งกระโปรงของชายชาวจีน โดยมากทั่วโลกจะรู้จักกันในนามเสื้อ Cheongsam

คำว่า Cheongsam มาจากคำภาษาจีนกลางว่า ฉางซาน (长衫:chang shan) แปลว่าเสื้อคลุมยาว เป็นเสื้อคลุมยาวชิ้นเดียวจรดข้อเท้า

การออกเสียงว่า Cheongsam มาจากคำภาษาจีนสำเนียงกวางตุ้ง สันนิษฐานว่าฝรั่งโบราณคงติดต่อค้าขายกับกวางตุ้งเป็นหลัก ประกอบกับจีนกวางตุ้งก็เป็นจีนที่ออกไปโพ้นน้ำโพ้นทะเลถึงแดนยุโรปดังนั้นการออกเสียงภาษาจีนฝรั่งจึงยึดแบบกวางตุ้ง

อย่างไรก็ตามในสมัยโบราณ คำว่าฉางซาน นี้สามารถสื่อได้ทั้งเสื้อ่คลุมชายและหญิง แต่ว่าหลังแต่การปกครองแผ่นดินโดยพรรคคอมมิวนิสต์ คำว่า ฉางซานจะใช้เฉพาะเสื้อคลุมยาวของเพศชาย แต่ว่าเพศหญิงจะใช้คำว่ากี่เพ้า หรือออกเสียงจีนกลางว่า ฉีเผ่า (旗袍:qi pao) คำว่า "ฉี" นี้แปลเป็นไทยง่ายๆคือ "ธง" ส่วนคำว่า "เผ่า" แปลว่า "เสื้อคลุม" ที่เขาเรียกว่า "เสื้อคลุมธง" ไม่ใช่เพราะรูปร่างหน้าตาคลายธง แต่เป็นการสื่อนัยยะว่า เป็นเสื้อของพวกแมนจู ซึ่งได้เข้ามาปกครองจีน และได้แบ่งสายตระกูลการปกครองเป็นแปดกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็เรียกว่า "กองธง" นั้นเอง

ดังนั้น ปัจจุบันนี้ ก็ยึดหลักว่า เสื้อยาวๆที่เราเห็นในละคร เรียกว่าเสื้อ "ฉางซาน" ครับ

ส่วนเห็นเป็นเสื้อคลุมข้างนอกเรียกว่า "หม่ากว้า" (马褂)

ท่านใดสนใจชุดสตรี อ่านได้จากหัวข้อกระทู้นี้

    ชุดสตรีจีนสมัยราชวงศ์ชิง

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6037.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6037.0)

ขอบคุณครับ

แล้วโดยปกติ เขาจะเปลี่ยนกันแต่เสื้อสีขาวด้านในอย่างเดียวหรือเปล่าครับ ?



เอ้ อันนี้ไม่ทราบนะครับ แต่ว่าเสื้อด้านในนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสีขาว เป็นสีใดก็ได้ ถ้ารักสะอาดและติดหรู ก็คงเปลี่ยนทั้งชุด แต่ถ้าไม่มีอะไร ก็คงไม่เปลี่ยน เหม็นๆไปหลายๆวันครับ

เอานี้เดาเอา จากประสบการณ์อยู่เมืองจีน