เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 14238 นักการทูตในชีวิตจริง กับภาพฝันของนักเขียนในนิยาย
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 09:21

อืมม์...เรื่อง "รักแร้" ของคุณโสภาค นี่ท่าทางจะเป็นเรื่องใหม่นะครับ ต้องไปหาอ่านบ้างแล้ว
^____^
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 14:03

คุณทิดคะ ตั้งแต่เลิกหล่อแบบคุณวิรุฬฯแล้วเนี่ย จะหันไปเอาดีสะสมชื่อเสียงก่อนเปิดตัว "ทิด เชิญยิ้ม" เหรอคะ ^_______^
ถ้า "รักแร้" สนุก อย่าลืมมาบอกต่อเพื่อนๆนะคะ
บันทึกการเข้า
ชอบอ่านนิยาย(มาอีกที)
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 14:40

คุณทิดคะ รักเร่ ของโสภาค สุวรรณ นะคะ
ไม่ใช่ รักแร้
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 15:46

หึหึ ล้อเล่นน่ะครับ เรื่องนี้ผมเคยอ่านแล้วเหมือนกัน
พอดีแม่ผมแกชอบผลงานของคุณโสภาคเป็นพิเศษ
ผมก็เลยได้พลอยอ่านไปด้วยทุกเล่มที่แม่ผมอ่านครับ
พอเปิดกระทู้เข้ามาเจอคุณ B เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษ
เลยนึกสนุกเสียหน่อย...อย่าโกรธกันนะครับ คุณ B
.................
คุณนนทิราครับ ผมสงสัยจะเป็นตลกไม่ได้หรอกครับ
ทำได้คงเป็นแค่อาการกวนประสาทเพื่อนๆ อย่างนี้เท่านั้น
ความจริงหล่ออย่างคุณวิรุฬก็ดีนะครับโดยเฉพาะเวลาท้องผูก
^_____^
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 18:33

ขอแตกประเด็นนิด
ผมสังเกตว่า นิยายไทยในสมัยก่อน อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่ง ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาชีพของตัวละครสักเท่าไหร่หรอกครับ ทั้งนี้ยกเว้นบางเรื่อง พระเอกจะเป็นนักการทูต หรือนักธุรกิจ หรือชาวไร่ หรือนักอะไรก็ช่าง นางเอกจะเป็นนักอะไรก็ช่าง (บางเรื่องไม่ได้เป็นนักอะไรเลย คือไม่ได้เป็น career woman เป็นอาชีพนางเอกเท่านั้น) แก่นของเรื่องอยู่ตรงที่รักกัน งอนกัน ดีกัน ฯลฯ เท่านั้น ความเป็นนักการทูตของคุณชายกลาง ไม่มีผลต่อ plot เรื่องบ้านทรายทองเลย ความเป็นนักการทูตของท่านชายดนัย ก็อาศัยเป็นโครงให้เรื่องเกาะอยู่ตรงว่า เป็นภูมิหลังในการไปเที่ยวยุโรปได้เท่านั้น

แต่เดี๋ยวนี้ น่าสนใจที่ตัวละครมีมิติด้านการทำงานมากขึ้น ทั้งพระเอกนางเอก คงจะตั้งแต่ปุลากงที่ให้ภาพพัฒนากรกับนายอำเภอ หรือจะก่อนนั้นก็อาจจะมี รู้สึกว่าตัวละครเป็นคนจริงๆ มีเรื่องราวน่าสนใจเกิดชึ้นในการทำงาน วิศวกรชาวเขื่อนอย่างคุณเป๋งหรือเลขาอย่างคุณเอม สถาปนิกอย่างคุณเขียว ก็มีเรื่องน่าสนใจอันเกี่ยวด้วยงานมาให้คนอ่านรับรู้ ตัวละครที่เป็นหมอ เป็นพยาบาล ก็มีการพูดถึงลักษณะในอาชีพ ตัวละครที่เป็นครูก็ให้ภาพครูค่อนข้างชัด ฯลฯ ไม่ใชช่ง้อกันไปงอนกันมาจนจบเรื่องอย่างเดียว ซึ่งผมว่าดีครับ ยิ่งเดี๋ยวนี้ หลังฟองสบู่แตกแล้วนี่ มีการพูดถึงสภาพเศรษฐกิจจริงๆ ในนิยายหลายเรื่องเลย และผู้หญิงก็เริ่มจะเป็นนางเอกผู้หญิงทำงานมากขึ้นๆ ด้วย

ทางด้านการทูต องค์ชายเสนาบดีในเรื่องในฝันก็พยายามดำเนินการทางการทูตเป็น subplot อยู่บ้างเหมือนกัน เมณี่ก็ช่วยบ้างในบริบทประวัติศาสตร์สมัย ร. 5 จะมีการแต่งแต้มประวัติศาสตร์บ้างก็ตามเถอะ ไม่ใช่ตำรานี่ ยังมีอีกหลายเรื่องมี subplot ทางการเมืองที่เข้มข้นชวนติดตามทีเดียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 19:09

คุณนกข.คงอ่านนิยายมาไม่น้อยนะคะ  ถึงเล่าได้หลายเรื่อง ทั้งที่แต่งกันหลายยุคสมัย
เห็นด้วยค่ะว่าเมื่อก่อนพระเอกนางเอกนิยายไม่ค่อยมีอาชีพ หรือมีก็ไม่แสดงให้เห็น  อย่างตัวละครเป็นหมอ ก็มักจะมีฉากตอนเลิกงาน ขับรถไปจีบนางเอก  มากกว่าจะมีฉากสั่งยาหรือผ่าตัด
คงเป็นเพราะเรื่องเหล่านี้เป็นนิยายรัก  จึงไม่ถือรายละเอียดพวกนี้ว่าสำคัญ
ข้อสำคัญแฟนประจำก็ไม่ค่อยจะสนใจด้วย รอลุ้นตอนจบอย่างเดียว
ถ้าเป็นนิยายชีวิต( serious fiction) ละก็  อาชีพจะโผล่ออกมาแบบสมจริง   ฟักใน "คำพิพากษา" เป็นภารโรง  ใน"ตลิ่งสูง ซุงหนัก"ของนิคม รายวา ตัวเอกก็แกะสลักช้างลากไม้ ฯลฯ
ออกนอกเรื่องนักการทูตไปไกลหลายถนน เลี้ยวรถกลับมาฟัง subplot ทางการเมืองค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 00:01

กลับไปเรื่องที่เจ้าของกระทู้เปิดประเด็นไว้ว่า ขอให้ผมเล่าข้อเท็จจริงบางอย่างของงาน เผื่อใครอยากจะเข้ามาทำงานอาชีพนี้จะได้รู้เป็นข้อมูล
ผมเล่าไม่หมดหรอกครับ แต่อาจจะยกตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ได้บ้างว่า งานที่แท้จริงของนักการทูต ที่อยู่นอกหนังสือนิยายนั้น ถ้าจะใช้คำพูดของนักการทูตคนหนึ่งที่ไม่ใช่ผม ก็ต้องบอกว่า "มีทั้งเรื่องที่พูดได้ พูดไม่ได้ และพูดไม่ออกบอกไม่ถูก"  นักการทูตยังคงไปงานเลี้ยงรับรองอยู่ ไปหาข่าวในงานเหล่านั้น ยังดื่มแชมเปญอยู่ จริง แต่นักการทูตตามสถานทูตไทยในบางประเทศ นอกจากจะย่างกรายไปตามโรงแรมหรือภัตตาคารหรูๆ แล้ว ยังต้องย่างกรายเข้าไปในคุก โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ศาล อีกด้วย ไปดูแลคนงานไทย ไปช่วยผู้หญิงไทยที่ถูกหลอก ลูกเรือประมงไทยที่ถูกจับ ไปเก็บศพก็มี จัดการเผาศพส่งกระดูกกลับเมืองไทยให้ก็ได้ ครับ นักการทูตต้องทำให้ได้พอๆ กับไปงานเลี้ยงแหละครับ ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของงานของเราด้วยกัน มีเรื่องจริงที่นักการทูตไทยท่านหนึ่งที่ญี่ปุ่น หลายปีมาแล้ว ได้ทำหน้าที่ช่วยผู้หญิงไทยที่ถูกหลอกมาขายตัวอย่างแข็งขันมาก จนแก๊งยากูซ่าพยายามจะเก็บเอาน่ะ เดชะบุญไม่เป็นไร งานด้านนี้ ไม่ค่อยจะปรากฏในนิยายเท่าไหร่

งานด้านรับรองก็น่าสนุก เมื่อครั้งบ้านเมืองดี ยังไม่เจอไอเอ็มเอฟนั้น บางสถานทูตจะมีคณะต่างๆ ไปเยี่ยมจากเมืองไทยเยอะแยะ จากหลายกระทรวง หลายหน่วยงาน หลายระดับ หลายกลุ่ม (ตอนนี้น้อยลงหน่อย) บางทีรับบางคณะสนุกเสียจนอยากจะโดดน้ำตาย ผมไม่เล่านะครับ เข้ามาเป็นนักการทูตแล้วก็รู้เองแหละ (แต่เคยมีนักวิชาการทำงานวิจัยเรื่องนี้แล้ว เป็นข่าวฮือฮาเมื่อหลายปีก่อนขนาดผู้ใหญ่ฝ่ายนิติบัญญัติท่านหนึ่งออกมาโต้ตอบเลย ผมไม่เกี่ยวนะครับ ท่านจะคุยกับวงวิชาการก็เชิญ ผมเป็นข้าราชการ...)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 09:12

มีความจริงมากน้อยแค่ไหนคะ  ที่ว่านักการทูตจะไม่ตอบ yes หรือ no ออกมาชัดๆ
แต่จะ maybe
แล้วมักจะไม่เข้าข้างค่าย หรือประเทศไหน  หรือลงความเห็นเรื่องอะไรชนิดผูกมัดตัวเอง  
เพื่อว่าภายหน้าจะได้คบและได้ประโยชน์จากทั้งสองฝ่าย
โดยที่ฝ่ายตัวเองจะเสียประโยชน์น้อยที่สุด
ป.ล.ข้อมูลจากนิยายค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 16:02

มีคำกล่าวว่า When a diplomat says yes, he means maybe. When a diplomat says maybe, he means no. When a diplomat says no, he is not a diplomat.
เพราะว่ากันว่า (ซึ่งไม่จำเป็นต้องจริงเสมอไป) นักการทูตจะพยายามออมชอม หาทางประสานประโยชน์ จะไม่เผชิญหน้า จะไม่พูดตัดทางติดต่อกัน จึงจะไม่มีวันพูด no เป็นอันขาด ซึ่งได้กล่าวแล้ว ว่าไม่จริงเสมอไป กาละ เทศะ กรณี โอกาส เงื่อนไข ในบางครั้งก็ทำให้นักการทูตต้องเซย์โนเหมือนกัน
ทำนองกลับกัน สุภาพสตรีจะไม่เอออวยไปกับใครได้ง่ายๆ ต้องสงวนท่าที เพราะเดี๋ยวจะถูกหาว่าใจง่าย จึงมีคำกล่าวว่า When a lady says no, she means maybe. When a lady says maybe, she means yes . But when a lady says yes, she is not a lady. ซึ่งสุภาพสตรีสมัยนี้คงจะตอบได้เอง ว่าจริงหรือไม่จริงแค่ไหน
ผมเคยถามตัวเองเล่นๆ ว่า ในสมัยปัจจุบันนี้ซึ่งนักการทูตเป็นสุภาพสตรีเสียก็เยอะแล้ว ถ้าเชื่อตามคำกล่าวของฝรั่งโบราณชุดนี้ นักการทูตสตรีเหล่านี้จะพูดอะไรได้บ้าง ฮืม??
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 16:31

ขอบคุณค่ะ  
ยังอยากรู้อีกนิด มีกรณีไหนคะที่นักการทูตจะ say no แบบไม่ลำบากใจเลย  
กรุณาอย่าตอบว่า..ในกรณีเสียผลประโยชน์ของชาตินะคะ  มันกว้างไปนิดค่ะ
ส่วนที่คุณนกข.ถามสุภาพสตรี  ไม่ทราบสุภาพสตรีคนอื่นๆจะตอบว่ายังไง
ส่วนสตรีคนนี้...ในกาละ เทศะ กรณี โอกาส  ที่
คุณชายกลางเห็นดิฉันเป็นพจมาน แล้วขอสวมแหวนให้
ขืน say no หรือแม้แต่ maybe  ก็จะไม่ให้อภัยตัวเองไปตลอดชีวิตมั้งคะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 17:19

...
วันนี้อากาศดีนะครับ...
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 17:37

เรื่องที่คุณเทาชมพูถาม ผมคงต้องตอบตามที่คุณเทาชมพูตอบนั่นแหละครับ คือ เซย์โน เมื่อไม่มีวิธีที่จะเจรจาต่อไปได้อีกแล้ว ก็ต้องหยุด เซย์โน เมื่อการเซย์เยสจะทำให้เสียผลประโยชน์แห่งชาติ หรือบางครั้ง เซย์โนในเรื่องหนึ่ง เป็นกลวิธีหรือยุทธวิธีในการเจรจาต่อรองกับอีกฝ่ายเพื่อผลในเรื่องอื่น มันก็ยังกว้างอยู่ดี แต่ถ้าลงรายละเอียดเป็นกรณีไปก็จะยาวมากครับ
ถ้าจำเป็นหรือสมควรจะเซย์โน เราก็พูดได้โดยไม่ต้องลำบากใจอะไรมากครับ วิธีเซย์โนก็ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องโกรธกันหรือเสียความสุภาพด้วย โนแล้วก็ยังคุยกันต่อได้ หรือโนเรื่องนี้ เยสเรื่องนั้น ก็ได้ เว้นแต่สไตล์ของบางประเทศ บางคน ที่ถือว่าโนเรื่องหนึ่งแล้วก็ปิดประตูทุกเรื่อง ก็มี หรือบางทีเขาถือว่า ถ้าโนในเรื่องสำคัญสุดยอดเป็นผลประโยชน์คอขาดบาดตายของเขาเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ต้องคุยกันเรื่องอื่นอีก ก็มีครับ
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 18:01

แล้วคุณนกข.นำวิธีการทูตเซย์โนเซย์เยสมาใช้กับชีวิตส่วนตัวมากน้อยแค่ไหนคะ แต่ความจริงนึกๆดูแล้ว มารยาททางการทูตก็เหมือนกับเป็นมารยาทอันดีที่ใครๆก็สมควรจะมีนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดมากในสังคมคนญี่ปุ่น แต่สำหรับดิฉันแล้ว ถ้าต้องเป็นอย่างคนญี่ปุ่นตลอดเวลา ก็คงรำคาญตัวเองเหมือนกัน จะปฎิเสธทั้งที ก็ได้แต่สูดปาก ทำหน้ายุ่ง แล้วก็บ่นว่า มันเป็นเรื่องยาก ตอบลำบาก อะไรทำนองนั้น

เลยทำให้นึกคำถามได้ข้อนึง นักการทูตจากประเทศทางตะวันตก กับทางตะวันออก แตกต่างกันบ้างหรือเปล่าคะ เพราะมาจากสังคมที่ต่างกัน เช่นในแง่ที่ว่าสังคมตะวันออกจะเป็นสังคมที่หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ามากกว่าน่ะค่ะ

วันนี้ที่นี่ก็อากาศดีเช่นกันค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 19:05

วัฒนธรรมเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ด้วยครับ แต่ในเรื่องนี้ โดยมาก นักการทูตที่ดีถ้ารู้ว่าจะต้องเจรจากับใคร ก็จะพยายามศึกษาภูมิหลังทางวัฒนธรรมของอีกฝ่าย จะได้พอจะรู้แนวความคิดอีกฝ่ายได้บ้าง และโดยที่นักการทูตดำเนินชีวิต และทำงานข้ามวัฒนธรรม ถึงจะยังเป็นไทย เป็นฝรั่ง เป็นแขก เป็นจีนอยู่  แต่ก็ควรจะมีลักษณะที่ฝรั่งเรียกว่า cosmopolitan คือ เป็นคนของโลกด้วย ซึ่งว่าที่จริงโลกนับถือมารยาทอันดีในหลักใหญ่ไม่ได้ผิดกันมาก แตกต่างกันก็แต่รายละเอียด
เรื่องนี้ ในการเจรจาเชิงธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญและมีการศึกษากันเหมือนกันว่าจะทำธุรกิจกับคนชาติใดก็ต้องรู้จักคนชาตินั้นบ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม นักการทูตหรือนักธุรกิจระหว่างประเทศ คงต้องรับรู้เข้าใจวัฒนธรรมร่วมระดับสากลด้วยกัน อย่างน้อยในระดับจิตสำนึก ส่วนที่ว่า ลึกๆ ในจิตใต้สำนึกแล้วอาจจะเผลอบ้าง เพราะชิน ก็คงเป็นไปได้บ้างแหละ
ลากกลับเรือนไทยอีกที วัฒนธรรม มารยาทหรือการให้เกียรติแบบไทยๆ นั้น นักการทูตไทยเอาไปอวดได้รับความชื่นชมมาแล้วทั่วโลก (แต่วัฒนธรรมแบบไทยที่แย่ๆ ก็คงมีนักการทูตไทยบางคนเผลอแสดงให้ฝรั่งเห็นบ้างเหมือนกัน) ตั้งแต่ครั้งโกษาปานไปฝรั่งเศส ซึ่งปรากฏว่าผูกพระทัยและผูกใจคนได้หมดทั้งราชสำนักฝรั่งเศสตั้งแต่ชั้นพระเจ้าหลุยส์ลงมา ทั้งๆ ที่ท่านไม่พูดฝรั่งเศส ไม่เคยเป็นนักเรียนนอก แสดงความเจริญอย่างไทยผ่านล่ามเท่านั้นฝรั่งก็ทึ่งแล้ว สมัยใกล้ๆ นี้ ท่านนายกคึกฤทธิ์เมื่อไปพบประธานเหมาเจ๋อตงที่เมืองจีน ท่านก็เขียนบันทึกไว้เองว่า ท่านให้เกียรติท่านประธานเหมาว่าเป็นผู้ใหญ่ ถือธรรมเนียมตะวันออกเต็มที่ ก็ปรากฏว่าท่านประธานเหมาเมตตามาก ให้คุยด้วยตั้งชั่วโมง ซึ่งธรรมดาอาจจะให้แขกเมืองพบยี่สิบสามสิบนาทีอย่างมาก และความสัมพันธ์ไทย-จีนก็ดีขึ้นมาก ท่านเขียนไว้ทำนองว่า มารยาทอย่างไทยๆ นี่แหละ จะไปที่ไหนก็ได้ทั่วโลกไม่อับจนหรอกครับ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 พ.ย. 00, 01:22

นักการทูตที่คุณ นกข พูดๆมา รวมเจ้าหน้าที่สถานทูตที่นั่งเค้าน์เตอร์ตรวจรับเอกสารต่างๆพวกนั้นด้วยหรือเปล่าคะ เป็นบัวแก้วเหมือนกันหรือเปล่าคะ วันนั้นไปสถานทูตไทยที่นี่ได้ยินเขาใชคำหยาบจำพวกสัตว์เลื้อยคลานใส่คนที่ไปยื่นเอกสารด้วย...ดุจัง...อย่างนี้เป็นพระเอกนิยายไม่ได้แน่เลย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 18 คำสั่ง